พุทธวจน จากพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rasa84000, 17 พฤษภาคม 2013.

  1. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    อานนท์! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะนั้น ย่อมรู้ว่า ข้อนี้มิใช่
    ฐานะ ข้อนี้มิใช่โอกาสที่จะมี คือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียว จะมีพระตถาคต
    ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ สององค์ เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน.
    นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
    ส่วนฐานะ อันมีได้นั้น คือใน โลกธาตุอันเดียว มีพระตถาคต
    ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะองค์เดียว เกิดขึ้น. นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้.
    ๑. บาลี พหุธาตุกสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๑/๒๔๕.
     
  2. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    ภิกษุ ท.! เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่
    ในโลกเพียงใด อันนั้น ก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
    ความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก, เพื่อประโยชน์ เพื่อความ
    เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, อยู่เพียงนั้น.

    ภิกษุ ท.! ตถาคตเกิดขึ้นในโลก นี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบ
    ด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
    ฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
    จำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.
    ภิกษุ ท.! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม
    ซึ่งหมู่สัตว์กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.
    ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
     
  3. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    คำว่าพุทธวจน หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่แล้วครับ
    ไม่ต้องขยายเพิ่ม
     
  4. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว
    ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว
    ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่
    ถึงเราเอง ก็เรียกผู้เช่นนั้นว่า เป็น พระโสดาบัน
    ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ.
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒-๓.

    พุทธวจน : วัดนาป่าพง
     
  5. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน

    อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่า
    แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว
    เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตนเป็น
    ผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
    มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็นพระโสดาบัน
    ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็น
    ผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า ดังนี้.

    อานนท์ ! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม
    ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ?
    อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
    ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
    ไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า... ในองค์พระธรรม...
    ในองค์พระสงฆ์... และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
    ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจ
    ของเหล่าอริยเจ้า คือ เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
    ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่าน
    สรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไป
    เพื่อสมาธิ.

    อานนท์ ! ธรรมปริยายอันนี้แล ที่ชื่อว่าแว่นธรรม
    ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนง
    จะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้, ดังนี้แล.

    มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๐-๔๕๑/๑๔๗๙-๑๔๘๐.

    (ความเห็น พระสูตรนี้ คืออธิบายโสดาบัน ผู้ยังเป็นโสดาปัตติมรรค
    และควรจะได้โสดาปัตติผล ก่อนตาย แต่ถ้าไม่ได้ชาตินี้
    ก็จะนิพพานในภายหน้า โดยเกิดอีกมากกว่าเจ็ดชาติ
    แต่ถ้าได้โสดาปัตติผล จะนิพพานภายในเจ็ดชาติ)
     
  6. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    อานิสงส์สูงสุดแห่งอานาปานสติ ๒ ประการ

    ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว
    อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า
    หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
    ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า
    มีสติหายใจออก :
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
    กายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
    จิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
    พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
    ให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
    ให้ตั้งมั่น (สมาทหํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
    ให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
    ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
    จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

    ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
    ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้;
    คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
    หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.

    มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖-๓๙๗/๑๓๑๑-๑๓๑๓.
     
  7. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    พระสูตร การดับอกุศล ละความเพลินในเวทนา

    ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูป

    ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่


    ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง. เธอละความยินดียินร้าย อย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี
    ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น

    เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป
    เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
    และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น
    ย่อมมีได้ อย่างนี้.

    ภิกษุนั้น เมื่อได้ยินเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...
    ถูกต้องสัมผัสด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

    ย่อมไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก

    ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่

    ย่อมทราบชัด เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดของ อกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง.

    เธอละ ความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์
    มิใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่
    ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้ง หลายก็ดับไป

    เพราะความเพลิดเพลินดับ

    อุปาทานก็ดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนั้น.

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
     
  8. bteezi

    bteezi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +43
    อย่าลืมอ่านพระวินัยนะครับเป็นโยมก็ควรให้ความสำคัญเช่นกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...