มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งกาลเวลา

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 24 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    มหาปุญโญวาท 7 บทเกริ่นกล่าว

    เกริ่นกล่าว
    มีพระเถระรูปหนึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ แตกฉาน รู้มาก มีความรู้มากมาย อีกทั้งมีผู้นิยมยกย่อง มีศรัทธาญาติโยม มีลูกศิษย์ลูกหามากและท่านพระเถระรูปนี้ ก็ได้ยินว่ามีพระอีกรูปหนึ่งมีวิธีสอนให้คนเข้าถึงแก่นของธรรมะพุทธธรรมได้โดยตรงและได้รับเรียกขานว่าเป็นผู้บรรลุธรรม
    ท่านรูปแรกก็ตระเตรียมข้าวของและแบกคัมภีร์เต็มหลังเต็มแรง เพื่อจะได้ไปสนทนาโต้วาทีกับรูปที่ได้สำเร็จอรหันต์
    แต่เมื่อไปพบก็เห็นวัดเงียบเรียบง่ายธรรมดา พระที่พบก็เป็นพระธรรมดาแต่งกายมอๆ ปอนๆ ไม่โอ่อ่าแต่อย่างใด
    พระเถระผู้แบกคัมภีร์มาก็ถามขึ้นว่า “ได้ยินเขาเล่าลือกันว่าท่านได้บรรลุธรรม จริงหรือไม่”
    พระเถระผู้อยู่ป่าก็ว่า “จริงไม่จริงก็ในจิตของท่านเองมิใช่หรือ”
    เถระผู้แบกคัมภีร์ได้ฉุกใจคิด ปลดห่อหนังสือออกจากหลังพร้อมๆกับปลดสัมภาระภายในออกไป เหลือแต่ใจอันบริสุทธิ์อยู่กับธรรม เริ่มเรียนรู้เริ่มเข้าหาใจด้วยใจอันบริสุทธิ์ เผชิญหน้ากับสภาวะเป็นจริง จนที่สุดก็เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง เป็นจริงและเป็นธรรม
    เรื่องมีมาในทำนองเดียวกันนี้
    ในคราวหนึ่งภายหลังจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตกลับลงมาจากเชียงใหม่หัวเมืองเหนือ ผ่านเข้ากรุงเทพพักที่วัดบรมนิวาส
    สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสสเถระ) ผู้เป็นสังฆนายกองค์แรกและเป็นลูกศิษย์ต้นของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันทเถระ) ได้ถามองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตว่า “เธอ อยู่ในป่าในเขา ไม่มีตำรา จะหาธรรมที่ถูกต้องได้อย่างไรกัน เมื่อหากเกิดความสงสัยจะแก้ไขอย่างไร?”
    “ธรรมะนั้นมีทุกหย่อมหญ้าสำหรับผู้มีปัญญา” องค์หลวงปู่มั่นตอบ
    ครั้นสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ ได้สดับเช่นนั้น จึงไม่มีอันใดจะถามขึ้นอีกได้แต่สงบนิ่งนั่งตรองด้วยญาณปัญญาสักพักหนึ่งแล้วโพล่งขึ้นว่า “เออ... จริงแท้จริงของเธอ ที่สุด”
    แล้วองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กล่าวสืบการสนทนาไปอีกว่า “ข้าแต่พระเดชพระคุณเจ้า ขอโอกาส... ก็เมื่อทุกคนต่างมีใจ
    ใจเป็นที่ตั้งของสิ่งทั้งปวงเหมือนกัน แต่ก็มีเพียงบางคนที่ทำใจของตนให้สมประสงค์ได้ บางคนก็ทำใจของตนไม่ได้นี้เป็นเหตุใดหรือ ขอรับกระผม”
    พอเข้าใจคำถามสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ก็แก้ว่า “ใจเป็นของยาก”
    “ยากเสมอไปหรือขอรับ”
    “ยากแต่ผู้ยาก ง่ายในผู้ง่าย”
    “เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ล่ะพระเดชพระคุณ”
    “ขอเธอจงเป็นผู้แก้คำดีกว่า”
    “ทูลกราบพระเดชพระคุณ การอยู่ป่าก็อยู่แต่เพื่อว่าอบรมจิต เพราะพระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้อย่างกึกก้องว่า จิตตสฺส ทมโถ สาธุ
    จิตที่ได้รับการอบรมให้ถูกต้องแล้ว ปัญญาย่อมเกิดขึ้นจะมองดูอะไร จะเห็นอะไร จะพิจารณาอะไรก็เป็นธรรมได้ น้อมเข้าสู่ธรรมะได้ ส่วนผู้ไม่ได้อบรมจิต ปัญญาก็ไม่เกิด ความสงบก็ไม่เกิดวิจิกิจฉา เกิดความลังเลสงสัยเพิ่มเข้าอีกมากนัก
    ผู้มีปัญญาย่อมอบรมจิตด้วยดีและถูกต้อง แม้ไม่ต้องจับตำราไม่ต้องแบกตำรา แต่น้อมเอาสิ่งต่างๆ มาเป็นธรรมก็พาให้เข้าถึงพระไตรปิฎกได้ ดูแต่ท่านสังกิจจสามเณรออกไปบิณฑบาตกับพระสารีบุตรผู้เป็นอาจารย์เห็นเขาไถนา เห็นเขาดัดลูกศร เห็นเขาปั้นดิน ก็นำเอาสิ่งที่เห็นมาเป็นอุบาย ว่า ดินไม่มีใจ น้ำไม่มีใจ ไม้ไม่มีใจ ทำไมเขาจึงทำอะไรต่อมิอะไรได้ดั่งใจพึงประสงค์ เรามีใจอยู่ฉะนี้ทำไมไม่ทำจิตทำใจให้ได้ตามความต้องการของตนเองเล่า
    “เออ... นี่เองจึงว่าปราชญ์” สมเด็จพระมหาวีระวงศ์กล่าวอุทานอนุโมทนา
    เรื่องมีมายังมีอีกว่า “อาตมาตุ๊เฒ่าเฝ้าวัด หลวงตาขี้ขจอก เรียนหนังสือหนังหาก็ได้แค่ ป.๒ ครึ่ง อึ๊อ๊ะ... พออ่านได้ เขียนก็ไม่ได้ไม่เก่ง อย่ามาถามเลยหนังสือธรรมะธัมโมอะไรเขียนไม่เป็นดอก เทศน์ธรรมก็ว่าไปตามเรื่องเท่านั้น พระป่าบ้านนอก อิโหน่อิเหน่ปะเลอะปะเต๋อไปตามเรื่อง” วันหนึ่งองค์หลวงปู่ปรารภไว้เช่นนี้ ปรารภกับโยมที่เข้ากราบแล้วขอหนังสือธรรมะ
    องค์ท่านได้บอกโยมอีกว่า “ไปเทอะ... ไปถามตุ๊หนุ่มเขาเทอะ อ่านตัวหนังสือแล้วให้อ่านใจเจ้าของนำ (ด้วย) เด้อ”
    “เจ้าค่ะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ”
    นี่จึงว่าอย่าเอาการรักการอ่านมาบังธรรมะ อย่าเอาใบลานมาบังพระธรรมเพราะหนังสือทุกเล่มก็เป็นแต่แหล่งร้อยรวมตัวอักษรตัวหนังสือเข้าด้วยกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเป็นเล่มเท่านั้นเอง
    เมื่อรักการอ่าน จึงรักหนังสือ เมื่อเป็นหนังสือธรรมะจึงรักธรรมะอีกโสดการอ่านจึงเป็นความสดชื่น เป็นความเพลิดเพลินและรื่นเริงรุกเร้าให้สืบค้น ข้อนี้เองกระมังที่องค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ว่าไว้ในวันนี้ว่า “ให้อ่านใจด้วย” คือ อ่านใจของตน อ่านใจของผู้คน อ่านคนเขียน อ่านคนต่างยุคต่างสมัย เพื่อการรู้หนังสือ รู้สื่อของใจ รู้สาระ รู้ตัวตน
    ทั้งนี้แม้ในที่สุดแล้วนั้น
    ก็ เพื่อความรื่นเริงในธรรมะ
    เพื่อความมั่นคงและเอาใจใส่ในธรรมปฏิบัตินั่นเอง
    “ริ้วรอยแห่งกาลเวลา”
    มหาปุญฺโญวาท เล่ม ๗ นี้
    เป็นความบันเทิงในธรรมของผู้รักธรรม อีกเล่มหนึ่งที่ตกฟากออกมาแต่ผอบแก้วโอษฐ์แห่งธรรมขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ และผนวกเข้าด้วยกับส่วนเสริมเติมอรรถแต่งอักษรเพื่อเน้นย้ำคติในธรรมปฏิภาคนั้นๆ ให้ชัดเจนและตีตื้นขึ้นมา
    นี่คือชาติบ่อเกิดของ มหาปุญฺโญวาท ๗
    เมื่อธรรมชาติเป็นของยืนตัว มีที่มาเฉกเช่นนี้ฉันนั้น
    สิ่งที่เล็ดเหลือจากธรรมชาตินั้นๆ จึงเป็นความหลากหลายของวาระจิตบางครั้งวาระนั้นก็เป็นสารพันปัญหา บางครั้งก็ไม่เป็นอันใดอย่างใด บางครั้งก็เป็นไปเพื่อธรรมะ เป็นแต่ว่าเมื่อท่านผู้ใดมีหัวใจอันอ่อนโยนเป็นกลางแล้วก็จะเฝ้ามอง เฝ้าสัมผัส และดื่มด่ำในรสอันระดะระดายในระเบียนแห่งธรรมะขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เป็นลำดับมาแล้ว
    แม้ไม่ทั้งหมด
    ขอเพียงหนึ่ง หรือสองเรื่องก็เพียงพอแล้ว ก็คุ้มค่าแล้วกับการคลอดคลานหนังสืออันบอบบางสักเล่ม สักวาระหนึ่ง ในปีหนึ่งๆ ตามยถาปัจจัย
    ในยามนี้
    เมื่อไม่มีสิ่งใดที่ดูว่าจะดีกว่า หรือจะน่าปรารถนาในสิ่งที่มีอยู่ปรากฏอยู่เป็นจริงอยู่ก็ดูกะไรไป
    ขอเสนอให้รักการอ่าน รักการพิเคราะห์พิครวญ คิดให้เป็น ทำให้เป็น ให้เห็นตาม สงบ นิ่ง ไม่เพ้อ ไม่พล่าน มักน้อยในอุบายปฏิบัติแล้วดุ่มเดินดำเนินไป
    ในชีวิตความเป็นอยู่ที่กร้าน โลนและรวน ก็จักยับยั้งความรีบเร่ง ด่วนได้ให้กลับมานุ่มนวล ละมุ่นละไม ได้ดุลย์ พอดีและพอเพียงแก่สุขแก่ตนได้บ้างเป็นคราวๆ ไป
    ใน “ริ้วรอยแห่งกาลเวลา”
    มีความกลมกล่อม งดงาม อุ่นซึ้ง ละมุนละม่อม โอนอ่อนและสืบเค้าจากกาลสู่กาล จากเพลาสู่เพลา จากบุราณสู่ปัจจุบันขณะ จากลมหายใจอันกระสั้นกระสน มาเป็นเปี่ยมสติ เต็มรู้เต็มตื่น เป็นธรรมดา
    เช่นนี้ก็จะเห็นซึ้งแลได้ในสิ่งที่เป็นธรรมดาสามัญ
    เป็นธรรมดาที่เป็นมากับริ้วรอยแห่งกาลเวลา
    เป็นกาลเวลาในชีวิตความเป็นองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    เป็นกาลเวลาของชีวิต ๑๐๐ ปี ๑ ศตวรรษ ๑ ศตวาท
    เป็นกาลเวลา ๑๐๐ ปี หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    นับเป็นริ้วรอยอันมีอยู่ ทรงอยู่ในองค์ท่านและในตนแห่งเราท่านทั้งหลาย หากว่ากาลเพลาขององค์ท่านกับกาลเวลาของเราท่านจะต่างกันหรืออย่างไร ขึ้นอยู่กับการสำรวจตรวจสอบเรื่องราวแห่งชีวิตให้รอบด้านโดยมากพอด้วยสติและปัญญา
    และยิ่งมาตระหนักว่าตนเป็นคนโง่ผู้รู้น้อยที่เพิ่งมีโอกาสได้ “รู้จัก” นี้อีก
    จะอย่างไรก็ตาม ในริ้วรอยดังกล่าวนั้น
    ไม่ว่าจะจับเอาคำสอนข้อใด จะวาดตวัดด้วยสติปัญญาอันตื้นเขินเช่นใดก็ตามหากนำมาวิจารณ์ให้ถัดถี่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ย่อมทำให้ถึงอุบาย รู้ได้ เข้าใจได้และลดทอนความทุกข์นานามิให้กระหน่ำย้ำยอกตนของตนนี้นัก แต่มิได้หมายความว่ามันจะไม่มี มันจะไม่เป็นผล แลเพราะนี้เองที่เป็นวิถีที่จะเปลื้องทุกข์ออกไปได้ทีละน้อย –ทีละน้อยโดยไม่ประมาทใดๆ เป็นตัวยง
    จึงว่า เป็นริ้วรอยของการคลี่คลายปัญหาทุกข์ ปัญหาวัฏฏะ
    เป็นริ้วรอยขององค์ท่านผู้เป็นพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ที่ทอดอาลัยผองถ่ายมาถึงรุ่นเราท่านในครั้งคราวนี้
    อนึ่ง ท่านผู้ใดมีอคติกับหนังสือสื่อทางพระ – ๑ –
    ท่านที่ไม่อ่านหนังสือธรรมะ – ๑ –
    ท่านที่ไม่เหลือบแลแม้แต่หนังสือสวดมนต์ – ๑ –
    ท่านที่ไม่สนใจหนังสือธรรมะที่กำลังเป็นที่นิยมในกระแส – ๑ –
    ท่านที่มีความเพียรค่อนข้างจำกัด – ๑ –
    ท่านที่ยังไม่มีใจต่อธรรม – ๑ –
    ในท่านเหล่านี้เหล่าใด
    “ริ้วรอยแห่งกาลเวลา” - มหาปุญโญ ๗ นี้จักจุดประกายความภาคภูมิใจในรายได้ของการเกิดมาสืบภพสืบชาติ ในความมหัศจรรย์พรรลึกของกายใจนี้
    จึงขอฝากหนังสือที่เกิดจากคำของพระและเขียนโดยพระเป็นคติอันกระจ้อยร่อย กระจิริด นี้ด้วย
    อ่านเข้าเถอะ... แล้วท่านจะเกิดความเคารพรักในพระสงฆ์สัมมาเพศทุกรูปทุกรุ่น
    โปรดเสพอักษรให้ถึงสุขอันระรื่นโดยพลัน


    พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว

    ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 1
    ๑. ประชุมก่อนเข้าพรรษา ๒๕๕๑
    หัวข้อเรื่องประชุมพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๘.๑๐ น.
    ๑. จัดลำดับพระเข้าเวรถวายการอุปัฏฐาก
    พระเวรอุปัฏฐากองค์หลวงปู่
    ๑. พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    ๒. พระเทศาภิบาล ชาครธมฺโม
    ๓. พระธนพล ธนพโล
    ๔. พระยุธนา เขมจาโร
    ๕. พระประเสริฐ สุทฺธปุญฺโญ
    ๒. พระผู้รับกิจเฉพาะแด่องค์หลวงปู่
    ๑. ห้องน้ำ ๒ ห้อง พระวิญญู วรเมโธ
    พระวิธะวัติ สุวิรวตฺโต
    ๒. รถเข็น – สามเณรรัตนชัย ผิวขำ
    ๓. ที่นั่งที่นอน – พระธนพโล ธนพล
    ๔. ที่นั่งฉัน – พระเทศา ชาครธมฺโม
    ๕. ผ้าทุกชนิด – พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    ๓. พระเวรจัดศาลา เป็นหน้าที่พระใหม่ (นวกะ ๒๕๕๑)
    แต่อยู่ในดูแลของ พระธนพล ธนพโล
    ๑. พระประเสริฐ สุทฺธปญฺโญ + พระสงวน ชินวโร
    ๒. พระวิญญู วรเมโธ + พระวิธะวัต สุวิรวตฺโต
    ๓. พระสุธีโร ธีรวัฒน์ + พระกรุงศรี อภิปุณฺโณ
    ๔. สามเณรกิตติพงษ์ ผิวขำ – สามเณรรัตนชัย ผิวขำ
    ๔. เวรเฝ้าหลวงปู่ช่วงเช้า สามเณรกิตติพงษ์ ผิวขำ
    สามเณรเกียรติศักดิ์ ลูสมบูรณ์

    ๕. หลักที่ทุกคนร่วมกันปฏิบัติ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ประหยัดอารมณ์ อดออม พอเพียง เจียมตนถ่อมตน
    ๖. ระเบียบอื่นๆ
    ๖.๑ งดรับกิจนิมนต์นอกวัดเฉพาะในพรรษา
    ๖.๒ ให้บอกแจ้งการไม่ฉันภายในค่ำของวันก่อนที่จะงดอาหารแก่หมู่เพื่อน, พระเวรศาลา
    ๖.๓ อนุโลมอย่างฝืดฝืนใจในการรับ หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ๔ ฉบับต่อเดือน
    ๖.๔ บ่าย ๔ โมง ปัดกวาดลานวัด
    ๖.๕ สวดมนต์วันพระ ๑๙.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. เคาะสัญญาณระฆัง
    ๖.๖ พระนวกะทุกรูปร่วมสวดมนต์ที่อุโบสถทุกวันห้ามขาด (เว้นอาพาธหนัก)
    ๗. เวรเช้าอุปฐากหลวงปู่ก่อนฉันขณะฉัน
    - จัดจังหันให้ถูกกับธาตุขันธ์/ สุขภาพ
    - คัดอาหารแสลงสุขภาพออกให้ห่าง
    อยู่ในความดูแลของพระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    ๘. กิจกรรมพัฒนาพิเศษ
    ๘.๑ บ่ายวันพุธ ทำความสะอาดกุฏิหลวงปู่ (big clean)
    ๘.๒ วันพระน้อย ทำความสะอาดพระประธาน ชุกชี ศาลา ๒ หลัง/ หน้าโรงครัว/ พระอุโบสถ/ พระเจดีย์และบริเวณ
    ๘.๓ ห้องน้ำ/ ห้องส้วม/ สุขอนามัย
    ให้อยู่ในความร่วมมือของทุกๆ รูปทั้งพระเณร
    โดยทำความสะอาด big clean เย็นวันเสาร์ – อาทิตย์
    ๙. หน้าที่พิเศษเฉพาะรูป
    ๙.๑ โบสถ์ - พระวิญญู วรเมโธ + พระวิธะวัต สุวิรวตฺโต
    ๙.๒ เจดีย์พร้อมบริเวณ - พระสงวน ชินวโร
    ๙.๓ ห้องสมุด - พระประเสริฐ สุทฺธปญฺโญ
    ๙.๔ กุฏิฉันน้ำ - พระธนพล ธนพโล
    - พระธีรวัฒน์ สุธีโร
    - พระกรุงศรี อภิปุณฺโณ
    ๙.๔ อาสนสงฆ์ - พระยุธนา เขมจาโร
    ๑๐. ข้อห้ามพิเศษ
    - ห้ามเก็บหนังสือธรรมทุกชนิดอยู่ข้างล่างกุฏิ หรือในที่ต่ำ
    - ห้ามวางข้าวของบริขารให้เกลื่อนทั่วไป
    - ห้ามคุยโทรศัพท์กับโยมผู้หญิง
    - ห้ามเพ่นพ่านในบริเวณที่โยมผู้หญิงเข้ามาอยู่อาศัยปฏิบัติ เช่น โรงครัว/ ศาลา/ ทิศตะวันออก/ โบสถ์
    - ไม่จำเป็นจริงๆ ห้าม โคจรเที่ยวเล่นเที่ยวไปนอกวัดเด็ดขาด
    ๑๑. การทำวัตรเย็นร่วมกัน
    - เฉพาะพระเณรที่ยังไม่ได้พรรษา หรือ ผู้มีศรัทธาอุตสาหะ
    ห้าม ขาดการทำวัตรเย็น, การร่วมกัน big clean
    ๑๒. ข้อบังคับพิเศษ
    ให้หมั่นท่องทรงจำใน - คำให้พร/ คำปลงอาบัติ
    - บทสวดมนต์
    - บทพิจารณาปัจจัย
    - ข้อวินัย ของตนตามปูมชั้น

    ๑๓. กำหนดเวลาปฏิบัติภาวนาในพรรษา
    - ปฏิบัติสามัคคี ๑๓.๓๐ น. – ๑๕.๐๐ น.
    - ปฏิบัติภาคค่ำหลังสวดมนต์เย็น ถึง ๒๑.๐๐ น.
    ห้าม ขาดการภาวนา เว้นแต่อาพาธ
    หรือมีธุระภาระเร่งด่วน
    ๑๔. การสงเคราะห์ญาติโยมด้วยการแจกหนังสือธรรมะ
    แจกเท่าที่จำเป็น (เฉพาะผู้ต้องการจริงๆ เท่านั้น)
    - เป็นชุด เป็นถุงผ้า
    - เป็นเล่ม

    ๑๕. กฎระเบียบที่ควรยึดถือ
    ๑. บอกเตือนการถ่ายภาพขณะฉัน
    ๒. บอกเตือนการใช้เครื่องรับโทรศัพท์ภายในบริเวณศาลา, กุฏิองค์หลวงปู่, อุโบสถ
    ๓. บอกเตือนการใช้เสียงดัง/ การพลุกพล่านของญาติโยมในเขตสงฆ์
    ๔. บอกเตือนการทำลายสติสมาธิและความสงบ

    ๑๖. ข้อธุดงค์วัตรที่ปฏิบัติร่วมกัน
    ๑. ฉันเอกา
    ๒. ฉันในบาตร
    ๓. ใช้บริขารน้อยสุด
    ๔. ประมาณโภชนาหาร
    ๕. วันพระ ถือ เนสัชชิก
    ๖. บิณฑบาตตามลำดับ
    ๗. บิณฑบาตเป็นวัตร
    ๘. ออกไปเยี่ยมป่าช้า
    ๙. อยู่ในเสนาสนะที่จัดให้
    ๑๐. อยู่รุกขมูลอยู่ที่แจ้งตามแต่โอกาส
    อารัมภกิจ; ผู้ชี้บอกขุมทรัพย์
    นับแต่อัตตโนผู้นี้เข้าสนองงานในฐานะรักษาการเจ้าอาวาสต่อจากท่านเจ้าอาวาสรูปก่อน แต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ สืบมาแล้วจนวันนี้ก็นับว่าเป็นภาระสมภารจริงๆ เพราะมีเรื่องให้สะให้สางอยู่มิได้ขาดมือ
    ไหนจะเร่งรัดในการสร้างตัว
    ไหนจะเร่งรัดในการสร้างธรรม
    ไหนจะมุ่งถนอมทำนุศรัทธา สร้างผู้คน สร้างคณะคณา
    ไหนจะรับงานก่อสร้างต่อมือ งานการบูรณะซ่อมแซม การวัดการวาโดยรอบด้าน ในกิจธุระภาระอันรุมเร้าเข้ามาทุกด้านทุกทางแม้มิอาสา หากก็แต่ไม่มีช่องทางที่จะปลีกหนี กลืนมิได้คลายมิพ้น จะตัดช่องแต่พอตัวก็ออกจะเอียงไปทางเห็นแก่สุขส่วนตัวไป ในสภาพจำยอมเพราะไม่ยินยอม จึงเป็นที่พอใจก็มี ไม่พอใจก็มี ในที่นี้คือใจของท่านผู้อื่น
    เรื่องธุรการงานไม่หนัก เรื่องผู้คนนี้หนัก คือ เรื่องใจที่ยังเป็นใจของผู้อื่นนี้หนัก
    วันนี้ (๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑) เพลา ๒๐.๐๐ น. จึงขึ้นข้อความบนกระดานว่า
    “พอใจหรือไม่พอใจ
    ใยต้องสุมหัวว่าให้กัน
    ทุกๆ คนต่างก็เป็นอยู่ด้วยกิเลส ดูตัวเองบ้างเถิด
    ขอขอบคุณที่ทุกท่านแสดงน้ำใจต่อ”

    จากนั้นไม่นานก็ได้เวลา แห่งความดีใจอุ่นใจเพราะตนแห่งอัตตโนยังอยู่ในสายตาของหมู่คณะพระเณรด้วยกัน มีผู้มาชี้บอกขุมทรัพย์ ถูกรุมกินโต๊ะ หากแต่ตนของอัตตโนก็ได้ธรรมคติจึงนับว่า ดีใจพอใจมากโดยลำพังเพราะเป็นศิษย์โง่ในหมู่ผู้ฉลาด เป็นศิษย์ที่ทุกท่านทุกรูปให้การดูแลให้ความเอาใจใส่ ก็ได้แต่ยื่นตัวออกรับเมตตากรุณา

    เพื่อตัวเองจะดีงามขึ้น
    เพื่อเป็นความผาสุกของหมู่คณะ
    เพื่ออารามสำนักของพ่อแม่ครูบาอาจารย์
    กัลยาณมิตรเฉกเช่นนี้หายากนักแล้ว

    ดูๆ ไปแล้วก็ให้เพลินดีในคติ ในเรื่องราวของผู้คนแต่ละคน เพราะยิ่งเมื่อเอาโลกาธิปไตย เอาอัตตาธิปไตยมาทับถมธรรมาธิปไตยแล้วก็ยิ่งยุ่งเหยิงไปกันใหญ่ และยิ่งหากยกตนขึ้นก่อนก็ยิ่งออกจะขาดเหตุผลอยู่ในที
    มติอัตตา มติโลก มิใช่มติแห่งธรรมวินัย
    แม้มติสงฆ์ก็ต้องอิงและเป็นธรรมธรรมวินัย
    สิ่งใดเป็นอรรถาเป็นธรรม อัตตโนผู้นี้ยอมรับโดยไม่อ้างเงื่อนไข ยอมโดยทุกประการทุกสิ่งอัน
    สิ่งใดเรื่องใดเอากิเลสเอาความต้องการของตัวมาทับมาเกย เรื่องนั้นก็ยกให้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเป็นกรรมของวัฏฏะไป
    องค์หลวงปู่จาม สอนย้ำเสมอว่า “ การมีตัวตนมิใช่หนทางที่จะพ้นทุกข์
    มีแต่จะเพิ่มความทุกข์ยากให้แก่ตัว” และเมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ “ถูกรุมกินโต๊ะ” ของหมู่คณะรุ่นพี่ ๑ รูป
    ของหมู่คณะรุ่นน้อง ๔ รูป
    ของหมู่นวกะ ๒ รูป
    เมื่อเวลา ๒ ทุ่มเศษที่ผ่านมา ตน มีสติอยู่
    มีปัญญารับไว้
    ปัจจุบันขณะเป็นทางออก
    เป็นทางกลางๆ ของอริยสัจจ์
    ได้เห็นตนอันไม่ใช่ตัวตน
    ผู้หนึ่งแสดงสันดานของขันธ์
    ผู้หนึ่งไม่เป็นปัญหาแล้วขณะนั้น เพราะวางไว้ วางได้เป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติของผู้คนผู้ดิบห่าม และเห็นความสงบสงัดเป็นผลเป็นไป ก็แลว่าใครถือตัว ใครถือตน ใครมีทิฏฐิมานะ ใครผู้นั้นก็จะลำบากยากจนเข็ญใจ
    อนึ่ง ไม่มีสังขารของใครหรอก ไม่มีคนผู้ใดหรอกที่จะอยู่ยงคงที่ได้

    จริงอยู่ตอนนี้มันแน่ มึงแน่ ต่อไปก็ไม่แน่ ไม่แน่เพราะเนื่องมาแต่การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ไม่อดทนต่อสังขารที่เปลี่ยนไป ไม่ดูหน้าตากิเลสตัณหาในตน กิเลสตัณหาเป็นเช่นใดจึงกุก่ออารมณ์ขึ้นมา ดังนี้จึงว่า จะเข้าไปทำลายสังขารเหล่าหนึ่งเหล่าใดมิได้เด็ดขาด หนทางมีแต่จะรู้เช่นเห็นโทษของความยึดมั่นตัวตนนั่นแล

    เรื่องของจิตเจือกิเลสต้องเป็นเรื่องของการขัดแย้ง เพราะต่างจุดยึด ต่างจุดยืน
    ในสิ่งที่, ในบุคคลที่, ในเรื่องราวที่, ในเหตุการณ์ที่ก่อคลื่นเช่นนี้นั้น เราต้องมีปัญญาพอที่จะหยั่งรู้ดูให้แจ้งว่า ต้องปล่อยวางอย่างใด ไม่ต้องยึด ไม่ต้องจับไม่ต้องถือในเหตุที่กุก่อทุกข์
    ถ้าเราโง่กับสังขาร เราก็มีสิทธิเป็นทุกข์ระกำร่ำไป

    เมื่อใดปล่อยวางแล้วก็จะเห็นสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นไปตามคติของสังขาร
    และ เมื่อเห็นความดับทุกข์ในตนก็จะเห็นพุทโธ
    เราอาศัย พุท – โธ จึงเห็น พุท – โธ เห็นผู้ดิ้นรน เห็นอารมณ์
    เห็นผู้รู้
    เห็นในปัจจุบัน
    เห็นมรรค รู้เห็นแล้วปล่อยวาง ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างมันเป็น อย่างมันอยากให้เป็น ตัณหาในตนก็ดับ ดับเพราะรู้เห็นด้วยญาณปัญญา
    ในความโกรธกราดของหมู่คณะในความเห็นโดยที่สงฆ์ไม่ครบไม่อยู่พร้อมครั้งนี้

    คำพูดของท่านทุกๆ รูป (๖ รูป) ล้วนแต่ไม่พอใจ ไม่ลงกันหากก็แต่มุ่งชี้บอกขุมทรัพย์ให้แก่อัตตโนในโดยรวม เมื่อไม่พอใจก็โกรธเกรี้ยว
    เมื่อโกรธก็เกลียด
    เมื่อเกลียดก็กร่อยหมดศรัทธาต่อกันพอใจไม่พอใจตัวต้นนั้นมาแต่เจ้าทิฐิเจ้ามานะมาแต่กิเลส มาแต่เจ้าอำเภอใจในตน และไม่สอบถามให้ถ้วนแล้วทำ ทำก่อนโดยไม่เป็นธรรม ทำลับหลัง
    สรุปว่า ทุกถ้อยคำล้วนฟังได้ ก่นขุดขึ้นมาว่ามาด่า อัตตโนก็ด้านโอ้ละเหยลอยตาม ยอมทุกความเพื่อไม่ทำให้ท่านผู้มาขุดทรัพย์โกรธกระหน่ำซ้ำยอกจิตของท่านเอง
    “ การยอมเสียเปรียบคนอื่นนั่นแหละ คือ เมตตา”
    เมื่อจิตอยู่กับเมตตาก็อิ่มสุขได้วิเวกได้วิหารในตน
    • ท่านต้องการความสำคัญ – ก็จะให้ความสำคัญ
    ท่านต้องการเกียรติ – ก็จะให้เกียรติ
    ท่านต้องการกระจ่าง – ก็จะให้ความกระจ่าง
    ท่านต้องการเมตตากรุณา – ก็จะการุณย์ตอบแทน
    ท่านต้องการความเข้าใจ – ก็จะปรับความเข้าใจ
    • จะไม่ถากถางให้ย่อยยับ
    จะไม่กระแทกแดกดันจนกระดอน, จะไม่เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่ใคร
    จะไม่ยอกอกยอกใจด้วยน้ำคำอันเสียดแทง
    • ท่านเตือนเราด้วยธรรมะ ขอให้ท่านได้ธรรมะ
    ท่านเตือนเราด้วยอคติ ขออริยทรัพย์จงเกิดแก่ท่าน

    • จะพิจารณาตัวเองทุกอย่างไป
    • เมื่อมีมลภาวะก็ทำให้รุ่มร้อน เมื่อโลกร้อนทุกๆ คนต้องช่วยกันแก้ไข
    ๑. ให้มุ่งรักษาธรรมสมบัติขององค์หลวงปู่
    ๒. ความประพฤติส่วนตนอย่าเหมาเอาว่า ดี/ไม่ดี
    ๓. เปลี่ยนวิกฤต ค้ำชูศรัทธา
    ๔. ปรับเปลี่ยนบรรยากาศ ที่ – ไม่อบอุ่น
    – เหมือนไม่พร้อมใจกัน
    – เหมือนไม่โปร่งใส
    – เหมือนไม่สบายใจ
    – ดูจะผิดแผกแหวกแนว ฉีกแนวออกไป
    รวมความแล้วว่า จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จากข้อวิพากษ์ของศิษย์รุ่นพี่และจากข้อวิจารณ์ของศิษย์รุ่นน้อง อาทิว่า...ท่านแจ๋วนี้นั้น
    ๑. ถือญาติโยมกว่าพระเณร
    ๒. ชอบคลุกคลีกับเด็ก
    ๓. วาจาหยาบคาย เสียดสี
    ๔. เอาดีใส่ตัว – เอาชั่วใส่หมู่
    ๕. เมตตาไม่เท่ากัน
    ๖. เลือกที่รักมักที่ชัง
    ๗. เมาตนเอาตัวเป็นใหญ่
    ๘. เอาแต่ความพอใจส่วนตน
    ๙. ปกป้องคนไม่ดี
    ๑๐. ทำอะไรข้ามหน้าข้ามตา เกินหน้า
    ๑๑. ชอบทำให้ผู้อื่นเสียหน้า มองผู้อื่นเหมือนตัวตลก
    ๑๒. ไม่ให้เกียรติ ไม่ให้ความสำคัญ ไม่เห็นหมู่ในสายตา
    ๑๓. ชอบโยนเรื่อง ชอบปัดเรื่อง
    ๑๔. อยากได้ชื่อ อยากดัง
    อโห... โอหนอ เจ้าพ่อคุณ สะเด็ดน้ำไปเลย
    ข้าผู้น้อยน้อมรับการสั่งสอน
    ตราบใดกิเลสสุมรุมกายใจ ขอทุกท่านทุกรูปโปรดสังวรและที่สำคัญอย่าได้รุ่มร้อนในไฟและภัยอันตนก่อขึ้น
    จากข้อคติที่หวนรำลึกอยู่เสมอนี้
    ทุกครั้งทุกคราวที่เรียกประชุมหมู่เพื่อนพระเณรในร่มอารามของหลวงปู่ และทุกครั้งที่นั่งหัวโต๊ะหัวหมู่ก็จะทบทวนอยู่บ่อยๆ แต่กระนั้นก็ตาม สันดานวาสนาเป็นเรื่องแก้ได้ยาก
    การจะประชุมในครั้งนี้ก่อนวันเข้าพรรษาเช่นกัน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 2
    ๒. อุทิศทานต่อหมู่สงฆ์
    ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑
    วันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา
    เป็นวันประชุมสงฆ์รวมสังฆกรรมลงอุโบสถปาฏิโมกข์ของหมู่พระภิกษุจากวัดจากสำนักต่างๆ รวมแล้ว ๒๘ วัด รวมพระภิกษุสงฆ์สามเณร ๗๖ รูป เข้ากราบขมาคารวะทำวัตรขมากรรมต่อองค์หลวงปู่ ครั้นแล้วเสร็จจากการฟังข้อวินัย สุณาตุ เม ภัณเต...แล้ว ศรัทธาสาธุชนชาววัดศิษยานุศิษย์ฝ่ายฆราวาสอุบาสกอุบาสิกา ในองค์หลวงปู่ได้ อาราธนานิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหมดรับปัจจัยไทยธรรมที่จัดไว้ถวายที่ศาลาใหญ่
    โดยมีท่านพระครูอุดมธรรมโฆษิต วัดป่ากลางสนามเจ้าคณะอำเภอหนองสูงและท่านพระครูวินัยธร วัดป่ารัตนบูชาเจ้าคณะอำเภอคำชะอี ร่วม เป็นประธานสงฆ์รับไทยทาน ตามรายชื่อวัดดังนี้
    ชื่อวัด จำนวนพระ (รูป) เณร (รูป)
    ๑. วัดภูหนองกะปาด ๒ (วัดป่าศรัทธาราม) ๑ ๑
    ๒. วัดหนองปู่ตา (บ้านผาขาม) ๑
    ๓. วัดสำนักสงฆ์ป่าช้าบ้านโนนยาง ๑
    ๔. ที่พักสงฆ์ถ้ำหัวเลย ๑
    ๕. ที่พักสงฆ์ถ้ำนกนางแอ่น ๑
    ๖. วัดป่าหนองกะปาดคำภีโรอนุสรณ์ ๖
    ๗. ที่พักสงฆ์คำฮี ๑
    ๘. สำนักสงฆ์แก้งวังนอง ๑
    ๙. วัดป่ากลางสนาม ๔ ๑
    ๑๐. วัดดานขี้เสือ ๒
    ๑๑. วัดอัมพวันทอง โนนน้ำคำ ๑
    ๑๒. วัดถ้ำกกกระพุง (บ้านคำนางโอก) ๑
    ๑๓. วัดแก้งช้างเนียม ๒
    ๑๔. วัดป่าราชพฤกษ์ ๑๑
    ๑๕. วัดภูเก้า ๓
    ๑๖. วัดป่าห้วยอ่างกบ ๒
    ๑๗. วัดป่าดานหลวง (บ้านกาไฮ) ๑
    ๑๘. วัดดานมุทิตา (เลิงนกทา) ๒
    ๑๙. วัดถ้ำผาแดง ๒
    ๒๐. วัดภูหินสอ (บ้านนาไคร้) ๒
    ๒๑. วัดบ้านโนนสว่าง (วัดป่าห้วยศิริขันธ์) ๒
    ๒๒. วัดบัวระพาภิรมณ์ ๑
    ๒๓. สำนักสงฆ์แสงทิพย์ (บ้านนาตะแบง ภูวง) ๓
    ๒๔. วัดจิตตสามัคคี ๒
    ๒๕. วัดภูผากูด ๓
    ๒๖. วัดภูสร้างแก้ว ๑
    ชื่อวัด จำนวนพระ (รูป) เณร (รูป)
    ๒๗. วัดป่าช้าบ้านจอมศรี ๑
    ๒๘. วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ๑๗ ๓
    รวม ๗๖ ๕
    รวมวัดพระสงฆ์ ๒๘ วัด
    รวมพระสงฆ์ ๗๖ รูป
    สามเณร ๕ รูป
    สำนักชี ๓ สำนัก
    รวมแม่ชี ๒๕ รูป
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๓. ทะเบียนพระเณรประจำปี
    ทะเบียนพระภิกษุสามเณรประจำพรรษา ๒๕๕๑
    ๑. องค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ อายุ ๙๙ ปี พรรษา ๖๙ เจ้าอธิการสงฆ์
    ๒. พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว อายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๐ มัชฌิมภูมิ
    ๓. พระเทศา ชาครธมฺโม อายุ ๔๓ ปี พรรษา ๗ มัชฌิมภูมิ
    ๔. พระธนพล ธนพโล อายุ ๒๗ ปี พรรษา ๕ มัชฌิมภูมิ
    ๕. พระยุธนา เขมจาโร อายุ ๓๓ ปี พรรษา ๔ พระปาฏิโมกข์
    ๖. พระประเสริฐ สุทฺธปญฺโญ อายุ ๔๑ ปี พรรษา ๑ นวกะ
    ๗. พระวิญญู วรเมโธ อายุ ๒๖ ปี พรรษา ๑ นวกะ
    ๘. พระวิธะวัต สุวิรวตฺโต อายุ ๒๔ ปี พรรษา ๑ นวกะ
    ๙. พระธีรวัฒน์ สุวีโร อายุ ๒๙ ปี พรรษา ๑ นวกะ
    ๑๐. พระสงวน ชินวโร อายุ ๔๕ ปี พรรษา ๑ นวกะ
    ๑๑. พระกรุงศรี อภิปุณฺโญ อายุ ๓๓ ปี พรรษา ๑ นวกะ
    ๑๒. สามเณรกิตติพงษ์ ผิวขำ อายุ ๑๙ ปี พรรษา ๒ นวกะ
    ๑๓. สามเณรรัตนชัย ผิวขำ อายุ ๑๖ ปี พรรษา ๑ นวกะ
    ๑๔. สามเณรเกียรติศักดิ์ ลูสมบูรณ์ อายุ ๑๓ ปี พรรษา ๑ นวกะ

    ๔. ให้ตั้งใจในธรรม
    วันอาสาฬหบูชา ๒๕๕๑
    คนชังธรรมะเป็นผู้เสื่อม
    คนรักธรรมะเป็นผู้เจริญ
    ให้รักในการศึกษาธรรม รักในการปฏิบัติธรรม
    ธรรมะมีมากปริยาย เวลาของชีวิตมีน้อย จึงว่าให้ศึกษาแต่ส่วนจำเป็นถือเอาแต่ที่จะอำนวยการปฏิบัติแก่ตน เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขเพื่อความพ้นทุกข์จงรักษาแต่จิตเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญาเป็นเครื่องรักษา
    นักปฏิบัติผู้อายุมาก วันวัยเวลาชีวิตเหลือน้อยแล้วอย่ามัวแต่พากันมาเล่นขายของเป็นเด็ก อย่ามัวแต่นั่งผ่าเส้นผมให้วุ่นวายไป
    การกระทำของเรา การประพฤติของเรามานั้นย้อนความดีมาให้ ย้อนความชั่วมาให้ ธรรมะเป็นเหตุเป็นแดนเกิด เป็นคุณค่าของผู้รักธรรม ควรจะเลือกให้ธรรมะครองใจครองจิตของตน จงรักธรรมะ ประพฤติในธรรมะ ใคร่ธรรมะ ชอบธรรมะ น้อมในธรรมะ
    จากข้อเขียนในเบื้องต้น อัตตโนขยายความจาก คำสอนขององค์หลวงปู่ในวันนี้ว่า “ตนเจ้าของ...ให้ฮู้จักหน้าที่ของตน เข้าพรรษาแล้วตั้งใจในธรรมะ”

    ๕. เกิดนี้นำภาระใหญ่
    “ทุกข์แท้ๆหล่ะ สูเจ้าเอย...เกิดมาแล้วมันต้องทุกข์ไม่เป็นอย่างอื่น” จากคำปรารภขององค์หลวงปู่ในเช้านี้ อัตตโนขอขยายความอย่างหยาบดังนี้
    ทุกข์นี้เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
    ทุกข์เพราะเบียดเบียน บีบคั้น ก่อความรำคาญ เที่ยงของทุกข์ ไม่เที่ยงของผู้ทุกข์ผู้ยาก
    ทุกข์มีอยู่จริงในชีวิตทุกชีวิต
    - ทุกข์เพราะทนได้ยาก ทุกฺขทุกฺขํ
    - ทุกข์เพราะความเปลี่ยนแปลง วิปริณามทุกฺขํ
    - ทุกข์ประจำ สงฺขารทุกฺขํ (สภาวะทุกข์)
    - ทุกข์ที่ยังปกปิดอำพราง/ ทุกข์ที่เปิดเผย
    ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะทนได้ยาก
    สุขเวทนา/ อุเบกขาเวทนา ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง
    อุเบกขาเวทนา และสังขาร ทุกข์เพราะเป็นไปในภพทั้ง ๓

    ทุกข์เพราะกิเลส ปกปิด – ถามจึงรู้ได้
    ทุกข์เพราะอาพาธ เปิดเผยรู้จักได้
    รวมความว่า ทุกข์เพราะเกิด
    ทุกข์เพราะชราพยาธิ
    ทุกข์เพราะยึดมั่น
    ภาโร – เหมือนของหนัก
    ภารทานํ – เหมือนแบกของหนัก
    ภารนิกฺเขปนํ – วาง ปลง
    ภารนิกฺเขปนฺปาโย – รู้โทษ ได้อุบาย
    หากแต่เมื่อวางของหนักได้กลับได้สุขได้สบายระงับดับสนิท
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๖. นับหนึ่งในการสนองงาน
    ข้อแจกแจงในวันเข้าพรรษา
    ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑
    หมวดที่ ๑

    ๑. การคารวะ

    เพื่อความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน เชื่อใจกัน ลงใจกันอยู่ด้วยกัน มิใช่หน้าไหว้หลังหลอก
    ได้ประโยชน์ตน -๑-
    ให้อดทนอดกลั้น ได้ประโยชน์รวม -๑-
    สุขุม/ หนักแน่น/ ไม่เดือดดาล ได้ประโยชน์ศาสนา -๑-
    ไม่หุนหัน/ ไม่เอาแต่ตามใจ หนักแน่นเยือกเย็น/ ไม่ดูถูกเหยียดกันและกัน
    มีเขตกำแพงวัด ๔ ด้าน

    ๒. การอยู่จำพรรษา มีกุฏิวิหาร มีเสนาสนะเป็นที่อาศัยเป็นยถาสันตติ
    มีบริเวณรักษาผ้าครอง
    - ไม่ให้ออกนอกเขตวัด จนกว่าจะได้อรุณ
    - แสงสว่างแสงเงินแสงทอง
    - นกร้องทวิๆ
    - จิ้งจกร้อง
    - ลายมือชัดเจน
    (ฉันไม่เป็นวิกาลโภชน์ ละผ้าครองได้)

    ๓. กฎกติกา
    ๑) ศึกษาธรรมวินัย ศึกษาเล่าเรียน – บวชเรียนเขียนอ่าน
    ๒) ปฏิบัติ/ ประพฤติในธรรมวินัย
    ๓) แนะนำหมู่คณะ/ แนะนำศรัทธาญาติโยมกันไป
    สรุป เรียนเพื่อจะทำ เรียนเท่าใดก็ปฏิบัติเท่านั้น
    ๔. ไม่ให้เสียที่จะได้นำตนของตนเข้ามาบวช
    ให้ลืมหูลืมตาขึ้นมาให้ได้บ้าง เป็นผู้เป็นคนเป็นพระเป็นเณรได้บ้าง
    ให้รู้ซึ้งสุขุม รอบคอบในสมณาชีพของตน
    ๕. ศาสนาพุทธเป็นของลึกซึ้งมาก ละเอียดลออมาก ยิ่งเรียน ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งลึกซึ้ง กินใจ
    ๖. ให้คุณธรรมนั้นดีขึ้น มีขึ้น
    เก็บประโยชน์สุขจากพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์
    อบรมอยู่ด้วยกับครูของตน - อย่างใดจะเป็นผู้มักน้อย
    - อย่างใดจะเป็นผู้พอดีพออยู่ พอได้อาศัย
    - อย่างใดจะเป็นผู้ไม่คลุกคลี
    - อย่างใดจะเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
    - อย่างใดจะเป็นผู้มีสติ
    - อย่างใดจะเป็นผู้มีความมั่นคง
    - อย่างใดจะเป็นผู้ฉลาดรอบรู้
    - อย่างใดจะเป็นผู้ไม่เนิ่นช้า
    - อย่างใดจะเป็นผู้ยินดีในธรรมะ
    เราอยู่ด้วย ได้ศึกษา ได้รับคำ ได้ทำการอบรมสั่งสอน ได้รับการบอกเตือนมาแล้วโดยเสมอกัน
    ๗. ฉนฺทาธิปเตยฺยํ พอใจ มีใจรัก ทำด้วยใจรัก ทำให้เป็นผลสำเร็จ
    วิริยาธิปเตยฺยํ พากเพียร ขยันหมั่นประกอบ หมั่นกระทำ พยายาม เข้มแข็ง อดทน
    จิตฺตาธิปเตยฺยํ ตั้งอกตั้งใจ ทำด้วยความคิด อุทิศตัวอุทิศใจ
    วิมงฺสาธิปเตยฺยํ ตรวจตรา/ ตรองตรึกนึกคิดพิจารณา วางแผน ทดลอง วัดผล แก้ไข ปรับปรุง
    - พอใจในธุดงค์
    - พอใจในการสละออก
    - พอใจในพรหมจรรย์
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หมวดที่ ๒

    ข้อแจกแจงสำหรับขะโยมวัด
    ๑. ญาติโยมศรัทธาทุกคณะ ทุกคนที่มานอนมาอยู่ในร่มอารามขององค์หลวงปู่ชื่อว่า เป็นลูกศิษย์ เป็นศิษยานุศิษย์ ต้องมีศีลเสมอกัน มีทิฏฐิทัสสนะเสมอกัน
    ๑.๑ ให้มาทำวัตรเย็นพร้อมกันที่ศาลาทุกวัน พร้อมหมู่พระเณร
    ๑.๒ ปรับน้ำเสียงของการสวดมนต์ให้เข้ากัน
    ๒. ให้การมาอยู่ที่นี่เหมือนมาอยู่บ้านตนเอง จึงให้ช่วยกันดูแล/ รักษาประหยัด อดออม เป็นหูเป็นตาช่วยกัน
    ๒.๑ การดูแลครัว + ห้องน้ำ + โรงนอน + เจดีย์ + โบสถ์ อยากจะให้เรียบร้อยดูดี สะอาดสะอ้านเป็นร่มอาราม แสดงอริยะกิริยาอยู่เสมอ
    ๒.๒ แบ่งเขตญาติโยม/ เขตสงฆ์ แยกกันให้ชัดเจน
    ๒.๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. ปิดประตูวัด (หากมาเลยเวลาบอกแจ้งโยมก่อนก็ได้)
    ๓. มาถือองค์หลวงปู่เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์อย่างไรจึงจะรักษาปฏิปทาของท่านไว้ได้
    ๔. คำโอวาทเข้าพรรษาขององค์หลวงปู่
    “ตราบใดที่ความรู้ของสูเจ้าของตนยังไม่ชัดแจ้ง
    ก็ให้อาศัยครูอาศัยอาจารย์ไปก่อน
    เมื่อใดปัญญาของตนแจ่มแจ้งดีแล้วก็จะเชื่อตนได้ทั้งหมด
    มีตนเป็นหลักฐานแก่ตน
    มีตนเป็นพยานแก่ตน
    มีตนไม่คัดค้านตน
    นี้เองจึงได้ประโยชน์สุขของธรรม ในผู้รู้ธรรม
    ในผู้ถึงคุณของธรรมะ”

    ในข้อแจกแจงทั้งสองหมวดนั้น นับเป็นการเริ่มต้นสนองงานเจ้าอาวาสวัด ปฏิบัติหน้าที่แทนองค์หลวงปู่ เพราะก่อนเข้าพรรษาได้สามวัน องค์หลวงปู่ได้บอกว่า “แจ๋วเอย...ผู้ข้าแก่เฒ่าแล้ว อีกไม่นานก็จะตาย หูใช้การไม่ได้ ลำบากนัก การวัดการวาให้ดูแลไปเทอะ อย่ามาอีงผู้ข้าเน้อ...”
    “ครับ...กระผมจะพยายามเท่าที่(ทำ)ได้ครับ”

    ก็หากแต่นับแต่มกราคมเป็นลำดับมา อัตตโนก็จำต้องถูกสภาวะจำยอมจองจำมาเรื่อยมา เอาชีวิตของความเป็นสมณะเข้ามารองรับในกิจการงานธุระภาระในหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัด (สนองงานในองค์หลวงปู่) เหตุเพราะว่าท่านเจ้าอาวาสรูปก่อนหมดบุญบวช ลาออกไปสู่วิถีชีวิตฆราวาสวิสัยเสียแล้ว ภาระใหญ่ก็ตกมาถึง เมื่อมาถึงแล้วจะทำอย่างไรได้นอกเสียแต่จะยืนท้าและยิ้มสู้ มองให้เป็นเรื่องท้าทายและน่าต่อกรด้วยสักวาระหนึ่งของชีวิต

    ณ จุดเริ่มต้นนี้
    ณ ที่นี่ วัดนี้มีองค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เป็นประธานอธิการสงฆ์แล้วยังมีรักษาการเจ้าอาวาสสนองงานในองค์หลวงปู่อีกลำดับหนึ่ง
    ก็แลเมื่อรับในกิจหน้าที่ ภาระผิดชอบน้อยใหญ่ใดๆ แล้วจึงรู้ว่าหนักหนานักอักโขอักขัง และยิ่งเมื่อย้อนทบทวนคำสอนเก่าๆ ขององค์หลวงปู่ที่องค์ท่านได้สอนไว้แก่อัตตโนเมื่อปีพรรษาแรกที่เข้ามาบวชว่า “คนพาล ๒ จำพวก ในโลกนี้มีอยู่ คนหนึ่งถือภาระที่ยังมาไม่ถึง อีกคนหนึ่งไม่เอาธุระที่ภาระมาถึงแล้ว
    ความรู้ความสามารถนั้นขึ้นกับการสะสมสุตตะและทักษะ
    บารมีธรรมนั้นขึ้นอยู่กับการบ่มเพาะอบรม
    โอกาสรู้จักรอกาลเวลา
    เมื่อตนได้ความรู้มีทักษะความสามารถ โอกาสวาระมาถึงเมื่อใดก็เป็นว่าไม่ต้องสะดุ้งหวั่นไหวกับกิจใดๆ ใครผู้ใด”
    นับแต่วันนั้นมาถึงวันนี้ ๙ ปี อัตตโนนั่งปิดตาสำรวมจิตย้อนนึกได้และมิเคยนึกมาก่อนด้วยซ้ำในภาระทุกข์เช่นนี้ หนักเช่นนี้
    จริงแท้ที่เดียว มีคนอยู่เป็นอันมากที่คนพวกหนึ่งชอบกระเสือกกระสนดิ้นรนหาภาระอันที่ยังมาไม่ถึง และคนอีกพวกหนึ่งไม่ยอมรับภาระที่มาถึงเข้าแล้ว ก็คนทั้งสองประเภทนี้ต่างหากที่ชอบทำในสิ่งอันไม่ใช่ธุระของตัว
    ในวันนั้นองค์หลวงปู่ได้สำทับอีกว่า “ ๑. พวกชิงผีเกิด
    ๒. พวกห่ามไม่รู้จักสุก”
    สรุปแล้วจะอะไรทั้งหมดก็เถิด
    อัตตโนไม่เกี่ยงไม่ผลักไส หากแต่ดูตนของตนว่า ตนไม่เหมาะสม ความพร้อมไม่มี ไม่มีกำลังที่จะแบกรับ หรือก็เป็นแต่ว่าอยู่กับปัจจุบันและทำสิ่งใดอันเป็นอยู่ในปัจจุบันให้ดีที่สุดก็คงจะพอเป็นไปได้
    จะทำได้ก็แต่ย้อนไปศึกษาหน้าที่ของภิกษุเจ้าอาวาส จากพระสุตตันตปิฎกหมวดปัญจวรรค อังคุตตรนิกาย ชี้แจงเอาไว้หลายประเด็น อัตตโนได้ประมวลสรุปเป็นหลักสูตรส่วนตัวไว้ดังนี้
    เจ้าอาวาสที่ควรเคารพสรรเสริญ, เจ้าอาวาสผู้ยังอาวาสให้งาม, เจ้าอาวาสผู้อนุเคราะห์คฤหัสถ์, เจ้าอาวาสผู้มีอุปการะมากต่ออาวาส ควรมีคุณธรรมดังนี้
    ๑. เป็นผู้มีศีลดี สำรวมในปาฏิโมกข์๑
    ๒. เป็นพหูสูต ฉลาดรู้คงแก่เรียน๒
    ๓. พูดจาดี๓
    ๔. มีความสามารถในการชักชวนผู้คนเข้ามาปฏิบัติศาสนธรรม๔
    ๕. สามารถบูรณะปฏิบัติสังขรณ์ สร้างใหม่ในเสนาสนะ๕
    ๖. รักษาศรัทธาปสาทะของชนชาว๖
    ๗. ให้คฤหัสถ์สมาทานศีล ดำรงอยู่ในธรรมทรรศนะตามฐาน ให้ตั้งสติในธรรม ยึดมั่นในพระรัตนตรัย๗
    ๘. ยึดถือปฏิปทาแบบอย่างอันดีของพระอุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์๘
    ๙. ได้สมาธิฌานโดยง่าย๙
    ๑๐. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ๑๐
    คุณสมบัติคุณธรรมของภิกษุเจ้าอาวาสจากข้อ ๑ ถึงข้อ ๘ นับว่าหาได้ยากอยู่แล้ว ส่วนข้อ ๙ และข้อ ๑๐ ยิ่งหาได้ยากเป็นร้อยเท่าพันทวี
    จากการศึกษาสังเกตในข้างต้น จึงพอจักเข้าใจว่า
    การเป็นเจ้าอาวาสที่ดีนั้นมิใช่เป็นได้ง่าย
    คนที่อยากเป็นนั้นไม่ทราบว่าคิดถูกหรือคิดผิด เพราะมิใช่เรื่องง่ายดาย ก็ไหนจะเรื่องพระเณรลูกวัด, เรื่องของศรัทธาสาธุชน, เรื่องของขะญาติขะโยม, เรื่องเด็กวัด, เรื่องอุบาสกอุบาสิกาผู้มาปฏิบัติธรรมที่แวดล้อมอยู่, เรื่องพุทธาวาสสังฆาวาสเรื่องวัดและบริเวณ, เรื่องวัดอื่นๆ ที่ต้องช่วยเหลือดูแล เรื่องการรักษาเกียรติภูมิของปฏิบัติปฏิปทาครูอาจารย์ของตน จิปาถะล้วนแต่เป็นเรื่องและมีเรื่อง จุดติดขัดปัญหากันทั้งนั้นต้องคอยแก้ต้องคอยปรับ
    บางวัดนั้นอย่าว่าแต่จะสร้างอะไรให้ก้าวหน้าไปเลย แม้จะซ่อมแซมบำรุงดูแลไปเสนาะสนะเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมก็ทำมิได้ทำมิไหวแล้ว
    ในพรรษานี้ ๒๕๕๑ จึงได้แต่ข่มขนาบก่อนจะรับคนเข้ามาบวชว่า “วัดนี้เป็นวัดของคนทุกข์ยาก การอยู่การกินไม่สะดวกนะ การนุ่งการห่มที่หลบหลับนอนนั้นพอได้และหากจะอยู่ด้วย ก็อย่าหนักอำเภอใจตน เพราะครูบาอาจารย์ผู้ปกครองผู้จะคุ้มครองดูแลพวกเรานั้น องค์ท่านก็หนักภาระมากอยู่แล้ว จะเข้ามาก็เข้ามาอย่างดีหน่อย มาด้วยดี มาแล้วจึงจะอยู่เป็นสุขได้สุขได้ธรรมะ”
    ใช่...จริงที่สุด...! พระบรมศาสดาได้ตรัสถึงหลักปกครองหมู่พระสงฆ์เอาไว้แล้วอย่างดีว่า
    พระนวกะต้องทำอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร
    พระปูนกลางต้องทำอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร
    พระเถระ ต้องทำอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร
    พระอาจารย์สมภารเจ้าวัด มีกิจมีหน้าที่อย่างไร
    พระมหาเถระอธิการใหญ่ มีกิจมีหน้าที่อย่างไร
    หากทุกภูมิปูมชั้นทำหน้าที่ของตนด้วยดีแล้วก็เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นการดำรงไว้ซึ่งศาสนาของพุทธะเราตถาคต
    เป็นความกลมเกลียว ความเข้ากันได้ในข้อปฏิบัติระหว่างกันและกัน
    พยายามทำตามหลักธรรมหลักวินัยทุกข้อเทอะ จะเรียบร้อยดูดีนักแล้ว
    ไม่ละเมิดคำสอนเสียอย่างเดียวเท่านั้นทุกอย่างก็สงบสุข
    ก็และเมื่อพิจารณาได้ความเช่นกล่าวมาแล้วนั้น อัตตโนก็ได้แต่รับเอาไว้เพื่อพิจารณาให้ก้าวไปหมุนไปในกงล้อชีวิตแห่งสมณะแห่งศาสนธรรมต่อไป
    เมื่ออเล็งข้อนี้แล้วจึงได้เริ่มวางระเบียบแจกแจงข้อปฏิบัติร่วมเอาไว้ดังได้ยกมาเพื่อเป็นอนุคติสืบไป

    อนึ่ง
    นับแต่เข้าสนองงานในหน้าที่ภิกษุเจ้าอาวาสแล้วโดยส่วนตนจึงได้รวบรวมข้อเตือนใจเอาไว้อเนกปริยายดังนี้
    ๑. ผู้คนมาสรรเสริญเยินยอ หรือมาตำหนิติติงเราหรือบูชาเราด้วยลาภสักการะ จงนึกว่าลาภสักการะแลชื่อเสียงนั้น หรือถ้อยคำต่อว่านั้นเป็นผลของการกระทำดี เกิดขึ้นมีมาเพราะผู้อื่นสำคัญว่าดีแต่ผลอันว่าดีหากไม่พิจารณาก็จะเป็นพิษเป็นภัย
    ๒. ทุกอย่างทุกประการทั้งหมด หากหลงใหลติดอยู่ ก็จะเป็นประมาทมัวเมาโดยแท้
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๓. “ อานนท์เอย.... อย่าเดือดร้อนไปเลย
    ผู้ที่จับคูถปามณฑลพระจันทร์ผู้นั้นย่อมประสพภัยด้วยตัวเอง เดือดร้อนเอง มือเขาย่อมสกปรกเปรอะเปรื้อน และติดกลิ่นเหม็นนั้น แลจะโทมนัสยิ่งเมื่อคูถมิอาจแปดเปรื้อนมัวหมองแก่พระจันทร์ได้ หากแต่จะมีแต่ตกลงสู่ตัวผู้ปานั่นแล”
    เมื่อใดถูกตำหนิ ถูกด่าว่า
    เมื่อใดประสบกับความเสื่อมใดๆ แล้ว
    พึงปรารภเหตุนั้น เพื่อยังความสลดสังเวช
    เพื่อจะได้ทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป

    ๔. ผู้ใดมีสัจจะ มีธรรมะ มีอหิงสา มีสัญญมะ และมีทมะ
    ผู้เช่นนี้เป็นผู้คลายมลทิน เป็นผู้มีปัญญา

    ๕. “ ภิกษุทั้งหลาย...!
    ธรรมดาของผู้สิ้นอาสวกิเลส ย่อมไม่โกรธไม่ขัดใจ
    เพราะท่านไม่หวั่นไหวเพราะการนินทาแลสรรเสริญ”

    ๖. ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อมีการเริ่มต้นแล้ว ย่อมมีที่สิ้นสุด
    ใครเล่าจะสามารถหน่วงเหนี่ยวสิ่งที่จะต้องเป็นไป มิให้เป็นไป

    ๗. บุพกรรมของภิกษุเจ้าอาวาส
    ๗.๑ ภิกษุเจ้าอาวาสไม่ควรยกย่อง
    มารยาทไม่ดี วัตรไม่ดี พูดจาไม่เพราะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงจำพหูสูต ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่พอใจในการหลีกเร้น ไร้ปัญญา โง่เขลา ไม่ยินดีในกัลยาณมิตรธรรม
    ๗.๒ ภิกษุเจ้าอาวาสเหมือนถูกโยนลงนรก
    ไม่พิจารณาก่อน/ ไม่ใคร่ครวญก่อน
    – แล้วสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
    – แล้วตำหนิผู้ควรตำหนิ
    – แล้วแสดงความเลื่อมใสในที่มิใช่ฐานะ
    – แล้วไม่เลื่อมใสในที่ควร
    เหตุว่า – ทำให้ศรัทธาตกไป
    – เป็นผู้ตระหนี่อาวาส, หวงแหนอาวาส, หวงแหนตระกูล, หวงแหนลาภ, หวงแหนธรรม
    ๗.๓ ภิกษุเจ้าอาวาสที่ควรเคารพสรรเสริญ
    ๑) เป็นผู้สำรวมในปาฏิโมกข์
    ๒) เป็นพหูสูต
    ๓) พูดจาไพเราะ
    ๔) ได้ฌาน ๔ โดยไม่ยาก
    ๕) ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
    ๗.๔ ภิกษุเจ้าอาวาสผู้ยังอาวาสให้งาม
    ๑) เป็นผู้มีวัตรดี มีศีลดี
    ๒) เป็นพหูสูต
    ๓) พูดจาดี
    ๔) มีความสามารถชักชวนผู้คนเข้าหาเพื่อมุ่งสัมมาปฏิบัติให้อาจหาญร่าเริง
    ๕) ได้สมาธิญาณ
    ๗.๕ ภิกษุเจ้าอาวาสผู้มีอุปการะมาก
    ๑) เป็นผู้มีศีล สำรวมปาฏิโมกข์
    ๒) คงแก่เรียน
    ๓) ชักชวนญาติโยมทำบุญแก่สงฆ์ ๔ ทิศ
    ๔) สามารถสร้างใหม่ บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุด
    ๕) ได้สมาธิญาณโดยไม่ยาก
    ๗.๖ ภิกษุเจ้าอาวาสผู้อนุเคราะห์ญาติโยมเจ้าศรัทธา
    ๑) ให้สมาทานศีล
    ๒) ให้ดำรงอยู่ในธรรม
    ๓) ให้มีสติปัญญา
    ๔) ชักชวนญาติโยมมาบำรุงสงฆ์ ๔ ทิศ
    ๕) ไม่เลือกโภชนะลาภสักการะ ปัจจยะทั้ง ๔
    [ ข้อวิจารณ์ ; จากหลักธรรมวินัย แบบแนวแถวของภิกษุเจ้าอาวาสที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เอ้าอกอึกขะลึก และก็นับเข้าในบุพกรรมประเภทหนึ่งดีๆ นี้เอง
    เพราะการเป็นเจ้าอาวาสนั้นมิใช่เรื่อง่าย น่าสงสารคนที่อยากเป็น น่าเห็นใจคนที่เป็นอยู่แล้ว อ่วมฉึ่งอ่วมฉุในภาระหน้าที่รับผิดชอบอึ้งกิมกี่ทุกเรื่องทุกอย่าง
    นับเข้าเป็นกรรมของผู้นำโดยแท้

    เพราะไหนจะเรื่องของพระเณรหมู่เพื่อนร่วมอาราม, ไหนจะเรื่องอุบาสกอุบาสิกา, ไหนจะเรื่องเด็กและคนงานของวัด, ไหนจะเรื่องเจ้าศรัทธาถิ่นไกล, ไหนจะเรื่องของพระปกครองเจ้านายเรื่องทุกเรื่องล้วนจะต้องจัดการ เรื่องก่อสร้างร่างแปลน และอย่าว่าแต่จะสร้างอะไรใหม่ให้ก้าวหน้าเลย กะอีแค่พะวักพะวงกับการบูรณะซ่อมบำรุงของเก่าที่กำลังทรุดโทรมอยู่ก็แทบจะร้องหาพ่อแก้วแม่แก้วล่ะ คือทำไม่ไหวในเวลาอันสั้น
    เรื่องของพระเณรหมู่เพื่อนในวัด เป็นเรื่องลำบากใจไม่น้อยเลยเพราะเป็นเรื่องของทิฐิพระมานะเจ้ากู หรือจะเป็นมุมมองให้คอยแต่จะขัดกัน หรือจะเป็นเพราะมีความต้องการไม่เหมือนกันกับสมภารอย่างนี้ ลูกวัดอย่างนั้น มีน้อยวัดที่พระเณร/ สมภารวัดจะกลมเกลียวกัน พอไปกันได้

    จริงอยู่..! พระพุทธเจ้าได้วางรากฐานหลักการปกครองเอาไว้แล้วในคณะสงฆ์ คือ มีข้อปฏิบัติอันครบถ้วนของการปฏิบัติตน
    แต่เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ยอมกระทำตามนั้น ลักลั่นกันอยู่แล้วจะประสานกันได้อย่างไรจะคงทนไปได้กี่น้ำ
    เรื่องความกลมเกลียวนี้สำคัญมาก เพราะหากปีนกลับข้างแล้วก็จะอยู่กันมิได้ พระธรรมวินัยก็จัดสรรให้รุ่มร้อนอยู่มิได้
    แต่หากทุกคนผู้ทำตามหลักธรรมนั้นๆ ทุกอย่างทุกวันก็อบอุ่นเรียบร้อยดูดีจะไปไหนก็ไปกันได้
    การบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยที่ชำรุดเสียหาย ถือเป็นกิจอันสำคัญของสงฆ์ของภิกษุเจ้าอารามที่ต้องทำ เมื่อทำเองมิได้ก็ต้องมอบหมายแก่สงฆ์อื่นรูปอื่นที่สามารถทำได้จะปล่อยปละละทิ้งตามยะถานั้นมิได้ เพราะอาจเป็นที่ตำหนิของเจ้าศรัทธา

    หากไม่รู้เสนาสนะก็มิใช่สมณศากยบุตร
    อารามที่สกปรกรุงรังไม่เป็นระเบียบ ทรุดโทรมซอมซ่อไม่เป็นรมณียสถาน มีผลร้ายเสียหายมาก เพราะเป็นการย่ำยีตนเอง เป็นการย่ำยีศาสนา
    จึงต้องใคร่ครวญให้ดี
    อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของภิกษุเจ้าถิ่น ภิกษุเจ้าอารามที่ต้องปฏิบัติต่อภิกษุอาคันตุกะผู้จรมาแต่ ๔ ทิศให้ได้ความสะดวกสบาย ให้ความอบอุ่น ให้ความเมตตาสาราณียธรรม
    หากต้อนรับดีเป็นศรีเป็นธรรม เขาจะจำไปจนวันตาย
    ต้อนรับร้ายก็จำไปจนตายแม้ตาย ก็ไม่มาเยือน แม้ไม่ตายก็จำนำไปตำหนิกล่าวขวัญให้เป็นว่ามาเห็นหน้าอุ่นใจ ลุกไปได้ธรรม
    และหน้าที่อันสำคัญยิ่งประการหนึ่งคือ การทำหน้าที่ของผู้นำวิญญาณในชุมชนนั้นๆ ให้ชาวชุมนุมได้ทำบุญสุนทรทานการกุศล ให้ชาวชุมชนได้มีโอกาสในสงฆ์ ๔ ทิศ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 3
    ๗. มันกลัวว่าจะลืม
    วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ปีชวด เวลา ๐๓.๐๐ น. ๒๕๕๑
    ในขณะที่อัตตโนเพิ่งตื่นและลุกขึ้นแล้ว จัดแจงที่นอนอยู่นั้นก็ได้ยินเสียงร้องขององค์หลวงปู่ “โอย...โอย อะหยัง.....โอย...!
    อัตตโนก็รีบด่วนลุกไปเปิดไฟ แล้วตรงไปหาองค์ท่านขณะที่องค์ท่านนั่งอยู่ปลายเตียง “โอย...อะหยังโว้ย...!”
    อัตตโนก็คว้าเอาผ้าสบงที่องค์ท่านนุ่งอยู่พันเป็นก้อนเข้าหากัน เพราะดูคลับคล้ายว่าเป็นตัวสัตว์อะไรอย่าง แล้วรีบดึงให้หลุดออกจากตัวขององค์ท่าน
    “มันเป็นตัวแมง (แมลง) อะหยังกัดขาผู้ข้าฯ เจ็บแท้เจ็บว่า”
    “ไม่รู้ครับ ขอดูก่อน” ตอบพร้อมสะบัดผ้าสบงให้คลี่ออกสัตว์ตัวนั้นกระเด็นหลุดออกจากก้อนผ้า แล้วมันก็เลื้อยเข้าใต้พรมเช็ดเท้าหน้าเตียงอย่างรวดเร็ว อัตตโนจัดแจงให้องค์หลวงปู่ลุกจากเตียงนอนย้ายมานั่งที่เก้าอี้นั่งภาวนา เรียบร้อยแล้วก็รีบเปิดดูที่ผ้าพรมเช็ดเท้า โอ๊ะ...! ตะขาบไฟ
    “โห๊ะ...ขี้เข็บไฟ โอย...มันกัดขาผู้ข้าฯ โทะ...! มิน่าหละมันถึงได้ปวด” องค์หลวงปู่พูดพร้อมตกใจ อัตตโนก็เอาไม้เท้ามาเขี่ยไล่ออกจากกุฏิ แล้วรีบกลับมาค้นยาหม่องมาทาแผลรอยเขี้ยวตะเข็บตะขาบไฟกัดขาเป็นรอยซ้ำ ถึง ๔ รอย
    ความเจ็บปวดก็ทุเลาลงบ้าง แต่ก็ยังบอกว่าปวดอยู่
    “มันตั้งเอาแท้ๆ อีตัวนี้
    มึงเป็นแมงงอดมึงก็มาตอดกู มึงเป็นแมงเงามึงก็มาต่อยกู มึงเป็นขี้เข็บก็ยังมากัดกูอีก บาปกรรมมึงแท้ๆ”
    อัตตโนเอายาทาถวายพร้อมเจริญคำถอนพิษจากเขี้ยวจากงา องค์ท่านจึงได้เล่าต่อไปอีกว่า
    “แต่เมื่อยุคสมัยของพระพุทธเจ้ากัสสโป สิริสัมปันโน วัดนี้ (วัดป่าห้วยทราย) เป็นวัดของพระพุทธเจ้ากัสสโป เพิ่น(พระองค์) มาอยู่โปรดผู้คนในแคว้นเมืองแถบแถวนี้คือ เมืองวิปุละ ผู้ข้าฯเป็นเจ้าเมือง เป็นผู้บำรุงอุปถัมภ์อุปฐากพระ(พุทธ) เจ้าพระสงฆ์ ทั้งภิกขุภิกขุนีสามเณร สิกขามานาตลอดพรรษา
    อีแมงป่องอีแมงขี้ขาบโต๋นี้ มันเป็นน้องสาว เป็นคนรูปร่างหน้าตาสวยงามมาก กำลังกำดัดวัยสาวอายุ ๑๘ ปี ช่วยเหลือผู้พี่ชายในการบุญการวัดทุกอันทุกอย่างไม่มีขาดตกบกบางแต่อันใด

    พอออกพรรษาก็ได้กระทำมหาทานในหมู่พระสงฆ์อันได้พระพุทธเจ้ากัสสโปเป็นประธานอยู่ตลอด ๗ วัน จากนั้นเพิ่น (พระองค์) ก็เสด็จโคจรไปโปรดผู้คนถิ่นอื่นข้ามของไปพู้นหละตะวันออก
    จากนั้นมาผู้ข้าฯ ก็อาศัยทำบุญให้ทานบำรุงพระเณรในวัดนี้สืบมากับพระเถระเจ้าผู้อรหันต์องค์หนึ่งเป็นหัวหน้า

    พระอรหันต์ก็เป็นผู้เฒ่าอายุมากแล้ว การวัดการวาการบริหารดูแลใดๆก็มอบให้กับพระหลานชายรูปหนึ่งเป็นคนเอาธุระปะปังแทน ส่วนผู้ข้าฯก็ธุระยุ่งในการปกครองดูแลบ้านเมือง ก็ได้อาศัยน้องสาวอีแมงงอดก้นงอช่วยเป็นธุระแทน ต่อมาความใกล้ชิดกันระหว่างคนหนุ่มกับคนหนุ่มครั่งใกล้ไฟ ไขใกล้แดด น้ำตาลใกล้มด

    ผู้ข้าฯ ก็บอกเตือนมันอยู่ว่า อย่าไปเฝ้าไปแห่แหนหลายเน้อกับหมู่พระน้อยพระหนุ่ม อันตรายจะมีขึ้นได้
    ต่อมาพระเถระผู้เป็นลุงก็ถึงแก่กาลอายุ ดับขันธ์ตายไป
    ตุ๋สมภารหนุ่มกับแม่ออกค้ำสาวกำลังใส ๑๙ – ๒๐ ปี อดใจต่อกันไม่ได้ไอ้สมภารหนุ่มแหน้นกระโดดกอดปล้ำอีสาวเลือดฝาด เป็นผัวเป็นเมียกันผู้คนศรัทธาญาติโยมทั้งหลายเอะอะกันขึ้นมาให้ลาสิกขา ให้ถือคู่กันแล้วขับไล่ไปอยู่ที่อื่น รอให้คลอดลูกออกมาเสียก่อน จึงพิจารณาโทษภัยราชอาชญา

    ผู้ข้าฯ ก็ใช้อำนาจเกินไป เป็นเจ้าเมือง ขับไล่ให้ไปแล้วยังไม่พอต่อมาได้หลานน้อยออกมาแล้วยังสั่งประหัตประหารชีวิตของเขาสองผัวเมียนั่นอีก
    เมื่อหลานเติบใหญ่แล้วจึงได้สำนึกว่า ถืออำนาจเกินไป เมาในอำนาจ
    โต๋มันสองผัวเมียก็เล่น (ลักสมสู่) กันมาแล้วหลายเดือน จนผู้คนมารู้ก็ท้องแก่เดือนที่ ๕ ที่ ๖ แล้ว จะประหารชีวิตทั้งคู่ตอนจับได้ไล่ทันพวกอำมาตย์มนตรีทั้งหลายก็ว่า พ่อแม่นั้นมีโทษเพราะไม่ต้องตามประสงค์ของเจ้า แต่เด็กน้อยในครรภ์นั้นมิได้มีโทษ ต้องให้คลอดออกมาก่อนจึงชำระโทษ

    ภายหลังชำระโทษ หลานน้อยอายุได้ ๗ ปี ก็ได้พระเถระจรมาแต่ถิ่นอื่นมาอยู่วัดนี้ต่ออีก จึงได้ชักชวนเอาหลานน้อยเข้ามาบวชในวัดนี้เพื่อปลดเปลื้องโทษแก่ตนผู้เป็นพ่อเป็นแม่ ผู้เป็นลุง
    ต่อมาไม่นานผู้หลานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แต่เมื่อเป็นสามเณร
    ตกค้างแต่ไอ้สมภาร อีแมงขาบ
    วันนี้มันยังโกรธแค้นผู้ข้าฯ อยู่ยังไม่หาย
    เอาแท้ๆ หล่ะ บาปกรรมนี้ สูเจ้า (พระธมฺมธโร, สามเณรกิตติพงษ์, สามเณรเกียรติศักดิ์) ๓ ตนพากันนอนกับพื้นไม่เห็นเป็นอันหยัง ผู้ข้านอนเตียงยกจากพื้นเป็นศอกมันยังไต่ขึ้นมาตอด (กัด) ได้ ตอดที่ไหนไม่ตอดมัน (ซอกซอน) เข้ามาตอดถึงขาอ่อน ดีมันไม่ตอดหำตอดไฆว่ ถ้ามันตอดล่ะโทะ ต้องดีกว่านี้แน่นอน”

    องค์ท่านเล่าพร้อมกับหัวเราะ
    นตฺถิ กมฺม สมํ พลํ แรงของกรรมชนะแรงใดๆ ปกติแล้วจะมีพระเณรนอนเฝ้าอุปฐากในช่วงค่ำคืนวันละ ๑ – ๓ รูป เป็นประจำ พระเณรก็จะพากันนอนกับพื้นปูผ้าอาบน้ำปูผ้าปูนอนแล้วก็นอนเฝ้า
    วันนี้เฝ้า ๓ รูป แต่มิเคยได้รับโทษกับตะขาบไฟตัวขนาดนิ้วมือ ตะขาบก็ไม่ทำอะไร แต่กับองค์หลวงปู่มั่นไต่ขึ้นไปกับผ้าห่มที่ตกลงมา แล้วซอนไซเข้าไปกัดขา นี่...เป็นนิทรรศการของกรรมจริงๆ

    “นับครั้งไม่ได้ตั้งแต่ผู้ข้าฯ ลงมาจากเชียงใหม่มาอยู่วัดนี้ทั้งแมงงอดทั้งแมงเงา ทั้งขี้เข็บ มันเกิดตาย – เกิดตาย หากยังถือบุพกรรมเอาไว้อยู่ โกรธแค้นผู้พี่ชาย มันกลัวว่าจะลืมมัน วันนี้มันมาบอกข่าวว่าบาปกรรมของมันยังมีอยู่ ขอให้เมตตาแก่มัน
    ส่วนไอ้สมภารขี้กามตนนั้นมาเกิดเป็นขี้คางคากโต๋ใหญ่ขนาดฝ่ามือจ่าง (ฝ่ามือกาง)ห่วงที่นั่งของสมภารวัด ใครมาเป็นสมภารวัดนั่งอาสนะเตียงตั่งเก้าอี้อันใดมันต้องขึ้นไปนั่งไปนอนอยู่เสมอหล่ะ”

    ก็จริงอย่างองค์หลวงปู่เล่าไว้ แม้อัตตโนองค์นับแต่เข้าอาศัยร่มเงาใบบุญอยู่ในอาณัติฉายาของวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ขององค์หลวงปู่มาแต่เมื่ออายุได้ย่างเข้าปีที่ ๙ จากเด็กวัดจนปัจจุบัน ก็เห็นพฤติกรรมของคางคกใหญ่ตัวนั้นเสมอมา เขามักจะขึ้นนั่งบนที่นั่งที่องค์หลวงปู่นั่งฉันจังหันบ้าง ขึ้นนั่งเก้าอี้บ้าง หรือแม้แต่บางวันขณะสวดมนต์เย็นอยู่ที่ใต้ถุนกุฏิหลังที่อัตตโนพักอยู่เขาก็จะกระโดดออกมาจากไหนไม่ทราบ มาแล้วก็มาหมอบอยู่บ้าง แลบกินแมลงอื่นๆ บ้างตามสัญชาติเดรัจฉาน

    “นั่นมันติดนิสัยของสมภารวัดมาแต่ก่อนเก่าอยากให้ผู้อื่นพระเณรกราบไหว้มัน – มันหวงสมภารวัดของมัน นี่หล่ะกฎของกรรม ใครหนีไม่พ้นหรอก ทำอันใดเอาไว้ผลนั้นต้องติดตาม ดีก็ดีไป ฮ้ายก็ฮ้ายไป (ชั่วก็ชั่วไป)
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อสรพิษร้าย
    วันนี้เป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ปีหนู ๒๕๕๑
    นับเนื่องแต่เหตุการณ์ในครั้งนี้แต่เมื่อคืน
    ประสาประสะอยู่บ่เป็นสุขของอัตตโน เฝ้าพินิจพิเคราะห์ในคราเคราะห์ครากรรมนิมิตในองค์หลวงปู่ในครั้งนี้ จึงได้วาระจิตคิดไพล่นึกไปถึงกิริยาของพระเทวทัต ความว่า “เมื่อกุลกษัตริย์ในวงศ์ศากยะ ซึ่งเป็นพระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้าได้เดินทางมาเข้าเฝ้า เพื่อขอประทานอุปสมบท ๖ พระองค์ คือ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ และพระเทวทัต พร้อมนายช่างกัลบกพนักงานตัดผมชื่ออุบาลี
    พระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทเอหิภิกขุให้ แล้วรับกรรมฐานไปพิจารณาจนได้สำเร็จบรรลุอรหัตตผล ๔ พระองค์ คือ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระภัคคุ และพระกิมพิละ ส่วนพระอานนท์ได้บรรลุแต่เพียงชั้นพระโสดาบัน พระเทวทัตได้บรรลุปุถุชนฤทธาเท่านั้น
    เมื่อคล้อยคลาสืบต่อ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับ ณ เมืองโกสัมพี มีผู้คนชาวนครทั้งหลายมาเคารพกราบไหว้บูชาพระพุทธองค์ด้วยปัจจัยทั้ง ๔ ตลอดจนพระสงฆ์สาวกหมู่ใหญ่ ปัจจัยลาภทั้ง ๔ เหลือล้นคณนา หากแต่ในประชุมชนนั้นหาได้มีใครผู้ใดถามหาถามถึงหรือสนใจในพระเทวทัตแต่อย่างใดเลย
    ทำให้พระเทวทัตเดือดร้อน รุ่มร้อนเพราะไม่มีชื่อ โทมนัส น้อยใจ อิจฉาริษยา อาฆาต พยาบาท อยากได้ลาภสักการะเป็นเท่าทวี ได้แต่นั่งจุกนั่งเจ่าเฝ้าคิดเฝ้าครวญว่าจะทำให้ผู้ใดหนอมานับถือบูชา
    “โอ... พระอชาตศัตรูราชกุมาร
    ใช่...อชาตศัตรู เด็กน้อยพระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ยังไม่รู้ยังไม่เจนต่อโลกบาปบุญคุณโทษใดๆ นั้นหล่ะ”
    ดังนี้แล้ว พระเทวทัตจึงออกไปจากเมืองโกสัมพี ด่วนไปยังเมืองราชคฤห์แล้วบังหวนฤทธาเนรมิตกายเป็นกุมารน้อยจ้ำม้ำอ้วนตุ้ย เอาอสรพิษ ๔ ตัวมาทำเป็นเครื่องประดับพันแขน ๒ ข้าง พันคอ พันศีรษะ สำแดงเดชะลอยไปมาในท่ามกลางอากาศแล้วลงมาปรากฏเฉพาะหน้าของราชกุมารแห่งพระนางเวเทหิ ราชกุมารตกใจปนตื่นเต้น แล้วพระเทวทัตก็ทูลว่า “อาตมาคือพระเทวทัต”
    จากนั้นก็สำแดงตนกลับกลายเป็นพระสงฆ์ทรงภูมิข่มเพศของสมณะ ดังนี้แล้วพระกุมารก็ชอบใจใหลหลงในฤทธาปาฏิหาริย์ พานใจให้เลื่อมใสเคารพนับถือบูชาด้วยปัจจัยลาภทั้งหลายเป็นอันมาก
    ต่อมาขันธสันตาโนโมห์เมาทะมึนบัง ใฝ่สูงด้วยอำนาจชั่วสกปรกในตนจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขออาสาเป็นผู้สั่งสอนมหาชนแทน แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตเพราะมิใช่กิจของสาวกปุถุชนเช่นพวกเทวทัต หากแต่เป็นกิจของพระพุทธะ
    พระเทวทัตผูกใจพยาบาทอาฆาตหนักเข้ากว่าเดิม
    ยิ่งหากเมื่อย้อนไปในวัยเยาว์นั้นอีกเล่า
    จนที่สุดแล้ว กำเริบเสิบสานคิดการใหญ่
    ออกอุบายให้พระเจ้าอชาตศัตรูวางแผนชิงราชบัลลังค์ ปลงพระชนม์ชีพพระราชบิดาหาทางพยายามทำร้ายพระพุทธเจ้า โดยว่าจ้างให้นายขมังธนูไปซุ่มยิง แต่นายขมังธนูกลับใจต่อมากลิ้งก้อนหินใหญ่ลงมาหวังจะให้ทับพระพุทธเจ้าแต่ก็ไม่สำเร็จ เพียงแค่สะเก็ดหินแตกกระเด็นกระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต ต่อมาครั้งที่สาม ให้ปล่อยช้างตกมันนาฬาคีรีผู้กำลังเมามันดุร้าย แต่ช้างก็สยบด้วยเมตตานุภาเวนะ
    เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ทั้งเหตุใหญ่แลเหตุย่อย ทำให้ชาวเมืองราชคฤห์ได้รู้ถึงความชั่วร้ายป้ายบ้าของ อสรพิษใหญ่ผู้ใกล้ชิดพระบรมศาสดา
    พระเจ้าอชาตศัตรูสำนึกผิดละอายพระทัย หาแต่ก็สายไปแล้ว กระทำปิตุฆาตแล้ว ทำได้ก็แต่เลิกถวายปัจจัยลาภสักการะ ไม่คบหาไม่นับถือต่อเถรเทวทัตอีกต่อไป
    เถรเทวทัตเสื่อมจากลาภสักการะแล้วในครั้งนั้นเหมือนกันนกปีกหักว่อนถลาตกหนองขี้ตม แต่จิตลามกมิเคยได้รับการกู่กลับ จึงไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงตนว่าเป็นผู้พอใจถือเคร่งในสัลเลขปฏิบัติทูลขอเงื่อนไข เช่น
    ให้ฉันแต่อาหารที่ได้จากบิณฑบาตเท่านั้น -๑-
    ให้ใช้แต่ผ้าบังสุกุลเก็บจากป่าช้า -๑-
    ไม่ให้ฉันเนื้อ ฉันปลา -๑-
    อยู่แต่เสนาสนะป่าเท่านั้น -๑-
    อยู่แต่เฉพาะโคนไม้ -๑-
    เมื่อทูลขอเช่นนี้พระพุทธเจ้าทรงทราบทันทีว่าเจตนาไม่บริสุทธิ์ไม่สุจริตจึงไม่ทรงยินยอม จึงได้ตรัสว่า “เทวทัตเอย... เธอพอใจปฏิบัติอย่างใดก็ปฏิบัติไปเถิด อย่าให้เราต้องบัญญัติเลย ดูกรเทวทัต...กุลบุตรผู้บวชในธรรมวินัยนี้มีอัธยาศัยและพลังกายพลังศรัทธาต่างกัน เราไม่ปรารถนาที่จะบังคับภิกษุทั้งหลายมากเกินไป”
    ข้อปฏิเสธนี้ของพระพุทธเจ้า เป็นที่สมใจยิ่งนักสำหรับพระเทวทัต ขณะนั้นพระเทวทัตลุกขึ้นประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า “ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ผู้ใดเห็นด้วยกับความคิดของเรา ขอท่านจงลุกขึ้นแล้วเดินตามเราไป เราจะนำพาปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นโดยชอบโดยเร็วพลัน เพราะพระสมณโคดมย้อนกลับไปสู่ความมักมาก ไม่กล้าปฏิบัติแม้ข้อปฏิบัติอันดีเยี่ยมแต่เพียงเท่านี้”
    จากคติเรื่องนี้
    ขอท่านผู้พอใจอ่านจงระมัดระวังในอสรพิษใหญ่ใกล้ตัวของท่านให้จงหนัก
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๘. ประเพณีปฏิบัติทุกกาลพรรษา
    แรม ๔ ค่ำเดือน ๘ ปีหนู
    การปฏิบัติภาวนาในปีนี้ก็ยังคงรวมสามัคคีปฏิบัติเหมือนกับทุกปีที่ผ่านมาโดยเริ่มจากเวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๕.๐๐ น.
    องค์หลวงปู่ยังคงนำปฏิบัติโดยปกติเสมอมา
    ก่อนนั่งก็จะนำสวดมนต์ไหว้พระโดยย่อ ดังนี้
    - กราบ ๓ ครั้ง -
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ - กราบ -
    สะวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ - กราบ -
    สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมัสสามิ - กราบ -
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

    (หมอบกราบลงว่า) กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
    พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
    พุทโธ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง
    กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ

    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาอิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิพโพ วิญญูหิติ.
    (หมอบกราบลงว่า) กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
    ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
    ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง
    กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

    (หมอบกราบลงว่า) กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
    สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
    สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง
    กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ

    อะหัง สุขิโต โหมิ นิททุกโข โหมิ อะเวโร โหมิ อัพยาปัชโฌ โหมิ อะนีโฆโหมิ สุขีอัตตานัง ปะริหะรามิ.
    สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ
    สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
    สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ
    สัพเพ สัตตา อนีฆา โหนตุ
    สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปริหะรันตุ
    สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
    สัพเพ สัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนิ กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา, ยังกัมมัง กะริสสันติ กัลยาณังกา ปาปะกังวา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ.

    - กราบ ๓ ครั้ง -
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๘.๑ วิธีระลึกในคุณพระรัตนตรัย

    ถาม : ต้องสวดมนต์ก่อนทุกครั้งที่จะทำสมาธิภาวนา หรือเจ้าค่ะ?
    ตอบ : แน่นอนหากเมื่อตระหนักในคุณความดีของพระรัตนตรัย ต้องเคารพนอบน้อมด้วยกาย วาจา ใจ ของตนจริงๆ
    อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา พระองค์เป็นผู้เลิศกว่าใครเป็นผู้ประเสริฐกว่าใครๆ เป็นผู้อัศจรรย์ใหญ่ เพราะพระองค์ได้ตรัสรู้ชอบตรัสรู้ดี ตรัสรู้จริงเห็นจริง ดับทุกข์ดับกิเลสได้ และได้อาศัยพระเมตตาพระกรุณาคุณสั่งสอนพวกเราให้รู้ตามเห็นตามได้ศึกษาตาม นี่ควรแก่การนอบน้อมที่ ๑

    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมวินัยเป็นที่พึ่งของผู้พึ่งตนผู้พึ่งธรรม เป็นคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า มีคุณทรงคุณคือ ใครมาประพฤติปฏิบัติก็จะดับเพลิงทุกข์เพลิงกิเลสได้ พ้นจากทุกข์ภัยใดๆ ได้ ดับเครื่องร้อนใจใดๆ ได้ อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นฤพาน นั่นเอง นี่ควรแก่การนอบน้อมที่ ๒

    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระอริยสงฆเจ้าผู้เป็นสาวกนั้นท่านปฏิบัติดีปฏิบัติสมบูรณ์ใน ศีล สมาธิ ปัญญา บรรลุมรรคผลจนที่สุดแจ้งในพระนิพพาน ดับทุกข์ดับกิเลสได้ เอื้อเฟื้อพวกเราให้รู้ตามให้ศึกษาตามนี่คุณคือ เครื่องทรงแห่งธรรมะในพระสงฆ์ท่านเลิศเช่นนี้จึงควรแก่การนอบน้อมที่ ๓

    พุท – โธ, ธัม – โม, สัง – โฆ
    จึงควรแก่การทำความนอบน้อมก่อนเสมอ
    หากเราไม่นอบน้อมต่อท่าน – ท่านก็จะห่างไกลจากเราไปอีก

    เรามาฝึกมาหัดในการทำสมาธิภาวนาก็เพื่อว่าจะได้เข้าใกล้ท่านมิใช่หรือ
    ในคุณอันเลิศทั้ง ๓ นี้อย่าได้สงสัยเด็ดขาด
    และในเมื่อเราจะดับทุกข์ในตนเช่นนี้ แล้วทุกข์นี้ใครมารู้ก่อน ใครมาเห็นก่อน
    ราคะความกำหนัดยินดี มีไว้ให้ทุกข์เป็นไฟเป็นฟืนเผาไหม้ตัวเราอยู่
    โทสะความเคืองประทุษร้าย มีไว้ให้ทุกข์เป็นไฟเป็นฟืนเผาไหม้ตัวเราอยู่
    โมหะความหลงไม่รู้จริง มีไว้ให้ทุกข์เป็นไฟเป็นฟืนเผาไหม้ตัวเราอยู่

    เครื่องเผาไหม้ให้เราเร่าร้อนอยู่ทุกวันนี้ใครเล่ามาชี้ทางออกให้ มิใช่พระพุทธพระธรรมวินัย พระสงฆ์ครูบาอาจารย์หรอกหรือ และในเมื่อเราอยากได้สมบัติจากท่านทำไมเราไม่นอบน้อมเข้าหาท่านก่อน
    “อาตมานับว่าโชคดีในชีวิตนี้ที่เกิดในแวดล้อมที่ไม่มีข้อสงสัยในเรื่องนี้เพราะพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นคนตระกูลเข้าวัดฟังธรรม มิหนำซ้ำได้มาอยู่วัดแต่เล็กเด็กน้อย จึงแจบจึงจมวันๆ นับครั้งมิได้ในการกราบการไหว้”
    องค์หลวงปู่เคยปรารภไว้เช่นนี้เสมอ
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๘.๒ ระลึกถึงศีลอย่างไร
    ถาม : แล้วต้องนึกถึงศีลของตนอย่างไร หรือไม่ ?
    ตอบ : ศีลมีขึ้นเกิดขึ้น เพราะอาศัยว่ามีสติคิดเว้นอย่างแท้จริง และต้องเว้นให้ครบถ้วนในสิกขาบท มีสติตั้งจิตคิดเว้น รักษาเจตนาคิดละคิดเว้นโทษอย่าให้ล่วงไปด้วยกาย ด้วยวาจา นี่เรียกว่าระวังกีดกันบาป
    มาถามว่าก่อนจะปฏิบัติทำสมาธิภาวนาต้องนึกถึงศีลหรือไม่นั้นก็แก้ได้ว่า ศีลเป็นการเว้นชั่ว การทำสมาธิคือการทำดี งดเว้นจากความชั่วใดๆ ได้แล้วจิตใจก็เป็นปกติสุขแล้วในชั้นต้น จากนั้นก็มาทำความดี รักษาจิตใจของตนให้ตั้งมั่นเปรียบเหมือนกับการที่เราได้อาบน้ำชำระร่างกายเรียบร้อยแล้ว ได้นั่งพักอย่างสบายกายสบายใจ ไม่เดือดร้อน เย็นกายเย็นใจ
    จึงว่าควรตรวจตราทุกข์โทษของตนเสียก่อน
    หาก เศร้าหมองด่างพร้อยก็ปรับปรุงแก้ไขตัว
    หาก สะอาดบริสุทธิ์แล้วก็กำกับจิตตั้งมั่นในอารมณ์ต่อไปเพราะศีลเป็นโภคะของสมาธิ

    การที่องค์หลวงปู่ได้นำสวดมนต์ตามแบบอย่างที่องค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลนำพาปฏิบัติ ตามที่องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นำดำเนินมาแล้วนั้น

    แล้วจากนั้นก็กำหนดท่านั่งตั้งกายตั้งจิตมีสติสืบต่อการเจริญภาวนาของตนต่อไป ส่วนการกล่าวนำภาวนาหรือการว่ากล่าวอบรมนั้น องค์หลวงปู่จะเทศนาว่าการแต่โดยย่อว่า
    “เอ้า...นั่ง ของไผ๋มัน ตั้งใจของตน” หรือ
    “นั่ง...อย่าคิดฟุ้งซ่าน” หรือ
    “นั่งไปเถอะ...หากสูยังไม่พอบุญ” หรือ
    “นั่งไปมันง่วงนอน ก็ให้ลืมตาขึ้น พุท-โธ, พุท-โธ” หรือ
    “เอ้า...นึกพุท-โธ, พุท-โธ อย่าให้ลืม”
    “เอ้า...ตั้งใจของตนทุกคน”
    ในระเบียบข้อปฏิบัติเช่นนี้ มีคำถามมากมายจากศรัทธาญาติโยมศิษยานุศิษย์หลายวาระหลายโอกาส จนคร้านที่จะอธิบายได้เพราะปัญญาอันน้อยนิดมิอาจที่จะต่อสู้กับข้อกังขาและข้อสงสัยได้ จึงได้แต่ตอบพอผ่านๆไปดังนี้
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๘.๓ วิธีเจริญเมตตา

    ถาม : จะเจริญเมตตาแผ่เมตตาก่อนนั่งหรือหลังจากนั่งแล้ว?
    ตอบ : ได้ทั้ง ๒ เวลา เพราะเป็นการแสดงตามปรารถนาดีต่อเพื่อนทุกข์ด้วยกันอันมีตัวเองเป็นที่ ๑

    เราเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาทของใจ มุ่งให้ผู้อื่นสัตว์อื่นอย่ามีทุกข์ จงเป็นสุขรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยใดๆ อย่ามีเวร อย่ามีการเบียดเบียน อย่ามีการให้ร้ายใส่ร้ายกัน
    สำหรับอาตมาแล้วที่ผ่านมาเห็นผลแล้วว่าการเจริญเมตตาก่อนนั่งภาวนานั้นจิตใจตั้งมั่นได้ใจ จับจิตได้เร็ว จดจ่อได้อยู่ได้นิ่งสงบ
    อนึ่งในอานิสงส์ของเมตตาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก็มีอยู่ประการหนึ่งว่า “จิตเป็นสมาธิได้เร็ว”
    ๘.๔ การกำหนดท่านั่ง
    ถาม : แล้วท่านั่งมีผลต่อการปฏิบัติหรือไม่ครับ ?
    ตอบ : มีผลคือจะนั่งได้นาน หรือจะนั่งได้ไม่ทนเท่านั้น
    จึงให้นั่งขัดสมาธิราบ เอาขวาทับซ้าย มือขวาซ้อนทับมือซ้ายวางหงายมือไว้บนหน้าตัก ตั้งตัวให้ตรง มองทอดสายตาพอดี แล้วค่อยๆหลับเปลือกตาลง มีสติระลึกรู้สึกตัวอยู่ กำหนดลมหายใจเข้าออกพร้อมกับสวดภาวนาว่าพุท – โธ
    ขณะหายใจเข้า นึกถึงพระพุทธคุณว่า “พุท”
    ขณะหายใจออก นึกถึงพระพุทธคุณว่า “โธ”
    ขณะบำเพ็ญภาวนาให้มีสติระลึกจดจ่อ กำหนดลมหายใจเข้าออกให้ชัดเจน บริกรรมพุท-โธ ให้เด่นในสำนึก แล้วจดจ่อต่อไป
    พอจะหยุดพักภาวนาก็กราบพระ ๓ ครั้นเสร็จแล้วก็แผ่เมตตากรุณาแผ่ธรรมะของพรหม
    ถาม : สงสัยครับ การแผ่เมตตาในช่วงนี้จะอย่างไร ?
    ตอบ : แผ่โดยการเจาะจงก็ได้
    แผ่โดยการไม่เจาะจงก็ได้
    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์
    เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    สุขี อัตตานังปริหรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๘.๕ ครั้นแล้วเมื่อได้ตอบข้อกังขาอรรถาธิบาย เอาไว้บ้างแต่พอควรเท่านั้นแล้วแลยังไม่เป็นที่หนำใจเท่าใดนัก ญาติโยมผู้เป็นนักปฏิบัติยังขอให้บอกกล่าวเล่าธรรมปริยาย เพื่อเป็นกำลังส่งเสริมการปฏิบัติด้วย
    จึงได้แต่สำทับปิดท้าย
    ต่างวาระต่างโอกาสในช่วงต้นๆ พรรษา ดังนี้

    การฝึกตน
    การฝึกตนมีความจำเป็นที่สุดในชีวิตมนุษย์
    คนเราจะเป็นอย่างไร จะดำเนินไปเช่นใดก็อยู่ที่การฝึกหัด อยู่ที่การอบรมทั้งสิ้น
    ยิ่งฝึกตั้งแต่เล็กยิ่งมีผลมาก
    พ่อแม่จึงควรฝึกลูกให้เข้าร่องเข้ารอยตั้งแต่อายุน้อย จะได้เบาใจได้
    ครูอาจารย์ก็มีหน้าที่ช่วยเสริมให้เป็นผู้แกร่งกล้าในศิลปะวิทยาการใดๆ
    คนเรามีปกติชอบฝึกตนอยู่เสมอ เมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งพอที่จะเป็นคติได้ก็จะนำมาบอกตนสอนตนฝึกฝนตนเอง
    การฝึกตนจึงเป็นวิถีทางเดียวที่จะทำให้คนเราดีขึ้นมาได้ และเป็นหนทางที่จะต้องใช้ความเข้มแข็งอย่างยิ่ง
    การฝึกตนเป็นแววของทุกคน เป็นคุณสมบัติอันดียิ่งของตน
    ฝึกกายวาจาใจให้เป็นผู้ดี จะเว้นจากการฝึกหัดไปมิได้
    เราทุกคนนี้เหมือนกับไม้ต้นที่ตัดมาจากป่าทั้งต้น กว่าจะได้จะเป็นไม้แปรรูปแต่ละตัว ต้องจัดการให้ดี ตัดถากเลื่อยขัดตกแต่ง
    คนฉลาดต้องคอยสังเกตดูตนเอง เลือกเก็บเอาแต่กิริยาวาจาที่ดีมาประดับตนจากนั้นก็ค่อยๆขับไล่กิริยาทรามอันไม่ดีออกไป
    เรื่องของการเก็บความดี ละเว้นหนีห่างจากชั่วนี้ แม้ไม่มีคนสอนโดยตรงก็มีคนสอนให้โดยทางอ้อม ให้เห็นอยู่ทุกวัน นั่นคือ กิริยาอาการของผู้อื่นคนอื่นที่เรารู้ได้ดูได้เห็น เราก็เลือกได้ตัดสินได้ว่าอันไหนดี คนไหนดี ดูดีน่ารักน่าเลื่อมใส น่านับถือ
    กิริยาดีเราก็รู้จัก กิริยาชั่วเราก็รู้จัก จึงว่าเลือกได้
    ในการฝึกหัดตนเราต้องช่วยกันหลายๆ ด้าน
    พ่อแม่ช่วยสอน ช่วยตักเตือน
    ครูอาจารย์ช่วยบอกข้อบกพร่อง หมู่เพื่อนพ้องน้องพี่ช่วยชี้ข้อผิดพลาด
    ยิ่งมีพระสงฆ์ช่วยเพิ่มเติมให้ก็ยิ่งดีกันใหญ่
    พวกเราผู้เป็นคนกลางต้องทำใจให้กว้าง ย่อมรับคำแนะนำพร่ำสอนด้วยดี คือรับไว้พิจารณาตนเอง แก้ไขตนเอง การขัดเกลาตนเองเป็นหน้าที่ของเราโดยตรง นั่นคือลงมือปฏิบัติตามกระทำตามฝึกจนเป็นจริตนิสสัย
    คนฉลาดต้องฝึกฝนตนเอง
    อย่าให้มารู้สึกเสียใจในภายหลัง เพราะการประพฤติของตนเอง “สิ่งเล็กๆ น้อยๆ” นี้หล่ะสำคัญที่สุด
    กายวาจาใจอันฝึกดีแล้วจะยกบุคลิกลักษณะของผู้นั้นให้เด่นขึ้นให้เป็นเครื่องเชิดชูน่าเกรงขาม น่าเคารพนับถือ น่ากราบไหว้บูชา คนเราจะดีเองมิได้ จำต้องฝึกฝนตนเอง ต้องฝึกต้องหัดต้องอบรม
    เมื่อได้ที่แล้วย่อมคุ้มไปตลอดชีวิต
    ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่าในการฝึกตนคนอื่นเป็นแต่ผู้ช่วยเท่านั้น คนสำคัญที่สุดคือตัวเราเอง ถ้าตัวของเราไม่เอาไหนไม่ได้เรื่องไม่ได้ความแล้วแม้จะได้ครูฝึกชั้นดีชั้นเยี่ยมอย่างไร ก็มิอาจฝึกเราได้
    กาย วาจา เป็นตนภายนอก
    แต่การฝึกใจเป็นตนภายใน จิตที่ฝึกได้แล้วย่อมมีอานุภาพ มีความดีมีความสูงส่ง มีความบริสุทธิ์สงบ สว่าง สะอาด และเป็นคุณแก่การฝึกตนต่อไปอีกมาก
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สติผู้สำนึก
    สติแปลว่า ระลึกได้
    สติเป็นธรรมแล่นไปสกัดอารมณ์
    สติเป็นเครื่องรักษาอยู่เสมอ สติ เนกฺปกฺก
    สติเป็นความรอบคอบ
    สติเป็นความระวัง
    ให้มีสติปัญญา คือให้มีทั้งความรอบคอบ มีทั้งความอดทนรอบรู้ในการตัดสินใจในธรรม หรือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
    ปัญญาอย่าให้มากกว่าสติ เพราะทำให้มีจินตนาการมากกว่าความรู้ตัว
    ปัญญาท่วมสติ สติก็ยั้งไม่อยู่
    และอย่าให้สติมากกว่าสัมปชัญญะ หากสติมากปัญญาไม่พอก็ได้แต่ระวังไม่กล้าทำอะไร กลัวไปหมด ไม่มีปัญญาเข้ามาช่วยเติม
    เมื่อเรามีสติอยู่ ย่อมป้องกันอกุศลบาปกรรมทุกข์โทษได้
    สติเป็นเครื่องกั้นกระแสตัณหา สติ เตสํ นิวารณํ
    สติเป็นทำนบกั้นกระแสน้ำ
    สติมีลักษณะให้ระลึกได้ ระลึกในธรรมที่เป็นกุศลแลอกุศล
    ระลึกในธรรมที่เป็นโทษแลคุณ
    สติมีลักษณะถือเอาไว้ คือถือเอาธรรมะที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์ เป็นสาระ เป็นอุปการะ
    โดยทั่วไปมักจะจัดสติกับความไม่ประมาทเป็นธรรมอันเดียวกัน
    ความไม่ประมาทคือความไม่ปราศจากสติ
    ความไม่ปราศจากสติคือความไม่ประมาท
    ทั้งสติและความไม่ประมาทเป็นคำแทนกันได้และเป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
    “สติเป็นธรรมที่ควรปรารถนาในที่ทั้งปวง”
    คือต้องใช้ในกิจกรรมทุกอย่าง และการงานทุกอย่างต้องทำด้วยความไม่ประมาทต้องทำด้วยสติปัญญา
    ธรรมะทั้งปวงหมดรวมลงที่ความไม่ประมาท
    สติคือความไม่ประมาทจึงเป็นยอดของธรรม
    อนึ่งผู้มีสติอยู่ย่อมละความอยากได้
    ย่อมละความติดใจ
    ย่อมละความโทมนัสเสียใจ
    ย่อมละความไม่พอใจ
    ผู้มีสติอยู่ย่อมเป็นกลางแลอิสระ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความพอใจในธรรมะ
    คนเราจะเสื่อมหรือจะเจริญนี้ย่อมรู้ได้
    คนชังธรรม คนเกลียดธรรม เป็นคนเสื่อม ธมฺมเทสฺสี ปราภโว
    คนรักธรรม คนชอบพอกับธรรม เป็นคนเจริญ ธมฺมกาโม ภวํ โหติ
    คนรักธรรม คือ คนรักในการศึกษาธรรม รักในการอ่านธรรมะ รักในการเรียนธรรมะ รักในการศึกษาธรรมะ รักในการปฏิบัติธรรมะ
    พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นมีมาก สื่อของธรรมะ เอกสารของธรรมะ ผู้สอนธรรมะแนวการปฏิบัตินั้นมีมาก แต่เราไม่ต้องศึกษาไปทั้งหมดก็ได้ เวลามีน้อยศึกษาเท่าที่จำเป็น เลือกเอาแต่ส่วนที่จะอำนวยประโยชน์ต่อการปฏิบัติต่อการรักษากายใจ เลือกเอาส่วนที่จะเป็นไปเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขแลส่วนที่จะพ้นจากความทุกข์ไปได้เท่านั้นก็พอ
    ไม่จำเป็นต้องศึกษาส่วนเกิน หรือส่วนไม่จำเป็น แนวคิดอันแปลกแยกไม่จำเป็นต้องเอาเส้นผมมาผ่าอีกก็ได้ เพราะจะไม่ได้ประโยชน์
    เหตุว่าการปฏิบัติก็มีอยู่เพียง ๓ อย่างเท่านั้น
    ๑. ปฏิบัติกาย วาจา ด้วยใจให้ปกติตามหมวดแห่งศีลธรรม
    ๒. ปฏิบัติจิตตภาวนา ด้วยตนให้สงบเป็นสมาธิธรรม
    ๓. ปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องรักษา
    บางคนมาถือเอาทิฏฺฐิใหญ่โต เห็นว่าการมีธรรมเป็นเหตุขัดขวางในการประกอบอาชีพ อะไรๆก็ไม่คล่องตัว ไม่ลงตัวเพราะกลัวว่าจะผิดศีลธรรม คนที่คิดเช่นนี้ ก็จะมีแต่คนที่คิดจะประกอบมิจฉาชีพ เห็นสุจริตธรรมเป็นข้าศึกษาแก่ตน
    ส่วนคนดีจะอย่างไรก็รับธรรมะ พอใจในธรรม รักธรรมะ ธรรมก็จะคุ้มครองมิให้ตกไปสู่ที่ต่ำ
    ในความรักธรรมในความชังธรรมนี้
    ก็มาแต่การกระทำของเขาเองที่จะย้อนมาให้ผลดี/ จะย้อนมาให้ผลร้าย
    ดีและชั่ว ผลของดีและชั่ว จะมีใครงดเว้นได้ กฎนี้เป็นกฎสากลอยู่ในโลก พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพในกฎนี้ คือเคารพธรรม ให้เกียรติแก่ธรรมเพราะธรรมเป็นสิ่งสูงสุด เป็นสิ่งจรรโลงโลก ช่วยให้โลกสงบสุขสันติ
    ถ้าพวกเราชวนกันประพฤติธรรมก็จะดีมาก
    ธรรมะเป็นสิ่งอันประเสริฐสุดในหมู่ชน ทั้งในบัดนี้และต่อไปอีกข้างหน้า
    ความยุ่งยากทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่โลกนั้นเนื่องมาจากคนประพฤติผิดในธรรมทั้งนั้น ความดีงามที่เกิดในจิตใจก็สืบมาแต่ธรรมะ
    ความสงบความสุขมีธรรมะเป็นแดนเกิด
    ถ้าจิตใจใดปราศจากธรรม จิตนั้นก็เป็นสภาพที่โสมม
    มนุษย์ที่ไร้ธรรมะน่าเกลียดที่สุด เพราะเขามีแต่สมองที่มีแต่หน่วยของความชั่วมากในก้อนกะโหลก
    คนเราจะรักธรรมะได้ก็ต้องเห็นคุณค่าของธรรมด้วยการศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม เหมือนคนรักหนังสือ – ต้องอ่านหนังสือออก อ่านแล้วเข้าใจชอบใจ ได้อรรถรสจากหนังสือ รู้ว่าหนังสือนั้นๆ ทำให้เราพัฒนาก้าวไปได้ประโยชน์ตลอดไป
    คนที่จะรักธรรมะ ก็จะต้องเข้าใจธรรมะ รู้คุณค่าของธรรมะ รู้สึกว่าธรรมะมีบทบาทให้สุขประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริง คือมีธรรมะแนบชิดสนิทอยู่กับจิตใจตน

    คนที่ธรรมะครองใจอยู่ อธรรมก็เข้าใกล้มิได้
    ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งครองจิตอย่างอื่นก็ไม่อยู่ร่วมด้วย
    ฉะนั้นจึงให้เลือกเอาธรรมะมาครองใจ
    ๑. ศีลธรรม
    ๒. สมาธิธรรม
    ๓. ปัญญาธรรม
    การรักธรรมะ ประพฤติธรรมะ นับเป็นความสุขสูงสุดของชีวิต เป็นความสุขที่ไม่มีโทษ
    จึงว่าขอชวนเชิญทุกๆ คนให้เป็นผู้ใคร่ธรรม รักธรรม ชอบธรรม น้อมนำธรรม ต่อไป
    ยอมทนทุกข์ทรมานเสียเอง เพราะการกระทำความผิดของผู้อื่น
    เพราะเป็นการดีกว่าที่เราจะทำผิดเสียเอง

    เช่นนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ทำได้ง่าย และยังเป็นการฝึกฝนตนเองให้เป็นคนรับผิดชอบ ให้เป็นคนเห็นแก่เพื่อนมนุษย์
    กรณีเช่นนี้พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ท่านทำได้ ท่านกระทำไว้เป็นแบบอย่างในชาดกทั้งหลาย
    แต่พอมาถึงภาคปฏิบัติ (ของปุถุชน – คนทั่วไป) กลับทำมิได้ เพราะนั่นกลับโยนคืนให้แก่เหตุผลของภาคทฤษฎีภาคปริยัติ คือมิได้นำมาปฏิบัติกันจริงๆ มิได้ทำด้วยใจจริงของตน
    หากนำมาใช้กันจริงแล้วก็จะได้รับผลดีมาก
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 4
    ๙. หัวใจพระเณรนวกะ ๒๕๕๑
    “มาเห็นคุณเห็นประโยชน์อันใด จึงมาอยู่กับผู้ข้าฯ พระเฒ่าล้าสมัยเมื่อมาอยู่ก็อย่ามาว่าให้ผู้ข้าฯ ว่าไม่ดี มันจะดีอย่างไรได้ ก็มันแก่มันเฒ่าบอกว่าเทศน์ธรรมก็ไม่ได้ เอาแต่ต๋า(ท่าน)แจ๋วว่าเทอะ ตั้งอยู่กับความพากเพียรกันไปอย่าเป็นเล่นไป ตั้งใจไปเทอะบวชเข้ามาแล้ว มิใช่จะเอาแต่ตดใส่ผ้าเหลิง (เหลือง) ของพระ(พุทธ) เจ้า แล้วก็ออกไป ไปแล้วก็อย่างเก่า”
    คำปรารภขององค์หลวงปู่ในวันนี้นั้นมีขึ้นได้เพราะอาศัยเหตุที่ว่าอัตตโน เขียนกระดานสื่อสารให้องค์ท่านอ่านว่า “นิสสัยพระเณรปีนี้จะทำอย่างไร พระเณรนวกะ”
    คำว่า “อย่าเป็นเล่นไป” มีความขยายว่า อย่างไรจึงจะสานประโยชน์นักบวชของตนได้ เป็นอยู่ในระหว่างนี้ก็ให้องอาจกล้าแกร่ง ร่าเริง บันเทิงในธรรมปฏิบัติยินดีพอใจต่อธรรม อุ่นใจอิ่มใจในการถือเนกขัมมะของตน
    “ตดใส่ผ้าเหลือง” คือกิริยาของผู้เข้ามาบวช หากแต่บวชไม่นานมาบวชพอได้ตดใส่ผ้าเหลืองก็ออกไปสู่โลกทุกข์ภายนอก ตดยังไม่วายเหม็นเอ้า...ลาสิกขาไปแล้ว และหากมีนัยยะกินความลึกลงไปว่า ให้รู้จักปฏิบัติตนประพฤติวัตรให้ดี ให้เป็นเนื้อนาอันดีแก่โลก เพราะความดีเป็นที่ต้องการของหมู่สัตว์โลกทั้งปวง นั่นหมายความว่า ให้เป็นพระเณรผู้งดงามเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยธรรมวินัย สมบูรณ์ในความเป็นไป มีหิริมีโอตตัปปะประจำตนเป็นผู้ตั้งใจในตนของตน เพื่อคุณอันใหญ่ เพื่อประโยชน์อันที่สุด เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุข เพื่อหิตะประโยชน์อันยิ่งสืบไป
    คำว่า “ตั้งอยู่กับความเพียรกันไป” นั้นองค์หลวงปู่ได้เทศนาเอาไว้นานมาแล้วว่า “ความพากเพียรเป็นธรรมะ(เทศนา) กัณฑ์ใหญ่
    เพราะ เป็นทางพ้นทุกข์พ้นยาก
    เป็นทางดับทุกข์ดับยาก
    จึงให้พากให้เพียรกับเจ้าของ
    ให้พากให้เพียรด้วยปัญญา
    ให้ทำให้มากว่า เว้า (พูด)
    อันใดที่ เฮ็ด (ทำ) ได้นั้นมันน่าเชื่อถือกว่าอันอื่น
    ขุดน้ำบ่อให้ลึกลงไปก็จะได้น้ำดื่มใสสะอาดจืดสนิท
    ให้ตั้งใจไปเทอะ บอกเจ้าของ (ตนเอง) สอนเจ้าของให้ได้”
    คำว่า “ออกไปแล้วก็อย่างเก่า” นั้นแก้ว่า อย่างเก่าอย่างทุกข์อย่างสุข อย่างเมามายมิวายในโลกในสงสาร หากขาดสติทุกเพศภูมิดิบสุก พระเณรฑิตจารย์ก็อย่างเก่า
    เมื่อตนเข้ามาศึกษาจนพอรู้ได้แล้วใน ศีล สมาธิ ปัญญา ชื่อว่าเป็นผู้ถือหมากอยู่กับมือ เมื่อถือหมากแล้ว ไม่เดิน ก็ถือว่าโง่ที่สุด
    เดินทีละหมากทีละตา เล่นทีละกระดาน
    ช่วงจังหวะชีวิตของทุกคนก็เหมือนกัน เช่นกัน ในพรรษานี้ได้เข้ามาสู่โรงซ่อม โดยเป็นนักบวช มาซ่อมแซมจิตวิญญาณ หากไม่ประพฤติตนเป็นนักบวชก็ไม่ได้สุขสงบเยี่ยงนักบวช อยู่ก็อยู่อย่างทุกข์ อยู่อย่างเสียมิได้ครั้นออกไปแล้ว (ลาสิกขา) ก็อย่างเก่า คืออย่างเก่าในกระดานใหม่
    ยิ่งหากลืมกระดานนี้ด้วยแล้ว ก็ยิ่งอย่างเก่าตามคำขององค์หลวงปู่
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐. ความเป็นองค์หลวงปู่ปี ๒๕๕๑
    ความเป็นองค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ในปีนี้ยังคงเป็นอนุสรณียาลัย ยังคงเป็นอนุสรณศาสน์ ยังคงเป็นร่มโพธิ์ร่มพระให้พึ่งพิงอยู่มีคลาดคลาเสื่อมคลายยังคงเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวในยามทุกข์ท้อและในยามสุขระรื่นเสมอมา
    ปีนี้ ๙๘ ปีเต็มแต่เดือน ๖ นั่นแล้ว นี่ก็ย่างเข้า ๙๙ ปีแล้ว องค์ท่านก็ยังคงเป็นพระผู้มากมีบุญ เป็นพระมหาเถระที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพรัก บูชา เทิดทูน ยกไว้เหนือเกล้าเท้าไว้เหนืออื่นใด
    เหตุเพราะว่ามองไว้ได้โดยรอบแล้วต่างก็เป็นธรรมะเป็นกลาง
    การทำกิจ บำเพ็ญตน การวางข้อวัตรนอกในใดๆ มิได้หย่อนลงแต่อย่างใด องค์ท่านมิเคยคิดว่ากายสังขารจะเป็นตัวถ่วงความเพียรการบำเพ็ญขององค์ท่านแม้แต่น้อยนิดเลย ยังคงนำพาพระเณรในร่มเงา ญาติโยมในอาณัติแวดล้อม ปฏิบัติภาวนาเป็นกิจประเพณีประจำพรรษา
    “มานั่งภาวนากับหลวงปู่แล้ว จิตเยือกเย็นสบายดีมาก”
    “จิตก็ฟุ้งซ่านอยู่ หากแต่พอเลิกนั่งก็อิ่มใจได้”
    “ขอบารมีธรรมหลวงปู่จิตจึงสงบได้ง่าย”
    “โอวย...หลวงปู่อายุซำนั้นยังนั่งได้ เฮากะต้องนั่งได้”
    “โหลงปู่มิเห็นเป็นผะเหล๋อ เฮาละพากันติงอยู่ควากควีก ควากควีก”
    “ข้าน้อย มานั่งเหงานอนเห้อโหลงปู่ ได้หัวเราะ ข้าน้อยกะได้บุญแล้ว”
    เพราะปฏิปทาจริยาวัตรอันแรงกล้า และความเป็นมาสม่ำเสมอขององค์หลวงปู่และคณะสงฆ์ลูกศิษย์ เช่นนั้น จึงทำให้แปรเป็นความศรัทธาเลื่อมใสจากสาธุชนได้รับการเฝ้าติดตามจากมหาชนถิ่นไกลออกไป
    แต่อย่างใดก็ตามยังมีพวกที่บ้านใกล้ครั่งย้อมครั่งบ่แดง หรือบ้านใกล้เกลือกินด่าง หรือพวกที่แบ่นค้อนกรายมะม่วง ก็มีอยู่เป็นปกติธรรมดาของคนหนาโลกหนาทิฏฐิหนาทัสสนะทั้งหลาย
    และในต้นกึ่งกลางพรรษานี้
    ได้เก็บอรรถธรรมคำสอนขององค์หลวงปู่ จากวาระที่เทศน์สอนบอกธรรมแก่คณะศรัทธาญาติโยมคณะต่างๆ ที่เข้ากราบขมาคารวะ อันเป็นเทศน์ธรรมที่กระท่อนกระแท่น ประปราย ต่างคณะต่างท่อนต่างวลีประโยค
    ครั้นเก็บร้อยรัดรึงเข้าด้วยกันแล้วพอเกื้อหนุนในสิ่งที่มีอยู่ในตนให้ฟุ้งฟายและอยู่ได้ด้วยยากดังนี้

    ๑๐.๑ ทุกข์เพราะเกิด

    “เกิดมาแล้วนี้จะไม่ให้เป็นทุกข์ก็ไม่ได้
    เพราะมันเบียดเบียน บีบคั้น ก่อความรำคาญอยู่เป็นนิจ
    เพราะมันแปรเปลี่ยนไปเรื่อย
    เพราะมันเป็นไปตามเรื่อง
    ทุกข์จึงมีอยู่จริงในชีวิตทุกชีวิต ปฏิเสธไม่ได้
    มันทนได้ยากจึงทุกข์
    มันเปลี่ยนไปไม่คงที่จึงทุกข์
    มันอยู่ประจำสังขารจึงทุกข์
    ทุกข์กายนั้นเปิดเผย อาพาธรู้จักกันได้
    แต่ทุกข์ใจนั้นปกปิดต้องถามจึงจะพอรู้จักได้บ้าง
    เป็นอันว่าทุกข์เพราะเกิด ทุกข์เกิดเพราะยึดถือเอาไว้”
    อรรถธิบาย ๑
    ความทุกข์ยากลำบากทรมานเป็นของสัตว์ของมนุษย์ทั้งหลายผู้ถือเกิดมาแล้ว จำต้องมีอยู่แบกอยู่ จำต้องทนรับทนแบกเหมือนเทินหินก้อนใหญ่เอาไว้แล้ว เที่ยวแบกไปตลอดชีพชีวิตยิ่งยืนยาวเท่าใด ก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น ยิ่งหนักและเหน็ดเหนื่อย เป็นภาระหนักหนานักแล้วในตนของตน
    “การเกิดบ่อยๆ เป็นความทุกข์”
    ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญภพ คือการเกิดเลยแม้แต่น้อย”
    อนึ่งความทุกข์ของใครก็ดูเหมือนจะเป็นภาระหนักที่สุดของคนนั้นๆเหมือนกับเมื่อขณะได้ยืนชมจันทร์สาดฉายในวันเพ็ญ ทุกคนก็จะรู้สึกว่า ดวงจันทร์เต็มดวงนั้นอยู่ใกล้ตัวที่สุด และมิหนำซ้ำยังสาดแสงมาที่ตัวเองอย่างจงใจอีกด้วย
    องค์หลวงปู่ได้สรุปเรื่องนี้ว่า “ทุกข์ก็(ให้) ทุกข์ไปตามเรื่อง พอหมดจากทุกข์แล้วก็มาสุข พอสุขก็ (ให้) สุขไปตามเรื่อง ฝนตกมากก็ดินเหลว ฝนไม่ตกก็ดินแห้ง (เกรียม) กรอบ แดดออกบ้างฝนตกบ้างก็ดี (ชีวิตก็เป็นแบบเดียวกันนั่นเอง)”
    ชีวิตที่กล้าหาญและร่าเริงเท่านั้นที่ดูว่าจะให้ความสุขแก่ตนของตนได้บ้าง"
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐.๒ ที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อน

    “พิจารณาให้ดีซี...บ่ใช่เด็กหน้อยหน้า
    กรรมนี้มัน (ยิ่ง)ใหญ่แท้ๆ เน้อ กรรมของตนนะตนเป็นไปตามกรรม = โลกเป็นไปตามกรรม โลกคือ สิ่งหมู่สัตว์กรรมความชั่ว แต่งให้ทุกข์ กรรมความดีให้ผลเป็นสุขสงบ
    ๑. ไม่ได้ทำบาปไว้
    ๒. ได้ทำแต่กรรมความดี
    คิดอ่านให้ได้ความเทอะ...!
    จะมีอันใดในโลกนี้ที่พอได้พึ่งพิงอิงอาศัยได้ดีเท่ากับความดีของคน ระลึกในความดีที่ตัวทำ ระลึกในความชั่วที่ตัวละ นี้หล่ะ ชื่อว่าทรัพย์ภายใน
    บุญ -๑-
    กุศลจิต -๑-
    สุจริตธรรม -๑-
    อันนี้หล่ะ...! กิจของสูเจ้าทุกๆ คน ให้หมั่นตั้งจิตเอาไว้ในที่ไม่เดือดร้อน”
    วิพากษ์วิภาค ๒
    บากรรมอกุศล มักจะไปด้วยกันมาด้วยกัน
    บาปกา อกุสลา ธมฺมา
    ความชั่วคือ สิ่งที่เบียดเบียนตนเองบ้าง ทำแล้ว คิดแล้ว พูดแล้ว กรรมนั้นเป็นกรรมเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ทั้งเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ที่สำคัญคือไม่มีประโยชน์อันใด
    ทำแล้ว พูดแล้ว คิดแล้ว แม้ไม่เดือดร้อนหากก็แต่ไม่มีประโยชน์ เมื่อไร้ประโยชน์ก็ควรหรือที่จะทำ ที่จะใส่ใจ
    เพราะ คนทำความชั่วหาสุขได้ยาก (เพราะต้องมีความทุกข์แสนทุกข์)
    เหตุว่า ความชั่วมีผลเป็นทุกข์
    เหตุว่า ความชั่วย่อมตามแผดเผาในภายหลัง
    สรุป ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า
    คนที่เพลิดเพลินในการทำความชั่วก็เพราะความชั่วยังไม่ให้ผล (คนชั่ว) จึงมองเห็นชั่วว่าเป็นความดี แต่เมื่อใดความชั่วนั้นให้ผล เขาก็จะเห็นชั่วเป็นชั่วจริงๆ
    คนดีเห็นความดี เป็นคนดี เพราะเขาเป็นคนดีเห็นโทษของความชั่ว เห็นโทษทุกข์ของกิเลสใดๆ
    นี่ ใน – ในผลมะเดือสุก กับ
    ใน – ในมะพร้าวแก่ทึนทึก มันจึงต่างกัน เพราะมีผลอันต่างกันนั่นเอง"
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐.๓ การเว้นชั่วคือความดี

    “หมั่นสร้างความดีให้มีในตนของตนทุกคน อย่าให้เดือดร้อนเพราะตนไม่เอาความดีแต่ประการใดๆ คนไม่เอาอะหยังสักอันสักอย่างนั้นมันทำลายความดีตนทุกคนนี้ฮู้จักได้แล้วว่า ตัวของเจ้าของฮักตนแพงตน กะให้ฮักษาเอาไว้ (เมื่อบุคคลทราบว่าตนเป็นที่รักของตนแล้ว ก็พึงรักษาตนให้ดีด้วยดี)
    บัณฑิตนักปราชญ์เพิ่นสอนให้ประคับประคองตนทั้ง ๓ วัย
    ๑. วัยละอ่อนเด็กหน้อย
    ๒. วัยเล่าเรียนศึกษาจนเป็นคนใหญ่
    ๓. วัยเฒ่าเจ้าลูกเจ้าหลาน
    เอาให้ดี...คิดอ่านให้ดี”
    ความดีเป็นเครื่องหมายของคนดี
    ความเค็มคือประโยชน์ของเกลือ ความดีเป็นหน้าที่ของสูเจ้า วัยรุ่นมาบวชเป็นเณรน้อยฤดูฮ้อน วัยกลางเป็นพระหน้อยพระหนุ่ม วัยเฒ่า เป็นหลวงพ่อหลวงปู่
    ความดี ความประพฤติเท่านั้นที่จักเสมอกัน เข้ากันได้
    ๑๐.๔ อยากพ้นทุกข์

    ศิษย์ : ต้องพากเพียรเท่าใดครับ ? หลวงปู่
    หลวงปู่ : อันความเพียรนั้นพาให้จิตหลุดพ้น
    ศิษย์ : อย่างใดจึงจะบำเพ็ญได้ ?
    หลวงปู่ : อันใดจริงอันใดลวง
    ศิษย์ : ครับ...! แล้วอย่างใดจึงจะรู้จักได้ ?
    หลวงปู่ : ในใจเกิดธุลีมีกาก
    สังขารก็อ้วนพี วัฏฏะก็หมุนสืบต่อ
    ศิษย์ : อยากพ้นทุกข์ ครับ
    หลวงปู่ : จะเอาแต่อยากออกหน้าจะได้หรือ
    ศิษย์ : ครับผม คงมิได้ แต่ก็ใช่ว่าจะปิดหนทาง
    หลวงปู่ : ถูกแล้ว มีฉันทะศรัทธานำ
    มีสติปัญญาตาม
    มีวิระยะอุตสาหะหนุนช่วย
    ศิษย์ : ยากนักยากหนา
    หลวงปู่ : ให้ยากไว้ก่อนจึงจะดี
    ศิษย์ : ก็หลวงปู่บอกว่า “โลภทำให้เสียธรรม”
    หลวงปู่ : ถูกอยู่...แต่ให้พอดีกับตน พอดีกับอยาก
    ศิษย์ : มีแต่ไม่พอดี
    หลวงปู่ : ก็มันเมาแต่อยากได้
    ศิษย์ : ครับกระผม
    อรรถาธิบาย ๓
    ถาม : หลวงปู่ครับ? มีไหมที่ทำบุญทำดีไม่ต้องลงทุน
    ตอบ : มี
    ถาม : ขอหลวงปู่โปรดอธิบายให้หายโง่
    ตอบ : โอ...แล้วกัน เอาคนเฒ่าว่าอีกแล้ว
    ให้ทานเป็นนิจ อุทิศท่านผู้มีศีล -๑-
    สร้างที่อยู่อุทิศสงฆ์สี่ทิศ -๒-
    ภาวนา “พุท – โธ”, “พุท” – “โธ”
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ -๓-
    -๔- รักษาศีล ๕ เป็นนิจกาล
    -๕- ออกบวชด้วยศรัทธา
    นี่นะสูเจ้า...พากันมาบวช ให้พากันตั้งใจ ไหว้พระภาวนา ช้าง (กระ)ดิกหู งูแลบลิ้น ดีก็ใจชั่วขณะ ชั่วก็ใจครู่ขณะ เมตตาธรรมเป็นอาวุธของพระป่าพระดงนะ
    ผู้ใดขี้คร้านภาวนา ผู้นั้นไม่รู้ไม่เห็นในสิ่งที่เพิ่นหลับตาแล้วรู้ได้เห็นได้ สูเจ้านะ มืน(ลืม)ตาก็ยังไม่เห็นหากหลับแล้วยิ่งแล้วใหญ่
    (* พระอริยเจ้า เป็นผู้รู้ผู้เห็นแจ้งใน อนิจจสัญญา, ทุกขสัญญา, อนัตตสัญญา ; เพราะข้อนี้เป็นวิปัสสนาญาณ แล้วแลเป็นผลมาจากการออกบวชด้วยศรัทธา จึงเว้นชั่วทำดีได้ จนที่สุดแล้วความดีความประพฤติจึงเสมอกันเพราะเป็นธรรมฐีติ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...