พระอริยบุคคล 8 ประเภท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thanan, 26 มกราคม 2005.

  1. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,666
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,210
    <u>จากอภิธรรมออนไลน์ </u>


    <b><font color=blue>๑.) โสดาปัตติมรรคบุคคล</b></font>

    คือบุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เรียกว่าโสดาปัตติมรรคจิต โสดาปัตติมรรคบุคคลนี้นับเป็นอริยบุคคลขั้นแรก และได้ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงสู่กระแสพระนิพพานแล้ว มรรคจิตในขั้นนี้จะทำลายกิเลสได้ดังนี้คือ

    (ในที่นี้จะใช้สังโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่งประเภทของกิเลส เป็นหลักในการอธิบาย - ดูเรื่องสังโยชน์ 10 ประกอบ)

    - สักกายทิฏฐิ
    - วิจิกิจฉา
    - สีลพตปรามาส
    รวมทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ, ขัดเคืองใจ, กังวลใจ, เครียด, กลัว) โมหะ(ความหลง คือไม่รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง) ในขั้นหยาบอื่น ๆ อันจะเป็นผลให้ต้องไปเกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก) ด้วย


    <b><font color=blue>๒.) โสดาปัตติผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโสดาบัน</b></font>

    คือผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของโสดาบันก็คือ

    - พ้นจากอบายภูมิตลอดไป คือจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย เพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้ (ใครจะไปเกิดในภูมิใดนั้น ขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียกว่ามรณาสันนวิถี ถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะส่งผลให้ไปเกิดใหม่ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจิตนั้นมากที่สุด)
    - อีกไม่เกิน ๗ ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์
    - มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน จะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย
    - มีศีล ๕ บริบูรณ์ (ไม่ใช่แค่บริสุทธิ์) คือความบริสุทธิ์ของศีลนั้นเกิดจากความบริสุทธ์/ความประณีต ของจิตใจจริง ๆ ไม่ใช่ใจอยากทำผิดศีลแต่สามารถข่มใจไว้ได้ คือใจสะอาดจนเกินกว่าจะทำผิดศีลห้าได้


    <b><font color=blue>๓.) สกทาคามีมรรคบุคคล หรือสกิทาคามีมรรคบุคคล</b></font>

    คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ที่เรียกว่าสกทาคามีมรรคจิต มรรคจิตในขั้นนี้ ไม่สามารถทำลายกิเลสตัวใหม่ให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิงเหมือนมรรคจิตขั้นอื่น ๆ เป็นแต่เพียงทำให้ โลภะ โทสะเบาบางลงเท่านั้น โดยเฉพาะกามฉันทะ และปฏิฆะ ถึงแม้ว่าความยึดมั่นที่มีอยู่จะน้อยลงไปก็ตาม ทั้งนี้เพราะกามฉันทะและปฏิฆะนั้นมีกำลังแรงเกินกว่าจะถูกทำลายไปได้ง่าย ๆ


    <b><font color=blue>๔.) สกทาคามีผลบุคคล หรือสกิทาคามีผลบุคคล</b></font>

    คือผู้ที่ผ่านสกทาคามีมรรคมาแล้ว คุณสมบัติสำคัญของสกทาคามีผลบุคคลก็คือ ถ้ายังไม่สามารถบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ในชาตินี้ ก็จะกลับมาเกิดในกามภูมิอีกเพียงครั้งเดียวก็จะบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ แล้วจะพ้นจากกามภูมิตลอดไป เพราะอริยบุคคลขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายที่จะเกิดในกามภูมิได้อีก

    คำว่ากามภูมินั้นได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษยภูมิ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก แต่สกทาคามีบุคคลนั้นพ้นจากอบายภูมิไปแล้วตั้งแต่เป็นโสดาบัน จึงเกิดได้เพียงในสวรรค์ และมนุษย์เท่านั้น


    <b><font color=blue>๕.) อนาคามีมรรคบุคคล</b></font>

    คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่เรียกว่าอนาคามีมรรคจิต ทำลายกิเลสได้เด็ดขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวคือ

    - กามฉันทะ
    - ปฏิฆะ


    <b><font color=blue>๖.) อนาคามีผลบุคคล</b></font>

    คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น

    (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสังโยชน์ ๑๐ ประกอบ)

    ในรูปภูมิ ๑๖ ชั้นนั้น จะมีอยู่ ๕ ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่า สุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ในสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัตตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น

    สุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้นประกอบด้วย

    - อวิหาภูมิ
    - อตัปปาภูมิ
    - สุทัสสาภูมิ
    - สุทัสสีภูมิ
    - อกนิฏฐาภูมิ


    <b><font color=blue>๗.) อรหัตตมรรคบุคคล</b></font>

    คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ ๔ ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สังโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่

    - รูปราคะ
    - อรูปราคะ
    - มานะ
    - อุทธัจจะ
    - อวิชชา


    <b><font color=blue>๘.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์ </b></font>

    คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2005
  2. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    ขอนอบน้อมแด่พระอริยบุคคลทุกพระองค์
     
  3. bankamo

    bankamo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2005
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +86
    ขอแย้งคุณ NARIT

    ตามที่คุณ NARIT Post

    "โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ"
    ก็ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดับแล้ว คือ พระนิพพาน
    แล้วจะเอาขันธ์ที่ไหน มาปรากฏอีกเล่า ถ้ายังมีขันธ์ ก็ยังไม่ได้นิพพาน ถ้า มีแดนเกิด ก็ยังไม่ใช่นิพพาน เป็นเพียง ภพใดภพหนึ่ง...
    หลวงพ่อ ท่านก็สอนผิด....คนก็จำกันผิดๆ......หูตาสว่างกันสักที
    วิญญานขันธ์ กับ จิต ก็ ความหมายเดียวกัน วิญญานขันธิ์ดับ ก็ จิตดับนั่นแหละ........

    เหล่านี้ผมเห็นว่าคุณยังมีความเข้าใจที่ผิอ อยู่นะครับ ขันธ์ 5 ก็คือขันธ์ 5 นะครับ ไม่ใช่จิตหรืออาทิสมานกายแต่อย่างใด รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ คำว่าวิญญาณนี้ไม่ได้หมายถึง ตัวจิต หรือ กายทิพย์ อย่างใน TV นะครับ เป็นคนละตัวกันครับ อยากให้ศึกษาเข้าใจให้ถูกต้อง การเข้าสู่พระนิพพานไม่ได้หมายความว่าจิตดับ เงียบหายไปไร้ตัวไร้ตนนะครับ ที่ดับไปคือขันธ์ 5 เท่านั้น ขอยกตัวอย่าง ตามที่ผมเคยศึกษามา หลวงปู่มั่นเองท่านเคยกล่าวถึงพระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้ว ยังมาสนทนากับท่าน หรือแม้แต่ท่านเอง หลังจากท่านละขันธ์ 5 เข้าสู่พระนิพพานแล้ว ยังเคยเมตตามาโปรดสอนศิษย์ของท่านด้วยซำไป แล้วอย่างนี้คุณคิดว่าท่านจินตนาการไปเองทั้งนั้นหรือ ทั้งๆที่ท่านทั้งหลายปฎิบัติได้ดีถึงเพียงนั้น เทียบกับพวกเราแล้ว คุณกล้าแย้งความรู้ความเห็นของท่านหรือ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ท่านก็กล่าวว่า " นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง " แล้วถ้าการนิพพานคือ จิต ดับไปด้วยไม่รู้ไม่เห็นอะไรทั้งนั้น พระพุทธเจ้าท่านจะทราบและเผยแพร่แก่พระสาวกได้อย่างไร ลองพิจารณา การมุ่งมั่นศึกษาพระไตรปิฎกให้ถ่องแท้นั้น นับว่าเป็นสิ่งที่พุทธสาสนิกชนควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง แต่ขอท่านอย่านำสัญญาเหล่านั้นมาเป็นเกณฑ์ในการปฎิบัติด้วยการทำให้แจ้งด้วนตนเอง จะไม่เกิดความก้าวหน้าในการปฎิบัติ ในอดีตก็เคยมีมาแล้ว (ขอกราบขอขมาท่านผู้ปฎิบัติดีแล้วท่านนั้นอย่างสูงครับ กระผมขออนุญาติกล่าวถึง) ปรากฎว่ามีศิษย์ท่านหนึ่งของท่านอาจารย์มั่น ศึกษาพระปริญัติธรรมมาอย่างเชี่ยวชาญ และเกิดความสงสัยในภูมิจิตภูมิธรรมของท่านอาจารย์มั่นในตอนแรก แต่ท้ายที่สุดเมื่อท่านประจักษ์แก่ใจถึงภูมิจิตภูมิธรรมของท่านอาจารย์มั่นแล้ว ก็ยอมตัวลงอย่างหมดสงสัย และมุ่งมั่นปฎิบัติจนได้ผลเป็นที่พอใจ ดังตัวอย่างจะเห็นได้ว่า การศึกษาจากตำราจนแตกฉานอย่างเดียวนั้น จะไม่ช่วยให้ท่านสำเร็จมรรคผลได้เลย พระพุทธเจ้าทรงเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า "เถรใบลานเปล่า" การบรรลุมรรคผลนั้นสำคัญที่ปฎิบัติจริงจัง เอาชีวิตเข้าแลกมาจึงจะได้ครับ หลวงปู่มั่นเคยกล่าวว่า "ถ้ากิเลศไม่ตาย เราก็ต้องตาย" นี่เป็นเครื่องยืนยัน
    ความรู้จากตำรานั้นเป็นเพียงสัญญาครับ ไม่ใช่ปัญญา ต่อให้รู้รอบทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ แต่มัวนั่งเกาะตำรา ไม่ยอมปฎิบัติ อย่างมาก ก็เป็นยอดนักเทศนา ไม่ใช่อริยะบุคคลครับ ขอให้พิจารณาดูแล้วเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ คนเราผิดพลาดกันได้ ผมก็เคยคิดอย่างคุณมาก่อนครับ
    "นิพพานัง ปรมังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" ผมเชื่อพระพุทธเจ้าครับ อ้อ แล้วที่ว่า "นิพพานัง ปรมังสุญญัง นั้น" ท่านหมายถึงว่างจากกิเลศและความเร่าร้อนครับ ไม่ใช่ดับหายไปเฉยๆไม่รับรู้อะไรอีกต่อไปนะครับ จิตนี่แหละครับที่เป็นตัวรู้ ไม่ใช่ขันธ์ทั้ง 5 หรือ อายตนะ ทั้ง 6 แต่รู้ได้ด้วยความเป็นทิพย์ของจิตครับ เฮ้อ อันนี่ไม่รู้จะอธิบายยังไง เป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่หวังความดีจงอย่าท้อถอยครับ
     
  4. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,666
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,210
    เค้าเลิกทะเลาะกันไปตั้งนานแล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...