พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 24 เมษายน 2011.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    ปุพพโกฏฐกสูตร
    พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า<o></o>

    [๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-<o></o>
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า
    <o></o>
    [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
    <o></o>
    [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อ พระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้นชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้วพิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
    <o></o>
    [๙๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.<o></o>

    จบ สูตรที่ ๔ ปุพพโกฏฐกสูตร<o></o>

    <o></o>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๗๖๗ - ๕๗๙๖. หน้าที่ ๒๔๐ - ๒๔๑.<o></o>




    <o>[MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1463946/[/MUSIC]</o>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2011
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สัทธินทรีย์ การประคองน้อมใจระวังกิเลสทั้งปวง ด้วยอบรมเจริญปัญญาเพื่อบรรลุมรรคผล

    [​IMG]



    สัทธินทรีย์ การประคองน้อมใจระวังกิเลสทั้งปวงด้วยสามารถฝึกฝนอบรมเจริญปัญญาเพื่อบรรลุมรรคผล


    สัทธินทรีย์ (อารมณ์ใจละเอียด ) ด้วยอรรถว่า การประคองน้อมใจระวังกิเลสทั้งปวงเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่ง อินทรีย์ ๕

    ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างไร ฯด้วยอรรถว่าฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ เพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเพื่อละความไม่มีศรัทธาเพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบๆเพื่อละกิเลสส่วนละเอียดๆ ..... เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯ<o></o>

    อารมณ์สัทธินทรีย์ มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะความปราโมทย์เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งฉันทะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปราโมทย์ปีติเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ด้วยสามารถแห่งศรัทธาด้วยอำนาจแห่งปีติปัสสัทธิเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งปีติสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถ<o></o>
    <o></o>

    อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ พละ คือ ความไม่หวั่นไหว
    <o></o>

    อินทรีย์ ๕ และ พละ ๕ ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาอินทรีย์ ๕ มีศรัทธา คือสัทธินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในสภาพธัมมะของตนคือ น้อมใจ เชื่อ สตินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการระลึก

    สมาธินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการไม่ฟุ้งซ่าน มีวิริยินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในการประคองอารมณ์ไว้ ด้วยสติ สมาธิ สู่ปัญญินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ ใน ความไม่หวั่นไหวในความไม่รู้ การเห็นตามความเป็นจริง

    พละ ๕ และ อินทรีย์ ๕ โดยองค์ธรรมแล้วเหมือนกัน
    เพียงแต่อธิบายคนละนัย คือ ความเป็นใหญ่และความไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือน แม่น้ำ มีเกาะอยู่ตรงกลาง พึงทราบว่า แม่น้ำสองสาย ที่แบ่งโดยเกาะตรงกลาง ก็เป็นสายน้ำเดียวกันและก็ย่อมบรรจบกัน

    <o></o>
    <o>
    กราบอนุโมทนาภาพประกอบการอินเตอร์เน็ต และที่มาข้อมูลเพื่อการศึกษา :-

    http://www.phrasiarn.com/?topic=10989.20;imode
    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=4558</o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2011
  3. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    อนุโมทนา สาธุครับ

    ผมไม่เห็นคุณบุญญสิกขานานแล้ว หรือ ตัวผมเองไม่ได้เข้ามาเว็บนี้ ก็เป็นได้

    เรืองพระสารีบุตร ผมเคยโพสต์มานานแล้ว ตามลิงค์นี้ครับ


    http://palungjit.org/threads/พระสารีบุตร-ไม่เชื่อใคร-และ-พระอานนท์-ไม่เห็นด้วยกับใคร.244381/

    คุณบุญญสิกขากับผมใจตรงกัน ถึงแม้จะต่างเวลาก็ตาม

    หากพอมีเวลา ขอเชิญไปเยี่ยม "เว็บมัชฌิมา" บ้าง

    เชิญมาร่วมสืบสาน "กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ"

    และอยากเห็นคุณบุญญสิกขาเป็นส่วนหนึ่งของเว็บมัชฌิมา คลิกเลยครับ

    www.madchima.org
     
  4. นาคา

    นาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,378
    ค่าพลัง:
    +12,917
    พละ ๕ และ อินทรีย์ ๕ โดยองค์ธรรมแล้วเหมือนกัน
    เพียงแต่อธิบายคนละนัย คือ ความเป็นใหญ่และความไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือน แม่น้ำ มีเกาะอยู่ตรงกลาง พึงทราบว่า แม่น้ำสองสาย ที่แบ่งโดยเกาะตรงกลาง ก็เป็นสายน้ำเดียวกันและก็ย่อมบรรจบกัน

    โมทนา ในการะ สาธยายธรรม
    นำพากุศลกรรม ด่ำดิ่งสู่อรรถรส
    อรบท สดใสใจชื่นกับกลิ่นอุษา
    ผวงผกามณฑาทิพย์...

    catt12
    ขอโมทนา ...
    ทั้ง ๒ ท่าน ที่ น้อมนำสาธยาย..
     
  5. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    โมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ในบุญกุศลในการอ่านนี้ค่ะ
    [​IMG]
     
  6. ปฐมฌาณ

    ปฐมฌาณ เป็นและตาย..อยู่ใกล้กัน..เพียงลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,870
    สุดยอดครับสุดยอด...เยี่ยมครับเยี่ยม...ดีครับดี..

    ขออนุโมทนา...ในดวงประทีปแห่งธรรม..ที่ท่านจุดไว้ในที่มืด
     

แชร์หน้านี้

Loading...