มหาสติปัฏฐานสูตร (อิริยาบถบรรพ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 3 มกราคม 2015.

  1. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ข้อ ๒๗๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

    กำจัดอภิชชา และโทมนัส(ความยินดียินร้าย)ในโลกเสียได้

    ข้อ ๒๗๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?

    ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่า เราเดิน, เมื่อยืนก็รู้ชัดว่า เรายืน, เมื่อนั่งก็รู้ชัดว่า เรานั่ง, เมื่อนอนก็รู้ชัดว่า เรานอน. หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังนี้.

    ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง

    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง

    พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง.

    ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในกายบ้าง

    ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไป ในกายบ้าง

    ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไป ในกายบ้าง.

    อีกอย่างหนึ่ง

    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่า เป็นที่รู้...

    เพียงสักว่า เป็นที่อาศัยระลึก...

    เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย...

    และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลกด้วย...

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่.



    ชวนสนทนา สติปัฏฐานอิริยาบถบรรพ

    เพราะเห็นว่า เป็นอีกกัมมัฏฐานหนึ่งที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้มีเวลาน้อย ชีวิตเร่งรีบ
     
  2. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    กายในกาย ในที่นี้หมายถึง รูปกาย นามกาย

    นามกาย หมายถึง จิต เจตสิก หรือ นามขันธ์ ๔ สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ

    รูปกาย หมายถึง รูป มหาภูตรูป อัสสาสะ ปัสสาสะ รูป ๒๘ หรือ กองรูปทั้งปวง

    มิได้หมายเอา สติรู้เราเดิน เรานั่ง เรานอน เราคู้ เราเหยียดแต่อย่างใด
     
  3. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    การกำหนดรู้อิริยาบถ ควรเป็นไปตามธรรมชาติ ยืน เดิน นั่ง นอน

    แต่มีสติ ตามระลึก ใส่ใจอาการที่ปรากฏให้ทัน

    ไม่ใช่การทำอะไรให้เชื่องช้าจนผิดธรรมชาติ เพราะจะเกิดสภาวะใหม่ขึ้นมา

    คำว่า ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

    หมายถึง ความเพียรที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ไม่ละจากกัมมัฏฐาน

    สัมปชัญญะ และสติ หมายถึง ความใส่ใจสภาวะอาการที่เกิด โดยความเป็น นามรูป ขันธ์ อายตนะ อินทรีย์

    ตรงนี้สำคัญ หากใฝ่ใจไปหลงเรื่องราวของสภาวะธรรม เป็นการเดิน นั่ง เรานั่ง เรานอน เราคิด ผู้หญิง ผู้ชาย สวย งาม นั้น

    ไม่สามารถละความวิปลาส ความติดข้องยินดีได้

    การโยนิโส โดย นามรูปเป็นต้นนี้ มีสภาวะมารองรับ ตรงสภาวะธรรม

    เป็นสัมมาสังกัปปะ เป็นเนกขัมมะ คือ ความนำออก ความละพยาบาท และอภิฌา ไม่หลงในนามรูป
     
  4. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ.. มีทางนี้ทางเดียว
     
  5. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ใส่ใจอาการเดิน จิตที่คิดจะเดิน

    การเดินนั้นจะเกิดไม่ได้ หากไม่มีจิตคิดจะเดิน

    เมื่อจิตคิดจะเดินดับลง อาการเคลื่อนไหว อันเนื่องด้วยวาโยธาตุก็ปรากฏ

    ข้อดีคือ จักรู้ได้ว่าจิตที่เดิน ที่เคลื่อนนั้น เป็นกุศล หรืออกุศล

    หมายถึง ความอยาก เดินด้วยตัณหาบ้าง เดินด้วยโทสะบ้าง เดิมด้วยโมหะบ้าง หรือเดินด้วยสติ

    จะเห็นความต่าง และเห็นได้ว่าแทบทุกขณะในอิริยาบถ เป็นไปทางกิเลส

    การมีสติระลึกได้ สัมปชัญยะจะเป็นไปทางประโยชน์ คำนึงถึงประโยชน์

    คือ เดินนั้นเป็นกุศลหรือไม่ เดินนั้นเป็นภัยต่อกุศลหรือไม่ เดินนั้นมีสติคุ้มครองหรือไม่ เดินนั้นเป็นคนหรือสัตว์ที่เดินหรือไม่

    วาโยธาตุ ที่เคลื่อน อันเป็นอาการที่เกิดขณะเดินนั้น ก็ไม่ใช่การเดิน

    แต่เป็นธาตุที่เกิดแล้วดับไปเป็นขณะ หามีคนสัตว์ที่เดินไม่

    สำคัญคือ ไม่เพ่ง ไม่กด ไม่จ้อง แต่ให้กำหนดรู้เป็นไปตามธรรมชาติ

    มีสติใส่ใจ ในอาการเดินให้ทัน เก็บทุกรายละเอียดของการเดิน
     
  6. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..มองเป็นของไม่งาม เป็นทุกข์หลงใหล.. หดหู่ไปหมดทุกอย่างเลย ท่านอาจารย์
     
  7. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ถ้ามีปฏิกูลหรืออสุภะ เป็นกัมมัฏฐาน อารมณ์ควรเป็นกุศล

    มิใช่ ยิ่งเจริญแล้วยิ่งหดหู่

    คือเห็นแล้ว ไม่จมทุกข์ แต่เป็นเรื่องสลัดออก ไม่ติดข้อง หรือยึดติดในความงาม ไม่งาม
     
  8. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..ท่านอาจารย์ ธรรมใดอารมณ์ใด อันทำให้กิเลสราคะสงบระงับดับได้บ่มีทุกข์โทษในภายหลัง

    ธรรมนั้นท่านว่าเป็นธรรมฝ่ายกุศล เป็นคุณบ่มีโทษ..
     
  9. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..ผู้ใดเห็นทุกข์โทษภัยในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เห็นความบ่งามในเรือนกาย มีความสลดหดหู่ เกิดบ่อยากได้ใคร่ดี

    ในกามราคะมองเห็นเป็นของบ่เที่ยง ทำให้ทุกข์นักหนาร้อนรนกระวนกระวายใฝ่หา อยู่กับเราได้ก้อบ่ได้นาน

    ก้อมีอันต้องพลัดพรากจากกัน..
     
  10. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จิตใจก้อเคลื่อนคลายออกจากกำหนัดราคะ กายใจเบา เพราะไฟราคะกำหนัดเผาใจระงับดับบรรเทาลง

    เกิดสุขปิติในใจด้วยเห็นความจริงในธรรม..
     
  11. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..ผู้เพ่งฌาน,ทรงฌาน,ได้ฌาน บ่มีธรรมนี้รักษาใจ มักไปบ่รอด ตั้งอยู่ได้บ่นาน แม้ผู้บ่ได้ฌานเป็นผู้ฝึกหัดใหม่ ก้อต้องมีธรรมนี้รักษาใจ

    บ่ให้ไหวหวั่นรวนเร กายใจบ่ตั้งอยู่ในธรรม กระสับกระส่ายกำหนัดแท้ในแม่น้องนวลนาง

    ควรต้องเจริญเอาไว้ป้องรักษาใจ ยามตัวเทออวิ่งเข้ามาวนเวียนในจิตใจ..

    โอรมมเพี้ยงง !!!! ตัวเทออจงออกไปจากใจเรา
     
  12. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    - เห็นด้วยกับพระอาจารย์ครับ
    - ผมมีความคิดความเข้าใจเรื่อง สติปัฏฐาน ว่าอย่างนี้นะครับว่า
    - สติปัฏฐาน คือแนวทางปฏิบัติ สู่มรรคผลนิพพาน
    - ก่อนจะลงมือปฏิบัติก็ต้องตามมรรคมีองค์แปดข้อแรก ต้องมีสัมมาทิฏฐิก่อน ต้องเข้าใจเรื่องขันธ์ห้า เรื่อง การยึดหมั้นในขันธ์ห้า
    - ใครเป็นคนยึดหมั้นในขันธ์ห้า ภิกษุ เรา คือใคร
    - จิต เจตสิค รูป นิพพาน สี่ตัวนี้ อะไรคือ ภิกษุ เรา แน่นอน สิ่งที่หมายถึงเราก็คือ นิพพาน นั้นเอง ส่วน จิต เจตสิค รูป เป็นสิ่งที่ถูกยึดที่เรียกว่า ขันธ์ห้านั้นเอง
    - เหตุที่ ยังไม่เรียกว่านิพพานก็เพราะ ตัวนามธรรมอันนี้ยังถูกห่อหุ้ม ด้วยอวิชชา การทำให้แจ้ง คือทำให้วิชชาเกิดก็คือการเห็น ตามความเป็นจริง
    - ตัวเห็น ตัวรู้มีกี่ตัว มีสองตัวคือ จิต และตัว นิพพาน ตัวนิพพาน เป็นนามธรรมอันหนึ่ง เมื่อจิตรู้ เราก็เรียกว่ารู้ด้วยใจ ถ้าตัวนิพพานรู้ ก็เรียกว่า รู้ได้ด้วยสัมปชัญญะบ้าง รุ้ด้วยญาณบ้าง แล้วแต่สถานะขณะนั้นๆ
    - วิธีทีทำให้ เกิดสัมปชัญญะ ก็คือต้องมีสติก่อน วิธีทำให้เกิดญาณก็คือต้องมีสติต่อเนื่องก่อน
    - สัมปชัญญะ ญาณ จะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีสติก่อน ถ้ามีสติ แล้วไม่มีสัมปชัญญะก็ได้ อยู่ที่การฝึก
    - เป้าหมายของการสร้างสติ ก็เพื่อให้เกิด สัมปชัญญะ
    - เป้าหมายการเกิดสัมปชัญญะ ก็เพื่อให้เกิดการรู้ชัด รู้แจ้ง ธรรมชาติของขันธ์ห้า ธรรมชาติของใจและกาย
    - เป้าหมาย การรู้แจ้งรู้ชัด ก็คือการบรรลุธรรม การตรัสรู้ธรรม
    - เป้าหมาย การบรรลุธรรม ก็คือการพ้นทุกข์ในสังสารวัฏ
    - การสร้างสติ ก็โชคดีที่พระพุทธองค์ทรง สอนใว้หลายรูปแบบ จับตรงใหนได้หมด เหมือนอาหารให้เลือก ตามใจชอบ
    - การตั้งใจใว้ให้ถูก ก็เพื่อป้อนให้ เกิดการรู้ การเห็นตามแนวคำสอน คือ ให้เห็นว่า ใจกาย ไม่เทียงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และไม่ควรยินดียินร้าย ป้อนให้ ตัวสัมปชัญญะ ตัวญาณ เกิดความรู้ความเห็นไปตามนั้น
    - ผมเข้าใจอย่างนี้ นะครับ ถ้าผิดอย่างไร ขอคำชี้แนะ ของนักปราชญ์ทางธรรมทุกท่านครับ ยินดีรับความคิดเห็น ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...