พุทธวจน : มรรควิธีที่ง่าย

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย Sirisuk, 25 มิถุนายน 2011.

  1. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 2

    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 2

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ
    พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
    ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า เป็นทุกข์ ;
    ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า เป็นทุกข์ ;
    ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นทุกข์ ;
    ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นทุกข์ ;
    ย่อมเห็นซึ่ง เวทนาอันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
    ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัส เป็นปัจจัย ว่า เป็นทุกข์.

    (ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ
    ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น
    รวมเห็นว่าเป็นทุกข์ทั้งหมด 30 แง่มุม คือ 5 กรณีต่อ 1 อายตนะ)

    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

    ----------------------------

    -สฬา.สํ. 18 / 168 / 233.

    http://watnapp.com/

    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  2. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 3

    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 3

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานแก่พวกเธอ
    พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
    ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่า เป็นอนัตตา ;
    ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า เป็นอนัตตา ;
    ย่อมเห็นซึ่ง จักษขุวิญญาณ ว่า เป็นอนัตตา ; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นอนัตตา ;
    ย่อมเห็นซึ่ง เวทนาอันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)
    ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นอนัตตา.

    ( ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ
    ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น
    รวมเห็นว่าเป็นอนัตตาทั้งหมด 30 แง่มุม คือ 5 กรณีต่อ 1 อายตนะ )

    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

    สฬา.สํ. 18 / 168 / 234.

    http://watnapp.com/
    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  3. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 4

    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 4

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ
    พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร

    จักษุ เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ?
    “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”

    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ?
    “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”

    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
    “นั่นของเรา (เอตํ มม),
    นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ),
    นั่นเป็นอัตตาของเรา (เอโส เม อตฺตา)” ดังนี้ ?
    “ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

    ( กรณีแห่งรูป…จักษุวิญญาณ…จักษุสัมผัส… เวทนาจากผัสสะกรณีจักษุ
    รวมถึง หมวดโสตะ หมวดฆานะ หมวดชิวหา หมวดกายะ และหมวดมนะ ก็เช่นกันด้วย
    รวมสิ่งที่ ไม่ควรเห็นว่า เป็นของเรา เป็นเรา เป็นอัตตาของเรา ทั้งหมด 30 กรณี )

    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูป ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ ;
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส ;
    ย่อมเบื่อหน่ายใน เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ( ไม่ทุกข์ไม่สุข )
    ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ;

    ( กรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ ก็เช่นเดียวกัน)

    เมื่อเบื่อหน่ายย่อม คลายกำหนัด ;
    เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ;
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

    อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก”.

    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือ ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

    ------------------------------------

    -สฬา.สํ. 18/169/235.

    http://watnapp.com/
    ปฏิปทาสบายแก่การบรรลุนิพพาน นัยที่ 4
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  4. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    กระจายผัสสะ

    กระจายผัสสะ

    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรม 2 อย่าง.
    2 อย่างอะไรเล่า ? 2 อย่างคือ

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เพราะอาศัยซึ่ง จักษุ ด้วย ซึ่ง รูป ทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.
    จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น
    รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น

    ธรรม ทั้งสอง (จักษุ+รูป) อย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย
    ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น
    จักษุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น

    เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ
    แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น
    ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น

    ภิกษุทั้งหลาย !
    วิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน

    -----------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย
    (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) 3 อย่างเหล่านี้ อันใดแล
    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า จักขุสัมผัส

    ภิกษุทั้งหลาย !
    แม้จักขุสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น

    เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส
    แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น
    ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น

    ภิกษุทั้งหลาย !
    จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน

    --------------------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย !
    บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้ว ย่อมรู้สึก ( เวเทติ )
    ผัสสะกระทบแล้ว ย่อมคิด ( เจเตติ )
    ผัสสะกระทบแล้ว ย่อม จำได้หมายรู้ ( สญฺชานาติ )

    แม้ธรรมทั้งหลาย ( เวทนา, เจตนา, สัญญา ) อย่างนี้ เหล่านี้
    ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย
    ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น

    --------------------------------------

    -สฬา. สํ. 18/85/124-7

    ข้างต้น คือกรณีจักขุวิญญาณ และได้ตรัสอย่างเดียวกันต่อไปจนครบ คือ
    โสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ ,ชิวหาวิญญาณ , กายวิญญาณ , มโนวิญญาณ
    สรุปรวมความแล้ว คือ ให้พิจารณาแยกผัสสะในแต่ละอายตนะ ๆ โดยละเอียด

    http://watnapp.com/
    กระจายผัสสะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  5. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    มรรค 8 แบบลัดสั้น

    มรรค 8 แบบลัดสั้น

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง ;
    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง ;
    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง ;
    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง ;
    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
    สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง ;

    บุคคล ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักษุ
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูปทั้งหลาย
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุวิญญาณ
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
    สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม

    เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดยินดีแล้ว
    ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่หลงใหลแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่
    ปัญจุปาทานขันธ์ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อขึ้นอีกต่อไป

    และ ตัณหา อันเป็นเครื่องนำมาซึ่งภพใหม่ ประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด
    ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ของบุคคลนั้น ย่อมละไป

    ความกระวนกระวายทางกาย และทางจิต ก็ละไป
    ความแผดเผาทางกาย และทางจิต ก็ละไป
    ความเร่าร้อนทางกาย และทางจิต ก็ละไป

    บุคคลนั้นย่อมเสวยความสุขทั้งทางกาย และทางจิต

    ทิฏฐิ ของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ
    ความดำริ ของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสังกัปปะ,
    ความเพียร ของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาวายามะ,
    สติ ของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสติ,
    สมาธิ ของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสมาธิ.

    ส่วน กายกรรม วจีกรรม และอาชีวะ ของเขา บริสุทธิ์มาแล้วแต่เดิม ;
    ( สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ )

    ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า
    อริยอัฏฐังคิกมรรค ( อริยมรรคมีองค์ 8 ) แห่งบุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่เช่นนั้น
    ย่อมถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ด้วยอาการอย่างนี้

    ----------------

    ( กรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ พึงแจกแจงโดยละเอียด เช่นเดียวกัน )

    ----------------

    - อุปริ.ม. 14 / 523–525 / 828–830.

    จะเห็นได้ว่า ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน ทั้ง 4 นัย และ การกระจายผัสสะ
    ทั้งหมดนั้น สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่ในพระสูตรนี้ เป็นการถึงพร้อมสมบูรณ์แห่งมรรค8

    http://watnapp.com/
    มรรค 8 แบบลัดสั้น

    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  6. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    ไม่หวั่นไหว ไม่น้อมไป

    ไม่หวั่นไหว ไม่น้อมไป

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลาย ด้วยธัมมิกถาอันเนื่องเฉพาะด้วยนิพพาน
    ได้ทรงเห็นว่าภิกษุทั้งหลาย สนใจฟังอย่างยิ่ง จึงได้ตรัสพระพุทธอุทานนี้ขึ้นในเวลานั้น ว่า

    --------------------------

    ( นิสฺสิตสฺส จลิตํ )
    ความหวั่นไหว ย่อมมี แก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว

    ( อนิสฺสิตสฺส จลิตํ นตฺถิ )
    ความหวั่นไหว ย่อมไม่มี แก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว

    ( จลิเต อสติ ปสฺสทฺธิ )
    เมื่อความหวั่นไหว ไม่มี, ปัสสัทธิ ย่อมมี

    ( ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น โหติ )
    เมื่อปัสสัทธิ มี, ความน้อมไป ย่อมไม่มี

    ( นติยา อสติ อาคติคติ น โหติ )
    เมื่อความน้อมไป ไม่มี, การไปและการมา ย่อมไม่มี

    ( อาคติคติยา อสติ จุตูปปาโต น โหติ )
    เมื่อการไปการมา ไม่มี, การเคลื่อนและการบังเกิด ย่อมไม่มี

    ( จุตูปปาเต อสติ เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเร )
    เมื่อการเคลื่อนและการบังเกิดไม่มี,
    อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง

    ( เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส )
    นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.

    ------------------------------

    - อุ.ขุ. 25 / 208 / 161.

    http://watnapp.com/
    ไม่หวั่นไหว ไม่น้อมไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  7. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    สักแต่รู้ นัยที่ 1 (มรรควิธีที่ง่าย)

    สักแต่รู้ นัยที่ 1

    ( ตสฺมา ติห เต พาหิย เอวํ สิกฺขิตพฺพํ )
    ดูกรพาหิยะ ! เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

    ( ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ )
    เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น

    ( สุเต สุตมตฺตํ ภวิสฺสติ )
    เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง

    ( มุเต มุตมตฺตํ ภวิสฺสติ )
    เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ

    ( วิญฺญาเต วิญฺาตมตฺตํ ภวิสฺสตีติ )
    เมื่อรู้แจ้ง จักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

    ( เอวญหิ เต พาหิย สิกฺขิตพฺพํ )
    ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

    ---------------------

    ดูกรพาหิยะ !

    ในกาลใดแล
    เมื่อท่านเห็น จักเป็นสักว่าเห็น
    เมื่อฟัง จักเป็นสักว่าฟัง
    เมื่อทราบ จักเป็นสักว่าทราบ
    เมื่อรู้แจ้ง จักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

    ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี

    -------------------------

    ในกาลใด ท่านไม่มี

    ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้
    ย่อมไม่มีในโลกหน้า
    ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง

    นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

    -------------------------

    - อุ. ขุ. 25/83/49

    http://watnapp.com/

    สักแต่รู้ นัยที่ 1

    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  8. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    สักแต่รู้ นัยที่ 2

    สักแต่รู้ นัยที่ 2

    “ข้าแต่พระองค์เจริญ !
    ข้าพระองค์เป็นคนชรา เป็นคนแก่คนเฒ่ามานานผ่านวัยมาตามลำดับ
    ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อ
    ในลักษณะที่ ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ในลักษณะที่ ข้าพระองค์จะพึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระเจ้าข้า !”

    มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ

    รูปทั้งหลาย อันรู้สึกกันได้ทางตา
    เป็นรูปที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น
    ที่ท่านกำลังเห็นอยู่ ก็ไม่มี
    ที่ท่านคิดว่าท่านควรจะได้เห็น ก็ไม่มี ดังนี้แล้ว

    ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในรูปเหล่านั้น ย่อมมีแก่ท่านหรือ ?
    “ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”

    ( ในกรณีแห่งเสียง-หู กลิ่น-จมูก รส-ลิ้น โผฏฐัพพะ-กาย ธรรมารมณ์-มโน ก็เช่นกัน )

    มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน พึงเห็น พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น
    ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้วจักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น
    ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน
    ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย) จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก
    ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.

    มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแลในบรรดาธรรมเหล่านั้น
    เมื่อสิ่งที่เห็น แล้วสักว่าเห็น
    สิ่งที่ฟัง แล้วสักว่าได้ยิน
    สิ่งที่รู้สึก แล้วสักว่ารู้สึก
    สิ่งที่รู้แจ้ง แล้วสักว่ารู้แจ้ง ดังนี้แล้ว

    มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มีเพราะเหตุนั้น;

    ------------------

    มาลุงก๎ยบุตร !
    เมื่อใด ตัวท่านไม่มีเพราะเหตุนั้น
    เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้น ๆ

    มาลุงก๎ยบุตร !
    เมื่อใด ตัวท่านไม่มีในที่นั้น ๆ
    เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง
    นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้

    -------------------

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต
    อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร ดังต่อไปนี้

    เห็นรูปแล้วสติหลงลืม ทำในใจซึ่งรูปนิมิตว่าน่ารัก มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว เสวยอารมณ์นั้นอยู่
    ความสยบมัวเมา ย่อมครอบงำบุคคลนั้น
    เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกประการ ย่อมเจริญแก่เขานั้น
    อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา
    เมื่อสะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า ยังไกลจากนิพพาน.

    ( ในกรณีแห่งเสียง-หู กลิ่น-จมูก รส-ลิ้น โผฏฐัพพะ-กาย ธรรมารมณ์-มโน ก็เช่นกัน )

    บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย เห็นรูปแล้ว มีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่
    ความสยบมัวเมา ย่อมไม่ครอบงำบุคคลนั้น
    เมื่อเขาเห็นอยู่ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไป ๆ ไม่เพิ่มพูนขึ้น
    เขามีสติ ประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
    เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้ต่อนิพพาน.

    ( ในกรณีแห่งเสียง-หู กลิ่น-จมูก รส-ลิ้น โผฏฐัพพะ-กาย ธรรมารมณ์-มโน ก็เช่นกัน )

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต
    อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร อย่างนี้พระเจ้าข้า !”

    -------------------

    พระผู้มีพระภาค ทรงรับรองความข้อนั้น ว่าเป็นการถูกต้อง
    ท่านมาลุงก๎ยบุตร หลีกออกสู่ที่สงัด กระทำความเพียร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในศาสนานี้

    --------------------

    - สฬา.สํ. 18/91-95/132-139

    http://watnapp.com/

    สักแต่รู้ นัยที่ 2

    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2011
  9. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    มีสติ มีสัมปชัญญะ รอคอยการตาย

    มีสติ มีสัมปชัญญะ รอคอยการตาย

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ ( รอคอยการตาย )
    นี้ เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับพวกเธอทั้งหลาย.

    ----------------------

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติเป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

    เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

    อย่างนี้แลภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

    ----------------------

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้

    เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู,
    การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,
    การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง

    อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ

    ------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ ( รอคอยการตาย )
    นี้ เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับพวกเธอทั้งหลาย.

    ------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ถ้าเมื่อภิกษุ มีสติ มีสัมปชัญญะ
    ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรม อยู่อย่างนี้

    ( กรณี สุขเวทนา )
    สุขเวทนา เกิดขึ้นไซร้ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    “สุขเวทนานี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    แต่สุขเวทนานี้ อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุปัจจัยแล้วหาเกิดขึ้นได้ไม่.
    อาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ? อาศัยเหตุปัจจัยคือ กายนี้นั่นเอง
    ก็กายนี้ ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น
    สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกาย ซึ่งไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น
    ดังนี้แล้ว จักเป็นสุขเวทนาที่เที่ยงมาแต่ไหน” ดังนี้.

    ภิกษุนั้น เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ ตามเห็นความเสื่อม ความจางคลายอยู่
    ตามเห็นความดับไป ความสลัดคืนอยู่ ในกาย และในสุขเวทนา

    เมื่อเธอเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง (เป็นต้น) อยู่ในกายและในสุขเวทนาอยู่ ดังนี้
    เธอย่อมละเสียได้ ซึ่งราคานุสัย ในกาย และในสุขเวทนานั้น

    ( กรณี ทุกขเวทนา )
    ทุกขเวทนา เกิดขึ้นไซร้ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    … ฯลฯ …
    เธอย่อมละเสียได้ ซึ่งปฏิฆานุสัย ในกาย และในทุกขเวทนานั้น

    ( กรณี อทุกขมสุขเวทนา )
    อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นไซร้ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    … ฯลฯ …
    เธอย่อมละเสียได้ ซึ่งอวิชชานุสัย ในกาย และในอทุกขมสุขเวทนานั้น

    --------------------

    ภิกษุนั้น
    ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
    “สุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง, และเป็นเวทนาที่เรามิได้มัวเมาเพลิดเลินอยู่” ดังนี้

    ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
    “ทุกขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง, และเป็นเวทนาที่เรามิได้มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้

    ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
    “อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง, และเป็นเวทนาที่เรามิได้มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้

    -----------------------

    ภิกษุนั้น
    ถ้าเสวย สุขเวทนา
    ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลส อันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น

    ถ้าเสวย ทุกขเวทนา
    ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลส อันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น

    ถ้าเสวย อุทกขมสุขเวทนา
    ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลส อันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น

    -------------------------

    ภิกษุนั้น
    เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ
    เมื่อเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ขัดว่า เราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ

    เธอย่อมรู้ชัดว่า
    เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว
    จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

    ------------------------

    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน ได้อาศัยน้ำมันและไส้แล้วก็ลุกโพลงอยู่ได้
    เมื่อขาดปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะขาดน้ำมันและไส้นั้นแล้ว ย่อมดับลง, นี้ฉันใด

    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือภิกษุ
    เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ดังนี้
    เมื่อเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิตที่สุดรอบ ดังนี้

    ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า
    เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว
    จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

    --------------------------

    - สฬา. สํ. 18/260/374-381.

    <A href="http://watnapp.com/read/easypath/i025/#content">http://watnapp.com/

    มีสติ มีสัมปชัญญะ รอคอยการตาย

    :cool:
     
  10. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    วิธีละอวิชชาโดยตรง 1


    วิธีละอวิชชาโดยตรง 1

    ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่หรือไม่หนอ
    ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้นพระเจ้าข้า ?”

    ----------------------------

    ภิกษุ !

    เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น

    เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น

    เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น

    เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุสัมผัส โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น

    เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งเวทนาอันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
    ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น

    (ในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน ทุกหมวด มีข้อความอย่างเดียวกัน)

    ภิกษุ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น

    ---------------------------------------

    - สฬา. สํ. 18 / 61 / 95.

    <A href="http://watnapp.com/read/easypath/i026/#content">http://watnapp.com/read/

    วิธีละอวิชชาโดยตรง 1
    http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=4537.0

    :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...