ภาวนาคือการพิจารณาการรักษาจิต ธรรมะของหลวงปู่ชา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 19 ตุลาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ก็ย่อมดับลงเป็นธรรมดา ขอนำธรรมะของหลวงปู่ชามาลงต่อครับ...

    ............................................................

    [​IMG]๒๙. ภาวนาคือการพิจารณาการรักษาจิต[​IMG]

    เหมือนกันกับสุนัขเอาข้าวเปล่าๆ ให้กินทุกวันๆ มันก็อ้วนอย่างหมูนิ พอมาอีกวันหนึ่งเอาแกงราดข้าวให้มันกินสิ สักสองจานเท่านั้นแหละ วันหลังเอาข้าวเปล่าๆ ให้มันกิน มันไม่กินแล้ว มันติดเร็วเหลือเกินอย่างนั้น รูป เสียง กลิ่น รส นี่มันเป็นเครื่องทำลายการประพฤติปฏิบัติเรา ถ้าหากว่าเราทุกคนไม่รับการพิจารณาปัจจัยสี่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะเหล่านี้ ไปไม่ไหวแล้วพุทธศาสนานี่ <!--MsgFile=0-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    [​IMG] ๓๐. รู้จริง ยิ่งกว่า รู้จำ[​IMG]

    โยมเอาผลไม้อันหนึ่งมาถวายเรานะ ไม่รู้จักชื่อมันหรอก แต่เรารู้ว่ารสมันหวานมันอร่อย เรารู้ครับ มันรู้ แต่เราไม่รู้ชื่อมันว่าผลอะไร ไม่จำเป็น จำเป็นแต่รู้ว่ามันหวานมันอร่อยไหม นี่จำเป็นมาก นี่ผลอะไรไม่จำเป็นเท่าไร ถ้ามีใครมาบอกก็จำไว้ ถ้าไม่รู้ชื่อมันก็ปล่อยมันทิ้งก็ได้ เพราะถ้าเรารู้ชื่อมันอีก มันจะมีรสหวานเพิ่มขึ้นอีกก็ไม่ใช่ มันจะมีรสเปรี้ยวเพิ่มขึ้นอีกก็ไม่ใช่

    ความรู้ในการประพฤติปฏิบัตินี้ ปฏิบัติเพื่อให้มันรู้จัก แต่รู้ในการปฏิบัติน่ะมันถึงนะ ไม่ใช่มันไม่ถึง มันรู้ถึง เมื่อรู้ถึงมันก็ละ รู้จากการปฏิบัติ เมื่อรู้แล้วมันละ ไอ้ความอยากรู้จากการเรียน รู้แล้วมันไม่ละนะ มันยิ่งแน่นเข้าไปอีก มันมัดเราเข้าไปอีก

    [​IMG] ๓๑. เราไปยึดตรงไหนเกิดกิเลสตรงนั้น[​IMG]

    ทิฏฐิ คือ ความเห็น มานะ คือ ความยึดไว้ สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น การภาวนา คือ การทำให้มันมีอารมณ์เดียว ไม่ต้องทำอะไรมาก คล้ายๆกับว่าแก้วใบหนึ่ง ตั้งตรงนี้ ๑ นาที แล้วก็ย้ายมาตั้งตรงนี้อีก ๑ นาที ย้ายไปยกมาอย่างนี้ไม่ได้ทำอะไร ถ้าเราจะภาวนาแล้วก็พิจารณาการหายใจ ลมเข้าออกให้รู้ยาวสั้น ความรู้สึกเกิดเราก็ให้รู้มีสติ ไม่ต้องไปกำหนดมัน จะสงบหรือไม่สงบก็ช่างมัน ทำให้มันมาก

    [​IMG] ๓๒. อินทรีย์สังวร[​IMG]

    เมื่อเรามีสติอยู่ก็เหมือนกับแมงมุมที่มันทำรังชักใยไปมา ขึงอยู่กลางอากาศ เสร็จแล้วตัวแมงมุมก็มาอยู่ตรงกลางรังมัน เฉยอยู่ นิ่งอยู่ สงบอยู่ ด้วยมีสติอยู่ ถ้าแมลงวัน แมลงผึ้ง บินมาถูกใยมันก็เกิดสัมผัสขึ้นตัวแมงมุมก็รู้ ก็ตื่นขึ้น วิ่งไปจับสัตว์นั้นไว้เป็นอาหาร เมื่อจับเสร็จแล้วก็รีบมาอยู่ที่จุดเก่า ทำความสงบระวังอยู่ มีสติ รู้ว่าอะไรมันจะมาถูกเข้า ถ้ามันสัมผัสเมื่อไหร่แมงมุมก็ตื่น เพราะว่าแมงมุมอยู่ด้วยสติ

    แมงมุมนั้นก็เหมือนกับจิตของเรา จิตของเรานั้นอยู่กึ่งกลางของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต ผู้ประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ฉันนั้น ถ้าเราระมัดระวังอยู่ สังวรอยู่ สำรวมอยู่ มันจะรู้จักตัวของมันเอง รู้จักจิตของตนเองว่ามันเป็นไปในลํกษณะอย่างไร <!--MsgFile=1-->
    [​IMG] ๓๓. แม้มีมากก็ไม่ยุ่ง ถ้าต่างก็มุ่งละทิฏฐิมานะ[​IMG]

    ถ้าน้อมเพื่อมาละทิฏฐิมานะอันเดียวกัน มันก็ลงสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เหมือนกัน จะว่ามันมาก มันเกะกะก็ไม่ได้ คล้ายๆตัวกิ้งกือมันขาหลายขา ที่เรามองดูว่ามันน่าจะรำคาญ มันน่าจะยุ่งกับขาของมัน เวลาเดินไปเดินมา ความเป็นจริงตัวกิ้งกือมันไม่ยุ่ง มันมีจังหวะ มันมีระเบียบ ถึงแม้มันมากมันก็ไม่ยุ่ง

    ในทางพุทธศาสนานี้เหมือนกัน ถ้าปฏิบัติแบบยุคสาวกของพระพุทธเจ้าแล้วมันก็ง่าย เรียกว่า สุปะฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดี อุชุปะฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ญายะปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพ้นจากทุกข์ สามีจิปะฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง คุณสมบัติทั้งสี่ประการนี้เป็นคุณสมบัติของพระสงฆ์ ถ้าเราทำกันเช่นนี้ มันจะมีตั้งร้อยตั้งพัน มันลงมาอันเดียวกันสายเดียวกัน ถึงแม้ว่าพวกเราทั้งหลายจะมาจากทิศต่างๆ มันก็เหมือนกันนั่นเอง

    [​IMG] ๓๔. อาหารใจ[​IMG]

    เรื่องศีลก็ดี เรื่องสมาธิก็ดี เรื่องปัญญาก็ดี เหมือนอาหารของเรานะ ศีล ถ้าเป็นอาหารของเราก็เรียกว่ามีหวานอย่างเดียว ไม่มีมัน ถ้าเพิ่มสมาธิเข้ามาแล้วมันมีมันด้วย มันมีหวานแล้วก็มีมัน นี่! มันดีอย่างนี้ ถ้ามีมันกับหวาน มันก็ไม่สมบูรณ์ มันต้องมีหอมอีก สามอย่างนี้สมบูรณ์เลย จะเป็นอาหารภายนอกก็ตาม มันสมบูรณ์ มีหวาน มีมัน แล้วก็หอม มันก็ชวนให้คนทานเต็มที่นั่นละ อย่างนี้

    เรื่องศีลก็ดี เรื่องสมาธิก็ดี เรื่องปัญญาก็ดี เหมือนอาหารของเรานะ ศีล ถ้าเป็นอาหารของเราก็เรียกว่ามีหวานอย่างเดียว ไม่มีมัน ถ้าเพิ่มสมาธิเข้ามาแล้วมันมีมันด้วย มันมีหวานแล้วก็มีมัน นี่! มันดีอย่างนี้ ถ้ามีมันกับหวาน มันก็ไม่สมบูรณ์ มันต้องมีหอมอีก สามอย่างนี้สมบูรณ์เลย จะเป็นอาหารภายนอกก็ตาม มันสมบูรณ์ มีหวาน มีมัน แล้วก็หอม มันก็ชวนให้คนทานเต็มที่นั่นละ อย่างนี้
    [​IMG] ๓๕. ไม่เห็นในสิ่งที่เห็น[​IMG]

    สมาธิคือความตั้งใจมั่น ถ้าเรามั่นใจในข้อปฏิบัติของเรามันก็เป็นสมาธิส่วนหนึ่ง แต่ว่ามันยังไม่เป็นผล มันเป็นดอก ออกจากดอกมันก็เป็นผลเล็กผลใหญ่ ปัจจัยนิสัยของคนมันไม่เหมือนกัน สิ่งที่มันฝังอยู่เรายังไม่เห็นมัน เช่น เม็ดขนุน วันนี้เเราเอายวงขนุนมาฉัน หยิบเม็ดมันขึ้นมา อันนั้นคือเรายกต้นขนุนอยู่แล้ว แต่เวลานั้นเรายังมองไม่เห็น เรายังไม่รู้จัก จะเอาเม็ดไปทุบดูก็ไม่เห็นต้นมัน คือ มันละเอียด ถ้าไม่เห็น เราก็รู้สึกว่าไม่มีต้นไม้ในนี้ ทำไม คือมันไม่ถูกส่วนของมัน ถ้าเราเอาเม็ดไปฝังในดินมันจะงอกขึ้นมา ใบจะเกิดขึ้นมา กิ่งจะเกิดขึ้นมา ต่อไปมันโตขึ้น ดอกจะเกิดขึ้นมา ผลเล็กจะเกิดขึ้นมา ผลโตจะเกิดขึ้นมา ผลมันสุกๆ จะเกิดขึ้นมา แต่ว่าเมื่อมันยังเป็นเม็ดอยู่เราชี้มันไม่ถูก อย่างนั้นคนจึงไม่สนใจ

    ถ้านักปฏิบัติหยิบมะม่วงขึ้นมา คือ เราแบกต้นมะม่วงแล้ว อย่างเราหยิบเม็ดขนุนขึ้นมาเราไม่เห็น อะไรมันบังอยู่ รสหวานมันบังอยู่ รสเปรี้ยวมันบังอยู่ เรายังไม่ถึงต้นขนุนในเม็ดขนุน เรามองแต่อันนี้มันหวานนะ มันอร่อยนะ สิ่งทั้งหลายมันบังไว้ ไม่เห็นต้นขนุนในเม็ดขนุน เรานี้ก็เหมือนกัน เรานั่งทับอยู่ นอนทับอยู่ เดินไปก็เหยียบธรรมทุกก้าว แต่เราไม่รู้ว่าเหยียบธรรม

    [​IMG] ๓๖. อุเบกขา[​IMG]

    คนที่ยังทำไม่ได้อย่าไปโกรธเขาเลย เราก็แนะนำพร่ำสอนเรื่อยไป เมื่ออินทรีย์เขากล้า เขาก็จะเอา เราก็ทำอย่างนี้เรื่อยไป ปัญหาก็หมดไป เหมือนกับผลไม้ที่ยังอ่อนอยู่ จะไปบังคับให้มันหวานก็ไม่ได้ เพราะมันยังอ่อนอยู่ ยังเปรี้ยวอยู่ เพราะมันยังไม่โต มันยังไม่แก่ เราจะบังคับให้มันโต ให้มันหวานไม่ได้ เราก็ปล่อยไป เมื่ออินทรีย์กล้า มันจะโตขึ้นมาเอง มันจะหวานเอง จะสุกเอง ถ้าเราคิดอย่างนี้ได้ เราก็สบาย มนุษย์เราทั้งหลายในโลกนี้ก็อย่างนั้น <!--MsgEdited=3-->
    ความผิด ในความถูก โดยพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
    เรื่องที่ 1-5 http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4793888/Y4793888.html
    เรื่องที่ 6-12 http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4796213/Y4796213.html
    เรื่องที่ 13-20 http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4799100/Y4799100.html
    เรื่องที่ 21-28 http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4801982/Y4801982.html


    </center>
     

แชร์หน้านี้

Loading...