พระเครื่องของพ่อแม่บูรพาจารย์สายกรรมฐาน

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย anamvong01, 1 กันยายน 2019.

  1. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระเครื่องของพ่อแม่บูรพาจารย์สายกรรมฐาน

    พระเครื่องทุกองค์รับประกันแท้ ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสะสมพระเครื่องดีของพ่อแม่บูรพาจารย์สายกรรมฐานไว้ครอบครองหรือเป็นมรดกให้ลูกหลาน
    ก่อนการพิจารณาองค์พระ...บทความบูรพาจารย์เป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่งมีหลักธรรมที่บูรพาจารย์ได้ฝากไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลัง

    สนใจจองได้ไม่เกิน 7 วัน โอนเงินธนาคารกสิกรไทย สาขายางตลาด เลขบัญชี 038-8-59717-8 เอกรัตน์ นามวงค์

    พระทุกองค์รวมค่าจัดส่งแล้ว เมื่อโอนแล้วแจ้งข้อมูลใน PM หรือ ติดต่อทางมือถือ/ID Line 0935423311
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2019
  2. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 1 พระปิดตาเนื้อนวโลหะ นวหรคุณสัมฤทธิ์ประสิทธิ์โชค หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม สมทบทุนร่วมทำนุบำรุงงานบุญ สร้างปี 2536 เปิดบูชา 1,450.-บาท

    ประวัติหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ (พระสุนทรธรรมากร) วัดธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม นับเป็นพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่มีวิชาอาคมอันเข้มขลัง มีปฏิปทาอันน่าเคารพศรัทธาเลื่อมใส มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ อีกทั้งยังเป็นพระนักพัฒนา ผู้สร้างความเจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดธาตุมหาชัย รวมทั้งคณะสงฆ์ในจังหวัด และใกล้เคียงอีกจำนวนมาก นับเป็นพระเถราจารย์ที่น่ากราบไหว้อย่างที่สุด
    m-kampun.png
    ตามประวัติ หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๕๘ ณ บ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม ในตระกูล "ศรีสุวงศ์" เมื่ออายุ ๑๗ ปีได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญเรือง อ.นาแก ต่อมาได้พบกับ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น จึงฝากตัวเป็นศิษย์ก่อนหน้าที่จะได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น เคยได้รับความรู้เรื่องกัมมัฏฐานมาจาก พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งท่านไปอบรมประชาชนที่วัดโพนเมือง ท่านอาจารย์เสาร์ให้แนวทางในการ ปฏิบัติกรรมฐานไว้ว่า ให้กำหนดลมหายใจออก ท่านอาจารย์เสาร์ได้ให้ข้อคิดต่อ ไปอีกว่า “ร่างกายของคนเรานั้น เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันทำงานอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้า-ออกนั้น มีความสำคัญมาก ถ้าลมไม่ทำงานคนเราจะตายทันที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจ” นอกจากนั้นท่านอาจารย์เสาร์ยังได้ย้ำอีกว่า “ให้คนเราตีกลองคือขันธ์ ๕ ให้แตก” ซึ่งก็หมาย ความว่า ท่านให้ทำความเข้าใจขันธ์ ๕ ให้จงดีให้เข้าใจตามสภาพที่เป็นจริง........ รับแนวทางการสอนของพระอาจารย์เสาร์มาปฏิบัติตาม โดยเฉพาะการกำหนดรู้ของลมหายใจเข้าออก ทำให้มีความรู้ในด้านนี้เพิ่มขึ้น หลังจากนั้น ท่านได้เดินธุดงค์ไปทาง อ.ภูเรือ จ.เลย จนพบกับ ปะขาวครุฑ ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติผู้ใหญ่ และเป็นผู้มีวิชาอาคม ไสยเวทและวิชาแพทย์แผนโบราณอย่างแตกฉาน จึงได้ขอเรียนวิชาทั้งหมดนี้จากปะขาวครุฑ จนมีความรู้ความเข้าใจเป็นอันดีอีกทางหนึ่ง สำหรับปะขาวครุฑท่านนี้ เป็นผู้ถือศีลปฏิบัติธรรมแบบพระ แต่ไม่ได้บวชเป็นพระ ครองผ้าขาวห่มกายเป็นประจำ ท่านเป็นศิษย์ของ สำเร็จลุน ผู้สืบสานวิชาอาคมสายลุ่มน้ำโขงสมัยโบราณ จาก ท่านญาครูขี้หอม แห่งล้านช้าง ต้นตำรับวิชาอาคมสายนี้ ซึ่งโด่งดังในสมัยก่อนมาก

    สรุปว่า หลวงปู่คำพันธ์ได้เรียนรู้วิชาอาคมสายนี้มาอย่างครบถ้วน และเมื่ออายุครบบวช ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนม ต่อมาโยมมารดาถึงแก่กรรม ท่านจึงลาสิกขา ออกมาช่วยเลี้ยงดูน้องๆ ที่ยังเล็กอยู่ ท่านได้อุปสมบทอีกครั้งเมื่ออายุ ๓๐ ปี ณ วัดโพธิ์ชัย อ.นาแก กาลเวลาได้ผ่านไปพร้อมกับบารมีอันแก่กล้าของท่านก็มีมากเพิ่มขึ้นด้วย จึงได้นำญาติโยมสร้าง วัดธาตุมหาชัย ขึ้นมาจากวัดเล็กๆ จนเติบโตในเวลาต่อมา ขณะเดียวกัน ก็มีศรัทธาญาติโยมต่างพากันมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์อย่างกว้างขวาง ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังขึ้นมาทันที

    วัตถุมงคลหลวงปู่คำพันธ์ พระเครื่องรุ่นต่างๆ ที่มีหลากหลายรูปแบบ ล้วนมีประสบการณ์ในการใช้ติดตัวตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัย ผกค.มีอิทธิพลในภาคอีสาน ทหารตำรวจ อาสาสมัครทหารพราน ที่ออกสู้รบ และรอดตายมาได้อย่างปาฏิหาริย์ ต่างก็มีวัตถุมงคลของหลวงปู่คำพันธ์ทั้งสิ้น จนเป็นที่แสวงหาของศรัทธาญาติโยมอย่างกว้างขวาง

    หลวงปู่คำพันธ์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระสุนทรธรรมากร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๕ และมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ สิริรวมอายุ ๘๘ ปี ขณะนี้สรีระของท่านยังอยู่ที่วัดธาตุมหาชัยในสภาพที่สมบูรณ์ มิได้เน่าเปื่อยแต่ประการใด
    66996.jpg
    66995.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  3. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 2 เหรียญกายทิพย์หลวงปู่ดุลย์ สุดยอดประสบการณ์ จัดสร้างเมื่อ ปีพ.ศ. 2521 บูชา 4,200 บาท

    002-00-02-09-62.jpg
    สร้างโดยวัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ สมัยที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ทรงสมณศักดิ์ที่" พระรัตนากรวิสุทธิ์ " เมื่อปีพ.ศ. 2521จัดเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากที่สุดรุ่นหนึ่ง เป็นที่นิยมแสวงหาของศิษย์และผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่
    เนื้อกะหลั่ยทองลงยา สร้างจำนวน 2,000 เหรียญ
    เนื้อทองแดง จัดสร้างจำนวน 10,000 เหรียญ
    002-01-02-09-62.jpg
    002-02-02-09-62.jpg
    002-03-02-09-62.jpg

    อีกด้านหนึ่งของเหรียญ จะทำเป็นรูป "หลวงพ่อพระชีว์" วัดบูรพาราม อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งใช้เป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยามาแต่โบราณกาลรูปต้นแบบปรากฏกายทิพย์ หลวงปู่ดูลย์ในท่านั่งสมาธิซ้อนอยู่ที่อกของหลวงปู่อีกชั้นหนึ่ง น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งทราบว่า มีคนเอารูปนี้ไปถามกับองค์หลวงปู่ดูลย์เองถึงที่มาของกายทิพย์ ที่ปรากฏซ้อนอยู่ในภาพ ด้วยความสงสัยว่า หากว่าจะเป็นการถ่ายซ้อนฟิล์ม ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า หลวงปู่ดูลย์ไม่นิยมและไม่เคยโพสต์ท่าวางมาดให้ถ่ายรูป ยิ่งเป็นภาพที่ลืมตานั่งสมาธิจ้องใส่กล้องอย่างที่เห็นซ้อนในภาพดังกล่าว ยิ่งเป็นสิ่งที่พ้นวิสัยและไม่เคยเห็นจากที่ไหนมาทั้งสิ้นฯ

    เมื่อได้ฟัง หลวงปู่ดูลย์ตอบแต่เพียงสั้นๆว่า
    " ตอนที่เขาถ่ายภาพนี้ เรากำลังกำหนดจิตอยู่ที่ตรงหน้าอกของเราอยู่ "



    พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    นามเดิม * ดูลย์ ดีมาก เป็นบุตรของนายแดง และนางเงิน ดีมาก ภายหลัง หลวงปู่ดูลย์ได้เปลี่ยนนามสกุล เป็น เกษมสินธุ์

    เกิด * วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2431 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    อุปสมบท * พ.ศ. 2453 อายุ 22 ปี ณ วัดจุมพลสุทธาวาส จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต(ทอง) เป็นพระอุปชฌาย์ ท่านได้ไปศึกษาอยู่ที่วัดสุทัศนารามและสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้รุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี หลังออกพรรษา พ.ศ. 2458 ได้พบและศึกษาอบรมธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นได้ปฏิบัติเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานและได้ออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ

    ญัตติเป็นพระธรรมยุต * วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เมื่ออายุ 30 ปี ณ วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระมหารัตน์ รฏฺฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลกเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ. 2563 ได้ออกติดตามท่านพระอาจารย์มั่น โดยเที่ยวธุดงค์จนถึงบ้านม่วงไข่ ได้แวะที่วัดโพธิ์ชัย พบอาญาครูดี พระอาจารย์กู่ พระอาจารย์ฟั่น และได้ออกติดตามจนพบ ท่านพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    สมณศักดิ์ * วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2522ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวุฒาจารย์

    มรภาพ * วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2526 ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สิริรวมอายุได้ 95 ปี 26 วัน พรรษา 65


    อาจริยธรรม
    จากการที่หลวงปู่ดูลย์ได้ศึกษาเล่าเรียนทางด้านปริยัติและพิจารณาข้อธรรมะเหล่านั้นจนแตกฉานช่ำชองพอสมควรแล้ว ก็เห็นว่าการเรียนปริยัติอย่างเดียวนั้นเป็นเพียงการจำหัวข้อธรรมะได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้ได้ผลและได้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จึงบังเกิดความเบื่อหน่ายและท้อถอยในการเรียนทางปริยัติ และมีความสนใจโน้มเอียงไปในทางปฏิบัติธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่ นับว่าเป็นบุญลาภของหลวงปู่ดูลย์อย่างประเสริฐ ที่ในพรรษานั้นเอง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ได้เดินทางกลับจากธุดงอค์กัมมัฏฐาน มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ข่าวที่พระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาที่วัดบูรพานั้น เลื่องลือไปทุกทิศ ทำให้พระภิกษุสามเณร บรรดาศิษย์ และประชาชนแตกตื่นฟื้นตัวพากันไปฟังพระธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม สองสหายก็ไม่เคยล้าหลังเพื่อนในเรื่องเช่นนี้ พากันไปฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะมีความหมายลึกซึ้งและรัดกุมกว้างขวาง ยังได้มีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของท่านพระอาจารย์มั่น ที่งดงาม น่าเลื่อมใสทุกอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจ คำพูดแต่ละคำมีนัยแปลกดีไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกทีๆ


    ออกธุดงค์ครั้งแรก
    ครั้นออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์อีก ภิกษุสองสหายคือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และหลวงปู่ดูลย์ จึงได้ตัดสินใจสละละทิ้งการสอนการเรียน ออกธุดงค์ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปทุกแห่งจนตลอดฤดูกาลตลอดพรรษานั้น ตามธรรมเนียมธุดงค์กัมมัฏฐานของท่านพระอาจารย์มั่นมีอยู่ว่า เมื่อถึงกาลเข้าพรรษาไม่ให้จำพรรษารวมกันมากเกินไป ให้แยกกันไปจำพรรษาตามสถานที่อันวิเวก ไม่ว่าจะเป็นวัด เป็นป่า เป็นถ้ำ เป็นเขา โคนไม้ ป่าช้า ลอมฟาง เรือนว่าง หรืออะไรตามอัธยาศัยของแต่ละคณะ เมื่อออกพรรษาแล้ว หากทราบข่าวว่าท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ ณ ที่ใด ก็พากันไปจากทุกทิศทุกทาง มุ่งไปยัง ณ ที่นั้น เพื่อเรียนพระกัมมัฏฐานและเล่าแจ้งถึงผลการประพฤติปฏิบัติที่ผ่านมา เมื่อมีอันใดผิด ท่านจักได้ช่วยแนะนำแก้ไข อันใดถูกต้องดีแล้วท่านจักได้แนะนำข้อกัมมัฏฐานยิ่งๆ ขึ้นไป

    ดังนั้น เมื่อจวนจะถึงกาลเข้าปุริมพรรษา คือ พรรษาแรกแห่งการเดินธุดงค์ของท่าน คณะของหลวงปู่ดูลย์จึงพากันแยกจากท่านพระอาจารย์มั่น เดินธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้นถึงป่าท่าคันโท ก็สมมุติทำเป็นสำนักวัดป่า เข้าพรรษาด้วยกัน 5 รูป คือ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ท่านอาจารย์บุญ ท่านอาจารย์สีทา ท่านอาจารย์หนู ท่านอาจารย์ดูลย์ อตุโล(คือตัวหลวงปู่เอง) ทุกท่านปฏิบัติตนปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของท่านอย่างสุดขีด ครั้งนั้น บริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่ดุร้าย ไข้ป่าชุกชุมมาก ยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้

    ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้เอง การปฏิบัติทางจิตที่หลวงปู่ดูลย์พากเพียรบำเพ็ญอยู่อย่างไม่ลดละก็ได้บังเกิดผลอย่างเต็มภาคภูมิ ในขณะนั้นเอง แสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้นปรากฏแก่จิตของท่านอย่างแจ่มแจ้ง จนกระทั่งท่านสามารถแยกจิตกับกิเลสออกจากกันได้ รู้ชัดว่า อะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้ จนรู้ว่ากิเลสส่วนไหนละได้แล้ว ส่วนไหนยังละไม่ได้ ดังนี้ ท่านมิได้เล่าบอกใครในพรรษานั้น เคยเล่าให้ท่านอาจารย์สิงห์ทราบแต่เพียงว่าจิตของท่านเป็นสมาธิเท่านั้น ตัวท่านนึกอยากให้ออกพรรษาโดยเร็ว จะได้ไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่นและกราบเรียนถึงผลการปฏิบัติทั้งรับคำแนะนำทางปฏิบัติที่ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก


    คำสรรเสริญครั้งแรกจากท่านพระอาจารย์มั่น
    ครั้งออกพรรษาแล้ว ทุกรูปต่างแยกย้ายกันออกจากที่นั้นเดินธุดงค์ต่อไป หลวงปู่ดูลย์ไปด้วยกันกับท่านอาจารย์สิงห์ ต่อมาก็แยกทางกับท่านอาจารย์สิงห์ คือไปองค์ละทาง มีจุดมุ่งหมายอันเดียวกันคือท่านพระอาจารย์มั่น จนกระทั่งถึงบ้านตาลเนิ้ง มีชาวบ้านบอกว่าเห็นพระธุดงค์อยู่ในป่าใกล้บ้านนี้เอง ท่านแสดงความดีใจเป็นอันมาก คิดว่าอย่างไรเสียต้องเป็นพระอาจารย์มั่นอย่างแน่นอน เมื่อไปถึงสถานที่นั้นก็เห็นท่านอาจารย์สิงห์ซึ่งเดินทางมาถึงก่อนนานแล้วและเห็นพระองค์อื่น ๆ อีกหลายองค์กำลังนั่งห้อมล้อมท่านพระอาจารย์มั่นอย่างสงบ พากันหันหน้ามามองท่าน และพูดบอกกันเบา ๆ ว่า “แน่ะ ท่านดูลย์มาแล้ว ท่านดูลย์มาแล้ว” คาดว่าท่านอาจารย์สิงห์คงเล่าบอกแล้วว่าหลวงปู่ดูลย์ทำจิตเป็นสมาธิได้ เมื่อท่านเห็นท่านพระอาจารย์มั่นก็เกิดความปลาบปลื้มปีติ รำพึงในใจว่า “ประสงค์อย่างไรก็สำเร็จอย่างนั้น” ครั้นได้โอกาสอันควรแล้ว ท่านได้เข้าไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น โดยท่านพระอาจารย์มั่นได้ถามถึงการปฏิบัติ ท่านจึงกราบเรียนถึงผลการปฏิบัติโดยตลอด แล้วก็สรุปท้าย กราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นให้ทราบว่า “เดี๋ยวนี้กระผมเข้าใจแล้ว กระผมทำความรู้จักกับกิเลสของกระผมได้ดีแล้ว คือถ้ารวมกันทั้งหมดแล้วแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 นั้นกระผมละได้เด็ดขาดแล้ว ส่วนที่ 2 กระผมละได้ครึ่งหนึ่ง ยังอีกครึ่งหนึ่ง ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 กระผมยังละไม่ได้” ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวคำสรรเสริญว่า “เก่งมาก ฉลาดมาก ที่สามารถรู้จักกิเลสของตนเองและการปฏิบัติที่ผ่านมา ที่เล่าบอกนั้นก็เป็นการถูกต้องดีแล้ว” และแล้วท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้แนะนำต่อไปว่า ให้เอาข้อนี้ไปพิจารณาต่อไปอีก โดยบอกเป็นภาษาบาลีว่า “สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา” หลังจากได้รับคำแนะนำจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านก็ได้ปลีกตัวไปบำเพ็ญทางจิต พร้อมทั้งพิจารณาคติธรรมที่ได้มา

    สำหรับหลวงปู่ดูลย์นั้น ท่านเล่าว่าได้ตรตรองพิจารณาตามหัวข้อกัมมัฏฐานว่า “สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา” ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มา ในเวลาต่อมาก็เกิดความสว่างไสวในใจชัดว่า เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักมีไม่ได้เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร และจับใจความอริยสัจจ์แห่งจิตได้ว่า

    1. จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย
    2. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์
    3. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    4. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ


    คำรับรองจากท่านพระอาจารย์ใหญ่
    ครั้นอยู่ที่ถ้ำพระเวสฯ ได้พอสมควรแล้ว ก็พากันยกขบวนจาริกไปเสาะหาท่านพระอาจารย์มั่น จนกระทั่งพบที่วัดป่าโนนสูง หลวงปู่ดูลย์จึงกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นถึงผลการปฏิบัติของท่านตามปรากฏ ท่านพระอาจารย์มั่นก็กล่าวรับรองและยกย่องสรรเสริญให้ปรากฏ ณ ท่ามกลางชุมนุมของสานุศิษย์ทั้งหลายว่า “ถูกต้องดีแล้ว เอาตัวรอดได้แล้ว นับว่าไม่ถอยหลังอีกแล้ว ขอให้ดำเนินตามปฏิปทานี้ต่อไป” หลังจากนั้นหลวงปู่ดูลย์ได้นำอาจารย์ฟั่นและคณะภิกษุสามเณรวัดม่วงไข่ที่ได้ติดตามมา ถวายตัวต่อท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์มั่นจึงกล่าวยกย่องสรรเสริญ กระทำให้ปรากฏต่อศิษย์ทั้งหลายว่า “ท่านดูลย์นี้ เป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นอย่างยิ่ง สามารถมีสานุศิษย์และผู้ติดตามมาประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก”

    ในระหว่างที่พักกับท่านพระอาจารย์มั่นเป็นเวลานานนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นผู้ทรงคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ได้กรุณาตัดเย็บจีวรด้วยมือตน แล้วช่วยกันเย็บช่วยกันย้อมด้วยมือ มอบให้หลวงปู่ดูลย์ 1 ไตร ท่านจึงถือว่านี่คือผลหรือรางวัลแห่งการปฏิบัติดีที่ครูบาอาจารย์มอบให้ เป็นกรณีพิเศษด้วยเมตตาธรรม

    ต่อมาท่านพักอยู่ที่ถ้ำผาบิ้ง เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกได้ 1 เดือน ก็เดินทางไปที่บ้านผือ เขตจังหวัดอุดรธานี ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่นอีกครั้งหนึ่ง การพบกับท่านพระอาจารย์มั่นคราวนี้ มีแต่การสนทนาธรรมกันเป็นเวลานาน ๆ ยังให้เกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรมปฏิบัติยิ่งขึ้น


    หลวงปู่ดูลย์กล่าวถึงท่านพระอาจารย์ใหญ่
    หลวงปู่ดูลย์ได้กล่าวถึงพระอาจารย์มั่นว่า

    ท่านพระอาจารย์ใหญ่จะถือธุดงค์อย่างเคร่งครัดที่สุด ยืนยันได้เลยว่า “ลูกศิษย์ของท่านทั้งหมด ยังไม่มีผู้ใดถือได้เท่าเทียมกับท่านพระอาจารย์ใหญ่เลยแม้แต่องค์เดียว”

    แล้วหลวงปู่ดูลย์ก็เล่าต่อว่า ท่านพระอาจารย์ใหญ่ของหลวงปู่นั้น จะไม่ยอมใช้สบงจีวรสำเร็จรูป หรือ คหบดีจีวร ที่มีผู้ซื้อจากท้องตลาดมาถวายเลย นอกจากผ้าที่ได้มาเองแล้วมาตัดเย็บย้อมเองทั้งหมดจึงใช้

    และ ไม่เคยดำริหรือริเริ่มให้ใครคนใดคนหนึ่งสร้างวัดสร้างวาเลย มีแต่สัญจรไปเรื่อย ๆ เมื่อเห็นว่าป่าตรงไหนเหมาะสม ท่านก็อยู่ เริ่มด้วยการปักกลดแล้วทำที่สำหรับเดินจงกลมส่วนญาติโยมผู้มีศรัทธาเลื่อมใสเมื่อมาพบและมองเห็นความเหมาะสมสำคัญ ก็จะสร้างกุฏิน้อยสร้างศาลาชั่วคราวถวายท่าน ต่อจากนั้น สถานที่นั้นก็กลายเป็นวัดป่าเจริญรุ่งเรืองต่อมา

    ยิ่งกว่านั้น แม้แต่การรับกฐินท่านก็ไม่เคย สมัยต่อมานั้นไม่ทราบ และท่านไม่เคยถือเอาประโยชน์ที่ได้รับอานิสงส์พรรษาตามพระพุทธบัญญัติ ที่ให้สิทธิพิเศษแก้ภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ได้รับการยกเว้นบางอย่างในการปฏิบัติ ท่านจะถือตามสิกขาบทโดยตลอดไม่เคยยกเว้น ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎของธุดงควัตรโดยสม่ำเสมอ

    ด้านอาหารการฉันก็เช่นเดียวกัน ท่านถือการบิณฑบาตโปรดสัตว์เป็นประจำไม่เคยขาดแม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย แต่พอเดินได้ท่านก็เดิน จนกระทั่งในที่สุดเมื่อเดินบิณฑบาตไม่ได้ ท่านก็จะลุกขึ้นยืนแล้วอุ้มบาตร ศิษยานุศิษย์ที่กลับมาจากบิณฑบาตและญาติโยมก็มาใส่บาตรให้ท่านแล้วท่านก็ จะขบฉันเฉพาะอาหารที่อยู่ในบาตรเท่านั้น แม้เมื่อเวลาท่านชราภาพมากแล้ว เวลาท่านเจ็บไข้หรือป่วยมากจนไม่อาจเดินออกนอกวัดได้ ก็ทราบว่าท่านเป็นอยู่อย่างนี้และยังฉันอาหารมื้อเดียวตลอด

    แม้แต่หยูกยาคิลานเภสัชต่าง ๆ ที่ใช้ในยามเจ็บไข้ ท่านพระอาจารย์ใหญ่ก็ ไม่นิยมใช้ยาสำเร็จรูป หรือแม้แต่ยาตำราหลวง หากแต่พยายามใช้สมุนไพรตัวยาต่าง ๆ มาทำเอง ผสมเองเป็นประจำ

    แม้แต่การเข้าไปพักตามวัด ก็ นิยมพักที่วัดป่า จำได้ว่าไม่เคยเข้าไปอยู่ในวัดบ้านเลย แต่จะอยู่วัดที่เป็นป่าหรือชายป่า เมื่อไม่มีวัดเช่นนี้อยู่ ท่านจะหลีกเล้นอยู่ตามชายป่า แม้จะมีความจำเป็นเวลาเดินทาง ก็ยากนักที่จะเข้าไปอาศัยวัดวาในบ้าน

    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ดูลย์ได้เล่าถึงคำสอนของพระอาจารย์ใหญ่ที่เกี่ยวกับการขบฉันภัตตาหารไว้ว่า “ท่านพระอาจารย์ใหญ่ได้สั่งสอนไว้ว่า การฉันอาหารต้องฉันอย่างประหยัด มีสติสัมปชัญญะ เพื่อขัดเกลาจิตใจมิให้เกิดความโลภ วิธีการฉันนั้น เมื่อรับข้าวสุกมากะพออิ่มสำหรับตนแล้วให้แบ่งข้าวสุกที่ตนพออิ่มนั้น ออกเป็น 4 ส่วน เอาออกเสียส่วนหนึ่ง แล้วจึงรับเอากับข้าวมาในปริมาณที่เท่ากับส่วนหนึ่งที่เอาออกไป กล่าวคือ ให้มีข้าว 3 ส่วน กับข้าว 1 ส่วน แล้วจึงลงมือฉัน ท่านพระอาจารย์ใหญ่เองก็จะฉันภัตตาหารในลักษณะเช่นนี้โดยตลอด เมื่อมีผู้ใดจะตระเตรียมภัตตาหารในบาตรถวายท่าน ท่านพระอาจารย์ใหญ่ก็จะแนะนำให้จัดแจงมาในลักษณะเช่นนี้ แล้วท่านจึงจะฉัน”

    นี่คือปฏิปทาส่วนตัวของท่านพระอาจารย์ใหญ่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ตามที่หลวงปู่เล่าให้ฟัง ซึ่งหลวงปู่จะพูดถึงแต่ในแง่ที่ท่านถือธุดงค์ ในแง่ที่ท่านเคร่งครัดอย่างไร เพื่อให้ผู้สนใจซักถามนั้นได้ถือเป็นแบบแผนเยี่ยงอย่าง

    ส่วนคุณธรรมด้านอื่น ๆ นั้น หลวงปู่ดูลย์เคยกล่าวในแวดวงนักปฏิบัติว่า “ท่านพระอาจารย์ใหญ่เป็นผู้ที่มีญาณใหญ่ไม่มีใครเทียบเท่าได้” ดังนี้เท่านั้น ส่วนคุณวิเศษหรืออภิญญาใด ๆ ที่มีในตัวท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นนั้น หลวงปู่ดูลย์ไม่เคยพูดถึงเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  4. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 3 เหรียญ รุ่นพิทักษ์สันติราษฎร์เนื้อทองแดงหลวงปู่ดุลย์ สุดยอดประสบการณ์ จัดสร้างเมื่อ ปีพ.ศ. 2521 บูชา 650 บาท

    003-01-03-09-62.jpg

    003-02-03-09-62.jpg

    พระเครื่องหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมืองฯ จ.สุรินทร์ รุ่นปี 2521 สร้างโดยพล.ต.ท.แสวง หงษ์นคร อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ และคณะ มีทั้งเหรียญหล่อ เหรียญปั๊มและพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ แกะบล็อกโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ช่างแกะบล็อกมือหนึ่งของประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อหาทุนสร้าง

    1)ฌาปนสถานวัดอิสาน ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.บุรีรัมย์

    2)สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโพธิ์ทอง ต.พระครู อ.เมืองฯ จ.บุรีรัมย์

    3)ถวายวัดบูรพาราม ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นวัดของหลวงปู่ เงินที่ทางผู้สร้างได้ถวายวัด ส่วนหนึ่งได้นำไปปูพื้นถนนภายในวัด โดยนำไปขอความเมตตาให้หลวงปู่อธิษฐานจิต เมื่อวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2522 และก่อนหน้านี้ได้นำไปเข้าพิธี

    "สรรพสิทธิชัยไพรีพินาศ" ซึ่งเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่มีพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ 109 รูปจากทั่วประเทศ ณ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ นั่งปรกถึงสามวันสามคืน โดยมีวัตถุมงคลหลายรูปแบบ เช่น เหรียญหล่อฉลุเล็ก เนื้อนวโลหะ(แจกสุภาพสตรีและเด็ก)ให้เช่าเหรียญละ 100 บาท เหรียญปั๊มรุ่นพิทักษ์สันติราษฎร์ทองแดงลงยากะหลั่ยทอง เหรียญละ 50 บาท ชุดรุ่นพิเศษ ทองคำ เงิน ทองแดง ชุดละ 5,000 บาท โดยแยกเป็นเนื้อเงิน 200 บาท ทองแดงธรรมดา 30 บาท มีสองบล็อก คือ บล็อกตัวหนังสือหัวกลม และบล็อกตัวหนังสือหัวเหลี่ยมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บางเหรียญจะสลับด้านหน้าเป็นบล็อกตัวหนังสือหัวกลม ส่วนด้านหลังเป็นบล็อกหนังสือหัวเหลี่ยม ไม่แน่นอน บล็อกตัวหนังสือหัวกลม เหรียญจะหนากว่าบล็อกตัวหนังสือหัวเหลี่ยมเล็กน้อย ตอกโค้ดตัว ด และตัว พ บางเหรียญตอกโค้ดตัว ด บางเหรียญตอกโค้ด พ หรือทั้งสองตัว (เท่าที่สังเกต โค้ดตัว พ จะพบเห็นน้อยกว่าโค้ดตัว ด ) เหรียญปั๊มรูปไข่(หลังช้างหมอบ) ชุดพิเศษ ทองคำ เงิน ทองแดง 5,000 บาท โดยแยกเป็นเนื้อเงิน 200 บาท ทองแดง 30 บาท เหรียญหล่อลายฉลุพิมพ์ใหญ่ ทองคำ เงิน นวโลหะ ชุดละ 7,000 บาท เนื้อเงิน 400 บาท เนื้อนวโลหะ 200บาท เนื้อเงินลงยา 500 บาท และพระกริ่ง พระชัยวัฒน์จอมสุโข ชุดเงิน 500 บาท ชุดนวโลหะ 300 บาท (จำนวนการสร้างในใบโบชัวร์ทุกรายการไม่ได้บอกไว้) สำหรับวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว มีผู้ไม่ปรารถนาดีได้โจมตีต่างๆนานาเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ตกไป แต่ก็ไม่เป็นผล เนื่องจากปัจจุบันเหล่านักสะสมสายหลวงปู่ดูลย์ได้กว้านเก็บจนเกือบหมด สาเหตุมาจากประสบการณ์ด้านเมตตา แคล้วคลาดและ คงกระพัน โดยเฉพาะความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  5. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    ขออนุญาตเผยแพร่ การดูพระเหรียญกายทิพย์หลวงปู่ดุลย์ สุดยอดประสบการณ์ จัดสร้างเมื่อ ปีพ.ศ. 2521
    FB_IMG_1566995569856.jpg

    FB_IMG_1566995572668.jpg

    FB_IMG_1566995575330.jpg
    ขอบคุณ...คุณบอยเมืองนะ เพื่อการศึกษาน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2019
  6. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    หลวงปู่ดูลย์อธิบายเรื่องของวัตถุมงคล

    เป็นความจริงว่าครูบาอาจารย์สายกัมมัฏฐานส่วนใหญ่ไม่นิยมยินดีให้มีการสร้างวัตถุมงคล

    แต่ก็มีหลายท่านอนุญาตให้มีการสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาก็ด้วยเมตตาอนุโลมแก่สานุศิษย์

    หลวงปู่ดูลย์ก็เช่นเดียวกัน ในส่วนของวัตถุมงคลนั้นท่านได้บอกว่า หลายคนยังเข้าไม่ถึงธรรม วัตถุมงคลก็มีส่วนช่วยให้เข้าถึงธรรมได้ง่าย เพราะเป็นสิ่งสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจอย่างหนึ่ง และเป็นการรักษากำลังใจให้แก่ผู้มาขอสร้าง ซึ่งท่านก็อนุโลมให้


    มีผู้ถามหลวงปู่ดูลย์ว่า : วัตถุมงคลมีความศักดิ์สิทธิ์จริงหรือไม่ ?


    หลวงปู่ตอบว่า : ท่านทั้งหลายที่สนใจในการบำเพ็ญภาวนาก็ให้บำเพ็ญภาวนาไป ไม่ต้องไปห่วง ไม่ต้องไปสนใจ ในวัตถุมงคล ซึ่งเป็นของนอกกายเหล่านั้น แต่สำหรับผู้ที่มีจิตใจเพลิดเพลินอยู่ ยังยินดีในการเกิด แก่ เจ็บตาย ในวัฏสงสาร ยังไม่สามารถหันมาสู่การปฏิบัติธรรมได้ ก็ให้อาศัยวัตถุนอกกายนั้น เป็นวัตถุมงคล เป็นที่พึ่งไปก่อน อย่าไปตำหนิติเตียนอะไรเขาเลย ครั้นเขาเหล่านั้นประสพเหตุเพทภัย มีอันตรายเกิดขึ้นแก่ตน จะเกิดการแคล้วคลาดด้วยคุณของพระศรีรัตนตรัยก็ดี หรือด้วยเหตุบังเอิญก็ดี ก็จะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาในภายหลัง ซึ่งก็จะเป็นเหตุให้เจริญงอกงามในทางที่ถูกต้องต่อไปได้นั่นเอง
     
  7. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 4 เหรียญช้างหมอบหลวงปู่ดุลย์ จัดสร้างเมื่อ ปีพ.ศ. 2521 บูชา 2,100 บาท
    004-01-05-09-62.jpg

    004-02-05-09-62.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  8. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    การบูชาพระเครื่องหรือวัตถุมงคล เชื่อว่าส่วนมากจะบูชาเพื่อหวังพึ่งพุทธคุณ และยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อความรุ่งเรืองผาสุก อัคขระมงคลที่กำกับไว้ที่พระเครื่องหรือวัตถุมงคลต่าง ๆ จึงมีความหมาย

    มะ อะ อุ
    มะ ย่อ มาจาก มหาปุริสะ หรือ พระมหาบุรุษ ผู้เปี่ยมด้วยบารมีด้วยการการบำเพ็ญ 30 ทิศ มี ศีล เป็นพื้นฐาน มะ ในที่นี้ แทนความหมาย คือ ศีล อันเป็นบาทแรกแห่งการภาวนาทั้งปวง
    อะ ย่อมาจาก อาโลโก หรือ แสงสว่าง มีความหมายอันเกิดจากจิตที่เป็นสมาธิ เพราะสมาธิ ในขั้นต้นนั้นต้องปรากฏแสงสว่าง อันเรียกว่า สี หรือ รัศมี ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากอำนาจ สมาธิ ดังนั้น อะ แทนความหมาย คือ สมาธิ อันเป็นบาทที่สอง ของการภาวนา
    อุ ย่อมาจาก อุตมปัญญา ก็หมายถึงปณิธาน สูงสุด ในพระพุทธศาสนา นั้นคือ ปัญญา ซึ่งปัญญาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นลักษณะพิเศษซึ่งไม่ปรากฏในหมู่ พระสาวก ในคือพระสัพพัญญุุตญาณ ซึ่งเป็นคุณของพระพุทธเจ้า อันปรากฏแก่ หมู่ชน ด้วย ฉัพพันณรังสี เฉพาะพระพุทธองค์เท่านั้น
    ดังนั้น อักขระ มะ คือ ศีล อะ คือ สมาธิ อุ คือ ปัญญา อักขระ ทั้ง 3 นี้ จักได้ใช้ประจำ ไม่เอามาใช้ในตัวใด ตัวหนึ่ง เพราะมีคุณอนันต์

    นะมัตถุ พุทธานัง : ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    นะมัตถุ โพธิยา : ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ
    นะโม วิมุตตานัง : ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแต่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
    นะโม วิมุตติยา : ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแต่วิมุตติธรรม
    บทคาถาข้างต้น มักจะเห็นกำกับอยู่ในเหรียญรูปเคารพหรือวัตถุมงคลของครูบาอาจารย์สายพระกรรมฐานแห่งกองทัพธรรม หรือที่มักเรียกกันว่า พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในอดีตผู้เขียนรู้เพียงว่า เป็นบาทพระคาถา ‘แคล้วคลาด’ จากภัยอันตราย

    อิ สวา สุ
    อิ มาจาก บทพระพุทธคุณ ๕๖ คือ อิติปิโส....
    สวา มาจาก บทพระธรรมคุณ ๓๘ คือ สวาขาโต....
    สุ มาจาก บทพระสังฆคุณ ๑๔ คือ สุปะฎิปัณโน....

    รวมกันคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์แห่งพระรัตนตรัย และรวมคุณแห่งเลข ก็จะได้ ๑๐๘ เท่ากับบทอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘ แท้จริงแล้วก็กลับไปยังบทนี้เช่นกัน
     
  9. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 5 เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร รุ่นที่ 84 จัดสร้างเมื่อ ปีพ.ศ. 2518 บูชา 750 บาท

    เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร รุ่นที่ 84 คุณประกอบ เล้าพานิช ร้านโชคชัย กรุงเทพฯ สร้างเพื่อมอบให้หลวงปู่ฝั้น ปลุกเสกเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อแจกตำรวจ ทหาร และ ตชด. เมื่อปี 2518 ด้านหลังมีสัญลักษณ์ (ศ.ว.) มีเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก เนื้อนวโลหะ เนื้อทองแดง เนื้ออัลปาก้า (เหรียญรุ่นนี้มีหลังแบนเล็กน้อย)

    005-01-06-09-62.jpg

    005-02-06-09-62.jpg

    005-03-06-09-62.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  10. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 6 เหรียญเสมาหลวงปู่จันทร์ สิริจันโท รุ่นนิรันตราย วัดบรมนิวาส จัดสร้างเมื่อ ปีพ.ศ. 2518 บูชา 550 บาท
    006-01-07-09-62.jpg

    006-02-07-09-62.jpg

    ประวัติการณ์แห่งประวัติศาสตร์ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร พิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อ 44 ปีที่แล้ว “ สุดยอดพระเกจิอาจารย์โสฬสมงคลแห่งความขลัง ”

    กาลเวลาผ่านมา 44 ปี นับจากปี พ.ศ.2518 ถึงปัจจุบัน ได้มีพิธีกรรมยิ่งใหญ่นิมนต์เกจิอาจารย์ชั้นสุดยอดในยุคนั้น 16 องค์ ( โสฬส ) มาทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เกจิอาจารย์ดังกล่าวนั้นสุดยอดอย่างไร ลองดูรายนามท่านกันก่อน

    1. หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก

    2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

    3. หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง

    4. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

    5. หลวงปู่คำแสน วัดดอนมูล

    6. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ

    7. หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน

    8. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่

    9. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม

    10. หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสิริสาลวัน

    11. หลวงพ่อจวน วัดภูทอก

    12. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม

    13. พระอาจารย์แว่น วัดป่าสุทธาวาส

    14. พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ์

    15. พระเทพบัณฑิต วัดศรีเมือง หนองคาย

    16. พระพิศาลศาสนกิจ วัดสุทธิมงคล สกลนคร

    ในพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งนี้ได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2518 โดยมี สมเด็จพระญาณสังวรฯ เสด็จจุดเทียนชัยในพระอุโบสถ วัดบรมนิวาส และเกจิอาจารย์ทั้ง 16 องค์ นั่งบริกรรมพุทธาภิเษกวัตถุมงคล “ เหรียญชุดไตรภาคี ชาตรี ทวีโชค นิรันตราย ” ซึ่งสร้างเป็นรูปของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ สิริจันโท ) หรือเรียกว่าเหรียญ “ สิริจันโท ” นั่นเอง เหรียญดังกล่าวได้สร้างขึ้นเพื่อนำรายได้ไปทำนุบำรุงพัฒนาวัดหนองหลวง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี และเหรียญดังกล่าวขณะนี้ได้เหลือตกค้างอยู่ ณ วัดบรมนิวาสราชวรวิหารจำนวนหนึ่ง

    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( สิริจันโท จันทร์ ) อดีตเจ้าอาวาส วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ เมื่อ 114 ปีล่วงมาแล้ว ท่านเป็นพระเถระผู้ทรงคุณทั้งทางคันถะและทางวิปัสสนา เป็นพระอุปัชฌาย์ของ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ และ หลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ท่านเป็นพระเถระร่วมสมัยกับ ครูบาศรีวิชัย ผู้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ จ.ชียงใหม่ เล่ากันว่าท่านทั้งสองนี้ท่านรู้วาระจิตของกันและกัน ในทางคันถธุระ ปรากฏว่าท่านมีบุญญาธิการอย่างยิ่ง จึงสามารถก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอาวาส และปูชนียวัตถุสถานสำคัญๆ ไว้หลายแห่ง เช่น วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ วัดสิริจันทรนิมิตร ( เขาพระงาม ) ลพบุรี วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ เป็นต้น และที่สำคัญคือท่านได้สร้าง พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล ( หลวงพ่อใหญ่ ) วัดสิริจันทรนิมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่งใหญ่ที่สุด

    ในทางวิปัสสนา ปรากฏว่าท่านแสวงหาวิเวกออกท่องเที่ยวกัมมัฏฐานตามป่าเขาอยู่เนืองๆ เป็นประจำอยู่ทุกปี บางคราวก็เดินทางถึงรัฐเชียงตุง ประเทศพม่า และเคยอยู่จำพรรษาเพื่อปรับปรุงกิจการพระศาสนาที่ประเทศนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ เป็นพระเถระที่ได้รับความเคารพนับถือยกย่องอย่างยิ่ง จากพระคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาในปัจจุบันนี้ ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เล่าประวัติของท่านพระอาจารย์มั่นไว้ตอนหนึ่ง ที่เกี่ยวเนื่องถึงท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯว่า (ท่านพระอาจารย์มั่น) ก็เที่ยวจาริกไปทางภาคกลาง จำพรรษาที่วัดปทุมวัน พระนคร ระยะที่จำพรรษาอยู่วัดปทุมวัน ท่านก็ได้พยายามศึกษาอบรมอุบายปัญญาเพิ่มเติมกับท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์ ) วัดบรมนิวาส มิได้ขาด ฯลฯ เวลามีโอกาส ( ท่านพระอาจารย์มั่น ) ก็เข้าไปกราบนมัสการและเล่าธรรมะถวาย และเรียนถามปัญหาข้อขัดข้องใจเกี่ยวกับอุบายปัญญากับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ วัดบรมนิวาส ท่านก็ได้รับอธิบายวิธีพิจารณาปัญญาเพิ่มเติมจนเป็นที่พอใจ แล้วก็กราบลาท่านไปเที่ยววิเวกทางถ้ำสาริกา จ.นครนายก บางคราวท่านได้ชวน พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล เข้าไปสนทนาธรรมกับท่านพระอุบาลีฯบ่อยๆ

    ข้อเขียนนี้ พอเป็นพยานชี้ให้เห็นได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯนั้น ท่านทรงคุณทางวิปัสสนาเพียงไร
    ในบั้นปลายชีวิตท่านได้บำเพ็ญวิปัสสนาอย่างแน่วแน่จนจิตล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เมื่อใกล้มรณภาพหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง ได้เข้ามาปฏิบัติดูแลท่านอย่างใกล้ชิด เมื่อถึงเวลาจะมรณภาพท่านกล่าวว่า “ฉันเป็นทหารที่ฝึกมาดีแล้ว จิตของฉันฝึกฝนมาถึงจุดพร้อมที่สุดแล้ว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความตายที่ใกล้เข้ามา ฉันไม่รู้สึกหวั่นไหวแต่อย่างใดทั้งสิ้น”

    เมื่อถึงเวลานั้นท่านถามพระที่ดูแลอยู่ว่า เป็นเวลาเท่าใดแล้ว เมื่อท่านทราบเวลาท่านก็ลุกขึ้นนั่งปฏิบัติวิปัสสนาเข้าสมาธิทิ้งสังขารไปในขณะนั่งภาวนาทันที สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ได้ฝึกฝนจิตมาดีแล้ว สมบูรณ์ทุกประการแล้วนั่นเอง ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2475 ผ่านมาถึงวันนี้ 87 ปีแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  11. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 7 เหรียญแผนที่เล็ก หลวงปู่ดุลย์ เนื้อทองแดง จัดสร้างเมื่อ ปีพ.ศ. 2522 บูชา 900 บาท

    007-01-08-09-62.jpg

    007-02-08-09-62.jpg
    เหรียญแผนที่เล็กมีทั้งหมด 3 เนื้อ คือ เนื้อทองแดง เนื้อทองฝาบาตร เนื้ออัลปาก้า โดยทั้งสามเนื้อจะมีบล็อกเดียวกันและตัวตัดเดียวกัน เหรียญจะบางกว่าปกติ ของปลอมส่วนใหญ่ที่พบจะหนาและเบลอ รายละเอียดไม่ชัดเจน ความคมชัดไม่มี ให้ดูที่ขอบตัดและรายละเอียดบนเหรียญเปรียบเทียบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  12. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 8 พระผงหลวงปู่หล้าตาทิพย์ พระอริยเจ้า 5 แผ่นดิน พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา 6 หายากมากกุ้นอุดมวลสารศักดิ์สิทธิ์ มีกล่องเดิม เปิดบูชา 600.-บาท

    008-02-13-09-62.jpg

    008-03-13-09-62.jpg

    008-05-13-09-62.jpg


    008-04-13-09-62.jpg

    008-01-13-09-62.jpg
    ที่มาของชื่อ "หลวงปู่หล้าตาทิพย์" นั้น เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งฝนตั้งเค้าว่าจะตกหนัก หลวงปู่หล้าจึงบอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าทรุดโทรมและมีต้นลานใหญ่อยู่ข้างๆ ปรากฏว่า วันนั้นฝนตกหนัก กิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิจนพังเสียหาย แต่ทุกคนปลอดภัย เหตุการณ์นี้จึงทำให้ผู้คนพากันสรรเสริญท่านว่า "ตาทิพย์"

    อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ ครั้งหนึ่งมีคณะผู้มากราบนมัสการหลวงปู่หล้าเกินจำนวนที่แจ้งความประสงค์จะขอของขลังจากท่าน แต่ท้ายที่สุดก็ได้รับแจกกันครบทุกคนอย่างน่าอัศจรรย์ ... จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะอิทธิฤทธิ์ของท่าน

    ไม่เพียงเท่านั้น อดีตครูใหญ่ของโรงเรียนบ้านป่าตึงท่านหนึ่งเล่าเพิ่มเติมว่า เช้าวันหนึ่งณตี ๕ หลวงปู่หล้าได้ให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหาร (ราวกับว่าจะมีแขกมาหาที่วัด) ปรากฏว่า พอถึง ๖ โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก็นำคณะญาติโยมมาหาท่านที่วัดจริงๆ

    หรือเวลาที่มีชาวบ้านทำของหายหรือถูกลักขโมย เมื่อมาถามหลวงปู่หล้า ท่านก็จะบอกให้ไปตามทิศนั้นทิศนี้ จนกระทั่งได้ของคืนมาทุกครั้ง แต่หากท่านห้ามว่า ไม่ต้องไปตามเพราะจะไม่ได้คืน...ก็จะเป็นจริงตามนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  13. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    พระรายการที่ 9 พระยอดธง สมปรารถนา หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ปี 2546 เนื้อชินตะกั่ว มีกล่องเดิม เปิดบูชา 300.-บาท

    109811.jpg 109813.jpg 109812.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2020
  14. anamvong01

    anamvong01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    434
    ค่าพลัง:
    +180
    รายการที่ 10 น้ำมนต์พระธาตุพนม และ ทรายเงิน ทรายทอง ทรายนิล ผงอิฐพระธาตุพนม เปิดบูชา 200 บาท

    น้ำมนต์พระธาตุพนม จากบ่อน้ำพระอินทร์ซึ่งเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แต่โบราณที่วัดพระธาตุพนมได้ใช้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีบูชาพิเศษรถสรงพระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลปัจจุบันรวม 4 รัชกาล พระครูพนมธรรมโฆษิตวัดพระธาตุพนมมหาวิหาร 15 มกราคม 2543
    236340.jpg


    ทรายเงิน ทรายทอง ทรายนิล ผงอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม ใช้ผสมผงสร้างพระ โรยที่ใส่กระถางธูป ใส่เสาเอกเพื่อเป็นสิริมงคล
    236341.jpg

    236342.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...