"พุทธ-เต๋า-ขงจื้อ" ที่วิหารเซียน วัดญาณสังวราราม

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 กรกฎาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] -->
    [​IMG]


    คำว่า "เซียน" เป็นคำเรียกของจีน ที่ใช้เรียกบุคคลที่มีฤทธิ์ หรือ มีปาฏิหาริย์เหนือคนธรรมดา ซึ่งแทบทั้งหมดหมายถึงบุคคลที่ชอบทำตัวหลีกเร้นจากสังคม ไปบำเพ็ญภาวนาตามป่าเขา จนมีฤทธิ์ขึ้นมา


    คำของจีนอาจจะออกเสียงว่า "เซียง" หรือ "เซี่ยง-เซี้ยง"
    รากศัพท์ของคำว่า "เซียน" มาจากคำว่า "ฌาน" ในบาลี ธฺยาน ในสันสกฤต หมายถึง บุคคลที่บำเพ็ญจิตจนได้ฌาน นั่นเอง
    สำหรับผู้ที่มีวาสนาเก่า อาจจะมีความสามารถพิเศษทางจิตเกิดขึ้น เรียกว่า อภิญญา ทำฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ได้มากบ้างน้อยบ้าง
    คนที่สำเร็จเป็น เซียน เปรียบเทียบกับในอินเดีย คือพวกฤาษีที่ได้ฌาน ได้อภิญญานั่นเอง และไม่เกี่ยวกับว่า เซียนจะต้องเป็น พระอริยบุคคล เสมอไป เซียน อาจจะเป็น พระอริยบุคคล หรือไม่ก็ได้
    สำหรับในเมืองไทย มีการนับถือเซียนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีการหล่อรูปเซียนในลักษณะต่างๆ ออกมาจำนวนมาก อย่างกับ วิหารเซียน ที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวไทยเชื้อสายจีนจัดสร้าง วิหารเซียน แห่งนี้ขึ้น เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๐ ณ บริเวณโครงการพัฒนาที่ดินวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้พระราชทานฤกษ์สำหรับก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๑ พร้อมกับพระราชทานนามอาคารที่สร้างนี้ว่า "อเนกกุศลศาลา" และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๖
    อเนกกุศลศาลา หรือ วิหารเซียน หลังนี้เป็นอาคารสูง ๓ ชั้น เป็นสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบจีน ที่มีความเกี่ยวเนื่องในทางพระพุทธศาสนา ผนวกกับความเชื่อใน ลัทธิเต๋า และ ขงจื้อ แบบดั้งเดิม
    ภายนอกวิหารบริเวณด้านล่าง เป็น ศาลาบูชาพระ หรือสักการสถาน สำหรับบูชาทวยเทพทุกองค์ ที่สถิตอยู่ในวิหารเซียน
    เบื้องหน้าสักการสถาน มีรูปหล่อ แปดเซียน ขนาดใหญ่ ที่สวยงามประดิษฐานอยู่บนหินแกรนิต
    นอกจากนี้ ที่หน้าประตูทางเข้าวิหารเซียนมีรูปปั้น สิงโตปักกิ่งคู่ ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักถึง ๒๒ ตัน
    ส่วนที่หน้าประตูทางเข้าวิหารชั้นใน เหนือประตูมี มังกรคู่ เป็นปูนปั้นปิดทอง หันหน้าเข้าหา แผ่นป้ายสัญลักษณ์งานฉลองพระชนมพรรษา ๕ รอบ
    เยื้องลงมา เป็นแผ่นป้ายปูนปิดทองอักษรจีน ชิ้นสุดท้ายของพระราชวังปักกิ่ง สองข้างก่อนถึงประตูวิหารมีไม้การบูนจำหลัก รูปท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่
    เมื่อผ่านประตูเข้าไป จะมองเห็นผนังที่มีรูปปูนปั้น มังกรสีทองดั้นเมฆ สวยงามมาก
    ภายในวิหารเซียนชั้นล่างจัดเป็นที่ตั้งแสดงงานศิลปกรรมของจีน ซึ่งมีทั้งศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ ที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนมอบให้เป็นสมบัติของวิหารเซียนมากกว่า ๓๐๐ รายการ
    ภายในวิหารเซียน นอกจากจะมี ๑๘ อรหันต์ ที่มีทั้งดินเผา ภาพเขียน สำริดหล่อโบราณ และหินหยกอ่อนแกะสลักแล้ว ยังมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญเป็นหุ่นดินเผาทหาร และรถม้าสำริด ที่ขุดได้จากสุสานของจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ เมืองซีอาน อายุกว่า ๒,ooo ปี ที่ทางการจีนมอบให้ รวมทั้งรูปปั้นทหาร ๑๒ นาย แต่ละนายมีน้ำหนักถึง ๒๐๐ กิโลกรัม และยังมีแบบจำลองสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ รวมทั้งแบบจำลองกำแพงเมืองจีนอีกด้วย
    ส่วนบริเวณโดยรอบและกลางโถงของวิหารชั้นล่าง ยังจัดแสดงเทวรูปสำริดอันถือเป็นศิลปกรรมชั้นสูงของจีน ที่มีขนาดใหญ่และหาชมได้ยาก
    จากนั้นจะเป็นภาพเขียนนางฟ้า ทิวทัศน์ ดอกไม้ ที่เขียนจากอัญมณี มีทั้งทับทิม บุษราคัม โกเมน มรกต รวมทั้งไข่มุกและปะการัง ด้วยฝีมือจิตรกรที่มีชื่อเสียงของจีน
    ถัดจากห้องโถง เป็นห้องประทับ ก่อนเข้าห้องประทับ มีตู้แสดง ๑๘ อรหันต์ แกะด้วยหินหยกอ่อน รวมทั้งยังมีชุดบัลลังก์ที่ประทับของฮ่องเต้ ในการออกว่าราชการ แผ่นป้ายไม้มะเกลือดำ แกะลายมังกรดั้นเมฆ มีฉากผ้าปักดิ้นลายนูน ด้านหนึ่งปักดิ้นทอง ๙ มังกร อีกด้านหนึ่งปักดิ้นเงิน ๙ กิเลน
    ชั้นที่ ๒ ของวิหารเซียน เป็นส่วนของหอเวียนบนผนัง เป็นรูปปูนปั้นลอยตัว เขียนสีแสดงเรื่องแปดเซียน และเรื่องนางพญางูขาว นอกจากนั้นเป็นการแสดงผลงานศิลปกรรมไทยร่วมสมัย
    ส่วนชั้นที่ ๓ เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช จำลอง ที่ผนังโดยรอบประดับรูปเขียนชุดพุทธประวัติ

    วิหารเซียน แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หรือสอบถามเส้นทางได้ที่โทร.๐-๓๘๒๓-๘๓๖๗, ๐-๓๘๒๓-๕๒๕๐

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...