พระสมเด็จวัดระฆัง ของ พระเครื่อง เอื้อมรัก

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย รู้ตอนจบ, 10 ตุลาคม 2018.

  1. รู้ตอนจบ

    รู้ตอนจบ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +22
    11.jpg พระเครื่องเอื้อมรัก
    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใดก็ย่อมจะมีเนื้อหาเหมือนๆ กัน คือ ย่อมต้องมีอยู่ประมาณ 4 เนื้อหาใหญ่ๆ ดังนี้
    1. เนื้อละเอียด ซึ่งเนื้อแบบนี้มักจะปรากฎก้อนฝังน้อยมาก หรือถ้ามีก็ไม่อาจเรียกว่าก้อนได้เพราะมีขนาดเล็ก ซึ่งควรจะเรียกว่า “เม็ด” หรือถ้าเล็กลงไปอีกก็อาจจะเรียกว่า“จุด”
    2. เนื้อแบบกลางๆ คือหยาบละเอียดแบบพอดีๆ เนื้อแบบนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเนื้อละเอียดรวมกันตลอดองค์ แต่มักจะปรากฎก้อนฝังอยู่ประปราย โดยเฉพาะด้านหน้ามักจะปรากฎชัดเจน เนื้อแบบนี้ในวัดระฆังพิมพ์พระประธานพกมากในสัดส่วนใกล้เคียงกับเนื้อละเอียด ซึ่งพบมากที่สุด
    3. เนื้อหยาบ เนื้อแบบนี้เป็นเนื้อหาหลักที่ใครๆ ก็ชอบและจัดเป็นเนื้อที่ง่ายแก่การพิจารณามากกว่าเนื้อละเอียดหรือเนื้อกลางๆ เพราะพระสมเด็จวัดระฆังประเภทเนื้อหยาบมักจะปรากฎก้อนฝังตลอดทั้งองค์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อีกทั้งธรรมชาติดั้งเดิมของพระสมเด็จแบบนี้มักจะพบเห็นน้อยกว่าประเภทเนื้อละเอียด แต่สะดุดตาแก่ผู้พิจารณามากกว่าและชวนให้จดจำได้ง่ายกว่า อีกทั้งพระเนื้อหยาบมักจะเป็นพระมีวรรณะเข้ม ทั้งขาวอมน้ำตาลเข้มหรืออมเหลืองเข้ม และสีพิกุลเข้ม จึงเป็นสีที่ตอกย้ำร่วมกับเนื้อหาชัดเจน ทำให้จดจำได้ง่าย ยิ่งเมื่อผ่านการบูชามานานปียิ่งเกิดความซาบซึ้งสูง
    4. เนื้อหยาบมากหรือมักจะเรียกว่ากันว่าเนื้อก้นครก เนื้อประเภทนี้อันที่จริงแล้วพบน้อยมาก และหากพบเห็นเนื้อก้นครกแบบมีมวลสารหลักอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินปกติก็จะเกิดความหวาดระแวงว่าจะไม่แท้ ทั้งๆ ที่จริงแล้วสัดส่วนปริมาณมวลสารหลักหรือมวลสารร่วมในพระสมเด็จวัดระฆังแม้ส่วนใหญ่จะลงตัวอย่างที่พบเห็นกัน แต่ก็ใช่ว่าพระ (บางองค์) ที่เนื้อหยาบมากๆ และมีมวลสารหลักบางอย่างเช่นกรวดเทาหรืออิฐแดงมากเกินไปจะต้องไม่แท้เสมอไป แต่หากมีก้อนขาวจำนวนมากกลับกลายเป็นดีเสียอีก จะกลายเป็นพระดูง่ายขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ

    ผิวพระและวรรณะดั้งเดิมของพระสมเด็จวัดระฆัง
    อะไรคือผิว
    ผิวพระสมเด็จคือธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งปรากฎหรือปกคลุมอยู่ส่วนบนสุดของพระสมเด็จวัดระฆัง โดยเฉพาะพระที่มีสภาพเดิมยังไม่ผ่านการใช้ก็จะปรากฎผิวและวรรณะอย่างหลากหลาย ทั้งนี้เป็นผลมาจากสูตรการผสมคลุกเคล้าเนื้อพระกับสัดส่วนเนื้อหามวลสารไม่เท่าเทียมกัน ผิวพระในพระสมเด็จวัดระฆังอาจแบ่งได้ดังนี้
    ผิวบาง
    หมายถึงเยื่อหรือใยบางๆ แผ่ปกคลุมอยู่ส่วนบนสุด ซึ่งส่วนมากจะมีลักษณะบางมากกว่าหนา และผิวบางๆ ที่ว่านี้จะมีความสัมพันธ์กับวรรณะพระแต่ละวรรณะ พระสมเด็จวัดระฆังแบบผิวบางมักจะปรากฎเป็นวรรณะขาวเสียส่วนใหญ่ แต่ก็คงมีทั้งขาวขุ่น ขาวอมเหลือง ขาวอมน้ำตาล ขาวอมเทา ขาวอมเขียวก้านมะลิ และขาวนมข้น
    ผิวหนา
    หมายถึงฝ้าที่จับอยู่บนพื้นผิวอย่างเห็นได้ชัดเจน และมักจะมีได้ทั้งปกคลุมอยู่ทั่วๆ ไปตลอดองค์ โดยเฉพาะด้านหน้า หรือว่าบางองค์ปกคลุมอยู่เต็มองค์ทั้งหน้าและหลัง แม้จะปกคลุมอยู่เต็มองค์แต่ผู้พิจารณาจะรู้สึกได้ว่า (เห็นได้จากสายตาและความรู้สึก) ภายใต้ผิวที่ปกคลุมอยู่ทั้งองค์ ซึ่งก็คือเนื้อหาส่วนใหญ่ของพระนั้น จะมีสีสันแตกต่างไปจากพื้นผิว
    ผิวหนาหรือฝ้าในพระสมเด็จวัดระฆัง จะปรากฎเป็นสองสี คือ สีขาวหรือจะเรียกว่าวรรณะขาวแบบแป้งผัดหน้า ซึ่งมักจะเรียกกันว่า “แป้งโรยพิมพ์” ซึ่งต้องขอยืนยันว่าเป็นการเรียกขานที่ผิดครับ และสิ่งที่ปรากฎให้เห็นดังนั้นหาใช่แป้งโรยพิมพ์ไม่ หากแต่เป็นผิวของปูนเปลือกหอยทำปฏิกิริยากับสัดส่วนของน้ำมันตังอิ้วอย่างพอดิบพอดี จึงเกิดเป็นฝ้าขาว หนาบ้างบางบ้าง แต่ในหลายๆ องค์ที่เคยพบเห็นจนคุ้นชินมักจะมีฝ้าขาวค่อนข้างหนา
    ผิวหนาอีกวรรณะหนึ่งที่พบเห็นบ่อยคือ ฝ้าน้ำตาลอมเหลือง ซึ่งผิวฝ้าหนาวรรณะนี้มักจะมีความหนามากกว่าแบบแป้งวรรณะขาว และฝ้าหนาวรรณะน้ำตาลอมเหลืองแบบนี้ก็มีทั้งที่ปกคลุมกระจายกันอยู่เป็นหย่อมๆ บนพื้นผิว หรือที่ปกคลุมกระจายไปทั้งองค์ก็มี แต่ผู้พิจารณาก็จะเห็นได้หรือรู้สึกได้เช่นเดียวกันกับฝ้าขาว หรือแบบที่มักเรียกว่าแป้งโรยพิมพ์ คือใต้พื้นผิวหรือใต้ฝ้าแบบนี้ ซึ่งก็คือเนื้อหาส่วนใหญ่ของพระนั้น จะมีสีสันวรรณะแตกต่างออกไปจากผิวพระเช่นกัน
    ผิวพระและวรรณะในพระสมเด็จที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเน้นกล่าวถึงผิวและวรรณะดั้งเดิม นั่นย่อมหมายถึงพระที่ยังไม่ผ่านการใช้หรือใช้น้อยมาก ใช้อย่างทะนุถนอมจึงไม่ทำให้ผิวหลุดหรือเลือนหายไปโดยง่าย

    สีสันวรรณะของเนื้อพระสมเด็จ
    แน่นอนว่าเมื่อพระสมเด็จวัดระฆังผ่านการใช้จนผิวเปิดออกไป ย่อมต้องปรากฎเนื้อในซึ่งมีหลากหลายเนื้อและหลากหลายสีสันวรรณะ ประการสำคัญในแต่ละเนื้อแต่ละวรรณะล้วนสัมพันธ์กันด้วยเหตุปัจจัยแห่งส่วนผสมของเนื้อหาหลักในพระสมเด็จ คือ ปูนเปลือกหอยกับดินสอพอง ส่วนมวลสารหลักและมวลสารร่วมอื่นๆ คงไม่มีผลกับสีสันวรรณะของพระแต่ละเนื้อ
    ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในส่วนของเนื้อหาพระสมเด็จวัดระฆังว่ามีเนื้อละเอียด เนื้อหยาบละเอียดแบบกลางๆ เนื้อหยาบทั่วไปกับเนื้อหยาบมากแบบที่เรียกกันว่าเนื้อก้นครก ในเมื่อเนื้อหาของพระสมเด็จพอจะแบ่งแยกได้ประมาณนี้ คือ เป็น 4 เนื้อหลักๆ ซึ่งอันที่จริงใน 4 เนื้อนี้อาจแยกย่อยลงไปอีก คือ หยาบละเอียดลดหลั่นกันลงไป แต่คงไม่ต้องกล่าวถึงโดยละเอียกเช่นนั้น
    แต่โปรดเข้าใจว่าเรื่องเนื้อพระ ผิวพระ และวรรณะพระสมเด็จนั้นมิได้แยกชัดเจนเด็ดขาดลงไปว่าพิมพ์นั้นพิมพ์นี้จะต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แต่เป็นการบอกเล่าจากสถิติการพบเห็นพระจำนวนมาก และอาจสามารถแยกแยะได้พอประมาณเท่านั้น
    มวลสารหลักในพระสมเด็จวัดระฆัง
    เมื่อกล่าวถึงเนื้อหาหลักไปแล้ว ก็คงต้องกล่าวถึงมวลสารหลักในพระสมเด็จวัดระฆังทุกพิมพ์ ซึ่งอาจแบ่งแยกมวลสารหลักได้ดังนี้คือ
    1. อิฐแดง
    2. กากดำ
    3. กรวดเทา
    4. ก้อนขาว
    5. ทรายแก้ว
     
  2. รู้ตอนจบ

    รู้ตอนจบ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +22
    ธรรมชาติด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังทุกพิมพ์ทรง
    ธรรมชาติด้านหลังเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยพิจารณาตัดสิน สนับสนุนหรือหักล้างด้านหน้า แท้ที่จริงแล้วด้านหน้าย่อมต้องสำคัญกว่าด้านหลังแน่นอน แต่ม่านเชื่อหรือไม่ว่าด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังบางองค์พิจารณาง่ายจน ไม่ต้องมองด้านหน้าก้รู้ว่าแท้ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้พิจารณาจะต้องเป็นผู้ที่สูงด้วยประสบการณ์ คือพบเห็นมามากหลากหลายจนติดตา ทั้งนี้เพราะว่าธรรมชาติด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมิได้มีความหลาก หลายมากมายนัก แต่ก่อนที่จะกล่าวว่ามีกี่แบบนั้นควรต้องทราบก่อนว่าธรรมชาติด้านหลังเกิด จากภาชนะรองกดพิมพ์ หรือพื้นที่ใช้รองกดพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือพื้นกระดานนั่นเอง มีอยู่บ้างเหมือนกันตามคำบอกเล่าและการทดลอง ดังเช่นการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 2509 มีการใช้กระเบื้องหลังคาโบสถ์เป็นภาชนะรองกดด้านหลัง ก็จะปรากฎริ้วรอยแบบหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า “รอยปู่ไต่” หรือ “รอยหนอนต้น” อยากจะยืนยันว่าธรรมชาติด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังมิได้มีรูปแบบเฉพาะ เจาะจงเป็นกี่แบบ หรือว่ามีแผนพื้นกระดานรองกดเฉพาะของแต่ละแบบ ธรรมชาติที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นความบังเอิญตามลักษณะพื้นที่ของกลุ่ม ช่างแต่ละพิมพ์ที่ร่วมกันทำงานกดพิมพ์พระ กลุ่มไหนคนไหนใช้พื้นกระดานรองกดก็ย่อมปรากฎเป็นเสี้ยนกระดาน โดยจะขอเริ่มยกตัวอย่างธรรมชาติด้านหลังดังต่อไปนี้
    1. หลังเสี้ยนกระดาน หลังแบบนี้มักจะมีรอยย่นเป็นคลื่นตลอดแนวผืนหลัง และบางองค์อาจมีการปริขอบทั้ง 3 – 4 ด้าน ด้านหลังแบบนี้เป็นธรรมชาติที่ดูง่ายและซาบซึ้งที่สุด
    2. หลังเรียบแน่น มักจะปรากฎรอยปู่ไต่หรือรอยหนอนต้น หรือรอยลากเป็นทางสวนทแยงกันบ้าง ดูแล้วเกิดเป็นธรรมชาติ ลักษณะหลังแบบนี้อาจต้องใช้ความชำนาญมากกว่าแบบแรก และสันนิษฐานได้ว่ามักใช้กระเบื้องหลังคาโบสถ์ที่เป็นกระเบื้องแผ่นเรียบแบบ โบราณมารองกด
    3. หลังเหนอะ หรือมักจะเรียกว่าหลังสังขยา หลังแบบนี้สันนิษฐานว่าเนื้อพระมักจะมีความชื้นสูง เมื่อกดลงไปตรงๆ บนผืนกระดานที่ไม่มีความราบเรียบ และเมื่อดึงพิมพ์ดึงองค์พระขึ้นมามักจะปรากฎรอยเหนอะคล้ายกับรอยเหนอะด้าน หน้าองค์พระ แต่เนื่องจากแผ่นหลังที่กดลงไปบนพื้นขรุขระ จึงมักปรากฎรอยขรุขระผสานกับรอยเหนอะ ซึ่งเรียกกันว่ารอยสังขยา
    4. หลังขอบกระดาน หลังแบบนี้บางท่านเรียกว่าหลังบั้ง คือมักปรากฎเป็นขอบร่องลึกลงไปบนพื้นหลัง สันนิษฐานได้ว่าช่างคงกดพิมพ์ลงไประหว่างขอบกระดานที่ซ้อนหรือเกยกันอยู่ และบางครั้งอาจจะกดขยับ 2 – 3 ตำแหน่ง จึงเกิดรอย 2 – 3 ขอบ ซึ่งเป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่พบเห็นกันอยู่
    5. หลังปาด หลังปริ ธรรมชาติหลังแบบนี้มักมีลักษณะรอยปริย่นอันสืบเนื่องมาจากการปาดแผ่นหลังที่ ยังชื้นอยู่ หรืออาจเกิดจากการกดพิมพ์พระแล้วดันพิมพ์ไปด้านใดด้านหนึ่ง จึงปรากฎรอยปริแยกคล้ายกับการปาดครูด ซึ่งหลังแบบนี้จัดว่าเป็นธรรมชาติที่พิจารณาง่ายอีกแบบหนึ่ง
    6. หลังแบบปริแยกตามขอบพิมพ์ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งหลังแบบนี้อาจมีทั้งที่พื้นหลังตรงกลางแน่นเรียบหรือขรุขระพอประมาณ หรืออาจมีหลังแบบใดแบบหนึ่งแล้วมีการปริขอบร่วมด้วย สาเหตุของการปริขอบในที่นี้คงเกิดจากการตัดหรือเกิดจากการลากมีดในการตัดขอบ พิมพ์ ซึ่งมีดจะดึงให้ขอบพิมพ์ปริแยกไปตามรอยลาก หลังแบบนี้จัดว่าดูง่ายมากอีกแบบหนึ่ง
    ธรรมชาติด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังจัดเป็นธรรมชาติเฉพาะอย่างแท้จริง และไม่พบธรรมชาติแบบนี้ในพระเนื้อปูนปั้นของวัดอื่นๆ จึงถือเป็นจุดสำคัญและจุดชี้ขาดในการพิจารณาได้ทีเดียว
    ธรรมชาติเฉพาะในพระสมเด็จวัดระฆังทุกๆ พิมพ์
    ท่านผู้อ่านที่สนใจและใฝ่ศึกษาในเรื่องพระสมเด็จวัดระฆังทุกท่านคงเคยได้ อ่านได้ยินได้ฟังถึงธรรมชาติหลากหลายของพระสมเด็จวัดระฆัง ที่มีชื่อเรียกหรือคำจำกัดความเฉพาะต่อไปนี้

    ความหนึกนุ่ม
    ธรรมชาติหนึกนุ่มในพระสมเด็จวัดระฆัง หรือธรรมชาติอื่นๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ดูคล้ายกับเป็นนามธรรมหรือความรู้สึกเฉพาะของผู้พิจารณาที่มีประสบการณ์มาก อันอาจยากแก่การให้คำจำกัดความ แต่ขออธิบายพอสื่อสารทำความเข้าใจกันดังนี้ “ความหนึกนุ่ม” มักพบอยู่ในพระสมเด็จวัดระฆังที่ผ่านการบูชามานานปี แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นพระที่ผ่านการใช้จนซ้ำหรือผิวพระเปิด
    ความหนึกนุ่มในที่นี้เกิดจากการที่ผิวพระหรือองค์พระซึมซับเหงื่อไคลของผู้ บูชา ประกอบกับอุณหภูมิของร่างกายได้ทำปฏิกิริยากับเนื้อพระ และแน่นอนว่าเนื้อพระแต่ละประเภทย่อมแสดงความหนึกนุ่มแตกต่างกัน หากเป็นเนื้อประเภทแก่ผงดินสอพองย่อมหนึกนุ่มได้มากกว่าเนื้อแก่ปูน และแน่นอนว่าแม้จะแสดงความหนึกนุ่มตั้งแต่พื้นผิว แต่หากเป็นพระที่ผ่านการใช้มาซ้ำมากกว่าย่อมหนึกนุ่มได้มากกว่าเช่นกัน ความรู้สึกหนึกนุ่มนี้จะเห็นชัดต่อเมื่อใช้แว่นขยายส่อง จะเห็นเนื้อพระผิวพระมีน้ำมีนวล ดูแล้วชวนเคลิบเคลิ้มหลงไหลไม่น้อยทีเดียวครับ

    ความซึ้ง
    ความซึ้งคือความรู้สึกเมื่อได้ส่องพระสมเด็จด้วยแว่นขยายและจะเกิดความ รู้สึกร่วมกันหรือสัมพันธ์กันกับความหนึกนุ่ม ยิ่วเนื้อพระสมเด็จองค์นั้นมีความหนึกนุ่มมากเท่าใด ผู้ส่องหรือผู้พิจารณาจะยิ่งรู้สึกมีความซาบซึ้งต่อพระสมเด็จองค์นั้นมาก ขึ้นเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นความหนึกนุ่มเป็นเรื่องธรรมชาติในองค์พระ แต่ความซึ้งหรือความซาบซึ้งเป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นจากจิตใจผู้พิจารณา ซึ่งหากสองความรู้สึกนี้สัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น พอจะอนุมาณได้ว่าพระสมเด็จองค์นั้นมีคุณสมบัติของธรรมชาติถูกต้อง แต่ต้องเป็นความรู้สึกที่เป็นจริง ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่งจากจิตใจของผู้ส่องหรือผู้พิจารณา
    ความสว่าง
    พระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระพิมพ์เนื้อปูนปั้น และด้วยคุณสมบัติของปูนเก่านี่เองจะมีส่วนส่งให้เกิดความรู้สึกอีกประการ หนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นกับองค์พระก่อนแล้วค่อยเชื่อมโยงมาสู่ผู้พิจารณา นั่นคือความรู้สึกสว่างตาตั้งแต่แรกเห็น นั่นหมายความว่าธรรมชาติความสว่างตาใน พระสมเด็จอาจเกิดขึ้นเมื่อเห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่อยิ่งใช้แว่นขยายส่องลงไปก็จะยิ่งเห็นความสว่างชัดเจนขึ้น ความสว่างตาในที่นี้ก็เป็นนามธรรมเฉพาะของผู้พิจารณาที่ได้รับผลกระทบจาก เนื้อพระ อยากจะอุปมาถึงความสว่างตาเพิ่มเติมดังนี้ นอกจากแลดูสว่างตาแล้วองค์พระหรือเนื้อ พระจะมีประกายสว่างไสว ดังที่ผู้เขียนเคยอุปมาบ่อยครั้งว่า หากเอาพระสมเด็จวัดระฆังแท้วางปะปนกับพระสมเด็จเลียนแบบนับร้อยองค์ หากอยากจะคัดเอาองค์ที่แท้ออกมาให้เลือกองค์ที่มองแล้วมีความสว่างตามากที่ สุด อันนี้เป็นแค่อุปมาอุปไมยเท่านั้น แต่ก็อุปมาจากความเป็นจริง
    มิติที่เป็นจริง
    มิติที่เป็นจริงของพระสมเด็จวัดระฆังนั้น แม้ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติเฉพาะ แต่ก็ต้องเรียกว่ามิติเฉพาะหรือมิติที่เป็นจริงนั่นเอง มิติในที่นี้หมายถึงความสัมพันธ์ของพื้นผิวพระอันเป็นพื้นระนาบกับส่วนนูน ขององค์พระและเส้นซุ้ม ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังแท้นั้นจะมีมิติค่อนข้างลึก แต่นั่น ละครับจะลึกจะตื้นขนาดไหนผู้พิจารณาย่อมต้องเคยเห็นมิติความเป็นจริงของพระ สมเด็จวัดระฆัง มามากพอ จึงจะสามารถวิเคราะห์หรืออนุมานความตื้นลึกเฉพาะของแต่ละองค์ได้ เพราะพระสมเด็จ วัดระฆังแท้บางองค์ที่กดไม่เต็มพิมพ์ก็อาจไมลึกพอหรือมีมิติคลาดเคลื่อนไป แต่ใช่ว่าพระองค์นั้นจะ ไม่แท้ เพราะคงต้องพิจารณาจากองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ อีกให้ครบถ้วน
     
  3. รู้ตอนจบ

    รู้ตอนจบ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +22
    ด้านหลังพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่บี ของ พระเครื่องเอื้อมรัก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • B2.jpg
      B2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      350.3 KB
      เปิดดู:
      333
  4. nhang

    nhang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2018
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +2
    :) ความรูู้แน่่นมากคะ เนืื้อหาแน่่น. ตามศึกษาคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...