พิพิธ คำฉันท์

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 12 มิถุนายน 2013.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    พิพิธ คำฉันท์


    [​IMG]



    ฉันท์กาพย์ละเห่กล่อม
    ดนูพร้อมอษรตาม
    แผนผังลิขิตงาม
    พยยามนิพจน์ชม
    ตั้งไว้หทัยหวัง
    ชนหลัง น นิยม
    แบบแผนตริผสม
    มนบ่มผนึกคำ
    ตามอย่างบุราณกาล
    กลจารเผจิมจำ
    กลอนกลบทนำ
    คณล้ำสถิตไว้
    บรรดาบุราณจารย์
    อขยานประพันธ์ให้
    จารึก ประทับใน
    ผลอยู่ ณ แผ่นดิน




    อินทรวิเชียรฉันท์
    สร้อยฟ้ามาลา



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    กระทู้นี้ ตั้งไว้เพื่อศึกษาแบบฉันทลักษณ์
    การประพันธ์ตามรูปแบบ ผังสัมผัสของ
    โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
    ซึ่งไม่ใช่กลอนสมัยปัจจุบัน

    เพื่อให้เพื่อนๆ ที่สงสัย
    ได้เข้ามาอ่านเพิ่มเติม
    เผื่อเป็นประโยชน์ในการแต่งกลอน




    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    กลอนแปด

    เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ

    ลักษณะคำประพันธ์

    ๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
    วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
    วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
    แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด

    ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้

    คำท้ายวรรคสดับ ให้ใช้ได้ทุกเสียง
    คำท้ายวรรครับ ห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
    คำท้ายวรรครอง ให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
    คำท้ายวรรคส่ง ให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

    ๓. สัมผัส
    ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
    คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
    คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)

    สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
    คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

    ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
    หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
    ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
    อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
    วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี

    กลอนทุกประเภทบังคับเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ สัมผัสนอกระหว่างวรรค เฉพาะวรรค
    ที่สอง (วรรครับ) และวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้น จะรับสัมผัสที่คำที่สามหรือคำที่ห้าย่อมได้เสมอ
    ส่วนสัมผัสในนั้นจะใช้สัมผัสสระหรืออักษรก็ได้ และสัมผัสสระจะใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับ
    สระเสียงยาวก็ได้ เช่น
    “อ่านเขียนคล่องท่องจำตามแบบครู”


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.5 KB
      เปิดดู:
      18,009
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ตัวอย่างบทประพันธ์
    กลอนแปด

    กลอนสุภาพพึงจำมีกำหนด
    กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร
    วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร
    อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ
    ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส
    สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน
    เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ
    เป็นกลอนกานท์ครบครันฉันท์นี้เอย


    ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
    ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ประพันธ์
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เพชรน้ำหนึ่ง

    กลอนเก้าคำจำไว้ด้อยไพ”เราะ”
    เขียนให้เหมาะแปดคำเพชรน้ำหนึ่ง
    แต่ละวรรคหนักแน่นดุจแกน”กลึง”
    กลอนจะ”ซึ้ง”ติดใจและให้คุณ

    คำสุดท้ายวรรคแรกแยกพิ”เศษ”
    สามัญ”เขต”หวงห้ามตามเกื้อหนุน
    ท้ายวรรคสองต้องรู้อยู่เป็น”ทุน”
    เอก-โท”จุน”จัตวาประ”พนธ์”

    ท้ายวรรคสามวรรคสี่นี้จำ”มั่น”
    เสียงสามัญ-ตรีใช้ได้ทุก”หน”
    สัมผัสซ้ำจำจดงดปะ”ปน”
    จงคิด”ค้น”ถ้อยคำที่จำ”เป็น”

    ไม้ไต่คู้ใช้กับไม้ไต่”คู้”
    เมื่อฟังดูเด่นดีทั่งที่”เห็น”
    เสียงสั้นยาวก้าวก่ายหลายประ”เด็น”
    อย่าบำ”เพ็ญ”พ้องกันนิรัน”ดร

    อย่าเขียนให้ใจความตามเพ้อ”นึก”
    จงตรองตรึกตระหนักเรื่อง”อักษร
    คติธรรมนำใส่ให้สัง”วร”
    รวมสุน”ทร”ถ้อยไว้ให้งด”งาม”

    จุดจบก็ขอให้กินใจหน่อย
    มิควร”ปล่อย”เปะปะเหมือนสะ”หนาม”
    จบให้เด่นเห็นชัดจำกัด”ความ”
    ให้ตรง”ตาม”เค้าโครงเรื่องโยง”ใย”

    เขียนเสร็จสรรพกลับมาตรวจตราผิด”
    ตรวจชนิดเรียงตัวทั่วกันใหม่
    เมื่อเห็นเพราะเหมาะดีจี้หัว”ใจ”
    จึงเผย”ให้”ประชาชนตรา”ตรึง”

    กลอนเก้าคำจำไว้ด้อยไพเราะ
    เขียนให้เหมาะแปดคำเพชรน้ำ”หนึ่ง
    แต่ละวรรคหนักแน่นดุจแกน”กลึง”
    ผู้อ่าน”จึง”จะชอบชมขอบคุณ


    ส.เชื้อหอม…
    นักกลอนรางวัลพระราชทาน​
     
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ฉันทลักษณ์ อัปลักษณ์ หรือ?

    โคลงฉันท์กาพย์กลอนร่ายหลายหลากรส
    ล้วนมีกฏเกณฑ์กลมนต์อาถรรพ์
    ส่วนร้อยแก้วแน่วแน่แต่ปางบรรพ์
    กฏเกณฑ์พรรณาว่าไม่มี

    เขียนได้ตามความเห็นเป็นอิสระ
    ขาดฉันทลักษณ์เช่นเร้นศักดิ์ศรี
    ไม่ต้องคล้องสัมผัสจัดวลี
    ไม่พิถีพิถันกันจริงจัง

    ส่วนร้อยกรองต้องเคร่งเพลงสัมผัส
    ข้อความจัดจะแจ้งแฝงมนต์ขลัง
    เสียงสั้นยาวก้าวก่ายให้ระวัง
    จักถูกชังกระฉ่อนกลอนลิเก

    สมัยเก่าเบาราณท่านมิเคร่ง
    ปล่อยตามเพลงพาไปเหมือนไฉเฉ
    เสียงสั้นยาวก้าวก่ายหมายคะเน
    จักหันเหอย่างไรไม่พะวง

    สมัยนี้มีแปลกแหวกแนวหนัก
    ฉันทลักษณ์เลื่อลอยปล่อยลืมหลง
    บ้างเอาอย่างต่างชาติคาดคั้นลง
    แล้วทะนงว่าแบบใหม่แสบทรวง

    โบราณว่า”รู้มากยากนาน”แน่
    เฉกคนแก่เรียนรู้เหมือนอยู่สรวง
    แต่ใจต่ำทำว่าข้าเด่นดวง
    เหมือนกับพวงมะเดื่อเน่าเนื้อใน

    ส.เชื้อหอม
    นักกลอนรางวัลพระราชทาน​
     
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ภาษาวิบัติ

    ฟังเขาอ่านกลอนกันทุกวันนี้
    แล้วอยากหนีไปนอนตายก่อนเพื่อน
    อักขระวิบัติสัมผัสเลือน
    ดูเสมือนไร้ความรู้ตามกัน

    ฉันอ่าน”ชั้น” สรรหาเอามาอ่าน
    คำว่าท่านก็เหวี่ยงเป็นเสียง”ทั่น”
    ไหมอ่าน”มั๊ย” ไม่คิดจิตผูกพัน
    อารมณ์ผันฟุ้งเพลินจนเกินความ

    ไม้อ่าน”ม้าย” กลายกลับเปลี่ยนศัพท์แสง
    ได้ก็แผลงเป็น”ด้าย” คล้ายหยาบหยาม
    ใต้อ่าน”ต้าย” กลายหมดไม่งดงาม
    น้ำอ่าน”น้าม” น่าคิดเสียงผิดไป

    เจ้าอ่าน”จ้าว” ร้าวฉานสถานหนัก
    เขาก็ยักอ่าน”เค้า” เศร้าไฉน
    เช้าอ่าน”ช้าว” ร้าวรวดปวดหัวใจ
    เท้าก็ไพล่เป็น”ท้าว” ก้าวตามมา

    เก้าอ่าน”ก้าว” ยาวออกไปนอกเสียง
    เปล่าก็เบื่ยงเป็น”ปล่าว” ใช่กล่าวหา
    เล้าอ่าน”ล้าว” ยาวข้ามไปสามวา
    เหลาท่านว่า”หลาว” เลยเชยกันจริง

    เต้าอ่าน”ต้าว” ราวกับศัพท์วิตถาร
    ร้องให้อ่าน”ร้องห้าย” ทั้งชายหญิง
    หรืออ่าน”รึ” ครึคระไม่ประวิง
    ปล่อยใจดิ่งดักดานจึงทานทัด

    ทั้งร้อยกรองร้อยแก้วต้องแน่วแน่
    อย่าเอาแต่ตามใจให้วิบัติ
    ขอวอนวานอ่านกันให้มันชัด
    เพื่อช่วยพัฒนาภาษาไทย

    ส.เชื้อหอม
    นักกลอนรางวัลพระราชทาน​
     
  8. ล้อเล่น

    ล้อเล่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4,924
    ค่าพลัง:
    +18,649
    ;ปรบมือ;ปรบมือ;ปรบมือ;ปรบมือ;ปรบมือ;ปรบมือ
     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    กลอนสุภาพ แบ่งออกเป็น
    กลอน ๔
    กลอน ๖
    กลอน ๗
    กลอน ๘
    กลอน ๙

    กลอนสุภาพ ถือว่าเป็นกลอนหลัก เพราะเป็นหลัก ของบรรดากลอนทุกชนิด ถ้าเข้าใจกลอนสุภาพ เป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้โดยง่าย กลอนอื่นๆ ที่มีชื่อเรียกไปต่างๆ นั้น ล้วนแต่ยักเยื้อง แบบวิธี ไปจากกลอนสุภาพ ซึ่งเป็นกลอนหลัก ทั้งสิ้น

    กลอนลำนำ คือกลอนที่ใช้ขับร้อง หรือสวด ให้มีทำนองต่างๆ แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ

    ๑. กลอนบทละคร
    ๒. กลอนสักวา
    ๓. กลอนเสภา
    ๔. กลอนดอกสร้อย
    ๕. กลอนขับร้อง

    กลอนตลาด คือกลอนผสม หรือกลอนคละ ไม่กำหนดคำตายตัว เหมือนกลอนสุภาพ ในกลอนบทหนึ่ง อาจมีวรรคละ ๗ คำบ้าง ๘ คำบ้าง ๙ คำบ้าง คือเอากลอนสุภาพ หลายชนิด มาผสมกัน นั่นเอง เป็นกลอนที่นิยมใช้ ในการขับร้องแก้กัน ทั่วๆไป จึงเรียกว่า กลอนตลาด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ

    ๑. กลอนเพลงยาว
    ๒. กลอนนิราศ
    ๓. กลอนนิยาย
    ๔. กลอนเพลงปฏิพากย์

    กลอนเพลงปฏิพากย์ ยังแบ่งออกไปอีกหลายชนิด คือ

    เพลงฉ่อย
    เพลงโคราช หรือเพลงตะวันออก
    เพลงเรือ
    เพลงชาวไร่
    เพลงชาวนา
    เพลงแห่นาค
    เพลงพิษฐาน (อธิษฐาน)
    เพลงเกี่ยวข้าว
    เพลงปรบไก่
    เพลงพวงมาลัย
    เพลงรำอีแซว หรือเพลงอีแซว
    เพลงลิเก
    เพลงลำตัด
    ฯลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    กลอน ๔ แบบที่ ๑

    กลอน ๔ แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ

    สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป

    ตัวอย่าง
    กลอน ๔ แบบที่ ๑

    เหวยเหวยอีจันทรา.....ขึ้นหน้าเถียงผัว
    อุบาทว์ชาติชั่ว..........ไสหัวมึงไป
    นางจันทาเถียงเล่า......พระองค์เจ้าหลงไหล
    ไล่ตีเมียไย...............พระไม่ปรานี
    เมียผิดสิ่งใด.............พระไล่โบยตี
    หรือเป็นกาลี..............เหมือนที่ขับไป

    บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง
     
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    กลอน ๔ แบบที่ ๒

    กลอน ๔ แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ

    สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป

    ตัวอย่าง
    กลอน ๔ แบบที่ ๒

    จักกรีดจักกราย..........จักย้ายจักย่อง
    ไม่เมินไม่มอง...........ไม่หมองไม่หมาง
    งามเนื้องามนิ่ม..........งามยิ้มงามย่าง
    ดูคิ้วดูคาง................ดูปรางดูปรุง
    ดั่งดาวดั่งเดือน..........ดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย
    พิศเช่นพิศช้อย.........ศสร้อยพิศสุง
    ช่างปลอดช่างเปรื่อง....ช่างเรืองช่างรุ่ง
    ทรงแดดทรงดุ่ง..........ทรงวุ้งทรงแวง

    กลบทจาตุรงคนายก, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปีชา (เซ่ง)

    สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่กวีมักจัดให้มีสัมผัสระระหว่างคำที่สองและคำที่สามของทุกวรรค
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    แบบของกลอน ๔ ที่สร้อยฟ้ามาลาเคยแต่งไว้

    [​IMG]

    ไม้สูงยืนต้น
    คงบ่นในใจ
    สูงกว่าไม้ใด
    ในระแวกนี้
    ยืนเด่นโดดเดียว
    เดียวดายเหลือที่
    ยากนะจะมี
    เพื่อนที่เข้าใจ
    ไม้สูงยืนเด่น
    มองเห็นแต่ไกล
    มีเพื่อนบ้างไหม
    ยืนใกล้ใกล้กัน



    สร้อยฟ้ามาลา




    ..........​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    สายน้ำเวิ้งว้าง
    แลกว้างลิบตา
    ไหลหลากจากป่า
    รวมมาเป็นสาย
    อาทิตย์ลับลา
    แสงฟ้าพร่าพราย
    รับแสงสุดท้าย
    ก่อนใกล้หมดวัน
    พรายน้ำสะท้อน
    อ้อนวอนตะวัน
    อย่าลืมเลือนกัน
    ก่อนตะวันลา


    สร้อยฟ้ามาลา

    ............​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    สายหมอกบางเบา
    ยวนเย้าสายลม
    พริ้วผ่านปรกห่ม
    ทั่วถมทุ่งนา
    มองเห็นว่ามี
    ลองที่มือคว้า
    จับต้องทุกครา
    หาไม่ได้เลย
    สายหมอกเบาบาง
    ตัวเจ้านี้เอย
    ตัวตนมีเอ่ย
    ชื่นเชยแต่ตา
    สัมผัสจับต้อง
    ภาพหมองตรงหน้า
    เอื่อมมือไปมา
    คว้าได้อากาศ​



    สร้อยฟ้ามาลา

    .................​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    ใบไม้เหลืองทอง
    ดูช่างหมองหมาง
    ร่วงหล่นริมทาง
    หมดยางจากไม้
    เมื่อต้นสลัด
    ผลัดกิ่งก้านใบ
    จึงถูกผลักไส
    ให้ใบร่วงหล่น
    ลำต้นโตต่อ
    ก้านกิ่งใบบน
    เจริญออกผล
    ให้ต้นงดงาม
    สงสารใบไม้
    เจ้าถูกมองข้าม
    ล่วงพื้นหมดความ
    หมายต่อต้นยืน​


    สร้อยฟ้ามาลา

    ............​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    กลอน ๖

    ลักษณะคำประพันธ์

    ๑.บทหนึ่งมี ๔ วรรค
    วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ
    วรรคที่สองเรียกวรรครับ
    วรรคที่สามเรียกวรรครอง
    วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
    แต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก

    ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้

    คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
    คำท้ายวรรครับ กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
    คำท้ายวรรครอง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
    คำท้ายวรรคส่ง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

    ๓. สัมผัส
    ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
    คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง(วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
    คำสุดท้ายของวรรคที่สอง(วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
    และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่(วรรคส่ง)

    สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ
    คำสุดท้ายของวรรคที่สี่(วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส
    ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

    ข้อสังเกต
    กลอนหกไม่เคร่งสัมผัสในวรรคมากนัก อาจย้ายที่สัมผัสจากคำที่สองไปคำที่สี่ได้ หรือ
    จะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่น
    ทุกวรรค – ทุกบท – ทุกตอน

    ตัวอย่าง
    กลอน๖


    สองหนึ่ง เป็นสอง ตรองไว้
    กลอนหก ยกให้ คู่สอง
    หาคำ งดงาม ทำนอง
    สอดคล้อง ขานรับ จับวาง

    หัดแต่ง เติมแต้ม แนมรัก
    อกหัก รักจาก ถากถาง
    โศกเศร้า เว้าวอน สอนพลาง
    หลายอย่าง ปนเป เล่ห์กลอน

    ระวัง กลอนพา วารี
    น้ำมี ขาดเนื้อ เบื่อหลอน
    คัดสรรค์ ให้ถูก ขั้นตอน
    ตรวจย้อน อักขระ วิธี

    ได้ผล กลอนหก ยกนิ้ว
    ยิ่งอ่าน หน้านิ่ว ลุกหนี
    เนื้อหา ทำไม อย่างนี้
    เหมือนผี หลอกหลอน กลอนประตู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    กลอน ๖ นี้ รู้สึกว่า สร้อยฟ้ามาลา ยังไม่เคยแต่งหล่ะ...

    แต่ถ้าดูๆ แล้ว ใครแต่งกลอน ๘ เป็น กลอน ๔- ๙ ก็จะไม่ยากนะ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    กลอนหก สักยก เป็นไง
    ทดลอง แต่งไป งั้นงั้น
    ครั้งแรก แปลกดี เหมือนกัน
    เข้าท่า เมามัน ในกลอน

    เพื่อนเพื่อน ลองเอื้อน ลองเอ่ย
    สักบท เปรยเปรย ตามสอน
    นับคำ ข้างต้น บทตอน
    ครบครัน ว่ากลอน หกเอย

    กลอนหก
    สร้อยฟ้ามาลา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  19. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,814
    ค่าพลัง:
    +15,099
    สุนทรียะของคำประพันธ์ไทย
    สุนทรียะ คือ ความนิยมในความงามของคำประพันธ์ อันเป็นเครื่องยังให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ได้แก่ ความสุข ความเบิกบานใจ ความพอใจ
    และความอิ่มเอิบใจแก่ผู้อ่าน สุนทรียะของคำประพันธ์ไทยเกิดจากองค์ประกอบ ๓ ประการคือ...

    ๑.สุนทรียรูป คือ ฉันทลักษณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ การเลือกใช้รูปแบบของคำประพันธ์ให้เหมาะสมกับเนื้อหา และอารมณ์ที่ผู้แต่งต้องการสื่อ
    รวมทั้งความถูกต้องตามแบบแผนของคำประพันธ์ที่ใช้นั้นด้วย

    ๒.สุนทรียลีลา คือ กระบวนการพรรณนาที่เหมาะสม ได้แก่ความงามในด้านกระบวนการพรรณนา ซึ่งมีอยู่ ๔ กระบวนการคือ
    ๒.๑ เสาวรจนี คือ บทชมโฉม ซึ่งได้แก่กระบวนการชมความงาม
    ๒.๒ นรีปราโมทย์ คือ บทเกี้ยว บทโอ้โลม เป็นรสแห่งความรักใคร่
    ๒.๓ พิโรธวาทัง คือ กระบวนการตัดพ้อต่อว่า หึงหวง โกรธ ว่ากล่าวประชดประชัน
    ๒.๔ สัลลาปังคพิไสย คือ กระบวนความเศร้าโศก คร่ำครวญ อาลัย อาวรณ์

    ๓.สุนทรียรส คือ ความงดงามในด้านอารมณ์สะเทือนใจ อันเกิดจากกระบวนการพรรณนา และกลวิธีในการประพันธ์ที่เหมาะสม มีอยู่ ๙ รส คือ
    ๓.๑ ศฤงคารรส คือ รสแห่งความรัก
    ๓.๒ หาสยรส คือ รสแห่งความขบขัน
    ๓.๒ กรุณารส คือ รสแห่งความเมตตากรุณา
    ๓.๔ รุทธรส คือ รสแห่งความโกรธเคือง
    ๓.๕ วีรรส คือ รสแห่งความเพียร หรือความกล้าหาญ
    ๓.๖ ภยานกรส คือ รสแห่งความกลัว
    ๓.๗ พีภติรส คือรสแห่ความชัง ความรังเกียจ
    ๓.๘ อัพภูตรส คือ รสแห่งความพิศวงประหลาดใจ
    ๓.๙ ศานติรส คือ รสแห่งความสงบ

    เห็นว่ามีประโยชน์เลยคัดลอกมาให้ศึกษากันครับ :cool:
     
  20. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,814
    ค่าพลัง:
    +15,099
    แต่งกลอน ห้องนี้ เก่งกาฉ
    ฉลาด ได้รับ ความรู้
    ครูสร้อย เก๊งเก่ง น่าดู
    หนูๆ จดจำ คำกลอน

    เพื่อนเพื่อน ลองเอื้อน ลองเอ่ย
    อย่าเผลอ แต่งผิด โคลงฉันท์
    ถูกตี ไล่ขับ ระวัง
    เจ็บนั้น อาจช้ำ ในเอย

    กลอนหก(หรือเปล่า?)
    เหมียวหง่าว
     

แชร์หน้านี้

Loading...