มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก มหาวิทยาลัยนาลันทา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย pongsiri, 11 มีนาคม 2013.

  1. pongsiri

    pongsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,074
    ค่าพลัง:
    +638
    มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก มหาวิทยาลัยนาลันทา

    มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก มหาวิทยาลัยนาลันทา

    [​IMG]

    มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก มหาวิทยาลัยนาลันทา

    แม้จะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้าง ในปัจจุบันว่า มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก คือสถานที่ใด ? The University of Bologna (AD 1088) หรือ University of Paris (AD1257) แต่ข้อที่ถกเถียงกันนั้น เป็นสถานที่ในยุโรป แต่ถ้ามองไปให้พ้นจากทวีปยุโรปแล้ว จะพบว่า มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก น่าจะเป็น มหาวิทยาลัยนาลันทา ( Nalanda University ) ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ภายใต้วัฒนธรรมพุทธศาสนา

    ข้อมูล teen.mthai.com อ้างอิง blog.spu.ac.th ภาพ oknation.net

    [​IMG]

    ภาพช่วงการขุดค้น.. มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก มหาวิทยาลัยนาลันทา เมื่อ ค.ศ. 1861

    มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก มหาวิทยาลัยนาลันทา
    ภายหลังพุทธกาล เมืองนาลันทา เงียบหายไประยะหนึ่ง
    พ.ศ. 944-953 หลวงจีนฟาเยน ซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ได้บันทึกไว้ว่า “พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา”
    พ.ศ. 958-998 กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ พระองค์หนึ่งพระนามว่า ศักราทิตย์ หรือ กุมารคุปตะที่ 1 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้น เมืองนาลันทา
    และ กษัตริย์พระองค์ ต่อๆมาใน ราชวงศ์คุปตะ ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง 6 วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
    ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง 6 รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และ ได้กลายเป็น ศูนย์กลางการศึกษา ที่ยิ่งใหญ่
    ภาษีที่เก็บได้ให้เป็น ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
    พ.ศ. 1149-1191 มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของ มหาวิทยาลัยนาลันทา
    นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า “ มหาวิทยาลัยนาลันทา ”
    วิชาที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยนาลันทา - ปรัชญา ,โยคะ,ศัพทศาสตร์,เวชชศาสตร์,ตรรกศาสตร์ลนิติศาสตร์,นิรุกติศาสตร์ลโหราศาสตร์,ไสยศาสตร์ลตันตระ

    [​IMG]

    พระถังซำจั๋งเมื่อครั้งเดินทางมาถึง นาลันทามหาวิหาร
    (ภาพดัดแปลงจากหนังสือ ภาพประวัติ พระถังซัมจั๋ง เรียบเรียงโดย ล. เสถียรสุต)

    พ.ศ. 1172-1187 - หลวงจีนจัง ( พระถังซำจั๋ง ) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ได้มาศึกษาที่ นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม

    ที่เด่นชัดก็คือ นาลันทา เป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และ เพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น และ หอสมุดนาลันทา ใหญ่โตมากและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก แต่เมื่อ มหาวิทยาลัยนาลันทา ถูกทำลายทำให้ หอสมุดนาลันทา ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน

    พ.ศ. 1223 หลวงจีนอี้จิง ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก

    มหาวิทยาลัยนาลันทา รุ่งเรือง สืบมาช้านานจนถึง สมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. 1303-1685) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่

    - ในระยะหลังๆ มหาวิทยาลัยนาลันทา ได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ เป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา

    [​IMG]

    ภาพก่อนการขุดค้น หลังจากที่ถูกทำลายลงและถูกทิ้งไปกว่าเจ็ดร้อยปี

    การค้นพบ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก มหาวิทยาลัยนาลันทา
    ในยุค อังกฤษปกครองอินเดีย นักโบราณคดีจำนวนมากได้มาสำรวจขุดค้นพุทธสถานต่างๆในอินเดีย โดยอาศัยบันทึกของท่านเฮี่ยนจัง
    พ.ศ. 2358 คนแรกที่มาสำรวจ คือ ท่าน ฮามินตัน (Lord Haminton) แต่ไม่พบ ได้พบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป 2 องค์เท่านั้น
    ซึ่งสถานที่พบอยู่ห่างจาก มหาวิทยาลัยนาลันทา เพียง 1 กิโลเมตร
    พ.ศ. 2403 นายพลคันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจและก็พบ มหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น
    ต่อมา จึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัยนาลันทา ก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง
    ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนาลันทา มีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ และตรงหน้า มหาวิทยาลัยนาลันทา ได้มีพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบใน มหาวิทยาลัยนาลันทา

    [​IMG]

    นวนาลันทามหาวิหาร หรือ มหาวิทยาลัยนาลันทาแห่งใหม่ ซึ่งก่อตั้งเมื่อราว 50 ปีก่อน

    นวนาลันทามหาวิหาร หรือ นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่
    พ.ศ. 2494 – อินเดียตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่ได้มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้งบทบาทของ มหาวิทยาลัยนาลันทา หรือ “ นวนาลันทามหาวิหาร ” ( นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่ ) เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก นาลันทา มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในสมัยอดีต

    มีพระสงฆ์จากประเทศต่างๆ ไปศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไทย พม่า กัมพูชา อินเดีย บังคลาเทศ ได้รับการรับรองและสนับสนุนจากรัฐบาลกลางนิวเดลลี และ ได้มีการจัดตั้ง สถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่า สถาบันนาลันทาที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากความเลื่อมใสของหลวงพ่อ เจ กัสสปะ

    หลวงพ่อ เจ กัสสปะ คือใคร ?

    หลวงพ่อ เจ กัสสปะ สังฆนายกรูปแรกของสงฆ์อินเดีย
    เป็นชาวเมืองรานชี (Ranchi) เมืองหลวงของรัฐจักกัน
    ท่านเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย
    ครั้นเป็นหนุ่ม หลวงพ่อ เจ กัสสปะ ได้ศึกษาพุทธประวัติ และเกิดศรัทธาอย่างมาก จึงอุปสมบทเป็น พระภิกษุที่ประเทศศรีลังกา
    ออกปาฐกแสดงเรื่องความยิ่งใหญ่ของ มหาวิทยาลัยนานลันทา ในอดีต แก่ผู้นำรัฐบาลในกรุงนิว เดลลี
    พ.ศ. 2494 เปิดสอน สถาบันนาลันทาใหม่
    ท่านเป็นครูสอน และ ผู้บริหารของ สถาบันนาลันทาใหม่
    พ.ศ. 2500 สถาบันนวนาลันทา ที่เปิดสอนด้านภาษาบาลีและพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก

    [​IMG]

    ทางเข้า มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก มหาวิทยาลัยนาลันทา ในปัจจุบัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    ฝังบริเวณที่ค้นพบ…มีอาณาบริเวณกว่า ๒๓๔ ไร่
     
  2. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,670
    ได้เคยไปเยี่ยมชมนาลันทามาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อเห็นซากปรักหักพังของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ชวนสลดหดหู่ สังเวชใจอย่างบอกไม่ถูก

    นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์เรื่องกฎไตรลักษณ์โดยแท้ โดยเฉพาะหลักอนิจจัง
    ที่ทุกสิ่งมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ มีรุ่งเรือง มีดับสูญ

    กล่าวกันว่า สมัยที่ยังรุ่งเรืองมีพระนักศึกษานับหมื่นรูป อาจารย์ประมาณ 1,500 -2,000 คน

    มีห้องประชุมจุคนได้มากกว่า 1,000 คน จำนวน 8 ห้อง

    ห้องเรียนมากกว่า 300 ห้อง

    มีห้องเก็บคัมภีร์และตำราความรู้ของศาสตร์ด้านต่างๆ ขนาดใหญ่

    ความสำคัญของนาลันทา อีกประการนึงคือเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านพระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธองค์


    [​IMG]

    สถูปเจดีย์ท่านพระสารีบุตร หลังท่านดับขันธนิพพาน


    พระสารีบุตรท่านทรงเลือกมาดับขันธนิพพานที่เมืองนาลันทาบ้านเกิด เพื่อจะมาปรดโยมแม่ให้หันมานับถือพุทธศาสนาก่อนที่ท่านจะดับขันธนิพพาน

    พระสารีบุตร ท่านเป็นผู้ที่ชอบช่วยเหลือทางด้านการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส ในอินเดีย

    สมัยนั้นลัทธิพราหมณ์ มีการแบ่งชนชั้นตามวรรณะกันชัดเจน มีข้อบังคับทางสังคมระบุไว้ว่า

    ถ้าพวกศูทรริไปอ่านคำภีร์พระเวท ก็ให้ตัดลิ้น ถ้าฟังก็ให้ตัดหู หรือถ้าเรียนพระเวท ก็ให้ผ่าตัวเป็นสองซีก

    ดังนั้น พวกวรรณะชั้นต่ำไม่มีโอกาสทางการศึกษา และการบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาจึงเป็นช่องทางหนึ่งที่เหล่าเด็กๆจะได้ศึกษา

    พระสารีบุตรท่านให้การศึกษาแก่เด็กๆกำพร้า เด็กยากจนเสมอมา นอกจากนี้ ท่านเป็นผู้ที่บวชให้พระราหุล เมื่อสมัยเป็นเจ้าชาย


    เมื่อชาวมุสลิมเติร์กได้เข้ามาบุกดินแดนแห่งนี้ราว พ.ศ.1700 กว่าๆ มหาวิทยาลัยนาลันทาถูกเข้าใจว่าเป็นป้อมปราการขนาดใหญ่

    พระสงฆ์จึงถูกฆ่าตายด้วยคิดว่าเป็นนักรบที่ห่มเหลือง

    ในบันทึกกล่าวไว้ว่า แม่ทัพมุสลิมชื่อ บักตยาร์ ขิลจิ พร้อมทหาร 200 คนบุกเข้ามายังมหาวิทยาลัยนาลันทา......

    "ป้อมปราการที่นี่ช่างน่าแปลก นักรบทุกคนล้วนแต่นุ่งห่มสีเหลือง โกนหัวโล้นไม่มีอาวุธในมือ นั่งกันอยู่เป็นแถวๆ

    เมื่อเราไปถึงก็ไม่ลุกหนี ไม่ต่อสู้ เมื่อเราเอาดาบฟันคอขาด คนแล้วคนเล่า ก็ยังนั่งกันอยู่เฉยๆ ไม่ร้องขอชีวิต ไม่โอดครวญ"

    สิ่งก่อสร้างถูกทำลาย เผาทิ้ง หอสมุดที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนาถูกเผาทั้งหมด

    ว่ากันว่า ที่นาลันทามีหอสมุดที่ใหญ่มาก เมื่อถูกเผา จึงไหม้อยู่นานหลายเดือน ( ตอนที่ไปได้ยินว่าไหม้อยู่นานถึง 6 เดือน )

    จึงจะเผาผลาญคัมภีร์และตำราต่างๆที่เก็บไว้ในนั้นจนหมด พระบางองค์ที่หนีรอดมาได้ก็เก็บเอาคัภีร์บางส่วนหนีออกมาด้วย แต่เป็นเพียงส่วนน้อย

    นับจากนั้น เมื่อนาลันทาถูกเผาทำลายย่อยยับ ศาสนาพุทธก็ได้มลายหายไปจากผืนแผ่นดินอินเดีย ที่ซึ่งให้กำเนิดศาสนานี้แก่ชาวโลก

    และไม่สามารถกลับมารุ่งเรืองได้อีกเลย

    ( มีผู้รู้ท่านว่าก่อนหน้านี้ความเสื่อมของนาลันทาและพุทธศาสนาในอินเดียค่อยๆ คืบคลานมาอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวมานานแล้ว โดยเฉพาะความเสื่อมจากพุทธบริษัททั้งหลาย นับเป็นความเสื่อมจากภายใน )


    อ่านเพิ่มเติมได้จาก


    นาลันทา - วิกิพีเดีย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...