มหาปุญโญวาท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : คำนำ
    คำนำหน้าพาให้อ่าน

    ถาม : ข้าแต่ท่านพระอาจารย์
    ท่านเก็บอรรถเก็บธรรมอันเนื่องมาแต่องค์หลวง ปู่ทั้งหมด เท่าที่นับดูจำนวนเล่มทั้งหมดได้ เล่มนี้เป็นเล่มที่ ๑๐ ท่านเห็นประโยชน์อย่างใดหรือ?
    ตอบ : เก็บรวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ของท่านผู้อ่านศึกษาจะได้รู้จักในคติธรรมคำ สอน แนวเนตติ ปฏิปทาในพระธรรมวินัยอันผ่านการประพฤติปฏิบัติของพระอุปัชฌาย์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์อีกผู้หนึ่งให้ปรากฏเท่านั้น
    ถาม : ท่านหวังอย่างอื่นอีกหรือไม่?
    ตอบ : ก็ตามคติแล้ว การสร้างหนังสือธรรมะ ย่อมได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งโลกทั้งธรรม ในทางโลกก็จะเป็นเกียรติคุณ คือว่า ได้เกื้อหนุนให้ผู้คนได้รู้ได้เข้าใจ ได้ประพฤติดีประพฤติชอบในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป ในทางธรรมก็จะได้รับในรสของธรรมะนั้นๆ เข้าจับจิตเข้าจับใจจนเป็นเหตุต้นหนทางอันบริสุทธิ์สะอาดได้
    และเมื่อ โดยทั่วไปแล้ว
    การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมมีผลอันดีอันเลิศอันไพศาล
    เช่น ว่า ผู้ให้ก็ย่อมสุขใจว่าได้ให้ คือ แนะให้ทำอันชอบ แนะให้ประพฤติอันดีงาม
    ผู้รับก็ย่อมมีแก่ใจรับ เพราะได้รับแล้วในเนื้อธรรมแท้ๆ นี้ ไปไตร่ตรอง ตรวจตรา ประพฤติปฏิบัติตาม ตลอดจนได้แนะนำเจือจานผู้อื่นในสุจริตธรรมเหล่านี้เป็นต้น
    ถาม : มีอย่างอื่นอยู่อีกหรือไม่?
    ตอบ : เก็บรวบรวมเป็นเล่มขึ้นมานี้ก็เพื่อตอบแทนในอุปการะแห่งท่านทั้งหลายทุก ท่านที่ได้เกื้อหนุนพระพุทธศาสนานี้สืบมา
    ถาม : ก็ได้ความว่าท่านรวบรวมขึ้นมาด้วย อุตสาหะบากบั่นนี้ก็เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักข้อประพฤติอันสุจริตอันก่อ ประโยชน์อันเป็นสติธรรมปัญญาธรรม เป็นเช่นอย่างนั้นกระมัง
    ตอบ : เข้าใจถูกต้องแล้ว
    ถาม : ท่านคงเข้าใจว่า ตนแห่งครูบาอาจารย์ของท่านหรือแม้แต่ตัวท่านเอง หรือธรรมะขององค์หลวงปู่และคติของท่านพระอาจารย์ ดีกว่าของนักปราชญ์พระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ชั้นโบร่ำโบราณ อย่างนั้นหรือ
    ตอบ : ทำไม...? เธอจึงว่าเช่นนั้นเล่า ?
    ถาม : เกล้าก็เห็นว่าหนังสือเก่าๆ ก็มีมากนัก ปราชญ์โบราณแสดงไว้ก็มีอักโขหรือแม้แต่พระไตรปิฎกก็แจกแจงไว้แล้วตั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๓ หมวดปิฎก หรือแม้แต่เอาแค่ชั้นต้นยุคต้นวงศ์ของพระกรรมฐานธรรมยุตนี้ก็เกลื่อนกล่นล้น หลาม จะนั่งอ่านนอนอ่านแต่หนังสือเหล่านั้นชั่วชีวิตนี้ก็ไม่จบไม่หมดแล้วอย่าง นี้ท่านพระอาจารย์ไม่เหนื่อยเปล่าหรือไม่สิ้นเปลืองไปหรือเอาเวลาที่มานั่ง ขีดเขียนนี้ไปปฏิบัติเพื่อเอาตัวให้รอดมิดีกว่าหรือครับ

    ตอบ : อ๋อ...เธอเข้าใจว่า การที่อัตตโนคร่ำเคร่งกับกระดาษอักษรเช่นนี้ เพื่อจักรวบรวมเรียบเรียงหนังสือธรรมะ เพื่อจะอวดตนต่อธรรม , เพื่อจะอวดอ้างครูของตน และตนเอง , เพื่อจะอวดดิบอวดดี หรือยกตนข่มท่านผู้อื่นแลหมิ่นประมาทในปราชญ์ชั้นโบราณตลอดจนปราชญ์ร่วมยุค ร่วมสมัยนี้อย่างนั้นสิ
    โปรดอภัย...ความเข้าใจของเธอผิดไปแล้ว
    ความ จริงนักปราชญ์โบราณท่านเฉียบคมยิ่งแล้ว ใครจะหาญกล้าเข้าไปเปรียบเทียบได้ องค์ท่านเหล่านั้นได้อรรถาธิบายเอาไว้ แสดงสิ่งใดก็ชัดเจนแจ่มแจ้งในสิ่งนั้น ว่าสิ่งใดไว้สิ่งนั้นก็ลึกซึ้งกินใจ ประกาศสิ่งใดเอาไว้สิ่งนั้นก็เป็นธรรมเป็นประโยชน์ยิ่งที่สุดแล้ว อัตตโนหรือครูบาอาจารย์ของอัตตโนหรือในชั้นแห่งปาเจราจริยาจารย์โน้นก็ตาม ต่างก็มีความเคารพนับถือกราบไหว้บูชาอยู่เหนือเศียรเกล้า เทิดทูนเหนืออื่นใด หนักแน่นเป็นที่สุดแล้ว
    ที่มาพอใจยินดีรวบรวมไว้ นี้
    ก็ได้มาแต่พระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์นับรุ่น-นับรุ่นมาจน ปัจจุบันนี้ วิชาความรู้อะไรของอัตตโนเองนั้นไม่มีอะไรเลย
    ถาม : ถ้าอย่างนั้นท่านพระอาจารย์จะต้องรวบรวมให้เหนื่อยเปล่าทำไม ?
    ตอบ : ไม่เหนื่อยหรอก เพราะอัตตโนพอใจทำ
    และที่พอใจทำก็เพื่อจะผ่อนผัน และระบายสมมติจากชั้นของคนเก่ามาสู่ชั้นของคนใหม่ให้ลงรอยกัน ให้ไปกันได้ และให้เข้าใจได้โดยง่ายๆ ก็เท่านั้น
    ถาม : สมมติใหม่ – สมมติเก่าอะไรอีกเล่า ?
    ตอบ : ก็สมมติภาษาที่นำมาบรรยายธรรมนี้หล่ะ
    นับแต่พุทธกาลมาจนบัดนี้ หลายชั่วคนนัก เปลี่ยนยุคเปลี่ยนคราวเป็นภาษาสมมติ เปลี่ยนบัญญัติเป็นลำดับมา
    แม้จะเป็นเรื่องอันเดียวแต่ก็มีเก่ามีใหม่ ชื่อลงกันแต่อาการของผู้ศึกษามิอาจลงรอยเดียวกัน อย่างนี้เป็นต้น
    ยิ่ง นับเนิ่นนานสืบมา ยิ่งทำให้กังขาแลพิศวงในพระธรรมวินัยคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาหลายสืบรุ่นต่อรุ่นมาแล้ว ครั้นได้ตรองตามประสงค์ของพระโบราณจารย์เจ้าแล้ว จึงได้แปรอักขระพยัญชนะภาษาเพื่อจะได้สื่อสารผ่านถ่ายให้ตรงกัน เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาเล่าเรียนต่อไป
    และแน่นอนจะมิให้เสียหลัก เดิม มิให้เป็นคติความเข้าใจของตัวมิให้เป็นความเห็นโดยส่วนตัวเข้าไปเจือแทรกใน อรรถธรรมเหล่านั้น เป็นแต่เปลี่ยนแปลงให้เหมาะให้ควรแก่ยุคสมัย และผู้คนเท่านั้น
    รวมความว่าการบันทึก เรียบเรียง เพิ่มเสริมเนื้อหา ก็เพื่อเป็นส่วนของอรรถาธิบายแก่คนชั้นใหม่จะได้เข้าใจได้โดยรวดเร็วเท่า นั้น
    ถาม : ถ้อยคำเก่า หนังสือเก่า
    ตอบ : ใช้ได้ตลอด
    แต่ไม่ค่อยรู้จักใช้
    ภาษาทุกภาษาใช้ได้ ถ้าหากฟังแล้วเข้าใจ แต่นี่คำพูดคำกล่าวขององค์หลวงปู่โดยมาก เป็นภาษาชายขอบผู้คนภาษากลางก็ยากจะเข้าใจ เหมือนดังเครื่องประดับเครื่องใช้สอยของคนโบราณ เช่นที่มีอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆ หากเราผู้คนในยุคนี้เอามาใช้สอยก็เป็นอันว่าใช้ได้แต่ไม่เหมาะ จะต้องได้แต่ความหัวเราะเยาะเย้ยหยันจากผู้คนยุคนี้ไปเท่านั้น นี่เช่นกันคำพูดยุคหนึ่ง หนังสือยุคหนึ่งก็จะเป็นที่เข้าใจของคนยุคนั้น พอแปรเปลี่ยนยุคผู้คนก็แปรไป หรือเธอจะมีข้อคิดอย่างใด จงว่ามา
    ถาม : ท่านพระอาจารย์ชี้แจงมาก็พอฟังได้ พอเข้าใจได้ เปรียบเปรยได้ดี ขอถามให้ชัดอีกสักข้อเถิด ท่านมิได้ต้องการว่าเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเพราะว่าเป็นเจ้าตำรับตำรา เป็นผู้เขียนเป็นผู้รวบรวมอย่างนั้นสิ
    ตอบ : อัตตโน จะเอาชื่อเอายศอะไรกับธรรมะ
    อรรถธรรมคำพูด คำของพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ องค์ท่านเหล่านั้นก็สืบมาแต่ธรรมวินัยของพระบรมครูทั้งหมดทั้งสิ้น มิใช่คำของอัตตโน มิใช่เกียรติยศอะไรของอัตตโนหรอก
    เกียรติศักดิ์ เกียรติคุณใดๆ คุณงามความดีใดๆ หากเกิดหากมีขึ้นเพราะการกระทำของอัตตโน พร้อมด้วยคณะศิษย์ทุกหมู่เหล่านี้ ก็ขอได้เป็นเครื่องบูชาอันประณีตในพระรัตนตรัยเจ้านั้นเถิด
    ถาม : เกล้ายินดีพอใจมาก ขออนุโมทนาสาธุด้วย
    จาก การได้อ่านศึกษาเกือบจะครบทุกเล่มที่ผ่านมาแล้ว นับว่าได้ประโยชน์มากค่ายิ่งนัก ลึกล้ำ สุขุม แอบซ่อนให้สืบเสาะค้นหา และที่สำคัญยั่วยุให้เกล้าได้ประพฤติปฏิบัติตาม
    และวันนี้จะขอปฏิญญา ณตนต่อหน้าท่านอาจารย์ว่าในอรรถธรรมคำสอนขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เกล้าผู้นี้ “จะเดินตามทำต่อ” จะรักษาไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่
    ตอบ : ขออนุโมทนาสาธุการ
    ขอจงเป็นผู้เจริญสืบไป
    เจริญพร...
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๏ กราบ กรานพระพุทธเจ้า กรุณา สัตว์นอ
    ขอบ คุณพระที่พระคุณ พา สัตว์พ้น
    พระ องค์แผ่เมตตา ต่อมนุษย์
    พุทธ เจ้าจับเหตุต้น ดับด้วย ธรรมา ๚๛

    ขรรค์ชัย บุนปาน
    มติชนรายวัน อาทิตย์ ที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ หน้า ๓


    “ของดีมีอยู่ : มหาปุญโญวาท ๖”
    เนื่องจากปก
    มหาปุญโญวาท ๖ โอวาทธรรม ของ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    อำนวยธรรมถึง “ของดีมีอยู่” ขรรค์ชัย บุนปาน มติชนสุดสัปดาห์
    เพื่อ อ้างขออนุญาตนำข้อความทั้งหมดขึ้นปกหน้า มหาปุญโญวาท ๖ และมิได้เรียบเรียงร้อยถ้อยคำทั้งหมดอย่างเดียว ยังขออนุญาตเลียนแบบขนาดของหน้าหนังสือให้เท่ากับ “ของดีมีอยู่” เพราะเป็น “ของดีมีอยู่” อยู่ในที่นี้เช่นกัน
    โปรดอนุโมทนาสาธุเพื่อ อนุญาตแลประกาศในธรรมทาน
    เป็นมหาทานอันทุกคนเป็นเจ้าของของธรรมทานใน ครั้งคราวอีกคราโดยเสมอกัน
    ทุกคนล้วนแต่ต้องการความสมดุลในชีวิตทั้ง ส่วนกายและส่วนของจิตใจ นั่นหมายความว่าสุขภาพพลานามัยของเรือนกาย และสุขภาวะอันสงบสุข และรู้ปล่อยรู้วางของเจ้าของจิตใจให้ประสมประสานสอดคล้อง กลมกลืนจนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นอยู่และในความเป็นไปของตนทุกคน ในชุมชน ในแวดล้อม ในสังคม ในประเทศชาติบ้านเมือง
    หนังสือธรรมะมหาปุญโญวาทแต่เล่มต้นจนเล่มที่สุดท้าย
    หนังสือธรรมะ อื่นอันเนื่องแต่พระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ อันสืบมาแต่ปาเจราจริยาจารย์ ในอัตตโนทั้งหมดทั้งมวล ก็หวังจะให้เป็นแต่เหตุปัจจัยอันใหญ่อีกข้อหนึ่งเพื่อเป็นแกนหลักในผู้คนอัน เป็นเพศภูมิสถานกลางนี้สืบไป
    สมดังกับที่องค์หลวงปู่ได้บอกว่า “ ธรรมะ เป็นของสำหรับโลก
    เราให้โลกทั้งหมดแล้ว แต่...
    เรามิเคยอวดดี ต่อโลก....”
    เมื่อคำนึงถึงข้อนี้แล้ว
    อัตตโนจึงได้แต่อุตสาหะพากเพียรอยู่กับ กระดาษปากกา ดินสอ บันทึกและจดจารพร้อมทั้งเสาะหาส่วนเสริมเพื่อเติมอรรถาธิบายให้แจ่มกระจ่าง และกว้างขยายให้ได้ความเข้าใจ ให้ได้ความรู้ ให้ได้ความฉลาด
    ประเด็น สำคัญให้ได้สุข ให้พ้นทุกข์ได้บ้าง
    มหาปุญโญวาทเล่มที่ ๖ นี้นับเป็นความต่อเนื่องจากความเป็นมาอย่างต่อเนื่อง
    ในหมู่ ศิษยานุศิษย์ผู้ติดตามอ่านศึกษา ย่อมได้อ่านศึกษาในธรรมนัยอันหลากหลายในคติแห่งธรรมอันเอก คือความเป็นเอกในรสแห่งธรรม
    แต่เป็นความหลากหลายที่เนื้อความ
    เป็นเนื้อหาที่เข้มข้น ดำเนินมาเรื่อย หนักแน่นมาเรื่อย ไม่เคยแปรเปลี่ยน
    และ มิได้เป็นเรื่องแปลกเปล่า คือมิว่าจะต้องการอย่างใด นัยยะใด ก็สามารถสืบเสาะหามาอ่านมาชื่นชมกันได้
    เพราะหวังในความรื่นเริงในธรรม ศึกษา แด่ท่านทั้งหลายทุกท่านนี้แล
    อัตตโนจึงได้ทรงเอาไว้ซึ่งจุดยืน อันมั่นคง เพื่อบำเรอท่านทั้งหลายผู้เป็นศิษยานุศิษย์ในองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ แห่งวัดป่าวิเวกวัฒนารามสืบไป
    พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว : ผู้เรียบเรียง
    พิมพ์และเผยแพร่ : ครั้งที่ ๑ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม
    ครบรอบวันเกิดปีที่ ๙๘ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๑
    โดย : คณะศิษยานุศิษย์
    ภาพโดย : สุรพงษ์ วงศ์ไม่น้อย – อริสา พงษ์ศุภกิจ
    พิมพ์ต้นฉบับ : ครอบครัวลูก – ศิษย์ มุกดาหาร
    ห้ามเพื่อการจำหน่าย ; หากประสงค์จะพิมพ์เพื่อเผยแพร่
    โปรดติดต่อขออนุญาตจาก
    เจ้าอาวาส วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
    หมู่ ๙ บ้านห้วยทราย ตำบลคำชะอี
    อำเภอคำชะ อี จังหวัดมุกดาหาร ๔๙๑๑๐
    พิมพ์ที่ :
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คำนำหน้าเนื้อหา
    นับจาก (๑) “อรรถธรรมคำแก้ว”
    (๒) “มหาปุญฺโญวาท ๑”
    (๓) “คุรุ แก้วปณิธาน”
    (๔) “คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล”
    (๕) “แปดรอบธรรม – มหาปุญฺโญวาท ๒”
    (๖) “๙๖ ปี ศรีสงฆ์ธำรงศาสน์ – มหาปุญฺโญวาท ๓”
    (๗) “ธ คือ ครูอาจารย์ในธรรมอันบริสุทธิ์ – มหาปุญฺโญวาท ๔”
    (๘) “ผู้มากมี บุญ – ธรรมประวัติของหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ”
    (๙) “โพธิ์พระเบื้อง พุทธบาท – มหาปุญฺโญวาท ๕”
    และเมื่องานบันทึกธรรมแต่ละเล่มจบลง มีสานุศิษย์ในองค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ จำนวนมากที่เป็นนักอ่าน เป็นนักติดตาม เฝ้าตามศึกษาและตั้งคำถามท้าทายว่า “เอาเถอะ...! ท่านครูบาแจ๋วยังสามารถสร้างหนังสือธรรมใดออกมาอีก”
    แต่แม้กระนั้นก็ เถิด อัตตโนมิใช่เป็นบ้ากับคำชมป้อยอ ไม่เป็นบ้าไปกับคำร้องท้าของใครๆ หากแต่เป็นมาแต่แรกเริ่มเดิมแท้ คือเป็นคนชมชอบในสิ่งที่น่าคิดในถ้อยคำที่น่าใคร่ครวญ เพราะได้เครื่องอุบายสอนใจตน ในที่นี้คือได้จากความเมตตาการุณยธรรมแห่งพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ แห่งตนของตนด้วยแล้ว ในทุกถ้อยธรรมคำพูด ทุกๆกิริยาในองค์ท่านมีหรือที่จะปล่อยปละละทิ้งไปเสียให้ตกหายไปเปล่า
    ทุก กิริยามีแง่มุม ทุกคำพูดมีประเด็น ทุกครั้งมีหลักคิดและภูมิปัญญาและที่สำคัญยิ่งคือทุกอย่างทุกประการล้วนมาก ด้วยคุณค่า
    มีคุณค่าตรงที่กระแทกกระทั้นดั้นจิตใจให้กิเลสบาปกรรมอยู่มิ ได้
    หนังสือทุกเล่มที่อ้างไว้
    แม้เล่มอื่นๆ ที่ได้สร้างออกมาให้ปรากฏแล้วมากต่อมากเล่ม
    หนังสือทุกเล่ม มิใช่เพื่อการสร้างชื่อ สร้างเกียรติก่อกระแสอะไร หากแต่ตระหนักในหน้าที่ที่อยู่ ณ จุดนี้ คือ ได้ของดี
    เป็นของดีอันมี อยู่
    มีอยู่อย่างท้าทายและมากไปด้วยความสนุกสนานชวนรื่นรมย์
    และเป็นความรื่นรมย์ชมชอบอันงดงามในท่ามกลางความจริงที่เป็นกลางอันฉาย ฉานพาดต่อมาแต่ดวงใจอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ขององค์ท่านผู้แสดงดำริปริเปรยเผย ในขณะได้สดับและเฝ้าดูอยู่ด้วย
    แต่ทั้งหมดนั้น
    ก็ใช่ว่าจะบรรยายความ งามบริสุทธิ์อันลึกซึ้งล้ำลึกขององค์ท่านออกมาสู่อักขระ ตัวหนังสือนี้ได้จนหมด หากว่ายังอยู่อีกมากนัก ลึกล้ำสุดหยั่งคาด ประหลาดนักในเสน่ห์แห่งธรรม
    สุขุมชวนชมขบคิดน่าติดตาม
    ขบ คิดตีความได้ไม่มีที่สิ้นสุด
    ทุกครั้งที่ได้ยกขึ้นสู่ใจแล้วพิจารณาด้วย ดี จะตระหนักตระหนกในธรรมปฏิภาคแห่งองค์ท่านผู้เป็นธุลีดินแห่ง ฉายาหนึ่งของพระอริยสังฆเจ้า ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแลขององค์ท่านผู้เป็นพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ของเราท่านทั้งหลายด้วยกันเสมอกันนี้ด้วยแล
    มีอยู่เสมอๆ ว่าในความคิดอ่านที่ลึกที่สุดของหัวใจของอัตตโนบอกแก่ตนของตนว่าจะเป็นอยู่ ด้วยการท้อถอยและเปล่าดายมิได้เด็ดขาด เพราะผู้ที่หลบหนี หวาดกลัว ไม่มีใจต่อและรับโอวาทคำสอนครูบาอาจารย์ด้วยมือซ้ายนั้นมิเคยมีใครที่จะได้ รับชัยชนะได้
    ยิ่งการทำความเข้าใจ เสพสร้องในธรรมด้วยแล้ว จะมามัวแต่พิเคราะห์เป็นส่วนๆ เท่านี้นั้นเชื่อว่ามิอาจเข้าถึงได้ ความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่ของธรรมวินัยของสวากขาตธรรมของผู้ยิ่งใหญ่ได้แล้ว ในตนของตนเช่นนี้เช่นนั้น มิอาจทำได้และรับรู้เพียงการวิเคราะห์เป็นส่วนเสี้ยวแล้วนำมากระโตกกระตาก โอ้อวดไป ก็คงจะมิใช่แน่
    ที่ผ่านมาแล้วนับนานเนิ่นนาน แม้แต่เพียงบางบทบางตอนบางคำบางประโยคบางวลี ก็ต้องขบต้องบดต้องย่อยเข้าเป็นส่วนหนึ่งในตนของตนให้ได้ ตะเกียกตะกายเป็นแลตายซ้ำแล้วซ้ำอีก
    จนจิตหลอมรวมเป็นธรรม
    จนของ จริงแท้อยู่ในได้ออกมาเปิดมาเผย
    ก็อาจจักได้พยานปรากฏขึ้นมาในใจตนของตน ได้
    ความทรงคุณค่า ความงดงามในธรรมาลังการ จากที่สุดแห่งจิตใจของพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ จึงจักก่อสุขประโยชน์แก่เราได้ ดังฉะนี้แล
    และด้วยสำนึกว่าความหนักหนาของจิตใจที่แบกอวิชชาจนหนักอึ้งของแต่ละท่าน นี้นั้นมิใช่เรื่องง่ายดายเลยที่จะปลดปล่อยปลงวางได้โดยง่ายๆ ยากนักยากแท้ทีเดียว เหตุนี้เองแม้หนังสือธรรม อักขรานุสรณะ สาระสื่อแห่งธรรมใดๆ แม้จะดีจะสมบูรณ์จะบริบูรณ์ จะชวนอ่านจะมากมีอยู่อย่างชื่นชม ก็มิอาจพาท่านผู้อ่านศึกษาสานุศิษย์ในองค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เข้าถึงธรรมได้บรรลุธรรมแต่เพียงแค่ชั้นการได้อ่านได้ฟังและให้ขบคิดตามเท่า นี้ก็หากแต่ทุกท่านทุกคนเมื่ออ่านศึกษาแล้ว ขบคิดแล้ว เข้าใจได้อุบายแล้วมาตั้งใจทำตาม ประพฤติปฏิบัติตามอย่างสุดๆเท่านั้นที่จักรู้แจ้งในสวากขาตธรรม เป็นธรรมวิทู เป็นวิญญูหิติ
    หนังสือดีเป็นตัวเลือกหนึ่งของผู้ที่รักธรรมะ รักในภูมิปัญญาวิชชาญาณ
    หนังสือ เล่มนี้สร้างเพื่อเป็นบรรณาการคือ เครื่องปลอบประโลมในท่านผู้อยู่ท่ามกลางทุกข์นานา และให้เป็นประกายไฟ เพื่อจุดความหวังต่อในธรรมวิภาค และให้เป็นความรักความอบอุ่นในความแปรเปลี่ยนแลพลิกผันอันปกติของโลกทุกข์ นี้อยู่
    ในส่วนขยายแลตีความที่ปรากฏอยู่ปละปลาย แม้จะน่าสนใจและชวนติดตาม ก็ขอให้เข้าใจเถิดว่า เป็นมุมมองของอัตตโนผู้อ่อนด้อยในธรรมประสบการณ์ ผู้ยังหมกมุ่นอยู่กับกรอบจำกัดในการพินิจพิพากย์ในความรู้ความเข้าใจแห่งตน คือยังเป็นคำของคนโง่อยู่ในที
    จะอย่างไรก็จะรับผิดชอบให้เต็มตัว
    หาก เป็นความดีก็ยกเป็นเครื่องบูชาในพระรัตนตรัยเจ้านั้น
    หากเป็นความดีงามก็ ยกให้แก่ท่านผู้อ่านผู้ฟังทุกๆ ท่านเสมอกัน
    .........................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 1
    ภาค ๑
    มหาปุญฺโญวาท

    ประกาศตนต่อความเพียร
    “กายไม่ไหวแล้วหล่ะ แจ๋วเอ๋ย...
    ปีนี้ทำไม่ได้แล้ว”
    วันนี้หลวงปู่ได้บอกต่อผู้เขียนว่า องค์ท่านถือปฏิบัติเนสัชชิกในวันพระช่วงเข้าพรรษาตลอดมาทุกปี แต่พอลุมาปีนี้พรรษานี้ทำมิได้แล้ว เพราะรูปกายกำลังเรี่ยวแรงต่อสู้มิไหว
    แต่ ปีก่อนๆ ทั้งนอกและในพรรษาองค์ท่านจะทำได้ตลอดมา
    นี่นับว่าเป็นตัวอย่าง แห่งครู
    และศิษย์ที่จะเอาอย่างครู
    และการปฏิบัติขององค์ท่านนี้ก็ทำ มาอย่างเรียบเงียบ ผู้อยู่ใกล้ชิดจะรู้จักได้ ครั้นอายุมากขึ้นจะนอนพักเฉพาะกลางวัน ไม่นอนตอนกลางคืน เพราะองค์ท่านเคยให้คำอธิบายว่า “เป็นเครื่องประกาศคุณของความเพียร”
    หมาย ถึงการถือปฏิบัติในเนสัชชิกอันเป็นกิริยาหนึ่งของความพากเพียรในการประกอบ จิตจำเพาะจิตนั่นเอง
    ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐

    “ หยุด” แล้วก็ “ดูตัวเอง”
    ( คุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ)
    คุณย่าชีแก้ว ว่า “ซึง” แล้วกะ “เบิ่งเจ้าของ”


    องค์หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ว่า “ คิดเท่าไหร่ไม่รู้
    ต่อ เมื่อหยุดคิดจึงรู้
    แต่ต้องอาศัยคิดนั่นแหละจึงรู้”

    องค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ว่า “ หยุดเพื่อรู้
    รู้เพื่อหยุด”
    ( อย่า แล้วกะ ฮู้จักได้
    ฮู้จักได้แล้วกะอย่าได้)
    ( อย่า = หยุด ฮู้ = รู้ )
    ครั้นได้สืบค้นที่มาของคตินี้แล้วทราบว่า เมื่อครั้งที่คุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ กับเพื่อนชีเข้าศึกษากับองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าหนองผือ มีพระเถระผู้เรียนมากศึกษาตำรามามากรูปหนึ่ง เข้ากราบถาม องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยเอาปริยัติมาถาม มิใช่เอาปฏิบัติมาศึกษาหาความ
    องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กล่าวเสียงดังหนักแน่นเน้นน้ำหนักคำพูดสำทับลงไปในน้ำเสียง ว่า “ เซาๆ
    ฮีบเบิ่งเข้าหาตัว
    อย่าเบิ่งแต่ของนอก
    เซาๆ อย่าเมาแต่เว้า”
    ( เซา = หยุด ฮีบ – รีบ, เบิ่ง = ดู = พิจารณา )
    ทั้งหมดนี้ เป็นความลงเอยเข้ากันได้ของน้ำใสสะอาด เพราะองค์ท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วเป็นอย่างเดียวกัน เป็นเอกเป็นธรรม
    ดู ภายนอก คิดหาภายนอก ศึกษาแต่ของนอก นั้น
    มิอาจจะเป็นคุณขึ้นมาได้
    เพราะ รังแต่จะเป็นเครื่องวุ่นขุ่นมัวเท่านั้น
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขอธรรมะอย่างสั้น
    เช้านี้มีโยมคณะหนึ่งผู้หนึ่ง
    เข้ากราบองค์หลวงปู่ แล้วเขียนกระดานขอธรรมะ
    โยม : อยากจะพ้นทุกข์ในชีวิตนี้ จะได้หรือไม่เจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : ยิ้ม...
    โยม : ขอธรรมะอย่างสั้นๆ เพื่อการแก้ไขตัวเจ้าคะ
    หลวง ปู่ : อด... ขันติ
    สัจจะ...จริงใจ
    รักษาใจ บาปเกิดให้ละ
    ทำ บุญให้เจริญ
    เอาล่ะพอ
    โยม : กราบขอบคุณเจ้าค่ะ (น้ำตาไหลพราก ปีติดีใจมาก)

    ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐

    ส้มปานโห๋เงอะ

    อาหารกัปปิยภัณฑ์จังหัน อันใดที่มีรสเปรี้ยว ในหมู่ลูกศิษย์ที่รู้แล้วจะไม่จัดผลไม้หรือ อาหารรสเปรี้ยวถวายองค์หลวงปู่
    เพราะหลวงปู่จะบอกว่า “ ส้มพอปานโห๋เงอะโห๋งาก”
    “ กินของส้มหลายไม่ได้ ไส้จะกูดจะจังเป็นโรคในกระเพาะในลำไส้ รสอาหารอย่าให้หนักส้มหนักหวานหนักเผ็ดหนักเค็ม เพราะว่าพระ (พุทธ) เจ้าเพิ่นสอนเอาไว้แล้วให้พิจารณา ให้ประมาณ
    พิจารณาอันใดถูกกับธาตุกับ ขันธ์ มิใช่กับกิเลสรสชาติ
    พิจารณาอันใดเป็นโรคไม่เป็นโรค
    ประมาณ คือ ให้พอดี
    ให้พอสมกับเพศของตน”
    หรือไม่ก็ในบางวันบาง ฤดูที่มีเงาะมีทุเรียน องค์หลวงปู่ก็จะนึกถึงคำกาพย์โลกนิติ์ ของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาสว่า
    “ชาติหมากมี่หมากเงาะทุเรียน
    เพียรดูไปแต่หนามภายนอก
    ผ่าออกแล้ว หอมกลิ่นกินหวาน
    ควรเปรียบปานใจคอนักปราชญ์
    เพิ่นฉลาดใจชุ่มใจเย็น
    คนแลเห็นแต่ไกลน่าย้าน”

    จะเห็นว่าการ สอดแทรกอุบายธรรมคำสอน ขององค์หลวงปู่จะมีอยู่โดยทั่วไป ไม่มีข้อยกเว้นใด
    (ส้ม = เปรี้ยว โห๋เงอะโห๋งาก = หัวเงือกหัวนาค = เงอะงากงูแง้ว = เงือกนาคงูเงี้ยว, กูดจัง = หดตัวบีบตัวของลำไส้)
    = ส้มพอปานโห๋เงอะ เปรียบว่าไม่เคยมีใครได้ลิ้มรสของหัวเงือกหัวงากนั่นแหละ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้ากินอิ่มแล้วมันตั้งบ่แซบ
    “กินไปเถ๊อะ สูเจ้าคนน้อยคนแหน้น ของกินแซบกินลำ
    ผู้ข้าฯ แก่เฒ่ามาแล้วนี้ พวกเนื้อมันตั้งบ่เอา กินบ่มีรส สมัยเมื่อก่อนเป็นเณรน้อย กลับมาจากบิณฑบาตจกกินมานำทาง น้ำลายมันหวานมันต้องแซบ แก่เฒ่าแล้วนี้ ก๊อบแก๊บ จุบจิบ อิ่มแล้ว”
    “ฉันเห้อหลายๆ ครับผม”
    “เอาเถอะ..กินไป เถอะ จะแซบนัวอย่างใดก็ตาม ถ้ากินอิ่มแล้วมันตั้งบ่แซบ อิ่มแล้วเอามาให้กินอีกมันยังไม่เอา”

    การขบฉันขององค์หลวงปู่
    ยิ่งเมื่ออายุมากแล้วนี้ เมื่อรับมาอย่างใดก็ฉันไปอย่างนั้น ไม่จู้จี้จุกจิกใดๆ อันไหนไม่ฉันก็บอกให้ยกออก จะเก็บไว้ฉันไม่กี่อย่าง ยินดีตามมีตามได้มา ข้าวเหนียวจิ้มน้ำต้มน้ำแกง จิ้มน้ำพริกผักลวก และพวกเนื้อปลาบ้างนิดหน่อย ไม่เคยบ่นเรื่องอาหารการขบฉัน หากแต่จะบอกตรงๆ ว่า “อันนี้เผ็ด”
    “อันนี้เค็ม”
    “อันนี้ญ้ำมิได้”
    หรือ ไม่ก็จะบอกเชิงให้ความรู้ว่า “แกงหอยอย่าเห้อเผ็ด
    แกงเห็ดอย่าเห้อ เค็ม” หรือไม่ก็ว่า
    “แกงป่าเห้อหนักเคิ้ง แกงเมิงเห้อหนักมัน”
    ( ลำ – แซบ = อร่อย
    จก – ล้วง
    เห้อ – ให้
    เคิ้ง – เครื่องแกง
    เมิง – เมือง (แกงเมืองให้หนักกะทิ), ญ้ำ – เคี้ยว

    มะกะโล้งแหวนคอควาย
    มีโยมวัยรุ่นผู้หนึ่ง เข้ากราบองค์หลวงปู่แล้ว ถอดสร้อยพระ เพื่อขอให้องค์หลวงปู่เมตตาอธิษฐานจิตให้
    องค์หลวงปู่รับมาพิจารณาดู พลิกไปมาอยู่
    เขาก็ถอดสร้อยประคำอีกเส้นออกมา
    หลวงปู่รับมาพิจารณา
    เขา ก็ถอดแหนบห้อยพระจากหน้าอกและกระเป๋าเสื้อออกมา
    หลวงปู่รับมาพิจารณา
    เขา ก็ยกกระเป๋าสะพายขึ้นวางใกล้ๆ กับองค์หลวงปู่
    “โฮะ... อะหยังหนอ
    ซุม ปุซุมปุ้ย รุงรังแท้ๆ โลกหนอโลก”
    “เอาให้ขลังๆ นะครับหลวงปู่”
    “ขลัง ปานใดก็ตาย”
    “เพราะไม่อยากตาย จึงให้หลวงปู่ปลุกเสกให้ขลังละครับ”
    “เป็น ภาระต้องห่วงอาลัยดูแล ไม่หนักคอหรือ”
    “ไม่ครับหลวงปู่ พอใจครับ”
    “โง ควาย ตัวใดมันได้ห้อยเกราะห้อยกระดิง มันก็เป็นสุขพอใจมันม่วนงันในหูของมัน ตัวใดมันได้ห้อยมะกะโล้ง มันต้องกินหญ้าดี แต่พอสายมันขาดก็ไม่เป็นสุขใจได้ นี้ก็น่าจะเหมือนกัน”
    โยม หน้าเจื่อนจ่าย แล้วองค์ปู่ก็คืนของของเขาไป
    (มะกะโล้ง = เกราะ, กระดิง, กระดิ่ง, เกราะลอ แหวน = แขวน ม่วนงัน = สนุกเพลินใจ โง = วัว)
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้จะตัดทุกข์ให้ขาดได้
    เมื่อมีโยมผู้หนึ่ง นำใบมีดโกนตราขนนกมาถวาย ครั้นภายหลังจากองค์หลวงปู่ได้พิจารณาวัตถุทานทั้งหมดแล้วหลายรายการ มีใบมีดโกน มีดตัดเล็บ เข็มด้าย ที่องค์ท่าน บอกให้เก็บเอาไว้เพื่อแจกจ่ายแก่พระเณรต่อไป
    องค์หลวงปู่ถามโยมผู้นำมา ถวายว่า “ใบมีดโกนนี้คมดีไหม ?”
    “อย่างดีเจ้าค่ะ”
    “ถ้าคมมัน ดีก็ตัดให้ขาดได้ง่าย
    ความคมของใบมีดอาศัยใบมีด แต่มิใช่ใบมีดแต่เป็นความคม
    ผู้จะตัดทุกข์ให้ขาดก็ต้องอาศัยความคม
    ศีลของตน
    จิตของตน
    ปัญญาของตน
    คำว่าของตน คือ ความแหลมคม
    เมื่อคมได้ที่แล้วก็ตัดให้ขาดได้ง่าย เข้าใจไหมล่ะ”
    เมื่อ องค์หลวงปู่สำทับถาม โยมจึงตอบว่า “เข้าใจค่ะ”
    “แม้นบ๊อ” (จะใช่หรือ) หลวงปู่ย้ำถามพร้อมหัวเราะ
    โยมจึงหัวเราะตาม

    หัวใจมหาปุญฺโญวาท พรรษา ๒๕๕๐
    วันขึ้น ๔ ค่ำเดือน ๑๐ ปีหมู เช้าได้อรุณ
    องค์หลวงปู่ปรารภในขณะถอนจาก ภาวนา อยู่กับเก้าอี้นั่งภาวนา ว่า “ ใจรักษาใจ
    ตนรักษาใจ
    อะไร คือใจ อะไรคือตน นี้ยังเป็นโลก
    เป็นธรรมะได้นั้น
    ใจเป็น ธรรมะ
    ตนเป็นธรรมะ”
    องค์ท่านปรารภเท่านี้ก็หัวเราะพอใจ แล้วเล่าเรื่องฝนตกตลอดคืน
    นี้หัวใจห้องที่ ๑
    หัวใจห้องที่ ๒ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๐
    ขณะนั่งฉันอาหารเสริม ภายหลังอาหารหลักแล้ว
    องค์ท่านว่า “ เพิ่นครูอาจารย์เสาร์
    ฉันตุ่นปิ้งจ้ำแจ่วหมดข้าวติ บบักใหญ่
    ฉันได้หลาย ทำความเพียรก็ทำได้ทั้งวัน
    เพิ่นว่า “ อย่าเฮ็ดความชั่ว
    ให้เฮ็ดความดี
    ปฏิบัติเจ้าของให้มันได้”
    เพิ่นมาอยู่วัดหนองน่อง คนบ้านบากเอาตุ่นปิ้งมาส่งจังหัน โยมเขาปิ้งย่างสุกอย่างดี ตำแจ่วใส่ผักหอมมาถ้วยหนึ่ง ยกเข้าถวายประเคนกับเพิ่นวันนั้นเพิ่นรับแต่ปิ้งตุ่นจ้ำแจ่วอย่างอื่นไม่ เอา ฉีกดึงปุด คุ้ยแจ่วได้เอาเข้าปากมุ้ม คำข้าวตามเข้าไป ฉันจังหันได้ดี มุ้มๆ
    ผู้ข้าเป็นเด็กน้อยไปกับย่า
    เพิ่นครูอาจารย์ เสาร์ไม่ชอบเนื้อสัตว์ใหญ่”

    เอ้าเน้อลูกหลานเน้อ
    ตั้งใจไหว้พระเช้า – ไหว้พระเย็น จะนอน – นอนตื่นลุกขึ้น ไหว้ให้ได้ทุกวันอย่าให้ขาด อย่าไปทำกินแล้วนอน
    นอนตื่นขึ้นลุกมาหากิน
    ให้ไหว้พระ
    ให้ เมตตา หมู่สัตว์ทั้งหลาย
    ตั้งใจทำความดีทุกอย่างทุกประการ
    เก็บ สะสมไปเถอะ เป็นกิจเป็นหน้าที่
    นรกไม่เต็ม สวรรค์ไม่เต็ม
    สูจะไป ทางใด ไปทางสุขไปทางทุกข์
    ให้เพิ่มบุญกุศลแก่ตน รักษาตนให้ดี
    กายอย่า ให้เป็นบาป
    ใจอย่าให้เป็นบาป
    ให้ฝึกหัดภาวนานำเด้อ ลูกหลานเด้อ
    ตั้งใจ ให้ดีเน้อ เจตนาสูเจ้าจะมาบำเพ็ญบารมี
    มาเกิดแล้วให้เป็นบุญเป็นความดี
    อย่า เข้าใจว่าจะได้ไปนิพพานได้ง่ายๆ หน๋า
    ตั้งใจไปเถ๊อะ อย่าอยากเกินไป
    ดี ชั่ว บุญ บาป สุข ทุกข์ อยู่ในโลกนี้ของตน
    ตามไปโลกหน้าของตน
    ตั้ง ใจเถ๊อะ
    (อบรมชาวบ้านห้วยลึก / บ้านป่าแฝก)
    ๒๙ กันยายน ๒๕๕๐
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วันมหาปวารณาปี ๒๕๕๐ ปีนี้
    อัตตโนขออัญเชิญ ข้อความบางตอนจากพระไตรปิฎก (ความย่อ) จากฉบับย่อมาสู่การอ่านการศึกษาพิเคราะห์ดังนี้
    พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระองค์
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพารามพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์สมัยนั้นพระผู้มีพระภาค อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง เพื่อการปวารณาในวันอุโบสถ วันนั้นขึ้น ๑๕ ค่ำ ขณะนั้นทรงเห็นภิกษุสงฆ์นิ่งอยู่ จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราปวารณาแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะไม่ตำหนิการกระทำใดๆ ทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ?”
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงลุกขึ้นจากอาสนะทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง น้อมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมไม่ติเตียนการกระทำใด ๆ ทางกายหรือวาจาของพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ทำให้เกิดมรรคาที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดมรรคาที่ยังไม่กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคาที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งมรรคา เป็นผู้ฉลาดในมรรคา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สาวกทั้งหลายในขณะนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคาเป็นผู้มารวมกันในภายหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ขอปวารณากะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงตำหนิการกระทำใดๆ ทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ?”
    ดูก่อนสารีบุตร! เราไม่ติเตียนการกระทำใดๆ ทางกายหรือทางวาจาของเธอ ดูก่อนสารีบุตร! เธอเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้มีปัญญาเป็นเหตุให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาไว เป็นผู้ปัญญาเฉียบแหลม เป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ดูก่อนสารีบุตร! เปรียบเหมือนเชษฐโอรส (บุตรคนใหญ่) ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทำให้จักร (กงล้อ) ที่พระบิดาหมุนแล้ว ให้หมุนตามไปได้โดยชอบฉันใด เธอก็ฉันนั้น ย่อมยังธรรมจักร (กงล้อคือธรรม) อันยอดเยี่ยม ที่เราหมุนแล้ว ให้หมุนตามไปได้โดยชอบ.”
    พระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตำหนิการกระทำใดๆ ทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์ ก็ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ รูป เหล่านี้เล่า พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงตำหนิการกระทำทางกายหรือทางวาจาบ้างหรือ? พระเจ้าข้า !”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนสารีบุตร ! แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ก็ไม่มีการกระทำใดๆ ทางกายหรือวาจาที่เราจะตำหนิ ดูก่อนสารีบุตร ! เพราะในภิกษุ ๕๐๐ รูป เหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ รูปได้วิชชา ๓ ; ภิกษุ ๖๐ รูปได้อภิญญา ๖ ; ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้พ้นจากกิเลสโดย ๒ ส่วน คือพ้นเพราะสมาธิและพ้นเพราะปัญญา) ; ภิกษุที่เหลือเป็นปัญญาวิมุต (ผู้พ้นจากกิเลสเพราะปัญญา).
    ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าหุ่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง น้อมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! ข้อนั้นย่อมทำให้ข้าพระองค์แจ่มแจ้ง ข้าแต่พระสุคต! ข้อนั้นย่อมทำให้ข้าพระองค์แจ่มแจ้ง”
    “ดูก่อนวังคีสะ! ข้อนั้นจงแจ่มแจ้งเถิด ”
    ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาหลาย คาถาโดยย่อว่า
    “ในวันนี้ซึ่งเป็นวัน (ขึ้น) ๑๕ ค่ำ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้ตัดเครื่องผูก คือ กิเลสอันร้อยรัดได้ ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้สิ้นความเกิดอีกแล้ว ผู้แสวงคุณอันประเสริฐได้มาประชุมกันแล้วโดยความบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ มีอำมาตย์แวดล้อม เสด็จไปโดยรอบแผ่นดินนี้ อันมีมหาสมุทรเป็นที่สุดฉันใด พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ ผู้ทำมฤตยูให้เสื่อม ย่อมนั่งล้อมพระบรมศาสดาผู้ชนะสงคราม ผู้เปรียบเหมือนนายกองเกวียนผู้ยอดเยี่ยมฉะนั้น สาวกเหล่านั้นทั้งหมด เป็นบุตรของพระผู้มีภาค. มลทินย่อมไม่มีในที่นี้. ข้าพเจ้าขอไหว้พระผู้อาทิตยวงศ์ ผู้ฆ่าเสียซึ่งลูกศรคือตัณหาพระองค์นั้น.”
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พ้นนิสัยแล้ว

    พระหนุ่มรูปหนึ่งบวชได้ ๕ พรรษา พ้นภูมินวกะ ไม่ต้องถือนิสสัย ท่านดีใจมากที่ตนพ้นนิสัยแล้ว จึงคิดจะปลีกตัวออกไปท่องเที่ยวแสวงหาวิเวกธุดงค์ไปให้ทั่วให้หนำใจกับที่ ต้องกักขังตัวเองอยู่กับวัดอยู่กับครูบาอาจารย์มาแล้วตั้ง ๕ ปี
    พระ : ขอโอกาสกราบลาหลวงปู่ไปวิเวก
    หลวงปู่ : จะไปทางใด ?
    พระ : จะไปธาตุพนม แล้ววกขึ้นไปสกลนคร เดินไปเรื่อยๆ ครับ ขอโอกาสหลวงปู่จะให้ผมไปได้นานขนาดไหน
    หลวงปู่ : จะไปจริงหรือ
    พระ : ครับไปจริง จะให้ผมไปนานเท่าใดครับ ?
    หลวงปู่ : อย่าให้เกิน ๒ ปักข์
    (ปักข์ละ ๑๕ วัน เท่ากับ ๓๐ วัน เป็น ๒ ปักข์)
    พระ : โห...กระผม พ้นนิสัยแล้วนะครับ
    หลวงปู่ : โอ...ผู้ข้าฯ คนเฒ่าลืมนึกไป เอ้า... ถ้างั้นไปให้มันหายการอยากไปอยากมา เอากำหนดสัก ๑๐ วัน ก็พอนะ
    พระ : ...................
    (ไม่ มีคำจะว่าต่อ ได้สติแล้วจึงได้แต่กราบ ๓ ครั้ง แล้วลงจากกุฏิขององค์หลวงปู่ไป)

    อะไรจะเป็นอุปสรรค
    โยม : หลวงปู่ได้เรียน หนังสือไหมครับ แต่ก่อน
    หลวงปู่ : เรียนแค่ ป. ๒ ครึ่ง ได้ ๕ ภาคเรียน
    โยม : พออ่านออกเขียนได้ไหมครับ
    หลวงปู่ : อือ..อ่านออก เขียนได้
    โยม : แล้วการเรียนในทางธรรมะล่ะครับ
    หลวงปู่ : ไม่เคยสอบ สนามหลวงอะไรกับทางการหรอก
    โยม : ทำไมละครับ
    หลวงปู่ : การเรียน ธรรมะ ใครว่าจะเอาการอ่านออกเขียนได้มาเรียน การเรียนไม่เรียนทางตัวอักษร ไม่เป็นอุปสรรคดอกโยม เขาเอาใจมาเรียนกันทั้งนั้นแหละจึงได้ธรรมะ
    โยม : ครับ ผม... เข้าใจแล้วครับ
    กราบขอขมาโทษครับหลวงปู่
    หลวงปู่ : ไป เถอะ จะไปอ่านจะไปเขียนอะไรที่ไหนก็ไป
    มาถามพระเฒ่าเฝ้าวัดจะได้ ความอะหยัง
    [ในข้อนี้ภายหลังคล้อยหลังโยมผู้นี้ไปแล้วองค์หลวงปู่ก็ กำหนดนั่งภาวนา, ส่วนผู้บันทึกก็นั่งพิจารณาอยู่ จึงลงมติโดยส่วนตัวได้ว่า “จริงโดยแท้ธรรมะเป็นของมีอยู่แล้ว เป็นแล้ว เป็นธรรมอยู่แล้ว
    หากดวงใจเป็นผู้ค้นพบแล้ว ก็จบกัน
    “ผู้ใด เห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา”

    และได้พิจารณาระลึกไปถึงเรื่องของ มีผู้เข้าศึกษาธรรมะกับองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าหนองผือ ในเมื่อขณะที่คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ กับหมู่เข้าศึกษาและฟังธรรมด้วยเช่นกัน
    เขาถาม : พระธุดงค์พากันอยู่ดง อยู่ป่าอยู่บ้านนอกห่างไกลเช่นนี้ จะเรียนธรรมะ ศึกษาธรรมะกันอย่างไร
    “เรียน ด้วยการหลับตา แต่ตื่นใจ” องค์หลวงปู่มั่นตอบ
    ใช่เรียนธรรมะด้วยใจที่ตื่นอยู่
    ใช่ใจจริงๆ ใช่จริงๆ )

    ประโยชน์อะไร
    ถาม : หลวงปู่ครับ พระอรหันต์ยังมีอยู่ไหม
    ตอบ : มี
    ถาม : เมื่อมีแล้ว ก็มีทั้งไม่ประกาศตน และประกาศตน อย่างนั้นหรือ
    ตอบ : อย่างนั้น
    ถาม : แล้วจะ รู้อะไรจริง อะไรปลอม
    ตอบ : จะไปรู้หรือ เรื่องเฉพาะใครมัน (ปัจจัตตัง)
    ถาม : ที่ประกาศตน
    ตอบ : หมอหลวงปุมขี้ป้าง สาวแม่ฮ้างจ่ายสะเหน (เสน่ห์)
    หม้อน้ำเต็มมันบ่ดัง หม้อน้ำดังมันบ่เต็ม
    ขี้อวดขี้โอ่ ขี้โม้ขี้เมา
    ถาม : พอเข้าใจ ครับ แล้วที่ไม่ประกาศตนก็มีอยู่
    ตอบ : มี แต่ไม่บอก เพราะจะบอกไปทำไม ท่านผู้เป็นอริยะแล้วก็ไม่เห็นท่านบอกว่าท่านเป็นแล้ว ประโยชน์อะไร
    ถาม : ประโยชน์ของผู้คน เช่น จะได้ทำบุญกับท่าน
    จะ ได้มีความหวังและกำลังใจในการปฏิบัติ
    จะได้รู้ว่า พระอรหันต์ จะไม่ว่างจากโลก
    ตอบ : หากเพราะแต่เพียงแค่นี้เท่านั้นหรือ
    ถาม : ครับ ผม
    ตอบ : เอาเถอะ ไปเสาะหาเอาเองเถอะ ตาดีได้ ตาใบ้จาว
    (- หมอหลวงมาจ่ายยาแก้ไข้ป้าง
    เป็นสาวแม่ร้างมาจ่ายเสน่ห์ยาแฝด : ตรงข้ามกับที่เป็นอยู่
    - จาว คือ ตาถั่ว, ตาบอด
    มองอะไร ไม่เห็นจริง )
    ในเรื่องนี้ เรื่องทำนองนี้มีผู้เข้าถามคุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ เช่นเดียวกัน
    แล้วได้คำตอบกับคืนว่า “ คนจริงนิ่งเป็นใบ้
    คน เว้าได้นั้นไม่จริง”
    คือไม่รู้จะพูดจะประกาศไปทำไปกัน ประโยชน์อะไร
    เป็น แต่มุ่งในลาภสักการะ การชื่นชอบและกราบไหว้จากผู้คนเท่านั้น
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บุญของผู้ข้าฯ มีแล้วอย่างอื่น
    ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ พระอาจารย์เจ้าอาวาสดำริตกลงสร้างพระอุโบสถ อันได้รับพระราชทานมาแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ องค์หลวงปู่ไม่สร้าง พอลุสมัยนี้จึงได้ระดมทุนสร้าง
    ในการนี้องค์หลวงปู่ว่า “สูเจ้าอยากจะสร้างก็ให้สร้างไปเถอะ นั่นบุญของสูเจ้า บุญของผู้ข้าฯ มีแล้วอย่างอื่น”
    และในระยะนี้ท่านได้เตือนสติเสมอๆ ว่า “ใจต้องรักษานะ ก่อสร้างร่างแปลนนี้อย่าให้เป็นบาปนะ
    ใช้เงินเขาให้มา ให้เป็น
    เขาให้ก่อสร้างอุโบสถนะ
    อย่าเอาไปใช้อย่างอื่น”
    หรือ ไม่ก็พูดว่า “ผู้ข้าฯ ไปเห็นมามากแล้ว
    ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จทิ้ง ไว้ก้างย่าง ต่ามย่ามขี้เมี่ยงขึ้นกินเหล็ก ขี้ตะไคร่น้ำขึ้น ได้เงินมาแล้ว เอาไปใช้จ่ายอย่างอื่น ไม่ก่อสร้างทุกข์ตายหล่ะ ศรัทธาญาติโยมผู้หาเงินมาช่วยเหลือ..”

    ยาอายุยืน
    พูดขอ : หลวงปู่อายุยืนสุขภาพดี แข็งแรงอย่างนี้ ต้องมียาดีแน่ๆ เลย ลูกขอเมตตาจากหลวงปู่ด้วยเจ้าค่ะ อยากได้ตำรายา
    จะให้ : จะให้จะเอาไหมล่ะ แต่ตำรานี้ต้องกินทุกวัน ขาดไม่ได้ ขาดแล้วไม่เป็นยา
    จะเอา : เอาเจ้าค่ะ...(ขลุกขลักค้นหาสมุด ปากกาจากกระเป๋า)
    จะให้ : ไม่ต้องจดต้องเขียนดอก ไม่มาก
    โยม : เจ้า ค่ะ (พนมมือรอรับตำรายา)
    หลวงปู่ : พุท – โธ
    โยม : พุท - โธ
    หลวง ปู่ : จำได้หรือยัง
    โยม : แค่นี้หรือ (หัวเราะ – หัวเราะ)
    (หยุด หัวเราะแล้วกราบหลวงปู่ – หลวงปู่ก็หัวเราะ)

    มะกอกใส่แกงบอน หัวหล้อนฮองมะเหงก
    เมื่อ อายุมากขึ้น
    มีโยมเข้ากราบนมัสการในแต่วัน
    บางคณะก็เป่าหัวให้ ตบหัวตบหลังผู้ชาย โยมผู้หญิงก็จะเอาไม้เท้าเคาะศีรษะให้ ญาติโยมก็ชอบอกพอใจ ว่าหลวงปู่เมตตาหรือไม่ก็ว่าได้พลังบารมีได้สิริมงคล ได้กำลังใจดี
    เมื่อ ฤดูร้อน – เณรฤดูร้อนได้ถามองค์ท่านว่า
    “หลวง ปู่เอาคาถาอะไร เป่าหัวให้เขาครับ” เณรถาม
    องค์หลวงปู่ตอบว่า “เอาลม”
    “แล้ว เอาอะไรเคาะหัวให้เขาละครับ หลวงปู่อย่าบอกว่าไม้เท้านะครับ” เณรถามพร้อมพูดปิดหนทางหลวงปู่ และตัวเณรเองก็นั่งไม่ไกลจากหลวงปู่
    “เอา มะเก๊าะ” หลวงปู่บอกพร้อมกับโยนมะเหงกลงบนหัวเณรน้อย ไปไหนจะเอาแฮงๆ ใส่แกงบอนยังแซบ”
    เณรผู้ถามร้องว่า “ไม่เอาอีกแล้ว พอแล้วครับ”
    มะกอก มันหล่นให้ใส่แกงบอน หัวหล้อนๆ นี้ต้องใส่มะเหงก มาๆ ใกล้ๆ จะเอามะเก๊าะหล้อนให้กินอีก มันได้ปัญญามาถามดีแท้เณรน้อยตนนี้ (ฮา – ฮา)
    (มะ เก๊าะหล้อน = มะเหงก)
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อะไรมากกว่า
    ถาม : หลวงปู่ ครับ ระหว่างบุญและบาปในใจบุคคลอะไรมากกว่ากันครับ ?
    ตอบ : ทำ บาปก็ได้บาป
    ทำบุญก็ได้บุญ ผู้ใดทำบุญก็ทำบุญได้มาก เพราะเห็นคุณค่าของบุญ แต่ผู้ใดทำบาปมากก็ได้บาปใจห่างจากบุญ ได้รับผลคือทุกข์ร้อนใจ
    ถ้าหากยังอยู่ในโลกนี่อยู่ ก็ว่าดีไม่ทั่วชั่วไม่หมด ดีชั่วปะปนกันอยู่ ที่ไหนมีคนดีที่นั่นมีคนชั่วเหตุว่าทั้งกิเลสทั้งคุณธรรมของพุทธะเป็นอยู่ สลับกันไป
    แต่โลกนี้บุญมากกว่าบาป คนดีมากกว่าคนไม่ดี คนมีสุขมากกว่าคนมีทุกข์
    ขอให้เป็นกลางให้ได้ แต่ละอย่างก็ดีไปตามสภาพของตนๆ

    ใครจะเก่งสู้พระ (พุทธ) เจ้า

    เมื่อมีผู้มา นิมนต์ให้หลวงปู่ไปในงานพุทธาภิเษกวัตถุมงคล หรืออะไรก็ตาม ในสมัยที่องค์ท่านยังไม่ผ่อนผันให้ หรือแม้แต่มีพระเถระผู้ใหญ่เข้ามาถาม
    เช่น ครั้งหนึ่งองค์หลวงปู่เอาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ไปถวายองค์หลวงปู่หล้า (เขมปตฺโต) วัดภูจ้อก้อ บ้านแวง องค์หลวงปู่หล้า ได้ถามถึงเรื่องการปลุกเสกพระพุทธาภิเษก ว่า
    ถาม : ท่าน อาจารย์เห็นว่าอย่างใด เขามีฎีกานิมนต์ให้ไปพุทธาภิเษกพระ
    ตอบ : ลูก ศิษย์จะไปเสกอาจารย์อย่างนั้นหรือ
    ใครจะเก่งสู้พระ (พุทธ)เจ้า
    ขี้ กะโล่สมัยใหม่ ตัวเจ้าของมันยังเสกไม่ได้ อย่าไปส่งเสริมเขานะ
    ผมนี้ ไม่เอาด้วยหรอก
    ถาม : โดยข้าน้อยฯ ผมกะบ่เอาดอก

    ใครบ้างถึงพระนิพพาน
    ถาม : หลวงปู่ครับ นักปฏิบัติ ครูบาอาจารย์นักบวชผู้บวชมานาน บางรูปจนเฒ่าจนแก่แล้วที่ปฏิบัติกันอยู่นี้จะได้ไปนิพพานกันหมดเลยหรือครับ เพราะได้ยินบ่อยๆว่า ตายแล้วกระดูกแปรสภาพเป็นธาตุ หรือองค์นั้นองค์นี้ไปอริยภูมิชั้นนั้นชั้นนี้ ?
    ตอบ : ได้แต่ผู้ได้ ถึงแต่ผู้ถึง
    จะถึงนิพพานก็แต่ผู้ปฏิบัติชอบเท่านั้น ผู้ใดดำเนินตนตามศีลของพุทธะ สมาธิของพุทธะ ปัญญาของพุทธะ มรรคของพุทธะ ผู้นั้นจะรู้จักทุกข์ได้ว่า ทุกข์อย่างใด ทุกข์เกิดจากอะไร ดับอย่างไร ทุกดับไปอย่างใด
    พระ(พุทธ) เจ้าทรงยืนยันเอาไว้แล้วว่า อิเม จ ภิกฺขุ สมฺมา วิหาเรยฺยุ อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺส...
    ถ้าภิกษุ สามเณรนักบวชในพระพุทธศาสนาเป็นอยู่ไปโดยชอบธรรมเที่ยงตรงในวินัยโลกก็จะไม่ ว่างจากพระอรหันต์ผู้จะเข้าสู่พระนิพพาน
    แต่นี่เดี๋ยวนี้ นักบวชสมัยนี้ เขาเก่งกว่าพระพุทธเจ้าผู้เป็นอาจารย์เสียอีก การหาวัตถุปัจจัยเงินทองลาภสักการะผู้คนชาวศรัทธาเขาก็เก่ง ขึ้นเรือนนั้นลงเรือนนี้ การอยู่กินขบฉันก็สัพเพเหระเปะปะไปเรื่อย อะไรไม่ติดคอเป็นอันฉัน การบัญญัติความบริสุทธิ์ให้แก่กันและกันนี้ก็เก่ง
    อะไร เล่าจะชำระล้างสันดานคนให้สะอาดบริสุทธิ์ได้เท่ากับศีลธรรมของพุทธะ
    นี่ พอมาปฏิบัติกัน พอมาบวชมาศึกษาก็ทำด้วยอยากได้หมายเป็นอยากเห็น อยากรู้ ก็ตัวเป็นทุกข์เพราะอยากแท้ๆ ก็ไม่รู้ เที่ยวประกาศอวดอ้างภูมิเพศของผู้บริสุทธิ์กันไปตามเมาตามหลง ท่านผู้ได้แล้วท่านรู้สังวรของท่านอยู่ ไม่มีมายาโอ้อวดหรอก ไม่มีมายาจะมารับรองตน จะไปเที่ยวรับรองคนนั้นคนนี้หรอก
    หากยังประกาศ อยู่แสดงว่าไม่ถึงคำว่าปัจจัตตัง ปัจจัตตธรรม

    ส่วนเรื่องกระดูกแปรเป็นธาตุเป็นก้อนขึ้นมานั้น ก็จะมีอะไรก็อนิจจังนี้หล่ะ หากไม่แปรสภาพก็มิใช่อนิจจัง มิใช่อนัตตา
    อย่า ไปตื่นกับวัตถุธาตุในโลก เป็นอยู่อย่างนี้เสมอมามิได้ขาด
    ถาม : แล้ว หลวงปู่ได้นิพพานแล้วหรือยัง
    ตอบ : ทั้งสุกทั้งดิบยัง มิได้สักนิพพานถ้ายังละกิเลสมิได้
    ถาม : ในเมื่อหลวงปู่ละยังไม่ได้ แล้วหลวงปู่รู้ได้อย่างไรว่าพระนิพพานเป็นสุข พระอรหันต์เป็นผู้ถึงสุขโดยส่วนเดียว
    ตอบ : เออ..ถาม ได้ดีแท้ คนหนึ่งไม่เจ็บไม่ป่วยก็เป็นอยู่สบาย แต่พอไปโรงพยาบาลหรือไปเห็นคนเจ็บป่วยร้องโอดโอยครวญคราง ก็ย่อมจักพอรู้จักได้ในเวทนาอันนั้น ข้อนี้ฉันใด คนผู้หนึ่งได้สุขคนผู้หนึ่งได้ทุกข์ จะรู้จักทุกข์แลสุขของกันและกันก็ได้ด้วยการอนุมาน
    เช่นยาจกอนุมาน ว่า เศรษฐีผู้มั่งคั่งมีความสุขมีความสะดวกสบาย
    ผู้เดือดร้อนด้วยความ อยากความทะเยอทะยาน
    ผู้เดือดร้อนด้วยความโขด (โกรธ) พลุ่งพล่าน พยาบาท
    ผู้เดือดร้อนด้วยความมัวเมา
    เมื่อมาเห็นท่านผู้สงบ อยู่ภายเป็นสุข ไม่ทุกข์ร้อนใดๆ ด้วยกิเลส ย่อมพอจะดูออก รู้เห็นได้ว่าท่านผู้นั้นมีความสุขสงบยิ่งกว่าตน
    ถาม : ผู้ได้ธรรมะในแต่ละชั้นของอริยภูมินั้น รู้จักตนเองได้แล้วจะรู้จักผู้อื่นที่ได้ธรรมะชั้นเดียวกัน หรือชั้นต่ำกว่า อยู่หรือครับ
    ตอบ : เมื่อสิ้นเหตุ ปัจจัย ย่อมรู้ว่าสิ้นเหตุปัจจัยแล้ว จึงไม่มีการสืบต่อในภายชาติในพระบาลีกล่าวว่าเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นญาณรู้ว่าหลุดพ้นย่อมเกิดขึ้นคือรู้จักตัวของตัวเองได้ รู้ว่าชาติความเกิดสิ้นแล้ว การทำความดีของตนบริสุทธิ์แล้ว พรหมจรรย์ได้จบแล้ว กิจใดๆ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำอีกไม่มีอีกแล้ว
    นี้คือความรู้ตัวของพระอริยเจ้า แต่จะรู้จักท่านผู้อื่นที่ได้ธรรมะระดับเดียวกัน หรือระดับต่ำกว่านั้น ครูอาจารย์ขาว (อนาลโย) เคยบอกว่า
    “ น้ำเข้ากับน้ำ
    ดินเข้ากับ ดิน
    น้ำมันเข้ากับน้ำมัน”
    นี่ปัจจัตตังของธรรมเป็นเช่นนี้
    หรือจะให้ว่าอย่างใดล่ะ ความเข้าใจเป็นอย่างนี้”
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอบอย่างนี้ก็ตอบ
    เมื่อครั้งไปนิมนต์ที่บ้านกรุงเทพภาวนา
    มีโยมนักปฏิบัติคนหนึ่งมา ปฏิบัติภาวนาด้วยทุกคืน (๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น.) เมื่อก่อนปฏิบัติและหลังปฏิบัติก็ฟังหลวงปู่อธิบายบ้าง ตอบคำถามบ้าง
    ครั้น หลายวันเข้า โยมผู้นี้คุ้นเคยองค์หลวงปู่มากขึ้น แล้ววันหนึ่งเธอก็ได้บ่นให้องค์หลวงปู่ฟังว่า “ผมเครียดกับแฟนผมมาก แต่งงานกันมา ๖ ปีแล้ว ยังไม่ได้ลูก แต่ก่อนอยากได้ลูกกันมาก แต่เดี๋ยวนี้จะได้หรือไม่ได้ก็วางแล้ว แต่มาเครียดเรื่องใหม่ ผมอยากให้เขามาภาวนาด้วย ชวนมาก็ไม่อยากมา แต่ชอบออกไปเที่ยวเล่นในกลางคืน ไม่รู้จะทำอย่างไร เครียดมากครับหลวงปู่”
    “ธรรมดา ล่ะคู่ผัวเมีย” หลวงปู่ตอบ
    “จะแก้เครียดยังไงครับ” โยมถาม
    “ไม่ ยากหรอก นอนนำกันก็หายเครียดได้แล้ว”
    (นอนด้วยกันก็หายเครียดแล้ว)
    เมื่อโยมผู้นี้เข้าใจในคำตอบแล้วก็หัวเราะชอบใจมาก และชมหลวงปู่ว่า เข้าใจโลกมนุษย์ ธรรมชาติมนุษย์ได้ดี แล้วหลวงปู่สอนอีกว่า “เราหล่ะเอาแต่มาภาวนากลับบ้านไปก็ดึกแล้ว ยังหน้อยยังหนุ่มอยู่ ต้องรู้จักกิจของคู่ตัวผัวเมีย เราหล่ะอยากให้เขามาภาวนา เขาก็ไม่เอาแล้ว กลับไปนี้ไปนอนนำกันเสีย แล้วบอกว่าหลวงปู่บอกว่าพรุ่งนี้ให้ไปภาวนาอยู่ด้วย เขาก็จะมาเองหล่ะ”
    โยม ผู้นี้คงจะทำตามคำสอนของหลวงปู่ทุกอย่างทุกกิจ
    พอวันรุ่งขึ้นโยมผู้เป็น แฟน เธอก็มาภาวนาอยู่ด้วย และปวารณาตัวเป็นลูกศิษย์ขององค์หลวงปู่ตลอดไป
    แต่ มาอีกไม่นานทราบว่า ตั้งท้องมีครรภ์ ยิ่งทำให้ผัวเมียคู่นี้ศรัทธาในองค์หลวงปู่มากยิ่งขึ้น ทราบว่าได้บุตรชาย
    ล่า สุดมาบอกว่า จะให้บวชพระอยู่กับหลวงปู่ให้ได้

    อะไรปรุงอะไร
    โยม : ผมได้ฟังหลวงปู่เทศน์ว่า บุญไม่เป็นตนเป็นตัว
    บาปไม่เป็นตนเป็นตัว
    ใจไม่เป็นตนเป็น ตัว
    แต่เป็นของมีฤทธิ์
    คำว่ามีฤทธิ์ของหลวงปู่ คือ บุญบาปตกแต่งใจ ใช่ไหมครับ
    ตอบ : อือ
    ถาม : บุญบาปมาแต่กิเลส มาแต่ใจคิดใจนึกนั้นหรือครับ
    ตอบ : อือ
    ถาม : ใจปรุงกิเลส หรือกิเลสปรุงใจ จึงเป็นไปได้ทั้งบุญทั้งบาป
    ตอบ : จิตอยู่ของจิต ใจอยู่ของใจ
    กิเลสอยู่ของกิเลส ผู้ปรุงสังขารอยู่ของสังขาร
    รวม กันเมื่อใดก็ยุ่ง
    ถาม : แล้วอะไรปรุงอะไรละครับ
    ตอบ : สังขาร ทำงานของมันเท่านั้น เป็นบุญก็เป็นได้
    เป็นบาปก็เป็นได้
    มี ฤทธิ์ คือ พาให้พ้นจากบุญจากบาปประการใดๆ ได้ ไม่ต้องปรุงไม่ต้องปั้นอะไรอีก หมดภาระ หมดเรื่อง ที่จะพูดกันอีก
    ถาม : หมดฤทธิ์ด้วยหรือครับ
    ตอบ : เอ้า ก็บอกแล้วว่า หมดเรื่องที่จะพูด
    โยม : ฮา – ฮา – ฮา (ฮา เพราะตามองค์หลวงปู่ไม่ทัน)
    ฮาแล้วลากลับ

    ขี้คร้านพูดแต่ก็ต้องพูด
    ระยะเวลาช่วงนี้ เป็นช่วงฤดูกาลกฐิน มีทั้งหมู่พระเณร คฤหัสถ์ฆราวาสญาติโยม ท่องเที่ยวและเสาะหาทำบุญ แม้ที่วัดของหลวงปู่นี้ก็เช่นกัน มีมาทุกวัน – วันละหลายคณะ องค์หลวงปู่บอกเปรยว่า “เขาตื่นเต้นบุญกฐิน เข้าใจว่าจะได้บุญมาก จึงเสาะหาทำบุญกับพระเณร นี้เรื่องของญาติโยม ส่วนพระเณรพอได้เงินเขาทำบุญแล้วก็ได้สตางค์ค่าน้ำมันค่ารถ ก็พากันเที่ยวไปตามใจชอบ ว่าอยู่ที่เดิมมันหง่อมมันเหงา
    กินข้าวกินน้ำ ชาวบ้านอิ่มแล้วไปเที่ยว จนมืดจนค่ำยังไม่เข้าวัด
    เป็นพวกขี้คร้าน กรรมฐานไม่เล่าเรียน
    บางพวกเป็นสุกร กินแล้วนอนไม่ทำเพียร ข้อวัตรไม่ใส่ใจ ธรรมวินัยไม่ศึกษา คนที่เป็นสมภารยิ่งหนัก ของวัดเงินวัดของสงฆ์ไม่เข้าใจโลภเอาเป็นของตัว เอาตัวเองเป็นใหญ่ เห็นแก่ได้เป็นของตัว นี้มีมากนัก
    อื่นๆ ก็มีอีกมาก อิเหละเขละขละ น่าละอาย
    พระบัญญัติอาบัติผิดถูกไม่ใส่ใจหรอก
    มรรคผลไม่หมดเขตหรอก แต่คนผู้มาบวชคนผู้มาปฏิบัติทำตัวเองให้หมดเขตเป็นเปรตเป็นมารไปเสียเอง
    พวก นี้มันดูถูกตัวเอง มันก็ต้องเป็นไปของมัน
    เฮ้อ..! ขี้คร้านพูดกับพระเณรทันสมัย”
    ๑๘ พฤศจิกายน ๕๐
    (จากคำปรารภขององค์หลวงปู่ในข้างต้นนี้ มีคติข้อที่ควรคิดครวญอยู่ว่าผู้ที่เป็นเจ้าอาวาส เป็นสมภารวัด เป็นประธานสงฆ์ ต้องปกครองตนเองให้ดีและให้ได้ ต้องสำเหนียกสำนึกระวังในเรื่องวัตถุให้มาก และที่สำคัญต้องบอกเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ตนยังไม่หมดกิเลสจะประมาทมิได้ จะมาเน้นที่วัตถุนวกรรมการก่อสร้าง จนเกินกำลังก็คงจะมิใช่
    เพราะข้อนี้จะสร้างความลำบากให้แก่ญาติโยมผู้มาศรัทธา
    เท่าที่ สังเกตมาแล้ว หนักหนาบางรายเป็นหนี้สินนุงนังไม่ต่างจากชาวบ้าน, บางรายวิ่งเต้นหาโยมคนนั้นคนนี้ หาวัสดุที่นั่นที่นี่ หาผ้าป่าหาเงินหาขอ หรือที่สุดก็ทำกิจกรรมใดๆ ก็ได้ขอให้แปรเป็นตัวเงิน จากพระจากสงฆ์แปรไปเป็นผีเป็นพราหมณ์ ในข้อนี้องค์หลวงปู่บอกสอนเสมอว่า “อย่าตามใจตน – อย่าตามกิเลส อย่าทำชีวิตให้เป็นหมัน มาบวชนี้มิใช่มาเพื่อสะสางชะล้างตัวเองให้สะอาดด้วยพุทธวินัยมิใช่หรือ” นี้คือข้อเตือนตนจากองค์หลวงปู่
    จะเห็นได้ว่าสมภารผู้เป็นหัวหน้าวัด สำคัญยิ่งนัก เพราะเป็นผู้นำกุลบุตรลูกหลานว่านเครือในพุทธธรรม จะนำสู่มรรคผลจนลุนฤพาน หรือจะนำไปสู่ห้วงนรกหมกบาป ก็เป็นไปได้ทุกทาง
    มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสต้อนรับพระเถระ ๓๘ พรรษา ท่านมาร่วมงานเจดีย์ที่สำนักแม่ชี เมื่อนำท่านขึ้นพักที่กุฏิรับรองแล้ว ท่านก็ถามหาของขบฉันยามบ่าย จึงได้เรียนท่านว่า “ที่นี่หลวงปู่ไม่นิยมให้ขบฉันจุบจิบ”
    ท่านก็เลยบอกว่า “เราถือเคร่งเกินไปเราก็จะไม่มีหมู่มาอยู่ด้วย นานไปก็จะไม่มีกุลบุตรลูกหลานเข้ามาบวช เข้ามาสืบทอดพระศาสนา ที่วัดผมไม่เคร่งและไม่หย่อน แต่มีทุกอย่างให้ขบฉัน ลูกอม ขนมเยลลี่ ลูกท้อ บ้วย สมอจีน เฉาก๊วย ปานะ น้ำผัก สาหร่ายแผ่น เนยกวน ลูกยอ เมล็ดทานตะวัน กระเทียมดอง ยาร้อน (ต้มน้ำผักปรุงรสชนิดต่างๆ) ลูกพรุน...ฯลฯ”
    ขณะที่ท่านสาธยายอยู่นั้น ผู้เขียนก็จัดน้ำเปล่าถวาย และขอโอกาสกราบท่านลุกลงจากกุฏิ และมิได้ว่าอะไรแก่ท่าน เพราะเราไม่เอาคำของท่าน ท่านติดฉันเราไม่ติด
    นี่สมภารนำหน้าในการกิน นิมนต์เถ๊อะท่านเอย ปากท้องเป็นของท่าน
    อีกประเด็นหนึ่งคือ พระเณรได้เงินจากกฐินจากผ้าป่าจากการให้ทานของผู้คนชาวศรัทธาแล้ว เตร่เที่ยวเทียวไปเรื่อยตามชอบใจ
    นี่พวกนี้ องค์หลวงปู่ว่า “พวกไม่ได้นิสสัย
    ไม่มีอะไรกับเขาหล่ะคนพวกนี้ หาวิธีรายการออกจากวัด ว่าจะไปนั่นนี่ ธุระอย่างนั้นอย่างนี้ เคยถามเขาว่าทำไมชอบท่องเที่ยวแท้หล่ะ...โอ๊ะท่านหลวงปู่ไประบายอารมณ์เราก็ ว่า มากจนต้องระบายออกหรือไอ้อารมณ์นี่ เขาก็ว่าครับ”
    นิสสัยอย่าง หนึ่งของพระเณร ที่หลวงปู่พร่ำสอน คือ สุหุชุธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความไม่มีมายาสาไถย มีอะไรก็ให้กราบเรียนครูบาอาจารย์ทั้งหมด ไม่ปิดบังอำพรางครูบาอาจารย์ของตน เพราะสันดานดิบห่ามเป็นเรื่องที่เกินกว่ากำลังของตนอยู่แล้ว )
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    งานของใครมีอยู่
    จากการได้อาศัยในร่มเงาชาย คาในบุญขององค์หลวงปู่ ได้ทำหน้าที่ของตนเพื่อถวายความผาสุกให้แก่องค์ท่าน ซึ่งหน้าที่อันเกี่ยวกับด้วยองค์ท่าน หรือเนื่องด้วยองค์ท่านก็ตามองค์ท่านไม่ต้องการความยุ่งยาก และยุ่มย่าม ให้เป็นไปอย่างเรียบง่าย สบายอยู่ง่าย ฉันง่าย ไม่พิถีพิถัน
    แต่ก็ ให้โอกาสในอาจาริยวัตร หากแต่เมื่อทำอะไรเรียบร้อยแล้วก็ให้ออกไป เพื่อศึกษาพระธรรมตำราสมาธิภาวนางานของตนต่อไป
    “ไป๊...ไปเถ๊อะ งานของเจ้าของมีอยู่
    วินัยทำแล้ว ให้ไปทำกับธรรมะ อย่ามาทุกข์กับผู้ข้าฯ คนเฒ่านี้”
    หมายความว่า อาจาริยวัตรเป็นวินัย
    เมื่อ ประกอบรักษาความสำรวมเรียบร้อยเอื้อเฟื้อแล้วนี้ก็ให้รู้จัก การอ่านศึกษาในธรรมปริยัติ และในธรรมปฏิบัติอันเป็นกิจอีกส่วนหนึ่งของนักบวช องค์ท่านไม่ประสงค์จะเบียดเวลาของใครศิษย์คนใด

    ใช้เขาไม่ได้เราลำบากใจ
    นับวันอายุขององค์ หลวงปู่มากขึ้น – มากขึ้น
    แต่กิจบางอย่างที่องค์ท่านทำเองได้ก็จะทำด้วย องค์ท่านเอง และไม่ค่อยได้ใช้ผู้อื่นพระน้อย เณรน้อย ทำ เช่น เดินไปหยิบของ ลุกเดินไปเปิดปิดไฟ รินน้ำฉันเอง เปิดน้ำสำหรับสรงเอง พับผ้าเก็บผ้าเอง จัดที่นอนที่นั่งเอง ยังทำได้คล่องตัว มีสติอยู่ เช่นว่าเปิดพัดลมเบอร์ใดตัวใด เปิดแอร์กี่องศา
    องค์ท่านว่าในเรื่องเช่น นี้ว่า
    “เราทำเองได้ อย่าไปใช้ใครผู้อื่น หากเราใช้แล้วเขาไม่ทำให้เราก็เดือดใจ ไม่พอใจที่เขาไม่อยู่ในอำนาจของเรา”
    ดัง นี้แล้ว อาจจะกล่าวได้ว่าองค์หลวงปู่เป็นผู้เข้มแข็งเป็นผู้พึ่งตนเองได้เสมอ ไม่นิยมการพึ่งพาใคร จะหาความอ่อนแอและอ่อนข้อจากองค์หลวงปู่นั้นหาแทบไม่มีช่องเลย
    “คน อ่อนแอนั้นคอยหาแต่จะพึ่งคนอื่น อาศัยผู้อื่น แม้กิจเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำเองไม่เป็น ทำเองไม่ได้ เราเป็นนักบวชไปมาด้วยลำแข้ง หากินด้วยลำแข้งตัวเอง จะมาทำตนให้ยุ่งยากให้รุงรัง งอแงหงุดหงิดง่ายๆ มิได้ ใจของเราจะคอยให้มีคนเอาอกเอาใจอยู่ตลอดเวลา นั่นจะได้หรือ อยู่ตัวคนเดียวมิได้ ก็จะหาสุขมิได้”
    ในข้อนี้ ผู้เรียงเรื่อง ยอมรับโดยดุษฎี ไม่มีข้ออ้างอันใดได้

    อิสระเรียบง่ายและอบอุ่น
    ปกติธรรมดาขององค์ หลวงปู่อีกประการหนึ่ง คือ ความเรียบง่ายปกติ และเป็นไปธรรมดา ไม่มีมายา ไม่มีแกล้งจริต คิดพูดทำแสดงออกมาตรงกัน
    แม้แต่สุ้มเสียงก็ เป็นปกติ เรียบลึกและชัดเจน จนได้รับคำชมจากสาธุศรัทธาว่า “อายุมากแล้วนี้ เสียงยังแจ๋วอยู่ เสียงยังหนุ่มนุ่มหูอยู่”
    องค์หลวง ปู่ได้บอกสอนผู้เรียบเรียงว่า “คนเอาใจยากเป็นคนมีมารยา นักบวชบางคน เอากิริยากายวาจาเป็นของเล่น บางคนเข้าหายาก ผู้ข้าฯ อยู่กับท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) อยู่กับท่านอาจารย์ชอบ (ฐานสโม) อยู่กับท่านอาจารย์แหวน (สุจิณฺโณ) อยู่สบายกันเอง ได้ธรรมะ ไม่รีตับรีตองอะไร
    มีอยู่หลายคนตั้งท่าอย่างนั้น อย่างนี้ ท่าทาง บางคนเป็นเจ้าคุณแล้วเขาเอาเก้าอี้มาให้นั่งว่า ไม่เหมาะกับตัวไม่ยอมนั่ง เขาปูอาสนะไม่งามให้ก็ว่าก็บ่น อาหารจังหันสำรับขันโตกต้องสวยต้องงาม ข้าฯ ไปเห็นมาแล้ว สัพพะโลกนี้”
    ความสง่าผ่าเผย น่าเข้าใกล้ อิสระอบอุ่นคุ้นเคย มีอยู่มากนักในองค์หลวงปู่
    ในวันเดียวกันนี้ เวลา ๑๕.๔๐ น.
    ก่อนจะสรงน้ำ หลังจากองค์ท่านนอนพักจากการนำปฏิบัติสมาธิภาวนาประจำวัน (๑๓.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.) หมู่ลูกศิษย์พระเณรนวดแข้งขาถวายให้คลายเมื่อย องค์ท่านปรารภว่า “ไม่ให้มันเจ็บมันปวด มันก็เจ็บก็ปวดของมัน อนิจจังแท้ๆ หละ ทุกข์นั้นไม่ต้องว่าหรอก เป็นของมันเรื่อยมาแล้วแต่อยู่แต่ท้องแม่ บอกไม่ได้ใช้ไม่ฟังอะไรสักอันสักอย่างสูเจ้ายังน้อยยังหนุ่ม เจ็บเนื้อเจ็บตัวยังไม่มี ตาดี หูดี ไปมาอะไรก็เบาสบาย เอาเถอะอีก ๓๐ ปี สูจะรู้จักได้ ๖๐ ปี ไปเมื่อหน้ารู้จักหล่ะร่างกายนี้มันจะบอกสูเอง ธรรมดามันจะบอกสอนสูเอง อย่าว่านะว่าสูจะไม่แก่ไม่เฒ่า
    เดี๋ยวนี้ สูเจ้าตื่นเช้ามา โก่โด่โก่เด่ ตื่นขึ้นหงึกๆ (องค์ท่านทำท่าทางประกอบ : พระเณรได้ฮา)
    ไหนเณร...เปิดเบิ่งดุ๊ของเณร แข็งขนาดใด (เณรหัวเราะ) โห...อย่าไปหัวเราะ มันต้องตื่นก่อนอ้ายมันแน่นอน โก่โด่ กึกดึก หรือ ก๊อกด๊อก ๓ โป้ ไฆ่วสั้นอย่าไปเอาเมียนะ เมียด่าตายหล่ะ
    สูเจ้ากำลังกาย ดี แข็งแรง ป่วยไข้นิดหน่อยก็หายได้ หยูกยาใช้น้อยที่สุด ผู้ข้าฯ เฒ่าแก่มาแล้วนี้กินแต่ยากับยา ผู้เป็นหมอยาแม่นตาแจ๋ว บังคับให้กินยาบังคับให้กินน้ำนม
    นี่ก็มาจะให้อาบน้ำ เอ้า...ไปอาบก็อาบ อาบให้มันแล้วอย่าให้กายมันเน่าบูด
    โอ...รำคาญก็ไม่ ได้ เกิดมาแล้วนี้”
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความเกิดเป็นทุกข์

    เขียนถาม : เห็นความ เกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่งแล้ว เจ้าค่ะ
    ตอบ : เรื่องปกติของโลก
    เกิด มาแล้วนี้ ทุกข์ได้ก็ไม่หาย ตัวหากเกิดมาแล้ว ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาล่ะ อย่าบ่นทุกข์บ่นยาก ขี้ฮ้ายตื่มตดเหม็น (โยมไม่เข้าใจ) ธรรมดาละโว้ย
    เขียนถาม : เป็นอยู่นี้ก็ต้องคอยระวังจิต ของตัวเองอยู่ทุกขณะเจ้าค่ะ
    ตอบ : นั่นหล่ะดีแล้วล่ะ
    ระวังแล้ว ต้องให้ทุกข์มาแทรกใจทำไม
    รักษาให้ดีซี รักษาไปเถอะ ใจของใครมัน อย่าให้ตกต่ำ
    (โยมปลื้มปีติมาก น้ำตาไหลพราก เธอว่าเป็นสุขใจที่ได้พบได้มาเจอองค์หลวงปู่ อัตตโนผู้บันทึก ยิ้มรับ) เป็นมนุษย์นี้ ตายจากนี้ ไปสู่สวรรค์ จากสวรรค์มาเกิดมาบำเพ็ญแก้ไขตัวเอง ต่อไป จนกว่าจะแก่กล้าจึงจะแก้ไขปลดเปลื้องทุกข์ใดๆ ภาระใดๆ ออกไปได้
    เขียน ถาม : ทำอย่างไรจึงจะพ้นสวรรค์ เจ้าค่ะ
    ตอบ : อย่าถามอย่างนั้น
    ให้ ทำไปเรื่อยๆ ก่อน
    ความเป็นปุถุชนของสูเจ้ายังอยู่ เรื่องของสูเจ้านะ เสาะหาแป้งมาทาหน้าเอากระจกมาส่อง, หาของทาปากมาทา, หาเริงเล่นไปเรื่อยๆ, ด่าว่าบ่นให้ลูกให้แฟน (โยมหัวเราะกันใหญ่ : เพราะเป็นคณะของโยมอุบาสิกามาก) ไม่ว่าให้พ่อบ้านก็หาของเมากิน หาเหล้าเบียร์มากินกัน เล่นพนันขันแข่งโกหกมุสาวาท ไม่พอใจคนนั้นคนนี้ ที่สุดไม่พอใจตัวเองเป็นอยู่
    เขียนถาม : ทำอย่างไรจิตจะเป็นกลางต่อบุญ และบาปเจ้าค่ะ
    ตอบ : ให้เจริญภาวนา
    ให้รู้จักตัวของเจ้าของ
    เอา ล่ะ พอ ขี้คร้านอ่านแล้ว เอ้า...จะปันพรให้
    โยม : กราบขอบพระคุณองค์ หลวงปู่เจ้าค่ะ
    ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐

    ทุกขเวทนาของพระอรหันต์เจ้า
    ถาม : หลวง ปู่ครับ ท่านผู้ได้อรหันตภูมิ เมื่อแก่ชรา เมื่ออาพาธเจ็บป่วย หรือเมื่อมีทุกขเวทนาอย่างที่คนทั่วไปได้รับอยู่นั้น ของท่านจะเป็นอย่างใดครับ ?
    ตอบ : ก็ไม่เป็นไร ทุกข์บ้างสุขบ้างไปตามเรื่อง
    ทุกข์ทางกาย (กายิกทุกข์) ก็มีบ้างเป็นคราวๆ ไป คือทุกข์เพราะยังอยู่ยังมีรูปกาย เป็นเครื่องรองรับทุกข์ แปลว่า เวทนากายยังเป็นอยู่
    แต่ท่านได้สุข จากการพิจารณาธรรมดา คือ เกิด – แก่ – เจ็บป่วย – เป็นอยู่หรือมรณานุสสติ
    แต่ ทุกข์ในทางใน คือ จิตใจ ท่านไม่มี ไม่เสวย
    แปลว่าจิตใจไม่เป็นที่ ตั้งของทุกข์ประการใดๆ
    กายป่วยจิตไม่ป่วย กายทุกข์จิตไม่ทุกข์ กายทรุดโทรมจิตไม่ทรุดโทรม กายคือรูปก็เป็นธรรมดาธรรมชาติตามยถา เป็นไปตามเรื่องของทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ส่วนจิตใจอันเป็นธรรมะแล้วนั้นก็เป็นธรรมคงธรรม ไม่เป็นทุกข์ ไม่เป็นอนิจจัง เป็นธรรมไป ตามยถาของธรรม
    ถาม : เข้า ใจแล้วครับกระผม
    แล้วในเมื่อยังต้องค้างอยู่กับทุกข์ทางกายนี้อยู่ เหตุใดจึงไม่ปรินิพพานเสียหล่ะ
    ตอบ : นักโทษเมื่ออยู่ ในคุก ก็รู้ว่าทุกข์ทรมาน แต่ทำไมหนีจากคุกไม่ได้ ทำไมไม่ออกจากคุกหนีไปเสียหละ ก็อายุโทษยังไม่หมดมิใช่หรือ
    นี่ก็ เช่นกัน อายุยังไม่สิ้น ก็สืบอายุไป เลี้ยงชีวิตไป ทำหน้าที่ของท่านไป ไม่มีเร่งรัดเวลาใดๆ ไม่อยากพ้นทุกข์ ไม่อยากพ้นมรณะ ไม่มีรักไม่มีชังในสภาพเป็นอยู่และเป็นไป มีสติมั่นรู้รอคอยกาลเวลาอยู่ มรณะมาถึงวันใดก็วันนั้น
    ทุกข์ก็เรื่องของทุกข์ สุขก็เรื่องของสุข ไม่อินังขังขอบอันใด ไม่เหมือนเรามัวเมาแต่คิดทุกข์คิดยาก เอาตนเพื่อคนนั้นคนนี้
    ถาม : ภาระเรื่องขันธ์อาการ ๕ ต้องต่างก็รับของตัวไว้อย่างนั้นหรือ ?
    ตอบ : ใช่... อย่างนั้น ร้อน หนาว หิว กระหาย ปวดหนัก ปวดเบา เจ็บนั่นนี้ บริหารอิริยาบถน้อยใหญ่ ไปมา ก็ยังมีอยู่ พยาธิทุกข์ก็ยังมีอยู่ แต่ท่านรู้หน้าตาของเวทนาว่า เวทนากล้านักๆ, อาพาธคราวนี้หนักหนาจริง, เวทนามันรุนแรงอย่างนี้หรือ นี่ท่านรู้ที่จะพิจารณาอย่างนี้ แต่จิตใจของท่านไม่กระวนกระวายตามอาการของกายไม่ทุกข์ไปด้วย
    ให้พิจารณา ดูเถิดว่า แม้ตัวเราได้แต่รูปกาย รู้แต่รูปกายเท่านี้ก็ยังแบกภาระอันหนักเอาไว้ วันๆใช้รูปกายอันนี้อย่างหนักเพื่อให้กายนี้คงอยู่ได้ปัจจัยมาบำรุงบำเรอ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าสุดประมาณก็ยินยอมบางพวกก็บาปใหญ่เข้าให้อีก มิหนำซ้ำได้โรคภัยไข้หนาวอื่นๆ อีกเป็นสิบเป็นร้อยอาการแก้ไขเยียวยาไปตามเรื่อง ทุเลาบ้างไม่หายบ้าง
    นี่ คือ ขันธภาระ เป็นภาระของทุกข์ทางกาย
    ผู้ยังเป็นปุถุชนก็หนักหนา สาหัสเป็นตายอยู่เท่าๆ กัน
    แล้วยังต้องหาบหามกิเลสภาระ ที่เกี่ยวด้วย เวทนา สัญญาสังขารวิญญาณเข้าอีก เป็นอยู่กับจิตนั่นหล่ะ คือให้ทุกข์ ให้เดือดร้อน เมาทุกข์เมาโลกไปเรื่อย สมกับพระพุทธพจน์ที่ว่า “ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก
    แต่จำต้องนำภาระ นี้ไป การต้องทำภาระนี้เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
    การปลงภาระนี้เสียได้ เป็นสุข
    ครั้นปลงภาระอันหนักนี้ได้แล้ว ไม่ยึดภาระอันอื่นอีก
    ถอน ตัณหาพร้อมมูลรากได้แล้ว เป็นผู้หมดความอยาก
    เป็นผู้ดับสนิท”
    ถาม : หมาย ความว่า ขันธ์คงขันธ์, ธรรมคงธรรม เช่นนั้นหรือครับ ?
    ตอบ : ถูก แล้ว พระอรหันต์ท่านเป็นอย่างนั้น
    ถาม : คำว่า คงธรรมคงขันธ์ หมายความว่าอย่างไร ขอหลวงปู่อธิบายให้ฟัง
    ตอบ : คง ที่คงธรรมก็หมดเรื่องว่าอีกต่อไปแล้ว จะให้อธิบายอะไรอีกเล่า
    เหมือน กับแม่ครัวเขาทำอยู่ทำกิน ต้มยำทำแกง ใส่ลงไปในหม้อเดียวกัน รสชาติทุกรสมีทุกรสของมัน เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด ต่างก็บอกลักษณะเอาไว้ จะมาแยกรสชาติให้เสียไปทำไมอีก หล่ะ
    นี่ก็ เหมือนกันเป็นธรรมอันบริสุทธิ์ หมดอาการแล้วไม่มีไปไม่มีมา
    ไม่มีใคร แยกความหวานออกจากน้ำตาลให้เมื่อยโดยเปล่าหรอก
    ถาม : กราบ ขอบพระคุณครับหลวงปู่
    แจ่มแจ้งแล้วครับ
    ตอบ : เออ..ต้องอย่าง นั้น
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จะไปทางใด สูเจ้าชอบใจอย่างใด
    มีศรัทธาสาธุ คณะหนึ่งมาจากกรุงเทพ และมาทันถวายจังหันเช้า ภายหลังองค์หลวงปู่ฉันจังหันแล้วเสร็จแล้ว มีโยมนักปฏิบัติคนหนึ่งเข้ากราบองค์หลวงปู่แล้ว ขออนุญาตถามปัญหาธรรม (เขียนถาม)
    เขียนถาม : เห็นความคิดออกไป กำหนดรู้ รู้แล้วดับลง
    เห็น ความรู้สึกตามความคิด กำหนดรู้ รู้แล้วดับลง
    กราบเรียนถามว่า ควรเจริญจิตอย่างไรต่อไปเจ้าค่ะ
    ตอบ : (เมื่อองค์หลวงปู่อ่าน คำถามแล้วจึง “ยิ้ม” แล้วบอกให้ผู้บันทึกว่า “ว่ากับเขาไปดุ๊ อย่าถามคนหูหนวก” ผู้บันทึกเลยเขียนอีกคำหนึ่ง ตรงกลางกระดานว่า “จิต”
    แล้ว จากนั้นวงกลมคำว่า “ความคิด”
    “กำหนด”
    “รู้”
    “เห็น ความรู้สึก”
    “ดับลง”
    จากนั้นก็ลากเส้นโยงลูกศรมารวมที่คำว่า “จิต” แล้วยื่นกระดานกลับไปคุณโยมผู้นั้น เธออ่านพิจารณา เข้าใจน้ำตาไหลพราก
    ถาม : โยมอยู่กับตัวเองเช่นนี้มานานแล้ว มัวแต่มองหาอื่นใดภายนอกลืมมองเข้าหาตัวเอง เข้าใจเข้าถึงใจแล้วเจ้าค่ะ
    องค์ หลวงปู่ว่า : ถ้ายังไม่รู้จักจิตของตัวก็ยังไม่รู้เท่าทันแท้
    จิต สงบ จิตตั้งได้
    จิตตั้งได้แล้ว วิชชาความแจ้งเกิดขึ้นมา
    จิต แจ้งแล้ว จึงจะรู้จักเหตุผลของมัน เกิดอย่างใด, ดับอย่างใด, ใครเป็นผู้รู้, ใครเป็นผู้เห็น รู้ได้แล้วอย่างนี้ เรียกว่ารู้จักตัวเองในชั้นต้น
    ตั้งใจไปเถ๊อะของตน สูเจ้าชอบอย่างใด จะไปทางใด
    ไหว้พระเช้า – เย็นให้ได้
    รักษาศีล ๕ ให้ได้
    ตั้งใจภาวนาของตน รู้จักเจ้าของให้ ได้
    รักษาตัวเจ้าของให้ดี
    จิตใครเป็นผู้รู้ รู้อะไร
    จิต ใครเป็นผู้เห็น ใครรู้เกิดรู้ดับ
    ชีวิตนี้ เดี๋ยวนี้จะเอาอะไร จะไปทางใด นรกไม่เต็ม สวรรค์ไม่เต็ม
    เขียนถาม : จะไปนิพพานกับหลวงปู่ เจ้าค่ะ
    ตอบ : เอาเถอะไปเถอะ
    เขียนถาม : จะเอาชีวิตเข้าแลกเจ้าค่ะ
    ตอบ : เอา เถอะ ถ้าเอาได้ ถ้าไปได้
    ถาม : สาธุเจ้าค่ะ (เสียงสาธุการหลายคน)
    ตอบ : เขา ว่าพ้นทุกข์แล้วได้ความสุข ก็พากันยินดีพอใจด้วยกัน
    การเกิดมานี้ เป็นทุกข์เสี้ยงอย่าง (เป็นทุกข์ทุกอย่างทุกกิริยา)
    เกิดตายไปเถ๊อะ สูจะเกิดเป็นอะไร
    สูทำบาปเกิดเป็นสัตว์ในน้ำจืดน้ำเค็ม เป็นสัตว์ในป่าในดง เป็นสัตว์บนบก เป็นอยู่ในดิน
    สูทำบาปมากกว่า นั้น เกิดเป็นเปรตเป็นผี ตกนรก บาปมากที่สุด มหานรก อเวจี หรือบุญสูมีพาให้ไปสู่สวรรค์ เป็นเทวดา สูเจริญองค์ฌานได้แล้ว ไปสู่พรหมโลก เดี๋ยวนี้สูเป็นมนุษย์มาจากสวรรค์มาเกิดเพื่อว่าจะได้บำเพ็ญบารมี เพิ่มเติมบุญกุศล หาความสุขใส่ตัว
    เอาเถ๊อะ สูอยากได้อันใด พอใจอันใด จะไปที่ไหน
    เขียนถาม : ทำสมาธิภาวนาทุกวันเจ้าค่ะ
    ตอบ : ดี แล้ว ทำให้ได้ จิตสงบเป็นสุขได้ สูไปสวรรค์
    จิตสว่างได้แต่แก้ไข ยังไม่ได้ก็อยู่เมืองพรหมโลก จิตสงบด้วยสว่างด้วยแก้ไขได้ด้วยนี้ลำดับอริยภูมิได้


    .........................................................................................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6 พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td><td colspan="2">
    </td></tr> </tbody></table> [​IMG]มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 2
    ใจไม่ดีเอง
    ครั้งหนึ่งมีโยมผู้หนึ่ง เธอเข้ากราบองค์หลวงปู่แล้วบ่นทุกข์บ่นยากพร่ำเพ้อฟูมฟายกับสามีผู้มีหลาย บ้าน กับลูกที่ดื้อเกเร กับที่ทำงานที่เข้ากันไม่ได้ ดูเหมือนจะเป็นทุกข์มาก องค์หลวงปู่อดทนฟัง เธอได้ระบายจนสบายใจขึ้นมาบ้าง
    แล้วเธอก็ถามว่า : จะให้ทำอย่างไร
    องค์ หลวงปู่ตอบ : ก็ใจเราไม่ดีจึงเป็นทุกข์
    โยม : ใช่เจ้าค่ะ ใจโยมไม่ดีเอง ต่อไปทำอย่างไรทุกข์จะไม่มาอีก
    หลวงปู่ : รักษาใจ
    โยม : เจ้า ค่ะ

    ปากไม่ได้เสียภาษี
    เมื่อมีความไม่พอใจจากศรัทธาสาธุชนบางกรณี ซึ่งเป็นกรณีเชิงตำหนิ ติโทษกับองค์หลวงปู่ที่องค์หลวงปู่พูดจาเถรตรงเกินไป
    เขาก็บ่นว่าให้ เช่นว่า หลวงปู่จามพูดจาสกปรกบ้าง หลวงปู่จามจะมีอะไรก็ได้แต่ท่องไปในนรกสวรรค์เปรตผี ภพนี้ภพหน้า ชาตินั้นชาตินี้เท่านั้น หรือไม่ก็หนักๆ กว่านี้ก็มาก พอมีผู้นำมาบอกมาฟ้องกับองค์หลวงปู่
    องค์ท่านกลับให้สติว่า “ ปากมันพูดไม่ได้เสียภาษี
    ปล่อยให้เขาว่าไปเถอะ เขาอยากว่า หากคำพูดที่ออกมาเขาเก็บภาษีเขาก็คงไม่พูดหรอก นี่ปากเขามี พูดไปตามใจเขาคิด”

    อย่าหนักอยาก
    โยม : ทำอย่างไรจึงจะมีดวงตาเห็นธรรม ครับผม
    หลวงปู่ : อย่าไปหนัก อยาก
    อดทน ตั้งใจของตน
    ไม่ตั้งใจจะพ้นทุกข์ได้อย่างใด
    โยม : ขอ หลวงปู่อธิบาย คำว่า “ตั้งใจ”
    หลวงปู่ : “ตั้งใจ” แปลว่า หมั่นเจริญภาวนา
    อบรมพุทธปักข์
    โยม : อยากพ้นทุกข์จริงๆ ครับ
    หลวงปู่ : เอาล่ะๆ พอๆ อย่าถามขี้คร้านอ่านคำของคนเมาอยาก
    โยม : ฮา – ฮา

    (ข้อวิพากษ์ : จากข้อคำถามของผู้ศึกษาผู้นี้
    ๑. เมื่อ บุคคลไม่ทำความพยายาม ไม่ทำกิจของตนให้เหมาะสม แม้จะปรารถนาอยู่ในความสำเร็จก็หาได้สำเร็จไม่ หากเธอพยายามอยู่ด้วยดีทำกายของตนให้ดีถูกต้องตั้งใจอบรมตามลำดับพุทธปักข์ ที่องค์หลวงปู่บอก แม้เขาไม่ปากกล่าวว่าอยากๆ เขาก็อาจจักได้สำเร็จ ได้เห็นธรรม เพราะเขาก่อเหตุได้ถูกผลอันมากมายต้องเกิด
    ๒. นักปฏิบัติ โดยมากใจร้อนนัก ด่วนได้หมายเป็นนัก ไม่รู้จักรอคอยไม่อดไม่ทน หนักในความอยาก และที่สำคัญคือ ไม่เอาจริง
    ๓. พุทธปักข์ ได้แก่อะไรบ้าง โปรดค้นคว้าเองเถิด )

    ไม่เป็นกิเลส
    โยม : หลวงปู่ครับเมื่อได้ทำบุญกิริยาใดๆ เมื่อได้ทำความดีใดๆ ก็ตาม ควรจะอธิฐานควรจะตั้งใจไว้อย่างไรดีครับ
    หลวงปู่ : ตั้งใจไว้ให้มั่น เพราะเหตุมีแล้วผลย่อมมี ปลูกฝังข้าวลงแล้วนาดีดินดี น้ำดีปุ๋ยดี หญ้าไม่ขึ้นต่อสู้ ย่อมได้ข้าวได้น้ำ
    โยม : แล้วจะอธิษฐานว่าอย่างไรดี ครับผม
    หลวงปู่ : ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลทั้งปวง
    ขออย่าให้เป็นผู้ มีโรค
    ขอให้จิตเหินห่างจากบาปกรรมทั้งปวง
    ขอให้อย่าได้พอใจคบ มิตรชั่ว
    ขอให้มีกำลังกายกำลังใจในการบำเพ็ญบารมี
    โยม : แล้วขออย่างนี้เขาว่าเป็นกิเลส
    หลวงปู่ : ไม่เป็น คนว่านั่นแหละกิเลสหลวงกิเลสใหญ่ เจ้าทิฏฐิใหญ่ ไม่รู้จักที่หนักที่เบาไม่รู้จักที่ควรทำไม่ควรทำ การอธิฐานไม่เป็นกิเลสหรอก เพราะไม่เป็นไปหาทุกข์แต่หาสุขหาธรรมมาใส่ตน
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ควายตาบอด
    “ กินแล้วนอน เป็นสุกรตัวอ้วนตัวพี กอนแล้วนิน = กินแล้วนอน
    นอนควายไม่ไหว้พระสวดมนต์ จะนอนก็ล้มตูมลงหมอน
    ไม่สนใจบาปบุญคุณโทษ ประการใดๆ หาอยู่หากิน
    หาได้มาแล้วกิน เล่น เมา ไปตามเรื่อง พระไม่ไหว้ วัดไม่เข้า พระ(พุทธ)เจ้าไม่หา อยู่ไปกินไป กินขี้สี้นอน หาความดีอะไรมิได้สักอัน เหมือนกับควายตาบอด”
    เมื่อองค์หลวงปู่ปรารภ ข้อธรรมนี้แล้ว จึงได้เล่าเรื่องประกอบให้ฟังว่า
    “ พ่อออก (โยมพ่อขององค์ท่าน) ได้ควายตาบอดตั้งแต่เกิดตัวหนึ่ง ตั้งชื่อให้มันว่าบักบอดสี เพราะมันเป็นตัวผู้ ตามันลืมอยู่กระพริบก็ได้ แต่ตาบอดสี ไปไหนมาไหนลำบาก ตกร่องตกหนอง ซว่ามๆ ไปเรื่อย ผูกไว้กับหลักกับแลงก็เอาแต่ร้องอยากให้ปล่อยไป มันก็ไปเปะปะไปเรื่อยของมัน เราเป็นเด็กน้อยได้แต่พากันหัวเราะมัน พ่อออกบอกว่า อย่าไปหัวเราะมันเดี๋ยวจะเป็นบาป
    ต้องเกี่ยวหญ้ามาให้มัน กิน ตักน้ำมาให้มันกิน หากเชือกหลุดได้ก็เที่ยวไปเรื่อยของมันตกหนองตกน้ำไปเรื่อย อายุมันได้ ๓ ปีจึงตกโห๋โสก (โตรก) ตาย พ่อออกแม่ออกเอ็นดูมันไม่ให้ใครกินเนื้อกินหนังมัน ขุดดินถมกับหลุมโห๋โสกนั้นล่ะ ต่อมาลุงแขกเบิกป่าบงซ้าวเป็นเฮ้อนา (แผ้วถางป่าไผ่บงเพื่อปราบที่เป็นที่นา) ทับโสกนั้น เลยตั้งชื่อเฮ้อนา (แปลงนา) ว่า เฮ้อบักบอด”

    อย่าอวดเกินกล่าวสะหาว
    เมื่อครั้งเข้ากราบขออนุญาตองค์หลวงปู่จัดพิมพ์ประวัติชีวิต ปฏิปทาการประพฤติการปฏิบัติ ขององค์ท่านเมื่อปี ๒๕๔๙ องค์ท่านให้ข้อเตือนสติว่า “โดยมากผู้คนในโลก อวดเกินกล่าวสะหาวกันทั้งนั้นหล่ะ ขี้โอ่ว่าชีวิตอย่างนั้นอย่างนี้ คุยฟุ้งเกินจริง ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ปั้นแปงขึ้นมา
    มันไม่เหมือน ชีวิตจริงหรอก เขียนดีเท่าใดก็ตาม เจ้าของชีวิตรู้ได้กว่าใครอื่นว่าตนขี้โอ่อ้างสะหาว หรือจะเว้าไปตามจริง
    ผู้ ข้าฯ ตุ๊หลวงเฝ้าวัดจะมีอะไร พอจะเป็นพื้นเป็นปางได้”

    “จะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ศึกษา ลูกศิษย์ลูกหาครับ” ผู้เขียนตอบ
    “จะได้ประโยชน์ อยู่หรือ”
    “ครับ”
    “อย่าอวดเกินกว่าสะหาวเน้อ”
    “ครับกระผม”
    (เหตุ ที่บันทึกบทนี้ ก็เพราะว่าวันนี้มีสาธุศรัทธาจากอุดรธานีคณะหนึ่งเข้ากราบองค์หลวงปู่แล้ว เขียนกระดาน “ขอหนังสือธรรมะ ประวัติขององค์หลวงปู่เจ้าค่ะ”
    “อาตมาพระ เฒ่าจะมีประวัติประไว้ที่ไหน เกิดตายไปตามเรื่อง”
    “ไม่มีหรือเจ้าค่ะ” โยมหันหน้ามาถามผู้เขียน
    “ถามตุ๊หนุ่มต๋นนี้เทอะ” หลวงปู่บอกโยม
    “เจ้า ค่ะ”
    “มีพิมพ์รอบแรกหมดไปแล้ว กำลังพิมพ์อยู่” ผู้เขียนบอกโยม
    “ชีวิต จริง เกิดตายเขียนได้ไม่หมดหรอก” หลวงปู่บอกกับโยม
    “เจ้าค่ะ”
    “เอา ดีมาอวด เอาชั่วมาอ้าง แต่ผู้อื่น
    ดีชั่วของตัวไม่รู้ตัว” หลวงปู่พูดสอนต่อ
    โยม : เจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : เขาพิมพ์มาให้แจก แจกฟรีไม่พอแจก เขาเอาไปอ่านหรือไม่อ่านก็ไม่รู้ เห็นเขาเอามาให้เท่าไหร่ก็ไม่พอแจก
    โยม : เจ้าค่ะ... ครูบาแจ๋วค่ะ
    จะ ฝากที่อยู่เอาไว้ ขอครูบาอาจารย์เมตตาส่งให้นะเจ้าค่ะ
    (เธอตอบองค์ หลวงปู่แล้วหันหน้ามาพูดกับผู้เขียนๆ จึงได้ตอบเธอไปว่า “สุดแท้แต่โยม” แล้วเธอเขียนที่อยู่เอาไว้ให้)
    (อธิบายศัพท์ : ๑. อวดเกินกล่าวสะหาว คือ อวดอ้างเกินไป
    พูด จาอวดอ้างสามหาว
    หรือกล่าวไว้ โอ่อวดเกินจริง
    ๒. เป็นพื้นเป็นปาง
    พื้น หรือ พื้นเพ หรือความเป็นมา, นิทาน, ประวัติ
    ปาง คือ ปางหนึ่ง ภพชาติหนึ่ง
    เป็นพื้นเป็นปาง แปลว่า ความเป็นมาของชีวิตๆ หนึ่ง
    ๓. ในกาลเมื่อครั้นกระโน้น : เข้ากราบขออนุญาตต่อองค์หลวงปู่
    ในวันนี้ : การพูดหลบเร้นและถ่อมตนขององค์หลวงปู่ และในตนของอัตตโนผู้บันทึกธรรมประวัติขององค์ท่าน ได้ระลึกถึง ได้พิจารณาถึงชีวิตของพระมหาสาวกรูปหนึ่ง คือ พระอานนท์พุทธอนุชามหาเถระเจ้า เป็นปลื้มลืมทุกข์ได้สุขได้ปีติปราโมทย์มากเมื่อได้ระลึกเทิดทูนในพระ คุณลักษณะขององค์ท่านผู้เป็นอนุพุทธะ ผู้เลิศในมุทุธรรม
    ดังว่า “ภิกษุบริษัท ภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท อุบาสิกาบริษัท ได้เข้าหาพระอานนท์... เมื่อได้เห็นก็พอใจ
    เมื่อได้ฟังธรรมก็พอ ใจ
    ไม่อิ่มไม่เบื่อในคำของพระอานนท์”
    อธิบายความว่า พระอานนท์เถระนี้
    มีพระเกียรติคุณฟุ้งงามยิ่ง (กีรติ สทฺโธ โหติ)
    เลื่อมใส ได้โดยรอบด้าน (สมนฺตปสาทิโก)
    ชื่องามรูปงาม (อภิรูโป)
    น่าดูน่า ชมไม่อิ่มไม่เบื่อ (ทสฺสนีโย)
    เป็นพหูสูต (พหุสฺสุโต)
    เป็นพระ ธัมมกถึก (ธมฺมกถิโก)
    เป็นผู้ยังหมู่ (ยังศาสนา) ให้งาม (สงฺฆโสภโณ)

    ความจริงพระเกียรติคุณที่ต่างที่ได้กันกล่าวอ้างไว้ นั้น ยังน้อยกว่าพระคุณสมบัติอันแท้จริงแห่งพระเถระเจ้า (สุดปัญญาที่จะมากล่าวไว้ให้หมด)
    ในวันนี้เช่นกัน
    โยมสาธุศรัทธาคณะนี้ ได้กล่าวชื่นชมในบุญบารมีธรรมะขององค์หลวงปู่เอาไว้ว่า “ พระมหาเถระ พระดีงดงาม อย่างนี้
    ทำไมไม่มีใครรู้จัก เสียดายเด้ มาพ้อตอนหูท่านบ่ดีแล้ว โอย...เป็นบุญแท้หนอพวกหมู่ข้าน้อยนี้...”
    และดูเหมือนว่า หมู่ศรัทธาคณะนี้ พอใจ สุขใจ ชื่นชมยินดีต่อองค์หลวงปู่จริงๆ จากจิตใจของเขาจริงๆ ทั้งๆ ที่องค์หลวงปู่ก็บอกแต่ว่า “อยากพ้นทุกข์ อย่าขี้คร้านเจริญภาวนานะ” บอกแค่นี้ แล้วก็ เป่าหัวให้ทุกคน
    แล้วต่าง ก็นั่งมองกันอยู่ - องค์หลวงปู่นั่งยิ้มๆ
    - โยมนั่งมอง มองซึ้งมองลึก พอใจสุขใจนัก ไม่อิ่มไม่เบื่อ
    เกียรติคุณที่เขียนเอา ไว้ยังน้อยกว่าคุณธรรมคุณสมบัติขององค์ท่านจริงๆ
    พระเกียรติคุณของพระ อานนท์เถระเจ้า มีมากและลึกซึ้งจริงแท้... )
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตุ๊ขี้เหมี้ยง
    “เดี๋ยวนี้ ยุคนี้ เขาพากันเป็นตุ๊สมัยใหม่ เป็นคนทันสมัย
    บวชเข้ามาแล้ว มาเป็นตุ๊ขี้เหมี้ยงขี้มอด”
    “เป็นแนวเลอ ครับหลวงปู่ ตุ๊ขี้เหมี้ยงขี้มอด”
    “โต๋มิฮู้จักบ่ บวชมาหา อยาก
    อยากมาก คับแค้นมาก ทุกข์มาก เขาก็ไม่รู้จักตัว ไม่พอใจแค่ปัจจัย ๔ ที่พระ (พุทธ) เจ้าทรงอนุญาตเอาไว้ สมัยนี้ เขาอยากได้ยศอยากได้ขุนนาง อยากได้ชื่อเสียงลาภสักการะ อยากได้รถลาม้าช้าง อยากได้โยมอุปฐากขึ้นบ้านนั้นลงบ้านนี้ กลั้นขี้กลั้นเยี่ยว กลั้นเพศกดภูมิเป็นท่าเป็นทาง คำปากคำจาว่าธรรมอยู่ดาว แต่การปฏิบัติซำ (เท่ากับ) ตับฮี้น ก็หามิได้” (จะหาการปฏิบัติให้ได้เท่าๆ กับตับของตัวริ้นตัวไรก็หามิได้)
    อันนี้หล่ะ ขี้เหมี้ยง (สนิม) เกิดแต่เหล็กกัดกินเหล็ก
    (ตัว) มอดมันเจาะกินไม้จนต้นไม้หักตายได้ ระวังเถอะ ขี้เหมี้ยงจะกินโห๋ (หัว) นะ”
    “ครับผม”

    มาต่อธรรมกรรมฐาน
    มีพระหลวงพ่อหลวงตารูปหนึ่งบวชในภายหลังชื่อ ญาตา เข้ากราบองค์หลวงปู่ แล้วกราบขอโอกาสต่อกรรมฐาน
    หลวงพ่อ : ขอโอกาสพ่อ แม่ครูอาจารย์ กระผมขอต่อกรรมฐาน
    หลวงปู่ : กรรมฐานขาดหรือ
    หลวง พ่อ : ไม่ขาด แต่อยากเรียนกับพ่อแม่ครู’จารย์
    หลวงปู่ : ก็เรียนมา เหมือนกันแล้ว
    หลวงพ่อ : ผมยังไม่ได้เรียนกับพ่อแม่ครู’จารย์
    หลวง ปู่ : พระอุปัชฌาย์ บอกสอนไว้แล้ว
    จะมาต่อธรรมต่อกรรมฐานอะไรอีก ผมมิใช่พระอุปัชฌาย์
    หลวงพ่อ : ยังไงก็ขอเรียนครับ
    หลวงปู่ : พระ ธรรมวินัยมีอยู่(รับอย่างไม่เข้าใจ)เจริญขันธ์ให้ทันกรรมฐาน ๕
    หลวง พ่อ : ครับผม...ครับผม

    เดี๋ยวจะไม่มีคนอยู่ในโลก

    ในช่วงเข้า พรรษาแต่ละวันช่วงบ่ายองค์หลวงปู่พาปฏิบัติภาวนาจากเวลา ๑๓.๑๕-๑๕.๐๐ น. เป็นกิจวัตรประจำวัน
    ก่อนนั่งก็จะสวดมนต์ไหว้พระโดยย่อ
    จากนั้นต่าง ก็นั่งเข้าที่ “เอา...ตั้งใจนั่งภาวนาของใครมัน”
    เมื่อองค์หลวงปู่บอก ดังนี้แล้วต่างก็นั่งนิ่งสงบ
    = นั่งนิ่งดิ่งสงบ เพื่อพานพบค่าฌานญาณ =
    ครั้นครบกำหนดเวลาแล้ว องค์หลวงปู่ก็จะบอกว่า “เอาล่ะ พอ”
    หรือ บางวันก็ว่า “ เอา...พักกันไว้ย...”
    หรือก็ว่า “ เอา...พอ
    พอล่ะ พอล่ะ เดี๋ยวจะบ่มีคนอยู่ในโลกนี้
    สูจะไปสวรรค์นิพพานกันหมด”
    หรือบางวันก็ว่า “ มีแต่คนนั่งเหงานอน
    ไม่พ้นง่ายหล่ะ สูเอย...”
    (การนั่งเหงานอนขององค์หลวงปู่ก็คือ นั่งสัปหงก “งอกแงก งอกแงก ตักซ้ายตักขวา หงึกหงัก หงึกหงัก เอาแท้ๆ หล่ะ กับเหงานอน”
    หรือก็ว่า “ กูจะเอามะกอกสับโห๋มัน เปาะๆๆ
    มัน จะได้ชื่นจะได้ซว่างนอน”
    ๏ นิ่ง สนิทติดพื้นนิ่ง นรชน
    ไว้ เกียรติมอบเกียรติคน รอบข้าง
    ได้ ใจย่อมไม่จน ใจดอก
    เปรียบ ตบะเดชะอ้าง อุบด้วยดุ่มธุดงค์ ๚๛
    ขรรค์ ชัย บุนปาน
    ศิลปวัฒนธรรม สิงหาคม ๒๕๕๐
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขี้คร้านพูดด้วย
    โยม : ผมคือขี้คร้านภาวนาแท้หลวงปู่ครับ มันเป็นแนวเลอจิตเจ๋อของผมนี้
    ตอบ : ควาย โง มันกินหญ้ากินเฟิง (ฟาง) แล้วมันยังเคี้ยวเอิ้ง (เอื้อง) มีแต่หมูกินฮำ (รำ) แล้วนอน ตัวอ้วนตัวพี เขาเลี้ยงหมูเขาเลี้ยงไว้ฆ่า แต่โง (วัว) ควายยังพอได้ใช้ไถใช้ลาก มึงมีแต่ขี้คร้าน ความขี้คร้านก็ฆ่ามึงตายเน่าตายเหม็นอยู่ในโลก
    โงควายยังเหลอ (เหลือ) โห๋กับเหา ไว้เบิ่งตาง
    (วัวควายยังเหลือหัวกับเขา เอาไว้ให้ดูต่างหน้า) พอได้ระลึกถึง แต่หมูแม้กระดูกเขาก็ทุบเอาลงหม้อต้มน้ำเป็นน้ำกระดูก
    เอาเถ๊อะ...กู ขี้คร้านเว้านำกับคนขี้คร้าน (ไม่อยากพูดด้วยกับคนขี้คร้าน)
    โยม : คน ขี้คร้านไปนิพพานไม่ได้ใช่ไหมครับ ?
    ตอบ : อย่าว่าแต่นิพพาน
    สวรรค์ ก็ยังไปมิได้ ไปได้แต่นรก ไม่อยากไปก็ได้ไป
    เอาล่ะพอ กูไม่อยากเว้ากับคนขี้คร้าน
    โยม : จะแก้ยังไงครับ ความนี้คร้านภาวนานี้
    ตอบ : กินไม่เห็นมึงขี้คร้าน
    นอนไม่เห็นมึง ขี้คร้าน
    ขี้ ไม่เห็นมึงขี้คร้าน
    นอนกับเมียมึง ไม่เห็นมึงขี้คร้าน
    แก้ไขบ้างซีจะเอาแต่ขี้คร้านเป็นนายอย่างนี้ ไป๊ไปเถ๊อะขุมนรกอ้าปากรอท่ามึงอยู่
    โยม : ไม่ไป นรก ผมจะไปทางดีกว่านี้
    ตอบ : ก็มึงว่ามึงขี้คร้านนี่...”

    เออ..พอได้ความ
    มีโยมคณะหนึ่ง ครอบครัวหนึ่ง นับเป็นลูกศิษย์ดังเดิม และเหนียวแน่นมาโดยลำดับสม่ำเสมอมาโดยตลอด จากพ่อแม่มารุ่นลูก มารุ่นหลาน
    วัน หนึ่งเขามาว่า “หลวงพ่อ พวกผมลูกเมีย ลูกหลาน มาหาหลวงพ่อนี้ ๓๔-๓๕ ปีนี้แล้ว บุญก็ทำมามาก
    แต่พอเข้าที่ภาวนา ทำไมมันยากนัก ไม่เป็นไม่เห็นเหมือนกับคนบางคนที่เขามาปฏิบัติไม่นานก็เห็นนั่นเห็นนี่...
    หลวง ปู่ : อย่าไปอยากเห็นนั่นนี่กับเขา
    ให้เขาเห็นไปเถอะ นิมิตขี้จุ๊นั่นนี่
    จะถามว่า
    ๑. ให้ทานแล้วนี้ความขี้เหนียวห่วงหาอาลัยมีไหมในใจ
    ตอบ : ไม่มี มีแต่อิ่มใจ
    ๒. ความโขด (โกรธ) น้อยลงไหมล่ะ
    ตอบ : น้อยลง รู้ตัวได้ไวขึ้น
    ๓. ความเมาโลกเมาทุกข์ล่ะ
    ตอบ : รู้ตัวเองดีขึ้น
    ๔. ความอยากได้เกินไปนั่นหล่ะ
    ตอบ : อยากร่ำอยากรวยไม่เท่าไหร่ ขอแต่พออยู่ได้ พออยู่พอกินเท่านั้น
    โยม : ภาวนา แล้วไม่เป็น ไม่เห็นนั่นนี่ อย่างคนอื่นเขา แต่เมื่อผมมาพิจารณาตัวของตัวเอง อย่างที่หลวงพ่อถามมานี้ ก็รู้จักตัวเองได้ดีขึ้น
    หลวงปู่ : เออ..ต้องอย่างนั้น ได้ความแล้ว
    จะ ไปเก็บเอากากเอาเดนมาให้รกทำไป
    โยม : ครับผม

     “ สูเจ้าคนหนุ่มแน่น พอจะทำได้ก็ไม่ทำ
    พอจะละได้ก็ไม่ละ
    หยาบก็ไม่รู้หยาบ ละเอียดก็ไม่รู้ละเอียด เมาไป๊ตามเรื่อง บวชมาแล้วก็มาตดใส่ผ้าเหลิง (เหลือง) แล้วก็ออกไป ออกไปแล้วยิ่งฮ้ายแฮง (ร้ายแรง) กว่าเก่า ตั้งใจของเจ้าของแนแหมะ...”

    กลัวพรมเปียก
    หลวงปู่ : มาธุระอะไร
    โยม : มาถวายสังฆทาน และขอให้หลวงปู่รดน้ำมนต์ให้
    หลวงปู่ : เอาน้ำมาจะทำให้
    (โยมถวาย ของและน้ำเพื่อทำน้ำมนต์ องค์หลวงปู่ทำให้แล้ว โยมขอให้รดน้ำมนต์ให้ด้วย) หลวงปู่จึงว่า ไป๊เถอะ ไปรดไป๊ไปอาบเอาเองเถอะ
    โยม : ขอให้หลวงปู่รด ให้ จะได้หมดซวย
    หลวงปู่ : บ่... เดี๋ยวพรมกูจะเปียก กูจะซวยได้อีกคนหนึ่งพระเณรเขาจะว่าให้กู
    โยม : (หัวเราะ)
    หลวง ปู่ : (หัวเราะ) โย้ว...พรมกูเปียก จะต้องเอาไปตาก กูก็ซวย
    ให้ มึงซวยไปเถ๊อะ เอ้า...จะปันพรให้จะได้หมดซวย (หลวงปู่ให้พร) [เมื่อโยมผู้นี้เขาไปแล้ว หลวงปู่จึงว่า “เอาแท้ๆ หล่ะน้ำมนต์ เขาเข้าใจว่าจะล้างซวยล้างทุกข์ได้ โง่เขลาแท้ๆ คนสมัยนี้”)
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ไม่บอก – ไม่ว่า
    โยม : หลวงปู่เจ้าค่ะ ชีวิตนี้ลูกจะไม่สำเร็จไหมเจ้าค่ะ ?
    ตอบ : บ่ ฮู้จักล่ะ
    โยม : ทำไมล่ะเจ้าค่ะ
    ตอบ : หากบอกว่าได้สำเร็จ หนูก็จะประมาทไม่ปฏิบัติ
    หากบอกว่าไม่ได้ จะต้องเกิดตายไปอีก หนูก็ไม่ทำ
    คนอยากนี่ ได้หรือไม่ได้ ก็เมาอยากอยู่นั่นแหละ
    เอา เถ๊อะ อยากก็ไม่ใช่
    ไม่อยากก็ไม่ใช่
    แต่ก็ให้ได้ทำ ทำไปเถ๊อะ
    โยม : เจ้าค่ะ !
    ตอบ : นั่นสิ ต้องยอมรับตนของตนอย่างนั้น
    โยม : เจ้าค่ะ
    ตอบ : รู้ว่าจะได้สำเร็จ ก็ไม่บอก จะไม่ได้สำเร็จก็ไม่ว่า
    โยม : กราบขอบคุณเจ้าค่ะ
    ตอบ : อือ..

    หลวงปู่ปรารภไว้
    องค์หลวงปู่ปรารภ “นั่งภาวนา พานั่งไม่ทันเท่าไหร่แล้ว ดิ้นข่อกดิ้นแข่กค๊อกแค๊ก โยกซ้ายโยกขวา จะนั่งนิ่งๆ ก็ไม่ได้ เอ้า...! เวลานั่งคุยกันเป็นวันเป็นคืนก็ได้ กายไม่อยู่สุข ใจก็ไม่นิ่งได้ ขวางที่ ขี้มาก ปากเปียก ขวางที่เมาหลับเมานอน ขี้มาก กินมาก มักกินมักขี้ มักผีมักตาย ปากเปียก ปากกว้าง พูดคุยมาก

    นรกก็ยังส่ายหน้า
    มีนักปฏิบัติธรรมผู้หนึ่ง เข้าศึกษาอยู่ด้วยกับ องค์หลวงปู่มานานปี อะไรๆก็รู้อะไรๆ ก็ได้ยินได้ฟังมามาก อะไรๆ ก็ศึกษา ซอกไซ้ถามจนหมดแล้ว
    ใน ที่สุดก็ถืออาวุโสได้ในหมู่ศิษย์ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกา เป็นผู้นำเป็นหัวหน้า เป็นอาจารย์ บอกแนะและนำหมู่ศิษย์ด้วยกัน เฮโลกันไปตามเรื่อง
    หลาย ลำดับปี
    วันหนึ่งองค์หลวงปู่ว่า “ไอ้พวกโห๋โล้นญาดลำ โห๋ดำญาดเทศน์นี่ ไปตกนรก – นรกก็ไม่อยากรับ ไม่ถึงไหนกลับบ้านไปก็นอนกอดเมีย มาวัดก็มารักคนนั้นมาชังคนนี้ใครเขาตามไปก็ว่าเป็นหมู่เป็นสหาย ใครเขาไม่เอาด้วยก็ชังเขาไป อย่างนี้หล่ะนรกไม่อยากต้อนรับ คนพวกนี้ โบราณผูกภาษิตไว้ว่า “โห๋โล้นญาดลำ โห๋ดำญาดเทศน์”
    ( โห๋โล้นญาดลำ : หมายถึงพระเณรไปมีใจชอบพอยินดีในการขับร้องขับลำทำเพลงบรรเลงดนตรี
    โห๋ดำญาดเทศน์ : เป็นอุบาสกอุบาสิกา เข้าปฏิบัติในวัดวาศาสนาอาวาสสำนักปฏิบัติใดๆ แล้วเกิดอาการร้อนวิชชา ร้อนธรรมะ อยู่ไม่ได้ อะไรๆ ก็รู้มาหมด แล้ว อยากเทศน์อยากสอนอยากเอาอย่างครูบาอาจารย์ทั้งๆ ที่ตนเองก็เอาตัวเองไม่รอด
    ญาด : คือแย่งหน้าที่ ผิดฐานฐานะ ผิดที่ผิดคิว )

    นึกถึงใคร
    ถาม : เมื่อแต่ก่อน หลวงปู่ท้อแท้ ท้อถอยการบำเพ็ญตนของตนนี้ หลวงปู่จะนึกถึงใคร ?
    ตอบ : นึกถึงความระกำลำบากของครูบาอาจารย์
    เพิ่นครูอาจารย์ เสาร์ (กนฺตสีโล)
    เพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต)
    ถาม : หาย ไปไหมครับ ความนึกคิดอย่างนั้น
    ตอบ : หายบ้างไม่หายบ้าง
    ถาม : แล้วจะ ทำอย่างไร ?
    ตอบ : ด่ามัน (ตัวเอง) ให้หนัก
    มึงจะไปนรกหรือบักสา ฮูปอันนี้
    มึงอยากไปก็ไปเถ๊อะ กูไม่ไปว่าแล้ว ก็ลุกขึ้นสัมมาธิจงกรม
    ทำ ภาวนาไป สัพพะหล่ะใจปุถุชนคนหยาบคนหนา
    ถาม : ต้องด่า
    ตอบ : อือ ไม่ด่า มันไม่ลง
    เอาครูบาอาจารย์มากดมาข่ม จึงหาย

     ถ้าพูดถึงองค์หลวงปู่เสาร์ (กนฺตสีโล) แล้วนี้
    องค์หลวงปู่จะนึก ถึงอะไร ?
    ตอบ : เพิ่นมาถึงบ้านห้วยทรายทีแรกสุด (พ.ศ. ๒๔๕๗)
    ผู้ คนชาวบ้านคนใหญ่เด็กน้อย พากันวิ่งหลบหนีเข้าเล้าเข้าเฮิน เข้าใจว่า เป็นพวกกบฏผีบุญ ปะลูกปะหลานทิ้งไว้คนใหญ่กลัวกว่าเด็กน้อย ลูกน้อยก็ร้องไม่กล้าออกไปเอา
    ตอนเช้าเพิ่นเข้ามาบิณฑบาตในหมู่บ้าน วันแรกวันสองมีผู้ใส่บาตรให้ไม่กี่เรือนพอได้ฉัน พอฝ่ายเพิ่นไม่พากันหนีไป ผู้ใหญ่บ้านผู้เฒ่าผู้แก่เค้าบ้านหลายคนยกกระบวนออกไปหาอยู่ป่าดอนหนองแวง จึงได้รู้ว่าเป็นพระธุดงค์ เป็นพระอัสดงค์
    แต่พออยู่ด้วย คุ้นเคยแล้ว จึงได้รู้จักความเมตตา ความสุขุมเยือกเย็นความเป็นพระป่ากรรมฐาน มักน้อย สันโดษ พูดจาก็น้อย หนักปฏิบัติ อยู่เงียบสงบ
    เขาถามว่า “ ไปอย่างใดมาอย่างใด ?”
    เพิ่น ว่า “ ไปเรื่อยๆ ค่ำไหนนอนนั่น
    พอใจที่ใดก็พักไปอยู่ไป เพื่อบำเพ็ญภาวนา”
    เขาถามว่า “ ไม่มีวัดอยู่หรือ เป็นพวกจรจัดหรือ”
    เพิ่น ว่า “ อยู่ที่ไหนก็เป็นวัด
    การเดินธุดงค์ มิใช่จรจัดไม่มีที่อยู่ โลกนี้คือที่อยู่ของสัตว์ทุกข์ผู้เกิดมา”
    นั่นคำพูดคำจาของเพิ่นมี น้ำหนัก ศักดิ์สิทธิ์ อย่างนี้ กระเทือนจิตใจของผู้บางเบา แต่ก็มีผู้หยาบหนาไม่พอใจ ไม่ชอบพอกับหมู่พระธุดงค์คณะของเพิ่นครูอาจารย์เสาร์ (กนฺตสีโล) ก็มาก จนตั้งข้อเบียดเบียนก็มี”
     

แชร์หน้านี้

Loading...