พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 15 เมษายน 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จงเพ่งธรรม

    ตราบใดท่านเลี้ยงจิตใจท่านด้วยการเพ่งโทษในผู้อื่น ทั้งๆก็ไม่มีปัญญาธรรมอันเจริญรู้พอ ว่าอะไรคือจริงคือเท็จ อะไรคือสาระ อะไรไม่ใช้สาระ ท่านจะไม่มีทางเห็นโทษทีมีอยู่ในตนได้เลย

    นี่จึงเป็นความวิบัติในสภาวะธรรมของการเพ่งโทษต่างๆ
    แม้เราไม่เคยศึกษาพระสูตรนี้มาก่อน เราก็รู้ได้ก่อนอธิบายจึงนำมาแสดงให้ท่านคลายสงสัยยิ่งขึ้นไป ถึงสาระคุณอันสำคัญจริงๆ

    ๗. โจทนาสูตร
    [๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน
    ก่อนแล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ธรรมว่า เราจักกล่าวโดย
    กาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร ๑ จักกล่าวด้วยเรื่องจริง จักไม่กล่าวด้วย
    เรื่องไม่จริง ๑ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑ จักกล่าว
    ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประ-
    *โยชน์ ๑ จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษกล่าว ๑ ดูกรอาวุโส
    ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ภายในก่อนแล้วจึง
    โจทผู้อื่น ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทโดย
    กาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่
    ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อน
    หวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
    เรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วย
    เมตตาจิต ก็โกรธ ฯ



    ดูกรอาวุโส ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดย
    ไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาล
    ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่อง
    จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อน
    หวาน ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูก
    โจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ดูกร-
    *อาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่
    เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ฯ



    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์
    โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาล
    ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่าน
    จึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงควร
    เดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่โจทด้วย
    เมตตาจิต ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึง
    ให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่า ภิกษุแม้รูปอื่นไม่พึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องไม่จริง ฯ



    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทโดย
    กาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจท
    ด้วยเรื่องไม่จริง ก็โกรธ ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ
    ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยเพ่งโทษ
    ก็โกรธ ฯ



    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูก
    โจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาล
    ไม่ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่
    จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ
    ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วย
    เมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ



    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจท
    โดยเป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดยกาลไม่ควร
    ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึง
    ไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงไม่ควร
    เดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจท
    ด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน
    ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
    ความจริง และความไม่โกรธ ฯ



    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการ
    คือ พึงโจทโดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร ๑ ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑
    ด้วยคำอ่อนหวานหรือด้วยคำหยาบ ๑ ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือ
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑ แม้
    เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ ถ้าเราพึง
    ทราบว่าธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า มีอยู่ ว่าธรรมนั้นมีอยู่
    พร้อมในเรา ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า
    ไม่มีอยู่ ว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่พร้อมในเรา ฯ


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่า
    โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ
    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยง
    ชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง
    เหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จัก
    ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มี
    ความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด
    ทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มี
    สัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย คน
    เหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ ส่วนกุลบุตร
    เหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่
    เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์
    ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ มี
    ความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด
    เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ
    มีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้น
    เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ ฯ



    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต ... มี
    ปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มี
    ศรัทธาออกบวช ... มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่า
    กล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหม-
    *จรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม
    เธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ
    จบสูตรที่ ๗
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2015
  2. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    :'(
    มันเป็นวิบากกรรมนะครับที่น้อมใจไปเพื่อสิ่งนั้นเหมือนท่านจักขุบาลครับ
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แน่ใจนะว่าสอน มรรค๘

    ใครกันแน่ที่คิดตามแบบของตนเองโดยไม่มีข่ายพระทศพลญาณ ๑๐ แล้วนำมาสอน ใช้ฐานะ หรือ อฐานะ

    สอนเกินมากไปกว่าทางปฎิบัติใน[มหามงคลสูตร]
    คงคิดออกนะครับ คิดไม่ออกก็ค้น คงจะพอทราบ ว่าใครบ้าง? หลบลูกศรที่ยิงออกมาเองให้ดีๆ ผมว่าจะไม่ใช้วาทะนี้แล้ว จำเป็น

    นั่นล่ะครับเขาเรียกว่า สอนตามจริตธรรมที่มีในตน แล้วจะเอาจริตตนสอนคนอื่นให้เข้าใจตามสำเร็จตามตนนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะวิญญาณธาตุ อินทรียธาตุแตกต่างกัน บุญบารมีที่สั่งสมมาแตกต่างกัน ใครสำเร็จเพราะใคร? ไปคิดดูให้ดีๆ อายเทพเทวดาพรหมมารเขาบ้าง เขาสำเร็จไปเท่าไหร่แล้ว จากใคร?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  4. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    เรื่องท่านจักขุบาล เป็นอย่างไรครับ พอเล่าย่อได้ไหมครับ
     
  5. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    พระจักขุบาลท่านทำดรรมตามที่ท่านยกมานั้นแหล่ะ. เพราผลกรรมที่ท่านทำมาจนถึงชาติสุดท้ายนี้ทำให้ท่านต้องร้อมใจไปใตการปฎิบัติเพื่อความลำบากจนทำให้ท่านต้องตาบอด. พอเข้าใจมั้ยครับ. กัมมัสสกตาญาณที่ต้องศึกษาดูนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    -ครูที่ดี-

    เมืองพระนิพพาน




    ตทนนฺตรํ ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส เทศนาต่อไปอีกว่า


    อานนฺท ดูกรอานนท์ นิพฺพานํ นครํ นาม
    อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก
    โลกมีที่สุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น
    พระนิพพาน เป็นพระมหานครอันใหญ่ เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้


    คำที่ว่าที่สุดแห่งโลกนั้น จะถือเอาอากาศโลก
    หรือจักรวาลโลกเป็นประมาณนั้นมิได้
    อากาศโลกและจักรวาลโลกนั้น มีที่สุดเบื้องต่ำก็เพียงใต้แผ่นดิน
    แผ่นดินนี้มีน้ำรอง ใต้น้ำนั้นมีลม
    ลมนั้นหนาได้ ๙ แสน ๔ หมื่นโยชน์สำรองน้ำไว้
    ใต้ลมน้ำลงไปเป็นอากาศหาที่สุดมิได้ ที่สุดโลกเบื้องต่ำก็เพียงลมเท่านั้น
    อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องขวางนั้น มีอนันตจักรวาลเป็นเขต
    นอกอนันตจักรวาลออกไปเป็น อากาศว่างๆอยู่
    จึงว่าโดยขวางมีอนันตจักรวาลเป็นที่สุด
    อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องบนนั้น มีอรูปพรหมเป็นเขต
    เฉพาะอรูปพรหม ๔ ชั้นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    เป็นนิพพานพรหมหรือนิพพานโลก
    นิพพานโลกนี้เป็นที่ไม่ สิ้นสุด


    ส่วนว่านิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีนามว่า โลกุตตรนิพพาน
    เป็นนิพพานที่สุดที่แล้ว ต่ออรูปพรหม ๔ ชั้นขึ้นไปก็เป็นแต่อากาศที่ว่างๆ อยู่
    จึงว่าที่สุดเบื้องบน เพียงอรูปพรหมเท่านั้น
    จะเข้าใจเอาเองว่าลมรองน้ำและ อนันตจักรวาลและอรูปพรหมเป็นที่สุดของโลก เมืองพระนิพพานคงตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น
    ดังนี้พระ พุทธเจ้าจึงห้ามว่า อย่าพึงเข้าใจอย่างนั้นเลย
    ที่ทั้งหลาย เหล่านั้น ใครๆก็ไม่สามารถจะไปถึงด้วยกำลังกาย
    หรือด้วยกำลังยานพาหนะมียานช้างยานม้าได้


    อย่าเข้าใจว่าเมือง นิพพานตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น
    หรือตั้งอยู่ในที่ แห่งนั้นแห่งนี้ อย่าเข้าใจว่าตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเลย
    แต่ว่า พระนิพพานนั้น หากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็นของจริง ไม่ต้องสงสัย
    ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลก รู้โลกเสีย ให้ชัดเจน ก็จักเห็นพระนิพพาน
    พระนิพพานก็ตั้งอยู่ใน ที่สุดแห่งโลกนั้นเอง



    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายถึงที่สุดโลกออกจากโลกได้แล้ว
    จึงชื่อว่าถึงพระนิพพาน และรู้ตนว่าเป็นผู้พ้นทุกข์แล้ว
    และอยู่สุขสำราญบานใจทุกเมื่อ หาความเร่าร้อน โศกเศร้าเสียใจมิได้
    ถ้าผู้ใดยังไม่ถึงที่สุดโลก ยังออกจากโลกไม่ได้ตราบใด
    ก็ชื่อว่ายังไม่ถึงพระนิพพาน จะต้องทนทุกข์ น้อยใหญ่ทั้งหลาย
    เกิดๆ ตายๆ กลับไปกลับมาหาที่สุด มิได้อยู่ตราบนั้น



    บุคคลทั้งหลายเป็นผู้ต้องการพระนิพพาน
    แต่หารู้ไม่ว่าพระนิพพานนั้นเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน
    การปฏิบัติ ในทาน ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นทางไปสู่พระนิพพานก็ไม่เข้าใจ
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจแล้ว จะไปสู่พระนิพพานนั้นเป็นการลำบากยิ่งนัก




    เปรียบเหมือนคน ๒ คน ผู้หนึ่ง ตาบอด ผู้หนึ่งตาดี
    จะว่ายข้ามน้ำมหานทีอันกว้างใหญ่ ในคนทั้ง ๒ นั้น
    ผู้ใดจักถึงฝั่งข้างโน้นก่อน คนผู้ตาดีต้องถึงก่อน
    ส่วนคนผู้ตาบอดนั้น จะว่ายข้ามไปถึงฝั่งฟากโน้นได้แสนยากแสนลำบาก
    บางทีจะตายเสียในท่ามกลางแม่น้ำ เพราะไม่รู้ไม่เห็นว่าฝั่งอยู่ที่ไหน
    ข้ออุปมานี้ฉันใด คนไม่รู้ไม่เห็นพระนิพพานอยู่ที่ไหนเป็นอย่างไร
    ทางจะไปก็ไม่เข้าใจ เป็นแต่อยากได้อยากถึง อยากไปพระนิพพาน
    เมื่อเป็น เช่นนี้การได้การถึงของผู้นั้น
    ก็ต้องเป็นของลำบากยากแค้นอยู่ เป็นของธรรมดา
    บางทีจะตายเสียเปล่า จะไม่ได้เงื่อนเค้าของพระนิพพานเลย


    ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่า พระนิพพานอยู่ที่สุด ของโลก ศีล สมาธิ ปัญญา
    เป็นทางไปพระนิพพาน ถ้า รู้อย่างนี้ยังมีทางที่จะถึงพระนิพพานได้บ้าง
    แม้เมื่อรู้แล้ว อย่างนั้น ก็จำต้องพากเพียรพยายามเต็มที่ จึงจะถึง
    เหมือน คนตาดีว่ายข้ามน้ำ ก็ต้องพยายามจนสุดกำลังจึงจะข้าม พ้นได้
    มีอุปไมยเหมือนกันฉันนั้น


    ดูกรอานนท์ บุคคล ทั้งหลายผู้ปรารถนาพระนิพพานควรศึกษาให้รู้แจ้ง
    ครั้น รู้แจ้งแล้วจะถึงก็ตาม ไม่ถึงก็ตาม ก็ไม่เป็นทุกข์แก่ใจ
    ถ้าไม่รู้ แต่อยากได้ย่อมเป็นทุกข์มากนัก
    เปรียบเหมือนบุคคล อยากได้วัตถุสิ่งหนึ่ง แต่หากไม่รู้จักวัตถุสิ่งนั้น
    ถึงวัตถุสิ่งนั้น จะมีอยู่จำเพาะหน้า ก็ไม่อาจถือเอาได้เพราะไม่รู้
    ถึงจะมีอยู่ก็มีเปล่าๆ ส่วนตัวก็ไม่หายความอยากได้ จึงเป็นทุกข์ยิ่งนัก
    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักพระนิพพาน ก็เป็นทุกข์เช่นนั้น




    จะถือเสียว่าไม่รู้ก็ช่างเถอะ เราปรารถนาเอาคงจะได้
    คิดอย่างนี้ก็ผิดไป ใช้ไม่ได้
    แม้แต่ผู้รู้แล้ว ตั้งหน้าบากบั่นขวนขวาย
    จะให้ได้ถึงก็ยังเป็นการยากลำบากอย่างยิ่ง
    บุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็นพระนิพพานและจะถึงพระนิพพานจะมีมาแต่ที่ไหน


    อย่าว่าแต่พระนิพพานเลย แม้จะกระทำการสิ่งใดก็ดี
    เป็นต้นว่า ช่างเงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างวาดเขียน ต่างๆ เป็นต้น
    ต้องรู้ ด้วยใจหรือเห็นด้วยตาเสียก่อนจึงจะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จได้
    ผู้ปรารถนาพระนิพพานก็ต้องศึกษาให้รู้จักพระนิพพานไว้ ก่อนจึงจะได้
    จะมาตั้งหน้าปรารถนาเอาโดยความไม่รู้นั้น จะมีทางได้มาที่ไหน



    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายควรจะ ศึกษาให้รู้
    ให้แจ้งทางของพระนิพพานไว้ให้ชัดเจนแล้วไม่ควรประมาท
    แม้ปรารถนาจะไปก็ไป แม้ไม่ปรารถนาจะไปก็อย่าไป
    ครั้นเห็นดีแล้ว จิตประสงค์แล้ว ก็ให้ปฏิบัติในทางของพระนิพพาน
    ด้วยจิตอันเลื่อมใสก็อาจจะสำเร็จ ไม่สำเร็จก็จะเป็นอุปนิสัยต่อไป
    ผู้ที่ไม่รู้แม้ปรารถนาจะไป หรือไปอยู่ใกล้ที่นั้นบ่อยๆก็ไม่อาจถึง
    เพราะเข้าใจผิด คิดว่าอยู่ที่นั้นที่นี้ ก็เลยผิดไปตามจิตที่คิด
    หลงไปหลงมา อยู่ในวัฏฏสงสาร ไม่มีวันที่จะถึงพระนิพพานได้










    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่แจ้งไม่เข้าใจในพระนิพพาน
    ไม่ควรจะสั่งสอนพระนิพพานแก่ท่านผู้อื่น
    ถ้าขืนสั่งสอนก็จะพาท่านหลงหนทาง จะเป็นบาปเป็นกรรมแก่ตน
    ควรจะสั่งสอนแต่เพียงทางมนุษย์สุคติ สวรรค์สุคติ
    เป็นต้นว่า สอนให้รู้จักทาน ให้รู้จักศีล ๕ ศีล ๘ ให้รู้กุศลกรรมบถ
    ให้รู้จักปฏิบัติมารดาบิดา ให้รู้จักอุปัชฌาย์อาจารย์
    ให้รู้จักก่อสร้างบุญกุศลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
    เพียงเท่านี้ก็อาจจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติพอสมควรอยู่แล้ว



    ส่วนความสุขในโลกุตตรนิพพานนั้น ผู้ใดต้องการจริง
    ต้องรักษาศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์เสียก่อน
    จึงชื่อว่า เข้าใกล้ทาง มีโอกาสที่จะได้จะถึงโลกุตตรนิพพานโดยแท้


    แม้ผู้ที่จะเจริญทางพระนิพพานนั้น
    ก็ให้รู้จักท่านผู้เป็นครูว่ารู้แจ้งทางพระนิพพานจริง จึงไปอยู่เล่าเรียน
    ถ้าไปอยู่ เล่าเรียนในสำนักของท่านผู้ไม่รู้ไม่แจ้ง
    ก็จะไม่สำเร็จโลกุตตรนิพพานได้
    เพราะว่าทางแห่งโลกุตตรนิพพานนี้ เล่าเรียนได้ด้วยยากยิ่งนัก
    ด้วยเหตุสัตว์ยินดีอยู่ในกามสุข อันเป็นข้าศึกแก่พระนิพพานโดยมาก


    ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะ ผู้มีอายุ
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนา แก่ข้าฯ อานนท์ด้วยประการดังนี้
    ขอให้พระสงฆ์ทั้งหลาย จงทราบด้วยผลญาณแห่งตน ดังแสดงมานี้เถิด.


    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า


    อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลทั้งหลาย ผู้ปรารถนาซึ่งพระนิพพาน
    ควรแสวงหาซึ่งครูที่ดีที่อยู่เป็นสุข สำราญมิได้ประมาท
    เพราะพระนิพพานไม่เหมือนของสิ่งอื่น


    อันของสิ่งอื่นนั้นเมื่อผิดไปแล้วก็มีทางแก้ตัวได้ หรือไม่สู้ เป็นอะไรนัก
    เพราะไม่ละเอียดสุขุมมาก ส่วนพระนิพพาน นี้ละเอียดสุขุมที่สุด
    ถ้าผิดแล้วก็เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์ เป็นนักหนา
    ทำให้หลงโลกหลงทางห่างจากความสุข ทำให้เสียประโยชน์เพราะอาจารย์
    ถ้าได้อาจารย์ที่ถูกที่ดี ก็จะได้รับผลที่ถูกที่ดี
    ถ้าได้อาจารย์ที่ไม่รู้ไม่ดีไม่ถูกไม่ต้อง ก็จะได้รับผลที่ผิดเป็นทุกข์
    พาให้หลงโลกหลงทาง พาให้เวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารสิ้นกาลนาน


    เปรียบเหมือนผู้จะ พาเราไปในที่ตำบลใดตำบลหนึ่ง
    แต่ผู้นั้นไม่รู้จักตำบลนั้น แม้เราเองก็ไม่รู้
    เมื่อกระนั้น ไฉนเขาจึงจะพาเราไปให้ถึง ตำบลนั้นได้เล่า
    ข้ออุปมานี้ฉันใด อาจารย์ผู้ไม่รู้พระนิพพาน และจะพาเราไปพระนิพพานนั้น
    ก็จะพาเราหลงโลกหลงทาง ไป ๆ มา ๆ ตาย ๆ เกิด ๆ อยู่ในวัฏฏสงสาร
    ไม่อาจจะถึง พระนิพพานได้ เหมือนคนที่ไม่รู้จักตำบลที่จะไปและเป็น
    ผู้พาไป ก็ไม่อาจจะถึงได้ มีอุปไมยฉันนั้น
    ผู้คบครูอาจารย์ ที่ไม่รู้ดีและได้ผลที่ไม่ดี มีในโลกมิใช่น้อย
    เหมือนดัง พระองคุลิมาลเถระไปเรียนวิชาในสำนักครูผู้มีทิฏฐิอันผิด
    ได้รับผลที่ผิด คือเป็นมหาโจรฆ่าคนล้มตายเสียนับด้วยพัน
    หากเราตถาคตรู้เห็นมีความสงสารเวทนามาข้องในข่ายสยัมภูญาณ
    จึงได้ไปโปรดทรมานให้ละเสียซึ่งพยศอันร้ายเป็นการลำบากมิใช่น้อย
    ถ้าไม่ได้พระตถาคตแล้ว พระ องคุลิมาลก็จักได้เสวยทุกข์
    อยู่ในวัฏฏสงสารสิ้นชาติเป็น อันมาก




    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้พระนิพพาน
    ไม่ควรเป็นครูสั่งสอนท่านผู้อื่นในทางพระนิพพานเลย
    ต่างว่าจะสั่งสอนเขา จะสั่งสอนว่ากระไรเพราะตัวไม่รู้
    เปรียบเหมือนบุคคลไม่เคย เป็นช่างเขียนหรือช่างต่างๆมาก่อน
    แล้วและอยากเป็น ครูสั่งสอนเขา จะบอกแก่เขาว่ากระไร เพราะตัวเองก็ไม่รู้
    ไม่เข้าใจจะเอาอะไรไปบอกไปสอนเขา
    จะเอาแต่คำพูด เป็นครูทำตัวอย่างให้เขาเห็นเช่นนั้นไม่ได้
    จะให้เขาเล่าเรียน อย่างไร เพราะไม่มีตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยตาให้รู้ด้วยใจ
    เขาจะทำตามอย่างไรได้ ตัวผู้เป็นครูนั้นแลต้องทำก่อน
    ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ควรเป็นครูสอนเขา
    ถ้าขืนเป็นครูก็จะพาเขา หลงโลกหลงทาง
    เป็นบาปเป็นกรรมแก่ตัวนักหนาทีเดียว


    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า


    อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลผู้จะสอน
    พระนิพพานนั้นต้องให้รู้แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า
    พระนิพพานมีอยู่ในที่นั้น ๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ
    ต้อง รู้ให้แจ้งชัด จะกล่าวแต่เพียงวาจา
    ว่า นิพพาน ๆ ด้วยปาก แต่ใจไม่รู้แจ้งชัดเช่นนั้นไม่ควรเชื่อถือเลย
    ต้องให้รู้แจ้งชัด ในใจก่อน จึงควรเป็นครูเป็นอาจารย์สอนท่านผู้อื่นต่อไป
    จะเป็นเด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้ารู้แจ้งชัดซึ่งพระนิพพานแล้ว
    ก็ควรเป็นครูเป็นอาจารย์และควรนับถือเป็นครูเป็น อาจารย์ได้
    แม้จะเป็นผู้ใหญ่สูงศักดิ์สักปานใดก็ตาม
    ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วไม่ควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์เลย


    ดูกรอานนท์ ถ้าอยากได้สุขอันใด ก็ควรรู้จักสุขอันนั้นก่อนจึงจะได้
    เมื่ออยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ควร รู้จักสุขในพระนิพพาน
    อยากได้สุขในมนุษย์และสวรรค์ ก็ให้รู้จักสุข
    ในมนุษย์และสวรรค์นั้นเสียก่อนจึงจะได้
    ถ้าไม่รู้จัก สุขอันใด ก็ไม่อาจยังความสุขอันนั้นให้เกิดขึ้นได้
    ไม่เหมือน ทุกข์ในนรก
    อันทุกข์ในนรกนั้นจะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ถ้าทำกรรมที่เป็นบาปแล้ว
    ผู้ที่รู้หรือผู้ที่ไม่รู้ก็ตกนรก เหมือนกัน
    ถ้าไม่รู้จักนรกก็ยิ่งไม่มีเวลาพ้นจากนรกได้
    ถึงจะทำบุญให้ทานสักปานใดก็ไม่อาจพ้นจากนรกได้
    แต่มิใช่ว่าทำบุญให้ทานไม่ได้บุญ ความสุขที่ได้
    แต่การทำบุญนั้นมีอยู่ แต่ว่าเป็นความสุขที่ยังไม่พ้นจากทุกข์ในนรก
    เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็นนรกตราบใด ก็ยังไม่พ้น จากนรกอยู่ตราบนั้น


    ครั้นได้เข้าถึงนรกแล้ว เมื่อได้รู้ ทางออกจากนรกได้แล้ว
    ปรารถนาจะพ้นจากนรกก็พ้นได้ เมื่อไม่อยากพ้นก็ไม่อาจพ้นได้
    ต้องรู้จักแจ้งชัดว่านรกอยู่ ในที่นั้นๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ
    และควรรู้จักทาง ออกจากนรกให้แจ้งชัด
    ทางออกจากนรกนั้นก็คือ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์นั่นเอง


    เมื่อรู้แล้วอยากจะออก ให้พ้นก็ออกได้ ไม่อยากจะออกให้พ้นก็พ้นไม่ได้
    ผู้ที่รู้กับ ผู้ที่ไม่รู้ย่อมได้รับทุกข์ในนรกเหมือนกัน
    ส่วนความสุข ในมนุษย์สวรรค์และพระนิพพานนั้นต้องรู้จึงจะได้
    ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจไม่ได้เลย มีอาการต่างกันอย่างนี้.


    ดูกรอานนท์ เมื่ออยากรู้จักนรกและสวรรค์และพระนิพพาน
    ก็ให้รู้เสียในเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่
    เมื่ออยากพ้นทุกข์ในนรก ก็รีบออก ให้พ้นเสียแต่เมื่อยังไม่ตาย
    เมื่ออยากได้สุขในมนุษย์หรือ ในสวรรค์หรือในนิพพาน
    ก็ให้รีบขวนขวายหาสุขเหล่านั้น ไว้แต่เมื่อยังไม่ตาย
    จะถือว่าตายแล้วจึงพ้นทุกข์ในนรก ตายแล้วจึงจะไปสวรรค์ไปพระนิพพาน
    ดังนี้ เป็นอันใช้ไม่ได้ เสียประโยชน์เปล่า
    อย่าเข้าใจว่า เมื่อมีชีวิตอยู่สุขอย่างหนึ่ง
    เมื่อตายไปแล้วมีสุขอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้เป็นความรู้ที่เข้าใจผิดโดยแท้
    เพราะจิตมีดวงเดียว เมื่อมีชีวิตอยู่ได้รับทุกข์ฉันใด
    แม้เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับทุกข์ฉันนั้น
    เมื่อยังมีชีวิตอยู่มีความสุข ฉันใด
    เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับความสุขฉันนั้น ไม่ต้องสงสัย


    เมื่อยังมีชีวิตอยู่ยังไม่รู้ไม่เห็นซึ่งความทุกข์และความสุขมีสภาวะดังนี้
    เมื่อตายไปแล้วจะซ้ำร้ายยิ่งนัก จะมีทางรู้ทาง เห็นด้วยอาการอย่างไร



    พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ธุดงควัตร พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ไว้ นะครับ



    ธุดงควัตร หมายถึงกิจวัตรของการธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี 13 วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้น และข้อสมาทานปฏิบัติ คือ


    1. ปังสุกูลิกังคะ ละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบดีใช้ (พระป่านิยมใช้ผ้าท่อนเก่า) สมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
    2. เตจีวริตังคะ ละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน 3 ผืน (วัดป่าสมาทานการใช้สอยผ้าไตรจีวร ในความหมายว่าผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าคลุมด้วย (ในทางปฏิบัติจะใช้ผ้าคลุมนุ่งเมื่อซักตากผ้านุ่งและผ้าห่มชั่วคราว) คือ ผ้าที่เป็นผืน ๆ ที่ไม่ได้ตัดเป็นชุด ตามหลักผ้าใช้นุ่งห่มเพื่อกันความร้อนความเย็นและปกปิดร่างกายกันความน่าอาย เท่านั้น
    3. ปิณฑปาติกังคะ ละเว้นรับอดิเรกลาภ (คือรับนิมนต์ไปฉันที่ได้มานอกจากบิณฑบาตรเช่นไปฉันที่บ้านที่โยมจัดไว้ต้อนรับ) สมาทาน เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
    4. สปทานจาริปังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) เที่ยวจาริก (ภิกขาจาร) (เพื่อมิให้ผูกพันกับญาติโยม) สมาทานบิณฑบาตรตามลำดับ ลำดับบ้าน ไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาต เดินแสวงหาบิณฑบาตไปตามลำดับ. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นบิณฑบาตซ้ำที่เดิม ถืออย่างเบาย้ายสายบิณฑบาตทุกวัน อย่างหนักออกเดินทางย้ายที่เที่ยวบิณฑบาตไม่ต่ำกว่าที่เดิมไม่เกินโยชน์ (16 กิโลเมตร) สมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้าน ลำดับอายุพรรษา ไม่เดินแซง (แย่งอาหาร) ซึ่งไม่ผิดจากพระไตรปิฎก-อรรถกถาแต่อย่างใด สามารถทำได้เช่นกัน.
    5. เอกาสนิกังคะ ละเว้นอาสนะที่ สอง สมาทานอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว). ปกติมักถือการนั่งฉันเมื่อเคลื่อนก้นจากฐานอาสนะที่นั่งเป็นอันยุติการฉัน หรือรับประทานอาหารในวันนั้น ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะกำหนดเวลาฉันในแต่ละวัน เช่นกำหนดฉันเวลา 9 นาฬิกา ก็จะฉันในเวลานั้นทุกวัน (จะไม่ฉันก่อนเวลานั้น หรือ หลังเวลานั้น เช่นเวลา 8 นาฬิกา หรือ 10 นาฬิกา) จะไม่เปลี่ยนเวลาฉันตามความอยากฉัน หรือ ไม่อยากฉันตามอารมณ์ แต่ฉันตามสัจจะตามเวลาที่อธิษฐานไว้
    6. ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ 2 ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทาน ฉันเฉพาะในบาตร. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะต้องคนอาหารรวมกันด้วย ซึ่งแม้จะไม่มีในข้อธุดงค์ตามคัมภีร์แต่ก็ทำได้ไม่ผิดอะไร.
    7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ละเว้นการรับประทานอาหารเหลือ สมาทานเมื่อเริ่มลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นฉันเหลือให้เป็นเดน (ฉันเหลือเนื่องจากไม่ประมาณในการบริโภค) ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด ทั้งยังเป็นมรรยาทที่ดีงามและพบตัวอย่างของพระสมัยพุทธกาลที่ทำเช่นนี้ด้วย. (อติริตต อาหารอันเป็นเดน)
    8. อารัญญิกังคะ ละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน สมาทานการอยู่ในป่าไกล 500 ชั่วคันธนู หรือ ราว 1 กิโลเมตร โดยจะต้องให้ตะวันขึ้นในป่า หากตัวอยู่ในบ้านตอนตะวันขึ้น เป็นอันธุดงค์แตก สมาทานถืออยู่ในป่า (วน - กลุ่มต้นไม้, อรัญญ - ป่าไกลบ้าน)
    9. รุกขมูลิกังคะ ละเว้นนอนในที่มีที่มุงที่บัง (เช่นบ้าน ถ้ำ กุฏิ) สมาทานอยู่โคนไม้ แต่ท่านอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะต่างออกไปเล็กน้อย คือ จะใช้การปักกลดแทน ประเพณีนี้ไม่ทราบที่มาแน่ชัดนัก แต่ถ้าไม่เอาด้ามกลดปักดินก็ทำได้เพราะถึงอย่างไรกลดก็ไม่ใช่กุฏิ (ปักกลด คือการกางร่มกลด (ร่มที่พระใช้ขณะเดินทาง) ใต้ต้นไม้ เป็นวิธีการของพระสายวัดป่าไทยโดยเฉพาะแต่เดิมครั้งพุทธกาลไม่มีมาก่อน กลดมี 2 ลักษณะคือผูกเชือกแล้วแขวนกลด และใช้ด้ามกลดปักพื้น (มักทำพระอาบัติปาจิตตีย์กัน บ่อยด้วยปฐวิขณนสิกขาบท เพราะจงใจขุดดินทั้งที่รู้ตัว) บางรูปวางกับพื้น เรียกว่ากางโลงศพเพราะได้แต่อิริยาบถนอนในกลดเท่านั้น ลุกมานั่งสมาธิไม่ ได้ (แต่สามารถถือวางพาดบ่าก็ลุกนั่งได้) โดยปกติจะครอบคลุมด้วยผ้ามุงทรงกระบอกเพื่อกันยุง ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าเมื่อเดินลุยในน้ำ ไม่ทรงอนุญาตให้ใส่ที่อื่น เนื่องจากเดินลุยน้ำเรามองไม่เห็นว่าในน้ำมีอะไรจึงต้องใส่รองเท้า แต่บนพื้นเรามองเห็นอยู่จะพลาดเหยียบหนามก็เพราะขาดสติ (ทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าในวัด หรือป่า เป็นต้นได้ แต่ห้ามใส่เข้าในเขตหมู่บ้าน<sup id="cite_ref-8" class="reference">[8]</sup>) อีกทั้งทรงอนุญาตให้ใช้ร่มเมื่อเข้าไปในใต้ต้นไม้เพื่อป้องกันการร่วงหล่น ใส่ของกิ่งไม้แต่ในเบื้องต้นยังไม่อนุญาตให้กางนอกต้นไม้เพื่อใช้กันแดดกัน ฝน ในคัมภีร์ท่านไม่ได้อนุญาตให้กางร่มกลดไว้ แต่หากเอาตามอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วก็ทรงอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ (สันนิษฐานว่าคงเป็นผ้ามุ้งหูเดียวที่ผูกแขวนใต้ต้นไม้เพราะข้อธุดงค์ รุกขมูลที่กำหนดไว้ให้อยู่ใต้ต้นไม้ ไม่น่าจะเป็นการเอาไม้มาพาดแล้วคลุมด้วยผ้าคล้ายเต็นท์ เพราะเต็นท์จะอยู่นอกใต้ต้นไม้ได้) อย่างไรก็ตามการใช้กลดก็ไม่ผิด เพราะก็อยู่โคนไม้ไม่ใช่กุฏิเหมือนกัน).
    10. อัพโภกาสิกังคะ ละเว้นการเข้าในที่มีที่มุงที่บังและใต้ต้นไม้ สมาทานอยู่กลางแจ้ง คือการไม่เข้าไปพักในร่มไม้หรือชายคาหลังคาใด ๆ หรือแม้การกางร่มกลดเพื่อกันแดดกันฝนก็ไม่ได้ห้ามทั้งซุ้มจีวรและการใช้มุง ใด ๆ.วัดป่าบางทีก็ถือการไม่ใช่อาสนะใด ๆ เลยเช่น เก้าอี้ เตียง ผ้าปูหรือ แม้แต่ผูกเปล รวมทั้งไม่นอนบนต้นไม้ โดยถือหลักการไม่อิงอาศัยสิ่งใดเกินจำเป็น แม้แต่รองเท้าก็ตาม
    11. โสสานิกังคะ ละเว้นการอยูในสถานที่ไม่เปลี่ยว สมาทานอยู่ป่าช้า ในคัมภึร์หมายถึงป่าช้าเผาศพ ซึ่งต้องเคยมีการเผาศพมาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าช้าฝังผี ข้อนี้ก็เหมือนกับ 2 ข้อ ก่อน ตรงที่ถ้าไม่ได้อยู่ในป่าช้าตอนตะวันขึ้นธุดงค์ก็แตกเช่นกัน.วัดป่ามักถือ การไม่อยู่ในป่าช้าใกล้ ๆกับที่มีมนุษย์อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับสถานที่ตนอยู่ เพราะการอยู่ในป่าช้าก็เพื่อการทดสอบจิตใจต่อการกลัวในความมืดและความเงียบ โดยการอยู่ในที่เปลี่ยวในป่าช้าห่างไกลผู้คนและหมายถึงป่าทั้งที่ฝังและเผา (สน สงัด สุสาน มีปกติสงัดดี)
    12. ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) ในเสนาสนะ สมาทานอยู่ในที่ตามมีตามได้ เสนาสนคาหาปกะจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามนั้น. ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการนอนซ้ำที่เดิม (เพื่อไม่หวงแหนในติดในสถานที่) โดย
      1. ถืออย่างเบาคือนอนย้ายที่ในอาวาสทุกวัน
      2. ถืออย่างหนักคือออกเดินทางย้ายที่นอนทุกวัน
      3. ถ้านอกอาวาส ถ้าหลายรูปให้พรรษาที่สูงกว่าเลือกให้และให้พรรษาสูงกว่าเลือกก่อน (ข้อนี้เป็นสมาจาริกศีล ไม่ใช่ธุดงค์) และ
      4. อยู่บนกุฏิวิหารให้ ทำให้สะอาด ถ้าตามโคนไม้ไม่กวาดหรือทำอะไรเพราะใบไม้มีประโยชน์เช่นทำให้เท้าไม่ เปื้อนก่อนเข้าอาสนะ และสัตว์หรือคนเข้ามาย่อมได้ยินเสียง.

    13. เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง 3 อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการหลับด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)



    ธุดงควัตร พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ไว้ นะครับ เพื่อ มรรคผลนิพพาน






    .
     
  8. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ท่านเคยเป็นหมอแล้วท่านปรุ่งยาให้หญิงคนหนึ่งผมจำเรื่องไม่ค่อยได้เท่าไรนักแต่ทำให้หญิงคนนั้นต้องตาบอด. ท่านต้องรับกรรมตาบอดมาหลายชาตินะ. ชาติสุดท้ายก่อนจะเป็นอรหันต์ท่านจึงน้อมใจปฎิบัติตนแบบลำบากไม่นอน3เดือน. จนน้ำในตาไม่มีจนทำให้ตาบอด. ประมาณนี้ล่ะครับ. ท่านอ่านได้ที่คุณzaberนำมาลงนั้นแหล่ะครับ.
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เป็นยังไงครับครูบาอาจารย์ของท่าน มีกี่ท่านครับ ที่สอนพระนิพพานร้อยแปดพันเก้าอย่าง ! มันมีสภาวะอย่างนั้นหรือเปล่าครับ บอกตามตรง นอกจากพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธเจ้าที่ท่านกล่าวถึงพระนิพพานในพระไตรปิฏกแล้ว ผมไม่เอานิพพานของใคร?

    หากวิสัชนา ๒ ข้อที่ผมให้ไปไม่ได้ คงจะพอทราบภูมิท่านแล้วนะครับ ไปขอความเห็นอาจารย์ท่านมาก็ได้ครับ ขอจบการเสวนาเพียงแค่นี้ครับ


    คิดออกนะครับ !


    เพื่อนที่ดี ท่านจะเป็นเหตุให้เราขัดเกลาตนเอง และขัดเกลาตัวท่านเองด้วย เราต่างก็เป็นหินลับมีดเหมือนกัน มีหน้าที่ลับใจให้คมกริบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2015
  10. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ครับธุดงควัตรมี. ท่านไม่ได้ห้ามหรอกเรื่องการไม่นอนนั้น. แต่ด้วยกรรมเก่ามันทำให้ท่านต้องตาบอด. ท่านพอเข้าใจมั่ยครับ. มันเป็นเหตุปัจจัยเนื่องกันให้กรรมมันแสดงตัว คติความคิดความเห็นในการปฎิบัติของแต่ล่ะคนนั้นไม่เหมือนกัน. กรรมมีส่วนกำหนดแนวความคิดในการปฎิบัติด้วยครับ. บางคนไปอดอาหารก็เพราะคติที่คิดไปในแนวนั้น. เกิดทุกขเวทนาเป็นผลของกรรมครับ. เรื่องพระจักขุบานนั้นพระพุทธท่านก็รู้ว่าท่านต้องรับกรรมนั้นท่านจึงไม่ห้ามครับ. และในตำราไม่เคยมีใครอดข้าวแล้วบรรลุธรรมเลย.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผมมันสายโหดทำความรู้จักไว้บ้างก็ดีนะครับ

    แล้วใครในประเทศนี้จะคิดอย่างข้าพเจ้าล่ะครับ มีไหม?ครับ พิจารณาให้ดีๆ หรือว่ามีคนบ้าที่ทำแบบนี้คนเดียว เดี๋ยวตามมาอีกครับ มาแน่นอน คอย

    ตั้งแต่เกิดมาคงพึ่งเคยได้ยินสินะ อื้มตอนนี้เข้าใจได้แค่นั้น ก็พอแล้วล่ะ ใช้ศัพท์อื่นไม่มีทางรู้ความหมายหรอก แต่มันมีจริง
    ผมหวังเอาฤทธิ์นี้ด้วย [ธาตุทัณฑ์] คือผลกรรมบันดาล เบิกกรรมชาตินี้ ทำลายกรรมชาติหน้า นี่มหาเมตตาแล้วนะครับ สำหรับคนขาดสูญฯสิ้นเสีย
    ธาตุขันธ์ ๕ ย่อมทำลายตนเองเพื่อบูชาธรรม นี่คือกรรมของพวกโกหกปลิ้นปล้อน กรณีแผ่นดินเคลื่อน ธรณีสูบ ก็เหมือนกันครับ ตั้งแต่เกิดมาผมจะบอกตรงนี้เป็นครั้งแรกนะครับ ธรณีสูบ คือ ปฐวีธาตุ หรือธาตุดินกำเริบอย่าไปคิดว่าพระแม่ธรณี ฆ่าเอานะครับ เทพ นาค คนธรรพ์ เทวดา มารพรหม เขาไม่มีเอี่ยวด้วยในเรื่องนี้คนมันถึงที่ บาปมันลงตัว ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ ขันธ์ ๙ ก็ไม่เหลือครับ ยกเว้นอรูปพรหม จำไว้นะครับ สภาวะธรรมสามารถแปลงธาตุได้ทุกอย่างครับ นิวเคลียร์ เลเซอร์ Solar storm Black Hole BIGBANKของกระจอกๆแบบนั้น ไม่ได้ติดขี้ฝุ่นเบื้องพระบาทของ[พระพุทธเจ้า]หรอกครับ

    อาศัยบวชในพระศาสนากับพระพุทธเจ้ายังโกหก ใครหน้าไหนจะเหลือ

    เป็นไงไม่ทรงร่วมทำปาฎิโมกขร่วมอีก เจ็บไหม?ครับ พระอาจารย์ สมควรไหม?

    บอกตามตรง สายโหดครับ โหดสำหรับอามิสทายาท

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัส
    ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)
    ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้
    แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ

    โลหิตร้อน อาโปธาตุ ธาตุน้ำกำเริบพระแม่คงคาไม่เกี่ยวครับ
    อัคคิขันธูปมสูตร
    [๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลชนบท
    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็น
    ไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทาง
    ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ใกล้โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
    อยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่
    กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาว
    คฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน ฯ
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอด
    พระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอันอ่อนนุ่ม
    นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น
    ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ เป็นทุกข์ ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรกน่ารังเกียจ
    ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
    แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ
    เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี
    จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์
    โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์
    ปางตาย เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป
    ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้น
    เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความประพฤติสกปรก
    น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้
    ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำ
    หนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาว
    พราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ
    ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และผู้นั้นเมื่อ
    ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้ง
    ทั้งสองข้างแล้วชักไปมา เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้ว พึงบาดหนัง
    บาดหนังแล้ว พึงบาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้ว
    พึงตัดกระดูก ตัดกระดูกแล้ว หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดีการกราบ
    ไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดี
    กว่ากัน ฯ
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่าการที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือก
    หนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ
    หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นี้เป็นทุกข์ ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้ง
    หลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่ง
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่
    บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง แล้วชักไปชักมา
    เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุ
    ไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อ
    ตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

    ส่วน
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่
    ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
    จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง เอาหอกอันคมชโลมน้ำมัน
    พุงใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
    หรือคฤหบดีมหาศาลไหนจะดีกว่ากัน ฯ


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการที่บุรุษมีกำลัง
    เอาหอกอันคมชโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอกนี้เป็นทุกข์ ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์
    มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมี
    กำลัง เอาหอกอันคมชโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป
    ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคล
    ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์
    มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
    เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น


    เมื่อตายไป
    ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
    ความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
    โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน ฯ
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมี
    กำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์ ฯ



    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วย
    ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกาย
    ตัว นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
    มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภค
    จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
    มหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
    แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้
    แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดง
    นั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึง
    ไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
    ไหนจะดีกว่ากัน ฯ



    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่
    บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้ว
    กรอกก้อนเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะ
    พึงไหม้ริมฝีปาก ... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์ ฯ



    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยว
    ปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อน-
    *เหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย


    มีข้อนั้นเป็นเหตุ
    แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็น
    ปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขา
    ถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
    นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่
    บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือ
    ตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วย
    ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะ
    ดีกว่ากัน ฯ



    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการ
    ที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้ว ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็ก
    แดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นี้เป็นทุกข์ ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียง
    หรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อ
    ตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วน
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไป
    เพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และ
    บุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอา
    เท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก
    ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลง
    ข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ กับการบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน ฯ


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมี
    กำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
    โชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน
    บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้เป็นทุกข์ ฯ


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง จับเอาเท้าขึ้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง
    ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น
    บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้ดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็น
    เหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น
    เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขา
    ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
    นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน แก่
    บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษา
    อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
    บริขาร ของชนเหล่าใด


    ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    และการบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณา
    เห็นประโยชน์ตน ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท
    เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วย
    ความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้
    ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัส
    ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)
    ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้
    แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    เจตนาในการนำมาถ่ายทอดดีทั้ง ๒ ท่านนั้นหละครับ..
    และก็ต่างเห็นในมุมที่ตนเองเห็น ซึ่งก็ไม่มีใครผิดใครถูกเช่นกันครับ..
    แต่ส่วนตัวขออนุญาติเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับ..เผื่อว่า
    จะอาจจะเข้าใจอะไรเพิ่มเติมขึ้นครับ..แต่ว่ารบกวนท่าน
    อ่านให้ดีๆก่อนนะครับ....

    ประเด็นแรกควรจะเข้าใจคำว่า ทรงสมาธิหรือที่เราชอบเรียกกันติดปากว่า
    ทรงฌานหรือผู้ทรงฌานอะไรก็แล้วแต่สุดแล้วแต่ท่านจะเรียกครับ...
    ในทางด้านกิริยาทางจิต มิได้หมายความว่า ท่านสามารถนั่งสมาธิได้
    ถึงระดับฌานสมาบัติ หรือ ระดับฌานโน้นฌานนี้ได้มาก่อน แต่หมายความว่า
    ในเวลาปกติ หรือในสภาพแวดล้อมแบบสังคมทั่วๆไปแบบปกติ หรือ
    พูดง่ายๆว่าในขณะที่ท่านลืมตาอยู่แล้วนั้น ตัวจิตท่านมีความสามารถ
    ใช้งานจากผลของกำลังสมาธิที่ท่านเคยทำได้หรือเข้าถึงมาก่อนได้หรือไม่
    ภายในเวลาเสี้ยววินาทีไหม หรือ ท่านดำริใช้งานตอนไหนท่านก็ใช้ได้เลย
    ทันทีหรือไหมครับ และหลังจากท่านใช้แล้วก็แล้วไป
    และในสภาวะปกติท่านก็ปล่อยวาง พวกความสามารถที่ได้จาก
    กำลังสมาธิตรงนี้ได้หรือไม่ร่วมด้วยครับ

    ..นี่เป็นนัยยะของบทความนี้ครับ....

    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านมาทางสายวิชาพิเศษ ท่านจะดูโน้นดูนี่ท่าน
    ยังต้องตั้งท่าหลับตาก่อนหรือเปล่า หรือท่านจะรู้โน่นรู้นี่ ท่านยังต้อง
    ตั้งใจก่อนเพื่อเข้าสมาธิก่อนหรือเปล่า แค่ท่านใช้เวลา มากกว่า
    ๓ ถึง ๔ วินาทีก็ถือว่าท่านไม่คล่องตัวแล้วครับ..
    ถ้ากิริยาทางจิตท่านเป็นแบบนี้อย่างนี้ไม่ถือ
    ว่าท่านเป็นผู้ทรงสมาธิหรือเป็นผู้ทรงฌานครับ
    แต่ถือว่าตัวจิตท่านมีความ
    สามารถในการทำได้เท่านั้นเองครับ.
    ..อาจเพราะในอดีตชาติท่านเคย
    สะสมบารมีทางด้านนี้มาก่อน..กรณีอย่างนี้คนที่ศีล ๕ พร่อง
    ศีล ๕ ไม่ครบก็สามารถทำได้ครับ คุณดูอย่างโจรที่มีวิชาอาคม
    ที่ไปปล้นฆ่า ปล้นชิงทรัพย์สมัยก่อนเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบได้ครับ..
    หรือท่านที่มีความสามารถทางจิตสูงๆแต่ว่าเป็นขึ้เหล้าเมายาดูก็ได้ครับ.
    นั่นเพราะตัวจิตมีความเคยชินและเคยทำได้มาก่อน.


    .แต่ย้ำว่าไม่ได้ถือว่าเป็นผู้ทรงฌาน ไม่ได้เป็นผู้ทรงสมาธิ
    แต่เป็นผู้ที่สามารถทำได้ในขณะเวลานั้นๆ ช่วงเวลานั้นๆ
    และไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ
    และยกย่องสรรเสริญจากฝ่ายภพภูมิทุกระดับครับ
    และถือว่าในสภาวะปกติทั่วไปตัวจิตท่านที่ทำได้อย่างนี้
    สูงสุดก็จะยังไม่เกินระดับมนุษย์หรือบุคคลปกติครับ
    ประเด็นนี้พอเข้าใจนะครับ....



    ประเด็นนี้พอเข้าใจที่ท่านจะสื่อครับ.
    .ในกรณีที่ท่านพูด ส่วนตัวหมายถึงพวกที่เค้า
    ลงมาเกิดพร้อมฌานบารมี หรือความสามารถทางจิตทางด้านไหนๆก็ตาม
    หรือที่ท่านใช้คำว่าอุกกฤษอะไรสุดแล้วแต่ท่านจะเรียกครับ..
    แต่ในความรวม ดวงจิตแบบนี้ก็คือดวงจิตที่นำเอาบารมีลงมาเกิดด้วยมาก
    มักจะมาพร้อมกับความสามารถพิเศษทางจิตต่างๆ ฯลฯ
    ทางด้านต่างๆไม่ว่าด้านไหนก็ตาม โดยที่ท่านๆเหล่านั้น ไม่ต้องไปฝึก
    ไม่ต้องไปทำอะไร ไม่ต้องนั่งสมาธิ ไม่ต้องเคร่งในศีลอะไร มันก็จะก่อ
    เกิดความสามารถพวกนี้ได้เอง ซึ่งคนแบบนี้ก็มีเยอะแยะในปัจจุบันครับ.
    ที่ส่วนตัวสนิทด้วย เรียกว่า ตาทิพย์ หูทิพย์ เจโต กสิณ ๑๐ เปิดประตู
    มิติ ถอดกายทิพย์ ฯลฯ เรียกว่าทำได้สารพัด ยกเว้นว่าเหาะได้ กับ
    หายตัวได้เท่านั้นเองครับที่ทำไม่ได้ และทำได้แบบไม่ต้องฝึกอะไรเลยครับ.


    ประเด็นสำคัญนะครับ..พวกนี้แม้ว่าจะมีความสามารถใช้งานได้เลย..
    แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นผู้ทรงสมาธิหรือทรงฌานนะครับ..
    เพราะตัวจิตมันทำได้ของมันเองอยู่แล้วครับ ..และไม่ได้เป็นความสามารถ
    ที่ได้มาจากการฝึกฝน การสร้างทานบารมี ทำบุญ ตลอดจนการความมั่นคง
    ในศีลของตนในชาติปัจจุบันแต่เป็นเหตุมาจากอดีตชาติ..
    ดังนั้นจึงจะขาดในเรื่องของ กำลังสติทางธรรม
    กำลังสมาธิสะสม.ซึ่งพวกนี้มันต้องสร้างกันที่ชาติปัจจุบันครับ..

    .พวกนี้จึงมักเกิดอาการที่พอไปทราบไปรู้อะไร
    ก็ตาม ตัวจิตมันก็จะซึมซับกลายเป็นไปปรุงร่วมไปรู้สึก และรับรู้จน
    กลายเป็นตัวเอง พอรู้มากๆๆเข้า พบว่าหลายๆท่านก็ถึงกับวิปลาส
    ไปเลยก็มีครับ...ยกเว้นว่าจะมา สร้างทานบารมี มีรักษาศีล ๕ ให้มั่นคง
    มาสร้างสติทางธรรมให้เกิด เพื่อให้ได้กำลังสมาธิสะสมขึ้นมา
    ในระดับเพียงพอจนกระทั่งกลายเป็นผู้ที่ทรงสมาธิหรือทรงฌาน
    เวลาจะใช้งานค่อยดำริขึ้นมาใช้งานได้ ใช้แล้วก็แล้วไป
    และพอในเวลาปกติก็วางได้ด้วยกำลังสมาธิสะสมที่ตนมี
    ..เวลาใช้งานมันถึงจะมีความคล่องตัว
    เป็นแบบใช้แล้วไม่ยึดและใช้เสร็จก็วางได้ครับ


    ขอสรุปนะครับ คำว่าทรงสมาธิหรือทรงฌานเราวัดกันที่ความสามารถ
    ในการใช้งานครับว่าภายในเสี้ยววินาทีหรือไม่ พวกนี้นะครับเวลาจะใช้งาน
    ความสามารถอะไรก็ตามที่จิตมันทำได้ มันจะเร็วกว่าความคิดในสมอง
    ของเราที่จะคิดได้ด้วยซ้ำครับ..

    อืมๆๆ ตรงนี้ขออนุญาตเลยนะครับ..คุณอาจจะสัมผัสยังไม่ได้
    หรือไม่ทราบว่าตนเองมีก็ไม่เป็นไรครับ..
    อย่างความสามารถที่ คุณ จ่ายักษ์ ทำได้นั้นไม่ว่าตัวจิตนี้
    มันจะเคยบำเพ็ญอะไรมาก่อนก็ตามในอดีตชาติก็ตาม
    บวกกับความสามารถในการเชื่อมพลังงานได้ ณ เวลานี้
    และบวกกับตัวจิตตอนนี้ที่มันเชื่อมกับ
    ครูบาร์อาจารย์ข้างบนได้ ณ เวลานี้เช่นกัน
    และบวกกับกระแสเมตตาที่มันก็มีด้วย
    ในเวลานี้.ณ ตัวจิตของท่านเพียงแต่มันยังไม่กว้าง
    มันก็ยังอาจจะกลายพันธ์ได้เช่นกันครับ..
    เพราะท่านยังไม่ได้พลิกกำลังตรงนี้เพื่อเป็นไปสำหรับ
    การโปรดหรือการอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ต่างๆ
    แบบไม่อะไรกับอะไรก็ตาม แต่ก็ถือว่าไม่ใช่ว่าจะพบ
    เจอได้ง่ายๆเช่นกันครับ...

    และสิ่งที่ท่านทำได้ แม้จะปรากฏเกิดผลกับท่านได้โดยตรง
    อาจเป็นเรื่องอัศจรรย์ เป็นเรื่องที่พูดกล่าวแล้วบุคคลอื่นๆ
    เชื่อได้อยาก แต่ไม่ได้หมายความว่า ตัวท่านจะเอา
    เรื่องของ การพร่องในศีล ที่คุณ Saber นำบทความ
    มาลงให้อ่านแล้วมาตั้งเป็นประเด็นว่า

    "หากได้รับอานิสงค์แห่งศีลที่บำเพ็ญเพียรไว้อย่างอุกฤษฎ์
    ในอดีตชาติที่ส่งสมมาและในชาตินี้ด้วย
    ในกรณีนี้ท่านจะยกเว้นไว้ได้หรือไม่?.'' มาตั้งเป็นประเด็นอย่างนี้เพื่อแตกการตีความออกไป
    มันยังถือว่าเป็นการไม่เหมาะสมครับ เพราะหลวงพ่อมีชื่อท่านกล่าว
    ในประเด็นของเรื่อง การทรงสมาธิครับ...และบุคคลที่ถือว่าทรงสมาธิ
    ได้ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้อธิบายให้ท่านฟัง...เพราะฉนั้นท่านตอนนี้ถือว่า
    เป็นบุคคลที่สามารถทำได้
    แต่ด้วยเหตุใดก็ตามสุดแล้วแต่ท่านครับ
    แต่ประกันไม่ได้ว่าตัวท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิ หรือผู้ที่มีความมั่นคง
    ในศีลได้ครับ..แต่ท่านก็อาจจะเป็นได้ทั้งคนดี หรือคนไม่ดี..
    ประเด็นสำคัญคือ ถ้าท่านมีศีลในตัว ให้ท่านสังเกตุว่าท่านได้รับ
    การยอมรับจากฝ่ายภพภูมิหรือไม่ด้วยตัวท่านเองโดยที่ไม่ต้องบอกใครครับ.
    .
    และด้วยบุคคลหรือห่มเหลืองที่มีความสามารถ
    ในการใช้งานได้ภายในเสี้ยววินาที
    หรือมีความคล่องตัว ไม่ต้องไปพูดถึงแล้วครับ เรื่องศีล เรื่องพร่อง
    เพราะมันไม่ใช่ว่ามีศีล หรือไม่มีศีล ตัวจิตมันถึงจะมีศีลในตัวมันเอง
    ในเนื้อหาของมันเองอยู่แล้วครับ..
    และ.ไม่มีคำว่า
    ''จะยกเว้นไว้ได้หรือไม่"ด้วยครับ
    ปล.หวังว่าจะเข้าใจที่เล่าให้ฟัง
    ค่อยๆอ่านนะครับ.. ขอบคุณมากครับ...
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้าท่านชอบเพ่งโทษ แล้วลากคนอื่นไปตายด้วย ผมจะเพ่งโทษท่านด้วยความจริงที่ปฎิเสธมิได้ ไม่ค่อยพอใจครับ คนเห็นแก่ตัวมักได้


    ถ้าอยู่ต่อ ณ เบื้องหน้า(พระพุทธเจ้า)ท่านจะกล้ากล่าวแบบนี้ไหม?นะ ผมอยากจะรู้ครับ

    พระพุทธเจ้า สอน ทาน ศีล ภาวนา ทางปฏิบัติ เพื่อ มรรคผล นิพพาน ครับ

    ลองถามตัวเองดูนะ ว่าไอ้ บำเพ็ญมหาวัฏร อารายนั้นนะ อยู่ใน หมวดไหน ของ ทาน ศีล ภาวนา ครับ

    แล้วมันเป็นทางไปไหนกันแน่ ^^
    กินขี้ แล้วรักษาศีลได้เหรอ? ถามใจตนเองดูนะครับ ถอนลูกธนูอาบยาพิษที่ยิงมาเองนี้ให้ดีๆ นี่เขาเรียกว่า เพ่ง เห็นโทษ ด้วยความเป็นจริง

    มหาวัฏร ?????????????????


    มหาวิกัฏ ยา ๔ อย่าง คือ มูตร คูถ เถ้า ดิน ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน



    ๒. เภสัชชขันธกะ (หมวดว่าด้วยยา)
    ทรงอนุญาตเภสัช ๕ และอื่น ๆ
    ๑. ภิกษุหลายรูปอาพาธ ดื่มข้าวยาคู หรือฉันอาหารก็อาเจียนออก (เพราะอาหารไม่ย่อย) จึงซูบผอม พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ให้ฉันได้ทั้งในกาล (ก่อนเที่ยง) และในวิกาล (เที่ยงแล้วไป)
    ๒. ทรงอนุญาตเปลวสัตว์หลายอย่าง ให้เคี้ยวบริโภคเป็นเภสัชได้เฉพาะในกาล
    ๓. ทรงอนุญาตให้ฉันมูลเภสัช (ยาที่เป็นหัวหรือเหง้าไม้) เช่น ขมิ้น ขิง เป็นต้น ได้ตลอด ไม่กำหนดกาล แต่ต้องมีเหตุสมควร ถ้าไม่มีเหตุสมควร ต้องอาบัติทุกกฏ สำหรับภิกษุผู้อาพาธ ทรงอนุญาตให้ใช้หินบดบดได้
    ๔. ทรงอนุญาตให้ฉันกสาวเภสัช (ยาที่เป็นน้ำฝาดจากต้นไม้) ได้ตลอดชีวิต ในเมื่อมีเหตุสมควร
    ๕. ทรงอนุญาตให้ฉันปัณณเภสัช (ใบไม้ที่เป็นยา) ได้ตลอดชีวิต ในเมื่อมีเหตุสมควร
    ๖. ทรงอนุญาตให้ฉันผลเภสัช (ผลไม้ที่เป็นยา) เช่น ดีปลี สมอ มะขามป้อม ได้ตลอดชีวติ
    ๗. ทรงอนุญาตให้ฉันชตุเภสัช (ยางไม้ที่เป็นยา) เช่น มหาหิงคุ์ ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีเหตุสมควร
    ๘. ทรงอนุญาตโลณเภสัช (เกลือที่เป็นยา) เช่น เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีเหตุสมควร
    ๙. ทรงอนุญาตให้ใช้ยาผง ในเมื่อเป็นแผลพุพอง หรือกลิ่นตัวแรง เพื่อมิให้แผลติดจีวร สำหรับภิกษุผู้ไม่อาพาธ ทรงอนุญาตให้ใช้มูลโค (แห้ง) ดิน (แห้ง) และกากเครื่องย้อม ทรงอนุญาตครก สาก และแล่ง(สำหรับร่อนยาผง) เพื่อการนี้
    ๑๐. ทรงอนุญาตเนื้อสัตว์ดิบ โลหิตดิบ ในเมื่ออาพาธ เนื่องด้วยอมนุษย์
    ๑๑. ทรงอนุญาตยาตา และกลักยาตา สำหรับภิกษุผู้อาพาธเป็นโรคตา แต่ห้ามมิให้ใช้กลักยาตา ที่ทำด้วยเงินทองแบบของคฤหัสถ์ กับทรงอนุญาตฝาปิดกลักยาตา และให้ใช้ด้ายพันกันฝาตก กับทรงอนุญาตให้ใช้ไม้ป้ายยาตาและถุงใส่ไม้ป้ายยาตา รวมทั้งสายสำหรับสะพายคล้องบ่า
    ๑๒. ทรงอนุญาตให้ทาน้ำมันที่ศีรษะ เมื่อเป็นโรคร้อนศีรษะ และอนุญาตให้นัตถุ์ยา และกล้องยานัตถุ์ แต่กล้องยานัตถุ์ ห้ามใช้ที่ทำด้วยทองเงินหรืองดงามแบบของคฤหัสถ์, ทรงอนุญาตกล้องยานัตถุ์ที่มีหลอดคู่. ทรงอนุญาตให้สูดควัน (ของยา) ทางจมูก, ทรงอนุญาตกล้องยาสูบ (ที่ใช้รักษาโรค) แต่ไม่ให้ใช้กล้องที่ทำด้วยทองเงินหรืองดงามแบบคฤหัสถ์, ทรงอนุญาตให้มีเครื่องปิดกล้องยาสูบ (เพื่อกันสัตว์เข้าไปข้างใน), ทรงอนุญาตถุงใส่กล้องยาสูลและถุงคู่ รวมทั้งสายสำหรับสะพายคล้องบ่า
    ๑๓. ทรงอนุญาตให้เคี่ยวน้ำมัน (ทำยา) และทรงอนุญาตให้เติมน้ำเมาลงในน้ำมันที่จะทำยาได้ โดยมีเงื่อนไขว่า น้ำเมาที่ใส่นั้น สีกลิ่นรสไม่ปรากฏ. ทรงอนุญาตภาชนะสำหรับใส่น้ำมันที่ทำด้วยโลหะ, หรือผลไม้. ทรงอนุญาตการทำให้เหงื่อออก ตั้งแต่อย่างธรรมดาถึงอย่างเข้ากระโจม โดยมีถาดน้ำร้อนอยู่ในนั้น
    ๑๔. ทรงอนุญาตให้นำเลือดออกด้วยใช้เขาควายดูด. (คือการกอก ได้แก่เจาะเลือดออกเล็กน้อย แล้วใช้เขาควายกดลงไปให้ดูดเลือดออก ในอรรถกถาไม่ได้บอกว่าต้องจุดไฟด้วยหรือไม่ ตามธรรมดาการทำเช่นนี้ต้องจุดไฟที่เศษกระดาษหรือเชือ้ไฟอื่น ๆ เพื่อไล่อากาศ เขาควายจึงมีแรงดูด)
    ๑๕. ทรงอนุญาตยาทาเท้า เมื่อเท้าแตก และอนุญาตให้ปรุงยาทาเท้าได้
    ๑๖. ทรงอนุญาตการผ่าฝี และอนุญาตกระบวนการทั้งปวงที่เนื่องด้วยแผลผ่าตัดนั้น
    ๑๗. ทรงอนุญาตยา ๔ ชนิด ในขณะถูกงูกัด คือ มูตร (ปัสสาวะ) คูถ (อุจจาระ) ขี้เถ้าและดินในขณะรีบด่วนเช่นนั้น ถ้าไม่มีคนทำให้ ให้ถือเอาเองแล้วฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ (ยาชนิดนี้จะเพื่อให้อาเจียนหรืออย่างไร ไม่มีบอกไว้)
    ๑๘. ทรงอนุญาตยาและอาหารอ่อนบางอย่างตามควรแก่โรคและความต้องการที่จำเป็น เช่น น้ำด่างจากขี้เถ้าของข้าสุกเผา แก้โรคท้องอืด สมอดองน้ำมูตรโค แก้โรคผอมเหลือง, การทาตัวด้วยของหอม แก้โรคผิวหนัง. น้ำข้าวใส, น้ำถั่วต้มที่ไม่ข้น, น้ำถั่วต้มที่ข้นเล็กน้อย, น้ำเนื้อต้ม (เป็นการผ่อนผันให้เหมาะแก่อาพาธ).
    ทรงห้ามเก็บเภสัช ๕ ไว้เกิน ๗ วัน
    มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสพระปิลินทวัจฉะ ในฐานะมีอำนาจจิตสูง ใช้อำนาจจิตได้หลายอย่าง พากันถวายเภสัช ๕ คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย เป็นอันมาก ท่านก็แบ่งถวายภิกษุผู้เป็นบริษัทของท่าน ภิกษุเหล่านั้นเก็บของเหล่านี้ใส่ผ้ากรองบ้าง ใส่ถุงบ้าง แขวนไว้บ้าง พาดที่หน้าต่างบ้าง มีหนูรบกวนมาก เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติว่า ภิกษุรับเภสัช ๕ แล้ว จะเก็บไว้บริโภคได้ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าล่วงกำหนดนั้นไป ให้ปรับอาบัติตามควร (คืออาบัติปาจิตตีย์ ส่วนอาหารห้ามเก็บไว้ค้างคืนเพื่อจะฉันแพ้เพียงคืนเดียว).







    ช่างไม่เข้าใจกระบวนการอธิบายเลย พึงให้เห็นว่าจะเอาแต่ผลที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติ แบบชุกมือเปิบ ให้ทำตามไม่เอา คือไม่มีปัญญาความสามารถอยู่แล้ว กลับแสดงท่าทีเกลียดชัง ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ถัดไปจะต้องปฎิบัติเช่นนี้ นี่เรียกคนเณรคุณครับ รู้ไหม?ครับ พระสาวกท่านบวชอุทิศให้พระพุทธองค์อื่นๆนั้นด้วย สำนักครูอาจารย์ท่านคงไม่เคยสอนข้อนี้

    เห็นแก่ตัวเกินไปแล้วครับข้อนี้ที่ยกมาน่ะ

    พอเข้าใจแล้วล่ะ ท่านกลับหมิ่นประมาทปรามาสพระพุทธเจ้าเสียเอง

    อันตรายิกธรรม นี้ผมขอรับเองครับ ท่านคงรับไม่ไหวหรอก ผมถามข้อนี้ ผมดึงคำถามคืนล่ะกัน แต่มันจะเป็นแผลในใจท่านตลอดไป สหายธรรมของข้าพเจ้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 9berd.jpg
      9berd.jpg
      ขนาดไฟล์:
      156.9 KB
      เปิดดู:
      50
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2015
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผมถามเพียงว่าได้หรือ ไม่ได้ ท่านต้องตอบ ตามความเป็นจริง อย่างตรงไปตรงมาครับ ต้องดูที่คำถาม ถ้ารู้สึกว่าไม่เกี่ยวกันจงปราม ผมคิดกว้างนะครับ ศีล ปัญญา สมาธิ ไม่ได้คิดแคบๆ นี่ฐานแห่งการเข้าสู่ทางตรัสรู้ อย่าบอกนะครับว่าไม่ทราบ คิดออกไหม?ครับ

    ถ้าไม่รู้ข้อที่ยกมาไม่ควรตอบ หรือบอกไม่รู้ ดูเจตนาการไถลตอบด้วยครับ ใครใช้ใครลากพวกมาก ให้ผมหาหลักฐานให้ ถ้าขึ้นศาล ใครครับที่แพ้อธิกรณ์นี้ เรียนมางูๆปลาๆ มาเบ่งทับ เกหมดหน้าตัก หวังจะเอาชนะท่าเดียว ท่านจงพิจารณาความใหม่ครับ คนที่ถามผิด หาหลักฐานยกมาแสดงที่มีอยู่จริงตามที่ขอมาได้ผิด จะเอาชื่อจริงของสิ่งนั้น แต่ไม่รู้จักสิ่งนั้น คนตั้งคำถามผิด แสดงคุณค่าความหมายของสิ่งนั้น ไม่เอานึกรังเกียจ จะเอาที่ดีแล้ว ที่เสียที่ดียังไงก็ช่าง ไปวิจัยมา มีหน้าที่ใช้ ทุกข์ก็เรื่องของคุณ โอ้โห


    ดูออกนะครับ ได้ กับ ไม่ได้ ศีล อะไรคือ ศีล ประโยชน์ของศีล การรักษาศีล ที่มาของศีล

    พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ตลอดจนจะไม่สามารถสำเร็จมรรคผล แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้


    พิจารณาดูดีๆนะครับ ซ่อนอะไรอยู่
    ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ.." ตัวสีแดงใหญ่เบ่อเร่อเป็นสำคัญ นี่หมายถึงจะเอา หรือจะได้ แค่ไหนหรือครับ? คิดกว้างๆ ผมไม่พูดต่อ คิดเอง..ง

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Saber อ่านข้อความ
    "..ท่านพร่อง ในศีล ด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะ
    ทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย
    เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ
    ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิ
    ที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร
    ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปี
    ที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้
    ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ.."

    "หากได้รับอานิสงค์แห่งศีลที่บำเพ็ญเพียรไว้อย่างอุกฤษฎ์
    ในอดีตชาติที่ส่งสมมาและในชาตินี้ด้วย
    ในกรณีนี้ท่านจะยกเว้นไว้ได้หรือไม่?.
    '' มาตั้งเป็นประเด็นอย่างนี้เพื่อแตกการตีความออกไป
    มันยังถือว่าเป็นการไม่เหมาะสมครับ เพราะหลวงพ่อมีชื่อท่านกล่าว
    ในประเด็นของเรื่อง การทรงสมาธิครับ...


    มันตีความไปทางอื่นไม่ได้หรอกครับ เพราะมีประโยคที่ว่า "ตลอดจนจะไม่สามารถสำเร็จมรรคผล แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้" ซ้ำเข้าไปอีก หมายถึงรวมทุกอย่างเข้าไปในประโยคทั้งหมดครับ เพราะเน้นไปที่"ศีล"อย่างเดียว สรุป ยิ่งท่านไปพิจารณาว่า" เพราะหลวงพ่อมีชื่อท่านกล่าว
    ในประเด็นของเรื่อง การทรงสมาธิครับ
    นี่สรุป อัฟเกรดให้เพิ่มสูงขึ้น หรือดึงท่านลงครับ เข้าใจนะครับ นึกออกไหม?ครับ ถ้าเข้าใจแล้ว ท่านทำความเข้าใจใหม่ได้เลยครับ ต้องอธิบายอีกไหม?ครับ เข้าใจนะ คิดเอง ผมเอาแค่นี้พอ เรื่องชี้แจงผมชัดเจน ทำไมหลายเด้งจัง เหนื่อยนับคับ




    ข้อนี้วิสัชนาถี่ถ้วนแล้วครับนายท่าน อย่าพลาด ข้อที่ท่านกล่าวมาเป็นประโยคแรกเพื่อวินิจฉัย ผิดหลักสัมมาทิฏฐิครับ ไม่เอาเจตนา เอาถูกต้องครับ ไม่ต้องให้ความเป็นธรรมผม ผมมีเยอะแล้ว เข้าใจนะครับ เห็นผมผิดฟันเต็มแรงไปเลย อย่ายั้งครับ แม่ขโมยนมจากห้างเพื่อเอานมเลี้ยงลูกยังติดคุก ปล้นคนอื่นมาทำบุญไม่เป็นไร มันจะเอาความเที่ยงธรรมได้ที่ไหนล่ะครับ ผิดส่วนผิดครับ ผิดมากผิดน้อย ถูกส่วนถูก แยกแยะให้เป็นครับ

    อุปมาเข้าไปอีก
    ถ้าวินัยพระเสพเมถุน ก็ต้องขาดจากความเป็นภิกษุครับ อย่าบอกว่าเจตนาเพื่อดับทุกข์เพราะกลัวว่ามันจะไปทำอะไรที่ไม่ดีกว่านี้ ขอกันนิดเดียวก็ไม่ได้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2015
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พร่องในศีล ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้

    ถ้ามีของเก่าที่สั่งสมมาจะส่งผลไหม? จะยกเว้นในกรณีนี้ได้หรือไม่?

    คำตอบ ต้อง ตอบว่าได้อธิบาย หรือ ไม่ได้อธิบาย แค่นั้นครับ อย่าสาวไส้ตนเองให้กากิน ผมชอบขนมนมเนยผลไม้ครับ

    แล้วไถลไปเรื่องอื่นๆ? ท่านวินิจฉัยเอาเองครับ อุปมาเอาเอง ขอบคุณครับ ผมรู้ว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจดี ผิดว่าตามผิดครับ ถูกว่าตามถูก อีกอย่างนะครับ ผมเป็นคนเดียวในตอนนี้ที่รู้[พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ดั้งเดิม]และ [คัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร] ท่านอย่าเอาผมไปเปรียบกับสหายท่าน ที่มีญาณ ฌาณ ที่เหลือแต่เหาะไม่ได้หายตัวได้เหล่านั้น เพียงเพราะท่านไม่รู้จัก คุณสมบัติคุณค่าเพียงแค่นี้ ถ้าถือ[อัตตาธรรม] ผมเหนือกว่าหลายกัปป์หลายกัลป์ครับ เป็นอเนกอนันตชาติ อย่านับเลย!

    อ่านหัวข้อดูดีๆครับ

    อายคนเขาพอแล้วครับ พอเถอะ! หน้าผมบาง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2015
  16. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +4,062
    :cool: ท่าน Saber..เขาก็ตอบด้วยเหตุผลดีแล้ว ท่านจ่ายักษ์ ตอบไม่เคลียร์ตั้งแต่หน้าที่2 ขึ้นไป..คล้ายเลี่ยงตอบ ที่เขาค้านเรื่อง กินขี้เป็นอัตตกิละมถานุโยค แล้ครับ..
    (k) จ่ายักษ์ เอาแต่เสวย อัตตา อนุสสัย ก็โผล่ที่ละนิด ไม่ยอมเสวย.."เมตตา".. เอะอะจะขึ้น .."สายหด" สายหด ..สับสนไม่ยอมหดด้วยหรอกครับ..ผู้คนก็กลัวอนุสัยท่านนะสิ เดี๋ยวเขาก็หนีกันหมดหรอกท่านจะเหงานิ

    (k) ผิดถูก ก็ตอบให้เคลียร์ มันชี้ถึงจิตใจเราว่า สุภาพบุรุษลูกผู้ชายรึไม่-ตรงไหนไม่เคลียร์ก็ค่อยๆตอบให้เคลียร์แบบเมตตาหน่อย..หากเอาอัตตาเข้าขย่ม ข่ม ใครก็เข้าสายหด หมดแน่นวล อิอิ.:':)':)'(
     
  17. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +4,062
    :cool:ท่าน saber..มีพระอริยะเจ้าองค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล ท่านเกิดเป็นพราหม์มา500ชาติ.. ครั้งมาเกิดเป็นสาวกในพุทธศาสนา จะเรียกใครก็เรียกว่า "เจ้าคนถ่อย-ไอ้ถ่อย"..นำหน้าเสมอ จนมีคนเอาไปฟ้องพระพุทธองค์นะครับ สาวกท่านนี้ชื่ออะไรผมไม่ทราบแต่ท่านเป็นอรหันต์แล้วขณะที่ท่านพูด..
    หากสมัยนี้ ท่านมานั่งเล่นเนตใน "พลังจิต"..อย่างเราตอนนี้ ไม่แคล้วโดนสมาชิกในเวบนี้ ด่ากระเจิง หาว่าท่านไม่มีศิลแน่นวล..อิอิ เขาจะด่าท่านว่า" พูดจาอย่างนี้นะรึเป็นอรหันต์" คำก็ถ่อย สองคำก็ถ่อย..เห็นไหมครับ
    :boo: ผมกำลังจะชี้ให้ท่านเห็นว่า คนหยาบ..คนประมาท คนที่เข้าใจไม่ถึง จะมองศิลภายใน..ไม่ออก เพราะเจตนาแต่เริ่มแรกของผู้พูด ผู้แสดง เขามองไม่เห็น-อีกทั้งไม่มี พระพุทธํองค์รับรองความเป็นอริยะให้ด้วยเหมือนสมัยก่อน..
    ..คนอ่านหยาบๆก็จะเห็นด้วยกับคำโพสต์ท่าน100ทั้ง100 แต่ถ้าถามเรื่องศิลที่ท่านโพสต์นั้นมันคือ ศิลใน(เจตนา)..ยาวไกลไปถึงไหนตั้งแต่เริ่มต้นเป็นยังไง..เถียงกันอีก4เทียนไข2แสนมหากัลป์..ในยุคนี้ก็ไม่รู้จบครับ อิอิ
    ที่ท่านยกมานั้น มันสำหรับผู้รู้ ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึง(ไม่ได้ยกตนเองนะครับ ผมรู้ตามตำรานะ)กรณีนี้ ผมชี้โทษท่านว่า ประมาท..ครับ เพราะในบอร์ดนี้ ผู้รู้-ผู้ไม่รู้-ผูัรู้ครึ่งๆ-ผู้ประมาท มีเยอะแยะครับ. ศิลพร่อง คือยังไงครับ
    :'(เรากล่าวธรรม เข้าใจธรรมตามที่เราสามารถแล้วจะถูกจะผิด ไม่เป็นไร การไตร่ตรองธรรม ใคร่ครวญธรรม ตัวใครตัวมันเถอะครับ สาธุ
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สับสน
    ไม่เปลี่ยน

    นี่อะไรสับสน

    ใครลากมา สับสนใหญ่แล้วนะเรา นี่หรือตอบเคลียร์

    หลอกให้เรา ซ้ำเขาหรือเปล่าสับสน


    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ โคตมบุตร อ่านข้อความ
    อรรถกถามหาวัฏฏสูตร

    มหาแปลว่าใหญ่ วัฏฏแปลว่าการเวียนว่าย สูตรแปลว่าคัมภีร์ มหาวัฏฏสูตรแปลว่าคัมภีร์ว่าด้วยการเวียนว่ายครั้งใหญ่

    มหาวัฏฏสูตรกล่าวถึงการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร การเวียนว่ายในวัฏฏสงสารมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
    1. อยู่ในสาวกภูมิแล้วบรรลุอรหัตผล
    2. แล้วขึ้นสู่พุทธภูมิเองโดยไม่ต้องอธิฐานจิตให้ขึ้นสู่พุทธภูมิ
    3. บำเพ็ญเป็นโพธิสัตว์โดยต้องบรรลุอรหัตผลในสาวกภูมิก่อนทุกภพทุกชาติ
    4. หลังจากบรรลุอรหัตผลในสาวกภูมิจึงจะถือว่าเป็นโพธิสัตว์ในภพชาตินั้น
    5. ถ้าบรรลุอรหัตผลในพุทธภูมิอีกครั้งจึงจะถือว่าเป็นปัจเจกพุทธะ
    6. แล้วบำเพ็ญแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รับพยากรณ์เป็นนิยตโพธิสัตว์
    7. แล้วบำเพ็ญไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    หลังการเกิดทุกภพทุกชาติทุกคนจะถือว่าเป็นปุถุชนจะกลับมามีกิเลสอีกครั้งทุกคน
    ส่วนใหญ่ทุกคนจะเคยผ่านสาวกภูมิมาแล้ว คนที่ไม่เคยผ่านมีจำนวนน้อยมากคนที่บรรลุอรหัตผลในสาวกภูมิ (จิตสำนึกสะอาดไม่มีกิเลสแต่จิตใต้สำนึกยังคงมีกิเลสอยู่) ยังคงเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร เพราะจิตใต้สำนึกยังคงมีกิเลสอยู่
    การปฏิบัติให้บรรลุอรหัตผลในสาวกภูมิในทุกภพทุกชาติให้ปฏิบัติสติปัฏฐาน
    โพธิสัตว์จะกลับมามีกิเลสอีกครั้ง แต่มีกิเลสเบาบางกว่าเดิมมากเพราะจิตจะออกมาจากนิพพานได้เองไม่ต้องทำอะไรเลยและอวิชชาที่อยู่ในจิตใต้สำนึกยังคงมีอยู่แต่เบาบางกว่าเดิมมากจิตจะวางเฉยมากจนคิดว่าไม่มีกิเลสแต่จริงๆแล้วยังคงมีกิเลส สังเกตได้จากยังคงขัดใจอยู่
    การปฏิบัติให้บรรลุอรหัตผลในพุทธภูมิ (จิตสำนึกสะอาดไม่มีกิเลสแต่จิตใต้สำนึกยังคงมีกิเลสอยู่) ต้องได้รับการพยากรณ์ทางจิตจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นๆ (ถึงแม้จะปรินิพพานไปแล้ว) ผู้ที่จะได้รับการพยากรณ์ทางจิตต้องมีกรรมเบาบาง กรรมจะเบาบางได้ต้องได้รับการคลี่คลายจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นๆ คนที่จะได้รับการคลี่คลายต้องมีความพร้อม จะมีความพร้อมได้ต้องถึงวาระ
    คนที่เป็นปัจเจกพุทธะยังคงเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร เพราะจิตใต้สำนึกยังคงมีกิเลสอยู่
    ถ้าไม่เป็นปัจเจกพุทธะในภพชาตินั้นๆ จะเป็นปุถุชนหรือเป็นโพธิสัตว์ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ปุถุชนจะบำเพ็ญบารมีได้น้อยกว่าโพธิสัตว์มาก ถึงแม้จะบำเพ็ญยิ่งยวดเท่ากัน เพราะปุถุชนมีกิเลสมากกว่าโพธิสัตว์มาก โพธิสัตว์จะบำเพ็ญบารมีได้น้อยกว่าปัจเจกพุทธะมาก ถึงแม้จะบำเพ็ญยิ่งยวดเท่ากัน เพราะโพธิสัตว์มีกิเลส ปัจเจกพุทธะไม่มีกิเลส (หมายถึงจิตสำนึก)
    คนที่ได้รับพยากรณ์เป็นนิยตโพธิสัตว์มีจำนวนน้อยมาก คนส่วนมากจะเวียนว่ายไปเรื่อยๆในวัฏฏสงสารถึงแม้จะเป็นโพธิสัตว์หรือปัจเจกพุทธะก็ตาม การได้รับพยากรณ์เป็นนิยตโพธิสัตว์ต้องได้รับพยากรณ์ทางกาย ผู้ที่จะเป็นนิยตโพธิสัตว์ต้องมีคุณสมบัติครบตามธรรมสโมธาน ๘
    ผู้ที่จะพ้นจากวัฏฏสงสารได้ต้องเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น หลังจากพ้นจากวัฏฏสงสารแล้วจะไปอยู่แดนสุขาวดี
    ขั้นตอนในการบำเพ็ญบารมีมี ๔ ขั้นตอนดังนี้
    1. สาวกภูมิ
    2. โพธิสัตว์ (พุทธภูมิ)
    3. ปัจเจกพุทธะ (พุทธภูมิ)
    4. พระพุทธเจ้า (พุทธภูมิ)

    ผู้อ่านที่สนใจพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เขียนกรุณาติดต่อที่ kotamabut@hotmail.com โคตมบุตร

    จะเอาแต่ชื่อแต่ไม่รู้ความหมาย ว่าคืออะไร เพราะไม่เคยศึกษา กินอย่างเดียวไม่ดูที่กินเข้าไปเขาเรียกมูมมาม

    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ธัมมนัตา อ่านข้อความ
    ค้นในพระไตรปิฎกและอรรถกถาทุกเล่มแล้วไม่ปรากฎ มหาวัฏฏสูตร
    แต่อย่างใด มีแต่เกวัฏฏสูตรและ ปริวัฏฏสูตร
    ซึ่งเนื้อหาข้อธรรมไม่เกี่ยวกับข้อความข้างต้น

    ควรอ้างที่มาให้ชัดเจน ตามกติกาการโพสทั่วไป


    การอ้างข้อธรรมโดยไม่มีที่มาจะกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูปไป

    แสดงที่มาของพระสูตรได้ก็จะดีกว่านี้

    หากเป็นความเห็น ก็ต้องบอกความเห็น
    อย่าอ้างพระสูตรให้คนไขว้เขว


    ขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิในธรรมที่ค้นหา พระสูตร และหา ความหมาย ที่เป็นมาไม่เจอครับ เพราะไม่เคยอ่านเคยรู้เห็นมาก่อน ว่า มหาวัฏร นั้นคืออะไร?

    พออ้างแล้วเป็นไง สับสน หลอกเราซ้ำเขาหรือ?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2015
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อย่าลืมว่าผมบอกเนื้อเรื่องไปก่อนแล้ว

    ฉนั้นคนที่หลงติดอยู่กับชื่อ คืออะไร?

    บอกไปแล้วไม่ใช่หรือเมื่อวาน

    ถ้ายกข้อนี้กราบทูลถามสมเด็จพระบรมมหาศาสดา จะหมายให้ท่านตรัสตอบว่ายังไง?

    วันนี้พึ่งสอนศิษย์ไปเกี่ยวกับการถาม เขาถามว่ามุณีคืออะไร ก็เลยถามกลับไปคืน ถามเพื่อจะหาประโยชน์อะไรจากคำนั้น คือมันต้องได้ประโยชน์จากการถาม คือความรู้ ไม่ใช่อยากรู้แค่เพียงความหมาย ถ้าจะเอาง่ายๆเปิดพจนานุกรมตอบชี้ชัด รู้ความหมายแล้วจะพอใจไหม? แล้วถ้า สำเนียงเสียงมันไปซ้ำเหมือนกับ คำศัพท์อื่น ในถ้วนทั่วไปในโลกล่ะ มันจะเข้าใจตรงกันไหมว่านั่น คือมุณี อุปมาดังนี้

    ก็เลยยกตัวอย่างถามคืนไปคือ ก๊องแก๊ง นี่คืออะไรมหมายความว่าอะไร ถ้าเราสมมุติว่า ช้าง คือ ก๊องแก๊ง เธอถามหาช้าง เธอรู้ว่ามันเป็น ช้าง จะได้อะไรจากช้าง

    แล้วถ้ามันมีความหมายเดียวกันกับ Elephant คือสมมุติในภาษาต่าง แต่เรียกไม่เหมือนกัน เราจะได้ประโยชน์อะไรจาก Elephant


    อย่าพอใจแค่คำถามที่ตั้งเพียงแค่อยากรู้ คำตอบ อย่าหาประโยชน์เพียงแค่นั้นกับเวลาที่มีคุณค่าในชีวิต เพราะประโยชน์ในการถามอื่น แล้วรู้เข้าใจสามารถปฎิบัติได้ให้ผลทันทีนั้นมีอยู่

    บัณฑิตจึงเป็นผู้คงแก่เรียน ควรถามหาคำตอบที่ได้ประโยชน์สูงสุด จากผู้ที่จะพอให้ความรู้ได้


    อย่าถามหาศีลข้อ ๑.อันมี ปาณาติปาตา เวรมณี ที่โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น เพราะมันไม่มี


    ถ้าเป็นปัญหาข้อติดขัดที่เราทราบจริงๆ เรารู้เราก็จะตอบทันที บอกภาวะอย่างชัดเจน นี่คือหาประโยชน์มาก

    อย่าสนใจในสิ่งที่มีประโยชน์น้อยทั้งๆที่รู้ดีอยู่แล้วสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นและมีประโยชน์โดยยิ่งกว่ายังมีอีกมาก

    บางสิ่งบางอย่างกินไปแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร รู้แต่มันกินได้ เรื่องชื่อค่อยว่ากันอีกที

    นี่คือสิ่งที่หลายคนไม่รู้ตัวไม่สงสัยสมมุตินี้

    เรื่องการเสวยเวทนานั้นอยู่ก็เหมือนกันสำหรับเรื่องมรรคผล หลายคนที่มีฌาณ ญาณ แบบนั้นติดตัวมา แต่ก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร มีอยู่มาก

    หว่านแห ลงอวนตาถี่ ในหนองน้ำดี ย่อมได้สัตว์มากฉันใด ย่อมพร่าชีวิตสัตว์มากฉันนั้น

    https://youtu.be/Rb4tlb8FwrI?list=PL...PIS4hSXG6mL_vO
    พออุปมาได้ดังนี้ เป็นต้น


    เราหลงคิดว่าเขามีภูมิปัญญา เพราะเขายกแสดงเรื่อง ศีล สามารถทำความกระจ่างแก่เราได้ แต่ไม่มี และก็ไม่รู้จักอานิสงค์ของศีล เราถามชอบแล้วในวาทีสูตรนี้

    แต่เราไม่ได้คำตอบแม้แต่เพียงครั้งเดียว ไม่รู้ไปติดกับอะไร?

    อย่าบอกนะว่ามองไม่ออก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +4,062
    ผมจำหน้าไม่ได้ ท่านsaber เขาตอบว่า พระพุทธองค์ ทรงลองทรมานกายมาถึง6ปี ท่านเห็นว่าไม่สำเร็จท่านจึงเลิกเพราะเป็น อัตตกิมถานุโยค..มาเดินทางสายกลางแทน ไม่ใช่กินขี้โค แย้งความเห็นจ่ายักษ์บทนี้คล้ายกับว่า ท่านจึงเลิกกินขี้โค หันมาทางสายกลางทำนองนี้ ..
    "ท่านยกมาว่า พระโพธิสัตย์หรือ พจ.ท่านกินขี้ลูกโคอ่อนในคอกนะ ผมหาไม่เจอ"..
    แล้วท่านก็พาลไม่ตอบเขา..นะตรงนี้ไม่เคลียร์ครับ ผมอ่านแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...