ภาพเก่าสมัย รัชกาลที่ 5

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย omio, 25 ตุลาคม 2009.

  1. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    เพิ่งจะกลับเข้าบ้านน่ะค่ะ ลอยกระทงด้วยความสุขนะคะ
     
  2. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ภาพฝีพระหัตถ์ชนิด ภาพล้อเส้นหมึก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้อเลียนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ขณะเป็นกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง

    [​IMG]

    http://fulltext.car.chula.ac.th
     
  3. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ขอบคุณมากค่ะ
     
  4. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213

    [​IMG]

    [SIZE=-1]พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์[/SIZE]


    [SIZE=-1]
    [/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]


    [SIZE=-1] ทรงเครื่องต้นในพระราชพิธีโสกันต์ [/SIZE]
    <small><small><small><small>วันที่ ๕ ม.ค. ๒๔๓๕</small></small></small></small>
    [SIZE=-1]


    [/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]ทรงเครื่องแบบนักเรียนทำการนายเรือ[/SIZE]

    [SIZE=-1]เมื่อมาเฝ้าสมเด็จพระชนกนาถ[/SIZE] [SIZE=-1]ที่เมือง เบงกอล[/SIZE] [SIZE=-1]พ.ศ.๒๔๔๐[/SIZE]
    <small><small><small><small>

    </small></small></small></small>
    <small><small><small><small>
    </small></small></small></small>
    <small><small><small><small>[​IMG]</small></small></small></small>

    [SIZE=-1]ทรงฉายร่วมกับ[/SIZE][SIZE=-1]หม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์
    [/SIZE]
    [SIZE=-1] พระชายา[/SIZE]<small><small><small><small> </small></small></small></small>
    <small><small><small><small> </small></small></small></small>สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีงานมงคลพิธี ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ มีเลี้ยงน้ำชา ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ และมีงานราตรีสโมสร ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่พิธีเสกสมรสจัดงานราตรีสมโภชคู่บ่าวสาว ให้เชิญทั้งไทย ทั้งฝรั่ง มีการเต้นรำอย่างธรรมเนียมสากลด้วย เป็นพิเศษ และพระราชทานวังใหม่ให้ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม<small><small><small><small>

    Abhakara's Resume
    </small></small></small></small>​
    <small><small><small><small>
















    </small></small></small></small>​
     
  5. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]

    พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เรื่องนิทราชาคริต ซึ่งทรง
    นิพนธ์ในช่วงปี พ.ศ.2420 ระบุว่าในเมืองไทยเคยมีสมาคมกลมาก่อน ใช้ชื่อว่า ROYAL MAGICAL
    SOCIETY แต่เดิมเรียกอ่านกันว่า รอแยล มายิเกมต์ โซไซเอตี หรือ สมาคมนักกลหลวง (ระบุชื่อ
    ภาษาไทยตามระเบียบตำนานละคร พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.2465)
    สมาคมนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2419 ประธานสมาคมคือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงภาณุ
    พันธุ์วงศ์วรเดช (ต้น สกุลภาณุพันธุ์) ซี่งทรงเป็นพระอนุชาแท้ ๆ ของ ร.5 มีนักวิทยากล หลายท่าน
    คือ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์ (ต้นตระกูลชมพูนุช) พระเจ้าประดิษฐ์วรการ พระองค์
    เจ้าปฤษฎางค์ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หม่อมเจ้าประวิช แม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุล
    จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ในหนังสือก็ได้บันทึกไว้ว่า ทรงซ้อมเล่นกลแต่จะแสดงด้วยหรือไม่นั้น ไม่มีการ
    บันทึกไว้

    “เวลาย่ำค่ำเสด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทสวดมนต์แล้วตรัสกับสมเด็จกรมพระฯ ทูลเรื่องภาษีอากรต่างๆ
    แล้วทูลว่า เจ้าพระยาสุรวงศ์มาพูดด้วยการหาดไทยกับท่าน
    เวลาวันนี้ว่า จะช่วยฉลองพระเดชพระคุณทุกอย่าง ให้ทรงจัดการออฟฟิศเสียให้เรียบร้อยด้วยกรมหาด
    ไทยค้นหนังสือหนังหานั้นยากนัก ถ้าจะจัดการแล้วให้เอาพระนรินทรมาไล่เลียงดูก็ได้ เขาเคยแล้ว
    ท่านทรงตอบเวลานี้เพิ่งแรกรับการจะขอรอไว้ก่อน ท่านจึงว่าภายหลังต่อไป (สมเด็จดูค่อยสบายพระทัยมาก)
    สวดมนต์จบแล้วเสด็จขึ้น ทรงซ้อมเล่นกลจนเวลา ๘ ทุ่ม เลิกเสด็จขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท”


     
  6. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    หากจะไล่เรียงเอกสารบันทึกต่าง ๆ เกี่ยวกับสมาคมนักกลหลวง ก็คงต้องไล่ตั้งแต่หนังสือ ลิลิตนิทรา
    ชาคริช ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2465 ในบทท้าย มีคำอธิบายไว้เกี่ยวกับงานรื่นเริงประจำปี ว่า

    ".....บางปีโปรดฯ ให้นัดแต่งพระองค์กันแปลก ๆ ซึ่งหมายถึงแต่งแฟนซี บางปีโปรดฯ ให้พระบรมวงศา
    นุวงศ์ และข้าราชการสมาคม
    รอแยล มายิเกล โซไซเอตี เล่นกลและเล่นละครพูดเป็นการรื่นเริงประจำปี......"



    บันทึกใน หนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 1 พระราชนิพนธ์ในรัชการที่ 5
    บันทึกถึงงานรื่นเริงปีใหม่ (พ.ศ.2419) ว่า
    "....หนนี้ (ร.5) แต่งแฟนซีเป็น ปชา (PACAH เจ้าเมืองตุรกี) เจ้านายองค์อื่น ๆ แต่เป็น
    ขุน นางอังกฤษบ้าง รอบินฮูดบ้าง ชายครึ่งหญิงบ้าง ฯลฯ ครั้นเสวยแล้วจับฉลากของต่าง ๆ
    แล้วเล่นกลแลเซียเตอ (THEATRE)
    คือเล่นกลและละครปีนี้เล่นเรื่องอาลีบาบา ผู้เล่นกล
    มี กรมขุนเจริญผลฯ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นต้น พระองค์ทรงทอดพระเนตรการเล่นกล

    จบแล้ว ทรงตรัสว่าแลกลนี้เล่นสนุกนัก...."




    [​IMG]



    ในหนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 6 มีบันทึกเขียนว่า
    "....วันแรม 13 ค่ำ เดือน 4 จ.ศ.1239 สวดมนต์จบแล้ว ร.5 ทรงซ้อมเล่นกล จนถึง 8
    ทุ่ม จึงเสด็จขึ้น...."
    หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ เล่ม 2 หน้า 130 ของหมอบรัดเลย์ ซึ่งพิมพ์ในสมัยรัช
    การที่ 4 บันทึกว่า
    "ปี พ.ศ.2409 กรมพระราชวังบวรไชยชาญ ทรงกำลังหัดเล่นกลด้วยน้ำยาเคมีต่าง ๆ เป็น
    การประหลาด " และท่านยังทรงลงทุนจ้างล่ามมาแปลหนังสือตำราภาษาอังกฤษออกเป็น
    ภาษาไทย แสดงว่าวิทยากลเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่มารวมตัวก่อตั้งเป็น
    รูปร่างในนามสมาคมนักกลหลวง ในรัชกาลที่ 5
    นอกจากนั้นแล้วยังเคยมีการแจกรางวัลให้กับผู้ที่แสดงกลดี ตามที่มีบันทึกไว้ว่า
    เสด็จมาที่กลางชลาด้านตะวันตกแห่งพระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร ประทับร้อนด้วยพระ
    บรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายในเปนอันมาก ที่ชลาหน้าโรงกลทอดพระเนตรเล่นกลของ
    รอยยัลมายิเกมต์ โซไซเอตี แลกลนี้เล่นสนุกนัก แลเล่นอยู่จนเวลา 10 ทุ่มเศษ พระบาท
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเลือกใบโวต สำหรับแจกของรางวัลใครจะเล่นดีแลของดีแลคิดดี
    อยู่ที่ชลาโรงกลนั้น



     
  7. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ณ วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีชวดยังเปนสัปตศก จุลศักราช 1237 เวลาย่ำรุ่งแล้ว พระบาท
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรจากชลาข้างพระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬารด้านตวันตก ทรง
    ทอดพระเนตรพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดไว้
    ประมาณ 10 นาที ครั้นแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานรางวัลพวกที่เล่นกล คือ

    ดีโปลมาชั่นที่ 1 เป็นแพรสีเหลือง ข้างริมมีดิ้นสีทองสลับกัน มีตัวอักษรพิมพ์ในนั้น กับ******บกาไหล่ทอง 1 กล้องสำหรับดูลคร 1 ได้แก่ พระเจ้าราชวรรวงศ์เธอกรมหมื่<wbr>นเจริญผลพูลสวัสดิ (ต้องถือว่าเป็นนักวิ<wbr>ทยากลชาวไทยท่านแรกที่ได้รางวั<wbr>ลที่ 1 - ผู้เขียน)


    [​IMG]



    ดีโปรมาชั่นที่ 2 เป็นแพรสีแดงกับ******บวงเวีัยน******บ 1 แก่พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการซึ่<wbr>งเปนช่างทำเครื่องกล

    [​IMG]


    ดีโปลมาชั่นที่ 3 เป็นแพรสีขาวกับลูกปืนสำหรับไว้<wbr>บุหรี่ แก่ พระอมรวิไสยสรเดช

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2009
  8. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ในปี พ.ศ. 2421 มีนักวิทยากลอีกท่านหนึ่งที่น่าสนในคือ หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ผู้ซึ่งเป็นทั้งนัก
    วิทยากลและจิตรกรวาดรูป

    [​IMG]

    ท่านเคยคิดจะตั้งโรงเล่นกลขึ้น แต่ต่อมาไม่ทราบด้วยเหตุใดเรื่องนี้จึงไม่มี
    การบันทึกเพิ่มเติม ช่วงนั้นมีการฉายภาพหมู่ของนักกลหลวงหน้าโรงละครแห่งนี้โดยช่างภาพชาวต่าง
    ประเทศ ชื่อ เฮนรี ชูเรน ซึ่งเข้ามารับจ้างถ่ายรูปและเปิดเป็นสตูดิโอ ชื่อ H.S.PHOTOGRAPHIC
    STUDIO BANGKOK SIAM ภาพนี้ปัจจุบันเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม ที่หอสมุดแห่งชาติ รหัส ภอ.001
    หวญ.8

    [​IMG]
     
  9. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]

    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="568" height="1934"><tbody><tr><td align="left" valign="top" width="500">พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ของพระราชทานจาก รัชกาลที่ 5, 1876
    Centennial Exposition, Siam Exhibit
    นิทรรศการสยาม, งานฉลองครบ 100 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา
    Copper plating, plaster, paint
    Height 80.14 cm x width at shoulders 50.6 cm x depth of base 20.6 cm
    USNM # 27439 (4003-A)

    พระบรมรูปปูนปั้นครึ่งพระองค์เขียนระบายสี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ มีรูปแบบตะวันตกอย่างชัดเจน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรง ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ระบุปีคริสต์ศักราชแห่งการครองราชย์ของพระองค์ท่านบนแผ่นป้ายที่ฐานพระบรมรูป ผู้ปั้นและระบายสีพระบรมรูปองค์นี้ เข้าใจว่าคงจะได้แก่ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ช่างปั้นผู้มีฝีมือ และทรงเป็นผู้อำนวยการกองช่างสิบหมู่ของหลวง พระองค์เจ้าประดิษฐ์ฯ ทรงปั้นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ในอดีต ตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร

    [​IMG]

    ตามธรรมเนียมไทย ศิลปินผู้สร้างงานต่าง ๆ มักไม่แจ้งชื่อให้ปรากฎและมักเป็นผลงานร่วมกันของช่างฝีมือหลายคน ทำถวายพระมหากษัตริย์ หรือผู้อุปถัมภ์ค้ำชู จนกว่าจะได้ศึกษารายชื่อช่างสิบหมู่นั่นแหละ จึงจะพอทราบนามของช่างศิลปินเหล่านั้นได้ แต่รายชื่อที่มี ปรากฎ ก็มักเป็นชื่อตามยศ หรือบรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน โดยไม่มีวงเล็บ
    ชื่อเดิม ทำให้ยากแก่การติดตามชีวประวัติของแต่ละท่าน ถ้าไม่มีการบันทึกเรื่องราวเอา
    ไว้ว่างานชิ้นไหนเป็นผลงานของช่างศิลป์ผู้ใดแล้ว ผู้อยู่รุ่นหลังเช่นเรานี้ก็ได้แต่คาดเดาว่าใครกันแน่ เป็นผู้ออกแบบ และควบคุมงานนั้น ๆ


    </td> <td align="left" valign="top" width="50">
    </td> </tr> <tr> <td align="left" valign="top" width="50">http://www.mnh.si.edu/treasures/thaiversion/index.htm
    </td> <td align="left" valign="top" width="500">
    </td> <td align="left" valign="top" width="50">
    </td> </tr> <tr> <td align="left" valign="top" width="50">
    </td> <td align="left" valign="top" width="500">
    </td></tr></tbody></table>​
     
  10. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213


    [​IMG]



    ธงสยามรัฐของพระราชทานจาก รัชกาลที่ 5, 1881
    ของแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการ เนื่องในการเจรจาสนธิสัญญา แฮริส
    ผ้าฝ้ายพิมพ์มือ
    ยาว 180.3 ซม. กว้าง 270.45 ซม.
    USNM # 168493

     
  11. pechklang

    pechklang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    400
    ค่าพลัง:
    +829
    สุดยอดจริง ๆ ภาพเก่าที่มีคุณค่า หาดูได้ยากจริง ๆ
    ขอขอบคุณ คุณ OMIO ที่นำมาเผยแพร่
     
  12. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]

    จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อครั้งยังเป็นนายพันเอก จมี่นไวยวรนาถ แม่ทัพปราบฮ่อ ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าราชวงศ์ (คำสุก) แห่งนครหลวงพระบาง (ต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษั<wbr>ตริย์หลวงพระบาง ทรงพระนามว่า พระเจ้าสักรินทรฤทธิ์) ที่กองบัญชาการปราบฮ่อฝ่ายไทย ณ เมืองซ่อน ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2428 ธงซึ่งตั้งตรงกลางภาพระหว่างบุ<wbr>คคลทั้งสองนั้นคือธงจุฑาธุชธิ<wbr>ปไตย ซึ่งเป็นธงชัยเฉลิมพลที่<wbr>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้<wbr>าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นธงชัยเฉลิ<wbr>ม พลประจำกองทหารครั้<wbr>งแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2427



     
  13. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    สงครามปราบฮ่อ (เมื่อปีพุทธศักราช 2418 ถึง 2431)


    กองทหารมะรีนและทหารปืนใหญ่หลังช้างที่เดินทางไปปราบฮ่อเมื่อปี พ.ศ. 2418


    [​IMG]


    พวกฮ่อคือพวกจีนที่ร่วมกับการกบฏไต้เผง (Taiping Rebellion) ที่มุ่งหมายจะให้จีนพ้นจากอำนาจของพวกแมนจู จนเกิดการรบพุ่งกันเป็นการใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๕ พวกไต้เผงแพ้ต้องหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขาในมณฑลต่าง ๆ ของจีน ในมณฑล ยูนาน ฮกเกี้ยน กวางไส กวางตุ้ง เสฉวน และส่วนหนึ่งหนีมายังตังเกี๋ย ทางตั้งเกี๋ยจึงดำเนินการปราบปรามทำให้พวกฮ่อต้องหนีไปอยู่ที่เมืองซันเทียน ซึ่งตั้งอยู่ชายแดนสิบสองจุไท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ และได้ประพฤติตนเป็นโจรเที่ยวปล้นบ้านเมืองในดินแดนสิบสองจุไท และเมืองพวน

    ฝ่ายไทยเริ่มทำการปราบฮ่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะถือว่าพวกฮ่อเข้ามาก่อการกำเริบในราชอาณาจักรไทย

    ในปี พ.ศ.๒๔๑๖ พวกฮ่อได้ยกกำลังมาตีจนถึงเมืองพวน เจ้าเมืองเชียงขวางได้ไปขอกำลังจากญวนมาช่วยแต่แพ้ฮ่อ ฮ่อยึดได้เมืองเชียงขวาง และได้ตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่ทุ่งเชียงคำ และเตรียมการเข้าตีเมืองหลวงพระบาง และเมืองหนองคาย ต่อไป

    ในปี พ.ศ.๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดส่งกองทัพจากกรุงเทพ ฯ ไปปราบฮ่อ ซึ่งได้ยกกำลังล่วงล้ำเข้ามาจนถึงเมืองเวียงจันทน์ การปราบปรามฮ่อของไทยดำเนินการอยู่จนถึงปี พ.ศ.๒๔๒๘ จึงได้ถอนกำลังจากทุ่งเชียงคำ กลับมายังเมืองหนองคาย เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร และแม่ทัพคือ พระยาราชวรากูลถูกฮ่อยิงบาดเจ็บ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้กรมทหารที่ได้รับการฝึกหัดตามแบบยุโรปขึ้นไปปราบฮ่อ โดยจัดเป็นสองกองทัพคือ กองทัพฝ่ายใต้ และกองทัพฝ่ายเหนือ

    กองทัพฝ่ายใต้ มีนายพันเอก พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพ ยกไปปราบฮ่อในแคว้นเมืองพวน ยกกำลังออกจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๘ ใช้เวลาเดินทางสามเดือนถึงเมืองหนองคาย และได้ตั้งกองบัญชาการกองทัพอยู่ที่เมืองหนองคาย แล้วให้พระอมรวิไสยสรเดช (โต บุนนาค) ยกทัพหน้าไปตีค่ายฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ พวกฮ่อได้หนีไปในเขตญวน กองทัพไทยจึงรื้อค่ายฮ่อที่ทุ่งเชียงคำเสีย

    กองทัพฝ่ายเหนือ มีนายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพ ยกไปปราบฮ่อในแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหก ยกกำลังออกจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๘ ไปชุมนุมทัพที่เมืองพิชัย แล้วเดินทัพต่อไปยังเมืองน่าน แล้วยกกำลังไปถึงเมืองหลวงพระบาง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๘ จากนั้นได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่แคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหก เมื่อปราบฮ่อในแคว้นนี้ได้แล้วจึงได้ยกกำลังไปปราบฮ่อในแคว้นสิบสองจุไท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๙ สามารถปราบฮ่อได้ราบคาบ แล้วจึงยกกำลังกลับถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๐

    ต่อมาพวกฮ่อได้รุกจากสิบสองจุไท ลงมาตีเมืองหลวงพระบางได้ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพยกกำลังไปปราบฮ่ออีกครั้งหนึ่ง โดยให้ทัพหน้าออกเดินทางจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๐ ในการปราบฮ่อครั้งนี้ ทางรัฐบาลฝรั่งเศสตกลงว่าจะทำการปราบ ในเขตแดนของฝรั่งเศสด้วย กองทัพไทยยกกำลังไปถึงเมืองหลวงพระบางเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๐

    ฝรั่งเศสได้ยกกองทัพจากเมืองเลากายมาตีเมืองไล เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๐ เมื่อตีเมืองไลได้แล้วก็เคลื่อนกำลังไปยังเมืองแถง จากนั้นได้ยกกำลังติดตามฮ่อไปทางเมืองม่วย เมืองลา

    ฝ่ายไทยเห็นพฤติกรรมของฝรั่งเศสดังกล่าว ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้ฝรั้งเศสเข้ายึดดินแดนที่ถือว่าเป็นของไทย หลวงดัษกรปลาส แม่ทัพหน้าของไทย และนายทหารอื่น ๆ จึงได้คุมกำลังไปรักษาเมืองแถง เมืองซ่อน เมืองแวน เมืองสบแอด และเมืองเชียงค้อเอาไว้ ส่วนกองทัพใหญ่ของไทยคงตั้งมั่นอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง เป็นเวลา ๘ เดือน เป็นการคุมเชิงกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพฝรั่งเศส

    ต่อมาองบา หัวหน้าฮ่อที่จงรักภักดีต่อไทย ได้ถึงแก่กรรม พวกฮ่อได้แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า และได้ไปเข้าเป็นพวกกับฝรั่งเศสมากขึ้น กองทัพฝรั่งเศสจึงได้รุกเข้ามาในสิบสองจุไท มาประจัญหน้ากับกำลังทหารไทยที่ตั้งรักษาเมืองแถง นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงยกกองทัพใหญ่จากหลวงพระบาง เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๑ ไปถึงเมืองแถงเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑ ม.ปาวีได้เข้าพบแม่ทัพไทย แถลงว่าสิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหก เป็นเมืองขึ้นของญวน ขอให้ทัพไทยถอยออกไปให้พ้นเขต แต่แม่ทัพไทยได้ยืนยันสิทธิและอำนาจของไทย เหนือดินแดนดังกล่าว และปฏิเสธไม่ยอมถอนทหาร จนกว่าจะได้รับคำสั่งจากรัฐบาล

    ในที่สุด ผู้บังคับการทหารฝรั่งเศสในแคว้นสิบสองปันนาคือ นายพันตรี เปนเนอแกง ได้ทำสัญญากับพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑ มีความดังนี้

    ๑. ในระหว่างที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ข้อตกลงกัน ทหารฝรั่งเศสจะตั้งอยู่ในสิบสองจุไท ทหารไทยจะตั้งอยู่ในหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวน ต่างฝ่ายต่างจะไม่ล่วงเข้าไปในเขตซึ่งกันและกัน
    ๒. ที่เมืองแถงนั้นทหารไทยและทหารฝรั่งเศส จะตั้งรักษาอยู่ด้วยกันจนกว่ารัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน
    ๓. ไทยและฝรั่งเศสจะช่วยกันปราบฮ่อที่เป็นโจรผู้ร้ายอยู่ตามเขตแดนของตนให้สงบราบคาบ

    พระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ถอยทัพใหญ่มาอยู่ที่หลวงพระบาง ฝ่ายฝรั่งเศสพยายามจะให้ทหารไทยที่เมืองแถงถอยลงมา แต่แม่ทัพไทยปฏิเสธเด็ดขาด และแจ้งว่าพร้อมที่จะรบ ทำให้ฝรั่งเศสต้องสงบอยู่ ทางกรุงเทพ ฯ เมื่อเห็นเหตุการณ์สงบลงแล้วจึงให้กองทัพกลับจากหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบาง ได้ร้องทุกข์ว่ากลัวพวกฮ่อและฝรั่งเศสจะมารบกวนอีก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระพลัษฎานุรักษ์เป็นข้าหลวงบังคับการฝ่ายทหารอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง กับให้หลวงดัษกรปลาสอยู่ช่วยราชการด้วย กองทัพไทยได้ยกกำลังออกจากหลวงพระบาง เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๑ เดินทางกลับกรุงเทพ ฯ

    ในการปราบฮ่อครั้งนี้ ไทยได้ให้มิสเตอร์ แมคคาร์ธี ชาวอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวิภาคภูวดล ทำแผนที่ชายแดนทางภาคเหนือ จนถึงสิบสองจุไท แต่ยังไม่ได้ปักปันเขตแดน เพราะฝรั่งเศสหาว่าไทยรุกล้ำอาณาเขตของญวน ฝรั่งเศสมักส่งคนเข้ามาในเขตนี้อยู่เสมอ เช่น เข้ามาค้าขายบ้าง มาระเบิดแก่ลี่ผีในแม่น้ำโขงบ้าง มาบังคับให้ข้าหลวงไทยที่รักษาเมืองหน้าด่านให้ทำถนนบ้าง แต่ไทยพยายามจัดการให้ฝรั่งเศสกลับออกไปทุกครั้ง

     
  14. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]

    ภาพคนไทยกับจักรยานในราวสมัยรัชกาลที่ 5


    [​IMG]


    ภาพเงาะคนัง ที่รัชกาลที่ 5 ทรงเลี้ยง ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่5 จักรยานในภาพเป็นจักรยานที่ใช้เพลา


     
  15. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]


    ช้างต้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    มีปกกระพองและภู่ขนจามรีห้อยหน้าหู
    พร้อมผ้าเยียรบับคลุมหลัง มีควาญคอและควาญท้าย
    ขณะเดินอยู่ในสวนสราญรมย์ ประมาณ พ.ศ.2411




    [​IMG]

    สถานีรถไฟราชบุรี สมัย รัชกาลที่ 5


     
  16. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]

    ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเชษฐา และพระอนุชา พระกนิษฐาของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีของพระองค์ เลื่อนจาก หม่อมเจ้า เป็นพระองค์เจ้าและโปรดฯให้ใช้คำนำพระนามว่า ‘พระสัมพันธวงศ์เธอ’ ๖ พระองค์ด้วยกัน คือ <o></o>

    ๑. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ

    ๒. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น

    ๓. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท


    [​IMG]
    ๔. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระชนนี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์


    [​IMG]
    ๕. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์


    [​IMG]
    ๖. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ม.จ.ฉายเฉิด เลื่อนขึ้นเป็น พระองค์เจ้า โปรดให้ใช้คำนำพระนามจารึกบนพระสุพรรณบัฏว่า ‘พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด’ เข้าใจกันว่าที่โปรดฯให้ใช้ ‘พระประพันธวงษ์เธอ’ เมื่อมิให้ซ้ำกับคำนำพระนาม พระโอรส พระธิดาใน สมเด็จพระพี่นางกับพระน้องนางในรัชกาลที่ ๑ และพระโอรสธิดาในกรมพระราชวังหลัง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดฯให้ใช้ว่า ‘พระสัมพันธวงษ์เธอ’ (สะกดอย่างเก่า)

    <o></o>
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]แต่ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ก็โปรดฯให้เปลี่ยนคำนำพระนามจากพระประพันธวงษ์เธอ เป็นพระสัมพันธวงษ์เธอเช่นเดียวกัน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    <o></o>
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงมีพระพี่ยา (พี่ชาย) พระองค์เดียว พระน้องยาและพระน้องนางอีก ๗ พระองค์ เมื่อแรกประสูติเป็นหม่อมเจ้าทุกพระองค์ คือ<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๑. หม่อมเจ้า (ชาย) มงคล “พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ)<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๒. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๓. หม่อมเจ้า (หญิง) ชมชื่น (พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น)<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๔. หม่อมเจ้า (หญิง) พื้นพงศ์ (พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท)<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๕. หม่อมเจ้า (หญิง) ประสงค์สันท์ (คงพระยศเดิม<o></o>[/FONT])
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๖. หม่อมเจ้า (หญิง) พรรณราย (พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย)<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๗. หม่อมเจ้า (ชาย) ฉายเฉิด หรือฉายฉันเฉิด (พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์)<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๘. หม่อมเจ้า (หญิง) สารพัดเพชร (คงพระยศเดิม)<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ๙. หม่อมเจ้า (ชาย) ประเสริฐศักดิ์ (พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์)[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    <o></o>
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] หม่อมเจ้า (ชาย) มงคล ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๖) พร้อมกับ หม่อมเจ้าหญิงรำเพย (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี)<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] หม่อมเจ้าหญิงรำเพย ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งพระมเหสี โปรดเกล้าสถาปนาเป็นพระองค์เจ้า พระราชทานพระนามว่า พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ มีคำนำพระนามว่า ‘พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ส่วน หม่อมเจ้ามงคล มีพระนามจารึกบนพระสุพรรณบัฏว่า ‘พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ’<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ที่โปรดฯให้ใช้ว่า ‘พระเจ้าหลานเธอ’ เพราะทรงเป้นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงนับว่าเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระองค์ด้วย[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    <o></o>
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ต่อมา ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา พระน้องยา และน้องนางใน สมเด็จพระบรมราชชนนี ซึ่งทรงศักดิ์เป็น ‘น้า’ ในพระองค์อีก ๓ พระองค์[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ทรงบัญญัติศัพท์ ‘พระประพันธวงษ์เธอ’ เป็นคำนำพระนาม จารึกบนพระสุพรรรบัฏ คือ<o></o> [/FONT] [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ (พ.ศ.๒๔๑๒)<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท (พ.ศ.๒๔๑๓)<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] และ พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด (พ.ศ.๒๔๑๘)<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] แต่ต่อมาอีก เมื่อโปรดฯ สถาปนาหม่อมเจ้า (หญิง) ชมชื่น ซึ่งสิ้นพระชนม์แล้ว ให้เลื่อนขึ้นเป็นพระองค์เจ้า (พ.ศ.๒๔๓๖) ไม่มีพระสุพรรณบัฏ เพราะเลื่อนพระยศเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว มีแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โปรดฯให้ออกพระนามว่า ‘พระสัมพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น’<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] นับเป็นพระองค์แรกที่โปรดฯให้ใช้ว่า ‘พระสัมพันธวงษ์เธอ’ จึงได้เปลี่ยนคำนำพระนาม ๔ พระองค์ ซึ่งสถาปนาก่อนจาก พระเจ้าหลานเธอ และ พระประพันธวงษ์เธอเป็น ‘พระสัมพันธวงษ์เธอ’ ทุกพระองค์<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] หม่อมเจ้าหญิง ๒ พระองค์ คือ หม่อมเจ้าประสงค์สันทน์ และ หม่อมเจ้าสารพัดเพชร ที่ยังคงพระยศเดิม เพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ส่วน หม่อมเจ้าหญิงชมชื่น สิ้นพระชนม์แล้วก็จริง ทว่าทรงเป็นขนิษฐาผู้ใหญ่ รองจาก สมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ปรากฏพระเกียรติคุณในประกาศสถาปนาว่า<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า หม่อมเจ้าชมชื่นในสมเด็จพระบรมราชมาตามไหยกาเธอ เปนพระมาตุจฉาผู้ใหญ่ แลได้มีอุปการะในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมามาก ทั้งพระองค์ท่านก็รับราชการมาโดยอุสาหะ แลมีพระอัธยาไศรยเรียบร้อยดี สมควรที่จะทรงยกย่องพระเกียรติยศให้ยิ่งขึ้น บัดนี้ก็ได้เสด็จล่วงลับไปเปนที่ทรงพระอาไลย แลรลึกถึงอุปการกิจ แลความดี พระองค์ท่านดังกล่าวมาแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดฯเกล้าฯให้ สฐาปนาพระเกียรติยศ หม่อมเจ้าชมชื่นขึ้นเป็น พระสัมพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น”[/FONT]


    www.sakulthai.com
     
  17. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์ (ม.ร.ว.ฉายฉาน ศิริวงศ์) ท่านเป็นทั้งหม่อมราชนิกุลและหม่อมราชินิกุลนั้น เพราะท่านเป็นหม่อมราชวงศ์ดังกล่าว สกุล “ศิริวงศ์ ณ อยุธยา” สืบสายลงมาจาก พระองค์เจ้าศิริวงศ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓ (ต่อมาทรงกรมเป็นกรมหมื่นมาตยพิทักษ์ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ)

    <o></o>
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระบิดาของหม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ และเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เดิมประสูติเป็นหม่อมเจ้า พระนามว่า หม่อมเจ้าฉายเฉิด พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเกล้าฯเลื่อนพระยศขึ้นเป็น พระองค์เจ้าและสถาปนาเป็นกรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์<o></o>[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]โปรดฯให้ใช้คำนำพระนามว่า “พระสัมพันธวงศ์เธอ” พระองค์เองตรัสเรียกว่า “น้าฉายเฉิด”<o></o> [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์ จึงเป็นทั้งหม่อมราชนิกุลและหม่อมราชินิกุลดังกล่าว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    <o></o>
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์นี้ พระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงหลายพระองค์ ตลอดจนพระโอรสพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระราชชนนีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เรียกว่า “อา” ทั้งๆ ที่พระชันษามากกว่าหม่อมศิริวงศ์ฯ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]
    [/FONT]​


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เล่ากันมาว่า เพราะวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง มีกระแสพระราชดำรัสเป็นเชิงสัพยอกหม่อมศิริวงศ์ฯ ซึ่งเวลานั้นยังเด็กอายุไม่ถึงสิบขวบว่า “ตาฉาย เจ้ารู้ไหมว่าเจ้าเป็นอะไรกับข้า” หม่อมศิริวงศ์ฯ ก็กราบบังคมทูลทันทีว่า “เป็นน้อง” ทำให้ผู้ใหญ่ตกอกตกใจกันมาก เพราะธรรมเนียมไทยแต่ไหนแต่ไรมา ถ้ามิใช่พระราชวงศ์สูงศักดิ์แล้วก็ไม่มีใครอาจเอื้อมไปลำดับญาติกับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ก็เกรงกันว่าจะทรงพระพิโรธถึงผู้ใหญ่ว่าไม่สอนทำนองนั้น ทว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง นอกจากจะไม่กริ้วแล้ว ยังพอพระราชหฤทัยนักหนา ตรัสชมว่าฉลาดและกล้า ทำให้ทรงพระเมตตาหม่อมศิริวงศ์ฯยิ่งขึ้นอีก ตั้งแต่นั้นพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระ พุทธเจ้าหลวง ตลอดจนพระโอรสพระธิดาในสมเด็จฯเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จฯเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช เลยทรงพากันเรียกหม่อมศิริวงศ์ฯ ทั้งๆ ที่ยังเด็กว่า “อา” กันทุกพระองค์[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    [/FONT]
     
  18. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    [​IMG]


    <object width="425" height="344">


    <embed src="http://www.youtube.com/v/oUyNc4z1gyg&hl=en&fs=1&" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="425" height="344"></object>
     
  19. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    Thailand 100 years ago; King Rama 5 proceeded at Europe s01p1

    <object width="425" height="344">


    <embed src="http://www.youtube.com/v/w3RG7JO0c7Y&hl=en&fs=1&" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="425" height="344"></object>
     
  20. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +3,210
    อนุโมทนา ค่ะ

    มาติดตามอ่าน และให้กำลังใจค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...