ภัยพิบัติทางธรรมชาติ กับความมั่นคงของโลก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 5 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8b1e0b895e0b8b4e0b897e0b8b2e0b887e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b4-e0b881e0b8b1.jpg


    โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์


    ****************************

    โลกกำลังจอกับผลกระทบจากไฟไหม้ป่าอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนไทยนั้นได้รับผลกระทบจากพายุใต้ฝุ่นที่ทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในภาคอีสานและภาคเหนือ หลังจากเจอภัยแล้งอย่างรุนแรงมาแล้ว เทวดาอาจเห็นใจเลยจัดฝนมาให้ แต่ก็ให้มากเสียจนเกิดน้ำท่วม ทำให้เดือดร้อนกันไปหมด วันนี้ คนไทยคงตระหนักกันแล้วว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ นอกจากภัยคุกคามด้านการทหาร เศรษฐกิจ แล้ว ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นภัยคุกคามที่ต้องเจอทุกปี มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป

    ในสมัยสงครามเย็น ภัยคุกคามหลักของโลกคือภัยคุกคามด้านการทหาร แต่หลังสงครามเย็น ได้เน้นถึงภัยคุกคามด้านเศรษฐกิจ หนังสือเล่มแรกๆ ที่ระบุถึงภัยคุกคามจากโลกร้อนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือ “ทำความเข้าใจกับความมั่นคงของโลก” เขียนโดย นายปีเตอร์ ฮัฟ อาจารย์อาวุโสด้านการเมืองและการต่างประเทศในมหาวิทยาลัยมิดเดิลเซ็กซ์ ประเทศอังกฤษ

    นอกจากระบุถึงภัยคุกคามด้านการทหาร เศรษฐกิจ ด้านสังคม ฯลฯ ภัยคุกคามอื่นที่มาจากรัฐและกลุ่มคนไม่ใช่รัฐ เช่น กลุ่มก่อการร้าย แล้ว ผู้เขียนได้เขียนถึง “ภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม” โดยย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศโลกอันเป็นฝีมือจากมนุษย์เรานั่นเองที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ผลจากโลกร้อนทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เกิดภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ โรคอุบัติใหม่ รุนแรงมากขึ้น กระทบต่อชีวิตและการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ

    อดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ ของสหรัฐ เป็นคนแรกๆ ซึ่งตระหนักถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะคุกคามต่อความมั่นคงของโลกและมนุษยชาติมากขึ้น หลังพ้นหน้าที่ ท่านได้เดินสายไปบรรยายภัยคุกคามจากภัยพิบัติทางธรรมชาติกับประเทศต่างๆ โดยมีภาพที่แสดงเป็นหลักฐานให้เห็นว่าโลกร้อนขึ้นจริง ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะตามมาอย่างรุนแรงขึ้นและบ่อยขึ้น ซึ่งได้พิสูจน์ในภายหลังว่า สิ่งที่ท่านพูดเตือนมานั้นเป็นจริงทุกประการ

    ท่านสรุปโดยชี้ให้เห็นว่า การที่โลกร้อนขึ้นและภัยพิบัติที่จะตามมาเป็นฝีมือของมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกมากขึ้น การตัดไม้ทำลายป่าที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ตามการขยายตัวของชุมชนและการพัฒนาอุตสาหกรรมของโลก แม้เศรษฐกิจโลกขยายตัว แต่การขยายตัวต้องแลกกับภัยพิบัติที่มนุษยชาติต้องเผชิญ

    อากาศเหนือมหาสมุทรร้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ “เลอ นินโญ” และ “ลา นินญา” พายุใต้ฝุ่น เฮอริเคน ทอร์นาโด ฯลฯ รุนแรงขึ้น โลกร้อนขึ้นจนน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งจะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น ในเมืองไทย เคยมีการปล่อยข่าวว่า ต่อไปน้ำทะเลจะท่วมกรุงเทพ พื้นที่ที่ปลอดภัยคือเขาใหญ่ พิษณุโลก เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นการปั่นราคาที่ดินในบริเวณนี้สูงขึ้นบนข้อมูลนี้ แต่ที่แน่ๆ คือ คนในทวีปต่างๆ โดยเฉพาะคนในทวีปอเมริกาและยุโรปเจออากาศร้อนขึ้นในฤดูร้อน หนาวมากขึ้นในฤดูหนาว มีทั้งคลื่นความร้อน และคลื่นความหนาว คนไทยเองก็รู้สึกว่าอากาศร้อนขึ้นในฤดูร้อน ส่วนในฤดูฝนก็เจอพายุและน้ำท่วมบ่อยขึ้น พอถึงฤดูหนาว บางปีหนาวมากขึ้นและนานขึ้น

    ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โลกเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงมาก คือ ข่าวไฟไหม้ป่าฝนอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ป่านี้มีความกว้างถึง 7.4 ล้าน ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 40 ของทวีปอเมริกาใต้ กระจายไปใน 9 ประเทศ โดยร้อยละ 60 อยู่ในประเทศบราซิล เป็นพื้นที่ป่าฝนกว้างถึง 5.5 ล้าน ตร.กม. หรือราวครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรป ผลิตน้ำจืดร้อยละ 20 ของโลก

    แม่น้ำอะเมซอนใหญ่ที่สุดในโลกและยาวถึง 6,900 ก.ม. ถือว่าเป็นป่าร้อนชื้นเขตมรสุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็น “ปอดของโลก” เพราะนอกจากผลิตอ๊อกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อมนุษยชาติแล้ว ยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในโลกได้มากที่สุดถึง 1,500-2,000 ล้านตันต่อปี ซึ่งสามารถควบคุมภาวะโลกร้อนได้อย่างมาก แต่ระยะหลัง พื้นที่ป่าอะเมซอนหายไปเกือบร้อยละ 20 เพราะถูกมนุษย์บุกรุกทำลายเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ขยายพื้นที่เกษตรกรรม ขุดเจาะน้ำมัน ลักลอบตัดไม้ โดยเฉพาะการจุดไฟเผาป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำกิน คล้ายกับป่าอื่นๆ ในโลก มองอีกมุมหนึ่งก็เป็นเรื่องปกติ เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้น ก็ต้องการที่ทำกินมากขึ้น

    นอกเหนือจากไฟไหม้อย่างกว้างขวางในป่าอะเมซอน มีข่าวร้ายเพิ่มเติมเมื่อ “นาซา” เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า เกิดไฟป่าในผืนป่าลุ่มน้ำคองโกที่คลุมพื้นที่ 500 ล้านเอเคอร์ในทวีปแอฟริกา กว้างขวางมากกว่าไฟป่าในเขตอะเมซอนถึง 5 เท่า

    ป่าหลายแห่งในโลกเจอปัญหาเดียวกัน ส่วนใหญ่ไฟป่าเกิดจากฝีมือมนุย์ที่เผาป่าในฤดูแล้งเพื่อขยายพื้นที่เกษตรกรรมและคุมไม่ได้ ใกล้บ้านเราจะเกิดไฟป่าบนเกาะบอร์เนียวและสุมาตราทุกปี ที่ควันไฟลอยปกคลุมเกาะสิงคโปร์ (ทำให้เกิดความคิดในอินโดนีเซียขึ้นมาว่า หากอินโดนีเซียมีปัญหากับรัฐบาลสิงคโปร์ อินโดนีเซียเพียงแต่เผาป่าบางส่วนในสุมาตราและบอร์เนียวให้ควันไฟไปรมสิงคโปร์เพียงอาทิตย์เดียว รับรองว่าสิงคโปร์ต้องขอเจรจาแน่ๆ) บางส่วนของมาเลเซียและชายแดนภาคใต้ของไทยได้รับผลกระทบจากควันไฟจากบอร์เนียวด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า ในภาคเหนือของไทยและพื้นที่ป่าติดต่อในเมียนมาร์และลาว มีการเผาป่าเพิ่มขึ้นทุกปี ที่ควันไฟรบกวนมาถึงคนเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง

    ภัยคุกคามหลักที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไทยเจอแต่ละปี คือ ภัยแล้ง และน้ำท่วม เพียงแต่ว่าปีไหนจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด รัฐบาลแต่ละชุด ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคอีสานและเหนือวางแผนงานประจำปีไว้ได้เลยในการเผชิญปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมซึ่งเป็นเช่นนี้มาทุกปี เพียงแต่ว่าปีไหนจะแล้งมาก ปีไหนจะน้ำมากเท่านั้น ทุกปีไทยจะเจอใต้ฝุ่นสองสามลูกที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ไทยต้องไม่ให้เกิดการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดอีกเช่นในปี 2554 สำหรับปี 2562 ภาคอีสานและเหนือเพิ่งเจอภัยแล้งรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการทำไร่ ทำนาของเกษตรกร น้ำในเขื่อนต่างๆ ลดน้อยลงจนบางแห่งเข้าขั้นวิกฤติ แต่พายุใต้ฝุ่น “โพดุล” ก็นำฝนมาให้เราจนเกินพอดี ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่

    ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นสิ่งเดียวที่ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือทำให้มีขนาดเล็กลง หรือเบี่ยงเบนทิศทาง ไม่เหมือนกับภัยคุกคามด้านการทหาร เศรษฐกิจ สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อลดความเสียหาย การอพยพผู้คนให้พ้นจากพื้นที่ภัยพิบัติ การบรรเทาความเสียหายในภายหลัง ภัยพิบัติทางธรรชาติไม่ว่าน้ำท่วม ฝนแล้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุใต้ฝุ่น เป็นสิ่งเดียวที่มนุษย์ไม่สามารถเอาชนะได้ ป้องกันไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ จะเบี่ยงเบนทิศทางของพายุให้ไปทางอื่น หรือให้พายุฝนไปตกทะเล มหาสมุทร์ก็ไม่ได้

    สหรัฐอเมริกาเจอเฮอริเคน ทอร์นาโดหลายสิบลูกและทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากในแต่ละปี แต่สหรัฐก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เฮอริเคนและทอร์นาโดเกิดได้ แม้แต่จะใช้นิวเคลียร์เพื่อเบี่ยงเบนทิศทางของพายุก็ยังทำไม่ได้ ทำได้อย่างเดียวคือ แจ้งเตือนล่วงหน้าให้เตรียมรับเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยรัฐบาลเยียวยาความเสียหายในภายหลัง

    ประเทศเกษตรกรรมพื้นฐานเช่นไทยต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะน้ำดื่ม น้ำใช้ และน้ำเพื่อเกษตรกรรม ชาวบ้านอย่าคิดพึ่งพาประปาท้องถิ่นอย่างเดียว แต่ต้องมีต่ำเก็บน้ำฝนไว้ใช้กินตลอดปีด้วย นายพิศาล มูลศาสตร์สาธร อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้สนับสนุนให้ชาวบ้านสร้างตุ่มไว้เก็บน้ำฝนที่แต่ละปีมีฝนเหลือเฟือ ถึงกับมีการประกวดตุ่มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่วนเขื่อนนั้นใช้กักเก็บน้ำฝนเพื่อการเกษตรและผลิตไฟฟ้า เรื่องที่เป็นปัญหาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันคือ แต่ละปีเราไม่ได้มีน้ำน้อย แต่การกักเก็บน้ำจากธรรมชาติเก็บได้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ยังดีที่ภาคอีสาน สภาพของดินสามารถเก็บน้ำฝนไว้ได้ ดินที่จะขุดเจาะมากินมาใช้ในยามหน้าแล้งได้

    คนไทยโชคดีกว่าประเทศเพื่อบ้าน เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ที่เราไม่เจอภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ใต้ฝุ่นที่ก่อนจะถึงไทยก็ปะทะกับเวียดนามและลาวก่อน หากมาทางฝั่งอันดามันก็เจอบังคลาเทศ และเมียนมาร์ก่อน พอถึงไทยก็อ่อนกำลังแล้ว นานๆ จะเจอแบบพายุเกย์ หรือเจอสึนามิ



    ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต

    ขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/politic/columnist/599830
     

แชร์หน้านี้

Loading...