พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

ในห้อง 'ห้องแสดงวัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย วะระปัญญ์, 12 พฤศจิกายน 2018.

  1. วะระปัญญ์

    วะระปัญญ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2018
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +53
    ..ในหนังสือพระสมเด็จ เขียนโดย
    คุณประชุม กาญจนวัฒน์ เมื่อ 3 เมษายน 2512 บทความบางส่วนว่า

    ...ข้อควรจำอย่างยิ่งสำหรับนักสะสมพระเครื่อง ผู้สนใจพระสมเด็จวัดระฆังก็คือ
    1. พระสมเด็จวัดระฆัง เส้นซุ้มแบบผ่าหวาย จะต้องเส้นใหญ่และหนา กว่าพระสมเด็จ
    บางขุนพรหม
    2. พระสมเด็จวัดระฆัง มีทั้งเนื้อแบบราบเรียบ และเนื้อแตกลายงา ถ้าองค์ใดเนื้อแตกลายงา ย่อมหมายถึงพระองค์นั้น ได้รับการลงรักปิดทอง มาแต่เดิม และเมื่อล้างออก เนื้อพระจะแตกลายงาดังกล่าว(กรณีนี้ พระบางองค์จะเห็นคราบรักและเศษทอง ตกค้างตามซอกตามแอ่งประปราย)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเนื้อแตกลายงานี้ ด้านหลังองค์พระ จะไม่แตกเป็นอันขาด
    3.ด้านข้างองค์พระ ส่วนมากจะมีร่องรอยเสี้ยน ( สันนิษฐานกันว่าตัดด้วยคมไม้ตอก)
    แบบพระนางพญา
    4. พระสมเด็จวัดระฆัง ไมได้ลงกรุ ฉะนั้นตลอดองค์พระ จะไม่ปรากฏคราบกรุ ,คราบดิน ,
    และคราบฝ้าละอองที่จับตามผิวอย่างพระสมเด็จบางขุนพรหม
    ...หลักใหญ่ๆ เป็นเพียงให้ท่านได้ทราบไว้ เพื่อการเดินทางสู่ อาณาจักรพระเครื่อง ได้โดยถูกต้องไม่โดนหลอก แต่จะเก่งกาจเชี่ยวชาญได้ ต้องยอมรับความเห็น ของผู้อื่นอย่างมีเหตุมีผล จะทำให้ท่านหูตาส่วางดีกว่านั่งทำตัวประดุจ "..คางคกในกะลา.." ฯลฯ

    ...พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่องค์นี้ ติดพระกรรณ(หู)ชัด เห็นลำพระศอ(คอ)แผ่วๆ วงพระกร
    (แขน)โค้งงดงาม ซอกพระกัจฉะ(รักแร้)ลึก พระชานุ(หัวเข่า) ทั้ง 2 ข้าง เชิดขึ้น
    แต่ด้านซ้ายจะหนา กว่าเข่าขวาหน่อยหนึ่ง
    -ฐานชั้นที่3บนสุด(ความเห็นส่วนตัวผมว่า เหมือนลำเรือโบราณของพวกไวกิ้ง)
    -หัวฐานชั้นกลางปรากฏฐานสิงห์ชัด
    -ฐานชั้นล่างสุด ดูหนาทึบ หัวฐานด้านขวาองค์พระ ชิดเส้นซุ้ม (เข้าใจว่านายช่างคงแกะเกิน)
    -เส้นซุ้มแบบผ่าหวาย อวบ ใหญ่ โย้ไปทางซ้ายองค์พระนิดๆ สังเกตุดูพื้นที่ผิว นอกเส้นซุ้มด้านซ้าย องค์พระจะแคบกว่าด้านขวา องค์พระสมเด็จ พระพัตร์(หน้า) ดุจหน้าตั๊กแตน พระเกศ
    เป็นลำพระเพลิง สมส่วน

    *** ที่เด็ดที่สุด ของพระสมเด็จองค์นี้ 2 จุด คือ
    จุดที่ 1. ฐานชั้นล่างสุดนี้ บริเวณเนื้อที่กระเทาะออก เพราะถูกแคะ เห็นเศษผ้าเก่าเปื่อย
    โผล่ออกมาจากเนื้อใน.
    จุดที่2. เส้นซุ้ม ช่วงบน ด้านนอกเส้น เยื้องไปทางซ้ายขององค์พระ เห็นเศษผ้าเก่าเปื่อย
    โผล่ออกมาจากเนื้อในเพราะบริเวณนี้ถูกแคะ เนื้อกระเทาะออก.

    **** เรื่องเศษผ้าที่ปรากฏ เซียนบางคนบอกว่าเป็นผ้าจีวรเก่าที่ผสมลงไป /แต่ความเห็นของผมว่าน่าจะเป็นผ้าประเจียดยันต์ (ผ้านี้ยังเห็นมีขายอยู่บางพื้นที่ ผืนเล็กๆ ขนาดฝ่ามืออ้า
    แต่คงไม่ใช่ชนิดเดียวกับสมัยโน้น)ที่จารอักขระบริกรรมคาถาแล้ว ผสมลงไป.
    ด้านหลังเรียบ เนื้อหามวลสารหลุดร่อนไปบ้าง ตามอายุกาล เนื้อขอบปลิ้นออกด้านหลัง
    พระยังไม่เคยใช้ ไม่ถูกเหงือไม่ถูกไคล

    ....ความจริง ผู้ที่ศึกษาตำราพระสมเด็จเยอะๆ จะเข้าใจ กฏไตรลักษณ์ - หลักวิทยาศาตร์
    -กฏไตรลักษณ์ พระองค์นี้ เนื้อหามวลสาร ผ่านกาลเวลา มาถึงปัจจุบันนี้ ย่อมผุพัง คร่ำคร่า
    ไม่อาจทวนกระแสกาลเวลาได้เลย เนื้อหาที่เปิดออก บ่งบอกถึงสัจจธรรมได้เป็นอย่างดี
    ไม่มีอะไรคงทนถาวร และยังคงตั้งหน้าตั้งตา เดินทางไปสู่ความแตกสลายต่อไป
    อย่างไม่หยุดยั้ง แม้ผู้ครอบครอง จะคุกเข่า ขอร้องอ้อนวอนอย่างไร ก็ไม่แยแส

    -หลักวิทยาศาตร์ ส่วนผสมของพระสมเด็จ ที่จำเป็นต้องมี ขาดไม่ได้เลย เพื่อใช้ตัวประสาน คลุกเคล้าให้สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ อันจะเป็นตัวก่อสร้าง เป็นร่างเป็นทรง สีเหลี่ยม
    ชิ้นฟัก สลักสมมุติเป็นพระปฏิมากร ขึ้นมาได้ นั่นคือของเหลว ตามตำราว่า ตัวประสานที่สร้าง
    พระสมเด็จ ไม่แน่นอนตายตัว มีทั้ง น้ำอ้อย น้ำผึ้ง และน้ำมันตั้งอิ๊ว แต่ทั้งนี้ ตัวประสาน
    ทั้งหลายแหล่ ตามหลักการ มันไม่คงเดิม ต้องเปลี่ยนสถานะ ไปตามสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวมัน
    เท่าที่จะอำนวยให้เป็น

    ...พระสมเด็จองค์นี้ ท่านจะเห็นคราบสีแดงเหมือนน้ำชา เมื่อหยิบส่องกล้องดู
    คราบนี้มันดันมาจากเนื้อใน ทำให้นึกข้อเขียนของ คุณวิม อิทธิกุล หนังสือพระสมเด็จ 26 เมษายน 2513 หน้าที่ 11 ว่า.......... การสร้างพระสมเด็จ ยุคแรกนั้น กล่าวกันว่า สมเด็จฯท่านฉันกล้วยแล้ว เก็บเปลือกไว้ เอาผงดินสอเหลืองก้อนใหญ่ที่ท่านมีอยู่ มาเลื่อยให้เป็นผงชิ้นเล็กๆ ผสมกับเปลือกกล้วยแล้ว ผสมเจอด้วยน้ำผึ้งบ้าง น้ำอ้อยเคี่ยวบ้าง ตำให้ละเอียดเข้ากันดีแล้ว ให้นายน้อย (ผู้เป็นง่อยที่อาศัยกับท่าน) กับเจ้าคุณธรรมถาวร (สมัยเป็นสามเณร)
    ช่วยกันกดพิมพ์พระ ฯลฯ.........

    ( น้ำอ้อยสมัยก่อนเท่าที่ผมทันเห็น หรือบางท่านที่มีอายุหน่อย คงเคยได้เห็น
    คนเฒ่าคนแก่ ทำน้ำอ้อย เขาหนีบอ้อยทั้งเปลือก กรองเอาน้ำ เคี่ยวกับไฟอ่อนๆจนเหนียวเหนอะ
    แล้วปั้นเป็นก้อนๆ ไม่กลมเสียทีเดียว สีมันคล้ายสีขนมกาละแม พอเอาไปละลายน้ำ
    ทำข้าวเหนียวเปียก สีข้าวเหนียวจะออกแดงน้ำชา )

    ....ส่วนตัวเข้าใจว่าคราบนี้น่าจะเป็นน้ำอ้อยเคี่ยว แน่ๆ เพราะผ่านกาลเวลามายาวนาน
    อากาศประเทศไทยมีทั้ง ฤดูร้อน หนาว ฝน โมเลกุลภายใน ของสสารขยายตัว
    ตัวประสานเป็นของเหลว ไม่มีที่อยู่ จึงระเหิดผ่านเนื้อหามวลสารออกมา เกาะตามผิวพระ
    ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

    พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เต็มฟอร์ม พิมพ์ทรง เนื้อหามวลสารถูกต้อง ตามตำรา
    องค์นี้เจ้าของเดิม ต้องการลอกคราบออก จึงแคะแกะทำให้เนื้อพระหลุดออกมา พร้อมกับคราบ
    ผิวพระเสียหายพอสมควร ตามที่เห็นนี่แหละ. ภาพนี้ถ่ายจาก Samsung Note4
    เชิญชมครับ.
    PYRK_01.jpg PYRK_02.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...