พิธีศพยุคดึกดำบรรพ์ สุวรรณภูมิ 3,000 ปี

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    พิธีศพยุคดึกดำบรรพ์ สุวรรณภูมิ 3,000 ปี

    คอลัมน์ ภูมิสังคมวัฒนธรรม

    โดย SUVARNABHUMI MUSEUM www.svbhumi.com e-mail : sv@svbhumi.com



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ขบวนแห่ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงของชุมชน เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว มีคนทั้งหญิง ชาย และเด็กๆ ทำท่าเต้นฟ้อน มีเครื่องตีประโคมคล้ายกลองมโหระทึก รูปนี้เป็นภาพเขียนสีที่ถ้ำตาด้วง อำเภอเมือง จังหวดกาญจนบุรี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>พิธีศพ ก็คือพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย ซึ่งมีความสำคัญที่สุดของมนุษย์อย่างน้อยตั้งแต่ 3,000 ปีมาแล้ว สืบถึงปัจจุบันต่อเนื่องไปในอนาคต

    มนุษย์อุษาคเนย์เชื่อว่าคนเรามาจากบาดาลน้ำที่อยู่ใต้พื้นดิน เมื่อคนตาย (ที่ยุคนั้นเข้าใจความตายต่างจากยุคนี้) ก็คือการกลับไปสู่ถิ่นเดิมในบาดาลที่มีนาคพิทักษ์อยู่

    คนมีฐานะทางสังคม เช่น หัวหน้าเผ่าพันธุ์ หรือหมอผี เมื่อตายไป คนทั้งชุมชนร่วมกันทำพิธีศพใหญ่โต แต่ถ้าคนทั่วไปตายลงก็ทิ้งให้แร้งกากิน

    พิธีศพของคนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญหรือธรรมดา เครือญาติจะเก็บศพไว้หลายวันหลายคืนเพื่อส่งวิญญาณ โดยกินเลี้ยงกับกินเหล้าแล้วขับลำบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของเผ่าพันธุ์ พิธีศพของไทยที่เก็บศพไว้สวดอภิธรรมนานวัน ก็มาจากประเพณีดึกดำบรรพ์ 3,000 ปีมาแล้วอย่างนี้เอง

    เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันก็แห่ศพที่อาจหุ้มหรือห่อด้วยเครื่องจักสานหรือใบไม้ไปฝังบริเวณที่กำหนดรู้กันว่าเป็นสถานที่เฉพาะ ซึ่งมักเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลางหมู่บ้าน มีเสาไม้ปักไว้เป็นเครื่องหมายล้อมรอบ ต่อมาใช้แผ่นหินเป็นแท่งเล็กบ้างใหญ่บ้างตามฐานะของชุมชน แท่งหินนี้คนปัจจุบันเรียกหินตั้ง ซึ่งต่อไปเมื่อรับพุทธศาสนาแล้วเรียกว่าเสมาหิน หรือใบเสมาในปัจจุบัน

    ขบวนแห่ศพมีเครื่องประโคม เช่น ฆ้อง กลอง หรือมโหระทึก และอื่นๆ (มีรูปวาด 3,000 ปี ที่ถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี) มีการละเล่นเต้นฟ้อนแห่แหนรื่นเริงสนุกสนาน

    เมื่อเอาศพลงหลุมต้องเอาเครื่องมือเครื่องใช้ใส่ลงไปด้วย เชื่อว่าจะได้ติดตัวไปใช้ในบาดาล ฉะนั้นในหลุมศพจึงมีสิ่งของมากมายล้วนแสดงฐานะของผู้ตายว่าเป็นคนสำคัญ เช่น ภาชนะดินเผาลายเขียนสีในวัฒนธรรมบ้านเชียงไม่ได้ทำไว้ปรุงอาหารในชีวิตประจำวัน แต่ทำไว้ฝังไปกับศพเท่านั้น <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ถิ่นเดิมของคนคือบาดาลอยู่ใต้ดิน เมื่อตายไปแล้วก็กลับถิ่นเดิม มีเรือเป็นพาหนะรับส่ง พิธีศพของคนเมื่อหลายพันปีมาแล้วจึงต้องมีโลงไม้คล้ายเรือใส่ศพทำพิธีกรรม ดังนักโบราณคดีสำรวจและขุดพบโลงไม้ บริเวณลุ่มน้ำแควน้อยแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี และที่ถ้ำผีแมน อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คนบางเผ่าพันธุ์ที่อยู่ใกล้ลำน้ำหรือใกล้ทะเล เคลื่อนศพไปทางน้ำด้วยเรือส่งศพ มีภาพลายเส้นที่ผิวมโหระทึก แต่บางเผ่าพันธุ์ทำโลงศพด้วยไม้ที่ขุดเป็นรางหรือโลงไม้ รูปร่างคล้ายเรือหรือรางเลี้ยงหมูปัจจุบัน เอาศพกับสิ่งของเครื่องใช้วางในรางแล้วช่วยกันหามไปไว้ในถ้ำหรือเพิงผาแหล่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พบที่แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ฯลฯ (รางระนาดปัจจุบันก็ได้มาจากโลงไม้ยุคนี้)

    แต่ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือพิธีศพครั้งที่ 2 เริ่มจากครั้งแรกเอาคนตายไปฝังดินไว้ให้เนื้อหนังเน่าเปื่อยยุ่ยสลายไปกับดินจนเหลือแต่กระดูก แล้วทำครั้งที่ 2 ด้วยการเก็บกระดูกใส่ภาชนะ เช่น ไหหินที่ทุ่งไหหินในลาว หม้อดินเผาใส่กระดูกพบทั่วไปแต่ขนาดใหญ่ พบแถบทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแบบ "แค็ปซูล" ประเพณีอย่างนี้พบทั่วไปทั้งผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ แล้วสืบถึงยุคทวารวดี พบภาชนะใส่กระดูกทำด้วยหินก็มี ทำด้วยดินเผาแกร่งก็มี ปัจจุบันก็คือโกศ แม้แต่การเก็บกระดูกคนตายไว้ตามกำแพงวัดก็สืบเนื่องจากประเพณีดึกดำบรรพ์ 3,000 ปีมาแล้วอย่างนี้เอง

    คนเมื่อ 3,000 ปีมาแล้วบางกลุ่มมีประเพณีฝังศพงอเข่าไว้กับอก บางทีเอาศพงอเข่าใส่ไหไปฝัง ฯลฯ อย่างนี้เรียกกันภายหลังว่าประเพณีศพนั่ง สืบเนื่องมาถึงสมัยหลังคือศพเจ้านายในพระบรมโกศ

    แหล่งฝังศพยุคดึกดำบรรพ์ไม่ได้เป็นที่น่ารังเกียจสะพรึงกลัวอย่างทุกวันนี้เรียกป่าช้า ป่าเลว (เห้ว, เปลว) หรือสุสาน ฯลฯ แต่คนเมื่อ 3,000 ปีมาแล้วยกย่องพื้นที่ฝังศพเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ เมื่อรับพุทธศาสนาในภายหลังต่อมาแล้วเลยยกบริเวณนั้นสร้างสถูปเจดีย์เป็นพุทธสถานก็มี เช่น ปราสาทหินพิมาย ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และวัดชมชื่น ที่เมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ฯลฯ อาจเป็นไปได้ว่าบริเวณสร้างสถูปใหญ่พระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐม ก็เคยเป็นบริเวณฝังศพศักดิ์สิทธิ์มาก่อน <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    (1) ภาพลายเส้นฝีมือชาวยุโรป จำลองพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ (2) ธาตุไม้บรรจุอัฐิในอีสานสืบทอดพิธีศพครั้งที่ 2 เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว (3) ไหดินเผาใส่กระดูกแล้ว ฝังดินตั้งขึ้น พบที่บ้านเมืองบัว ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด (4) ไหหินใส่กระดูก เป็น "ประเพณีฝังศพครั้งที่ 2" ที่สืบเนื่องมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบบริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ นครปฐม)


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    งานศพของชาวสุวรรณภูมิ

    เเต่งชุดสีสันตามปกติ

    ชาวสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์โบราณมีงานศพ เรียกอย่างปากชาวบ้านว่า ทำศพ เเต่งตัวตามปกติในชีวิตประจำวัน คือไม่ได้กำหนดชุดดำอย่างฝรั่งหรือชุดขาวอย่างแขก เเต่เเต่งตัวเหมือนไปทำบุญที่วัดอย่างที่ทำอยู่ประจำ คือเลือกเสื้อผ้าอาภรณ์เเละเครื่องประดับมีค่าเเละสวยงามที่สุดเท่าที่มีอยู่เเต่งไปทำบุญในงานทำศพ

    งานศพฝรั่งเเต่งชุดดำ งานศพจีนเเต่งชุดขาว ทางเเขกฮินดูในอินเดียก็เเต่งชุดขาว อันเป็นชุดปกติในชีวิตประจำวันของพราหมณ์ที่เราคุ้น จึงไม่นับเป็นชุดงานศพโดยเฉพาะ

    คนไทยเพิ่งรับประเพณีเเต่งชุดดำไปงานศพในสมัยรัชกาลที่ ๕ หรือเมื่อ 100 ปีมานี้เอง เริ่มในราชสำนักกรุงเทพฯก่อน เเล้วหลังจากนั้นอีกนานถึงเเพร่หลายลงไปสู่ชาวบ้านทั่วประเทศ

    เมื่อรัชกาลที่ ๕ สวรรคต พ.ศ. 2453 ราษฎรเเต่งชุดขาวอย่างพราหมณ์ฮินดูเเล้วอีกจำนวนหนึ่งโกนหัวถือบวช ทั้งหญิงทั้งชายเหมือนๆกัน เเต่ในราชสำนักแต่งชุดดำ

    เเต่งชุดดำไปงานศพแพร่หลายออกจากราชสำนักสู่ข้าราชการในกรุงเทพฯก่อน แล้วถึงลงไปราษฎรชาวบ้านกรุงเทพอย่างช้าๆ ใช้เวลานานหลายปีถึงเแพร่หลายทั่วไปถึงชนบทชาวไร่ชาวนา ผู้เผยเเพร่ประเพณีชุดดำงานศพไปสู่ชนบทคือข้าราชการ เพิ่งหยั่งรากมั่นคงเมื่อไม่นานนี้เองราว 30 ปีมาแล้วเท่านั้น สื่อ โทรทัศน์เเละถนนหนทางก็เป็นพลังอีกอย่างหนึ่งที่กระตุ้นให้ชาวบ้านเเต่งชุดดำไปงานศพ

    เเต่มีข้อเเม้ว่าถ้าเป็นศพพระสงฆ์เเล้ว ชาวบ้านในตระกูลมอญเเละเขมรจะไม่แต่งชุดดำหรือชุดขาว หากแต่งตัวด้วยสีสันตามปกติเหมือนไปทำบุญวันพระ ผมเคยไปทำบุญงานศพพระสงฆ์ชาวเขมรที่จังหวัดสุรินทร์เมื่อ 20 กว่าปีที่เเล้วก็เห็นชาวบ้านเเต่งชุดทำบุญเต็มวัด ฉะนั้นที่ชาวมอญแต่งสีสันไปงานศพพระสงฆ์มอญอย่างหลวงพ่ออุตตมะก็ด้วยเหตุดังอธิบายมานี้

    งานทำศพของตระกูลไทย-ลาว เเต่งตัวตามปกติเหมือนไปทำบุญวันนัก ขัตฤกษ์ ใช้ผ้ามีสีสันเเละเครื่องประดับด้วยเพชรนิลจินดาทองหยองระยิบระยับ แม้ในราชสำนักสมัยโบราณก็เป็นอย่างนี้ มีพยานอยู่ในวรรณคดีหลายเล่ม หรือทุกเล่มที่กล่าวถึงงานทำศพ

    ชาวต่างชาติสมัยก่อนมีบันทึกว่าชาวสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ มีประเพณีทำศพหลายวันยาวนานที่สุดในโลก เพราะเก็บศพไว้ที่บ้านหรือที่วัดนานหลายวัน ถ้าเป็นศพพระสงฆ์หรือชนชั้นสูงอาจเก็บไว้ทำพิธีต่อเนื่องกันนานเป็นเดือนเป็นปี

    ที่ชาวต่างชาติสมัยก่อนประหลาดใจมาก คือพิธีศพของชาวสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะในสยามประเทศ ไม่มีแสดงอาการโศกเศร้าอย่างฝรั่ง เพราะมีเเต่ความสนุกสนาน มีมหรสพเล่นในพิธีศพอย่างหลากหลาย เช่น โขน หนังใหญ่ เพลงโต้ตอบชายหญิง เสภา ฯลฯ มีพรรณนาในวรรณคดีเรื่องอิเหนา และงานศพนางวันทองในขุนช้างขุนแผน



    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra05271049&day=2006/10/27
     

แชร์หน้านี้

Loading...