สร้างบารมี เราทำอย่างหนึ่ง มันจะพ่วงอีกหลายๆอย่างไป ต้องขึ้นกับการฝึกจิต
จิตเป็นตัวส่งครับ เช่น ทาน จิตมีความอดทน บวชจิต เพียร สัจจ เมตตา ตั้งใจตั้งมั่นกับการทำความดีหรืออธิษฐาน ศีล วางเฉย ปัญญา ครบนะ 30ทัต คือทำด้วยการปล่อยวาง และ เราอยู่กับการทำความดีเท่าชีวิต มันเกิดตามมาเอง ถ้ามันถึงวาระ มันมาครบ30ทุกลมหายใจ พระโพธิสัตว์ สำคัญคือถึงจุดต้องตัดความรู้สึกที่อยากทำเพื่ออะไร ปรมัตถบารมี มันจะไม่มีอะไรเลย ทำๆไปเรื่อยๆ
ถ้ายังมีตัวตน นั้นยังอ่อนครับ
พระโพธิสัตว์ต้องทำเช่นนี้ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม บอกกันด้วยครับ ยินดีรับฟัง
ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย santosos, 19 พฤษภาคม 2010.
หน้า 1 ของ 4
-
Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี
ภาวนาคือชีวิตครับ... ในวิถีแห่งเซ็น สิ่งสำคัญยิ่งที่โพธิสัตว์ทั้งหลายควรทำให้กระจ่างแจ้ง
คือเห็นความว่างของตัวตน ไม่ใช่ตัวตน... มีธรรมชาติของการเกิดและดับ
จะทำให้อุปาทาน(ตัวกู-ของกู)เบาบางลง และเป็นกำลังในการบำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวด
และสิ่งที่สำคัญที่สุด(แต่เป็นนัยยะเดียวกับข้อแรก) คือทำจิตให้ไม่แบ่งแยก
เมื่อมองเห็นว่าเราไม่ใช่ตัวตน ย่อมเห็นสรรพสิ่งว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่แบ่งเขา แบ่งเรา
เห็นทุกชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงมองทุกชีวิตด้วยความเมตตา ไม่มีเลือกที่รักมักที่ชัง
มีแต่ทุกข์ที่เกิด มีแต่ทุกข์ที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์ที่ดับไป ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา... -
ใช่แล้วครับ
มีธรรมชาติของการเกิดและดับ
จะทำให้อุปาทาน(ตัวกู-ของกู)เบาบางลง และเป็นกำลังในการบำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวด
ผม ขอสนับสนุน เห็นด้วย ครับ
อย่างนี้ต้อง
อนันตตลักขณสูตร
และ
ปรัชาปารมิตาหฤทัยสูตร
เข้าใจแล้ว จะทำให้บำเพ็ญ ง่ายขึ้นครับ
สาธุ สาธุ สาธุ .. -
สาธุๆๆ แด่ท่านพระโพธิสัตว์ทุกๆองค์ ขอให้การบำเพ็ญบารมีของทุกท่านจงบรรลุถึงความหลุดความพ้นและให้สำเร็จดังที่ปรารถนาด้วยเทอญ
ธรรมทุกอย่างเป็นเพียงการสมมุติไม่มีอยู่จริง สาธุๆๆๆ -
ใครใคร่เพิ่มข้อแนะนำ ช่วยๆกันหน่อยเด้อ
-
มาปูเสื่อรออ่าน....
-
คุณ santosos
จริงใจต่อตนเอง ตรวจตราตนเองด้วยใจจริงว่า มีคุณธรรมจริงๆกันมั้ย ยังบ้าญาณหยั่งรู้มั้ย ยังติดญาณของเซียนต่างๆมั้ย ยังติดความรู้มั้ย
จิตใตคับแคบหรือไม่ เมตตาธรรม กรุณาธรรม มุทิตาธรรม อุเบกขาธรรม ในตนเองมีหรือเปล่า แม้โพธิสัตว์บำเพ็ญจนถึงสภาวะไร้ตัวไร้ตน แต่คุณธรรมต่างๆยังมีครับ และสมบูรณ์ครับ
ฝึกฝนตนเองให้มากๆครับ ที่สำคัญอย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ ติเตียน มหาโพธิสัตว์ที่บารมีพร้อมตรัสรูแล้วครับ เพราะการติเตียนเป็นทางเสื่อมและหายนะครับ -
การบำเพ็ญบารมีต้องใช้ใจกับปัญญาเป็นสำคัญ ในบารมี 10 จะเกี่ยวเนื่องกันหมด ตัวใดตัวหนึ่งขาดไม่ได้ ที่สำคัญอย่าไปมองเรื่องบารมีให้ลึกมากเกินไป คือมองลึกถึง 30 ทัศน์ ถ้าวันใดทำกำลังใจได้ไม่มั่นคง สั่นคลอนกำลังใจจะถอย จนเกิดเบื่อหน่ายได้ ให้ทำไปเรื่อยๆ ใช้ปัญญา ถ้ากำลังใจ(บารมี)มั่นคงเมื่อไหร่ ก็จะกล้าทำกำลังใจในเรื่องที่สูงๆ ได้เอง ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยที่ลึกกว่านั้น เป็นเรื่องปัจจัตตังของแต่ละบุคคลที่ได้บำเพ็ญมา แต่อย่าลืมน่ะครับ บารมี 10 จะคู่กับสังโยชน์ 10 ลองไปศึกษาดู
ขอให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา อนุโมทนาครับ -
โมทนาในดวงจิตอันเป็นมหากุศลของทุกท่านค่ะ ^^
-
ผมว่าพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการไม่น่าจะ คู่ กับละสังโยชน์ ๑๐ ได้เลยนะครับ ( เพราะการละสังโยชน์เป็นภูมิของสาวก ) ท่านพี่ลองอ่านดูนะครับ
สังโยชน์ ๑๐
1. สักกายทิฏฐิ - หมดความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา หมดความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - หมดความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
4. กามราคะ - หมดความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - ไม่มีความกระทบกระทั่งในใจ
6. รูปราคะ - ไม่มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - ไม่มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - หมดความยึดมั่นถือมั่น
9. อุทธัจจะ - ไม่มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - ไม่มีความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
แต่พระโพธิสัตว์พระองค์จะทรงมี อัธยาสัย ๖ ประการ ( ติดอยู่ในขันธสันดานอยู่แล้วครับ ) ประกอบด้วย...
๑. พอใจที่จะบวช หรือ เนกขัมมัชฌาสัย คือ พอใจที่จะบวช รักเพศบรรพชิตยิ่งนัก
๒. พอใจความเงียบสงบ หรือ วิเวกัชฌาสัย คือ พอใจในความวิเวกเงียบสงบยิ่งนัก
๓. พอใจบริจาคทาน หรือ อโลภัชฌาสัย คือ พอใจในการบริจาคทาน สละความโลภตระหนี่
๔. พอใจในความไม่โกรธ หรือ อโทสัชฌาสัย คือ พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตาในสัตว์ทั้งปวงอยู่เนืองนิตย์
๕. พอใจในความไม่ลุ่มหลง หรือ อโมหัชฌาสัย คือ พอใจในการที่จะพิจารณาสิ่งที่เป็นคุณและเป็นโทษ ไม่ลุ่มหลงในอบาย เสพสมาคมกับบัณฑิตคนมีสติปัญญายิ่งนัก
๖. พอใจที่จะยกตนออกจากภพ หรือ นิสสรณัชฌาสัย ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารในภพน้อยภพใหญ่ มีความประสงค์ในพระนิพพานยิ่งนัก
สาธุ กราบอนุโมทนากับ ธรรมทาน ของท่านพี่ด้วยนะครับ -
ธรรมของพระโพธิสัตว์ ( ประจำใจพระโพธิสัตว์อยู่เสมอทุกชาติ )
ธรรมเหล่านี้สัมพันธ์กันตลอดเวลาไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย เพราะธรรมแต่ละข้อนั้นต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้น.....
เมื่อพระโพธิสัตว์ให้ ทาน จุดมุ่งหมายในการให้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ผู้รับไม่มีคิดที่จะเป็นเหตุให้เกิดการเบียดเบียนผู้อื่น
การไม่มีความคิดที่จะเบียดเบียนผู้อื่นทั้งกาย วาจา ใจ นี้จัดเป็น ศีล
เมื่อเกิดความคิดในการให้ทาน จิตใจย่อมผ่องใสปราศจากนิวรณ์
การที่จิตปราศจากนิวรณ์ จัดเป็น เนกขัมมะ
แน่นอน ในการบำเพ็ญทานนั้น ย่อมตั้งใจใช้การพินิจพิจารณาเหตุผล เพื่อให้ทานเกิดประโยชน์มากที่สุด
การพินิจพิจารณาเช่นนี้ จัดเป็น ปัญญา
ความตระหนี่เป็นอุปสรรคสำคัญในการบำเพ็ญทาน พระโพธิสัตว์จำต้องพยายามละความตระหนี่ที่เกิดขึ้นขัดจังหวะอยู่ตลอดเวลา
การพยายามละความตระหนี่เช่นนี้ จัดเป็น วิริยะ
นอกจากพยายามละความตระหนี่ซึ่งเป็นบาปที่คอยขัดขวางไม่ให้การทำความดีก้าวหน้าแล้ว พระโพธิสัตว์จะต้องยอมทนทุกข์ทรมานจากการเสยสละ
เพราะในบางครั้งสิ่งที่สละนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากหรือเสมอด้วยชีวิต แต่เมื่อเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ถึงตนเองจะต้องลำบากท่านก็ยอมสละให้ได้
การยอมทุกข์ทรมานเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุขเช่นนี้ จัดเป็น ขันติ
พระโพธิสัตว์ เมื่อตัดสินใจให้ทานแล้วก็ย่อมทำตามการตัดสินใจ หรือเมื่อพูดว่าจะให้อะไรแก่ใครแล้ว ท่านก็พร้อมจะให้เสมอ ไม่เคยกลับคำ
การพูดหรือทำตรงตามการตัดสินใจนั้น จัดเป็น สัจจะ
การทำอย่างที่พูดหรือตัดสินใจไปแล้วนั้น บางครั้งทำไปแล้ว อาจจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นขัดขวางซึ่งทำใหเกิดความท้อถอยแต่พระโพธิสัตว์จะยึดมั่นอยู่ในสัจจะนั้น พยายามฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้
ความมั่นคงแน่วแน่เช่นนี้ จัดเป็น อธิฐาน
การให้ของพระโพธิสัตว์ย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความปรารถนาดี และเป็นความปรารถนาดีชนิดที่เป็นอัปปมัญญา ไม่มีขอบเขตจำกัดไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เป็นความปรารถนาดีที่แผ่ไปให้แม้กระทั้งศัตรู
ความรักความปรารถนาดีอย่างกว้างขวางนี้ จัดเป็น เมตตา
แน่นอนว่า ในการให้นั้น พระโพธิสัตว์ย่อมมิได้มุ่งหวังผลตอบแทนหรือเพื่อเกียรติยศชื่อเสียง ท่านสามารถบังคับใจให้อยุ่เหนือสิ่งตอบแทนทางวัตถุเหล่านี้ ทั้งนี้เป็นเพราะท่านรู้จักปล่อยวางประคับประคองใจให้เป็นกลาง
การวางใจให้เป็นกลางได้เช่นนี้ จัดเป็น อุเบกขา
จากเหตุผลดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า ธรรมะเหล่านี้ย่อมสัมพันธ์กันอยู่เสมอ เพื่อเกื้อหนุนให้พระโพธิสัตว์ได้บรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นจุดหมายปลายทาง ฉะนั้น จึงเรียกว่า " บารมี " แปลว่า " คุณธรรมเครื่องช่วยให้ถึงฝั่งคือพระนิพพาน "
บารมี 10 ประการ จะมีอยู่ 3 ระดับ 1.บารมีธรรมดา 2.อุปบารมี 3.ปรมัตถบารมี ถ้าทำครบทั้ง 10 ประการทั้ง 3 ระดับ จะเรียกว่า บารมี 30 ทัศน์ ซึ่งในคัมภีร์พระไตรปิฎกกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทุกๆๆพระองค์จะปฏิบัติแบบนี้ เมื่อบารมีครบ 30 ทัศน์ ก็จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ครับ
สาธุ กราบอนุโมทนากับ ธรรมทาน ของ จขกท.ด้วยนะครับ -
สาธุ
สาธุ
สาธุ
อนุโมทนามิ
.
.
. -
1.สักกายทิฏฐิ ถ้าพุทธภูมิไม่เข้าใจในอารมณ์ตรงนี้ จะสร้างทานมหาบารมีไม่ได้เลย เพราะยังยึดมั่นถือมั่นในกาย จะสละกายเพื่อเป็นประโยชน์แก่มหาชนหรือผู้ที่ปรารถนากายของเราไม่ได้เลย
2.วิกิจฉา ถ้าไม่รู้สึกถึงอารมณ์ตรงนี้ จะทำให้พลาดหรือหลุดจากการถึงพระตรัยสรณะคมณ์ได้ และเป็นเหตุให้ต้องเข้าสู่วิบากรรมแห่งการไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าในพระชาติหนึ่ง ได้มีการกล่าวตู่พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ต้องไปอบายภูมิ เพราะเหตุนี้
ในส่วนอีก 8 ข้อนั่นก็เรียนรู้เพื่อเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกตรงนั้นว่าเป็นยังไง และจะไม่เป็นการหลงผิด (ต้องขออภัยด้วยที่บรรยายไม่หมด เพราะยังไม่เข้าถึงอารมณ์อีกหลายๆข้อ แต่จะกล่าวตามภูมิรู้ที่เข้าใจเท่านั้น)
แต่น้องพี่อย่าลืมว่าในธรรมสโมทาน 8 ประการ จะมีข้อหนึ่งที่สำคัญต่อการจะได้พุทธพยากรณ์คือ จะต้องได้ความรุ้สึกที่ว่าจะได้เป็นพระอรหันต์ นั่นคือเข้าถึงสังโยชน์ 10 ประการแล้วนั่นเอง แต่จะรั้งจิตเอาไว้เพื่อไม่ให้เข้าสู่การเป็นพระอรหันต์ในวลานั้น ซึ่งพุทธภูมิจะทำได้ แต่ผู้ที่ปรารถนาเป็นสาวกภูมิจะเป็นพระอรหันต์ในเวลานั้นเอง
ปล.ถ้าเห็นว่าอธิบายผิด สามารถชี้แนะได้น่ะครับ พร้อมที่จะรับฟังเสมอครับ -
ผมรอท่านทั้งหลายที่ต้องการจะติดต่อผม ผมเปิดเผยครับ ไม่สอนใครนะ มาคุยกัน
0899228824 หนุ่ม -
ไม่ถูกนะครับ จิตของพระโพธิสัตว์จะยกระดับขึ้นเรื่อยๆจากความกรุณาเป็นมหากรูณา ความปรารถนาที่จะช่วยสรรพสัตว์จะยิ่งแรงกล้าขึ้น
-
ถ้างั้นถูกผิดประการใดก็อภัยด้วยนะครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ อิอิ
ต้องอธิบายให้ท่านพี่เข้าใจก่อนนะครับว่าคนละ ภูมิ กัน
และสังโยชน์ ๑๐ นั้นเป็นอารมณ์ของพระสาวกทั้ง ๔ ระดับ( ที่กล่าวรายละเอียดข้างบน) แต่พระโพธิสัตว์ไม่ต้องมีอารมณ์นั้นเพราะท่านมี อัธยาสัย ๖ ประการอยู่แล้วครับ
ข้อที่ว่า... " พุทธภูมิไม่เข้าใจในอารมณ์ตรงนี้ จะสร้างทานมหาบารมีไม่ได้เลย เพราะยังยึดมั่นถือมั่นในกาย " จะบอกว่าท่านไม่เข้าใจก็ไม่ถูกครับ เพราะ ท่านมีอัธยาสัย ไม่โกรธ เจริญเมตตาในสัตว์ทั้งปวงอยู่เนืองนิตย์
ข้อที่ว่า..... " ไม่รู้สึกถึงอารมณ์ตรงนี้ จะทำให้พลาดหรือหลุดจากการถึงพระตรัยสรณะคมณ์ได้ " คงไม่ขนาดนั้นหรอกมั้งครับเพราะท่านมี อัธยาสัยนิสสรณัชฌาสัย ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารในภพน้อยภพใหญ่ มีความประสงค์ในพระนิพพานยิ่งนัก
ขอ้ที่ว่า... " และเป็นเหตุให้ต้องเข้าสู่วิบากรรมแห่งการไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าในพระชาติหนึ่ง ได้มีการกล่าวตู่พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ต้องไปอบายภูมิ " อันนี้ผมไม่รู้ว่าเพราะกรรมรึบุญอะไรที่ทำให้พระโพธิสัตว์ไปเกิดในตระกูลพราหมณ์ และพราหมณ์กับศาสนาพุทธก็ไม่ค่อยจะถูกกันทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว ก็เลยทำให้โชติปาลมาณพไปลบหลู่องค์พระทศพลกัสสปะพระพุทธเจ้า ( เป็นเรื่องของกรรม ) ครับ
" แล้วอีก ๘ ข้อนั่นก็เรียนรู้เพื่อเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกตรงนั้นว่าเป็นยังไง และจะไม่เป็นการหลงผิด " พระโพธสัตว์ท่านไม่หลงผิดหรอกครับ เพราะ ท่านมีอัธยาสัย ๖ ประการติดอยู่ในขันธสันดานอยู่แล้วครับ ท่านพี่ลองอ่านดูนะครับ อัธยาสัย ๖ นี้จะทำได้ยากกว่าละสังโยชน์อีกครับ ( แต่ถ้ามีกรรมบางอย่างหนุน ก็ต้องมีหลงบ้างละครับ )
ส่วนข้อที่ว่า .... " ธรรมสโมทาน 8 ประการ จะมีข้อหนึ่งที่สำคัญต่อการจะได้พุทธพยากรณ์คือ จะต้องได้ความรุ้สึกที่ว่าจะได้เป็นพระอรหันต์ นั่นคือเข้าถึงสังโยชน์ 10 ประการ " ธรรมสโมธานที่ท่านพี่กล่าวนั้นคือ เหตุ = มีเหตุปัจจัยเกื้อหนุน หมายความว่า แม้จะมีเพศสมบูรณ์แล้วก็ตาม แต่ว่าก็ยังจะต้องถึงพร้อมด้วยเหตุที่สามารถเกื้อหนุนให้ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ เหตุดังกล่าวนี้เป็นเหตุเกื้อหนุนทางจิตใจ อันได้แก่ อินทรย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จะต้องแก่กล้าและพอเหมาะกันไม่มีสิ่งใดเกินหรือหย่อนกว่ากัน เขาเรียกว่าอินทรีทั้ง ๕ แก่กล้าครับไม่ใช่ละสังโยชน์ ๑๐ -
เมตตาอัปปมัญญานะ
โทรคุยกันดูไหม
ผมทำมานาน ได้คุยกับคนมาก้อมาก ข้อมูลมากจริงๆ
029411853/0847528441
หนุ่ม -
อนุโมทนาจ้าน้องต้นละ ;););) ความรู้แน่นจริงๆ ต้องเก็บการบ้านเรื่องนี้มาศึกษาซ่ะแล้ว
-
แวะมาอ่าน หุหุ เด็กน้อยเอ๋ย
-
ผู้ใหญ่ วร...
หน้า 1 ของ 4