มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งกาลเวลา

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 24 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หมวดคบหาสมาคมและการสื่อสารกับบุคคลภายนอก
     ห้ามรับสิ่งของต่อมือกับผู้ชาย
     ห้ามแม่ชีอยู่กับผู้ชาย ภิกษุ สามเณร สองต่อสอง เมื่อมีแขกหรือญาติโยมมาหาต้องมีเพื่อนหญิงเพื่อชีอยู่ด้วย หรือมีผู้ชายอยู่ด้วย
     การเข้าไปในเขตวัดของพระสงฆ์ ต้องมีเพื่อนแม่ชีหรือเพื่อนหญิงไปด้วยทุกครั้ง ต้องนุ่งห่มปกปิดให้เรียบร้อย
     แม่ชีไม่ควรทำตัวสนิทสนมกับบุรุษ ภิกษุ สามเณร หรือบุคคลต้องห้าม
     ห้ามแม่ชีโคจรไปในที่ไม่ควร เว้นแต่มีเหตุ
     การรับของแขกญาติโยม อาคันตุกะ ไม่ควรเกิน ๒๐.๐๐ น. นอกจากมีเหตุ แต่ในภาวะนั้นต้องมีเพื่อนชีเพื่อนหญิงอยู่ด้วย
     การรับหนังสือ เอกสาร จดหมาย ทั้งเข้าและออกต้องเรียนปรึกษาต่อหัวหน้าแม่ชีและเจ้าอาวาสฝ่ายสงฆ์เพื่อกั้นมลทิน

    หมวดหน้าที่และความรับผิดชอบในงานส่วนรวม
     แม่ชีทุกคนต้องทำข้อวัตรทุกอย่างโดยพร้อมกันทำ พร้อมกันเลิก ช่วยกันรักษาความสะอาดบริเวณอาวาส เสนาสนะ ศาลา โรงครัว หอฉัน ห้องน้ำ ห้องส้วม โรงเก็บฟืน โรงเก็บของที่ส่วนรวม ที่พักส่วนตัวทางเดิน
     เมื่อได้เวลาเข้าครัว แม่ชีทุกคนต้องพร้อมกันที่โรงครัว เตรียมและประกอบอาหารตามหน้าที่จัดแบ่งอาหารไปตามวัดต่างๆ เมื่อเสร็จแล้วปัดกวาด ทำความสะอาดชำระล้างภาชนะเก็บให้เรียบร้อย เว้นแต่ผู้ควรยกเว้น
     ทุกคนต้องช่วยกันทำงาน สามัคคี พร้อมเพรียงในงานส่วนรวม เมื่อมาทำงานไม่ได้ต้องบอกให้หมู่คณะทราบ ห้ามเกียจคร้าน ดูดายหรือเพิกเฉย ให้ขวนขวายในกิจของชี และการงานส่วนรวม
    หมวดกิจของชีและธรรมจริยาภายในและภายนอกสำนัก
     เวลาประชุมประจำวันให้ใช้สัญญาณระฆังเป็นเครื่องหมาย ต้องตรงเวลาพร้อมกันประชุมและพร้อมกันเลิกประชุม วันแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำ และวันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ต้องประชุมและรับโอวาทธรรมจากพระภิกษุสงฆ์ เมื่ออยู่ในที่ประชุมแล้ว ห้ามใช้เสียงใด ๆ โดยไม่จำเป็น
     แม่ชีต้องเคารพกันตามอาวุโส บวชก่อนบวชหลัง
     แม่ชีทุกคนต้องตั้งอยู่ในความเมตตา สามัคคี จะกระทำสิ่งใดต้องยินดีพอใจด้วยกัน จะทำไปโดยพลการมิได้โดยเด็ดขาด
     ห้ามเรี่ยไร บอกขอ แจกซอง แจกฏีกา ใบบอกบุญ หรือขอสิ่งของใดๆ ไม่ว่ากรณีใดๆ เว้นเสียแต่ว่ามีผู้ปวารณา แม้มีผู้ปวารณาก็ให้รู้จักประมาณ สันโดษ มักน้อย
     ไม่ทำตนเป็นขอทาน ไม่ทำเลศนัยขี้ขอขี้หา
     ไม่ทำเลศนัยน้อมลาภสักการะมาสู่ตน โดยอ้างสำนัก อ้างหมู่เพื่อน อ้างครูบาอาจารย์ อ้างความลำบากในชีวิต
     หากต้องการเงิน หรือสิ่งของจำเป็นอันใด ให้บอกแก่บิดามารดา อดีตสามี บุตรธิดาหรือศรัทธาปวารณา โดยต้องเรียนกับหัวหน้าชีก่อนทุกครั้ง
     ไม่รับใช้เพื่อสินจ้างรางวัล ไม่เป็นนายหน้า ไม่เป็นผู้ประกอบการค้าขาย ไม่ทำตนเป็นหมอดู หมอนวด หมอยา หมอเสน่ห์ ทรงเจ้าเข้าผี
     ห้ามนำผู้ชาย เด็กชาย กะเทย และเด็กหญิงต่ำกว่า ๗ ปี มาเลี้ยงในสำนักชี เว้นแต่บางคราวบางสมัย
     แม่ชีต้องเป็นผู้กล่าวถ้อยวาจาสุภาพ ใช้สรรพนามแทนตัวเองให้ถูกต้อง เช่น “แม่ชี” “แม่” “คุณแม่”
     แม่ชีต้องไม่ติเตียนของท่านของบริจาคผู้ให้ทาน
     ห้ามเล่นการพนันทุกชนิดทุกอย่าง ห้ามสูบบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดอื่นใด
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หมวดชำระโทษ ข้อพิพากษ์ และวิวาทกรรม
     เมื่อผู้ใดทำผิดระเบียบและผิดศีลวัตร ต้องรีบตักเตือนทันที หากไม่เชื่อฟังการตักเตือนให้เรียนต่อหมู่คณะ
     ต้องไม่ดูหมิ่นดูแคลนเหยียดหยามล่วงเกินผู้ใดด้วยวาจา ต้องเป็นผู้ยอมรับการตักเตือนของแม่ชีด้วยกัน และน้อมรับโอวาทจากครูบาอาจารย์ (รวมถึงหัวหน้าแม่ชี และแม่ชีอาวุโส) ด้วยความเคารพ และให้ตักเตือนกันและกันด้วยธรรม ด้วยศีลวินัย
     ห้ามนำเรื่องของหมู่คณะที่อยู่ด้วยกันเที่ยวพูด เที่ยวประจานแก่ใครๆ และเมื่อชำระความกันแล้วไม่นำความนั้นมาพูดอ้างขึ้นอีก
     บทลงโทษ ให้ตักเตือนก่อน นำเข้าที่ประชุมชี ลงทัณฑกรรม ลงพรหมทัณฑ์ฝ่ายชี หากยังไม่ฟังให้แจ้งต่อฝ่ายสงฆ์ทราบเพื่อพิจารณาโทษต่อไป
    หมวดระเบียบพิเศษ

     ถ้าใครจะมาบวชชี ถ้าไม่มีพ่อแม่พี่น้องมาฝากจะไม่รับ
     ทอม ผู้ชาย กะเทย ไม่รับ
     ถ้าชีมีเกิน ๑๕ คนแล้ว จะไม่รับใครอีก
     ถ้ามีโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีโรคประจำตัวขั้นหนัก ไม่รับ
    สรุปความในภาคผนวกนี้ได้ว่า ตามหลักเนติธรรมของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย อุบาสิกาแม่ชีทุกท่านต้องสมาทานศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ แต่ด้วยสำนักชีบ้านห้วยทราย ยึดหลักปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต (ธรรมยุติกนิกาย) เป็นแกนดำเนินชีวิตเพศพรหมจรรย์ของสำนัก จึงมีการสมาทานวัตรต่างๆ ตามแนวของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่วางไว้ เพิ่มเติมได้แก่ ข้อวัตร (แม่ชี) ๑๐ กรรมบถ ๑๐ ขันธวัตร ๑๔ ธุดงควัตร ๑๓ และระเบียบข้อปฏิบัติทั่วไป อันเป็นเครื่องสนับสนุนในการดำรงเพศพรหมจรรย์เพื่อกิจส่วนตนและการอยู่ร่วมกันอย่างอริยะในมวลหมู่สมาชิก และผนวกการเจริญพุทโธภาวนาและกรรมฐาน ๔๐ อันเป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจและอุบานธรรมในการเปลี่ยนสภาวะจิตตาปุถุชนมาเป็นอริยชน มาเข้าไว้ด้วยกัน รวมเรียกว่า “ปฏิปทาในศีลและวัตรปฏิบัติแห่งสำนักชีบ้านห้วยทราย” แห่งนี้
    ปฏิปทาในศีล วัตร และภาวนาทั้งหมดนี้เป็นแนวการปฏิบัติธรรมที่สัมพันธ์เนื่องกันทั้งกายวาจาใจของผู้ปฏิบัติและหมู่คณะ โดยไม่ทอดทิ้งธุระในองค์บริกรรมพุทโธตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจเข้าออกที่สำคัญคือ “แม่ชีกรรมฐานแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สำนักชีบ้านห้วยทราย” นี้ ยังเน้นการบำเพ็ญบารมีธรรมด้วยสัจจะและความเพียรอดทนเป็นเลิศ เป็นต้น ในการศึกษาศีลสมาธิและปัญญาเพื่อทำกิจส่วนตนให้บรรลุสำเร็จพร้อมๆ ไปกับการสืบสานแนวปฏิบัติธรรมนี้ เพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนรวมและอนุชนรุ่นหลัง โดยเฉพาะสตรีชาวพุทธให้เห็นเป็นแบบอย่างของพุทธสาวิกาในยุคนสมัยปัจจุบัน ตลอดจนให้มีร่มโพธิสถานที่สัปปายะในการปลีกวิเวกบำเพ็ญธรรมเพื่อสั่งสมอุปนิสัยบารมีในชาติปัจจุบัน
    ( หมายเหตุ : เนื้อหานี้ คัดจาก : ผู้นำสตรีชาวพุทธกับการปฏิบัติกรรมฐาน ศึกษากรณีพิเศษเฉพาะ คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
    สำนักชีบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ของ นางสาวสุณีย์วรรณ ตั้งไพฑูรย์สกุล )
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 16
    [​IMG]๔. การก่อตั้งสำนักพระป่าพระธุดงคกรรมฐาน พระธรรมยุต
    ในแถบถิ่นนี้นับแต่องค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมคณะสงฆ์หมู่ใหญ่มาเยือนมาอยู่แต่ปี ๒๔๕๗ เป็นต้นมา ได้เกิดสำนักวัดป่าขึ้นในหลายหมู่บ้าน ดังนี้
    ๑. วัดน้อยนาหนองแวง บ้านห้วยทราย ติดกับลำห้วยทราย
    ๒. วัดหนองน่อง บ้านห้วยทราย
    ๓. ถ้ำบ้านกลาง ตำบลคำบก
    ๔. วัดศรีมงคล บ้านขี้ละมั่งศรีมงคล
    ๕. ถ้ำจำปา บ้านนาคันแท อำเภอหนองสูง
    ๖. ถ้ำกะพุง บ้านขุมขี้ยาง อำเภอบัวขาว
    ๗. ถ้ำหลวงปู่เสาร์ บ้านนาไคร้ อำเภอบัวขาว
    ทุกสำนัก ทุกหมู่บ้านล้วนแล้วแต่ได้พวกภูไทช่วยค้ำชูอุปัฏฐากดูแลทั้งนั้น
    สำหรับระเบียบการก่อตั้งสำนักนั้นสุดเหตุที่จะสืบเสาะค้นหามาประกอบได้หากแต่ก็หมายเอาการอนุวัติตาม ระเบียบข้อกติกาสงฆ์สัมมาปฏิบัติ ว่าด้วยข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของ สำนักพระคณะกัมมัฏฐาน ที่รจนาโดย พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม กับพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.๕ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๙ ดังนี้
    คำปรารภ
    ระเบียบข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระพุทธศาสนา ที่เนื่องมาตั้งแต่พระพุทธเจ้าอริยเจ้าในครั้งพุทธกาล แม้มีอยู่ในตู้พระคัมภีร์ก็เท่ากับไม่มี คล้ายๆ กับว่าเสื่อมสูญอันตรธานไปหมดแล้ว เพราะไม่มีผู้สามารถยกขึ้นเทศนาว่ากล่าวตักเตือนสอนกันได้ ทั้งไม่สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตามเสีย ด้วยทอดธุระทิ้งกันไปหมด ก็เท่ากับว่าหมดชุดหมดคราวไป บัดนี้มีผู้ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติตามได้แล้ว แลขอร้องให้ข้าพเจ้าเรียบเรียงข้อปฏิบัติไว้เพื่อผู้เข้ามาปฏิบัติใหม่จะได้รู้จักระเบียบข้อปฏิบัติที่ควรดำเนินเป็นเบื้องต้นก่อนทันทีจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามหนทางทีเดียว
    เนื่องด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องพิมพ์ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาสืบไป โดยความหวังดี
    พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม
    พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ป. ๕
    วัดป่าสาลวัน
    จังหวัดนครราชสีมา​
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    พระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาจารย์เจ้าของเราทั้งหลาย พระองค์ทรงพระมหากรุณาใหญ่ในหมู่เวไนยสัตว์ทั้งปวงยิ่งนัก คือเบื้องต้นพระองค์ทรงกระทำพระองค์เองให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ คือทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเสียก่อนแล้ว และทรงพระมหากรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนา สั่งสอนให้พุทธบริษัททั้งปวงกระทำความเพียรเพื่อพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสาร จึงทรงวางระเบียบการทั้งปวงไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นอเนกปริยาย ให้พุทธบริษัททั้งหลายได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตาม
    กล่าวโดยย่อ พระองค์ทรงสั่งสอนให้บำเพ็ญศีล บำเพ็ญสมาธิ บำเพ็ญปัญญา ให้ถึงพร้อมบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ด้วยวิธีเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน กระทำน้ำใจให้เป็นไปในกระแสบนทางแห่งอริยมรรค อริยผล จนกว่าจะเอาตนพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสารได้จริงๆ เมื่อยังไม่พ้นจากทุกข์อยู่ตราบใด ก็ให้อุตสาหพยายามกระทำความเพียรอยู่อย่างนั้น ยาวชีวํ ตราบเท่าสิ้นชีวิต
    ก็แล เมื่อพระองค์ทรงตั้งน้ำพระทัยมุ่งหวังประโยชน์ถึงเพียงนี้ จึงสมควรยิ่งนักที่พวกเราเหล่าพุทธบริษัทจะพึงปฏิบัติตามโดยไม่ประมาท
    บัดนี้ จะว่าด้วยพระภิกษุสามเณรผู้มุ่งมาเพื่อบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อเป็นลำดับไป
    ว่าด้วยเจตนาของพระภิกษุสามเณรผู้มุ่งมา ต้องเป็นผู้หวังดีจริงๆ คือเป็นผู้หวังความพ้นจากทุกข์และหวังเพื่อบำเพ็ญกิจของพระพุทธศาสนา จึงต้องสละความห่วงอาลัยในฆราวาสเหย้าเรือน ตลอดจนและชีวิตเลือดเนื้อมาเพื่อทรมานตนให้พ้นจากทุกข์ในวัฎฎสงสาร จึงต้องประกอบข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ด้วยความเป็นผู้ไม่ห่วงหน้าห่วงหลัง เช่น ไม่ห่วงบ้านเกิดเมืองนอนและญาติวงศ์พี่น้องของตนเป็นต้น ในเวลาที่เข้ามาอยู่ในหมู่ในคณะแล้ว ก็ต้องเป็นผู้ยอมรับสภาพประพฤติตามระเบียบธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ทำความโต้แย้งหรือทุ่มเถียงกันด้วยธรรมวินัย ให้เป็นการสนุกเล่นเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์ ต้องการผู้ศึกษาธรรมวินัยด้วยความเคารพ
    พระภิกษุผู้เป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐานอาจารย์หนึ่งๆ พึงเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ในธรรมวินัย และรู้จักสังเกตนิสัยใจคอของพระภิกษุสามเณรที่เข้ามาใหม่ ถ้าเห็นนิสัยใจคอดี มีหลักฐานเพียงพอสมควรที่จะรับไว้ จึงรับเข้าหมู่คณะ ถ้าเป็นคนหาหลักฐานมิได้ ไม่สมควรที่จะรับไว้ได้ ก็ไม่ต้องรับเสียเลยเป็นอันขาด ดังข้อความที่จะกล่าวต่อไปนี้
    ๑. ถ้าภิกษุสามเณรถือลัทธิผิดๆ มาแล้ว เช่น ถือลัทธิศาสนาพราหมณ์ คือเคยเป็นหมอผี หมอมนต์มาแล้ว เป็นต้น ต้องแนะนำสั่งสอนให้ละลัทธิที่ผิดนั้นเสีย แล้วให้ประพฤติตนในลัทธิที่ชอบ ถ้าเป็นคนว่าง่ายสอนง่ายดังนี้ จึงควรรับไว้ให้บำเพ็ญธุดงค์กัมมัฏฐานต่อไป
    ๒. ถ้าพระภิกษุสามเณรเป็นผู้มีความเห็นผิดมาแต่เดิมแล้ว และถือทิฏฐิมานะแข็งกระด้างมาก เช่นเห็นว่าสมัยนี้ไม่ใช่สมัยที่จะบำเพ็ญธุดงค์กัมมัธฐาน ถึงแม้จะบำเพ็ญไปก็ไม่มีประโยชน์ ดังนี้เป็น พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนให้ละทิฏฐิมานะเช่นนั้นเสีย ถ้าละไม่ได้ก็ไม่ควรรับไว้เลย แต่ถ้าละทิฏฐิเช่นนั้นได้แล้ว ก็ควรรับไว้บำเพ็ญธุดงค์กัมมัฏฐานต่อไป
    ๓. ถ้าพระภิกษุสามเณรเป็นผู้ว่ายากสอนยาก แลตั้งเจตนาผิดๆ มาแล้ว ด้วยความเป็นผู้ประมาทต่อข้อปฏิบัติ คือ เป็นผู้หวังร้าย ไม่ใช่เป็นผู้หวังดี เช่น หวังเพื่อจะทำลายพระคณะกัมมัฏฐานให้แตกสามัคคีกันก็ดีให้ท้อถอยจากข้อปฏิบัติก็ดี มาทำความฝ่าฝืนหมู่คณะหรือพระอาจารย์แห่งพระกัมมัฏฐานก็ดี เหล่านี้เป็นต้น ไม่ควรรับไว้ในหมู่คณะแห่งพระกัมมัฏฐานเลยเป็นอันขาด
    ๔. หน้าที่ของพระภิกษุสามเณรผู้บำเพ็ญธุดงค์กัมมัฏฐาน ต้องเป็นผู้หวังดีต่อพระพุทธศาสนาจริงๆ คือหวังความพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสาร และสนใจใคร่ธรรมใคร่วินัย แสดงหาวิโมกขธรรม สันติสุขในพระพุทธศาสนา และหวังเพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไปตลอดชีวิต
    ๕. เป็นผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้าน มีขันติธรรม อดทนต่อความทุกข์ ความยาก แลความลำบากกรากกรำ ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเป็นผู้เห็นแก่แต่พระพุทธศาสนาจริงๆ
    ๖. เป็นผู้มีน้ำใจอันซื่อสัตย์สุจริตต่อพระศาสนา แลครูบาอาจารย์ ตลอดถึงหมู่คณะ อ่อนน้อมยอมตนให้หมู่คณะว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนได้ในธรรมวินัย เมื่อได้มาอยู่ในคณะนี้แล้ว จะหลีกหนีไป ก็ไม่ลอบลักดักหนีให้ล่ำลาครูบาอาจารย์ของตนก่อน เมื่อท่านอนุญาตแล้วจึงไป ถ้าท่านไม่อนุญาตก็ไม่ควรไป
    ๗. ต้องเป็นผู้แสดงความสามัคคี ๓ ประการ คือ กายสามัคคี จิตตสามัคคี ทิฏฐิสามัคคี ต่อหมู่ต่อคณะอยู่เสมอ ในเวลาทำกิจวัตร ๑๐ ประการ มีการปัดกวาดเป็นต้น ก็ต้องพร้อมเพรียงกันทำ ในเวลารักษาธุดงค์ควัตร ๑๓ ประการ มีการเที่ยวบิณฑบาตแลฉันบิณฑบาตเป็นต้น ก็ต้องพร้อมเพรียงกัน ในเวลาประกอบขันธวัตร ๑๔ ประการ มีอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเป็นต้น ก็ต้องสามัคคีกัน
    ๘. ต้องเป็นผู้ไม่กระทำการทุจริตต่อหมู่ต่อคณะ ทั้งในที่ต่อหน้าแลลับหลัง แลไม่ประพฤตินอกรีตนอกรอย นอกธรรมนอกวินัย
    ๙. ต้องประชุมปรึกษาธรรมวินัย และอุบายทำในใจกันอยู่เนืองนิตย์ เมื่อประชุมก็ให้พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็ให้พร้อมเพรียงกันเลิก แลทำความเคารพต่อที่ประชุมเสมอ ถ้ามีเหตุจำเป็นหรือกิจจำเป็นต้องบอกลากับหมู่คณะเสมอ
    ๑๐. ต้องเป็นผู้มีหิริและโอตตัปปะ สะดุ้งหวาดเสียวต่อบาปกรรมประจำสันดานเป็นนิตย์ มีปกติสำรวมในพระปาฏิโมกข์ แลสำรวมอินทรีย์พิจารณาปัจจเวกขณะในเวลาบริโภคปัจจัย ๔ มีอาชีวปาริสุทธิศีล นุ่งสบงห่มจีวร เป็นปริมณฑลเรียบร้อยดี เวลาเข้าไปในละแวกบ้าน ต้องช้อนผ้าสังฆาฏิกับอุตตราสงค์ห่มให้เป็นปริมณฑลเสมอ เว้นเสียแต่มีเหตุจำเป็นหรือมีอันตราย
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๑. ต้องเป็นผู้มีอาจาระคือมรรยาทอันดีงาม และมีโคจระคือที่เที่ยวไปอันสมควรแก่สมณสารูป เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายโดยความไม่ประมาท
    ๑๒. ต้องเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธศาสนาทุกเมื่อ ครั้นเมื่อศาสนาแนะนำให้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างใดๆ ต้องช่วยกันทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนานั้นๆ ทุกประการไป โดยความเคารพแลหวังความเจริญแก่พระพุทธศาสนาตลอดไป
    ๑๓. ต้องเป็นผู้อยู่ในความไม่ประมาท คือไม่ประมาทคุณพระรัตนตรัย และไม่ประมาทคุณูปการของพระอาจารย์ตลอดถึงหมู่คณะของตน และไม่ประมาทชาติชีวิตของตน จำต้องทำตนให้ตั้งอยู่ในความเคารพเสมอ
    ๑๔. ต้องทำใจของตนให้เป็นพรหม คือทำใจให้เป็นใหญ่กว่าอะไรทั้งหมด แลทำใจให้ยิ้มแย้มแจ่มใจเต็มไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แก่ตนแลบุคคลอื่นทั่วไปเสมอ
    ๑๕. เมื่อจะพูดจากันด้วยธรรมวินัย ต้องพูดกันด้วยความเคารพเสมอ คือ ต่างคนต่างต้องรักษาเสขิยธรรมให้ถูกต้องตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้แล้วทุกประการ
    ๑๖. ต้องเป็นผู้ชำนาญในมคธภาษา ท่องบ่นให้ได้ ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น สวดมนต์ไหว้พระ แลพรหมวิหาร ๔ ตลอดถึงเจ็ดตำนานแลขัดตำนาน แลพระปาฏิโมกข์ ในภายใน ๕ พรรษา
    ๑๗. เมื่อเห็นพระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่กระทำอะไรด้วยกาย พูดอะไรด้วยวาจา ใกล้ต่อความผิดหรือใกล้ต่ออาบัติโทษ จะทักท้วงว่ากล่าวทีเดียวก็ไม่สมควร ต้องทำทีเป็นถาม หรือศึกษาต่อท่านด้วยความเคารพเสมอ
    ๑๘. ต้องเป็นผู้ปกครองตนเองได้ด้วยธรรมวินัย คือ ไม่ฝ่าฝืนธรรมวินัย แลไม่ฝ่าฝืนครูบาอาจารย์ตลอดถึงหมู่คณะของตนเสมอ
    ๑๙. ลาภที่ได้มาโดยทางที่ชอบ ต้องถือว่าเป็นลาภที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจพระพุทธศาสนาสำหรับบำรุงหมู่คณะผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาทั่วๆ ไป แต่ก็แล้วแต่เจ้าของผู้ได้มา ถ้าสมควรแจกก็ต้องแจกตามสมควร เว้นเสียแต่ของสงฆ์ที่เป็นครุภัณฑ์ จะแจกกันไม่ได้เลยเป็นอันขาด จำเป็นต้องรักษาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญอันตรธานไป
    ๒๐. ต้องรักษาเครื่องใช้อันเป็นสาธารณประโยชน์ทั่วไปในหมู่คณะ เช่น กุฏิ วิหาร ศาลา โรงธรรม โรงฉัน โบสถ์ อาราม เสื่อ หมอน เตียง ตั่ง ถาด โถ ถ้วย ชาม ตุ่มน้ำ ถังน้ำ ครุและถักตักน้ำ ถ้วยแก้ว ชามแก้ว เป็นต้น ให้สะอาด แลปราศจากอันตราย เมื่อตนได้เอาไปใช้ หรือเห็นตกหล่นอยู่ในที่ใดๆ ต้องรีบเก็บทันทีอย่าให้เสียหายได้เป็นอันขาด ถ้าทำให้เสียหายต้องเป็นโทษ ห้ามมรรค ห้ามผล ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ถ้าปฏิบัติได้ ก็เป็นบุญเป็นกุศลแก่ตนจริงๆ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๑. ต้องเป็นผู้มีเมตตาจิต เอ็นดู กรุณา สงเคราะห์กันแลกันด้วยธรรมวินัย ข้อปฏิบัติที่ดีที่ชอบตลอดการเจ็บป่วยไข้ ถ้าเกิดมีแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ต้องรีบช่วยกันพยาบาลจนกว่าจะหาย เว้นเสียแต่เหลือวิสัย
    ๒๒. ต้องเป็นผู้ฉลาดในการปฏิสันถารต้อนรับพระภิกษุสามเณรอาคันตุกะผู้มาแต่ทิศต่างๆ ด้วยเสนาสนะ ที่นั่ง ที่นอน น้ำใช้ น้ำฉัน แลต้อนรับแขกคนคฤหัสถ์หญิงชายน้อยใหญ่ตามสมควรด้วยอามิสปัจจัยแลด้วยการแสดงธรรมเทศนา ให้ได้รับความเชื่อความเลื่อมใส พอใจจะประพฤติปฏิบัติพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป แลให้ต้นรับเฉพาะห้องรับแขกเท่านั้น ไม่ควรให้แขกเข้าไปพูดจาในห้องนอน เว้นเสียแต่อาพาธหรือสมัยพิเศษ
    ๒๓. ต้องเป็นผู้ฝึกหัดอักขระฐานกรณ์ในมคธภาษาให้ชำนาญคล่องแคล่ว ถูกต้องดีเรียบร้อย บรรพชาและอุปสมบทด้วยมคธภาษาที่ถึงพร้อมบริบูรณ์ด้วยสมบัติ ๕ ประการ คือ วัตถุสมบัติ ๑ สีมาสมบัติ ๑ ญัตติสมบัติ ๑ อนุสาวนสมบัติ ๑ ปุริสสมบัติ ๑ จึงไม่ขัดข้องแก่ทางมรรคทางผลทางสวรรค์นฤพาน
    ๒๔. ต้องฝึกหัดให้ชำนาญ ในการตัด แลเย็บ ย้อมผ้าสบงจีวรแลผ้าสังฆาฏิ สำเร็จเป็นขัณฑ์ ๕-๗-๙-๑๐ ถูกต้องตามพุทธานุญาต ด้วยฝีมือของตน ตลอดถึงการตัด เย็บ ย้อม ผ้านิสีทนะถลกบาตรแลย่ามใช้เองได้
    ๒๕. ผู้ใดประมาทแลล่วงเกินต่อระเบียบนี้ ต้องลงโทษพุทธอาญาตามสมควรแก่ความผิดชอบตน เว้นเสียแต่พลั้งเผลอ ก็ให้รีบกลับทำความรู้สึกในความผิดของตน แล้วแสดงต่อหมู่คณะของตนทันที เพื่อสำรวมระวังต่อไป
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อปฏิบัติในกุฏีแลศาลา
    พึงเป็นผู้ปฏิบัติในกุฎีวิหารแลศาลา โรงธรรม โรงฉัน ดังข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
    ๑. พึงตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ ไว้ประจำกุฎีทุกๆ กุฎี แลประจำศาลาโรงธรรม โรงฉันด้วย ถ้าน้ำหมดก็ให้ตักมาใส่ไว้ให้มีประจำอยู่เสมออย่าให้ขาดได้
    ๒. พึงรักษาความเคารพต่อพระธรรมวินัย ในเวลาที่จะขึ้นไปบนกุฎีวิหารหรือศาลาโรงธรรม โรงฉันนั้น เมื่อมาถึงเชิงบันไดแล้ว ถ้าสวมรองเท้ามาก็ให้ถอดรองเท้าออกจากเท้าแล้วเคาะรองเท้าให้ดินหลุดออกหมด ขัดถูก เช็ดเสียให้สะอาด เก็บไว้ในที่สมควร เสร็จแล้วจึงขึ้นไปบนกุฎีวิหารศาลา โรงธรรม โรงฉัน
    ๓. ถ้าไม่ได้สวมรองเท้ามา ก็ให้ล้างเท้าด้วยน้ำ ใช้ผ้าเช็ดผ้าให้สะอาดเสียก่อนจึงขึ้นไปบนกุฎีวิหารศาลา โรงธรรม โรงฉัน อย่าเอาพื้นเท้าที่เปื้อนด้วยดินหรือโคลนขึ้นไปเหยียบข้างบนให้เปื้อนเปรอะเลอะเทอะเป็นโทษ พระพุทธเจ้าทรงห้าม ปรับอาบัติทุกกฎไว้แล้วทุกๆ ก้าวย่าง
    ๔. จงรักษาความสะอาดในกุฏิ วิหาร ศาลา โรงธรรม โรงฉัน เสมอ คือให้หมั่นชำระปัดกวาดแลล้างด้วยน้ำ เข็ดถูด้วยผ้าให้สะอาดอยู่เป็นนิตย์ แต่เวลาล้างด้วยน้ำนั้น ไม่ต้องเทน้ำสาดไปให้เปื้อนเกินประมาณพึงเอาผ้าชุบน้ำให้เปียกถูไปตามพื้นกระดานทั่วๆ ไป เท่านี้ก็สะอาดพอแล้ว จงหมั่นถูเสมอเถิด
    ๕. จงเก็บสิ่งของต่างๆ ที่มีอยู่ในกุฎี วิหาร ศาลา โรงธรรม โรงฉัน ไว้ให้เป็นที่เป็นฐาน อย่าให้กระจัดกระจายรุกรุงรัง และรักษาสิ่งของเหล่านั้นให้สะอาด อย่าให้เสียหายได้ เมื่อจะเอามาใช้ก็เอาง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา
    ๖. จงเก็บแลรักษาสิ่งของที่ทายกทายิกานำมาไว้ประจำกุฏีหรือประจำศาลา เช่น เสื่อ หมอน ถาด โถ ถ้วย ชาม ถ้วยน้ำร้อย แก้วน้ำเย็น คนโทน้ำ มุ้ง กลด สบง จีวร ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ผ้าห่มหนาว กาน้ำ ตุ่มน้ำ เหล่านี้เป็นต้น จัดได้ชื่อว่าเป็นของสงฆ์ทั้งนั้น อย่าถือเอาไปเป็นสมบัติของตน เป็นโทษที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามแลปรับโทษไว้แล้ว ถ้าถือเอาของสงฆ์ที่เป็นครุภัณฑ์ ปรับอาบัติถุลลัจจัย เป็นสัคคาวร มรรคาวร ห้ามมรรค ห้ามผล
    ๗. อย่าเอาการงานที่หยาบ ๆ แลสกปรกขึ้นไปทำบนกุฎีหรือศาลาแห่งใดแห่งหนึ่งให้กระทบครูดสีบอบบี้เสียหายและเปื้อนเปรอะเลอะเทอะ ไม่สดสวยงดงาม ขาดความเคารพ ไม่ดี
    ๘. ระวังอย่าติดไปเตาอั้งโล่แลเตาสูบบนกุฎี วิหาร แลศาลา โรงธรรม โรงฉัน เพื่อสถานที่จะได้สะอาดแลห่างจากอันตรายด้วย
    ๙. อย่าต้มน้ำร้อน แลทำอาหารการกินบนกุฎีหรือศาลา โรงธรรม โรงฉัน เป็นการไม่เคารพต่อธรรมวินัย แลไม่เคารพต่อข้อปฏิบัติที่ตนปฏิบัติอยู่ทุกวัน
    ๑๐. อย่าฉันอาหารบิณฑบาตในกุฏิหรือในที่นอนของตน เว้นเสียแต่ป่วยหรือมีเหตุจำเป็น ถ้าว่าโดยปกติธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ต้องรวมกันฉันในที่โรงฉันแห่งเดียวกันเท่านั้น
    ๑๑. เวลาจะนอน จงเอาผ้าของตนปกคลุมหุ้มหมอนเสียก่อนจึงนอน ทุกๆ คราวไป
    ๑๒. อย่าเขียนกระดานพื้นฝาผนังแลต้นเสาแห่งกุฎีแลศาลาโรงฉัน
    ๑๓. ต้องบูรณะเสนาสนะสงฆ์แลของสงฆ์ที่ทรุดโทรม
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อวัตรในโรงไฟ
    ๑. ต้องชำระปัดกวาดโรงไฟให้สะอาดเสมอ
    ๒. ต้องแสวงหาฟืนมาไว้ในโรงไฟ ให้มีประจำโรงไฟเสมอ ไม่ให้ขาดได้
    ๓. เมื่อเวลาเข้าไปทำธุระข้อวัตรต่างๆ มีต้อมน้ำร้อนในโรงไฟเป็นต้น ต้องเข้าไปด้วยความสำรวมระวัง และเมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ต้องให้รีบเก็บสิ่งของที่ตนเอาไปใช้ในโรงไฟ แลชำระปัดกวาดเสียให้เรียบร้อย อย่าทิ้งสิ่งของให้เกลื่อนกลาดรกรุงรัง ขาดความเคารพนับถือธรรมวินัย ไม่ดี
    ข้อวัตรปฏิบัติในเวจกุฎี
    ๑. ให้ตั้งน้ำชำระไว้ประจำถามเสมอ ถ้าขาดก็ต้องตักมาใส่ไว้ แลให้หาไม้ชำระ ผ้าชำระ ไว้ประจำถานเสมอไม่ให้ขาดสักเวลา
    ๒. ให้รักษาความสะอาดในเวจกกุฎี คือ หมั่นปัดกวาดเสมอทุกคราวที่เข้าไปในถาน และเวลาจวนค่ำทุกๆ วันต้องไปปัดกวาดบริเวณถานโดยรอบเสมออย่าให้สกปรกได้ ทั้งข้างบน ข้างล่าง
    ๓. เวลาไปถ่ายอุจจาระในถานนั้น ถ้าเป็นส้วมซึม ให้เทน้ำลงในช่องถานก่อนจึงถ่ายอุจจาระลง เมื่อถ่ายเสร็จแล้วต้องชำระด้วยไม้หรือกระดาษ ล้างก้นให้สะอาดเช็ดด้วยผ้า เสร็จแล้วเทน้ำล้างช่องถาน ปิดกายด้วยดี ปัดกวาดถาน เสร็จแล้วจึงออกจากถานมา
    ข้อปฏิบัติในธุดงควัตร
    ๑. พึงปฏิบัติให้ถูกต้องตามแนวแถวแห่งอนุศาสน์ ๘ ประการ เว้นอกรณียกิจ ๔ ประการ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ลักของเขา ๑ ไม่เสพเมถุนธรรม ๑ ไม่สวดอุตริมนุสธรรม ๑ และปฏิบัติตามนิสสัย ๔ บำเพ็ญศีลสมาธิ ปัญญา ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
    ๒. พึงรักษาเตรสธุดงค์ ๑๓ ประการ คือ
    - ถือผ้าบังสุกุลจีวรเป็นเครื่องนุ่งห่ม ๑
    - ถือไตรจีวร ๓ ผืน ๑
    - บิณฑบาตรมาฉันทุกๆ วัน ๑
    - เที่ยวบิณฑบาตไปตามแถว ๑
    - ในวันหนึ่งๆ ฉันเฉพาะหนเดียว ๑
    - ฉันเฉพาะในบาตร ๑
    - ไม่ฉันภัตรที่เขานำมาเพิ่มเติมเมื่อภายหลังแต่ลงมือฉันแล้วไป หรือฉันอิ่มแล้ว หรือลุกจากอาสนะแล้ว ๑
    - อยู่ในป่าห่างบ้านประมาณ ๕๐๐ วา ๑
    - อยู่รุกขมูลร่มไม้ ๑
    - อยู่อัพโภกาสในที่แจ้ง ๑
    - อยู่ในป่าช้า ๑
    - อยู่ในเสนาะสนะที่ท่านจัดให้ ๑
    - ถือเนสัชชิก ๑
    ผ้ามหาบังสุกุลจีวรที่เกิดขึ้นในหมู่คณะกัมมัฏฐานหมู่หนึ่งๆ ซึ่งได้เคยจัดการมาแล้ว ถ้าพอผ้าสังฆาฏิหรือจีวรหรือสบงผืนใดผืนหนึ่ง หรือครบทั้งไตรก็ดี ก็ต้องตัดแลผลัดเปลี่ยนสงเคราะห์แก่หมู่คณะผู้ขัดข้องแลขาดเขิน นับตั้งต้นแต่อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้า ตลอดถึงพระภิกษุหรือสามเณร ผ้าขาวดาบส ถ้าไม่ทั่วถึงกัน ก็สงเคราะห์เป็นคราวๆ ไป คราวนี้ได้สงเคราะห์แก่ผู้นี้แล้ว คราวหลังก็สงเคราะห์ผู้ใหม่ต่อไป
    ๓. อาหารบิณฑบาต หรืออาหารอติเรกลาภ ที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา สำหรับที่จะเฉลี่ยทะนุบำรุงพุทธบริษัทผู้ตั้งในปฏิบัติพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นสหธรรมิกหรือเพื่อนพรหมจารีด้วยกันเท่านั้น
    ๔. วิธีแจกเสนาสนะ พระภิกษุหนุ่มผู้เป็นสัทธิวิหารริกหรืออันเตวาสิกทั้งหลาย ต้องเป็นหูเป็นตาดูแลจัดเสนาสนะอันเป็นที่สบายถวายแก่อุปัชฌายะและพระอาจารย์ ถ้าเป็นพระอาคันตุกะมาจากอาวาสอื่น พระภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส หรือภิกษุหนุ่มทั้งหลาย ต้องเป็นหูเป็นตาดูแลจัดเสนาะอันเป็นที่สบายถวายแก่พระอาคันตุกะที่มาแต่ในทิศนั้นๆ อย่าให้เป็นการฝืดเคือง แลแย่งชิงกันด้วยเสนาสนะ คือ กุฏิวิหาร หรือ สถานที่พักอาศัยเจริญสมณธรรม
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อวัตรของสัทธิวิหาริกแลอันเตวาสิก จะพึงปฏิบัติในอุปัชฌายะและพระอาจารย์
    ๑. พึงลุกขึ้นแต่เช้าประมาณ ๙ ทุ่ม หรือ ๑๐ ทุ่ม ถวายน้ำบ้วนปากแลไม้สีฟัน เมื่อท่านล้างหน้าเสร็จแล้วถึงถวายผ้าเช็ดหน้าแลเก็บตากไว้เสียให้เรียบร้อย
    ๒. เมื่อแจ้งเป็นวันใหม่ พึงเก็บเอาบาตร แลอาสนะผ้าปูนั่ง แลเครื่องใช้ มาปูแลตั้งไว้ที่โรงฉัน
    ๓. ก่อนแต่จะไปเที่ยวบิณฑบาต พระภิกษุสามเณรทุกๆ องค์ต้องมารวมกันที่ศาลาโรงฉัน เพื่อชำระปัดกวาดแลปูอาสนะตั้งน้ำใช้น้ำฉัน เสร็จแล้วพร้อมกันกราบพระเถระ นุ่งสบงให้เป็นปริมณฑล แลเอาผ้าสังฆาฏิกับอุตราสงค์ช้อนกันเข้าห่มให้เป็นปริมณฑล ตะพายบาตรด้วยจะงอยบ่าเบื้องขวาเป็นปัจฉาสมณะ ตามหลังพระอุปัชฌายะแลพระอาจารย์เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในละแวกบ้าน ตามระเบียบแบบแผนเยี่ยงอย่างของพระพุทธเจ้าแลอริยเจ้าสืบต่อเป็นลำดับมา
    ๔. เมื่อกลับจากบิณฑบาตใกล้ที่จะเข้าวัด สัทธิวิหาริกแลอันเตวาสิกต้องรีบกลับก่อน เพื่อเอาบาตรมาวางไว้ แล้วคอยรับผ้าสังฆาฏิแลล้างเท้าเช็ดเท้า เสร็จกิจตอนนี้ก่อนจึงบนศาลา จัดอาหารฉันบิณฑบาตต่อไป
    ๕. เมื่อฉันบิณฑบาตแล้ว พึงรื้ออาสนะแลเสื่อชำระปัดกวาดศาลาโรงฉัน แลบริเวณแห่งศาลา ตัดน้ำใช้น้ำฉันไว้ตามเดิม
    ๖. ตอนกลางวัน ตั้งแต่ฉันเสร็จแล้วไป ให้เดินจงกรมแลทำวัตรเช้า เจริญพรหมวิหาร ๔ นั่งสมาธิแสวงหาที่วิเวกสำหรับกลางวันทำความเพียรตลอดเวลา บ่าย ๓ โมง ออกจากวิเวก จัดเครื่องยาเลี้ยงน้ำร้อนเสร็จแล้ว ชำระปัดกวาดวัดวาอาวาส สรงน้ำชำระกาย ประกอบข้อวัตรตามหน้าที่
    ๗. ตอนเย็นตั้งแต่เวลาย่ำค่ำแล้วไป ให้หยุดการงานทั้งปวงหมดทุกอย่าง เตรียมตัวเข้าหาพระอาจารย์ ศึกษาหาอุบายทำใจได้ดีแล้ว เดินจงกรม ทำวัตรเย็น เจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิ ทำจิตทำให้ต่อไป
    ๘. ตอนมัชฌิมยาม นอนสีหไสยาสน์ เอามือซ้ายทับมือขวา เอาขาซ้ายวางทับขาขวา แต่ให้ลดลงไปประมาณครึ่งผ่ามือหรือครึ่งแข้ง มีเวลานอนตั้งแต่ ๔ ทุ่ม จึง ๙ ทุ่ม พึงลุกขึ้นแต่เช้า แล้วถวายน้ำบ้วนปากแลไม้สีฟันแก่พระอุปัชฌายะแลพระอาจารย์ แลกระทำความเพียรต่อไปจนสว่างเป็นวันใหม่
    ๙. เมื่อพระอุปัชฌายะมีกิจธุระ เช่น ซักผ้า ย้อมผ้า โกนผม โกนคิ้ว สัทธิวิหาริกแลอันเตวาสิกต้องรับภารธุระทำแทน หรือช่วยอุปัชฌายะแลพระอาจารย์ตลอดไป
    ๑๐. สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกต้องเป็นผู้ฉลาด รู้จักนิสัยใจคอของพระอุปัชฌายะและพระอาจารย์ต้องเป็นผู้ขอนิสัยอยู่ในสำนักพระอุปัชฌายะหรือพระอาจารย์ตั้งแต่วันอุปสมบทตลอดถึง ๕ พรรษา
    ๑๑. สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกต้องเป็นผู้มีองคคุณ ๕ ประการ คือ
    ๑. อริมตฺโต ปสาโท โหติ มีความเลื่อมใสยิ่งนัก
    ๒. อธิมตฺโต เปมํ โหติ มีความรักใคร่ยิ่งนัก
    ๓. อธิมตฺโต คารโว โหติ มีความเคารพยิ่งนัก
    ๔. อริมตฺตา หิรี โหติ มีความละอายยิ่งนัก
    ๕. อธิมตฺตา ภาวนา โหติ มีความเจริญเมตตายิ่งนัก
    ในพระอุปัชฌายะและพระอาจารย์ ถ้าขาดจากองค์คุณ ๕ ประการนี้แล้ว พระอุปัชฌายะหรือพระอาจารย์ต้องประณามนิสัย ถ้าไม่ประฌามนิสัย พระอุปัชฌายะหรือพระอาจารย์ต้องอาบัติทุกกฎ



    www.dhammasavana.or.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...