...พุทธเทวะผู้พิทักษ์...

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย อนัตตา, 11 ธันวาคม 2018.

  1. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    “เหวัชระ” พุทธเทวะผู้พิทักษ์ "วัชรยานตันตระ"
    ...
    .
    อิทธิพลของคติความเชื่อพุทธศาสนามหายานในคตินิกายวัชรยานจากอินเดียตะวันออกนั้น เริ่มปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในวัฒนธรรมเขมรโบราณครั้งแรกในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 จากหลักฐานจารึกบน “เสาหลักแห่งเจติยะ (Chaitya Stete)” ที่สลักเป็นรูปของพระพุทธรูปนาคปรก นางปรัชญาปารมิตา พระวัชริน (เหวัชระ) พระโลเกศวร –พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร พระโพธิสัตว์วัชรปาณี
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    อีกทั้งจารึกปราสาทปัตชุม ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 จารึกปราสาทตาอัน ต้นพุทธศตวรรษที่ 16 หรือจารึกซับบาก ต้นพุทธศตวรรษที่ 17 ก็ล้วนแต่ปรากฏเรื่องราวที่แสดงให้เห็นร่องรอยของคติความเชื่อแบบวัชรยาน ดังปรากฏชื่อนามของพระโลกเกศวร ไตรโลกยวิชัยหรือพระสังวร ปรัชญาปารมิตา และพระวัชรินหรือเหวัชระ จากอีกหลายจารึก
    .
    "วัชรยาน" (Vajrayana) เป็นนิกายย่อยในกลุ่มพุทธตันตระ (Tantra Buddhism) ร่วมกับ นิกายมันตรยาน นิกายสหัชรยานและ
     
  3. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    นิกายกาลจักรยาน เป็นนิกายที่มีการจัดลำดับและมณฑล (Mandala) ของอาทิพุทธ ธยานิพุทธ โพธิสัตว์ ทั้งเพศชายและเพศหญิงอย่างชัดเจน ส่งอิทธิพลความเชื่อเข้าสู่ ชวา (Java) ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา
    .
    แต่กระนั้นคติวัชรยานในชวา ภาพลักษณ์ของพุทธเทวะที่เรียกว่า “ยิดัม” (Yi-Dam The Guardian) หรือเทพผู้พิทักษ์พุทธตันตระอย่าง “เหวัชระ”และ “ไตรโลกยวิชัย” นั้น ยังคงอยู่ในรูปพระโพธิสัตว์ผู้เรืองอำนาจ ผู้ปกป้องพระพุทธศาสนาตันตระเท่านั้น
    .
    แต่ในคติความเชื่อของนิกายวัชรยานที่เข้ามาสู่อาณาจักรเขมรโบราณ กลับมีพัฒนาการในรายละเอียดของเหล่าโพธิสัตว์และเทวะผู้พิทักษ์ในวรรณกรรมแตกต่างไปจากคติวัชรยานในชวาเป็นอย่างมาก แต่กลับมีความคล้ายคลึงกับคติตันตระอย่างในอินเดียที่เป็นศัตรูของศาสนาฮินดูโดยตรง แสดงออกมาเป็นเรื่องราวของเหล่าโพธิสัตว์และยิดัมที่เป็นปรปักษ์กับเทพเจ้าในศาสนาฮินดูอย่างชัดเจน นิยมสร้างรูปประติมากรรมของพุทธเทวะและพุทธเทวีที่สื่อความหมายถึงอำนาจที่เหนือกว่าเทพเจ้าของฮินดูที่หมายถึงความชั่วร้าย อวิชชาและผู้ขัดขวางการสู่นิพพานครับ
    .
     
  4. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    พุทธตันตระ นิกายวัชรยานในเขมรช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ควรถูกเรียกว่า “วัชรยานตันตระ” เพราะมีความเข้มข้นในคติความเชื่อที่มุ่งหมายเข้าต่อสู้เชิงวรรณกรรมกับความเชื่อแบบเทพเจ้าของฮินดูเด่นชัดกว่าวัชรยานในชวา อย่างเช่นการปรากฏตัวของนาง “โยคิณี” (Yogini) อันได้แก่นางเคารี (Gauri) นางเฉารี (Chauri) นางเวตาลี (Vetali) นางฆษมารี (Ghasmari) นางปุกกาสี (Pukkasi) นางชาพารี (Shabari) นางฉนฑลี (Chandali) และนางโทมพี (Dombi) ธิดาทั้ง 8 แห่งพระเหวัชระ ที่กำเนิดขึ้นจากศักติ ยัม–ยัม (Yum-Yum – สังวาส) ระหว่างนาง “วัชระไนราตมยาเทวี หรือนางอนัตตา” (Vajra Nairatmya) กับเหวัชระพุทธเทวะ ที่นิยมนำมาสร้างเป็นรูปบุคคลสตรีร่ายรำในท่า “ยินดีปรีดาในชัยชนะ” (อรรธปรยังก์) เหนือซากศพแห่งอวิชชาทั้ง 8 (พระศิวะ พระพรหม พระอินทร์ พระวิษณุ พระยม ท้าวกุเวร พระนิรฤติ และเทพอสูรวิมาสิตริน) รวมทั้งนาง “ฑากิณี” (Dakini) ชายาของธรรมบาล ทั้ง 8 มีนามว่า สาสยา-ผิวขาวถือกระจก มาลา-ผิวเหลืองถือพวงลูกประคำ คีตา-ผิวแดงถือพิณ ครรม- ผิวเขียว ร่ายรำ บุษปา – ผิวขาวถือดอกไม้ ธูปา-ผิวเหลืองถือหม้อน้ำ ทีปา-ผิวแดงถือโคม คินธา-ผิวเขียวถือแจกันน้ำหอม
    .
    อีกทั้งการปรากฏตัวของพระไตรโลกยวิชัยที่ร่ายรำอย่างร่าเริงบนซากศพของอวิชชาอย่างพระศิวะและนางปารวตี หรือการปราบพระวิษณุโดยพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในปาง “หริหริหริวาหนะ”
    .
    เหล่าเทพผู้พิทักษ์และธยานิโพธิสัตว์ผู้อวตารมาปราบเทพเจ้าฮินดูในศิลปะเขมร อาจมีหน้าตาดุร้ายน่ากลัวแบบเดียวกับรูปของอสูรหรือยักษ์ ผมหยิกหยอย ทัดดอกไม้ใหญ่แทนกุณฑล (ตุ้มหู) หรือทำเป็นรูปพุทธเทวะ-เทวีในภาพของพระโพธิสัตว์ที่งดงามตามแบบชวาครับ
    .
     
  5. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    "เหวัชระ" (Hevajra) หรือ “พระวัชริน” ในคติวัชรยานตันตระ (แบบเขมรโบราณ – ธิเบต เนปาล) เป็นเทพผู้พิทักษ์ที่ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับไตรโลกยวิชัยหรือพระสังวร ปรากฏในงานศิลปะเขมรโบราณครั้งแรกบนทับหลังที่ปราสาทหินพิมาย เป็นภาพของมณฑลแห่งพระมหาโพธิสัตว์ทั้ง 5 พระองค์ มี 4 พักตร์ 6 กร ตรงกลางมีความหมายถึงพระวัชริน (เหวัชระในภาคของพระโพธิสัตว์) ด้านล่างเป็นนางโยคิณี ธิดาทั้ง 8 ร่ายรำในท่า “ยินดีปรีดาในชัยชนะ” (อรรธปรยังก์) เหนือซากศพแห่งอวิชชาทั้ง 8 อันได้แก่ พระศิวะ พระพรหม พระอินทร์ พระวิษณุ พระยม ท้าวกุเวร พระนิรฤติ และ เทพอสูรวิมาสิตริน
    .
     
  6. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    รูปลักษณ์ของเหวัชระในงานศิลปะเขมร ปรากฏเป็นรูปประติมากรรม ลอยตัว 8 เศียร 16 กร 4 พระเพลา (ขา) ตามแบบอินเดียเหนือเป็นจำนวนมาก พระบาททั้ง 4 นั้น สองพระบาทหน้าเหยียบซากศพของพระศิวะและนางปารวตี (ในความหมายของมารร้ายหรืออวิชชา) ไว้ เช่นเดียวกับไตรโลกยวิชัย ส่วนอีกสองบาทหลัง เต้นรำท่าอรรธปรยังก์ โดยงอพระชงฆ์ซ้ายและพับพระชงฆ์ขวาขึ้นไว้ใต้พระเพลาซ้าย 8 พระกรข้างขวา ถือ ช้าง ม้า ลา มนุษย์ อูฐ โค สิงโต และแมว ส่วน 8 พระกรซ้าย ถือเหล้าเทพเจ้า พระภูมิเทวี พระคงคา พระวายุ พระอัคคี พระจันทร์ พระอาทิตย์ พระยม (เทพเจ้าแห่งความตาย) ท้าวกุเวร (เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง)
    .
     
  7. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ในคัมภีร์ (ภาพ) ของฝ่ายธิเบต กล่าวว่าที่พระบาทของเหวัชระมีพระพรหม พระยักษา พระยม และพระอินทร์ เป็นเทพรักษาครับ
    .
    นอกจากปรากฏในท่ารำอรรธปรยังก์ แล้ว ในงานศิลปะเขมรยังมีปรากฏท่าทรงโอบรัดศักติ ที่มีพระนามว่าพระแม่ “วัชระไนราตมยาเทวี หรือนางอนัตตา” (Vajra Nairatmya) ตามแบบอินเดียเหนือ (ไม่ปรากฏในคติชวา) บนซากศพแห่งอวิชชา
    .
     
  8. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    อีกทั้งยังปรากฏรูปศิลปะของเหวัชระในแบบ “กุฎาคาร” (Kutagara) หรือ “ปราสาท” (Prasada) ที่เรียกว่า “เหวัชระมณฑล” ที่นิยมทำเป็นแผ่นโลหะปราสาทจำลองที่มีการจัดลำดับชั้นของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ แวดล้อมด้วยบริวารของผู้ปกป้อง เพื่อใช้เป็นวัตถุมงคล (Amulet) สื่อความหมายเชิง “บุคลาธิษฐาน” ประกอบในการสวดมนตราธารณีและการแสดงกรีดนิ้วมุทรา เพื่อการอัญเชิญหรือเข้าถึง ช่วยให้บรรลุสู่โพธิญาณ ให้มีอิทธิฤทธิ์ หรือสู่นิพานโดยฉับพลัน อีกทั้งเพื่อการสวดภานาให้ปกป้องคุ้มครองภัยจากความชั่วร้าย วัตถุมงคลแบบเหวัชระมณฑล (รวมทั้งไตรโลกยวิชัยมณฑล) นี้ นักบวชหรือ “สิทธะ” นิยมพกประจำตัวสำหรับการสวดบูชา เพื่อให้ครบองค์ประกอบในพิธีกรรมแห่งวัชรยานตันตระ
    .
     
  9. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    เหวัชระมณฑลในรูปของ ปราสาทจำลองนี้ แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนคูหาห้องโถงของเรือนปราสาทที่เรียกว่า “ครรภคฤหะ” จะมีรูปวงกลมสองวง (มณฑล) วงด้านในเป็นภาพของเหวัชระกำลังเต้นรำอยู่เหนือซากศพ วงด้านนอกทำเป็นรูปของนางโยคิณีทั้ง 8 ในความหมายของผู้ปกป้องทิศทั้งแปดของจักรวาลครับ
    .
     
  10. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ส่วนที่สองคือส่วนเรือนยอดของปราสาทจำลองเป็นชั้นเชิงบาตรและส่วนฐานล่าง ที่มีการจัดลำดับพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ส่วนฐานอาจหมายถึงพุทธเทวะหรือพระโพธิสัตว์ผู้เป็นยิดัม ทั้ง 5 ในท่ายืนภายในซุ้ม ส่วนเรือนยอดถัดขึ้นไปเป็น อดีต “มานุษิพุทธเจ้า” พระพุทธเจ้าที่มาจากมนุษย์ทั้ง 7 “หรือ สัปตมานุษิพุทธเจ้า” ้เหนือขึ้นไปเป็น พระธยานิโพธิสัตว์ ทั้ง 5 อันได้แก่ พระสมันตรภัทร พระวัชรปาณิ พระรัตนปาณิ พระอวโลกิเตศวร และพระวิศวปาณี
    .
     
  11. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ในส่วนบนสุดของมณฑล ทำเป็นรูปบุคคลภายในซุ้ม หมายถึงพระธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์อันได้แก่ ไวโรจนะ อักโษภยะ รัตนสัมภวะ อมิตาภะ มุทรา และอโมฆสิทธิ บนสุดเป็นพระพุทธรูปนาคปรกในความหมายของพระอาทิพุทธเจ้าหรือพระมหาไวโรจนะ ชินพุทธะองค์ที่ 6 ที่ปรากฏเฉพาะในคติวัชรยานตันตระของเขมรเท่านั้นครับ
    .
     
  12. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    วัตถุมงคลเหวัชระ ยังปรากฏเป็นพระเครื่องดินเผาขนาดเล็กแบบพระพิมพ์ (Votive Tablet) ที่สามารถพกพาเป็นเครื่องรางของขลังได้สะดวก อย่าง เหวัชระผู้ปกป้องพระพุทธเจ้าอมิตาภะ (นาคปรก) และนางปรัชญาปารมิตา ที่คนไทยเรียกว่า “นารายณ์แปลง” หรือพระเครื่องรูปเหวัชระผู้เป็นประธานของเทพผู้พิทักษ์วัชรยานตันตระ ประทับนั่งท่ามกลางตัวแทนพระมหาโพธิสัตว์ทั้ง 4 ผู้อวตารเป็นยิดัม อย่าง พระโพธิสัตว์มาริจี พระโพธิสัตว์มัญชูศรี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือพระโพธิสัตว์วัชรปาณี โดยมีรูปพระธยานิพุทธเจ้าทั้ง 5 แวดล้อม
    .
     
  13. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    อีกทั้งยังพบพระเครื่องดินเผารูป "มหายิดัมมณฑลจำลอง" หรือ "ยิดัมคู่" ทำเป็นรูปของเหวัชระและไตรโลกยวิชัยร่ายรำคู่กันโดยมีพระมหาโพธิสัตว์อยู่ตรงกลาง ด้านล่างอาจหมายถึงเหล่าพุทธเทวะและเทวีของวัชรยานตันตระ อย่างนางปรัชญาปารมิตา คุหยสมาช พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งอานุภาพบารมี มหามายา และท้าวชัมภล ผู้เป็นเหล่าเทพผู้พิทักษ์ โดยมีพระธยานิพุทธะอมิตาภะ (นาคปรก) เป็นประธานอยู่ด้านบนสุดของมณฑลจำลองครับ
    ..
    .
    .
    วรณัย พงศาชลากร
    EJeab Academy
    เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    เหวัชระมณฑล ในรูปแบบรูปประติมากรรมลอยตัว ในซุ้มปราสาท พิพิธภัณฑ์กรุงพนมเปญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2018
  15. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    คัดลอกข้อมูลบางส่วนจากคมชัดลึก

    พุทธมหายาน

    หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๑๐๐ ปี พระพุทธศาสนาก็เริ่มมีเค้าแตกแยกในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จนมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็แตกแยกกันออกเป็นนิกายใหญ่ ๆ ๒ นิกาย คือมหายาน กับหินยาน

    มหายาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายเหนือของอินเดีย บาทีเรียก "อุตรนิกาย" (นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง "อาจารยวาท" บ้าง ซึ่งมีจุดมุ่งสอนให้ระงับดับกิเลส ทั้งยังได้แก้ไขคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้ผันแปรไปตามลำดับ พวกนี้เรียกลัทธิของตนว่า “มหายาน" ซึ่งแปลว่า "ยานใหญ่"
     
  16. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    คำว่า มหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่ ยานที่สูงสุดเท่านั้น ยังเป็นยานที่รับคนได้ทุกประเภท ทุกอาชีพ ทุกวัย และรวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนามด้วย และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ มหายาน จึงหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ความทุกข์จาการเวียนว่ายตายเกิดได้คราวละมากๆ
    พุทธวัชรยาน-พุทธตันตระ

    พุทธตันตระ นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเกิดขึ้นจากการนําหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลักปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะ หรือ ศูนยวาท

    คำว่า “ตันตระ” (Tantra) หมายถึง ความรู้และการริเริ่ม ซึ่งจะให้ความสำคัญต่อการแสดงออกทางร่างกายในท่าทางต่างๆ ที่เรียกว่า “ปาง” เป็นสำคัญ ความเชื่อในตันตระนั้นเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคพระเวทของอินเดียโบราณ นอกจากการที่พราหมณ์จะรจนาคัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท แล้วยังเพิ่มส่วนที่เรียกอาถรรพเวทขึ้นมาอีก ซึ่ง “อาถรรพเวท” นี่เองเป็นจุดกำเนิดของแนวคิดแบบตันตระ
     

แชร์หน้านี้

Loading...