เรื่องเด่น พายุหมุนดาวพฤหัสบดีหยั่งรากลึกลงใต้ชั้นบรรยากาศถึง 3000 กม.

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 10 มีนาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    _100357000_3875e0b1-eb15-4e69-8f5a-1ddd0dc70c35.jpg
    Image copyright NASA/JPL-CALTECH/SWRI/ASI/INAF/JIRA
    คำบรรยายภาพ ที่ขั้วเหนือของดาวพฤหัสบดีมีพายุไซโคลน 8 ลูก หมุนอยู่โดยรอบพายุที่เป็นจุดศูนย์กลางขนาดยักษ์ลูกหนึ่ง

    ผลสำรวจดาวพฤหัสบดีล่าสุดที่ได้จากยานจูโนขององค์การนาซาระบุว่า แถบลวดลายต่าง ๆ ที่เห็นบนชั้นบรรยากาศของดาวซึ่งเป็นพายุหมุนขนาดยักษ์นั้น ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวอยู่แค่ที่ผิวบรรยากาศชั้นบน แต่ยังพัดรุนแรงดิ่งลึกลงไปข้างใต้ถึงราว 3,000 กิโลเมตรเลยทีเดียว

    มีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวในวารสารเนเจอร์ โดยศาสตราจารย์ทริสตอง กีโยต์ จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์โกตดาซูร์ (Côte d’Azur Observatory) ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยของยานจูโนระบุว่า การค้นพบและยืนยันข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบถึงความลับในเรื่องโครงสร้างชั้นใน และแรงโน้มถ่วงที่แปรปรวนไม่คงที่ของดาวพฤหัสบดีมากยิ่งขึ้น

    “พายุหมุนที่พัดดิ่งลึกลงไปข้างใต้หลายพันกิโลเมตร เมื่อเทียบกับขนาดของดาวที่กว้าง 140,000 กม.แล้ว เรียกได้ว่าเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่ยักษ์มากทีเดียว มวลสารที่ประกอบกันขึ้นเป็นพายุเหล่านี้คิดเป็น 1% ในมวลสารทั้งหมดของดาว หรือเทียบเท่ากับโลก 3 ใบรวมกัน” ศาสตราจารย์กีโยต์กล่าว

    _100357001_0ff32b2a-5101-4ecc-8a65-03ded318368b.jpg
    Image copyright NASA
    คำบรรยายภาพ (ภาพจากฝีมือศิลปิน) ยานสำรวจจูโนเดินทางถึงดาวพฤหัสบดีเมื่อเดือน ก.ค. ปี 2016

    ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ไม่ทราบชัดถึงสภาพด้านในของดาวพฤหัสบดีว่าเป็นหินแข็ง หรือเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมภายใต้ความดันสูงที่มีพฤติกรรมคล้ายโลหะกันแน่ แต่คาดว่าโครงสร้างชั้นในของดาวที่อยู่ลึกลงไปถัดจากส่วนรากฐานของพายุหมุนยักษ์เหล่านี้ น่าจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางคงที่สวนกับการพัดของพายุด้านบน ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ไดนาโมที่สร้างสนามแม่เหล็กอันแข็งแกร่งขึ้น

    ยานสำรวจจูโนซึ่งโคจรรอบดาวพฤหัสบดีอยู่ยังพบว่า ที่ขั้วเหนือของดาวมีพายุไซโคลน 8 ลูกหมุนอยู่โดยรอบพายุที่เป็นจุดศูนย์กลางขนาดยักษ์ลูกหนึ่ง และที่ขั้วใต้ก็มีพายุลักษณะเดียวกันที่มีพายุไซโคลน 5 ลูกหมุนอยู่โดยรอบ นักดาราศาสตร์ชี้ว่าพายุเหล่านี้มีอยู่มานานหลายร้อยปีแล้ว และน่าอัศจรรย์ว่าพวกมันไม่รวมตัวเข้าด้วยกันหรือปล่อยให้พายุลูกข้างเคียงแทรกตัวเข้ามาได้แบบพายุทั่วไป


    _100357002_39fb921e-e8f7-45ad-a348-b356e9431202.jpg
    Image copyright NASA/JPL-CALTECH/SWRI/MSSS/KEVIN M.
    คำบรรยายภาพ หลังถกเถียงกันมานานกว่า 40 ปี นักดาราศาสตร์ก็ได้ทราบว่าแถบพายุหมุนเหล่านี้หยั่งรากลึกลงไปข้างใต้ถึง 3,000 กม.

    ศาสตราจารย์อัลแบร์โต อาเดรียนี จากสถาบันอวกาศ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และวิทยาดาวเคราะห์แห่งอิตาลี บอกว่าพายุไซโคลนแต่ละลูกที่หมุนอยู่รอบขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวพฤหัสบดีนั้น มีขนาดกว้างใหญ่กว่าระยะทางจากเมืองเนเปิลส์ของอิตาลีไปถึงนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เสียอีก และมีกำลังลมที่พัดแรงสูงสุดถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    “การที่พายุหมุนแต่ละลูกพัดอยู่ชิดกัน แต่ไม่มีอิทธิพลต่อกันและกัน เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยพบเห็นมาก่อนในระบบสุริยะของเรา” ศาสตราจารย์อาเดรียนีกล่าว

    ขอบคุณที่มา
    http://www.bbc.com/thai/international-43355263
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 มีนาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...