มนต์ขลัง ‘สังเวชนียสถาน 4 ตำบล’ เข้าถึงธรรม…ตามรอยพระศาสดา

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 7 เมษายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    8a5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4.jpg
    สวดมนต์ใต้ต้นมหาโพธิ์
    ผู้เขียน เบญจมาศ เกกินะ

    ศรัทธาและความเชื่อ นำพาคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนกว่า 135 ชีวิต เดินทางสู่แดนพุทธภูมิ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศอินเดียและเนปาล แหล่งกำเนิดพระพุทธศาสนา ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสังเวชนียสถานไว้ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 4 ตำบล ก่อนเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์สู่เราชาวพุทธทั่วโลก…

    ประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่กลับมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย การหาความรู้ตามคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาจึงได้เพียงศึกษาจากในตำราและการบอกเล่าผ่านจินตนาการถึงสถานที่จริง นำมาซึ่งความศรัทธาและความเชื่อ ทั้งสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และสถานที่แสดงธัมมจักรกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ทำให้เกิดพระรัตนตรัยครั้งแรกในโลก

    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-1.jpg
    กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน

    การมีโอกาสเดินทางไปเยือน ยังแหล่งกำเนิดพระพุทธศาสนา จึงถือเป็นกุศลแห่งศรัทธาครั้งยิ่งใหญ่ นำมาซึ่งความเชื่อมั่นในหลักธรรมคำสอนที่สัมผัสได้อย่างแท้จริง

    กรมการศาสนา โดยกองทุนส่งเสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นสะพานบุญ อาราธนาพระสงฆ์ที่เป็นเครือข่าย อาทิ พระธรรมวิทยากร ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ผู้นำศาสนสถานลานธรรม ลานวิถีไทย รวมทั้งพุทธศาสนิกชนผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา บินลัดฟ้าสู่ สังเวยชนียสถาน 4 ตำบลในประเทศอินเดียและเนปาล วัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน เดินทางไปประกอบศาสนกิจ ย้ำศรัทธาในพระพุทธศาสนา และนำมาสู่การเผยแผ่ที่มั่นคงยั่งยืน

    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-2.jpg
    นมัสการองค์ปรินิพพานสถูป

    นายสำรวย นักการเรียน ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ หัวหน้าคณะ กล่าวว่า โครงการนี้ดำเนินการมานานกว่า 10 ปี แต่ละปีจะมีพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนร่วมเดินทาง ประมาณ 270 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น เพื่อส่งเสริมให้พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ได้เดินทางมาประกอบศาสนกิจ ยังสถานที่จริง จากที่เคยศึกษาเฉพาะในตำรา เมื่อกลับมายังประเทศไทย สามารถนำสิ่งที่ได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัสมาเผยแผ่ให้เกิดคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

    จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บินตรงสู่ท่าอากาศยานคยา ประเทศอินเดีย คณะเราเริ่มต้นเส้นทางสายบุญ ด้วยการเดินทางสู่ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พุทธคยา สถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ อริยสัจสี่ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค กราบนมัสการ พระมหาเจดีย์พุทธคยา ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้ ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์

    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-3.jpg
    นมัสการพระคันธกุฏี เขาคิชฌกูฏ กุฏิพระพุทธองค์

    ก่อนเดินทาง สู่สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ซึ่งมีต้นสาละหรือต้นรังปลูกไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อเป็นอนุสสติถึงพระพุทธองค์ นมัสการองค์ปรินิพพานสถูป และ ปรินิพพานวิหาร ภายในมี พระพุทธรูปปางไสยาสน์เสด็จดับขันธปรินิพพาน และ มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธองค์ ซึ่งทำให้เกิดธรรมสังเวชถึงความไม่เที่ยงของสังขาร

    ต่อมาเดินทางสู่สถานที่ประสูติ ณ ป่าลุมพินี เมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศเนปาล ใช้เวลาเดินทางจากเมืองกุสินารา ถึงลุมพินี นานกว่า 5 ชั่วโมง พาแรงศรัทธา สู่สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลลุมพินี เป็นกึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของพระเจ้าสุทโธทนะกับกรุงเทวทหะ นมัสการสถานที่ประสูติ เสาหินพระเจ้าอโศก และสระโบกขรณี พร้อมเข้าสักการะรอยพระบาทเล็ก ที่มีการสร้างกรอบกระจกครอบไว้ ภายในวิหารมายาเทวี ใกล้กับหินสลักภาพประสูติ

    [​IMG] [​IMG]
    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-4.jpg
    พระมหาเจดีย์พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้

    ท้ายสุดเดินทางเข้าสู่สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็น สังเวชนียสถานที่พระศาสดาทรงแสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ การแสดงธรรมในครั้งนั้นส่งผลให้ พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน และอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ทำให้มีพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบสมบูรณ์ครั้งแรกในโลก เข้ากราบนมัสการ คันธกุฎี ซึ่งเป็นกุฎีหลังแรกที่พระพุทธเจ้าจำพรรษา พร้อมด้วย ธัมเมกขสถูป พระสถูปรูปทรงกลมที่มีช่องทั้ง 8 ล้อมรอบองค์พระสถูป เป็นสัญลักษณ์ของ ธรรมจักรหมายถึงกงล้อแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าเคลื่อนออกไปโปรดเวไนยสัตว์

    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-5.jpg
    พระมหาเจดีย์พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้

    ระหว่างทางเชื่อมถึงสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบล คณะเราได้มีโอกาส เข้าชมสถานที่สำคัญเพื่อเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ อย่างเช่น แม่น้ำเนรัญชรา สถานที่พระพุทธองค์ลอยถาดซึ่งนางสุชาดา เป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาส และบ้านนางสุชาดา เดินเท้าขึ้นเขาคิชฌกูฏ นมัสการพระคันธกุฏี (กุฏิพระพุทธองค์) บนยอดเขาคิชฌกูฏ ระหว่างทางผ่านถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ สถานที่พระเทวทัตกลิ้งหินใส่พระพุทธองค์ และนมัสการกุฏิพระอานนท์ คุกพระเจ้าพิมพิสาร พระคลังหลวง และวัดเวฬุวนาราม วัดแห่งแรกของโลกที่พระเจ้าพิมพิสาร สร้างถวายพระพุทธองค์ เป็นต้น และที่ขาดไม่ได้คือ การนั่งเรือล่องแม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่เผาศพของศาสนาฮินดูมานานกว่า 4,000 ปี และยังคงมีให้เห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้ เป็นสถานที่ที่คนเป็นและคนตาย รวมทั้งสัตว์ทั้งหลายใช้ดื่มและอาบร่วมกัน

    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-6.jpg
    สารนาถ ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    ตลอดการเดินทางในเส้นทางแสวงบุญ บนดินแดนพุทธภูมิแห่งนี้ คณะของเราได้ประกอบศาสนกิจที่สำคัญทั้งการทำวัตรเช้า-เย็น พร้อมๆ กับการสวดเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ผู้ร่วมคณะ การนั่งสมาธิ การสมาทานศีล และร่วมทอดผ้าป่าถวายวัดไทยในอินเดีย ได้แก่ วัดไทยเชตวันมหาวิหาร วัดไทยนวราชรัตนาราม วัดไทยลุมพินี วัดไทยนวราชรัตนาราม 960 วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ วัดไทยพุทธคยา และพุทธสถานธรรมิกราช

    พระครูนิโครธบุญญากร (พระมหาน้อย) เจ้าอาวาสวัดไทยนิโครธาราม ประเทศเนปาล พระธรรมทูตสายอินเดีย เนปาล สรุปภาพการเดินทางท่องดินแดน พุทธภูมิครั้งนี้ ว่า ขอให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเมื่อได้ไปกราบสักการะสถานที่ต่าง ๆ แล้วอย่าเพียงแค่ถึงตา คือได้เห็น ควรจะได้รับทั้งหมด 8 ประการคือ ถึงตา ได้เห็น ถึงหู ได้ฟัง ถึงจมูก ได้วางลมหายใจสู่การปฏิบัติ ถึงลิ้น ได้สาธยายพุทธมนต์บทคำสอนของพระพุทธเจ้า ถึงกายได้กราบ ได้ไหว้ ได้ทำสมาธิ ถึงสถานที่จริง ซึ่งมีหลักฐานอ้างอิง ถึงใจ มีความสงบเบิกบานแจ่มใส และประการสุดท้าย สำคัญที่สุดคือ ถึงธรรม ได้น้อมนำพระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสไว้ในแต่ละแห่งไปประพฤติปฏิบัติ

    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-7.jpg
    บรรยากาศแม่น้ำคงคา
    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-8.jpg
    บรรยากาศแม่น้ำคงคา
    5e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-9.jpg
    บรรยากาศแม่น้ำคงคา

    e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-10.jpg

    e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-11.jpg
    บรรยากาศแม่น้ำคงคา
    e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-12.jpg
    บรรยากาศแม่น้ำคงคา
    e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-13.jpg
    บรรยากาศแม่น้ำคงคา

    ยกตัวอย่างเช่น ได้เข้ากราบสถานที่ประสูติ เราได้หลักของการเกิด ว่า เกิดอย่างไรจึงจะเป็นเลิศ เราจึงจะเจริญ และประเสริฐ พระธรรมที่พระองค์ได้พรั่งพรูออกมา คืออริยสัจสี่ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สรุปสั้น ๆ ก็คือ หลักของเหตุและผล สถานที่แสดงปฐมเทศนา เป็นหลักของการทำงาน ซึ่งหากจะเจริญรุ่งเรือง ต้องทำตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา คือ พอดี พองาม พอเพียง กราบสถานที่ ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน เราได้รับคำสั่งสอนของพระองค์โดยย่อคำสอนที่พระองค์ทรงสอนมา 8 หมื่นกว่าพระธรรมขันธ์ เหลือเพียง 3 พยางค์ คือ อย่าประมาท

    การเดินทางครั้งนี้ ทำให้ซาบซึ้งว่า ไม่ใช่แค่ไปกราบ ไปไหว้ ไปเห็นเท่านั้น แต่เราได้สาระธรรม กลับมาใช้ดำเนินชีวิต ทำให้อยู่อย่างมีความร่มเย็นเป็นสุข…

    e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-14.jpg
    พระพุทธเมตตา
    e0b8b1e0b887-e0b8aae0b8b1e0b887e0b980e0b8a7e0b88ae0b899e0b8b5e0b8a2e0b8aae0b896e0b8b2e0b899-4-15.jpg
    ต้นโพธิ์พระอานนท์

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/news/908017
     

แชร์หน้านี้

Loading...