พระ-โต๊ะอิหม่าม “สหายรัก”ไม่มีแยกศาสนา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย พระศุภกิจ ปภัสสโร, 7 มีนาคม 2015.

  1. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    [​IMG]

    “เอกลักษณ์ หนึ่งที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตของพื้นที่ชายแดนภาคใต้ได้อย่างเด่นชัดนั่นคือ การอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายของผู้คนต่างศาสนา ดั่งเช่นภาพของสองสหายรักแห่ง อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ที่บ่งชี้ถึงความผู้กพันรักใคร่กลมเกลียวอย่างยาวนานได้เป็นอย่างดี"
    “สหายรัก”ไม่มีแยกศาสนา"
    เอกลักษณ์หนึ่งที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตของพื้นที่ชายแดนภาคใต้ได้อย่างเด่นชัดนั่นคือ การอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายของผู้คนต่างศาสนา ดั่งเช่นภาพของสองสหายรักแห่ง อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ที่บ่งชี้ถึงความผู้กพันรักใคร่กลมเกลียวอย่างยาวนานได้เป็นอย่างดี การจับมือกันทำโครงการ“ชุมศรัทธากุมปาตะกะวา”มิใช่เป็นการจับมือร่วมกันเป็นครั้งแรกของ“พระครูโสภิตโพธิคุณ”กับ“ยะโก๊ะ มิหนา”แต่สองผู้นำศาสนาแห่งโคกโพธิ์ ยังเป็น “กัลยาณมิตร” ที่ดีต่อกันอีกด้วย เพราะทั้งคู่เติบโตมาด้วยกันและจับมือพร้อมสัญญาว่าจะเป็น“สหายรัก”ตลอดไป ยะโก๊ะ บอกว่าในอดีตเมื่อครั้งเป็นเด็ก ได้ปั่นจักรยานไปไหนต่อไหนด้วยกัน ยามทุกข์ หรือสุขก็จะร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่มาตลอดแม้กระทั่งมีเรื่องชกต่อยจะยืนหยัดร่วมกันเสมอ กระทั่งเมื่อเติบโตต่างคนต่างมีเส้นทางชีวิต และบทบาทหน้าที่ ที่ต้องทำแต่สัมพธภาพของความเป็นเพื่อนไม่เคยจางหาย และบ่อยครั้งจะขับรถแวะมาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในการช่วยเหลือสังคม ในฐานะผู้นำศาสนาจนกลายเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นจึงไม่แปลกหาก “พระกับโต๊ะอิหม่าม”จะร่วมมือกันสร้างสิ่งดีให้กับชุมชน เพราะองค์ศาสดาสอนเราว่า ห้ามมิให้รังแกมนุษย์ ไม่ก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคล ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และที่สำคัญ “สูเจ้าต้องเป็นดั่งสองมือ อย่าใช้ชีวิตแบบสองตา ที่เอาแต่มองโดยไม่คิดทำ” พระครูโสภิตโพธิคุณ ย้ำว่า “เพื่อน”คือคำที่มีความหมายอยู่ในตัว การมีเพื่อนดี ย่อมนำพาสิ่งดีๆมาให้เรา ดังนั้นไม่ว่าเพื่อนจะอยู่ในสถานะใด หรือนับถือศาสนาใด เขาก็ยังคงเป็นมิตรกับเราเสมอ ขอเพียงให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งสิ่งนี้จะรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพอันดีไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

    ที่มา..“พระกับอิหม่ามโคกโพธิ์”เพื่อนกันไม่มีวันเปลี่ยนแปลง - Postjung.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มีนาคม 2015
  2. nao7310

    nao7310 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +931
    สุดยอด อยากให้ทุกภาคส่วนได้เห็น และปฏิบัติเช่นนี้ เพราะเป็นตัวอย่างในการสมานฉันท์ มิตรภาพเช่นนี้ หาได้ยากในสังคมปัจจุบัน
     
  3. ชูนุ่น

    ชูนุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +699
    ชีวิต ปรองดอง 2ศาสนา

    ยามอรุณรุ่ง...ในพื้นที่ที่ผู้คนโดยทั่วไปใช้ชีวิตอยู่ในภาวะ "ไม่ปกติ" อย่างจ.ปัตตานี การครองตัวครองตนแต่ละคน จึงต้องดำเนินไปอย่างแยบยลปนเครียดทุกฝีก้าว
    "ในดีอาจมีร้าย ในร้ายอาจมีดี" ฉันใดฉันนั้น
    ภาพ "เปาะจิ" หรือพ่อเฒ่าผู้สูงวัย สวมหมวกกะปิเยาะห์ ปั่นรถสามล้อเก่าๆ อย่าง "อุเซ็ง แวหลง" หรือ "บังเซ็ง" ชาวมุสลิมผู้มากด้วยอารมณ์ขันวัยร่วม 78 ปี ผู้คอยทำหน้าที่เป็นสารถี ระแวดระวังภัยให้แก่ "พระสงฆ์" วัยชราใกล้เคียงกันคือ "พระวีระ จิตตธัมโม" วัย 74 ปี จากวัดตานีนรสโมสร ขณะออกบิณฑบาตในชุมชนและย่านตลาดใกล้เคียงวัดตานีนรสโมสร เขตเทศบาลเมือง จ.ปัตตานี
    เป็นภาพอันเจนตาผู้คนที่หาดูไม่ง่ายนัก ณ ดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้ กลายเป็นภาพที่สร้างรอยยิ้มกว้างให้แก่ผู้คนในพื้นที่ได้ดีทีเดียว



    ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของ "กัลยาณมิตร" ต่างศาสนา ตอกย้ำความสมานฉันท์ได้อย่างไร้รอยต่อจริงๆ
    "พระวีระ" บอกจุดเริ่มต้นของความผูกพันฉันพี่น้องระหว่างเพื่อนต่างศาสนาว่า ในช่วงที่ออกบิณฑบาตมีญาติโยมทำบุญกันมาก ทำให้ข้าวของล้นมือหอบหิ้วลำบาก ประกอบกับร่างกายไม่สมบูรณ์นัก ต้องเดินกะโผลกกะเผลกเป็นข้อจำกัดอย่างมาก ทำให้ "บังอุเซ็ง" ที่บังเอิญขี่รถสามล้อผ่านมาเห็น จึงมีน้ำใจเข้ามาช่วยเหลือหอบหิ้วสิ่งของทำบุญวางไว้บนรถตลอดเส้นทางบิณฑบาต ก่อนที่จะใจดีให้ขึ้นรถพาไปส่งถึงที่วัด



    เรื่องราวโดยบังเอิญตั้งแต่เช้าวันนั้น...
    คืนวันผันผ่านวันแล้ววันเล่า จวบจนวันนี้ที่กลายเป็นภารกิจที่ร่วมกันปฏิบัติมานับทศวรรษ
    "ก่อนหน้านี้อาตมามีคนช่วยถือของให้ทุกเช้า แต่เนื่องจากเขาไม่สบายจึงหายไปหลายวัน กระทั่งมีบังเซ็งเข้ามาช่วยเหลือจากสัปดาห์ละไม่กี่วันเท่าที่มีโอกาสก็ขยับเป็นทุกวัน โดยไม่ได้นัดหมาย อาศัยความเข้าใจและเห็นใจ ประกอบกับเป็นคนวัยเดียวกัน เมื่อรวมอายุกันแล้วก็เกิน 150 ปี ทำให้เข้าใจกันในทุกๆ เรื่อง" พระวีระเล่าปนรอยยิ้ม
    ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันก็แค่ศาสนา...ทว่าทุกศาสนาล้วนสอนให้คนทำดีทั้งสิ้น
    น่าสนใจว่าแม้จะมีความต่างจาก "อัตลักษณ์" ของพื้นที่ ทว่ามีนัยสะท้อนว่าเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมอันหลากหลายสานสัมพันธ์อันดีงามมาช้านาน ย่อมประจักษ์จากหลักฐานที่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ทั้งวัดช้างให้, ศาลเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว และมัสยิดกรือเซะ
    "บังอุเซ็ง" ปกติถนัดพูดภาษามลายูท้องถิ่น หรือภาษายาวี ขณะที่ "พระวีระ" ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารหลัก แต่ทั้งคู่ก็มีรูปแบบการสื่อสารที่รับรู้ร่วมกันได้ โดยเฉพาะการใช้ภาษากาย โดยเฉพาะอาการเปื้อนยิ้มของ "สหาย" ขณะได้พบพานกัน
    "บังเซ็ง" เล่าอย่างอารมณ์ดีว่า พูดภาษาไทยได้แค่นิดหน่อย แต่ก็พอรู้เรื่องหากสื่อสารกันแบบช้าๆ ทุกเช้าจะออกจากบ้านมารับพระวีระไปบิณฑบาต ทำแบบนี้มานานนับสิบปีแล้ว จนทำให้สนิทสนมกันทั้งๆ ที่แต่ละวันไม่ค่อยได้คุยอะไรกันมากนัก เพราะต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตัวเอง ทำให้รู้ว่าช่วงเวลาไหน ต้องทำอะไรบ้าง



    "บังมาช่วยขับรถให้เฉยๆ ไม่มีใครสั่งให้ทำ แต่อยากทำเองเพราะทำแล้วมีความสุข ทำแบบนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว จนรู้ว่าทุกเช้าต้องไปหาพระที่ตรงจุดไหน จากนั้นจะขับรถไปส่งที่จุดใดต่อจนกว่าจะเสร็จแล้วนำไปส่งถึงวัด" บังเซ็ง เล่าอย่างอารมณ์ดีก่อนจะขอตัวไปทำหน้าที่อย่างรู้ทัน
    มิติประทับใจในมุมของ "ถมยา ศรีประสม" ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดปัตตานี สะท้อนว่า นับเป็นภาพความประทับที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งชาวบ้านทุกคนภูมิใจและดีใจที่เห็นภาพเหล่านี้ จึงไม่แปลกที่ทุกๆ เช้าจะมีผู้คนมารอใส่บาตรในเส้นทางบิณฑบาตเป็นประจำ โดยทุกคนไม่ต้องพูดอะไรก็สามารถรับรู้และสื่อถึงความปลื้มปีติได้เป็นอย่างดี
    ความผูกพันที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงแค่คู่นี้เท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวในอดีตที่ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่มีการแบ่งแยก หรือขัดแย้งเพียงเพราะการนับถือศาสนาที่ต่างกัน
    แม้วันนี้สถานการณ์ความไม่สงบจะส่งผลต่อวิถีหลายอย่างเปลี่ยนไป แต่ในหลักพระพุทธศาสนา การบิณฑบาตคือกิจของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติ แต่อาจพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย เช่น วัดใดมีความพร้อมสามารถบิณฑบาตได้ตามปกติ หรือใช้รูปแบบการเดินบิณฑบาตโดยมีพุทธศาสนิกชนนำภัตตาหารมาใส่บาตรภายในวัด หรือถวายเป็นลักษณะแกงเวรตามความเหมาะสม



    "บังเซ็งเป็นคนอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสและคอยช่วยเหลือพระตลอดช่วงที่มีญาติโยมมาทำบุญใส่บาตรอย่างคล่องแคล่ว ยิ่งตอกย้ำให้ผู้ร่วมทำบุญทุกคนปลื้มไปด้วยทุกครั้ง" ถมยา กล่าว
    จากต้นธารแห่งสายสัมพันธ์นี้ ทำให้ "พระสิริจริยาลังการ" เจ้าอาวาสวัดตานีนรสโมสร รองเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี จึงมีดำริร่วมกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมจัดโครงการอบรมภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร โดยใช้มิติทางศาสนาเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงจิตใจประชาชนในพื้นที่ ซึ่งนับถือศาสนาที่ต่างกันได้สื่อสารกันด้วยความเข้าใจมากขึ้น
    "ความงดงามทางวัฒนธรรมที่หลากหลายบ่งบอกได้ถึงความรัก ความกลมเกลียวของพี่น้องชาวไทยทั้งพุทธและมุสลิมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้หลักสมานฉันท์อย่างสันติสุข ดังนั้นการเรียนรู้ภาษามลายู หรือภาษายาวีเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อจะได้สื่อสารและเข้าใจกันมากขึ้น"
    การดำเนินการดังกล่าว ถือว่ามีแต่ได้กับได้ จากข้อมูลยังพบว่า ปัจจุบันประชากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 80%พูดภาษายาวี ยิ่งเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ก็ย่อมมีชาวอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์เข้ามามากขึ้น หากสื่อสารกันไม่รู้เรื่องก็จะทำให้เกิดปัญหาในอนาคตได้
    ภาพจริงที่เกิดขึ้นในทำนองนี้ หาใช่เป็นภาพเชิงซ้อนลวงตาใดๆ จึงอยากให้สังคมได้ล่วงรู้แก่นความจริงว่า สิ่งดีๆ ยังดำรงอยู่
    ที่นี่ปัตตานี....!! "ต่างศาสนาแต่ใจเดียวกัน"


    ความแตกต่างอย่างลงตัวของผู้คน 2 ศาสนา แม้จะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ แต่กลับได้ขยายความประทับใจสู่โลกกว้างในช่องทางต่างๆ มากขึ้น ยิ่งเมื่อมีศิลปินกลั่นออกมาเป็น "ภาพวาด"
    กลายการสร้างความประทับใจในอิริยาบถต่างๆ ผ่านโลกโซเชียลมีเดีย
    "สุไลมาน ยาโม" ช่างเขียนภาพอิสระชาวปัตตานี หนึ่งในศิลปินที่วาดภาพสีน้ำมันลงบนผืนผ้าใบเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของความสัมพันธ์ของเพื่อน 2 สถานะ บอกที่มาที่ไปว่า ประทับใจในความสัมพันธ์ของเพื่อน 2 ศาสนา ที่เอื้ออาทรต่อกัน จึงตั้งใจวาดภาพนี้ขึ้นมาด้วยความเต็มใจ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในมุมดีๆ ให้สังคมภายนอกได้ร่วมรับรู้สิ่งสวยงามทางความรู้สึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านภาพวาดบันทึกเรื่องราวของ "เปาะจิ" และ "พระ" ให้ออกมาดีที่สุดด้วยความปลื้มปีติ
    "ภาพชายแก่สวมหมวกกะปิเยาะห์ไม่บอกก็รู้ว่าเป็นมุสลิม ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันว่า "เปาะจิ" ปั่นจักรยานให้พระสงฆ์นั่ง เป็นความประทับใจที่สามารถสื่อความหมายได้ทุกห้วงอารมณ์ ทั้งความรัก,สามัคคี, ไม่แบ่งแยกและสร้างรอยยิ้ม เป็นภาพที่หาดูยากในสังคมปัจจุบัน ท่ามกลางความรุนแรงจนทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป"
    อย่างน้อยภาพและการกระทำของทั้งคู่ คือบทสะท้อนชัดยิ่ง
    "แม้ต่างศาสนาแต่หัวใจเดียวกัน" !!
    (หมายเหตุ : ชีวิต'ปรองดอง'2ศาสนา 'ไม่มีใครสั่ง..ทำแล้วมีสุข' : สุพิชฌาย์ รัตนะ..เรื่อง ภูชิสส์ พิรุณละออง..ภาพรายงาน)...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      303.2 KB
      เปิดดู:
      772
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.4 KB
      เปิดดู:
      405
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.9 KB
      เปิดดู:
      617
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60 KB
      เปิดดู:
      375
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.4 KB
      เปิดดู:
      263
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.6 KB
      เปิดดู:
      382
  4. ชูนุ่น

    ชูนุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +699
    คนไทยเรามีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ผูกพันธ์รักใคร่เสมอ แม้ต่างศาสนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...