ภาวนาแบบเสียงดัง ทางลัดแห่งสมาธิ ใครเคยฝึกมาร่วมแบ่งปันกันครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย mod1, 11 ตุลาคม 2011.

  1. mod1

    mod1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +668
    ยังเป็นน้องใหม่ในเวปนะครับ
    ผิดผลาดประการใด ขออภัยทุกท่านมาณ.ที่นี้นะครับ

    ข้อความที่ผมนำมาพูดคุย นี้ถ้ามีท่านใดเคยโพสไว้แล้วก็ขออภัยด้วยนะครับ เจตนาเพียงเพื่อแลกเปลี่ยนเล่าสู่กันฟัง ครับ

    เมื่อประมาณปี 49 ผมได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ อยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง เริ่มแรกนั้นผมใช้วิธีภาวนาพุทโธ เหมือนหลายๆท่าน เคยฝึกมา แต่ ใช้เวลาฝึกอยู่ 1 เดือน ลองใช้ทุกคำภาวนา เพ่งน้ำเพ่งเทียน ไปเรื่อย ก็ยังคงนั่งตบยุง ปวดหลังอยู่อย่างนั้น จน มาเจอกับหลวงพี่องค์หนึ่งท่านแนะนำว่าให้ลองเปลี่ยนมาฝึกแบบ ที่หลวงพี่เคยฝึกมา โดย พนมมือ บริกรรม คำว่าสัมมาอรหัง แต่ให้สวดดังๆสุดเสียง และเร็วติดต่อกัน ห้ามแม้แต่หยุดหายใจ จนกว่าจะหมดเทียน 1 เล่ม ด้วยนิสัยเป็นคนชอบลอง เลย ขอให้หลวงพี่ช่วยฝึกให้ ตอนนั้นมี พระวัยรุ่นบวชเข้ามาอีก 4 องค์ ลูกศิษย์อีก 3-4คน หลวงพี่เลยจับมาฝึกด้วยกัน วันแรกที่ฝึกนั้น ต้องบอกว่าสุดสุดจริงๆ วัดเป็นวัดบ้านนอก อยู่ห่างจากหมู่บ้าน ประมาณ 1 กม กุฏิที่ใช้ฝึกกัน เป็นกุฏิไม้ 2 ชั้น ตอนสวดก็เปิดประตูหน้าต่างโล่งๆเนื่องจากมันร้อน แล้วก็นั่งสวดกันอยู่บนชั้น 2 ตอนดึกๆ เสียงดังได้ยินไปทั้งหมู่บ้าน
    วันแรกที่ฝึก นั้นก็ได้เรื่องเลย พระอีก 4 รูป ลูกศิษย์ 4 คน นั่งพนนมมือจุดเทียน ตั้งไว้ 1 เล่ม (เทียนเล่มบาท) จากนั้นนั่งสวดพร้อมกัน โดยมีหลวงพี่ใหญ่เป็นผู้ดูแล ตอนแรกเริ่มสวด คำบริกรรมมันจะยังฟังเป็นคำรู้เรื่องแต่หลังจากนั้น
    จะเริ่มรัวและฟังไม่รู้เรื่อง แต่หลวงพี่บอกปล่อยมันไปอย่าฝืน หลังจากนั้นผมจะเริ่มมีอาการ คือมือที่พนมไว้เริ่มสั่นและแรงขึ้น เรื่อยจนกระแทกหน้าอกตัวเองคล้ายๆคนปลุกพระ จากนั้นจะเปลี่ยนมาเป็นตีต้นขาตัวเองสุดแรง ไม่สามารถหยุดได้แต่รู้ตัวตลอดเวลา ตอนนี้คำบริกรรมก็ยังรัวอยู่อย่างนั้นส่วนหลวงพี่อีกองค์ กระโดดโย๊งๆเลย ทำท่าทางเหมือนของขึ้น อีกองค์เอามือตบปากตัวเอง หมาใต้ถุนวัดเห่าระงมวิ่งออกจากกุฏิ เพราะตกใจ ผู้ใหญ่กับชาวบ้านอีก 2-3คนวิ่งมาที่วัดนึกว่าพระตีกัน 555
    จนซักพักหลวงพี่ใหญ่เอามือมาแตะที่หัวอาการจึงสงบลง แต่เหนื่อยมากๆ เหงือแตก ยังกับวิ่งรอบหมู่บ้านมา เสียงแหบหมด แต่ที่แปลกคือจิตมันโล่งสบายอย่างที่ไม่เคยเป็น

    ..ทีนี้จะพูดถึงผลจากการฝึกลักษณะแบบนี้ครับ..

    หลังจาก เต้นแร้งเต้นกากันอยู่ 4-5วัน จากนั้นก็ไม่เป็นอีกเลยครับสามารถควบคุมได้และใช้เวลาสวดสั้นลงเพราะหลวงพี่บอกว่าถ้าจิตมันรวมและนิ่งแล้วให้หยุดบริกรรมแล้วนั่งสมาธิเงียบๆต่อ มันจะนั่งได้สบายกว่าแต่ก่อน ไม่ปวดหลังหรือบิดซ้ายบิดขวาเหมือนแต่ก่อนเพียงแต่ยังไม่ใช่สมาธิทีแท้จริงฝึกอยู่อย่างนี้ ประมาณ 10กว่าวันหลังจากนั้นก็หยุดมาฝึกด้วยวิธินั่งภาวนาพุทโธในใจโดยต่างคนต่างแยกกันไปนั่งหลังจากนั้นผมเริ่มจะเข้าสมาธิได้และดีขึ้นเรื่อยๆจนไม่ต้องบริกรรมอะไรเลยเพียงแค่กำหนดลมหายใจแป็บเดียวก็เข้าสมาธิได้เลย


    ...ผมเคยนั่งพิจารณาว่าทำไมวิธีฝึกแบบนี้จึงสามารถทำให้จิตนิ่งได้เร็วกว่าการฝึกแบบภาวนาในใจหรือแบบกำหนดลมหายใจ ...

    1.ปรกติเวลาเรานั่งหลับภาวนาในใจนั้น โอกาศที่จิตมันจะเผลอคิดฟุ้งซ่านนั้นในผู้ฝึกใหม่ๆ มีค่อนข้างสูง แต่การบริกรรมแบบดังๆจิตมันจะนิ่งและรวมอยู่ที่คำบริกรรมได้ไวกว่าโอกาสที่จะหลุดออกไปคิดไม่มีเลย คล้ายกับการฝึกของพระ ใน ทิเบต และ จีน ของจีนนี่น่าจะรวมถึงการฝึกพวกกังฟู เส้าหลินหรือ พวกไทเก็ก เมื่อฝึกแล้วเขาจะมานั่งสมาธิต่อ รวมถึงศาสนาคริสต์ แต่ของคริสต์จะใช้ดนตรีไปพร้อมกับการนมัสการพระเจ้า ซึ่งตอนนมัสการพระเจ้า ด้วยการร้องเพลง จะมีช่วงหยุดเป็นพักๆช่วงนี้จิตมันจะนิ่งและรู้สึกสงบมากๆ ผมว่ามันเป็นวิธีที่แยบยลและคิดไม่ถึง อันนี้ผมเคยเข้าไปศึกษาอยู่ในโบสคริสต์อยู่พักหนึ่งด้วยความอยากรู้อยากเห็นของตัวเอง^ ^

    2.อาการที่แสดงในผู้ฝึกใหม่ๆนั้น ผมคิดว่าอาจจะเป็นเพราะ

    2.1 อุปทาน ในขณะที่สวดอยู่นั้นเมื่อจิตมันอยู่กับเสียงสวด มันคล้ายกับการสะกดจิตหมู่ เพราะหลวงพี่จะคอยส่งเสียงเร่งให้เราสวดไวขึ้นตลอด พอมีผู้หนึ่งออกอาการ คนที่2ที่3 ก็เริ่มออกตามเพียงแต่อาการไม่เหมือนกันอันนี้น่าจะคล้ายกับการสวดภาณยักษ์หรือวิธีล้างกรมหมู่ของบางสำนัก ข้อนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับผิดถูกยังใงขออภัยครับ

    2.2 มีครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่าอาจเป็นกรรมที่เราเคยทำมาแสดงออกมาให้เราห็น หรือบางคนอาจเป็นเทพหรือ องค์มาลงแล้วแสดงอาการ บางคนก็มีอาการเหมือนของขึ้น...

    ...ผมคิดว่าอาจจะเป็นได้ทั้ง 2 ข้อครับ หรือ จะเป็นด้วยสาเหตุใดก็คงต้องรอผู้รู้มาเสริมอีกทีนะครับ...

    วิธีนี้น่าจะเหมาะสำหรับมือใหม่ใช้ฝึกและใช้ฝึกแค่ช่วงแรกเท่านั้นเมื่อสมาธิแข็งแรงแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ แต่ผมก็ยังใช้อยู่เนื่องจากหลังมาไม่ค่อยไม่ฝึกสมาธิเหมือนตอนที่อยู่วัดผมจะใช้วิธีสวดแบบดังๆเฉพาะวันใหนที่ผมฟุ้งซ่าน สวดซักพักแล้วนั่งสมาธิต่อสมาธิจะคืนมาไว

    ข้อห้ามนะครับ

    1.ถ้าจะเริ่มฝึกด้วยวิธีนี้ ต้องลองหาสำนักหรือครูบาอาจารย์ที่ท่านสอน ห้ามฝึกเอง เพราะมันจะมีอาการเหมือนที่บอกไว้ โดยเฉพาะบางท่านอาจจะมีองค์อยู่ อาจจะมีอาการแสดงออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง อีกอย่าง ยิ่งจำนวนผู้ฝึกมีมากจิตจะยิ่งรวมได้ไว

    2.วิธีนี้เหมาะสำหรับมือใหม่ใจร้อนอยากได้สมาธิไวไว และท่านที่ฝึกสมาธิมานานแต่ไม่เคยได้เลย และ มีเวลาฝึกน้อยไม่สม่ำเสมอ วิธีนี้ช่วยได้ครับ ได้ผลดีด้วยครับ เจอมาหลายท่านแล้ว

    3.สุขภาพและสังขารต้องแข็งแรงหน่อยนะครับ เพราะต้องใช้กำลังเยอะ

    สุดท้ายนี้ผมต้องขออภัยจริงๆครับเพราะจำไม่ได้ว่าครูบาอาจารย์ท่านใดเป็นผู้คิดการฝึกด้วยวิธีนี้ แต่ที่เขียนกระทู้นี้ เพราะต้องการเล่าประสพการ์ณของการฝึกให้ฟังเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้กันอ่าน ส่วนวิธีการฝึกแบบละเอียดคงต้องเสาะหากันเอาเองและ ต้องรบกวนถามท่านผู้รู้มาตอบอีกทีครับ ซึ่งน่าจะเหมาะสำหรับมือใหม่ที่สนใจไฝ่ธรรม ผิดพลาดประการใดผู้น้อยยินดีรับคำชี้แนะติเตียนครับ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2011
  2. ตถาคตบุตร

    ตถาคตบุตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +19
    แบบนี้ละครับ เค้าเรียกว่า อุพเพงคาปิติ เป็นปิติ ที่อยู่ในฌาน2 ปิติตัวนี้จะทำให้สมาธิที่มีที่เป็นแนบแน่น มีกำลังต่อสู้กะเวทนาได้ เพราะมันเป็นทั้งฤทธิ์ และกำลัง
     
  3. aphipoo

    aphipoo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2010
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +39
    ผมว่าจะคล้ายๆกับการนั่งสมาธิออกกรรมที่วัดเขาสมโภชน์นะครับ ถ้าหายใจเข้า พอง หายใจออกยุบ แต่ให้สูดลมหายใจให้สุด แรงๆห้ามหยุด สักพักนึง ก็จะเกิดการชาตั้งแต่ท้อง ขึ้นหน้าอก ขึ้นหน้า ขึ้นหัว แล้วสภาวะกรรม+ธรรม นั้นของแต่ละคนก็จะออกมา บางคนก็จะเป็นเหมือนมีองค์ลงเหมือนสัญญาณเก่า อะไรทำนองนั้น
     
  4. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    ไม่แปลกหรอกครับ เป็นสายทางอีสานครับ แล้วแต่ใครจะปประยุคมาใช้ แต่ต้นฉบับก็คืออีสาร เขาเรียกว่า วิชาดวงธรรม....
    ภาวนาให้มีเสียง
    การประยุกต์
    1.ใช้คำภาวนาว่า นะ
    2. พุทโธ
    3.พองยุบ
    4.เมนาโถ เมนาถัง
    5.ฟอกลมหายใจเข้าออก แรงๆ
    6.สัมมาอรหัง
    --
    ส่วนอาการนั้น เป้นกิเลสเราเอง เรากระแทกกิเลสแรง กิเลสมันก็กระแทกเราแรง ร่างกายมันเลยสั่น แสดงท่าทางต่างๆ เหมือนโมโห ร้องโวกแวกโวยวาย.....นั้นเป็นอาการ โทษะ
    เมื่อระบายมันออก มันจะโล่ง แล้วตัวจะเบา ลมหายใจจะเบา แต่ถ้าเราไปรับอารมณ์มาอีก

    ให้คุณลองสังเกตุ หลังรับอารมณ์มา คุณมานั่งสมาธินะ คุณก็จะสั่นอีก เพราะสมาธิมันบีบ อารมณ์ให้ออก
     
  5. พระ ปทีโป

    พระ ปทีโป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +124

    ความเห็นเดี่ยวกัน สติคุมจิต สัมปชัญญะคุมกาย.
     
  6. boonsongma

    boonsongma สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนาครับ เป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ดี ขอให้ก้าวหน้าในธรรมต่อไปนะตรับ
     
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    ถ้ายินดีรับคำ ติเตียน จริงนะครับ ถ้ายินดีจริง ก็ทำใจอ่านนิดหน่อย

    แน่นอนหละว่า มันต้องออกแนว ทัก เตือน ให้ระลึกถึง "สติ"

    แต่คำว่า เตือนให้ระลึกถึง "สติ" อันนี้ คุณต้องสดับธรรมมากๆ แล้วจะ
    รู้ว่ามันเป็น สำนวนการพูดของชาวพุทธที่ปฏิบัติ(ชี้ทาง) ไม่ได้เป็น สำนวน
    พูดแบบชาวบ้าน(ชี้โทษ)

    มาดูกัน

    อันแรก ทำไมมันทำให้ จิตไม่สัดส่ายง่าย เหมือนการ"ระลึกสติ"ดูลมหายใจ

    เหตุผลนั้น เป็นหญ้าปากคอกมากๆ คือ คุณวางใจดูลมหายใจไม่ถูก ถ้าคุณ
    วางจิตวางใจดูลมหายใจให้ถูก จะพบว่า อ้าว มันเหมือนกันนี่หว่า ไม่ใช่เพราะ
    มีสายเสียงดัง หรือ สายดูลมหายใจอะไร

    ความเหมือนกันอยู่ตรงไหนกันเนาะ ก็อยู่ตรงที่ "เน้นการหายใจออกอย่างผ่อน
    คลายไปแบบชีวิตปรกติ" เป็นตัวเหนี่ยวนำเข้าสู่สมาธิ

    ยังไงหละ ก็ต้องมาดู การออกเสียงดังกันก่อน

    การออกเสียงดัง "ใช่การปล่อยลมหายใจออก" ไหมครับ แน่นอนเลยว่า ตาม
    ธรรมชาตินั้น การส่งเสียงดังต้องปล่อยลมออก

    ทีนี้ พระท่านใช้อุบาย กึ่งอนุญาติให้ ออกอาการเต็มที่ อะไรก็ได้ ขออย่าให้
    กระมิดกระเมี้ยน สงวนท่าที ให้ดูดี ให้ดูเป็นนักปฏบัติผู้เคร่งครัด ให้ระเบิดเถิด
    เทิงไปตามธรรมชาติเลย นี่เห็นไหมว่า ตรงนี้เป็นการ ปล่อยให้คุณวางใจวางจิต
    ให้เป็นธรรมชาติ อย่าเก๊ก อย่าหล่อ อย่าเอาดี อย่ามัวกลัวชั่ว อย่าขังจิต อย่าขัง
    ใจ อย่ากดข่ม อย่าเพ่ง

    จะเห็นว่า มันเป็นอุบายการสอน สองจังหวะ โดยไม่ต้องใช้ ได้เกียวทูที คือ

    1. เน้นการปล่อยลมหายใจออก เป็นการ ผ่อนคลาย"กายา" พอปล่อย "ลม" จนหมด
    ก็จะต้องเหลือแต่ "ใจ" ลมหมดใจก็ปรากฏ(หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี)

    2.เน้นการปล่อย "ใจ" ที่จะต้องแสดงตัวออกมาอีก โดยทีนี้อนุญาติให้แสดงอากัปกริยา
    อะไรก็ได้ อย่าเอาแต่ติดดี เกลียดชั่ว ปรุงมาดนักปฏิบัติ

    ความผ่อนคลายทั้งจาก "กายา" คือ "ลม" (ลมคือกาย กายคือลม อานาปานสติของ
    พระพุทธเจ้า) แล้วตามด้วยการ ผ่อนคลาย "ใจ" หรือ "จิต" แล้วตามดู การปล่อย
    วาง "กายา" และ การปล่อยวาง"จิต" เนืองๆ ยกขึ้้นเป็น "ปฏินิสสัคคะนุปัสสนา"
    ตามเห็นความการสลัดคืน "กายา" และ "จิต" เนืองๆ จึงทำให้ รู้สึกว่า "สงบ"
    ( จุดๆนี้ หากเรา วกกลับไป พิจารณาดูลม อานาปานสติ จะเห็นเลยว่า มันจะ
    เหมือนกันในการ ผ่อนคลายกาย กับ จิต เพียงแต่ ไม่ต้องอาศัยอุบายหลอกจิต
    แต่ อยู่ที่ วางจิตวางใจให้ถูก ก็เป็นอันจบ และ สมาทานกรรมฐานได้ตลอดวัน
    ย่ำรุ่ง เย็นย่ำค่ำได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งจมูกใครเลย ไม่ต้องให้ใครมาแตะหน้าผาก
    เราเพ่ือปล่อยออกจากการแสวงหาภพ(สัมภเวสี) แม้แต่คนเดียว)

    แต่......ตรงนี้ต้องดู การต่อยอด หลายที่หลายสำนัก พอสอนมาถึง การสลัดคือ กาย
    สลัดคืนจิต แล้ว ผู้ปฏิบัติจะมี จิตใจพร้อมที่จะโอนอ่อนผ่อนตาม ตรงนี้หากได้
    "กัลยาณมิตร" ที่ไม่ดี เขาจะฉวยเอาผลประโยชน์จากผู้ปฏิบัติ ทางใดทางหนึ่ง เช่น
    พาไปปล่อยวิญญาณที่ภาคใต้ พาไปปล่อยวิญญาณที่ภาคเหนือ แล้วให้เราพาไปปล่อย
    วิญญาณที่เมืองนอก มักจะแฝงไปกับการ แกะรหัสธรรม ค้นหารหัสธาตุ รื้อฝื้นพระ
    ไตรปิฏก รื้อฝื้นคำสอนที่หายไปนาน ฯลฯ

    แต่ถ้าได้ "กัลยาณมิตร" ที่ดี ท่านจะเน้นให้ยกจิต ตามดู "ปฏินิสสัคคะนุปัสสนา"

    ปฏินิสสัคคะปัสสนา คือ การปล่อยวาง ซึ่งจะมีการปล่อยวาง "ขันธ์5" และการปล่อย
    "สิ่งบำรุงขันธ์5" อย่างใดอย่างหนึ่ง

    สังเกตุนะครับว่า กัลยาณมิตรที่ไม่ดี จะเน้นไปทาง ให้เราปล่อยวาง "สิ่งบำรุงขันธ์5"
    ซึ่งจะออกแนว เรี่ยไร ถึงขั้น ตบทรัพย์

    แต่ถ้าเป็น กัลยาณมิตรที่ดี การปล่อยสิ่งบำรุงขันธ์5 นั้น จะต้องเป็นสิ่งที่เราติดข้องเท่า
    นั้นไม่ใช่ ให้ไปโกยมาให้เขาทั้งหมด เช่น ผู้ปฏิบัติติดที่นอนอันนุ่ม ติดอาสนะอันนุ่ม
    ติดอาหารรสเลิศ ก็ให้ปล่อยอันนั้น ไม่ใช่ แทงกบ ให้เราปล่อยทรัพย์ ปล่อยลูก ปล่อย
    เมีย ปล่อยบ้าน ปล่อยการงาน พาไปนู้นไปนี่

    ก็อธิบาย พอเป็น เหตุผล ให้ไป วิจัย หนทางที่เดินอยู่ เอาไป วิจัยนะ นี่ไม่ใช่
    การตัดสินอะไร คุณเท่านั้นที่เป็นคนตัดสิน ซึ่ง ก็ต้องขึ้นกับว่า คุณสบายใจ หรือ
    มี จิตลงให้กับพระกรรมฐาน ก็ไม่ว่ากัน ให้ทำไปก่อน

    แต่ต้องไม่ลืมที่จะทบทวน ใคร่ครวญด้วยความแยบคาย และ ต้องระลึกมหาประเทศ4
    อย่างน้อย ก็ "หนทางของการคลุกคลี ไม่ใช่คำสอนของตถาคต" อันนี้ต้องใส่ใจ
    ให้มากๆ การคลุกคลีจะต้องไม่เกิน 7 เดือน หรือ 7 ปี หากเกินกว่าเป้าตรงนี้
    ก็ต้องพิจารณาเนาะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...