พระเทพปฏิภาณวาที วิกฤตไทย ในมุมมอง “ธรรมะ”

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 มกราคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b89be0b88fe0b8b4e0b8a0e0b8b2e0b893e0b8a7e0b8b2e0b897e0b8b5-e0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b984.jpg
    ท่ามกลางสภาวะตึงเครียดในสังคมไทย ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ ปากท้อง กระแสข่าวเศร้ารายวันกับการฆ่าตัวตายหนีปัญหา และความทุกข์ที่ประดังเข้ามาในชีวิต

    ไหนจะ “ความคิดต่าง” ที่ถูกมองว่ากลายเป็นความขัดแย้งอันส่งผลให้คนไทยแบ่งฝักฝ่าย กระตุ้นอุณหภูมิร้อนรุ่มในใจ กัดกร่อนความสุข สงบ สันติซึ่งพึงมีในวิถีชีวิตคน

    นอกเหนือจากการแก้ปัญหาในทางโลก ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบคลายเงื่อนปมต่างๆ

    สิ่งยึดเหนี่ยวทางใจอย่างศาสนา อีกทั้งหลักธรรมคำสอนอาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างแสงสว่างในห้วงเวลานี้

    พระเทพปฏิภาณวาที หรือ “เจ้าคุณพิพิธ” แห่งวัดสุทัศนเทพวราราม มีแง่คิดจากมุมมองของ “ธรรมะ” ที่ชวนให้อุบาสก อุบาสิกานำไปปรับใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

    ในวัย 63 เจ้าคุณพิพิธรับว่าสุขภาพในยามนี้ก็เสมือนผู้ชราภาพทั่วไป ต้องระมัดระวังเรื่องอาหาร แต่ยังปฏิบัติงานด้านพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ทุกวัน

    ต่อไปนี้ คือบทสนทนาเพียงไม่กี่ “คำถาม” หากแต่มากมายด้วย “คำตอบ” ทั้งประโยคที่สื่อความอย่างตรงไปตรงมา และถ้อยคำแฝงปรัชญาลึกซึ้ง

    89be0b88fe0b8b4e0b8a0e0b8b2e0b893e0b8a7e0b8b2e0b897e0b8b5-e0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b984-1.jpg
    ทุกวันนี้มีข่าวการฆ่าตัวตายรายวันด้วยปัญหาปากท้อง มีข้อแนะนำในมุมศาสนาและหลักธรรมที่ช่วยบรรเทาหรือเป็นทางออกของจิตใจหรือไม่ ?

    คนฆ่าตัวตายกันเยอะ เพราะไม่มีกิน เพราะคับแค้นใจ เพราะภาวะหนี้สิน เขาไม่อยากอยู่ในโลก ชีวิตเมื่อล้มเหลวต้องหาสาเหตุว่าเพราะอะไร แล้วกลับมาสู่จุดยืน เหมือนเศรษฐีหลายๆ คนที่เคยล้ม ก็เริ่มต้นใหม่ บางคนมาขายแซนด์วิช ยังสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ ต้องหาความรู้ คิด และวิเคราะห์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกข์เป็นปลายเหตุ ต้องสาวไปดูรากของความทุกข์ สุขก็คือปลายเหตุ ต้องหันไปดูรากของความสุข ทุกข์คือดอกไม้ที่เหี่ยว ต้องไปดูว่าเหี่ยวเพราะอะไร มันเกิดอะไรขึ้น สุข คือดอกบัวที่บาน ต้องสาวไปดูว่าเหตุผลคืออะไร บัวงามดอกหนึ่ง หรือบัวที่เหี่ยวก็ต้องย้อนไปดูต้นสาย

    ในเชิงศาสนา ความสำเร็จมาจากความรู้ ความสามารถ ผู้สนับสนุนและกุศล การเดินมี 3 ก้าว คือ ก้าวแรก ก้าวหน้า และถ้าดี คือก้าวกระโดด

    สำหรับรัฐบาล เมื่อเป็นนักปกครอง ต้องฟังเสียงประชาชน เปิดโอกาสให้คนแสดงความเห็น

    ฟังผลโพลที่ไม่ได้จ้างมาเชียร์ ข้าราชการต้องประมวลผลให้บริสุทธิ์ อย่าโกหก เพราะผิดศีลอย่างรุนแรง เป็นการสร้างความวิบัติผ่านข้อมูลที่ผิดพลาด

    พรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ถ้าปราศจากความสามารถ คือการพิฆาตคนที่ประกอบอาชีพ หากยึดติดอำนาจ หวงโอกาสสำหรับคนอื่นที่มีความสามารถ เป็นการสร้างเวรกรรมให้ประชาชน

    โบราณบอกว่าเมื่อบ้านเมืองวิบัติ ขัดสน ผู้ปกครองต้องสำรวจ 2 อย่าง 1.ศีลธรรมในตัวเอง 2.ความสามารถ สุดท้ายถ้า 2 อย่างนี้เรียบร้อย

    ต้องขอความร่วมมือกับเทวดา บวงสรวง ทำพิธีกรรม แล้วยังไปไม่รอด ก็ต้องขอความช่วยเหลือบ้านเมืองใกล้เคียงอย่างชาวกลิงครัฐ ในพระเวสสันดรชาดก หากอยากมีเกียรติ มีหน้ามีตา แต่สร้างความทุกข์ยากให้คนอื่น อย่าไปเป็น เดี๋ยวมีโพลออกมา

    ก็โกรธอีก เราอยู่บ้านคนเดียวดูกระจกคิดว่าตัวเองสวยหล่อ ออกไปข้างนอกอาจพบว่าเราขี้เหร่ที่สุด อย่ายึดติดอำนาจ


    89be0b88fe0b8b4e0b8a0e0b8b2e0b893e0b8a7e0b8b2e0b897e0b8b5-e0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b984-2.jpg
    คำตอบแตะ”การเมือง”ค่อนข้างเยอะ ถ้าอย่างนั้นขอถามประเด็นศาสนากับการเมือง ซึ่งพระสงฆ์บางรูปถูกวิจารณ์อย่างหนักว่ารับกิจนิมนต์แนวการเมือง

    การเมืองคือรัฐศาสตร์ ครอบคลุมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ที่จะมาช่วยการปกครอง แต่พระต้องแสดงความเป็นกลางอย่างไม่เกรงกลัวทั้งอำนาจและเงินทอง ถ้าประสงค์ความเป็น

    กลางต้องเซฟตัวให้ดี แต่ความเป็นกลางมันเสี่ยง เหมือนอยู่กลางคมหอก คมดาบ นั่นก็หอก นี่ก็ดาบ แต่เราต้องเหนียว ไม่เอนเอียง อย่างไร

    ก็ตาม พระสงฆ์ไทยรับกิจนิมนต์เลอะเทอะ พูดอย่างนี้อาจโกรธกัน แต่พูดเรื่องจริง บางคนมีเงินมาก

    เพราะทุจริต อยากนิมนต์พระไปป้องกัน ไปอวดตัวว่าฉันเป็นคนดี นี่เป็นอันตรายของพระผู้ใหญ่ทุกรูป ต้องระวัง

    ย้อนดูในประวัติศาสตร์ พระมหาเถรคันฉ่อง พระวันรัตน์วัด ป่าแก้ว เป็นกลางทางการเมือง เป็นพระป่า กลับมาเรื่องวัด ตอนนี้คนเข้าวัดมากขึ้นหรือน้อยลงในช่วงเศรษฐกิจขาลง?

    คนยิ่งจน ยิ่งทุกข์ ยิ่งเข้าวัด เพราะได้กุศล ได้บุญ ได้น้ำมนต์ ได้พร ไม่เสียเงินมากมายให้ซ้ำเติมชีวิตตัวเอง แต่จำนวนเงินทำบุญอย่าไปพูดถึง จำนวนเงินน้อยลง จำนวนคนไม่น้อยลง สถานบันเทิงทั้งหลายแพ้วัดหมดแล้ว เธค ผับบาร์ คนไม่

    ค่อยเข้า ตอนปีใหม่ สวดมนต์ข้ามปี คนเยอะมาก รถติดทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด คนมาตั้งแต่เช้า แล้วไม่ได้มาวัดเดียวนะ ไปหลายวัด เข้าวัดโน้น ออกวัดนี้ 4-5 วัด เชื่อว่าต่อเนื่องตรุษจีน สงกรานต์ เป็นความเจริญทางวัฒนธรรมและศาสนา

    89be0b88fe0b8b4e0b8a0e0b8b2e0b893e0b8a7e0b8b2e0b897e0b8b5-e0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b984-3.jpg

    ปัจจุบันมีกระแสคนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งประกาศ”ไม่มีศาสนา”ไม่อยากให้ต้องระบุในบัตรประชาชน มองประเด็นนี้อย่างไร ?

    เรื่องศาสนาเด็กๆ แสวงหาและเก่งกว่าคนสมัยก่อน เพราะอยู่ในโลกยุคโซเชียล แล้ววันหนึ่งเขาจะมีคำตอบของตัวเอง ถ้าเห็นว่าศาสนาอื่นดี ก็ไม่ควรปิดกั้น

    สำหรับกรณีบัตรประชาชนที่ให้มีการระบุ

    ศาสนาไว้ ก็เพื่อให้คนอื่นปฏิบัติต่อคนศาสนาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ไม่ได้เป็นการยึดครอง ซึ่งหากอยากเปลี่ยนศาสนาก็ทำได้ การที่ชาวพุทธห้อย

    พระเครื่อง คนศาสนาอื่นก็จะได้ปฏิบัติต่อชาวพุทธได้ถูก คนคริสต์ห้อยไม้กางเขน ก็เป็นสัญลักษณ์ คนมุสลิมก็สังเกตได้จากการแต่งกาย ทำให้คนอื่นปฏิบัติได้ถูกต้องในการสนทนา ในเรื่องอาหารและวัฒนธรรม เหมือนประเด็นเครื่องแบบนักเรียน

    ที่มีจุดประสงค์ให้รู้ว่ามาจากสถาบันไหน ปักชื่อให้รู้ว่าเป็นใคร มีปัญหาจะได้ช่วยเหลือ ปกป้อง ติดต่อสังกัดได้

    ยุคนี้มีการทำบุญออนไลน์ ส่งแกร็บถวายเพล วิดีโอคอลล์ให้พร โดยหลักการแล้วทำได้หรือไม่ ?

    ก็เป็นความสะดวกของคน เช่น โยมอยู่ลาดพร้าว จะมาถวายภัตตาหารพระวัดสุทัศน์ แต่ธุรกิจติดพัน มารถเก๋งก็หาที่จอดยากเลยให้มอเตอร์ไซค์นำมาถวายพระแทน เอาโทรศัพท์ให้คุยกับพระ พระก็ให้พร อย่างนี้ถูก ทำได้ แต่ถ้าจะเอามาเป็นเรื่องโก้ ทันสมัย ทำเป็นเล่น อันนั้นไม่ถูก เรียกว่าบ้าบอทั้งพระทั้งคน พอเป็นข่าว โยมอายอีก

    วัดสุทัศนเทพวรารามมีการบูรณปฏิสังขรณ์อย่างต่อเนื่อง มองการทำงานในปีที่ผ่านมาของกรมศิลปากรอย่างไร และอนาคตควรพัฒนาในทิศทางใด ?

    กรมศิลปากรคุมกฎหมายเรื่องการบูรณะ แต่กำลังคนไม่พอ ผู้เชี่ยวชาญไม่พอ การทำงานโดยวางระบบเอาไว้แบบเชื่องช้า โดยไม่มีการแก้ไข ทำให้เกิดปัญหาในการบูรณะวัดที่มีโบราณสถาน พระรักโบราณสถาน แต่พอยื่นเรื่องไปแต่ละครั้ง ใช้เวลา หนึ่งปี สองปี สามปี

    ประเด็นค่าใช้จ่าย บางวัดมีความพร้อม พระบอกมาเอาเงินที่วัดก็ได้ ขอให้กรมศิลปากรช่วยส่งคนมาดูแล แต่คนก็ดันไม่พออีก จึงอยากให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้กรมศิลปากรในเพิ่มอัตรากำลังคน ในการจัดจ้างบุคลากร และน่าจะมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันที่สอนด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และการก่อสร้าง

    นอกจากนี้ ข้าราชการที่เกษียณอายุไปแล้วของกรมศิลปากรที่เป็นผู้มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญก็มีมาก น่าจะจ้างบุคคลเหล่านี้ หรือจะให้วัดช่วยจ่ายก็ได้ ต้องมาคุยทำความตกลงกัน อย่าให้อืดอาด

    ในส่วนของเอกชน เขาก็อยากเข้ามาช่วย เหมือนที่ “มติชน” บูรณะศาลาการเปรียญวัดแก้วไพฑูรย์ บางขุนเทียน ที่สำเร็จไปแล้ว ส่วน “ตำหนักทองวัดไทร” ในย่านเดียวกัน ก็มีคนอยากช่วยเต็มที่ แต่ยังใช้เวลานาน เรื่องพวกนี้ติดขัดหลายอย่าง เช่น ต้องเป็นช่างกรมศิลป์ หรือต้องเป็นช่างที่กรมศิลป์อนุมัติ เลยทรุดโทรมลงไป พระจับอะไรก็ผิด แล้วจะให้พระทำอย่างไร

    ประชาชนเขาก็รักโบราณสถาน แต่โบราณสถานสำคัญหลายแห่งถูก พ.ร.บ.โบราณสถานตรึงมัดไว้ให้ตายคาที่ กลายเป็นสมบัติราชการ อาตมาเห็นว่าควรมีการปรับปรุงวิธีการ เพิ่มบุคลากร และค่าตอบแทน เปิดโอกาสให้ประชาชนและพระสงฆ์มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และพัฒนาจนสามารถเก็บรายได้ซึ่งมาจากรากฐานทางวัฒนธรรมที่จะมาบำรุงต่อไป พระไม่ต้องการงบ แต่ต้องการความร่วมมือ และความรวดเร็ว เพราะเราบริหารเชิงศรัทธา มีเงินเยอะแยะที่สามารถระดมมาใช้ได้

    อย่าปล่อยทิ้งค้าง ร้างลา จนตายแล้วกลายเป็นกระดูกป่น.

    “เจ้าคุณพิพิธ”ผู้นั่ง”หัวโต๊ะ”ดันบูรณะ “วัดสุวรรณดาราราม”อยุธยา

    ไม่เพียงทำหน้าที่สืบทอดพระศาสนาให้ดำรงอยู่สืบไปผ่านกิจการต่างๆ ภายในวัดสุทัศนเทพวราราม อารามสำคัญในกรุงเทพมหานคร

    พระเทพปฏิภาณวาที ที่ฆราวาสคุ้นชินในนาม “เจ้าคุณพิพิธ” ยังเป็นอีกหัวแรงหลักในการผลักดันงานบูรณะวัดสุวรรณดารารามฯ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งนับเป็นอารามต้นบรมราชวงศ์จักรี ด้วยผู้สร้างคือพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ภายในเกาะเมืองทางทิศใต้ ใกล้ป้อมเพชร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478

    ด้วยพื้นเพเป็น “ชาวกรุงเก่า” แต่กำเนิด อีกทั้งเคยจำวัด ณ วัดสุวรรณดารารามหลายคืน เจ้าคุณพิพิธจึงมีแนวคิดสานต่อการปฏิสังขรณ์ซึ่งแต่เดิมก็มีการดำเนินการต่อเนื่อง รวมถึงระหว่าง พ.ศ.2547-2548 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สนับสนุนงบประมาณกว่า 19 ล้านบาท เพื่อบูรณะโบราณวัตถุสถานในวัดแห่งนี้เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีการก่อตั้ง

    ล่วงมาถึงวันนี้ ที่มีการตระเตรียมการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้ง “มติชน” ซึ่งร่วมกับมูลนิธิ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ และบรรจง พงศ์ศาสตร์ ดำเนินโครงการแบ่งปันความรู้ เชิดชูศาสนาพัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง ต่อเนื่องยาวนาน รับเป็นสื่อกลางในการประสานเมื่อ กฤตย์ รัตนรักษ์ หัวเรือใหญ่ “ช่อง 7” มีดำริสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้

    89be0b88fe0b8b4e0b8a0e0b8b2e0b893e0b8a7e0b8b2e0b897e0b8b5-e0b8a7e0b8b4e0b881e0b8a4e0b895e0b984-4.jpg
    เจ้าคุณพิพิธ นั่งเป็นประธานในการประชุมครั้งแรกเมื่อศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 พร้อมด้วย พระมหาเวชยันต์ เวชยนฺโต ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

    พร้อมเดินหน้าวางแผนตามหลักวิชาการซึ่งไม่เพียงให้ความสำคัญกับโบราณวัตถุโบราณสถานภายในวัด หากแต่ยังเห็นพ้องกันว่า “ภูมิทัศน์” คือสิ่งสำคัญที่ไม่อาจละเลย

    จากการประชุมครั้งแรกเมื่อปลายปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ เจ้าคุณพิพิธ เอ่ยว่า ตอนประชุมอุ่นหนาฝาคั่งดีมาก ทุกฝ่ายพร้อมช่วยเหลือ ร่วมแรงใจ แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นแผนที่สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยารับปากลงมือดำเนินการ

    “เอกชนกระหายที่จะช่วย ถ้าประกาศออกไปก็จะมีคนช่วยอีกเยอะแยะ แต่บัดนี้เวลาล่วงมา 3 เดือน ยังไม่เห็นแผนการบูรณะจากกรมศิลปากร”

    เกริ่นนำคล้าย “ทวงถาม” ความคืบหน้า แล้วย้ำว่าเรื่องงบประมาณนั้น ไม่ต้องกังวล ก่อนย้อนเล่าถึงการบูรณะวัดสุทัศนเทพวรารามซึ่งมีส่วนร่วมมาตั้งแต่อายุ 28 ปี โดยเป็นวัดแรกที่นำสายไฟลงใต้ดิน

    เจ้าคุณพิพิธบอกว่า ยังมีแผนล่วงหน้าที่จะ “ชะลอความแก่” ของวัดไว้ได้อีก 50 ปี

    คงไว้ซึ่งความสวยงามของอารามสำคัญแห่งรัตนโกสินทร์.

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1902294
     

แชร์หน้านี้

Loading...