พระศรีอาริย์เจ้าโลก บทที่ ๙ ศรีอาริยยุค

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย วสุธรรม, 10 ธันวาคม 2018.

  1. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    SriarayaFeature09.jpg

    หนังสือพระศรีอาริย์เจ้าโลก รวบรวมโดยรหัสยญาณ


    ชาวโลกปัจจุบันกําลังคร่ําครวญและโหยหวนกันถึงอารยธรรม ซึ่งเป็นผลวิเศษของวัฒนธรรม แต่จะวิเศษอย่างไรและแค่ไหนนั้นก็ ยังคลําหามาตรฐานแน่นอนไม่ได้ และอารยธรรมนี้ก็มีอยู่ด้วยกัน หลายด้านหลายประการ อารยธรรมข้อใหญ่ๆ นั้นมีดังนี้

    background20test03-923x1200.jpg

    ๑. อารยธรรมแห่งใจ

    ๒. อารยธรรมแห่งกฎหมาย

    ๓. อารยธรรมแห่งวัตถุ

    ๔. อารยธรรมแห่งสังคม

    ในที่นี้จะได้กล่าวแต่เฉพาะอารยธรรมแห่งใจ ซึ่งเป็นผลของ วัฒนธรรมทางอัธยาตมวิทยาหรือจิตศาสตร์ (Psychology = ปัจจุบันนิยามว่าจิตวิทยา) อันสําเร็จด้วยการค้นคว้าเป็นเวลานานถึง 5 ปี ของพระพุทธเจ้า เรียกกันว่าวิทยาศาสตร์แห่งใจ (Spiritual Science) ท่านได้แยกไว้เป็น ๓ ชั้น ตามมาตรฐานดังนี้ คือ ชั้นตรี, ชั้นโท, ชั้นเอก

    มาตรฐานของอารยธรรมชั้นตรี คือ ศีล ๕ :
    ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทั้ง เว้นจากสิกขาบท แห่งการฆ่าสัตว์

    ๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขะปะทั้ง เว้นจากสิกขาบท แห่งการขโมย

    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทั้ง เว้นจาก สิกขาบทแห่งการประพฤติผิดในกาม และความรักที่เลวทราม

    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทั้ง เว้นจากสิกขาบท แห่งการพูดคําเท็จ

    ๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทั้ง เว้นจากสิกขาบทแห่งการดื่มสุราและเมรัย

    มาตรฐานของอารยธรรมชั้นโท คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ เพิ่มแต่ข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ของศีล ๕ เรียกว่า กายกรรม ๓ หรือ เรียกว่า กายสุจริต ๓

    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทั้ง เว้นจากสิกขาบท แห่งการพูดคําเท็จ (คําลวง)

    ๕. ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี สิกขาปะทั้ง เว้นจาก สิกขาบทแห่งการพูดคําส่อเสียด (ยุยง)

    ๖. ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี สิกขาปะทั้ง เว้นจากสิก ขาบทแห่งการพูดคําหยาบ (ด่า, แช่ง)

    ๗. สัมผัปปะลาปา เวระมณี สิกขาปะทั้ง เว้นจากสิกขาบท แห่งการพูดคําเพ้อเจ้อ (พร่ําเพรื่อ)

    ตั้งแต่ข้อที่ ๔ ถึง ข้อที่ ๗ เรียกว่า วจีกรรม ๔ หรือ วจี สุจริต ๔

    ๘. อะนะภิชฌา ไม่โลภ

    ๙. อะพะยาปาท ไม่พยาบาท

    ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คิดถูก

    ตั้งแต่ข้อที่ ๔ ถึง ๑๐ เรียกว่า มโนกรรม ๓ หรือมโน สุจริต ๓

    มาตรฐานของอารยธรรมชั้นเอก คือ กุศลกรรมบถ ๔๐ แจกกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการอย่างละ ๔ คือ :
    ๑. ไม่กระทําด้วยตนเอง

    ๒. ไม่ใช้ให้ผู้อื่นกระทํา

    ๓. ไม่ยินดีต่อการกระทํา

    ๔. ไม่สรรเสริญคุณต่อการกระทํา

    เมื่อตั้งกุศลกรรมบถ ๑๐ ลงแล้วก็คูณด้วยการกระทําทั้ง ๔ ที่กล่าวมาแล้วหรือนับ ๔ ให้ครบทั้ง ๑๐ ครั้ง จึงเป็นกุศลกรรมบถ ๔๐ ครบจํานวน

    two_third_1.jpg

    อนึ่ง อารยธรรมทางใจเหล่านี้ ก็ยังเป็นอารยธรรมภาย นอกซึ่งจัดกันว่ายังต่ําอยู่ เพราะยังมีอารยธรรมชั้นสูงลี้ลับอยู่ ภายในเรียกว่า โลกุตตรารยธรรม หรืออารยธรรมแห่งโลกสูงเป็น ฝ่ายแห่งธรรมที่ไม่ตาย ซึ่งฝูงมนุษย์จะได้เริ่มค้นคว้ากันขนาดใหญ่ ในอนาคตอันใกล้นี้ และเมื่อผู้ใดค้นพบแล้วก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ สําเร็จวิทยาศาสตร์ทางใจโดยแท้ การหนีและการต่อสู้ของเขาได้อวสานลงแล้ว เพราะเขาได้พบแล้วซึ่งนครรัตนะ เขาได้พ้นแล้ว ซึ่งความเกิด แก่ เจ็บ ตาย กล่าวคือ อมตมหานิพพาน

    หลักธรรมอันวิเศษ และหลักมหาสมาคมอันดีเลิศ มนุษย์ ในยุคนั้น จะมีโมหะ โลภะ และโทสะ ซึ่งเป็นหมอกร้ายของชีวิตนั้น เบาบาง ทั้งจะบริบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ และน้อมใจถึงสวรรค์ สมบัติ ตลอดจนนิพพานสมบัติ เกือบไม่เว้นแต่ละคน ด้วยเห็น กันว่า นิพพานสมบัติอันประเสริฐที่มนุษย์ทุกคนจําเป็นจะต้อง พยายามก่อสร้าง หรือแสวงหามาให้แก่ตนเพื่อให้พ้นจากเกิด แก่ เจ็บ ตายจะมีสถานศึกษาอันกว้างใหญ่ไพศาลทั่วในด้านโลกและธรรม และจะหนักทางจิตวิทยา คือ วิชาทางใจ (Spiritual Science) มาก กว่าทางอื่น จะมีมหาวิทยาลัยทางใจ (Spiritual University) ตั้ง อยู่ในนครใหญ่ๆทั่วโลก ผู้ซึ่งจะดํารงตําแหน่งอาจารย์ใหญ่นั้น จะ ต้องสําเร็จปริญญาทางใจชั้นสูง ประกอบด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ บุญ วุฒิ คือ สูงด้วยอายุ สูงด้วยคุณ และสูงด้วยบุญ พร้อมด้วย อัปปมัญญา ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โลกจะไพบูลย์ ด้วยเทวธรรมทั้ง ๒ หิริโอตตัปปะ กรรมดีทั้งหลาย ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล สัจจะ ขันติ วิริยะ เนกขัมฯ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ปัญญา รวม ๑๐ ก็จะกลับขึ้นมาเป็นอริยสมบัติของมวลมนุษย์ ทั้งจะแบ่งแยกชนิดสูง กลางและต่ํา ตามแต่ผู้ใดจะกระทําได้ ทั้งจะ มีปริญญาบัตรแจกจ่ายแก่นักบุญทั้งหลายที่กล่าวนี้ยึดถือกันไว้ ตลอดทุกคน เช่น ศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี ไม่ว่า ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ก็จะมีนักบุญคอยสอดส่องเอาใจ ใส่ทั่วกันไป ประมุขโลกจะยกย่องคุณงามความดีตามชั้นเชิงของบุคคล จะไม่ถูกดูหมิ่นหรือเหยียบย่ํากระทึบส่งกันเหมือนดังเช่น ทุกวันนี้

    two_third_2.jpg

    แม้ว่านักการเมือง นักปกครอง นักกฎหมาย ก็จะต้องมีหลัก ธรรม เช่น อัปปมัญญาทั้ง ๔ และหิริโอตัปปะ เป็นสันดาน ถ้าผู้ใด ไม่มีคุณ ไม่มีบุญ หรือบกพร่องศีลธรรมอันดีงามแล้วก็จะไม่มีหวัง ในตําแหน่งงานที่ใหญ่โตได้เลย ประมุขหรือพ่อเมือง พ่อบ้าน ทุกอาณาจักรแห่งโลก ซึ่งเป็นตําแหน่งสําคัญก็ยิ่งจําเป็นที่จะต้อง คัดเลือกเอาบุคคลที่ดีเยี่ยมจากบุคคลที่ดีทั้งหลายเข้าบรรจุ ตําแหน่งนั้นๆ ผู้ซึ่งหนักไปด้วยโลภหลงซึ่งเป็นฝ่าหมอกอันชั่วร้าย ขนาด “หน้าเลือด” ดังเช่นทุกวันนี้ จะไม่มีอยู่ในตําแหน่งการงาน ในสมัยนั้นเลย วุฒิทั้ง ๓ คือ วัยวุฒิ คุณวุฒิ บุญวุฒิ จะเป็นหลัก ความเคารพในวงสังคมโดยทั่วไป บุคคลใดมีอายุสูง มีคุณสูง มี บุญสูงกว่าตน ก็ย่อมเป็นที่เคารพนบนอบของคนทุกคนไป จะไม่ เข้าทํานอง “กินบนบ้านแล้วขึ้นไปขี้รดบนหลังคา” ดังเช่นที่แล้วๆ มา วุฒิทั้ง ๆ ที่กล่าวนี้จะเป็นหลักธรรมที่มนุษย์ทุกคนจะต้อง ศึกษาให้เข้าใจและนํามาปฏิบัติในวงเครือญาติและวงสังคมโดยทั่วไป ฝูงมนุษย์ในยุคนั้นจะถึงพร้อมด้วยจรรยาอันดีงามและสมนามว่า “อารยชน อริยสัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธ สัจจะ มัคคสัจจะ ซึ่งเป็นความจริงของอารยชน และเป็นสิ่งที่ลี้ลับ อยู่ในปัจจุบันนี้ ก็จะถูกนํามาพิจารณาและค้นคว้ากันใหม่ เพื่อให้ ทราบว่าทุกข์นั้นคืออะไร? ทางให้เกิดทุกข์นั้นคืออะไร? สุขนั้น คืออะไร? อริยสัจจะทั้ง ๔ นี้ มนุษย์ในสมัยนั้นจะพากันศึกษาและ ค้นคว้ากันอย่างจริงจัง เพื่อให้พ้นจากเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือจะถึง ซึ่งพระนิพพานอันพ้นทุกข์ไม่เหลือเศษสมกับคําทํานายของ เลอ็อง สอร์ค นักปราชญ์ฝรั่งเศสว่าไว้ ดังนี้ :

    “ความโน้มน้าวทั้งปวง ซึ่งแม้แต่จะต่างกันแต่อาการภาย นอกใดๆ ก็ดี เมื่อหนักๆ เข้า ก็มีแต่เร่งให้ไปสู่รูปแห่งศาสนาใหม่ ที่เคร่งครัดอย่างเดียว และเป็นศาสนาซึ่งเชื่อว่าโลกเป็นอันหนึ่งอัน เดียวและสัตว์โลกทั้งหลายล้วนแต่เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันทั้งสิ้น เพราะมีวิญญาณสังขารเหมือนกัน การจูงนําสังขารให้เป็นไปด้วย ความประพฤติทางจรรยาและทางสมาคม ความเมตตาแก่เพื่อน มนุษย์และสรรพสัตว์ที่ต่ําต้อยกว่าตน เหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งที่ต้อง ปฏิบัติ ต้องประพฤติ (มิใช่เกิดเองหรือใครมาบันดาลให้เกิด) การ บรรเทาความทุกข์และประพฤติตนให้มีความอารีรอบคอบในสมาคม แห่งโลกทั่วไป เป็นเครื่องผดุงความเจริญแห่งวิชาและความเชื่อถือ”

    เขากล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า :

    “นับแต่ธรรมะของมนุษย์จะก้าวทีละเล็กละน้อยไปสู่ศาสนา ในอนาคต ซึ่งจะมีปราชญ์อัธยาตมวิทยา หรือจิตวิทยา (Psycho logy) ผู้หนึ่งในสมัยนั้น สามารถจะกําหนดธรรมอันวิเศษและ สมาคมอันดีเลิศ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นความจริงในเรื่องที่สัตว์โลกทั้งปวง มาประกอบซึ่งกันและกันให้เป็นโลกพิภพขึ้น ดั่งพระพุทธเจ้าเป็น ผู้แรกทรงสั่งสอนและทรงเป็นตัวอย่างอันประเสริฐบริสุทธิ์ อย่าง ยอดเยี่ยมมาแล้วนั้น” – สจ๊วต มิลล์ กล่าวว่า “เมื่อความคิดมีความเจริญขึ้นก็เห็น เหตุการณ์โดยกว้างขวางในหมู่เพื่อนมนุษย์ที่เกี่ยวข้องด้วยกัน และ โน้มน้าวมาสู่ความรู้สึกว่า ตนเองก็เป็นคนหนึ่งเหมือนกับคนอื่น ๆ เมื่อเกิดความรู้สึกดังนี้แล้ว ก็ทําให้ต้องการหลีกเสียจากการที่เห็น แต่ความสุขของตน ซึ่งผู้อื่นไม่ได้รับด้วยนั้นเสีย”

    ลายครามแห่งปรัชญา โป๊ปนักจินตกวีอังกฤษว่า:

    “เราคิดว่าบิดามารดาของเราโง่ ส่วนเรานั้นฉลาด แต่ไม่ต้อง สงสัยดอกว่า ลูกหลานของเราที่ฉลาดก็จะว่าเราเช่นนั้น”

    แองเกล อดีตนายกแห่งมหาวิทยาลัยเยล กล่าวว่า:

    “เท่าที่เราสามารถจะตัดสินได้ โดยอาศัยเหตุทางประวัติ ศาสตร์นั้น ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะกล่าวว่า ความสามารถในทาง สติปัญญาของชาวเรา ซึ่งคิดเฉลี่ยโดยทั่วไป ก็ไม่วิเศษกว่าคนใน อียิปต์สมัยสี่พันปีก่อนคริสต์ศักราช หรือสมัยโฮมเมอร์ในประเทศ กรีซ หรือแม้คนในส่วนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเท่าไรนัก เพราะสถิติ แห่งอารยธรรมซึ่งได้บันทึกไว้ได้ตกทอดมาถึงเรามากหรือน้อยนั้น เราย่อมรู้ดี”

    เอ๊ดดุอ้าด เบลลิน นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า :

    “ยิ่งเราชนะความเป็นไปภายนอกของโลกนี้เท่าใด เรายิ่งพากัน เอาใจใส่ความเป็นอยู่ภายในของเพื่อนร่วมโลกด้วยกันน้อยลง เรา พากันเร่งที่จะเอาชนะต่อระยะทางหลายๆ พันไมล์ (หลงวิทยาศาสตร์) อันทําให้เราไม่สามารถจะมีเวลาดูแลสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา เช่น ภรรยา สามี ลูก หลาน และเพื่อนของเรา ชีวิตภายในครอบครัวดูเหมือน ว่ามีความสําคัญน้อยลงทุกที และมนุษยชาติก็ดูเหมือนห่างไกลต่อ ความเป็นมิตรกันเข้าทุกที่ ข้าพเจ้าไม่อยากปฏิเสธต่อการที่จะกล่าวว่า อํานาจของจิตใจตามหนทางที่ถูกก็เป็นกิจอันหนึ่ง ซึ่งมีค่ามาก เท่ากับการเอาใจใส่ต่อความถาวรทางวิทยาศาสตร์ และชนะต่อความเป็นอยู่ของธรรมชาติ”

    เอ. พี. ริตช์ กล่าวว่า :

    “เป็นสิ่งที่น่าเสียใจมากที่จะกล่าวว่า มนุษย์ที่ใฝ่หาความ ใหญ่ยิ่งในการเอาชัยชนะต่อกฎธรรมชาติได้นั้น ทําให้มนุษย์ต้อง ลืมต่อการบังคับวิญญาณของตัวให้ถูกต้องตามคลองธรรม คุณ ธรรมในสมาคมกําลังโย้ถอยหลัง ฐานะของมันกําลังจะโค่น ข้อ หนึ่งในจํานวนเหตุผลข้อใหญ่ทั้งหลายนั้น ได้แก่เหตุที่มนุษย์ฉลาด และเฉียบแหลมเกินไป จนลืมข้อง่ายๆ ที่รอความกตัญญอย่างที่ บรรพบุรุษ ของตนได้สะสมไว้ ลัทธิแห่งการหมุนเวียนได้แพร่ทั่วไป และทั้งมนุษย์ได้ยึดเอาลัทธิอันเลวๆ แห่งการเปลี่ยนแปลงของโลก ไว้ภายในหัวใจจนแน่นแล้ว และมนุษย์ที่ร่ําเรียนนอกลู่นอกทาง โดยอาศัยหลักของความฉลาดเป็นสิ่งนําไป และกันพระผู้เป็นเจ้า (ศีลธรรม) ให้ห่างเหไปจากความจําของโลก”

    เอ. พี. ริตช์ กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า :

    “คําทํานายอันเกี่ยวกับภาวะของโลก ซึ่งบังเกิดขึ้นในยุคนี้นั้น ได้เป็นไปตามคําทํานายอย่างแม่นยําที่สุด สถิติการฆาตกรรมได้ เพิ่มขึ้นอีกอย่างมากมาย การกระทําอัตวินิบาตกรรมได้เป็นไป ทั่วโลก การหย่าร้างก็ปรากฏมากขึ้น คดีต่างๆ อันเกี่ยวกับการ ปราศจากศีลธรรมกําลังค่อนข้างดกดื่น การทะเลาะเบาะแว้ง ภายในวงครอบครัว การขโมยคนเรียกค่าไถ่ การลักขโมยปล้น สะดม การก่อการจลาจล เหล่านี้ดูเหมือนเป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจ เหลือเกิน ถ้าหากว่าเราจะหยิบเอาขึ้นมากล่าวในยุคแห่งความ มหัศจรรย์นี้”

    เมื่อคราวมีการประกวดความก้าวหน้าในทางประดิษฐกรรมโดย หลักวิทยาศาสตร์ เมื่อ ค.ศ. ๑๙๓๓ (พ.ศ. ๒๔๗๖) ที่ชิคาโก อเมริกา ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต มอสโลเวท แห่งอักษรศาสตร์ ประจํานครชิคาโก ได้เขียนบทความลงในหนังสือเคอเร้นต์ ฮิสตอรี เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๓๔ (พ.ศ. ๒๔๗๗) ท่านศาสตรา จารย์ผู้มีมันสมองอันเชี่ยวชาญในทางความเสื่อมและความเจริญ ของโลกแห่งยุคมหัศจรรย์ อันประกอบขึ้นด้วยแนววิทยาศาสตร์ ท่านได้ย้ําถึงความประพฤติอันเหลวไหลของมวลมนุษย์ที่มาดูการ ประกวดคราวนั้นว่า “ประพฤติไม่เหมาะสมที่จะเป็นพลเมืองที่ดี” อันเนื่องด้วยการคุยอย่างภาคภูมิใจของคณะกรรมการ ซึ่งโฆษณา เป็นทางการว่า “เป็นการประกวดถึงความสําเร็จแห่งวิทยาศาสตร์ และการประดิษฐ์อย่างขะมักเขมันในการสร้างชีวิตมนุษย์ให้บริบูรณ์ ต่อไปกว่าธรรมดาอีก”

    ศาสตราจารย์ มอสโลเวท กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า :

    “ความสําเร็จของวิทยาศาสตร์นั้นมีมากมาย รวมทั้งการจะ นําไปใช้งานด้วย แต่คงจะมีคนถามบ้างดอกว่า เหตุผลที่จะขยาย ชีวิตมนุษย์ให้บริบูรณ์ออกไปผิดธรรมดานั้นมันอยู่ที่ไหน?” แล้ว ท่านกล่าวต่อไป “สถานที่ประกวดงานในคราวนี้แห่งหนึ่ง ได้จัด ถนนซึ่งเราเรียกถนนนี้ว่า ถนนปารีส ซึ่งเต็มไปด้วยความสนุกสนาน รื่นเริงบันเทิงเบิกบาน หรืออีกนัยหนึ่งอาจเรียกว่า นครแห่งความ ชั่วร้าย ก็เหมาะดี งานคราวนั้นเก็บเงินได้ถึง ๑,๒๕๐,000 เหรียญ ทอง” ท่านก็กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ภาพแห่งความชั่วร้ายจะบังเกิด ขึ้นได้ ก็เพราะความก้าวหน้าแห่งการแสดง หรือการหาความสนุกเพลิดเพลินเจริญกาม ซึ่งเต็มไปด้วยความชั่ว ในกาลภายหน้าต่อไป มนุษย์ทั้งหลายจะพากันตั้งปัญหาถามตนเองว่า จะใช้เวลาว่างใน สถานที่เช่นไร? และไม่มีอะไรที่จะน่าทุเรศไปกว่าสถานที่เลวๆ ตามข้างถนนมิดเวย์ซึ่งการแสดงเพื่อความเพลิดเพลิน ล้วนเกี่ยว กับผู้หญิง” ท่านกล่าวไว้ในตอนสุดท้ายว่า “น่าฉงนยิ่งนักว่า การฉลองการก้าวหน้าประจําศตวรรษนั้นนะ สมควรแล้วหรือ? ผู้ ที่มีหัวใจรู้จักคิดแล้ว ย่อมจักกระตุ้นโดยความรู้สึกชนิดหนึ่ง ซึ่ง จะพบจากการอธิบายอย่างพิสดาร ซึ่งมักจะได้ยินกันเสมอว่า “การปรับปรุงทั้งหลายนั้น แทนที่จะทําให้ชีวิตมนุษย์รุ่งเรืองขึ้น กลับปรากฏว่าได้ทรุดลงเสียอีก”

    ลายครามแห่งปรัชญาตะวันตก ซึ่งผู้เขียนได้นํามาบรรยายไว้ ในบท “ศรีอาริยยุค” นี้หากว่าจะผิดกับความเหมาะสมของบท และจะผิดกับความต้องการของผู้อ่าน ชนิดที่มีชีวิตโซกโซนอยู่ใน กลุ่มหมอกแห่งความหายนะใดๆก็ดี ก็เพื่อว่าจะกระตุ้นเตือนหรือ สะกิดสีข้างเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกให้รู้สึกตัวเสียบ้างในทํานอง “ปิ้ง ปลาหมองอแล้วให้กลับ” เพราะถ้าไม่คอยระวังหรือคอยกลับแล้ว มันก็ไหม้มอดวอดวาย และเสียปลาไปอย่างน่าเสียดายเพราะกลับ ตัวไม่ทัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...