พระโพธิสัตว์ พระผู้ทรงเป็นดั่งพลังของแผ่นดิน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย 5314786, 3 พฤษภาคม 2014.

  1. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517
    โมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้ด้วยครับ อ่านไปน้ำตาไหลไปไม่รู้ตัว ซาบซึ้งในพระคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อประชาชนคนไทยมากๆ ครับ
    เป็นบุญของคนไทยจริงๆที่มีพระมหากษัติย์พระองค์นี้เป็นร่มโพธิร่มไทร พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในทุกๆ เรื่องครับ
    ขออำนาจพระรัตนตรัยจงบันดาลบุญที่ข้าพเจ้าเคยสร้างไว้ตั้งแต่ต้นในอดีตชาติจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
    ข้าพระบาทขอกราบถวายผลบุญทั้งหมดนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ
    ขอพระองค์ทรงมีพระชนม์มายุยิ่งยืนนานเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • king10.jpg
      king10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.3 KB
      เปิดดู:
      218
    • king03.jpg
      king03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27 KB
      เปิดดู:
      127
    • king17.jpg
      king17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.9 KB
      เปิดดู:
      162
  2. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    “พรุบาเจาะ”

    พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตนายตำรวจราชสำนักประจำ
    เขียนไว้ในหนังสือ “รอยพระยุคลบาท” ถึงเรื่องนี้ว่า

    “ในการเสด็จฯนราธิวาสแต่ก่อนนี้(ก่อนที่จะมีสนามบินบ้านทอนที่จังหวัดนราธิวาส)
    พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯ ต้องประทับเครื่องบินจากกรุงเทพฯไปลงที่ท่าอากาศยานจังหวัดปัตตานี
    แล้วจึงประทับเฮลิคอปเตอร์จากปัตตานีต่อไปยังนราธิวาส

    ครั้งแรกที่เสด็จฯ พอถึงนราธิวาส พระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกระแสรังสั่งถามข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เฝ้าฯ รับเสด็จทันทีว่า ตอนที่เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งบินผ่านเหนืออำเภอบาเจาะนั้น

    ได้ทอดพระเนตรเห็นมีน้ำขังเป็นพื้นที่กว้างใหญ่
    มีพระราชประสงค์จะทราบว่าที่น้ำขังนั้นคืออะไร น้ำขังอยู่ทั้งปีหรือไม่

    ผู้ที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่กราบบังคมทูลว่า ที่ที่ทอดพระเนตรเห็นนั้นเรียกว่า “พรุบาเจาะ”
    (คำว่า พรุ บางทีออกเสียงเป็นโพระ เป็นภาษาถิ่นใต้ แปลว่า ที่ลุ่มมีน้ำขังประจำ ทำนองเดียวกับ หนองหรือบึง) อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านชูโว ตำบลและอำเภอบาเจาะ และมีน้ำขังอยู่ทั้งปีใช้ทำประโยชน์อะไรไม่ได้

    พล.ต.อ.วสิษฐ เขียนว่า
    ทรงมีพระราชปรารภว่าถ้าหากไขน้ำออกจากพรุบาเจาะได้
    จะมีที่ให้ประชาชนได้ใช้ทำมาหากินได้อีกประมาณแสนไร่

    พระราชปรารภนั้นแสดงให้เห็นน้ำพระทัยของพระเจ้าอยู่หัว แสดงว่าทรงระลึกถึงประชาชนอยู่ตลอดเวลา”


    และเสริมว่า“ผมเชื่อว่า ก่อนพระเจ้าอยู่หัว คงจะเคยมีคนนั่งเครื่องบินข้ามพรุบาเจาะกันมาแล้วนับไม่ถ้วน แต่ไม่เคยปรากฏเลยว่ามีใครฉุกคิดว่า ถ้าทำให้พรุแห้งได้ ประชาชนจะมีที่ทำมาหากินอีกมากน้อยเพียงใด

    ทุกคนอนุมานเอาว่า เมื่อเป็นพรุและมีน้ำขังอยู่ชั่วนาตาปีตามธรรมชาติ ก็คงต้องปล่อยให้น้ำขังอยู่อย่างนั้น

    พระเจ้าอยู่หัวของเราท่าน ไม่เพียงแต่จะทรงพระปรารภเฉย ๆ แต่ทรงศึกษาต่อไปถึงความเป็นไปได้ด้วย ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชปรารภให้กรมชลประทานรับไปพิจารณาว่า จะมีทางไขน้ำออกจากพรุบาเจาะได้หรือไม่

    กรมชลประทานรับพระราชทานพระราชปรารภนั้นไปพิจารณาแล้วก็กราบบังคมทูลว่า มีทางที่จะขุดคลองไขน้ำออกจากพรุบาเจาะได้ และลงมือดำเนินการ

    สองปีต่อมา พรุบาเจาะก็สิ้นชื่อ คลองที่กรมชลประทานขุดนั้น ไขเอาน้ำออกจากพรุไปลงทะเลจนหมดสิ้น พรุแห้งกลายเป็นที่ราบ ทำให้ประชาชนมีที่สำหรับเพาะปลูกและทำเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนถึงประมาณ ๖๐,๐๐๐ ไร่

    ตลอดเวลาที่กรมชลประทานกำลังขุดคลองอยู่นั้น และเมื่อเสด็จฯ กลับไปยังจังหวัดนราธิวาส พระเจ้าอยู่หัวเสด็จแล้วเสด็จอีก ไปทอดพระเนตรการขุดคลอง และพระราชทานคำแนะนำให้แก่เจ้าหน้าที่

    นอกจากนั้น เพราะทรงตระหนักว่าอาจเกิดปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนใหม่นั้น จึงทรงพระกรุณาพระราชทานคำแนะนำแก่จังหวัดนราธิวาสและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาที่ดิน ให้หาวิธีที่จะสรรที่ดินใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรมด้วย

    พล.ต.อ.วสิษฐ ปิดท้ายเรื่องนี้ว่า “ทุกวันนี้ ถ้าใครไปอำเภอบาเจาะ
    และถามถึง “พรุบาเจาะ”หลายคนอาจไม่รู้จักและตอบได้เลย


    ส่วนคนเก่า ๆ ที่ระลึกได้ จะชี้ให้ดูเรือกสวนไร่นาของราษฎรและถนนลาดยางหลายสายที่ตัดเข้าไปในที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็น “พรุ” ที่มีน้ำขังอยู่ตลอดปี และเคยนึกกันว่าใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้”

    อย่างนี้แล้ว จะไม่ให้ผมตั้งชื่อเรื่องสำหรับตอนนี้ว่า ในหลวง ทรงเนรมิตผืนพรุให้เป็นผืนแผ่นดิน แล้วพระราชทานให้ชาวบาเจาะ ได้อย่างไร

    ขอบคุณที่มาจาก:สำนักข่าวเจ้าพระยา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2014
  3. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชรเล่าพระราชกรณียกิจพ่อหลวง ทรงเป็นปราชญ์เรื่องดิน-น้ำ
    หาแนวทางแก้ปัญหาให้ราษฎร แจงในหลวงทรงมีธรรมะเพียงพอ ประท้วงท่านได้ ท่านไม่ท้อ ไม่กริ้ว ไม่เสียพระทัย

    จากที่ได้ถวายงานรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ได้ทราบว่า พระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจอย่างหนัก ออกเยี่ยมเยียนประชาชนทั่วประเทศอย่างทรงติดดิน

    พระองค์ทรงเห็นชีวิตและเห็นทุกข์จริงๆ ของประชาชน จึงได้มั่นพระทัย
    และอยู่เป็นเพื่อนทุกข์ของประชาชนมาจนทุกวันนี้

    อีกทั้งได้ศึกษาเรื่องดินและน้ำด้วยพระองค์เอง และการพูดคุยสอบถามจากประชาชนทั่วทุกทิศ
    ทุกแห่งที่พระองค์เสด็จฯ ไป เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาให้ประชาชน


    จนเป็นที่ยอมรับว่า พระองค์ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินและน้ำมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

    [​IMG]

    การติดตามทุกข์สุขของราษฎรอีกรูปแบบหนึ่งของพระองค์ คือ การใช้วิทยุ
    ซึ่ง พล.ต.อ.วสิษฐ เล่าว่า ทรงติดตามวิทยุทุกข่ายของราชการในสมัยนั้น
    เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์บ้านเมืองและความทุกข์ยากของประชาชน


    พระองค์จึงทราบถึงพิบัติภัย ภัยธรรมชาติ และเหตุการณ์ของบ้านเมืองตลอด
    แม้กระทั่งยามที่พระองค์ประชวร หมอกราบบังคมทูลให้งดพระราชกิจวัตร ก็ยังทรงตอบวิทยุ


    “ผมเห็นอย่างนั้นจึงได้เขียนจดหมายประท้วงกราบบังคมทูลท่านว่า พระองค์ไม่ได้พักผ่อนพระวรกายตามคำแนะนำของแพทย์ และเช้าวันรุ่งขึ้นก็บันทึกพระราชกระแสตอบกลับมา ว่า

    การตอบวิทยุนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ถือเป็นการพักผ่อน และที่ผมบอกว่า จะบวชให้เมื่อหายป่วยนั้น พระองค์ตอบว่า หากเราตายถึงจะอนุญาตให้บวชหน้าไฟได้ แต่เราเหนียว เราไม่ตาย

    เมื่อได้ทราบความและข้อความเตือนสติอื่นๆ เช่นนั้น ผมก็ได้เตือนตัวเอง ระลึกถึงและปฏิบัติตามคตินั้นอยู่เสมอๆ

    ทำให้ผมทราบว่า รัชกาลนี้ประท้วงท่านได้ ท่านทรงติดดิน ไม่มีอะไรที่ขวางกั้นระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับประชาชน เห็นได้จากมีคนถวายฎีกาปีละหลายพันฉบับ ก็ถึงมือท่านทั้งนั้น และท่านก็ได้อ่านทุกฉบับ”

    พล.ต.อ.วสิษฐ เล่าถึงหลักธรรมะที่ได้รับจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า
    มีหลายบท แต่ที่เด่นชัดบทหนึ่ง คือ อิทธิบาท 4 ที่ใช้ในการทำงาน ได้แก่

    1.ฉันทะ มีความพอใจในงานและรักงานที่ทำ

    2.วิริยะ ความพากเพียร บากบั่นที่จะทำให้สำเร็จ

    3.จิตตะ การเอาใจจดใจจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ อย่างแน่วแน่ ไม่วอกแวก

    และ 4.วิมังสา ทบทวน ไตร่ตรองสิ่งที่ทำไปแล้ว

    ทั้งนี้ พระองค์ยังทรงทำสมาธิ อานาปานสติ กำกับลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ
    จนเชี่ยวชาญและเป็นอาจารย์ให้กับผู้ใกล้ชิดในวังทุกคน

    ”อยากจะเรียนไว้ด้วยว่า ที่พูดกันมากว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงท้อแท้ที่เหตุการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนั้น อย่างนี้

    แต่ผมขอยืนยันไว้เลยว่า เพราะพระองค์ปฏิบัติธรรม จึงไม่มีพระอาการท้อแท้
    ไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ใครด่าท่านก็ไม่กริ้ว ไม่เสียพระทัย


    เพราะธรรมะของพระองค์อยู่ในระดับที่สามารถเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเป็นปกติ”

    พล.ต.อ.วสิษฐ บอกทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า ระยะนี้มีคนกำลังพยายามทำลายประเทศไทย

    และการทำลายประเทศไทยทางลัดที่สุด คือ ทำลายพระเจ้าอยู่หัว
    เพราะพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นที่รวมใจของคนไทยทั้งประเทศ

    ตนเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นความลับและเชื่อว่าทุกคนรู้และได้ยิน

    ฉะนั้น หากทุกคนห่วงบ้านเมืองจริง สิ่งที่ควรทำขณะนี้ คือ ทำความเข้าใจกับผู้ที่อยู่ใกล้ๆ ตัว ทั้งลูกหลานและเพื่อนฝูง ให้รู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงทำอะไรแก่บ้านเมืองมาบ้าง

    [​IMG]

    “ตลอดเวลาที่ทรงครองราชย์ฯ มาจนวันนี้กว่า 60 ปี ท่านไม่ได้ทำอะไรเลย
    นอกจากทำประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทย ที่ทรงประกาศไว้ในพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี 2493 ว่า


    “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม”


    “เป็นสัญญาที่พระเจ้าอยู่หัวได้ให้ไว้กับคนไทยทั้งชาติ และทรงรักษาสัญญานั้นไว้โดยไม่ละเมิดเลย พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติของพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถ

    ผมจะพูดอย่างนี้ไปตลอดทุกครั้ง

    เพราะผมเชื่อว่า ไม่มีอะไรที่จะสู้กับความเท็จ ได้ดีไปกว่าความจริง

    สิ่งที่พูดคุยกันนี้ คือความจริงที่พบเห็นและเผชิญมาด้วยตัวเอง
    ผมอยากจะฝากเรื่องนี้ไว้เพื่อให้ประเทศไทยของเราได้ยั่งยืนต่อไป”

    [​IMG]

    ขอบคุณที่มาจาก:สำนักข่าวเจ้าพระยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2014
  4. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    พระราชบันทึก The Rainmaking Story

    ในปี พ.ศ. 2543 สำนักฝนหลวงและการบินเกษตรได้รับพระราชทานพระราชบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง “THE RAINMAKING STORY” ซึ่งบอกเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ที่มาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง

    ทรงบันทึกโดยคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เอง
    พระราชทานผ่านกองงานส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2543

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    คำแปลเป็นภาษาไทย

    ลำดับที่ : to be given Dkt No. Royal001-2000.us หน้า 10 ของ…

    ชื่อเรื่อง : การดัดแปรสภาพอากาศสำหรับการทำฝน

    ชื่อผู้ประดิษฐ์คิดค้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โทรสารหมายเลข…


    CAT PROCESS แห่นางแมว แมวเกลียดน้ำ FROG กบเรียกฝน ท่านต้องจูบกบจำนวนมากก่อนที่ท่านจะพบเจ้าชายหนึ่งคน PLANES เครื่องบินทำฝน นักบินและนักทำฝนต้องร่วมมือกัน ROCKETS บ้องไฟแทนเครื่องบิน

    ระบบที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นระบบหนึ่ง 2-20 พฤศจิกายน 1955 (2498) : เยี่ยมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (15 จังหวัด) วันจันทร์ , พฤศจิกายน 14 , 1955 (2498) : รถยนต์จากจวนผู้ว่าราชการจังหวัด , จังหวัดนครพนม , ผ่านอำเภอกุสุมาล (Kusumal) , จังหวัดสกลนคร , เทือกเขาภูพาน ,

    อาหารกลางวันที่ที่พักริมทางผาเสวย (Pa Swoei) แยกสหัสขันธ์-กุฉินารายณ์ (อำเภอสมเด็จ) : เยี่ยมราษฎร (จนค่ำ) ,

    บูชาหลักเมืองกาฬสินธุ์ , อำเภอยางตลาด , ผ่านอำเภอกันทรวิชัย , มาถึงจวนผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม , การเลี้ยงอาหารค่ำ , การแสดงพื้นเมือง

    ๙๘(55) พ.ย., ๑๔/ว/จวน ผ.ว.จ. นครพนม , รถยนต์ผ่าน อ.กุสุมาล จ.สกลนคร , เขาภูพาน , พาเสวยอาหารกลางวัน , แยกสหัสขันธ์ – กุฉินารายณ์ (อำเภอสมเด็จ) เยี่ยมราษฎร ,

    ศาลากลาง จังหวัดกาฬสินธุ์ (ผู้ว่า ราชการจังหวัดนายเชวง ชัยสุด) เยี่ยมราษฎร (จนมืด) ,

    บูชาหลักเมืองกาฬสินธุ์ , อำเภอยางตลาด , อำเภอ กันทรวิชัย , จวนผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม , การเลี้ยง การแสดง รูป 19102-8 –อัลบั้ม 1955-30

    [​IMG]

    จากวันที่ 2 ถึง 20 พฤศจิกายน 1955 (2498) เราได้เยี่ยมเยียน 15 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน เราเดินทางโดยรถยนต์ (เดลาเฮย์ ซีดาน สีเขียว) จากนครพนมไปกาฬสินธุ์ , ผ่านสกลนคร และเทือกเขาภูพาน

    เราหยุดโดยไม่มีหมายกำหนดการ เมื่อเราพบราษฎรกลุ่มเล็กๆ : ชายคนหนึ่งพูดว่า พวกเขาได้เดินมา 20 กิโลเมตร จากกุฉินารายณ์ เพียงเพื่อมาดูเราขับรถผ่านไป เมื่อรู้ว่าเรากำลังจะไปกาฬสินธุ์ , ซึ่งเป็นระยะทางอีกไกลที่จะต้องไป ,

    เขาได้บอกให้เราเดินทางต่อไปแม้ว่าเขาอยากจะให้เราพักอยู่
    เขากล่าวว่าพวกเรายังต้องไปอีกไกล ดังนั้น เขาจึงได้ให้อาหารห่อเล็กๆ แก่ข้าพเจ้า


    เมื่อเขาเห็นข้าพเจ้ามองอย่างห่วงใย , เขาจึงยืนยันกับข้าพเจ้าว่า
    เขายังมีอีกห่อหนึ่งสำหรับตัวเขาเอง นี่เป็นการต้อนรับด้วยความจริงใจที่แท้จริง


    ครั้งต่อไปเราได้หยุดอย่างเป็นทางการที่ทางแยกกุฉินารายณ์ และสหัสขันธ์
    ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้ สอบถามราษฎร เกี่ยวกับผลิตผลข้าว

    ข้าพเจ้าคิดว่าความแห้งแล้ง ต้องทำลายผลิตผลของพวกเขา
    แต่ข้าพเจ้าต้องประหลาดใจ เมื่อราษฎรเหล่านั้น กลับรายงานว่า พวกเขาเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม


    สำหรับข้าพเจ้าเป็นการแปลก เพราะพื้นที่แถบนั้นมองดูคล้ายทะเลทรายซึ่งมีฝุ่นดินฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป แท้จริงแล้วพวกเขามีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง

    นั่นคือ ทำไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจนนัก


    จากนั้นเป็นต้นมา,ข้าพเจ้าครุ่นคิดถึงปัญหาที่ดูเหมือนว่าแก้ไม่ตกและขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว เมื่อเวลามีน้ำ , น้ำก็มากเกินไป , ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ เมื่อน้ำลดก็แห้งแล้ง เมื่อฝนตก , น้ำท่วมบ่าลงมาจากภูเขาเพราะไม่มีสิ่งใดหยุดน้ำเอาไว้

    วิธีแก้คือต้องสร้างเขื่อนเล็กๆ (Check dams) จำนวนมาก ตามลำธารที่ไหลลงมาจากภูเขาต่างๆ จะช่วยให้กระแสน้ำค่อยๆ ไหลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเล็กๆ จำนวนมาก

    สิ่งนี้จะแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้ ในฤดูฝนน้ำที่ถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเหล่านั้น และนำมาจัดสรรน้ำให้ในฤดูแล้ง


    ยังคงมีอีกปัญหาหนึ่ง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งภาคมีชื่อเสียงว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง
    ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้า และเห็นว่ามีเมฆจำนวน , แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป


    วิธีแก้ไขจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร จึงจะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น
    ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทำฝนเทียม ซึ่งประสบความสำเร็จ ในอีก 2 – 3 ปี ต่อมาในภายหลัง


    เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร ข้าพเจ้าได้เรียกหม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกร และนักประดิษฐ์ควายเหล็ก ที่มีชื่อเสียงมาพบ

    เขาให้สัญญากับข้าพเจ้าว่าเขาจะศึกษาปัญหาดังกล่าว สองปีต่อมาเขากลับมาพร้อมความคิดเริ่มแรก

    หลักการแรก คือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัว และรวมตัวเป็นเมฆ

    การทดลองครั้งแรกๆ ยังไม่สามารถสรุปผลได้มากนัก ไม่มีฝนตก แต่เมฆก่อตัวในท้องฟ้าโปร่ง แต่น้ำแข็งแห้งที่ใช้ไม่เพียงพอ เมฆจึงสลายตัวกลับคืนสู่ท้องฟ้าใส เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำแข็งแห้งมากขึ้น เมฆ “ระเบิด” และถูกทำลาย แม้จะเพิ่มน้ำทะเลก็ช่วยไม่ได้ จึงต้องกลับมาวางแผนกันใหม่

    หลักการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง : ฝนเกิดขึ้นจากความชื้น และอุณหภูมิ ปัจจัยอื่น คือ ความเร็ว และทิศทางลม ต้องศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของเมฆ (Cloud Physics)ให้มากขึ้น

    แต่หลักการ และองค์ประกอบพื้นฐานยังอยู่ตรงนั้น เกลือทะเลเป็นสูตรแรก , น้ำทะเลเป็นสูตรที่สอง , น้ำแข็งแห้งเป็นสูตรที่สาม

    สูตร 1 และสูตร 3 ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน สูตร 2 ไม่ใช้ต่อไป สูตรอื่นๆ ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น คือ สูตร 4 ยูเรีย (สูตรเย็นปานกลาง) , สูตร 6 แคลเซี่ยมคลอไรด์ (ร้อน) , สูตร 9 แคลเซียมคาร์ไบด์ (ร้อนมาก) สูตรหลังนี้ขณะนี้เลิกใช้แล้ว เพราะค่อนข้างอันตราย

    แคลเซียมคลอไรด์ ถูกใช้ครั้งแรกใกล้กับบรบือ , มหาสารคาม

    [​IMG]

    ที่นั่นข้าพเจ้าคาดว่า หลังจากการก่อเมฆ ด้วยสูตร 1 (เกลือทะเล) ถ้าสูตร 6 (แคลเซียมคลอไรด์) ถูกใส่เข้าไปในเมฆ , เมฆนั้นจะก่อยอดถึงระดับที่สูงขึ้น , คล้ายรูปดอกเห็ดของระเบิดปรมาณู ผลที่ได้คือ ฝนตกวัดได้ 40 ม.ม.

    แม้ว่าเมฆไม่ได้ก่อยอดสูงขึ้นในรูปดอกเห็ด แต่ก่อยอดสูงขึ้นคล้ายต้นคริสต์มาส

    กิจกรรมอื่นๆ ที่ใช้เทคนิคการทำฝน เช่น การทำลายเมฆสำหรับสนามบิน ซึ่งกลายมาเป็น การศึกษาถึงประโยชน์ของการใช้แคลเซียมคลอไรด์และน้ำแข็งแห้ง ครั้งแรกที่ถูกใช้

    เมื่อข้าพเจ้าเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไปอำเภอบ้านโป่ง เพื่อพิธีการทางศาสนา ในการเดินทางกลับ เมฆหนาทึบจำนวนมากมีท่าทีว่า จะคุกคามและขัดขวางการบินของเรา

    ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ จึงบินด้วยเครื่องบินปีก นำหน้าเส้นทางบินของเรา , โปรยแคลเซียมคลอไรด์ตลอดทางจนถึงพระตำหนักจิตรลดา พระราชวังดุสิต

    [​IMG]

    ผลก็คือ เมฆเหล่านั้นแยกออกเป็นเส้นทางโล่ง ทั้งสองด้านของเมฆแยกออกมองดูคล้ายกำแพงยักษ์สองข้าง เมื่อเรามาถึงตำหนักจิตรลดา กำแพงทั้งสองเริ่มปิดเข้าหากัน และมีกระแสลมแรง ทำให้เฮลิคอปเตอร์เกือบบินกลับฐานที่ตั้งไม่ได้ และไม่ช้าก็เกิดฝนตกหนักมาก

    ดังนั้น แม้ว่าประสบการณ์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จในการทำลายเมฆ , แต่ขณะเดียวกัน , เป็นความสำเร็จ ในการปฏิบัติการทำฝนด้วย.

    …………………………………..

    ที่มา : สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร

    [​IMG]

    (ดังแผนภาพ (การ์ตูน) ตำราฝนหลวงพระราชทาน)

    ขอบคุณที่มาจาก:สำนักข่าวเจ้าพระยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2014
  5. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    เรื่องเล่าจากโต๊ะทรงงาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

    [​IMG]

    ตลอดเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเยี่ยมเยือนพสกนิกรชาวไทยมาแล้วทุกหนแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกลและทุรกันดาร ทรงตรากตรำพระวรกาย บุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาลงห้วย

    เพื่อจะได้ทรงทราบถึงปัญหาทุกข์ร้อนของราษฎรด้วยพระองค์เอง และพระราชทานความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาแท้จริง เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น พออยู่พอกิน และเป็นรากฐานไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงยั่งยืน

    [​IMG]

    เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง จัดงานเสวนา “สิ่งที่แม่สอน : เรื่องเล่าจากโต๊ะทรงงาน” เพื่อร่วมเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรไทย

    ในฐานะรองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ “ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์” ซึ่งถวายงานด้านการต่างประเทศ และนั่งประจำโต๊ะทรงงาน ขณะเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปเยี่ยมราษฎรตามถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ

    [​IMG]

    บอกเล่าถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยราษฎรว่า พระองค์ทรงมีวิธีการทรงงานและให้ความช่วยเหลือราษฎรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยก่อนที่จะเสด็จฯในแต่ละพื้นที่ จะทรงส่งทีมล่วงหน้าไปสำรวจ

    เพื่อซักถามเก็บข้อมูลเบื้องต้นว่า ชาวบ้านเป็นใครมาจากไหน มีความทุกข์ร้อนเรื่องใดบ้าง ในทีมล่วงหน้าจะมีทั้งกองราชเลขานุการฯ, หน่วยงานทหาร, หน่วยแพทย์, เจ้าหน้าที่เกษตร และเจ้าหน้าที่ประมง เมื่อพระองค์เสด็จฯ มาถึง คณะสำรวจจะคัดชาวบ้านที่ทุกข์ยากสุดขึ้นไปเข้าเฝ้าฯ เป็นกลุ่มๆ

    [​IMG]

    พระองค์ทรงสอนว่า คนเราดูจากเสื้อผ้าไม่ได้หรอก การจะคัดเลือกคนเข้าเฝ้าฯ
    จึงต้องดูจากแววตาของเขา คนเรามีสุขหรือทุกข์จะแสดงออกทางสีหน้าแววตา


    โดยจะทรงซักถามรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยพระองค์เองทุกครั้ง
    ใครมีปัญหาอะไร ทำมาหากินอะไร ใช้ชีวิตกินอยู่อย่างไร


    จากนั้น ก็จะทรงจดบันทึกอย่างละเอียด และหาทางแก้ปัญหาให้พวกเขาทันทีโดยไม่รั้งรอ
    หากเป็นปัญหาใหญ่ก็จะทรงนัดแนะไปสำรวจในภายหลัง และทรงติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

    [​IMG]

    “ท่านผู้หญิงภรณี” บอกเล่าอีกว่า เวลาทรงงานจะประทับกับพื้น ไม่ได้ประทับกับเก้าอี้ จะมีพรมปูและมีเบาะบางๆ สำหรับประทับพับเพียบ มีสมุดจดกับปากกา แฟ้มประวัติ แล้วก็มีโต๊ะเตี้ยๆ อยู่ตรงหน้า เพื่อทรงงานกับชาวบ้านที่หมุนเวียนเปลี่ยนกันเข้ามาทีละคนทีละกลุ่ม โดยไม่ทรงลุกไปไหนนานนับ 4-5 ชั่วโมง

    พระองค์ทรงจำเรื่องราวของประชาชนได้หมด บางรายทรงจำชื่อได้ด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ยังทรงมีพระปรีชาสามารถในการซักถามเรื่องราวชีวิตของประชาชนได้ละเอียดลึกซึ้ง และสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างถูกวิธี

    [​IMG]

    ใครที่เคยตามเสด็จฯ จะได้เห็นจนเจนตา เวลาที่ทรงงานประทับพับเพียบนานหลายชั่วโมง
    บางครั้งถึงเที่ยงคืนมืดค่ำ หากงานไม่เสร็จ จะไม่ทรงหยุดพักเลย พระทัยจดจ่ออยู่กับงาน และจดจ่ออยู่กับการบำบัดทุกข์ให้ประชาชน

    โต๊ะทรงงานของพระองค์มิได้โก้หรูแต่อย่างใด ทว่า โต๊ะทรงงานของพระองค์ คือ ทุกที่ทุกถิ่นทั่วไทยที่มีราษฎรยากจนที่สุดทุกข์เข็ญที่สุดอาศัยอยู่.

    [​IMG]

    ที่มา : ทีมข่าวหน้าสตรี ไทยรัฐ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2014
  6. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    ทุกข์ยามดึก

    ตำรวจตู้ยามบางคนคับข้องใจ เกี่ยวกับปัญหาครอบครัว ปัญหาค่าครองชีพ เมื่อเสพสุราแล้วครองสติไม่ได้ ไม่รู้จะอธิบายความในใจกับใคร จึงได้พล่ามบรรยายมาทางวิทยุ บางคนหลับยามไม่พอ กดคีย์ไม่โครโฟนค้างไว้ ทำให้เสียงกรนออกอากาศด้วย บางคนร้องเพลงลูกทุ่งออกอากาศเป็นการแก้เหงาก็มี

    ในยามดึกวันหนึ่งพนักงานวิทยุคนหนึ่งได้ระบายความเดือดร้อน
    เนื่องจากหิวโหยไม่สามารถหาอาหารได้เพราะต้องเข้าเวร

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ยินแล้ว ก็ทรงสงสาร
    จึงได้รับสั่งทางวิทยุกับผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นโดยตรงว่า

    “โปรดเกล้าฯ พระราชทานตู้เย็นเพื่อเก็บอาหารสำรองสำหรับเวรดึก 1 ตู้”

    ขอบคุณที่มาจาก:สำนักข่าวเจ้าพระยา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • hl744.jpg
      hl744.jpg
      ขนาดไฟล์:
      139 KB
      เปิดดู:
      2,017
  7. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    เหมือนในหลวงจัง

    ครั้งหนึ่งพ่อหลวงทรงเสด็จไปทีตลาดสดทรงแวะไปเสวยก๋วยเตี๋ยว
    แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว เห็นก็สงสัยจึงทูลถามท่านว่า

    "ทำไมหน้า เหมือนในหลวงจัง?"

    ท่านไม่ตอบอะไรได้แต่ยิ้มๆ ทรงจ่ายเงินค่าก๋วยเตี๋ยวแล้วตรัสชมว่า
    ก๋วยเตี๋ยวอร่อย ส่วนแม่ค้ามารู้ที่หลังว่าเป็นท่านก็ได้แต่ปลื้ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 111images.jpg
      111images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.1 KB
      เปิดดู:
      1,304
  8. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    สามมะขามป้อม

    มีอยู่คราวหนึ่ง หลังจากปีนเขาขึ้นไปบนสันเขาลูกใหญ่ลูกหนึ่ง มีผู้กราบบังคมทูลถาม
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ภูเขาลูกใหญ่ที่ปีนเมื่อบ่ายวานซืนกับลูกนี้ ลูกไหนจะสูงกว่ากัน

    พระองค์รับสั่งว่า

    “ลูกวานซืนนี้สูงกว่า เพราะฉันเคี้ยวมะขามป้อมถึงห้าลูก
    กว่าจะถึงยอด … แต่วันนี้เพียงสามมะขามป้อมเท่านั้น..”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • K13023896-7.jpg
      K13023896-7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.6 KB
      เปิดดู:
      1,256
  9. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    สตรอเบอรี่ โครงการหลวง...กำเนิดครั้งแรกด้วยพระบารมีล้นเกล้าฯ

    "สตรอเบอรี่" ผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยเป็นที่รู้จักกันมาหลายร้อยปีแล้ว ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ เช่น บางอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย และในพื้นที่บางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เลย และเพชรบูรณ์ เป็นต้น และมี แนวโน้มที่สามารถปลูกได้พอสมควรในพื้นที่สูงของภาคกลาง เช่น แถบจังหวัดกาญจนบุรี และเป็นที่ทราบกันดีว่า การที่สตรอเบอรี่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในฐานะผลไม้ที่มีผลการวิจัยรองรับว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ จนกลายเป็น

    สตรอเบอรี่ พืชเศรษฐกิจนั้น มีจุดเริ่มมาจาก "โครงการหลวง" นั่นเอง

    กำเนิดโครงการหลวง

    ม.จ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าประทานว่า
    "จุดกำเนิดโครงการหลวงนั้น เริ่มจากที่บนดอย เราไม่รู้ว่าจะสามารถปลูกอะไรได้นอกจากฝิ่น เราทดลองหลายอย่าง และด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้นำผัก ผลไม้ต่างๆ มากมาย เช่น สตรอเบอรี่ ลิ้นจี่ ไม้ผลต่างๆ และผักที่น่าสนใจ มากมายเกือบ 100 ชนิด มาทดลองปลูก …"

    "พืชที่เราให้เขาปลูกทำรายได้ให้เขามาก จนเลิกปลูกฝิ่นไปเอง

    โดยมากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทราบปัญหาต่างๆ เยอะ มีคนหลายระดับไปเข้าเฝ้าใต้ฝ่าละอองทุลีพระบาท อย่างชาวบ้านที่ทรงเสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียน คนใหญ่คนโต หรือต่างชาติ

    พระองค์ทรงทราบเรื่องและทรงแก้ได้เวลามีปัญหา และทรงแนะวิธีแก้ไข เช่น สตรอเบอรี่ป่า ลูกเล็กนิดเดียว แต่มีรสชาติอร่อยมาก หอม หวาน แต่เวลาเก็บลูกที่อยู่กับดิน กว่าจะได้สักกิโลฯ ก็เหนื่อยแย่ พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งให้เอาสตรอเบอรี่ปลูกในกระบะ เพื่อจะได้เก็บผลผลิตได้ง่าย พระองค์มีพระปรีชามาก"

    "โครงการหลวงได้เริ่มทดลองหาพันธุ์สตรอเบอรี่ที่ปลอดโรคเพื่อส่งเสริมเกษตรกร โดยผลิตต้นแม่พันธุ์และต้นไหลปลอดโรคด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องทดลองทุกปี มีการคัดและผสมพันธุ์จนได้พันธุ์พระราชทานเบอร์ต่างๆ สำหรับแหล่งผลิตสตรอเบอรี่แหล่งใหญ่ที่บ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มแรกเกษตรกรใช้พันธุ์ที่ผลิตต้นไหลเอง จึงไม่ปลอดโรคเกิดปัญหาเน่าตาย ผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรจึงขอให้โครงการหลวงเข้าไปช่วยเหลือ และได้เริ่มใช้ต้นไหลปลอดโรคที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งจำหน่ายผลผลิตผ่านโครงการหลวง" (วารสารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, ธันวาคม, 2006)

    กำเนิดโครงการวิจัยสตรอเบอรี่

    ทางด้าน ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยสตรอเบอรี่โครงการหลวง และผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล่าย้อนให้ฟังถึงโครงการวิจัยสตรอเบอรรี่ว่า “ในปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงก่อตั้งโครงการหลวงขึ้น เพื่อหยุดยั้งการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขา โดยหาพืชอื่นให้ปลูกทดแทน โครงการวิจัยสตรอเบอรี่จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เริ่มดำเนินการ ในระหว่างปี พ.ศ.2517-2522 โดยได้รับทุนวิจัยจากทางฝ่ายงานวิจัยกระทรวงเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา (Agricultural Research ของ USDA) ได้มีการนำสตรอเบอรี่พันธุ์ต่างๆ เข้ามามากมาย เพื่อทดลองปลูกตามสถานีทดลองเกษตรที่มีระดับความสูงที่ต่างกัน รวมทั้งศึกษาเรื่องของโรค แมลง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และตลอดจนทางด้านการตลาดและส่งเสริมสู่เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย"

    หลากสายพันธุ์พระราชทาน

    ในด้านพันธุ์ต่างๆ ของสตรอเบอรี่ที่มีปลูกกันในประเทศไทยนั้น ดร.ณรงค์ชัย เปิดเผยว่า ได้มีการนำพันธุ์สตรอเบอรี่จากต่างประเทศที่นำเข้ามาทดลองปลูกจากปี พ.ศ.2515 ปรากฏว่าพันธุ์พระราชทาน 13 (Cambridge Favorite) พันธุ์พระราชทาน 16 (Tioga) พันธุ์พระราชทาน 20 (Sequoia) สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายได้มากกว่าพันธุ์อื่นๆ

    "โดยเฉพาะพันธุ์พระราชทาน 16 สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตร และพื้นที่ราบของทั้ง 2 จังหวัด เกษตรกรขณะนี้เกือบทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไป ต่อมา ปี 2529 ได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aibrry จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก จนกระทั่งมีพันธุ์ Toyonoka หรือพันธุ์พระราชทาน 70 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา และพันธุ์ B 5 หรือพันธุ์พระราชทาน 50 (พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นปีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) และพันธุ์พระราชทาน Tochiotome หรือ 72 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2542 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ปัจจุบันพันธุ์สตรอเบอรี่ที่นับว่าปลูก เป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 50, 70, 72 และ 80"

    "แต่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือพันธุ์พระราชทาน 80 และสตรอเบอรี่ดอย เนื่องจากเป็นสตรอเบอรี่สายพันธุ์ใหม่ที่ทีมวิจัยเพิ่งประสบผลสำเร็จ เมื่อปี 2550 หลังจากใช้เวลาทำการวิจัยมายาวนานถึง 6 ปีเต็ม จุดเด่นของมันอยู่ที่ลำต้นใหญ่ แข็งแรง ให้ผลดก มีขนาดใหญ่ ส่วนที่มาของชื่อพันธุ์นี้ก็เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา เป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคและแมลง รสชาติหวานและมีกลิ่นหอม ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาปลูกในพื้นที่โครงการหลวง โดยใช้สารชีวภาพและสารสมุนไพรเข้ามาช่วยในการผลิตสตรอเบอรี่ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่า สายพันธุ์สตรอเบอรี่ที่ส่งเสริมในปัจจุบันมีความสดและปลอดภัยจากสารเคมีถึงวันนี้" ดร.ณรงค์ชัย กล่าว

    จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ผลไม้ที่มีคุณอนันต์อย่าง "สตรอเบอรี่"
    ได้กลายเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรปีละจำนวนมหาศาลนั้น ล้วนเนื่องด้วยพระบารมีล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2014
  10. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    อันนี้ให้มึง

    มีครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงงานยังถิ่นทุรกันดารแสนไกล พวกผู้ใหญ่บ้านก็บอกกล่าวเชิญชวนชาวเขาเผ่าต่างๆ กะหรี่ยงเอย มูเซอเอย ที่เพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ อยู่บนดอย ให้มารับเสด็จฯ ชาวเขาเหล่านั้นก็เลยซักซ้อมคำราชาศัพท์กันยกใหญ่ ดุเหมือนกะเหรี่ยงจะจำราชาศัพท์ได้แล้ว บอกว่า
    “ได้แน่นอน ในหลวงต้องไม่เสียพระทัยแน่นอน”

    ทีนี้วันที่ในหลวงมาตรวจงาน กะเหรี่ยงก็ถวายของให้กับในหลวง
    ด้วยอารมณ์ที่ตื่นเต้น นึกไม่ออกจะพูดอะไรดี มันตื้อไปหมด ก็เลยพูดว่า
    “อ่ะ … อันนี้ให้มึง อันนี้ให้เมียมึง ส่วนอันนี้ให้ลูกๆ มึง”

    ในหลวงก็ทรงพระสรวล แล้วตรัสว่า “ขอบใจนะ”
    ชาวบ้านรวมทั้งผู้ใหญ่บ้านนั้นหน้าซีดกันไปหมดทุกคน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2014
  13. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    หลวงพ่อคูณ พูดถึงในหลวง

    “มึงรู้ไหม มือพระองค์เป็นมือคนทำงาน อย่างก๊ะชาวไร่ชาวนา แข็งกะด้างมากๆ “

    (พระหัตถ์ของพระองค์ ที่ทรงงานเพื่อชนชาวไทยมามากกว่า 60 ปี)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 218.jpg
      218.jpg
      ขนาดไฟล์:
      110.3 KB
      เปิดดู:
      1,950
  14. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    “พระราชินี”คู่พระบารมี“ในหลวง”ของปวงชนชาวไทย
    ข้าพเจ้าเป็นเพียงอาจารย์แพทย์โรคหัวใจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในรพ.รามาธิบดี เมื่อหลายปีก่อน ข้าพเจ้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ให้เป็นแพทย์ติดตามเสด็จ และนับเป็นจุดเริ่มต้นของประสบการณ์ชีวิตที่ดีที่สุดของข้าพเจ้า

    ครั้งแรกที่ได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทนั้น ข้าพเจ้าทั้งตื่นเต้น ทั้งกังวล แต่ด้วยพระจริยวัตรที่งดงามและเป็นกันเอง ทำให้ข้าพเจ้าคลายความประหม่าและความกังวลลงไปได้ แม้หลายครั้งจะเหน็ดเหนื่อยจากภารกิจ แต่ข้าพเจ้าอดคิดไม่ได้ว่า เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ความงดงามของการมองชีวิตจากพระองค์ท่าน

    ก่อนหน้านี้ เมื่อข้าพเจ้าดูข่าวในราชสำนัก โทรทัศน์มักถ่ายทอดโครงการต่างๆของท่าน และจบแต่เพียงเท่านั้น แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ส่วนที่ดีที่สุด เริ่มต้นหลังจากนั้น นั่นคือ ช่วงเวลาที่พระองค์ท่านประทับอยู่กับราษฎรหลังจากทรงตรวจเยี่ยมโครงการต่างๆเสร็จแล้ว เพื่อมอบความช่วยเหลือให้แก่ประชาชนของพระองค์

    [​IMG]

    ข้าพเจ้าได้เห็น “สมเด็จพระราชินี” ประทับนั่งพับเพียบกับพื้น และไถ่ถามราษฎรถึงความทุกข์ยากของเขาเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง ทั้งที่พระชนมายุเพียงนี้แล้ว แต่หลายครั้งที่พระองค์ทรงงานนานถึง 6 ชั่วโมงโดยมิได้ลุกเลย เพื่อให้การดูแลผู้ยากไร้อย่างดีที่สุด ครั้งหนึ่งข้าพเจ้านั่งใกล้พระองค์ท่าน จนได้ยินการสนทนา และทราบว่า หญิงชาวบ้านผู้มาเข้าเฝ้านั้นมีความทุกข์เรื่องหนี้สิน สามีจากเธอไป และทิ้งเธอให้เผชิญหนี้สินตามลำพัง พร้อมด้วยลูกเล็กๆอีก 2 คน ข้าพเจ้ามองเห็นว่า ความทุกข์ยากแห่งชีวิตได้ฝากริ้วรอยไว้บนใบหน้าของเธอมากเพียงใด ในแววตามีแต่ความสิ้นหวัง และลูกๆปราศจากความเบิกบานอย่างที่เด็กๆ ควรจะมี

    เมื่อรับสั่งถามว่า เป็นหนี้เท่าไร เธอผู้นั้นไม่ยอมตอบเพียงแต่ทูลว่า หนี้นั้นมากมายเหลือเกิน และข้าพเจ้าได้ยินสมเด็จพระราชินี รับสั่งว่า “ไปบอกเจ้าหนี้นะคะ ว่าพระราชินีจะใช้หนี้ให้” ข้าพเจ้าถึงกับน้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว

    ผู้สูงศักดิ์ที่สุดของแผ่นดิน ประทับอยู่ท่ามกลางชาวบ้านยากไร้ ทรงมอบความรัก ความช่วยเหลือให้…เด็กๆจะได้รับขนมแจก, ผู้ป่วยจะมีแพทย์ดูแล, ผู้สูงอายุจะได้รับแว่นสายตา, ผู้ยากไร้จะได้รับพระราชทานความช่วยเหลือเรื่องทุนรอน …ไม่มีผู้ใด ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ข้าพเจ้าเคยสงสัยว่า ต้องใช้พระราชทรัพย์มากเพียงใด
    [​IMG]

    เพราะทุกครั้งที่ราษฎรนำผลผลิตของตนมา ก็ได้รับคำตอบว่า “พระราชินีรับซื้อทั้งหมดค่ะ”ข้าพเจ้าพบว่า พระองค์ต้องใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายเข้ามูลนิธิศิลปาชีพ หลายล้านบาทต่อวัน ช่วยเหลือผู้คนที่สังคมส่วนใหญ่พากันลืมเลือน ผู้คนที่ไม่มีโอกาส สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เห็น คือ สมเด็จพระราชินีได้คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่คนยากไร้ ที่มิได้รับความใส่ใจจากผู้ใด ข้าพเจ้าเชื่อว่า ในสายพระเนตรของพระองค์ ผู้ที่ยากไร้ก็เป็นคนไทยที่พระองค์ทรงรัก ข้าพเจ้าเสียดายที่หลายครั้ง โทรทัศน์ไม่อาจถ่ายทอดความรัก ความเอื้ออาทรของพระองค์ได้

    ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระราชินีเสด็จไปหมู่บ้านห่างไกลติดชายแดนพม่า ข้าพเจ้าอดสงสัยไม่ได้ว่า ณ หมู่บ้านไม่กี่ครัวเรือนแห่งนี้ ทำไมต้องเสด็จมาด้วย และข้าพเจ้าก็ได้รับคำตอบว่า

    หมู่บ้านแห่งนี้เป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดจากพม่าเข้าสู่ไทย
    ารให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จะช่วยลดปัญหา ยาเสพติดให้แก่ลูกหลานไทย และยังช่วยอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอีกด้วย ข้าพเจ้าจึงได้ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณทางอ้อมอันยิ่งใหญ่ ต่อข้าพเจ้าเองและปวงชนชาวไทย

    ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเห็นผลงานศิลปหัตถกรรม ต่างๆ และรู้สึกทึ่งในความวิจิตรงดงาม เมื่อสอบถามว่า เป็นผลงานของผู้ใด ก็ได้รับคำตอบว่า เป็นของชาวบ้าน ชาวเขาซึ่งไร้การศึกษา ในตอนแรกข้าพเจ้าเองไม่เชื่อ แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธความจริงได้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้สอนเรื่องยิ่งใหญ่ให้แก่ข้าพเจ้า นั่นคือ ความเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ พระองค์ทรงใช้ความอดทน ค่อยๆสอน จากชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ใดๆ สามารถสร้างงานศิลป์ที่คนไทยทั่วประเทศต้องภาคภูมิใจ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูแพทย์ สมเด็จพระราชินีได้ปลูกฝังให้ข้าพเจ้าเรียนรู้ที่จะศรัทธาในศักยภาพของผู้คน

    [​IMG]
    เมื่อคราวเสด็จไปเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านทุรกันดาร มีคุณลุงท่านหนึ่งมาขอรับพระราชทานความช่วยเหลือ พวกเราที่เป็นแพทย์จำได้ว่า คุณลุงท่านนี้ตามมา 2-3 แห่งแล้ว และขอรับพระราชทานความช่วยเหลือทุกครั้ง แพทย์ท่านหนึ่งจึงกล่าวตำหนิไป แต่
    สมเด็จพระราชินีทรงได้ยินและรับสั่งว่า
    “อย่าไปว่าเขาเลยค่ะคุณหมอ เพราะเขาจนจึงได้ทำแบบนี้”


    หลายครั้งที่พระองค์ท่านทรงประสบเหตุการณ์ในทำนองนี้ แต่พระองค์ยังเชื่อมั่นในส่วนดีของผู้คนเสมอ ข้าพเจ้าเห็นว่า ทุกครั้งที่ประทับอยู่ท่ามกลางราษฎรที่ยากไร้ มีปัญหาต่างๆมากมายมาให้ทรงแก้ไข แต่สมเด็จพระราชินีทรงมีพระพักตร์ที่เปี่ยมด้วยความสุขเสมอ แม้จะทรงงานหลายชั่วโมงต่อเนื่องโดยมิได้พัก พระองค์มิได้มีท่าทีเหนื่อยหน่าย พระองค์ทรงจำได้ แม้แต่ผู้ป่วยเล็กน้อยสักคน และมักตรัสถามแพทย์ถึงอาการผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ด้วยความห่วงใยเสมอ ข้าพเจ้าพบว่า แม้คนที่ดูเล็กน้อยในสายตาของชาวโลก มีค่าเสมอในสายพระเนตรของพระองค์

    [​IMG]

    นี่เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย ที่ข้าพเจ้าประทับใจในพระองค์ท่าน ชาวโลกต่างรู้ดีว่า ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์และพระราชินีที่ประเสริฐที่สุดในโลก แต่น่าเสียดาย…เสียดายที่คนไทยส่วนหนึ่งมองไม่เห็น แม้แต่บางคนในรามาธิบดีเอง กลับไม่ตระหนักว่า เรามีอาชีพ มีเงินเดือน มีเกียรติ เพราะเราทำงานใน ‘รามาธิบดี’ ทำงานภายใต้พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ท่าน หลายคนถูกปลุกปั่นให้เชื่อในหลักการของทุนสามานย์ ถูกกระแสสังคมครอบงำความคิดเรื่องทุนนิยม เห็นค่าดัชนีตลาดหุ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจ สำคัญกว่าความถูกต้อง ความเป็นธรรม และจริยธรรม

    สำหรับข้าพเจ้าแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงพระชนม์อยู่ท่ามกลางพวกเรา ทรงเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา หากคนไทยไม่สนใจสิ่งที่พระองค์ทรงสอน และ กระทำเป็นแบบ อย่าง

    หากสังคมไทยยังคงปล่อยปละให้ผู้คนดูหมิ่นจาบจ้วงพระองค์โดยไม่ทำอะไร และยังคงปลูกฝังระบบทุนนิยมสามานย์ให้แก่ลูกหลานของเรา จุดจบของประเทศไทย คงไม่พ้นช่วงชีวิตของเรา.

    ผู้เล่า:ผศ.นพ.ภากร จันทนมัฎฐะ
    หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.รามาธิบดี


    ที่มาของบทความจาก สำนักข่าวเจ้าพระยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2014
  15. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    ยิ้มของฉัน

    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก
    เป็นที่สนใจต่อสื่อมวลชนของอเมริกาเป็นอย่างมาก จึงได้มีพระราชทานสัมภาษณ์

    นักข่าวหนุ่มคนหนึ่งได้ทูลถามว่า “ทำไมพระองค์จึงทรงเคร่งขรึมนัก… ไม่ทรงยิ้มเลย?”

    ทรงหันพระพักตร์ไปทางสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พลางรับสั่งว่า
    “นั่นไง… ยิ้มของฉัน”


    แสดงให้เห็นถึงพระราชปฏิภาณ และพระราชอารมณ์ขันอันล้ำลึกของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่รักของประชาชนอเมริกันโดยทั่วไป ในวันที่เสด็จฯ รัฐสภาคองเกรส เพื่อทรงมีพระราชดำรัสต่อสภาผู้แทน จึงทรงได้รับการถวายการปรบมืออย่างกึกก้องและยาวนานหลายครั้ง

    ที่มาของบทความจาก สำนักข่าวเจ้าพระยา
     
  16. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]



    หลวงปู่แหวนให้แผ่เมตตาให้ในหลวงก่อน

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่ ท่านเคยเล่าเรื่องการแผ่เมตตาของท่านให้ฟังว่า ในทุกๆวันท่านจะแผ่เมตตาให้กับในหลวงเป็นการเฉพาะเจาะจงก่อน ที่จะแผ่ให้กับสรรพสัตว์ทั้งปวงอันหาประมาณมิได้ เนื่องจากเป็นคำสั่งของหลวงปู่แหวน แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง ผู้เป็นครูอาจารย์ ซึ่งท่านได้ปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะในหลวงคือดวงใจของไทยทั้งชาติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2014
  17. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    คำของสมเด็จแม่ ที่ทรงสอนทูลกระหม่อม...

    "การทำมาหากิน เรื่องนี้เป็นของดี แต่ก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเช่นกัน ระหว่างปิดภาคเรียน ข้าพเจ้าคิดจะหางานทำ ก็เลยร่วมกับพรรคพวกกวนทอฟฟี่ขาย (มีป้าจันเป็นวิทยากร) ทำเสร็จก็เอาไปขายพวกนางสนองพระโอษฐ์ นางพระกำนัลสมเด็จแม่นั่นเอง ครูป้อมรับประทานแล้วเห็นว่าอร่อย เลยไปชวนสมเด็จแม่เสวยบ้าง

    จริงๆแล้วท่านก็ว่าอร่อย แต่ก็ต้องไต่สวนถึงที่มา ปรากฏว่า"เจ้าของกิจการทอฟฟี่"เลยถูก"รัฐบาล" ตักเตือนว่า จะค้าขายอะไรก็ต้องระวัง การเอาความเป็นเจ้าฟ้าไปเที่ยวบังคับใครๆ ให้ซื้อของตัว แล้วเอาเงินเข้ากระเป๋า (ไม่ใช่เป็นการกุศล) นั้น เป็นสิ่งห้ามขาด (ข้อนี้ครูป้อมพยายามแก้ว่าขนมนี้อร่อยจริงๆ และถ้ามีเด็กที่รู้จักขยันขันแข็งในการงานนำมาขาย ไม่ว่าเป็นใคร ครูป้อมก็จะอุดหนุน)

    ข้อสังเกตที่สอง คือการลงทุนแบบนี้ไม่ใช่เป็นการลงทุนที่ถูกต้อง เพราะข้าพเจ้าใช้ของหลวงมาทำโดยไม่ได้หักต้นทุน เช่น น้ำตาล นม ฯลฯ แม้แต่ถ่าน (สมัยนั้นใช้เตาถ่าน) ก็เบิกจากห้องเครื่องทั้งนั้น เป็นอันว่าทำอะไรในวังก็ไม่พ้นน้ำประปา ไฟฟ้าของทางราชการ
    ข้อสังเกตพวกนี้ท่านสอนมายี่สิบกว่าปีแล้ว ยังเป็นเรื่องที่สมควรนำมาพิจารณาจนทุกวันนี้"

    จาก'สมเด็จแม่กับการศึกษา' พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    ขอบคุณที่มาจาก https://www.facebook.com/mineroyalty
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2014
  18. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    “...จิตใจที่สะอาดปลอดโปร่งจากสิ่งรบกวนนี้สำคัญมากพราะเป็นจิตใจสงบระงับและเยือกเย็น ทำให้บุคคลมีสติรู้ตัว มีความคิดเที่ยงตรงเป็นกลาง มีวิจารณญาณละเอียดกว้างขวาง และถูกต้องตรงจุด

    ..ความคิดวิจารณญาณที่เกิดจากจิตใจที่สงบนี้มีศักยภาพสูง อาจนำไปใช้คิดอ่านสร้างสรรค์สิ่งที่จะอำนวยประโยชน์สุข ความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนชื่อเสียงเกียรติคุณ อันเป็นสิ่งที่ปรารถนาของแต่ละคนให้สัมฤทธิ์ผลได้...”

    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๕

    ขอบคุณที่มาจาก https://www.facebook.com/mineroyalty
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    คำพ่อสอน...'ปรึกษา กับ เถียง'

    "...การได้ทำความเจริญหรือความสุขแก่ประเทศชาติและประชาชนนั้น มิได้เป็นงานของผู้หนึ่งผู้ใดที่จะปฏิบัติได้ ต้องร่วมมือกัน ผู้ใดมีความรู้ทางใดก็ควรจะใช้ความรู้ความสามารถนั้นเพื่อสร้างความมั่นคง ถ้ามีหลายคนที่มีความรู้อย่างเดียวกัน ก็ต้องร่วมมือกัน บางคนมีความรู้เหมือนกันแต่ความเห็นต่างกัน ดังนี้ก็จะต้องปรึกษากันมากกว่าที่จะเถียงกัน

    คำว่า 'ปรึกษา' กับคำว่า 'เถียง' นี่ต่างกัน คำว่าเถียงใช้แต่อารมณ์ คำว่าปรึกษาใช้ปัญญา ถ้าสามารถที่จะใช้ปัญญาปรึกษากัน จะได้คำตอบ เพราะว่าความจริงนั้นมีอันเดียว ความเท็จมีหลาย หรือทางที่ผิดมีมากมาย แต่ความจริงทางที่ดี ส่วนมาก เป็นทางเดียวที่จะสามารถนำพาสู่ความสำเร็จ..."

    พระราชดำรัสพระราชทาน ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
    ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต
    เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

    ขอบคุณที่มาจาก https://www.facebook.com/mineroyalty
     
  20. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG][​IMG]

    'ลูกท้อ'ต้านฝิ่น

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถพระที่นั่งไปบ้านแม้ว ดอยปุย ใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ และได้ทอดพระเนตร'ต้นท้อ'(Peach) ที่แม้วเอากิ่งพันธุ์ดีมาต่อกับพันธุ์พื้นเมืองตามโครงการแต่ปีก่อน และมีรับสั่งถามเจ้าของว่า ปลูกฝิ่นได้เงินเท่าไหร่ และเก็บท้อพื้นเมือง(ลูกเล็ก) ขายได้กี่บาท ก็ทรงทราบว่าฝิ่นกับท้อพื้นเมืองทำรายได้ให้เกษตรกรเท่าๆ กัน...

    "ถ้าท้อลูกนิดๆ ยังทำเงินให้เกษตรกรได้ดีเท่ากับฝิ่นแล้ว เราก็ควรเปลี่ยนยอด
    ให้ออกลูกมาเป็นท้อใหญ่ๆ หวานฉ่ำ สีชมพูเรื่อดังแก้มสาวในนิยายจีน


    เมื่อรายได้จากท้อและผลไม้อื่นสูงกว่าฝิ่นแล้ว ฝิ่นก็จะสาบสูญไปเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้กำลังผลักดันแต่อย่างใด.."


    คัดบางส่วนจาก 'พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง' โดย หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

    ขอบคุณที่มาจาก https://www.facebook.com/mineroyalty
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 57 - 1.jpg
      57 - 1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.6 KB
      เปิดดู:
      1,814
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...