เรื่องเด่น พุทธพจน์ในพระธรรมวินัย ที่พึ่งอันแท้จริงของชาวพุทธ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 3 มกราคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    “พระพุทธศาสนา” เป็นศาสนาของผู้มีปัญญาอุบัติขึ้นโดยการตรัสรู้ของ “พระบรมศาสดา พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า” ด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณและพระมหากรุณาคุณ เมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราชซึ่งเป็นระยะเวลา 2,607 ปีล่วงมาแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณถึงสภาวธรรม คือ นามธรรมและรูปธรรมซึ่งเป็นปรมัตถธรรม (ความจริงอันแท้ยิ่ง) คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจธรรม) 4 ประการ คือ ทุกข์ (ทุกขเวทนา,ทุกขสัจจ์) สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์ คือ กิเลสและตัณหา) นิโรธ (ความดับทุกข์ ,นิพพาน) มรรค (ทางแห่งการดับทุกข์) มี 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) สัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง) สัมมาสมาธิ (ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง)

    e0b899e0b98ce0b983e0b899e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b4e0b899e0b8b1e0b8a2.jpg

    หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบด้วยพระธรรมที่ทรงแสดงและพระวินัยที่ทรงบัญญัติเรียกว่า “พระธรรมวินัย” มีความละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ยากที่จะเข้าใจได้ การศึกษาพระธรรมโดยการฟังธรรมจึงต้องดำเนินไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่อาจรีบร้อนโดยการเอาตัวตน (อัตตา) เข้าไปกระทำใดๆ ความเข้าใจจากการฟังธรรมจะเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยตามเหตุปัจจัย ปัญญาก็จะมีขึ้นเป็นไปตามลำดับขั้นของการพิจารณาไตร่ตรองด้วยความแยบคาย หากพุทธบริษัทไม่ว่าจะเป็นภิกษุซึ่งเป็นหัวหน้าของพุทธบริษัทไม่ทำหน้าที่ของตนในด้านคันถธุระ (ศึกษาพระธรรม) และวิปัสสนาธุระ (อบรมเจริญปัญญา) ก็จะไม่มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการไม่เคารพยำเกรงต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและไม่สามารถเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ การล่วงละเมิดสิกขาบทในพระวินัยก็เป็นการกระทำย่ำยีต่อพระพุทธศานาโดยไม่ละอายชั่วกลัวบาป จึงไม่เป็นที่เคารพนับถือของคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) ซึ่งเป็นพุทธบริษัทเช่นเดียวกัน

    b899e0b98ce0b983e0b899e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b4e0b899e0b8b1e0b8a2-1.jpg

    ส่วนอุบาสกและอุบาสิกาซึ่งอยู่ในเพศคฤหัสถ์ก็เป็นผู้ที่มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ ) เนื่องจากไม่มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจึงมุ่งแต่ อามิสบูชา (การเคารพสักการะด้วยวัตถุสิ่งของในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ) แต่กลับละเลยการปฏิบัติบูชา (ศึกษาพระธรรมโดยการฟังธรรมตามกาล) เมื่อมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก็เกิดปัญญาเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อยตามลำดับขั้น มีการละอกุศลและเจริญกุศลตามกำลังของปัญญา

    อวิชชา (ความไม่รู้) เป็นรากเหง้าของการเกิดอกุศลทั้งหลาย ผู้ที่ไม่รู้เป็นผู้ที่ไม่เข้าใจในไตรลักษณ์ (ลักษณะ 3 ประการ) คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความเป็นอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) ชาวพุทธที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมซึ่งเป็นเหตุนำไปสู่ความเห็นผิดจึงมีแต่ความเดือดร้อนทั้งกายและใจ เพราะมีไฟกิเลสรุมเร้า ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปรกติสุขตามอัตภาพของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชีวิตครอบครัว ชีวิตการศึกษา ชีวิตการทำงาน ชีวิตในสังคมทั่วไป

    b899e0b98ce0b983e0b899e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b4e0b899e0b8b1e0b8a2-2.jpg

    การที่ชาวพุทธจะมีพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) เป็นที่พึ่งได้นั้นก็ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาพระธรรม โดยการฟังธรรมตามกาลที่ถูกต้องตรงตามพุทธพจน์ในพระธรรมวินัย ซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก (พระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก (พระสูตร) พระอภิธรรมปิฏก) หาไม่เช่นนั้นแล้วก็เป็นเพียงชาวพุทธที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จึงมีแต่ความเห็นผิดไม่มีทางที่จะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งได้เลย.
    …………………………..
    คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ
    โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”
    ขอบคุณภาพจาก : encryptionfolder , wikipedia , sookjai , palungjit

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/684989
     
  2. Norawon

    Norawon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +208
    พุทธัง สรณะนัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สรณะนัง คัจฉามิ
    สังฆัง สรณะนัง คัจฉามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...