พุทธชยันตี พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ ลาดัก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 31 สิงหาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พุทธชยันตี พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ ลาดัก</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] ประเทศอินเดีย ได้จัดงาน "พุทธชยันตี" ซึ่งเป็นงานฉลองกึ่งพุทธกาล ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ โดยได้ให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าได้รับการยอมรับจากชาวอินเดีย

    ว่าเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติ ในครั้งนั้นนายกรัฐมนตรี บัณฑิต ชวาหะลัล เนรุห์ ได้เป็นประธานในการจัดงาน
    การฉลองครั้งนั้น ยังผลให้เกิดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ นับแต่นั้นเป็นต้นมา สืบมาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ จำนวนชาวพุทธในอินเดียกำลังเพิ่มจำนวนขึ้น พร้อมกับการเกิดขึ้นของชุมชนชาวพุทธ วัด สำนักปฏิบัติธรรม และสถาบันการศึกษา ซึ่งชาวพุทธจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ได้เดินทางมายังประเทศอินเดียเพื่อแสวงบุญ
    ใน พ.ศ.๒๕๔๙ นี้ ชาวพุทธในประเทศอื่น ซึ่งนับปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว นับปีนี้เป็น พ.ศ. ๒๕๕๐ คือก่อนหน้าประเทศไทยหนึ่งปีเต็ม ปีนี้จึงเป็นปีที่ชาวพุทธในอินเดียให้ความสำคัญอย่างมาก และได้จัดงาน "พุทธชยันตี" ตามเมืองต่างๆ หลายแห่ง โดยได้นิมนต์ พระ ดร.มโน (เมตฺตานนฺโท ภิกฺขุ) ที่ปรึกษาเลขาธิการใหญ่องค์การสมัชชาศาสนาเพื่อสันติแห่งโลก สังกัดองค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไทยเพียงรูปเดียวที่ได้รับนิมนต์ให้เดินทางไปร่วมในพิธีดังกล่าว
    พระ ดร.มโน บอกว่า สำนักปฏิบัติธรรมที่เป็นฉลองพุทธชยันตีในครั้งนี้คือ สมาคมมหาโพธิสาขา ลาดัก (Mahabodhi Society, Ladakh) ซึ่งเป็นพุทธเถรวาท ก่อตั้งขึ้นโดย ท่านสังฆเสนะ มหาเถระ เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา
    สถานที่ประกอบพิธีพุทธชยันตีนี้ เป็นเวทีเล็กๆ ตั้งอยู่กลางทะเลทรายที่แห้งแล้ง แวดล้อมไปด้วยภูเขาหินที่สูงตระหง่าน แต่ไม่มีต้นไม้หรือหญ้าขึ้นแม้แต่เส้นเดียว รอบบริเวณเวทีนี้ออกไปประมาณ ๕๐ เมตร เป็นรั้วตาข่ายขึงขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัยมิให้ผู้ใดเข้าใกล้บริเวณปะรำพิธีได้
    สองสามวันก่อนวันงาน ศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้พลุกพล่านไปด้วยทหาร และตำรวจ ที่วนเวียนกันเข้ามาตรวจตราทุกจุด ตั้งแต่บริเวณเนินเขา และทะเลทราย ที่รกร้างโดยรอบ เรื่อยไปจนถึงอาคารทุกห้อง ยานพาหนะทุกคัน ที่ผ่านเข้าออก ถูกตรวจตราอย่างละเอียด แม้บนยอดเขาแต่ละยอดโดยรอบก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนรักษาความปลอดภัย ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ไม่นับเฮลิคอปเตอร์ที่บินวนตรวจการณ์พื้นที่ต่างๆ โดยรอบอยู่ตลอดวัน
    เช้าตรู่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ประชาชนเริ่มทยอยหลั่งไหลกันเข้ามาในบริเวณงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัคร ต่างสาละวนจัดให้ประชาชนเหล่านี้นั่งลงกับพื้นทราย บริเวณด้านหน้าของปะรำพิธี มีผู้ประกาศหญิงทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบว่าจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง
    กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มาร่วมงาน เป็นเยาวชนจากโรงเรียนประถม และมัธยม ในเมืองลาดัก มีอาจารย์คอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
    "เด็กๆ เหล่านี้แสดงความตื่นเต้น ดีอกดีใจ ที่ได้มีโอกาสร่วมงานพุทธชยันตี ร่วมกับท่านประธานาธิบดีอย่างเห็นได้ชัด แม้อากาศจะร้อนระอุขึ้นทุกขณะ ในระดับความสูงกว่า ๑๒,๐๐๐ ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล บรรยากาศนั้นแห้งและบางเบากว่าที่คนไทยประสบกันในประเทศไทย เท้าเปล่าๆ ที่บังเอิญไปสัมผัสกับโลหะที่พื้นทรายบริเวณนี้ ทำให้ผู้ใหญ่ร่างกายกำยำสะดุ้งขึ้นมาได้ง่ายๆ แต่กระนั้นเอง ประชาชนที่มาร่วมงานก็นั่งอยู่ในความสงบ อาตมาเป็นพระไทยและเป็นคนไทยคนเดียวที่เข้าร่วมพิธีนี้ และได้ถูกจัดให้นั่งในแถวหน้าสุด ร่วมกับแขกผู้มีเกียรติและนักการเมืองของอินเดีย" พระ ดร.มโน กล่าว และเล่าต่อว่า
    เวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง เมื่อเวลา ๑๐ โมง กระบวนรถของท่านประธานาธิบดีเคลื่อนมาถึง ทุกคนลุกขึ้นให้เกียรติ พร้อมเพลงชาติของอินเดีย เมื่อแขกผู้มีเกียรติได้รับเชิญให้กล่าวคำปราศรัยประมาณคนละ ๓ นาทีผ่านพ้นไปแล้ว ท่านประธานาธิบดีได้รับเชิญให้จุดเทียนชัยต่อหน้าพระพุทธรูป ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนสีขาว ปางสมาธิแบบศรีลังกา หน้าตักประมาณเมตรเศษๆ เมื่อจุดเทียนชัยเป็นการฉลองพุทธชัยนตีแล้ว ก็ต่อด้วยหัวใจของงานทั้งหมด คือ การกล่าวปราศรัยของท่านประธานาธิบดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...