มงคลชีวิต ๓๘ ประการ ประกอบ ภาพจิตรกรรมไทย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย แผ่นฟ้า, 12 มกราคม 2009.

  1. แผ่นฟ้า

    แผ่นฟ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +428
    มงคลชีวิต ๓๘ ประการ ประกอบ ภาพจิตรกรรมไทย

    [​IMG]



    ที่มาของมงคล ๓๘ ประการ

    กาลเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ณ.ชมพูทวีป
    มหาชนและคนทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่ในโลกใบนี้
    ต่างคนต่างก็มีความปริวิตก หวาดกลัวต่อความทุกข์ยากเดือดร้อนจากภัย
    ที่จักเป็นอันตรายต่อตน และคน ทั้งทรัพย์สินในครอบครัว
    ด้วยอาศัยอำนาจแห่งความกลัวนี้
    ชนทั้งหลายได้พากันขวนขวายแสวงหาที่พึ่งพาอาศัย ที่ตนเชื่อว่าประเสริฐ
    และทรงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจักได้คุ้มครองปกปักรักษาชีวิตและทรัพย์สินของตนๆ
    ให้อยู่รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงที่จักอุบัติขึ้น
    บางขณะก็ใช้ที่พึ่งนั้น ให้ช่วยปัดเป่า รักษาอาการเจ็บไข้และโรคร้ายทั้งปวง
    บางทีก็ใช้ที่พึ่งนั้นดลบันดาลให้พืชผลทางเกษตรของตนเจริญงอกงาม
    หรือไม่ก็ใช้ที่พึ่งนั้นช่วยปกป้องภัยพิบัติอันจักพึงมีแก่พืชผลทางเกษตรทรัพย์สินและชีวิตตน
    ซึ่งบางครั้งก็ดูเหมือนว่าที่พึ่งเหล่านั้นได้ดลบันดาลให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ขอได้จริง


    [​IMG]
    ๑. ความเชื่อของมนุษย์สมัยโบราณ นับถือเทพเจ้า และสัตว์ต่างๆ


    [​IMG]
    ๒. ความเชื่อเรื่องบูชายัญ


    [​IMG]
    ๓. การแห่นางแมวขอฝน


    [​IMG]
    ๔. ความเชื่อเรื่องน้ำศักดิ์สิทธิ์


    [​IMG]
    ๕. ขอหวยที่ต้นไม้


    [​IMG]
    ๖. รักษาโรคด้วยหมอผี


    แต่ก็บ่อยครั้งหรือหลายครั้งที่ที่พึ่งเหล่านั้นมิได้ช่วยให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ขอได้เลย
    แถมยังป็นตัวทำลายชีวิตทรัพย์สินของผู้เคารพยอมรับบูชาเสียอีก
    และชนิดของที่พึ่งเหล่านั้นก็มีมากมายหลายชนิดหลายประเภท
    มีชีวิตบ้าง ไม่มีชีวิตบ้าง ตัวอย่างเช่น
    ผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองก็พากันเคารพบูชา
    แม่พระคงคา บูชาเจ้าสมุทร บูชาผีน้ำ พรายภูติน้ำ
    หรือที่สุดก็บูชาสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำนั้น
    พวกที่อยู่ในป่าเขาต่างก็พากันบูชาเจ้าป่า เจ้าเขา รุกขเทวดา นางไม้ เจ้าที่ จอมปลวก
    แม้ในที่สุด ก็เคารพบูชาสัตว์น้อยใหญ่ที่อิงอาศัยอยู่ในป่านั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันศักดิ์สิทธิ์ประเสริฐ
    พวกที่อาศัยอยู่ในเมืองก็พากันเคารพบูชาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
    บางพวกก็บูชาลม ฝน ไฟ
    บางพวกก็บูชาทาง ๓ แพร่งและทางแยกต่างๆ
    บางพวกก็บูชาสัตว์เลี้ยงในบ้าน และนอกบ้าน ได้แก่ วัว งู นก ไก่ ปลา
    และบางพวกก็บูชามนุษย์ที่ประพฤติพรต บำเพ็ญตบะ



    [​IMG]
    ๗. มนุษย์เกิดความสงสัยอะไรที่เป็นมงคล
    <TABLE id=post8170 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8170 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    เมื่อมหาชนและผู้คนทั้งหลายพากันบูชาสิ่งเคารพของตนๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว
    ต่างก็พากันบูชาด้วยของบูชาอันเลิศ พร้อมกระนั้นก็ขอความคุ้มครองรักษา
    บำบัดปัดเป่าขจัดทุกข์ภัยจากสิ่งเคารพของตน ซึ่งผลที่ตอบรับบางทีก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง
    จนทำให้เป็นที่โจษจัน เคลือบแคลงระแวงสงสัยแก่มหาชนคนทั้งหลายว่า
    สิ่งเคารพอันใดกันแน่ ที่จัดว่าเป็นสิ่งเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ดีมีมงคล
    มหาชนทั้งหลายต่างฝ่ายต่างพากันถกเถียงกันอยู่เกลื่อนกล่นอลหม่าน
    ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ ว่าอะไรคือสิ่งเคารพที่เป็นมงคลสูงสุด




    [​IMG]
    เหล่าเทวดาทูลถาม ท้าวสักกเทวราช "อะไรคือมงคล"


    จนร้อนถึงเทวดาชั้นกามาวจร อันได้แก่เทวดาที่สถิตอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์
    เมื่อได้สดับคำโจษขานของมนุษย์ที่อยู่ในความดูแลของตนๆ
    ก็พากันสอบถามกันและกันว่า


    "เอ...พวกมนุษย์เขาถามกันไปมาว่า อะไรคือสิ่งดีมีมงคลสูงสุด"

    "นั่นซิท่าน! อะไรล่ะ ข้าพเจ้าก็มิได้รู้เหมือนกัน"

    "ถ้าอย่างนั้นชาวเราทั้งหลาย พากันไปเฝ้ามหาเทพ เพื่อทูลถามปัญหานี้เถิด"

    เหล่าเทพเทวาทั้งหลาย ก็ได้พากันเข้าเฝ้ามหาเทพ ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์
    พร้อมกับทูลถามปัญหาว่า อะไรเป็นมงคลสูงสุด
    องค์อินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ เมื่อได้ทรงฟังปัญหา
    ของเหล่าเทพเทวาทั้งหลายดังนั้นแล้ว ก็วิเคราะห์ใคร่ครวญพิจารณาดู ก็หาได้รู้ไม่
    สุดปัญญาที่จอมเทพไทจักแก้ไข ก็เลยตรัสขึ้นว่า
    เห็นทีปัญหานี้ จักต้องกราบทูลอาราธนาขอให้พระจอมบรมศาสดา ทรงเมตตาแก้ปัญหาในครั้งนี้
    ด้วยเหตุที่ว่า พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู มิมีอะไรที่ไม่ทรงรู้
    คิดดังนั้นแล้ว ก็ชวนเหล่าเทวดาทั้งหลายมาเฝ้าทูลถามปัญหา
    ณ เชตวันมหาวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี



    [​IMG]
    ท้าวสักกเทวราชทูลถาม พระพุทธเจ้า
    ณ เชตวันมหาวิหารอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มงคลที่ ๑
    ความไม่คบคนพาล


    [​IMG]
    ๑. คนพาลทุบตีคน ยิงกวาง


    [​IMG]
    ๒. คนพาลที่มีนิสัยชอบดื่มสุราเมามาย


    [​IMG]
    ๓. ผู้หญิงนอกใจสามี


    [​IMG]
    ๔. คนพาลชอบยุแหย่คนให้ทะเลาะกัน


    [​IMG]
    ๕. คนพาลที่ขโมยของบ้านคนอื่น


    [​IMG]
    ๖. บิดาจูงมือบุตรหนีจากกลุ่มคนพาลทั้งหลาย


    ลักษณะของคนพาลมีดังนี้คือ

    การตัดประโยชน์ชาตินี้มี ๔ ประการ
    ๑. เป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน ไม่ทำกิจกรรมการงาน และหาวิชาความรู้ที่จะนำมาซึ่งลาภผล
    ๒. ไม่รักษาทรัพย์ของตนด้วยอุบายแห่งปัญญา
    ๓. เลี้ยงชีวิตด้วยความประมาทในทรัพย์ คือทรัพย์น้อยใช้จ่ายมาก
    ๔. คบคนพาลสันดานบาป


    การตัดประโยชน์ชาติหน้ามี ๕ ประการ
    ๑. ไม่ศรัทธาในคุณพระรัตนตรัย
    ๒. ไม่มีศีล ๕ ศีล ๘ เครื่องรักษากายวาจา
    ๓. ไม่มีสุตะมัยปัญญา การฟังธรรมเทศนาแล้วเกิดปัญญา
    ๔. ไม่มีจาคะการบริจาคทาน ข้าว น้ำ เป็นต้น
    ๕. ไม่มีปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงแห่งสังขาร


    มงคลที่ ๒
    บูชาคนที่ควรบูชา


    [​IMG]
    พุทธศาสนิกชนร่วมกันทำบุญ


    [​IMG]
    บุตรสวัสดีมารดาเมื่อกลับจากโรงเรียน


    [​IMG]
    นักเรียนไหว้ครูผู้ให้ความรู้


    [​IMG]
    ดูแลผู้มีพระคุณเมื่อท่านแก่เฒ่า


    บุคคลใดกระทำสักการะบูชา แก่สิ่งที่ควรบูชา
    มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ และท่านผู้มีอุปการแก่ตน
    จัดเป็นมงคลอันประเสริฐเป็นบ่อเกิดแห่งบุญ การบูชามี ๒ อย่างคือ


    ๑. อามิสบูชา
    ได้แก่การให้วัตถุต่างๆ มีดอกไม้ธูปเทียนของหอม และข้าวน้ำ
    ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ปัจจัยลาภทั้งหลาย พร้อมเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น เป็นต้น
    ขุดสระบ่อ และทำถนน สร้างพุทธรูป สถูปเจดีย์
    เหล่านี้ เรียกว่า อามิสบูชา


    ๒. ปฏิบัติบูชา
    ได้แก่การปฏิบัติตามคำสั่งสอน เชื่อถ้อยฟังคำ ทำตามจนเห็นผลประจักษ์แจ้งแก่ตน
    จนเชื่อใจ วางใจ เบาใจแก่ผู้รับการบูชา พร้อมผู้บูชาเอง
    เหล่านี้เรียกว่า ปฏิบัติบูชา


    มงคลที่ ๓
    ความคบบัณฑิต


    [​IMG]
    กลุ่มบัณฑิต หมั่นฝึกหาความรู้


    จัดเป็นมงคลความเจริญสุขสวัสดี ทั้งชาตินี้ชาติหน้า
    ด้วยบัณฑิตย่อมแสวงประโยชน์ ๒ ประการคือ
    ประโยชน์ชาตินี้ และประโยชน์ชาติหน้า
    ผู้ใดไปคบหาแล้วย่อมจะชักพาให้ทำดี คือ ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
    และให้ประพฤติตนอยู่ในสุจริตทั้ง ๓ คือ


    ๑. กายสุจริต
    ๑.๑ ไม่ฆ่าสัตว์
    ๑.๒ ไม่ลักทรัพย์
    ๑.๓ ไม่ประพฤติผิดในกาม


    ๒. วจีสุจริต
    ๒.๑ ไม่พูดปดผู้อื่น
    ๒.๒ ไม่พูดส่อเสียดยุยงผู้อื่น
    ๒.๓ ไม่พูดคำหยาบ
    ๒.๔ ไม่พูดจาเพ้อเจ้อเป็นคำพูดที่ไม่มีประโยชน์


    ๓. มโนสุจริต
    ๓.๑ ไม่โลภคิดลักของผู้อื่น
    ๓.๒ ไม่พยาบาทอาฆาตผูกเวร
    ๓.๓ ไม่เห็นผิดจากพุทธศาสนา

    <TABLE id=post8185 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8185 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๔
    ความอยู่ในประเทศอันสมควร


    [​IMG]
    มีวัดที่ดี พระมีวินัย


    [​IMG]
    พระไม่ปฏิบัติธรรม


    [​IMG]
    คนเอาแต่นอนไม่ยอมทำงาน


    [​IMG]
    โรงเรียนขาดระเบียบวินัย


    [​IMG]
    มีโรงเรียนที่ดี


    ความอยู่ในประเทศอันสมควรได้แก่
    ประเทศใดที่มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และภิกษุบริษัท ๔
    ทรงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สั่งสอนปวงชนให้ประพฤติธรรมอยู่เนืองๆ
    ก็จักทำให้ผู้คนในประเทศนั้นขยันขันแข็ง
    พัฒนาจัดสร้างสาธารณูปโภคอย่างพอเหมาะพอดีด้วยวิธีที่ถูกต้อง และซื่อสัตย์สุจริต
    ประเทศนั้นก็จะเจริญทั้งวัตถุและจิตใจ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    มงคลที่ ๕
    เคยทำบุญในกาลก่อน


    • วิธีทำบุญ มีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
      ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
      ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
      ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
      ๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่
      ๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจ
      ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
      ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
      ๘. ธัมมัสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
      ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
      ๑๐. ทิฏฐชุกรรม การทำความเห็นให้ตรงฯ


    [​IMG]
    วิมานของเทวดา และมีทิพยสมบัติ


    ชนเหล่าใด แต่ชาติก่อนมีความเพียรก่อสร้างสั่งสมกองการบุญกุศลทั้งหลาย
    แต่กาลก่อนดังกล่าวมา ย่อมให้สำเร็จสมบัติ ๓ คือ
    ๑. มนุษย์สมบัติ
    ๒. สวรรค์สมบัติ
    ๓. นิพพานสมบัติ


    ด้วยพระศาสดาทรงตรัสไว้ว่า
    " บุคคลใดได้สร้างกุศลไว้ดีแล้วแต่ปางก่อน
    ย่อมเป็นนิสัยทางมรรคผลแห่งบุคคลนั้น
    ได้สำเร็จดังสิ่งที่หวัง "

    มงคลที่ ๖
    ความตั้งตนไว้ชอบ


    การตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ และมรรคมีองค์ ๘ ประการ


    [​IMG]
    ฆ่าไก่


    [​IMG]
    เล่นการพนัน ทะเลาะกัน


    กุศลกรรมบท ๑๐ ประการ

    กายกรรม ๓ อย่าง
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
    ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจาการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยการขโมย
    ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม


    วจีกรรม ๔ อย่าง
    ๑. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ
    ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด
    ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดคำหยาบ
    ๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ


    มโนกรรม ๓ อย่าง
    ๑. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
    ๒. อัพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
    ๓. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรมฯ

    มรรคมีองค์ ๘

    ๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ มี
    ๑.๑ ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
    ๑.๒ สมุหทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
    ๑.๓ นิโรธ คือ ทางดับทุกข์
    ๑.๔ มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


    ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ
    ๒.๑ ดำริที่จะออกจากกาม
    ๒.๒ ดำริที่จะไม่พยาบาท
    ๒.๓ ดำริที่จะไม่เบียดเบียน


    ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔
    ๓.๑ มุสาวาท เวรมณี คือไม่พูดปดล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น
    ๓.๒ ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวจากกันด้วยความอิจฉา
    ๓.๓ ผรุสาย วาจาย เวรมณี ไม่กล่าวคำหยาบ ด่าชาติตระกูลผู้อื่น
    ๓.๔ สัมผัปปลาปา เวรมณี ไม่กล่าวคำที่หาประโยชน์มิได้ในชาตินี้ และชาติหน้า


    ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ เว้นจากการทุจริต ๓
    ๔.๑ ปาณาติปาตา เวรมณี ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต ให้ตายด้วยกาย และวาจา
    ๔.๒ อทินนาทานา เวรมณี ไม่ลักฉ้อข้าวของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยกาย และวาจา
    ๔.๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เป็นบุรุษไม่ร่วมประเวณีในสตรีที่มีคนหวงแหนรักษา เป็นสตรีไม่นอกใจสามีไปคบบุรุษอื่น



    ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด


    [​IMG]
    ทำงานในบ้านตน


    [​IMG]
    จักสาน


    [​IMG]
    ค้าขาย


    [​IMG]
    ปั้นหม้อ


    ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน มีดังนี้คือ
    ๖.๑ เพียรระวัง คือ ระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิตใจ
    ๖.๒ เพียรละ คือ ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
    ๖.๓ เพียรเจริญ คือ ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
    ๖.๔ เพียรรักษา คือ รักษาความดีที่ทำแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป ให้อยู่ในจิตใจของตนตลอดไป


    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบคือ ระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔
    สติปัฏฐาน แปลว่า การตั้งสติไว้เป็นประธานเป็นเบื้องหน้า
    การตั้งมั่นแห่งสติ หรือว่าสติที่เข้าไปตั้งมั่นในอารมณ์ มี ๔ ประการคือ
    ๑. สติกำหนดพิจารณาว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
    ๒. สติกำหนดพิจารณาดูเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
    ๓. สติกำหนดพิจารณา ดูใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ
    ๔. สติกำหนดพิจารณาดูธรรมที่เป็นกุศล ที่บังเกิดขึ้นกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม


    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ ในที่นี้จะไม่ขออธิบาย

    บุคคลใดตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบท ๑๐ อย่างและ มรรค์มีองค์ ๘ เป็นมงคลอันประเสริฐ


    -------------- <TABLE id=post8190 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8190 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๗
    ความได้ฟังมามาก


    [​IMG]
    ในหลวงทรงวางนโยบายโครงการหลวง


    การฟังแล้วจะได้ประโยชน์ต้องฟังด้วยดี
    คือสนใจตั้งใจฟัง ฟังแล้วต้องพิจารณาใคร่ครวญตาม
    แล้วจึงจะเชื่อเหมือนกับมีคำวลีย่อมา ๔ คำ คือ
    สุ จิ ปุ ลิ


    ๑. สุ สุตตะ การฟัง การฟังที่ดีต้องตั้งใจฟัง ฟังแล้วอย่าพึ่งเชื่อ
    การไม่เชื่อ นั้นไม่ใช่ไม่เชื่อเลย ต้องคิดตามในหัวข้อที่กำลังฟัง
    ๒. จิ จิตตะ ใจจดจ่อ เมื่อมีใจจดจ่อในเรื่องที่เราฟังแล้ว
    ทำให้เกิดแง่คิดเป็นคำถามขึ้น ก็ต้องดูในหัวข้อต่อไป
    ๓. ปุ ปุจฉา การถาม เมื่อมีความสงสัยอันเกิดจากการขบคิดปัญหา
    ก็ต้องถามในคำถามที่เราสงสัยให้หายคลางแคลงในสิ่งนั้นๆ แต่เมื่อถามแล้วได้คำตอบแล้ว
    เพื่อกันลืมทีหลังเราก็ต้องทำในข้อต่อมาว่า
    ๔. ลิ ลิขิต การเขียน การเขียนในสิ่งที่เราได้คำตอบ
    เพื่อที่จะได้ไม่ลืมในภายหลังเมื่อถึงเวลาที่เราทบทวนในิส่งที่เราสงสัยอีก


    เมื่อบุคคลใดที่ได้ฟังมาแล้ว ไม่ลืมคำว่า สุ จิ ปุ ลิ บุคคลนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นพหูสูตร

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE id=post8191 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8191 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๘
    ความมีศิลปะ


    [​IMG]
    คนปั้นรูปพระ ​



    หมายถึง ความเข้าใจ เชี่ยวชาญ ช่ำชองในวิทยาการ ศาสนและศิลปะต่างๆ อย่างเป็นผู้รู้จริง เข้าใจได้จริง และก็ทำได้เห็นผลอย่างจริงๆ ตัวอย่างเช่น นักบวชในศาสนาพุทธ เวลาเจริญพระพุทธมนต์ ก็เจริญพระพุทธมนต์อย่างมีศิลป อักขระแต่ละตัว ก็ออกเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงกลาง เสียงเบา เพื่อให้ผู้ฟังได้ฟังแล้วมีอรรถรส ฟังแล้วซึ้งซึมเข้าไปในใจ ให้มันซึมสิงเข้าสู่ภายใน ให้มันก้องกังวานอยู่ในจิตใจ เมื่อเจริญเสร็จแล้ว ทำให้จิตใจของเราโปร่ง โล่ง เบา สบาย สงบ นั่นเป็นการเจริญพระพุทธมนต์อย่างมีศิลป อีกตัวอย่างหนึ่ง นักหัตถกรรมไม่ว่าจะเป็นช่างปั้น ช่างแกะสลัก จักสาน ถ้าสนใจใส่ใจเพียรพยายามฝึกฝนจนช่ำชองชำนาญ พร้อมกับรู้จักคิดวิธี รูปแบบ ลวดลายที่แปลกๆ ใหม่เข้าต่อสมัย และประโยชน์ในการใช้สอย แถมยังมีความสมบูรณ์ด้วยลวดลายอ่อนช้อยสวยงามเป็นที่ติดตามตรึงใจต่อผู้พบเห็น จนเป็นที่ยอมรับในผลงานนั้นๆ โดยมิได้มีข้อจำกัดที่ชาติ ตระกูล ความรู้ อายุ เพศ เช่นนี้ก็ถือได้ว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศิลปะในการดำรงชีวิต ชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วยศิลปะ สรุปก็คือไม่ว่าจะมีอาชีพใดๆ ทุกคนก็สามารถสร้างศิลปในการทำงานนั้นๆ ได้ และมันจะทำให้เราเป็นคนที่ทำงานแล้ว ไม่เบื่อ ไม่เซ็ง มันจะตรงกับคำว่า ชีวิตการงานเพื่อความเบิกบาน


    [​IMG]
    คยบ้ายอ


    [​IMG]
    คนมีโมหะ


    [​IMG]
    หลอกขายของผิดกฏหมาย


    [​IMG]
    ไม่มีศิลปในการพูด ​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    มงคลที่ ๙
    ความศึกษาวินัยดี

    [​IMG]
    บ้านที่มีวินัย​



    บุคคลผู้อยู่ร่วมกับสังคม พึงศึกษารู้จักกฎเกณฑ์กติกา ระเบียบวินัย ของสังคมนั้นๆ เมื่อเข้าไปร่วมกับสังคมนั้นจะได้ไม่เก้อเขิน ไม่ประหม่า ไม่พลาดพลั้งผิดต่อกติกานั้นๆ แม้แต่จักมิได้เข้าสังคมใดๆ ตัวเราก็จำต้องมีระเบียบวินัยเอาไว้กำกับกิริยา อาการ กาย วาจา มิให้ผิดพลาด ฟุ้งซ่าน ต่อตน และคนอื่น จัดได้เป็นผู้กล้าแข็ง เชื่อมั่นในตนเอง องอาจ มั่นคง เช่นนี้จึงจักถือว่าเป็นผู้มีชีวิตเป็นสาระรักษาและวินัยดี


    [​IMG]
    บ้านที่ไม่มีวินัย
    มงคลที่ ๑๐
    ความมีวาจาเป็นสุภาษิต

    [​IMG]
    พระภิกษุสงฆ์แสดงธรรม​


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การมีวาจาสุภาษิตนั้นคือ กล่าวคำอ่อนหวานเป็นที่สุจริต ประกอบไปด้วย

    องค์ ๕ ประการคือ
    ๑. กล่าวในกาลที่สมควรจะพึงกล่าว
    ๒. กล่าวแต่คำสัตย์ที่จริงไม่กล่าวคำเท็จ
    ๓. คำอ่อนหวานสุขุมละเอียดไม่หยาบคายให้เคืองหูผู้อื่น
    ๔.กล่าวคำที่มีประโยชน์ในชาตินี้และชาติหน้า
    ๕. กล่าวคำประกอบไปด้วยจิตเมตตา ไม่มีความโกรธอิจฉาริษยาพยาบาท


    พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันวาจาประกอบไปด้วยองค์ ๕ นี้ เป็นวาจาสุภาษิตผู้ที่กล่าววาจาเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้ที่มีวาจาที่ควรต่อการอบรมสั่งสอนแก่ตน และบุคคลอื่นได้เป็นวาจาที่ผู้ฟัง ฟังแล้วฉลาด สะอาด สงบ พบแต่ความเจริญ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของชนทั้งหลาย


    [​IMG]
    ชาวบ้านร่วมกันสร้างวัด
    <TABLE id=post8194 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8194 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๑๑
    ความบำรุงมารดาและบิดา


    บุคคลใดหญิงชายที่เกิดมา ได้ปฏิบัติมารดา บิดาให้เป็นสุข จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ ถามว่า คนอย่างไรเรียกว่า บิดา มารดา ก็คือหญิงใดเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ให้บังเกิด หรือยังให้สัตว์เหล่านั้นให้เจริญขึ้น หญิงนั้นเรียกว่ามารดา ชายใดยังสัตว์ให้บังเกิดหรือยังให้สัตว์ให้เจริญขึ้น ชายนั้นชื่อว่าบิดา


    [​IMG]
    ดูแลบิดา มารดา ด้วยการนวดขาและป้อนข้าว
    <TABLE id=post8195 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8195 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๑๒
    ความสงเคราะห์แก่บุตรหญิงชาย


    [​IMG]
    ได้รับการฝึกฝนทางธรรมด้วยการบวช​


    บุคคลผู้ใดมีความสงเคราะห์แก่บุตรหญิงชายด้วยอามิสและข้อปฏิบัติ จัดเป็นมงคลประเสริฐย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ

    ๑. ห้ามไม่ให้ทำชั่ว
    ห้ามไม่ให้บุตรธิดาข้องเกี่ยวกับอบายมุข คือเหตุแห่งความฉิบหาย ๖ ประการ ได้แก่
    ๑.๑ ดูการละเล่น
    ๑.๒ เล่นการพนัน
    ๑.๓ เที่ยวกลางคืน
    ๑.๔ เกียจคร้านการทำงาน
    ๑.๕ คบคนชั่วเป็นมิตร
    ๑.๖ ดื่มสุราเมรัย



    [​IMG]
    ได้รับการศึกษา​


    ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดีและความไม่ประมาท
    ให้บุตรธิดาตั้งอยู่ในความดี ประกอบกิจการงานสุจริตด้วยความไม่ประมาท


    ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
    เมื่อถึงเวลาศึกษาเล่าเรียน ก็ไม่นิ่งดูดาย ให้ศึกษาวิชาต่างๆ ตามสมควรแก่กำลังทรัพย์



    [​IMG]
    มารดาเฝ้าดูแลบุตรยามเมื่อเด็ก​


    ๔. หาภรรยาและสามีที่สมควรให้
    เมื่อเห็นว่าบุตรเจริญวัยมีความรู้พอจะเลี้ยงตัวได้แล้วก็เลือกหาภรรยาและสามีที่มีนิสัยดีมีสกุลให้แก่บุตรธิดา


    ๕. มอบทรัพย์ให้ในสมัยฯ
    บิดามารดาย่อมมอบทรัพย์ให้แก่บุตรธิดาของตน เมื่อถึงกาลที่เห็นว่าบุตรธิดามีคุณสมบัติรักษาทรัพย์นั้นๆ ได้



    [​IMG]
    เป็นคนรับผิดชอบการงาน​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>​


    บิดามารดานั้นจะมีคุณ ๔ ประการ คือ
    ๑. ชื่อว่าเป็นพรหม คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เหมือนท้าวมหาพรหม
    ๒. ชื่อว่าเป็นบุพพเทวดา คือ ได้พิทักษ์รักษาทารกนั้นมาก่อนกว่าเทพยดาทั้งปวง
    ๓. ชื่อว่าเป็นบุพพาจารย์ คือ ให้โอวาทคำสั่งสอนแก่ทารกนั้นมาก่อนกว่าอาจารย์ทั้งปวง
    ๔. ชื่อว่าเป็นอาหุเนยยา คือ มารดาบิดาควรจะรับของที่บุตรนำมาให้ เป็นข้าวน้ำ ผ้าผ่อนท่อนสไบ ที่บุตรหญิงชายนำมาสักการบูชา



    [​IMG]
    พาบิดา มารดาเดินออกกำลังกาย​


    กุลบุตรหญิงชายทั้งหลายเมื่อได้รับการปฏิบัติจากบิดา มารดาดังนี้แล้วจะต้องตอบแทนคุณบิดามารดาด้วยวิธี ๕ อย่างคือ
    ๑. มารดาบิดาไม่มีศรัทธา ก็ชักชวนและทำให้มีศรัทธา
    ๒. มารดาบิดาไม่มีศีล ก็แนะนำและทำให้มีศีล
    ๓. มารดาบิดาไม่ได้ฟังธรรม ก็แสวงและทำให้ได้ฟังธรรม
    ๔. มารดาบิดาไม่ได้บริจาคทาน ก็วิงวอนให้ท่านได้บริจาคทาน
    ๕. มารดาบิดาไม่มีปัญญา ก็แนะนำสั่งสอนให้ท่านมีปัญญา

    ถ้ากุลบุตร กุลธิดาปฏิบัติบิดามารดา พร้อมด้วยองค์ ๕ ดังนี้ จึงเรียกว่าปฏิบัติบูชา ยกบิดามารดาให้พ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1>
    มงคลที่ ๑๓
    ความสงเคราะห์ภริยา


    ลักษณะของภรรยามี ๗ ข้อ
    ๑. วธการภรรยา เมียที่เป็นข้าศึกแก่สามี คือคิดประทุษร้ายสามีอยู่เนืองๆ มิได้ขาด
    ๒. โจรีภรรยา เมียเป็นโจรคอยลักข้าวของแห่งสามี
    ๓. อัยยภรรยา เมียข่มขี่ผัวให้อยู่ในอำนาจดังนายกับบ่าว
    ๔. มาตาภรรยา เมียรักผัวดังมารดารักบุตรที่บังเกิดแก่อุทร ไม่มีความเดือดร้อนให้แก่สามี
    ๕. ภคินิภรรยา เมียดังน้องหญิง เป็นที่สมัครรักยิ่งดังพี่และน้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน
    ๖. ทาสีภรรยา เมียดังทาสทาสี เป็นที่ยินดีเกรงกลัวผัวยิ่งนัก ทั้งกลัวทั้งรักเป็นที่เคารพ
    ๗. สุขีภรรยา เมียราวกะว่าสหายเป็นเพื่อนเจ็บเพื่อนตายของสามี มิได้คิดหน่ายหนี
    ภรรยาจำพวกที่ ๔-๗ สามีใดสงเคราะห์ ถือว่าเป็นมงคลในชีวิต



    [​IMG]
    ภรรยาดูแลเอาใจใส่งานบ้านงานเรือน​


    สามีควรจะสงเคราะห์ภรรยาด้วยเหตุ ๕ สถานคือ
    ๑. ให้เกียรติกล่าวยกย่องแก่ภรรยาด้วยวาจาอันอ่อนหวาน ไม่กล่าวคำดูถูกดูหมิ่น
    ๒. สามีอย่างโกรธทุบตีก่อน แล้วจึงสั่งสอนต่อภายหลัง
    ๓. สามีอย่าคิดนอกใจภรรยาเที่ยวหาภรรยาใหม่ เป็นที่ไม่ชอบใจของสตรีที่ปรารถนาหาสามีแต่ผู้เดียว
    ๔. สามีจงให้ภรรยาเป็นใหญ่ในเคหสถาน คือเป็นคนเก็บทรัพย์ที่สามีได้มา
    ๕. สามีจงแสวงหาเครื่องประดับให้แก่ภรรยาโดยสมควรแก่ทรัพย์และตระกูล


    [​IMG]
    สามีให้กำลังใจภรรยายามไม่สบาย​


    ภรรยาเมื่อได้รับการสงเคราะห์จากสามีแล้ว ก็ควรจะสงเคราะห์สามีด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นการตอบแทนคือ
    ๑. ฉลาดในการทำอาหารให้สามีรับประทาน
    ๒. ภรรยานับถือญาติทั้งสองฝ่าย ญาติของสามีและญาติของตนให้เสมอกัน
    ๓. ภรรยามีใจซื่อตรงต่อสามี
    ๔. ภรรยาหมั่นภักดีปฏิบัติสามี ให้เป็นที่ยินดีตามอัธยาศัย
    ๕. ภรรยาเป็นผู้ฉลาดรักษาทรัพย์ที่สามีได้มา อย่าให้ฉิบหาย


    ความฉิบหายในทรัพย์ คือ
    ๑. ไม่รู้ประมาณในการบริโภค ใช้สอยทรัพย์
    ๒. เล่นการพนัน
    ๓. เกียจคร้านไม่ทำงาน
    ๔. นักเลงสุรา
    ๕. นักเลงเจ้าชู้

    <TABLE id=post8197 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8197 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๑๔
    การงานไม่อากูล


    [​IMG]
    คนสร้างบ้านให้สำเร็จลุล่วง​


    บุคคลใดไม่มีความเกียจคร้านในกิจการงานทั้งปวง จัดเป็นมงคลอันประเสริฐย่อมนำมาซึ่งความสุขความเจริญในโลกนี้และโลกหน้า

    เหตุที่ทำให้การงานอากูลมี ๖ อย่างคือ
    ๑. มักอ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำงาน
    ๒. มักอ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน
    ๓. มักอ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน
    ๔. มักอ้างว่า เวลาเย็นเกิน แล้วไม่ทำงาน
    ๕. มักอ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำงาน
    ๖. มักอ้างว่า กระหายนัก แล้วไม่ทำงาน


    เมื่อบุคคลอ้างอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ทำงานย่อมทำให้การงานคั่งค้างอากูล เป็นปลงภาระไม่ได้ จักยืน เดิน นั่ง นอน ก็จักวิตกกังวลหาความสุขไม่ได้ แถมยังอาจเป็นภาระแก่ผู้อื่นอีกด้วย ซึ่งก็จักทำให้เป็นที่ไม่น่าเชื่อถือของคนรอบข้าง


    [​IMG]
    คนเล่นการพนัน คนเอาแต่นอน คนทำงานคั่งค้าง​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=post8198 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8198 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๑๕
    ความให้ทาน


    การให้ทานมีลักษณะ ๓ อย่างคือ
    ๑. บุคคลที่มีศรัทธาเลื่อมใส คิดจะให้ซึ่งทาน
    ๒. บุคคลที่มีหิริโอตตัปปะ ละเว้นในปัญจขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แล้วไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์เป็นต้น
    ๓. บุคคลมีปัญญารู้จักพิจารณาในการ ให้ข้าวน้ำผ้านุ่ง ผ้าห่มเป็นต้น


    ทานทั้ง ๓ ประการที่บังเกิดขึ้นในสันดานมนุษย์ทั้งปวงนั้น บุคคลเห็นว่าให้ทานและรักษาศีล ได้บุญได้กุศลย่อมนำมาซึ่งความสุข แต่การให้ทานก็อาศัยเจตนาในการให้การให้ทานนั้นสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น มี ๓ คือ
    ๑. ปุพพเจตนา มีจิตเลื่อมใสคิดจะให้ซึ่งทาน (ก่อนทำเต็มใจ)
    ๒. มุญจนเจตนา มีความเลื่อมใสเมื่อขณะให้ทาน (ขณะทำตั้งใจ)
    ๓. อปราปรเจตนา มีความเลื่อมใสเมื่อให้ทานแล้ว (ทำแล้วสบายใจ)



    [​IMG]
    ทำบุญใส่บาตร



    [​IMG]
    ปล่อยนก ปล่อยปลา



    [​IMG]
    เลี้ยงดูบ้านเด็กกำพร้า​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มงคลที่ ๑๖
    ความประพฤติธรรม


    [​IMG]
    เข้าวัดปฏิบัติธรรม


    [​IMG]
    ฝึกปฏิบัติธรรม​


    ธรรมที่ชนทั้งหลายควรประพฤติคือ

    ธรรมสุจริต ๓ อย่าง
    ๑. กายสุจริต ๓

    ๑.๑ ปาณาติปาตา เวรมณี ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต ให้ตายด้วยกายและวาจา
    ๑.๒ อทินนาทานา เวรมณี ไม่ลักฉ้อข้าวของที่เจ้าของเขาไม่ให้ด้วยกายและวาจา
    ๑.๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เป็นบุรุษไม่ร่วมประเวณีในสตรีที่มีคนหวงแหนรักษา สตรีไม่นอกใจสามีไปคบบุรุษอื่น


    ๒. วจีสุจริต ๔
    ๑.๑ มุสาวาทา เวรมณี คือไม่พูดปดล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น
    ๑.๒ ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวจากกันด้วยความอิจฉา
    ๑.๓ ผรุสาย วาจาย เวรมณี ไม่กล่าวคำหยาบ ด่าชาติตระกูลผู้อื่น
    ๑.๔ สัมผัปปลาปา เวรมณี ไม่กล่าวคำที่หาประโยชน์มิได้ในชาตินี้ชาติหน้า


    ๓. มโนสุจริต ๓
    ๑.๑ อนภิชฌา ไม่มีจิตโลภเจตนาคิดจะลักข้าวของๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน
    ๑.๒ อัพยาปาโท ไม่มีจิตโกรธพยาบาทอาฆาต ผูกเวรแก่สัตว์ทั้งหลาย
    ๑.๓ สัมมาทิฏฐิโก มีจิตคิดเห็นชอบประกอบในทางธรรม ตามกฎไตรลักษณ์ คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม



    [​IMG]
    หนีคนพาล


    [​IMG]
    แย่งสามีคนอื่น

    มงคลที่ ๑๗
    ความสงเคราะห์ญาติ


    วัตถุที่เป็นเครื่องสงเคราะห์มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    ๑. อามิสสังคหะ การสงเคราะห์ด้วยสิ่งของ
    ๒. ธรรมสังคหะ การสงเคราะห์โดยธรรม



    [​IMG]
    เยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่​


    ๑. การสงเคราะห์ด้วยสิ่งของคืออามิส ได้แก่การแบ่งปันให้ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งการแบ่งทรัพย์มรดร เรือกสวนไร่นา ที่ดินว่างเปล่า หรือบ้านที่อยู่อาศัย แม้กระทั่งแบ่งปันอาชีพ ที่สามารถทำมาหาเลี้ยงตนและครอบครัวโดยสุจริต เหล่านี้ชื่อว่า อามิสสังคหะ

    ๒. การสงเคราะห์โดยธรรม ได้แก่การกล่าววาจา อบรมสั่งสอนตักเตือน ชี้บอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ ห้ามปรามสิ่งที่เป็นโทษ บอกกล่าวชักชวนหนทางสว่างให้ดำเนิน เช่น บอกให้รักษาศีล ฟังธรรม เจริญสติภาวนา ชวนให้มีเมตตาเพื่อนสัตว์ที่เป็นผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วบริจาคแบ่งปันสิ่งของที่มีอยู่ ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น สัตว์อื่น เช่นนี้


    [​IMG]
    ช่วยญาติทำงานศพ​


    -------------- <TABLE id=post8201 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8201 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๑๘
    การทำการงานไม่มีโทษ


    การทำงานที่ไม่มีโทษ ได้แก่ การงานที่ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่นให้เดือดร้อนเสียหาย


    [​IMG]
    ร่วมกันสร้างบ้าน


    [​IMG]
    แอบค้าอาวุธปืน​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1><TABLE id=post8202 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8202 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๑๙
    ความงดเว้นจากบาป


    การงดเว้นจากบาป ได้แก่ การไม่ประพฤติทุจริต ๓ อย่างคือ

    ๑. กายทุจริต การประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ
    ๑.๑ ฆ่าสัตว์
    ๑.๒ ลักทรัพย์
    ๑.๓ ประพฤติผิดในกาม


    ๒. วจีทุจริต การประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ
    ๒.๑ พูดโกหก
    ๒.๒ พูดส่อเสียด
    ๒.๓ พูดคำหยาบ
    ๒.๔ พูดเพ้อเจ้อ


    ๓. มโนทุจริต การประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่างคือ
    ๓.๑ โลภอยากได้ของของผู้อื่น
    ๓.๒ พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
    ๓.๓ เห็นผิดจากหลักธรรม


    ทุจริตทั้ง ๓ ประการนั้น เป็นกิจที่บุคคลไม่ควรทำโดยแท้ เพราะจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและตนเองก็เดือดร้อน


    [​IMG]
    คนขโมยเสื้อผ้า


    [​IMG]
    คนตกปลา


    [​IMG]
    ตำรวจจับเข้าคุก


    [​IMG]
    การเดินหนีจากการทำบาป​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1><CENTER>
    **
    </CENTER>
    </TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    มงคลที่ ๒๐
    ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา


    โทษของการดื่มน้ำเมามี ๖ ประการ
    ๑. ทำให้เสื่อมทรัพย์
    ๒. ทำให้เกิดความทะเลาะวิวาท ทุบตี ฆ่าฟันกันตาย
    ๓. กินสุราทำให้เกิดโรคต่างๆ ตับแข็ง เป็นต้น
    ๔. ไม่รู้จักอาย นอนไหนก็นอนได้ดังเดรัจฉาน
    ๕. มีผู้ติเตียนนินทาด้วยกิริยาอันหยาบ
    ๖. เป็นคนโง่เขลาไม่มีปัญญา ขาดสติ


    เมื่อบุคคลผู้หวังความเจริญแก่ตนเอง พิจารณาเห็นโทษภัยของน้ำเมาดังกล่าวแล้ว ควรจักสำรวมระวัง อย่าปล่อยให้น้ำเมาและสิ่งเสพติดทั้งปวง เข้ามาบั่นทอนชีวิต จิตวิญญาณและความเจริญในตน



    [​IMG]
    นั่งกินเหล้า



    [​IMG]
    ขาดความละอาย



    [​IMG]
    ทะเลาะวิวาท



    [​IMG]
    งานการไม่เสร็จ
    มงคลที่ ๒๑
    ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย


    วัตถุเครื่องยังให้ไม่ประมาท ได้แก่
    ๑. สติ ความระลึกได้ มีสติควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้เสมอ ไม่ประมาท ไม่พลั้งเผลอในทุกขณะ ไม่ลืมเรื่องที่ทำ คำที่พูดและสูตรที่คิด


    ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัวที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้ถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ สติกับสัมปชัญญะเป็นของคู่กัน คือเมื่อระลึกได้ (มีสติ) ในสิ่งที่ทำย่อมมีความรู้ตัว (สัมปชัญญะ) ในสิ่งที่กำลังทำอยู่ จึงเป็นของคู่กันอย่างนี้

    บุคคลเมื่อใฝ่ใจต่อการศึกษา สดับตรับฟัง และเพียรพยายามภาวนา ทำให้มั่นในธรรมนั้นๆ จนเกิดความชำนาญ เชี่ยวชาญ ช่ำชอง แจ้งชัดต่อธรรมนั้นๆ เช่นนี้จึงเชื่อว่า ไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง


    [​IMG]
    ประมาทในโรค


    [​IMG]
    ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า


    [​IMG]
    หมั่นไปวัดเพื่อศึกษาธรรม


    [​IMG]
    ประมาทในวัย
    <TABLE id=post8205 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8205 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๒๒
    ความเคารพกราบไหว้


    ลักษณะของการเคารพมีอยู่ ๗ ประการ
    ๑. พุทธคารวตา ให้เคารพในพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
    ๒. ธัมมคารวตา ให้เคารพในพระธรรมอันประเสริฐ
    ๓. สังฆคารวตา ให้เคารพในพระสงฆ์อันประเสริฐ
    ๔. สิกขาคารวตา ให้เคารพในสิกขาบทถือศีล
    ๕. สมาธิคารวตา ให้เคารพในสมาธิภาวนา
    ๖. อัปปมาทคารวตา ให้เคารพในความไม่ประมาท
    ๗. ปฏิสัณฐารคารวตา ให้เคารพในปฏิสันถารการต้อนรับ และเคารพในบิดามารดา อุปัชฌาย์อาจารย์ และปู่ย่าตายาย พี่หญิงพี่ชาย ลุงป้าน้าอา ผู้แก่เฒ่าที่มีอายุ เคารพในท่านเหล่านี้ก็จัดว่าเป็น ความเคารพกราบไหว้บูชา ด้วยกาย วาจา และใจ เป็นการแสดงความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ผู้มีคุณธรรม ความอ่อนน้อม จักเป็นเครื่องทำลายความหยิ่งผยองยโส อวดดี มานะถือตัวถือตน และความมีตนอันเสมอท่านสรุปว่า บุคคลผู้ใด เป็นผู้มีจิตใจ กาย วาจา ที่อ่อนน้อมย่อมเป็นที่รักแก่ผู้อื่น



    [​IMG]
    แสดงความเคารพพระบรมสารีริกธาตุ​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>​


    <TABLE id=post8206 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8206 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๒๓
    ความเจียมตัว ไม่จองหอง


    ลักษณะของคนจองหอง ไม่เจียมตัวมี ๙ อย่างคือ
    ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุให้ถือตัวถือตนฯ
    ๒. สีสัพพัตตปรามาส ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรต
    ๓. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม เช่น ชอบใจในบุคคลบางคน
    ๔. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น พอใจในสุขเวทนาฯ
    ๕. ความประมาท
    ๖. มานะ ความสำคัญตัวว่า เป็นนั่นเป็นนี่ฯ
    ๗. ความมี อคติ๔ คือ
    ลำเอียงเพราะรัก
    ลำเอียงเพราะเขลา
    ลำเอียงเพราะโกรธ
    ลำเอียงเพราะกลัว
    ๘. ความไม่รู้จักประมาณในตน
    ๙. อวิชชา ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริงฯ



    [​IMG]
    ใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้ที่ขวางทางเดิน ​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE><TABLE id=post8207 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8207 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๒๔
    ความยินดีด้วยของอันมีอยู่


    [​IMG]
    มีของกินมากมายแต่จะหากินอีก


    [​IMG]
    ทำนา


    [​IMG]
    ประกอบอาชีพกสิกรรม พออยู่พอกิน


    บุคคลมายินดีในสิ่งที่มีและตนทำได้ โดยมิใช่ปล่อยอะไรให้เลื่อนลอยไปตามยถากรรม เกียจคร้านหลังยาว ขาดความเพียร เช่นนี้ไม่ถือว่ายินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ ตัวอย่างเช่น มักจักมีผู้เข้าใจผิดแล้วอ้างว่าความยินดีในสิ่งที่ตนมีตนได้คือ มีมาอย่างไร ก็พอใจยินดีแค่นั้น รู้แค่ไหน ก็รู้แค่นั้น เคยเป็นอยู่อย่างไร ก็จักเป็นอยู่อย่างนั้น เข้าใจอย่างนี้ก็มิได้ถูกทั้งหมด ถ้าผู้มีปัญญาเขาแย้งขึ้นมาว่า ตอนท่านออกมาจากท้องแม่ แก้ผ้ามาแล้วทำไมทุกวันนี้ ไม่แก้ผ้าเดินตามถนน แก้ผ้าเข้าสังคมเล่า เพราะฉะนั้นบางอย่างมองอะไรไปในทางไม่เจริญย่ำอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้า ความหมายของความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าด้วยของ แล้วของนั้นจะมาจากไหน ถ้าท่านไม่แสวงหามา หรือใครจัดหาให้ท่านมา โดยเนื้อแท้แล้ว ท่านหมายถึงว่า ให้ทุกคนลงไม้ลงมือกระทำให้เต็มความรู้ ความสามารถของตนเสียก่อน เมื่อทำจนเต็มที่อย่างสุดความรู้ความสามารถแล้ว มันได้มาเท่าไร ค่อยยินดีพอใจในสิ่งนั้น เพราะถ้าขืนไม่พอใจยินดีแค่นี้ ตนก็จะเป็นทุกข์ เราจะเห็นว่าของทุกอย่างที่ได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเล่าเรียน ความรู้ ความสามารถ เครื่องนุ่งห่ม ทรัพย์สมบัติ ที่อยู่อาศัย หรือแม้แต่ยารักษาโรค เราได้มาด้วยความเพียรพยายาม ทำได้มาทั้งนั้น ท่านสอนให้เรามีความเพียรใช้ศักยภาพและใจนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดและประหยัดสุด โดยมิให้ทะเยอทะยานอยากจนเกินเหตุ
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1><TABLE id=post8208 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8208 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๒๕
    ความเป็นผู้รู้อุปการะอันท่านทำแล้ว


    [​IMG]
    อวยพรให้ลูกยามทำนา


    [​IMG]
    ทำนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นการตอบแทน​


    บุคคลมาระลึกรู้ถึงบุญคุณผู้อื่นที่มีให้แก่ตน เช่นนี้เรียกว่ากตัญญู แล้วทำการตอบแทน เรียกว่า กตเวที

    ลักษณะในการตอบแทนคุณ ผู้มีอุปการะเรา ต้องทำดังนี้คือ
    - ท่านเลี้ยงเรามา เราเลี้ยงท่านตอบ และดูแลรักษาเมื่อยามท่านเจ็บป่วย
    - ให้การเคารพยอมรับ เชื่อฟังท่าน
    - ช่วยท่านเผยแพร่เกียรติคุณ โดยการทำตัวดีต่อตน และต่อสังคม ตามคำสั่งสอนของท่าน
    - ยกย่องเชิดชู ความรู้ความสามารถและคุณธรรมของท่าน ในทุกถิ่นทุกที่ที่เราไป
    - สละแบ่งปันทรัพย์สิน สิ่งของที่มีอยู่ให้แก่ท่านเมื่อถึงความอันควร

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    มงคลที่ ๒๖
    ความฟังธรรมตามกาล


    [​IMG]
    คนนั่งฟังธรรม​


    แม้ว่าชีวิตประจำวัน จะสับสนว้าวุ่นเพียงใด แต่เมื่อถึงกาลสมัยที่ฟังธรรมก็ต้องให้เวลากับกาลนั้นด้วย อย่างน้อยธรรมนั้นก็อาจจะช่วยชำระล้างมลทินภายในใจ และช่วยผ่อนความตึงเครียด สับสนของชีวิตให้ลดลง ทั้งนี้ท่านต้องฟังด้วยความตั้งใจ จดจ่อใคร่ครวญพิจารณาในธรรมที่ฟังนั้นๆ ท่านก็จะได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย เพราะธรรมแปลว่า ธรรมชาติเครื่องฟอกจิต ชำระจิต ถ้าท่านคิดว่าอาหารและน้ำ จำเป็นต่อร่างกายฉันใด ธรรมะก็จำเป็นต่อจิตใจฉันนั้น ร่างกายที่ขาดน้ำและอาหารเป็นร่างกายที่อยู่ไม่ได้ฉันใด ใจนี้ขาดธรรมก็อยู่ดีไม่ได้ฉันนั้น สำหรับประโยชน์ของการฟังธรรมนั้นมีมากมาย ตัวอย่างเช่น

    ๑. ธรรมอันใดที่ตนยังไม่เคยฟังก็จะได้ฟัง
    ๒. ธรรมที่ตนได้เคยฟังแล้ว มาได้ฟังเข้าอีกก็มีปัญญารู้แจ้ง รู้ชัดในธรรมนั้นมากขึ้น
    ๓. มีความสงสัยครั้งมาฟังธรรมก็สิ้นความสงสัยเสียได้
    ๔. จะทำความเห็นให้ตรงถูกต้องต่อพระศาสนา
    ๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส เบิกบาน


    ยังอานิสงส์ในการฟังธรรมมีอีก ๕ ประการคือ
    ๑. ยังพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองเจริญไปภายหน้า
    ๒. ตายแล้วจะไปสู่สุคติคือมนุษย์และสวรรค์
    ๓. จะได้ตรัสรู้ซึ่งมรรคและผล
    ๔. จะทำให้เกิดเป็นนิสัยแก่ผู้ฟังทั้งมนุษย์และเทวดาและสัตว์เดรัจฉาน
    ๕. ฟังแล้วทำให้เกิดปัญญา รู้ตื่นและเบิกบาน


    -------------- <TABLE id=post8210 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8210 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๒๗
    ความอดทน


    [​IMG]
    อดทนต่อการทำมาหากิน​


    พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงสรรเสริญคุณแห่งความอดทนว่า ความอดทนอดใจ เป็นความเพียรยังกิเลสให้เร่าร้อน ความอดทนให้ถึงซึ่งพระนิพพานดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ให้สิ้น

    ความอดทนมี ๓ ประเภทคือ
    ๑. ทนกรากกรำ ความอดทนทำการงาน ไม่หวั่นแม้ความหนาว ร้อน ลม แดด
    ๒. ทนลำบาก ความอดทนต่อทุกขเวทนาอันเกิดเพราะความเจ็บไข้ มีประการต่างๆ แม้อย่างแรงกล้าก็ไม่แสดงอาการกระสับกระส่าย
    ๓. ทนเจ็บใจ ความอดทนต่อความหมิ่นประมาทที่ผู้อื่นกระทำ มีกล่าวคำเสียดสีเป็นความอดทนอย่างยิ่งเป็นขันติโดยแท้ เรียกว่า อธิวาสนขันติ

    ความอดทนยังเป็นเครื่องบ่งบอกถึง คุณภาพของความเป็นมนุษย์ที่เลิศอีกด้วย



    [​IMG]
    เกี่ยงกันซ่อมเรือไม่อดทนต่อความยากลำบาก​


    --------------
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=post8211 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8211 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๒๘
    ความเป็นผู้ว่าง่าย


    บุคคลผู้ว่าง่าย คงจักเปรียบได้กับดิน ที่ช่างปั้นจัดสรรคัดเลือกมาอย่างดี แค่นี้คงยังไม่พอ ช่างปั้นต้องนำดินนั้นมาทุบให้ละเอียด แล้วจึงใส่ตะแกรงกรองเอาเมล็ดกรวด เมล็ดทรายออกจากดินนั้นให้เหลือแต่เนื้อดินร่วนๆ เมื่อนำดินนั้นมาผสมน้ำนวดจะได้นิ่มมือ ไม่บาดระคายมือ เมื่อนวดดินนั้นจนเหนียวได้ที่แล้ว จึงนำมาปั้นเป็นแจกัน เป็นหม้อเป็นภาชนะที่ต้องการเนื้อดินที่ละเอียดอ่อนเหนียว ยิ่งทำดินละเอียดเหนียวมากเท่าไรก็ ยิ่งทำให้ภาชนะที่ช่างผู้มีฝีมือปั้นขึ้นนั้น ยิ่งคงทน ปราณีต สวยงามมากเท่านั้น บุคคลผู้ว่าง่ายเมื่อได้ผ่านการชี้แนะ ดัดกาย วาจาใจ จากครูผู้รู้ใจอารีมีปัญญา แล้วถ่ายทอดธรรมวิทยาทั้งปวงให้บุคคลผู้นั้น ย่อมจักสามารถซึมซับรับรู้ สรรพวิทยานั้นๆ ได้อย่างละเอียดหมดจด จนเป็นผู้เจริญในที่สุด

    [​IMG]
    ยอมไปโรงเรียนโดยดี​



    ซึ่งต่างจากคนผู้ว่ายากสอนยาก เปรียบเหมือนหินกรวดทราย ต่อให้พบช่างปั้นผู้วิเศษเขาก็ต้องคัดดิน กรวด ทราย นั้นทิ้งในที่สุด คนดื้อว่ายากสอนยาก ดูช่างเป็นคนโง่ที่น่าสงสารเสียจริงๆ เพราะเขาจักไม่มีค่าในสายตาของคนรอบข้างเลย เมื่อไปเรียนรู้กับครูวิเศษท่านใด ไม่ว่าครูผู้ใจอารีนั้นจักเพียรพยายามอบรมสั่งสอนต่อเขาสักปานใด เขาก็จักไม่รับอะไรนอกจากความเห็นของตนเอง แถมยังเสียเวลาเปล่าอีก บุคคลประเภทนี้มักจักเป็นผู้สร้างภาระและปัญหาให้แก่สังคม เหตุเพราะตัวเขาเองเป็นปัญหาแก่ตัวเองแล้วแก้ไขไม่ได้ สุดท้ายก็จักมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว เพราะโดนทอดทิ้งจากสังคมรอบข้าง


    [​IMG]
    หนีโรงเรียน มั่วสุม เกเร​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    มงคลที่ ๒๙
    ความได้เห็นสมณะ


    [​IMG]
    การได้พบสมณะ​


    เมื่อครั้งพระศาสดาได้ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เป็นพระสาวก แล้วส่งไปประกาศพระศาสนานั้น พระอัสสชิก็เป็นพระอรหันต์สาวกรูปหนึ่ง ได้จาริกไปตามคามนิคมชนบท แล้วออกบิณฑบาตโปรดสัตว์อยู่นั้น พระสารีบุตรซึ่งยังครองเพศเป็นพราหมณ์อยู่ ได้เห็นกิริยาอันละเมียดละไม สง่างามดังกวางทองเยื้องย่างปานนั้น ก็ทำให้เกิดศรัทธา เข้าไปน้อมกราบแล้วถามขึ้นว่า ท่านเป็นสาวกของใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน แล้วศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร

    ท่านจะเห็นได้ว่า พระสารีบุตรซึ่งยังไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเลย แค่เพียงเห็นพระอัสสชิออกเดินบิณฑบาตโปรดสัตว์เท่านั้นเอง ทำให้เกิดความเลื่อมใส ยอมตนก้มลงน้อมกราบแทบเท้าของพระอัสสชิ เพียงเพื่อต้องการรู้ว่าใครเป็นผู้สั่งสอน จึงทำให้พระอัสสชิช่างมีกิริยาอาการละเมียดละไม สง่างาม มั่นคง เสียเหลือเกิน

    ประโยชน์ของการได้เห็นสมณะผู้สงบ ทำให้จิตของผู้พบเห็นมีจิตสงบ
    - เกิดศรัทธาที่บริสุทธิ์
    - กิเลสไม่กำเริบ
    - เกิดวิชาความรู้

    <TABLE id=post8215 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8215 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๓๐
    ความเจรจาธรรมตามกาล


    การพูดถึงธรรม ดูน่าจะดีทุกกาล ในข้อนี้ท่านหมายถึงผู้พูดและผู้ฟัง จะต้องมีใจเห็นพ้องกันว่าควรจะพูดและควรจะฟังในเวลานี้ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องธรรมในเวลาที่ผัวเมียกำลังเสพกาม เสพเครื่องดองของเมา หรือบริโภคอาหาร เช่นนี้ผู้พูดและผู้ฟังอาจจะต้องเกิดทะเลาะกันก็ได้ เพราะพูดไม่ถูกกาลเทศะ

    บริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้ง ๔ นี้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้เล่าเรียนศึกษาพระธรรมและพระวินัยที่พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ เมื่อเล่าเรียนศึกษาได้แล้ว มีข้อข้องใจสงสัย ก็จำข้อสงสัยนั้นมานั่งสนทนากัน สอบถามกันในเวลาประชุมหรือในเวลาพบปะท่านผู้รู้ เพื่อช่วยแก่ข้อสงสัยนั้นให้กระจ่าง ในส่วนที่รู้แล้วก็จะยิ่งทำให้รู้ชัดไม่หลงลืม เรียกว่าทำให้มั่นยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่รู้เลย เมื่อได้มาร่วมรับฟังการเจรจาธรรมนั้น ผู้ที่ไม่รู้นั้นก็จะได้รู้ตาม ถือได้ว่าเป็นการเผยแผ่ธรรม กระจายธรรมไปในตัวด้วย

    [​IMG]
    หมั่นศึกษาธรรมะ พบปะสนทนาธรรม


    [​IMG]
    สนทนาธรรมผิดกาล​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    มงคลที่ ๓๐
    ความเจรจาธรรมตามกาล


    การพูดถึงธรรม ดูน่าจะดีทุกกาล ในข้อนี้ท่านหมายถึงผู้พูดและผู้ฟัง จะต้องมีใจเห็นพ้องกันว่าควรจะพูดและควรจะฟังในเวลานี้ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องธรรมในเวลาที่ผัวเมียกำลังเสพกาม เสพเครื่องดองของเมา หรือบริโภคอาหาร เช่นนี้ผู้พูดและผู้ฟังอาจจะต้องเกิดทะเลาะกันก็ได้ เพราะพูดไม่ถูกกาลเทศะ

    บริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้ง ๔ นี้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้เล่าเรียนศึกษาพระธรรมและพระวินัยที่พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ เมื่อเล่าเรียนศึกษาได้แล้ว มีข้อข้องใจสงสัย ก็จำข้อสงสัยนั้นมานั่งสนทนากัน สอบถามกันในเวลาประชุมหรือในเวลาพบปะท่านผู้รู้ เพื่อช่วยแก่ข้อสงสัยนั้นให้กระจ่าง ในส่วนที่รู้แล้วก็จะยิ่งทำให้รู้ชัดไม่หลงลืม เรียกว่าทำให้มั่นยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่รู้เลย เมื่อได้มาร่วมรับฟังการเจรจาธรรมนั้น ผู้ที่ไม่รู้นั้นก็จะได้รู้ตาม ถือได้ว่าเป็นการเผยแผ่ธรรม กระจายธรรมไปในตัวด้วย

    [​IMG]
    หมั่นศึกษาธรรมะ พบปะสนทนาธรรม


    [​IMG]
    สนทนาธรรมผิดกาล

    มงคลที่ ๓๑
    ความเพียรเผากิเลส


    บุคคลใดมีความเพียรสำรวมระวังรักษาซึ่งอินทรีย์เป็นต้น กำจัดเสียซึ่งอกุศล คือ ราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อุปาทาน ให้หมดน้อยถอยจากสันดานจัดเป็นมงคลอันประเสริฐ

    ความเพียรที่จะละกิเลสดังต่อไปนี้
    ๑. สำรวมรักษาอินทรีย์ทั้ง ๖ ให้บริบูรณ์
    ๒. การรักษาศีล ๕ ไม่โหดร้าย ไม่มือไว ไม่ใจเร็ว ไม่พูดปด ไม่หมดสติ
    ๓. การรักษาศีลในวันโกน วันพระ
    ๔. ขันติความอดใจที่จะไม่โกรธไม่พยาบาทอาฆาตจองเวรแก่สัตว์ ยังกิเลสให้เร่าร้อน
    ๕. ปาติโมกข์สังวร สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
    ๖. ความเห็นซึ่งมรรคด้วยอำนาจแห่งปัญญา ความรู้อริยสัจ ๔
    ๗. มีความยินดีรักษาซึ่งธุดงควัตร เป็นข้อปฏิบัติของบรรพชิต
    ๘. มีความยินดีเจริญพระกัมมัฏฐานสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา
    ๙. ความทำนิพพานให้แจ้ง


    [​IMG]
    พระภิกษุไม่เกิดกิเลสตามผู้มาหลอกล่อ


    [​IMG]
    ฆราวาสฝึกบำเพ็ญความอดทน​

    <TABLE id=post8222 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8222 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๓๒
    ความประพฤติอย่างพรหม


    [​IMG]
    ประพฤติอย่างพรหม​


    คุณสมบัติของพรหม มี ๔ อย่างคือ
    ๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เขาเป็นสุข
    ๒. กรุณา ความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์
    ๓. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    ๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ


    บุคคลใดมีคุณธรรมเหล่านี้ ถือว่าบุคคลเหล่านั้น เป็นผู้ใหญ่ เป็นพรหมโดยสมมติ การที่บุคคลมีคุณธรรม ๔ อย่างดังกล่าวมาแล้วนี้ เรียกว่า เป็นผู้มีพรหมวิหาร ๔ ถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติของผู้ใหญ่ ยังเป็นผู้ที่ยังให้เกิดความศรัทธา รักใคร่ เลื่อมใสต่อผู้อยู่ร่วม เช่นนี้จึงถือว่าเป็นผู้ดีมีมงคลในชีวิต

    [​IMG]
    ผู้ไม่ประพฤติอย่างพรหม​

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1></TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    มงคลที่ ๓๓
    ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย


    ท่านให้เห็นอริยสัจ มิใช่ให้เป็นโดยการท่องจำ แต่ให้เห็นโดยปัญญารู้แจ้งตามสภาพความเป็นจริง ในสภาพแวดล้อมในปัจจุบันว่า ทุกชีวิตของสรรพสัตว์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และแตกสลายไป หรือจะมีปัญญาแยบคายมาก สามารถเห็นตามหลักอริยสัจ ๔ ก็ได้ เช่นเห็นว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ อันมีมาแต่เหตุ ถ้าจะดับทุกข์ก็ต้องดับที่เหตุ โดยมีข้อปฏิบัติให้ทุกข์นั้นดับ มีอยู่คือ มรรค ๘ ประการ เช่นนี้เรียกว่าเห็นอริยสัจ ๔

    [​IMG]
    คนเกิด


    [​IMG]
    คนแก่ คนเจ็บ


    [​IMG]
    คนทุกข์ทรมาน


    [​IMG]
    คนตาย


    [​IMG]
    คนยืนมองภาพที่เกิดขึ้น

    มงคลที่ ๓๔
    ความทำพระนิพพานให้แจ้ง


    บุคคลมาเจริญวิถีแห่งนิพพาน ได้แก่ มีความเพียร เจริญสติ เป็นสมาธิ เกิดปัญญา พิจารณาสภาวะธรรม ทั้งนอกกาย ในกาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายความยึดถือทั้งนอกกายในกายละเสียได้ซึ่ง โทสะ โมหะ ความยินดียินร้าย มีจิตอันไม่เศร้าหมองแล้ว บุคคลนั้นย่อมลุถึงความดับและเย็นแห่งชาติภพเสียได้ เช่นนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้ทำนิพพานให้แจ้ง

    [​IMG]
    พระอริยบุคคล
    มงคลที่ ๓๕
    จิตของผู้ใด อันโลกธรรมถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว


    โลกธรรม ๘ ประการ เป็นเครื่องผูกสัตว์ทั้งหลายให้ข้องอยู่ในโลก จนต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบ

    โลกธรรมทั้ง ๘ คือ
    ๑. มีลาภ
    ๒. เสื่อมลาภ
    ๓. มียศ
    ๔. เสื่อมยศ
    ๕. มีสรรเสริญ
    ๖. มีนินทา
    ๗. มีความสุข
    ๘. มีทุกข์


    [​IMG]
    คนต้องการสรรเสริญ

    [​IMG]
    ประจบสอพลอ


    [​IMG]
    คนอยากได้อยากมีทอง มีเสื้อผ้า

    [​IMG]
    คนขออาจารย์ใบ้หวย


    [​IMG]
    ขูดหาเลขที่ต้นไม้


    [​IMG]
    คนร่อนทองในแม่น้ำ​


    จิตอันโลกธรรมถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว คือจิตที่ต้องมีความเพียร มีสติ เกิดสมาธิ ปรากฎปัญญา เห็นตามความเป็นจริงว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วแปรปรวน ดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรคงที่ อยู่ถาวรตลอดกาล เมื่อมีปัญญาพิจารณาเห็นสภาพตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่มัวเมา หลงยึดถือ สลัดหลุดจากเครื่องพันธนาการร้อยรัดทั้งปวง

    -------------- <TABLE id=post8226 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8226 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๓๖
    ความไม่มีโศก


    [​IMG]
    ชายหญิงที่ปราศจากมลทิน​


    บุคคลผู้มีปัญญา เห็นไตรลักษณ์ คือความเกิดขึ้นในเบื้องตัน แปรปรวนในท่ามกลาง แตกสลายในที่สุด แล้วมีจิตอันเป็นปกติ มิได้เศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้ ไปตามกระบวนการนั้นๆ จิตก็เข้าสู่กระแสแห่งธรรม มีเครื่องขจัดมลทินของจิต เป็นจิตที่มีอุเบกขารมณ์
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom ="alt1"><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1>
    มงคลที่ ๓๗
    ปราศจากธุลี


    บุคคลใดถึงพระอรหันต์บุคคลนั้นชื่อว่า ปราศจากธุลี ธุลีมีดังนี้
    ๑. ราคะความกำหนัดยินดีในกามคุณทั้ง ๕
    ๒. โทสะความโกรธประทุษร้ายแก่สัตว์และสังขาร
    ๓. อวิชาความไม่รู้

    บุคคลใดไม่มีความเศร้าหมองในสันดาน จัดเป็นมงคลอันประเสริฐกว่ามงคลทั้งปวง มีคุณใหญ่หลวงแก่สรรพสัตว์


    [​IMG]
    ความโศกเศร้า​


    <TABLE id=post8229 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center ="tborder"><T><TBODY><TR vAlign=top><TD id=td_post_8229 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" ="alt1">
    มงคลที่ ๓๘
    จิตเกษม


    บุคคลทั้งหลายใด ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสไกลจาก อวิชา ตัณหา อุปาทาน ชาติภพ จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ

    [​IMG]
    คนยืนมองความเป็นไปทั้งหลาย

    จบบริบูรณ์

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา http://www.watkoh.com/kratoo//forum_posts.asp?TID=3800


    </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.thummada.com/cgi-bin/iB3/...;f=4;t=4;st=40</TD></TR></T></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

     
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ขอบคุณค่ะ
     
  3. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    กำลังค้นเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่พอดี ขอบคุณค่ะ
     
  4. พงศ์830

    พงศ์830 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,172
    ค่าพลัง:
    +1,196
    เยี่ยมมากเลยครับ..ท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...