มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งกาลเวลา

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 24 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐.๕ ขณะยังดับมิได้
    “สูเจ้ายังดับมิได้
    ก็อย่าประมาทในกายคตาสติ
    เพราะกายคตาสติอสุภกรรมฐานนี้นับว่าเป็นรสของธรรมะชั้นที่สุด เป็นโลกุตตรธรรม
    ความเบื่อหน่ายไม่กำหนัดยินดีนี้หล่ะพาให้ดับได้ในราคะ โทสะ โมหะ
    นิพพาน ก็หมายเอาการดับใน ราคะ โทสะ โมหะนี้หล่ะ
    นี่ธรรมไม่ตายเป็นเช่นนี้*”
    (*เป็นธรรมมีผู้ตายไม่มี)
    ๑๐.๖ ไม่มีแม้มุกดามณีเดียว
    “อันใดตรงไหนมันก็เป็นแต่ของสกปรกโสโครก ปฏิกุลํ อสุจิ อสุภํ น่าเบื่อน่าหน่าย เน่าเปื่อย
    เพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ได้แจกกรรมฐานแก่หมู่พระเณรลูกศิษย์ว่า “ตั้งแต่ปลายผมถึงพื้นเท้า ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นจรดศีรษะ จะหาอะไรสะอาดมิได้เลย จะค้นหามุกดามณีแม้สักชิ้นสักอันก็หาไม่ได้ ต่างก็เป็นแต่ “ขี้”
    การพิจารณาเห็นขี้ด้วยกายคตาสตินี้ เป็นวิสัยของพระมหาสัตว์เท่านั้น เจ้าลัทธิอื่นๆ ไม่รู้ไม่เห็นได้
    พระโยคาวจรผู้เกษมจากโยคะแล้วย่อมแจ้งในธรรมอันเอก คือ กายคตาสติอันเป็นบาทฐานของวิชชาและวิมุตติ”
    คิดอ่านให้ดีเทอะ...! ผู้ข้าฯผู้เฒ่าฟังมาอย่างนี้ ทำมาอย่างนี้จิตใจจึงได้สงบ ความยินดีความยินร้ายก็บางเบา จิตตั้งได้ (มั่นคง) ไม่หวาดหวั่นกับความเป็นตายใดๆ อีก”
    ๑๐.๗ ให้พากให้เพียร

    “ความพากเพียรเป็นธรรมะกัณฑ์ใหญ่
    เพราะเป็นทางพ้นทุกข์
    เป็นทางดับทุกข์
    จึงให้พากให้เพียรกับเจ้าของ
    ให้พากให้เพียรด้วยปัญญา
    ให้ทำมากกว่าเว้า
    อันใดที่เอ็ด(ทำ)ได้นั้นน่าเชื่อถือกว่าอย่างอื่น
    ขุดน้ำบ่อลึกจึงได้น้ำใสสะอาด
    ให้ตั้งใจให้ดี
    บอกเจ้าของ สอนเจ้าของ”
    (เว้า – พูด, เอ็ด = ทำ)
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 5
    ๑๑. แนวทางแห่งนิสัย
    “ ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านเป็นอยู่”
    “ สาหุ – ดีแล้ว
    ละหุ – เบาใจแล้ว
    โอปายิกัง – ชอบแก่ใจแล้ว (ชอบแก่อุบายแล้ว)
    ปฏิรูปัง – สมควรแล้ว
    ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ จงยังการประพฤติการปฏิบัติ ให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด”
    ให้ตั้งจิตในอาจารย์ เหมือนบิดาตนเอง แต่จะอย่างไรก็ตามเมื่อเราจะอยู่กับท่านผู้ใด พวกเราทุกรูปทุกองค์อยู่กับองค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ อยู่ก็อยู่เพื่อหวังว่าจะให้ท่านเป็นที่พึ่ง อาศัยให้ท่านเป็นพ่อเป็นแม่เป็นครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จึงให้ปรับตัวเราเข้าหาท่าน ปรับนิสัยให้เข้ากันให้ถูกกัน ถ้าไม่ถูกกันก็อย่าอยู่จะมีความผิด
    หากเราสมัครใจจะอยู่ด้วย เป็นตายอย่างใดก็อยู่ศึกษา อยู่อาสางาน อยู่สนองงาน ท่านประพฤติอย่างใด ท่านทำกิจสิ่งใด ท่านพร่ำสอนอันใด เป็นที่ชอบใจของเรา – เราก็ควรทำตาม
    หรือแม้เราทำสิ่งใด ประพฤติสิ่งใด ก็เป็นที่ชอบใจต่อท่าน เช่นนี้ เรียกว่า นิสัยกินกันเข้ากันได้ ให้อุตสาหะตั้งใจของตนในสำนักของท่าน
    หากแต่ใดๆ ก็ไม่เป็นที่ชอบใจ ชื่อว่านิสัยไม่กินกันให้รีบไปอยู่เสียที่อื่นที่ไกล เพราะหากอยู่ไปก็ไม่ถูกกัน เช่นนี้ก็อาจจะได้โทษมากกว่าคุณ คือก็จะมีแต่เรื่องติฉินนินทา ไม่ลงใจ ไม่เคารพกันโดยจริงแท้
    แม้ในพระวินัยก็แสดงองค์คุณไว้แก่ผู้เป็นศิษย์ ผู้เข้าศึกษาอยู่ด้วยผู้ควรแก่นิสัย ๕ อย่างดังนี้
    ๑. อธิมตฺตํ เปมํ รักยิ่งนัก
    ๒. อธิมตฺโต ปาสาโท เลื่อมใสยิ่งนัก
    ๓. อธิมตฺโต คารโว เคารพยิ่งนัก
    ๔. อธิมตฺตา หิริ มีละอายยิ่งนัก
    ๕. อธิมตฺตา ภาวนา เจริญเมตตายิ่งนัก
    คือให้ยิ่งนักในพระอุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ของตน
    สรุปว่า เมื่อรับนิสัยอยู่ในสำนักท่านผู้ใด
    ก็พึงประพฤติปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อตามธรรมตามวินัย ตามอัธยาศรัยของครูในสำนักนั้น
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๒. ปูมบุญมหากุศล
    วันหนึ่งพระเณรลูกศิษย์ได้เข็นรถเข็นที่มีองค์หลวงปู่นั่งอยู่
    แล้วไปวนรอบพระอุโบสถที่ยังไม่มีกำหนดการที่จะสมโภช ท่านได้ดูลูกนิมิต ใบเสมา องค์ท่านเอาไม้เท้าเคาะ เอาไม้เท้าชี้แล้วปรารภว่า “ลูกหินกลม ลูกนิมิตนี้ เมื่อใดสูเจ้าจะฝังดิน”
    “ยังไม่มีกำหนดครับ ยกถวายบูชาองค์หลวงปู่”
    “บ่ ผู้ข้าฯ ขี้คร้านวุ่นวาย แล้วแต่สูเทอะ
    ฝัง...เหียก็แล้ว ก้อนหินสำหรับฝังวางบอกเขตของอุโบสถ ใต้ดินเอาลูกนิมิต บนดินเอาใบเสมา เพื่อบอกเขตของสงฆ์สังฆกรรม จะไปยุ่งยากฉลองแสลงไปเฮ็ดหยัง นั่นมันงานกินข้าวต้มข้าวหนม
    แต่เมื่อครั้งพุทธกาลหน๋า ไม่ยุ่งอย่างสูเจ้าทุกวันนี้หรอก เพิ่นกำหนดเอาต้นไม้ต้นหญ้า หนทางเดิน แม่น้ำ จอมปลวก ก้อนหิน ป่าไม้แนวป่า น้ำไหล น้ำนิ่ง ภูเขา กำหนดเขตขณะทำสังฆกรรม ๓ ทิศบ้าง ๔ ทิศบ้าง เป็นนิมิตบอกเขตแดน เมื่อสวดปาติโมกข์แล้วเสร็จ เมื่อบวชพระแล้วเสร็จ หรือกรานกฐินแล้ว หรือปาวารณาแล้ว หรือแล้วเสร็จจากกิจชุมชนของสงฆ์ แล้วก็เก็บก้อนหินคืนที่เดิม แก้มัดผ้าออกจากต้นไม้ พืนขอดหญ้า บอกเลิกเขตกำหนดนั้นๆ จากนั้นก็แยกย้ายเที่ยวไป โปรดผู้คนเทศน์ธรรมในถิ่นอื่นต่อไป
    ที่กำหนดเขตขณะนั้นๆ ก็เพื่อมิให้ผู้คนเข้าไปยุ่งด้วย
    ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตให้มีวัด จึงได้กำหนดเขตที่แน่นอนเว้นเป็นเขตอุโบสถ”
    ประจวบกับวันนี้มีนักเรียนโรงเรียนบัวขาวที่เข้าอบรมในโครงการผู้นำเยาวชนบัวขาวสุขแท้ด้วยปัญญา ได้ถามอัตตโนว่า “ลูกนิมิตมีเพื่อประโยชน์อะไรครับ ?” จึงได้อธิบายตอบกลับ ว่า “ลูกนิมิตที่เธอเห็นอยู่นี้ เป็นเครื่องหมายบอกเขตบริเวณที่พระสงฆ์จะใช้ทำสังฆกรรม คือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุสงฆ์เขตภายในนิมิตนั้นเรียกว่า “สิม” ในภาษาอีสาน หรือ “สีมา” หรือ “เสมา” หรือ โบสถ์ หรือจะเรียกภาษากลางๆ ก็ว่า “พระอุโบสถ”
    ในสมัยก่อนโบสถ์จะคงตัวตามธรรมชาติ แต่สมัยนี้สร้างด้วยวัสดุให้ถาวรมั่นคง และลูกนิมิตก็พัฒนาตามวัตถุผู้คน และจากนั้นก็ทำพิธีฝังลูกนิมิตนี้อีกจนใหญ่โต เอิกเกริก เพราะเอาชาวบ้านชาวศรัทธาเข้ามามีส่วนร่วมด้วย คำว่า “ฝังลูกนิมิต” เป็นคำพูดของคนทั่วไปหากจะเรียกทางการก็ว่า “ผูกพัทธสีมา” ซึ่งหมายเอาว่า กำหนดเขตทำสังฆกรรมที่ให้ตรงถูกต้องกับพุทธานุญาต
    แต่ก่อนที่จะได้เขตการก่อสร้างหรือกำหนดเขตได้นี้ก็จะต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อให้ที่ดินบริเวณนั้นๆ เป็นของสงฆ์อันเป็นเขตพระราชทาน แก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม และเป็นการแยกส่วนบ้านออกจากวัด แยกกันต่างหาก ( วิสุง = ต่างหาก, แยกออก)
    คาม = บ้าน
    สีมา = เขต)
    ที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตเพราะถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของแผ่นดิน เพื่อจะทำการสิ่งใดบนแผ่นดินนี้จำต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อนเสมอ เพื่อพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานกว้างเท่าใด ยาวเท่าใดมาให้แล้ว ก็นิมนต์พระสงฆ์ มาประชุมพร้อมกัน เพื่อทำพิธีสวดถอน เพื่อประกาศบอกว่าเขตนี้มิใช่อาณาบริเวณที่จะกำหนด หรือกำหนดเป็นเขตสีมามาก่อนหรือเป็นที่ที่มีเจ้าของครอบครองอยู่มาก่อน พระสงฆ์ก็สวดเป็นแห่งๆเป็นทิศๆ ไปจนรอบเขตพระราชทานนั้น จึงเป็นวิสุงคามสีมาโดยสมบูรณ์ได้
    ส่วนลูกนิมิตที่จะบอกเขตนั้นปัจจุบันนิยม ๙ ลูก โดยจะฝังในทิศต่างๆ ๘ ทิศ ทิศละลูก และลูกเอกอยู่กลางพระอุโบสถ
    เมื่อจะผูกพัทธสีมาพระสงฆ์ ๔ รูปจะเดินตรวจสวดทักลูกนิมิตทั้งหมดครั้งสวดทักลูกนิมิตเสร็จแล้ว ก็เข้าประชุมกันในพระอุโบสถ เพื่อสวดประกาศสีมา เมื่อแล้วเสร็จก็จะตัดหวายห้อยโยงลูกนิมิตลงหลุมเพื่อกลบฝัง แล้วก่อซุ้มหรือฐานตั้งใบสีมาต่อไป
    แต่ในปัจจุบันนี้จะนำใบสีมามาเป็นเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์และยังมีใบเสมาใหญ่อีก ๔ ใบ บอกเขตทั้งหมดที่ได้รับพระราชทานมา

    ส่วนคติของลูกนิมิตทั้ง ๙ นั้นตีความเอาว่าเสมือนองค์พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกองค์สำคัญอีก ๘ ดังนี้
    ๑. ทิศตะวันออก หมายถึง พระอัญญาโกณทัญญะ ผู้ได้ชื่อว่า รู้ราตรีกาลนาน รู้มากผ่านโลกมานาน
    ๒. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง พระมหากัสสปะผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงธุดงคคุณ
    ๓. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึง พระราหุลผู้เลิศทางการศึกษา
    ๔. ทิศใต้ หมายถึงพระสารีบุตร ผู้เลิศในทางปัญญา
    ๕. ทิศเหนือ หมายถึง พระโมคคัลลานะ ผู้เลิศในทางฤทธิ์
    ๖. ทิศตะวันตก หมายถึง พระอานนท์ ผู้เลิศในทางพหูสูต
    ๗. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หมายถึง พระอุบาลี ผู้เลิศในทางวินัย
    ๘. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หมายถึงพระควัมปติ ผู้เลิศในทางลาภและรูปงามยิ่ง
    ส่วนลูกกลาง หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    มีคำถามสอดขึ้นมาว่า ทำไมจึงเชื่อว่าเป็นบุญเป็นกุศลมหาศาลเมื่อได้สร้างพระอุโบสถ แก้ว่า ด้วยเหตุที่สมัยก่อน กว่าที่และการที่จะสร้างอุโบสถได้หลังหนึ่งๆ หรือแม้จะซ่อมแซมโบสถ์เก่าให้สวยงาม ก็มิใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลานานมาก ดังนี้เองจึงเชื่อกันว่า หากใครได้มีโอกาสทำบุญสร้างพระอุโบสถ มีโอกาสได้ทำบุญฝังลูกนิมิต จะมีอานิสงส์มากประการดังนี้
    ๑. ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บทุกชาติ ( มีก็มีน้อย -๑-
    มีหรือก้อนกายนี้จะไม่เป็นโรค -๒-)
    ๒. ปราศจากอุปัททวะสิ่งอัปมงคลใดๆ
    ๓. ไม่ได้เกิดในตระกูลต่ำ
    ๔. หากเกิดในมนุษย์ก็จะได้เป็นใหญ่ในประเทศ
    หากเกิดในภูมิใดๆ ก็จะได้เป็นใหญ่ในภูมินั้นๆ
    ๕. จะสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินข้าวของเงินทอง มีผิวพรรณผ่องใสมีอายุยืนนาน
    ๖. มีจิตใจอันอิ่มเอิบ มีปีติสุข สืบสานสร้างบุญกุศลต่อไป
    ๗. ได้สืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาสืบไป
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๓. บทเรียนบทหนึ่ง
    ถาม : ท่านครูบาครับ กระผมได้อ่านหนังสือธรรมประวัติขององค์หลวงปู่จาม (มหาปุญฺโญ) ที่ท่านครูบาเขียนนั้น ชอบใจซึ้งใจมาก มีกำลังใจมากในการกระทำตาม
    อนุโมทนา : ดีแล้ว อ่านทวนทบตลบหลังอีกสักรอบก็ดี

    ถาม : นี่รอบที่ ๓ แล้วครับ
    ตอบ : ขยันอ่านดีแท้ ตำนานชีวิตขององค์ท่านผู้ทำความดี แล้วฝากไว้ในหัวใจของผู้คน นับหนึ่งเป็นบทเรียนของชีวิต ของผู้คนที่มายินดีด้วยที่มาพบปะอ่านแล้วศึกษาแล้วได้กำลังใจ ไม่สิ้นหวัง ไม่ย่อท้อ พร้อมเดินตามทำต่อ
    องค์ท่านนับเป็นประทีปในความมืดมิด
    โลกนี้มืดมิดมีอยู่จริง ทางออกคือแสงสว่าง
    ทางออกคือสงฆ์พิสุทธิ์สมบูรณ์
    ที่นี่ (วัดป่าวิเวกวัฒนาราม) ยึดเอาองค์หลวงปู่เป็นพ่อเป็นแม่เป็นครูเป็นอาจารย์ เป็นบุพพการี เป็นที่พิงอิงอาศัยองค์ท่านเป็นแสงสว่างที่ไม่เคยสิ้นสุด ไม่เคยดับมรรค
    บริสุทธิ์ ยิ่งใหญ่ เดินในความมืดมิดของโลก
    เพราะองค์ท่านฝากความดีบุญกุศลไว้ในหัวใจของผู้คน มาไม่น้อยกว่า ๖๙ ปี ๗๐ ปี ในชีวิตสมณะพระภิกษุ และจนจะครบร้อยในชีวิตนี้ที่เกิดมา เป็นชีวิต เป็นหน้าที่ต้องเสียสละ รักษาสงบ รักษาสะอาด และรอบคอบเสมอมา
    ใครๆมายึดเอาแนวทางปฏิปทานี้ ย่อมได้รับการชื่นชมจากเทพยดาฟ้าดินหมู่มนุษย์ชื่นชอบ ภูตผีปีศาจยอมอ่อนยอมโดย สิ่งสัตว์น้อยใหญ่ไหนเลยจะปฏิเสธได้
    ถาม : โอ...ท่านครูบาพูดจนผมขนลุกชูชันไปหมดเลยครับ
    ตอบ : ก็รวมว่าเป็นความดีอันอบอุ่น
    เป็นความดีงามของหนึ่งชีวิตที่ไม่ต้องเอื้อนเอ่ยก็รู้จักได้
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 6
    ๑๔. ยากยิ่งนัก
    “จิตนี้มันยากนักที่จะควบคุม เพราะมันเปลี่ยนแปลงเร็ว เกิดดับ – เกิดดับ อยู่เสมอ วิ่งเต้นทั้งวัน แต่ตื่นจนหลับนอน ชั่วเข้าปรุงแต่งก็ฝันร้ายไปอีก รักใคร่ยินดีพอใจ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ไปตลอด
    การฝึกหัดจิตจึงสมควรทำ
    เพราะจิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ ตั้งใจไปเทอะ”
    ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑

    ๑๕. มันมีปกติของมัน
    เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม คุณโยมศุภณี สุนทรวร ได้ส่งวัตถุทานไทยธรรม มีมาหลายรายการ อาหารเสริม ยาบำรุง ของใช้อื่นๆ ได้นำจดหมายของคุณโยมให้ องค์หลวงปู่ได้อ่าน องค์ท่านอ่านแล้วเข้าใจเนื้อความแล้วปรารภว่า “เขาก็เสาะหาของเอามาให้บำรุงรูปกายอันนี้ เข้าใจว่าดี จะไม่ให้มันเป็นอะไร แต่มันก็แก่ก็เฒ่าไปเรื่อยของมัน มันมีปกติของมัน มันมีธรรมดาของมัน สุดท้ายอาหารดีอย่างใด ยาจะดีอย่างใด มันก็ไม่รับไม่เอา อะหยังดอกธาตุขันธ์ร่างกายก้อนทุกข์ก้อนธรรมอันนี้...ให้โต๋ (เธอ) ตอบจดหมายกลับคืนบอกเขาว่า “พออยู่ได้” เขียนตอบให้เขาเสียนะ”
    “ครับ กระผม”
    ( ฉุกใจคิด – หยุดจิตตรอง ; “พออยู่ได้” สาระของโลก เอาเข้าแท้ๆ เพียงแค่พออยู่ได้โลกนี้พออยู่ได้ก็พอแล้ว พอได้อาศัย พอเป็นไป เป็นของชั่วคราวชั่วครู่เหมือนระยับแสงระยิบเงาบนผิวน้ำ เสมือนจันทร์บนผิวบ่อ เหมือนภาพเงาบนกระจกวูบวาบวับไหว มีแล้วไม่ปรากฏ
    พออยู่ได้อย่างเป็นสุข, พอสุขได้บ้างแต่ก็ใช่ว่าจะไม่ทุกข์, ไม่เป็นทุกข์ใดๆ ก็ไม่ใช่ เพราะยังอยู่กับโลกอันว่างเวิ้ง มากมายา
    และแล้ว ณ วันนี้เราท่านยังจะพออยู่ได้อยู่หรือ หรืออย่างไร ?
    แล้วที่ว่าอยู่ได้ - อยู่อย่างร้อนรน หรือ
    - อยู่อย่างเยือกเย็น
    - อยู่อย่างจริตมายา หรือ
    - อยู่อย่างยกตนให้พ้นจากหล่มเลน )
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๖. ขณะหนึ่งภาวนา
    เพลา ๐๔.๓๑ นาฬิกา
    ขณะที่องค์หลวงปู่นั่งภาวนาที่เก้าอี้นั่งข้างๆ เตียงนอน
    องค์ท่านปรารภขึ้นว่า “ไม่ได้ ไม่ได้ มันยังไม่แหลมไม่คมพอ (ก็จะ) ยังแทงให้ทะลุไม่ได้
    สูเจ้าถือความโง่มาเท่าใดกันเล่า จะดื้อมาเอาแต่ใจตน (เช่นนี้)
    มันยากนักที่จะได้เรื่องได้ความ มันเหมือนโลหะทั้งหลาย จะใช้ประโยชน์ต้องเอามาดัดมาแปง ให้เป็นมีด เป็นพร้า เป็นขอ เล็กที่สุด เอามาเป็นเข็ม เอามาเป็นเส้นใยห้อยคอ คิดอ่านพิจารณาพ่องก๋า...
    สักพักหนึ่ง
    องค์ท่านรู้สึกตัว จึงเปิดไฟฉายส่งไปมารอบๆ กุฏิ เห็นอัตตโนนั่งอยู่ “นั่น ตุ๊ต๋นนั้นก็ภาวนาอยู่นั่น เอ้า...ภาวนาไปเทอะ
    จิตใจไผ๋มัน”
    จากนั้นองค์ท่านก็นั่งภาวนาต่อไปจนได้อรุณวันใหม่
    อัตตโนทบทวนธรรมจำจดเอาไว้
    เพื่อให้เป็นคติหนึ่ง ขณะหนึ่งนั่งภาวนา
    ๒ กันยายน ๒๕๕๑

    ๑๗. ผิว่าจะรักจงรักให้เป็น
    วันนี้มีหญิงสาวนางหนึ่ง ดูๆ ก็เกือบจะเป็นบ้าเป็นหลังไปแล้วก็เรื่องอะไรกันเล่า เธออกหักจากชายหนุ่มเพื่อนร่วมชั้นเรียน เป็นเอามากเพราะเท่าที่สอบถามและเทียบเคียง แต่ก่อนรักกันมาก ลมหายใจเป็นกันและกัน
    หลายวันมานี้ หนุ่มคนรักไปมีสาวรุ่นน้อง
    ฟูมฟาย พร่ำเพ้อ มาขอให้พระช่วย เพื่อนหญิงอีกคนพามาหา
    “น้องหล้า...ตั้งสติให้ดีนะ พระอาจารย์จะถาม เคยมีสักครั้งไหมที่มีความตั้งใจว่าจะไปซื้อของ แต่ฝนตกหนัก ก็เลยไม่ได้ออกไป ?”
    “มีบ่อยคะ” เธอตอบ
    “แล้วเป็นทุกข์มากไหมกับการมิได้ออกไปเช่นนั้น”
    “ไม่เท่าไหร่ค่ะ”
    “เพราะอะไร ?”
    “เพราะของนั้นไม่จำเป็นเท่าไหร่ มีก็ดีไม่มีก็ได้”
    “นั่นก็แสดงว่า น้องหล้า...ไม่เคร่งเครียดเกินไป และไม่จริงจังอะไรเกินไป จึงผ่อนคลายได้ ถูกหรือไม่ ?”
    “น่าจะใช่ค่ะ” เธอตอบพร้อมยิ้มๆ
    “ในเรื่องความรัก ก็เช่นกันต่อกันมา พระอาจารย์ก็เคยตั้งใจเอาไว้ว่า จะตั้งใจรักใครสักคน โดยมีเงื่อนไขว่าจะรักเขา ถ้าหากเขารักเราด้วยถ้าเขาไม่รักเราแล้วก็แล้วไป ถือแต่ว่าเคยรู้จักกัน เคยเป็นเพื่อนสนิทกันมาจะไม่ดึงดัน จะไม่เห็นแก่ตัว แต่นึกในความต้องการของผู้อื่นเสมอๆ”
    เมื่อเราพูด – เธอก็ยิ้มพิจารณาตาม – แล้วเธอก็ยิ้ม – ยิ้มพร้อมกับก้มกราบ แล้วอัตตโนก็กล่าวต่อไปอีกว่า “ความรักเป็นสิ่งดี หากแต่ให้เป็นความรักและชีวิตที่รู้จักยืดหยุ่นและผ่อนคลายได้ ไม่สร้างทุกข์ ไม่สร้างความเดือดร้อน แม้จะมีรักอีกต่อไปก็ตาม”
    เราก็หยุดให้เธอได้คิดตาม – สักพักหนึ่ง จึงสรุปว่า “ไม่มีความรักเสียเลยก็จะว้าเหว่เกินไป รักอย่างเสน่หาราคะก็ผูกพันแน่นหนาเกินไป รักกันฉันมิตรภาพดีที่สุด หากจะรักใครๆ ก็ให้รักอย่างเมตตากรุณาไว้ก่อน”
    เท่านั้นเธอก็กราบลา ยิ้มอิ่มสุข นั่นอาจจะเป็นเพราะสุขชั่วจิตหรือสุขชั่วระยะปรับจิต หรือจะสุขเพราะรู้จักผ่อนคลายก็มิอาจทราบได้


    ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๘. ความตายตามติด
    “มึงท้องใหญ่ได้กี่เดือนแล้ว ?”
    “๘ เดือนกว่าใกล้กำหนดตลอดแล้วค่ะ” เธอตอบพร้อมสัญญาณไม้มือนับนิ้วให้ดู
    “เออ...นั่น มึงระวังให้ดีนะ เดินเหินไปมา หกล้มตูมลงไปล่ะมึงเหยทั้งแม่ทั้งลูก ท้องสาวเก้า ท้องผู้เฒ่าสิบ (ท้องสาวเก้าเดือน –ท้องผู้เฒ่าสิบเดือนคลอด)
    หมอเผิ้ง หมอตาล แม่มาน ควาญช้าง หมอทอย ลอยน้ำ พวกนี้ความตายตามติดไปตลอด น้ำมนต์ท้องใหญ่นี้มึงอย่าเพิ่งกินนะ เอาไว้มันเจ็บยึบยับในท้องแล้วมึงค่อยเอามากิน ลูกจะได้ออกสบาย แต่ก็กรรมนั้นหล่ะอี่เห้ย...กรรมของมึงกรรมของไอ้น้อยในท้องมึงนั่นหล่ะ จะออกมาง่ายหรือไม่ง่าย อันนี้หรือแฟนมึง...”
    หลวงปู่ปรารภในขณะทำน้ำมนต์ และถามหญิงนางท้องมาน
    ชายหนุ่มพนมมือพยักหน้ารับคำ
    “แต่ก่อนโบราณนะ เขาไม่หาไม้ฟืนไม้ก๋ำ เขาต้องเลือกเอา
    ไม้จิก ฮ้อนหลัง
    ไม้ฮัง ฮ้อนหน้า
    ไม้หว้า ฮ้อนคีง
    ไม้หูลิง ออกตุ่ม
    ไม้กุ่ม เลือดข้อน
    ไม้หามป้อมคอมส้ม จังเอาได้
    อาบน้ำฮ้อนใบเป้า เป่ากินน้ำฮ้อนแก่นแดง นอนแคงขางไฟ บ่ายข้าวแก่มเก๋อ เบ๋อหน้าศรีชุ่มชื่น
    มื้อผู้ข้าฯ เกิดแม่ออกอยู่ไฟ ๑๙ คืน นอนด้งกินน้ำแช่สอหินพ่อออกฝนกาบหอยกาบฝานว่านไฟฮองตัดสายแฮ
    แต่สูเจ้าทุกวันนี้ ไปหาหมอ หมอเขาจัดการให้หมด อยู่ไฟก็ไม่ได้อยู่ คลอดแล้วกินยาฉีดยา นั่นหล่ะ ผู้หญิงจึงมักเป็นโรคท้องโรคไส้การอยู่การกินกะมิได้ขะลำก๋ำกิน ไม่ได้ระวังอยู่ระวังกินเหมือนแต่ก่อนระวังนะมึงอย่ายกของหนัก อย่าก้มอย่าเงยไว”
    “ค่ะ สาวแม่มานท้องแรกรับคำ หนุ่มผู้จะได้เป็นพ่อคน ถามอัตตโนว่า
    “ครูบา ครับ ทำไมหลวงปู่รู้ว่า ลูกผมในท้องเมียเป็นผู้ชายละครับ”
    “อือ แค่นี้ของเล็กน้อยสำหรับหลวงปู่”
    “หลวงปู่ว่าอย่างนี้ไม่เป็นอะไรนะครับ”
    “ไม่เป็น หลวงปู่มักเตือนแม่มานทุกคนนั้นแหละ กลัวจะหกล้ม ท้องแตกให้ระวัง เดือนไหนจะคลอดล่ะ ?”
    “อีก ๑๐ วัน ครบนัดหมอ”
    “อือ เจริญครรภ์เด้อ...โยม จะได้เป็นพ่อเป็นแม่คนแล้วนะ อย่าเอาแต่หยอกกันอย่างโบราณเพิ่นว่า...แม่มานเท่าเอาะ โห๋เงาะเท่าตาย นะ”
    “ครับ” ผู้ชายรับปาก แม่สาวหน้าแดง แล้วก้มกราบยิ้มอิ่มกลับไป
    ครั้นคล้อยหลัง ๗ วัน ทราบว่าคลอดออกอย่างง่ายดายเป็นผู้ชายน้ำหนัก ๒.๘ กิโลกรัม แม่ปลอดภัย
    “เกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย เป็นของสัตว์โลกแท้ๆ ไม่หลาบไม่จำหรอกสัตว์โลกหมู่นี้”
    องค์หลวงปู่ปรารภสำทับท้ายในวันนั้น
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๙. นามของคนเงาของไม้
    วันนี้มีโยมนำมัดไม้มงคล ๙ ชนิด ๙ มัด (๘๑ ชิ้น) มาถวายองค์หลวงปู่เพื่อจะใช้ในงานที่จะสมโภชพระอุโบสถ
    “ขอถวายไม้มงคลแด่หลวงปู่ เพื่อตอกหลุมลุกนิมิต” โยมเขียนกระดานกราบเรียน
    “นึกว่า เอามาทำฟืน” หลวงปู่ว่า...โยมได้หัวเราะ แล้วปรารภต่อว่า “จะอะไรอีกมันเป็นเรื่องของพราหมณ์ โหราจารย์
    ตำราเขาว่า ไม้สัก – ไม้อินทา
    ไม้ทองหลาง – ไม้เมขลา
    ไม้ราชพฤกษ์ – ไม้เจ้าแผ่นดิน
    ไม้ชัยพฤกษ์ – ไม้จักรพรรดิ์
    ไผ่สีสุก – ไม้ฤาษี
    ไม้ยูง – ไม้รุกขะ
    ทรงบาดาล – ไม้นาค
    ไม้หมากมี้ – ไม้ธรณี
    ไม้หว้า – ไม้มนุษย์
    ไม้มันปลา – ไม้คงคา
    ตำราของพราหมณ์โบราณเขาบอกไว้ ผู้ข้าฯ ไม่ค่อยจำว่าไม้แต่ละไม้นั้นมีนิมิตอย่างใด ว่าแต่ว่าเป็นไม้มงคล ก็สมมติกันไปตามโลก โลกหาของนอก ธรรมะหันเข้าหาภายใน
    กายสะอาด
    วาจาว่ากล่าวสะอาด
    ใจสะอาด
    ชีวิตไม่เป็นบาป
    นี้ต่างหากที่เป็นมงคล
    เอ้า...! รับพรเหียเด้อ จะปันพรให้...”
    เมื่อโยมคณะนี้กลับไปแล้ว องค์หลวงปู่บัญชาให้พระเวรกลางวันเรียกหาอัตตโนว่า “ให้ต๋าแจ๋วเก็บไป สุดแท้แต่จะทำ ตำราพราหมณ์เอาไปเป็นอาหารของไฟก็ลุกไหม้ได้...”
    อัตตโนจึงเก็บเอาไว้ พร้อมดูใบบอกฝอยตำราพราหมณ์ ดังนี้
    ไม้มงคล เป็นไม้ที่ใช้ประกอบพิธีต่างๆ เช่นการสร้างบ้าน สร้างศาลพระภูมิรวมไปถึงราชพิธีต่างๆ เช่น สร้างศาล โบสถ์ ฝังลูกนิมิต ประกอบไปด้วยไม้ต่างๆ จำนวน ๙ ชนิด ดังนี้
    ๑. ไม้สักทอง ความหมาย มีศักดิ์ศรี มีเงินทอง ศักดิ์สิทธิ์ อานุภาพยิ่งยง
    ๒. ไม้ทองหลาง ความหมาย ความเป็นสง่าราศี ความมีบารมี เงินทองอุดมสมบูรณ์ เป็นใหญ่เป็นโต
    ๓. ไม้ราชพฤกษ์ ความหมาย มีความอยู่เย็นเป็นสุขทั่วราชอาณาจักร ดอกสีเหลือง มีโชคได้วาสนา
    ๔. ไม้ชัยพฤกษ์ ความหมาย มีความอยู่เย็นเป็นสุขทั่วราชอาณาจักร ดอกสีชมพู มีคนนับถือลือดี
    ๕. ไม้สีสุก ความหมาย จะมีความอยู่เย็นเป็นสุข มีความสุขสงบ สุขหนุนเนื่อง เงินทองท่วมท้น
    ๖. ไม้ขนุน ความหมาย เวลาที่เกิดอะไรขึ้น จะล้ม จะเอียง ก็จะคอยหนุนไว้ไม่ให้ล้ม ไม่ให้เอียง หนุนโชคหนุนชัย หนุนยศถาเงินทอง ทรัพย์สินเนืองนอง
    ๗. ไม้พยุง ความหมาย ความสูงส่ง ให้มีศักดิ์ศรีค้ำจุน พยุงฐานะให้มั่นคง
    ๘. ไม้ทรงบาดาล ความหมาย ให้มีความสงบ ความสุข ร่มเย็น เป็นสุข เหมือนทรงยศ ทรงบาดาล บันดาลให้เกิดอานุภาพ ไม่มีสิ่งใดแผ้วพาน
    ๙. ไม้กลั่นเกลา ความหมาย ให้คนในบ้านเป็นคนดี หรือกลั่นเกลา ทำให้เกิดแต่สิ่งดีๆ กลั่นเกลาทำแต่สิ่งดี สุขสงบ ปกป้อง
    ความหมายทั้งหมดนี้เชื่อถือกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม (โหราศาสตร์ไทยดั้งเดิม นำมาประกอบพิธีจะเป็นศิริมงคลดังที่กล่าวมา จะเกิดแต่สิ่งที่ดีงามแก่บ้านท่าน จะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข เวลาจะมีเคราะห์ร้ายก็จะคอยปัดเป่าให้หายไป จะคอยค้ำจุนไม่ให้เสียหาย)
    วิธีใช้ นำไม้มงคลมาปักลงในหลุมก่อนที่จะตอกเสาลงไป แต่โดยรวมแล้วจะให้เชื่อตามก็ไม่ทันหมด จะให้ไม่ทั้งหมด ก็เป็นคติเก่าของคนโบร่ำโบราณท่านถือกันมา
    องค์หลวงปู่ว่าทับลงตอนท้ายว่า “ไม้เด่อป่อง ไม้ซุมดีที่สุด เอามากองซุมไว้แล้ว เอาใครขึ้นยองไว้ หมดเสี้ยงเป็นดินไปหมด”
    ญาติโยมคณะนี้ไม่เข้าใจ “หลวงปู่ว่าอะไรนะครับ ?”
    “ดูจะเป็นไม้มงคลอีกอย่างนะคุณโยม”
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 7
    ๒๐. จิบชา ชมโคลง
     ม หามหรรฆค่า มหาปุญฺ โญเฮย
    หา ทุกข์ ธ หาทุน ธรรมโพธิง
    ปุญ ญะ ธ อบอุ่น ท้นธรรม์มิ่ง
    โญ ภิยโยยิ่ง ยิ่งมรรคผล พู้นนฤพาน ฯ
     หลวง หลายหลวงปุญ ท่านหลวง
    ปู่ คือ ปู่ ไป่หลวง ท่านเร้น
    จาม เป็นชื่อจริงเล่น เป็นธรรม
    เจ้า จามเจ้าเฉกเช่น เป็นเช่น นั้นเอง ฯ

     หนึ่ง ธรรมคือเกิดแก่ เจ็บตาย
    นับ หนึ่งบ่เว้นวาย ได้ธรรม
    ศต ธ ได้สืบวัย เวรกรรม
    วรรษ สาวัตรวัดซ้ำ ย้ำเตือน บอกนา ฯ

     หนึ่ง ร้อยปีแต่ เกิดเนา นานมา
    ร้อย ธรรมสืบเท่า สังขาร
    ปี(๒๔) ห้าสามเข้า เดือนวาร หกแฮม
    จอ สุวานขี่ ขึ้นเค้น ธรรมะเอย ฯ
     หนึ่ง นั้นหนึ่งนี้ หนึ่งไหน
    ร้อย ปีร้อยใจ หนึ่งธรรม
    ปี นี้ปีไหน ปีธรรม
    จาม เจ้าผู้มาก มีบุญ ท่านเอย ฯ
    โคลงคร่าวบ้านนอก ๒ บทหลังนี้ อัตตโนนึกฟุ้งนึกเพ้อเอาตอนที่นั่งจิบน้ำชาเวลาบ่ายโมงเศษ อรรถรสไม่เอี่ยม เนื้อไม่ลออ ตกหล่นขาดหายไปตามประสากระสาผู้อยู่ไม่สุข ปากกาดินสอกระดาษมีวางเกลื่อนไม่เว้นแม้แต่ในห้องน้ำ ซ่านออกมาเมื่อใดเป็นต้องคว้ามาเขียน ฟุ้งขึ้นคราวใดก็นึกให้เป็นหลักเป็นเกณฑ์
    จิบชา ชื่นชมโคลงคร่าว
    นับว่า ได้คราวเติมสุข
    เพริศแพร้ว ไยดีครูตน
    ผู้บรรลุ ช่วยเหลือจุนเจือ
    ผู้ข้นแค้น อยู่รั้งดำรง
    ............ .............................
    ผู้บรรลุ ย่อมไม่ยึดถือกับสิ่งใดอันใด
    จึงได้แต่รู้เรียนให้ลื่นไหล แตกฉาน
    จึงว่าการปล่อยวางต้องเริ่มต้นแต่แบเบาะและก่อนหน้านั้นอีกมากอักโข
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๑. อะไรที่รักษายาก
    “สิ่งทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ อะไรที่รักษายากที่สุด?
    ตอบได้ว่า สิ่งนั้นคือใจ”
    (สามเณรเกียดติสัก ลูสมบูน สะหวันเขต)
    จากข้อเขียนของสามเณรจาก สป.ปล. เป็นข้อเขียนที่เธอเขียนจากการได้ยินได้ฟังจากเสียงเทศน์ธรรมขององค์หลวงปู่ แล้วเขียนต่อไปอีกวรรคหนึ่งว่า
    “สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
    Of all pains is froadily.”
    และเมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา ยามสองเฉียดยามสามองค์หลวงปู่นั่งอยู่ที่เตียงนอนพูดขึ้นว่า “โลกนี้มันมืด สัตว์โลกมันมืดเมาในการเกิดในการได้ชีวิต เช่นนี้บาปก็เกิดได้มาก ทุกข์จึงมาก เพราะอะไร ? ก็เพราะไม่รักษาจิต ของตนนั่นหล่ะ”
    จากนั้นองค์หลวงปู่ก็เรียกหา พร้อมเปิดไฟฉายส่องกวาดไปรอบกุฏิ
    “แจ๋ว...เห็นเทวดา ๑๖ ตนมานั่งอยู่นี่ไหม
    เขามาขอให้ตอบปัญหาให้ บอกให้เขาไปไหว้พระธาตุเจดีย์
    โต๋ (เธอ) เห็นด้วยไหม ?”
    อัตตโนลุกจากที่นอน เข้าไปใกล้ๆ แล้วโบกมือปฏิเสธ ชี้เข้าหาตา – หลับตา
    “โอ...ตุ๊กหนุ่มต๋นนี้นอนขี้เซาแท้ๆ เน๊าะ”
    “ครับกระผม” ตอบพร้อมพยักหน้า – องค์ท่านหัวเราะ

    ๒๒. เรานักบวชด้วยกัน
    “ตั้งใจเน้อลูกหลาน หมู่เพื่อนด้วยกัน
    ตั้งใจเราเป็นนักบวช รักษาศีลให้สะอาด
    รู้จักการบำเพ็ญ ให้ละให้เว้นสิ่งความชั่วใดๆ ในตน
    กว่าจะรู้จักตัวตน หน้าที่ในเบื้องต้นให้รักษาเจ้าของ จนกว่าต่อไปจะเดินดำเนิน (ปฏิปทา) ได้ถูกต้อง ผมผู้บวชก่อน ทำมาก่อน ภาวนาก่อนก็ยังมีแจ้งมีมืด บางวันภาวนาดี บางวันก็ไม่ดี บางวันก็ไม่สงบได้ปัญญา บางวันก็ได้แต่พอได้ทำหน้าที่ของตนนักบวชเท่านั้น
    เมื่อใดได้วิปัสสนาญาณ เมื่อนั้นหล่ะใกล้พระโสดาบัน
    อย่าว่าบวชแล้วจะไม่ได้ไปนรกนะ ทำชั่วนิดเดียวเท่านั้น ตูมเลย(ตกนรก)
    ตั้งใจเจริญภาวนา เมื่อสงบแล้วก็เป็นเบื้องตน
    เมื่อสว่างได้ก็พอรู้หนทางต่อไป
    นี่เราด้วยกันยังเป็นปุถุชนอยู่มันไม่เที่ยงนะ
    ผมก็ยังไม่เที่ยงนะ เราเป็นนักบวชด้วยกันพากันตั้งใจ อย่าไปวุ่นไปวนอะไรนักนะกับโลกเขาเป็น
    ขอให้ตั้งใจ บำเพ็ญของตนไป จิตเรานี้นั้นขึ้นลงตลอดเวลาดีชั่ว สุขทุกข์ ยินดียินร้ายสาละวนอยู่ทั้งวันคืน เป็นโลกโลกีย์ – เป็นโลกโลกีย์ โลกียฌาน โลกียปัญญา โลกียกุศล โลกียมรรค
    นี่ผู้ยังไม่แก่ (บารมียังไม่แก่กล้า)
    หมู่ท่านผู้แก่แล้วเป็นธรรมะไปนิพพานกันหมด
    เหลือแต่ผมยังอยู่ นี่ก็ตั้งใจบำเพ็ญอยู่นะ ตั้งใจให้ดีเน้อ...”

    ๗ สิงหาคม ๒๕๕๑
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๓. พอเพียง
    วันนี้วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๑
    มีโยมคนหนึ่งมาแต่ตัวจังหวัดมาถวายสังฆทานยารักษาโรค และในชุดสังฆทานยานั้นมีเอกสารแผ่นพับ “เนื่องในพระราชดำรัส พอเพียง” ซึ่งมีเนื้อความดังนี้
    “...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
    ถ้าทุกประเทศมีความคิดนี้ อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรก็ต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...”
    พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา วันเสาร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ เพื่อทรงเตือนทุกคน ให้รู้จักคำว่า พอ คือ พอมี พอกิน มีกิน มีอยู่ไม่หรูหรา หรืออาจหรูหราก็ได้แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น เพราะถ้ารู้จักพอก็คงไม่โลภ
    สำหรับคำว่า พอเพียง หรือพอในความต้องการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าไม่ได้หมายถึงความไม่ก้าวหน้าแต่เป็นการก้าวหน้าอย่างพอประมาณ และสามารถที่จะอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ คณะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ ที่ประจำการในต่างประเทศซึ่งเข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันพุธที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๔
    “...การอยู่พอมีพอกินนั้น ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีความก้าวหน้า มักจะมีความก้าวหน้าแต่พอประมาณ ถ้าก้าวหน้าเร็วเกินไป วิ่งขึ้นเขายังไม่ทันถึงยอดเขา หัวใจวายแล้วก็หล่นจากเขา ถ้าบุคคลหล่นจากเขาก็ไม่เป็นไรช่างหัวเขา แต่ถ้าวันเดียวนั้นขึ้นไปวิ่งขึ้นบนภูเขาแล้วหล่นลงมา หล่นมาบางทีมาทับคนอื่น ทำให้คนอื่นต้องหล่นไปด้วย อันนี้ก็เดือดร้อน...”
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่า นอกจากในเรื่องของการพอมีพอกินแล้ว ในเรื่องของความคิดก็จะต้องพอเพียงด้วย โดยได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา วันเสาร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ดังนี้
    “...ความคิดก็เหมือนกัน ถ้าคนมีความคิดอย่างหนึ่ง แล้วต้องการให้คนอื่นคิดอย่างตัว ซึ่งอาจจะไม่ถูก อันนี้ไม่พอเพียง การพอเพียงในความคิดก็คือ แสดงความคิดเห็นของตัว แล้วปล่อยให้อีกคนพูดบ้าง แล้วมาพิจารณาว่าเรื่องที่เขาพูด แล้วเรื่องที่เราพูด อันไหนเข้าเรื่อง อันไหนไม่เข้าเรื่อง อันไหนไม่เข้าเรื่องก็แก้ไข เพราะถ้าพูดโดยไม่รู้เรื่อง ก็เป็นการทะเลาะกัน...”
    นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าพอเพียง ไม่ได้หมายถึงการมีพอใช้สำหรับตัวเองเท่านั้น แต่หมายถึงเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ผลผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตัวเอง แล้วถ้าทำอะไรก็พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข เพราะไม่เบียดเบียนกัน
    เนื่องในพระราชดำรัส
    ใต้ร่มเงาแห่งบวรพุทธศาสน์ ให้ชนชาติเมืองไทยได้สุขี
    ใต้ร่มฉัตรเดชะพระบารมี ให้ฤดีชาวไทยได้ชุ่มเย็น
    เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ ส่องประทีปนำวิถีหนีขุกเข็ญ
    มัตตัญญุตาความพอดีที่ควรเน้น บริโภคเป็นทางสายกลางมัชฌิมา.
    เศรษฐกิจ หมายถึง งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆ ของชุมชน ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องของชุมชนหรือส่วนรวม เมื่อพูดอย่างเข้าใจง่ายๆ เศรษฐกิจก็เป็นเรื่องปากท้องหรือการบริโภคใช้สอย การบริโภคสิ่งเกิดประโยชน์ก็เพิ่มคุณภาพชีวิตอย่างยิ่งยวดในขณะที่การบริโภคสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ก็จะทำให้เกิดโทษมหันต์เช่นเดียวกัน
    ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องรู้จักประมาณหรือมีความพอดีในการบริโภค โบราณท่านกล่าวเตือนว่า “ตามใจปากก็ลำบากแก่ท้อง” หมายถึงว่า ให้เราระมัดระวังเรื่องปากท้อง ไม่ควรตามใจปากมากเกินไป ไม่งั้นจะประสบทุกข์ได้
    เมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ ก็อดที่จะพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ เพราะสำหรับประชาชนชาวไทยแล้ว “เศรษฐกิจพอเพียง” คำนี้ทำให้เรานึกถึงเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นปรัชญาเศรษฐกิจที่เป็นเครื่องกำหนดแนวทางเศรษฐกิจได้อย่างสมดุลเพื่อให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้น ผมใคร่ขอนำแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมากล่าวไว้ ณ ตรงนี้ ดังนี้
    “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระดับภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”
    จากแนวพระราชดำรินี้ หากเราพสกนิกรชาวไทย ได้ดำเนินตามแนวพระราชดำริของพระองค์ ก็จะแก้วิกฤตเศรษฐกิจได้ และสามารถพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้อย่างสถาพรอย่างไม่ต้องสงสัย และการดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็ต้องเริ่มตั้งแต่หน่วยสังคมระดับครอบครัว ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญของสังคมอื่นๆ ถือว่าเป็นสังคมเริ่มต้นที่จะก่อให้เกิดสังคมอื่นๆ ขึ้นอีกต่อไป ถ้าหากว่าสังคมระดับครอบครัวใส่ใจปฏิบัติตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว โดยพึ่งพาตนเองได้พอเพียงและพอดีกับความต้องการก็จะเป็นกำลังสำคัญยิ่งในการต่อต้านและแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของตนเอง ขยายวงกว้างไปถึงระดับชุมชนและจนถึงระดับชาติเลยทีเดียว
    เพื่อให้เห็นความสอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจดังกล่าวกับแนวความคิดเรื่องเศรษฐกิจในพระพุทธศาสนา ก็จะนำเสนอมุมมองหรือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ซึ่งก็ได้เน้นทางสายกลาง คือ ความพอดีเป็นพื้นฐาน
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้แสดงลักษณะสำคัญของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธได้อย่างน่าสนใจมาก โดยท่านได้แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ การบริโภคเพื่อได้คุณภาพชีวิตและการไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น โดยทั้ง ๒ ลักษณะ มีรายละเอียดดังนี้
    ๑. การบริโภคเพื่อได้คุณภาพชีวิต
    เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ มีลักษณะเป็นทางสายกลาง หรือเศรษฐศาสตร์มัชฌิมาปฏิปทา เพราะว่าระบบชีวิตพุทธศาสนา ที่เรียกว่า มรรคนั้นก็มีชื่ออยู่แล้วว่า มัชฌิมปฏิปทา องค์ของมรรคแต่ละข้อเป็นสัมมา เช่น สัมมาอาชีวะ การที่เป็นสัมมานั้น ก็คือ โดยถูกต้อง โดยถูกต้องก็คือ ทำให้เกิดความพอดี ดังนั้น ความเป็นมัชฌิมา หรือทางสายกลางนั้น ก็คือ ความพอดีนั่นเอง
    จากที่กล่าวมานั้น เราพอจะกล่าวได้ว่า
    - ความพอดี คือ จุดที่คุณภาพชีวิตกับความพึงพอใจมาบรรจบกัน
    - การบริโภคในทางเศรษฐศาสตร์ทั่วไป หมายถึง การใช้สินค้าและการบริการบำบัดความต้องการ ซึ่งทำให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด แต่ในทางพุทธศาสตร์ การบริโภค คือ การใช้สินค้าและบริการบำบัดความต้องการ ซึ่งทำให้ได้รับความพึงพอใจโดยมีคุณภาพชีวิตเกิดขึ้น
    - การได้คุณภาพชีวิต ย่อมเป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ต่อไป ทำให้ชีวิตมีความดีงามยิ่งขึ้น
    - ตัวกำหนดเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คือ มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในการบริโภค
    ๒. การบริโภคโดยไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    พฤติกรรมในทางเศรษฐกิจของมนุษย์จะต้องเป็นไปในทางที่ไม่เบียดเบียนตน คือ ไม่ทำให้เสียคุณภาพชีวิตตนเอง แต่ให้เป็นไปในทางที่พัฒนาคุณภาพชีวิต เสริมคุณภาพชีวิตนั้น ที่เป็นการไม่เบียดเบียนตนเอง และไม่เบียดเบียนผู้อื่น คือ ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม และไม่ทำให้เสียคุณภาพของ ecosystems หรือระบบธรรมชาติแวดล้อม
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ในแง่ของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องของชุมชนส่วนรวม จึงน่าจะแยกประเด็นทางความคิดออกเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้
    - การรู้จักพึ่งพาตนเอง อันจะก่อให้เกิดความเข้มแข็ง และความมั่นคงโดยการพึ่งตนเองนั้นจะต้องทำให้ตนเอง ให้ประกอบความเข้มแข็งด้วยกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ และกำลังสติปัญญา ตามหลักพระพุทธภาษิตที่ว่า
    อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ โก หิ นาโถ ปะโร สิยา
    อัตตะนา หิ สุทันเตนะ นาถัง ละภะติ ทุลละภัง
    แปลถอดเป็นบทกลอน ดังนี้ว่า
    เราพึ่งเราเท่านั้น หวังได้ คนอื่นใดไหนเล่า ให้พึ่ง
    ฝึกตนไว้ดีเยี่ยม ไตร่ตรองเนืองนิตย์
    ถือเป็นกัลยาณมิตร ได้ที่พึ่ง แสนงาม
    การเป็นที่พึ่งของตนเองได้นั้น จะทำให้เราไม่เป็นภาระของคนอื่นในขณะเดียวกันก็เป็นพลังเสริม ผลักดันให้สังคมดำรงอยู่และก้าวไปอย่างมั่นคงได้อีกด้วย ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตเรามีปฏิบัติสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และแน่นอน คนที่พึ่งตนเองไม่ได้ สิ่งที่เขาทำได้ดีที่สุดก็คือ เป็นภาระของคนอื่น ทำให้คนอื่นเดือดร้อนแค่นั้นเอง
    - การรู้จักพอเพียง พอประมาณ จะก่อให้เกิดความสมดุลแบบยั่งยืนซึ่งจะทำให้สังคมขับเคลื่อนไปอย่างเหมาะสม

    - การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จะก่อให้เกิดความสามัคคีสมานกลมกลืนกันในสังคม เห็นอกเห็นใจกัน เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อกัน ซึ่งจะไม่เป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมไปอย่างมีระบบและมีเป้าหมาย
    ดังนั้น เมื่อดำเนินตามหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธและแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็จักเป็นการช่วยแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจร่วมกันได้เป็นอย่างดี อย่างน้อยที่สุดก็พยายามพึ่งพาตนเอง ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยศักยภาพของตัวเอง ไม่ให้เป็นภาระให้คนอื่นเดือดร้อน และยิ่งไปกว่านั้นก็อย่าพึงประมาทกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วอย่างเช่นทุกวันนี้เพราะอะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงได้ เกิดขึ้นได้เสมอ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย” และยังตรัสไว้อีกว่า “ความรู้จักประมาณก่อให้เกิดผลดีทุกเมื่อ”
    ความพอดีเป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจ มีเพียงนิดหรือมากไปไม่สร้างสรรค์
    กินเพื่ออยู่รู้คุณค่าแห่งชีวัน อยู่เพื่อสรรค์สร้างสุขเกื้อเพื่อสังคม
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 8
    ๒๔. ไม้ซกงก
    “ไม้ซกงก หกพันง้า
    กะปอมก่าแล้นฮื้นมื้อละห้อย กะปอมน้อยแล้นฮื้นมื้อละพัน
    โต๋มาบ่ทันแล้นฮึ้นนำทุกมื้อ”
    ใจยากหยุ้ง ควายหลายโต๋จั้งจ่อง
    โต๋หนึ่งข้องง้าคอง
    โต๋สองข้องง้าขาม
    โต๋สามข้องง้ามี้
    โต๋สี่ข้องง้าหว้า
    โต๋ห้าข้องง้าบก
    โต๋หกข้องง้าแต้ ไผ๋สิมาซ้อยแก้ควายข้อยจั่งสิไป
    จิตเดิมแท้เป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวอับหมองเพราะอุปกิเลสเป็นผู้จะมาปกคลุมห่อหุ้ม เหมือนขี้เมฆปิดบังพระอาทิตย์
    กิเลสทั้งหลายมิใช่ของจริง เป็นของปลอม
    ตา – หู – จมูก – ปากลิ้น – กาย – ใจ หากไม่มีกิเลสเข้าเจือเข้าแทรกก็จะเป็นอยู่อย่างนั้น เป็นอายตนะในอยู่เช่นนั้น
    รูปแสงสี – เสียง – กลิ่น – รส – ถูกต้อง – นึกคำนึง หากไม่มีกิเลสเจือแทรกก็จะเป็นอยู่เช่นนั้น เป็นอายตนะนอก – เป็นของนอกอยู่เช่นนั้นไม่ก่อทุกข์ก่อโทษอันใดได้หรอก
    แต่หากเมื่อใดมีกิเลสตัณหามาเจือมาแทรกมาเชื่อมต่อแล้วก็เป็นฟืนเป็นไฟลุกลามไปใหญ่โตมากนัก
    อายตนะนอกในนี้มีอยู่ ๖ ก็เป็น ๑๒ ในระหว่างเชื่อมต่อกันอีก ๖ ก็เป็น ๑๘ อายตนะ ๑๘ อาการ นี้เป็นของเก่ามีมาประจำโลกคือมีมากประจำผู้เกิดมา ใครเกิดมาไม่บอดไม่หนวกไม่วิการก็จะต้องมีอยู่มีไว้มีมาแต่ก่อนพุทธะอีก
    ทีนี้ในคนผู้ไม่รู้จักแล้วเกิดมาก็มามัวเมา
    ตาได้ดูรูปแสงสีก็เมา
    หูได้ยินเสียงก็เมา
    จมูกได้กลิ่นก็เมา
    ปากลิ้นได้รสก็เมา
    กายได้ถูกต้องสัมผัสก็เมา
    ใจได้นึกคิดคำนึงก็เมา
    เมาแล้วหลง – หลงแล้วมืด มืดแล้วหามาเติมใส่ เมามืดเมาหลงใหล จึงว่าเป็นโง่โมห์เมามืดหลงในของเก่า เห็นของเก่าว่าดีน่าตื่นเต้นยินดีน่าเร้าอกเร้าใจ ดังนี้ก็ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้นสุดได้
    - ตาก็ตั้งหน้าตั้งตาดูไป ดูเท่าไหร่ก็ดูไปเถอะ
    ดูได้ก็แต่ยินดีและยินร้ายเท่านั้นเอง
    หากพอใจก็ยินดียินได้ไหลหลง
    หากไม่พอใจก็บ่นว่า ไม่เอาไม่ชอบ ส่งไปหารูปแสงสี ส่งออกไปนอก ดิ้นรนหาแต่อันที่พอใจชอบใจสุขใจดูแล้วก็อยากดูอีก
    - เสียงก็ฟังไปเถ๊อะ เสียงมนุษย์ผู้หญิง/ เสียงมนุษย์ผู้ชาย/ เสียงสัตว์เดรัจฉาน เสียงยินดีเสียงยินร้าย ฟังไปเทอะก็หมายเอาแต่อาการพอใจยินดี และไม่พอใจไม่ยินดีเท่านั้น
    ฟังได้ก็ไม่รู้จักอิ่มหรอก ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น ไม่มีที่เก็บฟังแล้วก็อยากฟังอีก
    - เรื่องรสชาติ อาหารการอยู่กิน ขบฉันลิ้มรสลิ้มลอง ก็เอาเทอะกินแต่น้อยคุ้มใหญ่ก็ไหลหลงมัวเมาไปอย่างนั้นแหละ รสไม่อร่อยไม่ถูกใจไม่ถูกกิเลสก็บ่นก็ว่า เสาะสรรหาแต่รสอันถูกปากถูกลิ้นมากินมาดื่ม
    หากรวมลงได้ที่ใจ ก็จบลงได้
    จะรวมลงได้ก็เพราะที่ใจ ก็เพราะใจ ที่สุดคือใจ
    ที่สุดโลกคือตัวใจนี้เอง
    อะไรก็ตามถ้าเรามาเข้ามามันจบมันสิ้น/ หากแตกออกไปมันไม่จบไม่สิ้นเสาะหาทุกข์เสาะหาสุขอยู่เสมอไป
    โลกไม่มีที่สิ้นที่สุด
    ธรรมะมีที่สิ้นสุด มีจุดจบ เพราะมีที่ลง คือมีใจเป็นที่ลง – ลงที่ใจนี้แห่งเดียว
    เราปฏิบัติก็ เพื่อให้รู้ให้รวมลงที่กายใจนี้
    เพื่อให้รู้ใจของตน ว่าเป็นส่วนโลกว่าเป็นส่วนธรรมะ
    ว่าเป็นแต่อายตนะ/ ว่าเป็นแต่โลก
    เมื่อรู้นอกรู้ในก็เป็นกลาง คือใจนี้เป็นกลางต่อสิ่งทั้งปวงหมด บุญบาปก็ตามแต่เรื่อง ดีชั่วก็ตามแต่เรื่อง ตัวของตัวเป็นกลางก็เปลื้องโทษทุกข์ใดๆ ได้ ขอให้ทำตนให้เป็นกลางอยู่เสมอๆ คือ รักก็เอาไว้อย่างหนึ่ง ชังก็เอาไว้อย่างหนึ่ง ดีก็เอาไว้อย่างหนึ่ง ชั่วก็เอาไว้อย่างหนึ่ง โกรธเกลียดก็เอาไว้อย่างหนึ่ง ไม่โกรธก็เอาไว้อย่างหนึ่ง
    โลกก็ตั้งไว้ตามโลก/ ธรรมะก็ตั้งไว้ตามธรรมะ
    อย่าให้เป็นข้าศึกแก่กัน – ใจเป็นกลาง
    ใจเป็นตัวเจตนากรรม คือ ระวังก็ใจ ผู้ระวังก็ใจ ก็มาระวังในกาย วาจา ใจ นี้เองหล่ะ
    ก็สรุปตกลงว่า ตัวเราระวังตัวเอง/ ตัวเองสำรวมตนเอง
    - กลิ่นก็เหมือนกันปรุงแต่งเข้า ให้หอมหวนชวนดอมดม ประทาฉาบไล้ชโลมเข้า กายนี้มันบูดมันเน่า เอากลิ่นมากลบมาฝัง น้ำหอมต่างๆ แป้งฝุ่นแป้งหอมเครื่องดับกลิ่นชนิดต่างๆ
    แม้อาหารการอยู่กินก็มีทั้งกลิ่นมีทั้งรส
    - การสัมผัสถูกต้อง แตะต้องทางกายก็เช่นกันหล่ะ ชอบใจก็หลงก็เมาไม่ชอบใจก็ไม่เอา
    - ธรรมารมณ์ความนึกคำนึงก็เช่นกันหล่ะ มันส่งไปตามอาการเมาหลงของ ตา – หู – จมูก – ปากลิ้น – กาย, ส่งไปตาม รูปแสงสี – เสียง – กลิ่น – รส – สัมผัสใดๆ

    ความคิดคำนึงนี่เป็นเรื่องของใจเป็นอารมณ์ของใจมีกิเลสตัณหาอุปาทาน
    ออกไปดำริแต่ใจ เมาออกไปแต่ใจกิเลสหลงออกไปแต่ใจมีกิเลส
    มีผู้เข้ารำพึงแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ โลกนี้กว้างขวางนัก
    โลกนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
    ที่สิ้นสุดจุดปลายของโลกไม่มี”
    “พรามหมณ์...! เราตถาคตตรัสว่า มี”
    “มีอย่างใดมีที่ไหน ?”
    “มีที่กายยาววา หนาคืบ กว้างศอกกำมือ” นี้เอง
    “อันนี้ที่สิ้นที่สุดมีอยู่ตรงนี้” พราหมณ์เฒ่าชี้เข้าหารูปตัวกายตนเอง
    “ใช่แล้ว มหาพราหมณ์มีอยู่ที่นี่เอง”
    เมื่อรักก็ออกไปแต่ใจ/ เมื่อชังก็ออกไปแต่ใจ/ เมื่อหลงก็ออกไปแต่ใจ/ ยินดียินร้ายล้วนแล้วแต่ออกไปแต่ใจจากใจนี้
    ใจที่ส่งออกไปหาอายตนะผัสสะต่างๆ นั้นหาที่สิ้นสุดมิได้
    ใจแตกกระจายจึงเป็นโลก
    ตนระวังตนเอง/ ตนรักษาตนเอง เพราะ กายก็ตัว วาจาก็ตัว ใจก็ตัว
    อายตนะใน ตา หู จมูก ปากลิ้น กายใจ ก็เป็นอาการของตัว
    อายตนะนอก รูปแสงสี – เสียง – กลิ่น – รส – ผัสสะ นึกคิดคำนึง ก็ไปแต่ใจออกไปพัวพันติดยึด ด้วยอำนาจของอวิชชาความไม่รู้จักตัว
    ด้วยอำนาจของความโง่เขลาครอบงำ อายตนะใดๆ จึงเป็นข้าศึกแก่ตัว
    ชอบใจ ปรารถนา อยากได้ อยากมี ยินดีชอบใจเกินเหตุ เกินประมาณก็ให้ได้ทุกขโทมนัส ปฏิฆะคับแค้นแน่นใจ เศร้าโศก ทุกข์ใจเสียใจ
    หาไม่ก็ไม่ชอบ เกลียดหน่าย นี้ก็เป็นทุกข์เป็นยากอัดอั้นตันใจ
    ดังนั้นจึงให้รู้ว่าอะไรแท้ อะไรปลอม
    อะไรเป็นกะปอมก่า/ อะไรเป็นกะปอมน้อย
    ใจยินดี – ใจหลงเป็นของปลอม
    จึงให้มีสติควบคุมจิตของตน
    เราปฏิบัติเพื่อที่จะอบรมกาย วาจา ใจของตน
    ก็ให้ทำให้รักษาที่กาย วาจา ใจ ของตนให้มีเรียบร้อยดีงาม ให้สงบให้รู้เรื่องของตน กิริยาใจมันคิดมันไปอย่างใดก็ให้สงบก็ให้รู้เรื่องของตน กำจัดกิเลสมิให้ฟุ้งมิให้เฟ้อ ให้สงบลงในที่ใจที่เป็นกลาง
    กิเลสของปลอม ให้ระวังให้ดี
    เพราะ ตัวใหญ่วิ่งขึ้นวันละร้อย
    ตัวน้อยวิ่งขึ้นวันละพัน
    ตัวที่มาไม่ทันก็วิ่งขึ้นทุกวัน
    หมายความว่ามันแทรกซึมอยู่ในตัวของเรา ในจิตของเราตลอด
    ไม่ว่าใครๆ พระก็ตาม เณรก็ตาม ชีก็ดี คฤหัสถ์ฆราวาสก็ดี มีอยู่ในใจ แทรกอยู่ในใจ เป็นของที่เราสั่งสมมานานแต่อเนกชาติ ต้องใส่ใจถึงจะชัยชนะให้สะอาดได้ ต้องระวัง ระวังอยู่ทุกขณะ ระวังอยู่ทุกเวลา
    ข้อความข้อใคร่ครวญนี้
    อัตตโนบันทึกขึ้นภายหลังจากได้ฟังภาษิตของ องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จาก ผอบวาจาขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เมื่อขณะจัดจังหันถวายอยู่ศาลาหอฉัน องค์ท่านปรารภว่า
    “ ไม้ซกงก หกพันง้า
    กะปอมก่า แล้นฮึ้นมื้อละฮ้อย
    กะปอมน้อย แล้นฮึ้นมื้อละพัน
    โต๋มาบ่ทัน แล้นฮึ้นนำคู้มื้อๆ”
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๕. ติดอยู่กับดีและชั่ว
    “เราทั้งหลายเป็นญาติของพระองค์ เป็นเปรต เสวยทุกขเวทนาในยมโลก มิได้บริโภคอันนะปานาหาร มีความลำบากยากยิ่ง มีกายและจิตเดือดร้อนได้ทุกข์อยู่เป็นนิจนิรันดรกาล”
    “ดูก่อน มหาบพิตร เมื่อวันวานได้ทรงบำเพ็ญทาน พระองค์มิได้อุทิศแผ่ผลไปในเปรตทั้งปวง เปรตทั้งปวงมีความปรารถนาเป็นอันมากจึงมาร้องขอด้วยทุกขเวทนาการ”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคแล้วจะถวายทานได้อีกหรือไม่”
    “สุดแต่พระกมลประสงค์เถิด”
    “เมื่อเหตุการณ์เป็นดังนี้แล้วจึงได้อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมหมู่สงฆ์ รับภัตตาหาร รับไทยธรรมในวันต่อไปนับแต่พรุ่งนี้เถิด”
    อันนี้เปรต ๘๔,๐๐๐ ตัว ผู้เคยเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารตกระกำลำบากมาแล้ว ๖ พุทธันดร ๖ พระพุทธะมาตรัสในโลกจนลุมาถึงพระพุทธโคตมะจึงได้หลุดพ้นวิบากกรรมของตน
    อะไรพาให้เป็นเปรต
    ๑. ไม่ให้ทาน
    ๒. ฉ้อโกงของสงฆ์ ขี้โลภอยากได้ ปาปิจฉตา
    ๓. กินก่อนทาน มานก่อนแต่ง
    ๔. เห็นบาปว่าเป็นมิตรเป็นสหาย

    เสวยทุกขเวทนาขนาดไหน ตกนรก พ้นมาเป็นเปรต ร่อนเร่ไปมาอยู่ตลอด ๖ พุทธันดร ข้าวน้ำไม่เคยตกถึงท้อง เสื้อผ้าไม่ได้นุ่งได้ห่ม อยู่อย่างเป็นทุกข์เป็นลำบากมาตลอด
    ซึ่งต่างกันพระสีวลีเถระ
    ท่านบำเพ็ญบารมีมา ก่อนจะกิน ก่อนจะใช้ ท่านต้องแบ่งให้ทานก่อน ได้ข้าวได้น้ำได้ผ้าได้อะไรๆ มาแล้วก็ต้องแบ่งให้ทาน มากมาก็ให้ทานมาก ได้มาน้อยก็ให้น้อย
    ดังนี้ท่านจึงได้รวย
    แม้ท่านนิพพานมาแล้ว ก็ยังเลี้ยงลูกศิษย์ได้
    ภิกษุพวก ๓๐ ไม่เคยให้ทาน กินมุบกินมิบ ซ่อนอยู่ซ่อนกิน ไม่สนใจการให้ การสละแต่อันใดเช่นใด
    จนชีวิตได้มาบวชในสำนักของพระสีวลี เพราะหวังลาภหวังรวย แต่ก็ไม่รวย เที่ยวบิณฑบาตไม่เคยได้
    จึงได้ไปเอาพระธาตุอัฐิของพระสีวลีติดตัวไปมาด้วย
    แต่นั้นมาก็รวยใหญ่ จึงได้ระลึกในโทษของตนว่า ตระหนี่ถี่เหนียวไม่เคยให้ทานใดๆ
    คนให้ทานยากก็ไม่รวย
    คนได้สำเร็จยาก ก็เพราะคนมันเอาไม่จริง ไม่ทำจริงมัวแต่เฝ้าสงสัย มันไม่ชัดในอกในใจตน เมาแต่คิดคาดคิดคะเนมันใช้ความคิดความเห็นมาปฏิบัติ
    คิดอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ว่ากันไปอย่างนี้ ก็ทำไป
    คือไม่ใช้ปัญญามาปฏิบัติมาทำความดี
    กุสลาธัมมา เป็นชื่อของปัญญา
    เป็นชื่อของการประพฤติสุจริต - กายสุจริต
    - วจีสุจริต
    - มโนสุจริต
    เป็นชื่อของการประพฤติประกอบจิตในทางดีทางชอบ
    ให้ฉลาดมีอุบายในการทำความดีให้เกิดให้มีให้บริสุทธิ์
    คนที่ใจไม่อยู่กับตัวนั้น ทำชั่วได้ง่าย พวกชั่วๆ ทั้งปวงก็ไหลเข้ามาได้ง่าย ทำอันตรายแก่ดวงใจของตนได้
    แต่ในท่านผู้มีกิเลสน้อยนั้นท่านมิหิริมีโอตตัปปะมีความละอายใจที่จะทำชั่ว เกรงกลัวในผลของบาปกรรมทุกข์โทษใดๆ
    เหนื่อยหน่ายต่อการรับผลของความชั่วใดๆ อยู่ เสมอจิตเสมอใจ
    เห็นว่าตนเป็นผู้บกพร่องอยู่ประการใดๆ แล้ว
    ก็รีบซ่อมแซม บำรุง เยียวยาความสมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้นมาในตนของตน หมั่นขยันในความดี ละชั่ว ทำดวงใจให้ปราศจากความสกปรกโสมมใดๆ
    นางอุพพรี เกิดเป็นไก่ผู้เมีย ได้ยินพระเณรสาธยายมนต์ มีจิตรักชอบยินดีด้วย พระท่านเทศน์ก็ตั้งใจฟัง ผลอานิสงส์นั้นพาให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ตายจากไก่ผู้เมีย ขึ้นไปโอปปาติกรอยู่บนสวรรค์
    เมื่อได้อยู่สวรรค์ก็มัวเมาเพลิดเพลินหลงใหล อยู่นานเข้าถึงวาระที่จะได้ลงมาเกิด ก็ลงมาเกิดเป็นนางสุกร พลัดหลงออกจากคอก เป็นหมูน้อย ไม่มีเจ้าของ พระพุทธเจ้าออกบิณฑบาตโปรดผู้คนชาวเมืองในตอนเช้า ลูกหมูวิ่งตาม ไปไหนก็ไปด้วย
    จนที่สุดเขาเอาเข้าไปวัดเชตะวัน
    ให้กินอาหารอย่างอื่นไม่กิน กินแต่อาจม เที่ยวเสาะหากินของเน่า
    พระพุทธเจ้าตรัสเทศนายกอุทธาหรณ์ขึ้นมาว่า “อุพพรี เมื่อเธอเป็นสาวงามนครโสเภณี เป็นสาวงามล่มบ้านล่มเมือง เธอไม่ยินดีในการเสียสละให้ทาน ต้องการแต่การปรนเปรอในสุขกิเลสตัณหาของผู้อื่น ติเตียนลูกศิษย์เราอนาคตว่า ขี้เกียจขี้คร้าน เที่ยวบิณฑบาต โกนผมห่มเหลือง ทรงเพศกดภูมิของตน ชายเยี่ยงนี้ หญิงเยี่ยงนี้ก็ควรที่จะได้รับแต่ของบูดของเน่าของเดนเท่านั้น
    เหตุนี้เองหล่ะ เธอตายจากชีวิตนั้น มาเป็นไก่
    ตายจากแม่ไก่ ได้ไปสวรรค์
    จุติจากสวรรค์ มาเป็นนางสุกรเที่ยวกินมูตรกินคูถอยู่นี้นี่ชีวิตของบาปกรรมเป็นเช่นนี้
    เธอควรละนิสัยชั่วนั้นเสีย
    นางสุกรหมูสาวตั้งใจฟัง กลับจิตกลับใจยินดีพอใจต่อการทำบุญให้ทานของผู้คนแต่นั้นมาก็ไม่กินของเศษของเดนของเหลือ
    กินอาหารวันละหน วันพระตั้งใจรักษาศีล
    ตายจากนั้นไปเกิดบนสวรรค์ แก้ไขตัวเอง จนที่สุดได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เพราะละกามวิตกได้ ละพยายาบาทวิตกได้ ละอัสมิมานะได้
    มนุษย์และหมู่สัตว์ รวมถึงเราท่านทั้งหลายด้วยแล้วนี้ เป็นแต่ว่าให้กรรมชัดไปชัดมาเท่านั้น ดีก็ติดดี ชั่วก็ติดชั่ว เกิดทุกข์เกิดยาก – เกิดมั่งมีศรีสุข
    ขอให้ทุกๆ ท่านได้โปรดรักษาข้อปลีกย่อยขององค์ประกอบของการมีชีวิตของตนให้ดี อย่าให้รั่วอย่าให้ซึม
    หากเป็นชั่วก็เป็นชั่วตลอดไป ยากกว่าการแก้ไข
    หากเป็นดีมีสุขก็ดีเหลือดี ดีจนติดอกติดใจ ไม่ใช่ดีที่พอดีพองามพอถูกพอธรรม
    คิดพิจารณาด้วยดีนะ
    ตนของตนเท่านั้น คนเดียวคนนี้เท่านี้ รักษาไว้ให้ได้
    จะรักษาตนไว้ได้ ต้องฝึกหัดในสมาธิภาวนาด้วย
    การทำสมาธิภาวนาเป็นการงานที่ไม่มีโทษ เป็นนิรามิสสุข เป็นสุขแท้มิใช่สุขอย่างเทียม เป็นสุขอันประณีตกว่า ปลอดภัย จิตใจประณีตดีงาม
    กรรมฐานที่ตั้งของจิต/ การงานทางจิต คือ ทำจิตให้สงบ อย่าง – ๑–
    ทำจิตให้มีปัญญาอย่าง – ๑ –
    รู้รอบว่องไว กีดกั้นบาปได้
    ภาวนา คือ อบรมจิตให้เจริญด้วยคุณธรรมต่างๆ
    หากจิตมีปัญญา จิตได้รับการอบรมแล้ว ๑. สงบมั่นคง สมาหิตํ
    ๒. บริสุทธิ์ ผ่องใส บริสุทฺธึ
    ๓. ควรแก่การงาน กมฺมนิยํ
    เอาล่ะจากนี้ให้ใส่ใจในการเจริญภาวนาของตน
    ลมหายใจ เป็นวัตถุที่ตั้งของจิต
    สติ คือ นึกถึงคำภาวนา – พุท’ หายใจเข้า
    – โธ’ หายใจออก
    ให้จิตอยู่กับลมอยู่กับคำภาวนา หายใจให้สบาย
    ทำจิตให้สบาย อย่าวอกแวก
    สติอยู่กับลม – สติอยู่กับกาย
    เมื่อจิตตั้งอยู่ได้จึงเป็นกรรมฐาน คือใจสงบ กายสงบ ธาตุสงบ ลมสงบ
    อย่าให้ลืม/ อย่าให้เผลอ/ อย่าปล่อยในสัญญาอารมณ์
    รู้ให้ชัด รักษาไว้ให้คงที่ อย่าวอกแวก อย่าหวั่นไหว
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๖. ขี้ฝุ่นขี้ผงมักเข้าตา
    ให้เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอนะ
    นี่ออกพรรษาแล้ว
    เวลาว่างมีมาก
    ให้ตั้งอกตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน เอาการปฏิบัติเป็นเครื่องอยู่เป็นเครื่องพาให้อยู่ - ศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านให้ได้รู้ได้ฉลาดได้ความเข้าใจอันตรงกับจริตนิสสัยของตนแล้ว ก็ตั้งหน้าปฏิบัติสืบไป นี่ถือไว้ให้คาบคู่กันไป ทุกรูปทุกองค์ ทั้งฝ่ายพระเณรคุณแม่คุณชี
    ได้พรรษาผ่านพ้นพรรษาไปแล้ว ก็อย่ามัวเมาแต่นับอายุพรรษา พรรษาอายุการบวชอย่าไปแบกเอาไว้ให้หนัก
    จะบวชมาเท่าใดก็ตาม ๙ พรรษา ๑๐ พรรษา มากน้อยเท่าใดก็ตาม ถ้าไม่รู้จักปริยัติ ไม่มีปริยัติไม่มีปฏิบัติด้วยแล้ว ก็ชื่อว่ายังไม่รู้
    เมื่อไม่รู้นี้หล่ะ มันจึงยาก
    เหตุที่ยาก – ยากเพราะมันโง่ - โง่เพราะมันเขลา
    - เขลาเพราะมันเอาแต่ใจตัวเอง เราบวชเป็นพระ เป็นวร (วะระ) บุคคล
    แปลว่า เป็นผู้ดีเลิศ, เป็นผู้ดีมีมารยาทอันงาม
    เป็นผู้ประเสริฐ, เป็นผู้งามพร้อม
    นี่ ความหมายในเชิงคุณภาพ – เป็นคุณภาพเชิงความดี, เป็นคุณภาพเชิงความงาม
    แต่แล้วปริมาณความเป็นพระเป็นเณรเป็นชีเป็นขาวนั้นมีอยู่เท่าใด ? กันเล่า
    เราเป็นพระเป็นสงฆ์ เป็นสามเณร เป็นชีชินะผู้ชนะชั่วใดๆ แล้วนี้ เราไม่ใช่ลูกชาวบ้านเน้อ
    เราเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ต้องให้เห็นกิเลส เห็นความชั่วร้ายในตนของตนให้ได้ ให้เหมาะให้ควรแก่การเอาข้าวโภชนาอาหารของชาวบ้านศรัทธาชาวกรอกท้องกรอกไส้สืบชีวิต ศีลของตนสะอาดบริสุทธิ์หรือไม่ ข้อวัตรข้อปฏิบัติใดๆ เป็นพระหรือไม่
    บวชแค่ ๓ เดือน ๔ เดือน ยังไม่ทันเข้าใจอะไรหรอก หากไม่มีปริยัติ ไม่มีปฏิบัตินี้ ๓ เดือน มันน้อยมาก ๓ - ๔ เดือนมันน้อยเกินไป ปริยัติเป็นแผนที่ ปฏิบัติเป็นการเดินทาง
    อย่าว่าแต่เวลาเท่านี้เลย ๑๐ ปี ๒๐ ปี มากกว่านี้ก็เอาเถิด ถ้าไม่ศึกษา หรือศึกษาอยู่แต่ไม่ทำ ไม่เคลื่อนไหวในธรรมะในวินัยสงฆ์แล้วมันตื้อมันตันมันอวดมันอ้าง
    โหย... กูได้บวช
    โหย... กูบวชได้พรรษาแล้ว
    โหย... กูพ้นมุตตกะนิสัยแล้ว
    โหย... กูเถระ เถโร แล้ว
    โหย... กูเป็นครูบาแล้ว นี่ประเภทนี้ มันเป็นช้างอวดงา
    มันเป็นหมาอวดเขี้ยว
    มันชูงวงชูงาเข้าสู้ธรรมวินัยของเราตถาคต นี่ระวังให้ดี ระวังให้ดี ไม่ระวังมันจะอยู่ไม่ได้
    ของเล็กของน้อย อาบัติตัวเบาตัวน้อย มันฉาบทาหนาแน่นมันเข้าตาเข้าตัวได้ง่าย
    ต้องให้รู้จักว่าพระพุทธเจ้าพระองค์สอนให้ทำอะไรบ้าง
    สอนปริยัติก็สอนที่ตัวของเราคนเดียวคนนี้
    สอนปฏิบัติก็สอนที่ตัวของเราคนเดียวคนนี้
    สอนศีลวินัยก็สอนที่ตัวของเราคนเดียวคนนี้
    สอนอภิธรรมก็สอนที่ตัวของเราคนเดียวคนนี้
    สอนมาตลอด ๒๕๕๑ + ๔๕ + ๔ อสงไขยแสนมหากัปป์มากก็นั้นก็สอนลงที่ตัวของเรานี้ กายวาจาใจของเรานี้
    นี่เป็นหลักเป็นเกณฑ์เป็นฐานในเบื้องต้นของพระพุทธเจ้า
    ความเป็นอยู่ – ความเป็นไปของเราในวันหนึ่งๆ (นี้เองหล่ะ มิใช่เรื่องอันใดไกลอื่น แต่คนเรามันชอบไกลจากธรรมะ มันชอบไกลจากวินัย มันชอบไกลจากวัดวาศาสนา)
    ชีวิตประจำวันของเรา - เราทำอะไรบ้าง
    - เราได้อะไรบ้าง ได้ดีมีสุขหรือไม่
    ได้ปลื้มได้ธรรมะหรือยัง
    หรือได้อะไรตามใจฉันชอบ
    อยู่ที่นี่มันเหนื่อยมันนานแล้ว นั่นก็ว่าเบื่อว่าเซ็ง ใจมันเบื่อ ใจมันเซ็ง ใจนี้มันก็เลยดิ้นเร่าๆ ร้อนรุ่มกลุ้มใจนักแล้ว หาความอิ่มใจอุ่นใจในใจที่เร่าร้อนได้ยากไม่อิ่มไม่อุ่นในใจตน ก็หาความพอใจมิได้ เมื่อหาความพอใจมิได้ ก็หาเครื่องอยู่มิได้ ใจไม่มีเครื่องอยู่ก็อยู่ยาก เมื่ออยู่ยากก็ไม่ปลื้มไม่ปีติไม่ซึ้งไม่ลึกในใจตน สุดท้ายก็เลยไม่รู้จักตนไม่รู้จักว่าวันหนึ่ง – วันหนึ่ง ตนมีอะไรบ้าง ตนทำอะไรบ้าง บวชไป อยู่ไป ทำไป ไม่รู้เรื่องของตนเอง ว่าเอ... เรามาอยู่ตรงนี้ทำอะไร เพื่ออะไร ได้อะไร
    เรามาศึกษามาบวชมาเรียนมาอ่านมาศึกษาตนเอง ชั้นต้นนี้ให้สำนึกว่ามาบวชเพื่อให้รู้เรื่องของตนเอง
    - ให้รู้แต่เรื่องตื้นๆ นี้ก่อน
    - รู้แต่ตื่นขึ้นมา – ลุกขึ้นมาทำกิจทำข้อวัตรมีกิจวัตร มีข้อวัตรให้ตนทำ ให้ตนได้ปฏิบัติ
    ตี ๓ ตื่นลุกขึ้นล้างหน้าล้างตายังกายให้กระปรี้กระเปร่า ไหว้พระสวดมนต์เดินจงกรม ภาวนา จัดศาลาหอฉัน รักษาผ้าครอง มีสติ จนกว่าจะได้เวลาออกบิณฑบาต
    นี่ตี ๓ ตื่นได้ไหม ลุกหรือยัง ลุกตื่นเป็นเวลา ของตื้นๆ ง่ายๆ แต่นี้ทำได้หรือไม่
    ออกบิณฑบาต เที่ยงไปรอบหมู่บ้าน เขามีศรัทธาปสาทะเขาก็ทิ้งปั้นข้าวให้ได้ปั้นข้าวตกลงบาตรแล้วพิจารณาอะไร – อาหาเรปฏิกูลสัญญา หายไปไหนอินทรีย์สังวรในขณะเที่ยวขออาหารบิณฑบาตนั้นมีอยู่หรือไม่
    กลับเข้าวัด – ตังขณิกปัจจเวกขณะ
    – ธาตุปัจจเวกขณะ
    – พิจารณาปฏิกูลของอาหารที่กลืนกินเข้าไป ทุกขณะให้จิตให้ใจได้ธรรมสังเวชได้ความสลดใจที่ธรรมะอยู่ร่ำไปตลอดไป
    ขณะนั่งฉันอย่าไปบ่นอย่าไปว่าอะไรพึมๆ พำๆ อย่าไปคุยกัน มีสติพิจารณาอันนั้นอร่อย อันนี้อร่อย นั่นเผ็ด นี่เค็ม นั่นหวาน นี่เปรี้ยว อันนั้นแซบบ่ อันนี้แซบหลาย ตะโกนโหวกเหวก บ่นเป็นหมีกินผึ้งกินมิ้ม
    การขบฉันอยู่อย่าลืมเสขิยวัตร ข้อวัตรในขณะฉัน
    ข้อศีลในขณะฉันมีอยู่
    การขบฉันให้รู้จักประมาณ
    ฉันอิ่มแล้ว เก็บงำภาชนะบริขาร ก็ให้รู้จักข้อวัตร เอาบริขารกลับกุฏิดูแลความเรียบร้อยที่ศาลาฉัน อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์
    เมื่อแล้วเสร็จแล้ว ก็กลับกุฏิ ไหว้พระสวดมนต์เจริญเมตตาใช้หนี้ข้าวหนี้น้ำ มิใช่ห่วงแต่จะเอาคอไปหนีบเข้ากับหมอน
    มิใช่ห่วงแต่จะได้ทำการทำงานอื่นๆ
    จากนั้นดูแลเสนาสนะ ปัดกวาดไล่มดไล่ปลวก ช่วยกันดูหน่อยหลายตาหลายมือ ต่างก็ช่วยกัน ภาระก็ผ่อนเบาลงมาก
    นี่ปลวกมันขึ้นก็เฉย ไม่รู้ร้อน ไม่รู้หนาว ไม่สนใจไม่ใช่บ้านข้า ไม่ใช่เรือนข้า ไม่ใช่สมบัติของข้า ธุระไม่ใช่ หน้าที่ไม่ใช่ นี่มันเป็นอย่างนี้มันคิดอย่างนี้
    เมื่อดูแลกุฏิวิหารเสนาสนะอันที่ตนใช้แล้วก็ให้ศึกษาธรรมวินัยให้เข้าใจธุดงควัตร ๑๓ ข้อ แต่ละข้อจะปฏิบัติได้อย่างไร, ขันธวัตร ๑๔ ข้อแต่ละข้อต้องทำอย่างไร, กิจวัตร ๑๐ ข้อ ต้องทำอย่างไรตอนไหน
    เรียนรู้ เล่าเรียนเขียนอ่าน แล้วค่อยนำไปทำ นำไปปฏิบัติ
    เป็นพระต้องมีหลักมีฐาน เป็นพระต้องมีกรรมฐาน
    เป็นชาวบ้านต้องมีวัตรปฏิบัติเช่นกัน
    ทุกอันทุกอย่างศึกษาให้เข้าใจ ทำให้ถูก อย่าให้ผิด ถ้ามันผิดแล้วมันติดขัดไปหมด ประเดี๋ยวเครื่องยนต์มันติดขัดแล้วมันจะรวน พอเครื่องยนต์มันรวนแล้วผ้าเหลืองก็ร้อน ผ้าขาวก็ร้อน
    ร้อนแล้วมันอยู่ยาก
    ทำอะไรให้ถูกไว้ก่อน แม้จะผิดจะพลาดก็ให้น้อยที่สุด
    จะออกไปเที่ยววิเวกวิวุ่นอยู่ป่าอยู่เขา ซักจีวรซักสบงตากทิ้งไว้ตากผ้าทิ้ง กุฏิไม่เก็บไม่งำ ที่นั่งที่นอน บนกุฏิใต้ถุนอิเหละเขละขละเลอะเทอะเหลวไหลกันไปเสียหมด
    ทำไมไม่พิจารณาให้ดีก่อนไป เสนาสนะของใคร กุฏิของใคร ห้องน้ำของใคร เราเข้ามาบวชมาใช้แล้วก็เอะอะตามใจไปหมด มันหนักนักหรือไอ้ความขี้คร้านนั่นนะ
    บางรูปคล้องกุญแจ ปิดเอาไว้ นั่นขี้เหนียวหวงแหนอาลัยไม่เข้าท่าหนีไปแล้วข้ามคืน อย่าแสดงความเป็นเจ้าของ อย่าหวงอย่าอาลัย
    เจ้าศรัทธาญาติโยมเขาถวายเอาไว้ในสงฆ์ ๔ ทิศที่จะมาในขณะที่เราไม่อยู่แล้วปิดเอาไว้ พระเณรมาแต่ที่อื่นจะมาพักมาอาศัยแล้วจะทำอย่างไรนี่ก็ไม่คิดไม่อ่านอีกแล้ว หากจะพูดไปปลีกย่อยเล็กน้อยมันยังใช้การไม่ได้ จึงว่าอย่าประมาทอย่าเอาพรรษามานับอย่าเอานิสสัยมาเป็นมุตตกะมุตตโก เรา – ท่านต่างก็เป็นผู้มาใหม่ในธรรมวินัย
    พระอัชสชิเถระเจ้า ได้สำเร็จเป็นพระอรหันตเจ้าแล้ว ยังกล่าวว่า “อาตมาภาพยังเป็นผู้มาใหม่ในธรรมวินัย ยังว่ากล่าวธรรมะอันลึกซึ้งมิได้ยังเทศน์ธรรมไม่ดีนัก”
    “คำว่า ผู้มาใหม่ในธรรมวินัย” นี้ ก็เพื่อตักเตือนพวกเรานี้หล่ะอย่าได้ประมาท อย่าได้เมาอายุการบวช
    พิจารณาตนของตนให้ดี ให้โอกาสพิจารณาตนเอง จะอยู่ก็อยู่ให้มีวินัย จะไปก็ไปอย่างมีธรรมะ หากยังไม่มั่นใจว่าจะอยู่ดีหรือจะออกไปดีกว่ากัน ก็ให้มุ่งปฏิบัติต่อไป ทดสอบน้ำใจต่อไปอีกสักระยะ บวชมิใช่ของเล่น
    ชีวิตนักบวชลำบากนัก – ให้เห็นตัวตนของตัวเอง อะไรเป็นจุดยืนตัวในธรรมวินัย เอาธรรมะเป็นแก่นเอาวินัยเป็นแกน
    ทำตามพระพุทธเจ้าดีกว่าอื่นใดทั้งหมด
    พระองค์สอนให้เราเห็นต้นตอของตนเอง – เราเกิดมาพร้อมกับกิเลส กิเลสมันเกิดมาแต่ใจดำริ ต้นตอมันอยู่ตรงนี้ ให้รู้จักตรงนี้ ครั้นรู้จักกิเลสเช่นนี้ก็พอมีช่องทนทางอันจะละได้ ต้องหัดละ ต้องหัดถอน ต้องหัดทิ้ง อย่าให้กิเลสชั่วเป็นนายของใจ ชำระสะสางออกไป
    ให้รู้จักความ ให้เป็นผู้เป็นคนเป็นพระเป็นเณรเป็นชีเป็นขาวขึ้นมาหน่อยก็ยังดี มิใช่ว่าพอๆ เดิม พอๆ เก่า ก่อนบวชยังไง หลังบวชยังไงก็คือเก่าไม่เปลี่ยนจริตนิสสัย ไม่พัฒนาไม่ภาวนา
    ให้รู้จักกิเลสในตนบ้าง – รู้ว่า อันนี้โทสะ โทษ
    อันนี้โมหะ หลงเมา
    อันนี้ ราคะ กำหนดใคร่
    อันนี้ โลภะ อยากได้
    หากคนรู้แต่กิเลสคนอื่น กิเลสตัวไม่ดูไม่พิจารณาไม่รู้จักละไม่รู้จักถอน บางคนรู้จักหน้าตาของกิเลสด้วย รู้จักการละการถอนด้วย
    รู้ว่า อย่างหยาบ ละด้วยศีล ด้วยทาน
    อย่างกลาง ทิ้งได้ด้วยการภาวนา
    อย่างละเอียด ถอนได้ด้วยปัญญา
    แต่ไม่ทำ ไม่ขัดเกลาศีล ไม่รักษาข้อวัตรขันธวัตรธุดงควัตร วัตรปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรใดๆ ไม่เอาไม่ทำไม่สน
    ทั้งหมดแล้วรวมว่า เราต้องเห็นกิเลสของตน ละกิเลสในตน จึงจะบริสุทธิ์ จึงจะดีงามมิใช่นุ่งห่มอย่างนักบวชเฉยๆ
    พระเณรที่สมบูรณ์ต้องถอนกิเลสออกจากใจตน
    กิจของพระเณรต้องมีการชำระตนอยู่ตลอดเวลา


    (ถอดจาก Mp-3 ของพระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    โดย ครอบครัวลูก – ศิษย์มุกดาหาร)
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 9
    ๒๗. ของดีที่มีอยู่
    ขออนุญาตคัดความทั้งหมดจากคอมลัมภ์ของดีมีอยู่ ของ ขรรค์ชัย บุนปาน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๓๑ ตุลาคม – ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๑๔๗๒ ราคา ๔๐ บาท ความดังนี้
    ของดีมีอยู่
    อ่านหนังสือ เขียนหนังสือมาครึ่งค่อนชีวิต ใกล้จะโบกมือลาอยู่ไหวๆ ตัวหนังสือแต่ละตัวประจงกรีดออกไป ก็เหมือนลูกนอกมดลูก เจอะลูกพิการ ความขาดตกหกหล่นก็ไม่สบายใจ
    หรือแก่ตัวเข้า ใจยังเหมือนไฟโหม หมายงานวันนี้จะให้งานเสร็จแต่วาน ทำอะไรไม่มีใครกล้าทักท้วง ทั้งที่เผอเรอเพ้อพลาด วรรณกรรมเร่งรีบแต่ละชิ้นแต่ละวันจึงผันเป็นวรรณเวรอย่างน่าเสียดาย
    ครับ งานเขียนสั้นๆ ชิ้นเดียว เห็นผาดๆ ผิดลวกๆ ถึง ๕ แห่ง
    ของดีมีอยู่ ฉบับที่แล้ว หลายคำ หลายความ ที่ถูกเป็นดังนี้
    รีบป่าวประกาศให้ผู้รักงานศิลปะ ขนานหนึ่ง ไปด้วย
    ขนาดหนึ่งแก้เป็นจำนวนหนึ่ง
    ฐาน พระเมรุอันยิ่งยง ยิ่งใหญ่ จะเหลือใครเดินตาม ?
    เปลี่ยนฐานเป็น งาน ซะ
    ไปดูรายละเอียดด้วยพี่เขา หลากหลาย หลากกวี เพริศพริ้ง
    ความจริงคือ หลากสี
    เป็นต้นเสียงร้องนำ างร้องไห้
    ที่ถูกคือ เป็นต้นเสียงร้องนำ นางร้องไห้
    ฐาน พระบรมศพ สมเด็จพระพันปีหลวง พ.ศ.๒๔๖๓
    เปลี่ยนฐานเป็น งาน จะเป็นพระคุณ
    เหตุที่ต้องแก้ให้ลุโล่งโปร่งใจ อายเหล่านักเขียนหนุ่มสาวรุ่นแรกแย้มเผยอบานในกิจกรรม ยัง ไรเตอร์ แคมป์ เธอนะครับ
    กุมารา กุมารีที่จะเป็นนักเขียนในอนาคต สด สะอาด ฉกาจ ฉกรรจ์ด้วยกันทุกคน
    ยามนี้ เมื่อไม่ค่อยมีสิ่งที่ดีกว่า
    จะปรารถนาแต่สิ่งที่มีอยู่ก็ดูกระไร
    น้องนุ่งลูกหลานของเรา ไม่ควรบาดเจ็บ บอบซ้ำในทุกสถานะอาชีพสุจริตแห่งห้วงยุคสมัยของเขา

    คนรักหนังสือ หมายถึง คนอ่าน คนเขียน เป็นคนกลุ่มน้อยที่สุดในโลก รักอ่าน รักเขียน ก็คิดเป็น ทำเป็นสงบ สว่างเป็นนิตย์ ก็ไม่เพ้อเจ้อฟุ้งซ่าน
    โลกธรรมยังจำเป็นสำหรับความปกติ
    คนกลุ่มน้อยที่น่าเป็นห่วงที่สุดอีกกลุ่มก้อนหนึ่ง คือพระสงฆ์องค์เจ้าที่มั่นคงพระธรรมวินัยในบวรพระพุทธศาสนา
    พระ (ดีๆ) เหลือน้อยลง วัดอารามว่างขึ้น บรรพชาเป็นจารีตสั้นๆ ของชีวิต แต่เป็นความหลอกลวงยาวนานของลัทธิล้มเหลว พระธรรมวินัยกลายเป็นอรรถะโวหารหลอกเอาอามิสมิได้เป็นปฏิบัติบูชาแห่งสมณสารูป
    ถามพระผู้ใหญ่ ๒-๓ องค์ว่า หลวงพ่อห่วงไหมครับ
    ท่านว่า น่าห่วง หากพุทธศาสนิกชนต้องช่วยกันทำ
    ยุให้ ๒ ลัทธิถล่มกันแหลกลาญก่อนดีไหม ?
    ท่านว่า อย่าบ้า เมตตาไม่มีประมาณต้องค้ำจุนโลก ทำไมไม่ทำโครงการพระดีขึ้นมาบ้าง
    เด็กยากจนได้ถือศีลกินเพลเป็นเณร บุรุษสมประกอบมีโอกาสเล่าเรียนเป็นพระ วัดเป็นร่มอารามของความดี ความงาม ความสงบ ความสะอาด ความปราดเปรื่อง เป็นละไอเย็นให้สัตว์ผู้ร่มร้อน เป็นคำตอบของปัจจุบันมิให้เพ้อเจ้อฟุ้งซ่านและทั้งหมดนี้ พระธรรมวินัยแท้ช่วยพระเป็นพระได้จริงๆ
    ระหว่างมะงุมมะงาหราหาวัดประเคนพระ พระหนีวัดพระไม่มีกฐินรับ พระอยากสะบัดผ้าเหลือง ๓ ผืนทิ้ง
    พระเดชพระคุณ ครูบาแจ๋ว พระธมฺมธโร พระผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม เลขาฯ หลวงปู่จาม วัดป่าวิเวก บ้านห้วยทราย คำชะอี มุกดาหาร ก็ส่งโศลกแห่งธรรมของท่านมาสะกดกลางกระหม่อมของผม ความว่า
    “ผู้ใดมีสัจจะ มีธรรมะอันนับได้แล้ว ผู้นั้นชื่อว่า เป็นผู้สะอาด
    ออกวัสสาฤดูกาลทานกฐินย่างกราย
    ประเมินประมาณผลในคุณธรรม ในกาลอันล่วงเลยได้กี่มากกี่น้อย ?
    บุคคลตั้งใจค้นหาทั่วทุกทิศ
    ก็หากแต่ตั้งจิตไว้ผิด จึงทำให้ได้แต่ความเสียหาย
    ผู้รู้ตนย่อมรู้จักหยุด
    ผู้หยุดได้ เป็นผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
    เป็นผู้คงที่ สงบ มีสติอยู่ทุกขณะ
    ไม่เร่าร้อน ไม่ทุกข์โศก”
    สาธุครับ หลวงพี่.
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๘. วิถีแห่งวิจารณ์วิจักษณ์
    ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑
    ในวาระครบรอบวันมรณภาพขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปีที่ ๕๙ (พ.ศ.๒๔๙๒ – พ.ศ.๒๕๕๑) อัตตโนได้รับงานเขียนของดวงเดือน ประดับดาว ที่มีปรากฏในคอลัมภ์ “วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่” จากลูกศิษย์คนหนึ่งที่เธอตัดเก็บมาจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ๑๕ ฉบับ
    จึงได้ขออนุญาตคุณดวงเดือน ประดับดาว เพื่อคัดความและดำเนินวิถีแห่งการวิจารณ์เพื่อเสริมแนวทางในการศึกษาวิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่ วิถีแห่งหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สืบไป ทั้งนี้เพื่อเทิดทูนบูชาและประกาศกิตติคุณแห่งองค์ท่านโดยมิได้มีเงื่อนไขแต่อันใดอย่างใด
    ๑. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่

    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่ง พระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่ง “มุตโตทัย”
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๒๑ ราคา ๑๐ บาท
    ที่น่าสนใจอย่างเป็นพิเศษ ประการ ๑ คือ รากที่มาแห่ง “มุตโตทัย” ประการ ๑ คือ การระบุตำแหน่งแหล่งที่ปฏิบัติธรรมอันเท่ากับ
    “เพิ่นครูอาจารย์มั่นจึงได้แก้ไขตนเองได้หมดจดเป็นธรรมะที่สุดแห่งอริยเจ้า”
    นั่นก็คือ ตำแหน่งแหล่งที่อัน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน วาดพรรณนาไว้ในหนังสือ “ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ”
    มีความตอนหนึ่งว่า
    “ท่านนั่งสมาธิภาวนาอยู่ชายภูเขาที่มีหินพลาญกว้างขวางและเตียนโล่ง อากาศก็ปลอดโปร่งดี ท่านว่าท่านนั่งอยู่ใต้ร่มไม้ซึ่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวเพียงต้นเดียวมีใบดกหนาร่มเย็นดี ซึ่งในตอนกลางวันท่านก็เคยนั่งอาศัยนั่งภาวนาที่นั้นบ้างในบางวัน
    “แต่ผู้เขียนจำชื่อต้นไม้และที่อยู่ไม่ได้ว่า เป็นตำบล อำเภอและชายเขาอะไร
    “เพราะขณะฟังท่านเล่าก็มีแต่ความเพลิดเพลินในธรรมท่านจนลืมคิดเรื่องอื่นๆ ไปเสียหมด หลังจากฟังท่านผ่านไปแล้วก็นำธรรมที่ท่านเล่าให้ฟังไปบริกรรมครุ่นคิดแต่ความอัศจรรย์แห่งธรรมนั้นถ่ายเดียว

    จึงลืมไปเสียสิ้น”
    กระนั้นที่ไม่ควรปล่อยให้ผ่านเลยคือรากที่มาแห่ง “มุตโตทัย” อันมี ๒ สถานะประสานเข้าด้วยกันอย่างเหมาะเจาะ
    สถานะ ๑ คือ คำชมของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันเถร จันทร์)
    สถานะ ๑ คือ จากคำชมของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันเถร จันทร์) ก็กลายมาเป็นหนังสือ “มุตโตทัย” อันลือชื่อของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    คำชมของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ นั้นเกิดขึ้นที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่
    แรกที่เดินทางถึงเชียงใหม่ในปี ๒๔๗๒ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้อาราธนา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเป็นองค์แสดงธรรม
    ความตอนนี้ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ได้กล่าวถึงคำชมของท่านเจ้าคุณค่อนข้างยาว
    โปรดอ่าน

    ท่านมั่นแสดงธรรมไพเราะมากหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก และแสดงธรรมเป็นมุตโตทัย คือแดนแห่งความหลุดพ้นที่ผู้ฟังไม่มีที่น่าเคลือบแคลงสงสัย
    นับว่าท่านแสดงได้อย่างละเอียดลออดีมาก
    แม้แต่เราเองก็ไม่อาจแสดงได้ในลักษณะแปลกๆ และชวนให้ฟังเพลินไปอย่างท่านเลย
    สำนวนโวหารของพระธุดงคกรรมฐานนี้แปลกมาก ฟังแล้วทำให้ได้ข้อคิดและเพลินไปตามไม่มีเวลาอิ่มพอและเบื่อง่ายเลย
    ท่านเทศน์ในสิ่งที่เราเหยียบย่ำไปมาอยู่นี่แล
    คือสิ่งที่เราเคยเห็นเคยได้ยินอยู่เป็นประจำ แต่มิได้สนใจคิดและนำมาทำประโยชน์ เวลาท่านเทศน์ผ่านไปแล้วถึงระลึกได้
    ท่านมั่นท่านเป็นพระกัมมัฏฐานองค์สำคัญที่ใช้สติปัญญาตามทางมรรคที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้จริงๆ ไม่นำมาเหยียบย่ำทำลายให้กลายเป็นโลกๆ เลวๆ ไปเสียดังที่เห็นๆ กัน ท่านเทศน์มีบทหนักบทเบา และเน้นหนักลงเป็นตอนๆ
    พร้อมทั้งคลี่คลายความสลับซับซ้อนแห่งเนื้อธรรมที่ลึกลับซึ่งพระเราไม่อาจแสดงออกมาได้อย่างเปิดเผย และสามารถแยกแยะธรรมนั้นๆ ออกมาชี้แจงให้เราฟังได้อย่างถึงจริงโดยไม่มีปัญหาอะไรเลย

    นับว่าท่านฉลาดแหลมคมมากในเชิงเทศนาวิธีซึ่งหาตัวจับได้ยาก
    อาตมาแม้เป็นอาจารย์ท่านแต่ก็ยกให้ท่านสำหรับอุบายต่างๆ ที่เราไม่สามารถซึ่งมีอยู่เยอะแยะ เฉพาะท่านมั่นสามารถจริงๆ
    อาตมาเองยังเคยถามปัญหาขัดข้องที่ตนไม่สามารถแก้ได้โดยลำพังกับท่าน แต่ท่านยังสามารถแก้ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวด้วยปัญญาเราพลอยได้คติจากท่านไม่มีประมาณ พระอย่างท่านมั่นเป็นพระที่หาได้ยาก
    อาตมาแม้จะเป็นผู้ใหญ่กว่าท่านแต่ก็เคารพเลื่อมใสธรรมของท่านอยู่ภายใน
    ท่านเองก็ยิ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่ออาตมามากจนละอายท่านในบางคราว ท่านพักอยู่ที่นี่พอสมควรก็ออกแสวงหาที่วิเวกต่อไป อาตมาก็จำต้องปล่อยตามอัธยาศัยท่านไม่กล้าขัดใจท่าน
    เพราะจะหาพระแบบท่านมั่นนี้รู้สึกจะหาได้ยากอย่างยิ่ง
    ฐานที่มาแห่งคำชมว่าด้วย “มุตโตทัย” พิสดารและน่าสนใจอยู่แล้ว
    ฐานที่มาแห่งการรวบรวมธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นหนังสือชื่อ “มุตโตทัย” ยิ่งน่าสนใจเป็นทบเท่าทวีคูณ
    เรื่องนี้ต้องย้อนไปยัง พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) อีกคำรบหนึ่ง
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    ตำแหน่งแหล่งสถานสัปปายะที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตนั้น หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ระบุตรงๆ ว่า ป่าช้าบ้านแม่กอย
    ขอให้ย้อนไปอ่านทบทวนก่อน แล้วจึงลากสายตา ผ่านไปที่ข้อความว่า
    “เพิ่นครูอาจารย์มั่น จึงได้แก้ไขตนเองได้หมดจดเป็นธรรมะที่สุดแห่งพระอริยเจ้า” คือ อรหัตตผลนั่นเอง
    ขณะที่พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ไม่ระบุลงไปว่าเป็นที่แห่งใด
    เป็นแต่วาดภาพพรรณนาว่า อยู่ชายภูเขา มีหินพลาญก้อนใหญ่ อากาศก็ปลอดโปร่งดี นั่งอยู่ใต้ร่มไม้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวต้นเดียว ใบดกหนาร่มเย็นดี
    แต่กลับไม่จำชื่อต้นไม้ ไม่จำชื่อสถานที่ ว่าตำบลอำเภอชายเขาอะไร
    เหตุที่ลืมจำเพราะขณะฟังท่านเล่ามีแต่ความเพลิดเพลินในธรรมจนลืมจำ ได้แต่นำธรรมที่ท่านเล่าไปบริกรรมครุ่นคิด...แต่ถ่ายเดียว
    สุดท้ายก็ลืมไปเสียสิ้น
    แต่เรื่องนี้จักวางไว้ก่อน วางไว้อย่างไม่ควรปล่อยปละละเลยไป
    หันมาดูแรกรากที่มาของมุตโตทัย ว่าไว้เช่นใด
    จากคำชมของพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ กลับกลายมาเป็นชื่อหนังสือ
    ชมไว้ ณ ท่ามกลางประชุมชนพระเณรศรัทธาญาติโยมผู้คน ที่วิหารหลวงวัดเจดีย์หลวง
    เป็นคำชมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒
    เป็นคำชมเมื่อแสดงธรรมเรื่อง มูลกรรมฐาน จบลง
    ได้รับคำชมว่า “ท่านอาจารย์มั่นเทศน์ธรรมมุตโตทัย เป็นมุตโตทัยเป็นธรรมที่เป็นแดนเกิดของความพ้นทุกข์”
    อะไรเล่าเป็นแดนเกิดของความหลุดพ้น
    อะไรเล่าเป็นแนวทางที่บังเกิดเป็นหนทางที่จะพ้นไปจากกิเลสาวะ
    ในข้อนี้อดไม่ได้ที่จะไม่ย้อนไปศึกษาจาก มูลกรรมฐาน
    เป็นมูลกรรมฐาน จากหนังสือมุตโตทัย โดยเฉพาะ ข้อ ๓, ข้อ ๔, ข้อ ๕ และข้อ ๖ แล้วจากนั้นจึงจักเข้าใจได้ว่า การฝึกหัดปฏิบัติกายใจ ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์
    อนึ่งกายใจแห่งมนุษย์นี้และเป็นฐานะอันเลิศเป็นที่ตั้งแห่งมรรคผลนิพพาน
    โดยอาศัยสติปัฏฐานเป็นสนามฝึก เอาอุบายแห่งวิปัสสนาเป็นอาวุธเครื่องมือในการถ่ายถอนกิเลส และต้องฝึกหัดตนให้พอเหมาะกับนิสสัย ทั้งนี้ก็เพื่อว่าจะได้เข้าถึงธรรมชาติจิตเดิม คือ อกิริยา เป็นฐีติจิต ฐีติธรรมไม่หวนคืน สัตตาวาสทั้ง ๙ นั้นอีกต่อไป
    รวมความว่า ผู้ที่จะบรรลุวิมุตติธรรมได้นั้น ต้องบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้สมบูรณ์ เพราะไตรสิกขาเป็นมูลฐานแห่ง อาสวักขยญาณโดยแท้ทีเดียว ฉะนั้นจึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ด้วยดังนี้แล
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่ง ธรรมเทศนา
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๒๘ ราคา ๑๐ บาท
    หากผู้ใดมีหนังสือ “ชีวประวัติ ธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร” ซึ่งคณะเจ้าภาพพิมพ์แจกในฌาปนกิจศพ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    อยู่ในมือ
    ก็จะแจ้งไม่เพียงแต่ ชีวประวัติ ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อันเรียบเรียงโดย พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องราวความเป็นมาของพระอาจารย์ฉบับแรกอย่างค่อนข้างเป็นทางการ
    เท่านั้น – หากยังแจ้งในรากที่มาของหนังสือ “มุตโตทัย” อีกด้วย
    แน่นอน คำชี้แจงว่าด้วยเรื่องราวความเป็นมาของหนังสือ “มุตโตทัย” ก็มาจากข้อเขียนของพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) จากเสนาสนะป่าเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น อย่างเป็นด้านหลัก
    เพราะว่ารากความเป็นมาของหนังสือ “มุตโตทัย” สำคัญและสัมพันธ์กับเรื่องราวของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นอย่างมาก
    จึงจำเป็นต้องนำมาบันทึกไว้อย่างกิจจะลักษณะอีกวาระหนึ่ง
    ประการ ๑ เพื่อให้เกียรติแก่ พระอริยคุณาธาร ประการ ๑ เพื่อให้เกียรติแก่ พระวิริยังค์ ประการ ๑ เพื่อให้เกียรติแก่ พระทองคำ ซึ่งทั้ง ๓ ท่านนี้ถือว่ามีบทบาทเป็นอย่างสูงต่อธรรมเทศนาของพระอาจารย์
    โปรดอ่าน
    การที่ใช้ชื่อธรรมเทศนาของท่านอาจารย์ที่รวบรวมพิมพ์ชุดแรกว่า มุตโตทัย นั้นอาศัยคำชมของเจ้าพระคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันทรเถร จันทร์) เมื่อคราวท่านอาจารย์แสดงธรรมว่าด้วย มูลกรรมฐาน ณ วิหารหลวงเชียงใหม่ ว่า
    ท่านอาจารย์แสดงธรรมด้วย มุตโตทัย เป็นมุตโตทัย
    คำนี้ท่านอาจารย์นำมาเป็นปัญหาถามในที่ประชุมพระภิกษุเปรียญหลายรูปซึ่งมีข้าพเจ้าร่วมอยู่ด้วย ในคราวที่ท่านมาพักกับข้าพเจ้าที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    ข้าพเจ้าทราบความหมายของคำนั้นแล้ว แต่เห็นว่าเป็นอสาธารณนัย จึงกล่าวแก้ทางใจ
    ทันใดนั้นท่านก็พูดขึ้นว่า ข้าพเจ้าแก้ถูก
    ซึ่งทำความประหลาดใจแก่ภิกษุทั้งหลายมิใช่น้อย ต่างก็มารุมถามข้าพเจ้าว่า หมายความอย่างไร
    ข้าพเจ้าบอกให้ทราบแก่บางองค์เฉพาะที่น่าไว้ใจ
    คำว่า มุตโตทัย มีความหมายเป็นอสาธารณนัยก็จริง แต่อาจเป็นความหมายมาเป็นสาธารณนัยก็ได้
    จึงได้นำมาใช้เป็นชื่อธรรมเทศนาของท่านอาจารย์ โดยมุ่งให้มีความหมายว่า เป็นธรรมเทศนาชี้บอกแนวทางปฏิบัติให้บังเกิดความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ ซึ่งถ้าจะแปลสั้นๆ ก็ว่า แดนเกิดแห่งความหลุดพ้นนั่นเอง

    ธรรมเทศนาชุดแรกนี้ พระภิกษุวิริยังค์ กับพระภิกษุทองคำ เป็นผู้บันทึกในสมัยท่านอาจารย์อยู่จำพรรษา ณ เสนาสนะป่าบ้านโคกนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมืองสกลนคร
    และตอนแรกไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร
    ข้าพเจ้ารับเอาบันทึกนั้นพร้อมกับขออนุญาตท่านอาจารย์พิมพ์เผยแผ่ ท่านก็อนุญาตและสั่งให้ข้าพเจ้าเรียบเรียงเสียใหม่ให้เรียบร้อย ตัดส่วนที่ไม่ควรเผยแผ่ออกเสียบ้าง ข้าพเจ้าก็ได้ปฏิบัติตามนั้นทุกประการ
    ถึงอย่างนั้นก็ยังมีที่กระเทือนใจผู้อ่านอยู่บ้างจึงขอชี้แจงไว้ในที่นี้
    คือ ข้อที่ว่า พระสัทธรรม เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้วย่อมกลายเป็นของปลอมไปนั้น หมายความว่า ไปปนเข้ากับอัธยาศัยอันไม่บริสุทธิ์ เมื่อแสดงออกแก่ผู้อื่นก็มักมีอัธยาศัยอันไม่บริสุทธิ์ปนออกมาด้วย
    เพื่อรักษา พระสัทธรรม ให้บริสุทธิ์สะอาด คงความหมายเดิมอยู่ได้ควรมีการปฏิบัติกำจัดของปลอม คืออุปกิเลสอันแทรกซึมอยู่ในอัธยาศัยนั้นให้หมดไป ซึ่งเป็นความมุ่งหมายของท่านผู้แสดงที่จะชักจูงจิตใจของผู้ฟังให้นิยมในสัมมาปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไป
    ถ้าผู้ฟังมีใจสะอาดและเป็นธรรมแล้ว ย่อมจะให้สาธุการแก่ท่านผู้แสดงแน่แท้
    ต่อมา พระวิริยังค์ ก็คือ พระญาณวิริยาจารย์ผู้เรียบเรียงประวัติพระอาจารย์ เช่นเดียวกับ ต่อมา พระภิกษุทองคำ ก็คือ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ เจ้าของบันทึกสำคัญชื่อ “รำลึกวันวาน”
    รำลึกวันวานอันให้ภาพและความคิดของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ล่าสุด
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    มุตโตทัยมีทั้งหมด ๑๗ ข้อ
    ธรรมเทศนามีทั้งหมด ๑๖ ข้อ
    บทธรรมบรรยายมีทั้งหมด ๒๔ หัวข้อ
    บทประพันธ์ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ ๑ บท
    โอวาทธรรมที่บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เมื่อพ.ศ.๒๔๘๓ และจากสถานที่ปฏิบัติธรรมหลายแห่ง (๒๔๘๔ – ๒๔๙๒) และธรรมคติ ผญาธรรม
    ทั้งหมดนี้ เป็นวิถีแห่งธรรมเทศนา ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตอีกที่มาหนึ่งที่กระจัดกระจายอยู่กับครูบาอาจารย์หลายรูปหลายท่านที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ต่างท่านก็ต่างสืบเอาไว้ได้มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังแห่งสัญญาและสติปัญญาธรรม
    มุตโตทัย ๑๗ ข้อ เขียนบันทึกไว้โดยพระภิกษุวิริยังค์ สิรินฺธโร กับพระภิกษุทองคำ ญาโณภาโส บันทึกไว้เมื่อครั้ง อยู่เสนาสนะป่าบ้านโคกพุทธศักราช ๒๔๘๕ – ๒๔๘๖
    ทั้ง ๒ ท่านนี้เป็นพระอุปัฎฐากของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    ธรรมเทศนา ๑๖ ข้อ เขียนบันทึกไว้โดยพระภิกษุทองคำ ญาโณภาโสกับพระภิกษุวัน อุตฺตโม บันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ – ๒๔๙๒ เมื่อครั้งอยู่ ณ วัดป่าหนองผือ
    บทธรรมบรรยาย ๒๔ หัวข้อ เขียนด้วยอักษรธรรมเป็นลายมือของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เช่นเดียวกันกับบทประพันธ์ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ เพียงแต่บทประพันเขียนด้วยอักษรไทย
    ส่วนธรรมคติ ผญาธรรม นั้นมายกแยกออกในภายหลังเพื่อที่จักได้รับไว้เป็นมรดกธรรมโดยที่ไปในหมู่สานุศิษย์
    ในที่นี้จะยกกล่าวแต่วิถีแห่งธรรมเทศนา ๑๖ หัวข้อ
    เข้าใจว่าเป็นพระธรรมเทศนาที่หลวงปู่มั่นได้แสดงไว้ในหมู่สานุศิษย์ในวันวาระต่างๆ กัน ท่านผู้บันทึกไว้ในส่วนที่จดจำและได้จดจารเอาไว้ แม้องค์หลวงปู่มั่นจะแสดงเอาไว้มากปริยายหลายนัยยะ แต่ท่านผู้บันทึกก็คงจักสามารถบันทึกเอาไว้ได้เท่าที่ปรากฏ ทั้งนี้อาจจักมีอุปสรรคอยู่มากประการ เรื่องใดที่ได้ยินได้ฟังบ่อยก็จดจำจดจารได้ดี เช่น
    เรื่องมูลกัมมัฏฐาน, เรื่องศีล, เรื่องธรรมคติเรื่องวิมุตติ เป็นต้น
    หากท่านผู้ศึกษา มุ่งศึกษาเรียนรู้โดยแท้จริงแล้วก็โปรดอ่านพิเคราะห์เสียให้เข้าใจเองเถิด แต่พึงสำเหนียกอยู่เสมอว่าการเป็นผู้เล่าเรียนมากศึกษาไว้มาก เมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติใจแล้วนี้ ความรู้สัพพะทั้งปวงให้เก็บงำเอาไว้ก่อน แล้วตรวจตราข้อปฏิบัติที่ลง ณ กาย วาจา จิตของตนนี้เถิด
    ทั้งนี้เพราะข้อปฏิบัติทั้งหลายย่อมตั้งทรงอยู่ ณ ที่ตัวตนนี้แล
    อุทฺธํ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ
    พิจารณากายใจนี้แลชื่อว่า การปฏิบัติ
    เมื่อปฏิบัติอยู่จึงได้ ฟังธรรมอยู่ ได้กำหนดพิจารณาอยู่ทั้งวันและคืน ทั้งนี้เพราะตนของตนเป็นอัพภูตธรรม เป็นเครื่องมือในการเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้ก้าวสู่ฐานเดิมของจิต ทั้งส่วนเสวยฌานวิสัย และส่วนแห่งการพิจารณาธรรมด้วยปัญญาจนแจ้งรู้สู่ญาณที่เป็นปริญเญยยธรรมบอกชัดว่า ภพเบื้องหน้าของตนไม่มีแล้ว
    กิจในพระธรรมวินัยนี้ไม่มีที่จะสะสางอีกแล้ว
    สรณะทั้ง ๓ มิได้จืดจางเลย
    ความเกษมอันเป็นมงคลได้ทราบแล้ว
    ที่กล่าวมานี้ทั้งหมดเป็นวิถีแห่ง ธรรมเทศนาโดยรวม
    โปรดพิจารณาเถิด
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๓. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งธรรมบรรยาย
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๓๕ ราคา ๑๐ บาท

    รากที่มาแห่งหนังสือ “มุตโตทัย” นั้นเป็นธรรมเทศนาและธรรมบรรยายของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลายกรรมหลายวาระอย่างไม่ต้องสงสัย
    แต่ในยุคที่ยังไม่มีเครื่องบันทึกเสียง และในยุคที่พระยังไม่เชี่ยวชาญในวิชาชวเลข
    คนที่จดจารบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรย่อมมีความสำคัญ และนั่นย่อมเป็นภาระและโอกาสของปัจฉาสมณะเป็นด้านหลัก
    บทบาทของ พระวิริยังค์ จึงทรงความหมาย
    บทบาทของ พระทองคำ จึงทรงความหมาย
    ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ เมื่อมีการจดจารบันทึกแล้วยังได้รับการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งจากพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ตรงนี้แหละคือความสมบูรณ์ครบถ้วน
    มาถึงตอนนี้ยังจำเป็นต้องศึกษาจาก “คำชี้แจง” ของพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ซึ่งมีบทบาทเป็นอย่างสูง ในการเรียบเรียงหนังสือ “ชีวประวัติ ธรรมเทศนา บทประพันธ์และธรรมบรรยาย ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร”
    เป็นหนังสือพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๑ ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร


    โปรดอ่าน
    ธรรมเทศนาของท่านอาจารย์ที่ พระภิกษุทองคำ ญาโณภาโส กับ พระภิกษุวัน อุตฺตโม จดบันทึกไว้ในปัจฉิมสมัย คือ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๑ – ๒๔๙๒ ก่อนหน้ามรณสมัยเพียงเล็กน้อยนั้น ได้รวบรวมเข้ามาเรียบเรียงเข้าหมวดหมู่เช่นเดียวกับครั้งก่อน
    ธรรมเทศนาของท่านอาจารย์ทั้ง ๒ ชุดนี้หากจะพิมพ์เผยแผ่ต่อไปก็ควรพิมพ์รวมกันในนาม มุตโตทัย
    ส่วนบทประพันธ์และบทธรรมบรรยายของท่านอาจารย์นั้นปรากฏมีในสมุดของเก่าที่มอบให้เป็นมรดกแก่พระภิกษุทองคำ ผู้อุปฐากใกล้ชิดในปัจฉิมสมัย บทประพันธ์นั้นคล้ายร่ายหรือกลอนแปดเป็นลายมือของท่านอาจารย์เขียนเอง
    และบอกไว้ตอนท้ายว่าท่านอาจารย์เป็นผู้แต่งครั้งอยู่วัดปทุมวัน พระนคร
    ส่วนบทธรรมบรรยายนั้นเขียนด้วยอักษรธรรมเป็นลายมือของท่านอาจารย์เหมือนกัน สังเกตดูเป็นของเก่า ท่านอาจารย์คงคัดย่อความเอามา
    มีอธิบายข้อธรรมในโสฬสปัญหาบ้าง อภิธรรมบ้าง อธิบายกรรมฐานบ้าง อธิบายวินัยกรรมบางอย่างบ้าง และที่สำคัญที่สุดก็คือ กำหนดคืบพระสุคตไว้ซึ่งตรงกับพระมติของ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระมหาสมณเจ้า
    ซึ่งเป็นมติที่ได้รับความรับรองในหมู่ผู้ปฏิบัติทางจิตใจ อันศิษยานุศิษย์ควรได้รับเป็นมรดกทั่วถึงกัน
    ในการคัดลอกบทธรรมบรรยายซึ่งเป็นอักษรธรรมลงสู่อักษรไทยนั้น ได้อาศัยกำลังของพระภิกษุฉัตร โสมบุตร จีรปุญฺโญ โดยตลอด จึงจารึกนามเธอไว้ในที่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกไปนานๆ
    อนึ่ง ในการทำหนังสือนี้ ได้อาศัยกำลังกายกำลังความคิด สติปัญญา และกำลังทรัพย์จากสาธุชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตมากท่านหลายคนด้วยกัน สุดที่จะจารึกนามได้ทั้งหมด จึงขอขอบคุณและอนุโมทนาไว้ในที่นี้ด้วยกัน
    พระอริยคุณาธาร เสนาสนะป่าเขาสวนกวางขอนแก่น วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๑
    งานฌาปนากิจศพ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓ นั้น
    มี พระธรรมเจดีย์ แห่งวัดโพธิสมภรณ์อุดรธานี เป็นประธาน
    ขณะเดียวกัน กิจในเรื่องหนังสือแจกในงานคณะกรรมการได้มอบหมายให้ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) เป็นแม่งาน
    คำชี้แจงของท่านทำให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ในบทบาท
    ท่านหนึ่งคือ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ซึ่งรับใช้ใกล้ชิดพระอาจารย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรน้อย
    ท่านหนึ่งคือ พระวิริยังค์
    ท่านหนึ่งคือ พระทองคำ
    ท่านหนึ่งคือ พระวัน อุตฺตโม
    นี่ย่อมนอกเหนือไปจากบทบาทของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ซึ่งเรียบเรียงชีวประวัติพระอาจารย์
    อันถือว่าเป็นต้นแบบ
    เป็นต้นแบบให้กับ พระญาณวิริยาจารย์ เป็นต้นแบบให้กับ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น แบบให้กับ พระทองคำ จารุวัณโณในกาลต่อมา
     

แชร์หน้านี้

Loading...