ภูไท...ภาษาภูไท...วันละคำ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ติงติง, 29 มิถุนายน 2011.

  1. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ผู้ไทย...ภูไท...
    คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” ผู้ไทย คำว่า'ผู้" หรือ "พู้" เป็นสำเนียง ออกเสียงคำพูด ของคนภูไท
    แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขียนว่า “ผู้ไทย”ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยอยู่ในแค้วนสิบสองจุไทย
    และแคว้นสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทย ซึ่งอยู่ในเขตของลาวให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2>เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
    1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม
    2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว
    รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย"


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]







    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=20 width="14%">










    </TD><TD width="14%">










    </TD><TD vAlign=top rowSpan=3 width="72%"><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=right><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยซึ่งมีนามว่า พระศรีวรราช ได้มีความดีความชอบในการ ช่วยปราบกบฏ
    ในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบกษัตริย์
    เวียงจันทน์ จึงได้ปูนบำเหน็จ โดยพระราชทาน
    พระราชธิดาชื่อนางช่อฟ้า ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรซึ่ง เกิดจากพระศรีวรราชหัวหน้าชาวผู้ไทย และ
    เจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครอง
    หัวเมืองชาวผู้ไทย คือ เมืองสบแอก
    เมืองเชียงค้อ เมืองวัง เมืองตะโปน(เซโปน)
    พร้อมกับอพยพชาวผู้ไทยลงไปทางใต้ของ
    ราชอาณาจักรเวียงจันทน์(ปัจจุบันอยู่ในแขวง
    สุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน)









    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD colSpan=2><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ชาวภูไท





    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>(เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าประดิษฐาสารีในหนังสือชื่อ
    พระราชธรรมเนียมลาวซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2479 ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่ 4
    และเจ้าจอมมารดาดวงคำ เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ ) ต่อมาชาวผู้ไทยได้ แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ของลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ เป็นกบฎต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปปราบปราม
    จนสงบราบคาบแล้วทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยพพวกผู้ไทย ข่า กะโซ่ กะเลิง ฯลฯ จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
    ให้มาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เวียงจันทน์ และญวนอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ... มีหมู่บ้านเชื้อสายภูไท ร้อยกว่าหมู่บ้านประชากรเกือบ 1 ใน 4 เป็นชาวผู้ไทยซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในท้องที่เมืองต่าง ๆในอดีต คือ


    [​IMG] [​IMG]

    1.เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)


    [​IMG] [​IMG]

    2. เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

    [​IMG] [​IMG]

    3.เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

    [​IMG] [​IMG]

    4. เมืองภูแล่นช้า ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังจำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น "พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

    [​IMG] [​IMG]

    5. เมืองหนองสูง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเข ียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

    [​IMG] [​IMG]

    6. เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเข ต ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดกและเมื่อยุ บเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58หอสมุดแห่งชาติ)

    [​IMG] [​IMG]

    7. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้ วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

    [​IMG] [​IMG]

    8. เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทยเมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ" ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอยเขตเมืองสกลนคร จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อ ำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
    ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณ าโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

    [​IMG] [​IMG]

    9. เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ) อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ มุกดาหาร

    [​IMG]

    ขอบคุณที่มา










    </TD></TR></TBODY>
    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2011
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    เมะ ความหมาย แม่ หรือยาย
    โพะ ความหมาย พ่อ หรือปู่
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ผู้ไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์รองลงมาจากพวกไทย-ลาว ชาวภูไทสกลนครจะอยู่ที่อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพรรณานิคม อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอส่องดาว อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอเต่างอย อำเภอบ้านม่วง อำเภอนิคมน้ำอูน
    -ภาษาภูไทจะมีภาษาของลื้อและภาษาของลาวตะวันออกปนอยู่ด้วย
    -ส่วนพระยาอนุมานราชธน มีความเห็นว่า “ภาษาภูไทมีเสียงพูด ส่วนมากใกล้กับพวกพวน เขตเชียงขวางของลาว และพวกพวน ในอำเภอศรีเชียง จังหวัดหนองคาย”
    ชาวภูไทถิ่นสกลนคร จะมีภาษาพูดและเสียงวรรณยุกต์ใกล้เคียงกับภาษากลาง มักจะทอดเสียงยาว และตวัดเสียงสูงขึ้นในพยางค์ท้าย เช่นคำว่า “ไม่” จะออกเสียงว่า “มิ, มิได้”
    ภูไท(ผู้ไทย) เดิมมาจากคำว่า พุไท หรือวุไท ซึ่งหมายถึงคนเผ่าไทกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท และอาณาจักรล้านช้าง มีการเคลื่อนย้ายเข้ามาในภาคอีสานหลายครั้ง ถือเป็นชนกลุ่มหนึ่งในจำนวน 6 เผ่าของสกลนคร ชาวภูไท(ผู้ไทย) นอกจากจะมีมากในจังหวัดสกลนครแล้วก็จะมีในจังหวัดนครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ ในส่วนของจังหวัดสกลนครชาว


    ภูไท(ผู้ไทย) ได้อพยพมาจากที่ต่างกัน ดังนี้คือ
    1) ผู้ไทยวัง คือผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มาตั้งบ้านเรือนในแถบอำเภอพรรณานิคม
    2) ภูไท(ผู้ไทย) กระป๋อง คือ ผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง มาตั้งบ้านเรือนที่ในเขตอำเภอวาริชภูมิ
    3) ภูไท(ผู้ไทย) กะตาก มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตำบลโนนหอม และแถบทางใต้ของริมหนองหาร
    นอกจากนี้ก็มีการกระจายตัวอยู่ทั่วไปในหลายอำเภอ การทำมาหากินชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นคนขยันทำหลายอาชีพ เช่น ทำไร่ ทำนา ค้าวัวควาย นำกองเกวียนไปขายต่างถิ่น เรียกว่า นายฮ้อย จึงนับเป็นกลุ่มชนที่ขยันขันแข็งและประหยัดมัธยัสถ์

    ทางด้านวัฒนธรรม ชาวภูไท(ผู้ไทย) มีวิถีชีวิตการอยู่อาศัยแบบภูไท(ผู้ไทย) เครื่องแต่งตัวสวมซิ่นหมี่ตีนต่อ ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ทอเป็นลวดหมี่ หมี่ขอ ผ้าย้อมครามจนเป็นครามแก่ เรียกว่าผ้าดำสวมเสื้อแขนกระบอก คอตั้ง ติดกระดุมทำด้วยเหรียญเงินเจาะรู เย็บเป็นแถวลงมาเกือบถึงชายเสื้อ การฟ้อนรำแต่งขลิบแดงที่แขนและชายเสื้อ และมีผ้าจ่องทอเป็นผืนเล็กเป็นผ้าลายคลุมไหล่หรือผ้าสไบเป็นผ้าแพรวาเฉวียงไหล่ขวาปล่อยชายลงด้านซ้าย สวมเครื่องประดับสร้อยข้อมือเท้าด้วยโลหะเงิน เกล้าผมมวยสูงตั้งตรง มัดมวยดัวยผ้าแถบผืนเล็ก ๆ ส่วนชายจะแต่งกายด้วยเสื้อม่อฮ่อม กางเกงขาก้วยย้อมคราม มีผ้าขาวม้ามัดเอว
    การรำภูไท(ผู้ไทย) หรือการฟ้อนภูไท(ผู้ไทย) นิยมฟ้อนเป็นหมู่คณะ ฟ้อนได้ทั้งหญิงและชายแต่เดิมเป็นการฟ้อนรำเพื่อบูชาพระธาตุในเทศกาลสักการะพระธาตุเชิงชุมหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีเลี้ยงเจ้าปู่มเหศักดิ์ของชาววาริชภูมิ ในปัจจุบันการฟ้อนภูไท(ผู้ไทย) ใช้ในการฟ้อนต้อนรับแขกบ้าน แขกเมืองและในงานเทศกาลต่าง ๆเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำผู้ไท(ไทย) ได้แก่ แคน และกลองหางเป็นหลัก นอกจากนี้ก็มีพิณ กลองตุ้ม (ตะโพน) หมากกลิ้งกล่อม (โปงลาง) สิ่ง (ฉิ่ง) แส่ง (ฉาบ) หมากกั๊บแก๊บ (กรับ) ฆ้องโหม่งและพังฮาด (ฆ้องโบราณไม่มีปุ่ม) ผู้บรรเลงดนตรีจะเป็นชายท่าฟ้อนรำภูไท(ผู้ไทย) มีผู้สืบต่อและปรับปรุงกันมากมายหลายท่า แต่ละท้องถิ่นมีท่าแตกต่างกันไป ท่าหลักที่พบนิยมฟ้อนรำ ได้แก่ ท่าม้วนช้างหรือฟ้อนม้วน ท่ากาเต้นก้อน ท่าเสือออกเหล่าท่าหนุมานถวายแหวน เป็นต้น

    ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
    ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษและมีวัฒนธรรมในเรื่องการทักทอ เสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฎมีเสื้อผ้าชนิดต่าง ๆ ทั้งผ้าผ้ายผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวา ในปัจจุบันเป็นผู้ที่ผลิตใช้เวลาและมีความสวยงามก็เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มภูไท(ผู้ไทย) จึงนับว่ามีวัฒนธรรมเรื่อง เสื้อผ้าเด่นชัดมาก
    ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มผู้ไทยที่เด่นชัด คือการทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อ เป็นผืนเดียวกับผืนผ้า เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4 ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า “ตีนเต๊าะ” เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ไทย ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่า “ผ้าดำ” หรือซิ่นดำลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวผู้ไทย คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็ก ๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาตั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูก ป้ายสี เปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้าหมัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำ ในกลุ่มผู้ไทย
    เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กรุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อมครามเข้ม ในราว พ.ศ. 2480 ได้มีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อ ปลายแขนเพื่อใน การฟ้อนผู้ไทยสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
    ผ้าห่ม การทอผ้าห่มผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของชาวกลุ่มพื้นอีสาณมานานแล้ว ผ้าห่ม ใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับไทยลาว ที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมาทำให้มีขนาดเล็ก ทำเป็นผ้าสโบเป็นส่วนแทนประโยชน์ ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกปิดร่างกายส่วนบน โดยการห่มทับเสื้อ ผ้าห่มของผู้ไทยที่เรียกว่า “ผ้าจ่อง” เป็นผ้าทางด้ายยีน มีเครื่องลาย เครื่องพื้น หลายแบบนอกจากนี้ยังมีผ้าแพววา
    นอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวผู้ไทยยังมีผ้าลาย ซึ่งใช้เป็นผ้ากั้นห้อง หรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลาง 2 ผืน เป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ผ้าลายที่มีชื่อคือ ผ้าลายบ้านนางอย อ.เต่างอย จ.สกลนคร การแต่งกายของชาวผู้ไทย ยังนิยมสายสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า ด้วยโลหะเงิน ข้อเท้า (ก้องแขน ก้องขา) ด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรง ในสมัยโบราณใช้ผ้ามนหรือ แพรมน ทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผม อวดลวดลายผ้าด้านหลัง ในปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทน แพรมน



     
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ผญา
    พี่น้องเอ๋ย....เผอว่าแดนภูไทฮ้าง เยอะจูงแหนเพิ่นไปเบิ่ง
    ฮ้างจังใด๋ ป่าไผ่ยังโซ้ยโล้ย ป่าโก้ยยังซ้ายล้าย
    ซิไปฮ้างแม้นบ่อนเลอน้อ.....พี่น้องเอ๋ย

    ....
    ขอมาเป็นพี่เป็นน้องนำแหน่เด้อ ซุมแซวซาวภูไท :boo:
     
  5. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ผญา
    โอย....บ่าวผู้ไทเมืองนครพนมเอย อ้ายเอยน้องอยากถามข่าวอ้อยป้องถี่กินหวานเบิ่งเด
    ถามข่าวตาลก้านก่องยามฮ้อน ถามข่าวม้อนนอนสองแม่อ้ายแก้มแล้วบ่
    คั้นแม้นมอนมีพอแก้มทางน้องละไปหา
    อ้ายเอยน้องนี้แล้ว น้องอยากถามเบิ่งผักบ้งโสนเทิงแม่อ้ายปุ
    แม้นได้ผู้ถกยอดนึ่งดึงยอดต้มชมแล้วแต่เฮิงบ่ เฮ้อเจ้าไขวาจาเบิ่งดู

    <!-- / message -->
     
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    โอย....หนออ้ายเอย บ่าวผู้ไทเอย บุญมีเคยหมายไฮ้ย้านถึป่าหญ้าคาเด บุญมีเคยหมายนาย้านถึป่าหญ้าแฝก ย้านเป็นของแขกค้าไทบ้านเพิ้นผัดหวง น้องหยะถามข่าวอ้อยบ้องถี่กินหวาน ถามข่าวตาลก้านก่องยามฮ้อน ถามข่าวม้อนปุมอนพอแล้วบ่ คั้นม้อนมีพอแก้มทางน้องหยะไปแกม แนมตานำ บ่าวผมดำเอย
    <!-- / message -->
     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    เกร็ดภาษาภูไท
    " ภูไท " คือชนชาติไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งมีสำเนียงภาษาพูดเป็นของตนเอง
    แต่คำส่วนมากก็ใกล้เคียงกับภาษาของชนชาติไทยสาขาอื่นๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาภูไทไว้ ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของไทยภาษาหนึ่ง
    ข้าพเจ้าจึงขอเขียนเกร็ดของภาษาภูไทในแง่ที่เห็นว่าแปลกแตกต่างจากภาษาไทยสาขาอื่น ตัวหนังสือภูไท
    " ท่านถวิล เกษรราช " เขียนไว้ในหนังสือ " ประวัติผู้ไทย " ว่าแต่เดิมท่านก็เชื่อว่าชาวภูไทมีแต่ภาษาพูด
    ต่อมาท่านได้ค้นพบว่าชาวภูไทมีหนังสือของตนใช้ แต่เนื่องจากต่อมาได้รับเอาตัวอักษรของลาวบ้าง
    ศึกษาอักษรธรรมบ้างในการเขียนอ่าน อักษรของตนก็เลยหดหายไปไม่มีใครศึกษาสืบต่อ ในที่นี้ขอคัดลอกจาก
    หนังสือท่านถวิล เกษรราช ให้ดูว่าชาวภูไทนั้นเคยมีอักษรหรือตัวหนังสือของตนใช้มาก่อนพอเป็นหลักฐานเท่านั้น (ใบแทรก)
    และต่อไปนี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่เป็นภาษาพูด

    เสียงสระในภาษาภูไท
    สระ ใอ (ไม้ม้วน) ท่านสุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เขียนไว้ในหนังสือ หลักภาษาไทย ว่า "สระ ใอ
    ใช้กับคำที่เรานำมาจากภาษาไทยถิ่น เช่น ไทยดำ ไทยขาว ไทยคำตี่ พูไทย ไทยในรัฐฉาน ซึ่งเขาออกเสียงเป็น เออ
    แต่เราออกเสียงให้เหมือนเขาไม่ได้ เราฟังดูจับได้ว่าคล้ายๆ เสียง ไอ ของเรา
    ดังนั้นเราคิดรูปสระขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับ ไอ แต่ไม่ให้เหมือนกัน จึงคิด ใ (ไม้ม้วน) ขึ้น" ซึ่งเป็นความจริงว่า สระ ใอ (ไม้ม้วน)
    ในภาษาภูไทเกือบทั้งหมดจะออกเสียงเป็นสระ เออ (วรรณยุกต์โทบางคำ) ดังนี้

    ใหญ่ ออกเสียงเป็น เญอเช่นยาห้ามหน้าห้ามต๋าผู้เญอ เพิ้นเด้อ
    ใหม่ ออกเสียงเป็น เมอ
    ให้ ออกเสียงเป็น เห้อเช่นหาผ้าเมอ มาเห้อ กูเซอ แนสูเอ๊ย
    ใส่ ออกเสียงเป็น เซอ
    สะใภ้ ออกเสียงเป็น ลุเภ้อ
    ใน ออกเสียงเป็น เน้อเช่นลุเภ้อ เอาเส้อ (เสื้อ) ไป๋ไว้ เน้อ ตู้เห้อแน
    ใจ ออกเสียงเป็น เจ๋อเช่นเอ๋าเจ๋อเซอหนังสือหนังหาแนลุเอ๊ย
    ใช้ ออกเสียงเป็น เซ้อเช่นเซ้อเห้อไป๋เมิง (เมือง) ฮ่อมิเห้อว้าไก๋
    ใต้ ออกเสียงเป็น เต้อเช่นเฮิน (เรือน) ข้อยยูทางบ้านเต้อพุ้น
    ใด ออกเสียงเป็น เลอเช่นหองเจ้านะอั๋นเลอ
    ใคร ออกเสียงเป็น เพอเช่นเพอเอ็ดเผอเหลอยูซิเลอ
    ใกล้ ออกเสียงเป็น เค้อเช่นเพอยูไก๋เพิ้นเห้อ เพอยูเค้อเพิ้นซัง
    ใบ้ ออกเสียงเป็น เบ้อเช่นคนขี้เบ้อยาเห้อมันไป๋นำเนาะ
    ใบ ออกเสียงเป็น เบ๋อเช่นขอปิดค้างเห้อเห็นเคอ ปิดเบ๋อเห้อเห็นมะดาย
    ใย ออกเสียงเป็น เยอเช่นบ้าเบ้อถือเยอโบ๋ (บัว)

     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    คุณครู หนูแปลไม่ออก......
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    เปรียบเทียบร้อยกรองภาษาไทย กับ ภาษาภูไท ในเรื่องสระ ใอ (ไม้ม้วน) เป็นสระ เออ ดังนี้
    สระ ใอ (ไม้ม้วน) ในภาษาไทย
    ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
    ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
    จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสแลปลาปู
    สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
    บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
    เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี

    .....................................
    สระ เออ ในภาษาภูไท
    ผู้เญอหาผ้าเมอ เห้อลุเภ้อเซ้อค้องคอ
    เฟอเจ๋อเอ๋าเซอฮอ มิหลงเหลอเพอขอดู (เบิง)
    จะเค้อลงเฮอเบ๋อ เบิงน้ำเสอแลป๋าปู๋
    เผอเหลอยูเน้อตู้ มิเซ้อ(แม้น)ยูเต้อตังเต๋ง
    บ้าเบ้อถือเยอโบ๋ หูต๋าโมมาเค้อเคง
    เล้าท้องยาลิเล้ง เพง(เพียง)ซาว เออ จำจงดี

    หมายเหตุ ภาษาภูไทแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกันออกไป
    เช่น
    คำว่า จะใคร่เทียบภาษาภูไทว่าจะเค้อ
    คำว่า มิใช่เทียบภาษาภูไทว่ามิเซ้อ หรือ มิแม้น
    คำว่า น้ำใสเทียบภาษาภูไทว่าน้ำเสอ
    คำว่า ใฝ่เทียบภาษาภูไทว่าเฟอ
    จึงฝากผู้รู้นักปราชญ์ทั้งหลายวินิจฉัยต่อไป
    สระ เอือ ออกเสียงเป็นสระ เออ
    เสือ ออกเสียงเป็น เสอ
    เหลือ ออกเสียงเป็นเหลอเช่นกิ๋นซ้างกะมิเหลอ กิ๋นเสอกะมิอีม
    เกลือ ออกเสียงเป็น เก๋อ
    เหนือ ออกเสียงเป็น เหนอ เช่นไป๋เอ๋าเก๋อบ้านเหนอเห้อแน
    สระ เอีย ออกเสียงเป็นสระ เอ
    เมีย ออกเสียงเป็น เม เช่นเอ๋าเมไป๋แล้วมิเห้อตีต๋างพ้า ห้า (ฆ่า) ต๋างเสม
    เสีย ออกเสียงเป็นเสเช่นฮีตแตปู่มิเห้อยา ฮีตแตย่ามิเห้อเส
    เบี้ย ออกเสียงเป็นเบ้ เช่นมิเห้อคบคนจรนอนมินสูบฟิน(ฝิ่น)กิ๋นกัญชา ดิ้นเบ้แทงโป๋ มะไหโลมันมิดีดาย
    สระ ออ สะกดด้วย ก ออกเสียงเป็นสระ เอาะ
    บอก ออกเสียงเป็นเบ้าะ เช่นเบ้าะเมอไฮ้มิเห้อถะไหลเมอนา
    ออก ออกเสียงเป็นเอ้าะเช่นฮีตแตปู่มิเห้อยา ฮีตแตย่ามิเห้อเส
    นอก ออกเสียงเป็นเนาะ เช่นเอ้าะเนาะบ้านกะเห้อย่านเพิ้นเว้าแนวมิดี๋
    คอก ออกเสียงเป็นเคาะ เช่นเคาะโงเคาะควายเคาะไกเคาะก๋าเห้อโหซามันแน
    ศอก ออกเสียงเป็นเซาะเช่นยอเซาะกะแกวน ยอแหนกะมิหึ้นแล้วอาญาเอ้ย
    มะกอก ออกเสียงเป็นมะเก้าะ
    ตอก ออกเสียงเป็นเต้าะเช่นเอ๋ามะเก้าะเต้าะโหมันโลด
    สระ อัว ออกเสียงเป็นสระ โอ
    ผัว ออกเสียงเป็นโผ เช่นโผเมนี้กู**ยาได้ว้า ข้อยและเจ้าคำนี้จึงค่อยจา
    ตัว ออกเสียงเป็นโต๋
    บัว ออกเสียงเป็นโบ๋เช่นซ้างตายทั้งโต๋ เอ๋าเบ๋อโบ๋มาปก

     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ๕๕๕ คุณครูเก๊าะเว้ามิเป๋น
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ติงตั้งกระทู้นี้ให้ลูกศิษย์ค่ะ น้องเขาอยู่ ม.๒ แต่มีวงกลองยาวเป็นของตนเอง มีเพื่อนร่วมคณะเป็นเด็ก ม.๒/๔ โรงเรียนเลิงนกทาค่ะ
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    น้องโจโจ้ แน่เลย.....
     
  13. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    เว้ามิเป่นกะเฮ้อข้อยเว้าแทนกะได้เด้อ เหอ เหอ
     
  14. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ใช่ค่ะ น้องโจโจ้ จะมาหาคุณแม่ติงที่ห้อง ๕๒๓ อาคารฉัตรบารมี เกือบทุกวัน
    ^^ ดูสิคะ คุณสร้อยเก่ง แม่นเหมือนตาเห็น รู้จักน้องโจโจ้ด้วย......
     
  15. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    โจโจ้......มาช่วยคุณแม่ติงด้วย ๕๕๕๕๕
    สิเว้าเยอะได๋
     
  16. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ๕๕๕๕๕๕๕ ตายแน่เลยครูติง ลูกๆอยู่ไหน มาช่วยด่วนๆๆๆๆๆๆๆ
    (แต่ครูติงรักภาษาภูไทมากนะคะ อยากจะพูดเป็นค่ะ^^)
     
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    จ้าพี่ติงติง พอดีน้องโจโจ้มาขอรีเควสเฟรนด์กับหนูใน FB เมื่อาทิตย์ก่อน ก็เลยรู้จัก...
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    เมื่อวานน้องโจโจ้มาทานข้าวกับคุณแม่ติงที่ห้อง ๕๒๓ แล้วเอ่ยปากว่าเขาอยากส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของคนภูไท ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และเขาก็เริ่มต้นแล้วโดยการตั้งวงกลองยาว โดยไปศึกษามาจากคณะพรสรรค์ที่ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เดี๋ยวนี้ ก็รับงานแล้วค่ะ (ได้งานมากว่าครูซะอีกสิคะ(คณะพรสวรรค์))
     
  19. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ภาษาภูไทวันนี้

    โบง ความหมาย ช้อน
    โจก ความหมาย แก้วน้ำ(ใบใหญ่)
    จอก ความหมาย แก้วน้ำ(ใบเล็ก)
     
  20. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    อยากเสนอภาษาอันไพเราะ
    ฟังเสนาะพูดกันสำเนียงหวาน
    ไปสิเลอคือไปไหนใช้พูดกัน
    พูดทุกวันเอ๊ดเผอคือทำไร?
    แมงกะเบ้อคือผีเสื้อตัวน้อยๆ
    ไป๋โขหอยคือขุดหอยใช่อื่นไหน
    ไป๋นำเด๋ว คำนี้คืออะไร
    จะแปลให้ได้ว่าไปด้วยกัน
    มิได้เมอแปลว่าไม่ได้กลับ
    นอนมิลับคิดฮอดบ้านแปลสินั่น
    นอนไม่หลับคิดถึงบ้านเรารู้กัน
    จงเรียนรู้ทุกวันจะเข้าใจ


    ขอบคุณที่มากลอนรัก ภาษาภูไทวันละคำ
     

แชร์หน้านี้

Loading...