พระเกษม ในเจาะข่าวเด่นสรยุทธ์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย yummysushi, 26 มกราคม 2012.

  1. ธรรมานุภาพ

    ธรรมานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +122
    ถาม : พระ..จับเงิน..ไม่จับเงิน..?

    ตอบ : ความจริงจับไม่ได้ทั้งคู่แหละ มหานิกายก็ผิด ธรรมยุติก็ผิด เพราะ สิกขาบทที่ ๘ ในโกสิยวรรค นิสสัคคียปาจิตตีย์กัณฑ์กล่าวไว้ว่า ภิกษุรับเงินทองหรือสิ่งของที่เขาใช้แทนเงินทองก็ดี ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์

    สิกขาที่ ๙ กล่าวว่า ภิกษุรับเองหรือใช้ผู้อื่นรับก็ดี ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ แปลว่า ถ้าพระธรรมยุติให้ลูกศิษย์รับก็โดนเหมือนกัน ฉะนั้น..พระมหานิกายที่ใจกล้ากว่า ก็คว้าเงินเองเลย ไหนๆ ก็ผิดแล้ว

    สำคัญตรงที่ว่าเรารับไป เราเอาไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวมหรือเพื่อตัวเอง ? ถ้าเพื่อตัวเอง ต่อให้จับเงินหรือไม่จับก็แย่พอกัน สมัยก่อน หลวงปู่บุดดา ท่านก็ไม่จับเงิน แต่พอไปอยู่ วัดท่าซุง คนถวายเงินมา หลวงปู่ก็แหวกย่ามให้ใส่ หลวงพ่อ ท่านหันมาพอดี "ไม่เอาใช่ไหม ? ผมเอาเองก็ได้"

    หลวงปู่บุดดาท่านตะครุบเลย "จับแล้วครับ" หลวงพ่อท่านบอกว่า "ต้องอย่างนั้นสิ แค่วัตถุที่เป็นธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ถ้าหากทำให้ใจหมอง ก็อย่าเอาเลย ผมเอาเองก็ได้"

    มีหลายอย่างที่ทางธรรมยุติเขาถือมั่น ความจริงเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้จิตละเอียดขึ้น แต่จำนวนเกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ แทนที่จิตจะละเอียดขึ้น ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นได้ง่ายขึ้น กลายเป็นยึดติดมากขึ้น

    ที่ยึดติดมากขึ้นเพราะไปคิดว่าท่านเคร่งกว่า ท่านดีกว่า ตรงจุดนี้จะเป็นอุปาทานอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า สีลัพพัตตุปาทาน ยึดมั่นในศีลพรต ยึดว่าหลักปฏิบัติของตนว่าดีกว่าผู้อื่น ก็เลยไปไหนไม่ได้สักที แต่ท่านที่ดีทำถูก ความละเอียดตรงนี้ก็ส่งผลให้ท่านเข้าถึงธรรมได้เร็วขึ้น


    สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔



    ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...?t=2727&page=6
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

    “ท่านทั้งหลายไม่เข้าถึงพุทธธรรม ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้าตามทัศนะของท่าน ขวางหน้าท่านอยู่”

    พุทธทาสภิกขุ

    อินทปัญโญได้ บันลือสีหนาท อีกครั้ง เมื่อเขาแสดงปาฐกถาเรื่อง “ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” ณ พุทธสมาคม กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ซึ่งมีเนื้อหาที่ “แรง” ที่สุดกว่าครั้งใดๆ เพราะครั้งนี้เขาได้นำเสนอถึง สิ่งซึ่งกีดขวาง หรือเป็นกำแพงมหึมาอยู่ข้างหน้าซึ่งทำให้คนเราเข้าถึงไม่ได้ ทั้งๆ ที่ผู้นั้นก็มีความภักดีต่อพุทธธรรมอย่างเต็มที่อยู่เสมอ อินทปัญโญสามารถนำเสนอเรื่องนี้ได้อย่างเข้าถึง และอย่างมีพลังมาก เพราะตัวเขาเองก็เพิ่ง ก้าวข้าม ภูเขามหึมาที่เคยขวางตัวเขามาได้เมื่อปีที่แล้วนี่เอง เขาจึงอยากถ่ายทอดสิ่งที่เป็น ประสบการณ์ทางวิญญาณ และ บทเรียนทางวิญญาณ ในการแสวงธรรมของตัวเขาให้แก่คนอื่นโดยเฉพาะคนรุ่นหลัง เพื่อที่พวกเขาจะสามารถก้าวข้ามสิ่งซึ่งกีดขวางไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมได้เหมือนอย่างเขา

    อินทปัญโญบอกว่า ถ้าหากมีการตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า อะไรเป็นเครื่องปิดบังพระนิพพานอันเป็นตัวพุทธธรรมที่ผู้แสวงธรรมประสงค์จะเข้าถึง? เขาจะตอบอย่างฟันธงอย่างไม่ลังเลใจเลยว่า “พระพุทธเจ้า” นั่นเองที่กลับกลายมาเป็นภูเขามหึมาบังพระนิพพาน โดยเฉพาะ พระพุทธเจ้าตามทัศนะของแต่ละคน นี่แหละที่ขวางหน้าคนผู้นั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรม

    เพราะคนเราเข้าใจเข้าถึง ความจริง ได้แค่ไหน ก็มีความเข้าใจเข้าถึง “พระพุทธเจ้าของเขา” ได้แค่นั้น ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ถูกขนานนามว่า พระพุทธเจ้า รวมทั้งการนิยามว่าอะไรเป็นพระพุทธเจ้า จึงมีอยู่ในลักษณะและขนาดมาตรฐานต่างๆ กัน แล้วแต่ ความยึดถือ ของแต่ละคนเป็นชั้นๆ ไป

    คนที่เข้าถึงพระพุทธเจ้า แต่ในทางวัตถุโดยไม่สูงถึงทางจิตย่อมเข้าใจได้แต่เพียงว่า พระพุทธเจ้าคือเลือดเนื้อกลุ่มหนึ่งที่เดินท่องเที่ยวสั่งสอนประชาชนในประเทศอินเดีย เมื่อสองพันกว่าปีก่อน ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ทรงเคยปฏิเสธว่า เลือดเนื้อกลุ่มนั้น ยังไม่ใช่ตถาคต คนที่ไม่เห็นธรรมะของตถาคต คือคนที่ไม่เห็นตถาคต แม้ผู้นั้นจะคอยจับจีวรของพระองค์ดึงเอาไว้ ไปทางไหนไปด้วยกันทั้งกลางวันกลางคืน แต่ถ้าไม่เห็นธรรมะแล้ว ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคตเลย

    แม้คนที่มุ่งเข้าถึงพระพุทธเจ้าในทางจิต หากหลงไปยึดว่า พระพุทธเจ้าเป็น อัตตาที่บริสุทธิ์ ไม่เกิดไม่ตาย มีอยู่ในทุกแห่ง พร้อมที่จะปรากฏทุกเมื่อในสมาธิ อินทปัญโญก็ยังบอกว่า วิถีแห่งพุทธธรรมของผู้นั้นจะถึงทางตันและสิ้นสุดลงเพียงนั้น เพราะเป็นการหลงไปยึดถือเอาตามความรู้ ตามการศึกษาและศรัทธาของตนเองอันคับแคบอยู่

    แม้แต่ความรักในองค์พระพุทธเจ้าของบุคคลบางคนที่เป็นอริยบุคคลขั้นต่ำยังไม่ถึงพระอรหันต์ เช่น พระอานนท์ ในสมัยที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งๆที่พระอานนท์รู้จัก ลู่ทางแห่งพุทธธรรมอย่างถูกต้อง วิถีแห่งพุทธธรรมของท่านก็ยังไม่วายถูกสกัดได้ด้วยภูเขาหรือองค์พระพุทธเจ้าที่ท่านยึดถือไว้ด้วยความรักของท่านเอง

    อินทปัญโญจึงบอกว่า ไม่มีภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมอะไรอื่น นอกไปจาก ความยึดถือเกี่ยวกับตัวตน และ ไม่มีความยึดถือเกี่ยวกับตัวตนอะไรอื่น ยิ่งไปกว่า ความยึดถือในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่งของตน เพราะฉะนั้น นอกไปจาก “พระพุทธเจ้า” ตามทัศนะของเขาแล้ว แม้ “พระธรรม” ของเขา ก็ยังอาจเป็นภูเขาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมของผู้นั้นได้ เพราะอาศัยความยึดถือทำนองเดียวกัน ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึง “พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์หรือคุรุ” ของเขา ซึ่งกลับเป็นภูเขาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมของเขาได้ เพราะอาศัยความยึดถือเช่นเดียวกัน

    บางคนได้ยึดถือเอาเครื่องมือหรือหนทางที่จะปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมมาเป็นตัวพุทธธรรมเสียเอง

    บางคนก็ถือเอาเล่มหนังสือหรือพระคัมภีร์เป็นตัวพระธรรมเสียเลยก็มี

    บางคนกลับต้องการให้พระนิพพานหรือพุทธธรรมเป็นบ้านเมือง เป็นโลกอันแสนสุข สำหรับตนจะไปจุติไปเกิดที่นั่น แล้วก็ตั้งบำเพ็ญสมาธิเพื่อความเป็นอย่างนั้น ด้วยอำนาจความยึดถือในด้านวัตถุอันแรงกล้า

    บางคนยึดถือในศีลของตนจนดูหมิ่นผู้อื่น ก่อการแตกร้าวทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องศีล เพราะความยึดมั่นถือมั่นในศีลด้วยความสำคัญผิด ยึดมั่นทุกตัวอักษรอย่างงมงาย

    ศีล จึงอาจกลายเป็นภูเขาขึ้นมาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมก็ได้ เมื่อมีผู้ยึดถือว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ ซึ่งมันก็เป็นแค่ความจริงของบุคคลผู้นั้น ซึ่งไม่สามารถจะเห็นเป็นอื่นไปได้ ผลก็คือ ความเนิ่นช้ากว่าจะปีนป่ายภูเขาลูกนี้ข้ามพ้นไปได้

    สมาธิ ก็อาจกลายเป็นภูเขาสกัดทางตัวเองในการเข้าถึงพุทธธรรมของผู้ปฏิบัติ หากเป็นที่ตั้งของความยึดถือโอ่อวด พอใจ หลงใหลในสมาธิของตนตามที่ตนปฏิบัติได้ เพราะความจริงของใคร ก็เป็นความจริงของคนนั้น เท่าที่เขารู้และพอใจยึดถือ จึงยากที่จะยอมเชื่อกันด้วยใจจริง เมื่อยังหลงผิดอยู่ด้วยความยึดถือเช่นนี้ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมก็ยังตั้งสูงตระหง่านขวางหน้าอยู่เพียงนั้น

    แม้แต่ ปัญญา เอง หากเป็นปัญญาที่ไม่รู้จักตัวเอง ยังมีมูลฐานตั้งอยู่บนความจริงของความเชื่อ ความคาดคะเน ก็ย่อมเกิดเป็นภูเขาขวางวิถีทางแห่งพุทธธรรมขึ้นเหมือนกัน ปัญญาของผู้ใดสิ้นสุดหยุดลงตรงไหน ก็บัญญัติเอาเพียงแต่ตรงนั้นว่าเป็นความจริงด้วยบริสุทธิ์ใจของตนและยึดมั่น จนเกิดเป็นลัทธินิกาย ปรัชญาต่างๆ ต่อให้เฉียบแหลมแค่ไหน ก็ไม่วายที่จะเป็นภูเขากั้นขวางทางอยู่ระหว่างตัวเขากับนิพพานจนได้ ด้วยความยึดถืออีกเช่นกัน

    ปัญญาคือแสงสว่างก็จริง แต่คนเราจะรับรู้ได้เท่าที่ปัญญาหรือแสงสว่างของเขาจะอำนวยให้ว่านั่นคือ ความจริง แต่หากผู้นั้นมีปัญญามากขึ้น เขาจะมองต่างไปจากเดิม สิ่งที่เรียกว่าความจริงของเขา ย่อมเปลี่ยนไปตามแสงสว่างหรือปัญญาที่เพิ่มขึ้นของเขา ความแตกต่างจึงขึ้นอยู่กับแสงสว่างหรือปัญญาที่ส่องไปยังวัตถุเรื่องราวนั้น จึงเห็นได้ว่า แสงสว่างนั้นเองที่เป็นผู้บังความจริง ทั้งในด้านจิตและด้านวัตถุ เพราะแสงสว่างชนิดหนึ่งๆ ย่อมให้ความจริงแก่เขาในการเห็นเป็นอย่างหนึ่ง นอกนั้นคือส่วนที่แสงสว่างนั้นบังเอาไว้

    อินทปัญโญได้พูดออกมาจาก ประสบการณ์โดยตรง ของเขาเองที่เพิ่งผ่านมาไม่นานว่า ความจริงที่จริงไปกว่านั้น หรือนอกเหนือไปจากนั้น ซึ่งเขายังไม่เห็นในตอนนั้น คือส่วนที่ปัญญาเพียงขนาดนั้นของเขา แม้จะล้ำเลิศเพียงใดได้ “บัง” เอาไว้ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นตัวเขารู้สึกว่า ตัวเขาได้มองดูอย่างทั่วถึงอย่างหมดความสามารถของเขาแล้วอย่างคิดว่า ไม่มีอะไรเหลือซ่อนเร้นอีกแล้ว เพราะเขาเคยรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เขาจึงยึดถือเอาสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นความจริงอันเด็ดขาด ด้วยความสำคัญผิด ซึ่งมันก็ยังเป็นภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมของเขาอยู่

    ทั้งๆที่มันไม่น่าจะเป็นไปได้ และตัวอินทปัญโญเองก็ถึงกับตะลึง เมื่อตระหนักได้ว่า มันเป็นการ “บัง” ของแสงสว่างเสียเอง เพราะแม้ตัวเขาจะได้พยายามตีความพระพุทธวจนะ หรือขบคิดข้อความที่ยากๆ เรื่องอนัตตาอย่างสุดความสามารถเท่าที่ปัญญาของเขามี ซึ่งอาจแตกต่างไปจากคนอื่นบ้างไม่มากก็น้อย ขณะที่ยังไม่ถึงที่สุด เขาก็ย่อมต้องยึดถือเอาส่วนที่ตัวเขาคิดได้จนแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า นี่เป็นความจริงอันเด็ดขาดของตัวเขา ซึ่งตัวเขาเองเพิ่งมาตระหนักได้ทีหลังว่า

    “นี่ก็ยังเป็นความยึดมั่นในความคิด และความเห็นแจ้งของตัวเราเอง และความยึดมั่นอันนี้ คือภูเขาที่ขวางอยู่ในวิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรมของตัวเรา ซึ่งเราเพิ่งทลายมันลงไปได้ด้วย เซน”

    จากประสบการณ์แห่ง ซาโตริ ของตัวเขา อินทปัญโญจึงมองได้อย่างทะลุปรุโปร่งว่า อัตตวา ทุปาทาน หรือ ความยึดมั่นว่ามีตัวตน นี่แหละที่เป็นมูลฐานของภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม ทำให้ ความว่างจากตัวตน ถูกปิดบังอย่างมิดชิด เพราะ ตัวเองที่บังตัวเองที่เป็นความว่าง เป็นสิ่งกีดขวางอันเร้นลับที่สุด

    เพราะไม่มีการรู้จักตัวเองอย่างถูกต้อง จึงเกิดความต้องการพระพุทธเจ้า และสร้างพระพุทธเจ้าขึ้นมาด้วยตัณหาของตัวเอง ตามทัศนะของตัวเอง หุ้มห่อตนเอง จนเหลียวไปทางไหนก็พบแต่สิ่งนี้ จนกระทั่งเป็นสัญญาความทรงจำอันเหนียวแน่น เหลือที่จะปัดเป่าออกไปได้

    เมื่อใดที่สามารถรู้จักตัวเองอย่างถูกต้อง คือรู้จักความว่างจากตัวตน เมื่อนั้นก็ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีผู้บังและไม่มีผู้ที่ถูกบัง ไม่มีการแสวงหาเพราะไม่มีผู้ที่มีความอยาก ไม่มีผู้แสวงที่พึ่งและไม่มีผู้ที่จะเป็นที่พึ่ง

    เพราะ ผู้นั้นมีความว่างจากตัวตนแล้ว “พระพุทธเจ้า” ของเขา ก็เป็นความว่างจากตัวตนด้วยเช่นกัน ตราบใดที่คนเรายังคลำตัวเองไม่พบว่าเป็นอะไรกันแน่ ตราบนั้นก็ต้องมีการยึดถือ เที่ยววิ่งตะครุบนั่นนี่ไปตามความยึดถือเป็นธรรมดา จึงไม่อาจพบและเข้าถึงพุทธธรรมได้

    อินทปัญโญได้ทำลายภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมของเขาลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว!
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

    “ท่านทั้งหลายไม่เข้าถึงพุทธธรรม ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้าตามทัศนะของท่าน ขวางหน้าท่านอยู่”

    พุทธทาสภิกขุ

    อินทปัญโญได้ บันลือสีหนาท อีกครั้ง เมื่อเขาแสดงปาฐกถาเรื่อง “ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” ณ พุทธสมาคม กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ซึ่งมีเนื้อหาที่ “แรง” ที่สุดกว่าครั้งใดๆ เพราะครั้งนี้เขาได้นำเสนอถึง สิ่งซึ่งกีดขวาง หรือเป็นกำแพงมหึมาอยู่ข้างหน้าซึ่งทำให้คนเราเข้าถึงไม่ได้ ทั้งๆ ที่ผู้นั้นก็มีความภักดีต่อพุทธธรรมอย่างเต็มที่อยู่เสมอ อินทปัญโญสามารถนำเสนอเรื่องนี้ได้อย่างเข้าถึง และอย่างมีพลังมาก เพราะตัวเขาเองก็เพิ่ง ก้าวข้าม ภูเขามหึมาที่เคยขวางตัวเขามาได้เมื่อปีที่แล้วนี่เอง เขาจึงอยากถ่ายทอดสิ่งที่เป็น ประสบการณ์ทางวิญญาณ และ บทเรียนทางวิญญาณ ในการแสวงธรรมของตัวเขาให้แก่คนอื่นโดยเฉพาะคนรุ่นหลัง เพื่อที่พวกเขาจะสามารถก้าวข้ามสิ่งซึ่งกีดขวางไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมได้เหมือนอย่างเขา

    อินทปัญโญบอกว่า ถ้าหากมีการตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า อะไรเป็นเครื่องปิดบังพระนิพพานอันเป็นตัวพุทธธรรมที่ผู้แสวงธรรมประสงค์จะเข้าถึง? เขาจะตอบอย่างฟันธงอย่างไม่ลังเลใจเลยว่า “พระพุทธเจ้า” นั่นเองที่กลับกลายมาเป็นภูเขามหึมาบังพระนิพพาน โดยเฉพาะ พระพุทธเจ้าตามทัศนะของแต่ละคน นี่แหละที่ขวางหน้าคนผู้นั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรม

    เพราะคนเราเข้าใจเข้าถึง ความจริง ได้แค่ไหน ก็มีความเข้าใจเข้าถึง “พระพุทธเจ้าของเขา” ได้แค่นั้น ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ถูกขนานนามว่า พระพุทธเจ้า รวมทั้งการนิยามว่าอะไรเป็นพระพุทธเจ้า จึงมีอยู่ในลักษณะและขนาดมาตรฐานต่างๆ กัน แล้วแต่ ความยึดถือ ของแต่ละคนเป็นชั้นๆ ไป

    คนที่เข้าถึงพระพุทธเจ้า แต่ในทางวัตถุโดยไม่สูงถึงทางจิตย่อมเข้าใจได้แต่เพียงว่า พระพุทธเจ้าคือเลือดเนื้อกลุ่มหนึ่งที่เดินท่องเที่ยวสั่งสอนประชาชนในประเทศอินเดีย เมื่อสองพันกว่าปีก่อน ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ทรงเคยปฏิเสธว่า เลือดเนื้อกลุ่มนั้น ยังไม่ใช่ตถาคต คนที่ไม่เห็นธรรมะของตถาคต คือคนที่ไม่เห็นตถาคต แม้ผู้นั้นจะคอยจับจีวรของพระองค์ดึงเอาไว้ ไปทางไหนไปด้วยกันทั้งกลางวันกลางคืน แต่ถ้าไม่เห็นธรรมะแล้ว ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคตเลย

    แม้คนที่มุ่งเข้าถึงพระพุทธเจ้าในทางจิต หากหลงไปยึดว่า พระพุทธเจ้าเป็น อัตตาที่บริสุทธิ์ ไม่เกิดไม่ตาย มีอยู่ในทุกแห่ง พร้อมที่จะปรากฏทุกเมื่อในสมาธิ อินทปัญโญก็ยังบอกว่า วิถีแห่งพุทธธรรมของผู้นั้นจะถึงทางตันและสิ้นสุดลงเพียงนั้น เพราะเป็นการหลงไปยึดถือเอาตามความรู้ ตามการศึกษาและศรัทธาของตนเองอันคับแคบอยู่

    แม้แต่ความรักในองค์พระพุทธเจ้าของบุคคลบางคนที่เป็นอริยบุคคลขั้นต่ำยังไม่ถึงพระอรหันต์ เช่น พระอานนท์ ในสมัยที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งๆที่พระอานนท์รู้จัก ลู่ทางแห่งพุทธธรรมอย่างถูกต้อง วิถีแห่งพุทธธรรมของท่านก็ยังไม่วายถูกสกัดได้ด้วยภูเขาหรือองค์พระพุทธเจ้าที่ท่านยึดถือไว้ด้วยความรักของท่านเอง

    อินทปัญโญจึงบอกว่า ไม่มีภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมอะไรอื่น นอกไปจาก ความยึดถือเกี่ยวกับตัวตน และ ไม่มีความยึดถือเกี่ยวกับตัวตนอะไรอื่น ยิ่งไปกว่า ความยึดถือในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่งของตน เพราะฉะนั้น นอกไปจาก “พระพุทธเจ้า” ตามทัศนะของเขาแล้ว แม้ “พระธรรม” ของเขา ก็ยังอาจเป็นภูเขาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมของผู้นั้นได้ เพราะอาศัยความยึดถือทำนองเดียวกัน ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึง “พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์หรือคุรุ” ของเขา ซึ่งกลับเป็นภูเขาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมของเขาได้ เพราะอาศัยความยึดถือเช่นเดียวกัน

    บางคนได้ยึดถือเอาเครื่องมือหรือหนทางที่จะปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมมาเป็นตัวพุทธธรรมเสียเอง

    บางคนก็ถือเอาเล่มหนังสือหรือพระคัมภีร์เป็นตัวพระธรรมเสียเลยก็มี

    บางคนกลับต้องการให้พระนิพพานหรือพุทธธรรมเป็นบ้านเมือง เป็นโลกอันแสนสุข สำหรับตนจะไปจุติไปเกิดที่นั่น แล้วก็ตั้งบำเพ็ญสมาธิเพื่อความเป็นอย่างนั้น ด้วยอำนาจความยึดถือในด้านวัตถุอันแรงกล้า

    บางคนยึดถือในศีลของตนจนดูหมิ่นผู้อื่น ก่อการแตกร้าวทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องศีล เพราะความยึดมั่นถือมั่นในศีลด้วยความสำคัญผิด ยึดมั่นทุกตัวอักษรอย่างงมงาย

    ศีล จึงอาจกลายเป็นภูเขาขึ้นมาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมก็ได้ เมื่อมีผู้ยึดถือว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ ซึ่งมันก็เป็นแค่ความจริงของบุคคลผู้นั้น ซึ่งไม่สามารถจะเห็นเป็นอื่นไปได้ ผลก็คือ ความเนิ่นช้ากว่าจะปีนป่ายภูเขาลูกนี้ข้ามพ้นไปได้

    สมาธิ ก็อาจกลายเป็นภูเขาสกัดทางตัวเองในการเข้าถึงพุทธธรรมของผู้ปฏิบัติ หากเป็นที่ตั้งของความยึดถือโอ่อวด พอใจ หลงใหลในสมาธิของตนตามที่ตนปฏิบัติได้ เพราะความจริงของใคร ก็เป็นความจริงของคนนั้น เท่าที่เขารู้และพอใจยึดถือ จึงยากที่จะยอมเชื่อกันด้วยใจจริง เมื่อยังหลงผิดอยู่ด้วยความยึดถือเช่นนี้ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมก็ยังตั้งสูงตระหง่านขวางหน้าอยู่เพียงนั้น

    แม้แต่ ปัญญา เอง หากเป็นปัญญาที่ไม่รู้จักตัวเอง ยังมีมูลฐานตั้งอยู่บนความจริงของความเชื่อ ความคาดคะเน ก็ย่อมเกิดเป็นภูเขาขวางวิถีทางแห่งพุทธธรรมขึ้นเหมือนกัน ปัญญาของผู้ใดสิ้นสุดหยุดลงตรงไหน ก็บัญญัติเอาเพียงแต่ตรงนั้นว่าเป็นความจริงด้วยบริสุทธิ์ใจของตนและยึดมั่น จนเกิดเป็นลัทธินิกาย ปรัชญาต่างๆ ต่อให้เฉียบแหลมแค่ไหน ก็ไม่วายที่จะเป็นภูเขากั้นขวางทางอยู่ระหว่างตัวเขากับนิพพานจนได้ ด้วยความยึดถืออีกเช่นกัน

    ปัญญาคือแสงสว่างก็จริง แต่คนเราจะรับรู้ได้เท่าที่ปัญญาหรือแสงสว่างของเขาจะอำนวยให้ว่านั่นคือ ความจริง แต่หากผู้นั้นมีปัญญามากขึ้น เขาจะมองต่างไปจากเดิม สิ่งที่เรียกว่าความจริงของเขา ย่อมเปลี่ยนไปตามแสงสว่างหรือปัญญาที่เพิ่มขึ้นของเขา ความแตกต่างจึงขึ้นอยู่กับแสงสว่างหรือปัญญาที่ส่องไปยังวัตถุเรื่องราวนั้น จึงเห็นได้ว่า แสงสว่างนั้นเองที่เป็นผู้บังความจริง ทั้งในด้านจิตและด้านวัตถุ เพราะแสงสว่างชนิดหนึ่งๆ ย่อมให้ความจริงแก่เขาในการเห็นเป็นอย่างหนึ่ง นอกนั้นคือส่วนที่แสงสว่างนั้นบังเอาไว้

    อินทปัญโญได้พูดออกมาจาก ประสบการณ์โดยตรง ของเขาเองที่เพิ่งผ่านมาไม่นานว่า ความจริงที่จริงไปกว่านั้น หรือนอกเหนือไปจากนั้น ซึ่งเขายังไม่เห็นในตอนนั้น คือส่วนที่ปัญญาเพียงขนาดนั้นของเขา แม้จะล้ำเลิศเพียงใดได้ “บัง” เอาไว้ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นตัวเขารู้สึกว่า ตัวเขาได้มองดูอย่างทั่วถึงอย่างหมดความสามารถของเขาแล้วอย่างคิดว่า ไม่มีอะไรเหลือซ่อนเร้นอีกแล้ว เพราะเขาเคยรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เขาจึงยึดถือเอาสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นความจริงอันเด็ดขาด ด้วยความสำคัญผิด ซึ่งมันก็ยังเป็นภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมของเขาอยู่

    ทั้งๆที่มันไม่น่าจะเป็นไปได้ และตัวอินทปัญโญเองก็ถึงกับตะลึง เมื่อตระหนักได้ว่า มันเป็นการ “บัง” ของแสงสว่างเสียเอง เพราะแม้ตัวเขาจะได้พยายามตีความพระพุทธวจนะ หรือขบคิดข้อความที่ยากๆ เรื่องอนัตตาอย่างสุดความสามารถเท่าที่ปัญญาของเขามี ซึ่งอาจแตกต่างไปจากคนอื่นบ้างไม่มากก็น้อย ขณะที่ยังไม่ถึงที่สุด เขาก็ย่อมต้องยึดถือเอาส่วนที่ตัวเขาคิดได้จนแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า นี่เป็นความจริงอันเด็ดขาดของตัวเขา ซึ่งตัวเขาเองเพิ่งมาตระหนักได้ทีหลังว่า

    “นี่ก็ยังเป็นความยึดมั่นในความคิด และความเห็นแจ้งของตัวเราเอง และความยึดมั่นอันนี้ คือภูเขาที่ขวางอยู่ในวิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรมของตัวเรา ซึ่งเราเพิ่งทลายมันลงไปได้ด้วย เซน”

    จากประสบการณ์แห่ง ซาโตริ ของตัวเขา อินทปัญโญจึงมองได้อย่างทะลุปรุโปร่งว่า อัตตวา ทุปาทาน หรือ ความยึดมั่นว่ามีตัวตน นี่แหละที่เป็นมูลฐานของภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม ทำให้ ความว่างจากตัวตน ถูกปิดบังอย่างมิดชิด เพราะ ตัวเองที่บังตัวเองที่เป็นความว่าง เป็นสิ่งกีดขวางอันเร้นลับที่สุด

    เพราะไม่มีการรู้จักตัวเองอย่างถูกต้อง จึงเกิดความต้องการพระพุทธเจ้า และสร้างพระพุทธเจ้าขึ้นมาด้วยตัณหาของตัวเอง ตามทัศนะของตัวเอง หุ้มห่อตนเอง จนเหลียวไปทางไหนก็พบแต่สิ่งนี้ จนกระทั่งเป็นสัญญาความทรงจำอันเหนียวแน่น เหลือที่จะปัดเป่าออกไปได้

    เมื่อใดที่สามารถรู้จักตัวเองอย่างถูกต้อง คือรู้จักความว่างจากตัวตน เมื่อนั้นก็ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีผู้บังและไม่มีผู้ที่ถูกบัง ไม่มีการแสวงหาเพราะไม่มีผู้ที่มีความอยาก ไม่มีผู้แสวงที่พึ่งและไม่มีผู้ที่จะเป็นที่พึ่ง

    เพราะ ผู้นั้นมีความว่างจากตัวตนแล้ว “พระพุทธเจ้า” ของเขา ก็เป็นความว่างจากตัวตนด้วยเช่นกัน ตราบใดที่คนเรายังคลำตัวเองไม่พบว่าเป็นอะไรกันแน่ ตราบนั้นก็ต้องมีการยึดถือ เที่ยววิ่งตะครุบนั่นนี่ไปตามความยึดถือเป็นธรรมดา จึงไม่อาจพบและเข้าถึงพุทธธรรมได้

    อินทปัญโญได้ทำลายภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมของเขาลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว!
     
  4. thai966

    thai966 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +14
    พ่อกับแม่ผมตายไปนานแล้ว ผมไม่ได้เห็นท่านอีก ผมไม่ได้หาเงิน ทำอาหารให้ท่านอีก ผมไม่ได้พาท่านเที่ยวอีก ผมไม่ได้บวชให้ท่านเห็นชายผ้าเหลืองอีก ผมได้แต่กราบไหว้รูปถ่ายของท่านแทน ได้แต่พรมน้ำอบน้ำหอมใส่รูปถ่ายท่าน คำสอนท่านก็ยังก้องอยู่ภายในใจผมอยู่และผมก็ยังทำตามคำสั่งสอนนั้นอยู่เสมอ ผมทำแบบนี้ผมผิดหรือเปล่า?............
    "พระพุทธองค์" ก็เหมือนพ่อแม่ผม สิ่งที่ผมทำคือกราบไหว้ บูชาองค์พระปฏิมาซึ่งก็เปรียบเหมือนพ่อแม่ผม ที่ท่านผู้เจริญด่าว่า " ไ้...ัว...แหลม.. " เปรียบเหมือนพ่อแม่ผม ผมผิดหรือ?
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมฝาก "ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม" ไว้ให้ท่านทั้งหลายอ่านและพิจารณาด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา


    ---- --------
    ขอให้เจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
     
  6. kitkun

    kitkun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +579
    ใช้สติพิจารณา

    คนมีหลายระดับกิเลสตัณหาก็หยาบและละเอียดตาม วิธีการสอน การอบรม การเตือน ก็แตกต่างกันไป อยู่ที่จิตของเราว่าเราได้อะไรในคำสอนของท่าน(ๆ)ทั้งหลาย ขออนุโมทนากับผู้ที่นำคลิปนี้มาให้ชม
     
  7. vcc2aaa

    vcc2aaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +1,770
    น่าสงสารแท้.........................
     
  8. สยามสามดี

    สยามสามดี สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +3
    มีแต่ ผู้รู้ผู้ตื่น และผู้เบิกบานทั้งนั้นในเวปนี้.....แสดงธรรมว่าข้ารู้ทุกเรื่อง....แต่เหตุใดหนอ ประเทศไทย........ถึงได้จิตใจต่ำลง และต่ำลง...ทุกวันทุกวัน....เห็นแล้วสมเพช....กับสังคมไทยจิงๆๆ..........พวกมือ ถือสาก..........ปากถือศีล.....เฮ่อๆๆๆๆ
     
  9. jinso

    jinso เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    423
    ค่าพลัง:
    +659
    ทำทานเถอะครับ

    ถึง....หลวงพี่เกษมและลูกศิษย์ทั้งหลายครับ
    ผมเป็นคนหนึ่งที่ยังโง่ในแบบของท่านทั้งหลาย คือยึดติด แต่ผมขอเถอะครับหากท่านไม่ต้องการพระพุทธรูปแล้ว ให้ผู้อื่น(โลภนิดๆ) ให้ผมก็ได้ ผมขอใช้คำว่า(บริจาค)ในแบบของท่าน (ถวายวัด) ในแบบของผม อย่าให้คนกลุ่มอืนเขาหัวเราะเยาะเราเลยว่า (มันไม่รักศาสนาของมัน) เพราะด้วยความเห็นต่างกัน เพราะบางศาสนาเขาเห็นรูปเคารพเป็นตัวแทนของพระเป็นเจ้า หรือมีสิ่งแทนเพื่อ ระลึกถึงศาสดาของตน โดยเฉพาะผู้ที่จิตใจ อ่อนแอมากๆ เพราะเขาเหล่านั้นรวมผมด้วย นึกหน้าตาของพระศาสดาไม่ออกเลย รู้เพียงศีล 5 เป็นอย่างน้อย ขอเถอะครับ อย่าได้ทำลายเลยครับนำไป(บริจาค)ในแบบของท่าน (ถวายวัด) ในแบบของผม หรือให้ใครก็ได้ครับ ถือว่าเป็นการสร้างกุศลอีกแบบหนึ่งครับ
    ติดต่อผมได้ครับ ที่ PM หากท่านคิดได้ตอนนี้ผมโมทนาสาธุครับ
    ถึงผมจะโลภไปหน่อย แต่ท่านยังได้ทำกุศลให้ยิ่งขึ้นไป ดีกว่าทำลายให้พินาจ ด้วยมือลูกหลาน พุทธศาสนาแล้วคนอื่นเขาหัวเราะเยาะเราครับ
    ปล.สาธุหากเทพดาที่อยู่ใกล้ท่านมีให้ท่านคิดได้ครับ
    ใช้คำผิดพลาดประการใดขออภัยครับ.....................................ผมผู้มีปัญญาน้อยเท่าหอยขม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  10. ทองอยู่

    ทองอยู่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +1,493

    ที่กล่าวว่า....เหตุใดหนอ ประเทศไทย........ถึงได้จิตใจต่ำลง และต่ำลง...ทุกวันทุกวัน....เห็นแล้วสมเพช....กับสังคมไทยจิงๆๆ

    ทุกวันนี้ท่านยังทำมาหากิน เหยียบย่ำผืนดินไทย ยังพูดภาษาไทยอยู่รึปล่าว สงสัยท่านเป็นต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ต่างศาสนา
    หรือไม่ก้อมาจากต่างดาว ท่านถึงได้จิตใจสูง.....เนาะ

    ไม่ทราบว่าดาวที่ท่านอาศัยอยู่ มือเค้าถืออะไร ปากเค้าอมอะไรกันเจ้าคะ
     
  11. เจคส์

    เจคส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +260
    อย่าเอามาเก็บเป็นอารมเลยค่ะ. เป็นทุกเปล่าๆ. เหรียนยังมีสองด้านเลยค่ะ. เมื่อก่อนเห็นแล้วหงุดหงิดแต่ตอนนี้อ่านแล้วเฉยๆค่ะ พูดไปก็บาปกับตัวเปล่าๆ
     
  12. ธรรมานุภาพ

    ธรรมานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +122
    ถาม : ท่านที่เป็นพระอริยะแล้ว จะมีทางที่เขาจะไปสอนให้คนหลงทางได้ไหม ?

    ตอบ : จะไม่ผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าท่านสอน แต่ในเรื่องของความเป็นพระอริยะ ขอให้ทราบไว้เลยว่า ใครที่บอกว่าตนเองหรือผู้อื่นเป็นพระอริยะอย่าเพิ่งเชื่อ..!

    บุคคลที่จะเป็นพระอริยเจ้านั้น

    อันดับแรก ญาณคือเครื่องรู้จะปรากฏขึ้น ยืนยันว่าตนเองเป็นพระอริยเจ้าแล้ว

    อันดับที่สอง พระพุทธเจ้าเสด็จมาพยากรณ์ให้เอง ถ้าหากว่าเป็นคนอื่นบอก ขอให้รู้ว่าผิดมารยาทอย่างร้ายแรงที่สุด

    ถ้าคนอื่นเขาบอกว่าคนนั้นเป็นพระอริยเจ้า คนนี้เป็นพระอริยเจ้า ขอให้รู้ว่าถ้าคุณไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่ใช่หน้าที่ที่คุณจะไปพูดอย่างนั้น เพราะเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ละเอียดขนาดนั้น ว่าเขาเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง

    ฉะนั้น..ถ้าเป็นพระอริยเจ้าแล้ว จะไม่สอนผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างเด็ดขาด แต่ถ้าหากไม่ใช่จริง ก็จะพาหลงทางไปเลย เรื่องการพยากรณ์ว่าคนไหนเป็นพระอริยเจ้า เป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ใครให้การพยากรณ์ก็ไปให้ห่างๆ เขาหน่อย เดี๋ยวจะเดือดร้อน

    ถาม : มีบางท่านไปอยู่ที่ขุมเก้า

    ตอบ : นั่นเรื่องของท่าน

    ถาม : แล้วเขาเป็นไหมคะ ?

    ตอบ : มีใครคนที่อาตมาได้ยินเขาบอกว่าเป็นพระอรหันต์ แต่ไปเจอท่านอยู่ในโลกันต์..!

    ถาม : หนูสงสัยว่า ทำไมเขาไปหลงทาง?

    ตอบ : ก็เพราะเป็นไม่จริง ขณะเดียวกันก็ไปคิดว่าตัวเองเป็นแล้วก็หลงไปใหญ่ ไปสอนคนผิดๆ ตามทิฐิ ตามความเห็นของตัวเอง

    คิดว่าสิ่งที่ตัวเองคิดว่า..คาดว่า..น่าจะใช่..น่าจะเป็นอย่างนั้น ก็ยิ่งกลายเป็นว่า สอนคนให้หลงทางมากเท่าไร โทษของตัวเองก็หนักมากขึ้นเท่านั้น

    ถาม : เหมือนกับเขาเอาวัตถุมงคล..(ไม่ได้ยิน)

    ตอบ : ถ้าอย่างนั้นต้องใช้คำว่า ทิฐิวิปลาส มีความเห็นผิดไป แก้ไขยาก ถ้ามีโอกาสก็พูดๆ บ่นๆ ให้เข้าหูเขาหน่อยก็แล้วกัน ถ้าไม่มีโอกาส ก็อย่าเพิ่งไปพูด เดี๋ยวจะพาเราเสียไปด้วย

    อาตมาเจออยู่รายหนึ่ง ถึงขนาดให้ลูกศิษย์หลอมพระพุทธรูปไปชั่งกิโลขาย พระพุทธรูปเขาหลอมเป็นแท่งทองเหลือง เอาไปชั่งกิโลขาย เขาบอกว่าพระพุทธรูปทำให้คนยึดติด นั่นเขาหลงไปได้ไกลอย่างนั้น

    อย่าลืมว่าการที่เราอยู่ในโลก พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าเราต้องเคารพสมมติทางโลก เพราะสมมติทางโลกคือสมมติสัจจะ ก็คือความจริงอย่างหนึ่ง แต่เป็นความจริงโดยสมมติ ว่านี่คือรูปแทนพระพุทธเจ้า บุคคลที่จิตใจเกาะความดีขั้นแรก ก็เพื่อความปลอดภัยว่าจะไม่ตกไปในทางแห่งความชั่ว หลังจากนั้นค่อยก้าวเข้าทางของความดีสูงขึ้นไป..สูงขึ้นไป จนกระทั่งท้ายสุด เว้นจากการยึดเกาะแล้วก็หลุดพ้น

    ไม่ใช่ว่าพอถึงเวลาแล้วเราไม่เกาะอะไรเลย ไม่เกาะอะไรเลยเราจะเอาอะไรมาปล่อย ? อัตตา ความมีตัวตน อนัตตา ความไม่มีตัวตน ถ้าเราไม่ขึ้นด้วยอัตตาคือความมีตัวตนก่อน แล้วเราจะเอาอนัตตามาจากไหน ? สองอย่างนี้เป็นเหรียญสองหน้า อย่างไรก็ต้องไปด้วยกัน

    แต่นั่นเขาประเภทโลกช้ำไปเลย แล้วยังมีการรับจ้าง ถ้าบ้านไหนไม่กล้าทำ ขอให้บอก เขาจะส่งลูกศิษย์ไปทำให้เลย เห็นเขาทุบ เห็นเขาเผา เห็นเขาหลอมแล้วอาตมาใจหาย พวกนี้กว่าจะรู้ว่าตัวเองมีโทษก็ต้องรอตอนที่ตายไปแล้ว

    ถาม : ห่างๆ ไว้เลยใช่ไหมคะ ?

    ตอบ : ประเภทนั้นก็อยู่ห่างๆ ไว้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมี และห่มเหลืองเหมือนกับอาตมาเสียด้วย เขาสอนลูกศิษย์ว่านี่เป็นสิ่งที่ทำให้ยึดติด..!


    สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔



    ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...?t=2447&page=7
     
  13. no-ne

    no-ne เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,198
    ค่าพลัง:
    +3,380
    สาธุในคำสอนของพระอาจารย์เล็กเจ้าค่ะ ได้อ่านแล้วรู้สึกเห็นด้วยกับท่าน ท่านสอนได้อย่างมีเหตุผล มีปัญญา และมีหลักพรหมวิหารดีค่ะ สาธุ
     
  14. Senseless guy

    Senseless guy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +991
    กราบอนุโมทนา .......สาธุ
     
  15. รักษ์สยาม

    รักษ์สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,129
    แก้กรรมให้พ่อด้วย ดึงจากนรกไปสวรรค์
    สงสัยต้องให้ท่าน เกษม ชกสักหมัดแล้ว:'(
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  16. chatsiri

    chatsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +195
    ผมขอถามเรื่องพระพุทธรูปที่ท่านทำลาย ฯลฯ (เยอะมาก สอนให้ลูกศิษย์ทำลายอีก) ผมว่าสิ่งที่ทำขึ้นมาเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า ทุกอักขระที่จารพิมพ์ หรือเขี้ยนอะไรก็ตามที่ใส่ลงไปล้วนเป็นภาษาของพระพุทธเจ้าแทบทั้งสิ้น หรือแม้แต่บทที่ทำพิธีมหาพุธธาภิเษก ก็ตามทีซึ่งเป็นบทสวดบูชาคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นแค่นะโม 3 จบ อิติปิโส ฯลฯ แค่นี้ก็อัญเชิญดวงจิตอันศักดิ์สิทธิของตถาคตมาสถิตที่องค์พระพุทธรูป ที่มุษย์ได้สร้างขึ้นด้วยจิตที่บริสุทธิ์แล้วไม่ว่าจะเป็นทำจากวัสดุอะไรก็ตาม แม้จะเป็นเพียงสมมุติบัญญัติก็เถอะ และดวงจิตองค์ไหนที่มาสถิตย์ต้องเป็นสัมมาธิฐิแน่นอน (เทพที่ดี) พวกมิฉฉาธิฐิ (ฝ่ายอธรรม) ผ่านคาถาอันศักดิ์สิทธิของตถาคตมาไม่ได้แน่นอนคับ ฉนั้นการที่ท่านทำนี้เท่ากับ เป็นอะไรกับฝ่ายองค์เทพ...เรื่องคาถาชินบัญชร ก็เป็นบทที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าล้วน ๆ ลองคิดดูนะคับ ท่านก็เป็นสาวกพระพุทธเจ้าไม่ใช่หรอคับ...(พระไตรปิฏก) สมมุติบัญญัติที่มนุษย์ใช้ก็แค่เพื่อที่ใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจ กราบพระพุทธรูปก็เหมือนกราบพระพุทธเจ้า จิตสบายบุญเข้าแล้วนะคับอย่างห้ามเลย จะไม่ดีนะคับกลายเป็น หลวงพ่อ...เฮ้อไม่อยากพูด หลวงพ่อก็ยังถือสมมุติบัญญัติเลย เช่น โกนผม โกนคิ้ว (แต่ผมเห็นยังมีอยู่น(คิ้วน่ะ) หรือท่านลืมโกน ไม่ใส่รองเท้า ฯลฯ (แตท่านสมมุติบัญญัติตามพระไตรปิฏก) แต่มนุษญ์เค้ายึดถืออะไรเวลาไม่ได้ไปวัด ก็สร้างรูปจำลองพระพุทธเจ้าขึ้นมาบูชา (มันผิดหรอคับ)มันจะแรงเกินไปไหมสำหรับคนเครพพระพุทธรูป (ซึ่งเค้าใช้เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าน่ะ) เราไม่ได้สร้างมาเพื่อลบหลู่ท่านนะคับ ขอฝากหลวงพ่อไตร่ตรองดูนิดนึงนะคับ ผมเดินสายกลาง ท้ายนี้ผมก็ได้ขอลุ้นให้หลวงพ่อสำเร็จพระอรหันต์..........นะคับ ไม่งั้นยุ่งแน่คับ นมัสการ
    จากลูกพระพุทธเจ้า..........................
     
  17. BUDDHISTSON

    BUDDHISTSON สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ຂໍອອກຄວາມໃນນາມພຸທສາສນິກະຊົນ
    -ສັນຍາລັກ ແລະ ຮູບໃນຫຼວງ ເປັນທີ່ເຄົາຣົບບຸຊາຂອງປະຊາຊົນໄທທັງປະເທດ ໃຜ້ກ້າຢຽບຢໍ່າທໍາລາຍ
    ແລະ ຖ້າໃຜລົບລູ່ດູໝິ່ນຈະເປັນແນວໃດ?
    -ສັນຍາລັກ ແລະຮູບແທນຂອງພຣະພຸທເຈົ້າ ເປັນທີ່ເຄົາລົບບູຊາຂອງມະນຸດທັງໂລກ ນັບໄປເຖິງ
    ເທພເທວາ ທົ່ວອະນັນຕະຈັກກະວານ, ໃຜດູໝິ່ນ ຢຽບຢໍ່າທໍາລາຍ ຈະເປັນແນວໃດ ?. ເປັນຄົນດີຫຼືຊົ່ວ ? ຜິດຫຼືຖືກ ?
    ---------
    ສໍາຫຼັບການຮັບເງິນທອງ ຂອງຖວາຍນັ້ນ ມັນເປັນໄປຕາມກາລະ ແລະ ຂຶ້ນກັບເຈຕະນາຂອງຜູ່ກະທໍາ
    ບໍ່ໝາຍຄວາມວ່າຮັບເງິນຄໍາແລ້ວຊົ່ວໝົດ.

    ອັນນີ້ເປັນພຽງຂໍ້ອາງເຫຼັກໆນ້ອຍໆ

    ໃຜທໍາກັມໃດໄວ້ ກໍຈະໄດ້ຮັບຜົນດ້ວຍຕົນເອງ ແລະ ຈະຊຶ້ງຕໍ່ຜົນຂອງມັນຢ່າງແນ່ນອນ.


    ອະມິດຕະພຸທ
     
  18. suttatika

    suttatika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +258
    ดั่งคำพระท่านกล่าว " ศรัทธาเสมอด้วยปัญญา ดั่งโคคู่เทียมเกวียน ต้องเดินไปพร้อมกันมิฉะนั้นเกวียนจะคว่ำ"
    ศรัทธา มากกว่า ปัญญา = งมงาย
    ปัญญา มากกว่า ศรัทธา = จิตวิปลาส
     
  19. Sonaz

    Sonaz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    762
    ค่าพลัง:
    +348
    กระผม ก็ 50/50 ครับ ในตอนนี้ ก็ไม่กล้าที่จะกล่าวว่าฝ่ายไหนผิด

    กระผมเลือกเสพแต่สิ่งดีๆ ครับ เราเองเลือกเสพได้ครับผม สิ่งใด ดูแล้วไม่ดี ก็อย่าไปเสพ สิ่งใด มีประโยชน์ เอามาประยุกต์ให้เข้ากับตนเอง

    สิ่งใด ดี ก็มีอยู่ ลองใช้ปัญญาของท่าน พิจารณาเอาเถอะครับ

    กระผม ไม่ขอกล่าวหรอก เพราะกระผมก็ไม่ได้รู้ใครถูกผิด อย่างไร แต่ผมคิดว่า เราก็เลือกเสพแต่สิ่งที่เราคิดว่าดี แล้วทำให้รู้แจ้ง ได้นะครับ
     
  20. gaiou419

    gaiou419 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +716
    :cool::cool::cool::cool::cool:(||)(||)(||)
     

แชร์หน้านี้

Loading...