มหาสติปัฏฐานสูตร (21 บรรพ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 20 กันยายน 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    มหาสติปัฏฐานสูตร​ หมายถึง ​ ​พระสูตรที่กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ 21 ​บรรพะ​ ​อยู่​ใน​พระสุตตันตปิฎก​ ​ทีฆนิกาย​มหาวรรค​ ​เป็น​สูตรที่​ 9 ​รองสุดท้ายของวรรคนี้

    ในมหาสติปัฏฐานสูตรท่านได้แสดงเรื่องเกี่ยวกับสติปัฏฐานไว้อย่างละเอียด โดยแบ่งแสดงออกเป็นข้อ ๆ เรียกว่า ปพฺพ(ปัพพะ,บรรพะ, ข้อ, แบบ) โดยในพระบาลีใช้คำว่า อปิจ(อะปิจะ - อีกอย่างหนึ่ง) เป็นเครื่องหมายในการแบ่งสติปัฏฐาน 4 อย่างลงไปอีก รวมทั้งสิ้น 21 บรรพะ เริ่มที่อานาปานบรรพะ และไปสิ้นสุดที่ สัจจบรรพะ โดยเรียงตาม พระพุทธพจน์ ได้ดังต่อไปนี้ :-

    • กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับร่างกายไว้ 14 แบบ คือ :-
    1. อานาปานบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องอานาปานสติคือลมหายใจเข้าออก ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    2. อิริยาปถบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ท่าทางของมนุษย์ ใน 4 อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    3. สัมปชัญญบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องโคจรสัมปชัญญะ คือการเคลื่อนไหวของมนุษย์ เช่น อิริยาบถย่อยทั้ง 7 คือ เดินหน้า ถอยหลัง แล เหลียว เหยียด คู้ ใช้สอยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    4. ธาตุมนสิการบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ธาตุ 4 คือ ธาตุดิน (m-มวล) ธาตุน้ำ (a-ความดึงดูด,ความเร่ง) ธาตุไฟ (t-อุณหภูมิ) ธาตุลม (v,u-ความเร็ว,ความไหว) ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    5. ปฏิกูลมนสิการบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง กายคตาสติ คือ องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ 32 อย่าง หรือที่เรียกว่า อาการ 32 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    6. -14. นวสีวถิกาบรรพะ - อธิบายแนวพิจารณาคิดเรื่องนวสีหรือ ซากศพ 9 วาระ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    • เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการได้สัมผัสรับรู้ไว้ 1 แบบ คือ :-
    1. เวทนาบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องเวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ที่เกิดจากการสัมผัสรับรู้ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    • จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับการรับรู้ไว้ 1 แบบ คือ :-
    1. จิตตบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องจิตคือ การรับรู้-ความคิดคำนึงมี กิริยาจิต ทั้ง 11 เป็นต้น ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    • ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับการรับรู้ไว้ 5 แบบ คือ :-
    1. ขันธบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ร่างกายและจิตใจทั้งหมด ตามการจัดหมวดแบบขันธ์ 5 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    2. อายตนบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 6 ตามการจัดหมวดแบบอายตนะ12 โดยพิจารณาตามการยึดติดที่ผูกมัดจิตของเหล่าสัตว์ของสังโยชน์ 10 ที่ผูกจิตในทุกปัจจุบันขณะ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    3. นีวรณบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง จิตใจฝ่ายชั่วร้าย 5 กลุ่ม ตามการจัดหมวดแบบนิวรณ์5 อันส่งเสริมสมาธิ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    4. โพชฌังคบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง จิตใจฝ่ายดีงามพร้อมจะตรัสรู้ 7 อย่าง อันส่งเสริมศีล ตามการจัดหมวดแบบโพชฌงค์7 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
    5. สัจจะบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง สภาวะอันเป็นปรมัตถ์ ตามการจัดหมวดแบบอริยสัจ4 อันส่งเสริมปัญญา ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การแสดงข้อมูลสำหรับสะสมอบรมสติปัฏฐานไว้ถึง 21 แบบ ซ้ำกันไปซ้ำกันมาในเรื่องเดียวกันอยู่อย่างนี้ เพราะทรงแสดงตามนิสัยสันดานของแต่ละคนที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านข้อมูลและภาษาเป็นต้นมาไม่เหมือนกัน หากทรงแสดงย่อเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ผู้ฟังบางส่วนอาจไม่สามารถทำความเข้าใจจนบรรลุได้.

    แต่หากทรงแสดงหลากหลายแบบ เลือกคำพูดและร้อยเรียงเอาเรื่องราวที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมาแสดงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ฟังบรรลุได้ตามประสงค์ เพราะผู้ฟังก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอยู่ในระดับชำนาญเฉพาะทางอยู่แล้ว เพียงแค่ทรงบอกแนะเพิ่มเติมในจุดที่ขาดตกบกพร่องไปเท่านั้นเขาก็สามารถเข้าใจและบรรลุตามได้ไม่ยากเลย, เหมือนการอธิบายเรื่องพระเจ้าหลุยให้ชาวฝรั่งเศสฟังด้วยภาษาฝรั่งเศส ถ้าเจอคนโง่ก็อธิบายให้คนโง่ฟังอย่างละเอียด ถ้าเจอคนฉลาดก็อธิบายให้คนฉลาดอย่างสังเขป เป็นต้นนั่นเอง.

    อนึ่ง ทั้ง 21 บรรพะนี้ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างย่อเท่านั้น รายละเอียดจำเป็นต้องดูเพิ่มเติมที่สติปัฏฐานสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, สติปัฏฐานนิทเทส ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, สติปัฏฐานวิภังค์ ในอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์(<<ละเอียดที่สุด) และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฏีกา เช่น อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ใน สุมังคลวิลาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ใน ปปัญจสูทนีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์ ใน สารัตถปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส ใน สัทธัมมปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์ ใน สัมโมหวิโนทนีปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา ฏีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 7(ย่อไว้ดีมาก),ฏีกา-อนุฏีกาของอรรถกถาเหล่านั้น เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม การจะทำความเข้าใจอย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานในด้านข้อมูล-ภาษา-และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก-อรรถกถา-ฏีกามากพอสมควร ซึ่งสามารถหาประสบการและความชำนาญได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมไปอีก เช่น ถ้าอ่านเรื่อง "รูปขันธ์" ใน ขันธบรรพะ พร้อมอรรถกถา-ฏีกาแล้ว ก็ควรอ่านขันธวารวรรค ในสังยุตตนิกาย, ขันธวิภังค์ ในวิภังคปกรณ์, ขันธนิทเทส ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส, การจำแนกขันธ์ที่มาในธัมมสังคณีปกรณ์, อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีปกรณ์ เป็นต้น.

    มหาสติปัฏฐานสูตร - วิกิพีเดีย
     
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร<SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP> เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
    คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
    โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
    1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    สติปัฏฐาน ๔ - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2012
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สติปัฏฐาน๔ นั้นมีจุดประสงค์อยู่ที่ฝึกสติ และใช้สติพิจารณาสรุปให้เข้าใจโดยถ่องแท้เพื่อให้เกิดสัมมาญาณ(ปัญญาญาณ)ว่า ธรรมทั้งหลายอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ อาศัยระลึกเตือนสติเตือนใจไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ(หมายถึงอุปาทาน)ใดๆในโลก ก็ด้วยลักษณาการของการอุเบกขาเสียนั่นเอง อีกทั้งมีพุทธประสงค์ให้ปฏิบัติในชีวิตประจําวันขนาดกล่าวได้ว่าแทบทุกลมหายใจ กล่าวคือเมื่อจิตหรือสติวนเวียนระลึกรู้หรือพิจารณาอยู่ในธรรมทั้ง ๔ แล้ว จิตย่อมหยุดส่งจิตออกนอกไปนึกคิดปรุงแต่งต่างๆอันก่อให้เกิดทุกข์ จิตอยู่ในที่อันควรแลสงบ ขณะจิตนั้นเองจิตย่อมเกิดกําลังแห่งจิตขึ้นเนื่องจากสภาวะปลอดทุกข์ขึ้นทีละเล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว อันยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อยสะสมขึ้นเช่นกัน จนในที่สุดจักเกิดสภาวะ อ๋อ มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือธรรมสามัคคีนั่นเอง เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นๆอย่างแท้จริง

    สติปัฏฐาน๔ มีเจตนาต้องการให้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ไม่ใช่แต่ กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น เพียงแต่ธรรม ๔ ข้อนี้เป็นหลักสําคัญในการดับหรือลดละตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตนหรืออุปาทาน อันก่อให้เกิด "อุปาทานขันธ์ ๕"อันเป็นทุกข์

    ถ้านั่งปฏิบัติในรูปแบบ ให้มีสติอย่าปล่อยให้เลื่อนไหล ผ่อนคลายกายและใจ เมื่อเริ่มต้นใช้สติดูลมหายใจ ก็จะเกิดอาการต่างๆจากการปฎิบัติสมถวิปัสสนามาให้เห็น แต่นักปฏิบัติมักจะไม่ชอบ คิดว่าผิด อันไปคิดกันว่าไม่ดี ไม่ถูก จิตไม่สงบ เพราะไม่รู้จึงไม่แยกแยะว่านี่เป็นการฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกสมาธิ ไม่ได้ลิ้มรสของความสงบสุขแลสบายจากสมาธิหรือฌานตามที่เข้าใจหรือเคยประสบ, โดยธรรมชาติของจิตนั้น จิตจะส่งออกไปเห็นนั่น เห็นนี่ คิดนั่น คิดนี่ เป็นปกติธรรมดาตามสภาวธรรมชาติ เพียงให้มีสติระลึกรู้ว่า นั่นแหละจิตสังขารหรือความคิดความนึกหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาท อันจัดเป็นคุณอย่างยิ่ง อันจักพอแยกออกไปได้ ๒ ลักษณะ คือ
    รูปนิมิต หรือเห็นเป็นภาพหรือรูปขึ้นในจิต ในบางขณะเมื่อเผลอตัวจิตจักส่งออกไปซัดส่ายปรุงแต่งเป็นภาพต่างๆนาๆผุดขึ้นมาอันคือสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จิตเมื่อเผลอย่อมส่งออกไปสักระยะจนอิ่มตัว หรือมีสติรู้สึกตัวก็ให้ละเสีย เป็นเรื่องธรรมชาติอันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา หรือจากอาการของจิตขาดสติ เลื่อนไหลไปเป็นสมาธิหรือฌานจนเกิดนิมิตต่างๆขึ้น
    นามนิมิต หรือเป็นความคิดนึกต่างๆนาๆที่ผุดขึ้นมาแทนที่ภาพนั่นเอง เป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน อาการก็จักเหมือนรูปนิมิต ที่จิตเผลอส่งออกไปคิดปรุงแต่งเมื่อขาดสติเป็นธรรมดา เมื่อจิตส่งออกไปสักพักไปปรุงแต่งจนเกิดทุกข์หรือฟุ้งซ่านจนอิ่มตัวหรือมีสติรู้ตัว ก็ให้ละเสียแต่ให้รู้ให้เข้าใจด้วยว่าเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์เยี่ยงไรจากความคิดนึกหรือสังขารที่สั่งสมที่เกิดขึ้นมานั้น เช่นเห็นเวทนาที่เกิดขึ้น หรือเห็นจิตเช่นความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ. เห็นอันใดก็ปฏิบัติอันนั้น ให้รู้ว่าเหตุเกิดจากเวทนานั้นๆหรือจิตคิดนั้นๆ แล้วดับลงเพราะสติ? จิตมีทุกข์ไหม? ห้ามไปคิดเรื่องทุกข์นั้นให้คิดแต่เรื่องเหตุที่เกิด เมื่อเข้าใจแล้วต้องละ(ละในภาษาธรรมหมายถึงมีสติรู้เข้าใจแล้ววางเสีย)คือถืออุเบกขาเป็นกลางไม่ปรุงแต่งเอนเอียงไปทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย อันเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติ เพราะจิตเมื่อเห็นเวทนาและโทษจากจิตคิดนึกปรุงแต่งหรือสังขารที่สั่งสมไว้บ่อยๆ จิตจะได้เกิดความเข้าใจหรือปัญญาขึ้นว่าสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ และที่สําคัญคือเป็นอุบายวิธีในการฝึกสติให้เป็นอุเบกขาหยุดการปรุงแต่ง,อันอุเบกขานี้เป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง มิสามารถเกิดขึ้นเอง จึงต้องหมั่นฝึกอบรมปฏิบัติให้เป็นสังขารที่สั่งสมใหม่อันมิได้เกิดแต่อวิชชา อันมีคุณอย่างยิ่งยวดในการดับทุกข์ และเป็นองค์ธรรมข้อสุดท้ายในโพชฌงค์๗ธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้

    เมื่อเกิดความคิดหรือจิตที่ประกอบด้วยอาการโลภ โกรธ หลง หดหู่ สมาธิ ฌาน ฯ. ก็ให้มีสติรู้ตามความเป็นจริง อย่าไปกดข่ม แค่ต้องรับรู้ตามจริง มีอาการต่างๆย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่ข้อสําคัญคือวางอุเบกขาเป็นกลาง เป็นกลางอย่างไร? เป็นกลางโดยการวางทีเฉยดูไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในทางใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะดี หรือชั่ว, เราถูก หรือเขาผิด, สังเกตุอาการที่เกิดขึ้นให้รู้คุณและโทษของจิตที่คิดปรุงแต่งนั้น จึงจักเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาที่ถูกต้อง, หรือเมื่อปวดเมื่อยหรือรับรู้ความรู้สึกใดๆที่กระทบทางกายหรือใจ ก็ให้รู้ว่านั่นแหละเวทนา ให้มีสติรู้ว่าเป็นความรู้สึกรับรู้ต่อกายหรือใจเยี่ยงไร มีกิเลสแฝงด้วยไหม แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉยไม่คิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในด้านใด รู้สึกอย่างไรก็รู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าอาการนั้นๆต้องหายไป แต่ต้องไม่ใส่ใจวางใจเป็นอุเบกขาไม่ปรุงแต่ง อันเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา, หรือธรรมใดบังเกิดต่อจิตหรือหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ก็ให้พิจารณาธรรมนั้นๆเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอันมีกําลังของสติที่ไม่ซัดส่ายมีกําลัง เป็นเครื่องช่วย อันเป็นการปฏิบัติธรรมานุปัสสนา อันจักยังให้เกิดปัญญาจากธรรมนั้นๆ, หรือใช้สตินั้นไปพิจารณากายว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย สักแต่ว่าธาตุ๔มาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง หรืออันล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล ฯ. เป็นการคลายลดละความยึดถือยึดมั่นในกายแห่งตน อันเป็นการปฏิบัติแบบกายานุปัสสนา

    ข้อสังเกตุของผู้เขียนและความคิดเห็น ในหมวดธรรมานุปัสสนา มีกล่าวถึงสมาธิหรือองค์ฌานไว้ในหมวดของมรรค๘ ว่าเป็นสัมมาสมาธิหรือหมายถึงสมาธิที่ถูกต้อง ที่ถูกที่ควร, ถูกต้องจริงแต่หมายถึงในแง่สมาธิหรือแง่หมวดธรรมมานุปัสสนาเท่านั้น อันไว้เป็นกําลังแห่งจิตหรือพักผ่อนกายและจิต, ไม่ใช่ในแง่การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔อันเป็นการใช้สติปฏิบัติวิปัสสนาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงแห่งธรรม, จึงมีผู้สับสนเป็นจํานวนมากที่เข้าใจว่าปฏิบัติสมาธิหรือฌานอันบางท่านใช้ลมหายใจเป็นอุบายวิธีเช่นกันกับสติปฏัฐาน๔ จึงเกิดการสับสนในการปฏิบัติเข้าใจว่าเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔, แม้แต่เกิดองค์ฌานตามพระสูตรอันเป็นสัมมาสมาธิในแง่สมาธิแล้วก็ตาม ก็ต้องไม่ไปยึดติดยึดมั่นหรือมีตัณหาในองค์ฌาน ปีติ สุข อุเบกขา นั้นด้วยจึงจะถูกต้อง มิฉนั้นก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลสอันยังผลร้ายแก่นักปฏิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2012
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สติปัฏฐาน๔ นี้เป็นการฝึกสติ และใช้สติ เราสามารถปฏิบัติได้ในทุกขณะและอริยาบถ โดยไม่จําเป็นต้องปฏิบัติแบบการนั่งสมาธิเต็มรูปแบบ สามารถทําได้ในขณะจิตตื่นสบายๆไม่เครียดหรือหงุดหงิด ก็นํามาคิด ตริตรอง ใช้ปัญญาพิจารณา สังเกตุเห็นเวทนาหรือจิตได้ในทุกอิริยาบถ ซึ่งวิปัสสนาใช้สมาธิระดับขณิกกะสมาธิ(แค่ไม่วอกแวก,อยู่กับกิจหรืองานที่ทํา) หรือเกือบเป็นอุปจารสมาธิเท่านั้นเช่น เมื่อพิจารณาจนเกิดปัญญาหรือเข้าใจในเวทนาหรือจิตจริงๆ เราจะเข้าใจในธรรมนั้นๆ เช่นเวทนานุปัสสนา โดยจะไม่ไปยึดมั่นพึงพอใจในเวทนามากเหมือนในอดีตอีก เนื่องจากรู้ว่าเป็นกระบวนการทางธรรม(ชาติ)ไม่สามารถไปหยุดไปห้ามได้และเป็นไตรลักษณ์ เหมือนกับห้ามหายใจไม่ได้ฉันใดก็ห้ามเวทนาไม่ได้ฉันนั้น และไม่ใช่ความทุกข์ตัวจริง

    ดับความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ได้ก็คือดับอุปาทานในปฏิจจสมุปบาทได้ ผลก็คือไม่มีความทุกข์อันเกิดจาก "อุปาทานขันธ์๕ "ซึ่งเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้ดับ ผลนี้ก็ดับดังบทสรุปในมหาสติปฏิปัฏฐาน ๔ทุกบท ของกาย, เวทนา, จิต, ธรรม ตลอดจนบทย่อยทุกๆบท แสดงถึงพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ ในการปฏิบัติไว้เด่นชัด รวมถึง ๒๑ ครั้ง คือ ดั่งนี้
    ยอมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายในบ้าง(เปลี่ยนเวทนาเป็น กาย จิต ธรรม และบทย่อยๆ)
    พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเกิดในเวทนาบ้าง(เห็นธรรมคือเห็นธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ)
    พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง(ดับไป)
    พิจารณาเห็น ธรรมคือ ทั้งความเกิด ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมมีอยู่
    อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, เครื่องรู้
    พียงสักแต่ว่า เป็นที่อาศัยระลึกท่านั้น(หมายถึงอาศัยเป็นเครื่องรู้ระลึกและพิจารณาเป็นเครื่องเตือนสติและก่อปัญญา)
    เธอเป็นผู้ซึ่งตัณหาและทิฐิ ไม่ติดอยู่ด้วย และไม่ยึดถือ(หมายถึงไม่ยึดติด,ไม่ยึดมั่นถือมั่นคือเป็นอุปาทาน) อะไรๆในโลกด้วย อย่างนี้แล ชื่อว่าพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่
    (เป็นเช่นนี้ในตอนท้ายของ กาย เวทนา จิต ธรรม และบทย่อยๆทั้งหลาย เน้นย้ำเหมือนกันทุกประการถึง ๒๑ ครั้ง)

    เวทนาในเวทนา หมายถึง เข้าใจในเวทนาจริงๆอย่างถูกต้อง เห็นเวทนาตามความเป็นจริงไม่ถูกครอบงําโดยกิเลส หรือทิฎฐุปาทาน(ยึดมั่นในความเชื่อของตนเองอย่างผิดๆ) เห็นว่าสักแต่เพียงกระบวนการทางธรรม(ชาติ)เป็นปกติอย่างนี้ตลอดกาล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ไปยึดมั่นหรือถือมั่นให้เป็นอุปาทานในเวทนาหรือการเสพรสความรู้สึกรับรู้ในอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นนั้น
    เวทนาภายใน หมายถึง เวทนาของตนเอง
    เวทนาภายนอก หมายถึง เวทนาของบุคคลอื่น
    ตลอดจนในบทสรุปของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"อันต่อจากบทธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ชัดแจ้งเช่นกันถึงการบรรลุพระอรหัตตผล กล่าวคือถ้ายังมีอุปาทิ(สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น)อันคืออุปาทานยังไม่สิ้นหมด ยังคงมีเหลืออยู่บ้างก็จักได้เป็นพระอนาคามี ดังความในพระสูตรต่อไปนี้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
    อย่างนั้น ตลอดเนืองๆ ๗ ปี
    ผู้นั้นพึงหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง
    คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
    หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ จักเป็นพระอนาคามี ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ .......................
    (เหมือนเดิมทุกประการ เพียงเปลี่ยนเป็น ๖ ปี, ๕ ปี, ๔ปี.....๑ ปี, ๗ เดือน, ๖ เดือน...๑ เดือน, กึ่งเดือน, และสุดท้ายที่๗ วัน เป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ถึง ๑๖ ครั้ง)
    ดังนั้นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของสติปัฏฐาน ๔ ก็คือการใช้สติเพื่อดับตัณหา[​IMG]อุปาทานนั่นเอง ซึ่งก็จักบังเกิดผลดั่งพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน


    http://www.nkgen.com/13.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2012
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .........เฮนชิน!!! vvvvvvv...3!!:cool:
     
  8. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    กำลังรอ เห็นหน้าจองพี่ ป.ปุณฑ์ พี่เล่าขัด เจิมเสียก่อน
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    มันเป็นอภิญญาชนิดหนึ่ง .. เพื่อการจองพื้นที่

    เหลือแค่ 2 เม้นท์ ตัดสินใจไม่ถูกเลย จะลงอะไรดี :d qsquqsquqsqu
    โพสต์แก้ในเม้นท์ไม่ได้ด้วย มีแต่ตัวหนังสือแท้ๆ..
    แต่ขึ้นแบบนี้.. (อาจเป็นปัญหาเรื่อง code ของเว็บ)
    You have included 116 images in your message. You are limited to using 30 images so please go back and correct the problem and then continue again. Images include use of smilies, the BB code tag and HTML tags. The use of these is all subject to them being enabled by the administrator.

    ก็เอาอันที่ลงได้ ก็แล้วกัน..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2012
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,805
    ค่าพลัง:
    +7,940

    เอาพุทธวัจนะ มาให้พิจารณากันก่อน

    และ ขอให้พิจารณา "อุเบกขาสัมโพชฌงค์" ในแบบการภาวนาของ พระพุทธองค์
    ตรัสชี้ไว้ให้ดีๆ จะสังเกตเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ให้ ระลึกเพียง การมีอยู่ หรือ
    การไม่มีอยู่ ให้อาศัยระลึกไปอย่างนี้ๆ จึงชื่อว่า พิจารณาธรรมในธรรม

    ทีนี้ เมื่อมีอยู่ หรือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นให้ระลึก ก็ให้ ระลึกทวนกระแส
    ไปเสียหน่อยว่า กระทำเหตุอะไร จึงปรากฏ แล้วอาศัยระลึกรู้ เหตุ นั้นเป็นสิ่ง
    เกิดดับอีก

    ที่เอามาให้พิจารณา เพื่อต้องการ ชี้ว่า บทความที่ ปุรฑ์ปู้นยกมานั้น มีความแตก
    ต่างราวฟ้ากับเหวหรือไม่อย่างไร ยิ่งแล้วแต่ยิ่งเละจะพิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,805
    ค่าพลัง:
    +7,940
    นี่คือ บทความที่เจือโมโนโซเดียมกูตาเมท หรืออย่างไร หรือไม่ มาดูกันที่คำว่า
    "สะสม /สั่งสม / ถือ" ซึ่งปรากฏเป็น catalizeในการเร่งปฏิกริยา แล่นไป
    สู่การกล่าวว่า "สังขารดี๊ดี" "สังขารมีไอ้ที่ไม่เกิดจากอวิชชาด้วย"

    สังขารเอาไว้ดับตุ๊กๆ จึงกลายเป็น สังกัปที่บิดข้อเหวี่ยง ที่ปุณฑ์ปู้นยิ่งแล้ว ยกมา
    ให้สาธุชน.....รึเปล่า !?

    ************

    โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง :

    พระพุทธองค์ให้ ตามพิจารณาการเกิดดับของ อุเบกขาสัมโพฌงค์ ก็ให้ พิจารณาว่า มันเกิด มันดับ
    นี่คือ การให้ตามพิจารณา การสั่งสม เอาเป็นของตน หรือเปล่า

    พระพุทธองค์ให้ อาศัย อุเบกขาโพฌงค์ เพื่ออาศัยระลึก แล้ว ทวนไปที่ เห็นเหตุที่ทำให้ อุเบกขาโพฌงค์
    ไม่เกิดด้วยประการใด และ เจริญด้วยประการใด ให้รู้ชัดๆ ใน เหตุ เหล่านั้น ...... จึงชื่อว่า พิจารณา
    ซึ่งธรรมในธรรม ....... แล้วตกลง ใช่การให้ มุ่งสะสมที่ อุเบกขาโพฌงค์ หรือเปล่า หรือแค่ให้เห็น

    การเกิด ดับ ชัดๆ ไปเรื่อยๆ เนืองๆ ทั้งนี้ เพื่ออาศัยระลึก ไม่ยึดถือ

    ***********

    ก็ถ้า ไปเผลอยึดถือ เข้าใจว่า สั่งสม ก็จะโอ้ละพ่อ ลืมพิจารณา เหตุของการเจริญ อุเบกขาโพชฌงค์
    แล้วพูดไปนู้น ไปสู่การทำอะไรสักอย่าง



    โดน ทิฏฐิห้อมล้อมพาไปสู่การ นึกคิด เอา สังขารขันธ์ค้นหานิพพาน



    จริงๆ หากเกิด ฌาณ ตามนัยยะที่พระสูตรกล่าวไว้ได้อย่างลำดับลำดาถูกต้อง มันไม่ต้อง "ไปต้อง หรือ ไม่ต้อง" อะไรแล้ว

    สติโพชฌงค์ ปิติโพชฌงค์ ธรรมวิจัยโพฌงค์ ที่เกิด ดับ จะเป็น เหตุปัจจัยให้ เจริญ ".......โพชฌงค์" เอง ไม่ใช่
    เรื่องของคนมีปัญญาทรามจะต้องไปนั่ง ขุดสังขารมาต้งมาต้องอย่างนั้น อย่างนี้ ซะเมื่อไหร่
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  12. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    กิริยาทั้งสิบเอ็ดคืออะไรขอรับ

    :mad::mad::mad:
     
  13. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +1,124
    ขอบคุณนะขอรับ

    ธรรมอันเป็นฐานที่ตั้ง แห่งกิจญาณ [​IMG]
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    อาจจะ มึนสตึ้บส์!! นิดหน่อย...แต่พอเข้าใจได้ว่า...ต่อให้มีอุเบกขาสัมโพชฌงค์(ในความเข้าใจของผมเป็น สภาวะธรรม มากกว่า กริยาอาการวางเฉย คือ อุเบกขา มีหลายขั้น.(มีอามิส และไม่มีอามิส)..ส่วนที่ ท่านพี่เล่าปัง ยกมานั้นคือ สติปัฎฐานย่อมไม่มีการทิ้งไปเด็ดขาดจนกว่าจะบรรลุธรรม อัน ยิ่ง...(อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในจิตมีอยู่ก็รู้...อุเบกขาสัมโพชฌงค์ในจิตไม่มีก็รู้)....เพราะยังไม่ถึงที่สุด คือยังไม่ถึง วิราคะ วิมุติญานทัสนะ...ซึ่งยังอีกใกล:cool:เพิ่มนิดนึงครับ...คบสัปบุรุษ ฟังสัทธรรม ศรัทธา สติสัมปชัญญะ อินทรีย์สังวรณ์ สุจริตสาม สติปัฎฐานสี่ โพชฌงค์เจ็ด วิชชา และวิมุติ----อานาปานสติบริบูรณ์ ยังให้สติปัฎฐานสี่บริบูรณ์ได้ สติปัฎฐานสี่บริบูรณ์ ยังให้ โพชฌงค์เจ็ดบริบูรณ์ ยังให้ วิชชา และ วิมุติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  15. 9TRONG

    9TRONG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +514
    เวทนาภายใน หมายถึง เวทนาของตนเอง
    เวทนาภายนอก หมายถึง เวทนาของบุคคลอื่น

    ขอรบกวนช่วยอธิบายประโยคนี้เพิ่มเติมอีกหน่อยได้ไหมครับ
    เพราะผมกลับเข้าใจไปว่า... catt23

    เวทนาภายใน หมายถึง เวทนาทางจิต
    เวทนาภายนอก หมายถึง เวทนาทางกาย

    ขอบพระคุณครับ
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ขอยกพระวจนะ มาเสริม นิดนึงครับ...พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ทั้ง7 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำ วิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์...ภิกษุทั้งหลายภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาสัย วิเวก วิราคะ อันอาสัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ...........ย่อมเจริญ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ................ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาสัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อัยน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ................ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ...........ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาสัยวิเวก อันอาสัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ............ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาสัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ...ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ทั้ง7 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำวิชชา และวิมุติให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้---------------(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  17. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    คุณเข้าใจผิดเท่านั้นเองครับ ตอนแรกผมก็เข้าใจเหมือนคุณ
    จนกระทั่งได้อ่านและฟังมากขึ้น จึงรู้ว่า ภายนอก หมายถึง คนอื่น
    จริงๆแล้วมหาสติปัฏฐานสูตรลงท้ายแต่ละบรรพเหมือนกันหมด
    ว่าโดยย่อคือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสมาในแต่ละบรรพนั่นเอง
    ดังนั้นกรรมฐานเบื้องต้นของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ง่ายเข้า
    จึงมีการแนะนำให้เลิกยุ่งเรื่องของชาวบ้าน
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อ่านแล้วคิดว่าเขาว่าแบบนี้นะ..
    ...อะไรที่เป็นโทษให้ละ เช่นสังขารปรุงแต่งกิเลส
    ...อะไรเป็นคุณเช่น สติ เช่นอุเบกขา ก็ควรเจริญให้เป็นมหาสติ คืออุเบกขาที่ไม่ได้เกิดแต่อวิชชา แสดงว่าต้องมีสติปัญญาร่วม เจริญให้มากให้ต่อเนื่อง เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์..
    สั่งสมก็คือเจริญให้มาก อะไรที่ควรละ? อะไรที่ควรเจริญให้มาก?
    อะไรจะเป็นเหตุให้มีอุเบกขาที่มีสติปัญญา ถ้าเราไม่สร้างเหตปัจจัย(หมั่นเจริญให้มาก)

    อ้างอิง..
    ..เพราะจิตเมื่อเห็นเวทนาและโทษจากจิตคิดนึกปรุงแต่งหรือสังขารที่สั่งสมไว้บ่อยๆ จิตจะได้เกิดความเข้าใจหรือปัญญาขึ้นว่าสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ และที่สําคัญคือเป็นอุบายวิธีในการฝึกสติให้เป็นอุเบกขาหยุดการปรุงแต่ง,อันอุเบกขานี้เป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง มิสามารถเกิดขึ้นเอง จึงต้องหมั่นฝึกอบรมปฏิบัติให้เป็นสังขารที่สั่งสมใหม่อันมิได้เกิดแต่อวิชชา อันมีคุณอย่างยิ่งยวดในการดับทุกข์ และเป็นองค์ธรรมข้อสุดท้ายในโพชฌงค์๗ธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไม่ทราบเหมือนกันจ๊ะ
    การรับรู้ ความคิดคำนึง กิริยาจิตทั้ง 11 เป็นต้น
    ในหมวดจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ไม่แน่ใจ ว่าจะใช่ 11 อาการนี้หรือเปล่า? นับถูกหรือเปล่า?
    หรือนับไม่ถูก หรือไม่ใช่?? ท่านมะหน่อ คงต้องไปค้นเองแล้ว...

    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ...จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
    ปราศจากราคะ
    ...จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
    ปราศจากโทสะ
    ...จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
    ปราศจากโมหะ
    ...จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
    ...จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    ...จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
    ...หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
    ...จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    ...หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    ...จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
    ...หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
    จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
    เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
    หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
    ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
    ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อันนี้ยังไม่แน่ใจค่ะ เพราะนำมาเพื่อศึกษาเหมือนกัน
    แต่เขาอธิบายเพิ่มดังนี้ค่ะ
    http://www.nkgen.com/397.htm

    แล้วก็ลองดูที่นี่จ๊ะ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๖๗ - ๑๔๐. หน้าที่ ๔ - ๗.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=67&Z=140&pagebreak=0
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...