พระอภิธัมมาติกาบรรยาย โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 20 มีนาคม 2010.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    ๖๔. “สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา”

    ในลำดับนี้จะได้วิสัชชนาในติกมาติกาบทที่ ๖๔ สืบต่อไปโดยนัยพระบาลีว่า “สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา” แปลว่า ธรรมทั้งหลายเป็นไปกับด้วยความคับแค้น เพราะความที่ได้เห็น โดยเนื้อความว่า บุคคลจะบังเกิดความเดือดร้อนขึ้นในใจ และเป็นไปกับด้วยความคับแค้นนั้น ก็เพราะความที่ได้เห็นซึ่งอนิฏฐารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่ปรารถนาของตน เป็นต้นว่า ได้เห็นโจรผู้ร้ายหรือสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ มี หมี เสือ เป็นต้น หรือบางทีก็ได้เห็นบุคคลต่าง ๆ มี เจ้าหนี้ และบุคคลผู้ประทุษร้ายแก่ตน เป็นต้น เช่นกับ พระอานนท์ ถึงซึ่งความคับแค้นขึ้นในใจ เพราะได้เห็นช้างนาฬาคิรี วิ่งเข้ามาจะประทุษร้ายแก่ตนกับพระพุทธเจ้า ในกาลครั้งนั้น พระอานนท์ก็เกิดความเดือดร้อนคับแค้นขึ้นในใจ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า “สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา” ซึ่งแปลว่า ธรรมทั้งหลายบังเกิดความคับแค้นขึ้นในใจ เพราะความที่ได้เห็น ฉะนี้

    ๖๕. “อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา”

    ในบทที่ ๖๕ นั้นมีพระบาลีว่า “อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา” แปลว่า ธรรมทั้งหลายบังเกิดความคับแค้นในใจ เพราะความที่ไม่ได้เห็น โดยเนื้อความว่า บุคคลทั้งหลายใน
    โลกนี้ เมื่อเวลาได้ประสบความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่เจริญใจ หรือเวลาลูกเมียและทรัพย์สมบัติฉิบหายไปโดยภัยอันหนึ่งอันใดก็ดี ก็ย่อมบังเกิดความคับแค้นขึ้นในใจ เพราะความที่ไม่เห็น ดังมีบุคคลเป็นทัศนะอุทาหรณ์ว่า ยังมีบุรุษผู้หนึ่งไปเรียนมนต์เรียกปลาอยู่ในสำนักของอาจารย์แห่งหนึ่ง ครั้นจำได้ชำนิชำนาญแล้ว จึงลาอาจารย์ไปทำบริกรรมอยู่ที่หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ตั้งความเพียรบริกรรม ๆ ก็ไม่เห็นปลาขึ้นมา ตัวจะบังเกิดความคับแค้นขึ้นในใจ ครั้นรู้ถึงอาจารย์ อาจารย์ก็บอกว่า ท่านอย่าบริกรรมลืมตาขึ้น ปลามันกลัว บุรุษนั้นก็กระทำตามลัทธิของอาจารย์ นั่งบริกรรมหลับตาไป อาจารย์ก็จับปลาไปใส่ลงในบ่อที่บุรุษนั้น ครั้นบุรุษนั้นลืมตาขึ้น ก็ได้เห็นปลา แล้วก็เกิดความดีใจ สิ้นความคับแค้นในใจ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นจึงได้ชื่อว่า “อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา” ฉะนี้

    ๖๖. “อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา”

    ในบทที่ ๖๖ นั้น โดยมีนัยพระบาลีว่า “อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา” แปลว่า ธรรมทั้งหลาย จะมีความคับแค้นในใจก็ไม่ใช่ จะไม่เห็นก็ไม่ใช่ แต่ดับกิเลสได้ด้วยอำนาจของตนเอง โดยเนื้อความว่า “อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา” นี้ ก็ได้แก่ นิโรธธรรม ด้วยอรรถว่า ด้วยความเห็นและความไม่เห็น ได้แก่เมื่อนิโรธธรรมบังเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ก็ดับไป โอวาทคำสั่งสอนอันใดอันหนึ่งก็ดับไป วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ก็ไม่มีในนิโรธธรรม เพราะฉะนั้นจึงแปลว่า จะคับแค้นก็ไม่ใช่ จะเห็นก็ไม่ใช่ แต่ละกิเลสได้ด้วยความไม่ต้องเห็นนั้น ก็ได้แก่พระอริยมรรค ไม่เห็นก็จริงอยู่ แต่รู้ว่า ตัณหา ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มี เปรียบเหมือน บุคคลนอนหลับฝันไปว่า ได้เห็นรูปสัตว์ต่าง ๆ มี เสือและช้างเป็นต้น บุคคลที่นอนหลับฝันไปนั้น จะเห็นก็ไม่ใช่ ถ้าจะว่าเห็นหรือ เสือก็ไม่มี ถ้าจะว่าไม่เห็นหรือ ก็ฝันไป ฉนใดก็ดี พระธรรมที่ชื่อว่า “อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา” นี้ ก็มีอุปไมยเหมือนกับบุคคลที่นอนหลับฝันไปฉะนั้น
    อาตมารับประทานวิสัชชนามาในอภิธัมมาติกา ๒๒ ติกะ ๖๖ มาติกา แต่โดยสังเขปกถา พอเป็นธรรมัสวนานิสงส์ ก็ขอยุติลงแต่เพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีดังวิสัชชนามาฉะนี้แล

    จบอภิธัมมาติกาบรรยายแต่เพียงนี้
     
  2. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...