พุทธวจน..อริยมรรคมีองค์แปด ทางแห่งความสิ้นกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย พุืทธวจน000, 16 พฤศจิกายน 2012.

  1. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    อริยมรรคมีองค์แปด
    ทางแห่งความสิ้นกรรม


    ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง จักจำแนก ซึ่งอริย-
    อัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย. เธอ
    ทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์
    เราจักกล่าว.
    ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์
    แปด) เป็นอย่างไรเล่า ?

    อริยอัฏฐังคิกมรรค ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

    ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็น
    อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความรู้อันใดเป็นความรู้ใน
    ทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความ
    ดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับ
    ไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.

    ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) เป็น
    อย่างไรเล่า ? คือ ความดำริในการออกจากกาม ความ
    ดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน.
    ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.
    ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) เป็น
    อย่างไรเล่า ? คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่
    จริง เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็น
    เครื่องเว้นจากการพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ
    พูดเพ้อเจ้อ. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.
    ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ? คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า
    เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้
    ให้แล้ว เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดใน
    กาม. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.
    ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า
    ในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความ
    เป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรา

    กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.
    ภิกษุ ท. ! สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ
    ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียร ย่อม
    ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่
    เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อม
    พยายามปรารภความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะ
    ละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมทำความ
    พอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียร ย่อม
    ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไมเ่ กิดให้
    เกิดขึ้น ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม
    ปรารภความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่
    ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์
    ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.
    ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.
    ภิกษุ ท. ! สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็น
    อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่อง

    เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความ
    ไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็น
    เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่อง
    เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความ
    ไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิต
    ในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มี
    สัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจใน
    โลกออกเสียได้ ; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มี
    สัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจใน
    โลกออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.
    ภิกษุ ท. ! สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) เป็น
    อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจาก
    กามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง
    ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
    แล้วแลอยู่ ; เพราะความที่วิตก วิจารทั้งสองระงับลง
    เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้
    สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่

    ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ ; อนึ่ง เพราะ
    ความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและ
    สัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่
    พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่
    อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้ว
    แลอยู่ ; เพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับไป
    แห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึง
    จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็น
    ธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. !
    อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.
    มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๐ - ๑๒/๓๓-๔๑.
     

แชร์หน้านี้

Loading...