พระสงฆ์ไทยแสดงวิสัยทัศน์งดงามบนเวทีสหประชาชาติ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 มีนาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b98ce0b984e0b897e0b8a2e0b981e0b8aae0b894e0b887e0b8a7e0b8b4e0b8aae0b8b1e0b8a2e0b897e0b8b1e0b8a8.jpg

    เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา อาตมาพร้อมกับคณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ ที่นำโดยพระราชรัตนสุนทร (วินัย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ พร้อมกับผู้แทนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธฯ นั่นก็คือ พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสและกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ได้เดินทางไปสัมมนาระดับนานาชาติ เรื่อง “ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ณ นครรัฐวาติกัน

    การไปครั้งนี้ เป็นไปตามพระสมณประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระสันตะปาปาองค์ที่ 226 พระประมุขแห่งคริสตจักรคาทอลิก

    ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้แทนของวาติกัน ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อกราบบังคมทูลเชิญพระองค์ ตรัสเกี่ยวกับ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในเวทีสัมมนาของสหประชาชาติ เรื่อง “ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ณ นครรัฐวาติกัน ซึ่งพระองค์ท่านมีพระเมตตาและพระบัญชามอบหมายให้ พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส เป็นผู้แทนพระองค์กล่าวปราศรัย บนเวทีการสัมมนาของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในครั้งนี้

    โดยในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2562 พระพรหมบัณฑิต ผู้แทนสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ร่วมกล่าวปราศรัยบนเวทีโลก ในประเด็นเกี่ยวกับ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการทำงานร่วมกับศาสนาอื่นๆ อย่างสันติภาพ” โดยในช่วงท้ายของการปราศรัย พระพรหมบัณฑิตได้น้อมนำแนวคิดและหลักการปฏิบัติ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มากล่าวบนเวที สร้างความประทับใจและได้รับเสียงปรบมืออย่างกึกก้อง จากผู้เข้าร่วมสัมมนา ที่เดินทางมาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

    เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย บราซิล เยอรมนี อิตาลี เลบานอน จีน ฮ่องกง อินเดีย และประเทศอื่นๆ จำนวน 350 คนเป็นอย่างมาก

    b98ce0b984e0b897e0b8a2e0b981e0b8aae0b894e0b887e0b8a7e0b8b4e0b8aae0b8b1e0b8a2e0b897e0b8b1e0b8a8-1.jpg

    ในการประชุมครั้งนี้ มีสิ่งที่ภาคภูมิใจสำหรับอาตมาอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ วัดโพธิ์ได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระประมุขแห่งคริสตจักรคาทอลิกอย่างที่สุด นอกจากพระองค์ท่านมีพระสมณประสงค์ที่จะเชิญคณะสงฆ์วัดโพธิ์เข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับประเด็นด้านศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อระดมความคิดจากทั่วโลกแล้ว ที่สำคัญ คือ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2562 พระพรหมบัณฑิต ผู้แทนสมเด็จพระสังฆราช อาตมาและคณะสงฆ์วัดโพธิ์ พร้อมด้วยนายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย ไวยาวัจกรวัดพระเชตุพนฯ ได้เข้าเฝ้าพระองค์ท่านอย่างใกล้ชิด

    “อาตมาจำภาพได้อย่างดี แม้ว่าพระองค์ท่านจะมีพระเมตตาให้ผู้นำศาสนาและผู้นำโลกท่านอื่นๆ เข้าเฝ้าพร้อมกัน แต่สำหรับคณะสงฆ์วัดโพธิ์นั้น ได้ที่นั่งแถวที่สอง รองจากแถวผู้นำศาสนาโลกที่นั่งด้านหน้าสุด ได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านมากและได้ร่วมบันทึกภาพไว้พร้อมๆ กับผู้ร่วมสัมมนาจากทุกประเทศ ซึ่งมิอาจหาดูได้อีก ภาพนี้ ถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์วัดโพธิ์เลยทีเดียว อาตมาเชื่อว่า แม้เวลาจะผ่านไปอีกเป็นหลายร้อยปี ภาพดังกล่าวก็คงยังถูกบันทึกไว้ ณ นครวาติกัน และสหประชาชาติ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้มิรู้ลืม”[​IMG] [​IMG]

    การที่คณะสงฆ์วัดโพธิ์ได้รับเกียรติจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส และสหประชาชาติ ก็เพราะว่า เริ่มจากที่สมเด็จพระสันตะปาปา พระองค์ท่านมีพระสมณประสงค์จะจัดแสดงพระคัมภีร์ที่เป็นของถวายจากประเทศไทย เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ได้นำไปถวายเมื่อเสด็จฯเยือนนครวาติกัน เมื่อ ปี พ.ศ.2477

    สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระองค์ท่านจะทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ของวาติกัน เพื่อจัดแสดงพระคัมภีร์ฉบับนี้ให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกชม แต่เนื่องจากเนื้อหาในพระคัมภีร์ถูกบันทึกไว้ด้วยภาษาขอมโบราณ ซึ่งวาติกันเองไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการอ่าน จึงมอบหมายให้ มองซินญอร์ แอนดรู ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ ผู้แทนติดต่อมายังคณะสงฆ์วัดโพธิ์ ขอให้ช่วยปริวรรต (แปล) เป็นภาษาไทย และทางวาติกันจะนำไปแปลต่ออีก 7 ภาษา

    สาเหตุที่ทางวาติกันติดต่อมายังวัดโพธิ์โดยตรง ก็เพราะบันทึกในจดหมายเหตุแห่งนครรัฐวาติกัน เขียนไว้ว่า ในอดีตมีพระภิกษุสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2515 ก็คือ สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสแห่งวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งในเวลาต่อคือ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส จึงมีพระสมณประสงค์ที่จะให้มีการประสานมายังวัดโพธิ์เพื่อทำงานชิ้นนี้ร่วมกัน ถือเป็นการสานมิตรภาพระหว่างสองศาสนาที่เคยเกิดขึ้นครั้งอดีต ให้มีความเจริญงดงามมากยิ่งขึ้น

    b98ce0b984e0b897e0b8a2e0b981e0b8aae0b894e0b887e0b8a7e0b8b4e0b8aae0b8b1e0b8a2e0b897e0b8b1e0b8a8-2.jpg

    และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2560 คณะสงฆ์วัดโพธิ์ก็ได้เดินทางมาถวายคัมภีร์พระมาลัย ที่ปริวรรตแล้วเสร็จ ถวายแด่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ซึ่งอาตมาทราบเบื้องต้นว่า ในช่วงกลางปีนี้ 2562 คัมภีร์พระมาลัยเล่มนี้ที่วัดโพธิ์ถวายจะเปิดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนครรัฐวาติกันให้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลกชม ถือเป็นความภูมิใจและได้รับเกียรติอย่างสูงมากจากพระองค์ท่าน

    ที่สำคัญการได้รับเชิญให้ไปร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้อาตมาได้เปิดหู เปิดตา ได้พบเห็นการบริหารจัดการในระดับโลก ได้ไปทัศนศึกษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ บางแห่ง เพื่อนำมาพัฒนาวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดที่ได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกผ่านเว็บไซต์ทริปแอดไวเซอร์ ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอันดับที่ 17 ของโลก อาตมาจะนำสิ่งที่พบเห็นมาพัฒนาวัดโพธิ์ต่อไป

    พระราชปริยัติมุนี, ผศ.ดร. (เทียบ สิริญาโณ)
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    และคณบดีคณะพุทธศาสตร์
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/article/news_1415219
     

แชร์หน้านี้

Loading...