พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 17 ตุลาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> นวกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๙ ข้อ </center>
    <center>ปัณณาสกะ หมวด ๕๐ </center>
    ( หมวด ๕๐ นี้ มี ๕ วรรคเช่นเคย วรรคที่ ๑ ชื่อสัมโพธวรรค ว่าด้วยการตรัสรู้. วรรคที่ ๒ ชื่อ สีหนาทวรรค ว่าด้วยการบรรลืออย่างราชสีห์. วรรคที่ ๓ ชื่อสัตตาวาสวรรค ว่าด้วยที่อยู่แห่งสัตว์. วรรคที่ ๔ ชื่อมหาวรรค ว่าด้วยเรื่องใหญ่. วรรคที่ ๕ ชื่อปัญจาลวรรค ว่าด้วยปัญจาลจัณฑเทพบุตร ).
    ๑. ตรัสสอนให้ตอบนักบวชศาสนาอื่น ถึงธรรมอันเป็นที่อาศัยของรรมที่เป็นฝ่ายให้ตรัสรู้ มีดังต่อไปนี้
    คบเพื่อนที่ดี, มีศีล, ถ้อยคำที่ขัดเกลากิเลส, ปรารภความเพียร, มีปัญญา. เมื่อตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่าง เหล่านี้แล้ว ควรเจริญธรรม ๔ อย่าง ให้ยิ่งขึ้น คืออสุภะ ( การพิจารณาว่าไม่งาม ), เมตตา, ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง, ไม่ใช่ตัวตน.
    ตรัสว่า ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ด้วยเหตุ คืออาศัยศรัทธา, อาศัยหิริ, อาศัย โอตตัปปะ, อาศัยปัญญา แล้วละอกุศล เจริญกุศล, แล้วควรอยู่อย่างมีอุปนิสสัย ๔ อย่าง คือพิจารณาแล้วเสพ, อดทน, เว้น, บันเทา.
    พระเมฆิยะขอลาพระผู้มีพระภาคไปบำเพ็ญเพียร ตรัส ขอให้รอก่อน เธอกราบ ทูลถึง ๓ ครั้ง ก็ตรัสอนุญาต แต่เมื่อไปบำเพ็ญเพียร ก็ถูกอกุศลวิตกครอบงำ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนเรื่องธรรมอันเป็นที่อาศัยของธรรม ที่เป็นฝ่ายให้ตรัสรู้.
    พระนันทกะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย พระ ผู้มีพระภาคเสด็จไปยืนคอยนอก ซุ้มประตู จนแสดงธรรมจบ จึงเสด็จเข้าไปข้างใน. พระนันทกะกราบทูลว่า ไม่ทราบว่าเสด็จมาจึงแสดงธรรมถึงเท่านี้ ( มากไป ). ตรัสตอบ ว่า เธอทำถูกแล้ว บรรพชิตที่ประชุมกันนั้น ควรทำการ ๒ อย่าง คือกล่าวธรรมิกถา หรือนิ่งแบบอริยะ ( นิ่งอย่างรู้เท่า ) แล้วได้ตรัสแสดง ธรรมว่า การมีศรัทธา, มีศีล, ได้เจโตสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นแห่งจิต ) ภายใน, ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง. ถ้ามีครบก็สมบูรณ์ ถ้ามีไม่ครบก็ขาดไป เปรียบเหมือนสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า ถ้าขาดไปเท้าหนึ่งก็ไม่สมบูรณ์.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้ว พระ นันทกะจึงแสดงอานิสงส์ ๕ ในการฟัง ธรรมะ, สนทนาธรรมตามกาล คือ ๑. เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของศาสดา, ๒. รู้อรรถรู้ธรรม. ๓. แทงทะลุบทแห่งเนื้อความอันลึกซึ้งในธรรม นั้นด้วยปัญญา. ๔. เพื่อนพรหมจารีสรรเสริญ. ๕. เมื่อแสดงธรรม ภิกษุที่ยังเป็นเสขะย่อมพยายามเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ภิกษุผู้เป็นพระ อรหันต์ ฟังธรรมชื่อว่าอยู่อย่างประกอบธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.
    ตรัสว่า กำลัง ๔ คือปัญญา, ความเพียร, ความไม่มีโทษ, การสงเคราะห์.
    เมื่ออริยสาวกประกอบด้วยกำลัง ๔ นี้แล้ว ย่อมก้าวล่วงความกลัว ๕ ประการ คือความกลัวในการดำเนินชีวิต, ความกลัวถูกติ, ความกลัวประหม่าในที่ประชุม, ความกลัวตาย, ความกลัวทุคคติ.
    พระสาริบุตรสอนภิกษุทั้งหลาย ถึงเรื่องบุคคล, ปัจจัย ๔, คามนิคม, ชนบทว่า ควรทราบโดย ๒ อย่าง คือควรเสพ และไม่ควรเสพ กำหนดด้วยเมื่อเสพเข้า อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ก็ไม่ควรเสพ ถ้าอกุศลธรรม เสื่อม กุศลธรรมเจริญ ก็ควรเสพ.
    ตรัสว่า พระอรหันต์ย่อมไม่ทำการ ( ที่ไม่ดี ) ๙ อย่าง ( ย่อไว้แล้วหน้าในเล่มที่ ๕ หน้า ๔ หมายเลขที่ ๒๖.สันทกสูตร หมายเลข ๕ มี ๕ ข้อ ) คือจงใจฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, เสพเมถุน, พูดปด ทั้ง ๆ รู้, สั่งสมบริโภคเหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์, ลุแก่อคติ ๔ คือลำเอียงเพราะรัก, เพราะชัง, เพราะหลง, เพราะกลัว.
    ตรัสแสดงนัยอื่นอีก คือพระอรหันต์ย่อมไม่ทำการ ๙ อย่าง ( ๑ ถึง ๕ ซ้ำกัน ) ๖. บอกคืนพระพุทธ ๗. บอกคืนพระธรรม ๘. บอกคืนพระสงฆ์ ๙. บอกคืนสิกขา.
    ตรัสแสดงบุคคล ๙ ประเภท คือพระอริยบุคคล<sup></sup> ๘ กับบุถุชน. ตรัสว่า บุคคล ๙ ประเภท เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม คือพระอริยบุคคล ๘ กับโคตรภู ( อยู่ระหว่างบุถุชนกับพระอริยเจ้า ).
    ๒. พระสาริบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งกล่าวหา
    ว่า เดินกระทบแล้วไม่ขอโทษ ท่านกราบทูลพระศาสดาในที่ประชุมสงฆ์ อุปมาตนเอง ๙ ข้อ คือรู้สึกตนเองเหมือนดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ซึ่งถูก ของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทิ้งใส่ แต่ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ, เหมือนผ้าเช็ดธุลีที่เช็ดของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ, เหมือนเด็กจัณฑาล ซึ่งเจียมตัวอยู่เสมอ เวลาเข้าไปสู่ที่ต่าง ๆ, เหมือนโคที่ถูกตัดเขา ฝึกหัดดีแล้ว ไม่ทำร้ายใคร ๆ, เบื่อหน่ายต่อกายนี้ เหมือน ชายหนุ่มหญิงสาวที่คล้องซากงูไว้ที่คอ, บริหารกายนี้ เหมือนคนแบกหม้อน้ำมันรั่วทะลุ มีน้ำมันไหลออกอยู่. ภิกษุผู้กล่าวหาก็กล่าวขอขมา รับผิด.
    ตรัสแสดงธรรมแก่พระสาริบุตร ว่า บุคคล ๙ ประเภท ชื่อว่ายังมีเชื้อเหลือ ( สอุปาทิเสสา มีเชื้อคือกิเลสเหลือ ) คือพระอนาคามี ๕, พระสกทาคามี ๑, พระโสดาบัน ๓ ( รวมเป็น ๙ ).<sup></sup>
    พระมหาโกฏฐิตะ ถามพระสา ริบุตรว่า คนประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกรรมอย่างนั้น อย่างนี้หรือ ท่านตอบว่า เปล่า และตอบว่า ประพฤติเพื่อรู้, เห็น, บรรลุ, ทำให้แจ้ง, ตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ที่ยังมิได้รู้เห็น ยังมิได้ตรัสรู้.
    พระสาริบุตรตอบพระสมิทธิ ว่า ความตรึกซึ่งเกิดจากความดำริ มีนามรูปเป็น อารมณ์, ต่างกันในธาตุทั้งหลาย, มีผัสสะเป็นเหตุเกิด, มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง, มีสมาธิเป็นประมุข, มีสติเป็นใหญ่ มีบุญเป็นส่วนยอดเยี่ยม, มีความหลุดพ้นเป็นแก่นสาร, มีอมตะเป็นที่หยั่งลง.
    ตรัสว่า คำว่าฝี เป็นชื่อของกายนี้ ซึ่งมีปากแผล ๙ ( ทวาร ๙ ) มีของไม่สะอาด, สิ่งมีกลิ่นเหม็น, สิ่งที่น่ารังเกียจไหลออก. ฉะนั้น จึงควรเบื่อหน่ายในกายนี้
    ตรัสแสดงสัญญา ๙ ประการ ซึ่งมีผลอานิสงส์มาก มีอมตะเป็นที่สุด คือความ กำหนดหมายว่าไม่งาม, ความกำหนดหมายความตาย, ความกำหนดหมายว่าน่าเกลียดในอาหาร, ว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง, ว่าไม่เที่ยง, ว่า เป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง, ว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่เป็นทุกข์, ความกำหนดหมายในการละ, ในการคลายความกำหนัด.
    ตรัสแสดงสกุลประกอบด้วยองค์ ๙ ที่ไม่ควรเข้าไป เข้าไปแล้วก็ไม่ควรนั่ง ( ข้อ ๑ ถึง ๗ ดังที่ย่อไว้แล้วเล่มที่ ๑๕ หน้า ๑ หมวด ๗ ) หมายเลขที่ ๒. เติมเพียงข้อที่ ๘. ไม่เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ๙. ไม่ยินดี ภาษิตของภิกษุนั้น. ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม.
    ตรัสแสดงอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ว่า มีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ พิจารณาองค์ ๘ ว่า ได้ทำตามอย่างพระอรหันต์ กับข้อ ๙ พิจารณาว่า ตนได้แผ่เมตตาจิตไปยังทิศต่าง ๆ.
    ตรัสเล่าเรื่องที่เทวดาปฏิบัติไม่ชอบในบรรพชิตในชาติที่ตนเป็นมนุษย์ จึงเข้าถึงกายอันต่ำที่ปฏิบัติชอบเข้าถึงกายอันประณีต.
    ตรัสแสดงธรรม แก่อนาถ ปิณฑิกคฤหบดีเรื่องการถวายทานให้เห็นว่า เวลามพราหมณ์เคยให้ทานอย่างมโฬาร แต่การให้ผู้ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ( พระโสดาบัน ) เพียงผู้เดียว หรือร้อยท่านบริโภคอาหาร หรือการให้ พระสกทาคามี, พระอนาคามี, พระอรหันต์, พระปัจเจกพุทธเจ้า, ท่านเดียวหรือร้อยท่านบริโภคอาหาร, การให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค อาหาร, การให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภคอาหาร, การสร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ๔ ทิศ, การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ, การมีจิตใจ เลื่อมใสสมาทานสิกขาบท ( ศีล ๕ ), การเจริญเมตตาเพียงชั่วเวลาเล็กน้อย ก็ยังมีผลมากกว่านั้น, การเจริญอานิจจสัญญา ( ความกำหนดหมาย ว่าไม่เที่ยง ) เพียงชั่วเวลาดีดนิ้ว ก็ยังมีผลมากกว่านั้น. ( หมายเหตุ : พึงสังเกตว่า การแสดงผลของความดีสูงกว่านั้นเป็นชั้น ๆ นั้นไป สรูปลงที่เห็นว่าไม่เที่ยงเป็นสูงสุด เพราะเป็นเครื่องทำให้เกิดความเห็นแจ้ง ).
    ๓. ตรัสถึงมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป, เทพชั้นดาวดึงส์, มนุษย์ชาวชมพูทวีป
    ที่มีทางดีเด่นกว่ากันและกัน ฝ่ายละ ๓ ข้อ คือมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเป็นผู้ไม่มีความยึดถือว่าของเรา, ไม่มีความหวงแหน, มีอายุแน่นอน ; เทพชั้นดาวดึงส์มีอายุ, วรรณะ, สุข, อันเป็นทิพย์ ; มนุษย์ชาวชมพูทวีปมีความแกล้วกล้า, มีสติ, ประพฤติพรหมจรรย์อันยิ่ง.
    ตรัสถึงม้าเลว, ม้าดี, ม้าอาชาไนย ซึ่งมีอย่างละ ๓ ชนิด ( รวมเป็น ๙ ) เทียบ กับบุคคล ๓ ประเภทที่มีคุณสมบัติประเภทละ ๓ ชนิด ( รวมเป็น ๙ เช่นกัน ) อย่างที่ตรัสไว้แล้ว ( ดูรายละเอียดหน้าในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ หน้า ๕) ในข้อ ๔. ทรงแสดงนักรบที่ประกอบด้วยองค์ ๓
    ตรัสแสดงธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง คือเริ่มแรกอาศัยตัณหาแล้วเกิดการ แสวงหา, อาศัยการแสวงหาเกิดการได้ โดยนัยนี้มีการอาศัยกันเป็นทอด ๆ เกิดการวินิจฉัย, ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ, การหยั่ง ลง ( ปลงใจยึดถือ ), ความหวงแหน, ความตระหนี่, การถือท่อนไม้ ศัสตรา, การทะเลาะวิวาท การส่อเสียด การพูดปด และอกุศลบาปธรรม เป็นอเนก อันมีการอารักขาเป็นเหตุ.
    ตรัสแสดงสัตตาวาส ( ที่อยู่ของสัตว์ ) ๙ อย่าง คือ ๑. สัตว์บางพวกมีกายต่าง กัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์, เทพบางพวก, เปรตบางพวก. ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งที่มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เทพพวกพรหม ผู้เกิดด้วยปฐมฌาน. ๓. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่เทพพวกอาภัสสรพรหม. ๔. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียว กัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่เทพพวกสุภกิณหพรหม. ๕. สัตว์เหล่าหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือไม่มีเวทนา ได้แก่เทพพวก อสัญญีสัตว์. ๖. สัตว์เหล่าหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ. ๗. สัตว์เหล่าหนึ่งเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ. ๘. สัตว์เหล่าหนึ่งเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ. ๙. สัตว์เหล่าหนึ่งเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ.<sup></sup>
    ตรัสว่า ภิกษุผู้มีจิตอันปัญญาอบรมดีแล้ว ควร แก่คำว่า สิ้นชาติ, อยู่จบ พรหมจรรย์, ทำหน้าที่เสร็จแล้ว, ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก คือมีจิตอันปัญญาอบรมดีแล้ว จนทราบได้ว่า จิตปราศจากราคะ, โทสะ, โมหะ จิตไม่มีธรรมที่ประกอบด้วยราคะ, โทสะ, โมหะ จิตมีธรรมดาที่จะไม่กลับไปสู่ความกำหนัดในกาม, ในรูป, ในอรูป.
    พระสาริบุตรอธิบายเรื่องภิกษุผู้มีจิตอันจิตอบรมดีแล้ว แก่พระจันทิกาบุตร ในทำนองคล้ายคลึงกับข้างต้น.
    พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอนาถปิณฑิกคฤหบดี และสอนภิกษุทั้งหลาย ว่า อริยสาวกสงบเวร ๕ ( มีฆ่าสัตว์ เป็นต้น ) ได้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ.<sup></sup> (องค์แห่ง โสดาปัตติผล ) ๔ ประการ เมื่อปรารถนาก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ด้วยตนว่าเป็นผู้สิ้นนรก, สิ้นกำเนิดดิรัจฉาน, สิ้นภูมิแห่งเปรต,สิ้นอบาย ทุคคติ วินิบาต, เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้ต่อไป.
    ตรัสแสดงที่ตั้งแห่งความอาฆาต และเครื่องนำออกซึ่งความอาฆาตอย่างละ ๙ อย่าง ( ดูที่แปลไว้แล้วหน้าข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ) ข้อ ๗๔. ถึงข้อ ๗๕. และตัดข้อที่ ๑๐ ออกทั้งสองอย่าง.
    ตรัสแสดงความดับโดยลำดับ ( อนุบุพพนิโรธ ) ๙ อย่าง คือ ภิกษุผู้เข้า ปฐมฌาน ความกำหนดหมายในอามิสดับ ( นอกจากนั้นเหมือนข้อ ๒ ถึงข้อ ๙ ของเรื่องอนุบุพพสังขารนิโรธที่แปลไว้แล้ว หน้าข้อความ น่ารู้จากพระไตรปิฎก ) หมายเลข ๒๐๐. และพึงสังเกตว่า ในหน้าเดิมหมายเลข ๑๙๙ แสดงว่า ผู้เข้าปฐมฌานวาจาดับ .
    ๔. ตรัสแสดงอนุบุพพวิหาร ( ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ ) ๙ อย่าง
    คือฌานที่ ๑. ถึงฌานที่ ๔ ( อันเป็นรูปฌาน ), อากาสานัญจายตนะ จนถึงเนวสัญญนาสัญญายตนะ ( อันเป็นอรูปฌาน ๔ ) และ สัญญเวทยิตนิโรธ ( ดูคำอธิบายที่เป็นพระพุทธสุภาษิต หน้าข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ) หมายเลข ๒๑๓.
    พระอุทายีถามพระสาริบุตรว่า ที่ว่าพระนิพพานเป็นสุข แต่ในพระนิพพานไม่มีเวทนา ความรู้สึกอารมณ์ จะสุขอย่างไร พระ สาริบุตรตอบแสดงความสุขเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่สุขในกามคุณ ๕, สุขในรูปฌาน, สุขในอรูปฌาน, สุขในสัญญาเวทยิตนิโรธ ( สมาบัติอันดับสัญญาและเวทนา ). ความสุขในชั้นที่ต่ำกว่าย่อมเป็นเครื่องเบียดเบียน ( อาพาธ ), ย่อมเป็นทุกข์.<sup></sup>
    ตรัสว่า ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ย่อม ไม่สามารถเข้ารูปฌาน, อรูปฌานและสัญญาเวทยิต-นิโรธได้ ส่วนภิกษุผู้ฉลาดย่อมเข้าได้ เปรียบเหมือนแม่โคที่ไม่ฉลาด เที่ยวไปบนเขาที่ไม่สม่ำเสมอไม่ได้ แต่ที่ฉลาดเที่ยวไปได้ และตรัสใน ที่สุดว่า ภิกษุผู้เข้าออกสมาบัติข้างต้นได้ อบรมสมาธิอันไม่มีประมาณดีแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งอภิญญา ๖ มีแสดงฤทธิ์ได้ เป็นต้น.
    ตรัสว่าความสิ้นไปแห่งอาสวะย่อมมีได้ เพราะ อาศัยรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ ( เว้นข้อ ๔ ) แต่ละข้อโดยตรัสอธิบายว่า เมื่อเข้าฌานแต่ละข้อแล้ว พิจารณาขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จนถึงมิใช่ตัวตน แล้วน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ ก็จะสิ้นอาสวะได้ หรือถ้าไม่สิ้นอาสวะก็จะได้เป็นพระอนาคามี. ตรัสสรูปในที่สุดว่า สัญญาสมาบัติ ( การเข้า ฌานที่มีความกำหนดหมายเป็นอารมณ์ ) มีเท่าใด การตรัสรู้อรหัตตผล ( อัญญาปฏิเวธ ) ย่อมมีเท่านั้น. ส่วนอายตนะ ๒ คือเนวสัญญานาสัญ- ญายตนสมาบัติ ( อรูปฌานที่ ๔ ) กับสัญญาเวทยิตนิโรธ ( อนุบุพพวิหารข้อที่ ๙ ) นั้น พระองค์ตรัสว่า ภิกษุเข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ในการออกจากสมาบัติ อาศัยแล้ว เข้าออก ( จากสมาบัติ ) พึงกล่าวถึงโดยชอบ<sup></sup>
    ( หมายเหตุ : นวสัญญานาสัญญายตนะ กับสัญญาเวทยิตนิโรธ เรียกว่าอายตนะ ๒ ในที่นี้. ส่วนในที่อื่น เช่น ในมหานิทาน สูตร ที่ย่อไว้หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) ๒. มหานิทานสูตรอายตนะ ๒ หน้าเดียวกัน. ตรัสแสดงถึงอสัญญีสัตว์ กับเนวสัญญานาสัญญายตนะ แต่ก็พึงทราบว่า ในสูตรนั้นแสดงถึงแหล่งเกิด ส่วนในที่นี้แสดงการเข้าสมาบัติ ที่บันทึกไว้ในที่นี้เพื่อให้เทียบ เคียงประดับความรู้ ).
    พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย แสดง ความน่าอัศจรรย์ที่พระผู้มีพระภาค ทรงบรรลุโอกาส ( หาช่องว่างได้ ) ในที่คับแคบ ( แออัดด้วยกามคุณ ) คือมีตา มีรูป ตลอดจนถึงมีกาย มีสิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย แต่ก็ไม่ทรง รับรู้รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะนั้น. พระอุทายีถามว่า มีสัญญาหรือไม่ ตอบว่า มี. ถามว่า มีสัญญาอะไร จึงไม่รับรู้รูป เป็นต้นนั้น. ตอบเป็นใจความว่า มีสัญญาในอากาศ, ในวิญญาณ, ในความไม่มีอะไร ( เข้าอรูปฌานที่ ๑ ถึง ๓ ) ก็ไม่ต้องรับรู้รูป เสียง เป็นต้นได้. ( ข้อ ความในพระสูตรนี้ น่าพิจารณามาก พระอานนท์สรรเสริญพระพุทธเจ้าว่าในที่แออัดด้วยกามคุณ ๕ แต่พระพุทธเจ้าก็หาช่องว่างได้ โดยไม่ ต้องรับรู้กามคุณ ๕ คือมีให้รู้ให้เห็น แต่ก็ไม่รู้ไม่เห็น โดยวิธีเข้าอรูปฌานที่ ๑ ถึง ๓ ก็เป็นอันตัดความสนใจในอารมณ์ที่เป็นรูปทั้งหมดได้ ).
    ตรัสแสดงธรรมแก่พราหมณ์ผู้ถือลัทธิโลกายตนะ ๒ คน ผู้ ถามพระองค์ถึง เจ้าลัทธิชื่อปูรณะ กัสสปะ กับนิครนถนาฏบุตร โดยตรัสปฏิเสธที่จะวิจารว่าใครดีกว่ากัน แต่ได้ตรัสธรรมะว่า บุรุษ ๔ คน มีฝีเท้าเร็วอย่าง ยอดเยี่ยม ออกเดินทางหาที่สุดโลกโดยไม่หยุดเลย แม้มีอายุ ๑๐๐ ปี ก็จะตายก่อนไม่ถึงที่สุดโลก ที่สุดทุกข์. แล้วตรัสแสดงกามคุณ ๕ มีรูป เป็นต้น ที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ แล้วตรัสถึงภิกษุผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ สิ้นอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ) ตรัสชี้ว่า ภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าข้ามที่สุดโลก ข้ามตัณหาเสียได้.
    ตรัสแสดงธรรมเรื่องสงครามระหว่างเทพกับอสูร เทพ แพ้ ๓ ครั้ง แล้วก็กลับ ชนะ โดยฝ่ายอสูรแพ้ถึง ๓ ครั้ง ตรัสเปรียบเทียบกับการที่ภิกษุเข้ารูปฌาน ๔ แต่ละข้อ ก็ทำให้มารเห็นได้ว่ามีเครื่องต่อต้านความกลัว ซึ่งตน จะทำอะไรไม่ได้ แต่เมื่อเข้าอรูปฌาน ๔ แต่ละข้อ ก็ชื่อว่าทำมารให้ถึงที่สุด มารก็จะไม่แลเห็น เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ชื่อว่าทำมารให้ถึง ที่สุด มารก็จะไม่แลเห็น และชื่อว่าข้ามพ้นตัณหาได้ในโลก
    ตรัสถึงภิกษุผู้หลีกออกจากหมู่ บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุรูปฌาน, อรูปฌาน, และสัญญาเวทยิตนิโรธ เหมือนพญาช้างใหญ่ในป่าปลีกตัวจากหมู่ อยู่ตามลำพังฉะนั้น.
    เมื่อประทับอยู่ในนิคมของแคว้นมัลละชื่ออุรุเวลกัสสปะ ได้ เสด็จไปพักกลาง วัน ณ ป่าใหญ่ตปุสสะ คฤหบดี เข้าไปหาพระอานนท์ กล่าวว่า เนกขัมมะ ( คือออกจากกามหรือออกบวช ) เปรียบเหมือนเหวสำหรับตนผู้ เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม แต่ก็มีภิกษุหนุ่มผู้มีจิตยินดีในเนกขัมมะ จึงขอให้แสดงเนกขัมมะให้ฟัง. พระอานนท์จึงพาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงตรัสเล่าถึงพระดำริ และการกระทำของพระองค์ ตั้งแต่ยังมิได้ตรัสรู้ ที่ทรงยกจิตให้สูงขึ้นเป็นชั้น ๆ จากกาม ขึ้นสู่เนกขัมมะ และรูปฌาน ๔, อรูปฌาน ๔ กับสัญญาเวทยิตนิโรธเป็นที่สุด ครั้งแรกก็ยังไม่เห็นโทษในสิ่งที่ต่ำกว่า ต่อเมื่ออบรมจิตให้มาก จนจิตได้ตั้งอยู่ ในธรรมที่สูงขึ้นแล้ว จึงเห็นสิ่งที่ต่ำกว่า เป็นสิ่งเบียดเบียน ( อาพาธ ) เป็นทุกข์. แล้วตรัสในที่สุดว่า ตราบใดยังทรงเข้าออกอนุบุพพนิโรธ- สมาบัติ ( สมาบัติที่มีการดับสิ่งต่าง ๆ ไปโดยลำดับ ) ๙ ประการ ทั้งโดยอนุโลมคือตามลำดับ ทั้งโดยปฏิโลมคือย้อนลำดับไม่ได้แล้ว ตราบนั้น ก็ไม่ทรงปฏิญญาพระองค์ว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม.
    ๕. พระอานนท์แสดงธรรมแก่พระอุทายี
    ผู้ถามถึงเรื่องที่บุคคลจะบรรลุ โอกาสในที่คับแคบ โดยอธิบายถึงการที่ภิกษุเข้าฌาน ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ( รวม ๙ ข้อ ) แล้วชี้ว่า คำว่า ที่คับแคบ หมายถึงกามคุณ ๕ เลื่อนขึ้นไปจากฌานที่ ๑ ถึงอรูปฌานที่ ๔ ( รวม ๘ ข้อ ) เป็นที่คับแคบของ ฌานที่สูงขึ้นไป แต่เมื่อถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ สิ้นอาสวะ จึงชื่อว่าบรรลุโอกาสในที่คับแคบ ( แหวกช่องว่างในที่แคบ ) อย่างแท้จริง ( ๘ ข้อ ต้นเป็นการแหวกช่องว่างได้โดยปริยาย คือเพียงโดยอ้อม ข้อที่ ๙ เป็นการแหวกช่องว่างได้โดยนิปปริยาย คือโดยตรง )
    พระอานนท์ตอบคำถามของพระอุทายี เรื่อง พระอริยบุคคลประเภทกายสักขี, ปัญญาวิมุต, อุภโตภาควิมุต, ( รวม ๓ ประเภท ) ว่า ได้แก่ผู้บรรลุอนุบุพพวิหารสมาบัติทั้งเก้า เป็นแต่ว่าบรรลุ ๘ ข้อแรก เป็นโดยปริยาย ( โดยอ้อม ) แต่บรรลุข้อหลัง ( สัญญาเวทยิตนิโรธ ) สิ้นอาสวะ ชื่อว่าเป็นกายสักขี เป็นต้นโดยตรง ( นิปปริยาย ).
    พระอุทายีถามถึงความหมายของคำว่า สันนทิฏฐิกรรม ( ธรรมที่เห็นได้เอง ), สันทิฏฐิกนิพพาน ( นิพพานที่เห็นได้เอง ), นิพพาน ( ความดับ ), ปรินิพพาน ( ความดับสนิท ), ตทังคนิพพาน ( ความดับด้วยองค์นั้น ), ทิฏฐธัมมนิพพาน ( นิพพานในปัจจุบัน ). พระอานนท์ตอบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การที่ภิกษุเข้ารูป ฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ เป็นธรรมะ เป็นนิพพานที่ถามนั้นโดยปริยาย แต่เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สิ้นอาสวะ เป็นธรรมะ เป็นนิพพานชนิด ต่าง ๆ นั้น โดยนิปปริยาย ( โดยตรง ).

    <center>วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐</center>
    ๑. พระอานนท์ตอบพระอุทายี
    ถึงคำว่า เขมะ ( ความเกษม คือความปลอดโปร่งจากกิเลส ). ผู้บรรลุความเกษม, อมตะ ( ความไม่ตาย ), ผู้บรรลุ อมตะ, ภัย ( ความไม่กลัว ), ผู้บรรลุอภัย, ปัสสัทธิ ( ความระงับ ), อนุบุพพปัสสัทธิ ( ความระงับโดยลำดับ ), นิโรธ ( ความดับ ), อนุบุพพนิโรธ ( ความดับโดยลำดับ ) โดยปริยายถึงการที่ภิกษุเข้ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ ว่าเป็นโดยอ้อม และเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธว่าเป็นโดยตรง.
    ตรัสว่าบุคคลละธรรม ๙ อย่างไม่ได้ ไม่ทำให้แจ้ง ( บรรลุ ) อรหัตตผล คือราคะ, โทสะ, โมหะ, โกธะ ( โกรธ ), อุปนาหะ ( ผูกโกรธ ), มักขะ ( ลบหลู่บุญคุณท่าน ), ปลาสะ ( ตีเสมอ ), อิสสา ( ริษยา ), มัจฉริยะ ( ตระหนี่ ). ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม.

    ๒. ตรัสแสดงการล่วงละเมิดศีล ๕ ข้อ
    ( ฆ่าสัตว์ถึงดื่มน้ำเมา ) ว่า เป็นความทุรพลแห่งสิกขาควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ ( ดูหน้าในพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) ใน ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อละความทุรพลแห่งสิกขา. ตรัสแสดงนิวรณ์ นีวรณ์ ๕ ( ดูหน้าข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ) หมายเลข ๖๘. อกุศลราศี ( กองแห่งอกุศล ) กามคุณ ๕ ( มีรูป เป็นต้น ), อุปาทานขันธ์ ๕ ( ขันธ์ที่ยึดถือ มีรูป, เวทนา เป็นต้น ), สัญโญชน์ เบื้องต่ำ ๕ ( สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุ ยึดถือกายของตน, ความลังเลสงสัย, การลูบคลำศีลและพรต, ความพอใจในกาม, ความพยาบาท ), คติ ๕ ( ทางไปหรือที่ไป ๕ คือ นรก, กำเนิดดิรัจฉาน, เปรตวิสัย, มนุษย์, เทพ ), มัจฉริยะ ๕ ( ความตระหนี่ ๕ คือตระหนี่ที่อยู่, ตระกูล, ลาภ, คำสรรเสริญ, ธรรมะ ), สัญโญชน์เบื้องสูง ๕ ( ความติดในรูป, ความติดในอรูป, ความถือตัว, ความฟุ้งสร้าน, ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ ), เจโตขีละ ๕ ( ตอของจิต ๕ ), เครื่องผูกมัดจิต ๕ ( เจตโสวินิพันธะ )<sup></sup> แล้วตรัสแสดงว่า ควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละธรรมเหล่านั้น.
    ๓. ตรัสแสดงว่า ควรเจริญความเพียรชอบ ๔
    ( ดูเสด็จป่ามหาวัน หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) เสด็จป่ามหาวันประชุมภิกษุสงฆ์เพื่อละธรรมเหล่านั้น.
    ๔. ตรัสว่า ควรเจริญอิทธิบาท ๔
    ( ดูเสด็จป่ามหาวัน หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) เสด็จป่ามหาวันเพื่อละธรรมเหล่านั้น.
    ๕. ตรัสว่า ควรเจริญสัญญา ( ความกำหนดหมาย ) ๙ ประการ
    เพื่อละอุปกิเลส ๑๖ ( หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ ) ๗. วัตถูปมสูตร มีราคะ เป็นต้น.


    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ </center>
    <center>ชุมนุมธรรมะที่มี ๗-๘-๙ ข้อ</center> <hr> '๑' . พระโสดาบัน, ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล, พระสกทาคามี, ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล, พระอนาคามี, ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล, พระอรหันต์, ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
    '๒' . ดูรายละเอียดหน้าในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ หน้า ๔ ) ใน ทุติยปัณณาสก์ ที่ข้อที่ ๔-๕
    '๓' . โปรดดูเรื่องที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ อย่าง หน้าเล่มที่ ๑๕ หน้า ๑ ) ในข้อ ๔. ตรัสแสดงคารวะ ( ความเคารพ ) ๗ อย่าง เทียบเคียงดูด้วย และในหน้านั้น ได้อ้างอิงข้อความควรรู้ ดูหน้าข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ข้อ ๖ ถึงข้อ ๗ ( และหน้าพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ) ที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ อย่าง
    '๔' . มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ, ในพระธรรม, ในพระสงฆ์, มีศีลที่ดีงามอันพระอริยเจ้าใคร่
    '๕' . โปรดดูพระพุทธภาษิต หน้าข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ) หมายเลข ๒๑๓. เทียบเคียงด้วยจะชัดยิ่งขึ้น
    '๖' . ในที่นี้ควรบันทึกเรื่องต้นฉบับบาลีด้วย คำว่า สัญญาปฏิเวธ เข้าใจว่า ที่ถูกเป็น อัญญาปฏิเวธ ตามที่อรรถกถา นำไปเป็นบทตั้ง คำว่า ฌายิโสเต ก็เข้าใจว่า เป็น ฌายีเหเต ตามที่อรรถกถาตั้งเป็นบทตั้งไว้ ทั้งตรงฉบับยุโรปด้วย ฌายิโสเต จึงน่าจะ คลาดเคลื่อน
    '๗' . ความหมายของชื่อเหล่านี้มีมาแล้วในตอนก่อน ๆ จึงไม่อธิบายไว้มาก เฉพาะ ๒ เรื่องหลัง โปรดดูหน้าพระสุตตันตะเล่มที่ ๔ หน้า ๒ ในข้อ ๑๖. เจโตขีลสูตร ) ที่ เครื่องผูกมัดจิต ๕ การอ้างอิงเช่นนี้ เพื่อให้ได้ทบทวนเรื่องที่ผ่านมาแล้ว
    [/FONT]
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    <center> ทสก-เอกาทสนิบาต </center>
    <center>( ว่าด้วยธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ, ๑๑ ข้อ )</center>

    พระไตรปิฎกเล่มนี้ เล่มที่ ๒๔ นี้ ชื่อว่าเป็นเล่มที่ ๕ หรือเล่มสุดท้ายของอังคุตตรนิกาย คือหมวดแสดง ข้อธรรมเป็นจำนวน โดยแสดงข้อธรรมจำนวน ๑๐ และ ๑๑ โดยลำดับดังต่อไปนี้.


    <center> ทสกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ </center>
    <center>ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑</center>
    (ในหมวดนี้มี ๕ วรรค วรรคละประมาณ ๑๐ สูตร. วรรคแรกชื่ออานิสังสวรรค ว่าด้วยผลดี, วรรคที่ ๒ ชื่ออนาถกรณวรรค ว่าด้วยธรรมะอันทำที่พึ่ง, วรรคที่ ๓ ชื่อมหาวรรค ว่าด้วยเรื่องใหญ่, วรรคที่ ๔ ชื่ออุปาลิวรรค ว่าด้วย พระอุบาลี, วรรคที่ ๕ ชื่ออักโกสวรรค ว่าด้วยการด่า ).
    ๑. ตรัสแสดงอานิสงส์แห่งศีลที่เป็นกุศลแก่พระอานนท์
    ซึ่งเป็นการแสดงอานิสงส์ ที่มีอานิสงส์ต่อ ๆ กันไปเป็นลูกโซ่ ( ๑๐ ประการ คือ ) ๑. ความไม่เดือดร้อน, ๒. ความบันเทิงใจ ( ปราโมทย์ ), ๓. ความปลื้มใจ ( ปิติ ), ๔. ความระงับ ( ปัสสัทธิ ), ๕. ความสุข, ๖. สมาธิ, ๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ ( ความเห็นด้วยญาณ ตามเป็นตริง ), ๘-๙. นิพพิทา, วิราคะ ( ความเบื่อหน่าย, คลายกำหนัด ), ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนะ ( ความเห็นด้วยญาณถึงความหลุดพ้น ), แล้วตรัสว่า ธรรมเหล่านี้ย่อมไหลมา ย่อมทำธรรมะให้เต็ม เพื่อบรรลุธรรมะที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไปสำหรับภิกษุผู้มีศีล ส่วนภิกษุผู้ทุศีลตรงกันข้าม.
    พระสาริบุตรกับพระอานนท์ ต่างแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงโทษของความ เป็นผู้ทุศีลและอานิสงส์ของความเป็นผู้มีศีลฝ่ายละ ๑๐ ข้อ.
    พระสาริบุตรตอบพระอานนท์ ถึง การได้สมาธิที่ไม่มีความกำหนดหมายในสิ่ง ๑๐ อย่างว่า เป็นอย่างที่มันเป็น แต่ก็ยังมีสัญญาอยู่ คือในสมัยที่ท่านอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้กรุงสาวัตถี ได้เข้าสมาธิเช่นนั้น ไม่มีความกำหนดหมาย ว่าธาตุ ๔ เป็นธาตุ ๔, ไม่มีความกำหนดหมายว่าอรูป ๔ เป็นอรูป ๔, ไม่มีความกำหนดหมายในโลกนี้ โลกหน้าว่าเป็นโลกนี้ โลกหน้า ( รวมเป็น ๑๐ ข้อ ) แต่ก็ยังมีสัญญาคือความกำหนดหมายว่า ความดับภพ เป็นนิพพาน ( ภวนิโรโธ นิพฺพานํ ) คือสัญญาอันหนึ่งเกิดขึ้น สัญญาอันหนึ่งย่อมดับไป.
    ตรัสว่า ถ้าภิกษุขาดองคคุณ ข้อ ใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ก็ควรจะทำให้สมบูรณ์ คือความเป็นผู้มีศรัทธา, มีศีล, สดับฟังมาก, เป็นธรรมกถึก ( ผู้แสดงธรรม ), ก้าวลงสู่บริษัท, เป็นผู้กล้าหาญแสดงธรรมแก่บริษัท, เป็นผู้ทรง วินัย, เป็นผู้อยู่ป่า อยู่เสนาสนะอันสงัด, เป็นผู้ได้ฌาน ๔ ตามต้องการ, ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน. ถ้าประกอบด้วย ธรรม ๑๐ อย่างนี้ ก็เป็นผู้น่าเลื่อมใสในทุกทาง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.<sup></sup> แล้วได้ ตรัสแสดงองคคุณอื่นเป็นการยักย้ายนัย.
    ๒. ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เสพเสนาสนะ ( ที่อยู่อาศัย ) อันประกอบด้วยองค์ ๕
    ก็จะพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะโดยกาลไม่นาน คือ ๑. มีศรัทธา ๒. มีโรคน้อย ๓. ไม่โอ้อวด ไม่มายา ๔. ปรารภความเพียร ๕. มีปัญญา. เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่ไกลไม่ใกล้เกินไป สะดวกด้วยการไปมา ๒. กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงน้อย ๓. มีสัมผัสเกี่ยวกับยุง เหลือบ ลม แดด สัตว์เสือกคลานน้อย ๔. พอจะมีปัจจัย ๔ เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะนั้น ไม่ยากนัก ๕. มีภิกษุที่ทรงความรู้อยู่ พอจะไต่ถามให้ท่านแก้ความสงสัยให้ได้.
    ตรัสว่า ภิกษุละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ชื่อว่าเป็นอุดมบุรุษในพระธรรมวินัยนี้ คือละนีวรณ์ ๕, ประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕ มีศีล เป็นต้น.<sup></sup>
    ตรัสแสดงสัญโญชน์ ( กิเลสเครื่องร้อยรัดหรือผูดมัด ) ๑๐ ประการ (ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๓ ) ในวรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐
    ตรัสแสดงกิเลสเครื่องผูกมัดจิต ๕ และตอของจิต ๕ ( ดูหน้าพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ หน้า ๒ ) ตอของจิต ๕
    ตรัสว่า บรรดาสัตว์ทุกชนิด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นยอด, บรรดากุศลธรรม ความไม่ประมาทเป็นยอด.
    ตรัสว่า บุคคล ๑๐ ประเภท เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก คือพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพระพุทธเจ้า, พระอริยบุคคล ๗ ประเภท ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ หน้า ๓ ) ใน ๒๐. กีฏาคิริสูตร โครตภู ( ผู้อยู่ในระหว่างพระอริยเจ้ากับบุถุชน ).
    ตรัสแสดงนาถกรณธรรม ( ธรรมที่ทำที่พึ่ง ) ๑๐ ประการ คือ ๑. มีศีล ๒. สดับฟังมาก ๓. คบเพื่อนที่ดี ๔. ว่าง่าย รับคำสั่งสอนโดยเคารพ ๕. ช่วยเหลือกิจของเพื่อนพรหมจารี ๖. ใคร่ธรรม ๗. ปรารภความเพียร ๘. สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ๙. มีสติ ๑๐ มีปัญญา.
    ตรัสแสดงนาถกรณธรรม ๑๐ ประการ เช่น เดิม แต่อธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้า ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการแล้ว ก็ทำให้ภิกษุที่เป็นเถระ, ที่เป็นปูนกลาง, ที่บวชใหม่ ตั้งใจว่ากล่าวสั่งสอน หวังความเจริญได้ในกุศล ธรรมไม่มีเสื่อม.
    ตรัสแสดงอริยวาสะ ( คุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ ) ๑๐ ประการ คือ ๑. ละองค์ ๕ คือละนีวรณ์ ๕. ๒. ประกอบด้วยองค์ ๖ คือวางเฉยในอารมณ์ทั้งหกมีรูป เป็นต้น ในเมื่อได้เห็น เป็นต้น. ๓. รักษาสิ่ง เดียว คือประกอบด้วยจิตมีสติเป็นเครื่องรักษา. ๔. มีอปัสเสนะ ( พนักพิง ) ๔ คือ พิจารณาแล้วเสพ, พิจารณาแล้วอดทน, พิจารณาแล้วเว้น, พิจารณาแล้วบรรเทา. ๕. มีการยึดถือความเจริญ เฉพาะอย่างอันนำออกแล้ว ( เช่น ไม่ยึดถือว่าโลกเที่ยง เป็นต้น ) ๖. มีการแสวงหาอันสละ แล้วด้วยดี ( เช่นละการแสวงหากาม ) ๗. มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว ๘. มีกายสังขาร ( ลมหายใจเข้าออก ) อันสงบระงับ คือเข้าฌานที่ ๔. มีจิตพ้นแล้วด้วยดี ( จากราคะ โทสะ โมหะ ). ๑๐. มีปัญญาอันพ้นแล้วด้วยดี คือรู้ว่าละกิเลสได้.
    ๓. ตรัสแสดงกำลัง ๑๐ ประการของพระตถาคต<sup></sup>
    ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ หน้า ๒) ในหัวข้อของ กำลัง ๑๐
    ตรัสกะพระอานนท์ ว่า ไม่มีญาณอย่างอื่นยิ่งไปกว่ายถาภูตญาณ ( คือญาณรู้เห็น ตามความเป็นจริงในเรื่องนั้น ๆ ).
    ตรัสแสดงธรรมที่ควรละด้วยกาย ( คือกายทุจจริต ), ที่ควรละด้วยวาจา ( คือ วจีทุจจริต ), ที่ควรละเพราะเห็นด้วยปัญญา ( คือความโลภ, ความคิดประทุษร้าย, ความหลง, ความโกรธ, ความผูกโกรธ, การลบหลู่บุญคุณ ท่าน, การตีเสมอ, ความตระหนี่, ความริษยา ).
    พระมหาจุนทะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึง เรื่องภิกษุผู้กล่าวญาณวาทะ ( กล่าวถึงความรู้ ) แต่ถ้าถูกธรรม ( ๙ อย่าง มีความโลภ เป็นต้นข้างบนนี้ ) ครอบงำได้ ก็พึงทราบว่าเธอไม่รู้จริง, ภิกษุผู้กล่าวภาวนาวาทะ ( กล่าวถึงการอบรมกาย, ศีล, จิต, ปัญญา ) หรือกล่าววาทะทั้งสองอย่างข้างต้น แต่ถ้าถูกธรรมะ ( ๙ อย่างข้างบนนี้ ) ครอบงำ ก็พึงทราบ เธอได้ว่าเธอไม่รู้จริง. แต่ถ้าตรงกันข้าม คือไม่ถูกธรรมะเหล่านั้นครอบงำ ก็พึงทราบว่ารู้จริง.
    ตรัสแสดงกสิณายตนะ ( แดนกสิณ คืออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งล้วน ๆ ที่ใช้ในการเพ่งให้จิตสงบเป็นสมาธิ ) ๑๐ ประการ ได้แก่กสิณ คือ ๑. ดิน ๒. น้ำ ๓. ไฟ ๔. ลม ๕. สีเขียว ๖. สีเหลือง ๗. สีแดง ๘. สีขาว ๙. อากาส ( ช่องว่าง )<sup></sup> ๑๐. วิญญาณ.
    พระมหากัจจานะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาชื่อกาลี ขยายความแห่งพระพุทธ ภาษิตเรื่องการบรรลุประโยชน์ความสงบแห่งหทัย โดยอธิบายเรื่องกสิณ ๑๐.
    ตรัสแสดงถึงปัญหา ( คำถาม ), อุทเทส ( บทตั้ง ), เวยยากรณ์ ( คำตอบ ) ตั้งแต่ ๑ ข้อ ๒ ข้อไปจนถึง ๑๐ ข้อ ซึ่งนักบวชศาสนาอื่นตอบให้สมบูรณ์ไม่ได้ มีแต่อึดอัดยิ่งขึ้น คือ ๑ ข้อ ได้แก่สัตว์ทั้งปวงเป็นอยู่ได้ ด้วยอาหาร. ๒ ข้อ คือนาม และรูป. ๓ ข้อ คือเวทนา. ๔ ข้อ คืออาหาร ๔ ( มีอาหารที่พึงกลืนกินเป็นคำ ๆ, อาหารคือผัสสะ ( ความถูก ต้อง ), อาหารคือเจตนา, อาหารคือวิญญาณ ). ๕ ข้อ คืออุปาทานขันธ์ ( ขันธ์หรือกองแห่งรูปนามที่คนยึดถือ ) ๕ ประการ. ๖ ข้อ คืออายตนะ ภายใน ๖ ( มีตา เป็นต้น ) ๗ ข้อ คือวิญญาณฐิติ ๗ ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๑ ) ในหมายเลขที่ ๕ ๘ ข้อ คือโลกธรรม ๘ ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ ) ในหมายเลขที่ ๑ ๙ ข้อ คือสัตตาวาส ๙ ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ หน้า ๓ ) ในหมายเลขที่ ๓ ๑๐ ข้อ คืออกุศลกรรมบท ๑๐ ( กายทุจจริต ๓, วจีทุจจริต ๔, มโนทุจจริต ๓ ).
    นางภิษุณีชาวเมืองกชังคละ แสดงธรรมแก่พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละใน ทำนองเดียวกับเรื่องปัญหา ๑๐ ข้อข้างต้น. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ตรัสชมเชย.
    ตรัสว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อม เบื่อหน่ายคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จึงไม่ต้องกล่าว ถึงในสิ่งที่เลว. แล้วตรัสแสดงโลกพันโลก มีพระจันทร์พระอาทิตย์ถึงพัน ซึ่งท้าวมหาพรหมเป็นเลิศ อริยสาวกผู้ได้สดับก็ยังเบื่อหน่ายคลาย กำหนัดในสิ่งที่เลิศนั้น. แล้วได้ตรัสถึงธรรมอื่น ๆ อันพ้องกับที่เคยตรัสมาแล้ว เช่น กสิณายตนะ ๑๐ อภิภายตนะ ๘ เป็นต้น. ในที่สุดได้ตรัส แสดงนิพพานในปัจจุบันตามหลักพระพุทธศาสนา.
    พระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ๑๐ ข้อ คือ ทรง เห็นว่าพระผู้มีพระภาค ๑. ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก ๒. ทรงมีศีล ๓. ทรงเสพเสนาสนะอันสงัด. ๔. ทรงสันโดษ ด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ๕. ทรงเป็นผู้คำนวนของคำนับ จนถึงทรงเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๖. ทรงมีถ้อยคำขัดเกลากิเลส ๗. ทรงได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา ๗. ทรงระลึกชาติได้ ๙. ทรงมีทิพจักษุ ๑๐. ทรงทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ทรงเห็นเหตุเหล่านี้ จึงทรงแสดงความเคารพ และตั้งความปปรารถนาดีในพระผู้มีพระภาค.
    ๔. ตรัสแสดงอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการในการที่ทรงบัญญัติสิกขาบท
    ดูหน้าพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ) ชื่อปริวาร ในหมายเลข ๙ และเรื่องทางพระวินัยอื่น ๆเช่น การชักเข้าหา อาบัติเดิม จนถึงสังฆเภท สังฆสามัคคี เป็นการตรัสชี้แจงแก่พระอุบาลี พ้องกับที่มีอยู่แล้วในวินัยปิฎก.
    ๕. ตรัสเรื่องเหตุปัจจัยที่ให้เกิดการทะเลาะวิวาทในสงฆ์
    มีการแสดงสิ่งมิใช่ธรรมว่าเป็น ธรรม เป็นต้น. และตรัสว่า เหตุเหล่านี้เป็นมูลแห่งการวิวาท และเรื่องอื่น ๆ ที่ปรากฏว่าย่อมาแล้วใน วินัยปิฎก.
    ตรัสแสดงโทษ ๑๐ ประการในการเข้าสู่ภายในพระราชวัง คืออาจทำให้เป็นที่ สงสัยเมื่อยิ้มกับพระมเหสี, ถูกสงสัยเกี่ยวกับของหาย, เกี่ยวกับความลับรั่วไหล เป็นต้น.
    ตรัสว่า ผู้มีรายได้ วัน ละ ๑ กหาปณะ ถึงวันละพันกหาปณะเก็บทรัพย์ที่ได้มานั้น ไว้ มีอายุ ๑๐๐ ปี ก็อาจมีกองโถคทรัพย์ใหญ่ได้ แต่ที่จะเสวยสุขโดยส่วนเดียว อันมีทรัพย์เป็นเหตุสักคืนหนึ่ง วันหนึ่ง หรือครึ่งวัน ก็ยังไม่แน่ เพราะกามเป็นของไม่เที่ยง ส่วนสาวกของพระองค์ไม่ประมาท บำเพ็ญ ๑๐ ปี ๙ ปี หรือ ๑๐ เดือน ๙ เดือน ถึง ๑ เดือน หรือ ๑๐ ทิวาราตรี ถึง ๑ ทิวาราตรี ก็พึงได้ประสบสุขโดยส่วนเดียว ถึงร้อยปี แสนปี ล้านปี และได้เป็นสกทาคามี พระอนาคามี หรือพระโสดาบัน.
    ตรัสว่า โลภะ, โทสะ, โมหะ, อโยนิโสมนสิการ ( การไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ) เป็นปัจจัยแห่งการกระทำบาปกรรม ส่วนอโลภะ เป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งการกระทำกัลยาณกรรม.
    ตรัสแสดงธรรมะ ๑๐ อย่างที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ คือ ๑. เรามีเพศ ต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. ยังมีกิริยาอาการที่ดีงามอย่างอื่นอีกที่ต้องทำ ๔. เราติตนเองโดยศีลได้หรือไม่ ๕. ผู้รู้ พิจารณาแล้วติเราโดยศีลได้หรือไม่ ๖. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบทั้งสิ้น ๗. เรามีกรรมเป็นของตัว จักเป็นผู้รับผลของกรรมดีชั่ว ที่ทำไว้ ๘. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙. เรายินดีในเรือนว่างหรือไม่ ๑๐. เราได้บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์หรือไม่.
    ตรัสว่า บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ถึงธรรม ๑๐ อย่างที่ตั้งอยู่ในร่าง คือหนาว, ร้อน, หิว, ระหาย, ปวดอุจจาระ, ปัสสาวะ, ความสำรวมกาย, ความสำรวมวาจา, ความสำรวมใจ, เครื่องปรุงภพที่ทำให้เกิดอีก.
    ตรัสแสดงสาราณิยธรรม ( ธรรมอันทำให้ระลึกถึงกัน ) ๑๐ ประการ ในทำนองเดียวกับนาถกรณธรรม ( ดูในหมายเลขที่ ๒ มีศีล เป็นต้น ).
    <hr> '๑' . ความจริงเป็นข้อความอันเดียวกับที่กล่าวไว้ ( ในหน้าเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ . ชุมนุมธรรมะที่มี ๘ ข้อ ในวรรคที่ไม่จัดเข้าใน หมวดที่ ๕๐ที่หมายเลข ๓ ) เป็นแต่ในที่นี้เพิ่มคุณธรรมขึ้นอีก ๒ ข้อ และเรียงข้อความอีกสำนวนหนึ่งให้พิสดารขึ้นกว่าเดิม
    '๒' . ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ หน้า ๑ หมวด ๕๐ ที่ ๑ หมายเลขที่ ๒. และเชิงอรรถ ( ที่มีเขียนอธิบายไว้ด้านล่าง แล้วด้วย )
    '๓' . โปรดดูข้อความเปรียบเทียบ หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ หน้า ๑ หมวด ๕๐ ที่ ๑ หมายเลขที่ ๒.( กำลังของพระตถาคต ๕ ) และ เล่มที่ ๑๔ หน้า ๓ หมวด ๕๐ ที่ ๒ หมายเลขที่ ๒.( กำลังของพระตถาคต ๖ ) และดูธรรม วิภาคปริเฉทที่ ๒ พร้อมทั้งคำอธิบายในหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๑๗๔-๑๗๕ ประกอบด้วย
    '๔' . คำว่า อากาสในที่นี้ หมายถึงช่องว่าง หรือ อวกาศ ( Space ) ไม่ได้หมายความถึงแก๊ส อย่างที่เข้าใจกันในทาง วิทยาศาสตร์ เพราะแก๊สเหล่านั้นจัดเข้าในลมไปแล้ว ตามความหมายทางพระพุทธศาสนา
    [/FONT]
     
  3. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> ทสกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ </center>
    <center>ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒</center>
    ( หมวดนี้มี ๕ วรรค ๆ ที่ ๑. ชื่อสจิตตวรรค ว่าด้วยจิตของตน, วรรคที่ ๒ ชื่อยมกวรรก ว่าด้วยธรรม ที่เป็นคู่, วรรคที่ ๓ ชื่ออากังขวรรค ว่าด้วยความหวัง, วรรคที่ ๔ ชื่อเถรวรรค ว่าด้วยพระเถระต่าง ๆ, วรรคที่ ๕ ชื่ออุปาสกวรรค ว่าด้วย อุบาสก ).
    ๑. ตรัสว่า ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในเรื่องจิตของคนอื่น ก็ควรฉลาดในเรื่องจิตของตน
    ( ดูที่แปลไว้แล้วในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก ) หมายเลข ๗๗-๗๘
    และตรัสว่า ไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม ( ดูหน้า ข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๗๖. พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม
    และตรัสเรื่องควรฉลาดในเรื่องจิตของตนอีกนัยหนึ่ง ( ดูหน้าข้อความน่ารู้จาก ไตรปิฎก ) หมายเลข ๗๘. ฉลาดในเรื่องจิตของตนอีกอย่างหนึ่ง
    ตรัสถึง ปัจจัย ๔, คามนิคม, ชนบท, ประเทศ, บุคคลว่า มี ๒ อย่าง คือที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ โดยมีเหตุผลว่า ถ้าเสพเข้า อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ก็ไม่ควรเสพ ถ้าอกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ ก็ควรเสพ.
    พระสาริบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงเรื่องบุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อมและ ไม่เสื่อม และเรื่องควรฉลาดในเรื่องจิตของตน.
    ตรัสแสดงสัญญา ( ความกำหนดหมาย ) ๑๐ ประการ คือ ความกำหนดหมาย ว่าไม่งาม, ความกำหนดหมายในความตาย, ความกำหนดหมายว่าน่าเกลียดในอาหาร, ว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง, ว่าไม่เที่ยง, ว่าเป็นทุกข์ใน สิ่งที่ไม่เที่ยง, ว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์, ความกำหนดหมายในการละ, ในการคลายความกำหนัด, ในการดับ.
    และตรัสความกำหนดหมาย ๑๐ ประการอื่นอีก คือความกำหนดหมายว่าไม่ เที่ยง, ว่าไม่ใช่ตน, ความกำหนดหมายในความตาย, ความกำหนดหมายว่าน่าเกลียดในอาหาร, ว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง, ความกำหนดหมาย ในกระดูก, ในซากศพที่มีหนอนไต่, ในซากศพที่มีสีเขียว, ในซากศพที่ขาดเป็นท่อน, ในซากศพที่ขึ้นพอง.
    ตรัสว่า ธรรมทั้งปวงมีฉันทะ ( ความพอใจ ) เป็นมูล เป็นต้น ( ดูที่แปล ไว้แล้วในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๗๙. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอะไร ? แล้ว ได้ตรัสสรูปสอนให้ สำเหนียกว่า จิตของเรา ๑. จักได้รับอบรมโดยควรแก่การบวช ๒. จักไม่ถูกอกุศลบาปธรรมครอบงำ ๓. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนด หมายว่าไม่เที่ยง ๔. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตัวตน ๕. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายว่าไม่งาม ๖. จักได้รับ อบรมด้วยความกำหนดหมายถึงโทษ ๗. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายที่รู้ถึงความเสมอไม่เสมอแห่งโลก ๘. จักได้รับอบรมด้วยความ กำหนดหมายที่รู้ถึงความมีความเป็น ความไม่มีไม่เป็นแห่งโลก ๙. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายที่รู้ถึงความเกิดขึ้น ความดับไปแห่ง โลก ๑๐. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายถึงการละ ๑๑. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายถึงความคลายกำหนัด ๑๒. จักได้รับ อบรมด้วยความกำหนดหมายถึงความดับ. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หวังผลได้ ๒ อย่าง, อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือถ้ายังมีกิเลส เหลือก็คือ ความเป็นพระอนาคามี.
    ตรัสแสดงธรรมแก่พระคิริมานนท์ ผู้เป็นไข้ โดยสอนให้พระอานนท์จำไปบอก เรื่องสัญญา ๑๐ ประการ คือ ๑. อนิจจสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง ) ๒. อนัตตสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตัวตน ) ๓. อสุภสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่งาม ) ๔. อาทีนวสัญญา ( ความกำหนดหมายถึงโทษของกาย ) ๕. ปหานสัญญา ( ความกำหนดหมาย ถึงการละอกุศลวิตก ). ๖. วิราคสัญญา ( ความกำหนดหมายถึงความคลายกำหนัด ) ๗. นิโรธสัญญา ( ความกำหนดหมายถึงความดับสังขาร และกิเลสทั้งปวง ) ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ) ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา ( ความ กำหนดหมายว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง )<sup></sup> ๑๐. อานาปานสติ ( สติกำหนดลมหายใจเข้าออก ).
    ๒. ตรัสว่า ที่สุดเบื้องต้นของอวิชชาไม่ปรากฏ
    ว่า ก่อนหน้านี้ไม่มีอวิชชา อวิชชามามีขึ้นในภายหลัง แต่ก็ปรากฏขึ้นเพราะมีปัจจัย เรากล่าวว่า อวิชชามีอาหาร นีวรณ์ ๕ เป็นอาหาร ของอวิชชา. ครั้นแล้วได้ตรัสแสดงธรรมะอื่น ๆ ที่เป็นอาหารของนีวรณ์ และของสิ่งที่เป็นอาหารของนีวรณ์ต่อ ๆ ไปอีกเป็นลูกโซ่ คือทุจจริต ๓, การไม่สำรวมอินทรีย์, การไม่มีสติสัมปชัญญะ, การไม่ใส่ใจโดยแยบคาย, ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา, การไม่ฟังธรรม, การไม่คบสัตบุรุษ, ฝ่ายดีคือวิชชาวิมุติ มีโพชฌงค์ ๗ เป็นอาหาร, โพชฌงค์ ๗ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นอาหาร โดยนัยนี้ได้แสดงสุจริต ๓. อินทรียสังวร, โยนิโสมน- สิการ จนถึงการคบสัตบุรุษว่า เป็นอาหารของธรรมะที่มาข้างหน้าตนโดยลำดับ.
    ตรัสเรื่องที่สุดเบื้องต้นของภวตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น ) ในทำนองเดียวกับอวิชชา. ฝ่ายดีเริ่มต้นด้วยวิชชาวิมุติเช่นเดิม.
    ตรัสว่า ผู้ถึงความตกลงใจ ( หมดความสงสัย ) ในพระองค์ ชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วย ทิฏฐิ มี ๕ พวกที่ปรินิพพานในโลกนี้ คือพระโสดาบันพวกเกิด ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง, พวกเกิดจากสกุลสู่สกุล ( เกิด ๒-๓ ชาติ ), พวกเกิด ชาติเดียว, พระสกทาคามี, ท่านผู้เป็นพระอรหันต์ในปัจจุบัน, มี ๕ พวก ละโลกนี้ไปแล้วจึงนิพพาน คือพระอนาคามี ๕ ประเภท ( ดูหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ หน้า ๔ ) ทุติยปัณณสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒.ในหมายเลข ๔
    ตรัสแสดงผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระองค์ว่า เป็นโสดาบัน และแบ่งเป็น ๕ พวก ๒ ประเภทเช่นข้างต้น.
    พระสาริบุตร ตอบคำถามของสามัณฑกานิปริพพาชกบุตร ว่า ความเกิดเป็น ทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข ที่ว่าเป็นทุกข์เพราะ หวังได้ถึงทุกข์ อื่น ๆ คือ เย็น, ร้อน, หิว, ระหาย, ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น. และได้ แสดงถึงความไม่ยินดี ( อนภิรตี ) ว่า เป็นทุกข์ในพระธรรมวินัยนี้ ส่วนความยินดี ( พอใจตามมีตามได้ ) เป็นสุขในพระธรรมวินัยนี้.
    พระผู้มีพระภาคตรัสสั่งให้พระสาริบุตรแสดงธรรมแทน พระองค์ทรงพักผ่อน พระสาริบุตรได้แสดงถึงว่า ถ้าไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ก็จะไม่มีหิริและธรรมะข้อต่อ ๆ ไปโดยลำดับ คือโอตตัปปะ, วิริยะ, ปัญญา, ทำให้มีความเสื่อมในกุศลธรรม : ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา, ไม่ละอาย, ไม่เกรงกลัวต่อบาป, เกรียจคร้าน, มีปัญญาทราม, มักโกรธ, ผูกโกรธ, มีความปรารถนาลามก, คบคนชั่วเป็นมิตร, มีความเห็นผิด ฝ่ายดีคือตรงกันข้าม. พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองและชมเชย.
    พระสาริบุตรสอนภิกษุทั้งหลาย คล้ายกับที่กล่าวไว้แล้ว เป็นแต่ยักย้ายใน เล็กน้อย.
    ตรัสสอนให้พูดอิงอาศัยกถาวัตถุ ( เรื่องที่ควรพูด ) ๑๐ ประการ คือ ถ้อยคำเรื่องมักน้อย, สันโดษ, สงัด, ไม่คลุกคลี, ปรารภความเพียร, ศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุตติ, วิมุตติญาณทัสสนะ.
    ๓. ตรัสสอนให้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาฏิโมกข์
    ถ้าเธอหวังดังต่อไปนี้ ก็พึงทำให้บริบูรณ์ในศีล. ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสงบแห่งจิต ( เจโตสมถะ ) ในภายใน ไม่ว่างเว้นจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เจริญการอยู่เรือนว่าง คือ ๑. หวังให้เป็นที่รักที่พอใจของเพื่อนพรหมจารี ๒. หวังได้ปัจจัย ๔ ๓. หวังให้มีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ผู้ถวายปัจจัย ๔ ๔.หวังให้มีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ญาติสายโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว มีจิตเลื่อมใสระลึกถึง ๕. หวังสันโดษ ด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ๖. หวังอดทนต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย สัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ถ้อยคำที่ไม่เป็นที่พอใจและ ทุกขเวทนากล้า ๗. หวังอดทนต่อความไม่ยินดีและความยินดีมิให้มาครอบงำได้ ๘. หวังอดทนต่อความหวาดกลัว ๙. หวังได้ฌาน ๔ โดย ไม่ยาก ๑๐. หวังทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน. ( หมายเหตุ : ถอดความว่า ถ้าหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด ๑๐ ข้อนี้ ก็พึงทำให้บริบูรณ์ในศีล เจริญสมาธิ บำเพ็ญวิปัสสนา คือทำปัญญาให้เกิด ).
    ตรัสแสดงสิ่งที่เป็นเสี้ยนหนาม ๑๐ ประการ คือ ๑.ความคลุกคลีด้วยหมู่เป็น เสี้ยนหนามของผู้ยินดีความสงัด ๒. การประกอบเนือง ๆ ซึ่งนิมิตว่างามเป็นเสี้ยนหนามของผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งนิมิตว่าไม่งาม ๓. การดู การเล่นเป็นเสี้ยนหนามของผู้สำรวมอินทรีย์ ๔. การเที่ยวไปใกล้มาตุคามเป็นเสี้ยนหนามของพรหมจรรย์ ๕. เสียงเป็นเสี้ยนหนามฌานที่ ๑ ๖. วิตก วิจาร ( ความตรึก ความตรอง ) เป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ ๒ ๗. ปีติ ( ความอิ่มใจ ) เป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ ๓ ๘. ลมหายใจ เข้าออกเป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ ๔ ๙. สัญญา และเวทนา ( ความกำหนดหมาย และความรู้สึกอารมณ์ว่าสุขทุกข์ เป็นต้น ) เป็นเสี้ยนหนาม แห่งการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑๐. ราคะ โทสะ ( ความกำหนัดยินดี ความคิดประทุษร้าย ) เป็นเสี้ยนหนาม ( ทั่ว ๆ ไป ).
    ตรัสว่า ธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ แต่หาได้ยากในโลก คือ ๑. ทรัพย์ ๒. ผิวพรรณ ๓. ความไม่มีโรค ๔. ศีล ๕. พรหมจรรย์ ( การประพฤติเหมือนพรหม คือเว้นจากกาม ) ๖. มิตร ๗. การสดับตรับฟังมาก ๘. ปัญญา ๙. ธรรมะ<sup></sup> ๑๐. สัตว์ ( น่าจะหมายถึงคนที่ถูกใจ ).
    ตรัสอันตราย ๑๐ ประการ แห่ง สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ คือ ๑. ความ เกียจคร้าน เป็นอันตรายแห่งทรัพย์ ๒. การไม่ประดับตกแต่งเป็นอันตรายแห่งผิวพรรณ ๓. การทำสิ่งที่แสลงเป็นอันตรายแห่งความไม่มีโรค ๔. คบคนชั่วเป็นมิตรเป็นอันตรายแห่งศีล ๕. การไม่สำรวมอินทรีย์เป็นอันตรายของพรหมจรรย์ ๖. การพูดขัดเป็นอันตรายของมิตร ๗. การไม่ ท่องบ่นเป็นอันตรายแห่งการสดับตรับฟังมาก ๘. การไม่ตั้งใจฟัง ไม่ไต่ถามเป็นอันตรายแห่งปัญญา ๙. การไม่ประกอบเนือง ๆ การไม่พิจารณา เป็นอันตรายแห่งธรรม ๑๐. การปฏิบัติผิดเป็นอันตรายแห่งสัตว์. ส่วนอาหาร ( เครื่องสืบต่อหล่อเลี้ยง ) แห่งธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบโดย นัยตรงกันข้าม. ( หมายเหตุ : ในข้อที่ว่าด้วยอันตราย พระไตรปิฎกฉบับไทยพิมพ์ตกตั้งแต่ข้อ ๒ ถึงข้อ ๖ รวม ๕ ข้อ. ส่วนในข้อว่า ด้วยอาหารไม่ตกหล่น ).
    ตรัสแสดงความเจริญ ๑๐ ประการ ที่ทำให้อริยสาวกชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอัน ประเสริฐ คือ ๑. นา, สวน ๒. ทรัพย์, ข้าวเปลือก ๓. บุตร, ภริยา ๔. ทาส, กรรมกร ๕. สัตว์ ๔ เท้า ๖. ศรัทธา ๗. ศีล ๘. การสดับตรับฟัง ๙. การสละ ๑๐. ปัญญา.
    ตรัสแสดงบุคคล ๑๐ ประเภท คือ ๑๐. ทุศีล ปฏิบัติมีแต่เสื่อม ๒. ทุศีล แต่กลับ ตัวได้ ( ละทุศีลได้ ) ปฏิบัติก้าวหน้า ๓. มีศีล ปฏิบัติมีแต่เสื่อม ๔. มีศีล ปฏิบัติก้าวหน้า ๕. มีราคะกล้า ปฏิบัติมีแต่เสื่อม ๖. มีราคะกล้า ราคะดับไม่เหลือ ปฏิบัติก้าวหน้า ๗. มักโกรธ ปฏิบัติมีแต่เสื่อม ๘. มักโกรธ ความโกรธดับไม่เหลือ ปฏิบัติก้าวหน้า ๙. ฟุ้งสร้าน ปฏิบัติ มีแต่เสื่อม ๑๐. ฟุ้งสร้าน ความฟุ้งสร้านดับไม่เหลือ ปฏิบัติก้าวหน้า ( ตรัสแสดงแก่พระอานนท์เพื่อแก้ข้อข้องใจของมิคสาลาอุบาสิกาอย่างเดียว กับที่ปรากฏหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ หน้า ๕ ) ปัญจมปัณณสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๕ ในหมายเลข ๕ เป็นแต่ในที่นี้เพิ่มข้อธรรม มากขึ้น .
    ๑. ตรัสว่า ถ้าไม่มีธรรม ๓ อย่างในโลก คือความเกิด ความแก่ ความตาย ก็จะไม่เกิดพระตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก และพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว ก็จะไม่รุ่งเรืองใน โลก.
    ๒. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือราคะ, โทสะ, โมหะ ก็ไม่ควรที่จะละความเกิด, ความแก่, ความตายได้.
    ๓. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือสักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส<sup></sup> ก็ไม่ควรที่จะละ ราคะ, โทสะ, โมหะได้.
    ๔. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไปไม่ได้ คือการไม่ใส่ใจโดย แยบคาย, การเสพทางผิด, การที่จิตหดหู่ ก็ไม่ควรจะละสักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาสได้.
    ๕. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความเป็นผู้หลงลืม สติ, ความไม่มีสัมปชัญญะ, ความฟุ้งสร้านแห่งจิต ก็ไม่ควรจะละการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย, การเสพทางผิด, การที่จิตหดหู่ได้.
    ๖. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ จะเห็นพระอริยะ, ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ, ความเป็นผู้มีจิตคิดจับผิด ก็ไม่ควรจะละความเป็นผู้หลงลืมสติ, ความไม่มีสติสัมปชัญญะ, ความฟุ้งสร้านแห่งจิตได้.
    ๗. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือ ความฟุ้งสร้าน, ความไม่สำรวม, ความทุศีล ก็ไม่ควรละความเป็นผู้ไม่ใคร่จะเห็นพระอริยะ, ความเป็นผู้ไม่ใคร่จะฟังธรรมะของพระอริยะ, ความเป็นผู้มีจิต คิดจับผิดได้.
    ๘. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่ศรัทธา, ความไม่รู้คำที่คนอื่นพูด, ความเกียจคร้าน ก็ไม่ควรจะละความฟุ้งสร้าน, ความไม่สำรวม, ความทุศีลได้.
    ๙. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่เอื้อเฟื้อ, ความว่ายาก, การคบคนชั่วเป็นมิตร ก็ไม่ควรจะละความไม่มีศรัทธา, ความไม่รู้คำที่คนอื่นพูด, ความเกียจคร้านได้.
    ๑๐. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่ละอาย, ความไม่เกรงกลัวต่อบาป, ความประมาท ก็ไม่ควรจะละความไม่เอื้อเฟื้อ, ความว่ายาก, การคบคนชั่วเป็นมิตรได้.
    ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ อย่าง เป็นผู้เช่นเดียวกับกา คือ ทำลายความดีของผู้อื่น, คะนอง, ทะยานอยาก, กินมาก, ละโมภ, ไม่กรุณา, ไม่มีกำลัง, ส่งเสียงเอ็ดอึง,<sup> </sup> หลงลืมสติ, ทำการสะสม.
    ตรัสแสดงอสัทธรรมของพวกนิครนถ์ และเรื่องเกี่ยวกับความอาฆาต ( เรื่อง เกี่ยวกับความอาฆาต โปรดดูที่แปลไว้แล้ว หน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๗๔. ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่าง
    ๔. ตรัสว่า พระตถาคตพ้นจากธรรม ๑๐ อย่าง
    คือขันธ์ ๕, ชาติ, ชรา, มรณะ, ทุกข์, กิเลส เปรียบเหมือนดอกบัวเกิดในน้ำ โผล่พ้นน้ำ ไม่เปียกน้ำ.
    ตรัสกะพรพอานนท์ ว่า เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลต่อไปนี้จะถึงความเจริญไพบูรณ์ ในพระธรรมวินัยนี้ คือไม่มีศรัทธา, ทุศีล, สดับน้อย, ว่ายาก, คบคนชั่วเป็นมิตร, เกียจคร้าน, หลงลืมสติ, ไม่สันโดษ, มีความปรารถนาลามก, เห็นผิด แต่ถ้าตรงกันข้ามก็เป็นไปได้. ตรัสแสดงเหตุที่พระธรรมเมศนาของพระตถาคตบางครั้งก็แจ่มแจ้ง บางครั้งก็ไม่แจ่มแจ้ง ( แก่คนบาง คน ) เพราะมีศรัทธา, แต่ไม่เข้าไปหา, ไม่เข้าไปนั่งใกล้, ไม่ไต่ถาม, ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม, ไม่ทรงจำธรรม, ไม่พิจารณาอรรถแห่งธรรม, ไม่รู้ อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมดาตามความสมควรแก่ธรรม, ไม่มีวาจาไพเราะ, ไม่แนะนำชักชวนปลุกใจปลอบใจเพื่อนพรหมจารี ( เพียงข้อใด ข้อหนึ่งก็ทำให้พระธรรมเทศนาไม่แจ่มแจ้ง ) ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม.
    พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรม ๑๐ อย่าง ว่า เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่ พระตถาคตประกาศแล้ว คือมักโกรธ, ผูกโกรธ, หลบหลู่บุญคุณท่าน, ตีเสมอ, ริษยา, ตรัหนี่, โอ้อวด, มีมายา, ปรารถนาลามก, หลงลืมสติ.
    พระมหาจุนทะแสดงธรรม ๑๐ อย่าง ( มีความเป็นผู้ทุศีล ไม่มีศรัทธา เป็นต้น ) ว่า เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว.
    พระมหากัสสปะแสดงธรรม ๑๐ อย่าง ( นีวรณ์ ๕, ยินดีในการงาน, ในการพูด มาก, ในการหลับ, ในการคลุกคลีด้วยหมู่, หลงลืมสติ ) ว่า เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว.
    ตรัสแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อไม่เป็นที่รัก ไม่ เป็นที่เคารพ ไม่เป็นที่สรรเสริญ ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือก่ออธิกรณ์, ไม่ใคร่การศึกษา, ปรารถนาลามก, มักโกรธ, ลบหลู่บุญคุณท่าน, โอ้อวด, มีมายา, ไม่พิจารณา, ไม่หลีกเร้น, ไม่ต้อนรับเพื่อนพรหมจารี. ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม. ตรัสว่า ผู้ด่าผู้บริภาษเพื่อนพรหมจารี ผู้ว่าร้ายพระอริยะ ย่อมถึง ความพินาศ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือไม่บรรลุคุณที่ยังมิได้บรรลุ, เสื่อมจากคุณที่บรรลุแล้ว, พระสัทธรรมไม่ผ่องแผ้ว, เข้าใจผิดว่าได้ บรรลุในพระสัทธรรม, ไม่มีความยินดีประพฤติพรหมจรรย์, ต้องอาบัติชั่วหยาบอย่างใดอย่างหนึ่ง, ถูกต้องโรคาพาธอันหนัก, จิตฟุ้งสร้าน เป็นบ้า, หลงตาย, ตายแล้วเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก.
    มีเรื่องเล่าว่า พระโกกาสิกะ<sup></sup> กล่าวว่าพระสาริบุตร และพระโมคคัลลานะว่ามีความปรารถนาลามก พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามปรามถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ฟัง ต่อมาไม่ช้าก็เป็น โรคพุพอง มีแผลใหญ่ขึ้นทุกที่ จนถึงต้องนอนบนใบตอง มีน้ำเหลืองและโลหิตไหลคล้ายปลาที่ถูกขอดเกล็ด ในที่สุดก็ทำกาละด้วยอาพาธนั้น และไปเกิดในปทุมนรก.
    พระสาริบุตรกราบทูลเรื่องกำลังของ พระขีณาสพ ๑๐ ประการ ( ดูกำลัง ๘ หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ ) ในข้อที่ ๓. อุคคคฤหบดีชาวกรุงเวสาลี เพิ่มเจริญสัมมัปปธาน ( ความเพียรชอบ ) ๔ และเจริญพละ ( กำลัง ) ๕ อีก ๒ ข้อ ).
    ๕. ตรัสแสดงถึงผู้บริโภคกาม ๑๐ ประการ
    ๑. แสวงหาทรัพย์มาได้โดยผิดธรรม ไม่ทำตัวเองให้เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๒. ทำตัวเองให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๓.ทำตัวเองให้เป็นสุข แจกจ่าย ทำบุญ ๔. แสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรมบ้าง ผิดธรรมบ้าง ไม่ทำตัวให้เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๕.ทำตัวเองให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๖. ทำตัวเองให้เป็นสุข แจกจ่าย ทำบุญ ๗. แสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรม ไม่ทำตัวเองให้ เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๘. ทำตัวเองให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ๙. ทำตัวเองให้เป็นสุข แจกจ่าย ทำบุญ และติดไม่เห็นโทษ ในทรัพย์นั้น ๑๐. ทำตัวเองให้เป็นสุข แจกจ่าย ทำบุญ แต่ไม่ติดและเห็นโทษในทรัพย์นั้น แล้วตรัสชี้ถึงบุคคลแต่ละประเภทเหล่านั้นว่า ประเภทไหนถูกติเตียนกี่ทาง ควรสรรเสริญกี่ทาง.
    ตรัสแสดงธรรมแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี ว่า อริยสาวกที่สงบเวร ๕ ได้ ประกอบด้วยองค์แห่งพระโสดาบัน ๔ ได้เห็นญายธรรม ( ธรรมที่ถุกต้อง ) ด้วยดี ด้วยปัญญา<sup></sup> เมื่อปรารถนาก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ สิ้นนรก เป็นต้น จนถึงพระโสดาบัน เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้ต่อไป.
    อนาถปิณฑิกคฤหบดีโต้ตอบกับพวกปริพพาชกถึงทิฏฐิ ๑๐ ประการที่พวกเขา ยืนยัน เช่น โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยงว่า ความเห็นนั้น ๆ ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ( คือทนอยู่ไม่ได้ ).
    วัชชิยมาหิตคฤหบดีโต้ตอบกับพวกปริพพาชก ถึงเรื่องการบำเพ็ญตบะ ว่า พระผู้มีพระภาคทรงติสิ่งที่ควรติ สรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญ ทรงเป็นผู้ตรัสจำแนก ( ตามเหตุผล ) ไม่ตรัสแง่เดียว.
    อุตติยปริพพาชก เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามถึงเรื่องทิฏฐิ ๑๐ มีเรื่องโลกเที่ยง เป็นต้น ตรัสตอบว่า พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิแต่ละข้อเหล่านั้น พระอานนท์จึงชี้แจงเหตุผลที่ไม่ทรงพยากรณ์ให้ฟัง.
    พระอานนท์โต้ตอบกับโกกนุทปริพพาชก ถึงเรื่องทิฏฐิ ๑๐ ประการในทำนอง คล้ายคลึงกัน.
    ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ จนถึงเป็น เนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือมีศีล, สดับมาก, คบเพื่อนที่ดี, มีความเห็นชอบ, ได้อภิญญา ๖ ( มีแสดงฤทธิ์ได้ เป็นต้น ).
    ตรัสว่า ภิกษุผู้เป็นเถระ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ อยู่ในทิศใด ๆ ก็มี ความผาสุกในทิศนั้น ๆ คือเป็นพระเถระรู้ราตรีนาน, มีศีล, สดับมาก, ฉลาดในการระงับอธิกรณ์, ใคร่ธรรม, สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตาม ได้, น่าเลื่อมใสในการก้าวไปถอยกลับ, สำรวมด้วยดีเมื่อนั่งในบ้าน, ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา, ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ อยู่ในปัจจุบัน.
    ตรัสแสดงธรรมแก่พระอุบาลี ถึงเรื่องเสนาสนะป่าอันสงัด ยากที่จะมีผู้ยินดี แล้ว ตรัสแสดงถึงการที่กุลบุตรค่อยเลื่อนชั้นการปฏิบัติ จนถึงได้สัญญาเวทยิตนิโรธ ( เค้าความเดียวกับสามัญญผลสูตร หน้าพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ) ความเห็นปรารภเบื้องปลาย ๔๔
    และตรัสเองยังละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ ไม่ควรทำให้แจ้งอรหัตตผล ( ดูหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก ) หมายเลข ๘๐. ละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ยังไม่ควรเป็นพระอรหันต์
    <hr> '๑' . พ้องกับข้อ ๑ น่าจะเป็น อนิจฉสัญญา ความกำหนดหมายว่าไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง เพราะพระพุทธ ภาษิตนี้อธิบายก็ว่า เบื่อหน่าย, รำคาญ, เกลียดชัง
    '๒' . อรรถกถาแก้ว่า โลกุตตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
    '๓' . ดูคำอธิบายในเชิงอรรถ หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ หน้า ๔ ( ซึ่งได้กล่าวอธิบายไว้ว่า สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน วิจิกิจฉา ความสงสัยในพระรัตนตรัยและสีลัพพตปรามาส การลูบคลำศีลและพรต คือถือโชคลาง หรือติดในลัทธิพิธี
    '๔' . โอรวี, โอรวิตา อรรถกถาแก้ไว้ไม่ชัด
    '๕' . พระโกกาลิกะ เป็นพระพวกเดียวกับพระเทวทัต
    '๖' . ในภาคอธิบายตรัสแสดงการตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท คือความเกิดขึ้นหรือความดับไปโดยอาศัยเหตุต่อ ๆ กันไป



    [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> ทสกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ </center>
    <center>ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓</center>
    ( มี ๕ วรรค คือวรรคที่ ๑ ชื่อสมณสัญญาวรรค ว่าด้วยความกำหนดหมายถึงความเป็นสมณะ, วรรคที่ ๒ ชื่อปัจโจโรหณิวรรค ว่าด้วยการก้าวลงจากบาป, วรรคที่ ๓ ชื่อปาริสุทธวรรค ว่าด้วยความบริสุทธิ์, วรรคที่ ๔ ชื่อสาธุวรรค ว่าด้วยสิ่งที่ดี, วรรคที่ ๕ ชื่ออริยมัคควรรค ว่าด้วยอริยมรรค ).
    ๑. ตรัสว่า เจริญสมณสัญญา ๓ ประการแล้ว
    ย่อม ทำธรรมะ ๗ อย่างให้บริบูรณ์ สมณสัญญา ๓ ประการ คือเรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, ชีวิตเราเนื่องด้วยผู้อื่น, ยังมีกริยาอาการที่ดี งามพึงที่จะทำอีก. ธรรมะ ๗ อย่าง คือทำติดต่อ ประพฤติติดในศีล, ไม่โลภ, ไม่พยาบาท. ไม่ดูหมิ่นท่าน, ใคร่การศึกษา, พิจารณาเห็น ประโยชน์ในบริขารแห่งชีวิต ( พิจารณาเห็นประโยชน์ของปัจจัย ๔ ไม่ใช่เพื่อฟุ่มเฟือยอื่น ๆ ), ปรารภความเพียร.
    ตรัสว่า เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ง ย่อมทำวิชชา ๓ ( ระลึกชาติได้, ทิพยจักษุ, ทำ อาสวะให้สิ้น ).
    ตรัสแสดงมิจฉันตะ ( ความเป็นผิด ) ๑๐ ประการ คือความเห็นผิด เป็นต้น ว่า เป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาด
    และตรัสสัมมัตตะ ( ความเป็นถูก ) ๑๐ ประการ ว่า เป็นเหตุให้เกิดความ สมบูรณ์. ตรัสเทียบทิฏฐิชั่วว่าเหมือนพืชที่ขม ทิฏฐิที่ดีเหมือนพืชที่หวาน.
    ตรัสว่า อวิชชาเป็นหัวหน้าที่ให้เข้าสู่อกุศลธรรม ความไม่ละอาย ไม่เกรงกลัว ต่อบาป เป็นของตามหลังมา. เมื่อมีวิชชา ก็มีความเห็นผิด จนถึงความหลุดพ้นผิด. ฝ่ายดีทรงแสดงวิชชาในทางตรงกันข้าม.
    ตรัสแสดงถึงสิ่งที่ขจัดความผิด ( นิชชรวัตถุ ) ๑๐ ประการ คือสัมมัตตะ ( ฝ่ายถูก ) ขจัดมิจฉันตตะ ( ฝ่ายผิด ) ๑๐ ประการ.
    ตรัสว่า ในทักษิณชนบท ( ชนบทภายใต้ ) มี ประเพณีชื่อโธวนะ ( การชำระล้าง โดยวิธีเอาศพฝังแล้วทำพิธีล้างกระดูก บูชาด้วยเครื่องหอม ร้องไห้คร่ำครวญ เล่นนักษัตร-อรรถกถา ) แต่การชะระล้างแบบนั้น ไม่ทำให้พ้น จากการความเกิดแก่ตายได้. ตรัสถึงการชำระล้างความเห็นผิด เป็นต้น จนถึงความหลุดพ้นผิดว่า เป็นไปเพื่อนิพพาน.
    ตรัสถึงการถ่ายยาของหมอ ว่า เพื่อบำบัดอาพาธมีดีบ้างเสมหะบ้าง ลมบ้าง เป็น สมุฏฐาน
    แล้วตรัสถึงการถ่ายยาแบบอริยะ คือถ่ายความเห็นผิด จนถึงความหลุดพ้นผิด ออกไป.
    ตรัสแสดงการใช้ยาให้อาเจียน ของหมอทำนองเดียวกับเรื่องถ่ายยา.
    ตรัสถึงธรรมที่ควรสูบออก ๑๐ ประการ มีความเห็นผิด เป็นต้น.
    ตรัสเรื่องอเสขะ ( ผู้ไม่ต้องศึกษา ) และอเสขิยธรรม ( ธรรมของผู้ไม่ต้องศึกษา ) โดยแสดงความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ เป็นต้น.
    ๒. ตรัสแสดงมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นว่า เป็นอธรรม เป็นอนัตถะ
    ( มิใช่ประโยชน์ ) และตรัสถึงสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ตรงกันข้าม.แล้วตรัสต่อไปว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลธรรม และกุศลธรรม อื่น ๆ.
    พระอานนท์อธิบายเรื่องอธรรมและธรรม อนัตถะและอรรถะ แก่ ภิกษุทั้ง หลายในทำนองที่พระผู้มีพระภาคตรัสอธิบายแล้ว และพระผู้มีพระภาคได้ตรัสแสดงธรรมฝ่ายดี ๑๐ ฝ่ายชั่ว ๑๐ ( สัมมัตตะ, มิจฉัตตะ ) ยักย้าย นัยอีกหลายประการ.
    ๓-๕. ในวรรคทั้งสามวรรคนี้ ก็ตรัสแสดงเรื่องเห็นผิดชอบ เป็นต้น เช่นเดียวกัน
    อนึ่ง เพื่อช่วยความจำ ขอกล่าวถึงรายละเอียดของฝ่ายผิด ๑๐ ข้อไว้ในที่นี้อีกครั้งหนึ่ง คือเห็นผิด, ดำริผิด, เจรจาผิด, กระทำผิด, เลี้ยงชีวิตผิด, พยายามผิด, ระลึกผิด, ตั้งใจมั่นผิด, รู้ผิด, พ้นผิด. ฝ่ายดีหรือฝ่ายชอบคือที่ตรงกันข้าม.

    <center>จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๔</center>
    ( มี ๕ วรรค ๆ แรก ชื่อปุคคลวรรค ว่าด้วยบุคคล, วรรคที่ ๒ ชื่อชาณุสโสณิวรรค ว่าด้วยชาณุส - โสณิพราหมณ์, วรรคที่ ๓ ชื่อสุนทรวรรค ว่าด้วยสิ่งที่ดี, วรรคที่ ๔ ชื่อเสฏฐวรรค ว่าด้วยสิ่งที่ประเสริฐ, วรรคที่ ๕ ชื่อเสวิตัพพา เสวิตัพพวรรค ว่าด้วยบุคคลที่ควรส้องเสพและไม่ควรส้องเสพ ).
    ๑. ตรัสแสดงบุคคลที่ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
    มีความเห็นผิด เป็นต้น ว่าไม่ควรส้องเสพ ต่อประกอบด้วยความเห็นชอบ เป็นต้น จึงควรส้องเสพ.
    ๒. ตรัสแสดงธรรมแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์
    ถึงเรื่องปัจโจโรหณี ( การข้ามลง หรือก้าวลงจากบาป ) ตามคติแห่งพระพุทธศาสนา คือชาณุสโสณิพราหมณ์เล่าถึงพิธีปัจโจโรหณีของ พราหมณ์ เมื่อถึงวันอุโบสถพราหมณ์จะสนานศรีษะ นุ่มห่มผ้าเปลือกไม้ใหม่ ฉาบแผ่นดินด้วยมูลโคสด ปูลาดด้วยหญ้าคาสด แล้วนอน ระหว่างกองทรายกับโรงบูชาไฟ และลุกขึ้นทำอัญชลีไฟ ๓ ครั้งในราตรีนั้น กล่าวว่า ปัจโจโรหาม ภวันตัง ( ๒ ครั้ง ) แปลว่า ข้าพเจ้าข้ามลงหรือก้าวลงสู่ท่านผู้เจริญ. เอาเนยใส น้ำมัน เนยข้นมากมายใส่ลงในกองไฟ นี่แหละเป็นพิธีปัจโจโรหณีของพราหมณ์. พระผู้มี พระภาคตรัสว่า พิธีปัจโจโรหณีในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง คือเป็นการก้าวลงจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น มีความเห็นผิดเป็นที่สุด. ชาณุสโสพราหมณ์ก็เลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต. อนึ่งในวรรคนี้ตรัสแสดงการ เว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยต่าง ๆ กันตลอดเรื่อง มีภาษิตของพระมหากัจจานเถระแทรกอยู่แห่งเดียว แต่ก็เป็นการขยายความแห่ง พระพุทธภาษิต โดยอาศัยหลักอกุศลกรรมบถ. และมีพระพุทธภาษิต ตรัสแก่นายจุนทะ กัมมารบุตร เรื่องความไม่สะอาดทางกาย วาจา ใจ โดยแสดงอกุศลกรรมบถและกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ. ถ้าประพฤติชั่วแล้ว จะลุกขึ้นจากที่นอน ลูบคลำแผ่นดินหรือไม่ จะลูบคลำมูลโคสด หรือไม่ จะลูบคลำหญ้าสดหรือไม่ จะบำเรอไฟหรือไม่ จะทำอัญชลีดวงอาทิตย์หรือไม่ จะลงอาบน้ำวันละ ๓ เวลา ( มีเวลาเย็นเป็นครั้งที่ ๓ ) หรือไม่ ก็ไม่สะอาดทั้งนั้น ถ้าประพฤติดีแล้ว จะทำอย่างนั้นหรือไม่ ก็ชื่อว่าสะอาดทั้งนั้น ( เป็นการค้านลัทธิพราหมณ์ โดยชี้ความสำคัญไปที่ ความประพฤติ ไม่ใช่สะอาดหรือไม่สะอาดเพราะทำเคล็ดต่าง ๆ ).
    ๓ - ๕. แม้ใน ๓ วรรคนี้ ก็เป็นการแสดงเรื่องอกุศลกรรมบถ และกุศลกรรมบถ
    ยักย้ายนัยสลับกันไป. และเพื่อช่วยทบทวนความจำ ข้อกล่าวซ้ำถึงอกุศลกรรมบถ คือฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม, ๓ นี้เป็นกายทุจจริต ; พูดปด, พูดส่อเสียด คือยุให้แตกร้าวกัน, พูดคำหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ, ๔ นี้เป็นวจีทุจจริต ; โลภอยากได้ของเขา, พยายามปอง ร้ายเขา, เห็นผิดจากคลองธรรม, ๓ นี้เป็นมโนทุจจริต รวมเป็นฝ่ายชั่ว ๑๐ ส่วนฝ่ายดีคือกุศลธรรมบถ หรือทางแห่งกรรมอันเป็นกุศล พึงทราบ โดยนัยตรงกันข้าม.

    <center>ปัญจมปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๔</center>
    ( มี ๕ ไม่มีชื่อพิเศษ เรียกว่าวรรคที่ ๑ ถึงที่ ๕ ทีเดียว ).
    ตั้งแต่วรรคที่ ๑ ถึงวรรคที่ ๕ ส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องอกุศลกรรมบถ และกุศลกรรมบถ, มิจฉัตตะ และ สัมมัตตะ ( ความเป็นผิด, ความเป็นถูก มีเห็นผิด เห็นชอบ เป็นต้น ) และสัญญา ( ความกำหนดหมาย ) ๑๐ ประการ เป็นต้น. มีข้อน่า สังเกต คือในวรรคที่ ๒ แสดงถึงบุคคลว่าจะตกนรกเหมือนถูกนำไปวางไว้ เมื่อประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ มีฆ่าสัตว์ เป็นต้น, ประกอบ ด้วยธรรม ๒๐ ประการ คือทำด้วยตนเองและชักชวนผู้อื่นเพื่อฆ่าสัตว์ เป็นต้น ( ๑๐ × ๒ = ๒๐ ), ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ คือทำด้วยตัวเอง, ชักชวนผู้อื่น, มีความยินดีในอกุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น ( ๑๐ × ๓ = ๓๐ ), ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ คือ ทำนอง, ชักชวนผู้อื่น, ยินดี, กล่าวสรรเสริญอกุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น ( ๑๐ × ๔ = ๔๐ ), ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม.
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  4. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เอกาทสกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๑ ข้อ </center>
    ( ในหมวดนี้ไม่มีหมวด ๕๐ เริ่มต้นก็ขึ้นวรรคที่ ๑ ชื่อนิสสายวรรค ว่าด้วยสิ่งที่อาศัยกัน วรรคที่ ๒ ไม่มีชื่อ ต่อจากนั้นก็กล่าวถึงพระสูตรที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐ ).
    ๑. ตรัสแสดงอานิสงส์ของศีล
    แก่ พระอานนท์ว่า เป็นปัจจัยของกันและกันเป็นข้อ ๆ ต่อ ๆ กันไป รวม ๑๐ ข้อ ( ๑๑ ทั้งตัวศีลเอง ) คือความไม่เดือดร้อน, ความบันเทิง, ความอิ่มใจ, ความระงับ, ความสุข, สมาธิ, ความรู้ตามเป็นจริง, ความเบื่อหน่าย, ความคลายกำหนัด, ความเห็นด้วยญาณว่าหลุดพ้น.
    พระสาริบุตร แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยนัยเดียวกัน. นอกนั้นแสดง ธรรมะทำนองเดียวกับหมวด ๑๐ หลายข้อเป็นแต่เพิ่มข้อปลีกย่อยขึ้นอีก ๑ จึงเป็น ๑๑ ข้อ.
    ในข้อสุดท้ายตรัสแสดงการที่ภิกษุชื่อว่ามีความสำเร็จล่วงส่วน อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะอาศัยธรรม ๓ ข้อ รวม ๓ ประการ อาศัยธรรม ๒ ข้อ ๑ ประการ ( รวมเป็น ๑๑ ) ธรรม ๓ ข้อ ประการที่ ๑ คือศีล, สมาธิ, ปัญญา ; ธรรม ๓ ข้อ ประการที่ ๒ คือแสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์, ทายใจได้เป็นอัศจรรย์, สั่งสอนได้เป็นอัศจรรย์ ; ธรรม ๓ ข้อ ประการที่ ๓ คือความเห็นชอบ, ความรู้ชอบ, ความพ้นชอบ ; ธรรม ๒ ข้อ คือวิชชาความรู้, จรณะความประพฤติ.
    ๒. ตรัสแสดงธรรมแก่มหานามศากยะ
    เรื่อง วิหารธรรม ( ธรรมอันควรเป็นที่อยู่แห่งจิต ) ๕ คือศรัทธา, ความเพียร, สติ, สมาธิ, ปัญญา และเจริญธรรมที่ยิ่งขึ้นไปอีก ๖ คือระลึก ถึงพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, ศีล, จาคะ ( การสละ ), เทวดา ( เฉพาะข้อเทวดา หมายถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา คือ ศรัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา ).
    ตรัสแสดงธรรมแก่นันทิยศากยะ ทำนองเดียวกับมหานามศากยะ เป็นแต่แสดง วิหารธรรม ๖ โดยเพิ่มศีลอีก ๑ ข้อ และแสดงธรรมที่ควรระลึก ๕ คือ พระพุทธ, พระธรรม, กัลยาณมิตร, จาคะ, เทวดา,
    ตรัสแสดงธรรมแก่พระสุภูติ ถึง สัทธาปทาน ( ลักษณะของศรัทธา ) ของ กุลบุตรผู้ออกบวช ๑๑ อย่าง คือมีศีล, สดับมาก, คบเพื่อนดีงาม, ว่าง่าย, ช่วยทำธุระของเพื่อนพรหมจารี, ใคร่ธรรม, ปรารภความเพียร, ระลึกชาติได้, ได้ทิพยจักษุ, ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ ( ทำอาสวะให้สิ้น ).
    ตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาเจโตวิมุติ ( เมตตาที่เป็นฌาน ) ๑๑ ประการ คือหลับเป็นสุข, ตื่นเป็นสุข, ไม่ฝันร้าย, เป็นที่รักของมนุษย์, เป็นที่รักของอมนุษย์, เทวดาย่อมรักษา, ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย, จิคเป็นสมาธิได้เร็ว, ผิวหน้าผ่องใส, ไม่หลงตาย, ถ้ามิได้บรรลุธรรมอันยิ่งขึ้นไป ก็จะเข้าสู่พรหมโลก ( เมื่อตายไปแล้ว ).
    ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ถาม พระอานนท์ถึงธรรมข้อเดียวที่ภิกษุผู้บำเพ็ญ เพียรไม่ประมาทในธรรมนั้น แล้วจะสิ้นอาสวะได้ ท่านแสดงการเจริญฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔, การเจริญเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขาที่เป็น เจโตวิมุติ ( เป็นฌาน ), การเจริญอรูปฌานที่ ๑ ถึงที่ ๓ ( รวม ๑๑ ข้อ ) ว่า เพียงเจริญข้อใดข้อหนึ่ง แล้วรู้ว่า สิ่งนี้ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็น ธรรมดา ก็อาจสิ้นอาสวะได้ หรือถ้าไม่สิ้นอาสวะ ก็จะเป็นพระอนาคามี. ( พึงสังเกตว่า บำเพ็ญฌานแล้ว กลับพิจารณาฌานทั้งสิบเอ็ดข้อนั้นว่า ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา อันเป็นวิธีของวิปัสสนา ก็บรรลุความสิ้นอาสวะได้ ). ทสมคฤหบดีพอใจ กล่าวว่าเหมือนแสวงหาปากขุม ทรัพย์แห่งเดียว แต่ได้พบถึง ๑๑ แห่ง ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ หน้า ๑ ) ในหมวดเลขที่ ๒. อัฏฐกนาครสูตร เทียบดูด้วย
    ตรัสแสดงการขาดและการประกอบด้วยคุณสมบัติของคนเลี้ยงโคฝ่ายละ ๑๑ ข้อ เทียบธรรมะ ( ดูมหาโคปาลสูตร หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ หน้า ๔ ) ๓๓. มหาโคปาลสูตร
    ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึง การได้สมาธิ ที่ไม่ต้องมีความกำหนดหมาย ในสิ่งต่าง ๑๑ ข้อว่าเป็นสิ่งนั้น แต่ก็ยังมีสัญญาอยู่ได้ คือ ๑ - ๔. ธาตุ ๔, ๕ - ๘. อรูปฌาน ๔, ๙. โลกนี้, ๑๐. โลกหน้า, ๑๑ สิ่งที่ได้เห็น, ได้ยิน, ได้ทราบ, ได้รู้.

    <center>พระสูตรนอกหมวด ๕๐</center>
    ตรัสแสดงการขาดคุณสมบัติและการประกอบด้วย คุณสมบัติ ๑๑ ประการของคนเลี้ยงโค
    เทียบธรรมะ โดยตรัสย้ายนัยทางธรรม คือพิจารณาเห็นความเป็นของไม่เที่ยง, ทนอยู่ไม่ได้, ไม่ใช่ตัวตน, สิ้นไป, เสื่อมไป, ความคลายกำหนัด, ความดับ, ความสละ ในอายตนะภายใน, อายตนะภายนอก, วิญญาณ, สัมผัส, เวทนา, สัญญา, สัญเจตนา, ตัณหา, วิตก, วิจาร ซึ่งเป็นไปทางทวาร ๖ มีตา เป็นต้น.
    ตรัสว่า ควรเจริญธรรม ๑๑ อย่าง คือรูปฌาน ๔, พรหมวิหารที่เป็นเจโตวิมุติ ๔ ( มีเมตตา เป็นต้น ), อรูปฌานที่ ๑ ถึง ๓ ( รวมเป็น ๑๑ ) เพื่อละอุปกิเลส ๑๖ มีราคะ เป็นต้น ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ หน้า ๑ ) ๗. วัตถูปมสูตร


    <center> จบพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ </center>
    <center> อันว่าด้วยชุมนุมธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ


    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๒๕ ชื่อขุททกนิกาย </center> <center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗)</center> <center>ขุททกปาฐะ, ธัมมปทาคาถา, อุทาน, อิติวุตตกะ, สุตตนิบาต.</center>
    เล่ม ๒๕ นี้เป็นเล่มแรกของขุททกนิกาย หรือหมวดเบ็ดเตล็ด. ได้กล่าวแล้วในตอนแรกว่า ขุททกนิกาย หรือหมวดเบ็ดเตล็ดนี้ เริ่มตั้งแต่เล่มที่ ๒๕ ถึงเล่มที่ ๓๓ รวม ๙ เล่ม ว่าด้วยหัวข้อใหญ่ รวม ๑๕ เรื่อง ( ดูหน้าความรู้เรื่องพระไตรปิฎก ) หัวข้อสุตตันตปิฎกและข้อสังเกตท้ายสุตตันตปิฎก เฉพาะเล่มที่ ๒๕ นี้ มีหัวข้อใหญ่รวมอยู่ถึง ๕ เรื่อง คือ :-
    ๑. ขุททกปาฐะ บทสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ.
    ๒. ธัมมปทคาถา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ธรรมบท แปลว่า บทแห่งธรรม ว่าด้วยสุภาษิตสั้น ๆ ประมาณ ๓๐๐ หัวข้อ.
    ๓. อุทาน ว่าด้วยพระพุทธภิษที่ทรงเปล่งออกมาปรารภเหตุการณ์นั้น ๆ.
    ๔. อิติวุตตกะ ว่าด้วยถ้อยคำที่อ้างอิงว่าเป็นภาษิตของพระผู้มีพระภาค.
    ๕. สุตตนิบาต ว่าด้วยชุมนุมพระสูตรเบ็ดเตล็ด.


    <center> ๑. ขุททกปาฐะ </center>
    <center>บทสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ</center>
    แบ่งออกเป็น ๙ ส่วน คือ :-
    ๑. สรณคมนะ ( การถึงสรณะ ) เป็นบทสวดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็น ที่พึ่งที่ระลึกรวม ๓ ครั้ง ( พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ถึง ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ).
    ๒. ทสสิกขาบท (สิกขาบท ๑๐) เป็นบทสมาทานศีล ( สำหรับสามเณร ) คือเว้นจากการฆ่า สัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติล่วงพรหมจรรย์, พูดปด, ดื่มสุราเมรัย, บริโภคอาหารในเวลากาล;( เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลารุ่งอรุณ ), ฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดูการเล่น, ทัดทรงระเบียบดอกไม้ของหอม ตกแต่งประดับประดา, ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่, รับทองและเงิน.
    ๓. อาการ ๓๒ คือ ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง, เนื้อ, เอ็น, กระดูก, เยื่อในกระดูก, ม้าม, หัวใจ, ตับ, พังผืด, ไต, ปอด, ใส้ใหญ่, ใส้น้อย, อาหารใหม่, อาหารเก่า, ดี, เศลษม์, หนอง, เลือด, เหงื่อ, มันข้น, น้ำตา, เปลวมัน, น้ำลาย, น้ำมูก, ไขข้อ, มูตร, มันสมอง.
    ๔. ปัญหาของสามเณร อะไรชื่อว่าหนึ่ง ? สัตว์เป็นอยู่ได้ด้วยอาหาร. อะไรชื่อว่าสอง ? นามและรูป ฯ ล ฯ ( ดูข้อความหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ หน้า ๑ ซึ่งมี ๑๐ ข้อ ) ในข้อหมายเลขที่ ๓.
    ๕. มงคลสูตร เล่าเรื่องของพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาของเทวดา ผู้มาถามว่าอะไรเป็น มงคล โดยตรัสชี้ไปที่ข้อประพฤติปฏิบัติทั้งสิ้น รวม ๓๗ ประการ<sup></sup> มิได้ทรงชี้ไปที่มงคลภายนอก หรือโชคลางอะไรเลย ดังต่อไปนี้ :-
    ๑. ไม่คบพาล ๒. คบบัณฑิต ๓. บูชาผู้ควรบูชา ๔. อยู่ในประเทศอันสมควร ๕. เคยทำบุญไว้ในกาลก่อน ๖. ตั้งตนชอบไว้ ๗. สดับตรับฟังมาก ๘. ศิลปะ ๙. ศึกษาวินัยดี ๑๐. วาจาเป็นสุภาษิต ๑๑. บำรุงบิดามารดา ๑๒. สงเคราะห์บุตรภริยา ๑๓. การงานไม่อากูล ๑๔. ให้ทาน ๑๕. ประพฤติธรรม ๑๖. สงเคราะห์ญาติ ๑๗. การงานที่ไม่มีโทษ ๑๘. เว้นจากบาป ๑๙. สำรวมจาก การดื่มน้ำเมา ๒๐. ไม่ประมาทในธรรม ๒๑. เคารพ ๒๒. เจียมตัว ๒๓. สันโดษ ( ยินดีด้วยของของตน ) ๒๔. รู้คุณท่าน ๒๕. ฟังธรรมตาม กาล ๒๖. อดทน ๒๗. ว่าง่าย ๒๘. เห็นสมณะ ๒๙. สนทนาธรรมตามกาล ๓๐. ตบะ ( ความเพียร ) ๓๑. ประพฤติพรหมจรรย์ ๓๒. เห็น อริยสัจจ์ ๓๓. ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ๓๔. จิตไม่หวั่นไหวเมื่อถูกต้องโลกธรรม ๓๕. จิตไม่เศร้าโศรก ๓๖. จิตปราศจากธุลี ๓๗. จิตเกษม ( ปลอดโปร่งจากกิเลส ).
    ๖. รตนสูตร เป็นบทสวดพรรณนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และอ้างสัจจวาจา อำนวยสวัสดิมงคล.
    ๗. ติโรกุฑฑกัณฑ์ ใน ที่บางแห่งเรียกติโรกุฑฑสูตร คำว่า กัณฑ์ ก็แปลว่า หมวด ติโรกุฑฑะ แปลว่า " นอกฝา " เป็นเรื่องพรรณนาถึงผู้ล่วงลับไปแล้วว่า การอุทิศส่วนกุศลไปให้ ย่อมเข้าถึงคือสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับเหล่านั้นโดย ควรแก่ฐานะ.
    ๘. นิธิกัณฑ์ ว่าด้วย เรื่องขุมทรัพย์ การฝังทรัพย์ไว้ในดินไม่ยั่งยืน อาจถูกคนลักขุดไป หรือ ดินเลื่อนเคลื่อนที่ไป หรือฝังแล้วจำไม่ได้ เมื่อสิ้นบุญ สิ่งทั้งหมดนั้นก็พินาศ แต่ขุมทรัพย์คือบุญ ( อันเกิดแต่การบำเพ็ญคุณงามความดี ) เป็น ขุมทรัพย์ที่ใครจะช่วงชิงไม่ได้ เป็นของติดตัวไปเสมอ และอาจให้สำเร็จประสงค์ตั้งแต่อย่างต่ำถึงอย่างสูง.
    ๙. กรณียเมตตสูตร พรรณนาถึงการแผ่เมตตาไปในสัตว์ทุกประเภทให้มีความสุขทั่วหน้ากัน.


    <center> ๒. ธัมมปทคาถา หรือธัมมบท </center>
    <center>ว่าด้วยบทแห่งธรรม</center>
    ได้กล่าวแล้วว่า ธัมมบท ( หรือเขียนว่าธรรมบทก็ได้ ) หมายถึงสุภาษิตสั้น ๆ ประมาณ ๓๐๐ ข้อ และได้แปลไว้เป็น อย่างแล้วในหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๙๗.-๑๒๕ รวมหลายสิบข้อ ในที่นี้จะนำข้อความที่ไม่ซ้ำกันมา แปลไว้เป็นตัวอย่างอีก ๑๐ ข้อ คือ :-
    ๑. ไม่พึงมองดูความผิดพลาดของคนอื่น หรือมองดูสิ่งที่เขาทำหรือมิได้ทำ พึงมองดูแต่สิ่งที่ตนทำแล้ว หรือยัง มิได้ทำเท่านั้น.
    ๒. ดอกไม้ที่น่าชอบใจ มีสี แต่ไม่มีกลิ่น ก็เหมือนวาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม.
    ๓. ในมนุษย์ทั้งหลาย คนที่ถึงฝั่งมีน้อย คนนอกนี้วิ่งเลาะไปตามชายฝั่ง ( ข้างนี้ ) เท่านั้น.
    ๔. คนไม่มีศรัทธา, ไม่กตัญญู, ตัดช่อง ( เข้าขโมย ), มีโอกาศอันถูกขจัด, หมดหวัง, ผู้นั้นเป็นบุรุษผู้สูงสุด. ( เป็น คำกล่าว ดัดแปลงคำด่าให้เป็นคำดี คำว่า ไม่มีศรัทธา ในทางที่ดี ควรแปลว่า " ไม่เชื่อง่าย " คือพยายามทำให้ประจักษ์ในผลความดี ด้วยตนเองจนไม่ต้องเชื่อผู้อื่น, ไม่กตัญญู หรืออตัญญู แปลในทางดีว่า ผู้รู้นิพพาน ซึ่งไม่มีสิ่งใด ๆ หรือใครมาทำมาสร้างได้, ตัดช่อง ( เข้าขโมย ) แปลจากคำว่า สันธิจเฉทะ ซึ่งอาจแปลในทางที่ดีได้ว่า ตัดที่ต่อคือวัฏฏะ หรือการเวียนว่ายตายเกิดไม่ต้องเกิด อีก. มีโอกาสถูกขจัด แปลในทางดีได้ว่า หมดโอกาสที่จะเกิดอีก เพราะหมดพืชคือกุศลกรรมและอกุศลกรรมแล้ว หมดหวังหรือ คายความหวัง อาจจะตีความได้ว่า เมื่อได้บรรลุสิ่งที่สูงสุดแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องคอยมุ่งหวังอะไรต่อไปอีก. เรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่างใน ทางมองแง่ดี จากคำเยาะเย้ยถากถางของคนที่มุ่งร้าย ).
    ๕. ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้มิได้ประทุษร้าย ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส บาปย่อมสนองคนพาลนั้นเหมือนฝุ่นที่ ซัดไปทวนลม.
    ๖. คนเลี้ยงโคใช้ท่อนไม้ต้อนโคไปสู่ที่หากินฉันใด ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไปฉัน นั้น.
    ๗. ร่าเริงอะไรหรือหรือชื่นใจอะไรกัน ในเมื่อโลกลุกเป็นไฟอยู่เป็นนิตย์ ท่านทั้งหลายถูกความมืดห่อหุ้มแล้ว ไฉน จึงไม่แสวงหาดวงประทีป.
    ๘. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขาร ( สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ) เป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ความจริงข้อนี้แล้วดับทุกข์ได้เป็นสุขอย่างยิ่ง.
    ๙. อตุละเอย ! การนินทานี้เป็นของเก่า มิใช่ของดุจมีในวันนี้ คนนั่งนิ่งก็ถูกนินทา คนพูดมากก็ถุกนินทา คนพูด พอประมาณก็ถูกนินทา คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก.
    ๑๐. ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี เคราะห์เสมอด้วยโทสะไม่มี ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี.
    มีคำสรุปว่า ในธรรมบทมีคาถา คำฉันท์ ) ๔๒๓ บท ( บางเรื่องและบางหัวข้อ อาจประกอบด้วยคำฉันท์หลายบท เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่าประมาณ ๓๐๐ หัวข้อ จึงหมายเฉพาะเนื้อเรื่อง ).


    <center> ๓. อุทาน </center>
    (พระอรรถกถาจารย์อธิบายเรื่องการจัดระเบียบไว้ว่า อุทานนี้มี ๘ วรรค กล่าวโดยสูตรประมาณ ๘๐ สูตร กล่าว โดยคาถา ( คำฉันท์ ) มี ๙๕ บท ).
    ใจความสำคัญในเรื่องอุทานก็คือ เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเหตุการณ์นั้น ๆ ก็ทรงเปล่ง อุทานเป็นข้อธรรมอันมีเนื้อหาเป็นคำสั่งสอน ในที่นี้จะเลือกแปลบทอุทานใน ๘ วรรคนั้น วรรคละ ๒ เรื่อง รวมเป็น ๑๖ เรื่อง ( จาก ๘๐ เรื่อง ) ดังต่อไปนี้ :-

    <center>๑. โพธิวรรค ว่าด้วยการตรัสรู้</center>
    ๑. ทรงเปล่งอุทานในราตรีแรกแห่งการตรัสรู้
    ในยามที่ ๑ " ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ใน กาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ. "
    ในยามที่ ๒ " ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ใน กาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัย. "
    ในยามที่ ๓ " ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาเสียได้ เหมือนดวงอาทิตย์กำจัดความมืดทำท้องฟ้าให้สว่างฉะนั้น. "
    ๒. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระสังคามชิผู้ไม่เยื่อใยในอดีตภริยา
    " ผู้ใดไม่ยินดีผู้ที่มา ไม่เศร้าโศกถึงผู้ที่ไป เรากล่าวถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้ชนะสงคราม ผู้พ้นจากความข้อง ว่าเป็น พราหมณ์.

    <center>๒. มุจจลินทวรรค ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ต้นจิก</center>
    ๑. ทรงเปล่งอุทานที่ใต้ต้นจิก
    " ความสงัดของบุคคลผู้ยินดี ผู้สดับธรรม ผู้เห็นด้วยปัญญา เป็นสุข. ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก. ความปราศจากราคะ คือความก้าวล่วงกามทั้งหลาย เป็นสุขในโลก. การนำออกเสียซึ่งอัสมิมานะ ( ความถือตัวว่าเรา เป็นนั่นเป็นนี่ ) เป็นสุขอย่างยิ่ง. "
    ๒. ทรงเปล่งอุทาน ณ เชตวนารม กรุงสาวัตถี ปรารภคำสนทนาของภิกษุทั้งหลาย
    " ความสุขทางกามอันใดในโลก และความสุขใดอันเป็นทิพย์ ความสุขทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งความ สุขเพราะสิ้นตัณหา ( ความทพยานอยาก ). "

    <center>๓. นันทวรรค ว่าด้วยพระนันทะ</center>
    ๑. ทรงเปล่งอุทานปรารภพระนันทะ ( ผู้เป็นพระอนุชาต่างพระมารดา )
    " ผู้ใดข้ามหล่มกามได้ ย่ำยีหนามคือกามได้ บรรลุความสิ้นไปแห่งความหลง ผู้นั้นเป็นผู้เห็นภัย ( ภิกษุ ) ย่อมไม่หวั่น ไหวในสุขและทุกข์. "
    ๒. ทรงเปล่งอุทานปรารภพระปิลินทวัจฉะ ( ผู้พูดไม่ไพเราะเพราะเคยปาก )
    " ผู้ใดไม่มีมายา ไม่มีความถือตัว สิ้นความโลภ ไม่ยึดว่าอะไรเป็นของเรา ปราศจากความหวัง บันเทาความโกรธ ดับอัตตาเสียได้ ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.. "

    <center>๔. เมฆิยวรรค ว่าด้วยพระเมฆิยะ</center>
    ๑. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระเมฆิยะ
    " ความความตรึกที่เลว ( กามวิตก ) ความตรึกที่ละเอียดอ่อน ( ปรารภญาติ, ชนบท, ลาภ, สักการะ เป็นต้น ) ที่ ติดตามไป ที่ทำจิตให้ผิดปกติ ผู้มีจิตหมุนไป ไม่รู้ความตรึกแห่งใจเหล่านี้ ยอมแล่นไป ๆ มา ๆ ( ในอารมณ์ มีรูป เสียง เป็นต้น ). แต่ผู้รู้ความ ตรึกแห่งใจเหล่านี้ มีความเพียร มีสติสำรวม ย่อมเป็นผู้ตรัสรู้ ละความตรึกเหล่านั้นที่ติดตามไป ที่ทำใจให้ผิดปกติได้โดยไม่เหลือ. "
    ๒. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระอุปเสนาวังคันตบุตร
    " ผู้ใดไม่เดือดร้อนต่อชีวิต ไม่เศร้าโศกเมื่อจะตาย ผู้นั้นแลเป็นนักปราชญ์ เป็นผู้เห็นบท ( แห่งธรรม ) ย่อมไม่เศร้าโศก ในท่ามกลางแห่งโศก. ภิกษุถอนความทะยานอยากในภพได้ มีจิตสงบ สิ้นความท่องเที่ยวสู่ความเกิด ย่อมไม่มีความเกิดอีก. "

    <center>๕. โสณัตเถรวรรค ว่าด้วยพระโสณเถระ</center>
    ๑. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระนางมัลลิกา
    " บุคคลเอาใจตรวจดูทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบคนอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ คนอื่นก็รักตนอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน เพราะเหตุนั้น ผู้ใคร่ความสุขแก่ตน จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น. "
    ๒. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระเทวทัตผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
    " ความดีคนดีทำได้ง่าย คนชั่วทำได้ยาก ความชั่วคนชั่วทำง่าย แต่คนที่ประเสริฐทำได้ยาก. "

    <center>๖. ชัจจันทวรรค</center>
    <center>ว่าด้วยอุปมาด้วยคนตาบอดแต่กำเนิด</center>
    ๑. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระเจ้าปเสนทิโกศล
    " ไม่พึงพยายามในความชั่วทุกอย่าง, ไม่พึงเป็นคนของคนอื่น ( ควรเป็นตัวของตัวเอง ), ไม่พึงอาศัยผู้อื่นดรงชีวิต, ไม่พึงประพฤติธรรมให้มีแผล. "
    ๒. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภนักบวชนอกศาสนาที่เถียงทะเลาะกัน เพราะเห็นต่าง ๆ กัน
    " สมณพราหมณ์บางพวกย่อมติดอยู่ในทิฏฐิเหล่านี้ เป็นคนมีความเห็นแง่เดียว ย่อมทะเลาะวิวาทกัน. "

    <center>๗. จูฬวรรค ว่าด้วยภิกษุผู้ร่างเล็ก</center>
    ๑. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระภัททิยะผู้ค่อม
    " ผู้ใดหลุดพ้นในเบื้องบน เบื้องต่ำ ในที่ทั้งปวง ไม่ตามเห็นว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ ผู้หลุดพ้นอย่างนี้ ได้ข้ามแล้วซึ่งโอฆะ ( ห้วงน้ำ ) ที่ยังไม่เคยข้าม เพื่อความไม่เกิดอีก. "
    ๒. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภมนุษย์ผู้ติดอยู่ในกาม
    " ผู้บอดเพราะกาม ติดอยู่ในข่าย ( คือตัณหา ) ถูกเครื่องปกปิดคือตัณหาปกปิดไว้ ถูกพญามารผู้ผูกมัดสัตว์ผู้ประมาท ผูกไว้แล้ว ย่อมเป็นเหมือนปลาเข้าไปในปากไซ ย่อมถึงความแก่และความตาย เหมือนลูกโคยังดื่มนม วิ่งเข้าหาแม่. "

    <center>๘. ปาฏลิคามิวรรค ว่าด้วยอุบาสกชาวปาฏลิคาม</center>
    ๑. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระนิพพาน
    " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้นมีอยู่ คืออายตนะที่ไม่มีดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาสานัญจายตนะ, วิญญาณัญจาตนะ,. อากิญจัญญาตนะ, เนวสัญญานาสัญญายตนะ, ไม่มีโลกนี้, ไม่มีโลกอื่น, ไม่มีพระจันทร์, พระอาทิตย์ทั้งสอง. เราไม่กล่าวถึงอายตนะนั้น ว่า เป็นการมา, การไป, การตั้งอยู่, การจุติ ( เคลื่อน ), การอุปบัติ ( เข้าถึงหรือเกิด ), อายตนะนั้น ไม่มีที่ตั้ง, ไม่มีความเป็นไป,ไม่มีอารมณ์. นั่น แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์. "
    ( หมายเหตุ : คำอธิบายพระนิพพานในรูปปฏิเสธเช่นนี้ บางท่านอาจฉงนว่าจะมีประโยชน์หรือมีความมาย อย่างไร ขอตอบว่า อย่าว่าแต่พระนิพพานซึ่งเป็นธรรมะอันสูงยิ่ง จะอธิบายได้ยากเลย แม้เรื่องง่าย ๆ ในโลกนี้ เช่น สีขาว สีเขียว ถ้าจะให้ อธิบาย ก็พูดไม่ถูกเหมือนกัน บางครั้งก็ต้องอาศัยสำนวนปฏิเสธหรือชี้ให้ดู พระนิพพานก็เช่นกัน ผู้บรรลุด้วยตนเองก็ไม่มีปัญหา ส่วนผู้ยังมิได้ บรรลุ ก็ต้องอธิบายว่า ไม่เป็นอย่างที่เขานึกกันอย่างโลก ๆ )
    ๒. ทรงเปล่งอุทาน ปรารภนายจุนทะ กัมมารบุตร
    " บุญย่อมเจริญแก่ผู้ให้ เวรของผู้สำรวมย่อมไม่ถูกก่อขึ้น ผู้ฉลาดย่อมละความชั่ว ปรินิพพาน เพราะสิ้นราคะ, โทสะ, โมหะ. "


    <center> ๔. อิติวุตตกะ </center>
    <center>ว่าด้วยข้อความที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างนี้</center>
    อิติวุตตกะนี้ แบ่งออกเป็น ๔ นิบาต ( ชุมนุมธรรมะ ๔ ส่วน ) คือเป็นเอกนิบาต ( ชุมนุมธรรมะที่มี ๑ ข้อ ) ๒๗ สูตร, เป็นทุกนิบาต ( ชุมนุมธรรมะที่มี ๒ ข้อ ) ๒๒ สูตร, เป็นติกนิบาต ( ชุมนุมธรรมะที่มี ๓ ข้อ ) ๕๐ สูตร, เป็นจตุกกนิบาต ( ชุมนุม ธรรมะที่มี ๔ ข้อ ) ๑๓ สูตร, รวมทั้งสิ้นจึงมี ๑๑๒ สูตร.<sup></sup> ในการย่อจะเลือกย่อนิบาตละ ๕ สูตร ดังต่อไปนี้:-

    <center>เอกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑ ข้อ</center>
    ๑. ข้าพเจ้า ( พระอานนท์ ) ได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคผู้อรหันต์ได้ตรัสคำนี้ไว้ คือ " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้ง หลายจงละธรรมอย่างหนึ่ง เราเป็นผู้ประกันพวกเธอให้ได้ความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งนั้น คือ ความโลภ. " ตรัสทำนอง เดียวกันนี้ ถึงโทสะ ( ความคิดประทุษร้าย ), โมหะ ( ความหลง ), ความโกรธ, มักขะ ( ลบหลู่บุญคุณท่าน ), มานะ ( ความถือตัว ).
    ๒. ข้าพเจ้า ( พระอานนท์ ) ได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคผู้อรหันต์ได้ตรัสคำนี้ไว้ คือ " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ ไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง ไม่ทำจิตให้คลายความกำหนัดในสิ่งนั้น ไม่ละสิ่งนั้น ก็ไม่ควรจะสิ้นทุกข์ได้ " และได้ตรัสทำนองเดียวกันนี้ ถึงเรื่องมานะ, โลภะ, โทสะ, โมหะ, ความโกรธ, ความลบหลู่บุญคุณท่าน.
    ๓.<sup></sup> " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่เห็นนีวรณ์ ( ธรรมเครื่องกั้นจิตมิให้บรรลุ คุณความดี ) อื่นแม้ข้อหนึ่ง ที่สัตว์ถูกนีวรณ์นั้นหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน เหมือน นีวรณ์ คืออวิชชา ( ความ ไม่รู้ ) เลย. "
    ๔. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่เห็นเครื่องร้อยรัดอื่นแม้ข้อหนึ่ง ที่สัตว์ถูกร้อยรัดแล้ว ย่อมแล่นไปท่องเที่ยวไปตลอด กาลนาน เหมือนเครื่องร้อยรัด คือ ตัณหา ( ความทะยานอยาก ) เลย. "
    ๕. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่เห็นองค์ ( องคคุณ ) อื่นแม้ข้อหนึ่ง ที่เป็นองค์ภายในของภิกษุผู้ยังศึกษา ผู้ยังมิได้ บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมอันเกษม ( ปลอดโปร่ง ) จากโยคะ<sup></sup> อันยอดเยี่ยม, อันเป็นองค์ ที่มีอุปการะมาก เหมือน โยนิโสมมนสิการ ( การใส่ใจหรือการพิจารณาโดยแยบคาย ) นี้เลย. " ( องค์ภายนอกตรัสถึงการคบเพื่อนที่ ดีงาม ).

    <center>ทุกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๒ ข้อ</center>
    ๑. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้องขัดเดือดร้อนในปัจจุบัน ตายไปแล้วก็หวังทุคคติ ( ที่ไปอันชั่ว ) ได้. ธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่สำรวมอินทรีย์<sup></sup> กับ ความไม่รู้ประมาณในโภชนะ คืออาหารที่กินเข้าไป. " ( ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม ).
    ๒. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะ ๒ อย่างเหล่านี้ ทำความเดือดร้อนให้ คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทำความ ดี, ทำความชั่วไว้ ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนว่า เรามิได้ทำความดีไว้, ย่อมเดือดร้อนว่า เราได้ทำความชั่วไว้. " ( ธรรมะที่ไม่ทำความเดือดร้อนให้ คือที่ตรงกันข้าม ).
    ๓. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง ย่อมเหมือนถูกนำไปตั้งไว้ในนรก ธรรมะ ๒ อย่าง คือ ศีลอันชั่ว, ทิฏฐิ ( ความเห็น ) อันชั่ว. " ( ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม คือศีลอันดีงาม ทิฏฐิอันดีงาม ).
    ๔. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ ไม่มีความเพียร ไม่มีความเกรงกลัว ( ต่อบาป ) เป็น ผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอันยอดเยี่ยม. ภิกษุผู้มีความเพียร มีความเกรงกลัว ( ต่อบาป ) จึงเป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอันยอดเยี่ยม. " ( ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม ).
    ๕. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความตรึก ( วิตก ) ๒ อย่าง ย่อมมาสู่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยมาก คือ ความตรึกอันเกษม ( ไม่เบียดเบียน ) และ ความตรึกอันสงัด ( จากอกุศลธรรม ). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตมีความไม่ เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีในความไม่เบียดเบียน ความตรึกข้อนี้ จึงมาสู่ตถาคตผู้ยินดีในความไม่เบียดเบียนโดยมากว่า เราย่อมไม่เบียดเบียน ใคร ๆ ด้วยการกระทำนี้ ไม่ว่าจะยังเป็นผู้สะดุ้งดิ้นรน ( ด้วยกิเลส ) หรือว่าเป็นผู้ถาวร ( ไม่ดิ้นรนเพราะกิเลสได้แล้ว ). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตมีความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีในความสงัด. ความตรึกข้อนี้ จึงมาสู่ตถาตคผู้ยินดีในความสงัดโดยมากว่า เราละอกุศลได้แล้ว. เพราะ เหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงอยู่อย่างยินดีในความไม่เบียดเบียน ยินดีในความสงัดเถิด. "

    <center>ติกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๓ ข้อ</center>
    ๑. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธาตุ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ รูปธาตุ ( ธาตุคือรูป ), อรูปธาตุ ( ธาตุคือสิ่งที่ ไม่มีรูป ), " ( ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม ) นิโรธธาตุ ( ธาตุคือนิโรธความดับ ). "
    ๒. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กาเมสนา ( การแสวงหากาม ), ภเวสนา( การแสวงหาภพ คือความมีความเป็น ), พรหมจริยสนา ( การแสวงหพรหมจรรย์ ). "
    ๓. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ มังสจักษุ ( ตาเนื้อ ), ทิพพจักษุ ( ตาทิพย์), ปัญญาจักษุ ( ตาปัญญา ). "
    ๔. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นิสสรณิยธาตุ ( ธาตุคือความแล่นออก หรือความพ้นไป ) ๓ ประการ คือ เนกขัมมะ ( การออกจากกาม ) เป็นความพ้นไปแห่งกามทั้งหลาย, อารุปปะ ( ความเป็นของไม่มีรูป ) เป็นความพ้นไปแห่งรูปทั้งหลาย, นิโรธ ( ความดับ ) เป็นความพ้นไปแห่งสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย. "
    ๕. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๓ ประเภท มีอยู่ในโลก คือ ๑. บุคคลที่เสมอด้วยฝนที่ไม่ตก ๒. บุคคลที่ เหมือนฝนตกเฉพาะแห่ง ๓. บุคคลที่เหมือนฝนตกทุกแห่ง ( ตรัสอธิบายต่อไปว่า ผู้ไม่ให้ทานเลย เปรียบเหมือนฝนไม่ตก, ผู้ให้ทานแก่บาง คน ไม่ให้แก่บางคน เปรียบเหมือนฝนตกเฉพาะแห่ง, ผู้ให้ทานแก่ทุกคน คือแก่สมณะ, พราหมณ์, คนกำพร้า, คนเดินทาง, วณิพพก,<sup> </sup>ยาจก เปรียบเหมือนฝนตกทุกแห่ง ). "

    <center>จตุกกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๔ ข้อ</center>
    ๑. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ของที่เล็กน้อยด้วย หาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย มี ๔ อย่าง คือ ผ้าเปื้อนฝุ่น ( เศษ ผ้าที่เที่ยวเก็บตกในที่นั้น ๆ ), อาหารที่หามาด้วยลำแข้ง ( ที่เที่ยวบิณฑบาตได้มา ), โคนไม้, ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า. ตราบเวลาที่ภิกษุยินดีด้วยของเล็กน้อย อันหาได้ง่าย อันไม่มีโทษ เราย่อมกล่าวความยินดีนั้นว่า เป็นองค์ของความเป็นสมณะแต่ละข้อของ ภิกษุนี้. "
    ๒. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ) ของผู้รู้ผู้เห็น ไม่กล่าว สำหรับผู้ไม่รู้ไม่เห็น คือ รู้ทุกข์, เหตุให้ทุกข์เกิด, ความดับทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. "
    ๓. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณพราหมณ์เหล่าใดไม่รู้ทุกข์, เหตุให้ทุกข์เกิด, ความดับทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับทุกข์ ตามเป็นจริง. สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเป็นเพียง สมณสมมต, พราหมณสมมต ; ไม่ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์ของความ เป็นสมณะ, ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยความรู้ยิ่งอยู่ในปัจจุบัน. " ( ฝ่ายดีทรงแสดงตรงกันข้าม ).
    ๔. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่างเหล่านี้ คือความเกิดขึ้นแห่งตัณหาเพราะเหตุแห่งจีวร ( ผ้านุ่งห่ม ), อาหาร ( บิณฑบาต ), ที่อยู่อาศัย ( เสนาสนะ ), ความมีความเป็น และความไม่มีไม่เป็น ( ภวาภวะ ). "
    ๕. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! โลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตก็ปลีกตัวได้จากโลก, เหตุที่ทำให้โลกเกิดอัน ตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตก็ละเหตุที่ให้เกิดโลกได้แล้ว, ความดับแห่งโลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตก็ได้ทำให้แจ้งความดับแห่ง โลกแล้ว, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตก็ได้เจริญข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว. "


    <center> ๕. สุตตนิบาต ชุมนุมพระสูตร </center>
    ( สุตตนิบาต หรือชุมนุมพระสูตรนี้ มีพระสูตรทั้งสิ้น ๗๐ สูตร ล้วนเป็นคำฉันท์ทั้งสิ้น บางแห่งแม้จะมีร้อยแก้วปน แต่สาระผูกเป็นคำฉันท์ แบ่งออกเป็น ๕ วรรค คือ วรรคแรก ชื่อว่าอุรควรรค ว่าด้วยอุรคสูตรเป็นหัวหน้า มี ๑๒ สูตร, วรรคที่ ๒ ชื่อ จูฬวรรค แปลว่า วรรคเล็ก มี ๑๔ สูตร, วรรคที่ ๓ ชื่อมหาวรรค แปลว่า วรรคใหญ่ มี ๑๒ สูตร, วรรคที่ ๔ ชื่ออัฏฐกวรรค ว่าด้วยพระ สูตรที่มีคำว่า อัฏฐกะตามหลัง ( อัฏฐกะ แปลว่า ผู้ไม่ตั้งอยู่ ถือเอาความว่า ไม่ติด หรืออาจแปลได้ว่า เนื้อความ หรือใจความ ) มี ๑๖ สูตร วรรคที่ ๕ ชื่อปารายนวรรค ว่าด้วยที่มุ่งอันสูง มี ๑๖ สูตร.


    <center> อุรควรรคที่ ๑ มี ๑๒ สูตร </center>
    ๑. อุรคสูตร ( สูตรเปรียบเทียบด้วยงู )
    พรรณนาถึงการที่ภิกษุละความชั่วต่าง ๆ เช่น ความโกรธ, ราคะ, ตัณหา, มานะ เป็นต้น ภิกษุนั้นย่อมละฝั่งนี้ ฝั่งโน้นได้ เหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้งเสียฉะนั้น.
    ๒. ธนิยสูตร ( สูตรว่าด้วยธนิยะผู้เลี้ยงโค )
    แสดงคำโต้ตอบของธนิยะผู้เลี้ยงโค พูดเชื้อเชิญให้ฝนตกเพราะตนได้ทำหน้าที่ของตนเสร็จแล้ว เช่น มุงหลังคา นำ เชื้อไฟมาเตรียมไว้แล้ว ฝนจะตกก็ตกเถิด. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราเป็นผู้ไม่โกรธ ปราศจากตอ ( ของจิต ) มีหลังคา ( คือกิเลส ) อัน เปิดแล้ว, ไฟ ( คือกิเลส ) ก็ดับแล้ว ฝนจะตกก็ตกเถิด. อันเป็นคำโต้ตอบแสดงความเตรียมพร้อมทางโลก กับความเตรียมพร้อมทางธรรม.
    ๓. ขัคควิสาณสูตร ( สูตรเปรียบเทียบด้วย นอแรด )
    เป็นพระสูตรที่พรรณนาการประพฤติพรหมจรรย์ ซึ่งแนะให้อยู่แต่ผู้เดียว เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด.<sup> </sup> เช่น ที่กล่าวว่า " วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนใคร ๆ เลย ไม่ปรารถนาบุตร ก็จะ ปรารถนาสหายแต่ที่ไหน ควรเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น. "
    ๔. กสิภารทวาชสูตร ( ว่าด้วยภารทวาช พราหมณ์ผู้ไถนา )
    พราหมณ์ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพเจ้าไถหว่านแล้วจึงบริโภค ท่านจงไถหว่านบ้างสิ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พระองค์ก็ไถและหว่านเหมือนกัน. เมื่อพราหมณ์ถามถึงไถ จึงตรัสตอบว่า " ศรัทธาเป็นพืช, ความเพียรเป็นฝน, ปัญญาเป็นแอกและไถ, ความละอายใจเป็นงอนไถ, ใจเป็นสายเชือก, สติเป็นผาล ( ใบไถสำหรับไถนา ) "เป็นต้น.
    ๕. จุนทสูตร ( ว่าด้วยนายจุนทะ กัมมารบุตร )
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบคำถามของนายจุนทะ กัมมารบุตร เรื่องสมณะมี ๔ ประเภท คือ ๑. มัคคชินะ ( ผู้ชนะ กิเลสด้วยมรรค ).<sup></sup> ๒. มัคคเทสกะ ( ผู้แสดงมรรค ) ๓. มัคคชีวี ( ผู้ดำรงชีพอยู่ในมรรค คือผู้กำลัง ปฏิบัติ ) ๔. มัคคทูสี ( ผู้ประทุษร้ายมรรค คือผู้ประพฤติชั่ว เท่ากับเป็นผู้ทำลายแห่งความเจริญของตน )."
    ๖. ปราภวสูตร ( ว่าด้วยความเสื่อม )
    พระผู้มีพระภาคตรัสแสดงปากทางแห่งความเสื่อมไว้หลายข้อด้วยกัน. ดังจะยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ " รัก อสัตบุรุษ ( คนชั่ว ), ไม่รักสัตบุรุษ ( คนดี ), ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ, นั่นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม. " " มักหลับ, มักเข้ากลุ่มสนทนา, ไม่หมั่น, เกียจคร้าน, โกรธง่าย, นั่นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม. " " มั่งคั่ง แต่ไม่เลี้ยงมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าล่วงวัย, นั่นเป็นปากทางแห่งความ เสื่อม. " หยิ่งเพราะชาติ, หยิ่งเพราะทรัพย์, หยิ่งเพราะโคตร, ดูหมิ่นญาติของตน, นั่นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม. " " เป็นนักเลงหญิง เป็น นักเลงสุรา, เป็นนักเลงการพนัน, ทำทรัพย์ที่ได้มาแล้วให้พินาศ, นั่นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม. " เป็นต้น.
    ๗. วสลสูตร ( ว่าด้วยคนเลวหรือคนถ่อย )
    พระผู้มีพระภาคตรัสแสดงธรรมแก่ภารทวาชพราหมณ์ผู้บูชาไฟ ถึงเรื่องคนเลว และธรรมที่ทำให้คนเลว รวมหลาย หัวข้อด้วยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้. " คนใดมักโกรธ, ผูกโกรธ, เป็นคนชั่วที่ลบหลู่บุญคุณท่าน, มีความคิดเห็นวิบัติ, มีมายา, พึงรู้คนนั้นว่าเป็น คนเลว. " " คนใดเบียดเบียนผู้เกิดครั้งเดียว หรือเกิด ๒ ครั้ง ( เกิด ๒ ครั้ง คือออกมาเป็นไข่แล้วจึงออกจากไข่เป็นตัวอีกต่อหนึ่ง ), ไม่มีความ เอ็นดูในสัตว์มีชีวิต, พึงรู้คนนั้นว่าเป็นคนเลว. " " ผู้ใดยกตัวเอง, ข่มผู้อื่น, เป็นคนเลวเพราะความถือตัวนั้น, พึงรู้คนนั้นว่าเป็นคนเลว " ในที่ สุดได้ตรัสสรูปหลักการทางพระพุทธศาสนาว่า " บุคคลมิใช่เป็นคนเลวเพราะชาติ มิใช่เป็นคนดี ( พราหมณ์ ) เพราะชาติ แต่เป็นคนเลวเพราะ การกระทำ, เป็นคนดีเพราะการกระทำ. ".
    ๘. เมตตสูตร ( ว่าด้วยการแผ่เมตตา )
    พ้องกับที่กล่าวไว้แล้วในขุททกปาฐะ ( ดูในหัวข้อ ๑ ขุททกปาฐะ บทสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้านบน ) เป็นการแสดงวิธีแผ่เมตตาจิตไปในสัตว์ ทุกชนิดอย่างกว้างขวาง.
    ๙. เหมวตสูตร ( ว่าด้วยการโต้ตอบระหว่าง สาตาคิรยักษ์กับเหวตยักษ์ รวมทั้งพระพุทธภาษิตในตอนท้าย )
    เหมวตยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " โลกเกิดขึ้นในอะไร, ทำความพอใจ ( สันถวะ = ชมเชย ) ในอะไร, โลกอาศัยอะไร และเดือดร้อนในอะไร ? " ตรัสตอบว่า " โลกเกิดขึ้นในสิ่ง ๖ สิ่ง, ทำความพอใจในสิ่ง ๖ สิ่ง, อาศัยสิ่ง ๖ สิ่ง, เดือดร้อน ในสิ่ง ๖ สิ่ง ( คือในกามคุณ ๕ ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ มีใจเป็นที่ ๖ ทั้งนี้ตามพระพุทธภาษิตตอน ต่อไป ) " และได้ตรัสว่า คลายความพอใจในสิ่งเหล่านี้ได้ ก็จะพ้นจากทุกข์เป็นต้น.
    ๑๐. อาฬวกสูตร (ว่าด้วยอาฬวกยักษ์ )
    แสดงการตรัสตอบของพระผู้มีพระภาค ในเมื่ออาฬวกยักษ์ทูลถามแบบข่มขู่ คำถามคำตอบมีดังนี้ :-
    " อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มในในโลกนี้ของบุรุษ ตรัสตอบว่า ศรัทธา ), อะไรประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้ ( ตรัสตอบว่า ธรรมะ ), อะไรมีรสดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย ( ตรัสตอบว่า สัจจะ ), ปราชญ์กล่าวถึงชีวิตของผู้เป็นอยู่เช่นไรว่า เป็นชีวิตอันประเสริฐ ( ตรัสตอบว่า ชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญ ). "
    " จะข้ามโอฆะ<sup></sup> ได้อย่างไร ( ตรัสตอบว่า ข้ามได้ด้วยศรัทธา ), จะข้าม อรรณพ<sup>๑๐</sup> ได้อย่างไร ( ตรัสตอบว่า ข้ามได้ด้วยความไม่ประมาท ), จะก้าวล่วงทุกข์ได้อย่างไร ( ตรัสตอบว่า ด้วยความเพียร ), จะบริสุทธิ์ได้อย่างไร ( ตรัสตอบว่า ด้วยปัญญา ). "
    " จะบรรลุเกียรติได้อย่างไร ( ตรัสตอบว่า ด้วยสัจจะ ), จะผูกมิตรไว้ได้อย่างไร ( ตรัสตอบว่า ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ ), ละโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จะไม่เศร้าโศกได้อย่างไร ( ตรัสตอบว่า มีธรรมะผู้ครองเรือน ๔ อย่าง คือ สัจจะ, ธัมมะ,<sup>๑๑ </sup> ธิติ ( ความอดทน ), จาคะ ( การสละ ) ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก. " อาฬวกยักษ์ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เลื่อมใสในพระ พุทธศาสนา.
    ๑๑. วิชยสูตร ( ว่าด้วยชัยชนะ )
    พรรณนาถึงความน่าเกลียดของร่างกายส่วนต่าง ๆ ซึ่งไม่ควรติด ไม่ควรยึดถือ.
    ๑๒. มุนิสูตร ( ว่าด้วยมุนีคือผู้รู้ )
    มีคำพรรณนาลักษณะต่าง ๆ ของมุนีไว้เป็นอันมาก เช่น " บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศบุคคลผู้ครอบงำสิ่งทั้งปวง, รู้จักสิ่งทั้งปวง, มีปัญญาดี, ไม่ติดในธรรมทั้งปวง, ละสิ่งทั้งปวง, หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา ว่าเป็นมุนี " ดังนี้เป็นต้น.

    <center>จบวรรคที่ ๑ ขึ้นวรรคที่ ๒ ซึ่งมี ๑๔ สูตร</center>
    ๑๓. รตนสูตร ( ว่าด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเปรียบดุจรตนะ )
    เป็นคำพรรณนาคุณพระรัตนตรัย ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ในหัวข้อ ๑ ขุททกปาฐะ บทสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้านบน
    ๑๔. อามคันธสูตร (ว่าด้วยกลิ่นคาว )
    เป็นสูตรที่พรรณนาถึงความชั่วทางกาย วาจา ใจ ว่าเป็นกลิ่นคาวมิใช่ปลาหรือของกินอื่น ๆ แล้วพรรณนาถึงการ ประกอบคุณงามความดีว่าทำให้ปราศจากกลิ่นคาว.
    ๑๕. หิริสูตร ( ว่าด้วยความละอายในการทำ ความชั่ว )
    แสดงถึงการประกอบคุณงามความดีและคุณธรรมของมิตร ลงสุดท้ายให้ดื่มรสของความสงัด และรสของความสงบ ผู้ดื่มรส อันเกิดแต่ปีติในธรรม ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป.
    ๑๖. มงคลสูตร ( ว่าด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นมงคล)
    ได้กล่าวไว้แล้ว ( ดูในหัวข้อ ๑ ขุททกปาฐะ บทสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้านบน )
    ๑๗. สูจิโลมสูตร (ว่าด้วยสุจิโลมยักษ์ )
    แสดงการตรัสตอบปัญหาว่า ราคะ, โทสะ, ความไม่ยินดี, ความยินดี, ความกลัว, ( ขนพอง ), ความตรึก ล้วนเกิด จากอัตตภาพ ( คือร่างกายจิตใจ ) นี้ทั้งสิ้น ผู้ใดรู้และบันเทาได้ ผู้นั้นย่อมข้ามโอฆะได้.
    ๑๘. ธัมมจริยสูตร (ว่าด้วยการประพฤติธรรม )
    แสดงว่าแม้การประพฤติธรรมและประพฤติพรหมจรรย์ จะเป็นแก้วอันประเสริฐ แต่ผู้ที่บวชแล้วถ้าประพฤติไม่ดี ชีวิตของผู้นั้นก็เลวทราม เพิ่มมลทินให้แก่ตน ต่อเมื่อละความชั่วต่าง ๆ จึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
    ๑๙. พราหมณธัมมิกสูตร (ว่าด้วยธรรมะของ พราหมณ์ )
    พระผู้มีพระภาคตรัสแสดงธรรมแก่พราหมณมหาศาลหลายคน ชี้แจงธรรมะของพราหมณ์ตามคติพระพุทธศาสนา ซึ่งสอนมิให้เบียดเบียน เป็นคำสอนตรงกันข้ามกับคติของพราหมณ์ ที่มีการฆ่าสัตว์บูชายัญ. นอกจากนั้นยังแสดงภึงธรรมะอื่น ๆ พราหมณ์ก็ เลื่อมใส ปฏิญญาตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.
    ๒๐. นาวาสูตร (ว่าด้วยเรือ )
    เป็นคำสอนถึงการประพฤติธรรมว่า เปรียบเหมือนมีเรือข้ามน้ำได้..
    ๒๑. กึสีลสูตร (ว่าด้วยประพฤติอย่างไร จึงจะ บรรลุประโยชน์อันสูงสุด )
    ตรัสสอนให้ตั้งอยู่ในธรรม.
    ๒๒. อุฏฐานสูตร (ว่าด้วยความหมั่น )
    เป็นคำสอนปลุกใจให้ลุกขึ้น อย่ามัวหลับไหลอยู่ ให้ศึกษาเพื่อสันติ อย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงไปเปล่า.
    ๒๓. ราหุลสูตร (ว่าด้วยพระราหุล )
    พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพระราหุลเนือง ๆ ด้วยพระพุทธโอวาทใจความว่า ให้ละกามคุณ ๕ คบกัลยาณมิตร เสพเสนาสนะอันสงัด รู้ประมาณในอาหาร อย่าทำความทะยานอยากในปัจจัย ๔ สำรวมในปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) ในอินทรีย์ ๕ ( มีตาเป็นต้น ) เจริญกายคตาสติ มากด้วยความหน่าย ( ในโลกิยะ ). เจริญนิมิตว่าไม่งาม และเจริญความไม่มีนิมิต ถอนกิเลสที่แฝงด้วยตัวคือ มานะเสีย.
    ๒๔. วังคีสสูตร (ว่าด้วยพระวังคีสะ )
    พระวังคีสะกราบทูลถามถึงพระอุปัชฌายะของตน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปัชฌายะของเธอดับตัณหาได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว.
    ๒๕. สัมมาปริพพาชนิยสูตร (ว่าด้วยการเที่ยว ไปด้วยดี )<sup>๑๒</sup>
    พระผู้มีพระภาคตรัสแสดงว่า ผู้เช่นไรชื่อว่าเที่ยวไปด้วยดี หรือมีหลักธรรมของปริพพาชกอย่างแท้จริง โดยใจ ความคือกิเลสต่าง ๆ ไม่ติด อยู่ในโลกิยธรรม.
    ๒๖. ธัมมิกสูตร (ว่าด้วยธัมมิกอุบาสก )
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบคำถามของธัมมิกอุบาสกถึงคุณสมบัติของพระสาวกที่ดี โดยใจความ คือไม่ละเมิดพระวินัย ฟังธรรมแล้วพิจารณาส้องเสพ ( ธรรม ) ด้วยดี และได้แสดงถึงคุณสมบัติของสาวกที่เป็นคฤหัสถ์ เช่น ให้รักษาอุโบสถ, เว้นทุจจริต, เลี้ยง มารดาบิดา ประกอบด้วยการค้าอันถูกต้องตามธรรม.

    <center>จบวรรคที่ ๒ ขึ้นวรรคที่ ๓ ซึ่งมี ๑๒ สูตร</center>
    ๒๗. ปัพพัชชาสูตร (ว่าด้วยการบวช )
    ตรัสเล่าเรื่องการเสด็จออกผนวชของพระองค์ จนกระทั่งเสด็จผ่านกรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทอดพระเนตรเห็น ทรงส่งทูตตามไป ทราบที่พักแล้วเสด็จด้วยพระองค์เองไปถึงที่ประทับ ณ บัณฑวบรรพต ทูลถามถึงพระชาติ. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบตอน นั้นยังมิได้ตรัสรู้ ).
    ๒๘. ปธานสูตร (ว่าด้วยการตั้งความเพียร )
    พระผู้มีพระภาคเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ขณะทรงบำเพ็ญเพียรใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ทรงตอบมารชื่ออนมุจิ ซึ่งมาพูดกล่อม พระทัยให้เลิกความเพียร ทรงชี้ว่า กาม, ความริษยา, ความหิวระหาย, ความทะยานอยาก, ความหดหู่ ง่วงงุน, ความหวาดกลัว, ความสงสัย, ความลบลู่บุญคุณผู้อื่น ความตีเสมอ เป็นเสนามารที่ ๑ ถึงที่ ๘ ตามลำดับ นอกจากนั้นยังทรงแสดงเสนามารต่อไปอีก คือลาภ, ชื่อเสียง, สักการะ, ยศที่ได้มาโดยผิดธรรม, การยกตัวเอง, การดูหมิ่นผู้อื่น แล้วตรัสว่า ในการทำสงคราม ( กับพญามาร ) นั้น พระองค์ยอมตายดีกว่า ที่จะเป็นผู้แพ้แล้วมีชีวิตอยู่. พญามารเสียใจที่ไม่สามารถเอาชนะพระองค์ได้ จึงหายไปในที่นั้น.
    ๒๙. สุภาสิตสูตร (ว่าด้วยคำสุภาษิต )
    พระผู้มีพระภาคตรัสแสดงองค์ ๔ ของวาจาสุภาษิตที่ไม่มีโทษ ที่วิญญูชนไม่ติเตียน คือ ๑. พูดเป็นสุภาษิต ๒. พูดเป็นธรรม ๓. พูดเป็นที่รัก ๔. พูดจริง ไม่พล่อย. แล้วพระวังคีสะกราบทูลขยายความเป็นคำฉันท์.
    ๓๐. สุนทริกสูตร (ว่าด้วยสุนทริก ภารทวาช พราหมณ์ )
    พราหมณ์ภารทวาชโคตร ชื่อสุนทริกะ เห็นพระผู้มีพระภาค ก็ถามว่า ท่านชาติอะไร ( ในวรรณะ ๔ ) พระองค์ตรัส ตอบว่า อย่าถามถึงชาติเลย จงถามถึงความประพฤติดีกว่า แล้วทรงแสดง แสดงคุณสมบัติของมุนี ที่แม้เกิดในสกุลต่ำ แต่ประพฤติดี ทำลาย กิเลส ก็นับเป็นอาชาไนยได้ พราหมณ์เลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสก.
    ๓๑. มาฆสูตร (ว่าด้วยมาฆมาณพ )
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบคำถามของมาฆมาณพเรื่องผู้ประสงค์บุญควรบูชายัญอย่างไร โดยทรงแสดงว่า ควรบูชา ท่านผู้มีคุณสมบัติที่ดีงาม ละกิเลสได้ มาณพก็เลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสก
    ๓๒. สภิยสูตร (ว่าด้วยสภิยปริพพาชก)
    สภิยปริพพาชกไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเรื่องคุณสมบัติของภิกษุ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ. ปริพพาชกขอบรรพชา อุปสมบทและได้สำเร็จอรหัตตผล.
    ๓๓. เสลสูตร (ว่าด้วยเสลพราหมณ์ )
    เนื้อความอย่างเดียวกับเสลสูตร ที่ย่อไว้แล้ว หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ หน้า ๕ ) หมายเลขที่ ๔๒. เสลสูตร
    ๓๔. สัลลสูตร (ว่าด้วยลูกศรคือความโศก )
    ส่วนใหญ่พรรณนาถึงชีวิตที่ใกล้ต่อความตายเข้าไปทุกขณะ เมื่อบุคคลถอนลูกศรได้ ก็จะไม่เศร้าโศก ได้นิพพาน.
    ๓๕. วาเสฏฐสูตร (ว่าด้วยเสฏฐมาณพ )
    มีข้อความอย่างเดียวกับที่ย่อไว้แล้วหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ หน้า ๕) หมายเลขที่ ๔๘.วาเสฏฐสูตร
    ๓๖. โกกาลิกสูตร (ว่าด้วยพระโกกาลิกะ )
    มีความพ้องกับที่ย่อไว้แล้ว หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ หน้า ๒ ) ในหมวด ๕๐ ที่ ๒ หมายเลขที่ ๔
    ๓๗. นาลกสูตร (ว่าด้วยพระนาสกะ )
    พระนาลกะ ( ผู้เป็นน้องชายของอสิตดาบส ) ถามปัญหาเรื่องโมเนยยปฏิบัติ ( การปฏิบัติเพื่อความเป็นมุนี ), พระผู้มี พระภาคตรัสตอบแสดงคุณสมบัติของมุนี.
    ๓๘. ทวยตานุปัสสนาสูตร (ว่าด้วยการพิจารณาธรรมที่เป็นคู่ )
    คือพิจารณาทุกข์พร้อมด้วยเหตุให้ทุกข์เกิด พิจารณาความดับทุกข์ พร้อมทั้งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เมื่อ พิจารณาเป็นคู่อย่างนี้ อย่างไม่ประมาท มีความเพียร ก็จะได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือถ้ายังมีกิเลสเหลือ ก็จะได้เป็นพระอนาคามี. นอก จากนั้นได้ตรัสแสดงวิธีพิจารณาธรรมเป็นคู่อย่างพิสดาร.

    <center>จบวรรคที่ ๓ ขึ้นวรรคที่ ๔ ซึ่งมี ๑๖ สูตร<sup>๑๓</sup> </center>
    ๓๙. กามสูตร (ว่าด้วยกาม )
    พรรณาโทษของกามและสอนให้เว้นกาม เหมือนวิดน้ำเรือรั่วพาเรือให้ถึงฝั่งได้.
    ๔๐. คุหัฏฐกสูตร (ว่าด้วยข้อเปรียบเทียบมิให้ ติดอยู่ในถ้ำ )
    โดยใจความ ให้รู้ความจริงเรื่องกาม มีความรู้เท่า ไม่ติดยึดถือ ก็จะข้ามโอฆะได้. อนึ่ง คำว่า ถ้ำ นั้น หมายถึง ร่างกาย.
    ๔๑. ทุฏฐัฏฐกสูตร (ว่าด้วยมิให้ติดอยู่ในทิฏฐิ อันชั่ว )
    แสดงว่ามุนีไม่ติดอยู่ในทิฏฐิความเห็น เพราะมีคุณธรรม จึงไม่ติดอัตตา หรือนิรัตตา ( อนัตตา ).
    ๔๒. สุทธัฏฐกสูตร (ว่าด้วยมิให้ติดอยู่ในความ บริสุทธิ์ที่คนเข้าใจผิดว่าจะมีได้ด้วยการเห็น )
    มีบางคนเข้าใจว่า ความบริสุทธิ์ จะมีได้เพราะได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้. พระผู้มีพระภาคตรัสสอนมิให้ติดในสิ่งที่ได้เห็น ได้ฟัง เป็นต้น.
    ๔๓. ปรมัฏฐกสูตร (ว่าด้วยมิให้ติดอยู่ในสิ่งที่ ยอดเยี่ยมตามความเห็นผิด )
    ข้อสำคัญคือให้คลายทิฏฐิ อย่ายึดถือในสิ่งใด ๆ.
    ๔๔. ชราสูตร (ว่าด้วยความแก่ )
    แสดงว่าชีวิตน้อย ในที่สุดก็จะต้องตาย ไม่ควรยึดถือ คนที่เรารักตายไปแล้ว ก็ไม่ได้เห็นกัน เปรียบเหมือนการ ฝันไป ตื่นขึ้นก็ไม่เห็น.
    ๔๕. ติสสเมตเตยยสูตร (ว่าด้วยติสสเมตเตยย- มาณพ )
    พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่องโทษของกาม ตรัสแนะนำให้ศึกษาความสงัด.
    ๔๖. ปสูรสูตร (ว่าด้วยปริพพาชกชื่อปสูระ )
    ตรัสแสดงว่า ผู้ที่ติดอยู่ในความเห็น หรือสัจจะเฉพาะอย่าง ย่อมโต้เถียงกันว่า ความบริสุทธิ์มีเฉพาะในลัทธิของตน แล้วตรัสแสดงโทษของความติดในทิฏฐิ.
    ๔๗. มาคัณฑิยสูตร (ว่าด้วยคัณฑิยพราหมณ์ )
    ตรัสแสดงให้เห็นความน่าเกลียดของกายนี้ อันเต็มไปด้วยของโสโครก และตรัสสอนให้ละมานะความถือตัว ไม่ติด ในกาม ไม่ยึดมั่นสัญญา ( ความกำหนดหมายในใจ ) และทิฏฐิความเห็น.
    ๔๘. ปุราเภทสูตร (ว่าด้วยภายหลังความตาย )
    ตรัสสอนให้ละตัณหา ไม่มีความยึดถือ. มีคำสอนไม่ให้ยึดอัตตาและนิรัตตา ( อนัตตา ) ทั้งสองด้วย.
    ๔๙. กลหวิวาทสูตร (ว่าด้วยการทะเลาะ วิวาท )
    ตรัสแสดงเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท แล้วตรัสสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณา เป็นผู้หลุดพ้น ไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร.
    ๕๐. จูฬวิยูหสูตร (ว่าด้วยการวิวาทกันเพราะ ทิฏฐิ สูตรเล็ก )
    ตรัสสอนให้เห็นว่า การติดความคิดเห็นเป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทกันซึ่งควรจะแก้ไข.
    ๕๑. มหาวิยูหสูตร (ว่าด้วยการวิวาทกันเพราะ ทิฏฐิ สูตรใหญ่ )
    ตรัสสอนผลร้ายของการวิวาทกันและสอนมิให้ยึดถือ.
    ๕๒. ตุวฏกสูตร (ว่าด้วยสันติบท คือทางแห่ง ความสงบ<sup>๑๔</sup> )
    พระผู้มีพระภาคแสดงทางแห่งความสงบและมีข้อความเรื่องไม่มีอัตตา และนิรัตตา ( อนัตตา ) และคุณธรรมอื่น ๆ ที่เป็นไปเพื่อไม่ยึดถือ.
    ๕๓. อัตตทัณฑสูตร (ว่าด้วยโทษของตน )
    ตรัสสอนให้เห็นโทษของการทะเลาะวิวาท และให้ตั้งอยู่ในคุณความดี.
    ๕๔. สาริปุตตสูตร (ว่าด้วยพระสาริบุตร )
    แสดงการโต้ตอบระหว่างพระผู้มีพระภาคกับพระสาริบุตรเรื่องคุณธรรมของภิกษุ.

    <center>จบวรรคที่ ๔ ขึ้นวรรคที่ ๕ ซึ่งมี ๑๖ สูตร</center>
    ในวรรคที่ ๕ นี้ แสดงการถามปัญหาของมาณพ ๑๖ คน ซึ่งพาวรีพราหมณ์แต่งปัญหาให้ศิษย์ ของตน ๑๖ คนไป กราบทูลพระผู้มีพระภาค เพื่อรู้ว่าจะเป็นผู้ตรัสรู้จริงหรือไม่. สูตรทั้งสิบหกจึงมีชื่อตามชื่อของมาณพทั้งสิบหก ซึ่งแต่ละสูตรแสดงคำถามและ คำตอบ ( เป็นคำฉันท์ ) ในที่นี้จะแสดงชื่อมาณพทั้งสิบหกนั้นคือ ๑. อชิตะ ๒. ติสสเมตเตยยะ ๓. ปุณณกะ ๔. เมตตคู ๕. โธตกะ ๖. อุปสีวะ ๗. นันทะ ๘. เหมกะ ๙. โตเทยยะ ๑๐. กัปปะ ๑๑. ชตุกัณณี ๑๒. ภัทราวุธะ ๑๓. อุทยะ ๑๔. โปสาละ ๑๕. โมฆราช ๑๖. ปิงคิยะ ( เมื่อรวม ๑๖ สูตรนี้เข้าด้วย จึงเป็น ๗๐ สูตร ).
    ( หมายเหตุ : สาระสำคัญในสุตตนิบาตนี้ ส่วนใหญ่แสดงคุณธรรมที่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ ให้ดับกิเลสเพื่อบรรลุ นิพพาน แม้คำถามคำตอบของมาณพ ๑๖ คน ก็เป็นไปในเรื่องความหลุดพ้นแทบทั้งสิ้น.


    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย </center>
    <center>ขุททกปาฐะ, ธัมมปทคาถา, อุทาน, อิติวุตตกะ, สุตตนิบาต.</center>

    <hr> '๑' . การนับจำนวนว่า ๓๗ นี้ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ในอรรถกถาท่านนับเป็น ๓๘ โดยการแยกการบำรุงมารดากับ การบำรุงบิดาไว้เป็น ๒ ข้อ และว่าอาจแยกข้อสงเคราะห์บุตร กับภริยาออกเป็น ๒ ข้ออีกก็ได้ หรือจะรวมอย่างที่เขียนไว้ข้างบน ( คือรวมเป็น ๓๗ ข้อ ) ก็ได้
    '๒' . พระสูตรเหล่านี้ได้เลือกแปลไว้บ้างแล้ว รวม ๑๕ สูตร หรือ ๑๕ หัวข้อ คือระหว่างหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๒-๒๑ หมายเลข ๒ ถึง ๑๔ และ ๑๗-๑๘-๑๙ ที่นำมาย่อไว้ในตอนนี้จะเลือกที่ไม่ซ้ำกัน
    '๓' . คำขึ้นต้น แบบเดียวกับข้อ ๑, ๒ จึงละไว้ ไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก. และเป็นอันโปรดทราบด้วยว่า จนจบอิติวุตตกะ มีคำ ขึ้นต้นแบบเดียวกันทั้งสิ้น
    '๔' . โยคะ คือกิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ
    '๕' . คำเต็มว่า ไม่สำรวมทวารในอินทรย์ทั้งหลาย โดยใจความ คือไม่ระวังตา หู เป็นต้น
    '๖' . วณิพพก กับยาจก ต่างกัน คือวณิพพก คือผู้ขออย่างพรรณนาอานิสงส์ของทานว่า จะให้ได้บรรลุผลดีอย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนยาจก คือผู้ขอธรรมดา ทั้งนี้เป็นคำอธิบายของอรรถกถา
    '๗' . แรดพันธุ์อินเดีย มีนอหรือเขาเดียว แต่พันธุ์ของประเทศอื่น มีนอคู่บ้าง นอเดียวบ้าง
    '๘' . มรรค หมายถึงหนทาง หรือข้อปฏิบัติที่ให้บรรลุถึงความดับทุกข์
    '๙' . โอฆะ ได้แก่ห้วงน้ำคือกิเลส มี ๔ อย่าง คือ กาม, ภพ, ทิฏฐิ, อวิชชา
    '๑๐' . อรรณพ ได้แก่ห้วงน้ำ หรือมหาสมุทร คือความเวียนว่ายตายเกิด
    '๑๑' . ธัมมะในที่นี้ หมายถึงทมะการฝึกตนหรือความข่มใจ
    '๑๒' . พระสูตรนี้ เท่ากับการให้ความหมายของคำว่า ปริพพาชก ตามหลักพระพุทธศาสนา. เมื่อแปลตามศัพท์ปริพพาชก แปลว่า ผู้เที่ยวไป เป็นชื่อนักบวชนอกพระพุทธศาสนา
    '๑๓' . มีเรื่องเล่าว่า พระโสณกุฏิกัณณะ ได้เคยสวดพระสูตร ๑๖ สูตรนี้ ในที่พระพักตร์พระศาสดา อันแสดงว่า มีการท่อง จำพระสูตรมาแล้วแม้ในครั้งพุทธกาล ดูหน้าความรู้เรื่องพระไตรปิฎก ) พระจุนทะเถระผู้ปรารถนาดี
    '๑๔' . ตามศัพท์ ตุวฏะ หรือตุวฏกะ แปลว่า เร็ว
    [/FONT]
    </center>
    [/FONT]
     
  5. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๒๖ ชื่อขุททกนิกาย </center> <center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๘)</center> <center>วิมานวัตถุ, เปตวัตถุ, เถรคาถา, เถรีคาถา.</center>

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ นี้ มีเรื่องใหญ่ แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ๑. วิมานวัตถุ เรื่องวิมานแสดงว่า ใครทำความดีอย่างไร ทำให้ได้วิมานอย่างไร ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตร เทพธิดา ถึงอดีตกรรมที่ส่งผลให้ได้ เกิดในวิมานนั้น ๆ มีคำตอบของผู้ถูกถามเป็นราย ๆ ไป รวม ๘๕ ราย. ๒. เปตวัตถุ เรื่องของเปรต คือผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้รับทุกข์ ทรมานในสภาพของเปรต มีลักษณะต่าง ๆกัน ๕๑ เรื่อง ๓. เณรคาถา เป็นภาษิตทางธรรม มีคติเตือนใจของพระเถระต่าง ๆ รวม ๒๖๔ รูป. ๔. เถรีคาถา เป็นภาษิตทางธรรม มีคติเตือนใจของพระเถรี ( นางภิกษุณีผู้เป็นเถรี ) รวม ๗๓ รูป.


    <center> ๑. วิมานวัตถุ เรื่องการได้วิมาน </center>
    เรื่องถามตอบระหว่างพระมหาโมคคัลลานเถระ กับเทพบุตร เทพธิดา ผู้ได้วิมานต่าง ๆ กันนั้น แม้จะปรากฏว่ามี มากราย แต่ก็พอจะสรูปได้ว่า เป็นคำตอบแสดงผลดีของการทำความดี เช่น การทำอัญชลีกรรมต่อท่านผู้มีศีลบ้าง, การถวายทานบ้าง, การ รักษาศีลบ้าง, การให้น้ำดื่มบ้าง, การจุดไฟเพื่อประโยชน์แก่คนไปมาในที่มืดบ้าง, การฟังธรรมบ้าง, การรักษาอุโบสถบ้าง, การตั้งอยู่ใน คุณธรรม เช่น ไม่โกรธบ้าง.
    มีข้อสังเกตก็คือ มิใช่แต่พระมหาโมคคัลลานะถามอย่างเดียว บางครั้งเทพบุตรนั้นก็มาเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูล เล่าความในอดีตก็มี.


    <center> ๒. เปตวัตถุ เรื่องของเปรต </center>
    ในเรื่องเปตวัตถุ หรือเรื่องของเปรตนี้ บางตอนก็เป็นคำสอนปรารภผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยให้คติว่าควรทำบุญอุทิศไป ให้เปรตเหล่านั้น ( คำว่า เปรต แปลว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วทั่ว ๆ ไป กับอีกอย่างหนึ่ง หมายถึงผู้เกิดในสภาพที่ได้รับความทุกข์ทรมานที่เรียก กันว่าเปรต ), บางครั้งพระเถระบางรูปไปพบเปรตอยู่ในลักษณะงดงามดีทุกอย่าง แต่ปากที่หนอนไต่ มีกลิ่นเหม็น เมื่อไต่ถามเปรตนั้นก็เล่าว่า ตนเคยเป็นสมณะพูดชั่วไม่สำรวมปาก แต่มีความเพียรดี จึงมีผลเป็นอย่างนี้, เปรตบางตนกินอุจจาระ ปัสสาวะ เลือด หนอง ( กินอะไรเข้าไป พอถึงปากก็กลายเป็นของโสโครกเหล่านั้น ) เป็นผลของการที่ด่าสมณพราหมณ์ เมื่อสามีเคยให้ทาน แต่ตนไม่เห็นด้วย คำด่านั้นว่า เจ้าจงกิน ของไม่สะอาด คืออุจจาระ ปัสสาวะ เลือด หนอง เป็นต้น.


    <center> ๓. เถรคาถา ภาษิตของพระเถระ </center>
    ได้กล่าวแล้วว่า เถรคาถา ว่าด้วยภาษิต อันเป็นคติสอนใจพระเถระต่าง ๆ ถึง ๒๖๔ รูป ในที่นี้จักนำมากล่าวเป็น ตัวอย่าง ๑๐ รูป คือ :-
    <center> ๑. ภาษิตของพระสุภูติเถระ</center> " เรามุงกระท่อมแล้ว ไม่มีลมพัดผ่านเป็นสุข ( มีความหมายว่า ป้องกันจิตใจมิให้กิเลสรั่วรดได้ ), ฝนจงตกตามสบาย เถิด. จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้ว เราอยู่อย่างมีความเพียร. ฝนจงตกเถิด. "
    <center> ๒. ภาษิตของมหาโกฏฐิตเถระ</center> " ผู้สงบระงับ, ยินดี ( ในธรรม ), พูดเป็นคติ, ไม่ฟุ้งสร้าน ย่อมกำจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมพัด ทำให้ใบไม้ร่วง ฉะนั้น. "
    <center> ๓. ภาษิตของพระอชิตเถระ</center> " เราไม่ความกลัวในความตาย, ไม่มีความใคร่ในชีวิต, เราจักมีสติสัมปชัญญะ ทอดทิ้งกายของตนไป ( ตายอย่างมี ความรู้เท่าและมีสติ. "
    <center> ๔. ภาษิตของพระโสปากเถระ</center> " บุคคลพึงเป็นผู้ฉลาดในบุตรซึ่งเป็นที่รักคนเดียวฉันใด ก็พึงเป็นผู้ฉลาดในสัตว์มีชีวิตทั้งปวงฉันนั้นเถิด. ( พึงมีความรู้สึกในผู้อื่นเหมือนบุตรที่รักคนเดียวของตน จะได้ไม่คิดเบียดเบียน และจะได้เห็นอกเห็นใจ ). "
    <center> ๕. ภาษิตของพระปุณณเถระ</center> " ศีลเป็นสิ่งเลิศในโลกนี้, แต่ผู้มีปัญญา นับเป็นผู้สูงสุด, บุคคลย่อมชนะทั้งในมนุษย์และในเทพทั้งหลาย เพราะศีล และปัญญา. "
    <center> ๖. ภาษิตของพระนีตเถระ</center> " หลับตลอดคืน, ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่ตลอดวัน, ผู้มีปัญญาทรามจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เมื่อไหร่กัน. "
    <center> ๗. ภาษิตของพระอุตตรเถระ</center> " ภพ ( ความมีความเป็น ) ใด ๆ ที่เป็นของเที่ยงย่อมไม่มี, แม้สังขาร ( สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ) ใด ๆ ที่เป็นของเที่ยงก็ ไม่มี, ขันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นและเคลื่อน ( แปรปรวน ) ในกาลต่อ ๆ ไป ; เรารู้โทษนี้แล้ว จึงไม่ต้องการภพ แล่นออกจากกามทั้งหลาย บรรลุ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ. "
    <center> ๘. ภาษิตของพระปุณณมาสเถระ</center> " เราละนีวรณ์ ( กิเลสอันกั้นจิตมิให้บรรลุความดี ) ๕ ประการแล้ว เพื่อบรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากกิเลสเครื่อง ผูกมัด จึงจับแว่นธรรมคือญาณทัสสนะของตนส่องดูกายนี้หมดทั้งภายนอกภายใน. กายก็ปรากฏว่างเปล่าทั้งภายในภายนอก. "
    <center> ๙. ภาษิตของพระหาริตเถระ</center> " ผู้ใดปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมถูกกำจัดจากฐานะอันเป็นสุข และย่อมเดือดร้อนในภาย หลัง. พึงพูดสิ่งที่ทำได้ ไม่พึงพูดสิ่งที่ทำไม่ได้. บัณฑิตย่อมกำหนดรู้ผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด. พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มี ความเศร้าโศก ไม่มีธุลี ปลอดโปร่ง ไม่มีความทุกข์ เป็นสุขดีหนอ. "
    <center> ๑๐. ภาษิตของพระนทีกัสสปเถระ</center> " พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปสู่แม่น้ำเนรัญชราเพื่อประโยชน์แก่เรา, เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วเปลื้องความเห็นผิด ได้. เราได้บูชายัญทั้งสูงทั้งต่ำและบูชาไฟ เป็บนบุถุชนผู้เหมือนมืดบอด สำคัญว่านั่นเป็นความบริสุทธิ์. เราวิ่งไปตามความยึดถือทิฏฐิ หลงไป เพราะความยึดถือ สำคัญความไม่บริสุทธิ์ว่าเป็นความบริสุทธิ์ จึงเป็นคนบอดคนเขลา. เราละมิจฉาทิฏฐิได้แล้ว ทำลายภพทั้งปวงได้แล้ว. เรา บูชาไฟที่ควรแก่ทักษิณา ( บูชาบุคคลผู้มีคุณธรรม ) นมัสการพระตถาคต. เราละความหลงทั้งปวงแล้วทำลายภวตัณหา ( ความทะยานอยากใน ภพ ) ได้แล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ไม่มีการเกิดอีก. "


    <center> ๔. เถรีคาถา ภาษิตของพระเถรี </center>
    ได้กล่าวแล้วว่า เถรีคาถา ว่าด้วยภาษิต อันเป็นคติสอนใจพระเถรี คือนางภิกษุณีต่าง ๆ จำนวน ๗๓ รูป ในที่นี้ จักนำมากล่าวเป็นตัวอย่าง ๑๐ รูปเช่นกัน :-
    <center> ๑. ภาษิตของพระนางปุณณาเถรี</center> " ดูก่อนปุณณา<sup></sup> ! เธอจงเต็มไปด้วยธรรมทั้งหลาย เหมือนดวงจันทร์วัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ จงทำลายกองแห่งความมืดด้วยปัญญาอันบริบูรณ์. "
    <center> ๒. ภาษิตของพระนางติสสาเถรี</center> " ดูก่อนติสสา ! เธอจงศึกษาตามข้อที่ควรศึกษา กิเลสเครื่องผูกมัดอย่าก้าวล่วง ( เอาชนะ ) เธอได้ เธอจงเปลื้องตน จากเครื่องผูกมัดทั้งปวง ไม่มีอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ) เที่ยวไปในโลก. "
    <center> ๓. ภาษิตของพระนางมิตตาเถรี</center> " เธอบวชด้วยศรัทธาแล้ว พึงยินดีในมิตรว่าเป็นมิตร จงเจริญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากเครื่อง ผูกมัด. "
    <center> ๔. ภาษิตของพระนางอุปสมาเถรี</center> " ดูก่อนอุปสมา ! เธอจงข้ามโอฆะอันเป็นที่ตั้งแห่งมาร อันข้ามได้โดยยาก จงชนะมารพร้อมทั้งเสนา ทรงไว้ซึ่ง ร่างกายนี้เป็นร่างกายสุดท้าย ( อย่าเกิดอีก ). "
    <center> ๕. ภาษิตของพระนางสุมนาเถรี</center> " เห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์ ก็อย่าให้ความเกิดมาหาอีก คลายความพอใจในภพแล้ว เธอก็จักสงบระงับ เที่ยวไป. "
    <center> ๖. ภาษิตของพระอุตตราเถรี</center> " เราสำรวมกาย วาจา ใจ แล้วถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้ จึงเป็นผู้ดับเย็นแล้ว. "
    <center> ๗. ภาษิตของพระนางธัมมาเถรี</center> " เราเที่ยวบิณฑบาต ถือไม้เท้า มีกำลังน้อย มีตัวสั่นเทา ล้มลงบนดินในที่นั้น เห็นโทษในกายแล้ว จิตของเราก็ หลุกพ้น. "
    <center> ๘. ภาษิตของพระนางสังฆาเถรี</center> " เราละเรือนบวชแล้ว ละบุตร และสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก ละราคะ โทสะ หน่ายอวิชชาแล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้ง รากเสียได้ จึงเป็นผู้สงบระงับดับเย็น. "
    <center> ๙. ภาษิตของพระนางอภยมาตาเถรี</center> " แน่ะแม่ ! เธอจงพิจารณาดูกายนี้ อันไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่กระหม่อมผมลง ไป. เมื่อทำอยู่อย่างนี้ ก็จะถอนความกำหนัดยินดีทั้งปวง ถอนความเร่าร้อนได้ ก็จะเป็นผู้ดับเย็น. "
    <center> ๑๐. ภาษิตของพระนางนันทิกาเถรี</center> " เราออกจากที่พักกลางวันบนเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นช้างข้ามขึ้นจากน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำ ชาย ( คนหนึ่ง ) ถือขอ พูดว่า ส่งเท้ามา ช้างก็เหยียดเท้าให้ เขาก็ขึ้นสู่ช้าง ครั้นเห็นสัตว์ที่ยังมิได้ฝึก ถูกฝึกแล้ว ไปสู่อำนาจมนุษย์ได้ จากที่นั้นเราจึงไปสู่ป่าทำจิตให้ตั้งมั่น ( ฝึกตนเองดูบ้าง ). "
    หมายเหตุ : ในเถรีคาถานี้ ภาษิตบางตอนเป็นพระพุทธภาษิตตรัสสอนก็มี เช่น ที่ตรัสสอนพระนางรูปนันทา.


    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ ขุททกนิบาท </center>
    <center>วิมานวัตถุ, เปตวัตถุ, เถรคาถา, เถรีคาถา.</center>

    <hr> '๑' . เป็นภาษิตสอนใจตนเอง จึงเรียกชื่อตัวเอง. มีหลายรายที่เป็นคำสอนปรารภชื่อแล้วให้มีคุณธรรมสมตามชื่อ



    [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๙)</center> <center> เล่มที่ ๒๗ ชื่อขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๑ </center>

    ในเล่มที่ ๒๗ นี้ อันเป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทาน สุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎก ไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทาน เรื่องละเอียดมีเล่าไว้ในอรรถกถา คือหนังสือที่แต่ง ขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง. คำว่า ชาตก หรือชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอา กำเนิดในชาติต่าง ๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้าง ชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้าง น้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระ พุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่าเรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็น พระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้. ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบาง เรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรม ในนิทานนั้น ๆ. อนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่า ชาดกทั้งหมดมี ๕๕๐ เรื่อง แต่เท่าที่ลองนับดูแล้ว ปรากฏว่าในเล่มที่ ๒๗ มี ๕๒๕ เรื่อง ในเล่มที่ ๒๘ มี ๒๒ เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๕๔๗ เรื่อง ขาดไป ๓ เรื่อง แต่การขาดไปนั้นน่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่า ใกล้เคียงมาก.
    วิธีจัดระเบียบชาดกนั้น จัดตามจำนวนคำฉันท์น้อยขึ้นไปหามาก และตั้งชื่อหมวดหมู่ตามจำนวน คำฉันท์นั้น คือเอกนิบาตชาดก ชาดกที่ชุมนุมคำฉันท์บทเดียว มี ๑๕๐ เรื่อง ทุกนิบาตชาดก ชาดกที่ชุมนุมคำฉันท์ ๒ บท มี ๑๐๐ เรื่อง ติกนิบาตชาดก ชาดกที่ชุมนุมคำฉันท์ ๓ บท มี ๕๐ เรื่อง ดังนี้เป็นต้น ในเล่มที่ ๒๗ มีจนถึงจัตตาลีสนิบาตชาดก ( ชาดกที่ชุมนุมคำฉันท์ ๔๐ บท มี ๕ เรื่อง ) ส่วนเล่มที่ ๒๘ มีชุมนุมคำฉันท์ ๕๐ บท, ๖๐ บท, ๗๐ บท, ๘๐ บท และมีมหานิบาต คือชุมนุมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่อง อันมีมหา เวสสันดรชาดกเป็นเรื่องสุดท้าย.
    เป็นอันว่าพระไตรปิฎกที่ว่าด้วยเรื่องชาดกคือคำสอนแบบเล่านิทานคติธรรมนี้ มีอยู่ ๒ เล่ม คือ เล่มที่ ๒๗ และเล่มที่ ๒๘ ส่วนอรรถกถา คือหนังสือที่แต่งขึ้นภายหลัง ขยายความเล่านิทานให้พิสดารออกไปนั้นมีถึง ๑๐ เล่ม แสดงว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก แต่แม้เช่นนั้นก็มีชาวต่างประเทศแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษไว้เรียบร้อยแล้ว รวม ๖ เล่มใหญ่ คือฉบับมหาวิทยาลัย เคม บริดจ์ พิมพ์ครั้ง แรกเมื่อ ค. ศ. ๑๘๙๕ คือ ๘๐ ปีเศษมาแล้ว. นอกจากนั้นยังมีสำนวนอื่นอีก ๒ สำนวน คือสำนวนของ ริส เดวิดส์ แปลไว้ ๔๐ เรื่องสำนวน ของแฟรนซิส กับ ธอมัส แปลไว้ ๑๑๔ เรื่อง.
    ในการย่อนี้จะไม่นำนิทานในอรรถกถามาเล่าเลย แต่จะเลือกนำภาษิตคติธรรมซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ มาแปลให้เห็นเนื้อหาแห่งคำสอนสัก ๑๐ บท จากชาดกต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ).


    <center> ๑. อปัณณกชาดก </center>
    " คนบางคนกล่าวฐานะที่ไม่ผิด นักตรึก ( นักตรรกวิทยา ) กล่าวฐานะที่ ๒ บัณฑิตรู้เนื้อความนั้นแล้ว พึงถือเอา เฉพาะฐานะที่ไม่ผิด. "
    ( หมายเหตุ : ภาษิตนี้แสดงให้เห็นหลักทางพระพุทธศาสนา ที่ให้ถือความจริงที่แน่นอน เรื่องของการคิดคาด คะเน หรือการเดา ซึ่งเป็นฐานะที่ ๒ นั้นมิใช่คติที่พึงยึดถือ พูดง่าย ๆ ว่า ทางพระพุทธศาสนา รับรองเฉพาะความจริงที่ประจักษ์ชัด ไม่ยอม เดาในเรื่องใด ๆ ).


    <center> ๒. วัณณุปถชาดก </center>
    " พ่อค้าเกวียนทั้งหลาย ไม่เกียจคร้าน ขุด ( หาน้ำอยู่ ) ในทางทราย ก็ได้พบน้ำในเนินทราย ( ในทะเลทราย ) นั้น. ท่านผู้เป็นมุนีก็เช่นกัน เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังคือความเพียร ไม่เกียจคร้าน พึงประสบความสงบแห่งหทัยได้."


    <center> ๓. จุลลกเสฏฐชาดก </center>
    " ผู้มีปัญญาพิจารณา ( เหตุผล ) ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟกองน้อย ( ให้เป็น กองใหญ่ ) ฉะนั้น."


    <center> ๔. มตกภัตตชาดก </center>
    " ถ้าสัตว์ทั้งหลายรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดนี้เป็นทุกข์, ผู้มีชีวิตจึงไม่พึงเบียดเบียนผู้มีชีวิตด้วยกัน, เพราะผู้ทำร้ายผู้มี ชีวิต ย่อมเศร้าโศก."


    <center> ๕. ติตถชาดก </center>
    " ดูก่อนนายสารถี ! ท่านจงนำม้าไปดื่มน้ำที่ท่าอื่นบ้างสิ คนเรายังเบื่อข้าวปายาสที่กินซ้ำ ๆ ได้. "
    ( หมายเหตุ : เป็นคำแนะนำของบัณฑิตให้นำม้าของพระราชา ซึ่งไม่ยอมลงดื่มน้ำในท่าน้ำที่จำเจ โดยให้นำ ไปดื่มที่ท่าอื่นดูบ้าง เพราะคนเรายังรู้จักเบื่ออาหารที่กินซ้ำ ๆ คติของเรื่องนี้คือให้แก้ไขเรื่องต่าง ๆ อย่างใช้ปัญญา ).


    <center> ๖. นันทิวิสาลชาดก </center>
    " ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่ควรกล่าววาจาที่ไม่น่าพอใจในกาลไหน ๆ. เมื่อเศรษฐีกล่าวคำที่น่าพอใจ โค ( นันทิวิสาล ) ได้ลากภาระหนักไปได้ ทำให้เศรษฐีได้ทรัพย์ และเอิบอิ่มใจ เพราะเหตุนั้น. "


    <center> ๗. สัมโมทมานชาดก </center>
    " นกทั้งหลายชื่นชมต่อกัน ( สามัคคีกัน ) ก็พาเอาข่ายไปได้ เมื่อใดนกเหล่านั้นทะเลาะกัน เมื่อนั้น ก็มาสู่อำนาจ ของเรา. "
    ( หมายเหตุ : นายพรานพูดเมื่อนกกระจาบติดข่ายเพราะทะเลาะและเกี่ยงแย่งกัน ไม่เหมือนคราวแรก ๆ ที่ ยังสามัคคีกัน บินขึ้นพร้อมกับนำเอาข่ายที่ดักไว้ไปติดบนต้นไม้และรอดชีวิตไปได้ ).

    <center> ๘. ทุมเมธชาดก </center>
    " คนมีปัญญาทรามได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่ตน, ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและ คนอื่น. "

    <center> ๙. สุวัณณหังสชาดก </center>
    " พึงยินดีตามที่ได้ เพราะว่าความโลภเกินไปเป็นความชั่ว เช่น เรื่องคนจับพญาหงส์ เลยเสื่อมจากทอง. "
    ( หมายเหตุ : คือเรื่องโลภมากลาภหาย เดิมได้ขนทองซึ่งหงส์ทองมาสลัดให้ แต่คิดโลภมาก จับหงส์ไว้ แล้ว ถอนขนหมดทั้งตัว ขนที่เคยเป็นทองก็เลยกลายเป็นขนนกธรรมดาไป ).

    <center> ๑๐. อุภโตภัฏฐชาดก </center>
    " ตาก็แตก ผ้าก็หาย ทั้งยังทะเลาะกันในเรือนของเพื่อนบ้าน. เขามีการวางงานอันถูกประทุษร้ายทั้งสองทาง คือทั้ง ในน้ำและบนบก. "
    ( หมายเหตุ : เป็นเรื่องของสองผัวเมียชาวประมง ผัวตกเบ็ดติดตอ นึกว่าได้ปลาใหญ่ เกรงว่าเพื่อนบ้านจะ ขอ จึงสั่งให้ลูกไปบอกกับเมียให้ไปเที่ยวทะเลาะกับเพื่อนบ้าน ตัวเองดึงสายเบ็ด แต่ดึงไม่ขึ้น จึงเปลื้องผ้าทิ้งไว้บนฝั่ง ลงไปงมถูกตอตำ ตาแตก ครั้นขึ้นมา ก็ไม่มีผ้าจะนุ่ง เพราะมีใครขโมยไปแล้ว ทางบ้านก็แตกกับเพื่อนบ้านหมด เพราะเมียไปทะเลาะตามคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ).


    <center> จบเล่มที่ ๒๗ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๑


    </center>
    [/FONT]
     
  6. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๒๘ ชื่อขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ </center> <center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๐)</center>
    ในเล่มที่ในเล่มที่แล้วมีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมกันถึง ๕๒๕ เรื่อง แต่ในเล่มนี้มีเพียง ๒๒ เรื่อง เพราะเป็นเรื่องยาว ๆ ทั้งนั้น ๑๒ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีคำฉันท์ เรื่องละ ๕๐ บท ๓ เรื่อง, ๖๐ บท ๒ เรื่อง, ๗๐ บท ๒ เรื่อง, ๘๐ บท ๕ เรื่อง. ส่วน ๑๐ เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติ คือเรื่อง ๑๐ ชาติ ซึ่งในที่นี้จะออกนาม พร้อมทั้งกล่าวใจความย่อทั้งสิบเรื่อง ดังต่อไปนี้ :-


    <center> ๑. เตมิยชาดก </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม เล่า เรื่องเตมิยราชกุมารเกรงการที่จะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลดพระหฤทัยที่เห็นราชบุรุษลงโทษโจรตามพระราชดำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันบางครั้งเอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง จึงใช้วิธีแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูกทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อจะเลี่ยงการครองราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพราหมณ์ ก็ได้รับคำแนะนำให้นำราชกุมารไปฝังเสีย. พระราชมารดาทรงคัดค้านไม่สำเร็จ ก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชย์สัก ๗ วัน แต่พระราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีนำราชกุมารขึ้นสู่รถไปเพื่อจะฝังตามรับสั่งของพระราชา ขณะที่ขุดหลุมอยู่พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศรัยกับนายสารถี แจ้งความจริงใจให้ทราบว่า มีพระประสงค์จะออกบวช สารถีเลื่อมใสในคำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสสั่งให้นำรถกลับไปคืนก่อน สารถีนำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ทรงทราบ. ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารจึงเสด็จออกไปหา เชิญให้พระราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับมาถวายหลักธรรมให้ยินดีในเนกขัมมะ คือ การออกจากกาม. พระชนกชนนีพร้อมด้วยบริวารทรงเลื่อมใสในคำสอน ก็เสด็จออกผนวชและบวชตาม. และได้มีพระราชาอื่นอีกเป็นอันมากสดับพระโอวาทขอออกผนวชตาม.


    <center> ๒. มหาชนกชาดก </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี คือ ความพากเพียร ใจความสำคัญ คือพระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปกลางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยื่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุสาหะ ทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ. ชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไปอย่าเบื่อหน่าย ( ความเพียร ) เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้.


    <center> ๓. สุวัณณสามชาดก </center>
    ชาดกเเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี คือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสีชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนู ด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา. มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาขอให้สั่งสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง.


    <center> ๔. เนมิราชชาดก </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอธิฏฐานบารมี คือความตั้งใจมั่นคง. มี เรื่องเล่าว่า เนมิราชกุมาร ได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงามความดีเป็นที่รักของมหาชน และในที่สุด เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา.


    <center> ๕. มโหสธชาดก <sup></sup> </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญปัญญาบารมี คือความรู้ทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้. มี เรื่องเล่าว่า มโหสธบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้ สามารถแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกันพระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้.


    <center> ๖. ภูริทัตตชาดก </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญศีลบารมี คือการรักษาศีล. มี เรื่องเล่าว่า ภูริทัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำยมุนา. ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมานต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ.


    <center> ๗. จันทกุมารชาดก </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญขันติบารมี คือความอดทน. มี เรื่องเล่าว่า จันทกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช เคยช่วยประชาชนให้พ้นจากคดี ซึ่งกัณฑหาลพราหมณ์ ราชปุโรหิตาจารย์รับสินบนตัดสินไม่เป็นธรรม ประชาชนก็พากันเลื่อมใสเปล่งสาธุการ ทำให้กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตในพระราชกุมาร. เมื่อพระเจ้าเอกราชทรงพระราชสุบิน เห็นดาวดึงสเทวโลก เมื่อตื่นบรรทมทรงใคร่จะทราบทางไปสู่เทวโลก ตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ จึงเป็นโอกาสให้พราหมณ์แก้แค้นด้วยการกราบทูลแนะให้ตัดพระเศียรพระโอรสธิดา เป็นต้นบูชายัญ. พระเจ้าเอกราชเป็นคนเขลา ก็สั่งจับพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ไปที่พระลานหลวง เพื่อเตรียมประหารบูชายัญ นอกจากนั้นยังสั่งจับพระมเหสี ๔ พระองค์ และคนอื่น ๆอีก เพื่อเตรียมประหารเช่นกัน แม้ใครจะทัดทานขอร้องก็ไม่ได้ผล. ร้อนถึงท้าวสักกะ ( พระอินทร์ ) ต้องมาข่มขู่และชี้แจงให้หายเข้าใจผิดว่า วิธีนี้ไม่ใช่ทางไปสวรรค์. มหาชนจึงรุมฆ่าพราหมณ์ปุโรหิตนั้นและเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญจันทกุมารขึ้นครองราชย์.


    <center> ๘. นารทชาดก </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือการวางเฉย. มี เรื่องเล่าว่า พรหมนารทะช่วยเปลื้องพระเจ้า อังคติราชให้กลับจากความเห็นผิด มามีความเห็นชอบตามเดิม ( ความเห็นผิดนั้น เป็นไปในทางว่าสุขทุกข์เกิดเองไม่มีเหตุ คนเราเวียนว่ายตาย เกิด หนักเข้าก็บริสุทธิ์ได้เอง ซึ่งเรียกว่าสังสารสุทธิ ).


    <center> ๙. วิธุรชาดก </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญสัจจบารมี คือความสัตย์. มี เรื่องเล่าถึงวิธุรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำประจำราชสำนัก พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเป็นผู้ที่พระราชาและประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก ครั้งหนึ่งปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเล่นสกา ถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ ก็จะพระราชทานทุกสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่พระกายของพระองค์ ราชสมบัติ และพระมเหสี ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์จึงทูลขอตัววิธุรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิธุรบัณฑิตยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหนี่ยวด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้วิธุรบัณฑิตตัดสิน วิธุรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ต้องการเพียงเพื่อจะนำหัวใจของวิธุรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบายของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิธุรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้นำหัวใจของวิธุรบัณฑิตมา. แม้ยักษ์จะหาวิธีทำให้ตายก็ไม่ตาย วิธุรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนธรรม ( ธรรมของคนดี ) ให้ยักษ์เลื่อมใสและได้แสดงธรรมแก่พญานาค ในที่สุดก็ได้กลับมาสู่กรุงอินทปัตถ์ มีการฉลองรับขวัญกันเป็นการใหญ่..


    <center> ๑๐. เวสสันดรชาดก </center>
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญทานบารมี คือการบริจาคทาน. มี เรื่องเล่าถึงพระเวสสันดรผู้ใจดี บริจาค ทุกอย่างที่มีคนขอ ครั้งหนึ่งประทานช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองแก่พราหมณ์ชาวกาลิงคะ ซึ่งมาขอช้างไป เพื่อให้หายฝนแล้ง แต่ประชาชนโกรธขอให้เนรเทศ พระราชบิดาจึงจำพระทัยเนรเทศ ซึ่งพระนางมัทรีพร้อมด้วยพระโอรสธิดาได้ตามเสด็จไปด้วย เมื่อชูชกไปขอสองกุมารก็ประทานอีก ภายหลังพระเจ้าสญชัย พระราชบิดาทรงไถ่สองกุมารแล้วเสด็จไปรับกลับกรุง. ( เรื่องนี้แสดงการเสียสละส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ คือการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันจะเป็นทางให้ได้บำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้ดียิ่ง มิใช่เสียสละโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหรือเหตุผล).


    <center> จบเล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ ๒ </center>

    <hr> '๑' . ฉบับพม่าเป็นอุมังคชาดก. อรรถกถาเขียนว่า " มโหสถ " ตลอด



    [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๒๙ ชื่อขุททกนิกาย มหานิทเทส </center> <center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑)</center>
    เล่มนี้อรรถกถากล่าวว่า ชี้แจงว่า เป็นภาษิตของพระสาริบุตร ใจความทั้งหมดก็คือ ยกเอาสูตร ๑๖ สูตร ในสุตตนิบาต วรรคที่ ๔ คือตั้งแต่กามสูตร ถึงสาริปุตตสูตร ( ซึ่งในการย่อนี้เท่ากับสูตรที่ ๓๙ ถึงสูตรที่ ๕๔ ดูหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ) จากหัวข้อเลขที่ ๓๙ - ๕๔ มา อธิบายอย่างละเอียดทีละตัวอักษร ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่ง เล่มที่ ๒๙ นี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับอรรถกถาสุตตนิบาต เพราะอธิบายพระสูตร ๑๖ สูตร ในสุตตนิบาต ให้ชัดเจนขึ้น แต่เพราะเหตุที่เป็นคำอธิบายของพระสาริบุตร จึงได้รับยกย่องให้เข้าอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย ในที่นี้จะไม่ย่อ เพราะถือว่าได้ย่อพระสูตรทั้งสิบหกไว้แล้ว.

    <hr>

    <center> เล่มที่ ๓๐ ชื่อขุททกนิกาย จูฬนิทเทส </center> <center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๒)</center>
    เล่มนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นภาษิตของพระสาริบุตร อธิบายพระสูตรอีก ๑๖ สูตร ในสุตตนิบาต คือ อธิบายคำถามคำตอบเกี่ยวกับมาณพ ๑๖ คน ( ซึ่งย่อไว้เป็นสูตรที่ ๕๕ ถึง ๗๐ โปรดดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ) จบวรรคที่ ๔ ขึ้นวรรคที่ ๕ ซึ่งมี ๑๖ สูตร เป็นการอธิบายคำถามคำตอบอย่างละเอียดทุกตัวอักษรเช่นกัน. นอกจากนั้นยังอธิบายขัคควิสาณสูตรที่ ๓ ในสุตตนิบาต ( หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ หน้าเดียวกัน ในหัวข้อเรื่องหมายเลข ๕. สุตตนิบาต ชุมนุมพระสูตร ) อีกโดยพิสดาร จึงรวมเป็น ๑๗ สูตร.

    <hr>

    <center> เล่มที่ ๓๑ ชื่อปฏิสัมภิทามรรค </center> <center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓)</center> <center>( ทางแห่งความแตกฉาน )</center>
    พระไตรปิฎกเล่มนี้ เป็นภาษิตของพระสาริบุตร อธิบายศัพท์ธรรมะต่าง ๆ อย่างวิจิตรพิสดารวิธีการอธิบาย คือถ้ามีพระพุทธภาษิตว่าด้วยเรื่องนั้น ก็นำมาตั้งไว้แล้วอธิบายขยายความอีกต่อหนึ่ง ถ้าไม่มีพระพุทธภาษิตอธิบายไว้โดยตรง ท่านผู้กล่าว ( คือพระสาริบุตร ) ก็ตั้งบทตั้งขึ้นเอง และอธิบายขยายความไปตามบทตั้งละเอียดต่อไป มีบางครั้งก็ตั้งภาษิตของพระอานนท์เป็นหัวข้อแล้วแจกอธิบายในภายหลัง.
    เนื่องจากศัพท์ธรรมะที่เป็นบทตั้งในการอธิบายมีอยู่ ๓๐ ศัพท์ หรือ ๓๐ ข้อ จึงแบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค ๆ ละ ๑๐ ข้อ คือ :-
    วรรคที่ ๑ ชื่อมหาวรรค แปลว่า หมวดใหญ่ มี ๑๐ เรื่อง คือ :- ๑. ญาณะ ( ความรู้ ) ๒. ทิฏฐิ ( ความเห็น ) ๓. อานาปานะ ( ลมหายใจเข้าออก ) ๔. อินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ) ๕. วิโมกข์ ( ความหลุดพ้น ) ๖. คติ ( ที่ไปหรือทางไป ) ๗. กัมมะ ( การกระทำ ) ๘. วิปัลลาสะ ( ความคลาดเคลื่อนวิปริต ) ๙. มัคคะ ( หนทาง ) ๑๐. มัณฑเปยยะ ( ของใส่ที่ควรดื่ม เทียบด้วยคุณธรรม ).
    วรรคที่ ๒ ชื่อยุคนัท ธวรรค แปลว่า หมวดที่ขึ้นต้นด้วยธรรมที่เทียมคู่ คือธรรมที่แฝดกัน ได้แก่สมถะและวิปัสสนา มี ๑๐ เรื่อง คือ :- ๑๑. ยุคนัทธะ ( ธรรมที่เทียมคู่ ) ๑๒. สัจจะ (ความจริง ) ๑๓. โพชฌงค์ ( องค์แห่งการตรัสรู้ ) ๑๔. เมตตา ( ไมตรีจิตคิดให้เป็นสุข ) ๑๕. วิราคะ (ความคลายกำหนัด ) ๑๖.ปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) ๑๗. ธัมมจักกะ ( ล้อรถคือพระธรรม ) ๑๘. โลกุตตระ ( ธรรมที่ข้ามพ้นจากโลก ) ๑๙. พละ ( ธรรมอันเป็นกำลัง ) ๒๐. สุญญะ ( ความว่างเปล่า ).
    วรรคที่ ๓ ชื่อปัญญา วรรค แปลว่า หมวดที่ขึ้นต้นด้วยปัญญา มี ๑๐ เรื่อง คือ :- ๒๑. มหาปัญญา ( ปัญญาใหญ่ ) ๒๒. อิทธิ ( ฤทธิ์หรือความสำเร็จ ) ๒๓. อภิสมัย (การตรัสรู้ ) ๒๔. วิเวก ( ความสงัด ) ๒๕. จริยา ( ความประพฤติ ) ๒๖. ปาฏิหาริยะ ( ปาฏิหาริย์ = นำกิเลสไปเสีย ) ๒๗. สมสีสะ ( สิ่งที่สงบและสิ่งที่มีศีรษะ )<sup></sup> ๒๘. สติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๒๙. วัปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง ) ๓๐.มาติกา ( แม่บท).


    <center> คำอธิบายศัพท์ในวรรคที่ ๑ </center>
    ๑. ญาณะ ( ความรู้ ) ข้อ นี้มีบทตั้งแสดงถึงญาณ ( ความรู้ ) อันได้แก่ปัญญา ๗๓ ประการ พร้อมทั้งกล่าวว่า ในญาณ ๗๓ ประการเหล่านี้ ๖๗ ข้อเป็นของทั่วไปแก่พระสาวก ส่วนอีก ๖ ข้อไม่ทั่วไปแก่พระสาวก. ในการอธิบายญาณต่าง ๆ นั้น บทตั้ง ( ซึ่งเป็นภาษิตของพระสาริบุตร มิใช่พระพุทธภาษิต ) อธิบายว่าปัญญาอย่างนั้น ๆ ชื่อว่าญาณ ขอยกตัวอย่างตั้งแต่ข้อที่ ๑ ไป รวม ๑๐ ดังนี้ :-
    ๑. ปัญญาในการเงี่ยโสต ( สดับ ) ชื่อว่าญาณอันสำเร็จด้วยการฟัง ๒. ครั้นฟังแล้ว ( เกิด ) ปัญญาในการสำรวม ชื่อว่าญาณอันสำเร็จด้วยศีล ๓. ครั้นสำรวมแล้ว ( เกิด ) ปัญญาในการตั้งจิตมั่น ชื่อว่าญาณอันสำเร็จด้วยการเจริญสมาธิ ๔. ปัญญาในการกำหนดรู้ปัจจัย ชื่อว่าญาณในความตั้งอยู่แห่งธรรม ( ธัมมัฏฐิติญาณ ) ๕. ปัญญาในการรวบรวมธรรมที่เป็นอดีต, อนาคต, ปัจจุบัน แล้วกำหนดรู้ ชื่อว่าญาณในการพิจารณา ( สัมมสเน ญาณ ) ๖. ปัญญาในการพิจารณาเห็นความปรวนแปรแห่งธรรมอันเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าญาณในการพิจารณาความเกิด ความเสื่อม ( อุทยัพพยานุปัสสเน ญาณ ) ๗. ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกดับ ชื่อว่าญาณในการเห็นแจ้ง ( วิปัสสเน ญาณ ) ๘. ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว ( แห่งสังขาร ) ชื่อว่าญาณ คือความรู้ในโทษ ( อาทีนเว ญาณ ) ๙. ปัญญาที่ทำให้เกิดการพิจารณาด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย ชื่อว่าญาณในความวางเฉยในสังขาร ( สังขารุเปกขาสุ ญาณ ) ๑๐. ปัญญาในการออกในการหมุนกลับจากเครื่องหมายแห่งสังขารภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ ( ต่อจากนี้เป็นการแสดงมัคคญาณ, ผลญาณ, วิมุตติญาณ, ปัจจเวกขณญาณเป็นต้น มีญาณในอริยสัจจ์ ๔ และในปฏิสัมภิทา ๔ เป็นที่สุดรวม ๖๗ ญาณ เป็นญาณที่ทั่วไปแก่พระสาวก ).
    ส่วนญาณอีก ๖ ประการที่มีเฉพาะแก่พระพุทธเจ้า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก คือ ๑. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณหยั่งรู้อินทรีย์อันยิ่งหย่อนของสัตว์)<sup></sup> ๒.อาสยานุสยญาณ ( ญาณหยั่งรู้อาสัยคือความน้อมใจไปทั้งทางดีทางชั่ว และอนุสัยคือกิเลสที่นอนเนื่องในสันดานมีกามราคะ เป็นต้น มีอวิชชาเป็นที่สุด ) ๓. ยมกปาฏิหิรญาณ ( ญาณอันทำให้สามารถแสดงปาฏิหาริย์ได้ คือปาฏิหาริย์เนื่องด้วยธาตุน้ำและธาตุไฟ แสดงออกพร้อมกัน ) ๔. มหากรุณาสมาบัตติญาณ ( ญาณในการเข้าสมาบัติ มีมหากรุณาเป็นอารมณ์ ) ๕. สัพพัญญุตญาณ ( ญาณคือความเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง ) ๖. อนาวรณญาณ ( ญาณอันไม่มีความข้องขัดไม่มีเครื่องกั้น ).
    ๒. ทิฏฐิ ( ความเห็น ) ในข้อนี้มีบทตั้งเป็นของพระสาริบุตรเอง โดย แสดงถึงที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ มีขันธ์, อวิชชา, ผัสสะ เป็นต้น, เครื่องรึงรัดคือทิฏฐิ ๑๘ ประการ แจกตามชื่อกิเลสพวกทิฏฐิ ตัวทิฏฐิเอง ๑๖ ประการ มีอัสสาททิฏฐิ ( ความเห็นด้วยความพอใจ ) เป็นต้น, ความยึดถือทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยอาการมากน้อย ต่างกันตามประเภทของทิฏฐิ, โสดาปัตติมรรค เป็นการถอนขึ้นซึ่งที่ตั้งแห่งทิฏฐิ, การลูบคลำด้วยความยึดถือว่า ขันธ์ ๕ อายตนะภายในภายนอก เป็นต้น ว่าเป็นของเรา, เราเป็นนั่น, นั่นเป็นตัวตนของเรา จัดเป็นทิฏฐิ ในการอธิบายรายละเอียดนั้นได้ลงสุดท้ายด้วยนำพระพุทธภาษิตแสดงถึงบุคคลผู้สม บูรณ์ด้วยทิฏฐิ ๑๐ ประการ ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ หน้า ๒) หมายเลขหัวข้อที่ ๑ - ๒
    ๓. อานาปานะ ( ลมหายใจเข้าออก ) ในข้อนี้มีบทตั้งเป็นของพระ สาริบุตรเองเช่นกัน แสดงญาณความรู้ ๒๐๐ ประการ อันเกิดจากสมาธิว่า จะเกิดแก่ผู้เจริญสมาธิ คือสติกำหนดลมหายใจเข้าออก เช่น ญาณหยั่งรู้อันตรายของสมาธิ ๘ ประการ อุปการะของสมาธิ ๘ ประการ อันเป็นคู่ปรับกัน ( รวมเป็น ๑๖ ) คือความพอใจในกาม กับการออกจากกาม, ความพยาบาท กับความไม่พยาบาท, ความหดหู่ง่วงงุน กับความกำหนดหมายแสงสว่าง, ความฟุ้งสร้าน กับความไม่ฟุ้งสร้าน, ความลังเลสงสัย กับการกำหนดธรรมะ, ความไม่รู้ ( อวิชชา ) กับความรู้ ( ญาณะ ), ความไม่ยินดี กับความปราโมทย์, อกุศลธรรมทั้งปวง กับกุศลธรรมทั้งปวง เป็นต้น.
    ๔. อินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ) ในข้อนี้มีบทตั้งที่เป็นของพระพุทธภาษิต แสดงถึงธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ( อินทีรย์ ) ๕ ประการ คือ ศรัทธา ( ความเชื่อ ), วิริยะ ( ความเพียร ), สติ ( ความระลึกได้ ), สมาธิ ( ความตั้งใจมั่น ), และปัญญา ( ความรู้ทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้ ). ครั้นแล้วแจกรายละเอียดออกไปอีก.
    ๕. วิโมกข์ ( ความหลุดพ้น ) บทตั้งในพระพุทธภาษิต แสดงถึงวิโมกข์ ๓ ประการ คือ วิโมกข์ที่ว่างเปล่า ( สุญญตวิโมกข์ ), วิโมกข์ที่ไม่มีนิมิต ( อนิมิตตวิโมกข์ ), วิโมกข์ที่ไม่มีที่ตั้ง( อัปปณิหิตวิโมกข์ ) ในรายละเอียด ได้แจกวิโมกข์ออกไป ๘๐ ประการ.
    ๖. คติ ( ที่ไปหรือทางไป ) บทตั้งเป็นของพระสาริบุตร แสดงว่าการที่จะถึงพร้อมด้วยคติ คือเกิดในที่ดี ๆ ตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปถึงเทพว่า แต่ละประการนั้นมีเหตุกี่อย่าง.
    ๗. กัมมะ ( การกระทำ ) บทตั้งเป็นของพระสาริบุตร แจกกรรมและผลของกรรมออกไปมากมาย เช่น กรรมได้มีได้เป็นแล้ว ผลของกรรมได้มีได้เป็นแล้ว, กรรมได้มีได้เป็นแล้ว แต่ผลของกรรมยังมิได้มีได้เป็น, กรรมได้มีได้เป็นแล้ว แต่ผลของกรรมกำลังมีกำลังเป็น เป็นต้น
    ๘. วิปัลลาสะ ( ความคลาดเคลื่อนวิปริต ) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงวิปัลลาส ๔ ประการ คือความวิปัลลาสคลาดเคลื่อนแห่งสัญญา แห่งจิต แห่งความเห็น ๑. ในสิ่งไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒. ในสิ่งเป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข ๓. ในสิ่งมิใช่ตน ว่าเป็นตน ๔. ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม และพระพุทธภาษิต แสดงความไม่วิปัลลาส คือที่ตรงกันข้าม.
    ๙. มัคคะ ( หนทาง ) บทตั้งเป็นของพระสาริบุตร แสดงเนื้อความของคำว่า มรรค และแจกรายละเอียดว่า ในขณะแห่งโสดาบัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค สัมมาทิฎฐิ ( ความเห็นชอบ ) ทำหน้าที่อย่างไร เป็นมรรคเป็นเหตุอย่างไร.
    ๑๐. มัณฑเปยยะ ( ของใสที่ควรดื่ม เทียบด้วยคุณธรรม ) นำ เอาพระพุทธภาษิตในสังยุตตนิกายมาเป็นบทตั้ง แสดงของใสที่ควรดื่ม ๓ ประการ คือ ๑. เทศนา ( การแสดงธรรม ) ๒. ผู้รับทาน ( คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทพ มนุษย์ และใคร ๆ ก็ตามที่เป็นผู้รู้แจ้ง ) ๓. พรหมจรรย์ ( การประพฤติดังพรหม คือเว้นการเสพกาม ซึ่งอธิบายว่า ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘ ). ในภาคอธิบายแสดงธรรมะ ฝ่ายดีฝ่ายเลวคู่กัน ให้เห็นว่าฝ่ายหนึ่งเป็นเสมือนของใสที่ควรดื่ม อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเสมือนกากที่ควรทิ้ง เช่น ความเชื่อ ( สิ่งที่ควรเชื่อ ) เป็นฝ่ายดี ความไม่เชื่อเป็นฝ่ายที่ควรทิ้ง ความเพียรเป็นฝ่ายดี ความเกียจคร้านเป็นฝ่ายที่ควรทิ้ง เป็นต้น.

    <center> คำอธิบายศัพท์ในวรรคที่ ๒ </center> ๑๑. ยุคนัทธะ ( ธรรมที่เทียมคู่ ) บท ตั้งเป็นภาษิตของพระอานนท์ แสดงว่าภิกษุ ภิกษุณีจะพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระอานนท์ ก็มี ๔ ทาง คือ ๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน ) ๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนเป็นเบื้องต้น ( เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน ) ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม ( โปรดดูที่ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ด้วย ) หมายเลขหัวข้อที่ ๒ - ๓ ต่อจากนั้นเป็น คำอธิบายโดยละเอียด.
    ๑๒. สัจจะ ( ความจริง ) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิตแสดงความจริงคืออริยสัจจ์ ๔ ประการพร้อมด้วยคำอธิบายโดยละเอียด.
    ๑๓. สัจจะ ( ความจริง ) บท ตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงโพชฌงค์๗ ประการ คือคติ ( ความระลึกได้ ), ธัมมวิจยะ ( การเลือกเฟ้นธรรมะ ), วิริยะ ( ความเพียร ), ปีติ ( ความอิ่มใจ), ปัสสัทธิ์( ความสงบใจ ), สมาธิ ( ความตั้งใจมั่น ), อุเบกขา ( ความวางเฉย ). ในภาคอธิบาย ได้แสดงวิเคราะห์ศัพท์อย่างพิสดาร.
    ๑๔. เมตตา ( ไมตรีจิตคิดให้เป็นสุข ) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงอานิสงส์ของเมตตา ๑๑ ประการ ( ดังที่ย่อไว้แล้วหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ หน้า ๔ ด้วย ) ในข้อ เอกาทสกนิบาต (ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๑ ข้อ) ในภาคอธิบายได้แสดงถึงเมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงและโดยเจาะจงหลายวิธี.
    ๑๕. วิราคะ ( ความคลายกำหนัด ) บทตั้งเป็นของพระสาริบุตรแสดงว่าวิราคะเป็นมรรควิมุติ ( ความหลุดพ้น ) เป็นผล.
    ๑๖. ปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แล้วแสดงความแตกฉาน ๔ อย่างโดยละเอียด.
    ๑๗. ธัมมจักกะ ( ล้อรถคือพระธรรม ) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิตบางตอนในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เฉพาะที่ว่าด้วยฌานเห็นอริยสัจจ์ ๔ ประการ แล้ววิเคราะห์ศัพท์โดยพิสดาร.
    ๑๘. โลกุตตระ ( ธรรมที่ข้ามพ้นจากโลก ) บท ตั้งเป็นภาษิตของ พระสาริบุตร แสดงโลกุตตรธรรม คือ สติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๔, สัมมัปปธาน ( เพียรชอบ ) ๔, อิทธิบาท ( ธรรมที่ให้บรรลุความสำเร็จ ) ๔, อินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ) ๕, พละ ( ธรรมอันเป็นกำลัง ) ๕, โพชฌงค์ ( องค์แห่งการตรัสรู้ ) ๗, มรรค ( หนทางหรือข้อปฏิบัติ ) มีองค์ ๘, อริยมรรค ๔, สามัญญผล ๔, นิพพาน ( พึงสังเกตุว่า บทตั้งนี้แสดงโลกุตตรธรรม ด้วยชี้ไปที่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ) แล้วแสดงวิเคราะห์ศัพท์.
    ๑๙. พละ ( ธรรมอันเป็นกำลัง ) บท ตั้งเป็นพระพุทธภาษิตเรื่องพละคือธรรมอันเป็นกำลัง ๕ ได้แก่ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา. แล้วได้แสดงพละตามนัยอื่นอีก รวม ๖๘ ประการ.
    ๒๐. สุญญะ ( ความว่างเปล่า ) บท ตั้งเป็นเรื่องแสดงว่าพระอานนท์ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถามว่า ที่ว่าโลกสูญ ๆ นั้นด้วยเหตุเพียงเท่าไร ตรัสตอบว่า เพราะเหตุที่สูญจากตนและจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จึงชื่อว่าโลกสูญ แล้วได้ตรัสแจกอายตนะภายในมีตา เป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูป เป็นต้น รวมทั้งวิญญาณ,ผัสสะ, เวทนา ว่าล้วนสูญจากตนและจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน. ในภาคอธิบายได้กล่าวถึงความสูญ, ความสูญจากสังขาร, ความสูญเพราะปรวนแปร, ความสูญที่เลิศคือพระนิพพาน, ความสูญจากลักษณะ, ความสูญตามลักษณะวิมุติ ๕ เป็นต้น จนถึงความสูญโดยปรมัตถ์ คือสูญโดยประการทั้งปวง.


    <center> คำอธิบายศัพท์ในวรรคที่ ๓ </center> ๒๑. มหาปัญญา ( ปัญหาใหญ่ ) บท ตั้งเป็นของพระสาริบุตร แสดงว่าเจริญอนิจจานุปัสสนา ( การพิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยง ) ทำให้ชวนปัญญา ( ปัญญาอันเหมือนฝีเท้า ) ให้บริบูรณ์, เจริญทุกขานุปัสสนา ( การพิจารณาเห็นเป็นทุกข์ ) ทำให้นิพเพธิกปัญญา ( ปัญญาอันชำแรกกิเลส ) ให้บริบูรณ์, เจริญอนัตตานุปัสสนา ( การพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตน ) ทำให้มหาปัญญา ( ปัญญาใหญ่ ) บริบูรณ์ เป็นต้น.
    ๒๒. อิทธิ ( ฤทธิ์หรือความสำเร็จ ) บท ตั้งเป็นของพระสาริบุตร แสดงความหมายของคำว่า ฤทธิ์ ( คือความสำเร็จ ) แสดงฤทธิ์ ๑๐ อย่าง คือ ๑. ฤทธิ์อันเกิดจากการอธิฐาน ๒. ฤทธิ์เกิดจากการบันดาล ( วิกุมพพนา ) ๓. ฤทธิ์เกิดจากใจ ๔. ฤทธิ์เกิดจากการแผ่ญาณ ๕. ฤทธิ์เกิดจากการแผ่สมาธิ ๖. ฤทธิ์อันเป็นอริยะ ( ในการพิจารณาธรรมะ ) ๗. ฤทธิ์เกิดจากผลของกรรม ๘. ฤทธิ์ของผู้มีบุญ ๙. ฤทธิ์เกิดจากวิชชา ๑๐. ฤทธิ์มีการประกอบถูกส่วนเป็นปัจจัย. นอกจากนั้นยังแสดงภูมิของฤทธิ์ ๔ คือฌาน ๔ เป็นต้น.
    ๒๓. อภิสมยะ ( การตรัสรู้ ) บทตั้งเป็นพระสาริบุตร แสดงว่าการตรัสรู้ มีได้ด้วยจิตและด้วยญาณ เป็นต้น.
    ๒๔. วิเวกะ ( ความสงัด ) บท ตั้งเป็นพระพุทธภาษิต ที่ว่าการงานใด ๆ ก็ตาม ที่พึงทำด้วยกำลัง การงานนั้น ๆ ทั้งหมดต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดินฉันใด ภิกษุจะเจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรค มีองค์ ๘ ก็ต้องอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลฉันนั้น แล้วตรัสแจกรายละเอียดออกไปถึงการเจริญมรรคมีองค์ ๘ มีความเห็นชอบ เป็นต้น อันอาศัยความสงัด อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อาศัยการสละ แล้วแจกความสงัด, วิราคะ, นิโรธ, การสละ ออกไปอีกอย่างละ ๕ ข้อ คือ วิกขัมภนะ ( การข่มด้วยฌาน ), ตทังคะ ( องค์นั้นคือ สมาธิ ที่มีส่วนในการชำแรกหรือทำลายทิฏฐิ ),สมุจเฉท ( การตัดขาดด้วยมรรคอันเป็นโลกาตตระ ), ปฏิปัสสัทธิ ( การสงบระงับด้วยผล ) นิสสรณะ ( การแล่นออก คือนิโรธ หรือนิพพาน ).
    ๒๕. จริยา ( ความประพฤติ ) บท ตั้งเป็นของพระสาริบุตร แสดงจริยา ๘ ประการ คือ ๑. อิริยาปถจริยา ความประพฤติตามอิริยาบท คือ ยืน, เดิน, นั่ง, นอน, ๒. อายตนจริยา ความประพฤติตามอายตนะภายในภายนอก, ๓. สติจริยา ควาประพฤติในการตั้งสติ ๓ อย่าง, ๔. สมาธิจริยา ( ความประพฤติในฌาน ๔ ),๕. ญาณจริยา ความประพฤติในอริยสัจจ์ ๔, ๖. มัคคจริยา ความประพฤติในมรรค ๔, ๗. ปัตติจริยา ความประพฤติในผล ๔, ๘. โลกัตถจริยา ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก บางส่วนเป็นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บางส่วนเป็นของพระปัจเจกพุทธเจ้า บางส่วนเป็นของพระสาวก. นอกจากนั้นยังแสดงจริยา ๘ อีก ๒ นัย.
    ๒๖. ปาฏิหาริยะ ( ปาฏิหาริย์-การนำไปเสีย ) บท ตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์, อเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจ ทายได้เป็นอัศจรรย์, อนุสาสนีปาฏิหาริย์ สั่งสอนเป็นอัศจรรย์. พร้อมทั้งพระพุทธภาษิตอธิบายปาฏิหาริย์ ๓ โดยละเอียด. ในภาคอธิบาย วิเคราะห์ศัพท์ปาฏิหาริย์ว่า นำไปเสีย คือนำกิเลสต่าง ๆ ไปเสีย.
    ๒๗. สมสีสะ ( สิ่งที่สงบและสิ่งที่มีศีร์ษะ )<sup> </sup> บทตั้งเป็นพระสาริบุตร ให้คำอธิบายเพียงสั้น ๆ ว่า ปัญญาที่เห็นความไม่ปรากฏแห่งกิเลสในการตัดขาดและในการดับแห่งธรรมทั้งปวง ชื่อว่าญาณ คือความรู้ในเนื้อความแห่งสมสีสะ. ในภาคอธิบาย แสดงธรรมฝ่ายดีตั้งแต่เนกขัมมะ ( การออกจากกาม ) จนถึงอรหัตตมรรค ว่าเป็นสมะ คือความสงบ และแสดงธรรมที่มีศีร์ษะรวม ๑๓ ประการ คือตัณหา มีความกังวลเป็นศีร์ษะ, มานะ มีความผูกพันเป็นศีร์ษะ, ทิฏฐิ มีความลูบคลำ ( ปรามาส ) เป็นศีร์ษะ, ความฟุ้งสร้าน มีความส่ายไปเป็นศีร์ษะ, อวิชชา มีกิเลสเป็นศีร์ษะ, ศรัทธา มีความน้อมใจเชื่อศีร์ษะ, วิริยะความเพียร มีความประคองเป็นศีร์ษะ, สติ มีความปรากฏเป็นศีร์ษะ, สมาธิ มีความไม่ส่ายไปเป็นศีร์ษะ, ปัญญามีการเห็นเป็นศีร์ษะ, ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นไปเป็นศีร์ษะ, วิโมกข์ มีโคจรคืออารมณ์เป็นศีร์ษะ, นิโรธมีสังขารเป็นศีร์ษะ, ( คำว่า ศีร์ษะ น่าจะหมายความว่าเป็นส่วนสำคัญ ).
    ๒๘. สติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงสติปัฏฐาน ๔ ประการ ( รายละเอียดโปรดดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ หน้า ๒ ด้วย ) หมายเลขหัวข้อที่ ๒๔
    ๒๙. วิปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง ) บท ตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงว่าเป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุพิจารณาเห็นสังขารว่าเที่ยง, เป็นสุข, เป็นอัตตา จะทำให้แจ้งโสดาปัตติผล จนถึงอรหัตตผล ในทางดีคือที่ตรงกันข้าม
    ๓๐. มาติกา ( แม่บท ) บท ตั้งเป็นภาษิตของพระสาริบุตร แสดงเรื่องวิโมกข์, วิชชา ( ความรู้ ), วิมุติ ( ความหลุดพ้น ), อธิศีล, อธิจิต, อธิปัญญา, ปัสสัทธิ ( ความสงบระงับ ), ญาณ ( ความรู้ ),ทัสสนะ ( ความเห็น ), สุทธิ ( ความบริสุทธิ์ ), เนกขัมมะ ( การออกจากกาม ), นิสสรณะ ( ความพ้นไป ความแล่นออก ),ปวิเวกะ ( ความสงัด ), โวสสัคคะ ( ความสละ ), จริยา ( ความประพฤติ ), ฌานวิโมกข์ ( ความพ้นด้วยฌาน ), ภาวนาธิฏฐานชีวิต ( ความเป็นอยู่โดยการเจริญความดีโดยตั้งใจมั่น ) แล้วอธิบายทีละศัพท์โดยละเอียด.


    <center> สรูป </center>
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ นี้ สมที่ตั้งชื่อว่าปฏิสัมภิทามรรค ( ทางแห่งความแตกฉาน ) เพราะอธิบายธรรมะข้อเดียว แจกรายละเอียดออกไปเป็นสิบเป็นร้อยข้อ ทำให้เข้าใจศัพท์ และความหมายแตกฉาน แต่ที่ย่อมาแสดงเพียงเท่านี้สำหรับประชาชนทั่วไป แม้เช่นนั้น ก็รู้สึกว่าจะยังยากที่จะเข้าใจ แต่ถ้านึกว่าธรรมะก็มีตั้งแต่อย่างต่ำเข้าใจง่าย จนถึงอย่างสูงเข้าใจยาก ก็คงทำให้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับพระไตรปิฎกได้บ้าง.


    <center> จบเล่มที่ ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค </center>

    <hr> '๑' . โปรดดูคำอธิบายในตอนที่ยกอธิบายทีละศัพท์ต่อไป
    '๒' . ญาณข้อนี้ คือรู้ว่า มีกิเลสน้อยกิเลสมาก มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันเป็นอินทรีย์ คือธรรมที่เป็นใหญ่ กล้า หรืออ่อน มีอาการดี มีอาการเลว เป็นต้น
    '๓' . คำนี้ตามที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงดับกิเลส พร้อมด้วยดับชีวิต
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  7. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๓๒ ชื่อขุททกนิกาย อุปทาน ภาคที่ ๑ </center> <center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔)</center>
    พระไตรปิฎกเล่มนี้แสดงถึงประวัติการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๔๑๒ เรื่อง เป็นประวัติการทำความดีของพระพุทธเจ้า ๑ เรื่อง ประวัติการทำชั่วที่เคยมีในอดีตก่อนตรัสรู้ ๑ เรื่อง อันแสดงว่าเป็นเหตุให้ได้รับผลร้ายอย่างไร เป็นประวัติพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ เรื่อง ประวัติพระสาวกต่าง ๆ ๔๐๙ เรื่อง. ทุกเรื่องเรียบเรียงเป็นคำฉันท์และบอกไว้ด้วยว่า เรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ตรัสแสดงไว้แก่พระอานนท์ผู้เป็นเวเทหมุนี (มุนีผู้ฉลาด ) ลักษณะคำฉันท์ที่แต่งไว้ มิใช่มุ่งเพียงแสดงประวัติ แต่มุ่งให้มีความไพเราะทางวรรณคดีปนอยู่ด้วยเป็นอย่างมาก.
    ในที่นี้จะย่อความเป็นตัวอย่างเพียงบางเรื่อง คือ :-


    <center> ๑. พุทธาปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระพุทธเจ้า )</center>
    ใจความว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม พระอานนทเถระได้กราบทูลถาม ถึงเหตุให้บุคคลทั้งหลายได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้รู้สิ่งทั้งปวง ตรัสตอบว่า ต้องเป็นผู้ได้ทำอธิการ ( คุณความดี ) ไว้ในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่ยังมิได้บรรลุความหลุดพ้นในศาสนาของพระพุทธเจ้า ( นั้น ๆ ). ด้วยปัญญาที่ได้ตรัสรู้ออกหน้า ผู้มีปัญญาย่อมบรรลุความเป็นสัพพัญญูได้โดยลำดับ ด้วยอัธยศัย ด้วยธรรมะเป็นกำลังอันใหญ่ ด้วยปัญญาด้วยเดช. ครั้นแล้วตรัสเล่าว่า พระองค์เองได้ทรงปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ผู้เป็นธรรมราชา ผู้สมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ นับจำนวนไม่ได้, ได้ปรารถนาการตรัสรู้ต่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ได้นมัสการ ๑๐ นิ้ว ซึ่งพระผู้เป็นนายกของโลกทั้งหลายพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์ได้อภิวาทด้วยเศียรเกล้า. นอกจากนั้นยังแสดงถึงการที่มีพระหฤทัยนึกน้อมถวายทาน มีความเลื่อมใสบูชาพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วแสดงการบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ มีศีล เป็นต้น แล้วลงสุดท้ายเป็นคำสอนว่า " ท่านทั้งหลายเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย เห็นความเพียรเป็นความเกษม ( ปลอดโปร่งจากภัย ) แล้ว ก็จงปรารภความเพียรเถิด. นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เห็นการวิวาทกันเป็นภัย เห็นความไม่วิวาทกันเป็นความปลอดโปร่งจากภัยแล้ว ก็จงสมัครสมานเป็นมิตรกันเถิด. นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เห็นความประมาทเป็นภัย เห็นความไม่ประมาทเป็นความปลอดโปร่งจากภัยแล้ว ก็จงเจริญมรรคาอันมีองค์ ๘ เถิด. นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย " ดังนี้เป็นต้น.
    ( หมายเหตุ : ข้อ ความที่พรรณนาในพุทธาปทานนี้ หนักไปในทางแสดงการบำเพ็ญบารมีทางใจมากกว่าอย่างอื่น และมีหลักสำคัญที่แสดงว่า ได้แสดงความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้ามาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ส่วนรายการบำเพ็ญบารมีอื่นอีก จะมีแจ้งข้างหน้าในการย่อเล่มที่ ๓๓ อันว่าด้วยจริยาปิฎก ).

    <center> ๒. ปัจเจกพุทธาปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างของพระปัจเจกพุทธเจ้า )</center>
    ใจความในคำฉันท์แสดงว่า พระอานนท์ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค ถึงเหตุที่บุคคลจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า, ตรัสตอบว่า ต้องเป็นผู้ได้ทำอธิการ ( คุณความดี ) ไว้ในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่ยังมิได้บรรลุความหลุดพ้นในศาสนาของพระพุทธเจ้า ( นั้น ๆ ). ด้วยความสังเวชออกหน้า ผู้มีปัญญากล้าแม้เว้นจากพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ได้บรรลุปัจเจกโพธิ ( การตรัสรู้เฉพาะตน ) ด้วยอารมณ์อันเล็กน้อย ( กว่าของพระพุทธเจ้า ). บุคคลที่จะเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้า เว้นพระพุทธเจ้าเสียแล้ว ก็ไม่มีในโลกทั้งปวง. ครั้นแล้วตรัสแสดงคุณงามความดีต่าง ๆ ตามทำนองแห่งขัคควิสาณสูตร ( ที่กล่าวมาแล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ) ในอุรควรรคที่ ๑ มี ๑๒ สูตร ที่หมายเลข ๓.


    <center> ๓. สาริปุตตเถราปทาน </center>
    <center>( ข้ออ้างของพระสาริบุตร )</center>
    ข้าพเจ้า ( พระสาริบุตร ) ได้สร้างอาศรม สร้างบรรณศาลา ณ เวลัมพบรรพต ไม่ไกลหิมวันตประเทศ มีแม่น้ำฝั่งตื้น มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ มีเนินทรายอันบริสุทธิ์ดี ไม่ไกลอาศรม. ข้าพเจ้า ( พระสาริบุตร ) เป็นดาบสนามว่า สุรุจิ มีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร มักเข้าฌาน ยินดีในฌานเสมอ ถึงพร้อมด้วยกำลังคืออภิญญา ๕ ( แสดงฤทธิ์ได้,หูทิพย์, กำหนดรู้ใจผู้อื่น, ระลึกชาติได้, ตาทิพย์ ) มีศิษย์เป็นพราหมณ์ ผู้มีชาติ มียศ เป็นจำนวนมาก เป็นผู้รู้คัมภีร์พราหมณ์อุปฐากบำรุงข้าพเจ้า วันหนึ่งได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่า อโนมทัสสี เมื่อได้สังเกตุดูพระพุทธลักษณะแล้ว ก็แน่ใจว่าเป็นพระพุทธเจ้า จึงปัดกวาดนำดอกไม้ ๘ กำมาบูชา แล้วกล่าวสรรเสริญพระญาณของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า และได้รับพยากรณ์ ว่า จะเป็นผู้ชื่อว่าสาริบุตร มีปัญญากล้าได้เป็นอัครสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า. ครั้นแล้วได้กล่าวถึงชาติปัจจุบันเล่าประวัติที่ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิและ ได้บวชร่วมกับสหายชื่อโกลิตะ ( พระมหาโมคคัลลานะ ) จนกระทั่งสิ้นอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ).


    <center> ๔. มหาโมคคัลลานเถราปทาน </center>
    <center>( ข้ออ้างหรือประวัติของพระมหาโมคคัลลาเถระ )</center>
    ข้าพเจ้า ( พระมหาโมคคัลลานะ ) เป็นราชาแห่งนาค ชื่อว่าวรุณะ ได้เคยถวายอาหารแด่พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระขีณาสวสาวก และได้รับพยากรณ์ว่าจะได้เป็นอัครสาวกนามว่า โกลิตะของพระโคดมพุทธเจ้า.


    <center> ๕. มหากัสสปเถราปทาน </center>
    <center>( ข้ออ้างหรือประวัติของพระมหากัสสปเถระ )</center>
    ข้าพเจ้า ( พระมหากัสสป ) ได้ชักชวนญาติมิตรให้ทำการบูชาพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้เสด็จดับขันธนิพพานแล้ว ได้ทำกุศลเป็นอันมาก ผลดีได้ส่งให้ได้ไปเกิดในสุคติ และในชาติสุดท้ายได้เกิดในสกุลพราหมณ์ ละสมบัติออกบวช ได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖.
    ( หมายเหตุ : ใน คำฉันท์จริง ๆ พิสดารกว่านี้มาก ได้ย่อใจความที่สำคัญมาให้เห็นว่าแต่ละท่านได้บำเพ็ญความดี ในชั้นแรกก็ไม่มากอะไร แต่ได้บำเพ็ญความดีต่อ ๆกันมา จึงได้รับผลดีคือหมดกิเลส เวลาแสดงประวัติ ท่านก็ไม่ลืม ถือว่าความดีเล็ก ๆน้อย ๆ ที่ทำไว้เป็นครั้งแรกนั้น เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งในประวัติของท่าน ).


    <center> ๖. พุทธาปทาน </center>
    <center>( ข้ออ้างหรือประวัติของพระพุทธเจ้า )</center>
    ( ในที่นี้จะนำพุทธาปทานอีกบทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ อันมีชื่อว่าปุพพกัมมปิโลติกะ( ท่อนผ้าเก่าแห่งบุพพกรรม ) ส่วนใหญ่แสดงถึงกรรมชั่วที่พระผู้มีพระภาคเคยทรงทำไว้อันส่งผลร้ายแก่ พระองค์ แม้ในพระชาติสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ ในการเปิดเผยพระประวัติทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วอย่างตรงไปตรงมา ว่าเคยทรงทำไว้ทั้งกรรมดีกรรมชั่ว เฉพาะเรื่องนี้ จะพยายามถอกความให้ละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจทั่วไป).
    เรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคอันพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ประทับเหนือพื้นศิลาอันน่ารื่นรมย์ใกล้สระอโนดาด ตรัสเล่าบุพพกรรม ( กรรมในกาลก่อน ) ของพระองค์ ดังนี้.
    " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงฟังถึงกรรมที่เราได้ทำไว้แล้ว เราเห็นภิกษุผู้อยู่ป่ารูปหนึ่ง จึงได้ถวายผ้าท่อนเก่า ในกาลนั้นเราได้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลแห่งกรรมอันเนื่องด้วยผ้าท่อนเก่านั้นได้สำเร็จแม้ในความเป็นพระพุทธเจ้า. "
    " เราเคยเป็นนายโคบาลในชาติก่อน ๆ ต้อนแม่โคไปสู่ที่หากิน เห็นแม่โคดื่มน้ำขุ่นจึงห้ามไว้ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ จึงไม่ได้ดื่มตามต้องการ ( ใช้พระอานนท์ไปตักน้ำ พระอานนท์ไม่ตักกลับมากราบทูลว่า น้ำขุ่น ต้องตรัสย้ำให้ไปใหม่ พอพระอานนท์ไปตักครั้งที่ ๒ น้ำกลับใส-มหาปรินิพพาน-สูตร ).
    " เราเคยเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ ในชาติก่อน ๆ ได้กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า สุรภิ ผู้มิได้ประทุษร้าย ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงท่องเที่ยวไปในนรกสิ้นกาลนาน เสวยทุกขเวทนาสิ้นพันปีเป็นอันมากด้วยกรรมที่เหลือนั้น ในภพสุดท้ายนี้ ก็ถูกใส่ความ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา ( คือนางสุนทริกาเป็นนักบวชหญิงถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ทำเป็นบอกใครต่อใครว่าจะ ไปค้างคืนกับพระสมณโคดม แล้วไปค้างเสียที่อื่น รุ่งเช้าก็ทำเป็นเดินทางมาจากเชตวนารามที่ประทับ พออีก ๒-๓ วัน พวกเดียรถีย์ก็จ้างนักเลงไปฆ่านางสุนทริกาเป็นเชิงให้เห็นว่านางถูกฆ่า เพื่อจะปิดปาก คนก็สงสัยว่าอาจจะจริง แต่พระราชาส่งราชบุรุษสืบดูตามร้านสุรา ก็จับพวกนักเลงได้ และลงโทษผู้จ้างด้วยในที่สุด ).
    " เพราะกล่าวใส่ความพระสาวกของพระสัพพาภิภูพุทธเจ้า มีนามว่านันทะ เราจึงท่องเที่ยวไปในนรก ตลอดกาลนานหลายหมื่นปี เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์ถูกใส่ความมาก. ด้วยกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกา จึงได้ใส่ความเราด้วยคำไม่จริงต่อหน้าหมู่ชน ( นางจิญจมาณวิกาซึ่งเป็นนักบวชสตรี ถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ทำอุบายเป็นว่ามีครรภ์กับพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้ผูกไว้ที่ท้อง แกล้งด่าประจานพระผู้มีพระภาคในที่ประชุมชน แต่เผอิญไม้ที่ผูกไว้หลุดตกลงมา จึงถูกประชาทัณฑ์ และถึงแก่ความตายในที่สุด ซึค่งอรรถกถาธรรมบทใช้คำว่า ถูกธรณีสูบตาย ภายหลังที่ถูกประชาชนลงโทษแล้ว ).
    " เราได้เคยเป็นพราหมณ์ผู้มีความรู้ ( ผู้ได้สดับ ) มีผู้เคารพสักการะ สอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐ ได้ใส่ความภิมฤษีผู้มีอภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก ผู้มาในที่นั้น โดยกล่าวกะศิษย์ทั้งหลายว่า ฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม มาณพทั้งหลายก็พลอยชื่นชมไปกับเรา เมื่อไปภิกขาจารในสกุลก็เที่ยวกล่าวแก่มหาชนว่า ฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม. ด้วยผลของกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ทั้งหมด ก็พลอยถูกใส่ความไปด้วยเพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา ( เมื่อมีข่าวว่านางสุนทริกาถูกฆ่าตาย ชาวเมืองก็เข้าใจว่า พระภิกษุทั้งหลายมีส่วนในการฆ่าปิดปาก จึงพากันด่าว่าเมื่อแลเห็นภิกษุทั้งหลาย. เมื่อพระราชาทรงสืบทราบและให้ลงโทษผู้ฆ่าแล้ว เรื่องจึงได้สงบ ).
    " ในกาลก่อน เราได้เคยฆ่าน้องชายต่างมารดาเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผลักลงไปในซอกเขา เอาหินทุ่ม ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เทวทัตจึงเอาหินทุ่มเรา สะเก็ดหินมาถูกหัวแม่เท้าเรา.
    " ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยฅู่ในทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเผาสิ่งต่าง ๆ ขวางทางไว้ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เทวทัตจึงส่งคนเพื่อให้ฆ่าเรา.
    "ในกาลก่อนเราได้เป็นนายควาญช้าง ไสช้างให้ไล่กวดพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ช้างนาฬาคิริ ดุร้าย เมามัน จึงวิ่งเข้ามาหาเรา ( เพื่อทำร้าย ) ในนครอันประเสริฐ ซึ่งมีภูเขาเป็นคอก ( คือในกรุงราชคฤห์ ซึ่งมีภูเขา ๕ ลูกแวดล้อม จึงมีนามว่านครที่มีภูเขาล้อมเป็นคอก ),
    "เราได้เคยเป็นพระราชา เป็นหัวหน้าทหารเดินเท้า ได้ฆ่าบุรุษหลายคนด้วยหอก ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราได้หมกไหม้อย่างหนักในนรก ด้วยผลที่เหลือแห่งกรรมนั้น สะเก็ดแผลที่เท้าของเราก็กลับกำเริบ เพราะกรรมยังไม่หมด.
    "เราเคยเป็นเด็กชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลาก็มีความชื่นชม ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงเกิดเจ็บที่ศีรษะ ในขณะที่วิฏฏภะ ( วิฑูฑภะ ) ฆ่าพวกศากยะ ( วิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ เพราะโกรธว่าดูหมิ่นเอาน้ำนมสดล้างที่นั่ง เมื่อคราวที่ตนไปเยี่ยมญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์. วิฑูฑภะเป็นโอรสพระเจ้าปเสนทิโกศล และนางวาสภขัตติยาผู้เป็นบุตรี เกิดจากนางทาสีของมหานามศากยะ. คณะกษัตริย์ศากยะเลือกส่งมาถวายพระเจ้าปเสนทิเมื่อคราวทรงขออภิเสกกับนาง กษัตริย์ศากยะ ).
    "เราได้เคยบริภาษ ( ด่าโดยอ้อม ) พระสาวกในพระธรรมวินัยของพระผุสสพุทธเจ้าว่า ท่านจงเคี้ยวจงกินข้าวเหนียวเถิด อย่ากินข้าวสาลีเลย. ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราเลยต้องบริโภคข้าวเหนียวอยู่ ๓ เดือน ในเมื่อพราหมณ์นิมนต์ไปอยู่ในเมืองเวรัญชรา ( พราหมณ์นิมนต์ไปจำพรรษาแล้วลืมถวายอาหาร ได้อาศัยพวกพ่อค้าม้าถวายข้าวแดง อาจเป็นข้าวเหนียวแดงที่สำหรับให้ม้ากิน ).
    "ในสมัยที่ไม่มีพระพุทธเจ้า เราได้เคยทำร้าย<sup></sup>บุตรแห่งนักมวยปล้ำ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงเกิดเจ็บที่หลัง.
    "เราได้เคยเป็นหมอ ( แกล้ง ) ถ่ายยาบุตรแห่งเศรษฐี ( คงเป็นการถ่ายอย่างแรงถึงแก่ชีวิต ).ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงลงโลหิต ( โรคปักขันทิกะ ).
    "เราเป็นผู้ชื่อว่าโชติปาละ ได้เคยกล่าวกะพระสุตตพระนามว่ากัสสปะ การตรัสรู้เป็นของได้โดยยาก ท่านจะได้จากควงไม้โพธิที่ไหนกัน. ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราได้บำเพ็ญทุกกรกิริยาเป็นอันมากสิ้นเวลา ๖ ปี ต่อจากนั้นจึงได้บรรลุการตรัสรู้ เรามิได้บรรลุการตรัสรู้โดยทางนั้น ได้แสวงหาโดยทางที่ผิด เพราะถูกกรรมเก่าทวงเอา.
    "เราสิ้นบุญและบาปแล้ว เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง ไม่มีความโศก ไม่มีความคับแค้น ปราศจากอาสวะ จักปรินิพพาน. "
    ( เป็นอันว่าได้แสดงตัวอย่างในอปทาน พอให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า มีรายละเอียดอย่างไร ).


    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ ชื่อขุททกนิกาย </center>
    <center> อปทาน ภาคที่ ๑ </center>
    <hr> '๑' . มลฺลปฺต์ตํ นิเสธยึ โดยปกติคำว่า นิเสธ แปลว่า ห้าม, กั้น, กีดกัน, ผลัก, และแปลว่า ต่อสู้หรือทำ ให้แพ้ก็ได้


    [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ชื่อขุททกนิกาย </center> <center> ( เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔)</center>
    <center>อปทานภาคที่ ๒, พุทธวังสะ, จริยาปิฎก. </center>
    พระไตรปิฎกเล่มนี้เป็นเล่มสุดท้ายแห่งพระสุตตันตปิฎก มีข้อความเรื่อง อปทาน ต่อมาจากเล่มที่ ๓๒ กับมีหัวข้ออื่นอีก ๒ ข้อ คือ พุทธวังสะ ( วงค์แห่งพระพุทธเจ้า ) แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ เริ่มต้นตั้งแต่พระทีปังกร จนถึงพระพุทธเจ้าของเรา คือพระสมณโคดม กับหัวข้อใหญ่อีกเรื่องหนึ่งคือ จริยาปิฎก ( คัมภีร์ว่าด้วยจริยา คือความประพฤติของพระพุทธเจ้า ) เรื่องนี้แสดงถึงการที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ, ต่อไปนี้จะขยายความทั้งสามหัวข้อนั้นเป็นลำดับไป.


    <center> ๑. อปทาน ภาคที่ ๒ </center>
    มีข้อที่ควรกล่าวก็คือ ในอปทานภาคที่ ๑ มีประวัติของพระพุทธเจ้า ๒ เรื่อง, ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ เรื่อง, ประวัติของพระสาวกต่าง ๆ ๔๐๙ เรื่อง รวม ๔๑๒ เรื่อง แต่ในอปทานภาคที่ ๒ นี้ มีประวัติของพระสาวกต่าง ๆ ที่เป็นพระเถระ ๑๔๐ รูป พระเถรี ๔๐ รูป. ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างอปทาน คือข้ออ้างหรืออดีตประวัติของพระเถระ ๕ รูป ของพระเถรี ๕ รูป คือ :-

    <center> ๑. มหากัจจายนเถราปทาน<sup></sup> </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระมหากัจจายนเถระ)</center>
    ในสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ข้าพเจ้า ( พระมหากัจจายนเถระ ) เป็นดาบส อยู่ ณ หิมวันตประเทศ เที่ยวไปผู้เดียว ขณะที่ไปยังถิ่นของมนุษย์ทางอากาศ ได้เห็นพระชินะจึงเข้าไปใกล้ ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ผู้กำลังพรรณนาคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสาวก และตั้งเป็นเอตทัคคะ ( เป็นยอดหรือเลิศ ) ในทางประกาศพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ย่อ ๆ ให้พิศดาร. ข้าพเจ้าได้ฟังก็รู้สึกพิศวงจึงไปยังหิมวันตประเทศ รวบรวมดอกไม้นำมาบูชาพระพุทธเจ้า แล้วปรารถนาฐานะเช่นกัน ( ตำแหน่งพระสาวกผู้เป็นเลิศทางแสดงธรรมให้พิสดาร ). พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่าข้าพเจ้าจะได้เป็นสาวกของพระโคดมมหามุนี มีนามว่า กัจจานะ บรรลุฐานะ ( ที่ประสงค์ ) นั้น ก็ได้บรรลุในชาติสุดท้ายนี้สมตามที่ปรารถนา.

    <center> ๒. มหากัปปินเถราปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระมหากัปปินเถระ)</center>
    พระชินะทรงพระนามว่า ปทุมุตตร ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ทรงอุบัติขึ้น ดั่งดวงอาทิตย์อุทัยในอากาศอันปลอดโปร่งในท้องฟ้าฤดูสารท. พระนายกนั้น ทรงยังดอกปทุมคือเวไนยสัตว์ให้บานด้วยแสง คือคำสอน ทรงทำเปือกตมคือกิเลสให้แห่งด้วยรังสีคือความรู้.<sup></sup> ครั้งข้าพเจ้า ( พระมหากัปปินเถระ) เป็นอำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดีในหังสนคร ( หังสวตี ) ได้สดับธรรมของพระตถาคตผู้ทรงประกาศคุณของพระสาวก นามว่า ชลชุตตมะ ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสติ ยังใจของข้าพเจ้าให้ร่าเริง ครั้นสดับแล้วก็เกิดปีติโสมนัสนิมนต์พระตถาคตพร้อมด้วยทั้งศิษย์สาวกฉัน ภัตตาหาร แล้วปรารถนาฐานะนั้น ( ตำแหน่งพระสาวกผู้เลิศในทางสอนภิกษุทั้งหลาย ) พระตถาคตเจ้าก็ตรัสพยากรณ์ว่า จะได้เป็นผู้มีนามว่ากัปปินะ เป็นสาวกของพระโคดมศาสดา, ต่อมาก็ได้สำเร็จสมความประสงค์ พระชินะทรงตั้งข้าพเจ้าในเอตทัคคะทางให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย.

    <center> ๓. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระทัพพมัลลบุตรเถระ)</center>
    ในครั้งนั้นข้าพเจ้า ( พระทัพพมัลลบุตร ) เป็นบุตรเศรษฐี อยู่ในกรุงหังสวดี ได้ฟังคำของพระปทุมมุตตรศาสดา ผู้ทรงประกาศกิตติคุณพระสาวกของพระองค์ผู้จัดเสนาสนะ ( ที่อยู่อาศัย ) ของภิกษุทั้งหลาย ก็มีใจเบิกบานกระทำอธิการ ( คุณความดี ) แด่พระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์ ปรารถนาฐานะนั้น ( ตำแหน่งพระสาวกผู้เลิศในทางจัดเสนาสนะ)ก็ได้รับพยากรณ์ว่า จะได้เป็นผู้มีนามว่าทัพพะ เป็นสาวกของพระโคดมศาสดา เป็นผู้เลิศในทางจัดเสนาสนะ จำเนียรกาลล่วงมาก็เป็นไปสมตามที่ปรารถนานั้น.

    <center> ๔. กุมารกัสสปเถราปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระกุมารกัสสปเถระ)</center>
    ในครั้งนั้น ข้าพเจ้า ( พระกุมารกัสสป) เป็นพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ถึงฝั่งแห่งพระเวท ขณะไปสู่ที่พักกลางวัน ได้เห็นพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกแห่งโลกกำลังประกาศสัจจธรรม ๔ ประการ ยังโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลกให้ตื่นขึ้น ทรงพรรณนาคุณแห่งพระสาวกของพระองค์ผู้กล่าวธรรมอันวิจิตร ในท่ามกลางมหาชน ข้าพเจ้าก็มีจิตเบิกบานนิมนต์พระตถาคต พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉันโภชนะมีรสอันเลิศต่าง ๆ ครบ ๗ วัน แล้วปรารถนาฐานะนั้น ( ตำแหน่งพระสาวกผู้เลิศในทางกล่าวธรรมอันวิจิตร )<sup></sup> ซึ่งได้รับพยากรณ์ว่า จะเป็นผู้มีนามว่ากุมารกัสสป เป็นสาวกของพระโคดมศาสดา. จำเนียรกาลล่วงมาก็เป็นไปสมตามที่ปรารถนานั้น.

    <center> ๕. มหาโกฏฐิตเถราปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระมหาโกฏฐิตเถระ)<sup> </sup> </center>
    ในครั้งนั้น ข้าพเจ้า ( พระมหาโกฏฐิตะ) เป็นพราหมณ์ผู้ถึงฝั่งแห่งพระเวทในกรุงหังสวตี ได้เข้าไปเฝ้าพระปทุมุตตรศาสดา ฟังธรรม. ครั้งนั้น พระองค์ทรงตั้งพระสาวกผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉาน คือฉลาดในอรรถ ในธรรมในนิรุตติ ( ภาษาพูด ) และในปฏิภาณ ไว้ในตำแหน่งอันเลิศ ก็มีใจเบิกบาน จึงนิมนต์พระชินวร พร้อมด้วยพระสาวกไปฉันตลอด ๗ วัน แล้วปรารถนาฐานะนั้น ( ตำแหน่งพระสาวกผู้เลิศในปฏิสัมภิทาคือความแตกฉานในอรรถ, ธรรม, นิรุตติ,ปฏิภาณ ) ซึ่งได้รับพยากรณ์ว่า จะเป็นผู้มีนามว่า โกฏฐิตะเป็นสาวกของพระโคตมศาสดา จำเนียรกาลล่วงมาก็ได้เป็นไปสมตามที่ปรารถนานั้น.
    ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอปทานของพระเถรีอีก ๕ รูป

    <center> ๑. มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน </center>
    <center>(อปทานหรือประวัติของพระนางมหาปชาบดีเถรี )</center>
    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี พระนางมหาปชาบดี-โคตมี ก็ประทับอยู่ในสำนักนางภิกษุณี ใกล้นครนั้น พร้อมด้วยนางภิกษุณีทั้งหลายประมาณ ๕๐๐ รูป ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลส. พระนางทรงพระดำริว่า จะมิได้เห็นการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระราหุล พระอานนท์ พระนนทะ จึงทรงปลงอายุสังขารที่จะปรินิพพาน และจะไปกราบทูลขอพระพุทธานุญาต แม้นางภิกษุณีอื่น ๆ ๕๐๐ รูป มีพระนางเขมา เป็นต้น ก็นึกในทำนองเดียวกัน จึงพร้อมกันไปเฝ้ากราบทูลลาปรินิพพาน. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสประทานอนุญาตแล้ว ก็มีผู้เลื่อมใสแสดงความโศก พระนางจึงแสดงธรรมสั่งสอน และเล่าพระประวัติที่ออกบรรพชาอุปสมบท กับได้ตรัสเล่าพระประวัติในอดีตกาลทั้งพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระนางเกิดเป็นบุตรีของมหาอำมาตย์ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมด้วยบิดาของตนและหมู่ทาสี ได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งพระน้านางของพระองค์ในเอตทัคคะ จึงถวายทานและปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง ก็ได้รับพยากรณ์ว่า จะได้เกิดมีนามว่าโคตมี เป็นสาวิกาของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งก็สำเร็จสมตามปรารถนานั้น ในประวัตินั้นยังแสดงต่อไปจนถึงสมัยที่พระนางมหาปชาบดี โคตมี เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สำนักแห่งนางภิกษุณี ทรงเข้าอนุบุพพวิหาร ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลม แล้วทรงกลับเข้ารูปฌานทั้งสี่ ออกจากฌานที่ ๔ ก็เสด็จปรินิพพาน.<sup></sup> ( อันเห็นได้ชัดว่าเรื่องอปทานนี้ มิใช่เจ้าของประวัติแต่งเอง แต่มีผู้รวบรวมเรื่องราวมาแต่งขึ้นในภายหลัง ซึ่งน่าจะเป็นสมัยทำสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย ระหว่างครั้งที่ ๑ ถึงครั้งที่ ๒ นอกจากนั้นสำนวนภาษาบาลีก็ดี สำนวนกวีก็ดี แสดงสมัยว่าต่างจากภาษาบาลีสำนวน พระสูตรสมัยแรก แต่โดยเหตุที่เรื่องนี้ เป็นเพียงการรวบรวมประวัติที่ทรงจำกันด้วยปากให้เป็นตัวหนังสือขึ้น การจัดเข้าในสุตตันตปิฎกด้วย จึงเป็นการที่ทำให้ตำราทางพระพุทธศาสนาสมบูรณ์ขึ้น ).

    <center> ๒. เขมาเถริยาปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระนางเขมาเถรี )</center>
    ในกาลนั้น ข้าพเจ้า ( พระนางเขมาเถรี ) เกิดในสกุลเศรษฐี ในกรุงหังสวตี ในสมัยแห่งพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนามีความเลื่อมใส ขอให้บิดานิมนต์พระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระสาวก ฉันครบ ๗ วัน ได้สดับเรื่องที่พระผู้มีพระภาคทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งในตำแหน่งเอตทัคคะ ทางมีปัญญามาก มีความชื่นชม กระทำบุญแล้วปรารถนาตำแหน่งนั้นต่อพระผู้มีพระภาค ก็ได้พยากรณ์ว่า จะได้เป็นสาวกของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนามว่า เขมา ได้บรรลุตำแหน่งเอตทัคคะสมดังปรารถนา และในสมัยของพระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ก็ได้สำเร็จสมปรารถนาทุกประการ อนึ่งในสมัยพระวิปัสสี และพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้ทำเช่นเดียวกับพระนางอุปปลวัณณาซึ่งจะกล่าวต่อไป.

    <center> ๓. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระนางอุปปลวัณณาเถรี )</center>
    ในกาลนั้น ข้าพเจ้า ( พระนางอุปปสวัณณา ) เป็นนาคกัญญา นิมนต์พระปทุมุตตรสัมมา-สัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกเสวย ได้เห็นนางภิกษุณีองค์หนึ่งแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ จึงตั้งจิตปรารถนาฐานะเช่นนั้น ได้ถวายข้าวน้ำ และถวายดอกอุบลชื่ออรุณะ ปรารถนาให้ผิวกายดังดอกอุบล. ครั้นในศาสนาของพระปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เกิดเป็นธิดาเศรษฐีถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ในสมัยแห่ง พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เป็นพระธิดาองค์ที่ ๒ ของพระเจ้ากิกิ ราชาแห่งแคว้นกาสีผู้อุปฐากพระพุทธเจ้า ( พระนางเขมาเกิดเป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๑ ) ฟังพระธรรมของบรรพชา แต่พระราชบิดาไม่ทรงอนุญาต จึงประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในพระราชวังพร้อมด้วยพระภคินีอื่น ๆ รวม ๗ พระองค์ ทั้งพระองค์เอง. นอกจากนั้นในชาติอื่น ๆ อีก ยังได้ทำความดีในพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายพระองค์. ในชาติสุดท้ายเกิดเป็นธิดาเศรษฐี ออกบวชตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ละกิลาสาสวะได้ ( เป็นผู้เลิศในทางมีฤทธิ์ ).

    <center> ๔. ปฏาจาราเถริยาปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระนางปฏาจาราเถรี )</center>
    ในกาลนั้น ข้าพเจ้า ( พระนางปฏาจาราเถรี) เกิดในสกุลแห่งเศรษฐีในกรุงหังสวดี ในสมัยของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้สดับพระธรรมเทศนา มีความเลื่อมใสถึงพระชินเจ้าเป็นสรณะ มีจิตชื่นบาน เมื่อเห็นพระผู้มีพระภาคทรงตั้งนางภิกษุณีในตำแหน่งเลิศทางทรงพระวินัย จึงปรารถนาฐานะนั้น นิมนต์พระทศพล พร้อมทั้งพระสงฆ์ฉันเป็นเวลา ๗ วัน แล้วได้กราบทูลแสดงความปรารถนา ก็ได้รับพยากรณ์ว่า จะได้มีนามว่าปฏาจารา เป็นสาวกของพระโคตมสัมมา-สัมพุทธเจ้า. อนึ่ง ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้เป็นธิดาองค์ที่ ๓ ของพระเจ้ากิกิ มีความเป็นไปเช่นเดียวกับพระนางอุปปลวัณณา.

    <center> ๕. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน </center>
    <center>(ข้ออ้างหรือประวัติของพระนางกุณฑลเกสีเถรี )</center>
    ประวัติของพระนางกุณฑลเกสี ก็เช่นเดียวกับพระนางเขมา, พระนางอุปปลวัณณา, พระนางปฏาจารา ได้บำเพ็ญกุศลในสมัยพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน.ในสมัยแห่งพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ออกบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเลิศทางตรัสรู้ได้เร็ว.

    <center>(จบตัวอย่างอปทานฝ่ายพระเถรี )</center>

    <center> ๒. พุทธวังสะ ( วงค์แห่งพระพุทธเจ้า ) </center>
    ในเรื่องพุทธวงค์นี้ แบ่งออกเป็น ๒๘ หัวข้อใหญ่ คือ หัวข้อแรกว่าด้วยรตนจงกรม คือที่จงกรมแก้ว อันเป็นที่เสด็จจงกรม ( เดินกลับไปมามีสติสัมปชัญญะ ) ส่วนหัวข้อที่ ๒ ถึงที่ ๒๖ ว่าด้วยพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระทีปังกร จนถึงพระโคดมเป็นที่สุด.หัวข้อที่ ๒๗ ว่าด้วยปกิณณกะ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า. หัวข้อที่ ๒๘ ว่าด้วยการแจกพระสาริกธาตุ ซึ่งจะกล่าวตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้โดยสังเขป.
    ๑. รตนจังกมนกัณฑ์ หมวดว่าด้วยที่จงกรมแก้ว เป็นคำฉันท์พรรณนาเหตุการณ์ เมื่อเสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ตรัสแสดงธรรมเรื่องเวสสันดรชาดก เสร็จแล้วจึงทรงนิรมิตเรือนแก้วเสด็จจงกรม แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นว่าทรงบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ มาในอดีตกาลอย่างไร.
    ( เรื่องนี้อาจถอดความได้ว่า ทรงแสดงธรรมได้ชัดเจนอย่างปาฏิหาริย์ เห็นจริงเห็นจังว่า ได้ทรงบรรลุผลดีมิใช่อย่างลอย ๆ แต่ต้องบำเพ็ญบารมีมาอย่างมากมาย อันแสดงหลักการที่สำคัญแห่งพระพุทธศาสนา ที่ว่ามิได้มีการได้ดีใด ๆ เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ).
    ๒. ทีปังกรพุทธวงศ์ ( ที่ ๑ ) วงศ์แห่งพระทีปังกรณ์พุทธเจ้า เล่าเรื่องเมื่อครั้งพระโคดมพุทธเจ้าเป็นสุเมธดาบส ช่วยชาวบ้านทำทางให้พระทีปังกรพุทธเจ้าเสด็จผ่าน มีที่เหลืออยู่อีกหน่อยยังทำทางไม่เสร็จด้วยศรัทธา สุเมธดาบสจึงลงนอนทับโคลนให้พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวกเสด็จและเดินเหยียบ ข้ามไปแล้วได้รับพยากรณ์ว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม. ต่อจากนั้นแสดงรายละเอียดเฉพาะพระทีปังกรพุทธเจ้า.
    ๓. โกณฑัญญพุทธวงศ์ ( ที่ ๒ ) วงศ์แห่งพระโกณฑัญญพุทธเจ้า, สมัยนั้นพระโคดมพุทธเจ้า ได้เคยเป็นกษัตริย์พระนามว่า วิชิตาวี ได้ถวายทานแด่พระโกณฑัญญพุทธเจ้า และได้รับพยากรณ์.ต่อจากนั้นแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพระโกณฑัญญพุทธเจ้า.
    ๔. มังคลพุทธวงศ์ ( ที่ ๓ ) วงค์แห่งพระมังคลพุทธเจ้า, สมัยนั้นพระโคดมพุทธเจ้า เป็นพราหมณ์ มีนามว่า สุรุจิ ได้บูชาพระมังคลพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ และถวายน้ำนมโคให้ดื่ม ก็ได้รับพยากรณ์. ต่อจากนั้นแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพระมังคลพุทธเจ้า.
    ๕. สุมนพุทธวงศ์ ( ที่ ๔ ) วงศ์แห่งพระสุมนพุทธเจ้า, สมัยนั้นพระโคดมพุทธเจ้า เป็นอตุลนาคราช ได้ถวายข้าวน้ำและผ้าคู่แด่พระสุมนพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ และได้รับพยากรณ์. ต่อจากนั้นแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพระสุมนพุทธเจ้า.
    ๖. เรวตพุทธวงศ์ ( ที่ ๕ ) วงศ์แห่งพระเรวตพุทธเจ้า, สมัยนั้นพระโคดมพุทธเจ้า เป็นพราหมณ์นามว่า อติเทวะ ได้ถึงพระเรวตพุทธเจ้าเป็นสรณะ ได้ชมเชยพระคุณ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และได้ถวายทานอันยอดเยี่ยม ได้รับพยากรณ์. ต่อจากนั้นแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพระเรวตพุทธเจ้า.
    ๗. โสภิตพุทธวงศ์ ( ที่ ๖ ) วงศ์แห่งพระโสภิตพุทธเจ้า, สมัยนั้นพระโคดมพุทธเจ้า เป็นพราหมณ์นามว่า สุชาตะ ได้ถวายข้าวน้ำแด่พระโสภิตพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวก และได้รับพยากรณ์.( ข้อความเกี่ยวกับรายละเอียด เฉพาะพระองค์ของพระพุทธเจ้า ที่กล่าวพระนามนั้น มีกล่าวไว้ทุกแห่ง ต่อไปจะไม่กล่าวถึง เป็นอันทราบกันว่า มีรายละเอียดกล่าวไว้ทุกพระองค์ และพระโคดมพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญความดี พร้อมทั้งได้รับพยากรณ์ทุกครั้ง).
    ๘. อโนมทัสสิพุทธวงศ์ ( ที่ ๗ ) วงศ์แห่งพระอโนมทัสสี พุทธเจ้า.
    ๙. ปทุมพุทธวงศ์ ( ที่ ๘ ) วงศ์แห่งพระปทุมพุทธเจ้า.
    ๑๐. นารทพุทธวงศ์ ( ที่ ๙ ) วงศ์แห่งพระนารทพุทธเจ้า.
    ๑๑. ปทุมุตตรพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๐ ) วงศ์แห่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า.
    ๑๒. สุเมธพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๑ ) วงศ์แห่งพระสุเมธพุทธเจ้า.
    ๑๓. สุชาตพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๒ ) วงศ์แห่งพระสุชาตพุทธเจ้า.
    ๑๔. ปิยทัสสิพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๓ ) วงศ์แห่งพระปิยทัสสีพุทธเจ้า.
    ๑๕. อัตถทัสสิพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๔ ) วงศ์แห่งพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า.
    ๑๖. ธัมมทัสสิพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๕ ) วงศ์แห่งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า.
    ๑๗. สิทธัตถพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๖ ) วงศ์แห่งพระสิทธัตถพุทธเจ้า. <sup></sup>
    ๑๘. ติสสพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๗ ) วงศ์แห่งพระติสสพุทธเจ้า.
    ๑๙. ปุสสพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๘ ) วงศ์แห่งพระปุสสพุทธเจ้า.
    ๒๐. วิปัสสิพุทธวงศ์ ( ที่ ๑๙ ) วงศ์แห่งพระวิปัสสีพุทธเจ้า.
    ๒๑. สิขิพุทธวงศ์ ( ที่ ๒๐ ) วงศ์แห่งพระสิขีพุทธเจ้า.
    ๒๒. เวสสภูพุทธวงศ์ ( ที่ ๒๑ ) วงศ์แห่งพระเวสสภูพุทธเจ้า.
    ๒๓. กุกกุสันธพุทธวงศ์ ( ที่ ๒๒) วงศ์แห่งพระกุกกุสันธพุทธเจ้า(พระนามนี้ในที่อื่นใช้คำว่ากกุสันธะ).
    ๒๔. โกนาคมนพุทธวงศ์ ( ที่ ๒๓ ) วงศ์แห่งพระโกนาคมนพุทธเจ้า.
    ๒๕. กัสสปพุทธวงศ์ ( ที่ ๒๔ ) วงศ์แห่งพระกัสสปพุทธเจ้า.
    ๒๖. โคตมพุทธวงศ์ ( ที่ ๒๕ ) วงศ์แห่งพระโคดมพุทธเจ้า. มีข้อความแสดงธรรมการประชุมพระสาวก พระนามพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา และพระนามพระสาวกที่สำคัญ.
    ๒๗. พุทธปกิณณกกัณฑ์ หมวดเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าแสดงว่าในกัปป์ไหน พระพุทธเจ้าพระองค์ไหน ทรงอุบัติบ้าง ในตอนต้นได้แสดงว่าในกัปป์เดียวกับพระทีปังกรพุทธเจ้า ( พระองค์ที่ ๑ ในพุทธวงศ์ ) นั้น ยังมีพระพุทธเจ้าอีก ๓ พระองค์ ( รวมเป็น ๔ ) คือ พระตัณหังกร, พระเมธังกร, พระสรณังกรต่อจากนั้นจึงถึงพระทีปังกรพุทธเจ้า. ( อันแสดงว่าทั้งสามพระองค์นั้น มีมาก่อนพระองค์แรกในพุทธวงศ์ ๒๕ พระองค์ ซึ่งความจริงตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าในอดีตมีมากนับจำนวนไม่ได้ ในเล่มนี้แสดงพระนามไว้ ๒๘ พระองค์ ).
    ๒๘. ธาตุภาชนียกถา แสดงว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วได้มีการแจกพระธาตุไปไว้ในที่ต่าง ๆ คือ ๑. ในนครของพระเจ้าอชาตศัตรุ ( ราชคฤห์ ) ๒. ในกรุงเวสาลี ๓. ในกรุงกบิลพัสดุ์ ๔. ในแคว้นอัลลกัปปะ ๕. ในรามคาม ๖. ในแคว้นเวฏฐทีปกะ ๗. ในกรุงปาวาแห่งกษัตริย์มัลละ ๘. ในกรุงกุสินารา. ( รวมเป็นพระเจดีย์บรรจุพระอัฏฐิ ๘ แห่ง ). โทณพราหมณ์ได้นำทะนานสำหรับตักแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุในสตูป เรียกว่าตุมพเจดีย์ ( พระเจดีย์ทะนาน ). โมริยกษัตริย์ได้ขอรับพระอังคาร ( เถ้าถ่าน ) ไปบรรจุเป็นอังคารสตูป. นอกจากนั้นยังแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพระเขี้ยวแก้ว พระทนต์ พระเกศ พระโลมา และพระพุทธบริขารต่าง ๆ .

    <center>(จบพระพุทธวงศ์)</center>

    <center> ๓. จริยาปิฎก ( คัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยา ) </center>
    ( จริยาปิฎกหรือคัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยานี้ นับเป็นเรื่องใหญ่หัวข้อสุดท้ายในเล่มที่ ๓๓ ซึ่งเริ่มด้วยเรื่องอปทานกับเรื่องพุทธวงศ์มาแล้วโดยลำดับ. จริยาหรือความประพฤติในอดีตของพระพุทธเจ้า ที่นำมากล่าวไว้ในจริยาปิฎก มี ๓๕ เรื่อง โดยแยกแสดงว่า เป็นการบำเพ็ญทานบารมี ๑๐ เรื่อง, เป็นการบำเพ็ญศีลบารมี ๑๐ เรื่อง, เป็นการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ( การออกบวช ) ๖ เรื่อง, สัจจบารมี ๖ เรื่อง, เมตตาบารมี ๒ เรื่อง, อุเบกขาบารมี ๑ เรื่อง, รวมเป็น ๑๕ เรื่อง กับตอนสุดท้าย มีสโมธานกถา คือคำ สรูปว่า เรื่องไหนเป็นบารมี อะไรในบารมีมี ๑๐ ประการ. มีข้อที่ควรพิจารณาในเบื้องแรก คือไฉนจริยาปิฎกจึงแบ่งบารมีไว้เพียง ๖ แต่ใน สโมธานกถากล่าวว่า บารมีมี ๓๐ และใน สำนวนกวีที่เล่าไว้ในจริยา ๓๕ เรื่องนั้น แสดงเป็นสำนวนของพระผู้มีพระภาคว่า เราเป็นผู้นั้นผู้นี้ในชาตินั้นชาตินี้. ตามความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ( ผู้จัดทำ ) สันนิษฐาน<sup></sup> ว่า มีผู้แต่งเป็นบทกวีขึ้นในชั้นหลังที่มีการสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว โดยรวบรวมเรื่องราวมาจัดระเบียบขึ้นให้ค้นง่าย ๆ หาง่าย. ทั้ง ๆ ที่ปรากฏว่ามีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติ เฉพาะที่ปรากฏในชาดกนับจำนวนหลายร้อย แต่กลับนำมาแสดงในจริยาปิฎกเพียง ๓๕ เรื่อง เพียง ๖ บารมี ไม่ครบ ๑๐ บารมี ในสโมธานกถา หรือคำสรูปแสดงบารมี ๑๐ แจกเป็น ๓๐ คือบารมี หรือคุณธรรมที่ให้ถึงฝั่งแห่งความสำเร็จอย่างธรรมดา ๑ สูงขึ้นมากกว่านั้น เรียกอุปบารมี ๑ สูงสุด เรียกปรมัตถบารมี ๑ บารมี ๓ ขั้นนี้ เป็น ไปในคุณธรรม ๑๐ ข้อ จึงเป็นบารมี ๓๐. คุณธรรม ๑๐ ข้อ คือ ๑. ทาน การให้ ๒. ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. เนกขัมมะ การออกบวช หรือออกจากกาม ๔. ปัญญา ๕. วิริยะ ความเพียร ๖. ขันติ ความอดทน ๗. สัจจะ ความจริงใจ ๘. อธิฏฐาน ความตั้งใจมั่น ๙. เมตตา ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุข ๑๐.อุเบกขา วางใจเป็นกลาง ในสโมธานกถาได้แสดงไว้ด้วยว่า เรื่องอะไรบ้างเป็นบารมีเฉย ๆ เป็นอุปบารมี และเป็นปรมัตถบารมี แต่ก็แสดงไว้พอเป็นตัวอย่าง ไม่ถึงร้อยเรื่องต่อไปนี้จะกล่าวตามลำดับจริยาตามที่ปรากฏในบาลีเป็นลำดับไป ).


    <center> ๑. ทานบารมี ๑๐ เรื่อง </center>
    <center>๑. อกิตติจริยา</center>
    <center>ความประพฤติหรือประวัติครั้งเป็นอกิตติดาบส</center>
    ในสมัยที่เรา ( พระผู้มีพระภาค ) เป็นอกิตติดาบส อยู่ในป่าใหญ่ ท้าวสักกะปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอภิกษายืนอยู่ที่ประตู จึงให้ใบไม้ที่นำมาจากป่า อันไม่มีน้ำมัน ไม่มีรสเค็ม เกลี่ยลง ( ในภาชนะของท้าวสักกะ ) ด้วยภาชนะของตน. ครั้นให้ใบไม้ ( ที่ใช้เป็นอาหาร ) แล้วก็คว่ำภาชนะ ไม่แสวงหา ( ใบไม้มาใช้เป็นอาหารสำหรับตน ) อีกเข้าสู่บรรณศาลา. แม้ในวันที่ ๒ วันที่ ๓ ( เมื่อเราแสวงหาอาหารคือใบไม้มาได้แล้ว ) ท้าวสักกะก็มาขออีก เราก็ให้ไปเช่นเดิมโดยไม่หวั่นไหว ไม่ติดข้อง ( แล้วก็ไม่หามาบริโภคเองอีกด้วย ). ความเปลี่ยนแปลงในสรีระของเราเป็นเพราะเหตุนั้นไม่มี. เราได้ยังวันและคืนนั้นให้ล่วงไปด้วยปีติและสุข ( ในฌาน ). ถ้าเราจะพึงได้ผู้ควรแก่ทักษิณา แม้เดือนหนึ่งหรือสองเดือนเราก็จะให้ทานอันอุดม โดยไม่หวั่นไหว ไม่ติดข้อง. เมื่อเราให้ทานแก่พราหมณ์นั้น มิได้ปรารถนายศและลาภ หากปรารถนาพระสัพพัญญุ-ตญาณ ( ญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง คือการได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลกได้เต็มที่ ).

    <center>๒. สังขพราหมณจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นสังขพราหมณ์</center>
    ในกาลเมื่อเรา ( พระผู้มีพระภาค ) เป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ใคร่จะข้ามสมุทร จึงไปที่ท่าน้ำ ณ ที่นั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จเดินทางกันดารมาบนพื้นดินอันแข็งและ ร้อนสวนทางมา จึงคิดว่า ( บัดนี้ ) นาของผู้ต้องการบุญมาถึงที่นี่แล้ว จึงถอดรองเท้า ถวายร่มและรองเท้า เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้สุขุมาล ( ละเอียดอ่อน ) โดยคุณตั้งร้อย ได้รับความสุข. เราได้บำเพ็ญทาน ถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยประการอย่างนี้.

    <center>๓. กุรุธัมมจริยา</center>
    <center>ประวัติเนื่องด้วยธรรมของชาวกุรุ</center>
    ในสมัยเมื่อเรา ( พระผู้มีพระภาค ) เป็นพระเจ้าธนัญชัย ประกอบด้วยกุศล ๑๐ ประการ ( ทศพิธราชธรรม ) ในกรุงอินทปัตถ์. มีพราหมณ์ชาวกาลิงครัฏฐ์มาขอพญาช้าง อันควรสงวนนับถือกันว่าเป็นมงคล อ้างว่าชนบทของตนฝนไม่ตก ทำให้เกิดทุพภิกขภัย และฉาตกภัย ( ภัยคือข้าวยากและอดอยากหิวโหย ) อันยิ่งใหญ่. จึงใคร่ขอช้างตัวประเสริฐมีสีเขียว มีนามว่า อัญชัน ก็ได้พระราชทานช้างไป เมื่อชาวเมืองคัดค้าน จึงตรัสตอบว่า เราย่อมให้แม้ราชสมบัติ แม้ร่างกายของเราทั้งสิ้น พระสัพพัญญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เราจึงให้ช้างเพราะเหตุ<sup></sup> นั้น.

    <center>๔. มหาสุทัสสนจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ</center>
    ในสมัยเมื่อเรา เป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์ ในกรุงกุสาวดี ได้ประกาศให้ทานทุกอย่างที่มี ผู้ต้องการวันละ ๓ เวลา ไม่มีอาลัย ไม่หวังสิ่งตอบแทน ( อย่างอื่น ) นอกจากเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ.

    <center>๕. มหาโควินทจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นมหาโควินทพราหมณ์</center>
    ในสมัยเมื่อเราเป็นมหาโควินทพราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์ ได้ถวายมหาทาน ไม่ใช่เกลียดทรัพย์และข้าวเปลือก ไม่ใช่สะสมทรัพย์ไม่เป็น แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะเหตุนั้นเราจึงให้ทรัพย์อันประเสริฐ.

    <center>๖. เนมิราชจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพระเจ้าเนมิ</center>
    ในสมัยเมื่อเราเป็นมหาราชนามว่า เนมิ ในกรุงมิถิลา ได้สร้างศาลา ๔ หลัง มี ๔ หน้า ได้ให้ทานทั้งคนและสัตว์ ทำสัตว์ทั้งหลายให้เอิบอิ่มด้วยทาน เพราะเราปรารถนาพระโพธิญาณอันอุดม.

    <center>๗. จันทกุมารจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นจันทกุมาร</center>
    ในสมัยเมื่อเราเป็นจันทกุมาร ราชโอรสของพระเจ้าเอกราช ในกรุงบุปผวดี ได้พ้นจากการถูกบูชายัญ รู้สึกสลดใจ จึงจัดให้มีมหาทาน ได้ให้ทานตลอด ๔-๖ วัน อย่างไม่เป็นอันดื่ม ไม่เป็นอันกิน เราไม่ถอยจาก การให้ทานเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ.

    <center>๘. สิวิราชจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพระเจ้าสีพี</center>
    ในสมัยเมื่อเราเป็นกษัตริย์นามว่า สิวิ<sup></sup> ในกรุงอริฏฐะ วันหนึ่งดำริว่า ทานที่เป็นของมนุษย์ใด ๆ ที่เราไม่เคยให้ ไม่มี แม้ผู้ใดจะขอดวงตา เราก็จะให้โดยมิหวั่นไหว. ท้าวสักกะทราบความดำริของเรา จึงปลอมตัวเป็นพราหมณ์แก่ตาบอดมาขอตาข้างหนึ่ง แต่เรากลับให้สองข้าง. ( ในที่สุดด้วยสัจจกริยา ก็หายเป็นปกติ เห็นได้ตามเดิม ). ดวงตาทั้งสองของตนเองมิได้เป็นที่เกลียดชังของเรา. แต่พระสัพพัญญุตญาณ เป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงให้ดวงตา.

    <center>๙. เวสสันตรจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพระเวสสันดร</center>
    ในสมัยเมื่อเราเป็นพระเวสสันดร ราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสสดี ได้ให้ช้างชื่อปัจจยนาค เป็นเหตุให้ชาวสีพีโกรธขับไล่ เราจึงบำเพ็ญมหาทานก่อนจากไปอยู่ป่า. เมื่อไปอยู่ในป่าแล้ว ก็มีผู้ต้องการไปขอ ชาลีกัณหาผู้เป็นบุตรน้อยของเรา เราก็ให้ไป. ท้าวสักกะปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอมัทรี ( พระชายา ) เราก็ให้ไปอีก ( แต่ในที่สุดก็ได้กลับอยูร่วมกันทั้งหมดทุกพระองค์ ).

    <center>๑๐. สสปัณฑตจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นสสบัณฑิต</center>
    ในสมัยเมื่อเราเป็นกระต่าย กินหญ้า กินใบไม้ และผลไม้เป็นอาหาร เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น มีสหายอีก ๓ อยู่ร่วมกัน คือลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก เราสั่งสอนสหายให้เว้นความชั่ว ประพฤติความดี. ท้าวสักกะปลอมเป็นพราหมณ์มาขออาหาร เพื่อจะทดลองเรา, เราจึงให้ก่อไฟขึ้น แล้วกระโดดเข้าไปในไฟ เพื่อให้เป็นอาหารของพราหมณ์นั้น ( แต่กลับเย็นสบายไม่รู้สึกร้อนเลย ในที่สุดท้าวสักกะก็แสดงตน และให้ความสุขแก่สัตว์ทั้งสี่นั้นด้วยเทวานุภาพ ).


    <center> ๒. ศีลบารมี ๑๐ เรื่อง </center>
    <center>๑. สีลวนาคจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นช้างผู้มีศีล</center>
    ในสมัยที่เราเป็นช้างผู้เลี้ยงมารดาอยู่ในป่า พรานคนหนึ่งเห็นเข้าก็ไปกราบทูลแด่พระราชา พระราชาจึงทรงส่งควาญช้างไปจับเรา พรานช้างสังเกตเห็นเราถอนรากเหง้าบัวเพื่อเลี้ยงมารดา ก็เข้ามาจับงวง เรียกเราว่า ลูกเอ๋ยจงมา เพื่อที่จะรักษาศีลไว้ เราแม้จะมีกำลังมาก ก็มิได้ทำให้จิตปรวนแปรผิดปกติ.

    <center>๒. ภูริทัตตจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นภูริทัตตนาคราช</center>
    เรื่องของภูริทัตตนาคราช มีเล่าไว้ในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ) หมายเลขที่ ๖.ภูริทัตตชาดก

    <center>๓. จัมเปยยจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นจัมเปยยนาคราช</center>
    ในสมัยที่เราเป็นจัมเปยยกนาคราชผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตร ขณะจำศีลรักษาอุโบสถ ได้ถูกหมองูจับไปเล่น ( เพื่อขอเงินชาวบ้าน ) แลเราก็อนุโลมตามจิตของหมองูนั้น ถ้าเราโกรธก็อาจทำให้หมองูนั้นเป็นเถ้าถ่านได้ทันที แต่เราก็มิได้ทำลายศีล.

    <center>๔. จูฬโพธิจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นจูฬโพธิพราหมณ์</center>
    ในสมัยที่เราเป็นจูฬโพธิพราหมณ์ เห็นภัยในภพออกบวช พราหมณีผู้เป็นภริยานามว่า กนกสันนิภา ก็ออกบวชด้วย ต่างถือเพศบรรพชิต เดินทางไปในที่ต่าง ๆ ไม่คลุกคลีในสกุล ในหมู่คณะ เมื่อไปถึงกรุงพาราณสีเห็นพระราชอุทยาน ไม่พลุกพล่าน มีเสียงน้อย จึงอยู่ในราชอุทยานนั้นทั้งสองคน พระราชาเสด็จไปยังราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็น ตรัสถามทราบความ เกิดความพอพระทัยในนางปริพพาชิกา จึงสั่งให้อำมาตย์ฉุดเข้าไปไว้ในพระราชวัง เรารู้สึกโกรธแล้วก็ระงับได้ ไม่ยอมทำลายศีล เพราะเหตุ ( ที่ปรารถนา ) พระโพธิญาณ. ( เรื่องพิศดารในชาดกกล่าวต่อไปอีกว่า แม้จะพูดจาหว่านล้อมอย่างไร ก็ไม่สามารถทำนางปริพพาชิกาให้กลับใจครองฆราวาสวิสัยได้ พระราชาก็เลยไม่กล้าล่วงเกินผู้มีศีล เสด็จไปหา พระโพธิสัตว์ ได้ฟังธรรมทรงเลื่อมใสและคืนนางปริพพาชิกาให้ ).

    <center>๕. มหิสราชจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพญากระบือ</center>
    ในสมัยที่เราเป็นกระบือใหญ่ เที่ยวไปในป่า มีลิงตัวหนึ่งมาถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ถ่ายอุจจาระรดบ้าง วันละ ๑ ครั้งบ้าง ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้ง ๔ ครั้งบ้าง ประทุษร้ายเราตลอดกาล ยักษ์ตนหนึ่งเห็นเช่นนั้น จึงกล่าวยุเราให้ประหารเสียด้วยเขาหรือเท้า เราจึงตอบว่า ถ้าเราโกรธลิง เราก็จะเลวกว่าลิงนั้น ศีลก็จะทำลายวิญญูชนก็จะติเตียนได้.

    <center>๖. รุรุมิคจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพญาเนื้อชื่อรุรุ</center>
    ในสมัยที่เราเป็นพญาเนื้อชื่อรุรุ ผู้ประกอบด้วยศีลอย่างยอดเยี่ยม. ชายผู้หนึ่งหนีเจ้าหนี้โดดแม่น้ำคงคา ถูกกระแสน้ำเชี่ยวพัดไป และร้องขอความช่วยเหลือ เราจึงช่วยชีวิตไว้ แต่ได้ขอไว้อย่างหนึ่งว่า อย่าบอกแก่ใครเกี่ยวกับตัวเรา ( ว่าเป็นเนื้อซึ่งมีสีเหมือนทอง ) แต่ผู้นั้นก็เห็นแก่ทรัพย์ จึงไปพาพระราชาจะมาจับเรา. แต่เมื่อพระราชาทรงทราบว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้ประทุษร้ายมิตร จึงจะฆ่าเสีย แต่เราได้ห้ามไว้ การที่มีศีลในครั้งนั้นก็เพื่อพระโพธิญาณ.

    <center>๗. มาตังคจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นชฎิลชื่อมาตังคะ</center>
    ในสมัยที่เราเป็นชฎิลชื่อมาตังคะ เป็นผู้มีศีล มีจิตตั้งมั่นด้วยดี ได้ตั้งอาศรมอยู่ริมแม่น้ำคงคากับพราหมณ์ผู้หนึ่ง เราอยู่เหนือน้ำ พราหมณ์อยู่ใต้น้ำ ( คือน้ำที่ไหลนั้นผ่านอาศรมของมาตังคฤษีก่อน แล้วจึงจะถึงอาศรมของพราหมณ์ ) ครั้งหนึ่งพราหมณ์นั้นเดินมาตามฝั่งน้ำ เห็นอาศรมของตั้งอยู่เหนือน้ำ ก็ปริภาษเราและสาปให้ศีรษะแตก ๗ เสี่ยงถ้าเราจะโกรธตอบ ไม่รักษาศีลของเราเพียงจ้องดูเท่านั้น เขาก็จะเป็นถ่านเถ้าไป พราหมณ์นั้นโกรธมีจิตใจประทุษร้ายสาปเราคำสาปก็ตกแก่เขาเอง เราได้เปลื้องพราหมณ์นั้น ( จากคำสาป ) ด้วยโยคะ เรารักษาศีล มิได้รักษาชีวิตของเรา ที่รักษาศีลในกาลนั้น ก็เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น.
    ( หมายเหตุ : ความจริงมาตังคจริยานี้ มิใช่เพียงแสดงเรื่องศีลบารมีเท่านั้น หากเป็น เรื่องที่ต้องการชี้ให้เห็นความเย่อหยิ่งถือตัวเพราะเหตุถือชั้นวรรณะอย่าง รุนแรงของคนโบราณด้วย. ในที่นี้จะนำเรื่องบางตอนมากล่าวไว้ เพื่อให้เห็นว่า พระโพธิสัตว์ ( ซึ่งเกิดเป็นคนจันฑาล ) ช่างทรมานคนที่ถือตัวเพราะชาติอย่างไร เป็นเรื่องน่าขันพอใช้.
    พราหมณ์คนที่อยู่ใต้น้ำ หรืออยู่ในทิศทางที่กระแสน้ำจะไหลมาถึงทีหลังนั้น เป็นคนถือชาติมีมานะจัด. วันหนึ่งมาตังคดาบส ( พระโพธิสัตว์ ) เคี้ยวไม้สีฟัน แล้วก็อธิฐานให้ไม้สีฟันลอยน้ำไปติดที่มวยผมของดาบสผู้ถือตัวแล้วก็ทิ้งลงไป ตามกระแสน้ำ ไม้สีฟันก็ลอยไปติดที่มวยผมของดาบสนั้นผู้กำลังอาบน้ำอยู่ ดาบสก็โกรธเคืองมาก จึงเที่ยวเดินดูไปทางต้นน้ำ พอมาพบมาตังคดาบส ก็ถามก่อนทีเดียวว่า ท่านเป็นคนชาติอะไร ( กษัตริย์ หรือพราหมณ์ ) พอรู้ว่าเป็นคนจัณฑาล และเป็นคนทิ้งไม้สีฟันให้ลอยน้ำไป ก็ยิ่งโกรธเคืองอย่างบอกไม่ถูก เพราะพราหมณ์ถือว่าคนจัณฑาลเป็นเสนียดมากจึงสั่งการทันทีว่า เจ้าคนถ่อย เจ้าอยู่ที่นี่ไม่ได้ ต้องไปอยู่ใต้น้ำ. ครั้นอพยพไปตั้งอาศรมอยู่ใต้น้ำแล้ว เคียวไม้สีฟันทิ้งลงไป ไม้สีฟันก็ลอยทวนน้ำไปติดที่มวยผมของดาบสผู้ถือชาติอีก ทำให้ดาบสนั้นมีความโกรธเคืองเป็นทวีคูณ สาปให้ศีรษะแตก ๗ เสี่ยงแต่คำสาป ไม่ตกแก่มาตังคดาบสผู้มีฤทธิ์เหนือกว่า. ดาบสผู้ถือตัว กลับถูกประชาชนบังคับให้ไปขอขมาต่อมาตังคดาบสอีก ในภายหลัง ).

    <center>๘. ธัมมเทวปุตตจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นธัมมเทพบุตร</center>
    ในสมัยที่เราเป็นมหายักษ์<sup>๑๐</sup> ชื่อธรรมะ ( ธรรมเทพบุตร ) ชักชวนมหาชนให้ประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ ส่วนยักษ์ฝ่ายชั่ว ( อธรรมเทพบุตร ) ชักชวนให้ประพฤติความชั่ว ๑๐ ประการ ต่างเป็นศัตรูกัน ครั้งหนึ่งขับรถมาสวนทางกันจึงเกิดสงครามขึ้น เพื่อจะให้อีกฝ่ายหนึ่งหลีกทางให้ ตกลงเราทำใจให้สงบ ( ไม่โกรธเคือง ) หลีกทางให้เพื่อรักษาศีล แต่พอเราหลีกทางให้ ทำจิตของเราให้สงบ เทพบุตรฝ่ายชั่วก็ถูกธรณีสูบ ( คือรถบ่ายหัวลงตกลงสู่พื้นโลก ).
    ( หมายเหตุ : เรื่องนี้เป็นที่มาแห่งพระราชนิพนธ์ เรื่องธรรมาธรรมสงคราม ซึ่งพระ บาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์.

    <center>๙. ชยทิสจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นโอรสพระเจ้าชยทิศะ</center>
    ในสมัยที่เราเป็นผู้มีนามว่า อลีนสัตตะ<sup>๑๑</sup> เป็นโอรสของพระเจ้าชยทิศะ ในกรุงกัปปิลา ( บางแห่งเรียก กัมปิลละ ) แห่งแคว้นปัญจาละผู้ประกอบด้วยคุณคือศีล. ครั้งหนึ่งบิดาไปล่าเนื้อถูกมนุษย์กินคน ( โปริสาท=ปุริส+อท=กินคน ) จับได้ ปล่อยให้กลับด้วยมีสัญญาว่าจะไปให้กินในภายหลัง. เราได้ไปแทนแต่ก็มิได้ทำอันตรายมนุษย์กินคน เพราะเกรงศีลขาด ( ได้เจราจากัน ในที่สุด พูดเกลี้ยกล่อมให้มนุษย์กินคนรู้สึกผิดชอบออกบวชเป็นดาบส ).

    <center>๑๐. สังขปาลจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพญานาคชื่อสังขปาละ</center>
    ในสมัยที่เราเป็นพญานาคชื่อสังขปาละ ได้อธิษฐานจำอุโบสถในทางใหญ่สี่แพร่ง ปลงใจว่าใครจะต้องการหนัง, เนื้อ, เอ็น, กระดูกของเรา ก็จงเอาไปเถิด ได้ถูกพวกพรานร้ายเข้าไปหาแทงที่จมูก ที่หาง กึ่งกลางหลัง( อรรถกถาชาดกว่า แทง ๘ แห่ง ) แล้วเอาหวายร้อย ใส่หาบ หาบไป ถ้าเราปรารถนาก็อาจทำลายให้เผาไหม้ไปได้ด้วยลมจมูกแม้เมื่อถูกแทงด้วยหลาว ถูกสักด้วยหอก ก็มิได้โกรธคนเหล่านั้น นี้เป็นศีลบารมีของเรา.


    <center> ๓. เนกขัมมบารมี เป็นต้น </center>
    <center>( ในหมวดเรื่องนี้มี ๑๕ เรื่อง เป็นเนกขัมมบารมี ๖ เรื่อง สัจจบารมี ๖ เรื่อง
    เป็นเมตตาบารมี ๒ เรื่อง อุเบกขาบารมี ๑ เรื่อง )
    </center>
    <center>๑. ยุธัญชยจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นราชบุตรชื่อยุธัญชัย</center>
    ในสมัยที่เราเป็นราชบุตรชื่อยุธัญชัย ได้กราบทูลลามารดาบิดาออกบวช แม้ท่านจะห้าม และคร่ำครวญก็ออกบวชจนได้. เรามิได้เกลียดมารดาบิดา มิได้เกลียดยศใหญ่ แต่เราสละราชสมบัติเพราะรักโพธิญาณ ( เรื่องนี้เป็นเนกขัมมบารมี ).

    <center>๒. โสมนัสสจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นโสมนัสสราชกุมาร</center>
    ในสมัยที่เราเป็นกุมารนามว่า โสมนัส ในกรุงอินทปัตถ์ มีศีล มีคุณธรรม มีดาบสผู้ปราศจากคุณธรรมอยู่ผู้หนึ่ง ซึ่งพระราชบิดาทรงนับถือ ครั้งหนึ่งมีกิจที่ต้องเสด็จปราบชนบทชายแดน พระราชบิดาจึงตรัสสั่งให้เราดูแลดาบส จัดถวายสิ่งซึ่งประสงค์ เพราะทรงเชื่อว่าดาบสเป็นผู้อำนวยสิ่งทั้งปวงได้ เราได้ไปหาดาบส ( ได้เห็นพฤติกรรมที่ไม่สมแก่ความเป็นสมณะ ) จึงใช้ถ้อยคำเรียกดาบสว่า ผู้ครองเรือน ( คฤหบดีเจ้าเรือน ). เมื่อพระราชบิดาเสด็จกลับ ดาบสก็ฟ้องใส่ความ( หาว่าเราทำร้าย โดยดาบสแกล้งทุบหม้อน้ำ รื้อหญ้ามุงหลังคาเตรียมไว้ล่วงหน้า ) พระราชบิดาทรงพระพิโรธสั่งให้ราชบุรุษจับเรา เพื่อจะประหารชีวิตแต่เราทำให้เข้าใจถูกต้องได้ ( ได้อ้างพยานพิสูจน์ว่าดาบสนั้นเก็บใบไม้ผลไม้ใช้คนไปขาย และค้นได้ห่อ เงินที่ขายใบไม้ได้มากมายในบรรณศาลา ต่อพระพักตร์พระราชา ทั้งคนที่รับไปขายหลายคนก็ยืนยันเป็นหลักฐาน ). พระราชาก็ทรงขออภัยเราและพระราชทานราชสมบัติ แต่เราออกบวชมิใช่เกลียดราชสมบัติ มิใช่เกลียดการบริโภคกาม ที่สละราชสมบัติก็เพราะรักพระโพธิญาณ. ( ดาบสโกงถูกประชาชนรุมทำร้ายถึงตาย และเรื่องนี้เป็นเนกขัมมบารมี ).

    <center>๓. อโยมฆรจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นอโยฆรราชกุมาร</center>
    ในสมัยที่เราเป็นกุมารนามว่า อโยฆระ เป็นโอรสของพระเจ้ากาสี เจริญขึ้นในเรือนเหล็ก ( อโยฆร=เรือนเหล็ก มีการสร้างเรือนเหล็ก เพื่อเอาเคล็ดป้องกันนางยักษิณี ด้วยเชื่อว่าพระราชบุตรสองพระองค์สิ้นพระชนม์แต่เล็ก เพราะถูกยักษิณีกิน ) เห็นโทษทุกข์ จึงไม่ต้องการราชสมบัติ แสวงหาความดับเย็น ในขณะที่มหาชนร้องให้อยู่ เราได้ตัดเครื่องผูกเข้าสู่ป่า เหมือนพญาช้าง มิใช่เกลียดพระราชมารดาพระราชบิดา มิใช่เกลียดยศใหญ่ ที่สละราชสมบัติก็เพราะรักพระโพธิญาณ ( เรื่องนี้เป็นเนกขัมมบารมี ).

    <center>๔. ภิงสจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นดาบสกินเหง้าบัว</center>
    เราและพี่น้องชายหญิงรวม ๗ คน เกิดในสกุลโสตถิยะ ( ซึ่งเป็นสกุลพราหมณ์ ) ในพระนครหลวง แห่งแคว้นกาสี เราผู้เป็นพี่ประกอบด้วยความละอายใจ ( ในการทำความชั่ว ) และธรรมอันขาว ( กุศลธรรม ) เห็นภัยในภพ จึงยินดีในการออกบวช มีสหายร่วมใจหลายคน ซึ่งท่านมารดาบิดาส่งมาเกลี้ยกล่อมให้พอใจในกาม แต่ก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดทุกคน คือมารดาบิดา และพี่น้องทั้งเจ็ด ก็สละทรัพย์จำนวนมาก เข้าสู่ป่าใหญ่ (ถือเพศเป็นนักบวช ) ( เรื่องนี้เป็นเนกขัมมบารมี ).

    <center>๕. โสณนันทบัณฑิตจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นโสณบัณฑิตคู่กับนันทบัณฑิต</center>
    ในสมัยที่เราเกิดในสกุลมหาศาล มั่งคั่ง ในนครชื่อพรหมวัฒนะ เราเห็นโลกเป็นของมืดมนเห็นบาปมีประการต่าง ๆ จึงออกเรือนเข้าสู่ป่า แม้จะมีพวกญาติมาชวนให้อยู่บริโภคกาม แต่เราก็แจ้งความพอใจ ( ในการบวช )ให้ทราบ น้องชายของเราเป็นบัณฑิตนามว่า นันทะ ก็สั่งสอนเราให้พอใจการบวช พวกเราคือเรา (โสณะ ) กับนันทะ ( น้องชาย )พร้อมด้วยมารดาบิดา ได้ทิ้งโภคทรัพย์เข้าไปสู่ป่าใหญ่ (เรื่องนี้เป็นเนกขัมบารมี)

    <center>๖. มูคผักขจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นเตมิยราชกุมารผู้เป็นใบ้และเป็นง่อย</center>
    ประวัติเมื่อครั้งเป็นเตมิยราชกุมาร มีเล่าไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐) หมายเลขที่ ๑.เตมิยชาดก ( เรื่องนี้เป็นเนกขัมมบารมี ).

    <center>๗. กปิลราชจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพญาลิง</center>
    พญาลิงกระโดดเหยียบศีรษะจระเข้ ข้ามฝั่งน้ำไปได้ โดยไม่ยอมหลงกลให้จระเข้ฆ่ากินเป็นอาหาร ไม่ยอมพูดปดพล่อย ๆ เหมือนจระเข้ และลงสุดท้ายว่า นี่เป็นสัจจบารมีของเรา.

    <center>๘. สัจจสัวหยปัณฑิตจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นดาบสชื่อสัจจะ</center>
    สมัยที่เราเป็นดาบสชื่อว่าสัจจะ ได้คุ้มครองโลกด้วยสัจจะ ทำให้คนสามัคคีกัน ( เรื่องนี้เป็นเนกขัมมบารมี ).

    <center>๙. วัฏฏกโปตกจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นลูกนกกระจาบ</center>
    ในสมัยที่เราเป็นลูกนกกระจาบน้อย ขนาดเท่าก้อนเนื้อยังไม่มีปีกงอก อยู่ในรัง มารดาหาอาหารมาเลี้ยงด้วยจงอยปาก เป็นอยู่ได้ด้วยผัสสะของมารดา ไม่มีกำลังกาย. มีไฟป่าเกิดขึ้นในฤดูร้อน ลามเข้ามา. มารดาบิดาของเราตกใจกลัวไฟ จึงทิ้งเราไว้ในรัง เอาตัวรอด เราจึงทำสัจจกริยา อ้างคุณของศีล ระลึกถึงกำลังคือธรรมะ และพระชินะในกาลก่อน ไฟป่าก็หยุดอยู่ เว้นเนื้อที่ ๑๖ กรีส ( ๑ กรีสมากกว่า ๑ ไร่ ) นี้เป็นสัจจบารมีของเรา.

    <center>๑๐. มัจฉราชจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพญาปลา</center>
    ในสมัยเมื่อเราเป็นพญาปลาในสระใหญ่ ถึงฤดูร้อน น้ำในสระแห้งเพราะแสงแดด. กา, แร้ง, นกกระสา และเหยี่ยว ก็พากันมาหากินปลาทั้งกลางวันกลางคืน เราคิดหาทางเปลื้องญาติทั้งหลายจากความทุกข์ จึงระลึกธรรมของสัตบุรุษ ทำสัจจกิริยา ฝนห่าใหญ่ก็ตกลงมา เพราะอาศัยกำลังเดชแห่งสัจจะ นี้เป็นสัจจบารมีของเรา.

    <center>๑๑. กัณหทีปายนจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นกัณหทีปายนฤษี</center>
    ในสมัยที่เราเป็นกัณหทีปายนฤษี ประพฤติพรตอย่างไม่มีความยินดี ( ฝืนใจ ) เป็นเวลากว่า ๕๐ ปี ไม่มีใครรู้ความในใจของเรา และเราก็มิได้บอกแก่ใคร ๆ สหายของเรานามว่า มัณฑัพยะ เป็นมหาฤษี ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ประกอบด้วยกรรมอันทำไว้ในกาลก่อน ต้องถูกเสียบด้วยหลาว. เราได้พยาบาลสหายนั้นจนหายแล้ว จึงลามาสู่อาศรมของเรา. สหาย ( อีกคนหนึ่ง ) ซึ่งเป็นพราหมณ์ ได้พาภริยาและบุตร รวมกัน ๓ คน มาเยี่ยมเรา. เด็กน้อยโยนลูกกลม( วัฏฏะ แต่ในอรรถกถาชาดกว่า เคณฑุกะ คือลูกคลีหนัง ) ทำให้งูโกรธ ( เพราะลูกคลีหนังนั้นตกลงไปในโพรงที่งูอยู่ ). เด็กตามไปเอามือล่วงในโพรง งูจึงกัดล้มลงบนพื้นดิน เราจึงได้ทำสัจจกิริยาว่า เราประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความเลื่อมใสเพียง ๗วันเท่านั้น ต่อจากนั้นอีก ๕๐ ปีเศษ มิได้มีความพอใจ ( หรือเต็มใจ ) ประพฤติเลย ด้วยความสัตย์นี้ ขอให้พิษจงหมดไป ขอกุมารผู้มีนามว่ายัญญทัตจงฟื้นขึ้น. พร้อมกับที่ได้ทำสัจจะ เด็กน้อยก็หาย ฟื้นลุกขึ้นได้. สิ่งที่เสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี. นี้เป็นสัจจบารมีของเรา. ( แม้ความสัตย์นั้นจะเป็นการนำเรื่องที่ไม่ใช่ดีเลิศอะไรมากล่าว ถ้าเป็นการเปิดเผยความจริงก็ใช้ได้ ).

    <center>๑๒. สุตโสมจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพระเจ้าสุตโสม</center>
    ในสมัยที่เราเป็นผู้ปกครองแผ่นดินนามว่า สุตโสม ถูกมนุษย์กินคนจับได้ ระลึกถึงการนัดหมายไว้กับพราหมณ์ จึงขอตัวไปพบกับพราหมณ์ ฟังธรรม ( จากพราหมณ์ ) ให้ทรัพย์แล้ว จึงเข้าไปหามนุษย์กินคน โดยไม่ลังเลใจว่าเขาจะฆ่าหรือไม่ เรารักษาสัจจวาจา อุทิศชีวิต นี้คือสัจจบารมีของเรา. ( เมื่อเข้าไปหามนุษย์กินคนตามสัจจวาจา และได้พูดแนะนำจนมนุษย์กินคนยอมงดเว้นความประพฤตินั้นกลับตัวเป็นคนดี เพราะมนุษย์กินคนนั้น เดิมก็เป็นกษัตริย์มนุษย์ธรรมดา ภายหลังมีความคิดเห็นวิปริตไป จึงกลายเป็นประหนึ่งโจรหรือปีศาจ ) ( เรื่องนี้เป็นสัจจบารมี ).

    <center>๑๓. สุวัณณสามจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นสุวรรณสาม</center>
    เรื่องสุวรรณสาม ได้กล่าวไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ) หมายเลขที่ ๓.สุวัณณสามชาดก แต่ในคำกล่าวตอนนี้เล่าเพียงที่อยู่ในป่า โดยไม่หวาดระแวงภัยใด ๆ เพราะกำลังแห่งเมตตา. ( เรื่องนี้เป็นเมตตาบารมี ).

    <center>๑๔. เอกราชจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นพระเจ้าเอกราช</center>
    ในสมัยที่เราเป็นพระเจ้าเอกราช ได้ตั้งใจรักษาศีลอย่างยอดเยี่ยม ปกครองมหาปฐพี ยังกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้เป็นไปโดยไม่เหลือ ( ประพฤติครบทั้งสิบข้อ ) สงเคราะห์มหาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ. พระเจ้าทัพพเสนะชิงบุรีได้สำเร็จ จึงขุดหลุมฝังเรา ( เราได้แผ่เมตตา ) นี้เป็นเมตตาบารมีของเรา. (ในเรื่องนั้นด้วยอำนาจแห่งเมตตาพระเจ้าทัพพเสนะกลับล้มดิ้นไปดิ้นมาบนพื้น ร้องว่าร้อนเหลือเกิน ต่อเมื่อขอขมาพระเจ้าเอกราชแล้ว จึงหายเป็นปกติ ).

    <center>๑๕. มหาโลมหังสจริยา</center>
    <center>ประวัติครั้งเป็นนักบวช มีความเป็นอยู่อย่างน่ากลัว</center>
    ในสมัยที่เรา ( เป็นนักบวช ) นอนหนุนซากศพในป่าช้า เป็นผู้มีใจสม่ำเสมอในบุคคลทั้งปวงทั้งผู้นำทุกข์มาให้ทั้งผู้ให้สุขแก่เรา ไม่มีความรักหรือความโกรธ เป็นผู้เสมอ ( มีใจเป็นตาชั่ง ) ในสุขทุกข์ ในยศและมิใช่ยศ นี้เป็นอุเบกขาบารมีของเรา.


    <center> สโมธานกถา กล่าวคำสรูป ( ท้ายเล่มที่ ๓๓ )</center>
    บารมี มี ๑๐,<sup>๑๒</sup> อุปบารมี มี ๑๐, ปรมัตถบารมี มี ๑๐ เป็นเครื่องบ่มการตรัสรู้ให้สุก ( คือให้สำเร็จ ). เมื่อเป็นพระเจ้าสิวิราชผู้ประเสริฐ เป็นทานบารมี ; เมื่อเป็นพระเวสสันดร,เป็นเวลามพราหมณ์ และอกิตติฤษี เป็นทานอุปบารมี ; เมื่อเป็นไก่, เป็นพญาช้างชื่อสีลวนาค, เป็นกระต่าย ; เป็นทานปรมัตถบารมี ; เมื่อเป็นพญาลิง, เป็นพญาช้างชื่อฉัททันต์ และเป็นพญาช้างผู้เลี้ยงมารดา เป็นศีลบารมี. เมื่อเป็นพญานาคชื่อจัมเปยยกะและเป็นพญานาคชื่อภูริทัตต์ เป็นศีลอุปบารมี. เมื่อเป็นพญานาคชื่อสังขปาละ เป็นศีลปรมัตถบารมี. เมื่อเป็นยุธัญชยราชบุตร, เป็นมหาโควินทพราหมณ์, เป็นคนเลี้ยงช้าง, เป็นราชกุมารชื่ออโยฆระ, เป็นพระราชาพระนามว่า ภัลลาติ, เป็นสุวรรณสาม ( ข้อความตกหายไป ๑ บาทคาถา ) เป็นพระราชาพระนามว่า มฆเทวะ และเป็นราชกุมารชื่อนิมิ ( หรือเนมิ ) เป็นอุปบารมี ฯลฯ ( โดยนัยนี้ได้แสดงว่า เมื่อเสวยพระชาติเป็นอะไร เป็นศีลบารมี, ศีลอุปบารมี, ศีลปรมัตถบารมี เป็นต้น จนถึงอุเบกขาบารมี ).

    <center>จบจริยาปิฎก</center>
    <center>จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓</center>

    <center> และจบพระสุตตันตปิฎก รวม ๒๕ เล่มเพียงนี้ </center>


    <hr> '๑' . จากต้นฉบับหน้าพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ ) พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ คำว่า กัจจายนะ หรือ กัจจานะ ใช้แทนกันได้
    '๒' . ได้ลองถอดข้อความในตอนนี้ออกมาทุกตัวอักษร ให้เห็นความไพเราะในคำฉันท์ ความจริงคำฉันท์ตลอดเล่มที่ ๓๒ และ ๓๓ มีสำนวนไพเราะเช่นนี้โดยมาก
    '๓' . คือวิจิตรด้วยอุปมา พระกุมารกัสสปรูปนี้ กล่าวธรรมวิจิตรอย่างไร พึงย้อนไปดูปายาสิราชัญญสูตรที่ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ หน้า ๔) ปายาสิราชัญญสูตร
    '๔' . ในอปทานว่า พระมหาโมคคัลลานะเป็นอาจารย์ พระสาริบุตรเป็นอุปัชฌายะของท่าน
    '๕' . ดูเรื่องอนุบุพพวิหารนี้ ในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ หน้า ๒ ) อนุบุพพวิหารเรื่องลีลาในการปรินิพพาน พึงสังเกตว่า ผู้ปรินิพพานแบบนี้ มีพระพุทธเจ้า พระสาริบุตร (ดูกองทัพธรรมภาค ๓ หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ) ๖. ปาสาทิกสูตรและศาสดา, หลักธรรม, สาวก กับพระนางมหาปชาบดี โคตมี นี้
    '๖' . ไม่ใช่พระองค์เดียวกับพระโคดมพุทธเจ้า
    '๗' . ในอรรถกถาชาดก เล่มที่ ๗ หน้าเอกสารทางประวัติศาสตร์) หน้าเอกสารทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่าจริยาปิฎกนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแสดงแก่พระสาริบุตร ปัญหาจึงมีอยู่เพียงว่า ตรัสแสดงอย่างพูดกันธรรมดา หรือแสดงเป็นบทกวีอย่างที่ปรากฏอยู่ในจริยาปิฎกนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าตรัสแสดงด้วยคำพูดธรรมดา แต่มารวบรวมเป็นบทกวีขึ้นภายหลัง. เพราะถ้าจะกล่าวไปแล้วที่เป็นพระไตรปิฎกขึ้นได้ ก็เพราะการรวบรวมขึ้น จากที่จำได้ ท่องได้ทั้งสิ้น. ข้อสำคัญนั้นมิใช่อยู่ที่สำนวนแบบนั้นแบบนี้ แต่อยู่ที่ธรรมะ หรือตัวอย่างแห่งคุณความดี
    '๘' . ช้างนั้น ในอรรถกถาชาดกกล่าวว่า ชื่อว่าอัญชนสันนิภะบ้าง อัญชนวสภะบ้าง เมื่อพราหมณ์ได้ช้างไปแล้ว ฝนก็ยังไม่ตก จึงได้นำช้างมาคืน ขอจารึกกุรุธรรมลงในแผ่นทอง เพื่อไปประพฤติปฏิบัติ. กุรุธรรมที่จารึกไป คือศีล ๕ เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติแล้ว ฝนก็ตกต้องตามฤดูกาลตามเดิม
    '๙' . สำเนียงไทยนิยมเรียกเป็นสีพี
    '๑๐' . คำว่า ยักษ์ ในที่นี้ หมายถึงเทพบุตร จึงแสดงที่มาให้เห็นชัด เพื่อว่าเห็นคำว่า ยักษ์ในที่อื่น จะได้ไม่ด่วนทึกทักว่า ว่าเป็นพวกดุร้าย มีเขี้ยวออกนอกปากเสมอไป
    '๑๑' . อรรถกถาชาดก เล่มที่ ๗ได้กล่าวไว้ว่า ชื่อว่า " อลีนสัตตุ " ไม่ใช่อลีนสันตะ
    '๑๒' . บารมี ๑๐ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ ( การออกบวช ), ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน( ตั้งใจมั่น ), เมตตาและอุเบกขา บารมีที่สูงกว่าธรรมดาเรียกว่าอุปบารมี ที่สูงสุดหรือทำได้ยากที่สุดเรียกปรมัตถบารมี





    ที่มา
     
  8. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแต่ละปิฎก </center>
    ได้กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนั้น แบ่งออกเป็นวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎก โดยลำดับ พระโบราณาจารย์ฝ่ายไทยได้ใช้วิธีย่อหัวข้อสำคัญในแต่ละปิฎก เพื่อจำง่ายเป็นอักษรย่อ ในการใช้อักษรย่อนั้น วินัยปิฎกมี ๕ คำ สุตตันตปิฎก ๕ คำ อภิมมปิฎก ๗ คำ ดังต่อไปนี้....

    <center> อภิธัมมปิฎก </center> หัวข้อย่อแห่งอภิธัมมปิฎกมี ๗ คือ สัง, วิ, ธา, ปุ, ก, ย, ป, ดังต่อไปนี้ :-
    ๑. สัง = สังคณี ว่าด้วยการรวมหมู่ธรรมะ คือธรรมะแม้จะมีมากเท่าไร ก็อาจรวมหรือจัดเป็นประเภท ๆ ได้เพียงไม่เกิน ๓ อย่าง
    ๒. วิ = วิภังค์ ว่า ด้วยการแยกธรรมะออกเป็นข้อ ๆ เช่น เป็นขันธ์ ๕ เป็น เป็นต้น ทั้งสังคณีและวิภังค์นี้ เทียบด้วยคำว่าสังเคราะห์ ( Synthesis ) และวิเคราะห์ ( Analysis ) ในวิทยาศาสตร์ เป็นแต่เนื้อหาในทางศาสนากับทางวิทยาศาสตร์ มุ่งไปคนละทาง คงลงกันได้ไนหลักการว่า ควรเรียนรู้ทั้งในทางรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม เช่น รถคันหนึ่งควรรู้ทั้งการประกอบเข้าเป็นคันรถ และแยกส่วนต่าง ๆ ออกฉะนั้น
    ๓. ธา = ธาตุถกา ว่าด้วยธาตุ คือธรรมะทุกอย่าง อาจจัดเป็นประเภทได้โดย ธาตุ อย่างไร
    ๔. ปุ = ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการ เช่น บัญญัติขันธ์ บัญญัติอายตนะ จนถึงบัญญัติเรื่องบุคคล พร้อมทั้งแจกรายละเอียดเรื่องบัญญัติบุคคลต่าง ๆ ออกไป
    ๕. ก = กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถาม คำตอบ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (เพราะอรรถกถาจารย์กล่าวว่า เป็นคำถาม ๕๐๐ คำตอบ ๕๐๐ แต่ตัวเลข ๕๐๐ นี้ อาจหมายเพียงว่าหลายร้อย เพราะเท่าที่นับกันดูแล้ว ได้คำถาม คำตอบ อย่างละ ๒๑๙ ช้อ)
    ๖. ย = ยมก ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ ๆ บางทีจัดคู่ก็มีลักษณะเป็นตรรกวิทยา ซึ่งจะได้กล่าวถึงใน ๓ ภาค ย่อความแห่งพระไตรปิฎก
    ๗. ป = ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสนับสนุน ๒๔ ประการ
    เป็นอันว่า หัวใจย่อแห่งพระไตรปิฎก คือ อา ปา ม จุ ป ; ที ม สัง อัง ขุ ; สัง วิ ธา ปุ ก ย ป มีรายละเอียดดังกล่าวมานี้

    <center> ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา </center> แม้ว่าพระไตรปิฎกจะนับว่าเป็นคัมภีร์สำคัญ และเป็นหลักฐานทางพระพุทธศาสนา แต่ก็มีคัมภีร์อื่นอีกที่เกี่ยวข้องด้วย จึงควรทราบลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ดังต่อไปนี้ :-
    ๑. พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานขั้น ๑ เรียกว่าบาลี
    ๒. คำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานขั้น ๒ เรียกว่าอรรถกถา หรือวัณณนา
    ๓. คำอธิบายอรรกถา เป็นหลักชั้น ๓ เรียกว่าฎีกา
    ๔. คำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔ เรียกว่าอนุฎีกา
    นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ที่แต่งขึ้น ว่าด้วยไวยกรณ์ภาษาบาลีฉบับต่าง ๆ และอธิบายศัพย์ต่าง ๆ เรียกรวมกันว่า สัททาวิเสส เป็นสำนวนที่เรียกกันในวงการนักศึกษาฝ่ายไทย ปรากฏในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า เมื่อทำการสังคยานา ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๓๑ เพื่อชำระพระไตรปิฎกนั้น ได้มีการชำระคัมภีร์สัททวิเสสต่าง ๆ ด้วย โดยมีพระพุฒาจารย์เป็นแม่กอง
    การจัดชั้นของบาลีอรรถกถา ก็เนื่องด้วยกาลเวลานั้นเอง พระไตรปิฎกเป็นของมีมาก่อน ก็จัดเป็นหลักฐานชั้น ๑ คำอธิบายพระไตรปิฎกแต่งขึ้นประมาณ ๙๕๖ ปีภายหลังพุทธปรินิพพาน จึงจัดเป็นชั้น ๒ ส่วนฎีกานั้น แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๓ อนึ่ง คัมภีร์อนุฎีกานั้น แต่งขึ้นภายหลังฎีกาในยุคต่อ ๆ มา เป็นคำอธิบายฎีกาอีกต่อหนึ่ง จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๔
    อย่างไรก็ตาม แม้พระไตรปิฎกจะเป็นหลักฐานชั้น ๑ เมื่อพิจารณาตามหลักพระพุทธภาษิตในกาลามสูตร ท่านก็ไม่ให้ติดจนเกินไป ดังคำว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน อย่าถือโดยอ้างตำรา เพราะอาจมีผิดพลาดตกหล่นหรือบางตอนอาจเพิ่มเติมขึ้น แสดงว่าพระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาพิจราณาเหตุผล สอบสวนดูให้ประจักษ์แก่ใจตนเอง เป็นการสอนอย่างมีน้ำใจกว้างขวางและให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือพระพุทธศาสนา อย่างเต็มที่
    นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันให้นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อได้ประจักษ์ผลนั้น ๆ ด้วยตนเอง แม้จะมีพระพุทธภาษิตเตือนไว้มิให้ติดตำราจนเกินไป แต่ก็จำเป็นต้องรักษาตำราไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา เพราะถ้าไม่มีตำราเลยจะยิ่งซ้ำร้าย เพราะจะไม่มีแนวทางให้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย ฉะนั้น การศึกษาให้รู้และเข้าใจในพระไตรปิฎก จึงเป็นลำดับแรก เรียกว่า ปริยัติ การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริตอัธยาศัยเรียกว่า ปริยัติ การได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้น ๆ เรียกว่า ปฎิเวธ
    [/FONT]
     
  9. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> พระอภิธัมมปิฎก เล่ม ๑ </center> <center> เริ่มตั้งแต่เล่มที่ ๓๔ ถึงเล่มที่ ๔๕ รวมเป็น ๑๒ เล่ม </center>
    (เมื่อมาถึงอภิธัมมปิฎก ท่านผู้อ่านโปรดเข้าใจไว้ด้วยว่า ข้อความที่จะย่อต่อไปนี้ เป็นการกล่าว ถึงหลักธรรมล้วน ๆ ไม่มีพาดพิงถึงบุคคล, เหตุการณ์ และเรื่องราวต่าง ๆ จะขออุปมาพอเข้าใจเป็นการเปรียบเทียบ คือบุคคล คณะหนึ่งเดินทางไปโดยรถยนต์ วินัยปิฎก เปรียบเหมือนการกล่าวถึงจรรยา มารยาทของบุคคลเหล่านั้น สุตตันตปิฎก เปรียบ เหมือนการกล่าวถึงเหตุการณ์ และบุคคล ตลอดจนข้อเตือนใจที่ได้พบปะระหว่างทาง ส่วนอภิธัมมปิฎก เลิกพูดถึงเรื่องบุคคล แต่ พูดถึงเครื่องยนต์กลไกในรถยนต์ หรือส่วนประกอบต่าง ๆในร่างกายจิตใจคน เป็นวิชาล้วน ๆ ซึ่งไม่มีนิทานหรือเรื่องสนุกอื่น ๆ ประกอบ โดยทั่วไปจึงรู้สึกกันว่า อภิธัมมปิฎกเข้าใจยาก แต่ถ้าสนใจศึกษาพิจารณาหรือทำความเข้าใจตาม โดยไม่กลัวความยาก จนเกินไป ก็จะเกิดความเพลิดเพลินในธรรม ในหลักวิชา. ตามที่ได้สังเกตมาผู้ศึกษาอภิธรรม มักจะติดใจเพลิดเพลินในความยาก แต่มีเหตุผลเกี่ยวโยงกันหลายแง่หลายมุม. เพราะฉะนั้น ในการย่อความต่อไปนี้ จะพยายามทำให้เข้าใจง่ายเท่าที่สามารถจะทำได้ ข้อความใดไม่ชัด จะทำคำอธิบายไว้ในวงเล็บ ในเชิงอรรถ เพื่อให้เข้าใจชัดขึ้น.
    ความจริง คำว่า อภิธรรม ซึ่งหมายถึงธรรมอันยิ่งนั้น มิใช่มีแต่ในอภิธัมมปิฎกเท่านั้น แม้ใน สุตตันตปิฎกก็มีอยู่ทั่วไป คือตอนใดพูดถึงหลักธรรมล้วน ๆ ไม่กล่าวถึงบุคคลและเหตุการณ์ ตอนนั้นย่อมเป็นอภิธรรม ขอยกตัว อย่างข้อความในกินนิสูตร อันเป็นสูตรที่ ๓ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ และได้ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ ในเชิงอรรถ,หมายเลขที่ ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้ามีภิกษุ ๒ รูป พูดไม่ลงกัน ใน อภิธรรม ภิกษุ ( ผู้หวังจะระงับข้อโต้เถียง ) พึงเข้าไปหาภิกษุที่ว่าง่ายกว่า พูดให้รู้ถึงความต่าง กันโดยอรรถะพยัญชนะ เตือนอย่าให้วิวาทกัน อันไหนถือมาผิดหรือเรียนมาผิด ก็พึงกำหนดไว้แล้วกล่าวแต่ที่ถูกธรรมถูกวินัย. คำว่าอภิธรรมในพระสูตรที่กล่าวนี้ อรรถกถาแก้ว่า ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ( ธรรมอันเป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ) ๓๗ ประการ มี สติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๔ อย่าง เป็นต้น มีอริยมรรค ( ทางหรือข้อปฏิบัติอันประเสริฐ ) ๘ อย่างเป็นที่สุด เมื่อโพธิปักขิยธรรม มีความหมายเป็นอภิธรรมได้ เราก็เห็นได้ชัดว่า เพราะมีเนื้อหาเป็นธรรมะล้วน ๆ นั้นเอง.
    ผู้ที่ทราบหลักการข้อนี้ จึงมองเห็นอภิธรรมได้ในเรื่องราวทุกอย่าง เป็นแต่ให้รู้จักถอดธรรมะ เป็นเท่านั้น ขอยกตัวอย่าง หลักธรรมในพระสูตร ที่มีลักษณะเป็นอภิธรรม คือเป็นหลักธรรมล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาอีกสักข้อหนึ่ง เพื่อให้เห็นความเกี่ยวโยงอย่างน่าสนใจในธรรมะ คือเรื่องเวทนา.
    ๑. เวทนา หรืความรู้สึกอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขนั้น มีชื่อเรียกว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนาโดยลำดับ เรื่องนี้เป็นการแบ่งตามข้อเท็จจริงธรรมดา.
    ๒. เวทนา หรืความรู้สึกอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขนี้ จัดว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป เพราะฉะนั้น สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม นับว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ไม่ได้ ทั้งสิ้น. ข้อนี้ก็เป็นการกล่าวตามข้อเท็จจริง แต่ว่ามองในอีกแง่หนึ่ง คือแง่ที่ว่า ทนอยู่ไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นทุกข์.
    ๓. ในกรณีที่เวทนามีเพียง ๒ ข้อ คือพระผู้มีพระภาคตรัสว่า กล่าวโดยนัยหนึ่ง เวทนา คือความรู้สึกอารมณ์นั้น มี ๒ อย่างเท่านั้น คือ สุข กับ ทุกข์. ก็เกิดปัญหาขึ้นว่าความรู้สึกเฉย ๆ คือไม่ทุกข์ไม่สุขจะเอาไปไว้ ที่ไหน ตอบว่า ความรู้สึกเฉย ๆ จัดเข้าในสุข คือเมื่อไม่ทุกข์ ก็จัดเข้าในสุขได้ นี่ก็เป็นการกล่าวตามข้อเท็จจริงอีกแง่หนึ่ง.
    ๔. เกิดปัญหาขึ้นอีกว่า ทุกข์เป็นทุกข์นั้น ลงตัวอยู่แล้ว แต่สุขกับไม่ทุกข์ไม่สุข ทำไม จึงกลายเป็นทุกข์ไปได้ ก็จะต้องตอบย้อนไปหาเหตุผลข้อที่ ๒ อีก คือจะต้องเข้าใจความหมายของคำว่า ทุกข์ ที่ชี้ไปถึงความ ทนอยู่ไม่ได้ เพราะสุขก็ไม่คงที่ ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ไม่คงที่ มีความแปรปรวนไปทนอยู่ไม่ได้ จึงจัดว่าเป็นทุกข์.
    หลักวิชาดั่งกล่าวข้างบนนี้ เป็นการวิเคราะห์ตามแนวพระสูตรล้วน ๆ แต่ก็มีลีลาเป็น อภิธรรมอยู่ในตัว, เพราะฉะนั้น ธรรมะอันยิ่ง ธรรมะล้วน ๆ หรืออภิธรรมนั้นย่อมมีอยู่ แม้ในพระสูตร ถ้าเข้าใจความหมาย หรือ ถอดความได้ ).

    <center> อภิธรรม ๗ คัมภีร์ </center>
    ชาวไทยนิยมเรียกอภิธัมมปิฎกว่า อภิธรรม<sup></sup> ๗ คัมภีร์ ก็เพราะอภิธัมมปิฎกแยกเป็นหัวข้อสำคัญ ๗ ข้อ คือ :-
    ๑. ธัมมสังคณี ว่าด้วยการ " รวมกลุ่มธรรมะ " คือจัดระเบียบธรรมะต่าง ๆ ที่กระจายกันอยู่มากมายมาไว้ในหัวข้อสั้น ๆ เทียบด้วยการนำเครื่องประกอบต่าง ๆ ของนาฬิกามาคุมกันเข้าเป็นนาฬิกาทั้งเรือน มีเล่มเดียว คือเล่มที่ ๓๔.
    ๒. วิภังค์ ว่าด้วยการ " แยกกลุ่ม " คือกระจายออกไปจากกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ เห็นรายละเอียด เช่น ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง แต่ละข้อนั้นแยกออกไปอย่างไรได้อีก เทียบด้วยการถอดส่วนประกอบของนาฬิกา ออกมาจากที่รวมกันอยู่เดิม มีเล่มเดียว คือเล่มที่ ๓๕.
    ๓. ธาตุกถา ว่าด้วย " ธาตุ " คือสิ่งที่เป็นต้นเดิมในทางธรรม ( โปรด เข้าใจว่า เป็นคนละอย่างกับธาตุทางวิทยาศาสตร์ เพราะทางธรรมมุ่งคติสอนใจ สิ่งที่เป็นต้นเดิมทางธรรม จึงมีความหมายตาม คติธรรม ) มีเล่มเดียว คือเล่มที่ ๓๖ อนึ่ง เล่มที่ ๓๖ นี้ ยังมีปุคคลบัญญัติรวมอยู่ด้วย.
    ๔. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วย " การบัญญัติบุคคล " โดยกล่าวถึงคุณธรรมสูง ต่ำของบุคคล เช่น คำว่า " สมยวิมุตฺโต " " ผู้พ้นเป็นคราว ๆ " คือบางคราวก็ละกิเลสได้ บางคราวก็ละไม่ได้ " อสมย- วิมุตฺโต " " ผู้พ้นตลอดไปไม่ขึ้นอยู่กับคราวสมัย " ได้แก่ผู้ละกิเลสได้เด็ดขาด เป็นต้น รวมอยู่ในเล่มที่ ๓๖ เป็นอันว่าเล่มที่ ๓๖ มี ๒ หัวข้อ.
    ๕. กถาวัตถุ ว่าด้วย " เรื่องของถ้อยคำ " คือการตั้งคำถามคำตอบ เพื่อชี้ให้ เห็นหลักธรรมที่ถูกต้องทางพระพุทธศาสนา มีเล่มเดียว คือเล่มที่ ๓๗.
    ๖. ยมก ว่าด้วย " ธรรมะที่เป็นคู่ " คือการจัดธรรมะเป็นคู่ ๆ โดยอาศัยหลัก การต่าง ๆ มี ๒ เล่ม คือเล่มที่ ๓๘ และ ๓๙.
    ๗. ปัฏฐาน ว่าด้วย " ที่ตั้ง คือปัจจัย ๒๔ " แสดงว่าอะไรเป็นปัจจัยของ อะไรในทางธรรม มี ๖ เล่ม คือเล่มที่ ๔๐, ๔๑, ๔๒, ๔๓, ๔๔ และ ๔๕ .
    เฉพาะเล่มที่ ๓๔ ซึ่งมีชื่อว่า " ธัมมสังคณี " ( รวมกลุ่มธรรมะ ) นั้น แบ่งออก เป็น ๕ หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้ :-
    ๑. หัวข้อที่เป็นกระทู้ธรรมหรือแม่บท ( มาติกา ) เท่ากับเป็นแก่นหรือ สาระสำคัญของ ธัมมสังคณี แต่มีย่อมาก จึงจำเป็นต้องมีหัวข้ออื่น ๆ ต่อ ๆ ไปอีก ๔ ข้อ เพื่อช่วยขยายความ.
    ๒. คำอธิบายเรื่องจิตว่าเกิดขึ้นอย่างไร ( จิตตุปปาทกัณฑ์ ) เป็นคำ อธิบายเพียงบางส่วนของมาติกาหรือแม่บท เฉพาะที่เกี่ยวกับจิตกับธรรมะที่เนื่องด้วยจิต ( ที่เรียกว่าเจตสิก ) จัดว่าเป็นคำอธิบาย ที่พิสดารที่สุดกว่าหัวข้อทุก ๆ หัวข้อ.
    ๓. คำอธิบายเรื่องรูปคือส่วนที่เป็นร่างกาย ( รูปกัณฑ์ ) เมื่อแยกพูด เรื่องจิตและเจตสิกไว้ใน ข้อที่ ๒ แล้ว จึงพูดเรื่องรูปหรือกายไว้ในข้อที่ ๓ นี้.
    ๔. คำอธิบายแม่บทหรือมาติกาที่ตั้งไว้ในข้อหนึ่ง หมดทุกข้อ ( นิกเขปกัณฑ์ ) เป็นการอธิบายบทตั้งทุกบทด้วยคำอธิบายขนาดกลาง ไม่ยาวเกินไป ไม่สั้นเกินไป. ไม่เหมือนกับข้อ ๒ และข้อ ๓ ซึ่งอธิบายเฉพาะบทตั้งเพียงบางบทอย่างพิสดาร.
    ๕. คำอธิบายแม่บทหรือมาติกาที่ตั้งไว้ในข้อหนึ่งแบบรวบรัดหมดทุกข้อ ( อัตถุทธารกัณฑ์ )<sup></sup> หัวข้อนี้อธิบายอย่างย่อมาก.
    เมื่ออ่านมาถึงเพียงนี้ ก็พอจะเห็นเค้าโครงแห่ง ธัมมสังคณี บ้างแล้ว ว่าแบ่ง ออกเป็น ๕ ส่วนอย่างไร และมีหลักเกณฑ์ในการแบ่งหัวข้ออย่างไร ต่อนี้ไป จะขยายความให้เห็นเนื้อหาของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ เป็นลำดับไป.


    <center> ขยายความ เล่มที่ ๓๔ </center>
    <center> ธัมมสังคณี ( รวมกลุ่มธรรมะ ) </center>
    <center>๑. แม่บทหรือมาติกา</center>
    แม่บทหรือมาติกานี้ แบ่งออกเป็น ๒ หัวข้อใหญ่ คือ อภิธัมมมาติกา ได้แก่ แม่บทหรือกระทู้ธรรมที่เป็นฝ่ายอภิธรรมอย่างหนึ่ง. สุตตันตมาติกา ได้แก่แม่บทหรือกระทู้ธรรมที่ฝ่ายพระสูตร คือนำ ธรรมะจากพระสูตรมาตั้งเทียบเคียงให้ดูอีกอย่างหนึ่ง. แม่บทฝ่ายพระสูตรไม่มีหัวย่อย คงกล่าวถึงชื่อธรรมะต่าง ๆ แต่ต้นจนจบ ส่วนแม่บทฝ่ายอภิธรรม แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ๑๔ หัวข้อดังต่อไปนี้ :-


    <center> ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม </center>
    <center>( อภิธัมมมาติกา )</center>
    ๑. แม่บท ว่าด้วยการจัดธรรมะเป็นหมวดละ ๓ ข้อ รวม ๒๒ หมวด ( พาวี- สติติกมาติกา ) คือ :-
    (๑) ธรรมที่เป็นกุศล ( คือฝ่ายดี ), ธรรมที่เป็นอกุศล ( คือฝ่ายชั่ว ), ธรรมที่เป็นอัพยากฤต ( คือพระผู้มีพระภาคไม่ตรัสชี้ลงไปว่า เป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะว่าเป็นกลาง ๆ ก็ได้ ) .
    (๒) ธรรมที่ประกอบด้วยเวทนา ( คือความรู้สึกอารมณ์ ) ที่เป็นสุข, ที่เป็นทุกข์, ที่ไม่ ทุกข์ไม่สุข.
    (๓) ธรรมที่เป็นวิบาก ( คือเป็นผล ) ธรรมที่มีผลเป็นธรรมดา ( คือเป็นเหตุ ), ธรรมที่ ไม่เป็นทั้ง ๒ อย่างข้างต้น ( คือไม่ใช่ผล ไม่ใช่เหตุ ),
    (๔) ธรรมที่ถูกยึดถือและเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ, ธรรมที่ไม่ถูกยึดถือ แต่เป็นที่ตั้ง แห่งความยึดถือ, ธรรมที่ไม่ถูกยึดถือและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ.
    (๕) ธรรมที่เศร้าหมองและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง, ธรรมที่ไม่เศร้าหมอง แต่เป็น ที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง, ธรรมที่ไม่เศร้าหมองและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง.
    (๖) ธรรมที่มีวิตก ( ความตรึก ) และมีวิจาร ( ความตรอง ), ธรรมที่ไม่มีวิตก ( ความ ตรึก ) มีแต่ เพียงวิจาร ( ความตรอง ), ธรรมที่ไม่มีทั้งวิตก ไม่มีทั้งวิจาร.
    (๗) ธรรมที่ประกอบด้วยปีติ ( ความอิ่มใจ ), ธรรมที่ประกอบด้วยความสุข, ธรรมที่ ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความวางเฉย ).
    (๘) ธรรมที่ละได้ด้วยทัสสนะ ( =การเห็น, คือธรรมที่ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ), ธรรมที่ละได้ด้วยภาวนา( =การอบรม, คือธรรมที่ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค, อนาคามิมรรค, อรหัตตมรรค ), ธรรมที่ละไม่ได้ด้วย ทัสสนะ ละไม่ได้ด้วยภาวนา.<sup></sup>
    (๙) ธรรมที่มีเหตุอันพึงละได้ด้วยทัสสนะ ( ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ), ธรรมที่มีเหตุ อันพึงละได้ด้วยภาวนา ( ละได้ด้วยอริยมรรคทั้งสามเบื้องบน ), ธรรมที่มีเหตุอันพึงละไม่ได้ทั้งด้วยทัสสนะทั้งด้วยภาวนา.<sup> </sup>
    (๑๐) ธรรมที่ไปสู่ความสั่งสมกิเลส, ธรรมที่ไม่ไปสู่ความสั่งสมกิเลส, ธรรมที่ไม่เป็น ทั้งสองอย่างนั้น.
    (๑๑) ธรรมที่เป็นของพระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา (ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคจนถึง อรหัตตมรรค รวม ๗ ประเภท ), ธรรมที่เป็นของพระอริยบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา ( ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ), ธรรมที่ไม่เป็นทั้งสอง อย่างนั้น.
    (๑๒) ธรรมที่เป็นของเล็กน้อย ( =ปริตตะ คือเป็นกามาวจร ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม ), ธรรมที่เป็นของใหญ่ ( =มหัตคตะ คือเป็นรูปฌานหรืออรูปฌาน ), ธรรมที่ไม่มีประมาณ ( คือเป็นโลกุตตรธรรม ได้แก่ มรรค, ผล, นิพพาน ).
    (๑๓) ธรรมที่มีอารมณ์เล็กน้อย, ธรรมที่มีอารมณ์ใหญ่, ธรรมที่มีอารมณ์ไม่ประมาณ.
    (๑๔) ธรรมอันเลว ( อกุศลธรรม ), ธรรมอันปานกลาง ( ธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ที่ยังมีอาสวะ ), ธรรมอันประณีต ( โลกุตตรธรรม ).
    (๑๕) ธรรมที่เป็นฝ่ายผิดและแน่นอน, ธรรมที่เป็นฝ่ายถูกและแน่นอน, ธรรมที่ไม่แน่ นอน.<sup></sup>
    (๑๖) ธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์, ธรรมที่มีมรรเป็นเหตุ, ธรรมที่มีมรรคเป็นใหญ่ ( อธิบดี ).
    (๑๗) ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว, ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น, ธรรมที่จักเกิดขึ้น.
    (๑๘) ธรรมที่เป็นอดีต, ธรรมที่เป็นอนาคต, ธรรมที่เป็นปัจจุบัน.
    (๑๙) ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอดีต, ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอนาคต, ธรรมที่มีอารมณ์เป็น ปัจจุบัน.
    (๒๐) ธรรมที่เป็นภายใน, ธรรมที่เป็นภายนอก, ธรรมที่เป็นภายในและภายนอก.
    (๒๑) ธรรมที่มีอารมณ์ภายใน, ธรรมที่มีอารมณ์ภายนอก, ธรรมที่มีอารมณ์ภายใน และภายนอก.
    (๒๒) ธรรมที่เห็นได้และถูกต้องได้, ธรรมที่เห็นไม่ได้ แต่ถูกต้องได้, ธรรมที่เห็น ไม่ได้และถูกต้องไม่ได้.
    ๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มเหตุ ( เหตุโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมที่เป็นเหตุ, ธรรมที่มิใช่เหตุ ; ๒. ธรรมที่มีเหตุ, ธรรมที่ไม่มีเหตุ เป็นต้น.
    ๓. แม่บทหรือบทตั้งหมวดสองข้อไม่สัมพันธ์กัน คู่น้อย ( จูฬันตรทุกะ)
    มี ๗ คู่ คือ ๑. ธรรมที่มีปัจจัย, ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ; ๒. ธรรมที่เป็นสังขตะ ( ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง ) ; ธรรมที่เป็นอสังขตะ ( ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ) เป็นต้น.
    ๔. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มอาสวะ ( อาสวโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมที่เป็นอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ), ธรรมที่มิใช่อาสวะ ; ๒. ธรรมที่อาสวะ, ธรรมที่ไม่มีอาสวะ เป็นต้น.
    ๕. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มสัญโญชน์ ( สัญโญชนโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมที่เป็นสัญโญชน์ ( กิเลสเครื่องผูกมัด ), ธรรมที่ไม่เป็นสัญโญชน์ ; ๒. ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์, ธรรมที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เป็นต้น.
    ๖. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มคันถะ ( คันถโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นคันถะ ( กิเลสเครื่องร้อยรัด ), ธรรมที่ไม่เป็นคันถะ ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งคันถะ, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งคันถะ เป็นต้น.
    ๗. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มโอฆะ ( โอฆโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นโอฆะ ( กิเลสเครื่องทำสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะ คือความ เวียนว่ายตายเกิด ), ธรรมอันไม่เป็นโอฆะ ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโอฆะ, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งโอฆะ เป็นต้น.
    ๘. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มโยคะ ( โยคโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นโยคะ ( กิเลสเครื่องประกอบหรือผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ), ธรรมที่ไม่เป็นโยคะ ; ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโยคะ, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งโยคะ เป็นต้น.
    ๙. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มนีวรณ์ ( นีวรณโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นนีวรณ์ ( กิเลสเครื่องกั้นจิตรัดรึงจิต ), ธรรมอันไม่เป็น นีวรณ์ ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งนีวรณ์, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งนีวรณ์ เป็นต้น.
    ๑๐. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มปรามาส ( ปรามาสโคจฉกะ )
    มี ๕ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นปรามาส ( กิเลสเครื่องจับต้องในทางที่ผิดความจริง ), ธรรมอันไม่เป็นปรามาส เป็นต้น.
    ๑๑. แม่บทหรือบทตั้งหมวดสองข้อที่ไม่สัมพันธ์กัน คู่ใหญ่ ( มหันตรทุกะ )<sup> </sup>
    มี ๑๔ คู่ คือ ๑. ธรรมที่มีอารมณ์, ธรรมที่ไม่มีอารมณ์ ; ๒. ธรรมที่เป็นจิต, ธรรมที่ มิใช่จิต เป็นต้น. ( ได้แปลคำอธิบายธรรมเหล่านี้ไว้เพียง ๙ คู่ ในหน้าในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๘๖-๙๔ เป็นการแปลตามคำ อธิบายแบบสั้น จากอัตถุทธารกัณฑ์ เล่มที่ ๓๔ นี้เอง ).
    ๑๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยอุปาทาน ( อุปาทานโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นอุปาทาน ( เป็นเหตุยึดถือ ), ธรรมอันไม่เป็นอุปาทาน ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นต้น.
    ๑๓. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกิเลส ( กิเลสโคจฉกะ )
    มี ๘ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นกิเลส ( เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ), ธรรมอันไม่เป็นกิเลส ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลส.
    ๑๔. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยหมวด ๒ อันรั้งท้าย ( ปิฏฐิทุกะ )
    มี ๑๘ คู่ คือ ๑. ธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ ( ละด้วยการเห็น คือละด้วยโสดาปัตติ มรรคอันเห็นนิพพาน ), ธรรมที่ไม่พึงละด้วยทัสสนะ ; ๒. ธรรมที่พึงละด้วยการเจริญ ( ละด้วยการเจริญ คืออริยมรรคทั้งสาม เบื้องบน, ธรรมที่ไม่พึงละด้วยการเจริญ เป็นต้น.

    <center>( จบแม่บทฝ่ายอภิธรรม )</center>

    <hr> '๑' . คำว่า อภิธัมม เขียนตามแบบบาลี, อภิธรรม เขียนตามแบบไทย ซึ่งแปลงมาจากสันสกฤต อภิธรฺม
    '๒' . อรรถกถาเรียกว่า " อัตถกถากัณฑ์ " โดยชี้แจงว่าศิษย์ของพระสาริบุตรไม่เข้าใจ พระสาริบุตรจึงพา ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคให้ตรัสอธิบาย
    '๓' . ได้แก่สัญโญชน์ ๓ สำหรับข้อแรก, สัญโญชน์ ๓, ๕, ๑๐ สำหรับข้อ ๒, และธรรมที่ฝ่ายกุศลและ กลาง ๆ สำหรับข้อ ๓ ดูคำอธิบายข้างหน้าและดูเชิงอรรถหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ซึ่งมี เขียนไว้ดังนี้ว่า สัญโญชน์ ๓ คือสักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน วิจิกิจฉา ความสงสัยในพระรัตนตรัยและสีลัพพต- ปรามาส การลูบคลำศีลและพรต คือถือโชคลาง หรือติดในลัทธิพิธี และดูหน้า ( พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ) ด้วย วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐
    '๔' . คำว่า เหตุ ในที่นี้ กล่าวตามสำนวนอภิธรรม หมายถึงสัมปยุตตเหตุ คือเหตุที่เกิดขึ้นผสม ได้แก่เหตุ ฝ่ายชั่วคือกิเลสที่มาผสมกับนามธรรม และเป็นสมุฏฐานแห่งกายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม.
    '๕' . คำว่าแน่นอน ไม่แน่นอน หมายถึงแน่นอนในการให้ผล ฝ่ายผิดคืออนันตริยกรรม ๕ และความเห็นผิด อย่างแรง ฝ่ายถูกคืออริยมรรค ๔ ธรรมที่ไม่แน่นอน คือนอกจากสองข้อที่กล่าวแล้ว
    '๖' . คำว่า ไม่สัมพันธ์กัน คือในหมวดนี้ ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่เลือกธรรมะมากล่าวเป็นคู่ ๆ ไม่เหมือน หมวดที่มีคำว่า โคจฉกะ ซึ่งเป็นเรื่องประเภทเดียวกันตลอด





    [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> ข. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายพระสูตร </center>
    <center> ( สุตตันตมาติกา ) </center>
    ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในแม่บทของเล่มที่ ๓๔ นี้ แบ่งหัวข้อหรือแม่บทใหญ่ออกเป็นฝ่ายอภิธรรม กับฝ่ายพระสูตร เพื่อให้เทียบเคียงกันดู. แม่บทฝ่ายอภิธรรมมี ๑๒๒ หัวข้อ ( หัวข้อละ ๓ ประเด็น มี ๒๒, หัวข้อละ ๒ ประเด็น มี ๑๐๐ ) ส่วนแม่บทฝ่ายพระสูตร มี ๔๒ หัวข้อ ( หัวข้อละ ๒ ประเด็น ) แต่ไม่มีคำอธิบายแม่บทฝ่ายพระสูตร คง นำมาตั้งไว้ให้ทราบเท่านั้น ดังจะนำมากล่าวสัก ๑๐ ข้อ คือ :-
    ๑. ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา, ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งอวิชชา ;
    ๒. ธรรมอันอุปมาด้วยสายฟ้า, ธรรมอันอุปมาด้วยเพชร ;
    ๓. ธรรมอันเป็นของคนพาล, ธรรมอันเป็นของบัณฑิต ;
    ๔. ธรรมดำ, ธรรมขาว ;
    ๕. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน, ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ;
    ๖. ธรรมคือคำร้องเรียก, ธรรมคือทางแห่งคำร้องเรียก ;
    ๗. ธรรมคือภาษาพูด, ธรรมคือทางแห่งภาษาพูด ;
    ๘. ธรรมคือบัญญัติ, ธรรมคือทางแห่งบัญญัติ ;
    ๙. นาม, รูป ;
    ๑๐. อวิชชา, ภวตัณหา ( ความทะยานอยากมี อยากเป็น ) เป็นต้น ฯลฯ.
    ( หมายเหตุ : ในบทตั้งหรือแม่บท ๑๖๔ หัวข้ออันแจกรายละเอียดออกไปเป็นฝ่ายพระ อภิธรรม ๒๖๖ ประเด็น, เป็นฝ่ายพระสูตร ๘๔ ประเด็น, รวมทั้งสิ้น ๓๕๐ ประเด็น แต่นำมาตั้งให้เห็นเพียง ๔๕ หัวข้อ หรือ ๑๓๘ ประเด็น ที่เหลือได้ละไว้ด้วยคำว่า เป็นต้น นั้น ด้วยเจตนาจะแสดงรายการหรือประเด็นที่สำคัญ ส่วนปลีกย่อยก็ผ่านไป. ความจริงเท่าที่พระท่านสวด ท่านสวดบทตั้งของคัมภีร์ " ธัมมสังคณี " คือพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ นี้ โดยทั่วไปนั้น คงสวด เพียง ๒๒ หัวข้อแรก ที่แบ่งออกเป็นหัวข้อละ ๓ ประเด็น รวมทั้งสิ้น ๖๖ ประเด็นเท่านั้น ในที่นี้แสดงไว้ถึง ๔๕ หัวข้ออัน แบ่งออกเป็น ๑๓๘ ประเด็น เพื่อให้เห็นหน้าตาชัดเจนยิ่งขึ้น แท้จริงในการอธิบายรายละเอียดเป็นร้อย ๆหน้าในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ เอง ก็อธิบายหนักไปในหัวข้อแรก ๓ ประเด็น คือ กุสลา ธมฺมา ( ธรรมอันเป็นกุศล ), อกุสลา ธมฺมา ( ธรรมอัน เป็นอกุศล ) อพฺยากตา ธมฺมา ( ธรรมอันเป็นอัพยากฤต คือเป็นกลาง ๆ ) เท่านั้น นอกจากนั้นก็เป็นคำอธิบายเรื่อง " รูป " กับ อธิบายบทตั้งอื่น ๆ อย่างสั้น ๆ ท่านผู้อ่านจึงชื่อว่ามิได้ผ่านสาระสำคัญไปในการย่อครั้งนี้ ).

    <center>๒. คำอธิบายเรื่องจิตเกิด ( จิตตุปปาทกัณฑ์ )</center>
    ข้อความในกัณฑ์นี้ มี ๑๗๕ หน้า อธิบายเพียงหัวข้อแรก อันแบ่งเป็น ๓ ประเด็น คือธรรมอันเป็นกุศล, อกุศล, และอัพยากฤตหรือกลาง ๆ เท่านั้น. พึงทราบว่า ความมุ่งหมายยังแคบเข้ามาอีก คือธรรมทั้งสาม นั้น ท่านชี้ไปที่ จิต และสิ่งที่เนื่องด้วยจิต ที่เรียกว่า เจตสิก ดังหัวข้อย่อย ๆที่จะกล่าวต่อไปนี้ :-

    <center> จิตทั่วไป </center> ๑. จิต แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ กุศลฝ่ายดี, อกุศลฝ่ายชั่ว, อัพยากฤต คือกลาง ๆ.

    <center> จิตฝ่ายกุศล </center> ๒. จิตที่เป็นกุศลหรือกุศลจิต แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ตามภูมิชั้นที่ ต่ำและสูง คือ :-
    ( ๑ ) กามาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม ที่เป็นฝ่ายกุศล<sup></sup>มี ๘
    ( ๒ ) รูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในรูปที่เป็นฝ่ายกุศล ( หมายถึงจิตที่ได้ ฌาน คือฌานที่เพ่งรูปเป็นอารมณ์ ) มี ๕
    ( ๓ ) อรูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูปที่เป็นฝ่ายกุศล ( หมายถึงจิตที่ ได้อรูปฌาน คือฌานที่เพ่งนาม หรือสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ) มี ๔.
    ( ๔ ) โลกุตตระ คือจิตที่พ้นจากโลก ( หมายถึงจิตที่เป็นมรรค ๔ ) มี ๔.
    รวมเป็นจิตที่เป็นฝ่ายกุศล หรือฝ่ายดี ๔ ประเภทใหญ่ แบ่งเป็น ๒๑ ชนิด.

    <center> จิตฝ่ายอกุศล </center> ๓. จิตที่เป็นอกุศลหรืออกุศลจิต มีประเภทเดียว คือกามาวจร คือจิตที่ ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม สูงขึ้นไปกว่านั้นไม่มีอกุศล. จิตที่เป็นอกุศลนี้ เป็นจิตประกอบด้วยความโลภ ๘, ความคิดประทุษร้าย หรือโทสะ ๒, ความหลงหรือโมหะ ๒ จึงรวมเป็น ๑๒ ชนิด.

    <center> จิตที่เป็นกลาง ๆ </center> ๔. จิตที่เป็นอัพยากฤต คือที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ หรือชี้ลงไปว่า เป็นกุศล หรืออกุศล จึงหมายถึงจิตที่เป็นกลาง ๆ หรือเรียกว่า อัพยากตจิต แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่เหมือนกุศล คือ จิตที่เป็นกลาง ๆ นี้ มีได้ทั้ง ๔ ภูมิ เช่นเดียวกับกุศลจิต คือ :-
    ( ๑ ) กามาวจร คือ จิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๓๔ ชนิด แบ่งเป็นวิบากจิต ( จิตที่เป็นผล ) ๒๓, กิริยาจิต ( จิตที่เป็นเพียงกิริยา ) ๑๑.
    ( ๒ ) รูปาวจร คือ จิตที่ท่องเที่ยวไปในรูป ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๑๐ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ( จิตที่เป็นผล ) ๕, กิริยาจิต ( จิตที่เป็นกิริยา ) ๕.
    ( ๓ ) อรูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูป ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๘ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ๔, กิริยาจิต ๔.
    ( ๔ ) โลกุตตระ คือจิตที่พ้นจากโลก ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๔ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ๔.
    รวมทั้ง ๔ ประเภท คือกามาวจร ๓๔, รูปาวจร ๑๐, อรูปาวจร ๘ และโลกุตตระ ๔ จึงมีอัพยากตจิตหรือจิตที่เป็นกลาง ๆ ทั้งสิ้น ๕๖ ชนิด และเมื่อรวมกุศลจิต ๒๑, อกุศลจิต ๑๒, อัพยากตจิต ๕๖ จึงเป็นจิต ๘๙ ชนิด,<sup></sup> อนึ่ง เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอแสดงโดยแผนผัง ดังต่อไปนี้ :-
    [​IMG]

    [​IMG]


    <hr> '๑' . ที่ใช้คำว่า เป็นฝ่ายกุศลกำกับเพื่อไม่ให้หลงหัวข้อ เพราะในที่นี้กล่าวเฉพาะกุศลหรือฝ่ายดีเท่านั้น ยังมี ฝ่ายที่เป็นกลาง ๆ หรืออัพยากฤตที่แบ่งออกเป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร และโลกุตตระเช่นกัน
    '๒' . มีข้อที่ควรกล่าวไว้ด้วย คือคำว่า อัพยากตะ เขียนตามบาลี, อัพยากฤต เขียนตามสันสกฤต มีความ หมายอย่างเดียวกัน และจิต ๘๙ ชนิด ถ้าแจกโดยพิสดาร ก็จะเป็น ๑๒๑ ชนิด คือจิตที่เป็นโลกุตตระ ( เป็นกุศล ๔ เป็นกลาง ๆ ๔ ) ๘ ชนิดนั้น คูณด้วยรูปฌาน ๔ จะได้ ๔๐. แม้จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ก็ยังนับว่าย่อ เพราะอ่านต่อไปจะเห็นพิสดารกว่านี้
    [/FONT]
     
  10. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> การนับจำนวนจิต </center> ( ถ้าจะพูดอย่างรวบรัด จิตก็มีเพียงดวงเดียว เพราะไม่สามารถเกิดได้ขณะละหลายดวง แต่เพราะเหตุที่เกิดหลายขณะ และมีส่วนประกอบ คือความดีความชั่ว เป็นต้น ต่าง ๆ กัน จึงนับจำนวนได้มาก. ในพระ ไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ แสดงการนับจำนวนไว้บางตอน เช่น จิตที่เป็นมหากุศลฝ่ายกามาวจร ๘, ส่วนรูปาวจร, อรูปาวจร และ โลกุตตระไม่ได้นับให้, ครั้นถึงอกุศลจิต ได้นับจำนวนให้อีกว่า มี ๑๒, ถึงอัพยากตจิต นับจิตที่เป็นมหาวิบาก ๘ นอกนั้นเป็น แต่บอกชื่อไว้ข้างท้าย การนับจำนวนที่แสดงในที่นี้ จึงเป็นการนับย่อเพื่อให้เข้าใจง่าย แต่ตามที่มีในพระไตรปิฎกมีจำนวนพิสดาร มากกว่านี้. ได้เคยทำมาแล้วในพระสูตร คือ พระไตรปิฎกไม่ได้นับเป็นตัวเลขให้ แต่ผู้เขียนใส่ตัวเลขนับลงไปเพื่อเข้าใจง่าย กำหนดง่าย ).

    <center> คำอธิบายในจิตตุปปาทกัณฑ์ </center> ได้กล่าวแล้วโดยใจความว่า จิตตุปปาทกัณฑ์ เป็นภาคอธิบายถาคแรกของ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ ซึ่งมีภาคบทตั้ง ๑ ภาค ภาคอธิบาย ๔ ภาค. การตั้งเคร้าโครงอธิบายของภาคแรก เจาะจงอธิบาย เพียงคำ ๓ คำ คือ กสุลา ธมฺมา ( กุศลธรรม ) อกุสลา ธมฺมา ( อกุศลธรรม ) และ อพฺยาตกา ธมฺมา ( อัพยากตธรรม คือ ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) แล้วอธิบายเป็นเรื่องของจิต ส่วนการแบ่งเป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ได้นำมาแบ่งภายใต้หัวข้อของกุศลธรรม, ภายใต้หัวข้อของอกุศลธรรมมีกามาวจรอยู่อย่างเดียว, ภายใต้หัวข้อของ อัพยากตธรรมหรือธรรมที่เป็นกลาง ๆ คงมีทั้งกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, และโลกุตตระ. ธรรมที่เป็นกลาง ๆ นั้น ได้แก่จิต ที่เป็นวิบากและเป็นกิริยา.<sup></sup> เป็นอันว่า จิตตุปปทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรก เจาะจงอธิบายเรื่องจิตที่ดี ที่ไม่ดี และที่เป็นกลาง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้อธิบายเจตสิก คือธรรมที่เนื่องด้วยจิตพร้อมกันไปใน ตัวด้วย. ต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นลีลาในการอธิบาย คำว่า ธรรมอันเป็นกุศล ในตอนแรกของจิตตุปปทกัณฑ์ :-
    " ธรรมอันเป็นกุศล เป็นไฉน ? "
    " ธรรมอันเป็นกุศล คือในสมัยใด จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร<sup></sup>( ท่องเที่ยวไปในกาม ) ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจ ) ประกอบด้วยญาณ เกิดขึ้น ปรารภ อารมณ์ คือ รูป หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรส หรือโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ ) หรือธรรมะ ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ), ในสมัยนั้นย่อม มี ( ธรรมะ ๕๖ อย่าง ) คือ :-
    " ๑. ผัสสะ ( ความถูกต้อง )
    ๒. เวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข )
    ๓. สัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) ๔. เจตนา ( ความจงใจ )
    ๕. จิตตะ ( จิต) ๖. วิตก ( ความตรึก)
    ๗. วิจาร ( ความตรอง ) ๘. ปีติ ( ความอิ่มใจ )
    ๙. สุข ( ความสบายใจ, ในที่นี้ไม่หมายเอาสุขกาย )
    ๑๐. จิตตัสส เอกัคคตา ( ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
    ๑๑. สัทธินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความเชื่อ )
    ๑๒. วิริยินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความเพียร ) ๑๓. สตินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือสติ )
    ๑๔. สมาธินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือสมาธิ ) ๑๕. ปัญญินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือปัญญา )
    ๑๖. มนินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ )
    ๑๗. โสมนัสสินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความสุขใจ )
    ๑๘. ชีวิตินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือชีวิตความเป็นอยู่ )
    ๑๙. สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจจ์ ๔ )
    ๒๐. สัมมาสังกัปปะ ( ความดำริชอบ ) ๒๑. สัมมาวายามะ ( ความพยายามชอบ )
    ๒๒. สัมมาสติ ( ความระลึกชอบ ) ๒๓. สัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ )
    ๒๔. สัทธาพละ ( กำลังคือความเชื่อ ) ๒๕. วิริยพละ ( กำลังคือความเพียร )
    ๒๖. สติพละ ( กำลังคือสติ ) ๒๗. สมาธิพละ ( กำลังคือสมาธิ )
    ๒๘. ปัญญาพละ ( กำลังคือปัญญา ) ๒๙. หิรีพละ ( กำลังคือความละอายต่อบาป )
    ๓๐. โอตตัปปพละ ( กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป ) ๓๑. อโลภะ ( ความไม่โลภ )
    ๓๒. อโทสะ ( ความคิดประทุษร้าย ) ๓๓. อโมหะ ( ความไม่หลง )
    ๓๔. อนภิชฌา ( ความไม่โลภ ชนิดนึกน้อมมาเป็นของตน )
    ๓๕. อัพยาบาท ( ความไม่คิดปองร้าย ชนิดนึกให้ผู้อื่นพินาศ )
    ๓๖. สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบแบบทั่ว ๆ ไป เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี )
    ๓๗. หิริ ( ความละอายต่อบาป ) ๓๘. โอตตัปปะ ( ความเกรงกลัวต่อบาป )
    ๓๙. กายปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )<sup> </sup>
    ๔๐. จิตตปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งจิต )
    ๔๑. กายลหุตา ( ความเบาแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๒. จิตตลหุตา ( ความเบาแห่งจิต )
    ๔๓. กายมุทุตา ( ความอ่อนสลวยแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๔. จิตตมุทุตา ( ความอ่อนสลวยแห่งจิต )
    ๔๕. กายกัมมัญญตา ( ความควรแก่การงานแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๖. จิตตกัมมัญญตา ( ความควรแก่การงานแห่งจิต )
    ๔๗. กายปาคุญญตา ( ความคล่องแคล่วแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๘. จิตตปาคุญญตา ( ความคล่องแคล่วแห่งจิต )
    ๔๙. กายุชุกตา ( ความตรง ไม่คดโกงแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๕๐. จิตตุชุกตา ( ความตรง ไม่คดโกงแห่งจิต ) ๕๑. สติ ( ความระลึกได้ )
    ๕๒. สัมปชัญญะ ( ความรู้ตัว ) ๕๓. สมถะ ( ความสงบแห่งจิต )
    ๕๔. วิปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง ) ๕๕. ปัคคาหะ ( ความเพียรทางจิต )
    ๕๖. อวิกเขปะ ( ความไม่ซัดส่าย คือความตั้งมั่นแห่งจิต )
    " อนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูปอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่. ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ากุศล. "
    ( ต่อจากนั้นเป็นคำอธิบายศัพท์แต่ละข้อ นี้เป็นเพียงคำอธิบายจิตดวงแรกใน ๘๙ ดวง ซึ่งมีธรรมประกอบ ๕๖ อย่าง กับได้หมวดเงื่อนไขไว้ว่า แม้ธรรมเหล่าอื่นที่ไม่กล่าวไว้ แต่มิใช่รูปธรรม อิงอาศัยจิตดังกล่าว เกิดขึ้น ก็จัดเป็นกุศลจิตได้. ธรรมประกอบ ๕๖ อย่างนั้น ในภาคอธิบายต่อไป ได้ชี้ให้เห็นว่า จะย่อได้ อย่างไร หรือกำหนด หัวข้ออย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้
    " ก็ในสมัยนั้นแล ย่อมมีขันธ์ ๔, อายตนะ ๒, ธาตุ ๒, อาหาร ๓, อินทรีย์ ๘, ฌาน มีองค์ ๕, มรรคมีองค์ ๕, ธรรมะอันเป็นกำลัง ๗, เหตุ ๓, ผัสสะ ๑, เวทนา ๑, สัญญา ๑, เจตนา ๑, จิต ๑, เวทนาขันธ์ ๑, สัญญาขันธ์ ๑, สังขารขันธ์ ๑, วิญญาณขันธ์ ๑, มนายตนะ (อายตนะคือใจ ) ๑, มนินทรีย์ ( อินทรีย์คือใจ ) ๑, มโนวิญญาณ- ธาตุ ( ธาตุรู้คือใจ ) ๑, ธัมมายตนะ ( อายตนะคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) ๑, ธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) ๑, หรือแม้ธรรม เหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูปอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่. ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นกุศล. "
    ( คำอธิบายตอนนี้เป็นการมองธรรม ๕๖ อย่าง ซึ่งประกอบกับจิตดวงแรกอันเป็นกุศล ฝ่ายกามาวจรนั้นว่าจะเรียกเป็นอย่างไรได้บ้าง มองในทัสสนะไหนได้บ้าง. ขอยกตัวอย่างพอให้เข้าใจ คือในธรรมประกอบ ๕๖ ข้อนั้น จัดเป็นขันธ์ ๔ ได้ดังนี้. ข้อ ๒ คือเวทนา, ข้อ ๙ คือสุข, ข้อ ๑๗ คือโสมนัสสินทรีย์ ธรรมอันเป็นใหญ่ คือความสบาย ใจหรือความดีใจ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ( กองเวทนา ) ; ข้อ ๓ คือสัญญา ความจำได้หมายรู้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ( กองสัญญา ) ; ๕๐ ข้อ เว้นข้อที่ ๒, ๓, ๕, ๙, ๑๖, ๑๗, จัดเป็นสังขารขันธ์ ( กองสังขาร ) ; ข้อ ๕ คือจิต, ข้อ ๑๖ คือมนินทรีย์ ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ จัดเป็นวิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ ). ในที่นี้ไม่จัดเป็นขันธ์ ๕ เพราะขาดรูป ไป ๑ เนื่องจากเป็นเรื่องของจิต แต่ก็สามารถจัดธรรมะถึง ๕๖ ข้อมารวมได้ ใน ๔ ข้อเท่านั้น. ตอนต่อไปแสดงอายตนะ ( บ่อ เกิดหรือที่ต่อ ) ๒ คือ ๑. มนายตนะ ( อายตนะคือใจ ) ๒. ธัมมายตนะ ( อายตนะคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ). ในธรรม ๕๖ ข้อนั้น ข้อที่ ๕ คือจิต ข้อที่๑๖ คือมนินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ ) จัดเข้าในมนายตนะ นอกนั้นคืออีก ๕๔ ข้อ จัด เข้าในธัมมายตนะ. ตอนนี้ยิ่งรวบรัดกว่าตอนต้นอีก เพราะจัดธรรม ๕๖ อย่างมาลงใน ๒ อย่างได้. ข้อต่อไปจัดธรรม ๕๖ อย่างมาลงในธาตุ ๒ คือ ข้อที่ ๕ คือจิต ข้อที่ ๑๖ คือมนินทรีย์ จัดเข้าในมโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ), อีก ๕๔ ข้อที่เหลือ จัดเข้าในธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งตามสำนวนอธิบายที่ปรากฏในนั้นอีก ๕๔ ข้อที่เหลือ อันเคยจัดมาแล้วว่า ได้แก่เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์นั้น จัดเป็นธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมะที่รู้ได้ด้วย ใจ ) ดังนี้เป็นตัวอย่าง ต่อจากนั้น ได้แสดงเรื่องอาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ เป็นต้น เป็นการชี้ไปว่า อาหาร ๓ มีอยู่ในธรรม ๕๖ ข้อ นั้น อินทรีย์ ๘ มีอยู่ในธรรม ๕๖ ข้อนั้นอย่างไรบ้าง คล้ายกับเป็นการสำรวจเครื่องจักรเครื่องยนต์ว่า อันไหนเป็นประเภทไหน เกี่ยวโยงกันอย่างไร เป็นการบริหารความคิดและความจำ, นี้เป็นคำอธิบายตอนที่ ๒ คือคำอธิบายตอนที่ ๑ เริ่มด้วยแสดงจิตดวง แรกที่เป็นกุศลแล้วแสดงธรรม ๕๖ อย่าง ที่เนื่องด้วยจิตดวงนั้น, ตอนที่ ๒ อธิบายว่า ธรรม ๕๖ อย่างนั้น จะเรียกชื่อย่อ ๆ หรือกำหนดหัวข้อ เป็นจำนวนอย่างไรบ้าง, คำอธิบายตอนที่ ๓ ตัดจำนวนเลขออก เรียกแต่ชื่อดังต่อไปนี้ )
    " ก็ในสมัยนั้น ย่อมมีธรรม,)<sup></sup> มีขันธ์, มี อายตนะ, มีธาตุ, มีอาหาร, มีอินทรีย์, มีฌาน, มีมรรค, มีพละ ( ธรรมอันเป็นกำลัง ), มีเหตุ, มีผัสสะ, มีเวทนา, มีสัญญา, มี เจตนา, มีจิต, มีเวทนาขันธ์, มีสัญญาขันธ์, มีสงขารขันธ์, มีวิญญาณขันธ์, มีมนายตนะ, มีมนินทรีย์, มีมโนวิญญาณธาตุ, มี ธัมมายตนะ, มีธัมมธาตุ. อนึ่ง ในสมัยนั้น มีธรรมะเหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูป อิงอาศัยกันเกิดขึ้น. ธรรมเหล่านี้ ก็ชื่อว่าเป็นกุศล ธรรม. "
    ( คำอธิบายตอน ๓ นี้ ตัดตัวเลขออกให้เข้าใจแต่ชื่อธรรมะ แล้วอธิบายว่า ธรรมะชื่อ นั้นได้แก่อะไร ).

    <center> ธรรมะประกอบกับจิต </center> ( ท่านผู้อ่านได้ทราบแล้วว่า ในจิตตุปปาทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรกของบทตั้ง นั้น อธิบายเพียง คำว่า กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ( ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) โดยอธิบายจิตตาม ๓ หัวข้อนั้น และ ในขณะเดียวกันก็อธิบายธรรมะประกอบกับจิตทีละข้อด้วยว่า จิตชนิดไหนมีธรรมะประกอบอะไรบ้าง. เฉพาะจิตดวงแรกได้ แสดงให้เห็นแล้วว่ามีธรรมะประกอบ ๕๖ ข้อ และจิตดวงต่อ ๆ ไปก็มีเท่ากันบ้าง มากกว่าบ้าง น้อยลงบ้าง จะนำมากล่าวจน หมดทุกอย่าง ก็ไม่มีหน้ากระดาษพอ. แต่มีข้อสังเกตที่ใคร่ฝากไว้แด่ท่านผู้รักการค้นคว้า คือในปัจจุบันนี้เรามักไม่เรียนอภิธรรม จากอภิธัมมปิฎก แต่เรียนตำราย่อเนื้อความแห่งอภิธรรมที่ชื่อว่า อภิธัมมัตถสังคหะ ท่านผู้อ่านภาษาบาลีได้ควรจะได้ติดตามสอบ สวนดูด้วย โดยตั้งใจเป็นกลาง ๆ อย่างปลงว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์นั้นถูกต้องดีแล้วหรือยังบกพร่อง อะไรอยู่ โดยเฉพาะเรื่องเจตสิก ๕๒ นั้น ก็คือธรรมะประกอบกับจิต ๕๒ ประการนั่นเอง ในพระอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ จิตบางดวงมีธรรมประกอบถึง ๖๐ บางดวงก็มีไม่ถึง ควรจะได้สอบสวนเทียบเคียงดูว่า ที่ว่าเจตสิก ๕๒ นั้นสมบูรณ์ถูกต้องดี หรืออย่างไร หรือท่านรวมอะไรเข้ากับอะไร ตัดอะไรออก การด่วนลงความเห็นว่าอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์มี บกพร่อง ยังไม่เป็นการชอบ ควรจะได้ตรวจสอบค้นคว้าให้ละเอียดลออถี่ถ้วน ที่เสนอไว้นี้เพื่อให้ท่านผู้รักการค้นคว้าได้ พยายามขบคิดและสอบสวนเรื่องนี้ทำเป็นตำราขึ้น เพื่อเป็นทางเรืองปัญญาของผู้ใคร่การศีกษาต่อไป. ข้าพเจ้าผู้ทำหนังสือนี้ ยัง ไม่พร้อมที่จะทำการวิจัยในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในเล่มนี้ ขอเสนอชักชวนผู้ชอบงานค้นคว้าให้ช่วยกันทำอีกส่วนหนึ่ง. ต่อไปนี้จะ แสดงจิตดวงอื่น ๆ จนจบชนิดของจิต และจะละเรื่องธรรมะที่ประกอบกับจิต แต่ละดวงไว้ไม่กล่าวถึง เพราะจะทำให้พระ- ไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนจบลงไม่ได้ใน ๑ เล่ม ตามที่ตั้งใจไว้ ).

    <center> แสดงจิตจากลำดับที่ ๑ ถึง ๘๙ </center> ( ต่อไปนี้จะแสดงจิต ๘๙ ชนิดโดยลำดับ จากที่ ๑ ถึง ๘๙ ความจริงโดยพิสดาร มีหลายร้อยหลายพัน และพึงทราบว่า จากลำดับที่ ๑ ถึง ๒๑ เป็นกุศลจิต ; จากลำดับที่ ๒๒ ถึง ๓๓ รวมเป็น ๑๒ เป็น อกุศลจิต ; จากลำดับที่ ๓๔ ถึง ๘๙ รวม ๕๖ เป็นอัพยากตจิต คือจิตที่เป็นกลาง ๆ อนึ่ง ในจิตที่เป็นกลาง ๕๖ นี้เป็นวิบาก จิต คือจิตที่เป็นผล ๓๖ เป็นกิริยาจิต คือจิตที่เป็นกิริยา ๒๐ ) ดังต่อไปนี้ :-

    <center> กุศลจิต ๒๑ </center> ๑. กามาวจร ( ท่องเที่ยวไปในกาม ) ๘
    ๑. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจ ) ประกอบด้วยญาณ ( ความรู้ ) เป็น อสังขาริก ( คือไม่ต้องมีสิ่งชักจูง จิตก็เกิดขึ้น ).
    ๒. จิตเหมือนข้อที่ ๑ แต่เป็นสสังขาริก ( คือต้องมีสิ่งชักจูง จิตจึงเกิดขึ้น ).
    ๓. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยโสมนัส แต่ ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๔. จิตเหมือนข้อที่ ๓ แต่เป็นสสังขาริก.
    ๕. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ คือไม่ดีใจไม่เสียใจ ) ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๖. จิตเหมือนข้อที่ ๕ แต่เป็นสสังขาริก.
    ๗. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยอุเบกขา แต่ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๘. จิตเหมือนข้อที่ ๗ แต่เป็นสสังขาริก.
    ๒. รูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในรูป ) ๕
    ๙. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๑ ประกอบด้วยวิตก ( ความตรึก ), วิจาร ( ความตรอง ), ปีติ ( ความ อิ่มใจ ), สุข, เอกัคคตา ( ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ).
    ๑๐. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๒ ประกอบด้วยวิจาร, ปีติ, สุข, เอกัคคตา.
    ๑๑. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๓ ประกอบด้วยปีติ, สุข, เอกัคคตา.
    ๑๒. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๔ ประกอบด้วยสุข, เอกัคคตา.
    ๑๓. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๕ ประกอบด้วยอุเบกขา (ความวางเฉย) กับเอกัคคตา.<sup></sup>
    ( หมายเหตุ : มีเรื่องแทรกที่ใคร่อธิบายไว้ในเรื่องจิตอันเป็นกุศลฝ่ายรูปาวจรไว้ ประกอบประกอบการพิจารณาของผู้ใคร่การศึกษา คือการนับจำนวนจิตในรูปาวจรกุศล ที่นับไว้เพียง ๕ ในที่นี้ เป็นการนับ อย่างรวบรัดตามแบบอถิธัมมัตถสังคหะ แต่ถ้าจะแจกตามบาลีอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้จริง ๆ ก็หลายร้อยหลายพัน ผู้ศึกษา อภิธรรมที่ไม่เคยนับตามอภิธัมมปิฎกเลย ก็อาจเข้าใจว่า รูปาวจรกุศลจิตมี ๕ เท่านั้น แท้จริงที่นับว่ามีขันธ์ ๕ นับตามฌาน ๕ และย่นย่อ ถ้านับอย่างพิสดารจะเป็นดังนี้ :-
    ๑. ท่านแสดงฌาน ๔ เรียกจตุกกนัย ( นัยที่มี ๔ )
    ๒. แล้วแสดงฌาน ๕ เรียกปัญจกนัย ( นัยที่มี ๕ )
    ๓. แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ( ดูปฏิปทา ๔ นัยแรกในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ) จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๑...หมายเลขที่ ๒.
    ๔. แล้วแสดงอารมณ์ ๔ ( ฌานเล็กน้อยมีอารมณ์น้อย, ฌานเล็กน้อยมีอารมณ์ไม่มีประมาณ, ฌานไม่มี ประมาณมีอารมณ์เล็กน้อย, ฌานไม่มีประมาณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ )<sup></sup>
    ๕. แล้วแสดงปฏิปทา ๔ กับอารมณ์ ๔ ผสมกัน เรียกว่าหมวด ๑๖ ( ๔×๔ = ๑๖ = โสฬสกะ )
    ๖. แล้วแสดงกสิณ ๘ ( ความจริงกสิณมี ๑๐ แต่ที่จะใช้เป็นอารมณ์ของรูปฌานได้ มีเพียง ๘ เว้นวิญญาณ กสิณและอากาสกสิณ )
    อรรถกถานับฌาน ๔ ฌาน ๕ เป็นหมวด ๙ ตั้งเกณฑ์เป็น ๑ ; คิดตามปฏิปทา ๔ตั้งเลข ๔ ; คิดตามอารมณ์ ๔ตั้งเลข ๔ ; คิดตามแบบผสมคือปฏิปทา ๔ กับอารมณ์ ๔ ตั้งเลข ๑๖ เมื่อนำเลขที่ตั้ง เป็นเกณฑ์ไว้มารวมกันจะได้ ๒๕, เลข ๒๕นี้ เมื่อนับตามฌาน ๔ จะได้ ๑๐๐ ( ๒๕×๔ = ๑๐๐ ), เมื่อนับตามฌาน ๕ จะได้ ๑๒๕ ( ๒๕×๕ = ๑๒๕ ) เพราะฉะนั้น เพียงนับธรรมดาทั้งฌาน ๔ และฌาน ๕ รวมกัน จะได้ฌานจิตถึง ๒๒๕ แต่ถือว่าฌาน ๔ รวมไว้ในฌาน ๕ จึงนับเพียง ๑๒๕ ก็ได้. คราวนี้เมื่อเอาอารมณ์ของฌานมาคูณ เช่น กสิณ ๘ ก็จะ ได้จิต ( ๑๒๕×๘ = ๑,๐๐๐ ) ดวง !
    แต่การแสดงอารมณ์ของฌานมิได้มีเพียงเท่านี้ ท่านยังแสดงอภิภายตนะ,<sup> </sup> วิโมกข์ ๓,<sup></sup> พรหมวิหาร ๔, อสุภะ ๑๐. เมื่อเอาตัวเลขต่าง ๆ มาคูณเกณฑ์ ๑๒๕ ทุกประเภท แล้วนำมารวมกันจะได้ตัวเลขเป็นพัน ๆ ทีเดียว ทั้งตัวเลขเหล่านี้ อรรถกถาอัตถสาลินี ซึ่งแก้พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ก็นับให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย. จึงบันทึกไว้ในที่นี้ เพื่อให้เทียบเคียงคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะกับอภิธัมมปิฎกแท้ ๆว่า มี ต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้างเหมือนกัน ).
    ๓. อรูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในอรูป ) ๔
    ๑๔. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๑ )
    ๑๕. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๒ )
    ๑๖. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๓ )
    ๑๗. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๔ ),<sup></sup>
    ๔. โลกุตตระ ( จิตพ้นจากโลก ) ๔
    ๑๘. จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยโสดาปัตติมรรค ๑๙ จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยสกทาคามิมรรค
    ๑๙. จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยอนาคามิมรรค ๒๑ จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยอรหัตตมรรค.
    ( หมายเหตุ : มีข้อที่น่าจะอธิบายแทรกไว้อีก คือเมื่อจบการแสดงอรูปาวจร- กุศลจิตแล้ว ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ได้ตั้งอธิบายกามาวจร, รูปาวจร และอรูปาวจรซ้ำอีก โดยตั้งเกณฑ์อิทธิบาท คือธรรม อันให้บรรลุความสำเร็จ ๔ ประการ คือฉันทะ ความพอใจ, วิริยะ ความเพียร, จิตตะ ความฝักไฝ่, วิมังสา การพิจารณาสอบ สวน แล้วแบ่งออกเป็น ๓ ขั้น คืออย่างเลว, อย่างกลาง, และอย่างประณีต ( ๔×๓ = ๑๒ ) นำมาประกอบกับกุศลจิตที่ เป็นกามาวจร, รูปาวจร และอรูปาวจร จนจบ. ครั้นถึงคราวแสดงกุศลจิตที่เป็นโลกุตตรธรรม ก็ตั้งเกณฑ์ฌาน ๔ และ ฌาน ๕ อันเป็นโลกุตตระ ( พ้นจากโลก ), แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ( ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้ช้า, ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้เร็ว, ปฏิบัติสะดวก ตรัสรู้ได้ช้า, ปฏิบัติสะดวก ตรัสรู้ได้เร็ว ), แล้วแสดงสุญญตะ ( ความว่างเปล่า ), แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ผสมกับ สุญญตะ, แล้วแสดงอัปปณิหิตะ ( ความไม่มีที่ตั้ง ) แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ผสมกับอัปปณิหิตะ, ครั้นแล้วตั้งเกณฑ์การเจริญธรรม ที่เป็นโลกุตตระอีก ๑๙ ข้อ)<sup>๑๐</sup> รวมเป็น ๒๐ ข้อทั้งโลกุตตรฌาน. เมื่อตั้งเกณฑ์ ๒๐ ข้อ ตั้งเกณฑ์แจกรายละเอียดข้อละ ๑๐ จึงเป็นโลกุตตรจิตที่เป็นกุศล ๒๐๐ ดวง หรือ ๒๐๐ นัย ( ดูอรรถกถา หน้าพระ สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ซึ่งมีแสดงไว้ว่า กายวูปกาเสน จิตฺตวูปกาเสน เป็นคำนาม เมื่อเทียบกับ คุณศัพท์ วูปกฏฺฐ )<sup>๑๑</sup> อนึ่ง การตั้งเกณฑ์ ๑๐ เพื่อนำมาคูณธรรมะ ๒๐ ข้อ คือ ๑. ปฏิปทา ๔ ล้วน ๆ ๒. สุญญตะล้วน ๆ ๓. สุญญตะกับปฏิปทาผสมกัน ๔. อัปปณิหิตะล้วน ๆ ๕. ปฏิปทา ๔ กับ อัปปณิหิตะผสมกัน รวม ๕ อย่าง คูณด้วยนัย ๒ คือฌาน ๔ นัยหนึ่ง ฌาน ๕ นัยหนึ่ง ๕×๒ = ๑๐ ดูอรรถกถาหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ หน้า ๒ เชิงอรรถหมายเลขที่ ๗ ต่อจากนั้นจึงแสดงมรรค ๔ ).


    <hr> '๑' . และหมายถึงรูปด้วย
    '๒' . แสดงจิตฝ่ายกุศล เพียงดวงแรกหรือชนิดแรกข้อเดียว ก็พ่วงเอาธรรมะอื่น ๆ มาถึง ๕๖ ข้อ
    '๓' . คำว่า กาย ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกาย หากหมายถึงกองหรือหมวดแห่งนามธรรม ๓ อย่าง คือ เวทนา, สัญญา, สังขาร หรือจะพูดแบบรวมก็คือ เจตสิก
    '๔' . เพิ่มขึ้นมากกว่าคำอธิบายตอนที่ ๒ เฉพาะคำว่า ธรรม แต่ก็อธิบายหมายความอย่างเดียวกันว่า ได้แก่ ขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    '๕' . โดยปกติรูปฌานมี ๔ แต่ถ้าจัดอย่างพิสดารมี ๕ มีหลักฐาน มีทางพระสุตตันตปิฎก โปรดดูหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ หน้า ๓ ) ที่ ๒๘. อุปักกิเลสสูตร...หมายเลขที่ ๕.และเชิงอรรถในหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ ) ด้วย เชิงอรรถข้อที่ ๕.
    '๖' . ฌานเล็กน้อย คือไม่สามารถเป็นปัจจัยแห่งฌานสูงขึ้นไป มีอารมณ์น้อย คือมีอารมณ์ที่เพ่งในขนาดจำกัด พึงทราบคำอธิบายนี้อีก ๓ ข้อโดยอนุโลม
    '๗' . อภิภายตนะมี ๘ ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ ) วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐..ตรงที่คำว่าหมายเหตุ ในที่นี้ อภิภายตนะ มิได้แสดงตัวเลขไว้ เพราะท่านนำมาแสดงเพียงบางข้อ
    '๘' . วิโมกข์มี ๘ แต่นำมากล่าวเพียง ๓ ข้อแรก ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) สรูปเกี่ยวกับวิโมกข์ ๘
    '๙' . ดูคำอธิบายศัพท์ ในอรูปฌาน ๔ นี้ ในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๒๐๐ ด้วย
    '๑๐' . คือมรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิบาท, อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะ, ธรรมะ, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ, อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิต อันเป็นโลกุตตระ
    '๑๑' . การนับจิตเฉพาะโลกุตตรกุศลถึง ๒๐๐ ดวงนี้ ย่อเหลือเพียง ๔ เท่านั้น





    [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> อกุศลจิต ๑๒ </center>
    <center>เกิดจากความโลภเป็นมูล ๘</center> ๒๒. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยทิฏฐิ ( ความเห็นผิด ), เป็นอสังขาริก ( ไม่มีสิ่ง ชักจูงก็เกิดขึ้น )
    ๒๓. จิตเหมือนข้อ ๒๒ แต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น )
    ๒๔. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก
    ๒๕. จิตเหมือนข้อ ๒๔ แต่เป็นสสังขาริก
    ๒๖. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ), ประกอบด้วยทิฏฐิ, เป็นอสังขาริก
    ๒๗. จิตเหมือนข้อ ๒๖ แต่เป็นสสังขาริก
    ๒๘. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก
    ๒๙. จิตเหมือนข้อ ๒๘ แต่เป็นสสังขาริก.

    <center>เกิดจากโทสะเป็นมูล ๒</center> ๓๐. จิตประกอบด้วยโทมนัส ( ความไม่สบายใจ ) ประกอบด้วยปฏิฆะ ( ความขัดใจ ), เป็นอสังขาริก ( ไม่ มีสิ่งชักจูงก็เกิดขึ้น )
    ๓๑. จิตเหมือนข้อ ๓๐ แต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น ).

    <center>เกิดจากโมหะเป็นมูล ๒</center> ๓๐. จิตประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ), ประกอบด้วยความสงสัย
    ๓๑. จิตประกอบด้วยอุเบกขา ประกอบด้วยอุทธัจจะ ( ความฟุ้งสร้าน ).

    <center> อัพยากตจิต ๕๖ </center>
    <center>( วิบากจิต ๓๖ กิริยา ๒๐ )</center>
    <center>วิบากจิต ๓๖</center> ๑. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายกามาวจร ๑๖
    ๓๔. จักขุวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางตา ) ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูปเป็นอารมณ์
    ๓๕. โสตวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางหู ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์
    ๓๖. ฆานวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางจมูก ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์
    ๓๗. ชิวหาวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางลิ้น ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์
    ๓๘. กายวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางกาย ) ประกอบด้วยสุข มีโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) เป็นอารมณ์
    ( หมายเหตุ : จากข้อ ๓๔ ถึงข้อ ๓๘ รวม ๕ ข้อนี้ เรียกว่าวิญญาณ ๕ อันเป็นวิบาก คือเป็นผล ของกุศล ).
    ๓๙. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, และโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์<sup> </sup>
    ๔๐. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจหรือสบายใจ ) มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, และธรรม ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) เป็นอารมณ์<sup></sup>
    ๔๑. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป จนถึงธรรมเป็นอารมณ์ ( มีอารมณ์ ครบ ๖ )
    ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๓๔ ถึง ๔๑ รวม ๘ ข้อนี้ เป็นวิบากจิตธรรมดา ส่วนอีก ๘ ข้อต่อไปนี้ เรียกว่ามหาวิบาก ).
    ๔๒. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยญาณ, เป็นสังขาริก ( ไม่มีสิ่งชักจูงก็เกิดขึ้น )
    ๔๓. เหมือนข้อ ๔๒ ต่างแต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น )
    ๔๔. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๔๕. เหมือนข้อ ๔๔ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๔๖. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยอุเบกขา, ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๔๗. เหมือนข้อ ๔๖ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๔๘. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๔๙. เหมือนข้อ ๔๘ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๒. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศล<sup></sup> ฝ่ายรูปาวจร ๕
    ๕๐. วิบากจิตในฌานที่ ๑ ๕๑. วิบากจิตในฌานที่ ๒
    ๕๒. วิบากจิตในฌานที่ ๓ ๕๓. วิบากจิตในฌานที่ ๔
    ๕๔. วิบากจิตในฌานที่ ๕
    ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๕๐ ถึง ๕๔ รวม ๕ ข้อนี้ เป็นการย่ออย่างรวบรัด ถ้าจะแจกอย่างพิสดาร ก็จะต้องแยกเป็นฌาน ๔ นัยหนึ่ง ฌาน ๕ อีกนัยหนึ่ง แล้วแจกไปตามกสิณ ตามอย่างที่หมายเหตุไว้ท้ายจิตข้อ ๑๓ ).
    ๓. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายอรูปาวจร ๔
    ๕๕. วิบากจิตที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา
    ๕๖. วิบากจิตที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา
    ๕๗. วิบากจิตที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
    ๕๘. วิบากจิตที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา<sup></sup>
    ๔. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายโลกุตตระ ๔
    ๕๙. โสดาปัตติผลจิต ๖๐. สกทาคามิผลจิต
    ๖๑. อนาคามิผลจิต ๖๒. อรหัตตผลจิต
    ( หมายเหตุ : วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระนี้ก็เช่นกัน ย่อแบบสั้นที่สุดจะได้เพียง ๔ แต่ถ้ากล่าวอย่าง พิสดารตามตัวหนังสือจะได้ประมาณ ๒๐๐ ตามแบบที่หมายเหตุไว้ในข้อที่ ๒๑ ).

    <center> วิบากจิตฝ่ายอกุศล </center> ๑. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของอกุศล ๗
    ๖๓. จักขุวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางตา ) ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูปเป็นอารมณ์
    ๖๔. โสตวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางหู ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์
    ๖๕. ฆานวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางจมูก ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์
    ๖๖. ชิวหาวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางลิ้น ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์
    ๖๗. กายวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางกาย ) ประกอบด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) เป็นอารมณ์
    ๖๘. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
    ๖๙. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, และ ธรรม ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) เป็นอารมณ์ ( คือมีอารมณ์ครบ ๖ )
    ( หมายเหตุ : วิบากจิตฝ่ายอกุศล ๗ ข้อ ตั้งแต่ข้อ ๖๓ ถึง ๖๙ นี้ พึงเทียบดูกับวิบากจิตฝ่ายกุศล ตั้งแต่ข้อ ๓๔ ถึงข้อ ๔๑ ดูด้วยว่า ในที่นี้ขาดไป ๑ ข้อ คือมโนวิญญาณธาตุ อันประกอบด้วยโสมนัส. นอกจากนั้นหนังสือ อภิธัมมัตถสังคะ เรียกชื่อจิตดวงที่ ๖๘ ว่า สัมปฏิจฉันนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา จิตดวงที่ ๖๙ว่า สันตีรณะ อันประกอบ ด้วยอุเบกขา ).

    <center> กิริยาจิต ๒๐ </center> ๑. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายกามาวจร ๑๑
    ๗๐. มโนธาตุที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์
    ๗๑. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส มีอารมณ์ครบ ๖
    ๗๒. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา มีอารมณ์ครบ ๖
    ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๗๐ ถึง ๗๒ นี้ อภิธัมมัตถสังคหะเรียกอเหตุกกิริยาจิต แต่เรียกชื่อต่างไป ตามลำดับดังนี้ ปัญจทวาราวัชชนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา มโนทวาราวัชชนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา และหสิตุปบาทจิต คือจิตคิดยิ้มแย้ม อันประกอบด้วยโสมนัส ).
    ๗๓. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก
    ๗๔. เหมือนข้อ ๗๓ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๗๕. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๗๖. เหมือนข้อ ๗๕ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๗๗. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา, ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๗๘. เหมือนข้อ ๗๗ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๗๙. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๘๐. เหมือนข้อ ๗๙ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๒. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายรูปาวจร ๕
    ๘๑. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๑ ๘๒. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๒
    ๘๓. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๓ ๘๔. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๔
    ๘๕. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๕
    ๓. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายอรูปาวจร ๔
    ๘๖. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา
    ๘๗. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา
    ๘๘. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
    ๘๙. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา.
    ( หมายเหตุ : เป็น อันสรูปว่า ลำดับจิตตามที่แสดงในอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ จัดลำดับโดยชาติ คือกุศล อกุศล และอัพยากฤต ( เฉพาะอัพยากฤต แยกเป็นวิบากจิต และ กิริยาจิต ) จึงมีลำดับไม่เหมือนกับหนังสืออภิธัมมัตถ- สังคหะ นอกจากนั้นในจิตที่เป็นรูปาวจร และโลกุตตระ ยังแสดงจิตพิสดารมากมาย จึงควรกำหนดง่าย ๆ ดังนี้ อย่างย่อธรรมดา จิตมี ๘๙ ชนิด อย่างพิสดารธรรมดา มี ๑๒๑ ชนิด อย่างพิสดารเต็มรูป มีนับจำนวนพัน ).

    <center> ๓. คำอธิบายเรื่องรูป ( รูปกัณฑ์ ) </center> คำอธิบายเรื่องรูป หรือรูปกัณฑ์นี้ เป็นส่วนที่ ๓ คือส่วนที่ ๑ เป็นมาติกา หรือบทตั้ง ส่วนที่ ๒ เป็นคำ อธิบายเรื่องจิตเกิด ( จิตตุปปาทกัณฑ์ ) ส่วนที่ ๓ จึงถึงลำดับที่จะอธิบายเรื่องรูป.
    ในการอธิบายคำว่า รูป นี้ ท่านตั้งคำถามขึ้นก่อนว่า ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ( อัพยากฤต ) เป็นไฉน แล้วแก้ว่า ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ( โดยใจความ ) ได้แก่ธรรม ๔ อย่าง คือ วิบาก, กิริยา, รูป, และอสังขตธาตุ ( นิพพาน ).<sup></sup>
    ( หมายเหตุ : คำว่า วิบาก, กิริยา โดยตรง ได้แก่จิตหรือวิญญาณขันธ์ที่เป็นผล และเป็นกิริยาโดย อ้อมย่อมหมายคลุมถึงเจตสิกหรือเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์ และสังขารขัน์ ซึ่งเกิดขึ้นผสมกับจิตที่เป็นวิบากหรือกิริยานั้นด้วย ).
    ครั้นแล้วได้ตั้งปัญหาเฉพาะคำว่า รูป ว่าได้แก่อะไร แล้วแก้ว่า ได้แก่มหาภูตรูป ( รูปใหญ่ คือธาตุทั้งสี่ ) และอุปาทายรูป ( รูปอาศัย คือจะปรากฏได้ก็ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่ )
    ครั้นแล้วได้แสดงบทตั้ง ( มาติกา ) เกี่ยวกับรูป ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๑ ต่อจากนั้น จึงอธิบายบท ตั้งนั้นทุกหมวด. ต่อไปนี้จะแสดงตัวอย่างรูปในหมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๑.


    <center> หมวดที่ ๑ ( เอกกะ ) </center> รูปทุกชนิด มิใช่เหตุ ( มิใช่เหตุฝ่ายดี เพราะมิใช่อโลภะ อโทสะ อโมหะ มิใช่เหตุฝ่ายชั่ว เพราะมิใช่ โลภะ โทสะ โมหะ ) ไม่มีเหตุ ( ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นมูล เหมือนอกุศล หรือ กุศล เพราะเป็นกลางๆ ) นอกจากนี้ยังแสดงคำอธิบายรูป ๔๒ บท รวมเป็น ๔๔ บท.


    <center> หมวดที่ ๒ ( ทุกะ ) </center> รูป ที่อาศัย มีอยู่ รูป ที่มิได้อาศัย มีอยู่ ( รูปที่อาศัย คืออุปาทารูป รูปที่มิได้อาศัย คือมหา ภูตรูป<sup></sup> ) นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๒ อย่างต่าง ๆ กันอีก ๑๐๓ คู่ รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๑๐๔ คู่.


    <center> หมวดที่ ๓ ( ติกะ ) </center> รูปใดเป็นไปในภายใน รูปนั้นเป็นอุปาทารูป, รูปใดเป็นไปในภายนอก รูปนั้นเป็นอุปาทารูป ( รูปอาศัย ) ก็มีเป็นโนอุปาทารูป ( มิใช่รูปอาศัย ) ก็มี. นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๓ อย่างต่าง ๆกันอีก ๓๐๒ หมวด ๒ รวมทั้ง สิ้นจึงเป็น ๓๐๓ หมวด ๓ ( คำว่า อุปาทารูป และอุปาทายรูป ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ความหมายอย่างเดียวกัน ).


    <center> หมวดที่ ๔ ( จตุกกะ ) </center> รูปใดเป็นรูปอาศัย รูปนั้นถูกยึดถือก็มี ไม่ถูกยึดถือก็มี, รูปใดไม่เป็นรูปอาศัย รูปนั้นถูกยึดถือก็มี ไม่ถูกยึดถือ ก็มี. นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๔ อย่างต่าง ๆ กันอีก ๒๒ หมวด ๔ รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๒๒ หมวด ๔.


    <center> หมวดที่ ๕ ( ปัญจกะ ) </center> ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, ธาตุลม, และรูปอาศัย ( รวมเป็น ๕ ).


    <center> หมวดที่ ๖ ( ฉักกะ ) </center> รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย, และด้วยใจ ( รวมเป็น ๖ ).


    <center> หมวดที่ ๗ ( สัตตกะ ) </center> รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย, ด้วยมโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) และด้วยมโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ( รวมเป็น ๗ ).


    <center> หมวดที่ ๘ (อัฏฐกะ ) </center> รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย มีสัมผัสเป็นสุขก็มี มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี, ด้วยมโนธาตุ, และด้วยมโนวิญญาณธาตุ ( รวมเป็น ๘ โดยแยกรูปที่พึงรู้ด้วยกายออกเป็น ๒ ).


    <center> หมวดที่ ๙ ( นวกะ ) </center> อินทรีย์ ( ธรรมชาติอันเป็นใหญ่ ) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, หญิง ( อิตถินทรีย์ ), ชาย ( บุริสินทรีย์ ), ชีวิต ( ชีวิตินทรีย์ ), และธรรมชาติ ซึ่งมิใช่อินทรีย์. ( รวมเป็น ๙ เฉพาะข้อหลังที่ปฏิเสธว่าธรรมชาติซึ่งมิใช่อินทรีย์นั้น หมายถึงรูป อื่น ๆ ที่นอกจากอินทรีย์ ).


    <center> หมวดที่ ๑๐ ( ทสกะ ) </center> อินทรีย์ คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, หญิง, ชาย, ชีวิต, และธรรมชาติ ซึ่งมิใช่อินทรีย์ อันถูกต้องได้ ( สัปปฏิฆะ ) ก็มี, อันถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ) ก็มี ( รวมเป็น ๑๐ โดยแยกข้อสุดท้ายออกเป็น ๒ ).


    <center> หมวดที่ ๑๑ ( เอกาทสกะ ) </center> อายตนะ ( ที่ต่อหรือบ่อเกิด ) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูก ต้องได้ด้วยกาย ) และรูปที่เห็นไม่ได้ ( อนิทัสสนะ ) และถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ) เป็นของเนื่องด้วย ธัมมายตนะ (รู้ได้ด้วยใจ ) ( รวมเป็น ๑๑ ).

    <center> ๔. นิกเขปกัณฑ์ ( คำอธิบายบทตั้งทุกข้อ ) </center>
    <center> ๕. อัตถุทธารกัณฑ์ </center>
    <center> ( คำอธิบายบทตั้งอย่างย่อ ) </center> หมวดใหญ่ทั้งสองได้นำมาตั้งไว้รวมกัน เพราะถือว่าเป็นคำอธิบายบทตั้งหรือมาติกา เป็นแต่แบบแรก ยาว กว่า แบบหลังสั้นกว่า ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างคำอธิบาย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ทั้งสองแบบพอให้เห็น ตัวอย่าง.

    <center> คำอธิบายกุศลธรรมในนิกเขปกัณฑ์ </center> รากเหง้าแห่งกุศล ๓ คือความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ อันประกอบด้วยความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนั้น, กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม ( การกระทำทางกาย, วาจา, ใจ ) อันมีความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากุศล ( พึงสังเกตว่า ในจิตตุปปาทกัณฑ์แสดง กุศลธรรมเพียงแค่จิตกับเจตสิก แต่ในที่นี้ อธิบายกว้างออกมาถึงการกระทำทางกาย วาจา ใจ ด้วย ).

    <center> คำอธิบายกุศลธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์ </center> กุศลในภูมิ ๔ ( กามาวจรภูมิ, รูปาวจรภูมิ, อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ ) ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากุศล

    <center> คำอธิบายอกุศลธรรมในนิกเขปกัณฑ์ </center> รากเหง้าแห่งกุศล ๓ คือความโลภ ความไม่โกรธ ความหลง, กิเลสที่มีเนื้อความอันเดียวกับความโลภ ความ โกรธ ความหลงนั้น, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ อันประกอบด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น, กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม อันมีความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล.

    <center> คำอธิบายอกุศลธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์ </center> ความเกิดขึ้นแห่งจิตอันเป็นอกุศล ๑๒ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล.

    <center> คำอธิบายอัพยากตธรรมในนิกเขปกัณฑ์ </center> วิบาก ( ผล ) ของธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลที่เป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ( อปริยาปันนะ), ที่เป็นเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ ธรรมที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่ผลของกรรม, รูปทั้งปวง, อสังขต- ธาตุ ( นิพพาน ). ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัพยากฤต ( เป็นกลาง ๆ ).

    <center> คำอธิบายอัพยากตธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์ </center> วิบากในภูมิทั้งสี่, กิริยาในภูมิทั้งสาม ( โลกุตตรภูมิไม่มีกิริยา ), รูป, นิพพาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากฤต.


    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ธัมมสังคณี </center> ( หมายเหตุ : ผู้เขียนมีความเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่สามารถแสดงคำอธิบายในบทตั้งในเล่มที่ ๓๔ ได้ หมดทุกข้อ แต่ก็ขอให้ท่านผู้อ่าน ซึ่งเคยผ่านหนังสือเรื่อง GUIDE THROUGH ABHIDHAMMAPITAKA (นำทางอภิธัมมปิฎก) ของพระนยายติโลกเถระ ชาวเยอรมันมาแล้ว โปรดเทียบเคียงดู จะเห็นได้ว่า ผู้เขียนย่อในที่นี้ พิสดารกว่ามาก ส่วนที่พระเถระ เยอรมันย่อนั้น บางตอนหนักไปในทางถอดข้อความในหนังสือ อภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งมิใช่พระอภิธัมมปิฎกมากกว่า ส่วนเล่มนี้ ถือแนวตามอภิธัมมปิฎก แต่เทียบให้เห็นบางส่วนของอภิธัมมัตถสังคหะ ความจำเป็นในการย่อแต่พอได้สาระสำคัญ และหน้า กระดาษจำกัด ทำให้ต้องจบข้อความในเล่มที่ ๓๔ ทั้งที่ยังมีข้อความบางตอนที่น่าสนใจอีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ท่านผู้อ่านก็ได้ ผ่านสาระสำคัญเกือบจะเรียกว่าสมบูรณ์ ).


    <hr> '๑' . มโนธาตุ มีอารมณ์เพียง ๕ คืออารมณ์ในใจ
    '๒' . มโนวิญญาณธาตุ มีอารมณ์ครบ ๖ พึงสังเกตทั้งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุไว้ในเรื่องจำนวน อารมณ์ด้วย
    '๓' . พึงสังเกตว่า วิบากจิตที่เป็นผลของอกุศลฝ่ายกามาวจร ยังไม่กล่าวถึงในที่นี้ ด้วยต้องการแสดงฝ่าย กุศลให้หมดก่อน แล้วจึงแสดงวิบากจิตที่เป็นผลของอกุศลภายหลัง
    '๔' . ความหมายของศัพท์ทั้งสี่ในอรูปาวจรนี้ มีกล่าวไว้แล้วในหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๒๐๐
    '๕' . คำว่าวิบาก และกิริยา ได้แสดงมาแล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์ ทั้งสองนี้ เป็นอัพยากตจิต จึงยังคงเหลืออีก ๒ อย่างที่ยังมิได้อธิบาย คือรูป กับนิพพาน ในที่นี้จะอธิบายเรื่องรูป เพราะฉะนั้น จึงควรทราบว่า รูป และนิพพาน ก็เป็น อัพยากฤตด้วย
    '๖' . อุปาทายรูป คือรูปที่จะปรากฏได้ ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่ เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ถ้าไม่มีธาตุ ทั้งสี่ ก็ไม่ปรากฏ ส่วนมหาภูตรูปไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เป็นของปรากฏได้ในตัวเอง
    [/FONT]
     
  11. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <center> เล่มที่ ๓๕ ชื่อวิภังค์ ( เป็นอภิธัมมปิฎก ) </center> พระไตรปิฎกเล่มนี้ ว่าด้วยการแจก ( วิภังค์ ) คือแยกจากกลุ่มธรรมะต่าง ๆ ให้เห็นรายละเอียด เช่น คำว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ จำแนกรายละเอียดออกไปอย่างไรบ้าง.
    การแยกกลุ่มหรืออธิบายแจกรายละเอียดของธรรมะต่าง ๆ ออกไปในเล่มที่ ๓๕ นี้ มี ๑๘ หมวด คือ
    ๑. ขันธวิภังค์ แจกขันธ์ ๕
    ๒. อายตนวิภังค์ แจกอายตนะ ๑๒
    ๓. ธาตุวิภังค์ แจกธาตุ ๖ และธาตุ ๑๘
    ๔. สัจจวิภังค์ แจกอริยสัจจ์ ๔
    ๕. อินทริยวิภังค์ แจกอินทรีย์ ๒๒
    ๖. ปัจจยาการวิภังค์ แจกปัจจยาการ ๑๒ ที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
    ๗. สติปัฏฐานวิภังค์ แจกสติปัฏฐาน ๔
    ๘. สัมมัปปธานวิภังค์ แจกสัมมัปปธาน ( เพียรชอบ ) ๔
    ๙. อิทธิปาทวิภังค์ แจกอิทธิบาท ๔
    ๑๐. โพชฌังควิภังค์ แจกโพชฌงค์ ๗
    ๑๑. มัคควิภังค์ แจกมรรคมีองค์ ๘
    ๑๒. ฌานวิภังค์ แจกฌาน ( การเพ่งอารมณ์ ) ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน
    ๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์ แจกอัปปมัญญา ๔ ( พรหมวิหาร ๔ ที่แผ่ไปโดยไม่ กำหนดประมาณ )
    ๑๔. สิกขาปทวิภังค์ แจกสิกขาบท ๕ คือศีล ๕
    ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์ แจกปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) ๔
    ๑๖. ญาณวิภังค์ แจกญาณ ( ความรู้ ) ตั้งแต่หมวด ๑ ถึงหมวด ๑๐
    ๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์ แจกเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๘ และทิฏฐิ ๖๒
    ๑๘. ธัมมหทยวิภังค์ แจกหัวใจหรือหัวข้อธรรม
    ในการแจกธรรมะทั้งสิบแปดหัวข้อเหล่านี้ โดยมากได้ตั้งเป็น ๓ ภาค คือเป็นหัวข้อฝ่ายพระสูตร ( สุตตันต- ภาชนียะ ), หัวข้อฝ่ายพระอภิธรรม ( อภิธัมมภาชนียะ ) และหมวดถามตอบปัญหา ( ปัญหาปุจฉกะ ) เป็นการแยกอธิบายให้เห็น ว่า ศัพท์ธรรมะนั้น ๆอธิบายตามแนวพระสูตรอย่างไร ตามแนวพระอภิธรรมอย่างไร มีพิเศษออกไป คือข้อ ๕ และข้อ ๑๔ ไม่มี หัวข้อฝ่ายพระสูตร และข้อ ๑๖, ๑๗, และ ๑๘ ไม่ตั้งเป็นหัวข้อฝ่ายพระสูตร ฝ่ายพระอภิธรรม หากตั้งตามหมวดที่ ๑ ที่ ๒ เป็นต้น.

    <center> ขยายความ </center>
    <center> ๑. ขันธวิภังค์ แจกขันธ์ ๕ </center>
    <center> ก. สุตตันตภาชนียะ แจกตามแนวพระสูตร </center> ขันธ์หรือกอง ๕ คือ กองรูป, กองเวทนา, กองสัญญา, กองสังขาร, กองวิญญาณ.
    ใน ๕ กองนั้น กองรูปเป็นไฉน ? รูปใด ๆที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน, ภายในหรือภายนอก, หยาบหรือ ละเอียด, เลวหรือประณีต, อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ รวบรวมย่นย่อรูปนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน นี้เรียกว่า รูป.
    ( ต่อจากนั้นเป็นการอธิบายรูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันว่า หมายความอย่างไร อธิบายหมด จนกระทั่งว่า รูปที่อยู่ไกลหรือใกล้ ความหมายว่าอย่างไร แล้วอธิบายเวทนา, สัญญา, สังขาร และวิญญาณ ในทำนองเดียวกับรูป จนจบหมด ทุกข้อ จัดว่าจบสุตตันตภาชนียะ ).

    <center> ข. อภิธัมมภาชนียะ แจกตามแนวอภิธรรม </center> ขันธ์หรือกอง ๕ คือ กองรูป, กองเวทนา, กองสัญญา, กองสังขาร, กองวิญญาณ.
    ใน ๕ กองนั้น กองรูปเป็นไฉน ? รูปที่มีอย่างเดียว ได้แก่รูปทั้งปวง มิใช่เหตุ, ไม่มีเหตุ เป็นต้น ( ทำนอง เดียวกับที่กล่าวไว้ในรูปกัณฑ์ในธัมมสังคณี เล่มที่ ๓๔ ที่ย่อมาแล้ว ) จนถึงหมวดที่ ๑๑ คือรูปแจกออกเป็น ๑๑ อย่าง มีอะไร บ้าง.
    ต่อจากนั้นอธิบายกองเวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์ ) ตั้งแต่อย่างเดียวไปจนถึง ๑๐ อย่าง แล้วอธิบาย ยักย้ายนัย ไปจนถึงเวทนา ๒๔ เวทนา ๓๐ และเวทนามากอย่าง.
    ต่อจากนั้นอธิบายกองสัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ), กองสังขาร ( เจตนาหรือความคิด ) และกองวิญญาณ ( ความรู้แจ้งอารมณ์ ) ในทำนองเดียวกับเวทนา.

    <center> ค. ปัญหาปุจฉกะ หมวดถามตอบปัญหา </center> การถามตอบปัญหาในเรื่องขันธ์ ๕ นี้ ตั้งตามแนวบทตั้งของธัมมสังคณี เล่มที่ ๓๔ กล่าวคือ ตั้งคำถามว่า ขันธ์ ๕ นั้น เป็นกุศลเท่าไร, เป็นอกุศลเท่าไร, เป็นอัพยากฤตเท่าไร ( ลงท้ายจนจบอภิธัมมมาติกา ) คือท้ายของปิฏฐิทุกะ (หมวด ๒ รั้งท้าย ) ว่าเป็นธรรมมีข้าศึกเท่าไร ไม่มีข้าศึกเท่าไร ( กติ สรณา, กติอสรณา ).
    ครั้นแล้วได้ตอบเป็นลำดับไปว่า " กองรูปเป็นอัพยากฤต, ส่วนกองทั้งสี่ ( นอกจากนั้น ) เป็นกุศลบ้าง, อกุศล บ้าง, อัพยากฤตบ้าง " นอกจากนั้นกล่าวถึงขันธ์หรือกอง ๒ ว่า ไม่ควรกล่าวว่าประกอบด้วยเวทนา ที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แต่ขันธ์หรือกอง ๓ ประกอบด้วยเวทนาที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.
    ตอนจบได้กล่าวว่า รูปขันธ์ ( กองรูป ) ไม่มีข้าศึก ส่วนขันธ์ ๔ ( ที่เหลือ ) มีข้าศึกบ้าง ไม่มีข้าศึกบ้าง.

    <center> ๒. อายตนวิภังค์ แจกอายตนะ ๑๒ </center>
    <center> ก. สุตตันตภาชนียะ แจกตามแนวพระสูตร </center> อายตนะ ( ที่ต่อหรือบ่อเกิด ) ๑๒ อย่าง คือ อายตนะคือตา, รูป, หู, เสียง, จมูก, กลิ่น, ลิ้น, รส, กาย, โผฏฐัพพะ, ใจ, ธรรมะ.
    แล้วยกชื่ออายตนะทั้งสิบสองข้อขึ้นกล่าวทีละข้อว่า ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, ไม่ใช่ตัวตน, มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา.

    <center> ข. อภิธัมมภาชนียะ แจกตามแนวพระอภิธรรม </center> อายตนะ ๑๒ อย่าง คือตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรมะ ( พึงสังเกต วิธีเรียงลำดับเทียบเคียงกับข้างบนดูด้วย ).
    ครั้นแล้วอธิบายตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย แต่ละข้อว่า เป็นประสาทอาศัยธาตุ ๔, ส่วนใจอธิบายตามแบบ วิญญาณขันธ์ในขันธ์ ๕ ที่กล่าวมาแล้ว และได้อธิบายรูปว่า ได้แก่สี่ที่อาศัยธาตุทั้งสี่, เสียง, กลิ่น, รส, ว่า อาศัยธาตุทั้งสี่. โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) ว่า ได้แก่ธาตุ ๓ คือ ธาตุดิน, ธาตุไฟ, ธาตุลม<sup></sup> ส่วนธรรมะ ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) ได้แก่เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้ ถูกต้องไม่ได้ อันนับเนื่อง ในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ ( ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่นิพพาน ).

    <center> ค. ปัญหาปุจฉกะ หมวดถามตอบปัญหา </center> เป็นการถามแบบเดียวกับขันธวิภังค์ คืออายตนะ ๑๒ มีกุศลกี่อย่าง อกุศลกี่อย่าง อัพยากฤตกี่อย่าง ฯลฯ มีข้าศึกกี่อย่าง ไม่มีข้าศึกกี่อย่าง.
    ตอบว่า อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากฤต คือเป็นกลาง ๆ, ส่วนอายตนะ ๒ ( อายตนะคือใจกับธรรมะ ) เป็นกุศล บ้าง อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง ฯลฯ อายตนะ ๑๐ ไม่มีข้าศึก, ส่วนอายตนะ ๒ ( อายตนะคือใจกับธรรมะ ) เป็นกุศลบ้าง อายตนะ ๒ ( อายตนะคือใจกับธรรมะ คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) มีข้าศึก.
    ( หมายเหตุ : แสดงว่า ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ รวม ๑๐ อย่างนี้เป็น กลาง ๆ และไม่มีข้าศึกเพราะเป็นรูป ส่วนใจกับธรรมะเป็นกุศลบ้าง, อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง และมีข้าศึกคือกิเลส ).

    <center> ๓. ธาตุวิภังค์ แจกธาตุ </center>
    <center> ก. สุตตันตภาชนียะ แจกตามแนวพระสูตร </center> ธาตุ ๖ คือธาตุดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาศ ( ช่องว่าง ) และวิญญาณ ( ธาตุรู้ ) แล้วอธิบายว่า ธาตุเหล่านี้หมาย ความถึงอะไร โดยเฉพาะธาตุรู้หรือวิญญาณธาตุ อธิบายว่า ได้แก่ธาตุรู้ทางตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ.
    แล้วได้กล่าวถึงธาตุ ๖ อื่นอีก คือ สุข, ทุกข์, โสมนัส, โทมนัส,<sup></sup> อุเบกขา, อวิชชา, และธาตุ ๖ อื่นอีก ได้แก่กาม, พยาบาท ( คิดปองร้าย ), วิสิงหา ( เบียดเบียน ), เนกขัมมะ ( ออกจากกาม ), อัพยาบาท ( ไม่คิดปองร้าย ), อวิสิงหา ( ไม่เบียดเบียน ) ในภาคอธิบายได้กล่าวถึงพยาบาทว่า ได้แก่ความคิดปองร้าย, ความโกรธ, ความยินร้ายแห่งจิต เป็นต้น วิสิงหา ได้แก่การเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ, ท่อนไม้, ศัตรา, เชือก, หรือสิ่งอื่น ๆ ส่วนอัพยาบาท ได้แก่การแผ่เมตตา, อวิหิงสา ได้แก่การแผ่กรุณา.

    <center> ข. อภิธัมมภาชนียะ แจกตามแนวอภิธรรม </center> ธาตุ ๑๘ คือ ตา, รูป, ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา, หู, เสียง, ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู, จมูก, กลิ่น ความรู้ แจ้งในอารมณ์ทางจมูก, ลิ้น, รส, ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น, กาย, สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย, ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย, ใจ, สิ่ง ที่รู้ได้ด้วยใจ, ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ ต่อจากนั้นเป็นคำอธิบาย.

    <center> ค. ปัญหาปุจฉกะ หมวดถามตอบปัญหา </center> ตั้งปัญหาแบบเดียวกับที่แล้ว ๆ มา ตอบว่า ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากฤต คือเป็นกลาง ๆ, ธาตุ ๒ เป็นกุศลบ้าง, อกุศลบ้าง, อัพยากฤตบ้าง ฯลฯ ธาตุ ๑๖ ไม่มีข้าศึก, ธาตุ ๒ มีข้าศึก.
    ( หมายเหตุ : ธาตุ ๒ ได้แก่ธัมมธาตุ กับมโนวิญญาณธาตุ นอกนั้นเป็นธาตุ ๑๖ ).

    <center> ๔. สัจจวิภังค์ แจกสัจจะ </center>
    <center> ก. สุตตันตภาชนียะ แจกตามแนวพระสูตร </center> อริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์, เหตุให้ทุกข์เกิด, ความดับทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์, แล้วอธิบายอริยสัจจ์ แต่ละข้อ.

    <center> ข. อภิธัมมภาชนียะ แจกตามแนวพระอภิธรรม </center> แจกอริยสัจจ์ ๔ แบบเดียวกัน แต่คำอธิบายต่างกันดังต่อไปนี้ :- ตัณหาเรียกว่าทุกขสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด, ทุกข์ คือกิเลสที่เหลือ ( นอกจากตัณหา ), อกุศลธรรมที่เหลือ ( นอกจากตัณหา ), กุศลมูล ๓ ที่ยังมีอาสวะ, กุศลธรรมที่เหลือ ที่ยังมีอาสวะ, วิบาก, กิริยา, รูปทั้งปวง นี้เรียกว่าทุกข์, การละตัณหาได้ เรียกว่าทุกขนิโรธ ความดับทุกข์, มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งมีในสมัยที่เจริญโลกุตตรฌาน เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นอกจากนี้ยังอธิบายยักย้ายนัย อื่นอีก.

    <center> ค. ปัญหาปุจฉกะ หมวดถามตอบปัญหา </center> คำถามทำนองเดียวกับที่แล้วมา ตอบว่า สมุทยสัจจ์ ( ความจริงคือเหตุให้ทุกข์เกิด ) เป็นอกุศล, มัคคสัจจ์ ( ความจริงคือหนทางหรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ) เป็นกุศล, นิโรธสัจจ์ ( ความจริงคือความดับทุกข์ ) เป็นอัพยากฤต ( เป็นกลาง ๆ ), ทุกขสัจจ์ ( ความจริงคือทุกข์ ) เป็นกุศลบ้าง, อกุศลบ้าง, อัพยากฤตบ้าง ฯลฯ สมุทยสัจจ์ มีข้าศึก, สัจจะ ๒ ( นิโรธกับมรรค ) ไม่มีข้าศึก, ทุกขสัจจ์ มีข้าศึกบ้าง ไม่มีข้าศึกบ้าง ( ส่วนที่เป็นีรูปไม่มีข้าศึก ส่วนที่เป็นนามมีข้าศึก ).

    <center> ๕. อินทริยวิภังค์ แจกอินทรีย์ </center>
    <center> ก. อภิธัมมภาชนียะ แจกตามแนวพระอภิธรรม,<sup> </sup> </center> อินทรีย์ ๒๒ ได้แก่อินทรีย์คือตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ, อินทรีย์คือหญิง, ชาย, ชีวิต, อินทรีย์คือสุข, ทุกข์, โสมนัส, โทมนัส, อุเบกขา, อินทรีย์คือความเชื่อ, ความเพียร, สติ, สมาธิ, ปัญญา, อินทรีย์คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผล ของผู้ปฏิบัติ, อินทรีย์คือการตรัสรู้สัจจธรรมด้วยมรรค, อินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมแล้ว.
    ( หมายเหตุ : ใน ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๓๑ ในพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ กล่าวว่า อนัญญตัญญัส- สามีตินทรีย์ ( อินทรีย์คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติ ) ได้แก่โสดาปัตติมรรค. อัญญินทรีย์ ( อินทรีย์คือการตรัสรู้ สัจจธรรมด้วยมรรค ) ได้แก่โสดาปัตติผล, สกทาคามิมรรค, สกทาคามิผล, อนาคามิมรรค, อรหัตตมรรค, รวม ๖ ฐานะ, อัญญาตาวินทรีย์ ( อินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมแล้ว ) ได้แก่อรหัตตผล.

    <center> ข. ปัญหาปุจฉกะ หมวดถามตอบปัญหา </center> คำถามคงเป็นแบบเดิม คำตอบว่า อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากฤต ( กลาง ๆ ) อินทรย์คือโทมนัส (ความทุกข์ใจ ) เป็นอกุศล, อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์<sup></sup> เป็นกุศล, อินทรีย์ ๔ เป็นกุศลบ้าง อัพยากฤต บ้าง, อินทรีย์ ๖ เป็นกุศลบ้าง, อกุศลบ้าง, อัพยากฤตบ้าง ฯลฯ อินทรีย์ ๑๕ ไม่มีข้าศึก, อินทรีย์คือโทมนัส ( ความทุกข์ใจ ) มีข้าศึก, อินทรีย์ ๖ มีข้าศึกบ้าง ไม่มีข้าศึกบ้าง.

    <center> ๖. ปัจจยาการวิภังค์ แจกปัจจยาการ </center>
    <center> ก. สุตตันตภาชนียะ แจกตามแนวพระสูตร </center> เพราะอวิชชา ( ความไม่รู้ ) เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ( เจตนา ), เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ, เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป, เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีอายตนะ ๖, เพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ, เพราะผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมีเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา, เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ, เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ, เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา, มรณะ, โสกะ, ปริเทวะ, ทุกข์, โทมนัส, อุปายาส<sup></sup> นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น. ต่อจากนั้นเป็นคำอธิบาย.

    <center> ข. อภิธัมมภาชนียะ แจกตามแนวอภิธรรม </center> ในบทตั้งตามแนวอภิธรรมนี้ แบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือตอนแรกเรียก ปัจจยจตุกกะ ( หมวด ๔ แห่งปัจจัย ), ตอนที่ ๒ เรียกเหตุจตุกกะ ( หมวด ๔ แห่งเหตุ ), ตอนที่ ๓ เรียกสัมปยุตตจตุกกะ ( หมวด ๔ แห่งธรรมที่ ประกอบกัน ) ตอนที่ ๔ เรียกอัญญมัญญจตุกกะ ( หมวด ๔ แห่งธรรมที่อิงอาศัยกันและกัน ) ตอนที่ ๕ เป็นบทตั้งเฉย ๆ เรียก ว่ามาติกา ).

    <center> หมวด ๔ แห่งปัจจัย </center> ๑. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเป็นสังขาร ( ใช้เอกพจน์ในที่อื่น ๆ ทั่วไปใช้พหูพจน์ แสดงว่าสังขารใน ปฏิจจสมุปบาทตามแนวอภิธรรมเป็นเอกพจน์ตลอด ), เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีนาม, เพราะนามเป็นปัจจัยจึงมีอายตนะที่ ๖ ( อายตนะคือใจ ), เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา, เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ, เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ, เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมี ชราและมรณะ นี่เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง.
    ๒. ในข้อนี้ตัดอายตนะที่ ๖ ออก นอกจากนั้นเหมือนข้อ ๑ จึงเป็น เพราะนามเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ.
    ๓. ในข้อนี้เปลี่ยนแปลงเพียงตอนที่ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป, เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมี อายตนะที่ ๖, เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ.
    ๔. ในข้อนี้เปลี่ยนแปลงเพียงตอนที่ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีอายตนะ ๖ ( พึงสังเกตว่า อายตนะที่ ๖ หมายถึงใจ ส่วนอายตนะ ๖ หมายครบทั้งตา, หู, จมูก, กาย, ใจ ) เพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ.

    <center> หมวด ๔ แห่งเหตุ </center> เรียงลำดับเหมือนหมวด ๔ แห่งปัจจัย เป็นแต่ว่าเมื่อกล่าวถึงว่า เพราะอะไรเป็นปัจจัย ก็กล่าวซ้ำลงไปอีกว่า มีสิ่งนั้นเป็นเหตุ.

    <center> หมวด ๓ แห่งสัมปยุตตธรรม ( ธรรมที่ประกอบกัน ) </center> เรียงลำดับเหมือนข้างต้น เป็นแต่ว่าเมื่อกล่าวถึงว่าเพราะอะไรเป็นปัจจัย ก็กล่าวซ้ำลงไปอีกว่า สัมปยุต หรือ ประกอบด้วยธรรมข้อนั้น.

    <center> หมวด ๔ แห่งธรรมที่อิงอาศัยกัน </center> เรียงลำดับเหมือนข้างต้น แต่นำธรรมที่เป็นเหตุผลของกันและกันมาเรียงอยู่ให้เห็นว่า เป็นเหตุให้เกิดกันและ กันได้ ดังนี้
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร, เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีอวิชชา, เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ
    ( ในข้อนี้ขอเสนอให้ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตไว้ด้วยว่า มักจะมีปัญหาเกิดขึ้นว่า เมื่ออวิชชาเป็นต้นเค้า ของสิ่งทั้งหลายแล้ว อะไรเล่าเป็นต้นเค้าของอวิชชาอีกต่อหนึ่ง คำตอบมีอยู่ในที่นี้ ที่ว่าสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาก็ได้ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารก็ได้ อนึ่ง ในสัมมาทิฏฐิสูตร พระไตรปิฎกฉบับบาลี เล่มที่ ๑๒ พระสาริบุตรแสดงว่า อาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ) เป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา ).

    <center> มาติกา </center> แสดงว่าธรรมะหลายข้อในปัจจยาการ หรือในปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นปัจจัยแห่งอวิชชาได้ทั้งสิ้นดังนี้ :-
    เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีอวิชชา ฯลฯ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีอวิชชา ฯลฯ
    เพราะนามเป็นปัจจัยจึงมีอวิชชา ฯลฯ
    เพราะอายตนะที่ ๖ ( ใจ) เป็นปัจจัยจึงมีอวิชชา ฯลฯ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีอวิชชา ฯลฯ
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอวิชชา ฯลฯ
    เพราะอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีอวิชชา ฯลฯ
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร, เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนาม รูป, เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีอายตนะ ๖ ฯลฯ
    ( ต่อจากนั้นเป็นการอธิบายปัจจยาการผสมกับจิตในภูมิต่าง ๆ จนจบ ความจริงเรื่องนี้ค่อนข้างจะยุ่งยาก แต่มี ประโยชน์สำหรับผู้รักการค้นคว้าจึงนำมากล่าวไว้พอให้เห็น ).

    <center> ๗. สติปัฏฐานวิภังค์ แจกสติปัฏฐาน </center> ความต่างกันของสติปัฏฐานตามแนวพระสูตรและแนวพระอภิธรรม มิใช่อยู่ที่จำนวน ๔ คงมี ๔ อย่างเหมือน กัน เป็นแต่สติปัฏฐานตามแนวพระสูตร หมายถึงการปฏิบัติข้างต้น เพื่อคุณธรรมสูงขึ้นไป มีวิธีพิจารณาอารมณ์ทั้งสี่ภายใน, ภาย นอก, ทั้งภายในภายนอก ส่วนสติปัฏฐานตามแนวพระอภิธรรม หมายถึงการ เจริญโลกุตตรฌาน ประกอบด้วยสติปัฏฐานแต่ละ ข้อเป็นแนวปฏิบัติ.<sup></sup>

    <center> ๘. สัมมัปปธานวิภังค์ แจกความเพียรชอบ </center> ทั้งบทตั้งฝ่ายพระสูตรและฝ่ายพระอภิธรรมตั้งเกณฑ์ความเพียรชอบ ๔ ด้วยกัน คือ ๑. เพียรระวังมิให้บาป เกิดขึ้น ๒. เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น ๔. เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ต่างแต่บทตั้งฝ่ายพระสูตร แสดงอย่างธรรมดา บทตั้งฝ่ายพระอภิธรรมแสดงการเจริญโลกุตตรฌาน ประกอบด้วย สัมมัปปธาน คือความเพียรชอบ.

    <center> ๙. อิทธิปาทวิภังค์ แจกอิทธิบาท </center> ทั้งบทตั้งฝ่ายพระสูตรและฝ่ายพระอภิธรรมตั้งเกณฑ์อิทธิบาท คือคุณให้บรรลุความสำเร็จ ๔ อย่างด้วยกัน ได้แก่ ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ ความเพียร ๓. จิตตะ เอาใจฝักไฝ่ ๔. วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาสอบ สวน แล้วแสดงความต่างกันเพียงฝ่ายพระอภิธรรมเจริญโลกุตตรฌาน ประกอบด้วยอิทธิบาท.

    <center> ๑๐. โพชฌังควิภังค์ แจกโพชฌงค์ </center> โพชฌงต์องค์แห่งการตรัสรู้ ๗ คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗. อุเบกขา ความวางเฉย ความต่างกัน ระหว่างบทตั้งฝ่ายพระสูตรกับพระอภิธรรมก็แบบเดียวกับข้ออื่น ๆ คือบทตั้งฝ่ายพระอภิธรรมแสดงการเจริญโลกุตตรฌาน ประ กอบด้วยโพชฌงค์ คือโพชฌงค์เกิดขึ้นในขณะเจริญโลกุตตรฌานนั้น.

    <center> ๑๑. มัคควิภังค์ แจกมรรค </center> มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มีองค์ ๘ มีความเห็นชอบ เป็นต้น มีความตั้งใจมั่นชอบ เป็นที่สุด ความต่างกันระหว่างบทตั้งฝ่ายพระสูตรกับพระอภิธรรม คือบทตั้งฝ่ายพระอภิธรรมแสดงมรรค ๘ นี้เกิดขึ้นในขณะเจริญโลกุตตร- ฌาน และบางตอนก็แสดงมรรคมีองค์ ๕ คือความเห็นชอบ, ความดำริชอบ, ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่น ชอบ ( ซึ่งเป็นส่วนประกอบของจิตบางชนิด ) แล้วแสดงว่ามรรค มีองค์ ๕ เกิดขึ้นในขณะเจริญโลกุตตรฌาน.

    <center> ๑๒. ฌานวิภังค์ แจกฌาน ( การเพ่งอารมณ์ ) </center> บทตั้งฝ่ายพระสูตรแสดงว่าภิกษุตั้งอยู่ในศีล เจริญโพธิปักขิยธรรม มีสติสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะ ( ที่อยู่ อาศัย ) อันสงบ นั่งคู้บัลลังก์ ( ขัดสมาธิ ) ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ชำระจิตจากนีวรณ์ ( กิเลสอันกั้นจิตมิให้บรรลุ ความดี ) ๕ ประการ เจริญรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ แล้วอธิบายรายละเอียด.
    บทตั้งฝ่ายพระอภิธรรมแสดงฌาน ๔ แต่เมื่อถึงฌานที่ ๔ ได้แสดงฌานที่ ๕ และอรูปฌานอยู่ในกรอบของ ฌานที่ ๔ ด้วย.

    <center> ๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์ แจกอัปปมัญญา </center> บทตั้งฝ่ายพระสูตรแสดงการเจริญพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา แผ่ไปในสัตว์หา ประมาณมิได้ ( อัปปมัญญา = ไม่มีประมาณ ).
    บทตั้งฝ่ายพระอภิธรรมแสดงการเจริญฌานมีพรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์.

    <center> ๑๔. สิกขาปทวิภังค์ แจกสิกขาบท </center> ในข้อนี้ไม่มีบทตั้งฝ่ายพระสูตร มีแต่บทตั้งฝ่ายพระอภิธรรม แจกสิกขาบท ๕ คือ เจตนาเว้นจากฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม, พูดปด, ดื่มสุราเมรัย พร้อมทั้งแสดงกุศลจิตที่เนื่องด้วยเจตนา งดความชั่วแต่ละข้อนั้น ๆ.

    <center> ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์ แจกปฏิสัมภิทา </center> บทตั้งฝ่ายพระสูตรและพระอภิธรรม แจกปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) ออกเป็น ๔ ประเภท คือ ความแตก ฉานในอรรถ, ความแตกฉานในธรรม, ความแตกฉานในนิรุตติ, ความแตกฉานในปฏิภาน<sup> </sup> คำอธิบายฝ่ายพระธรรม มีกล่าวถึงกุศลจิต ประกอบด้วยปฏิสัมภิทาเหล่านี้ ตั้งแต่อย่างต่ำจนถึงสูง.

    <center> ๑๖. ญาณวิภังค์ แจกญาณ ( ความรู้ ) </center> ในข้อนี้ไม่มีบทตั้งฝ่ายพระสูตร และฝ่ายพระอภิธรรมอย่างที่แล้วมา ตั้งแต่เป็น มาติกา แล้วมีคำ อธิบายเรียก นิทเทส โดยแสดงว่า เมื่อจัดเป็นประเภทตามหมวด คือหมวด ๑ หมวด ๒ ถึงหมวด ๑๐ แล้วญาณที่มี ๑ อย่าง ๒ อย่าง จนถึง ๑๐ อย่างตามจำนวนหมวดนั้นว่า มีอะไรบ้าง.
    ขอยกตัวอย่างหมวดที่ ๒ เช่น ญาณหรือปัญญา ๒ ได้แก่โลกิยปัญญา ( ความรู้แบบโลก ), โลกุตตรปัญญา ( ความรู้ข้ามพ้นโลก ), หมวด ๓ เช่น ปัญญาเกิดจากความคิด ( จินตามยาปัญญา ), ปัญญาเกิดจากการฟัง ( สตุมยาปัญญา ), ปัญญาเกิดจากการอบรม (ภาวนามยาปัญญา ).

    <center> ๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์ แจกเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ </center> มีวิธีการแบบข้อ ๑๖ คือ ตั้งแม่บทหรือมาติกา ถึงธรรมข้อเดียว ๒ ข้อ ๓ ข้อ เป็นต้น แล้วอธิบาย แม่บท เหล่านั้นทีละข้อไป.
    ขอยกตัวอย่าง เช่น หมวด ๑ ความเมา เช่น เมาชาติ เมาโครต เมายศ เป็นต้น หมวด ๒ เช่น ความโกรธคู่กับความผูกโกรธ, ความวิบัติแห่งศีลคู่กับความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นต้น หมวด ๓ เช่น อกุศลมูล ๓ คือ ความโลภ, ความโกรธ, ความหลง เป็นต้น ลงสุดท้ายด้วยทิฏฐิ ๖๒ ( ดังที่กล่าวไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ) พรหมชาลสูตร

    <center> ๑๘. ธัมมหทยวิภังค์ แจกหัวข้อธรรม </center> ลีลาในหมวดนี้เป็นแบบหมวดถามตอบปัญหา คือตั้งคำถามขึ้นก่อนว่า ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมี เท่าไร จนถึงจิตมีเท่าไร แล้วก็ตอบว่า ขันธ์มี ๕ เป็นต้น แล้วจึงแจกรายละเอียดออกไป ( ซึ่งได้นำไปแปลไว้อย่างละเอียดแล้ว เฉพาะต้อนต้นนี้ในหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๑๘๖ ถึง หมายเลข ๑๙๘ ) ครั้นแล้วได้นำธรรมที่เป็นบทตั้งนั้นมาแจกตามแนวอื่นอีก เช่น แนวแห่งธัมมสังคณีว่า ขันธ์ ๕ เป็นต้นนั้น อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรเป็นอัพยากฤต.


    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ วิภังค์ </center>

    <hr> '๑' . อภิธรรมถือว่าน้ำแท้เป็นของถูกต้องไม่ได้ ในอภิธัมมปิฎกจึงไม่จัดโผฏฐัพพะเข้าในอุปาทายรูป เพราะแม้ จะได้แก่ธาตุ ๓ ก็เป็นมหาภูตรูปอยู่แล้ว แต่อภิธัมมัตถสังคหะจัดเป็นอุปาทายรูปด้วย
    '๒' . ในกรณีเช่นนี้ สุข หมายถึงสุขกาย, ทุกข์ หมายถึงทุกข์กาย, โสมนัส หมายถึงสุขใจ, โทมนัส หมาย ถึงทุกข์ใจ
    '๓' . ไม่แจกตามแนวพระสูตร
    '๔' . ในหมายเหตุข้างบนและในหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๑๘๖-๑๙๘ ได้แปลศัพท์ เหล่านี้ไว้อย่างชัดเจนแล้ว พร้อมทั้งยกศัพท์ประกอบด้วย
    '๕' . คำแปลเหล่านี้มีแล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) อะไรเป็นปัจจัยแห่งอะไร
    '๖' . สติปัฏฐาน ๔ คือสติกำหนดพิจารณา กาย, เวทนา, จิต, ธรรม. ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ หน้า ๔ ( ถึงอานิสงส์สติปัฏฐาน ) ในข้อ ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร
    '๗' . ดูที่ย่อมาแล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ) ในข้อ ๓. ทรงแสดงว่า เมื่อมีกาย วาจา ใจ .
     
  12. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๓๖ ชื่อธาตุกถาและปุคคลบัญญัตติ </center>
    <center> ( เป็นอภิธัมมปิฎก ) </center>
    พระไตรปิฎกเล่มนี้ แบ่งหัวข้อใหญ่ออกเป็น ๒ ส่วน คือธาตุกถาและปุคคลปัญญัตติ ดังจะกล่าวต่อไป.
    การแยกกลุ่มหรืออธิบายแจกรายละเอียดของธรรมะต่าง ๆ ออกไปในเล่มที่ ๓๕ นี้ มี ๑๘ หมวด คือ
    ธาตุกถา ถ้อยคำว่าด้วยธาตุ เนื้อหาสำคัญของเรื่องนี้คือคำที่เป็นบทในภิวังค์ ๑๓ หัวข้อ ตั้งแต่ขันธ์จนถึงอัปปมัญญาตามลำดับ กับหัวข้อธรรมในธัมมสังคณี จะนำมาสงเคราะห์เข้ากันได้หรือไม่ได้กับธรรม ๓ ประการ คือ ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ, ด้วยเหตุนี้พระนยานติโลกะพระเถระชาวเยอรมัน ผู้เรียบเรียงเรื่องนำทาง อภิธัมมปิฎก ( Guide Through the Abhidhamma-Pitaka ) จึงสันนิษฐานว่าชื่อเดิมของเรื่องนี้น่าจะเป็น ขันธ-อายตนะ-ธาตุกถา เพราะนำเอา ธรรมต่าง ๆ มาสงเคราะห์หรือไม่สงเคราะห์กับธรรม ๓ อย่างนี้เท่านั้น แต่เรียกย่อยเป็นธาตุกถา แต่ข้าพเจ้าผู้จัดทำหนังสือนี้มี ความเห็นไปอีกอย่างหนึ่ง คือที่เรียกว่าธาตุกถานั้น พิจารณาดูเนื้อหาแล้ว ถ้าจะเทียบกับความรู้สมัยเก่า ตือ การเล่นแร่ แปลธาตุฉลาดรู้ว่านำสิ่งนี้ไปผสมกับสิ่งนั้นจะเป็นอะไร อะไรผสมกับอะไรไม่ได้ ถ้าจะเทียบกับความรู้สมัยใหม่ ก็คือความรู้ทั้ง ทางฟิสิคส์และเคมี คือรู้คุณสมบัติของสารว่าอะไรเป็นอะไร เข้ากันไม่ได้ ในทางฟิสิคส์ และเคมีอย่างไร เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย ยุ่งยากสำหรับผู้ไม่สนใจ แต่วิชาก็ต้องเป็นวิชา เพราะฉะนั้น จึงมีผู้เรียนรู้และหาประโยชน์ได้ เมื่อวิธีการเป็นเช่นนี้ จึงตั้งชื่อรวม ว่า ธาตุกถา ถ้อยคำว่าด้วยธาตุ ( รู้จักแยกธาตุ ผสมธาตุ ).
    ปุคคลปัญญัตติ บัญญัติบุคคลเป็นการกล่าวถึงการบัญญัติ (ทำให้รู้ทั่ว ๆ กัน ) ว่า บุคคลประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร.
    ในการย่อความขยายความต่อไปนี้ จะนำมากล่าวพอให้เห็นเค้าโครงหน้าตาของแต่ละเรื่อง ส่วนรายละเอียด ปลีกย่อยจะผ่านไป.

    <center> ขยายความ </center>
    <center> ธาตุกถา </center>
    ธาตุกถาแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือเป็น มาติกาหรือบทตั้ง ส่วนหนึ่ง, เป็น นิทเทสหรือคำอธิบายบทตั้ง อีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากบทตั้งพูดไว้รวม ๆ ในบทอธิบาย จึงพยายามจัดหัวข้อของบทตั้ง เพื่อสะดวกในการอธิบายไว้ ๑๔ บทดังต่อไปนี้
    ๑. บทว่าด้วยการสงเคราะห์เข้ากันได้ กับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ( สังคหาสังคหาบท )
    ๒. บทว่าด้วยธรรมที่เข้ากับอย่างหนึ่งได้แล้ว แต่เข้ากับอย่างอื่นไม่ได้( สังคหิเตน อสังคหิตบท )
    ๓. บทว่าด้วยธรรมที่เข้ากับอย่างหนึ่งไม่ได้ แต่เข้ากับอย่างอื่นได้( อสังคหิเตน สังคหิตบท )
    ๔. บทว่าด้วยธรรมที่เข้ากับอย่างหนึ่งได้แล้ว ยังเข้ากับอย่างอื่นได้ด้วย( สังคหิเตน สังคหิตบท )
    ๕. บทว่าด้วยธรรมที่เข้ากับอย่างหนึ่งไม่ได้ ทั้งยังเข้ากับอย่างอื่นไม่ได้ด้วย( อสังคหิเตน อสังคหิตบท )
    ๖. บทว่าด้วยการประกอบกันได้ กับประกอบกันไม่ได้( สัมปโยควิปปโยคบท ) <sup></sup>
    ๗. บทว่าด้วยธรรมที่ประกอบกับอย่างหนึ่งได้แล้ว แต่ประกอบกับอย่างอื่นไม่ได้ ( สัมปยุตเตน อสัมปยุตตบท)
    ๘. บทว่าด้วยธรรมที่ประกอบกับอย่างหนึ่งไม่ได้ แต่ประกอบกับอย่างอื่นได้ ( อสัมปยุตเตน สัมปยุตตบท)
    ๙. บทว่าด้วยธรรมที่ประกอบกับอย่างหนึ่งได้แล้ว ยังประกอบกับอย่างอื่นได้ด้วย ( สัมปยุตเตน อสัมปยุตตบท)
    ๑๐. บทว่าด้วยธรรมที่ประกอบกับอย่างหนึ่งไม่ได้ ทั้งยังประกอบกับอย่างอื่นไม่ได้ด้วย (อสัมปยุตเตน อสัมปยุตตบท)
    ๑๑. บทว่าด้วยธรรมที่ เข้ากันได้ กับอย่างหนึ่งแล้ว ประกอบกันได้หรือ ประกอบกันไม่ได้ กับอะไร( สังคหิเตน- สัมปยุตตวิปปยุตตบท )
    ๑๒. บทว่าด้วยธรรมที่ ประกอบกันได้ กับอย่างหนึ่งแล้ว เข้ากันได้หรือ เข้ากันไม่ได้ กับอะไร( สัมปยุตเตน สังค-หิตาสังคหิตบท )
    ๑๓. บทว่าด้วยธรรมที่ เข้ากันไม่ได้ กับอย่างหนึ่งแล้ว ประกอบกันได้หรือ ประกอบกันไม่ได้ กับอะไร( อสังคหิเตน สัมปยุตตวิปปยุตตบท )
    ๑๔. บทว่าด้วยธรรมที่ ประกอบกันไม่ได้ กับอย่างหนึ่งแล้ว เข้ากันได้หรือ เข้ากันไม่ได้ กับอะไร( อสัมปยุตเตน สังคหิตาสังคหิตบท )
    จากบทตั้ง ๑๔ ข้อเหล่านี้ ถ้าท่านผู้อ่านพยายามเข้าใจความหมายของคำว่า เข้ากันได้ ( คือเป็นประเภทเดียวกัน ) ประกอบกันได้( คือเกิดดับพร้อมกัน ) ให้ดีแล้ว ก็จะเห็นว่าเป็นการวิเคราะห์อย่าง ละเอียดลออเพียงไร ต่อไปนี้จะแสดงตัวอย่างประกอบเพียง ๖ ข้อเป็นลำดับไป.

    <center> ตัวอย่างข้อที่ ๑ </center>
    <center> ( การเข้ากันได้กับการเข้ากันไม่ได้ ) </center> กองรูป ( รูปขันธ์ ) เข้ากันได้ กับขันธ์หนึ่ง ( คือรูปขันธ์ ), เข้ากันได้ กับอายตนะ ๑๑ ( เว้นอายตนะคือใจ ),<sup></sup> เข้ากันได้ กับธาตุ ๑๑ ( เว้นมโนธาตุ กับวิญญาณธาตุทั้งหก ) ; เข้ากันไม่ได้ กับขันธ์ ๔ ( เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ, ซึ่งเป็นนาม ) เข้ากันไม่ได้ กับอายตนะ ๑ ( อายตนะคือใจ ) เข้ากันไม่ได้กับธาตุ ๗ ( มโนธาตุกับวิญญาณธาตุทั้งหก ).

    <center> ตัวอย่างข้อที่ ๒ </center>
    <center> ( เข้ากับอย่างหนึ่งได้ แต่เข้ากับอย่างอื่นไม่ได้ ) </center> ธรรมที่เข้ากันได้กับอายตนะ คือ ตา, รูป ; หู, เสียง ; จมูก, กลิ่น ; ลิ้น, รส ; กาย, สิ่งที่ถูก ต้องได้ด้วยกาย ( โผฏฐัพพะ ). ธรรมที่เข้ากันได้กับธาตุ คือ ตา, รูป ; หู, เสียง ; จมูก, กลิ่น ; ลิ้น, รส ; กาย. โผฏฐัพพะ โดย การสงเคราะห์เข้ากันได้โดยขันธ์ สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ โดยอายตนะและโดยธาตุ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับขันธ์ ๔ ( เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ). เข้ากันไม่ได้กับอายตนะ ๒ ( อายตนะคือใจ, อายตนะคือธรรม ) เข้ากันไม่ได้กับธาตุ ๘ ( วิญญาณธาตุ ๖, มโนธาตุ, ธัมมธาตุ ).<sup></sup>

    <center> ตัวอย่างข้อที่ ๓ </center>
    <center> เข้ากันไม่ได้กับสิ่งหนึ่ง แต่เข้ากันได้กับสิ่งอื่น ๆ </center> ธรรมที่เข้ากันไม่ได้กับเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ ; ธรรมที่เข้ากันไม่ได้กับ สมุทยสัจจ์, มัคคสัจจ์ โดยขันธสงเคราะห์ ( โดยการจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์ ) แต่เข้ากันได้ โดยอายตนสงเคราะห์ และ โดยธาตุสงเคราะห์ ( โดยการจัดประเภทเข้ากันทางอายตนะและทางธาตุ ). ธรรมเหล่านั้นเว้นอสังขตะ ( พระนิพพาน ) ซึ่งเข้ากัน ไม่ได้โดยขันธ์ ย่อมเข้ากันไม่ได้กับขันธ์ ๓ <sup></sup> เข้ากันได้กับอายตนะ ๑ ( ธัมมายตนะ ), เข้ากันได้กับธาตุ ๑ ( ธัมมธาตุ ).

    <center> ตัวอย่างข้อที่ ๔ </center>
    <center> ( เข้ากันได้กับสิ่งหนึ่ง ทั้งเข้ากันได้กับสิ่งอื่นด้วย ) </center> ก. ธรรมเหล่าใด เข้ากันได้กับสมุทยสัจจ์ เข้ากันได้กับมัคคสัจจ์ โดยขันธสงเคราะห์ โดย อายตนสงเคราะห์ โดยธาตุสงเคราะห์ ( โดยการจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์, อายตนะ, ธาตุ ).
    ข. ธรรมเหล่าใด เข้ากันได้กับธรรมเหล่านั้น ( ที่กล่าวในข้อ ก. ) โดยจัดประเภทเข้ากับทาง ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ.
    ค. ธรรมเหล่านั้น ( ทั้งข้อ ก. และข้อ ข. ) เข้ากันได้กับขันธ์ ๑, อายตนะ ๑, ธาตุ ๑.
    (หมายเหตุ : อรรถกถาอธิบายว่า เป็นการยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เข้ากันได้ทั้งใน ฐานะเป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นธาตุ เพราะฉะนั้น จึงพึงเข้าใจว่าในข้อ ก. ธรรมที่เข้ากันได้กับสมุทยสัจจ์ กับธรรมที่เข้ากันได้ กับมรรคสัจจ์ เป็นต่างฝ่ายกัน )

    <center> ตัวอย่างข้อที่ ๕ </center>
    <center> ( เข้ากันไม่ได้กับสิ่งหนึ่ง เข้ากันไม่ได้กับสิ่งอื่นด้วย ) </center> ก. ธรรมเหล่าใด เข้ากันไม่ได้กับรูปขันธ์ โดยการจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์, ทางอายตนะ, ทางธาตุ.
    ข. ธรรมเหล่าใด เข้ากันไม่ได้กับธรรมเหล่านั้น ( ในข้อ ก. ) โดยจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์, ทางอายตนะ, ทางธาตุ.
    ค. ธรรมเหล่านั้น เข้ากันไม่ได้กับขันธ์ ๑, เข้ากันไม่ได้อายตนะ ๑, เข้ากันไม่ได้กับธาตุ ๗.
    (หมายเหตุ : อรรถกถาอธิบายข้อความข้างบนนี้เป็น ๒ นัย ได้ผลคือคำตอบตรงกัน กล่าวคือนัยที่ ๑ ขันธ์ ๔ ( เว้นรูปขันธ์ ) และนิพพาน เข้ากันไม่ได้กับรูปขันธ์ โดยการจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์ แต่ ธรรมเหล่านั้น เว้นวิญญาณ เข้ากันได้ ( กับรูป ) โดยการจัดประเภทเข้ากันทางอายตนะและธาตุ เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงเข้า กันไม่ได้ ( กับรูป ) โดยการจัดประเภททั้งทางขันธ์อายตนะและธาตุ. ขันธ์ ๔ ( เว้นวิญญาณ ) และนิพพาน เข้าไม่ได้กับ วิญญาณ โดยการจัดประเภททางขันธ์ เป็นต้น อนึ่ง ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เข้ากันไม่ได้กับวิญญาณอย่างเดียว โดยการจัด ประเภททางขันธ์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเข้ากันไม่ได้กับขันธ์ ๑ ( คือวิญญาณขันธ์ ), เข้ากันไม่ได้กับอายตนะ ๑ ( คือ มนายตนะ ) เข้ากันไม่ได้กับธาตุ ๗ ( คือวิญญาณธาตุ ๖ มโนธาตุ ๑ ). นัยที่ ๒ วิญญาณเข้ากันไม่ได้กับรูปขันธ์ โดย การสงเคราะห์ทั้งสามประเภท, รูปธรรมจึงเข้ากันไม่ได้กับวิญญาณธรรม โดยการสงเคราะห์ทั้งสามประเภท. วิญญาณเป็นขันธ์ เดียว คือวิญญาณขันธ์เป็นอายตนะเดียว คือมนายตนะ กล่าวโดยธาตุ เป็นวิญญาณธาตุ<sup> </sup>๗ ).

    <center> ตัวอย่างข้อที่ ๖ </center>
    <center> ( การประกอบกัน และการไม่ประกอบกัน ) </center> รูปขันธ์ ที่ประกอบกับขันธ์, อายตนะ, ธาตุใด ๆ ไม่มี ( ไม่เกิดกันกับพร้อมกับอะไร ), ไม่ ประกอบกับขันธ์ ๔ ( เว้นรูปขันธ์ ), ไม่ประกอบกับอายตนะ ๑ ( คือมนายตนะ ), ไม่ประกอบกับธาตุ ๗ ( วิญญาณธาตุ ๖ มโนธาตุ ๑ หรือจะเรียกว่าวิญญาณธาตุทั้งเจ็ดก็ได้ ), ไม่ประกอบกับธรรมใด ๆ ที่เนื่องด้วยอยาตนะ ๑ เนื่องด้วยธาตุ ๑ (คือไม่ ประกอบด้วยเวทนา, สัญญา, สังขาร, ที่เนื่องด้วยธัมมายตนะและธัมมธาตุ ),
    ได้แสดงให้เห็นตัวอย่างในธาตุกถามาพอสมควรแล้ว อีก ๘ ข้อ ที่เหลือพึงทราบโดยพิจารณา จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว.

    <center> ปุคคลบัญญัติ </center>
    การบัญญัติบุคคลอันเป็นหัวข้อใหญ่ที่ ๒ ในเล่มที่ ๓๖ นี้ เริ่มบทต้นแสดง การบัญญัติ ๖ ประเภทคือ :-
    ๑. บัญญัติขันธ์ คือขันธ์ ๕ มีรูป เป็นต้น
    ๒. บัญญัติอายตนะ คืออายตนะ ๑๒ มีอายตนะคือตา เป็นต้น
    ๓. บัญญัติธาตุ คือธาตุ ๑๘ มีธาตุคือตา เป็นต้น
    ๔. บัญญัติสัจจะ คืออริยสัจจ์ ๔ มีสัจจะคือทุกข์ เป็นต้น
    ๕. บัญญัติอินทรีย์ คืออินทรีย์ ๒๒ มีอินทรีย์คือตา เป็นต้น
    ๖. บัญญัติบุตตล แจกเป็นประเภทที่มีจำนวน ๑ ประเภทที่มีจำนวน ๒ จนถึง ประเภทที่มีจำนวน ๑๐
    ความสำคัญของเรื่องอยู่ที่คำอธิบายบุคคลทุกประเภทโดยคุณธรรม ต่อไปนี้จะแสดงพอเป็น ตัวอย่าง ประเภทที่มีจำนวน ๑ ถึงจำนวน ๑๐ พอให้เป็นทั้งบทตั้งและคำอธิบาย.

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๑ </center>
    เช่น สมยวิมุตโต ผู้พ้นโดยสมัย คือพ้นจากกิเลสได้เป็นครั้งคราว คำอธิบายกล่าวว่า ได้แก่ผู้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย เห็นธรรมด้วยปัญญา อาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ) บางส่วนสิ้นไปเป็นครั้งคราว.
    อสมยวิมุตโต ผู้พ้นไม่มีสมัย คือพ้นจากกิเลสมิใช่เป็นคราว ๆ คำอธิบายกล่าวว่า ได้แก่ผู้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย เห็นธรรมด้วยปัญญา อาสวะสิ้นไป มิใช่เป็นครั้งคราว. พระอริยบุคคลทุกประเภท ชื่อว่า ผู้พ้นโดยไม่มีสมัยในวิโมกข์อันเป็นอริยะ ( วิโมกข์ ๘ มีอะไรบ้าง โปรดดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ ชื่อทีฆนิกายมหาวัคค์ ) วิโมกข์ ( ความหลุดพ้น ) ๘).
    ปุถุชชโน ผู้ที่ยังหนาไปด้วยกิเลส คำอธิบายกล่าวว่า ยังละสัญโญชน์ ๓ ไม่ได้ ทั้ง ไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้น ( สัญโญชน์ ) ด้วย.
    โคตรภู ผู้ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระอริยะกับบุถุชน คำอธิบายกล่าวว่า ความก้าวลง แห่งอริยธรรม ย่อมมีในลำดับแห่ง ( คือถัดจาก ) ธรรมเหล่าใด ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น ( ประกอบด้วยธรรมที่พอถัดไปก็เป็น อริยธรรม ).
    ภยูปรโต ผู้งดเว้นความชั่วเพราะกลัว ได้แก่พระเสขะ ๗ ประเภท (ผู้ตั้งอยู่ในโสดา- ปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค ) กับบุถุชนผู้มีศีล.
    อภยูปรโต ผู้งดเว้นความชั่วมิใช่เพราะกลัว ได้แก่พระอรหันต์.
    สมสีสี ผู้มีศีร์ษะ คือสุดยอดเสมอกัน คือความสิ้นอาสวะ และความสิ้นชีวิตมีพร้อม กัน ( สิ้นชีวิตพร้อมทั้งสิ้นกิเลส ) ฯ ล ฯ.

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๒ </center>
    เช่น๑. โกธโน ผู้โกรธ, ๒. อุปนาหี ผู้ผูกโกรธ ; ๑. ทุพพโจ ผู้ว่ายาก, ๒. ปาปมิตโต ผู้คบคนชั่วเป็นมิตร ; ๑. ติตโต ผู้อิ่มเอง, ๒. ตัปเปตา ผู้ทำผู้อื่นให้อิ่ม ฯ ล ฯ.

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๓ </center>
    เช่น๑. นิราโส ผู้ไม่มีความหวัง, ๒. อาสังโส ผู้หวัง ๓. วิคตาโส ผู้ปราศจากความหวัง ( อยู่เหนือความหวัง เอาชนะความหวังได้ ) ; ๑. ผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล, ๒. ผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ, ๓. ผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ฯ ล ฯ.

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๔ </center>
    เช่น๑. สาวัชโช ผู้มีโทษ, ๒. วัชชพหุโล ผู้มากไปด้วยโทษ, ๓. อปัปสาวัชโช ผู้มีโทษน้อย, ๔. อนวัชโช ผู้ไม่มีโทษ ฯ ล ฯ.

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๕ </center>
    เช่น ๑. ผู้ให้แล้วดูหมิ่น, ๒. ผู้ดูหมิ่นเพราะอยู่ร่วมกัน, ๓. ผู้มีหน้าถือเอา ( หูเบา เชื่อง่าย ), ๔. ผู้โลเล, ๕. ผู้โง่เขลา ฯ ล ฯ.

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๖ </center>
    ๑. มีบุคคลบางคนตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน, บรรลุความเป็น สัพพัญญู (ผู้รู้สิ่งทั้งปวง)ในธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้น และบรรลุความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมอันเป็นกำลัง(ได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ).
    ๒. มีบุคคลบางคนตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน, ไม่บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้น และไม่บรรลุความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมอันเป็นกำลัง ( ได้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ).
    ๓. มีบุคคลบางคนไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน, เป็นผู้ทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ในปัจจุบัน และบรรลุบารมีที่ให้เป็นพระสาวก ( ได้แก่พระสาริบุตรและพระโมคคัลลานะผู้เป็นอัครสาวก ).
    ๔. มีบุคคลบางคนไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน, เป็นผู้ทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ในปัจจุบัน และไม่บรรลุบารมีที่ให้เป็นพระสาวก ( ได้แก่พระอรหันต์ทั่ว ๆ ไป ).
    ๕. มีบุคคลบางคนไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน, ไม่ทำที่สุดแห่ง ทุกข์ในปัจจุบัน เป็นพระอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นเช่นนี้.
    ๖. มีบุคคลบางคนไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน, ไม่ทำที่สุดแห่ง ทุกข์ในปัจจุบัน เป็นพระโสดาบัน หรือพระสกทาคามี มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๗ </center>
    ได้แก่บุคคลเปรียบด้วยน้ำ ๗ ประเภท เช่น จมลงไปคราวเดียวก็จมหายไปเลย เป็นต้น ซึ่ง ได้ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ ชื่ออังคุตตรนิกาย ) ในข้อ สัตตกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๗ ข้อ ).

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๘ </center>
    บุคคล ๘ ได้แก่บุคคลที่สมบูรณ์ด้วยมรรค ๔ ประเภท บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยผล ๔ ประเภท.

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๙ </center>
    ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ( ผู้ตรัสรู้ได้เองและตั้งศาสนา )
    ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ( ผู้ตรัสรู้ได้เอง แต่มิได้ตั้งศาสนา )
    ๓. อุภโตภาควิมุต ( ผู้พ้นโดยส่วนทั้งสอง คือทั้งด้วยสมาธิและด้วยปัญญา )
    ๔. ปัญญาวิมุต ( ผู้พ้นด้วยปัญญา )
    ๕. กายสักขี ( ผู้เห็นธรรมด้วยนามกาย สิ้นอาสวะบางส่วน )
    ๖. ทิฏฐิปัตตะ ( ผู้เห็นสัจจธรรมด้วยปัญญา สิ้นอาสวะบางส่วน )
    ๗. สัทธาวิมุต ( ผู้พ้นด้วยศรัทธา สิ้นอาสวะบางส่วน )
    ๘. ธัมมานุสารี ( ผู้แล่นไปตามธรรม คือปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีปัญญาออกหน้า )
    ๙. สัทธานุสารี ( ผู้แล่นไปตามศรัทธา คือปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีศรัทธาออกหน้า )
    (หมายเหตุ :ในคำอธิบายซึ่งเรียกว่านิทเทส เมื่ออธิบายบุคคลทั้งเก้าประเภทนี้จบ แล้ว ได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่า สัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่า สัทธาวิมุติ อนึ่งคำอธิบายเกี่ยวกับพระอริยบุคคลตั้งแต่ข้อ ๓ ถึงข้อ ๙ ได้กล่าวไว้ชัดเจนกว่านี้ในที่อื่น คือในหน้าพระ สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ หน้า ๓ ชื่อทีฆนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ) ในข้อ ๒๐. กีฎาคิริสูตร ).

    <center> บุคคลที่มีจำนวน ๑๐ </center>
    ได้แก่พระอริยบุคคล ๕ ประเภทผู้ถึงความตกลงใจ ( หมดความสงสัย ) ในพระพุทธเจ้า ใน ชาตินี้และพระอริยบุคคลอีก ๕ ประเภทผู้ละโลกนี้ไปแล้วจึงถึงความตกลงใจ ( ๕ ประเภทแรก ได้แก่พระโสดาบัน ๓ ประเภท กับพระสกทาคามี และพระอรหันต์. ๕ ประการหลัง ได้แก่พระอนาคามี ๕ ประเภท ผู้ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาส ).
    (หมายเหตุ :พระอริยบุคคลทั้งสิบประเภทนี้ มีกล่าวไว้แล้ว พร้อมด้วยคำอธิบายใน หน้ารวมพระสุตตันตปิฎก) ในพระสุตตันตะเล่มที่ ๑๒ หน้า ๔ ในข้อ ๔. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงกรณียกิจของสมณะ ) และที่พระสุตตันตะเล่มที่ ๑๖ หน้า ๒ ในข้อ ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒ )
    หมวดธรรมะว่าด้วยบุคคลตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ นี้ โดยเฉพาะตั้งแต่จำนวน ๒ ถึงจำนวน ๑๐ มีกล่าวไว้แล้วแทบทั้งสิ้นในตอนที่ย่อความในทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ถึงทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย คือประมวลธรรมดาหมวด ๒ หมวด ๑๐ ดูที่พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ ) พระอังคุต-ตรนิกาย เล่มที่ ๑๒-๑๖ ถึง พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ หน้า ๒ จึงแสดงไว้ในที่นี้ไม่พิสดาร.


    <center> จบปุคคลบัญญัติ </center>

    <hr> '๑' . มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ คือ ข้อ ๑ ถึง ๕ ว่าด้วย " สงเคราะห์ ) คือเข้ากันได้หรือไม่ได้ ข้อ ๖ ถึง ๑๐ ว่าด้วย " สัมปโยค ) คือประกอบกันได้หรือประกอบกันไม่ได้ ความแตกต่างของคำว่า สงเคราะห์และสัมปโยค คือสงเคราะห์ หมายถึงธรรมะที่เป็นประเภทเดียวกัน ส่วนสัมปโยค หมายถึงเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน มีที่ตั้งเป็นอันเดียวกัน มี อารมณ์เป็นอันเดียวกัน
    '๒' . คือเข้ากันได้กับอายตนะ คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรมะ ปัญหาว่า เหตุไฉนรูปขันธ์จึงเข้ากับธรรมะ ซึ่งเป็นอารมณ์ของใจได้ ตอบว่า เพราะรูปที่เห็นไม่ได้ถูกต้องไม่ได้ เป็นอารมณ์ของ ใจมีอยู่
    '๓' . ธรรมที่กล่าวมาว่า เป็นพวกรูปธรรม จึงเข้ากันได้กับอายตนะและธาตุที่เป็นรูป แต่เข้ากันไม่ได้กับ อายตนะและธาตุที่เป็นนาม
    '๔' . ที่มิได้วงเล็บไว้ให้ เพราะต้องแล้วแต่คำว่า เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ คือถ้าเข้ากันไม่ได้ กับเวทนาขันธ์ ก็เข้ากันได้กับขันธ์ ๓ คือ รูป, สัญญา, สังขาร ; ถ้าเข้ากันไม่ได้กับสัญญาขันธ์ ก็เข้ากันได้กับขันธ์ ๓ คือ รูป, เวทนา, สังขาร ; ถ้าเข้ากันไม่ได้กับสังขารขันธ์ ก็เข้ากันได้กับขันธ์ ๓ คือ รูป, เวทนา, สัญญา ; พระนิพพานเข้ากับขันธ์ไม่ได้, แต่เป็นธัมมายตนะ, ธัมมธาตุ
    '๕' . มโนธาตุ นับเป็นวิญญาณธาตุด้วย





    [/FONT]<center> เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ </center>
    <center> ( เป็นอภิธัมมปิฎก ) </center> ( พระไตรปิฎกเล่มนี้ อรรถกถาเล่าว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงบทตั้ง หรือคำเริ่มต้นไว้เพียงเล็ก น้อยต่อจากนั้น พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ได้เรียบเรียงขึ้นจนจบในสังคายนาครั้งที่ ๓ มีข้อความอันเป็น คำตอบคำถามตั้งแต่ ต้นจนจบ ).
    คำถามคำตอบนั้น มีลักษณะไปในทางไล่เลียงลัทธิต่าง ๆ นอกพระพุทธศาสนา และแม้ในพระพุทธ ศาสนาเอง แต่ที่แตกแยกออกไปจากเถรวาท หัวข้อสำคัญที่เป็นหลักในการถามตอบมีอยู่ด้วยกัน ๒๑๙ เรื่อง ในแต่ละเรื่องมีคำ ถามคำตอบมากมาย และอรรถกถาได้อธิบายไว้ด้วยว่า หัวข้อเรื่องไหน เพื่อจะแก้ความถือผิดของลัทธิอะไร เพื่อความเข้าใจใน หัวข้อเรื่องให้เกี่ยวโยงกับลัทธินิกายต่าง ๆ ที่กถาวัตถุคัดค้าน จึงควรทราบประวัติแห่งเถรวาท ( พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ พระเถระผู้ใหญ่ได้รวบรวมทำสังคายนาแต่ครั้งที่ ๑ ) กับนิกายอื่น ๆ ที่แตกแยกออกไปอีก ๑๗ นิกาย รวมเป็น ๑๘ ทั้ง เถรวาท ภายใน ๒๐๐ ปี หลังจากพุทธปรินิพพาน
    ๑. ในร้อยปีแรกภายหลังพุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนามีแบบเดียว คือตามทื่พระเถระมีพระมหา- กัสสป เป็นต้น ได้ประชุมกันทำสังคายนา คือร้อยกรองรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหมวดเป็นหมู่ โดยมีพระอานนท์ซึ่ง เป็นผู้ทรงจำพุทธวจนะอย่างดียิ่งเป็นผู้ทบทวนพระธรรม พระอุบาลีซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศในทางทรงจำพระ วินัย เป็นผู้ทบทวนพระวินัย แล้วสวดท่องจำกันสืบต่อมา โดยแบ่งสำนักท่องจำเป็นสำนัก ๆ ไป ช่วยกันท่องจำต่างภาคต่างตอน สั่งสอนศิษย์สืบมา คำว่า เถรวาท ซึ่งแปลว่า วาทะของพระเถระ อันเป็นชื่อของนิกายดั้งเดิม มาปรากฏเรียกขานกันเมื่อมีนิกาย อื่น ๆ แตกแยกออกไปแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าอย่างไหนเป็นพระพุทธศาสนาแบบไหน
    ๒. เมื่อพ้น ๑๐๐ ปีภายหลังพุทธปรินิพพานมาแล้ว พวกภิกษุวัชชีบุตร ( ลูกหลานชาวแคว้นวัชชี ) ประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป ถือวินัยย่อหย่อนจากที่บัญญัติไว้ รวม ๑๐ ประการ พระเถระที่เห็นแก่พระธรรมวินัย จึงประชุมกันทำ สังคายนาครั้งที่ ๒ ชำระเรื่องที่ถือผิดนี้ ประกาศมิให้ประพฤติต่อไป ภิกษุพวกวัชชีบุตรจึงแยกไปตั้งนิกายใหม่ ชื่อมหาสังฆิกะ แปลว่า " พวกมาก "
    ๓. ต่อมามีนิกายแยกออกมาจากมหาสังฆิกะอีก ๒ คือ ๑. โคกุลิกะ ๒. เอกพโยหาริกะ
    ๔. ต่อมามีนิกายแยกออกมาจากนิกายโคกุลิกะอีก ๒ คือ ๑. ปัณณัตติวาทะ ๒. พหุลิยะ ( หรือ พหุสสุติกะ )
    ๕. ต่อมามีอีกนิกายหนึ่งชื่อเจติยวาทะ แตกแยกออกมาจากนิกายพหุลิยะ ( หรือพหุสสุติกะ ) นั้นภาย ในพุทธศักราช ๒๐๐ ปี นิกายมหาสังฆิกะแยกออกไปเป็น ๕ นิกาย รวมเป็น ๖ ทั้งมหาสังฆิกะเอง
    ๖. เฉพาะเถรวาทก็มีนิกายแตกแยกออกไป คือในชั้นแรกแยกออกไป ๒ นิกาย คือ ๑. มหิสาสกะ ๒. วัชชีปุตตกะ
    ๗. ต่อมามีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายวัชชีปุตตกะอีก ๔ คือ ๑. ธัมมุตตริยะ ๒. ภัทรยานิกะ ๓. ฉันนาคาริกะ ๔. สมิติยะ
    ๘. มีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายมหิสาสกะอีก ๒ คือ ๑. สัพพัตถิกวาทะ ๒. ธัมมคุตติกะ
    ๙. มีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายสัพพัตถิกวาทะ คือนิกายกัสสปิกะ
    ๑๐. ต่อมานิกายกัสสปิกะมีนิกายแยกออกไป ชื่อสังกันติกะ
    ๑๑. ต่อมานิกายสังกันติกะมีนิกายแยกออกไป ชื่อสุตตวาทะ
    เป็นอันว่าเถรวาทมีนิกายย่อยแยกออกไป ๑๑ นิกาย รวม ๑๒ ทั้งเถรวาทเอง มหาสังฆิกะซึ่งแตกไปจากเถรวาทเป็นครั้งแรก มีนิกายย่อยแยกออกไป ๕ นิกาย รวมเป็น ๖ ทั้งมหาสังฆิกะเอง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๑๘ นิกาย คือเถรวาท ฝ่ายหนึ่ง กับนิกายอื่น ๆ อีก ๑๗ นิกาย ซึ่งเรียกว่า อาจริยวาท อีกฝ่าย หนึ่ง

    <center> โปรดดูแผนผังดังต่อไปนี้ :- </center>
    <center> ( แผนผัง ) </center>
    [​IMG]
    หมายเหตุ : ( มีข้อพึงสังเกตุว่า นิกายต่าง ๆ รวมทั้งสิบแปดนิกายที่กล่าวมานี้ ตกมาถึงสมัยปัจจุบัน คงมีเหลือแต่
    เพียงนิกายเดียวคือเถรวาท ส่วนนิกายอื่น ๆ เสื่อมไปทั้งหมด แม้นิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งเป็นนิกายใหญ่
    ก็ไม่มีเหลืออยู่แล้ว แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า นิกายมหาสังฆิกะ ได้แปรรูปเป็นมหายานไปในที่สุด แต่ก็
    ไม่มีชื่อเดิมเหลืออยู่ ).






    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]รายละเอียดกถาวัตถุ ๒๑๙ ข้อ
    <table align="left" border="6" cellpadding="1" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td> ๑. เรื่องบุคคล (ปุคคลกถา ) </td> <td> ๑๒๑. เรื่องผู้จะไปเกิดอีก๒-๓ครั้งกับผู้เกิดเพียงครั้งเดียว </td> </tr><tr> <td> ๒. เรื่องความเสื่อม (ปริหานิกถา) </td> <td> ๑๒๒. เรื่องการปลงชีวิต (ชีวิตา โวโรปนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓. เรื่องพรหมจรรย์ (พรหมจริยกถา) </td> <td> ๑๒๓. เรื่องทุคคติ (ทุคคติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔. เรื่องบางส่วน (โอธิโสกถา) </td> <td> ๑๒๔. เรื่องบุคคลที่เกิดในภพที่ ๗ (สัตตมภวิกกถา) </td> </tr><tr> <td> ๕. เรื่องละกิเลส (ชหติกถา) </td> <td> ๑๒๕. เรื่องผู้ตั้งอยู่ตลอดกัปป์ (กัปปัฏฐกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖. เรื่องทุกอย่างมี (สัพพมัตถิกถา) </td> <td> ๑๒๖. เรื่องการได้กุศลจิต (กุสลจิตตปฏิลาภกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗. เรื่องขันธ์ที่เป็นอดีต เป็นต้น (อดีตขันธาติกถา) </td> <td> ๑๒๗. เรื่องผู้ประกอบด้วยกรรมอันให้ผลไม่มีระหว่างคั่น </td> </tr><tr> <td> ๘. เรื่องบางอย่างมี (เอกัจจมัตถีติกถา) </td> <td> ๑๒๘. เรื่องทำนองธรรมของผู้แน่นอน (นิยตัสส นิยามกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙. เรื่องการตั้งสติ (สติปัฏฐานกถา) </td> <td> ๑๒๙. เรื่องผู้มีนีวรณ์ (นีวุตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๐. เรื่อง"มีอย่างนี้" เป็นต้น (เหวัตถิกถา) </td> <td> ๑๓๐. เรื่องผู้พร้อมหน้ากิเลส (สัมมุขีภูตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑. เรื่องผู้อื่นนำเข้าไปให้ (ปรูปหารกถา) </td> <td> ๑๓๑. เรื่องผู้เข้าฌานย่อมพอใจ (สมาปันโน อัสสาเทติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๒. เรื่องความไม่รู้ (อัญญาณกถา) </td> <td> ๑๓๒. เรื่องความกำหนัดในสิ่งที่ไม่น่าพอใจ (อสาตราคกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๓. เรื่องความสงสัย (กังขากถา) </td> <td> ๑๓๓. เรื่องความทะยานอยากในธรรมเป็นอัพยากฤต </td> </tr><tr> <td> ๑๔. เรื่องการบอกของผู้อื่น (ปรวิตารณกถา) </td> <td> ๑๓๔. เรื่องธัมมตัณหามิใช่เหตุให้เกิดทุกข์ </td> </tr><tr> <td> ๑๕. เรื่องการเปล่งวาจา (วจีเภทกถา) </td> <td> ๑๓๕. เรื่องความต่อเนื่องแห่งกุศลและอกุศล (กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๖. เรื่องการนำมาซึ่งความรู้ในทุกข์ (ทุกขาหารกถา) </td> <td> ๑๓๖. เรื่องความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ ๖ </td> </tr><tr> <td> ๑๗. เรื่องความตั้งอยู่แห่งจิต (จิตตฐิติกถา) </td> <td> ๑๓๗. เรื่องปัจจัยที่ไม่มีระหว่างคั่น (อนันตรปัจจยกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๘. เรื่องถ่านไฟร้อน (กุกกุฬกถา) </td> <td> ๑๓๘. เรื่องรูปของพระอริยะ (อริยรูปกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๙. เรื่องการตรัสรู้โดยลำดับ (อนุปุพพาภิสมยกถา) </td> <td> ๑๓๙. เรื่องอนุสัยเป็นอย่างอื่น (อัญโญ อนุสโยติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๒๐. เรื่องโวหาร (โวหารกถา) </td> <td> ๑๔๐. เรื่องกิเลสเครื่องรึงรัดไม่ประกอบกับจิต </td> </tr><tr> <td> ๒๑. เรื่องนิโรธความดับทุกข์ (นิโรธกถา) </td> <td> ๑๔๑. เรื่องสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน (ปริยาปันนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๒๒. เรื่องกำลัง (พลกถา) </td> <td> ๑๔๒. เรื่องอัพยากฤต (อัพยากตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๒๓. เรื่องญาณเป็นอริยะ (อริยันติกถา) </td> <td> ๑๔๓. เรื่องโลกุตตระ (อปริยาปันนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๒๔. เรื่องจิตหลุดพ้น (วิมุจจติกถา) </td> <td> ๑๔๔. เรื่องความเป็นปัจจัย (ปัจจยตากถา) </td> </tr><tr> <td> ๒๕. เรื่องจิตกำลังหลุดพ้น (วิมุจจมานกถา) </td> <td> ๑๔๕. เรื่องปัจจัยของกันและกัน (อัญญมัญญปัจจยกถา) </td> </tr><tr> <td> ๒๖. เรื่องบุคคลที่ ๘ (อัฏฐมกกถา) </td> <td> ๑๔๖. เรื่องกาลยืดยาว (อัทธากถา ) </td> </tr><tr> <td> ๒๗. เรื่องอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘ (อัฏฐมกัสส อินทริยกถา) </td> <td> ๑๔๗. เรื่องขณะ, ประเดี๋ยว, ครู่ (ขณลยมุหุตตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๒๘. เรื่องตาทิพย์ (ทิพพจักขุกถา) </td> <td> ๑๔๘. เรื่องกิเลสที่ดองสันดาน (อาสวกถา) </td> </tr><tr> <td> ๒๙. เรื่องหูทิพย์ (ทิพพโสตกถา) </td> <td> ๑๔๙. เรื่องความแก่และความตาย (ชรามรณกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๐. เรื่องญาณรู้ถึงสัตว์ผูเกิดตามกรรม (ยถากัมมูปคตญาณกถา) </td> <td> ๑๕๐. เรื่องสัญญาและเวทนา (สัญญาเวทยิตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๑. เรื่องความสำรวม (สังวรกถา) </td> <td> ๑๕๑. เรื่องสัญญาและเวทนาเรื่องที่ ๒ (ทุติยสัญญาเวทยิตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๒. เรื่องไม่มีสัญญาคือความจำได้หมายรู้ (อสัญญกถา) </td> <td> ๑๕๒. เรื่องสัญญาและเวทนาเรื่องที่ ๓ (ตติยสัญญาเวทยิตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๓. เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตะ (เนวสัญญานาสัญญายตกถา) </td> <td> ๑๕๓. เรื่องสมาบัติที่ให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ </td> </tr><tr> <td> ๓๔. เรื่องพระอรหัตน์พึงเป็นคฤกัสถ์ได้ (คิหิสส อรหาติกถา) </td> <td> ๑๕๔. เรื่องการสะสมกรรม (กัมมูปจยกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๕. เรื่องความเกิด (อุปปัตติกถา) </td> <td> ๑๕๕. เรื่องการข่ม (นิคคหกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๖. ไม่มีอาสวะ (อนาสวกถา) </td> <td> ๑๕๖. เรื่องการประคอง (ปัคคหกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๗. เรื่องพระอรหันต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง (สมันนาคตกถา) </td> <td> ๑๕๗. เรื่องการเพิ่มให้ความสุข (สุขานุปปทานกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๘. พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา (อุเปกขาสมันนาคตกถา) </td> <td> ๑๕๘. เรื่องการรอบรวมพิจารณา (อธิคคัยหมนสิการกถา) </td> </tr><tr> <td> ๓๙. เรื่องเป็นพระพุทธเจ้าเพราะโพธิ (โพธิยา พุทโธติกถา) </td> <td> ๑๕๙. เรื่องรูปเป็นเหตุ (รูปัง เหตูติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๐. เรื่องลักษณะ (ลักขณกถา) </td> <td> ๑๖๐. เรื่องรูปมีเหตุ (รูปัง สเหตุกันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๑. เรื่องกำหนดลงมาเกิด (นิยาโมกกันติกถา) </td> <td> ๑๖๑. เรื่องรูปเป็นกุศลและอกุศล (รูปัง กุสลากุสลันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๒. เรื่อง"ประกอบด้วยคุณธรรม" (อปราปิสมันนาคตกถา) </td> <td> ๑๖๒. เรื่องรูปเป็นผล (รูปัง วิปาโกติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๓. เรื่องการละสัญโญชน์ทั้งหมด (สัพพสัญโญชนปหานกถา) </td> <td> ๑๖๓. เรื่องรูปเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร (รูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๔. เรื่องหลุดพ้น (วิมุตตกถา) </td> <td> ๑๖๔. เรื่องรูปราคะเนื่องด้วยรูปธาตุ (รูปราโค รูปธาตุปริยาปันโนติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๕. เรื่องพระอเสกขะ คือผู้ไม่ต้องศึกษา (อเสกขกถา) </td> <td> ๑๖๕. เรื่องพระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ (อัตถิ อรหโต ปุญญูปจโยติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๖. เรื่องวิปริต (วิปรีตกถา) </td> <td> ๑๖๖. เรื่องพระอรหันต์ไม่มีการตายเมื่อยังไม่ถึงคราว </td> </tr><tr> <td> ๔๗. เรื่องทำนองธรรม (นิยามกถา) </td> <td> ๑๖๗. เรื่องทุกอย่างมาจากกรรม (สัพพมิทัง กัมมโตติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๘. เรื่องความแตกฉาน (ปฏิสัมภิทากถา) </td> <td> ๑๖๘. เรื่องสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ (อินทริยพัทธกถา) </td> </tr><tr> <td> ๔๙. เรื่องความรู้สมติ (สัมติญาณกถา) </td> <td> ๑๖๙. เรื่องเว้นแต่อริยมรรค (ฐเปตวา อริยมัคคันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๕๐. เรื่องญาณมีจิตเป็นอารมณ์ (จิตตารัมมณกถา) </td> <td> ๑๗๐. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า สงฆ์รับทำทักษิณา </td> </tr><tr> <td> ๕๑. เรื่องญาณรู้อนาคต (อนาคตญาณกถา) </td> <td> ๑๗๑. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า สงฆ์ทำทักษิณาให้บริสุทธิ์ </td> </tr><tr> <td> ๕๒. เรื่องญาณรู้ปัจจุบัน (ปัจจุปปันนญาณกถา) </td> <td> ๑๗๒. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า สงฆ์ฉัน ( อาหาร ) </td> </tr><tr> <td> ๕๓. เรื่องญาณรู้ผล (ผลญาณกถา) </td> <td> ๑๗๓. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่สงฆ์มีผลมาก </td> </tr><tr> <td> ๕๔. เรื่องทำนองธรรม (นิยามกถา) </td> <td> ๑๗๔. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก </td> </tr><tr> <td> ๕๕. เรื่องปฏิจจสมุปบาท (ปฏิจจสมุปปาทกถา) </td> <td> ๑๗๕. เรื่องความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา (ทักขิณาวิสุทธิกถา) </td> </tr><tr> <td> ๕๖. เรื่องความจริง (สัจจกถา) </td> <td> ๑๗๖. เรื่องมนุษย์โลก (มนุสสโลกกถา) </td> </tr><tr> <td> ๕๗. เรื่องอรูป(สิ่งที่ไม่มีรูป) (อารุปปกถา) </td> <td> ๑๗๗. เรื่องพระธรรมเทศนา (ธัมมเทสนากถา) </td> </tr><tr> <td> ๕๘. เรื่องนิโรธสมาบัติ (นิโรธสมาปัตติกถา) </td> <td> ๑๗๘. เรื่องกรุณา (กรุณากถา) </td> </tr><tr> <td> ๕๙. เรื่องอากาศ (อากาสกถา) </td> <td> ๑๗๙. เรื่องของหอม (คันธชาติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๐. เรื่องอากาศเป็นของเห็นได้ (อากาโส สนิทัสสโนติกถา) </td> <td> ๑๘๐. เรื่องมรรคอันเดียว (เอกมัคคกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๑. เรื่องธาตุดินเห็นได้ เป็นต้น (ปฐวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา) </td> <td> ๑๘๑. เรื่องการก้าวข้ามฌาน (ฌานสังกันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๒. เรื่องอินทรีย์ คือตาเห็นได้ (จักขุนทริยัง สนิทัสสนันติกถา) </td> <td> ๑๘๒. เรื่องช่องว่างของฌาน (ฌานันตริกากถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๓. เรื่องการกระทำทางกายเห็นได้ (กายกัมมัง สนิทัสสนันติกถา) </td> <td> ๑๘๓. เรื่องผู้เข้าฌานย่อมได้ยินเสียง (สมาปันโน สัททัง สุณาตีติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๔. เรื่องธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ (สังคหิตกถา) </td> <td> ๑๘๔. เรื่องเห็นรูปด้วยตา (จักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๕. เรื่องธรรมที่ประกอบกัน (สัมปยุตตกถา) </td> <td> ๑๘๕. เรื่องการละกิเลส (กิเลสชหนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๖. เรื่องเจตสิก ธรรมที่เป็นไปทางจิต (เจตสิกกถา) </td> <td> ๑๘๖. เรื่องความสูญ (สุญญตากถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๗. เรื่องทาน (ทานกถา) </td> <td> ๑๘๗. เรื่องผลแห่งความเป็นสมณะ (สามัญญผลกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๘. เรื่องบุญสำเร็จด้วยการใช้สอย (ปริโภคมยปุญญกถา) </td> <td> ๑๘๘. เรื่องการบรรลุ (ปัตติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๖๙. เรื่องสิ่งที่ให้ไปจากโลกนี้ (อิโต ทินนกถา) </td> <td> ๑๘๙. เรื่องความจริง (ตถตา ) </td> </tr><tr> <td> ๗๐. เรื่องแผ่นดินเป็นผลของกรรม (ปฐวี กัมมวิปาโกติกถา) </td> <td> ๑๙๐. เรื่องกุศล (กุสลกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๑. เรื่องความแก่ความตายเป็นผล (ชรามรณัง กัมมวิปาโกติกถา) </td> <td> ๑๙๑. เรื่องข้อกำหนดเด็ดขาด (อัจจันตนิยามกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๒. เรื่องผลของอริยธรรม (อริยธัมมวิปากกถา) </td> <td> ๑๙๒. เรื่องธรรมะที่เป็นใหญ่ (อินทริยกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๓. เรื่องผลมีธรรมซึ่งเป็นผลธรรมดา (วิปากธัมมธัมโมติกถา) </td> <td> ๑๙๓. เรื่องไม่จงใจ (อสัญจิจจกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๔. เรื่องคติ ๖ (ฉคติกถา) </td> <td> ๑๙๔. เรื่องญาณ (ญาณกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๕. เรื่องภพที่คั่นในระหว่าง (อันตราภวกถา) </td> <td> ๑๙๕. เรื่องนายนิรยบาล (นิรยปาลกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๖. เรื่องกามคุณ (กามคุณกถา) </td> <td> ๑๙๖. เรื่องสัตว์ดิรัจฉาน (ติรัจฉานกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๗. เรื่องกาม (กามกถา) </td> <td> ๑๙๗. เรื่องมรรค (มัคคกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๘. เรื่องธาตุเป็นรูป (รูปธาตุกถา) </td> <td> ๑๙๘. เรื่องญาณ (ญาณกถา) </td> </tr><tr> <td> ๗๙. เรื่องธาตุที่เป็นอรูป (อรูปธาตุกถา) </td> <td> ๑๙๙. เรื่องคำสอน (สาสนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๐. เรื่องอายตนะของรูปธาตุ (รูปธาตุยา อายตนกถา) </td> <td> ๒๐๐. เรื่องผู้ไม่สงัด (อวิวิตตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๑. เรื่องรูปในอรูป (อรูเป รูปกถา) </td> <td> ๒๐๑. เรื่องกิเลสที่ผูกมัด (สัญโญชนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๒. เรื่องรูปเป็นการกระทำ (รูปัง กัมมันติกถา) </td> <td> ๒๐๒. เรื่องฤทธิ์ (อิทธิกถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๓. เรื่องชีวิตินทรีย์ (ชีวิตินทริยกถา) </td> <td> ๒๐๓. เรื่องพระพุทธเจ้า (พุทธกถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๔. เรื่องกรรมเป็นเหตุ (กัมมเหตุกถา) </td> <td> ๒๐๔. เรื่องทิศทั้งปวง (สัพพทิสากถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๕. เรื่องอานิสงส์ </td> <td> ๒๐๕. เรื่องธรรม (ธัมมกถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๖. เรื่องสัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ </td> <td> ๒๐๖. เรื่องกรรม (กัมมกถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๗. เรื่องรูปมีอารมณ์ (รูปัง สารัมมณันติกถา) </td> <td> ๒๐๗. เรื่องปรินิพพาน </td> </tr><tr> <td> ๘๘. เรื่องอนุสัยไม่มีอารมณ์ (อนารัมมณาติกถา) </td> <td> ๒๐๘. เรื่องกุศลจิต (กุสสจิตตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๘๙. เรื่องญาณไม่มีอารมณ์ (ญาณัง อนารัมมณันติกถา) </td> <td> ๒๐๙. เรื่องอาเนญชะ (อาเนญชกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๐. เรื่องจิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ (อตีตารัมมณกถา) </td> <td> ๒๑๐. เรื่องการตรัสรู้ธรรม (ธัมมาภิสมยกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๑. เรื่องจิตมีอนาคตเป็นอารมณ์ (อนาคตารัมมณกถา) </td> <td> ๒๑๑. เรื่อง ๓ ประเภท (ติสโสปิกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๒. เรื่องจิตมีความตรึกติดตาม (วิตักกานุปติกถา) </td> <td> ๒๑๒. เรื่องอัพยากฤต (อัพยากตกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๓. เรื่องการแผ่ออกแห่งความตรึกเป็นเสียง </td> <td> ๒๑๓. เรื่องตวามเป็นปัจจัยเพราะส้องเสพ (อาเสวนปัจจยตากถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๔. เรื่องวาจาไม่เป็นไปตามจิต </td> <td> ๒๑๔. เรื่องชั่วขณะ (ขณิกกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๕. เรื่องการกระทำทางกายไม่เป็นไปตามจิต </td> <td> ๒๑๕. เรื่องความประสงค์อันเดียวกัน (เอกาธิปปายกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๖. เรื่องอดีต อนาคต ปัจจุบัน (อดีตานาคตปัจจุปปันนกถา) </td> <td> ๒๑๖. เรื่องเพศของพระอรหันต์ (อรหันตวัณณกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๗. เรื่องความดับ (นิโรธกถา) </td> <td> ๒๑๗. เรื่องการบันดาลตามความใคร่ของผู้เป็นใหญ่ </td> </tr><tr> <td> ๙๘. เรื่องรูปเป็นมรรค (รูปัง มัคโคติกถา) </td> <td> ๒๑๘. เรื่องสิ่งที่เป็นราคะเทียม เป็นต้น (ราคปฏิรูปกาทิกถา) </td> </tr><tr> <td> ๙๙. เรื่องผู้ประกอบพร้อมด้วยวิญญาณ๕มีการเจริญมรรค </td> <td> ๒๑๙. เรื่องสิ่งที่ไม่สำเร็จรูป (อปรินิปผันนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๐๐. เรื่องวิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี </td> </tr><tr> <td> ๑๐๑. เรื่องวิญญาณ ๕ คิดคำนึงได้ </td> </tr><tr> <td> ๑๐๒. เรื่องบุคคลประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง </td> </tr><tr> <td> ๑๐๓. เรื่องศีลไม่เป็นเจตสิก (สีลัง อเจตสิกันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๐๔. เรื่องศีลไม่เป็นไปตามจิต </td> </tr><tr> <td> ๑๐๕. เรื่องศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ </td> </tr><tr> <td> ๑๐๖. เรื่องวิญญัติเป็นศีล (วิญญัตติ สีลันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๐๗. เรื่องอวิญญัติเป็นทุศีล </td> </tr><tr> <td> ๑๐๘. เรื่องแม้ธรรม ๓ อย่างก็เป็นอนุสัย </td> </tr><tr> <td> ๑๐๙. เรื่องญาณความรู้ (ญาณกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๐. เรื่องญาณเป็นจิตตวิปปยุต (ญาณัง จิตตวิปปยุตตันติกถากถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๑. เรื่องการเปล่งวาจาว่า นี้ทุกข์ (อิทัง ทุกขันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๒. เรื่องกำลังฤทธิ์ (อิทธิพลกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๓. เรื่องสมาธิ (สมาธิกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๔. เรื่องความตั้งอยู่แห่งธรรม (ธัมมัฏฐิตตากถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๕. เรื่องความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจตากถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๖. เรื่องความสำรวมเป็นการกระทำ (สังวโร กัมมันติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๗. เรื่องการกระทำ (กัมมกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๘. เรื่องเสียงเป็นผล (สัทโท วิปาโกติกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๑๙. เรื่องอายตนะ๖ (สฬายตนกถา) </td> </tr><tr> <td> ๑๒๐. เรื่องบุคคลผู้เกิด๗ครั้งเป็นอย่างยิ่ง (สัตตักขัตตุปรมกถา) </td></tr></tbody></table>​
    [/FONT]
     
  13. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๓๘ ชื่อยมก ภาคที่ ๑ </center> <center> เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๕ ) </center> ( คัมภีร์ยมก เป็นคัมภีร์ที่ ๖ แห่งอภิธัมมปิฎก แบ่งออกเป็น ๒ เล่ม หรือ ๒ ภาค คือ ภาคแรก เล่มที่ ๓๘ ว่าด้วย ธรรมที่เป็นคู่ ๗ หัวข้อ คือ ๑. มูลยมก ธรรมเป็นคู่อันเป็นมูล ๒. ขันธยมก ธรรมเป็นคู่ คือขันธ์ ๓. อายตนะยมก ธรรมเป็นคู่คือสังขาร ๔. ธาตุยมก ธรรเป็นคู่คือธาตุ ๕. สัจจยมก ธรรมเป็นคู่คือสัจจะ ๖. สังขาร ธรรมเป็นคู่คือสังขาร ๗. อนุสสัยยมก ธรรมเป็นคู่คืออนุสัย ( กิเลสอันนอนเนื่องด้วยในสันดาน ) ; ภาคที่ ๒ เล่มที่ ๓๙ ว่า ธรรมที่เป็นคู่ ๓ หัวข้อ คือ ๑. จิตตยมก ธรรมเป็นคู่คือจิต ๒. ธัมมยมก ธรรมเป็นคู่คือธรรม และ ๓. อินทรียยมก ธรรมเป็นคู่คืออินทรีย์ ( สภาพที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ).
    ต่อไปนี้จะขยายความอย่างย่อ ๆ พอให้เห็นว่า หัวข้อธรรมที่เป็นคู่ทั้งเจ็ด ในคัมภีร์ยมกภาคที่ ๑ หรือในเล่มที่ ๓๙ นั้น มีข้อความอย่างไรต่อไป ).

    <center> ๑. มูลยมก </center>
    <center> ธรรมที่เป็นคู่อันเป็นมูล </center> ในหมวดนี้มี ๒ ส่วน คือเป็นบทตั้ง เรียก อุทเทส อย่างหนึ่ง เป็นบทอธิบาย เรียก นิทเทส อีกอย่างหนึ่ง
    บทตั้ง กล่าวถึง กุศลธรรม ธรรมอันเป็นฝ่ายดี ), อกุศลธรรม ( ธรรมอันเป็นฝ่ายชั่ว ), อัพยากตธรรม ( ธรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว และ นามธรรม (ธรรม ที่เกี่ยวกับจิตใจ ) แล้วแจกไปตามหลัก ๑๐ ประการ คือ ๑. มูล ( รากเหง้า ) ๒. เหตุ ๓. นิทาน ( ต้นเหตุ ) ๔. สมภพ ( การเกิด ) ๕. ปภพ (แดนเกิด ) ๖. สมุฏฐาน ( ที่ตั้ง ) ๗. อาหาร ๘. อามรมณ์ ๙. ปัจจัย ( เครื่องสนับสนุน ) ๑๐. สมุทัย ( เหตุให้เกิด ).
    บทอธิบาย ขอ ยกตัวอย่างคำอธิบายเรื่องกุศลธรรมดังกล่าวต่อไปนี้ ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งปวง ชื่อว่ากุศลมูลใช่หรือไม่? กุศลมูลมี ๓ ธรรมที่เหลือมิใช่กุศลมูล . ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ากุศลใช่หรือไม่ ? ใช่ ธรรมเหล่าใดที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ามีมูลอันเดียวกับกุศลมูลใช่หรือไม่ ? ใช่ ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับกุศลมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ากุศลใช่หรือไม่ ? รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่ามีมูลอันเดียวกับกุศลมูล แต่ไม่ชื่อว่ากุศล กุศลชื่อว่ามีมูลอันเดียวกับกุศลมูลด้วย เป็นกุศลด้วย ฯลฯ
    (หมายเหตุ: เมื่อพิจารณาดูคำอธิบายแล้ว จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องต้องใช้ตรรกวิทยาในการเข้าใจความหมาย เช่น คำว่า รูป เรากล่าวว่า รูปเป็นกุศลไม่ได้ แต่กล่าวว่า รูปมีมูลอันเดียวกับกุศลมูลได้ ถ้ารูปนั้น มีกุศลเป็นสมฏฐาน แต่คำว่า กุศลเป็นไปได้ทั้งสองอย่าง คือเป็นกุศลด้วย เป็นธรรมที่มีมูลอันเดียวกับกุศลมูลด้วย.
    มีข้อที่ควรทราบ คือ กุศลมูล ๓ ได้แก่ อโลภะ , อโทสะ , อโมหะ อกุศลมูล ๓ ได้แก่ โลภะ , โทสะ , โมหะ อัพยากตมูล ( มูลหรือรากของธรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว) ได้แก่ อโลภะ , อโทสะ , อโมหะ นามมูล ( มูลหรือรากของนาม) มี ๙ อย่าง ได้แก่ กุศลมูล ๓ , อกุศลมูล ๓ และ อัพยากตมูล ๓ รวมกัน.
    ข้อสังเกตเรื่องธรรมอันเป็นคู่ หัวเรื่องของพระไตรปิฎกเล่มนี้ คือ ยมก ได้แก่ธรรมที่เป็นคู่ ทำให้น่าค้นหาว่า เป็นคู่อย่างไร อยู่ที่ไหน ก็จะเห็นได้ว่า ในบทตั้งก็ตาม ในบทอธิบายก็ตาม จะกล่าวว่า ธรรมที่เป็นอย่างนี้ จะเป็นอย่างนั้น หรือธรรมที่เป็นอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นอย่างนี้ด้วย มีลักษณะเข้าคู่เสมอ ).

    <center> ๒. ขันธยมก </center>
    <center> ( ธรรมเป็นคู่คือขันธ์ ) </center> ในมหวดนี้เปลี่ยนวิธีกำหนดหัวข้อใหม่ ๓ วาร คือ ๑. ปัณณัตติวาร วาระว่าด้วยบัญญัติ ๒. ปวัตติวาร วาระว่าด้วยความเป็นไป ๓. ปริญญาวาร วาระว่าด้วยการกำหนดรู้.
    ๑. ปัณณัตติวาร วาระว่าด้วยบัญญัติ คือข้อนัดหมายกันรู้ คือขันธ์ ( ส่วนหรือกอง ) มี ๕ ได้แก่ ขันธ์ คือรูป ( ธาตุทั้งสี่ประชุมกันเป็นกาย รวมทั้งอาการที่เนื่องด้วยธาตุทั้งสี่ ) , เวทนา ( ความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข ), สัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) , สังขาร (ความคิดหรือเจตนา ) , วิญญาณ ( ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา หู เป็นต้น ) ในปัณณัตติวารนี้ แบ่งเป็นวาระย่อย่อยอีก ๒ คือ อุทเทสวาร วาระว่าด้วยบทตั้งโดยกล่าวถึงขันธ์ ๕ ไปทีละข้อ เช่น กล่าวว่า รูป เป็นรูปขันธ์ รูปขันธ์ เป็นรูป นิทเทสวาร วาระว่าด้วยบทอธิบาย เช่น อธิบายว่า คำว่า รูป เป็นรูปขันธ์ อธิบายว่า ปิยรูป ( รูปอันเป็นที่รัก ) สาตรูป ( รูปอันเป็นที่พอใจ ) จัดว่าเป็นรูป แต่ไม่ใช่เป็นขันธ์ แต่รูปขันธ์เป็นรูปด้วย ( คำว่า รูป มีความหมายกว้าง รูปบางอย่างเป็นรูปขันธ์ บางอย่างมิใช่รูปขันธ์ แต่คำว่า รูปขันธ์ มีความหมายแคบ คือรูปขันธ์จัดเข้าในประเภทของรูปด้วย เป็นรูปขันธ์ด้วย ผู้เขียน ).
    ๒. ปวัตติวาร วาระว่าด้วยความเป็นไป แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนย่อย คือ ๑. อุปปาทวาร วาระว่าด้วยความเกิดขึ้น ๒. นิโรธวาร วาระว่าด้วยความดับ ๓. อุปปาทนิโรธวาร วาระว่าด้วยความเกิดความดับ.
    ก. อุปปาทวาร รูปขันธ์เกิดขึ้นแก่ผู้ใด เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้นด้วยใช่หรือไม่ ? ผู้เกิดเป็น อสัญญาสัตว์ เกิดเฉพาะรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ไม่เกิด ( เพราะอสัญญสัตว์มีขันธ์เดียว ) ส่วนผู้ที่เกิดมีขันธ์ ๕ ย่อมมีทั้งรูปขันธ์ ทั้งเวทนาขั้นธ์เกิดขึ้น ( เช่น มนุษย์ ) . อนึ่ง เวทนาขันธ์เกิดแก่ผู้ใด รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้นด้วยใช่หรือไม่ ? ผู้เกิดใน อรูปภพ ย่อมมีเวทนาขันธ์เกิดขึ้น แต่ไม่มีรูปขันธ์เกิดขึ้น ( เช่น อรูปพรหม ) ส่วนผู้ที่เกิดมีขันธ์ ๕ ย่อมมีทั้งเวทนาขันธ์ทั้งรูปขันธ์เกิดขึ้น ฯลฯ
    ข. นิโรธวาร รูปขันธ์ของผู้ใดดับ เวทนาขันธ์ของผู้นั้นย่อมดับด้วยใช่หรือไม่ ? ผู้กำลังเคลื่อนจาก อสัญญสัตว์ รูปขันธ์ย่อมดับ แต่เวทนาขันธ์ไม่ไดับ ส่วนผู้กำลังเคลื่อนจากขันธ์ ๕ รูปขันธ์ก็ดับ เวทนาขันธ์ก็ดับ. อนึ่ง เวทนาขันธ์ของผู้ได้รับ รูปขันธ์ของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ผู้กำลังเคลื่อนจาก อรูป เวทนาขันธ์ย่อมดับ แต่รูปขันธ์ไม่ดับ ส่วนผู้กำลังเคลื่อนจากขันธ์ ๕ เวทนาขันธ์ย่อมดับ รูปขันธ์ย่อมดับ ฯ ล ฯ
    ค. อุปปาทนิโรธวาร รูป ขันธ์ของผู้ใดเกิดขึ้น เวทนาขันธ์ของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ . อนึ่ง เวทนาขันธ์ของผู้ใดดับ รูปขันธ์ของผู้นั้นย่อมเกิด ใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ ฯลฯ
    ๓. ปริญญาวาร วาระว่าด้วยการกำหนดรู้ ผู้ ใดกำหนดรู้รูปขันธ์ ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้เวทนาขันธ์ ใช่หรือไม่ ? ใช่. อนึ่ง ผู้ใดกำหนดรู้เวทนาขันธ์ ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้รูปขันธ์ใช่หรือไม่ ? ใช่. ผู้ใดไม่กำหนดรู้รูปขันธ์ ผู้นั้นย่อมไม่กำหนดรู้เวทนาขันธ์ใช่หรือไม่ ? ใช่ . อนึ่ง ผู้ใดไม่กำหนดรู้เวทนาขันธ์ ผู้นั้นย่อมไม่กำหนดรู้รูปขันธ์ใช่หรือไม่ ? ใช่.

    <center> ๓. อายตนยมก </center>
    <center> ( ธรรมเป็นคู่คืออายตนะ ) </center> ในหมวดนี้ มีหัวข้อเช่นเดียวกับขันธยมก คือ ๑. ปัณณัตติวาร วาระว่าด้วยบัญญัติ ๒. ปวัตติวาร วาระว่าด้วยความเป็นไป ๓. ปริญญาวาร วาระว่าด้วยการกำหนดรู้   :
    ๑. ปัณณัตติวาร วาระว่าด้วยการบัญญัติ คือข้อนัดหมายกันรู้ คือ อายตนะ ( ที่ต่อ ) มี ๑๒ ได้แก่ อายตนะ คือ ตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ , ใจ , ธรรม . ใน ปัณณัตติวารนี้ แบ่งออกเป็นวารย่อยอีก ๒ คือ อุทเทสวาร วาระว่าด้วยบทตั้ง โดยกล่าวถึงอายตนะ ๑๒ ไปทีละข้อ เช่น ตาเป็นอายตนะคือตา , อายตนะคือตา เป็นตา ฯลฯ นิทเทสวาร วาระว่าด้วยบทอธิบาย เช่น ตาเป็นอายตนะใช่หรือไม่ ? ตาที่เป็น ตาทิพย์ , ตาปัญญา ไม่ใช่อายตนะคือตา ส่วนอายตนะคือตาเป็นตาด้วย เป็นอายตนะคือตาด้วย , อายตนะคือตาเป็นตาใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯลฯ .
    ๒. ปวัตติวาร วาระว่าด้วยความเป็นไป แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนย่อย เช่นเดียวกับในขันธยมกดังต่อไปนี้:-
    ก. อุปปาทวาร วาระ ว่าด้วยความเกิดขึ้น คำว่า อายตนะคือตาเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อายตนะคือหูย่อมเกิดแก่ผู้นั้น ใช่หรือไม่ ? ผู้เกิดเป็นสัตว์ที่มีตา แต่ไม่มีหู มีอายตนะคือตาเกิดขึ้น แต่ไม่มีอายตนะคือหูเกิดขึ้น ผู้เกิดเป็นสัตว์ที่มีทั้งตาทั้งหู อายตนะคือตา และอายตนะคือหู ย่อมเกิดขึ้น อนึ่ง อายตนะคือหูเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อายตนะคือตาย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ผู้เกิดเป็นสัตว์ที่มีหู แต่ไม่มีตา มีอายตนะคือหูเกิดขึ้น แต่ไม่มีอายุตนคือตาเกิดขึ้น ผู้ใดเกิดเป็นสัตว์ที่มีอายตนะคือหู และอายตนะคือตาย่อมเกิดมีทั้งอายตนะคือหูทั้งอายตนะคือตาเกิดขึ้น ฯลฯ
    ข. นิโรธวาร วาระ ว่าด้วยความดับ คำว่า อายตนะคือตาของผู้ใดดับ อายตนะของผู้นั้นยย่อมดับด้วยใช่หรือไม่ ? ผู้ที่กำลังเคลื่อนจากความเป็นสัตว์ที่มีตา แต่ไม่มีหูอายตนะย่อมดับ แต่อายตนะคือหูย่อมไม่ดับ ส่วนผู้ที่กำลังเคลื่อนจากความป็นสัตว์ที่มีทั้งตาทั้งหู อายตนะคือตาและอายตนะคือหูย่อมดับ อนึ่ง อายตนะคือหูของผู้ใดย่อมดับ อายตนะของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่? ผู้ที่กำลังเคลื่อนจากความเป็นสัตว์ที่มีหูแต่ไม่มีตา อายตนะคือตาย่อมไม่ดับ ส่วนผู้มี่กำลังจะเคลื่อนจากความเป็นสัตว์ที่มีทั้งหูทั้งตา อายตนะคือหูและอายตนะคือตาย่อมดับ ฯลฯ
    ค. อุปปาทนิฏรธวาร วาระ ว่าด้วยความเกิดความดับ อายตนะคือตาเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อายตนะคือหูของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ อนึ่ง อายตนะคือหูของผู้ใดดับ อายตนะคือตาของผู้นั้นย่อมเกิดขึ้นใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ ฯลฯ
    ๓. ปริญญาวาร วาระว่าด้วยการกำหนดรู้ ผู้ ใดกำหนดรู้อายตนะคือตา ผู้นั้นชื่อว่ากำหนดรู้ อายตนะคือหูใช่หรือไม่ ? ใช่ . อนึ่ง ผู้ใดกำหนดรู้อายตนะคือหู ผู้นั้นชื่อว่ากำหนดรู้อายตนะคือตาใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯลฯ

    <center> ๔. ธาตุนยมก </center>
    <center> ( ธรรมเป็นคู่คือธาตุ ) </center> ธาตุยมกนี้ ก็อย่างเดียวกับอายตนะยมก มีวิธีแบ่งเป็น ๓ หรือ ๓ วารใหญ่ และมีวิธีการอธิบายเป็นอย่างเดียวกัน ความต่างกับอยู่ที่จำนวน คืออายตนะมี ๑๒ เป็นอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ ส่วนธาตุมี ๑๘ ได้แก่ธาตุ คือ ตา , หู, จมูก, ลิ้น, กาย ; รูป, เสียง, กลิ่น , รส, โผฏฐัพพะ ; ธาตุ คือ จักขุวิญญาณ , โสตวิญญาณ , ฆานวิญญาณ , ชิวหาวิญญาณ , กายวิญญาณ ( ธาตุรู้ทางตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย ) ; มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) , มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) , ธัมมธาตุ ( ธาตุคือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ).

    <center> ๕. สัจจยมก </center>
    <center> ( ธรรมเป็นคู่คือความจริง ) </center> ๑. ปัณณัตติวาร วาระว่าด้วยบัญญัติ. อริยสัจจ์มี ๔ คือ ทุกขสัจจ์ ความจริงคือทุกข์ , สมุทยสัจจ์ ความจริงคือเหตุให้ทุกข์เกิด , นิโรธสัจจ์ ความจริงคือความดับทุกข์ , มัคคสัจจ์ ความจริงคือหนทางให้ถึงความดับทุกข์
    ก. อุทเทสวาร วาระว่าด้วยบทตั้ง ทุกข์ เป็นทุกขสัจจ์ , ทุกขสัจจ์ เป็นทุกข์ ฯลฯ
    ข. นิทเทสวาร วาระว่าด้วยคำอธิบาย ทุกข์ เป็นทุกข์สัจจ์ใช่หรือไม่ ? ใช่ ทุกขสัจจ์ เป็นทุกข์ใช่หรือไม่ ? ทุกขสัจจ์ที่เหลือ เว้นแต่ทุกข์ที่เป็นไปทางกาย ทุกที่เป็นไปทางจิต เป็นทุกข์สัจจ์ มิใช่ทุกข์ ; ทุกข์ที่เป็นไปทางกาย ทุกข์ที่เป็นไปทางจิต เป็นทุกข์ด้วย เป็นทุกขสัจจ์ ฯลฯ
    ๒. ปวัตติวาร วาระว่าด้วยความเป็นไป . อุปปาทวาร วาระว่าด้วยความเกิดขึ้น ทุกขสัจจ์เกิดขึ้นแก่ผู้ใด สมุทยสัจจ์ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? เมื่อเกิดเป็นสัตว์ทุกชนิด ทุกขสัจจ์ย่อมเกิดขึ้น ในขณะแห่งความเกิดขึ้นของจิตที่มิได้ประกอบด้วยตัญหา แต่สมุทยสัจจ์ไม่เกิดขึ้น แต่ในขณะที่ตัญหาเกิดขึ้น ทุกขสัจจ์ย่อมเกิดขึ้นด้วย ทุกขสมุทยสัจจ์ย่อมเกิดขึ้นด้วย อนึ่ง สมุทยสัจจ์เกิดขึ้นแก่ผู้ใด ทุกขสัจจ์ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯลฯ นิโรธวาร วาระว่าด้วยความดับ ทุกขสัจจ์ของผู้ใดดับ สมุทยสัจจ์ของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? เมื่อเคลื่อน ( จุติ ) จากความเป็นสัตว์ทุกชนิด ในขณะแห่งความดับของจิตที่ไม่ประกอบด้วยตัญหา ทุกขสัจจ์ย่อมดับ แต่สมุทยสัจจ์ไม่ดับ แต่ในขณะที่ตัญหาดับ ทุกขสัจจ์ย่อมดับด้วย สมุทยสัจจ์ย่อมดับด้วย อนึ่ง สมุทยสัจจ์ของผู้ใดดับ ทุกขสัจจ์ของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯลฯ อุปปาทนิโรธวาร วาระว่าด้วยความเกิดและความดับ ทุกขสัจจ์ของผู้ใดเกิดขึ้น สมุทยสัจจ์ของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ อนึ่ง สมุทยสัจจ์ของผู้ใดดับ ทุกขสัจจ์ของผู้นั้นย่อมเกิดขึ้นใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ ฯ ล ฯ
    ๓. ปริญญาวาร วาระ ว่าด้วยการกำหนดรู้ ผู้ใดกำหนดรู้ทุกขสัจจ์ ผู้นั้นย่อมละสมุทยสัจจ์ใช่หรือไม่ ? ใช่. อนึ่ง ผู้ใดละสมุทยสัจจ์ได้ ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้ทุกขสัจจ์ใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯ ล ฯ

    <center> ๖. สังขารยมก </center>
    <center> ( ธรรมเป็นคู่คือสังขาร หรือเครื่องปรุง ) </center> ๑. ปัณณัตติวาร วาระว่าด้วยบัญญัติ. สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร เครื่องปรุงกาย , วจีสังขาร เครื่องปรุงวาจา , จิตสังขาร เครื่องปรุงจิต : ลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าเครื่องปรุงกาย , วิตก ความตรึกวิจาร ความตรอง ชื่อว่าเครื่องปรุงวาจา , สัญญา ความจำได้หมายรู้ และเวทนา ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ชื่อว่าเครื่องปรุงจิต. ธรรมทั้งปวงที่สัมปยุตกับจิต เว้นวิตกวิจาร ชื่อว่าเครื่องปรุงจิต<sup></sup>
    นอกจากนี้ ลีลาในการอธิบายก็ทำนองเดียวกับที่เคยกล่าวมาแล้ว.

    <center> ๗. อนุสยมก </center>
    <center> ( ธรรมเป็นคู่คืออนุสัย ) </center> ( ในหมวดนี้ ลีลาในการอธิบายเปลี่ยนไป โดยได้แบ่งหัวข้อเป็น ๗ วาระ คือ ๑. อนุสยวาร วาระว่าด้วยกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน ๒. สานุสยวาร วาระว่าด้วยบุคคลผู้มีอนุสัย ๓. ปชหนวาร วาระว่าด้วยการละ ๔. ปริญญาวาร วาระว่าด้วยการกำหนดรู้ ๕. ปหีนวาร วาระว่าด้วยอนุสัยที่บุคคลละได้แล้ว ๖. อุปปัชชนวาร วาระว่าด้วยการเกิดขึ้น ๗. ธาตุวาร วาระว่าด้วยธาตุ คือผู้เกิดในธาตุไหน คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ จะมีอนุสัยอะไรบ้าง ต่อไปนี้จะยกวาระทั้งเจ็ดขึ้นมากล่าวเป็นลำดับ แต่ก่อนจะถึงวาระทั้งเจ็ดนั้น มีบทตั้งที่อธิบายเรื่องอนุสัยไว้ อันนับเป็นหลักวิชาที่น่าสนใจ ) . อนุสัย ( กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานหรือที่แฝงตัว ) ๗
    ได้แก่อนุสัย คือ กามระคะ ( คือความกำหนัดในกาม ), ปฏิฆะ (ความขัดใจ ) , มานะ ( ความถือตัว ), ทิฏฐิ ( ความเห็น ) , วิจิกิจฉา ( ความลังเลสงสัย ), ภวราคะ ( ความยินดีในภพ คือความมีความเป็น ) , อวิชชา ( ความหลงไม่รู้ จริง ).
    อนุสัยคือกามระคะย่อมแฝงตัวตามในที่ไหน ? ในเวทนาทั้งสอง ( คือสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ) ในกามธาตุ. อนุสัยคือปฏิฆะย่อมแฝงตัวตามในที่ไหน ? ในทุกขเวทนา. อนุสัยคือมานะย่อมแฝงตัวตามในที่ไหน ? ในเวทนา ๒ ( คือสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ) ในกามธาตุ , <sup></sup> ในรูปธาตุ ในอรูปธาตุ . อนุสัยคือทิฏฐิย่อมแฝงตัวตามในที่ไหน ? ในธรรมที่เนื่องด้วยสักกายะ ( กายของตน ) ทั้งปวง . อนุสัยคือวิจิกิจฉาย่อมแฝงตัวตามในที่ไหน ? ในธรรมที่เนื่องด้วยสักกายะ ( กายของตน ) ทั้งปวง. อนุสัยภวราคะย่อมแฝงตัวตามในที่ไหน ? ในรูปธาตุและในอรูปธาตุ . อนุสัยคืออวิชชาย่อมแฝงตัวตามในที่ไหน ? ในธรรมที่เนื่องด้วยสักกายะ ( กายของตน ) ทั้งปวง.
    ๑. อนุสยวาร วาระ ว่าด้วยกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน หรือที่แฝงตัวตาม อนุสัยคือกามราคะของผู้ใดย่อมแฝงตัวตาม อนุสัยปฏิฆะของผู้นั้นย่อมแฝงตัวตามใช่หรือไม่ ? ใช่ . อนึ่ง อนุสัยคือปฏิฆะของผู้ใดย่อมแฝงตัวตาม อนุสัยคือกามระคะของผู้นั้นย่อมแฝงตัวตามใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯ ล ฯ
    ๒. สานุสยวาร วาระ ว่าด้วยบุคคลผู้มีอนุสัย ผู้ใดมีอนุสัยเป็นกามราคานุสัย ผู้นั้นย่อมมีอนุสัยเป็นปฏิฆานุสัยใช่หรือไม่ ? ใช่ . อนึ่ง ผู้ใดมีอนุสัยเป็นปฏิฆานุสัย ผู้นั้นย่อมมีอนุสัยเป็นกามราคานุสัยใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯ ล ฯ
    ๓. ปชหนวาร วาระ ว่าด้วยการละ ผู้ใดละกามราคานุสัยได้ ผู้นั้นย่อมละปฏิฆานุสัยได้ใช่หรือไม่ ? ใช่ . อนึ่ง ผู้ใดละปฏิฆานุสัย ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้กามราคานุสัยใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯลฯ
    ๔ . ปหีนวาร วาระ ว่าด้วยการกำหนดรู้ ผู้ใดกำหนดรู้กามราคานุสัย ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้ปฏิฆานุสัยใช่หรือไม่ ? ใช่. ผู้ใดกำหนดรู้ปฏิฆานุสัย ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้กามราคานุสัยใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯลฯ
    ๕. ปหีนวาร วาระ ว่าด้วยอนุสัยที่ละได้แล้ว กามราคานุสัยอันผู้ใดละได้แล้ว ปฏิฆานุสัยอันผู้นั้นละได้แล้วใช่หรือไม่ ? ใช่ . ปฏิฆานุสัยอันผู้ใดละได้แล้ว กามราคานุสัยอันผู้นั้นละได้แล้วใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯลฯ
    ๖. อุปปัชชนวาร วาระ ว่าด้วยการเกิดขึ้น กามราคานุสัยเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ปฏิฆานุสัยย่อมเกิดแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ใช่ . ปฏิฆานุสัยเกิดแก่ผู้ใด กามราคานุสัยย่อมเกิดแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯ ล ฯ
    ๗. ธาตุวาร วาระ ว่าด้วยธาตุ บุคคลเลื่อนแล้วจากกามธาตุ กำลังเข้าถึงกามธาตุ มีอนุสัยกี่อย่างแฝงตังตาม มีอนุสัยกี่อย่างที่ดับไป ? บุคคลเคลื่อนแล้วจากกามธาตุ กำลังเข้าถึงรูปธาตุ มีอนุสัยกี่อย่างแฝงตัวตาม มีอนุสัยกี่อย่างที่ดับไป ? บุคคลเคลื่อนแล้วจากกามธาตุ กำลังเข้าถึงอรูปธาตุ มีอนุสัยกี่อย่างแฝงตัวตาม มีอนุสัยกี่อย่างแฝงตัวตาม มีอนุสัยกี่อย่างที่ดับไป ? ฯลฯ ( เป็นคำถามนับจำนวนร้อยข้อ ต่อไปนี้เป็นคำตอบพอเป็นตัวอย่าง ) บุคคลเคลื่อนแล้วจากกามธาตุ กำลังเข้าถึงกามธาตุ บางคนก็มีอนุสัย ๗ อย่าง บางคนก็มีอนุสัย ๕ อย่างแฝงตัวตาม อนุสัยที่ดับไม่มี. บุคคลเคลื่อนแล้วจากกามธาตุ กำลังเข้าถึงรูปธาตุ บางคนมีอนุสัย ๗ อย่าง บางคนมีอนุสัย ๕ อย่าง บางคนมีอนุสัย ๗ อย่าง บางคนมีอนุสัย ๕ อย่าง บางคนมีอนุสัย ๓ อย่างแฝงตัวตาม อนุสัยที่ดับไม่มี ฯลฯ
    (หมายเหตุ: เมื่อกล่าวถึง บุถุชน คือผู้ยังหนาไปด้วยกิเลส ก็กล่าวถึงว่า อนุสัย ๗ แฝงตัวตาม ส่วนบุคคล ผู้มีอนุสัยเพียง ๕ ได้แก่พระโสดาบันและพระสกทาคามี เพราะท่านเหล่านี้ละอนุสัยได้ ๒ คือ ทิฏฐิ ( ความเห็นผิด ) วิจิกิจฉา ( ความลังเลสงสัย ) ยังเหลืออีก ๕ คือ กามราคะ ( ความกำหนัดในกาม ) ปฏิฆะ ( ความขัดใจ ) มานะ ( ความถือตัว ) , ภวราคะ ( ความยินดีในความมีความเป็น คือในรูปฌาน อรูปฌาน ), อวิชชา (ความไม่รู้ ) คำว่า ความไม่รู้สำหรับพระอริยบุคคล หมายถึงความไม่รู้ชั้นสูงที่ทำให้ยังมิได้เป็นพระอรหันต์ , มีอนุสัย ๓ ได้แก่พระอนาคามี คือท่านละกามราคะ , ปฏิฆะ , ทิฏฐิ , วิจิกิจฉาได้ แต่ยังละมานะ , ภวราคะ และอวิชชาไม่ได้ ).

    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๘ </center> <hr> '๑' . ตรงที่เรียงตัวพิเศษไว้นี้ เป็นหลักวิชาพิเศษ ที่อธิบายถึงจิตตสังขารอย่างน่าสนใจ จึงได้ทำเครื่องหมายให้สังเกตโดยง่าย คำว่า สัมปยุต คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน
    '๑' . คำว่า กามธาตุ มีความหมายประกอบในเวทนา ๒ , ส่วนคำว่า รูปธาตุ และอรูปธาตุ ไม่เกี่ยวกับเวทนาทั้งสองนั้นเลย
    [/FONT]
     
  14. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๓๙ ชื่อยมก ภาคที่ ๒ </center> <center> เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๖ ) </center> ( ได้กล่าวแล้วว่า ในเล่มที่ ๓๙ นี้ มีหัวข้อแห่งยมกเพียง ๓ คือ ๑. จิตตยมก ( ธรรมที่เป็นคู่คือจิต ) ๒. ธัมมยมก ( ธรรมที่เป็นคู่คือธรรม ) ๓. อินทริยยมก ( ธรรมที่เป็นคู่คืออินทรีย์ คือธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ) วิธีอธิบายทั้งสามหัวข้อไม่เหมือนกัน ดังจะกล่าวต่อไปเมื่อถึงหัวข้อนั้น ๆ ) .
    <center> ๑. จิตตยมก </center> <center> ธรรมเป็นคู่คือจิต </center> หัวข้อใหญ่ของจิตยมก คือ อุทเทส หรือบทตั้ง กับ นิทเทส หรือบทอธิบาย แล้วมีหัวข้อย่อยที่บทตั้ง และคำอธิบายเกี่ยวข้องด้วย ๔ วาระ คือ ๑. ปุคคลวาร วาระว่าด้วยบุคคล ๒. ธัมมวาร วาระว่าด้วยธรรม ๓. ปุคคลธัมมวาร วาระว่าด้วยบุคคลและธรรม ๔. มิสสกวาร วาระว่าด้วยจิตที่ผสมด้วยกิเลส.
    <center> ก. อุทเทสหรือบทตั้ง </center> ๑. ปุคคลวาร วาระ ว่าด้วยบุคคล จิตของบุคคลใดย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ จิตของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น อนึ่ง จิตของบุคคลใดจักดับ จักไม่เกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้นย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ ฯ ล ฯ
    ๒. ธัมมวาร วาระ ว่าด้วยธรรม จิตย่อมเกิดขึ้นยังไม่ดับ จิตนั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น อนึ่ง จิตใด จักดับ จักไม่เกิดขึ้น จิตนั้นย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ<sup></sup> ฯ ล ฯ
    ๓. ปุคคลธัมมวาร วาระ ว่าด้วยบุคคลและธรรม จิตใดของบุคคลใดย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ จิตนั้นของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น อนึ่ง จิตใดของบุคคลใดจักดับ จักไม่เกิดขึ้น จิตนั้นของบุคคลนั้น ย่อมเกิด ยังไม่ดับ . ฯลฯ
    ๔. มิสสกวาร วาระ ว่าด้วยจิตที่ผสมด้วยกิเลส จิตอันมีราคะของผู้ใดย่อมเกิดขึ้น ; จิตปราศจากราคะของผู้ใดย่อมเกิดขึ้น ; ฯ ล ฯ จิตนั้น ๆ ของผู้นั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น อนึ่ง จิตนั้น ๆ ของผู้ใดจักดับ จักไม่เกิดขึ้น จิตนั้น ๆ ของผู้นั้นย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ ฯ ล ฯ
    <center> ข. นิทเทส หรือบทอธิบาย </center> ๑. บทนำตั้งในปุคคลวารมาตั้งคำถามว่า เป็นเช่นนั้นใช่หรือไม่ แล้วตอบว่า ในขณะเกิดขึ้น แห่งจิตสุดท้าย จิตของผู้นั้นย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ ( แต่ ) จักดับ จักไม่เกิดขึ้น. ในขณะเกิดขึ้นแห่งจิตของบุคคลนอกนี้ จิตของเขาย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ ( แต่ ) จักดับด้วย จักเกิดขึ้นด้วย ฯ ล ฯ
    ๒. บทนำตั้งในธัมมวารมาตั้งเป็นคำถามว่า เป็นเช่นนั้นใช่หรือไม่ แล้วตอบว่า ใช่ แต่ในกรณีที่ว่าจิตใดย่อมไม่เกิดขึ้น ย่อมดับ จิตนั้นจักไม่ดับ จักเกิดขึ้น ดังนี้ ตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น และในกรณีที่ว่าจิตใด จักไม่ดับ จักเกิดขึ้น จิตนั้นย่อมไม่เกิด ( แต่ ) ย่อมดับ ดังนี้ ตอบว่า ไม่มี .
    ๓. นำบทตั้งในปุคคลธัมมวารมาตั้งเป็นคำตอบแล้วตอบเช่นเดียวกับในธัมมวาร.
    ๔. บทอธิบายในมิสสกวาร มิได้ตั้งเป็นคำถามตอบ แต่กล่าวว่า เมื่ออธิบายถึงจิตของบุคคลใดโดยภาวะของตน เมื่ออธิบายถึงจิตใดและจิตของบุคคลใด โดยอรรถอันเดียวกัน ( กล่าวย้อนไปถึงวารทั้งสามข้างต้น ) บุคคลใดมีจิตประกอบด้วยราคะ ฯ ล ฯ มีธรรมอันไม่มีข้าศึก ธรรมที่เป็นคู่ ( ยมก ) ๓ ประการ คือ มูลยมก ( ธรรมที่เป็นคู่อันเป็นมูล ) จิตตตยมก ( ธรรมที่เป็นคู่คือจิต ) ธัมมยมก ( ธรรมที่เป็นคู่คือธรรม ) ย่อมเป็นไป จนถึงธรรมที่มีข้าศึกและไม่มีข้าศึก ( คือเมื่อกล่าวถึงจิตของบุคคลมีราคะ จนถึงไม่มีข้าศึก ย่อมเข้าในลักษณะยมก ๓ ประการ )
    <center> ๒. ธัมมยมก </center> <center> ธรรมที่เป็นคู่คือธรรม </center> <center> ๑. ปัณณัตติวาร วาระว่าด้วยบัญญัติ </center> <center> ก. อุทเทสหรือบทตั้ง </center> กุศล เป็นกุศลธรรม กุศลธรรม เป็นกุศล. อกุศล เป็นอกุศลธรรม เป็นอกุศล. อัพบากฤต เป็นอัพยากตธรรม อัพยากตธรรม เป็นอัพยากฤต ฯ ล ฯ
    <center> ข. นิทเทส หรือบทอธิบาย </center> กุศล เป็นกุศลธรรมใช่หรือไม่ ? ใช่ . กุศลธรรม เป็นกุศลใช่หรือไม่ ? ใช่. อกุศล เป็นอกุศลธรรมใช่หรือไม่ ? ใช่ . อกุศลธรรม เป็นอกุศลใช่หรือไม่ ใช่ . อัพยากฤต เป็นอัพยากตธรรมใช่หรือไม่ ? ใช่. อัพยากตธรรม เป็นอัพยากฤติใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯ ล ฯ
    <center> ๒. ปวัตติวาร วาระว่าด้วยความเป็นไป </center> <center> ก. อุปปาทวาร วาระว่าด้วยความเกิดขึ้น </center> กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่. อนึ่ง อกุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่.
    กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ในขณะเกิดขึ้นแห่งกุศลทั้งหลายในอรูป ( ซึ่งมีขันธ์ ๔ ) กุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น อัพยากตธรรมย่อมไม่เกิดขึ้น. ในขณะเกิดขึ้นแห่งกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕ ทั้งกุศลธรรมและอัพยากตธรรมย่อมเกิดแก่ผู้นั้น. อนึ่ง อัพยกตธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใดกุศลธรรมย่อมเกิดแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ในขณะที่เกิดขึ้นแห่งจิตที่ไม่ประกอบด้วยกุศลอันเป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวงผู้ กำลังเกิด อัพยากตธรรมย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น กุศลธรรมย่อมไม่เกิด แต่ในขณะที่เกิดขึ้นแห่งกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕ ทั้งอัพยากตธรรมและกุศลธรรมย่อเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น.
    กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ในขณะเกิดขึ้นแห่งอกุศลทั้งหลายในอรูป ( ซึ่งมีขันธ์ ๔ ) อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น อัพยากตธรรมย่อมไม่เกิดขึ้น. ในขณะเกิดขึ้นแห่งอกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕ ทั้งกุศลธรรมและอัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น . อนึ่ง อัพยากตธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ในขณะเกิดขึ้นแห่งจิตที่ไม่ประกอบด้วยอกุศล อันเป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวงผู้กำลังเกิด อัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น อกุศลธรรมย่อมไม่เกิดขึ้น . แต่ในขณะที่เกิดขึ้นแห่งอกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕ ทั้งอัพยากตธรรมทั้งอกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น ฯ ล ฯ
    <center> ข. นิโรธวาร วาระว่าด้วยความดับ </center> กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อกุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ . อนึ่ง อกุศลธรรมของผู้ใดดับ กุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่.
    กุศลธรรมของผู้ใดดับ อัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ในขณะดับแห่งกุศลทั้งหลายในอรูป กุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับ อัพยากตธรรมย่อมไม่ดับ. ในขณะดับแห่งกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕ ทั้งกุศลธรรมทั้งอัพยากตธรรมย่อมดับ. อนึ่ง อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ กุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ในขณะดับแห่งจิตอันไม่ประกอบด้วยกุศลที่เป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวง ผู้กำลังเคลื่อน ( จุติ ) อัพยากตธรรมของสัตว์เหล่านั้นย่อมดับ กุศลธรรมย่อมไม่ดับ . แต่ในขณะดับแห่งกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕ ทั้งอัพยากตธรรมทั้งกุศลธรรมของสัตว์เหล่านั้นย่อมดับ.
    กุศลธรรมของผู้ใดดับ อัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ในขณะดับแห่งอกุศลทั้งหลายในอรูป อกุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับ อัพยากตธรรมย่อมไม่ดับ ในขณะดับแห่งอกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕ ทั้งอกุศลธรรมทั้งอัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับ . อนึ่ง อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ อกุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ในขณะดับแห่งจิตอันไม่ประกอบด้วยอกุศลที่เป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวง ผู้กำลังเคลื่อน ( จุติ ) อัพยากตธรรมของสัตว์เหล่านั้นย่อมดับ อกุศลธรรมย่อมไม่ดับ แต่ในขณะดับแห่งอกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕ ทั้งอัพยากตธรรมทั้งอกุศลธรรมของสัตว์นั้นย่อมดับ ฯ ล ฯ
    <center> ค. อุปปาทนิโรธวาร วาระว่าด้วยความเกิดขึ้นและความดับ </center> กุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อกุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ . อนึ่ง อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ .
    กุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ . อนึ่ง อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ .
    กุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ . อนึ่ง อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ .
    <center> ๓. ภาวนาวาร วาระว่าด้วยการทำให้เกิด </center> ผู้ใดทำกุศลธรรมทำให้เกิดขึ้น ผู้นั้นย่อมละอกุศลธรรมได้ใช่หรือไม่ ? ใช่ . อนึ่ง ผู้ใดละอกุศลธรรมได้ ผู้นั้นย่อมทำกุศลธรรมให้เกิดใช่หรือไม่ ? ใช่ . ผู้ใดไม่ทำกุศลธรรมให้เกิด ผู้นั้นย่อมละอกุศลธรรมไม่ได้ใช่หรือไม่ ? ใช่ . อนึ่ง ผู้ใดละอกุศลธรรมไม่ได้ ผู้นั้นย่อมทำกุศลธรรมให้เกิดไม่ได้ใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯ ล ฯ
    <center> ๓. อินทริยยมก </center> <center> ( ธรรมที่เป็นคู่คืออินทรีย์ ได้แก่ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ) </center> <center> ๑. ปัณณัตติวาร วาระว่าด้วยบัญญัติ </center> อินทรีย์มี ๒๒ มีอินทรีย์คือตา เป็นต้น มีอินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมเป็นที่สุด ( ดูรายละเอียดที่พระอภิธรรมเล่ม ๒ ) ในหัวข้อ ๕. อินทริยวิภังค์ แจกอินทรีย์
    <center> ก. อุทเทส หรือบทตั้ง </center> ตา เป็นอินทรีย์คือตา อินทรีย์คือตา เป็นตา ; หู เป็นอินทรีย์คือหู อินทรีย์คือหู เป็นหู ; จมูก เป็นอิทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือจมูก เป็นจมูก ฯ ล ฯ.
    <center> ข. นิทเทส หรือบทอธิบาย </center> ตา เป็นอินทรีย์คือตาใช่หรือไม่ ? ตา คือตาทิพย์ ตาปัญญา มิใช่อินทรีย์คือตา ส่วนอินทรีย์คือตา เป็นตาด้วย เป็นอินทรีย์คือตาด้วย . อินทรีย์คือตา เป็นตาใช่หรือไม่ ? ใช่ . หู เป็นอินทรีย์คือหูใช่หรือไม่ ? หูที่เป็นหูทิพย์ ที่เป็น ตัณหาโสตะ ( กระแสคือตัณหา <sup></sup>) ไม่ใช่อินทรีย์คือหู ส่วนอินทรีย์คือหู เป็นหูด้วยเป็นอินทรีย์คือหูด้วย . อินทรีย์คือหู เป็นหูใช่หรือไม่ ? ใช่ จมูก เป็นอินทรีย์คือจมูกใช่หรือไม่ ? ใช่ . อินทรีย์คือจมูก เป็นจมูกใช่หรือไม่ ? ใช่ ฯ ล ฯ

    <center> ๒. ปวัตติวาร วาระว่าด้วยความเป็นไป </center> อินทรีย์คือ ตา เกิดขึ้นแก่ผู้ใด อินทรีย์คือ หู ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ผู้กำลังเกิดเป็นสัตว์ที่มีตา แต่ไม่มีหู อินทรีย์คือตาย่อมเกิดขึ้น แต่อินทรีย์คือหูย่อมไม่เกิดขึ้น. ผู้กำลังเกิดเป็นสัตว์ที่มีทั้งตาทั้งหูทั้งอินทรีย์คือตาอิทรีย์คือหูย่อม เกิดขึ้น . อนึ่ง อินทรีย์ หู เกิดขึ้นแก่ผู้ใด อินทรีย์คือ ตา ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ผู้กำลังเกิดเป็นสัตว์ที่มีทั้งหู แต่ไม่มีตา อินทรีย์คือหูย่อมเกิดขึ้น แต่อินทรีย์คือตาย่อมไม่เกิดขึ้น. ผู้กำลังเกิดเป็นสัตว์ที่มีทั้งหูทั้งตา ทั้งอินทรีย์คือหูทั้งอินทรีย์คือตาย่อมเกิดขึ้น ฯ ล ฯ
    <center> ๓. ปริญญาวาร วาระว่าด้วยการกำหนดรู้ </center> ผู้ใดกำหนดรู้อินทรีย์คือ ตา ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้อินทรีย์คือ หู ใช่หรือไม่ ? ใช่ อนึ่ง ผู้ใดกำหนดรู้อินทรีย์คือ หู ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้อินทรีย์คือ ตา ใช่หรือไม่ ? ใช่ .
    ผู้ใดกำหนดรู้อินทรีย์คือ ตา ผู้นั้นย่อมละได้ซึ่งอินทรีย์คือ โทมนัส ( ความเสียใจ ) ใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ . อนึ่ง ผู้ใดละได้ซึ่งอินทรีย์คือ โทมนัส ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้อินทรีย์คือ ตา ใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ ฯ ล ฯ
    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๙ </center> <hr> '๑' . พึงสังเกตว่า คำว่า บุคคล กับคำว่า ธรรม ในวาระทั้งสองนี้ต่างกันอย่างไร
    '๒' . ตรงนี้เป็นการเล่นคำ เพราะโสตะ แปลว่า หู ก็ได้ แปลว่า กระแส ก็ได้




    [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๔๐ ชื่อยมก ภาคที่ ๑ </center> <center> เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๗ )
    หน้า ๑
    </center> คำว่า ปัฏฐาน เป็นชื่อของคัมภีร์ที่ ๗ แห่งอภิธัมมปิฎก โปรดย้อนไปดูคำอธิบายอีกครั้งหนึ่ง ( ในข้อ ๗ แห่งอภิธัมมปิฎก )
    คัมภีร์ปัฏฐานที่พิมพ์ในฉบับไทยมี ๖ ตั้งแต่เล่มที่ ๔๐ ถึงเล่มที่ ๔๕ คือ เล่มที่ ๔๐ ว่าด้วยอนุโลมติกปัฏฐาน ได้แก่ปัจจัยอันเกี่ยวกับธรรม ๓ อย่าง คือ กุศลธรรม ๓ อย่าง , เวทนา ๓ อย่าง , วิบาก ๓ อย่าง , อุปาทินนะ ๓ อย่าง , สังกิลิฏฐะ ๓ อย่าง ( คือพูดถึงปัฏฐานแห่งธรรมใน คัมภีร์ธัมมสังคณี ( ดูข้อ(๑) ธรรมที่เป็นกุศล ถึง (๕) ธรรมที่เศร้าหมอง )
    เล่มที่ ๔๑ เป็นตอนที่ ๒ วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐาน ต่อมาจากเล่มที่ ๔๐ คืออธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๓ อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี ตั้งแต่ข้อ ๖ ถึงข้อ ๒๒ . ( ดูข้อ(๖) ธรรมที่มีวิตก ถึง (๒๒) ธรรมที่เห็นได้และถูกต้องได้ )
    เล่มที่ ๔๒ เป็นตอนที่ ๓ วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐานตอนต้น อธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๒ อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี ตั้งแต่แม่บทที่ ๒ เหตุโคจฉกะ ถึงแม่บทที่ ๑๐ ปรามาสโคสฉกะ. ( ดูข้อ ๒. แม่บท ถึง ๑๐. แม่บท )
    เล่มที่ ๔๓ เป็นตอนที่ ๔ วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐานตอนปลาย อธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๒ อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี ตั้งแต่แม่บทที่ ๑๑ มหันตรทุกะ ถึงแม่บทที่ ๑๔ ปิฏฐิทุกะ ( ดูข้อ ๑๑. แม่บท ถึง ๑๔. แม่บท )
    เล่มที่ ๔๔ เป็นตอนที่ ๕ วาระว่าด้วยธรรมหมวด ๒ หมวด ๓ ผสมกัน , ธรรมหมวด ๓ หมวด ๒ ผสมกัน , ธรรมหมวด ๓ หมวด ๓ ผสมกัน , ธรรมหมวด ๒ หมวด ๒ ผสมกัน แต่ก็คงใช้ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีเป็นบทตั้งเช่นเดิม.
    เล่มที่ ๔๕ เป็นตอนที่ ๖ วาระว่าด้วยหัวข้อสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑.ปัจจนียปัฏฐาน ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัยโดยปฏิเสธข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี คือนำข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีมาตั้งแล้วปฏิเสธว่า อาศัยธรรมที่มิใช่ข้อนั้น ๆ ธรรมที่มิใช่ข้อนั้น ๆ ก็เกิดขึ้น ๒. อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัย โดยอาศัยข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี แต่ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นธรรมมิใช่ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี เช่น อาศัยธรรมเกิดธรรมที่มิใช่กุศล ๓. ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัย โดยอาศัยธรรมที่มิใช่ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี แต่เกิดธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี เช่น อาศัยธรรมอันมิใช่กุศล เกิดอกุศลธรรม , อาศัยธรรมอันมิใช่กุศล เกิดอัพยากตธรรม. ข้อสังเกตง่าย ๆ คือ ปัจจนียปัฏฐาน ปฏิเสธทั้งสองฝ่ายที่ถูกอาศัย ทั้งฝ่ายที่เกิดขึ้น , อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่เกิด , ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่ถูกอาศัย.
    เมื่อพิจารณาดูโดยสังเขปเช่นนี้แล้ว ก็พอเข้าใจได้ว่า คัมภีร์ปัฏฐานแสดงถึงปัจจัย ๒๔ ชนิด ตามเนื้อหาว่าเป็นปัจจัยในลักษณะไหน ครั้นแล้วจึงนำข้อธรรมหมวด ๓ หมวด ๒ ในคัมภีร์ธัมมสังคณีมาเป็นบทตั้ง เอาปัจจัย ๒๔ มากล่าวถึงว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร หลายแง่หลายมุม ถ้าจะเทียบด้วยการทอผ้า ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีเท่ากับเป็นเส้นด้ายยืน ส่วนปัจจัย ๒๔ เหมือนด้ายในกระสวย ที่พุ่งไปมาระหว่างด้ายยืน ให้สำเร็จเป็นลวดลายต่าง ๆ ).
    <center> บัดนี้จะเริ่มต้นด้วยข้อธรรมในเล่ม ๔๐ ต่อไป </center> <center> มากานิเขปวาร </center> <center> ( วาระแห่งการตั้งแม่บท ) </center> เหตุปัจจัย ๑. ( ปัจจัย หรือเครื่องสนับสนุน ที่เป็นเหตุ )
    ๒. อารัมมณปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นอารมณ์ )
    ๓. อธิปติปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นใหญ่)
    ๔. อนันตรปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง )
    ๕. สมนันตรปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของกระชั้นชิด )
    ๖. สหชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดพร้อมกัน)
    ๗. อัญญมัญญปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของอิงอาศัยกันและกัน )
    ๘. นิสสยปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นที่อาศัยโดยตรง )
    ๑๐. ปุเรชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดก่อน )
    ๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดทีหลัง )
    ๑๒. อาเสวาปัจจัย ( ปัจจัยโดยการส้องเสพ )
    ๑๓. กัมมปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นกรรม คือการกระทำ )
    ๑๔. วิปากปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นผลของกรรม)
    ๑๕. อาหารปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นผลอาหาร )
    ๑๖. อินทริยปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นอินทรีย์ )
    ๑๗. ฌานปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นฌาน คือสมาธิแน่วแน่ )
    ๑๘. มัคคปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นมรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับกิเลสและดับทุกข์ )
    ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของประกอบกัน คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน )
    ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่ประกอบกัน)
    ๒๑. อัตถิ ( ปัจจัยที่เป็นของมีอยู่)
    ๒๒. นัตตถิปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่มี )
    ๒๓. วิตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไปปราศ คือพ้นไป หมดไป )
    ๒๔. อวิคตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่ปราศ คือไม่พ้นไป ไม่หมดไป)
    <center> ปัจจยวิภังควาร </center> <center> วาระว่าด้วยการแจก คือการอธิบายปัจัยทีละข้อ </center> ๑.เหตุปัจจัย คือเหตุที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกับเหตุ และแห่งรูปที่มีธรรมอันประกอบกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะ เ ป็นฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ ( เหตุเทียบด้วยรากไม้ต้นไม้จะมีผลเจริญงอกงามก็เพราะได้อาศัยรากดูดน้ำและ โอชะอื่น ๆ มาหล่อเลี้ยง ).
    ๒.อารัมมณปัจจัย อายตนะหรืออารมณ์ คือ รูป , เสียง , กลิ่น , รส , โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) , ธัมมะ ( สิ่งที่รู้ด้วยใจ ) เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุ คือความรู้แจ้งอารมณ์ทาง ตา หู เป็นต้น และแห่งธรรมที่ประกอบกับวิญญาณธาตุนั้น ๆ โดยฐานะเป็นอารัมณปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอารมณ์ ( อารมณ์คือสิ่งที่จิตเจตสิกยึดถือเหมือนยึดเกาะท่อนไม้ ).
    ๓.อธิปติปัจจัย ธรรมที่เป็นใหญ่ คือ ฉันทะ ( ความพอใจ ) วิริยะ ( ความเพียร ) จิตตะ ( ความเอาใจฝักใฝ่ ) วิมังสา ( ความพิจารณาสอบสวน ) เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกับฉันทะ เป็นต้นแต่ละข้อ และแห่งรูปที่มีธรรมที่ประกอบกับฉันทะ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นอธิปติปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นใหญ่. อนันตรปัจจัย
    ๔. อนันตรปัจจัย จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. โดยนัยนี้ โสตวิญญาณธาตุ จนถึง มโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุ เป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น โดยฐานะเป็นปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั้น. ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น . ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพาหฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น.
    ๕. สมนันตรปัจจัย มีอธิบายอย่างเดียวกับข้อ ๔ คืออนันตรปัจจัย ต่างแต่สิ่งที่เป็นปัจจัยในข้อนี้เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นสมนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนอย่างกระชั้นชิด. ( มติของอาจารย์ในชั้นหลังมีอยู่ต่าง ๆ กัน บางท่านว่า อนันตรปัจจัย ( ปัจจัยโดยความเป็นของไม่มีอะไรคั้นในระหว่าง ) กับ สมนันตรปัจจัย ( ปัจจัยโดยความเป็ของกระชั้นชิด ) ต่างมีพยัญชนะ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน . บางอาจารย์กล่าวว่าต่างกัน คือ อนันตรปัจจัย เป็นของไม่มีอรรถะ คือเนื้อความอย่างอื่นคั่น . ส่วน สมนันตรปัจจัย เป็นของไม่กาละคั่น - ดู อภิธัมมัตถภาวินี หน้า ๒๔๑ ).
    ๖. สหชาตปัจจัย ธรรม ๔ อย่างที่ไม่มีรูป ( คือรูป เวทนา , สังขาร , และ วิญญาณ ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน . มหาภูตรูป ๔ ( ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน . ในขณะที่ก้าวลง ( สู่ครรภ์มารดา คือขณะปฏิสนธิ ) นามและรูปเป็นปัจจัยของกันแลกัน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน. ธรรมที่เป็น จิต และ เจสิก เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน. มหาภูตรูป ( รูปใหญ่คือ ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัยแห่ง อุปาทารูป ( รูปอาศัย คือรูปที่ปรากฏเพราะอาศัยมหาภูตรูป เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ) โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน. ธรรมที่มีรูปเป็นปัจจัยของธรรมที่ไม่มีรูปในกาลบางครั้ง โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน. แต่ในกาลบางครั้งก็เป็นปัจจัย มิใช่โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน.
    ๗. อัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป ( ได้แก่ เวทนา , สัญญา , สังขาร , และ วิญญาณ ) เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน . มหาภูตรูป ๔ ( ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน ในขณะก้าวลง ( ขณะปฏิสนธิ ) นามและรูปเป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน .
    ๘. นิสสยปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป ( ได้แก่ เวทนา , สัญญา , สังขาร , และ วิญญาณ ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนเป็นที่อาศัย . มหาภูตรูป ๔ ( ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย. ในขณะที่ก้าวลง ( ขณะปฏิสนธิ ) นามและรูปเป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย . ธรรมคือจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยของรูปที่มีจิตเป็น สมุฏฐาน โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย อายตนะ คือ ตา , หู , ลิ้น , กาย เป็นปัจจัยแห่ง ธาตุ คือ ความรู้แจ้ง ( วิญญาณธาตุ ) ทางตา , หู , ลิ้น , กาย และธรรมที่ประกอบวิญญาณธาตุชนิดนั้น ๆ. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) มโนสิญญาณธาตุ ( ธาตุคือความรู้แจ้งทางใจ ) อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุและแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย.
    ๙. อุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยโดยสืบต่อกันมา. ต่อจากนี้มีข้อความคล้ายกับข้อ ๔ ต่างแต่เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย . แม้บุคคลก็เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา . แม้เสนาสนะก็เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา . คำว่า นิสสยปัจจัย กับ อุปนิสสยปัจจัย มีคำใกล้กัน นิสสย แปลว่า เป็นที่อาศัย อุปนิสสยะ แปลว่า ใกล้จะเป็นที่อาศัย แต่แปลหักตามเนื้อหาว่า เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา คืออาศัยพอเป็นเค้า เป็นเชื้อ มีความหนักแน่นน้อยกว่า นิสสยะ ).
    ๑๐. ปเรชาตปัจจัย อานตนะคือ ตา , หู , ลิ้น , กาย เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุทางตา , หู , ลิ้น , กาย ตามประภทของตน และแห่งธรรมที่ประกอบด้วยวิญญาณธาตุนั้น ๆ โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน . อายตนะคือ รูป , เสียง , กลิ่น , รส , โผฏฐัพพะ เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุนั้น โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน. อายตนะคือ รูป , เสียง , กลิ่น , รส , โผฏฐัพพะ เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และธรรมะที่ประกอบด้วยมโนธาตุ โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัยคือเครื่องสนับสนุนเกิดก่อน. มโนธรรมและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุและแห่งธรรมที่ประกอบด้วยมโนธาตุ โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน. รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนวิญญาณธาตุในกาลบางครั้ง โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อนในกาลบางครั้งก็เป็นปัจจัย โดยมิใช่ฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน.
    ๑๑.ปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ที่เป็นจิตและเจตสิก ย่อมเป็นปัจจัยแห่งกายนี้ซึ่งเกิดก่อน โดยฐานะเป็นปัจฉาชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดภายหลัง.
    ๑๒. อาเสวนปัจจัย ธรรม ที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนโดยการส้องเสพ. ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนโดยการส้องเสพ . ธรรมที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย เป็นเครืองสนับสนุนโดยการส้องเสพ. ( ธรรมประเภทเดียวกันเมื่อส้องเสพหรือประพฤติบ่อย ๆ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมประเภทเดียวกันนั้นต่อไปอีก ).
    ๑๓. กัมมปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลย่อมเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่เป็นวิบาก และแห่ง กฏัตตารูป ( รูปที่เกิดเพราะทำกรรมไว้ เรียกว่า กัมมชรูป ก็ได้ ) โดยฐานะเป็นกัมมปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นกรรมคือการกระทำ. กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบด้วยเจตนา และแห่งรูปที่มีธรรมอันประกอบด้วยเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นกัมมปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นกรรมคือการกระทำ.
    ๑๔. วิปากปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูปซึ่งเป็นผลของกรรมย่อมเป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นวิปากปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นผลของกรรม.
    ๑๕. อาหารปัจจัย อาหาร เป็นคำ ๆ ( อาหารที่กลืนกิน ) เป็นปัจจัยของกายนี้ โดยฐานะเป็นอาหารปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอาหาร อาหารที่ไม่มีรูป เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกัน ( สัมปยุตตธรรม ) <sup></sup>. และแห่งรูปที่มีสัมปยุตตธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นอาหารปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอาหาร.
    ๑๖. อินทริยปัจจัย อินทรีย์คือ ตา , หู , ลิ้น , กาย เป็นปัจจัยแห่ง วิญญาณธาตุ ทางตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย และธรรมที่สัมปยุตด้วยวิญญาณธาตุชนิดนั้น ๆ โดยฐานะเป็นอินทรีย์ปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทรีย์ ( คือธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ). อินทรีย์คือรูปชีวิต เป็นปัจจัยแห่ง กฏัตตารูป รูปซึ่งเกิดแต่กรรม ) โดยฐานะเป็นอินทรีย์ปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทรีย์. อินทรีย์ที่ไม่มีรูป เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตธรรม และรูปที่มีสัมปยุตตธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นอินทริยปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทีรย์.
    ๑๗. ฌาณปัจจัย องค์แห่งฌานย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุต ( ประกอบ ) ด้วยฌาน และรูปที่มีธรรมที่สัมปยุตด้วยฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นฌานปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นฌาน.
    ๑๘. มัคคปัจจัย องค์แห่งมรรคย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรค และแห่งรูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยมรรคนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นมัคคปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นมรรค.
    ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป ( ได้แก่ เวทนา , สัญญา , สังขาร, และ วิญญาณ ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นสัมปยุตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นของประกอบกัน ( คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ).
    ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย ธรรม ที่เป็นรูปย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ไม่มีรูป. ธรรมที่ไม่มีรูปย่อมย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่มีรูป โดยฐานะเป็นวิปปยุตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่ประกอบกัน ( ไม่เกิดพร้อมกันไม่ดับพร้อมกัน ).
    ๒๑. อัตถิปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป เป็นปัจจัยของกันและกัน. มหาภูตรูป ๔ ( ดิน , น้ำ , ไฟ , ลม ) เป็นปัจจัยของกันและกัน , ธรรมที่เป็น จิต และ เจตสิก เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน , อายตนะคือตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย เป็นปัจจัยแห่ง จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้นนั้น ๆ , อายตนะคือรูป , เสียง , กลิ่น , รส , โผฏฐัพพะ เป็นปัจจัยแห่ง จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย จักขุวิญญาณธาตุ นั้น ๆ, โดยความเป็นอัตถิปัจจัยคือความเป็นเครื่องสนับสนุนที่มีอยู่. มโนธาตุ , และ มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นย่อมเป็นปัจจัยแห่ง มโนธาตุ แห่ง มโนวิญญาณธาตุ และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย มโนธาตุ , และ มโนวิญญาณธาตุ นั้น โดยฐานะเป็น อัตถิปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่มีอยู่.
    ๒๒. นัตถิปัจจัย ธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ดับไปในขณะกระชั้นชิด ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยฐานะเป็น นัตถิปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มี
    ๒๓. วิตตปัจจัย ธรรมที่เป็น จิต และ เจตสิก ที่ไปปราศ คือพ้นไป หมดไปในขณะกระชั้นชิด ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยฐานะเป็น วิตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นไปปราศ คือพ้นไป หมดไป
    ๒๔. อวิตตปัจจัย มีคำอธิบายเหมือน อัตตถิปัจจัย.
    (หมายเหตุ: ปัจจัยข้อที่ ๒ – ๓- ๔- ๕ มีข้อความตอนท้ายพ้องกันมิได้กล่าวไว้ ขอถือโอกาสนำมากล่าวรวมไว้ ในหมายเหตุนี้ คือกล่าวถึงธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น เพราะปรารภธรรมใด ๆ หรือเกี่ยวเนื่องกับธรรมใด ๆ ธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมนั้น ๆ โดยฐานะเป็นอารัมมณปัจจัยบ้าง , อธิปติปัจจัยบ้าง , อนันตรปัจจัยบ้าง , สมนะนตรปัจจัยบ้าง ).
    <hr> '๑' . สัมปยุจจธรรม คือธรรมที่เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์ และมีวัตถุอันเดียวกัน




    [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> อนุโลมติกปัฏฐาน </center> <center> ( ปัจจัยแห่งธรรมะหมวด <sup></sup> ๓ กล่าวไปตามลำดับ </center> <center> กุสลติกะ หมวด ๓ แห่งกุศล </center> <center> ๑. ปฏิจจาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center> ก. อุทเทส บทตั้ง เพราะ อาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมพึงเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี. กุศลธรรม อัพยากตธรรมพึงเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี เพราะอาศัยกุศลธรรม ทั้งกุศลธรรมและอัพยากตธรรมพึงเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี ฯ ล ฯ
    ข. นิทเทส บทอธิบาย เพราะ อาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ขันธ์ ๓ ย่อมเกิดขึ้น ( คือในขันธ์หรือส่วนที่เป็นนาม อันได้แก่ เวทนา , สัญญา , สังขาร , และ วิญญาณ ถ้าอาศัยขันธ์ใดขันธ์หนึ่งใน ๔ ขันธ์นี้ อีก ๓ ข้อที่เหลือก็เกิดขึ้น ). เพราะอาศัยขันธ์ ๓ ขันธ์ ๑ ย่อมเกิดขึ้น ( โดยทำนองเดียวกัน ถ้าอาศัยขันธ์ ๓ ข้อใด ๆ ก็ตาม ขันธ์อีกข้อหนึ่งใน ๔ ข้อที่ไม่พ้องกับขันธ์ ๓ ย่อมเกิดขึ้น ). เพราะอาศัยขันธ์ ๒ ขันธ์ ๒ ย่อมเกิดขึ้น ( อาศัยขันธ์ ๒ ข้อ ใน ๔ ข้อ อีก ๒ ข้อที่ไม่พ้องกันย่อมเกิดขึ้น ).
    เพราะอาศัยกุศลธรรม อัพยากติธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเพราะอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น .
    เพราะอาศัยกุศลธรรม ทั้งกุศลธรรมและอัพยากติธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ขันธ์ ๓ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น. เพราะอาศัยขันธ์ ๓ คือ ขันธ์ ๑ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น . เพราะอาศัยขันธ์ ๒ ขันธ์ ๒ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น.
    (หมายเหตุ: ทั้งบทตั้งและบทอธิบายได้นำมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง . ในอุทเทสหรือบทตั้งนั้น ถอดไว้อย่างข้างบนนี้ก็ได้ อย่างเป็นคำถามก็ได้ เช่น ถามว่า เพราะอาศัย ....ก็มี ใช่หรือไม่ ? ครั้นถึงนิทเทสหรือบทอธิบาน ก็เท่ากับเป็นคำตอบไปในตัว แต่จะสังเกตุว่า ได้มีการไม่ตอบอยู่ข้อหนึ่ง คือข้อที่ว่า อาศัยกุศลธรรม เกิดอกุศลธณรมก็มีนั้น คืออย่างไร ? เมื่อไม่มีคำตอบ จึงทำให้บางท่านสันนิษฐานว่า สภาพเช่นนั้นไม่มี. แต่ก็น่าจะไม่มี โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คงอยู่ในฐานะเป็นปัจจัยอย่างอื่น เช่น อุปนิสสยปัจจัย เพราะในอุปนิสสยปัจจัยนั้น มีคำอธิบายไว้บางตอนว่า “ กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยแห่งอกุศลธรรมหลัง ๆ บางชนิด โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ” ซึ่งอรรถกถายกตัวอย่างว่า อาศัยความดี เช่น ทาน , ศีล , สุตะ, ปัญญา แล้วเกิด มานะ ความถือตัว และ ทิฏฐิ ความเห็นผิด หรือเกิด ราคะ , โทสะ, โมหะ เป็นต้นได้. บางตอนมีคำอธิบายอุปนิสสยปัจจัยไว้ว่า “ อกุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ บางชนิด โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ” ซึ่งอรรถกถายกตัวอย่างว่า อาศัย ราคะ ก็มีการ ให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ ทำฌาน ทำวิปัสสนา ทำมรรค ทำอภิญญา ทำสมาบัติ ให้เกิดขึ้น. ตกลงว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และ ปัตถนา ( ความปรารถนา ) เป็นปัจจัย โดยฐานะอุปนิสสยปัจจัยแห่งศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาก็มี หรือบางคนฆ่าสัตว์แล้วพยายามให้ทานแก้ตัวก็มี . แต่คำอธิบายและตัวอย่างดังกล่าวมานี้ พบเฉพาะในอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น ).
    <center> ๒. สหชาตวาร วาระว่าด้วยธรรมที่เกิดร่วมกัน </center> เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมที่เกิดร่วมกันย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ. ( คำอธิบายเรื่องอาศัยขันธ์ ๑ เกิดขึ้น ๓ เป็นต้น เหมือนปฏิจจวารข้างต้น ).
    <center> ๓. ปัจจยวาร วาระว่าด้วยปัจจัย คือเครื่องสนับสนุน </center> เพราะกุศลธรรมเป็นปัจจัย กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ. คำอธิบายเรื่องอาศัยขันธ์ ๑ เกิดขันธ์ ๓ เป็นต้น เหมือนปฏิจจวารข้างต้น ).
    <center> </center>
    <center> ๔. นิสสยวาร วาระว่าด้วยธรรมเป็นที่อาศัย </center> เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ . ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น).
    <center> ๕. สังสัฏฐวาร วาระว่าด้วยธรรมที่ระคนกัน </center> เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมที่ระคนกันย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น ).
    <center> ๖. สัมปยุตตวาร วาระว่าด้วยธรรมที่ประกอบกัน </center> เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมที่ประกอบกัน ( เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์และวัตถุอันเดียวกัน ) ย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ . ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น ).
    <center> ๗. ปัญหาวาร วาระว่าด้วยคำถาม </center> หัวข้อวาระนี้น่าจะใช้คำว่า วาระว่าด้วยการตอบปัญหา กล่าวคือไม่มีคำถามปรากฏ มีแต่คำตอบอรรถกถาอธิบาย คำตอบบ่งถึงคำถามอยู่แล้ว ).
    กุศลธรรมเป็นปัจจัยแห่งกุศลธรรม โดยฐานะเหตุปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเหตุที่เป็นกุศล , เป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่ประกอบกัน ( สัมปยุตตขันธ์ ขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ) โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย .
    กุศลธรรมเป็นปัจจัยแห่งอัพยากตธรรม โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเหตุที่เป็นกุศล คือเหตุที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย.
    กุศลธรรมเป็นปัจจัยที้งของกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเหตุที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์ และแห่งรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานในฐานะเป็นเหตุปัจจัย ฯ ล ฯ
    <center> เวทนาติกะ หมวด ๓ แห่งเวทนา <sup></sup> </center> <center> ๑. ปฏิจจาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center> อาศัยธรรมที่สัมปยุตตด้วยสุขเวทนา เกิดธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เพราะเหตุปัจจัย คือเพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ. อาศัยขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิดขันธ์ ๒ , อาศัยขันธ์ ๒ , เกิดขันธ์ ๑ , ในขณะแห่งปฏิสนธิอาศัยขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิดขันธ์ ๒ , อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขันธ์ ๑ .
    ( ข้อนี้อรรถกถามิได้อธิบายไว้ ผู้เขียนขออธิบายตามความเห็นส่วนตัว คือในเรื่องนี้ เมื่อกันเวทนาออกมา ในฐานะที่ถูกสัมปยุต จึงเหลือขันธ์<sup></sup> อยู่เพียง ๓ คือ สัญญา , สังขาร , และ วิญญาณ. คำว่าอาศัยขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยเวทนา เช่น อาศัยวิญญาณขันธ์ เกิดขันธ์ ๒ คือเกิดสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์. คำว่า อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ๑ เช่น อาศัยสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ เกิดวิญญาณขันธ์ ).
    <center> ๒. สัมปยุตตวาร วาระว่าด้วยธรรมที่ประกอบกัน </center> ความจริงแบ่งวาระได้เช่นเดียวกับ กุสสติกะ คือ ๗ วาระ แต่ลีลาในการอธิบายคล้าย ๆ กัน ท่านจึงรวบรัดด้วยเครื่องหมายเปยยาล หรือ ฯ เป ฯ อันเท่ากับ ฯลฯ แล้วกล่าวถึงสัมปยุตตวารอย่างย่อ ๆ ).
    อาศัยธรรมที่สัมปยุต ( เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ) ด้วยสุขเวทนา เกิดสัมปยุตตธรรม คือสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เพราะเหตุปัจจัย คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิดขันธ์ ๒ ที่สัมปยุต , อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขันธ์ ๑ ที่สัมปยุต.
    <center> ๓. ปัญหาวาร วาระว่าด้วยคำถาม </center> ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย. ในขณะแห่งปฏิสนธิ เหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเสทนา ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย ฯล ฯ
    <center> วิปากติกะ หมวด ๓ แห่งวิบาก<sup></sup> </center> <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center> อาศัยธรรมที่เป็นวิบาก ธรรมที่เป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุปัจจัย คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑ ขันธ์ ๓ ทำนองเดียวกับ กุสสติกะ ).
    วาระอื่น ๆ เช่น สหชาตวาร , ปัจจยวาร , นิสสยวาร เป็นต้น ก็แบบเดียวกับ กุสสติกะ ที่กล่าวมาแล้ว ).
    <center> อุปาทินนติกะ หมวด ๓ แห่งธรรมที่ถูกยึดถือ<sup></sup> </center> <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center> อาศัยธรรมที่ถูกยึดถือ และเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เกิดธรรมที่ถูกยึดถือ และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เพราะเหตุปัจจัย คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ . ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑ ขันธ์ ๓ ทำนองเดียวกับ กุสสติกะ )
    วาระอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว).
    <center> สังกิลิฏฐติกะ หมวด ๓ แห่งธรรมที่เศร้าหมอง <sup></sup> </center> <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center> อาศัยธรรมที่เศร้าหมอง และเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง เกิดธรรมที่เศร้าหมอง และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง เพราะเหตุปัจจัย คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑ ขันธ์ ๓ ทำนองเดียวกับ กุสสติกะ ).
    วาระอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว ).
    <center>จบพระไตรปิฏก เล่มที่ ๔๐ </center> <hr> '๑' . คำว่า หมวด ๓ หมายถึงธรรมะ ๒๒ หมวด หมวดละ ๓ รวม ๖๖ โปรดดูที่พระอภิธรรม เล่ม ๑ หน้า ๑ ตั้งแต่ ๑. แม่บท (๑) ธรรมที่เป็นกุศลถึงข้อ ๒๒. ธรรมที่เห็นได้และถูกต้อง และต่อไปนี้จะกล่าวเฉพาะหมด ๓ แรก ที่เรียกว่า กุสสติกะ ก่อน
    '๒' . หมายถึงธรรมะหมวด ๓ ลำดับที่ ๒ โปรดดูที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ ลำดับที่ ๒ เช่นเดียวกัน
    '๓' . รูปขันธ์ไม่เกี่ยว เพราะมิใช่นาม
    '๔' . หมายถึงธรรมะหมวด ๓ ลำดับที่ ๓ โปรดดูที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ ลำดับที่ ๓ เช่นเดียวกัน
    '๕' . หมายถึงธรรมะหมวด ๓ ลำดับที่ ๔ โปรดดูที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ ลำดับที่ ๔ เช่นเดียวกัน
    '๖' . ดูที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ ลำดับที่ ๕ เช่นเดียวกัน
    [/FONT]
     
  15. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๔๑ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๒ </center> <center> เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๘ ) </center> ( ข้อความในเล่มที่ ๔๑ นี้ ก็ทำนองเดียวกับเล่มที่ ๔๐ คืออธิบายธรรมะหมวด ๓ ซึ่งค้างมาจาก เล่มที่ ๔๐ จนจบ . ในเล่มอธิบายไว้เพียง ๕ หมวด ในเล่มที่ ๔๑ อธิบายต่ออีก ๑๗ หมวด เมื่อรวมทั้งหมด จึงเป็น ๒๒ หมวด เป็นอันจบธรรมะหมวดที่ ๓ . รวม ๒ เล่มนี้ เรียกว่า อนุโลมติกปัฏฐาน คือแสดงถึงปัจจัย ๒๔ แห่งธรรมหมวด ๓ รวม ๒๒ หมวด อันกล่าวไปโดยลำดับ . ผู้ใคร่ทราบเนื้อความว่า ธรรมหมวด ๓ ที่เหลืออีก ๑๗ หมวดที่กล่าวถึงในเล่มที่ ๔๑ นี้ มีอะไรบ้าง โปรดดูข้อความที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ หน้า ๑ ).

    <center>จบพระไตรปิฏก เล่มที่ ๔๑


    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๔๒ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๓ </center>
    <center> ( เป็นอภิธัมมปิฎก ) </center>
    <center>อนุโลมทุกปัฏฐาน ปัจจัยแห่งธรรมะหมวด ๒ ตามลำดับ </center>
    <center> ตอนต้น </center>
    ( พระไตรปิฎกเล่มนี้ คู่กับเล่มที่ ๔๓ กล่าวคือเล่มที่ ๔๐ กับเล่มที่ ๔๑ คู่กันในการอธิบาย ธรรมะ หมวด ๓ จบ ๒๒ หมวด แต่เล่มที่ ๔๒ กับเล่มที่ ๔๓ คู่กันในการอธิบายธรรมะ หมวด ๒ รวม ๑๔ หมวด โดย เล่มที่ ๔๒ อธิบายได้ ๑๐ หมวด เล่มที่ ๔๓ อธิบายต่ออีก ๔ หมวด อันเป็นตอนจบของธรรมะหมวด ๒. การตั้งวาระในแต่ ละหัวข้อ คงตั้งได้ ๗ วาระ เช่น ที่ผ่านมาแล้วในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ ).

    <center> ๑. เหตุทุกะ หมวด ๒ แห่งเหตุ<sup></sup> </center>
    <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center>
    อาศัยธรรมที่เป็นเหตุ ธรรมที่เป็นเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย คืออาศัยความไม่ โลภ เกิดความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่หลง, อาศัยความไม่คิดประทุษร้าย เกิดความไม่โลภ ความไม่หลง, อาศัยความไม่หลง เกิดความไม่โลภ ไม่คิดประทุษร้าย, อาศัยความโลภ เกิดความหลง,อาศัยความ หลง เกิดความโลภ,อาศัยความคิดประทุษร้าย เกิดความหลง, อาศัยความหลง เกิดความคิด ประทุษร้าย ฯ ล ฯ
    วาระในระหว่างนี้ ตั้งแต่ ๒ ถึง ๖ เป็นเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว.

    <center> ๒. ปัญหาวาร วาระว่าด้วยคำถาม </center>
    ธรรมเป็นเหตุ เป็นปัจจัยของธรรมที่เป็นเหตุ โดยฐานะเป็นปัจจัยคือเหคุ ได้แก่ความไม่โลภ เป็นปัจจัยของความไม่คิดประทุษร้าย ของความไม่หลง โดยฐานะเป็นปัจจัยคือเหตุ ฯ ล ฯ

    <center> ๒. สเหตุทุกะ หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีเหตุ </center>
    <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center>
    อาศัยธรรมที่มีเหตุ ธรรมที่มีเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย คืออาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุ เกิดขันธ์ ๓, อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขันธ์ ๒ ฯ ล ฯ
    วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.

    <center> ๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ </center>
    <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center>
    อาศัยธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ( เกิดดับพร้อมกับเหตุ ) ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
    วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.

    <center> ๔. เหตุสเหตุกทุกะ หมวด ๒ แห่งเหตุและธรรมที่มีเหตุ </center>
    <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center>
    อาศัยเหตุและธรรมที่มีเหตุ เหตุและธรรมที่มีเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย คืออาศัย ความไม่โลภ เกิดความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่หลง ฯ ล ฯ
    วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.

    <center> ๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ </center>
    <center> หมวด ๒ แห่งเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ </center> <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center>
    อาศัยเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ เหตุและธรรมที่สัมปยุตเหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย คืออาศัยความไม่โลภ เกิดความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่หลง ฯ ล ฯ
    วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.

    <center> ๖. น เหตุสเหตุกทุกะ หมวด ๒ แห่งธรรมที่มิใช่เหตุ แต่มีเหตุ </center>
    <center> ๑. ปฏิจจวาร วาระว่าด้วยการอาศัย </center>
    อาศัยธรรมที่มิใช่เหตุ ธรรมที่มิใช่เหตุย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
    วาระอื่น ๆ อนุโลมตามที่กล่าวมาแล้ว.
    (หมายเหตุ : ถ้าท่านผู้อ่านย้อนไปอ่านข้อความในหน้าพระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ในบท ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม ) ๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มเหตุ ( เหตุโคจฉกะ ) แล้ว จะรู้สึกว่าพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒ นี้ นำกลุ่มเหตุ ซึ่งแยกออกเป็น ๖ หัวข้อนั้น มาตั้งเป็นบทยืน แล้วนำข้อความเรื่องปัจจัย มาเป็นบทสอดผสมให้กลมกลืนกัน. ต่อจากนั้นก็ได้นำกลุ่มธรรมะอื่น ๆ ที่ถัดกันไป มาเป็นบทยืนอีกจนจบชุด ต่อไปจะแสดง เฉพาะหัวข้อให้เห็น จะไม่ตั้งวาระอีก พึงทราบว่าวิธีจัดวาระเช่นเดียวกันกับที่แล้ว ๆ มา ).

    <center> รายการบทตั้ง จัดเป็นหมวด </center>
    ( โปรดดูข้อความในหน้าพระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ในบท ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม ตั้งแต่ ข้อ ๒. ถึงข้อ ๑๐ ประกอบด้วย และเพื่อให้เห็นง่าย จะเริ่ม ย้อนกล่าวกลุ่มเหตุที่กล่าวมาแล้วด้วย จะถือว่าข้อความต่อไปนี้เป็นการช่วยขยายรายละเอียดในหน้าพระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ในบท ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม นั้นก็ได้<sup></sup>).

    <center> ธรรมหมวด ๒ </center>
    <center> ๑. กลุ่มเหตุ หรือเหตุโคจฉกะ ๖ คู่ </center> ๑. หมวด ๒ แห่งเหตุ คือธรรมที่เป็นเหตุ ( น เหตุ ).
    ๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีเหตุ คือธรรมที่มีเหตุ ( สเหตถกะ) คู่กับธรรม ที่ไม่มีเหตุ ( อเหตุกะ ).
    ๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ คือธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ( เหตุสัมปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยเหตุ ( เหตุวิปปยุต).
    ๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ คือธรรมที่เป็นเหตุและมี เหตุ คู่กับธรรมที่มีเหตุ แต่มิใช่เหตุ.
    ๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ คือธรรมที่เป็น เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ คู่กับธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ แต่มิใช่เหตุ.
    ๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มิใช่เหตุ แต่มีเหตุ คือธรรมที่มิใช่เหตุ แต่มีเหตุ คู่กับธรรมที่มิใช่เหตุ และไม่มีเหตุ.

    <center> ๒. กลุ่มธรรม ๒ ข้อที่ไม่สัมพันธ์กัน คู่น้อย หรือจูฬันตรทุกะ ๗ คู่ </center> ๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีปัจจัย คือธรรมที่มีปัจจัย ( สัปปัจจยะ ) คู่กับ ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ( อัปปัจจยะ ).
    ๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ( สังขตะ) คู่กับธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ( อสังขตะ).
    ๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เห็นได้ คือธรรมที่เห็นได้ ( สนิทัสสนะ ) คู่กับ ธรรมที่เห็นไม่ได้ ( อนิทัสสนะ).
    ๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ถูกต้อง คือธรรมที่ถูกต้องได้ ( สัปปฏิฆะ) คู่ กับธรรมที่ถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ).
    ๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีรูป คือธรรมที่มีรูป ( รูปี ) คู่กับธรรมที่ไม่มี รูป ( อรูปี ).
    ๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นโลกิยะ คือธรรมที่เป็นโลกิยะ คู่กับธรรมที่ เป็นโลกุตตระ.
    ๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่บางคนพึงรู้ได้ คือธรรมที่บางคนพึงรู้ได้ ( เกนจิ วิญเญยยะ ) คู่กับธรรมที่บางคนไม่พึงรู้ได้ ( เกนจิ น วิญเญยยะ ).

    <center> ๓. กลุ่มอาสวะ คือกิเลสที่ดองสันดาน หรืออาสวโคจฉกะ ๖ คู่ </center> ๑. หมวด ๒ แห่งอาสวะ คือธรรมที่เป็นอาสวะ คู่กับธรรมที่มิใช่อาสวะ.
    ๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีอาสวะ คือธรรมที่มีอาสวะ ( สาสวะ ) คู่กับ ธรรมที่ไม่มีอาสวะ ( อนาสวะ).
    ๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ คือธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะ ( อาสวสัมปบุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ ( อาสววิปปยุต ).
    ๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นอาสวะ แต่ไม่มีอาสวะ คือธรรมที่เป็น อาสวะ แต่ไม่มีอาสวะ คู่กับธรรมที่มีอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ.
    ๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ คือธรรม ที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ และไม่มีอาสวะ.
    ๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ แต่มีอาสวะ คือธรรม ที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ แต่มีอาสวะ คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยอาสวะ และไม่มีอาสวะ.

    <center> ๔. กลุ่มสัญโญชน์ คือกิเลสที่ผูกมัด หรือสัญโญชนโคจฉกะ ๖ คู่ </center> ๑. หมวด ๒ แห่งสัญโญชน์ คือธรรมที่เป็นสัญโญชน์ คู่กับธรรมที่มิใช่ สัญโญชน์.
    ๒. หมวด ๒ แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์ ( สัญโญชนียะ ) คู่กับธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ( อสัญโญชนียะ ).
    ๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ คือธรรมที่สัมปยุตด้วย สัญโญชน์ ( สัญโญชนสัปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ( สัญโญชนวิปปยุต ).
    ๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นสัญโญชน์ และเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คือธรรมที่เป็นสัญโญชน์และเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คู่กับธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ แต่มิใช่สัญโญชน์.
    ๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ คือธรรมที่เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ คู่กับธรรมที่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่มิใช่สัญโญชน์.
    ๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คือธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ และไม่เป็น ที่ตั้งแห่งสัญโญชน์.

    <center> ๕. กลุ่มคันถะ คือกิเลสที่ร้อยรัด หรือคันถโคจฉกะ ๖ คู่ </center> มีวิธีจัดประเภทอย่างเดียวกันกับข้อ ๔ กลุ่มสัญโญชน์ ต่างแต่เปลี่ยนคำว่า สัญโญชน์ เป็นคันถะ เท่านั้น.
    ๖. กลุ่มโอฆะ คือกิเลสที่ทำสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะ คือความเวียนว่ายตายเกิด หรือ โอฆโคจฉกะ มี ๖ คู่
    มีวิธีจัดประเภทอย่างเดียวกับสัญโญชน์.
    ๗. กลุ่มโยคะ คือกิเลสเครื่องประกอบหรือผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ หรือโยคโคจฉกะ มี ๖ คู่
    มีวิธีจัดประเภทอย่างเดียวกับสัญโญชน์.

    <center> ๘. กลุ่มนีวรณ์ คือกิเลสอันกั้นจิต หรือนีวรณโคจฉกะ มี ๖ คู่ </center> มีวิธีจัดประเภทอย่างเดียวกับสัญโญชน์.

    <center> ๙. กลุ่มปรามาส คือกิเลสเครื่องจับต้องในทางที่ผิดความจริง มี ๕ คู่ </center> ๑. หมวด ๒ แห่งปรามาส คือธรรมที่เป็นปรามาส คู่กับธรรมที่มิใช่ ปรามาส.
    ๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ถูกจับต้อง คือธรรมที่ถูกจับต้อง ( ปรามัฏฐะ ) คู่กับธรรมที่ไม่ถูกจับต้อง ( อปรามัฏฐะ ).
    ๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส คือธรรมที่สัมปยุตด้วย ปรามาส ( ปรามาสสัมปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยปรามาส ( ปรามาสวิปปยุต ).
    ๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นปรามาสและถูกจับต้อง คือธรรมที่เป็น ปรามาสและถูกจับต้อง คู่กับธรรมที่ถูกจับต้อง แต่ไม่เป็นปรามาส.
    ๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยปรามาส แต่ถูกจับต้อง คือ ธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยปรามาส แต่ถูกจับต้อง คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยรามาส และไม่ถูกจับต้อง.



    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒ </center>


    <hr> '๑' . โปรดดู เหตุโคจฉกะ ในหน้าพระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ในบท ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม ) ๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มเหตุ ( เหตุโคจฉกะ )
    '๒' . ความจริงในที่นั้นก็มีข้อความพิศดารอยู่เหมือนกัน แต่ได้ย่อกล่าวไว้เพียงบางบท และถือโอกาสนำหัว ข้อ ที่มิได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้นมากล่าวให้เต็มอีกครั้งหนึ่งในที่นี้
    [/FONT]
    </center>
    [/FONT]
     
  16. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๔๓ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๔ </center>
    <center> ( เป็นอภิธัมมปิฎก ) </center>
    เล่มนี้ยังว่าด้วยปัจจัยแห่งธรรมะหมวด ๒ ตามลำดับ ( อนุโลมทุกปัฏฐาน ) ต่อมาจากเล่มที่ ๔๒ เป็นแต่ได้นำข้อธรรมในหมวด ๒ ตอนต่อไปมาตั้งเป็นบทยืน อธิบายให้ผสมกลมกลืนกับเรื่องปัจจัย ฉะนั้นในที่นี้จะแสดง หัวข้อต่อมาจากเล่มที่ ๔๒.

    <center> ๑๐ กลุ่มธรรม ๒ ข้อที่ไม่สัมพันธ์กัน คู่ใหญ่ หรือมหันตรทุกะ ๑๔ คู่ </center> ๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีอารมณ์ คือธรรมที่มีอารมณ์ ( สารัมมณะ ) คู่กับ ธรรมที่ไม่มีอารมณ์ ( อนารัมมณะ ).
    ๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นจิต คือธรรมที่เป็นจิต คู่กับธรรมที่มิใช่จิต ( โน จิตตะ ).
    ๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นเจตสิก คือธรรมที่เป็นเจตสิก คู่กับธรรมที่ มิใช่เจตสิก.
    ๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต คือธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต (จิตตสัมปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยจิต ( จิตตวิปปยุต ).
    ๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ระคนด้วยจิต คือธรรมที่ระคนด้วยจิต (จิตตสัง สัฏฐะ ) คู่กับธรรมที่ไม่ระคนด้วยจิต ( จิตตวิสังสัฏฐะ ).
    ๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน คือธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน คู่กับธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ( โน จิตตสมุฏฐานะ ).
    ๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต คือธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ( จิตตสหภู ) คู่กับธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต.
    ๘. หมวด ๒ แห่งธรรมที่หมุนไปตามจิต คือธรรมที่หมุนไปตามจิต ( จิตตานุปริวัตตี ) คู่กับธรรมที่ไม่หมุนไปตามจิต.
    ๙. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีธรรมอันระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน คือธรรม ที่มีธรรมอันระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน ( จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ) คู่กับธรรมที่ไม่มีธรรมอันระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน.
    ๑๐. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เกิดพร้อมกัน มีธรรมที่ระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน คือธรรมที่เกิดพร้อมกันมีธรรมที่ระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน ( จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นเช่นนั้น.
    ๑๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่หมุนไปตาม มีธรรมที่ระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน คือธรรมที่หมุนไปตามมีธรรมที่ระคนด้วยจิตเป็นสมุฏฐาน ( จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตตี ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นเช่นนั้น.
    ๑๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นภายใน คือธรรมที่เป็นภายใน (อัชฌัตติกะ) คู่กับธรรมที่เป็นภายนอก ( พาหิระ ).
    ๑๓. หมวด ๒ แห่งธรรมคือความยึดถือ คือธรรมคือความยึดถือ (อุปาทา ) คู่กับธรรมคือความไม่ยึดถือ ( อนุปาทา ).
    ๑๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ถูกยึดถือ คือธรรมที่ถูกยึดถือ (อุปาทินนะ ) คู่กับธรรมที่ไม่ถูกยึดถือ ( อนุปาทินนะ ).

    <center> ๑๑. กลุ่มอุปาทาน หรืออุปาทานโคจฉกะ มี ๖ คู่ </center> กลุ่มนี้ว่าด้วยอุปาทาน คือกิเลสเป็นสิ่งยึดถือ แบ่งออกเป็น ๖ คู่ มีวิธีจัดประเภทเหมือนกลุ่ม สัญโญชน์.

    <center> ๑๒. กลุ่มกิเลส หรือกิเลสโคจฉกะ มี ๘ คู่ </center> ๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกิเลส คือธรรมที่เป็นกิเลส คู่กับธรรมที่ไม่ เป็นกิเลส.
    ๒. หมวด ๒ แห่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คือธรรมอัน เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ( สังกิเลสิกะ ) คู่กับธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ( อสังกิเลสิกะ ).
    ๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เศร้าหมอง คือธรรมที่เศร้าหมอง ( สังกิลิฏฐะ ) คู่กับธรรมที่ไม่เศร้าหมอง ( อสังกิลิฏฐะ ).
    ๔. หมวด ๒ แห่งธรรมอันสัมปยุตด้วยกิเลส คือธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลส ( กิเลสสัมปยุต ) คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยกิเลส ( กิเลสวิปปยุต ).
    ๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คือธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คู่กับธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง แต่มิใช่กิเลส.
    ๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกิเลสและเศร้าหมอง คือธรรมที่ป็นกิเลส และที่เศร้าหมอง คู่กับธรรมที่เศร้าหมอง แต่มิใช่กิเลส.
    ๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส คือธรรมที่ป็น กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส คู่กับธรรมที่สัมปยุตด้วยกิ้ลส แต่มิใช่กิเลส.
    ๘. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยกิเลส แต่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คือธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยกิเลส แต่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง คู่กับธรรมที่ไม่สัมปยุตด้วยกิเลส และไม่เป็นที่ตั้ง แห่งความเศร้าหมอง.

    <center> ๑๓. กลุ่มธรรม ๒ ข้อรั้งท้าย หรือปิฏฐิทุกะ มี ๑๘ คู่ </center> ๑. หมวด ๒ แห่งทัสสนะ คือธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ ( ความเห็น ) คู่กับ ธรรมที่ไม่พึงละด้วยทัสสนะ.
    ๒. หมวด ๒ แห่งภาวนา คือธรรมที่พึงละด้วยภาวนา ( การเจริญ ) คู่กับ ธรรมที่ไม่พึงละด้วยภาวนา.
    ๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีเหตุอันพึงละด้วยทัสสนะ คือธรรมที่มีเหตุ อันพึงละด้วยทัสสนะ ( ความเห็น ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นเช่นนั้น.
    ๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีเหตุอันพึงละด้วยภาวนา คือธรรมที่มีเหตุ อันพึงละด้วยภาวนา ( การเจริญ ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นเช่นนั้น.
    ๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีวิตก คือธรรมที่มีวิตก ( ความตรึก ) คู่กับธรรม ที่ไม่วิตก.
    ๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีวิจาร คือธรรมที่มีวิจาร ( ความจรอง ) คู่กับ ธรรมที่ไม่มีวิจาร.
    ๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่มีปีติ คือธรรมที่มีปีติ ( ความอิ่มใจ ) คู่กับธรรม ที่ไม่มีปีติ ( อัปปีติกะ ).
    ๘. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไปกับปีติ คือธรรมที่ไปกับปีติ ( ปีติสหคตะ) คู่ กับธรรมที่ไม่ไปกับปีติ ( น ปีติสหคตะ ).
    ๙. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไปกับความสุข คือธรรมที่ไปกับความสุข ( สุขสหคตะ ) คู่กับธรรมที่ไม่ไปกับความสุข ( น สุขสหคตะ).
    ๑๐. หมวด ๒ แห่งธรรมที่ไปกับอุเบกขา คือธรรมที่ไปกับอุเบกขา ( ความวางเฉย ) คู่กับธรรมที่ไม่ไปกับอุเบกขา ( น อุเปกขาสหคตะ).
    ๑๑. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นกามาวจร คือธรรมที่เป็นกามาวจร ( ท่องเที่ยวไปในกาม ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร.
    ๑๒. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นรูปาวจร คือธรรมที่เป็นรูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในรูป ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร.
    ๑๓. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นอรูปาวจร คือธรรมที่เป็นอรูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในอรูป ) คู่กับธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร.
    ๑๔. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นปริยาปันนะ<sup></sup> คือธรรมที่เป็นปริยาปันนะ ( โลกิยะ ) คู่กับธรรมที่เป็นอปริยาปันนะ ( โลกุตตระ ).
    ๑๕. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นนิยยานิกะ คือธรรมที่เป็นนิยยานิกะ ( นำออกจากทุกข์ ) คู่กับธรรมที่เป็นอนิยยานิกะ ( ไม่นำออกจากทุกข์ ).
    ๑๖. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นนิยตะ คือธรรมที่เป็นนิยตะ ( แน่นอน ) คู่ กับธรรมที่เป็นอนิยตะ ( ไม่แน่นอน ).
    ๑๗. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นสอุตตระ คือธรรมที่เป็นสอุตตระ ( มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ) คู่กับธรรมที่เป็นอนุตตระ ( ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ).
    ๑๘. หมวด ๒ แห่งธรรมที่เป็นสรณะ คือธรรมที่เป็นสรณะ ( มีข้าศึก ) คู่กับธรรมที่เป็นสรณะ ( ไม่มีข้าศึก ).
    เพี่อความเข้าใจยิ่งขึ้น เฉพาะบางคำโปรดย้อนไปดูข้อความในหน้าข้อความน่ารู้จากพระ ไตรปิฎก หมายเลข๘๖-๙๔



    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ </center>


    <hr> '๑' . มีคำอธิบายว่า กุศลในภูมิ ๓, อกุศล, วิบากในภูมิ ๓. อัพยากฤตฝ่ายกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งปวง เป็นธรรมฝ่ายโลกิยะ; มรรค ๔, ผล ๔, นิพพาน เป็นธรรมฝ่ายโลกุตตระ. คำว่า ภูมิ ๓ หมายถึง กามาวจร, รูปาวจร, และ อรูปาวจร
    [/FONT]
     
  17. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๔๔ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๕ </center>
    <center> ( เป็นอภิธัมมปิฎก ) </center>
    ( ได้กล่าวไว้แล้วในเล่มที่ ๔๐ปัฏฐาน ภาคที่ ๑ ว่า พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๔ ว่าด้วยธรรม หมวด ๒ กับหมวด ๓ ผสมกัน ; ธรรมหมวด ๓ กับหมวด ๒ ผสมกัน ; ธรรมหมวด ๓ กับหมวด ๓ ผสมกัน ; ธรรมหมวด ๒ กับหมวด ๒ ผสมกัน โดยใช้ธรรมะในคัมภีร์ธัมมสังคณีเป็นบทตั้งเช่นเดิม ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างให้เห็นหมวด ๒ ข้อ ดังต่อไปนี้ ).

    <center> ๑. ธรรมหมวด ๒ กับหมวด ๓ ผสมกัน ( อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ) </center> เพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุ อันเป็นกุศล จึงเกิดธรรมอันเป็นเหตุ อันเป็นกุศล เพราะเหตุ เป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
    ( พึงสังเกตุว่า ธรรมอันเป็นเหตุ เป็นธรรมในหมวด ๒, ธรรมอันเป็นกุศล เป็นธรรมในหมวด ๓, ในที่นี้กล่าวถึงธรรมที่เป็นทั้งเหตุ เป็นทั้งกุศลผสมกัน เช่น อาศัย อโลภะ ซึ่งเป็นทั้งเหตุทั้งกุศล เกิด อโทสะ หรือ อโมหะ ซึ่งเป็นทั้งเหตุทั้งกุศล ).

    <center> ๒. ธรรมหมวด ๓ กับหมวด ๒ ผสมกัน ( อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ) </center> เพราะอาศัยธรรมอันเป็นกุศล อันเป็นเหตุ จึงเกิดธรรมอันเป็นกุศล อันเป็นเหตุ เพราะเหตุ เป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
    ( พึงสังเกตุว่า ธรรมอันเป็นกุศล เป็นธรรมในหมวด ๓, ธรรมอันเป็นเหตุ เป็นธรรมในหมวด ๒, เป็นแต่ในที่นี้นำธรรมในหมวด ๓ มาเรียงไว้ก่อน เนื้อหาก็คงเป็นเช่นเดียวกับข้อ ๑ ).

    <center> ๓. ธรรมหมวด ๓ กับหมวด ๓ ผสมกัน ( อนุโลมติกติกปัฏฐาน ) </center> เพราะอาศัยธรรมอันเป็นกุศล อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา จึงเกิดธรรมอันเป็นกุศล อันสัมปยุต ด้วยสุขเวทนา เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
    ( พึงสังเกตุว่า ธรรมอันเป็นกุศล เป็นธรรมในหมวด ๓, ธรรมอันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ก็ เป็นธรรมในหมวด ๓ ).

    <center> ๔. ธรรมหมวด ๒ กับหมวด ๒ ผสมกัน ( อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ) </center> ( เพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุ อันมีเหตุ จึงเกิดธรรมอันเป็นเหตุ อันมีเหตุ เพราะเหตุเป็น ปัจจัย ฯ ล ฯ
    ( พึงสังเกตุว่า ธรรมอันเป็นเหตุ เป็นธรรมในหมวด ๒, ธรรมอันมีเหตุ ก็เป็นธรรมในหมวด ๒ ).



    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๔


    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<center> เล่มที่ ๔๕ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๖ </center>
    <center> ( เป็นอภิธัมมปิฎก ) </center>
    ( ได้กล่าวไว้แล้วในเล่มที่ ๔๐ปัฏฐาน ภาคที่ ๑ เช่นกันว่า ในเล่มที่ ๔๕ นี้ แบ่งออกเป็น ๓ หัวข้อ คือ
    ๑. ปัจจนียปัฏฐาน ปฏิเสธทั้งฝ่ายที่ถูกอาศัยและฝ่ายที่เกิดขึ้น๒. อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่ เกิด ๓. ปัจจนียาอนุโลมปัฏฐาน ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่ถูกอาศัย ดังจะแสดงตัวอย่างให้เห็นดังต่อไปนี้ ).

    <center> ๑. ปัจจนียปัฏฐาน ( ปฏิเสธทั้งฝ่ายที่ถูกอาศัยทั้งฝ่ายที่เกิดขึ้น ) </center> เพราะอาศัยธรรมที่ มิใช่กุศล ( น กุสลํ ธมฺมํ ) จึงเกิดธรรมที่ มิใช่กุศล เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ

    <center> ๒. อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ( ปฏิเสธเฉพาะที่เกิด ) </center> เพราะอาศัยธรรมที่เป็นกุศล จึงเกิดธรรมที่ มิใช่กุศล ( น กุสโล ธมฺโม ) เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ
    ( พึงสังเกตุว่า คำว่า ธรรมที่มิใช่กุศล มิใช่หมายความว่า ธรรมที่เป็นอกุศล เท่านั้น เพราะธรรมที่มิใช่กุศล อาจหมายถึงธรรมอื่น ๆ อะไรก็ได้ที่มิใช่กุศลก็แล้วกัน เช่น อัพยากตธรรม ขอยกตัวอย่าง ประกอบเช่นมิใช่สีขาว ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า สีดำ เท่านั้น จะเป็น สีแดง, สีเหลือง ก็อยู่ใน ประเภท มิใช่สีขาว ด้วย ).

    <center> ๓. ปัจจนียาอนุโลมปัฏฐาน ( ปฏิเสธเฉพาะที่ถูกอาศัย ) </center> เพราะอาศัยธรรม ที่มิใช่กุศล จึงเกิดธรรมที่เป็นกุศล เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ

    <center> จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๕ </center>
    <center> จบพระอภิธัมมปิฎก </center>
    <center> และ </center>


    <center> จบ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน


    ที่มา
     
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    โอ....ลงกันอย่างนี้เลยเหรอครับ......

    โมทนาสาธุธรรมด้วยนะครับ.....

    เล่มนี้เป็นเล่มที่ผมใช้เป็นประจำ.....เพราะสามารถศึกษาได้ง่าย......และหากจะศึกษาฉบับเต็ม.....ก็สามารถเป็นกุญแจไปสู่ฉบับเต็มได้.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...