มณฑาทิพย์ ดอกไม้สวรรค์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 24 กันยายน 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ดอกมณฑาทิพย์ บ้างเรียกว่าดอกมณฑารพ หรือดอกมณฑาสวรรค์
    ท่านเล่ากันว่าเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมจรุง มากกว่าดอกไม้ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกมนุษย์





    [​IMG]
    <O:p


    ความปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนที่ว่าด้วยพระสุตตันตปิฎก บทปรินิพพานสูตร กล่าวว่า ดอกมณฑารพ ซึ่งเป็นดอกไม้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เวลาดอกมณฑารพจะบาน และร่วงหล่นก็ด้วยเหตุการณ์สำคัญ ๆ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ตุรงคสันนิบาต และทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ดอกมณฑารพ จึงได้ร่วงหล่นลงมายังโลกมนุษย์
    <O:p</O:p
    ครั้งเมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ที่เมืองกุฉินารา ดอกมณฑารพ นี้ก็ได้ร่วงหล่นลงมาทั้งก้านและกิ่ง เปรียบเหมือนความเสียอกเสียใจพิไรรำพันต่อการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงเหล่าพระภิกษุผู้ได้ชื่อว่าอรหันตขีนาสพทั้งหลายด้วย หมู่เหล่าข้าราชบริพาร ประชาชนทั้งหลายได้พากันมาถวายสักการะพระบรมศพ อีกทั้งยังได้พากันเก็บนำดอกมณฑารพที่ร่วงหล่นลงมาเพื่อไปสักการบูชาและรำลึกถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ดอกมณฑารพ ที่เก็บมาสักการบูชาเริ่มเหี่ยวแห้งและหมดไป เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ



    [​IMG]
    <O:p</O:p


    รวมทั้งเหตุการณ์ในวันสำคัญต่าง ๆ จึงได้พากันนำเอาข้าวตอกมาสักการบูชา เพราะถือว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเป็นของสูงที่มนุษย์จะขาดไม่ได้ การจัดข้าวตอกดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชามีจุดเริ่มต้นเมื่อไหร่นั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าแรก ๆ จะใส่พาน ไว้โปรยเวลาพระสงฆ์เทศนา ต่อมาจึงมีการนำมาประดิษฐ์ตกแต่งที่เห็นว่าสวยงาม สืบทอด กันเรื่อยมาจนกลายเป็นประเพณีแห่มาลัยในปัจจุบัน<O:p</O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • magnolia_index.jpg
      magnolia_index.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.7 KB
      เปิดดู:
      80,665
    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.5 KB
      เปิดดู:
      44,282
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ มณฑาทิพย์ หรือ มณฑารพ นั้นในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า


    [​IMG]



    ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพานได้ตรัสกับพระอานนท์ ปรากฎ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของ มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่๑๓ ทีฆนิกายมหาวรรคหน้า ๓๐๖ –๓๐๗ ข้อ๑๒๙ มหาปรินิพพานสูตร ทรงปรารภสักการบูชาดั่งว่า

    ดูกรอานนท์ไม้สาละทั้งคู่เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาลร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ ดอกมณฑารพ อันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพ เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคต เพื่อบูชาแม้จุณแห่งจันทน์ อันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศจุณแห่งจันทน์เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคต เพื่อบูชาดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศเพื่อบูชาตถาคตแม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต


    [​IMG]



    ดูกรอานนท์ตถาคตจะชื่อว่า อันบริษัทสักการะเคารพนับถือบูชานอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุภิกษุณีอุบาสก หรือ อุบาสิกาก็ตามเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติ ชอบปฏิบัติ ตามธรรมอยู่ผู้นั้นย่อมชื่อว่า สักการะเคารพนับถือบูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเ พราะเหตุนั้นแหละ อานนท์พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบประพฤติตามธรรมอยู่ดังนี้ฯ

    ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วทุกหนแห่งในเมืองกุสินาราเต็มไปด้วย ดอกมณฑารพ

    “...สมัยนั้นเมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วย ดอกมณฑารพ โดยถ่องแถวประมาณแค่เข่าจนตลอดที่ต่อแห่งเรือนบ่อของโสโครก และกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดา และ พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราสักการะเคารพนับถือบูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำขับร้องประโคมมาลัย และของหอมทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์...”


    [​IMG]


    หลังจากพระพุทธองค์เสด็จสวรรคตแล้วพระมหากัสสปะเถระ ซึ่งอยู่ที่เมืองปาวาได้ทราบข่าวว่า
    พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองกุสินาราหลายวันแล้ว จึงตั้งใจจะไปเฝ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร ๕๐๐ รูป ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองกุสินาราอยู่นั้น ได้หยุดพักหลบแสงแดดอยู่ใต้ร่มไม้ข้างทาง ได้เห็นนักบวชนอกศาสนาคนหนึ่ง ซึ่งมาจากเมืองกุสินาราถือ ดอกมณฑารพเดินสวนทางมาพระมหากัสสปะ ซึ่งเวลานั้นยังไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็นึกสังหรณ์ใจเพราะดอกมณฑารพ เป็นดอกไม้ทิพย์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์




    [​IMG]



    และจะปรากฏเฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน วันจาตุรงคสันนิบาตวันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ ดอกมณฑารพ ตกลงมาจากเทวโลก พระมหากัสสปะจึงได้สอบถามข่าวคราวของพระพุทธองค์จากนักบวชผู้นั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพานมา วันแล้วและ ดอกมณฑารพ นี้ก็ได้มาจากสถานที่ที่พระองค์ปรินิพพานนั่นเอง เมื่อได้ยินดังนั้น พระมหากัสสปะจึงรีบเร่งนำพระภิกษุสงฆ์ออกเดินทางไปยังเมืองกุสินารา

    นอกจากนี้ดอกมณฑารพ นี้ยังเป็นดอกไม้ของนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดีที่มีนามว่ากิริณีเทวีด้วยf

    <O:p</O:pคัดจากจากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลาฉบับที่๗๘ .. ๕๐ โดยเรณุกา<O:p</O:p


    ......................................................

    ที่มาข้อมูล<O:p</O:p
    http://www.bloggang.com/viewdiary.ph...roup=6&gblog=7 http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=2276.0<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • magnolia.jpg
      magnolia.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.4 KB
      เปิดดู:
      32,081
    • 001d.jpg
      001d.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.3 KB
      เปิดดู:
      31,686
    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.5 KB
      เปิดดู:
      33,039
    • magnolia...jpg
      magnolia...jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.1 KB
      เปิดดู:
      47,505
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เวลานั้น พระมหากัสสปเถระเจ้า พาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เดินทางจากเมืองปาวา ไปเมืองกุสินารา เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน แสงแดดกล้า พระเถระเจ้าจึงพาพระภิกษุสงฆ์เข้าหยุดพักร่มไม้ริมทาง ด้วยดำริว่าต่อเพลาตะวันเย็น จึงจะเดินทางต่อไป


    ครั้นพระเถระเจ้าพักพอหายเหนื่อย ก็เห็นอาชีวกผู้หนึ่ง เดินถือ ดอกมณฑา กั้นศีรษะมาตามทาง ก็นึกฉงนใจ ด้วยดอกมณฑา นี้ หามีในมนุษย์โลกไม่ เป็นของทิพย์ในสุราลัยเทวโลก จะตกลงมาเฉพาะในเวลาสำคัญ ๆ คือ เวลาพระบรมโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ เวลาประสูติ เวลาเสด็จออกสู่มหาภิเนกษกรม เวลาพระสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ เวลาแสดงธรรมจักร เวลาทรงทำยมกปาฏิหาริย์ เวลาเสด็จลงจากเทวโลก เวลาปลงอายุสังขาร และเวลาพระสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน เท่านั้น ไฉนกาลบัดนี้ จึงเกิดมีดอกมณฑา อีกเล่า ทำให้ปริวิตกถึงพระบรมศาสดา หรือพระบรมศาสดาจักเสด็จปรินิพพานแล้ว นึกสงสัย จึงได้ลุกขึ้นเดินเข้าไปใกล้อาชีวกผู้นั้น แล้วถามว่า

    "ดูกรอาชีวก ท่านมาแต่ที่ใด"
    "เมืองกุสินารา พระผู้เป็นเจ้า"
    "ท่านยังได้ทราบข่าวคราวพระบรมครูของเราบ้างหรือ อาชีวก" พระเถระเจ้าถามสืบไป
    "พระสมณโคดม ครูของท่านนิพพานเสียแล้วได้ ๗ วัน ถึงวันนี้" อาชีวกกล่าว "ดอกมณฑา นี้ เราก็ได้มาแต่เมืองกุสินารา เนื่องในการนิพพานของพระมหาสมณะโคดมพระองค์นั้น"



    [​IMG]

    เมื่อภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นปุถุชน ได้ฟังถ้อยคำของอาชีวกบอกเช่นนั้น ก็ตกใจมีหฤทัยหวั่นไหวด้วยกำลังแห่งโทมนัส เศร้าโศก ปริเทวนาการ ร่ำไรถึงพระบรมศาสดา ฝ่ายพระสงฆ์ที่เป็นพระขีณาสพก็เกิดธรรมสังเวชสลดจิต

    เวลานั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง <O:p</O:p
    บวชเมื่อภายแก่ ชื่อ สุภัททะ เป็นวุฑฒะบรรพชิตมีจิตดื้อด้าน ด้วยสันดาลพาลชน เป็นอลัชชีมืดมนย่อหย่อนในธรรมวินัย ลุกขึ้นกล่าวห้ามภิกษุทั้งหลายว่า<O:p</O:p
    " ท่านทั้งปวง อย่าร้องไห้ร่ำไรไปเลย บัดนี้ เราพ้นอำนาจพระมหาสมณะแล้ว เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ย่อมจู้จี้ เบียดเบียนบังคับบัญชาห้ามปรามเราต่าง ๆ นานา ว่าสิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร บัดนี้ พระองค์ปรินิพพานแล้ว เราปรารถนาจะทำสิ่งใด ก็จะทำได้ตามใจชอบ ไม่มีใครบังคับบัญชา ห้ามปรามแล้ว"


    พระมหากัสสปเถระเจ้า <O:p</O:p
    ได้ฟังคำของพระสุภัททะกล่าวคำจ้วงจาบพระบรมศาสดาเช่นนั้น ก็สลดใจยิ่งขึ้น ดำริว่า <O:p</O:p
    …….. "ดูเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานไปเพียง ๗ วัน เท่านั้น ก็ยังเกิดมีอลัชชี มิจฉาจิต คิดลามก เป็นได้ถึงเช่นนี้ ต่อไปเมื่อหน้า จะหาผู้คารวะในพระธรรมวินัยไม่ได้ หากไม่คิดหาอุบายแก้ไขป้องกันให้ทันท่วงทีเสียแต่แรก เราจะพยายามทำสังคายนา ยกพระธรรมวินัยขึ้นไว้เป็นที่เคารพแทนองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าให้จงได้" <O:p</O:p
    .......... พระเถระเจ้าทำไว้ในใจเช่นนั้นแล้ว ก็กล่าวธรรมกถาเล้าโลมภิกษุสงฆ์ทั้งหลายให้ระงับดับความโศกแล้ว รีบพาพระสงฆ์บริวารเดินทางไปยังนครกุสินารา ตรงไปยังมกุฏพันธนะเจดีย์

    ครั้นถึงยังพระจิตรกาธาร ที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระศพ พระบรมศาสดาแล้ว ก็ทำจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กระทำปทักษิณเวียนพระจิตรกาธารสามรอบแล้ว เข้าสู่ทิศเบื้องพระยุคลบาท น้อมถวายอภิวาทแล้วตั้งอธิษฐานจิตว่า
    <O:p</O:p
    "ขอให้พระบรมบาททั้งคู่ของสมเด็จพระบรมครู ผู้ทรงพระเมตตาเสด็จไปประทานอุปสมบทแก่ข้าพระพุทธเจ้าผู้มีนามว่ากัสสปะ ณ ร่มไม้พหุปุตตนิโครธ ทั้งยังทรงพระมหากรุณาโปรดประทานมหาบังสุกุลจีวรส่วนพระองค์ ให้ข้าพระองค์ได้ร่วมพระพุทธบริโภคโดยเฉพาะ จงออกจากหีบทอง รับอภิวาทแห่งข้าพระพุทธเจ้ากัสสปะ ซึ่งตั้งใจมาน้อมถวายคารวะ ณ กาลบัดนี้เถิด"
    <O:p</O:p
    ขณะนั้น พระบรมบาททั้งคู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ได้แสดงอาการประหนึ่งว่า พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
    ได้ทำลายคู่ผ้าทุกุลพัสตร์ที่ห่อหุ้มอยู่ทั้ง ๕๐๐ ชั้น กับทั้งพระหีบทอง
    ออกมาปรากฎในภายนอก ในลำดับแห่งคำอธิษฐานของพระมหากัสสปะเถระเจ้า
    ดุจดวงอาทิตย์ที่แลบออกจากกลีบเมฆ ฉะนั้น
    พุทธบริษัททั้งปวง เห็นเป็นอัศจรรรย์พร้อมกัน



    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทันใดนั้น พระมหากัสสปะเถระ ก็ยกมือขึ้นประคองรองรับพระยุคลบาทของพระบรมศาสดา
    ขึ้นชูเชิดเทิดทูลไว้บนศีรษะ แล้วก็กราบทูลว่า <O:p</O:p
    …………"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มิได้อยู่ปฏิบัติพระองค์ ไปอยู่เสียในเสนาสนะป่าอรัญญิกาวาส แม้พระองค์จะทรงพระกรุณาประทานโอกาสว่า <O:p</O:p
    …………"กัสสปะ ชราแล้ว ทรงบังสุกุลจีวรเนื้อหนา พานจะหนัก จะทรงคหบดีจีวรอันทายกถวายบ้าง ก็ตามอัธยาศัย จงอยู่ในสำนักตถาคต แม้จะทรงพระมหากรุณาถึงเพียงนี้ กัสสปะก็มิได้อนุวัตรตามพระมหากรุณา ได้ประมาทพลาดพลั้งถึงดังนี้ ขอภควันตะมุนี ได้ทรงพระกรุณาโปรดอดโทษานุโทษแก่ข้าพระองค์ อันมีนามว่า กัสสปะ ณ กาลบัดนี้"

    <O:p
    ครั้นพระมหากัสสปะ กับพระสงฆ์บริวาร ๕๐๐ <O:p</O:p
    และมหาชนทั้งหลายกราบนมัสการ พระบรมยุคลบาทโดยควรแล้ว
    พระบาททั้งสอง ก็ถอยถดหดหายจากหัตถ์พระมหากัสสปะ นิวัตตนาการคืนเข้าพระหีบทองดังเก่า ทุกสิ่งทุกอย่างได้ตั้งอยู่เป็นปกติ มิได้ขยับเขยื่อนเคลื่อนไหวจากที่แต่ประการใด <O:p</O:p
    เป็นมหัศจรรย์อันยิ่งใหญ่อีกวาระหนึ่ง
    ขณะนั้น เสียงโศกาปริเทวนาการของมวลเทพดาและมนุษย์ ซึ่งได้หยุดสร่างสะอื้นแล้วแต่ต้นวัน
    ก็ได้พลันดังสนั่นขึ้นอีก
    <O:p</O:p
    เสมอด้วยวันเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

    ที่มาข้อมูล : http://www.larnbuddhism.com/puttapra...inipan/28.html<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.5 KB
      เปิดดู:
      30,741
    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14 KB
      เปิดดู:
      30,902
    • macnolia..jpg
      macnolia..jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.4 KB
      เปิดดู:
      806
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เพลง ลาวคำหอม <O:p</O:p
    ประพันธ์โดยพระยาประสานดุริยศัพท์<O:p</O:p
    บทร้อง
    <O:p</O:p

    ยามเมื่อลมพัดหวน ลมก็อวลแต่กลิ่นมณฑาทอง
    ไม้เอยไม้สุดสูง อย่าสู้ปอง ไผเอยบ่ได้ต้อง แต่ยินนามดวงเอย
    โอ้เจ้าดวง เจ้าดวงดอกโกมล กลิ่นหอมเพิ่งผุดพ้นพุ่มในสวนดุสิตา
    แข่งแขอยู่แต่นภา ฝูงภุมราสุดปัญญาเรียมเอย
    โอ้อกคิดถึง คิดถึงคนึงนานวัน
    นอนไห้ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์แจ่มฟ้า
    โอ้อกคิดถึง คิดถึงคนึงนานวัน
    นอนไห้ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์แจ่มฟ้า
    ทรงกลด สวยสดโสภา
    แสงทองส่องหล้า ขวัญตาเรียมเอย
    ทรงกลด สวยสดโสภา
    แสงทองส่องหล้า ขวัญตาเรียมเอย<O:p</O:p


    <O:p

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1172277/[/MUSIC]​



    ที่มา http://www.oknation.net/blog/pen/video/696
    วิกิพีเดีย <O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ในเนื้อเพลงลาวคำหอมกล่าวถึง ดอกมณฑาทอง และ ดอกโกมล ท่อนที่ว่า "ยามเมื่อลมพัดหวนลมก็อวลแต่ กลิ่น มณฑาทอง" และ "โอ้เจ้าดวงเจ้าดวง ดอกโกมล กลิ่นหอมเพิ่งผุดพ้น พุ่มใน สวนดุสิตา" จากการสืบค้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คำจำกัดความคำว่า ดอกมณฑารพ/มณฑา และ ดอกโกมล ไว้ความว่า<O:p</O:p

    มณฑารพ[มนทารบ] น. ชื่อต้นไม้ในสวรรค์ มณฑา ก็ใช้ (ป. มณฑารว)<O:p</O:p
    โกมล ๑ ว. อ่อน. งาม. หวาน. ไพเราะ. เช่น กรรณาคือกลีบโกมลกามแกล้งผจง. <O:p</O:p
    โกมล ๒ น. ดอกบัว เช่น ก็ทัดทานวาริชโกมล. (ม. คำหลวง มหาราช) (ป. กมล) (๕)



    ที่มาข้อมูล : กวิน - บทความ (article) - วิเคราะห์เพลง ลาวคำหอม
    มหาอนุโมทนา เพลงลาวคำหอม ร้องบรรเลงชุด "ห้วงคำนึง" ร้านน้อง ท่าพระจันทร์<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2010
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    มณฑา


    ชื่อสามัญ Magnolita
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Talauma candellei
    ตระกูล MACNOLIACEAE (วงศ์เดียวกับ จำปา จำปี และยี่หุบ)



    [​IMG]

    <O:p</O:p
    พันธ์ไม้ตระกูลใกล้เคียงเรียกชื่อ ดอกมณฑา (Taluama canclollei Bl.) <O:p</O:p
    ชื่ออื่นเรียกคือ ยี่หุบ (ภาคเหนือ & ภาคกลาง), จอมปูน, จำปูนช้าง (สุราษฎร์ธานี)

    ถิ่นกำเนิด

    มณฑา เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
    ลักษณะเป็นพุ่ม ผิวเปลือกลำต้นเรียบสีเทา ลำต้นมีความสูงประมาณ ๔-๑๐ เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาน้อย<O:p</O:p

    ใบมีขนาดใหญ่มีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ขอบใบขนานตัวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
    ขนาดใบกว้างประมาณ ๔-๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๖-๙ เซนติเมตร
    ดอกแตกออกตามง่ามใบ หรือส่วนยอดของลำต้น
    กลีบดอกแข็งหนา ซ้อนกันเป็นชั้น ลักษณะคล้ายกับดอกลำดวน
    ดอกภายใน เล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอมไปไกล




    [​IMG]

    ลักษณะทั่วไป
    คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นมณฑาไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะดอกมณฑาเป็นดอกไม้ทิพย์ที่ อยู่บนสวรรค์ และได้ตกลงมาสู่โลกมนุษย์ ทำให้บ้านเกิดมีความงดงาม ชวนมอง เพราะดอกมณฑาเวลาบานนั้น ดอกจะมีสีเหลืองนวล หอมนาน ดูแล้วงาม แพรวพราวจับใจ<O:p</O:p

    ความเป็นมงคล
    เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้าน และผู้อาศัย
    ควรปลูกต้นมณฑา ไว้ทางทิศตะวัตตกเฉียงเหนือของบ้าน
    ควรปลูกในวันพุธ ด้วยเชื่อกันว่า การปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ



    [​IMG]

    <O:p</O:p


    ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก<O:p</O:p
    ถ้าหากผู้อาศัยในบ้านเกิดในวันพฤหัสบดีด้วยแล้วก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น<O:p</O:p
    นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้าน ขนาดหลุมปลูก ๓๐ x ๓๐ x ๓๐ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา ๑ : ๒ผสมดินปลูก
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การปลูก<O:p</O:p
    แสง ต้องการแสงแดดอ่อน หรือแสงแดดปานกลาง
    น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลางควรให้น้ำ ๕- ๗ วัน/ครั้ง
    ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นสูง
    ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา ๑-๒กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ ๓-๕ ครั้ง
    การขยายพันธ์ การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การตอน
    โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

    <O:p</O:p
    ขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.maipradabonline.com/maimongkol/montha.htm
    ภาพจาก http://www.pantown.com/data/5174/board1/203-20050411033655.jpg<O:p</O:p






    <HR align=center SIZE=2 width="100%">

    ที่มาข้อมูล :<O:p></O:p>
    พระพุทธประวัติ : http://www.larnbuddhism.com<O:p</O:p
    มณฑา : http://www.maipradabonline.com<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.5 KB
      เปิดดู:
      30,264
    • magnolia_index.jpg
      magnolia_index.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.7 KB
      เปิดดู:
      31,392
    • magnolia...jpg
      magnolia...jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.1 KB
      เปิดดู:
      30,154
    • magnolia.jpg
      magnolia.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.4 KB
      เปิดดู:
      31,283
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สิริบุญส่งเทพธิดามีวิมานเรืองรองจรุงด้วย กลิ่นดอกมณฑารพ เหตุอันเกี่ยวเนื่องจากการเป็นผู้มีศีล และบูชาด้วยเกสรดอกไม้
    พร้อมนี้ ขอเชิญพระอรรกถามาเล่าเพื่อศรัทธาธรรม ความดั่งว่า<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    อรรถกถา ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ จิตตลดาวรรคที่ ๒
    ๕. ภัททิตถิกาวิมาน
    อรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน <O:p</O:p


    ภัททิตถิกาวิมาน มีคาถาว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ ดังนี้เป็นต้น.
    ภัททิตถิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร? <O:p</O:p


    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี.
    สมัยนั้น ในกิมิลนครมีคหบดีบุตรผู้หนึ่งชื่อโรหกะ มีศรัทธาปสาทะ ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ ในนครนั้นแล มีทาริกาเด็กหญิงคนหนึ่งในตระกูลที่มีโภคทรัพย์มากทัดเทียมกับนายโรหกะนั้น เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส มีนามว่าภัททา เพราะเจริญแม้ตามปกติ. <O:p</O:p

    ครั้นต่อมา มารดาบิดาของโรหกะได้เลือกกุมารีนั้น นำนางมาในเวลานั้น ได้ทำอาวาหวิวาหมงคลกัน. สองสามีภริยานั้นก็อยู่ร่วมกันด้วยสามัคคี ก็เพราะอาจารสมบัติของตน นางจึงได้เป็นคนเด่น รู้จักกันไปทั่วพระนครนั้นว่า ภัททิตถี แม่หญิงภัทรา. <O:p</O:p

    ก็สมัยนั้น พระอัครสาวกทั้ง ๒ มีภิกษุเป็นบริวารรูปละ ๕๐๐ จาริกเที่ยวไปในชนบท ถึงกิมิลนคร. นายโรหกะรู้ว่าพระอัครสาวกนั้นไปที่กิมิลนครนั้น เกิดโสมนัสเข้าไปหาพระเถระทั้งสองรูป ไหว้แล้วนิมนต์ฉันในวันพรุ่งนี้ อังคาสท่านพร้อมด้วยบริวารให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยบุตรและภรรยา ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ท่าแสดงแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน รับสรณะ สมาทานเบญจศีล. <O:p</O:p

    ส่วนภรรยาของเขาก็เข้ารักษาอุโบสถศีลเป็นวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและวันปาฏิหาริยปักษ์. เฉพาะอย่างยิ่งนางได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ และเทวดาทั้งหลายอนุเคราะห์แล้ว ก็ด้วยความอนุเคราะห์ของเทวดานั้นแล นางก็ปลดเปลื้องคำว่าร้ายผิดๆ ที่ตกมาเหนือตนหายไปได้ กลายเป็นผู้มีเกียรติยศแพร่ไปทั่วโลกอย่างยิ่ง เพราะนางมีศีลและอาจาระหมดจดด้วยดีแล. <O:p</O:p

    ก็ภรรยานั้นอยู่ในกิมิลนครนั้นเอง ส่วนสามีของนางอยู่ค้าขายในตักกศิลานคร ในวันมหรสพรื่นเริงกัน เมื่อถูกพวกเพื่อนรบเร้าก็เกิดคิดอยากเล่นงานมหรสพตามเทศกาล เทวดาผู้ประจำเรือนก็ช่วยนำนางไปในตักกศิลานครนั้นด้วยอานุภาพทิพย์ของตนแล้ว ส่งไปร่วมกับสามี เพราะอยู่ร่วมกันนั่นแลก็ตั้งครรภ์. เทวดาช่วยนำกลับกิมิลนคร <O:p</O:p

    เมื่อครรภ์ปรากฏชัดขึ้นโดยลำดับ ถูกแม่ผัวเป็นต้นรังเกียจว่านางประพฤตินอกใจสามี เมื่อกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาถูกเทวดานั้นแลบันดาลให้เป็นเหมือนหลงมาท่วมกิมิลนคร ด้วยอานุภาพของตน ประสบความยุ่งยาก ซึ่งตกลงมาเหนือตนดังกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาที่มีเกลียวคลื่นเกิดเพราะแรงลม ด้วยการสมถะมีสัจจาธิษฐานเป็นเบื้องต้น ซึ่งพิสูจน์ว่าตนเป็นหญิงจงรักสามี ถึงจะกลับมาอยู่ร่วมกับสามี สามีนั้นก็รังเกียจเหมือนแม่ผัวเป็นต้นรังเกียจมาก่อน และต้องอ้างสัญญาณเครื่องหมาย ซึ่งสามีนั้นประทับชื่อให้ไว้ในตักกศิลานคร จึงแก้ความรังเกียจนั้นได้ กลายเป็นผู้ที่ญาติฝ่ายสามีและมหาชนยกย่อง ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า สุวิสุทฺธสีลาจารตาย อติวิย โลเก ปตฺถฏยสา อโหสิ ได้เป็นผู้มีเกียรติยศแพร่ไปในโลกอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีศีลและอาจาระหมดจดดี.<O:p</O:p

    สมัยต่อมา นางทำกาละตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.
    ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาจากกรุงสาวัตถีไปยังภพดาวดึงส์ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลา ณ โคนต้นปาริฉัตร และเมื่อเทพบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ภัททิตถีเทพธิดาก็ได้เข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. <O:p</O:p

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงถามบุญกรรมที่เทพธิดานั้นทำไว้ ณ ท่ามกลางเทวดาบริษัทและพระพรหมบริษัทที่ประชุมพร้อมกันในหมื่นโลกธาตุ ได้ตรัสว่า <O:p</O:p

    ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี ท่านทัดทรงไว้เหนือศีรษะ ซึ่ง พวงมาลัยดอกมณฑารพ อันมีสีต่างๆ กัน คือ เขียว เหลือง ดำ แดงเข้มและแดงที่ห้อมล้อมด้วยกลีบเกสรจากต้นไม้เหล่าใด ต้นไม้เหล่านี้ไม่มีในเทพหมู่อื่น เพราะบุญอะไร ท่านผู้เลอยศจึงเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
    ดูก่อนเทพธิดา ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอกมาสิว่านี้เป็นผลของบุญอะไร.<O:p</O:p
    <O:p


    [​IMG]


    ในคาถานั้น จ ศัพท์ในบาทคาถานี้ว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ มญฺชิฏฺฐา อถ โลหิตา เป็นการกล่าวควบบท จ ศัพท์นั้น พึงประกอบแต่ละบทโดยเป็นต้นว่า นีลา จ ปีตา จ.
    ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้ในอรรถอื่น. ด้วย อถศัพท์นั้น ท่านรวมวรรณะที่ไม่ได้กล่าวมีสีขาวเป็นต้นไว้ด้วย. พึงทราบว่า อิติศัพท์ท่านลบเสียแล้วแสดงไว้ [ไม่มีอิติศัพท์]
    อีกอย่างหนึ่ง จ ศัพท์ควบข้อความที่ไม่ได้กล่าวไว้ อิติศัพท์เป็นนิบาต.
    บทว่า อุจฺจาวจานํ ในบาทคาถาว่า อุจฺจาวจานํ วณฺณานํ นี้ พึงเห็นว่าไม่ลบวิภัตติ. อธิบายว่า มีสีสูงและต่ำคือมีสีต่างๆ กัน.
    อนึ่ง บทว่า วณฺณานํ แปลว่า ซึ่งมีรัศมีคือสี.
    บาทคาถาว่า กิญฺชกฺขปริวาริตา ได้แก่ แวดล้อมด้วยกลีบเกสรดอกไม้.
    ที่จริง บทนั้นเป็นปฐมาวิภัตติแต่ใช้ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ มีคำอธิบายดังนี้ว่า <O:p</O:p
    <O:p


    ดูก่อนเทพธิดา ท่านทัดทรงประดับไว้เหนือเศียร ซึ่งมาลัยดอกมณฑารพ คือพวงมาลัยที่ทำด้วยดอกมณฑารพเหล่านั้น เพราะดอกมณฑารพเหล่านั้นซึ่งสีสรรต่างๆ คือ เขียว เหลือง ดำ แดงเข้ม แดงและสีอื่นๆ มีสีขาวเป็นต้น อันห้อมล้อมด้วยกลีบเกสรคือละออง ตามที่เป็นอยู่มีสัณฐานทรวดทรงงามเป็นต้น หรือเพราะสีแห่งวรรณะตามที่กล่าวแล้วต่างๆ กัน เกิดจากต้นมณฑารพ.
    เพื่อแสดงว่าต้นไม้ที่มีดอกเหล่านั้นไม่ทั่วไปแก่สวรรค์ชั้นอื่น เพราะดอกไม้เหล่านั้นมีสีพิเศษแปลกออกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นยิเม อญฺเญสุ กาเยสุ รุกฺขา สนฺติ สุเมธเส ดังนี้. ในบทเหล่านั้น <O:p</O:p


    บทว่า อิเม ประกอบความว่า ต้นไม้มีดอกประกอบด้วยสีและสัณฐานเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วไม่มี.
    บทว่า กาเยสุ แปลว่า ในหมู่เทพทั้งหลาย.
    บทว่า สุเมธเส แปลว่า ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี. <O:p</O:p

    บรรดาบทเหล่านั้น<O:p</O:p
    บทว่า นีลา ได้แก่ มีสีเขียวโดยมณีรัตนะมีอินทนิลและมหานิลเป็นต้น. <O:p</O:p
    บทว่า ปีตา ได้แก่ มีสีเหลืองโดยมณีรัตนะ มีบุษราคัมกักเกตนะและปุลกะเป็นต้น และทองสิงคี. <O:p</O:p
    บทว่า กาฬา ได้แก่ มีสีดำโดยมณีรัตนะมีแก้วหินอัสมกะ แก้วหินอุปลกะเป็นต้น. <O:p</O:p
    บทว่า มญฺชิฏฺฐา ได้แก่ มีสีแดงเข้มโดยมณีรัตนะมีแก้วโชติรส แก้วโคปุตตาและแก้วโคเมทกะเป็นต้น. <O:p</O:p
    บทว่า โลหิตา ได้แก่ มีสีแดงโดยมณีรัตนะมีแก้วทับทิม แก้วแดง แก้วประพาฬเป็นต้น. ส่วนอาจารย์บางพวกเอาบทมีนีละเป็นต้น<O:p</O:p
    กับบทนี้ว่า รุกฺขา ประกอบกันกล่าวว่า นีลารุกฺขา เป็นต้น. <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ที่จริง แม้ต้นไม้ย่อมได้โวหารว่าเขียวเป็นต้น เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น เหตุปกคลุมด้วยดอกไม้มีสีเขียวเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ด้วยบทเหล่านั้นว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ ฯลฯ นยิเม อญฺเญสุ กาเยสุ รุกฺขา สนฺติ สุเมธเส ดังนี้ พึงประกอบความว่า
    ท่านทัดทรงพวงดอกมณฑารพซึ่งมีสีสรรต่างๆ ฯลฯ ห้อมล้อมด้วยกลีบเกสรจากต้นไม้ใด การแสดงต้นไม้ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยการระบุดอกไม้อันประกอบด้วยสีแปลกออกไปตามที่เห็นแล้ว ด้วยการแสดงถึงภาวะที่ดอกไม้เหล่านั้นเป็นของไม่ทั่วไป จัดเป็นปฐมนัย. การแสดงดอกไม้ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยการแสดงภาวะที่ต้นไม้เป็นของไม่ทั่วไป จัดเป็นทุติยนัย. สีเป็นต้นในปฐมนัย ท่านถือเอาโดยสภาพ. ในทุติยนัย ท่านถือเอาโดยมุข คือต้นไม้อันเป็นที่อาศัย [ของสี] ในข้อนั้นสีและต้นไม้เหล่านั้นแปลกกันดังกล่าวมานี้.
    บทว่า เกน ประกอบความว่า เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์.
    บทว่า ปุจฺฉิตาจิกฺข ความว่า ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอกจงกล่าวมาเถิด.
    เทพธิดานั้นถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงได้ทูลพยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ชนทั้งหลายรู้จักข้าพระองค์ว่า ภัททิตถิกา แม่หญิงภัทรา ข้าพระองค์เป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีในการจำแนก ของเป็นทานทุกเมื่อ มีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทิป ในพระอริยเจ้า ผู้ปฏิบัติตรง
    ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔-๑๕ และดิถีที่ ๘ ของ ปักษ์และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ข้าพระองค์เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ มีสัญญมะ และแจกทาน จึง ครอบครองวิมาน.
    ดีฉันงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นจากการ ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และเป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระสมันตจักษุ มีปกติเป็น ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท.
    ข้าพระองค์ได้โอกาสบำเพ็ญกุศลธรรม จุติจาก มนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นเทพธิดา มีรัศมีของตนเอง เที่ยวชมสวนนันทนวันอยู่ อนึ่ง ข้าพระองค์ได้เลี้ยงดู ท่านภิกษุอัครสาวกทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วย ประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง เป็นมหาปราชญ์ และได้โอกาสบำเพ็ญกุศลธรรม ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดาผู้มีรัศมีในตนเอง เที่ยว ชมสวนนันทนวันอยู่
    ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ อันนำความสุขมาหาประมาณมิได้อยู่ เนืองนิตย์ และได้โอกาสสร้างกุศลธรรม ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้วได้บังเกิดเป็นนางเทพธิดาผู้มีรัศมี ในตนเอง เที่ยวชมสวนนันทนวันอยู่.


    [​IMG]

    </O:p

    ในบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า ภทฺทิตฺถิกามิ มํ อญฺญึสุ กิมฺพิลายํ อุปาสิกา ความว่า หญิงนี้เจริญดี เกิดการตัดสินใจไว้ว่า เป็นผู้มีศีลไม่ขาด เพราะกลับกระแสน้ำใหญ่ที่กำลังเบียดเบียน ด้วยอาจารสมบัติ ด้วยการกระทำสัจ เพราะฉะนั้น ชาวกิมพิลนครจึงรู้จักข้าพระองค์ว่า อุบาสิกาชื่อว่าภัททิตถิกา.
    บาทคาถาเป็นต้นว่า สทฺธาสีเลน สมฺปนฺนา มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อีกอย่างหนึ่ง เทพธิดาแสดงทรัพย์คือศรัทธาด้วยบทนี้ว่า <O:p</O:p
    สทฺธา. ทรัพย์คือจาคะด้วยบทนี้ว่า ข้าพระองค์ยินดีในการจำแนกของเป็นทาน มีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องประทีปในพระอริยะผู้ปฏิบัติตรง. ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริและทรัพย์คือโอตตัปปะ ด้วยบทนี้ว่า ข้าพระองค์สมบูรณ์ด้วยศีล ตลอดดิถี ๑๔-๑๕ ค่ำ ฯลฯ มีสิกขาบท ๕ ประการ. แสดงทรัพย์คือสุตะและทรัพย์คือปัญญา ด้วยบทนี้ว่า อริยสจฺจาน โกวิทา. เทพธิดานั้นแสดงการได้อริยทรัพย์ ๗ ประการของตนดังกล่าวมาฉะนี้. <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    เทพธิดาชี้แจงอานิสงส์ของอริยทรัพย์ ๗ นั้น ทั้งที่เป็นปัจจุบัน ทั้งที่เป็นภายหน้า ด้วยบาทคาถานี้ว่า อุปาสิกา จกฺขุมโต ฯ เป ฯ อนุวิจรามิ นนฺทนํ.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า กตาวาสา ได้แก่ ได้บำเพ็ญสุจริตกรรมเครื่องอยู่สำเร็จแล้ว.
    จริงอยู่ สุจริตกรรมเรียกว่าอาวาสที่อยู่แห่งสุขวิหารธรรม เพราะเหตุอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและอนาคต ด้วยเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า กตกุสลา ดังนี้.
    เทพธิดากล่าวบุญสำเร็จด้วยทานของตนอันเป็นเขตพิเศษ ที่มิได้แตะต้องมาก่อนแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่เขตพิเศษเป็นบ่อเกิดแห่งบุญนั้น จึงกล่าวคำว่า ภิกฺขู จ เป็นต้น.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขู ชื่อว่าภิกษุเพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสมิให้เหลือ. <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    บทว่า ปรมหิตานุกมฺปเก ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันเป็นต้น เป็นอย่างยิ่งคือเหลือเกิน.
    บทว่า อโภชยึ ได้แก่ ข้าพระองค์ได้ให้ท่านฉันโภชนะอันประณีต.
    บทว่า ตปสฺสิยุคํ ความว่าคู่ [สองอัครสาวก] ผู้มีตบะ เพราะเผาผลาญตัดกิเลสมลทินทั้งหมดได้เด็ดขาดด้วยตบะอันสูงสุด.
    บทว่า มหามุนึ ความว่า เป็นผู้แสวงคุณใหญ่เพราะตบธรรมนั้นนั่นแล หรือชื่อว่ามหาปราชญ์เพราะรู้คือกำหนดวิสัยของตนได้ด้วยญาณอย่างใหญ่นั่นเทียว.
    คำนั้นทั้งหมด เทพธิดากล่าวหมายเอาพระอัครสาวกทั้งสอง. <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    บทว่า อปริมิตํ สุขาวหํ ท่านกล่าวมิได้ลบนิคหิต ได้แก่อันให้เกิดหิตสุขมีปริมาณเกินพระดำรัสแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ผู้บอกจะทำให้บรรลุ ตลอดถึงสุขบนสวรรค์ไม่ง่ายนัก หรือนำสุขมาหาประมาณมิได้ คือนำสุขมาด้วยอานุภาพของตน.
    บทว่า สตตํ แปลว่า ทุกเวลา. ประกอบความว่า ไม่ลดวันรักษาอุโบสถนั้นๆ หรือทำวันรักษาอุโบสถนั้นไม่ให้ขาด ทำให้บริบูรณ์นำความสุขมาให้เนืองนิตย์ หรือทุกเวลา.
    คำที่เหลือเหมือนนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอภิธรรมปิฎกตลอดสามเดือนโปรดหมู่เทวดาและพรหม ผู้อยู่ในหมื่นโลกธาตุ มีพระมารดาเทพบุตรเป็นประธาน เสด็จกลับมายังมนุษยโลกแล้วทรงแสดงภัททิตถิกาวิมานโปรดแก่ภิกษุทั้งหลาย.
    พระธรรมเทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล. <O:p</O:p


    จบอรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน

    ----------------------------------------------------- <O:p</O:p



    ที่มาข้อมุล http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=658&Z=691
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ขอบคุณจ่ะพี่บุญญ...

    ได้ความรู้มากมายเลย หนูฟังเพลงลาวคำหอม บ่อยๆ แต่ฟังแล้วก็ไม่ได้คิดอะไรลึกๆ ก็ฟังออกว่าตามเนื้อเพลง

    ยามเมื่อลมพัดหวน ลมก็อวลแต่กลิ่นมณฑาทอง
    ไม้เอยไม้สุดสูง อย่าสู้ปอง ไผเอยบ่ได้ต้อง แต่ยินนามดวงเอย
    โอ้เจ้าดวง เจ้าดวงดอกโกมล กลิ่นหอมเพิ่งผุดพ้นพุ่มในสวนดุสิตา
    แข่งแขอยู่แต่นภา ฝูงภุมราสุดปัญญาเรียมเอย

    แต่ไม่ได้นึกถึงว่าอยู่บนแดนสรวงจริงๆ นึกว่าผู้แต่ง แต่งเปรียบเปรยถึงแมลงจะชมดอกไม้แต่ดอกไม้อยู่สูงเลยสุดเอื้อม เพิ่งจะ อ๋อ ตอนนี้เอง ขอบคุณจ่ะ

    พี่บุญญ จ๋า ขอถามหน่อย ถ้าหากเราถวายดอกไม้บูชาพระสงฆ์ด้วยความเคารพ แต่เมื่อพระสงฆ์รับแล้วเกิดความยินดีกำหนัดในความสวยของดอกไม้ เราจะบาปไหม....
     
  8. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    อนุโมทนาจร้า น้องบุญญสิกขา อยากหามาปลูกครับ

    มีขายที่ไหน ช่วยแจ้งให้ทราบด้วย
     
  9. Banlangboon

    Banlangboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +274
    อ่านกระทู้นี้แล้วเคลิ้ม...งามสมกับเป็นดอกไม้สวรรค์
    อนุโมทนากับคุณบุญญสิกขาด้วยค่ะ
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    กราบอนุโมทนา ทุก ๆท่าน ทุก ๆ ประการค่ะ


    ทุกจิตตั้งอนุโมทนา ขอน้อมกุศลส่งยังเจ้าของต้นฉบับ สาระ ภาพงาม ๆ ตลอดจนท่านพระยาประสานดุริยศัพท์ผู้ประพันธ์เพลงลาวคำหอม และเจ้าของน้ำเสียงลำนำ เจริญจิต จรุงใจ เจริญธรรม ท่าน ๆ และดิฉันยิ่ง ๆขึ้นไปค่ะ สาธุ


    [​IMG]





    กราบสวัสดีค่ะ ท่านพี่มังกร ฯ (ดีใจจังเล้ย )<O:p</O:p
    ชื่นใจจัง ! สนใจปลูกต้นไม้ในวรรณคดี สมค่า ควรแก่การอนุรักษ์พันธ์ไว้เลยค่ะ

    ต้นมณฑาทิพย์ เป็นไม้เสริมสิริมงคล จะทำให้บ้านมีความศักดิ์สิทธิ์ ปลูกง่าย ชอบดินร่วน (ข้อมูลจากผู้ใหญ่ใจดีท่านหนึ่งเล่าว่า) ปลูกในพื้นที่รำไร จะขยันออกดอก ดอกจะออกบานประมาณ ๑๐๐วันวันละ ๑ดอกหอมชื่นใจในตอนเช้าหอมอยู่ครึ่งวันก็หมดกลิ่นและโรยในวันต่อมา

    <O:p</O:pวิถีไทย คุ้นเคยกับพันธุ์ไม้นี้มานานแล้วค่ะ คนไทยโบราณได้เทียบคุณค่าพันธุ์ไม้นี้ไว้สูงเท่าดอกไม้สวรรค์ ซึ่งมี องค์พระแม่เจ้ามณฑา เป็นผู้อภิบาลสวนดอกไม้นี้ บนอุทยานสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของท่านท้าวสักกะมหาราช

    <O:p</O:pพันธ์ไม้ตระกูล Magnoria นี้ ชาวตะวันตกก็ให้ความสำคัญเช่นกันนะคะ โดยนำไปเป็นสัญลักษณ์ยกย่องสตรีที่มีคุณสมบัติเข้มแข็ง สตรีที่มีคุณสมบัติงามสง่างามสง่าสมญานามให้ว่าเป็น หญิงเหล็ก (still magnolia) มีแต่งเป็นเพลง และภาพยนตร์ด้วยนะคะ ชื่อเดียวกันคือmagnolia
    <O:p</O:p


    พร้อมนี้ ได้พบข้อมูลหลากหลายน่าสนใจเกี่ยวกับพันธ์ไม้นี้ เรียนเชิญท่านพี่ฯ ทางนี้เลยนะคะ<O:p</O:p
    เขาตั้งกันเป็นชมรมเลยเชียวล่ะ
    <O:p</O:p
    http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php<O:p</O:p
    http://www.ruammitra.890m.com/tree-magnolia-montha.html<O:p</O:p
    <O:p

    [​IMG]


    และสนใจปลูก เชิญแวะข้อความดั่งเดิมดังนี้ค่ะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <TABLE style="WIDTH: 86.3%; mso-cellspacing: 1.5pt" class=MsoNormalTable border=0 cellPadding=0 width="86%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f4f4f4; BORDER-LEFT: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 91.72%; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f4f4f4; BORDER-RIGHT: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0.75pt" vAlign=top width="91%">
    มีใครสนใจรับเลี้ยงต้นมณฑาบ้าง แลกกับผักสวนครัว

    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #f4f4f4; BORDER-LEFT: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 7.04%; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f4f4f4; BORDER-RIGHT: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0.75pt" vAlign=top width="7%" noWrap>





    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มีใครสนใจรับเลี้ยงต้นมณฑาบ้าง ซื้อมาแล้วแต่หาที่ปลูกไม่ได้ อยู่แถวเอแบคบางนา <O:p</O:p
    <TABLE style="WIDTH: 69.22%; mso-cellspacing: .7pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="69%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f4f4f4; BORDER-LEFT: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 21.92%; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f4f4f4; BORDER-RIGHT: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0.75pt" vAlign=bottom width="21%">จากคุณ<O:p</O:p




    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #f4f4f4; BORDER-LEFT: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 77.36%; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f4f4f4; BORDER-RIGHT: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0.75pt" width="77%">: ดาวกระจาย <O:p</O:p




    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 1; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f4f4f4; BORDER-LEFT: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 21.92%; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f4f4f4; BORDER-RIGHT: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0.75pt" vAlign=bottom width="21%">เขียนเมื่อ<O:p</O:p




    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #f4f4f4; BORDER-LEFT: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 77.36%; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f4f4f4; BORDER-RIGHT: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0.75pt" vAlign=bottom width="77%">: 17 ก.ย. 52 13:35:37 <O:p</O:p




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <O:p</O:p
    http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J8331168/J8331168.html<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    <O:p</O:p


    [๑๒๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า <O:p</O:p
    ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดีเมืองกุสินารา และสาลวัน อันเป็นที่แวะพักแห่งพวกเจ้ามัลละ
    <O:p</O:p
    ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดี เมืองกุสินารา และสาลวัน อันเป็นที่แวะพักแห่งพวกเจ้ามัลละ ครั้นแล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า
    <O:p</O:p
    ดูกรอานนท์ เธอจงช่วยตั้งเตียง ให้เราหันศีรษะไปทางทิศอุดร ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ เราเหน็ดเหนื่อยแล้ว จักนอน
    <O:p</O:p
    ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ตั้งเตียงหันพระเศียรไปทางทิศอุดร ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัสเบื้องขวาทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กถาว่าด้วยการบูชาพระตถาคต<O:p</O:p
    [๑๒๙] สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่ เผล็จดอกสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกไม้เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้ ดอกมณฑารพ อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพ เหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ฯ
    <O:p</O:p
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า<O:p</O:p
    ดูกรอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็จดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ ดอกมณฑารพ อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต
    <O:p</O:p
    ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะเคารพนับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ
    <O:p</O:p
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=267879<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

    อืมมม...งามจริง ๆ ค่ะ เพลงก็เพราะเข้ากับบรรยากาศ

    ขออนุโมทนาบุญกับคุณบุญญสิกขาด้วยค่ะ (ชอบชื่อนี้มากค่ะ )

    Numsai:cool:
     
  13. อบ.

    อบ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,538
    ไพเราะงดงามทั้งเรื่องราวและดนตรีขับกล่อมค่า อนุโมทนาสาธุบุญญทุกประการค่า . .
     
  14. สายฝนฉ่ำเย็น

    สายฝนฉ่ำเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,474
    ค่าพลัง:
    +7,070
    อนุโมทนา สาธุ ด้วยเจ้าค่ะ คุณบุญญสิกขา ขอบคุณมากๆ ค่ะ ^___^
     
  15. ศิริพัฒน์

    ศิริพัฒน์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2008
    โพสต์:
    207
    ค่าพลัง:
    +47
    ตามแม่บุญญมาว่าจะเกะกะกระทู้ตามภาษาคนกันเองครับ 5555555
    แต่พอได้ยินเสียงเพลงในกระทู้เคลิมจนนั่งพับเพียบอ่านกระทู้จบแต่โดยดี :):cool:
    และไปหามาปลูกบ้างดีกว่าเพราะเห็นว่าหอมไกลและออกดอกตลอดปีจะได้เอาไปถวายฯเวลาเจริญพระกรรมฐานจ้า
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ และขออนุโมทนาบุญธรรมทานด้วยครับ

    ปล. ตามมาทวงสูตรน้ำใบเตยอร่อยที่สุดในโลก:p มาฝากกระทู้ผมด้วยจ้า นะแม่บุญญ นะนะ
    http://palungjit.org/threads/การบริ...เหล็กภายในตัวบุคคล.178468/page-15#post2453549
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  16. Mrs.Kim

    Mrs.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +2,306
    คุ้นๆว่าเคยได้เห็นและได้ดมกลิ่นเมื่อยามเป็นเด็กน้อย แต่ผู้ใหญ่บอกว่าเป็นดอกจำปาแขกไม่รู้ว่าจะใช่ดอกเดียวกันรึป่าวเจ้าค่ะแม่บุญ
    ขออนุโมทนาสาธุกับแม่บุญด้วยที่นำสาระดีๆมาให้อ่าน แถมมีเพลงที่เราชอบมากให้ฟังด้วยค่ะ รู้สึกยังกะอยู่ในเรื่องสี่แผ่นดินเลยค่ะ
     
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    สาธุการ คุณน้ำใสค่ะ
    ยินดีที่ได้รู้จัก ชื่นชม คารวะดวงจิตเช่นกันค่ะ "ญาติธรรม"
    ฝากความระลึกถึง และกราบนมัสการ "หลวงพ่อใหม่ (มั่น) ท่านด้วยนะคะ
    ลูกห่างพ่อมานานแล้ว - ค่อย ๆ พึ่งพา ฝึกฝนตน "บินเดี่ยว" ให้เข้มแข็งก่อน :)



    “บุญญสิกขา”<O:p</O:p


    ปุญญ = คุณธรรมความดี สิกขา = การฝึกอบรม<O:p</O:p


    การฝึกฝนปฏิบัติอบรมในเรื่องความดี การนำพาให้คนเจริญงอกงามขึ้นในความดีต่างๆด้วย ทานศีลภาวนา ตามหลักไตรสิกขา หรือบุญญสิกขา ๓ ประการ <O:p</O:p


    หากเมื่อฝึกฝนปฏิบัติอย่างถูกต้องดีแล้วก็จะเข้าถึง ชีวิตที่ดีงามมีความสุขที่แท้จริง โดยเข้าถึงธรรมและความสุขทั้ง ๓ ระดับได้จนถึงที่สุด<O:p</O:p

    <O:p</O:p
     
  18. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    สดชื่นมากเลยล่ะ ตื่นขึ้นมาได้ฟังเพลงแบบนี้พร้อมกับเรื่องราวแบบนี้ชื่นใจมาก คิดถึงบ้านเรือนไทยที่อวลไปด้วยกลิ่นดอกไม้ เหมือนกำลังเดินชมสวนเลยล่ะ ขอบคุณมากนะคะแม่บุญญ
     
  19. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อนุโมทนา แม่อบ คุณสายฝนฯ และ ท่าน Max ค่ะ
    ยินดีที่ได้สรรสาระประโยชน์มาเล่าสู่กัลยาณมิตรค่ะ หากจะได้นำพาเจริญธรรมกันยิ่งๆ ขึ้นไปนะคะ

    เหตุที่มาของสาระความนี้ ด้วยช่วงนี้ ได้รับการเกื้ออารีจากกัลยาณมิตรท่านหนึ่ง คอยหมั่นตักเตือนสติ ให้เร่งหมั่นเพียรพฤฒิปฏิบัติบนเส้นทางเดินอันยาวไกล จู่ๆ จิตจับได้คำเตือน "จำไว้นะ อย่าได้ลืม" พร้อมมี "ดอกไม้" แต่ไม่รู้เป็นดอกอะไร ไม่รู้ ! - นึกได้ว่า ผู้ใหญ่เคยเล่าถึงดอกไม้บนสวรรค์ จึงสนใจสืบค้น นำมาเล่าสู่กันฟัง !

    เอ ! เกี่ยวกันหรือเปล่าเนี๊ยะ




    บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ยังมีดอกไม้อีกหลากหลายชนิด ที่อยากสรรหามาเล่าสู่กันค่ะ

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.705979/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2009
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    อนุโมทนา สาธุการ "คุณแม่หมูอ้วน" เช่นกันค่ะ :)

    มณฑาทิพย์ หรือ Macnolia เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ดอกออกสีเหลืองนวล บางพันธุ์ทรงพุ่ม ออกดอกชมพูแกมม่วง เขียวครามหรือเขียวเทา
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากที่เวบไซต์นี้นะคะ)
    http://www.ruammitra.890m.com/tree-magnolia-montha.html

    <O:p</O:p
    <O:p

    [​IMG]


    คาเมลเลียเป็นไม้พุ่มตระกูลใบชา (tea plant)
    มีมากมายหลากหลายพันธุ์ ปลูกกันแพร่หลายในหลายประเทศ ทั้งในเอเชียและยุโรปหากเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองของ เอเชียใต้ และตะวันออก จากหิมาลัยถึงญี่ปุ่นและอินเดีย และพันธุ์ Camellia japonica:ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำรัฐ <ST1:p</ST1:pที่อยู่ทางตอนใต้ของอเมริกา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนมากปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ (ornamental plants) เพราะมีดอกสวยงาม เช่น Camellia japonica เป็นคาเมลเลียที่ใช้ประโยชน์ไทางการแพทย์ เช่น การสังเคราะห์ emodepside ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลมได้

    <O:p</O:p
    ลำต้นพุ่ม จะมีความสูงของต้นระหว่าง ๒ - ๒๐ เมตร ขนาดดอก ๑ - ๑๒ เซ็นติเมตร (ขึ้นกับสายพันธุ์ )... มีหลายสี เช่น ชมพู แดง เหลืองเช่น กลุ่มพันธุ์ชาจีน (Camellia sinensis var. sinensis) กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม (Camellia sinensis var. assamica)กลุ่มพันธุ์ชาเขมร (Camellia sinensis var. indo- china)กลุ่มพันธุ์ชาจีน (Camellia sinensis var. sinensis) <O:p</O:p

    ในญี่ปุ่นดอกคาเมลเลียนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าเพียงเพื่อเป็นดอกไม้ประดับ โดยนำใบมาทำชาเมล็ดมาสกัดน้ำมันชา ใช้ให้ความสว่าง หล่อลื่นทำอาหารและใช้ในเครื่องสำอางค์<O:p</O:p
    Camellia sinensis นำใบมาทำชา เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย
    Camellia sinensis หรือ Camellia oleifera เมล็ดเอามาสกัดเอาน้ำมันชา (tea oil)<O:p</O:p

    คาเมลเลียมีความหมายถึงดอกไม้แห่งความพึงพอใจ และความสมบูรณ์แบบ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่มาข้อมูล <O:p</O:p
    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=lawofnature&month=03-2007&date=24&group=24&gblog=12<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    http://fwmail.teenee.com/etc/23415.html<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • camellia.jpg
      camellia.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.5 KB
      เปิดดู:
      17,826
    • camellia_02.jpg
      camellia_02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.1 KB
      เปิดดู:
      637
    • camellia_3.jpg
      camellia_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15 KB
      เปิดดู:
      1,114
    • camellia_4.jpg
      camellia_4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.3 KB
      เปิดดู:
      648
    • camellia_5.jpg
      camellia_5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.1 KB
      เปิดดู:
      657
    • camellia_6.jpg
      camellia_6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.9 KB
      เปิดดู:
      631
    • camellia_7.jpg
      camellia_7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.2 KB
      เปิดดู:
      983
    • camellia_9.jpg
      camellia_9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.1 KB
      เปิดดู:
      901
    • camellia_10.jpg
      camellia_10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.5 KB
      เปิดดู:
      528
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...