พระราชพิธีพืชมงคล ฤกษ์ไถหว่าน10พ.ค.

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 7 พฤษภาคม 2007.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948

    วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6003​

    พระราชพิธีพืชมงคล ฤกษ์ไถหว่าน10พ.ค.


    คอลัมน์ รายงานพิเศษ



    [​IMG]พระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วันพืชมงคล" ซึ่งจะมีพิธีเก่าแก่ที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาล โดยจะจัดให้มีขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี ประกอบไปด้วยพิธีกรรม 2 พิธีที่กระทำร่วมกัน คือ

    พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี

    และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว เพื่อที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว

    ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงมีจุดมุ่งหมายประการสำคัญเพื่อสร้างสิริมงคล บำรุงขวัญเกษตรกรให้เกิดความมั่นใจในการทำนา และมีความเชื่อมั่นว่าพืชพันธุ์ที่ลงทุนทำการเพาะปลูกนั้นจะได้ ผลผลิตดี มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอต่อความต้องการ รวมไปถึงทางราชการหรือผู้ปกครองบ้านเมือง ให้การดูแลเอาใจใส่ ส่งผลให้การเกษตรกรรมของประเทศย่อมพบกับความเจริญรุ่งเรือง

    สำหรับวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี"50 ตามปฏิทินหลวงได้กำหนดให้ วันพุธที่ 9 พ.ค.50 มีพระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ ซึ่งประกอบพระราชพิธีวันแรกที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งจะถือเป็นวันเกษตรกรด้วย

    ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ จะประกอบพระราชพิธี วันพฤหัสบดีที่ 10 พ.ค.50 <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นประธาน งานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี"50 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ด้านทิศใต้ โดยมีฤกษ์การไถหว่านอยู่ในช่วงเวลา 08.19-08.59 น.

    สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่พระยาแรกนาเป็นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยตำแหน่ง ซึ่งในปีนี้ นายบรรพต หงษ์ทอง จะทำหน้าที่นี้เป็นปีสุดท้าย เนื่องจากจะเกษียณอายุราชการ

    ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทองและคู่หาบเงิน จะพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป

    ในปีนี้ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.รัตน์ติยา แจ้งจร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6ว สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และน.ส.คมจันทร์ สรงจันทร์ นักวิชาการเกษตร 5 กรมวิชาการเกษตร

    เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ น.ส.นุชจรี วัชรวงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการเกษตร 5 กรมส่งเสริมการเกษตร และน.ส.พันธ์ทิพย์ จารุเสน นักวิชาการตราวจสอบบัญชี 6ว กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

    นอกจากพระยาแรกนา และเทพีคู่หาบทอง เทพีคู่หาบเงินจะเป็นส่วนสำคัญในพระราชพิธีนี้แล้ว ยังมีพระโคแรกนาขวัญ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานคัดเลือกพระโคจำนวน 2 คู่ เพื่อใช้ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

    โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ จะคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ ต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 ซ.ม. ความยาวของลำตัวไม่น้อยกว่า 120 ซ.ม. ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 ซ.ม.

    โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่าย ไม่ดุร้าย เขามีลักษณะสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงาม มีขวัญหน้าขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้องตามลักษณะที่ดี กีบและข้อเท้าแข็งแรง ถ้ามองดูด้านข้างของลำตัวจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม

    โดยในปีนี้กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือกพระโคจำนวน 2 คู่ คือ

    พระโคแรกนา 1 คู่ ได้แก่ พระโคเทิด และพระโคทูน

    พระโคสำรอง 1 คู่ ได้แก่ พระโคโรจน์ และพระโคเลิศ

    พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์เพื่อทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย หรือเรียกว่า บุพพัณณปรัณณชาติ หมายถึง พืชที่เป็นอาหารทุกชนิด

    บุพพัณณปรัณณชาติ ที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้น เป็นข้าวเปลือกมีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว และเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ รวม 40 อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาวกับเผือกมันต่างๆ

    นอกจากนี้ ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนา บรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่ง เงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล

    ในวันประกอบพระราชพิธี จะมีการพยากรณ์ถึงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ ซึ่งพระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายหยิบผ้านุ่งแต่งกาย แต่ละผืนล้วนมีความหมายแตกต่างกัน ดังนี้

    หยิบได้ผ้า 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

    หยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

    หยิบได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ไม่ได้ผลเต็มที่

    นอกจากการเสี่ยงทายผ้านุ่งแล้ว สิ่งที่เลี้ยงพระโคทั้ง 7 สิ่ง ยังมีความหมายการเสี่ยงทายอีก ได้แก่ ข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี

    ถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ทักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

    น้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

    และเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

    นอกจากจะมีพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งทำกันเป็นประจำทุกปีแล้ว ยังเป็นวันเกษตรกรอีกด้วย โดยนับตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้เป็น "วันเกษตรกร" เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคล เพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา

    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03eco29070550&day=2007/05/07&sectionid=0305
     

แชร์หน้านี้

Loading...