พุทธโอวาท พระธรรมเทศนา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 28 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)
    <TABLE style="WIDTH: 273px; HEIGHT: 72px"><TBODY><TR><TD>อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก</TD><TD>ปาณภูเต สุสญฺญโม</TD></TR><TR><TD>สุขา วิราคตา โลเก</TD><TD>กามานํ สมติกฺกโม</TD></TR><TR><TD>อสฺมิมานสฺส วินโย</TD><TD>เอตํ เว ปรมํ สุขนฺติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถาแก้ด้วย พุทธโอวาท

    พระองค์ทรงประทาน เทศนาแก่บริษัททั้ง 4 มีภิกษุบริษัทเป็นต้น พระทศพลทรงวางเนติแบบแผนตำรับตำราไว้ ให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่ประชุมชนในยุคโน้น ตลอดมาจนกระทั่งถึงประชุมชนในยุคนี้

    เรา ท่านทั้งหลายผู้เกิดมาประสบพบพุทธศาสนา ก็ควรจะได้ฟังพระธรรมเทศนานั้นในบัดนี้ ตามวาระพระบาลีว่า

    อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก
    ปาณภูเต สุสญฺญโม ความสำรวมระวังในสัตว์มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตเป็นเหตุให้รักษา
    สุขา วิราคตา โลเก ความปราศจากความกำหนัดยินดีเป็นสุขในโลก
    กามานํ สมติกฺกโม ก้าวล่วงเสียซึ่งกาม
    อสฺสมิมานสฺส วินโย นำเสียซึ่งอัสมิมานะ
    เอตํ เว ปรมํ สุขํ นี้ละ เป็นสุขอย่างยิ่ง ตรงนี้แง่นี้ เป็นธรรมสำคัญ 5 ข้อด้วยกัน


    ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลกนั้นเป็นไฉน มีอรรถาธิบายเป็นลำดับไป

    ตนของ ตนไม่เบียดเบียนตนเองด้วยกาย หรือด้วยวาจา หรือด้วยใจของตน ตนของตนเองไม่เบียด เบียนบุคคลผู้อื่นด้วยกาย หรือด้วยวาจา ด้วยใจของตน ตนของตนเองไม่เบียดเบียนทั้ง ตนและทั้งบุคคลอื่น ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจของตนเอง นี้เพียงเท่านี้ ตนก็เป็นสุขแล้ว คนอื่นที่ไม่ถูกเบียดเบียนก็เป็นสุขด้วย ทั้งตนและบุคคลอื่นก็เป็นสุขทั้งสองฝ่าย ไม่ยักย้าย ไปไหน ความเบียดเบียนนี่เป็นทุกข์ในโลก ไม่ใช่เป็นสุข ความเบียดเบียนเป็นทุกข์ในโลก บัดนี้โลกกำลังเบียดเบียนซึ่งกันและกันอยู่ เดิมก็ออกจากตนนั่นแหละ ไม่ใช่ออกจากไหน ความเบียดเบียนอันนี้

    ถ้าว่าตนไม่คิดเบียดเบียนแล้ว ความเดือดร้อนก็จะมีเป็นไฉน ความ เบียดเบียนอันนี้แสดงโดยข้อเค้าสำนวนความก็เพียงตนของตนกับบุคคลอื่น 2 คนเท่านั้น

    ในโลก โลก คือหมู่สัตว์ โอกาสโลก ขันธโลก
    โอกาสโลก ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ นี้เรียกว่า โอกาสโลก
    ขันธโลก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สัตว์โลกที่ไปเกิดมาเกิด อาศัยขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ทั้ง 5 ก็อาศัยโอกาสโลก ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ อาศัยอย่างนี้

    นี้เมื่อมีขึ้นเป็นขึ้นในโลกแล้ว เกิดเบียดเบียนซึ่ง กันและกัน หมู่มนุษย์ใดในสากลโลก ในประเทศใดหมดทั้งประเทศ ประเทศใดไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ประเทศนั้นได้รับความสุขแน่แท้

    ประเทศใดเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เข้า ใน 2 ประเทศนั้นที่เบียดเบียนซึ่งกันและกันเป็นทุกข์แน่ ไม่ใช่เป็นทุกข์เพียงเท่านั้น หลั่งความทุกข์มาให้ประเทศใกล้เคียงไม่ใช่น้อย ยังเราท่านทั้งหลายได้ประสบความ เบียดเบียนมาแล้วอย่างใหญ่ เรียกว่าสงครามล่วงแล้ว 2 ครั้ง ได้ประสบอย่างใหญ่ทีเดียว

    พอปลายสงคราม ข้าวของแพงเกินส่วน ของหายากเกินส่วน เครื่องอุปโภคบริโภคไม่พอ ใช้จ่ายกัน ต่างประเทศถึงกับเดือดร้อน ถึงความตายนี้เห็นได้แล้ว ความเบียดเบียนซึ่งกัน และกันเป็นทุกข์ในโลกอย่างนี้

    ตั้งต้นแต่สกุลๆ เดียว บิดามารดาเดียวกัน อยู่ในหมู่บ้าน เดียวกัน ถ้าจะให้ได้รับความสุข บิดามารดาต้องไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันก่อน ลูกหญิง ลูกชายของบิดามารดาเดียวกันต้องไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

    เมื่อมารดาบิดาไม่เบียด เบียนซึ่งกันและกันแล้ว มารดาบิดาก็ได้รับความสุขทั้งสองฝ่าย ลูกหญิงลูกชายไม่ เบียดเบียนซึ่งกันและกันแล้ว ลูกหญิงลูกชายก็ได้รับความสุข ตลอดจนกระทั่งมารดาก็ได้ รับความสุข ลูกหญิงลูกชายเบียดเบียนกันขึ้นเวลาใด มารดาบิดาก็ได้รับความทุกข์เวลา นั้น

    ถ้าว่าลูกหญิงลูกชายไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เมตตาปรานีในกันและกัน รักใคร่ใน กันและกัน สนิทสนมในกันและกัน กลมเกลียวในกันและกัน ได้ชื่อว่าไม่เบียดเบียนในกัน และกัน ถ้าว่าไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันดังนี้แล้ว มารดาบิดาสกุลนั้น ลูกหญิงลูกชาย สกุลนั้นได้รับความสุข มีแต่ความเจริญเป็นเบื้องหน้า ความเสื่อมทรามไม่มีที่จะได้รับ ความเสื่อมทรามแตกสลายเพราะบิดามารดาเบียดเบียนกันขึ้นก่อน เป็นอุทาหรณ์ให้ลูก เอาอย่างเบียดเบียนซึ่งกันและกันบ้าง เบียดเบียนกันแรงหนักเข้า ถึงตบตีให้ประหัต ประหารซึ่งกันและกัน หนักมือไปกว่านั้นแตกแยกจากกัน อยู่รวมกันไม่ได้ อยู่รวมกัน ก็ตีกันเท่านั้น พูดไม่ลงรอยกันเพราะเบียดเบียนกันเสียแล้ว ก็ตั้งเป็นหมู่พวกไม่ได้ มารดา บิดาคู่นั้นเรียกว่าคุมความปกครองไม่อยู่ ไม่สามารถปกครองลูกหญิงลูกชายไว้ได้ เป็นคนมี ปัญญาแต่เพียงให้ลูกหญิงลูกชายเกิดเท่านั้น เลี้ยงให้ใหญ่โตเท่านั้น ที่จะปกครองลูกหญิง ลูกชายไม่ได้ สัมหาอะไรที่จะไปปกครองผู้อื่น ปกครองลูกหญิงลูกชายของตนก็ไม่ได้

    นี้ก็เพราะอะไร
    ก็เพราะความเบียดเบียน ถ้าความเบียดเบียนเลิกเสียแล้ว ไม่เบียด เบียนกันและกันแล้ว ก็ปกครองกันได้ ความเบียดเบียนนี้แหละสำคัญนัก ถ้าเลิกเบียดเบียน กันเสียได้ตระกูลหนึ่ง มารดาบิดาลูกหญิงลูกชายก็ไม่ต้องแตกแยกจากกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นหมู่เป็นพวกกัน อยู่ได้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในกันและกันได้ เพราะไม่มีความเบียดเบียน ในกันและกัน ขยายส่วนออกไปกว่านั้น กว้างออกไป ตระกูลหนึ่งๆ เต็มประเทศออกไป ขยายส่วนออกไปกว่านั้น ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ประเทศหนึ่งๆ ไม่เบียดเบียนกันทั้งหมด ปรากฏว่าประเทศนั้นจะได้รับความเจริญรุ่งเรือง เกิดจากความไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขด้วยกันทั้งนั้น ไม่ต้องมีตำรวจเฝ้า ไม่ต้องมีใครรักษา ไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีตุลาการ การที่จะไม่เบียดเบียนกันได้เช่นนี้ จะเป็นได้เช่นไร
    ต้องอาศัยพระพุทธศาสนาแท้ๆ จึงจะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก
    เป็นที่ร่มเย็นเป็นสุขของโลก
    เป็นประมุขของโลก
    เป็น ที่พึ่งของโลก
    เป็นผู้รู้จักหนทางเป็นที่ตั้งของความเสื่อม
    เป็นที่ตั้งของความเจริญ รู้ทางความ เสื่อม รู้ทางความเจริญ รู้ทางร่มเย็นเป็นสุข รู้ทางเดือดร้อนเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้ารู้ทุกอย่าง ได้วางเนติแบบแผนตำรับตำรา


    โลกก็เกิดขึ้นใหม่ๆ ยังมีมนุษย์น้อยอยู่ ลงมากินง้วนดินแล้ว ก็เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ก็จ๊อหลออยู่ในแผ่นดินนี้ ต่อไปๆๆๆ ก็ได้กายนั้น ก็กลายมาเป็น มนุษย์เป็นลำดับไป

    กลายไปอยู่สมัครสังวาสในกันและกัน ได้เกิดมนุษย์ขึ้น

    เมื่อเกิดมนุษย์

    ในตอนต้น ก็มีน้อยคน ไม่สู้จะเบียดเบียนกันนัก แล้วมนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ มนุษย์เริ่ม เบียดเบียนกัน ใกล้เคียงกันก็ทะเลาะบาดหมางให้ประหัตประหารกัน ด้วยกายบ้าง ด้วย วาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ก็เกิดเบียดเบียนกันขึ้น ทุบตีฆ่าฟันกัน ครานั้นโลกได้รับความเดือดร้อน เพราะเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ด้วยความให้ประหัตประหารซึ่งกันและกัน ทุบตีฆ่าฟันซึ่งกัน และกัน

    ผู้ที่มีปัญญาก็ต้องแก้ไขให้มนุษย์เลิกเบียดเบียนกันเสีย
    เมื่อหยุดเบียดเบียนกัน ก็เป็นสุขทีเดียว
    ต่อเมื่อเบียดเบียนกันอีก ความคับคั่งเข้ามาก มนุษย์ด้วยกันแย่งชิงอาหาร ในกันและกัน ฉกลักหลอกลวงในกันและกัน เป็นทุกข์อีก

    มนุษย์เหล่านั้นเกือบจะโลกแตก ทีเดียว ผู้มีปัญญาก็ต้องแก้ไขให้เลิกฉกลักหลอกลวงล่อหลอนในกันและกันเสีย ฉะนั้นโลก ก็เป็นสุข สงบไปอีก ต่อมาอีก มากมนุษย์เข้า มีความกำหนัดยินดีกันเกินไป ประทุษร้าย สับสนกัน ไม่ว่าลูกใครเมียใคร ตามชอบใจของตัวเองอีกแล้ว โลกแตกอีกแล้ว มนุษย์ผู้มี ปัญญาก็แก้ไขให้มนุษย์พวกนั้นเลิกประทุษร้ายในกันและกัน เลิกผิดในกามเสีย ให้ยินดี เฉพาะคู่ครองของตนๆ มนุษย์พวกนั้นก็สงบเงียบได้รับความสุขไปอีก

    ต่อมาอีก มนุษย์มากขึ้นเกิดขี้ปดขี้โป้กันขึ้นแล้ว ไม่จริงแล้วถ้อยคำสำเนียง หลอก ลวงล่อหลอกฉ้อโกงกันต่างๆ แล้ว เกิดถ้อยคำตลบตะแลงไปแล้ว เดือดร้อนแทบจะถล่ม ทลายอีก มนุษย์ผู้มีปัญญาแก้ไขอีกสงบเสีย มนุษย์พวกนั้นก็ได้รับความสุขใจ เพราะสงบ ในการเบียดเบียน ในการหลอกลวงล่อหลอน พูดไม่จริงกลับพูดจริงกันเสียหมด มนุษย์ก็ ได้รับความสุข ครั้นต่อมา มนุษย์สนุกกันใหญ่ บริโภคสุรากันขึ้นหมด ไอ้ที่ข้อกฎหมายวาง กันไว้เท่าไรๆ ถล่มทลายหมด โลกจะแตกจะทำลายคราวนี้ ทำไงกันล่ะ เกิดเหตุยกใหญ่ เกิดอลหม่านทีเดียว ผู้มีปัญญาก็ต้องแก้ไขให้สงบ ให้เลิกสุรากันเสีย งดสุราเสียให้ขาด ไม่บริโภคสุรากัน สิ่งที่ทำให้เมาเลิกกัน มนุษย์ก็ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขไป นี่ต้นเดิมของ มนุษย์นะ เดือดร้อนแล้วก็สงบกันได้ด้วยวิธีนี้


    แต่ในบัดนี้เล่า หมดทั้งสากลโลก หมดประเทศไทย หมดประเทศอเมริกา หมด ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย ฯลฯ ถ้ามีศีล 5 ด้วยพร้อมๆ กันเป็นไง

    มีศีล 5 พร้อมกันเสีย บริสุทธิ์พร้อมกันไม่มีรองเสียด้วยกันทั้งนั้น โลกจะได้รับความร่มเย็น เป็นสุขอย่างไรบ้าง โลกก็ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทันใดทีเดียว ประเทศใครๆ อยู่ อู่ใครๆ นอนไปสบายอกสบายใจ เพราะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันหมดทั้งโลก นี่ท่านวางตำรับตำรา หมู่ปลาอยู่ เป็นหมู่เป็นพวกใหญ่ พวกใหญ่เบียดเบียนไอ้เล็ก กินไอ้เล็ก ไอ้ใหญ่ก็ตอด ไอ้ ใหญ่ขวาง ไอ้ใหญ่อยู่อย่างนี้แหละ เกะกะกันอยู่อย่างนี้แหละ หมู่ปลาก็ไม่ได้รับความสุข หมู่นกหมู่เดียว พวกเดียวกัน จิกกัน ข่มเหงคะเนงร้ายกัน หมู่นกก็ไม่ได้รับความสุข เพราะ เบียดเบียนซึ่งกันและกัน หมู่มนุษย์ล่ะ เบียดเบียนซึ่งกันและกันแล้ว ก็ไม่ได้รับความสุขแบบ เดียวกัน ไม่ว่าสัตว์ชนิดใด 4 เท้า 2 เท้า เท้าเหี้ยน เท้ามาก ลงเบียดเบียนกัน ไม่ได้รับ ความสุข เลิกเบียดเบียนกันเสียเวลาใด เวลานั้นแหละ อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ความไม่ เบียดเบียนเป็นสุขในโลกแท้ๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    กามานํ สมติกฺกโม
    ก้าวล่วงเสียซึ่งกามทั้งหลาย กามทั้งหลายนั้นคืออะไรเล่า รูปที่ชอบใจนะซิ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ
    เรียกว่า ปปัญจธรรม
    ธรรมที่ทำสัตว์ให้เนิ่นช้า
    ไม่เป็นอันที่จะให้มีเวลาให้ทาน จำศีล ภาวนา ความ ยินดีในรูป ถอนไม่ออก ยินดีในเสียง ถอนไม่ออก
    ยินดีในกลิ่น ถอนไม่ออก
    ยินดีในรส ถอนไม่ออก
    ยินดีในสัมผัส ถอนไม่ออก จะหยุดจะยั้งเสียก็ไม่ได้
    เสียดายห่วงใย อะไรละ ไม่ได้ วางไม่ได้
    ทำอย่างไรเล่าคราวนี้
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ก้าวล่วงไม่พ้นจมอยู่ในความสุข จมอยู่ในปลักของความสุขนั่น ถอนไม่ออก จมอยู่ในปลักของความทุกข์นั่น ถอนไม่ออก

    เพราะธรรมนั่นทำสัตว์ให้เนิ่นช้า ให้เดือดร้อนทุรนทุรายกระสับกระส่ายต่างๆ นานา เป็น อยู่อย่างนี้ ทั่วสากลโลก เพราะก้าวไม่ข้ามหามไม่พ้น ยินดีในรูปติดอยู่ในรูป ยินดีใน เสียงติดอยู่ในเสียง ยินดีในกลิ่นติดอยู่ในกลิ่น ยินดีในรูปติดอยู่ในรส ยินดีในสัมผัสติด อยู่ในสัมผัส ธรรม 5 อย่างนี้ทำให้สัตว์เนิ่นช้า เรียกว่า ปปัญจธรรม ปปัญจธรรมทั้ง 5 นี้
    เป็นตัวกามแท้ๆ
    เรียกว่าเป็นตัววัตถุกาม และเป็นที่ตั้งของกิเลสกามด้วย รูปนั่นแหละเป็น ตัววัตถุกาม ที่สาวๆ งามๆ ก็เป็นวัตถุกาม ความยินดีมันก็ไปติดมากขึ้น เสียงที่เพราะๆ งามๆ นั่นแหละเป็นตัววัตถุกามแท้ๆ เป็นที่ตั้งของความยินดีหนักขึ้น กลิ่นที่หอมๆ ที่ จับใจนั่นแหละเป็นตัววัตถุกามแท้ๆ เป็นที่ตั้งของความยินดีมากขึ้น รสเป็นที่ชอบอก ชอบใจ คือรสชาติที่เลิศที่ประเสริฐ นั่นแหละเป็นวัตถุกามแท้ๆ เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี หนักขึ้น สัมผัสทางกายเป็นที่ชอบใจของกาย นั่นแหละเป็นตัววัตถุกามแท้ๆ เป็นที่ตั้งแห่ง ความยินดีหนักขึ้น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 นี้เป็นตัววัตถุกาม ความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส และในสัมผัสนั้น เป็นตัวกิเลสกาม

    ถ้าก้าวไม่พ้น ติดอยู่ในตัว วัตถุกามเหล่านี้แล้วต้องเป็นทุกข์เนืองนิตย์อัตรา หัวเราะบ้าง ร้องไห้บ้าง ต่างๆ นานา ไม่เสื่อมสร่าง ต่อเมื่อใดก้าวล่วงปัญจพิธกามคุณทั้ง 5 ทั้งตัววัตถุกาม ทั้งตัวกิเลสกามนี้ ปล่อยวางเสียได้ ก้าวพ้นไปเสียได้ ใครก้าวพ้นไปได้บ้างเล่า

    เขาว่าท่านพรหมนะ ท่านพรหมก้าวพ้นไป ท่านรูปพรหมนะ เกิดตั้งแต่พรหมปาริสัชชา พรหมปโรหิตา มหาพรหมมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา อสัญญสัตตา เวหัปผลา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และ อกนิฏฐา เขาว่าพรหม 16 ชั้นนี้ ก้าวล่วงพ้นกามไปเสียแล้ว มีรูปฌานเป็นที่ติดอยู่รูปฌาน นั่นนะติดอยู่กับใจ อ้ายท่านที่ติดอยู่ในใจ กามก็ติดอยู่กับใจเหมือนกัน ในมนุษย์โลกนี่แหละ รูป เสียง กลิ่น รส ในมนุษย์โลกนี่แหละ ติดอยู่กับใจ แกะไม่ออก ไม่หลุดออกจากใจ
    ไปในสวรรค์ 6 ชั้นฟ้า จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรินิมมิตวสวัตตี ติดหนักขึ้นๆ ละเอียดหนักขึ้น เอร็ดอร่อยหนักขึ้น ถอนไม่ออก ท่านพรหมเท่านั้น เป็นคนกล้าหาญ อุตส่าห์พยายามหลีก หลีกจากหมู่คณะออกไปเล่นซ่อนกระทำความเพียร ทำปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ให้บังเกิดขึ้น แต่พอทำปฐมฌานเกิดขึ้นเท่านั้น โอ้! อ้ายกามนี่เป็นโทษจริง ฌานนี่วิเศษจริง เป็นคุณจริง พ้นจริง ไปติดอยู่เสียกับฌานสบาย ติดอยู่กับกามเหมือนกับนั่งอยู่ในกองไฟ หรือนั่งอยู่ในกลางแดดจัด ทนไม่ค่อยไหว ไม่สบาย พอไปอยู่กับฌานเสียเหมือนเข้าร่ม สบายจริง เหมือนเข้าร่มที่เย็นมีน้ำล้อมอยู่ข้างๆ ทั้งเย็น ทั้งชื่นมื่น ทั้งสบาย
    ใจไปจรดอยู่กับรูปฌาน

    รูปฌานน่ะ ลักษณะเหมือนยังกับกงเกวียน
    เป็นเหมือน กระจก แผ่นกระจก หนาคืบหนึ่งวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา กลมๆ ไม่ใช่กลมรอบตัว กลม เหมือนกับกงเกวียน วงล้อต่างๆ กลมๆ เป็นแผ่นเดียวเหมือนกระจก กลมรอบตัว แล้วก็ข้างๆ ก็เรียบร้อยเป็นอันดี ข้างหน้า ข้างหลัง เรียบร้อยดี ส่วนกายรูปพรหมก็เข้านั่งอยู่บนกลาง ปฐมฌานนั่น พอขึ้นนั่งบนนั้นเท่านั้น เย็นอกเย็นใจสบายใจ ก็ติดอยู่กลางดวงปฐมฌานนั้น พอใจจรดอยู่กับกลางดวงปฐมฌานได้ มันชื่นมื่นสบาย ความสบายของปฐมฌานนะ วิเศษ วิโสนัก


    เขาเล่าเรื่องว่า มหากษัตริย์องค์หนึ่ง ได้บรรลุปฐมฌานแล้ว สละราชสมบัติให้ ราชโอรสปกครองไป ตัวไปเป็นฤาษีชีไพรเสีย ภายนอกนั่น ฝ่ายผู้ได้รับรัชทายาทนั้นไม่อาจ จะปกครองได้ ให้ไปตามบิดามา มหาดเล็กเด็กชาก็ไปพร้อมกัน ผู้คนสกลโยธามากมาย หลามไปทีเดียว ไปตามพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเดิม ผู้สละราชสมบัติไปเสีย นั่นนะ เป็นผู้ปกครองมีความสงบเรียบร้อยดี มหากษัตริย์ไปถึง กำลังเข้าฌานสมาบัติอยู่ เข้าไปคอยอยู่จนกระทั่งมีโอกาสออกมา ก็เข้าไปทูลว่า พระองค์ เชิญพระองค์เสด็จกลับ เสวยราชสมบัติ ไม่มีใครสามารถจะปกครองได้ มหากษัตริย์ก็ลืมพระเนตรขึ้น ก็ไถ่ถาม เรื่องราว รู้เรื่อง เอ็งกลับไปเถอะ ข้าจะเข้าฌานของข้า ข้าไม่ต้องการแล้วสมบัติ ข้าอยู่ใน ฌานของข้าสบายกว่า อยู่เป็นกษัตริย์ ข้าไม่สบายเลย ข้าเดือดร้อนนัก นั่นแน่ถึงขนาดนั้น ถึงขนาดนั้น อ้อ! การเข้าฌานนี่มันเลิศประเสริฐอย่างนี้หรือ ร่มเย็นเป็นสุขอย่างนี้ ที่จะละ กามได้ ต้องเข้าฌานเข้าปฐมฌานเสีย กามทำอะไรเราไม่ได้


    บัดนี้ ที่วัดปากน้ำนี่นะ มี ธรรมกาย สูงกว่าฌานนั่นอีก โอยนั่นสู้ไม่ได้ ไกลกว่าฌาน นั่นอีก เขามีธรรมกายกัน ถ้ามีความกำหนัดยินดีเวลาใด แพร็บเข้าธรรมกายไป ความกำหนัด ยินดีทำอะไรไม่ได้เลย ล้อมันเล่นเสียก็ได้ มันทำอะไรไม่ได้ ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้ ที่เราเป็นผู้ครองเรือนน่ะ ความกำหนัดยินดีมันบังคับเหมือนกับเด็กๆ ตามชอบใจมัน จะทำ อะไรก็ทำตามชอบใจของมัน ความกำหนัดยินดีมันบังคับ มันบังคับเช่นนั้นแล้ว เราเข้า ธรรมกายเสีย ไม่ออกจากธรรมกาย ความกำหนัดยินดีที่มันบังคับนั่นหายแวบไปแล้ว เหมือน ไฟจุ่มน้ำ


    จงพยายามให้มี ธรรมกาย ขึ้นเถิด เลิศกว่าฌาน ฌานนั่นก็พอใช้ได้ แต่ว่าจะเข้า สักเท่าไรก็ตามเถอะ นั่นนะ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เลิศประเสริฐหนักขึ้นไป ก็ยัง อยู่ใน รูปภพ ถ้ายังติดกามอยู่ ยังแน่นอยู่ในกามนั่น เขาเรียกว่า กามภพ ติดอยู่ในกาม ก้าวล่วงกามยังไม่ได้ พ้นจากกามหยาบไปในมนุษย์หนึ่ง สวรรค์ 6 ชั้นไปได้ ไปติดอยู่ใน รูปภพอีก แม้จะเข้าถึงอรูปฌานละเอียด ออกจากจตุตถฌานแล้วเข้าถึงอรูปฌานละเอียด เข้า อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็ยังอยู่ในภพ ใน อรูปภพ อยู่ กามภพ รูปภพ อรูปภพเหล่านี้ ก็ยังไม่ พ้นความกำหนัดยินดีในรูปฌานหรืออรูปฌานอยู่


    เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้วละก็ ขึ้นไปเป็นชั้นๆ จึงจะพ้นจากกามได้ เข้าถึงธรรมกาย แล้ว เข้าไปเป็นชั้นๆ เป็นธรรมกายโคตรภู ธรรมกายพระโสดา ธรรมกายพระสกทาคา ธรรมกายพระอนาคา ธรรมกายพระอรหัต เป็นจากกายอรูปพรหมอีก 10 ชั้นถึงพระอรหัต ถึงพระอรหัตชั้นที่เก้าที่สิบละก้อ ชั้นที่สิบเจ็ด ชั้นที่สิบแปดของกายทุกกายไป เข้าถึง กายพระอรหัต
    พอถึงกายพระอรหัต ก็ วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ เลิศประเสริฐกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรมทั้งหมด ถึง วิราคธรรม ทีเดียว


    นี่พอถึงธรรมกายได้แล้วละก็ เลิศประเสริฐนัก นี่สูงนะ สูงขึ้นไป สูงไปทีเดียว นี่ เรียกว่า กามานํ สมติกฺกโม
    ก้าวล่วงพ้นเสียซึ่งกามไปได้ เป็นสุขจริงๆ แท้ๆ ทีเดียว ที่ก้าว ล่วงกามไปแล้ว
    สุขา วิราคตา โลเก พวกกายรูปพรหม-อรูปพรหมเหล่านั้น ยังกำหนัด ยินดีในรูปฌาน-อรูปฌานอยู่ ถ้าว่าปราศจากความกำหนัดยินดีเสียได้ ความกำหนัดยินดี นี่มันร้ายนักทีเดียว มันทำเสียมารยาทหมดทีเดียว ชายก็เสียมารยาท หญิงก็เสียมารยาท ถึงกับฆ่ากันฟันกันทีเดียว ความกำหนัดยินดีนะ มันจัดขึ้นมาเต็มที่ละก้อ ไม่ได้ละ บึ่ง ทีเดียว แมวก็ร้องหง่าวทีเดียวนะ ทนไม่ไหว ความกำหนัดยินดีเข้ามาบังคับถึงขนาดนั้น บังคับสัตว์เดรัจฉาน ทั้งมนุษย์ก็บังคับ มนุษย์แล้วก็แซ่วเทียว กลางค่ำกลางคืนเดินแซ่กๆๆ อยู่ไม่ค่อยไหว ความกำหนัดยินดีบังคับมัน หมดทั้งสากลโลกเป็นอย่างนี้ ห้ามมันอย่างไร ก็ไม่ไหว เพราะความกำหนัดยินดีเข้ามาบังคับมัน

    สุขา วิราคตา โลเก ปราศจากความ กำหนัดยินดีเสียได้ เป็นสุขในโลก ถ้าว่าปราศจากชั่วคราวเหมือนกับที่แก้กันมาแล้วนี่ เหมือนอย่างคุ้มครองกันมาแล้วนี้ อย่างชนิดนั้นไม่เรียกว่า ปราศจากความกำหนัดยินดี แต่อยู่ในความกำหนัดยินดี จมอยู่ในความกำหนัดยินดี ปราศจากความกำหนัดยินดี เป็น สุขในโลก เหมือนภิกษุสามเณร หรืออุบาสกอุบาสิกา ปราศจากความกำหนัดยินดีเสีย ชั่วคราวเสียเช่นนี้ ก็เป็นสุขพอใช้เหมือนกัน เราได้พบแล้วอย่างนี้แหละ บางคนก็ว่า สบายจริงอยู่กับวัดวา สบายจริง ไกลจากความกำหนัดยินดี ภิกษุสามเณรก็สบายจริง มันไกลจากความกำหนัดยินดี ถ้าว่ามันปราศจากจริงๆ ปราศจากความกำหนัดยินดีจริงๆ ก็เป็นสุขในโลกทีเดียว เหมือนกับท่านอรูปพรหม อรูปพรหมท่านเหล่านั้นยังกำหนัดยินดี ปราศจากความกำหนัดยินดีในกามภพจริงๆ แต่ว่ายังกำหนัดยินดีในรูปภพ-อรูปภพอยู่ ถอนความกำหนัดยินดียังไม่ออก ยังไม่เป็นสุขแท้ จะให้ถึงความสุขแท้ เมื่อปราศจาก ความกำหนัดยินดี ก็ต้องเข้าถึงธรรมกาย เข้าถึงธรรมกายในโคตรภู ปราศจากความ กำหนัดความยินดีจริง เมื่อออกจากธรรมกายก็กำหนัดยินดีอีก เข้าถึงกายพระโสดา ยังมี ความกำหนัดยินดีอยู่ เข้าถึงกายพระสกทาคาก็ยังมีความกำหนัดยินดีอยู่ เข้าถึงกาย พระอนาคายังมีความกำหนัดยินดี รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ยังกำหนัด ยินดีในรูปฌาน-อรูปฌานอยู่ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ยังมี ยังยกเนื้อยกตัวอยู่ ยังฟุ้งซ่าน อยู่ ยังรู้ไม่จริง ยังสงสัย เมื่อถึงพระอรหัตเสียตราบใดละก้อ นั่นแหละ ปราศจากความ กำหนัดยินดีแท้ ไม่มีความกำหนัดยินดีต่อไป ถ้าใจหยุดเหมือนเสาเขื่อนปักตรงหน้าวัด ทีเดียว ลมพัดทางทิศทั้ง 4 ทั้งแปดไม่เขยื้อน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เข้ามากระทบ สักเท่าไรก็ไม่เขยื้อน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ โลกธรรม ทั้ง 8 มากระทบสักเท่าไรก็ไม่เขยื้อน ต่อไปนั้นปราศจากความกำหนัดยินดี เป็นสุขแท้ๆ เป็นสุขแท้ๆ ทีเดียว นี้เรียกว่า สุขา วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม ก้าวพ้นกามไปเสีย กิเลสกาม วัตถุกามหมด ไม่หลงเหลือ ก้าวพ้นไปเสีย


    อ้าว! อธิบายข้ามมาเสียบทหนึ่งแล้ว ปาณภูเต สุสญฺญโม นั้นไม่ใช่เรื่องอะไร เรื่อง สำรวมในศีล ปาณภูเต สุสญฺญโม สำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ที่มีชีวิต ต้องระวังสัตว์ที่มี ชีวิต ไม่เบียดเบียนสัตว์ที่มีชีวิต นี้ที่เราประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นนิตย์ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ส่วน กามานํ สมติกฺกโม ได้อธิบายไปแล้ว เพราะข้ามมาเสียบทหนึ่ง อธิบายไปแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    อสฺมิมานสฺส วินโย นำเสียซึ่งอัสมิมานะ อัสมิมานะนั่นอะไร มานะนั่นอะไร
    เป็น มคธภาษา
    แล้วเราก็ไม่รู้จัก
    อสฺมิมานสฺส วินโย ทิฏฺฐิมาโน
    ทิฏฐิแปลว่าความเห็น ยกความ เห็นของตัว ไม่มีใครสู้ สูงกว่าคนอื่น จนกระทั่งเลยเถิดข้ามธรรมไปเสียหมด เป็นมิจฉาทิฏฐิ กัน นั่นเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ

    มิจฉาทิฏฐิก็จำแนกมากนัก จำแนกมากทีเดียว ทิฏฐิมากทีเดียว มากนัก ยกเนื้อยกตัว เชิดเกียรติของตัวเรื่อยไป พวกนี้พวกมานะ พวกทิฏฐิมานะล่ะ ไอ้นี่ อัสมิมานะ นี้ไอ้นี่ทิฏฐิมานะนี่

    อัสมิ แปลว่า เรามีอยู่ เราเป็นคนคนหนึ่งเหมือนกัน เรามีเนื้อ มีตัว เรามีความสามารถ เรามีอิทธิพล เรามีกำลังหรือว่าเรามีอะไรๆ เหล่านี้แหละเรียกว่า อัสมิละ เราจ๋องอยู่ไม่กลัวใครนี่นะ เพราะเราไม่มีอะไรพอ ถ้าเราอัสมิพอเข้า เราจะเหาะ เหินเดินอากาศได้ ไปทิ้งเข้าได้จะเป็นยังไง ถ้ามีขึ้นเช่นนั้น อัสมิเกิดขึ้นทีเดียว ไม่กลัวใคร ทั้งโลกเทียว อัสมิเกิดขึ้นทีเดียว จะท่วมทับเขาให้หมดทีเดียว นั่นตัวอัสมิมานะ ไม่มีใครสู้ ยกเนื้อยกตัวทีเดียว เชิดตัวทีเดียว

    อัสมิมานะนี่แหละทำโลกให้เดือดร้อน ไม่ใช่ทำพอดีพอร้าย โลกที่เดือดร้อนอยู่ก็เพราะอัสมิมานะเหล่านี้ ไม่ยอมอยู่ใต้กัน จะชำแรกกันอยู่ท่าเดียวละ หญิงก็ดี อยู่หมู่เดียวกันก็ชำแรกเหนือกันอยู่ร่ำไปนั่นแหละ ภิกษุสามเณรก็ดี อยู่หมู่เดียวกัน จะชำแรกกันอยู่ร่ำไปนั่นแหละ อุบาสกก็ดี อยู่หมู่เดียวกัน ชำแรกเหนือกันอยู่ร่ำไป ไอ้ที่จะ ชำแรกกันขึ้นไปเช่นนี้ ก็เพราะตัวอัสมิมานะ เพราะถือว่าเราก็คนหนึ่ง ก็เจ้าตัวทีเดียว ทำความ พอใจของตน นี้เป็นของร้าย ไม่ใช่เป็นของดี ปล่อยไอ้พวกนี้ให้สงบเสีย


    พระพุทธเจ้าท่านรู้แล้วในเรื่องเหล่านี้ ท่านพบกันมาแล้ว อยู่ในบังคับมันมาแล้ว ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านจึงได้รู้ได้เห็นว่าตัวอัสมิมานะนี่เป็นตัวสำคัญนัก เราถึงที่สุด ของโลกุตตรธรรมได้แล้ว จึงได้เห็นว่าอัสมิมานะนี่เป็นตัวสำคัญ เราเวียนว่ายตายเกิดช้าอยู่ สิ้นกาลนาน เพราะอัสมิมานะนี้ เมื่อถึงตัดกิเลสสมุจเฉทปหานได้แล้ว หมดอัสมิมานะ ไม่มี ในพระองค์เลย พระองค์ก็สบาย สบายเกินสบาย สุขเกินสุข ถอนอัสมิมานะเสียได้ละก้อ

    ท่านจึงได้ยืนยันว่า เอตํ เว ปรมํ สุขํ นี่แหละเว้ยเป็นสุขอย่างยิ่ง ปรมํ แปลว่า อย่างยิ่ง นี่แหละเว้ย เป็นสุขอย่างยิ่ง นี่แหละเป็นสุขอย่างยิ่ง ให้ถอนอัสมิมานะ ถ้าถอนเสียได้ละก้อ หญิงก็เป็นเจ้าหญิง ชายก็เป็นเจ้าชาย ภิกษุก็เป็นเจ้าภิกษุ เณรก็เป็นเจ้าเณร ถอนอัสมิมานะ เสียได้แล้ว แต่ว่าถอนยากจริงนะ ไม่ใช่ถอนง่าย อัสมิมานะเป็นตัวถอนอยากนัก ไม่เป็นของ ถอนง่าย



    ในธรรมทั้ง 5 ข้อนี้ ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก ความสำรวมในสัตว์เป็นอยู่ ทั้งหลาย ก็เป็นสุขในโลกเหมือนกัน ปราศจากความกำหนัดยินดีก็เป็นสุขในโลก ก้าวล่วงกาม เสียได้ ก็เป็นสุขไม่ใช่น้อย เป็นสุขในโลกอีกเหมือนกัน เป็นอรหัตอรหันต์ เป็นสุขในโลก ถอนอัสมิมานะ นำอัสมิมานะออกเสียได้ นี่แหละเว้ย เป็นสุขอย่างยิ่ง ชั้นท้ายนี่เป็นสุขอย่างยิ่ง สุขนี้เป็นความจริง ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นธรรมที่ย่อของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตรัสเทศนา ในที่ประชุมภิกษุ และภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา เพื่อไว้เป็นตำรับตำราเนติแบบแผนของ พระพุทธศาสนา ว่าพระพุทธเจ้า พระอรหัตอรหันต์ ดำเนินมาอย่างนี้ ทำอย่างนี้ จึงได้รับ ความสุข เราต้องการความสุขนัก แต่หาความสุขในความทุกข์ ไม่หาความสุขในเหตุของ ความสุข หาความสุขในเหตุของความทุกข์ หาความสุขเป็นอย่างไรละ หาเงินให้มากๆ เข้า แต่พอได้เงินมากเข้าเป็นอย่างไรละวะ เดือดร้อนเป็นจ้าละหวั่นเทียว ต้องรักษาเงินทองเหล่า นั้น ก็ฉันว่าเป็นสุขหาเงินทองเหล่านั้น หามาเถอะ ถ้าว่าในป่าในดอนเป็นอย่างไร หามาได้ สักแสน สักล้าน มนุษย์มันก็รู้กันทีเดียว ก็คุมพวกปล้นฆ่าทีเดียว นั่นเห็นแล้ว เงินทองเป็น สุขซิ อ้าวเงินทองเป็นทุกข์เสียแล้ว หาเป็นสุขไม่ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ละก็ เอาเป็นมั่งมีละ เอ้า! ยกแผ่นดินให้ปกครองเสียทีเดียว เป็นอย่างไรบ้าง โธ่! ถูกปกครองแผ่นดิน ผมไม่รู้เลยขอรับ ว่ามันจะเป็นอย่างนี้ ถ้ารู้อย่างนี้ละก็ ไม่รับทีเดียว เดี๋ยวนี้มันขึ้นนั่งบนหลังราชสีห์แล้ว จะลงมันก็กัดตาย ก็จำเป็นต้องขี่มันไปอย่างนี้เอง กลัวก็กลัวมันเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้ปกครองก็กลัวชีวิตเหมือนกับอยู่บนหลังราชสีห์ นั่นเหตุเป็นที่ตั้งของความทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่เหตุเป็นที่ตั้งของความสุข เหตุเป็นที่ตั้งของความสุข ก็เหมือนพระสิทธัตถราชกุมาร ทิ้งราชสมบัติแสวงหาพุทธการกธรรม พอได้พุทธการกธรรม ก็ได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้พบ ตัวยอดสุขทีเดียว นี่ท่านรอดไปอย่างนี้ ถึงซึ่งความไม่เบียดเบียน ถึงซึ่งความเป็นผู้ระวัง ในสัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งเป็นความเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี ถึงซึ่งผู้ก้าวล่วงซึ่งกาม ทั้งหลายไป เป็นผู้ถอนอัสมิมานะเสียได้ เอตํ เว ปรมํ สุขํ นี่แหละเว้ย เป็นสุขอย่างยิ่ง ความจริงเป็นอย่างนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ก็จำไว้เป็นเนติแบบแผนสืบต่อไป ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
    สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วน หน้า

    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาก็พอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความ เพียงเท่านี้
    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...