มองปัญหาด้วยปัญญา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : องค์กำหนด 5 ประการ ของผู้จะบวช <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">20 สิงหาคม 2546 18:07 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    นั่งสมาธิแล้วปวดขา
    กราบนมัสการหลวงปู่เจ้าขา ดิฉันกราบถามหลวงปู่ 2 ข้อ

    1. เวลานั่งสมาธิแล้วรู้สึกสบาย นั่งตัวตรง หายใจลึกๆ เงยหน้านิดหน่อยแล้วหลับตา จิตก็ว่าเป็นปกติ รู้สึกมีลมออกมาที่หูแล้วมันเงียบมาก ปากก็ว่าพุทโธ แต่พอนั่งไปประมาณ 30 นาทีก็รู้สึกปวดที่ขา ชาไปหมด อารมณ์ก็เริ่มหงุดหงิด จะทำยังไงะคะจึงจะหายปวดขา

    2. เมื่อเวลานั่งฟังพระแสดงธรรมนั้นง่วงนอนทุกทีเลย ทั้งที่ไม่คิดกังวลอะไรเลย ดิฉันรู้สึกอายเพื่อนมากค่ะ สงสัยแค่นี้ค่ะหลวงปู่

    วิสัชนา
    1. สมาธิเขาฝึกที่จิต มิใช่ฝึกกาย เมื่อยก็เปลี่ยนท่านั่ง ไม่เห็นจะผิดอะไร แต่ถ้าคุณได้นั่งบ่อยๆ อาการปวดก็จะหายไปเอง

    2. แรกๆคุณอาจจะตั้งใจฟังมากเกินไป จนทำให้อารมณ์รวมกับ.....ความง่วงซึมเสียก่อน วิธีแก้ คุณรู้ตัวว่าง่วงก็เปลี่ยนท่านั่ง เปลี่ยนที่นั่ง และถ้ายังไม่หาย ก็ลุกไปเข้าห้องน้ำล้างหน้า แล้วกลับมานั่งฟังใหม่

    ปุจฉา
    ลมหายใจแผ่วเบา
    ผมฝึกสติด้วยวิธีกำหนดลมหายใจเข้าออก แต่ระยะหลังๆรู้สึกว่าลมหายใจแผ่วเบามาก ไม่สามารถนำมาใช้เป็นอารมณ์ได้ ควรแก้ไขอย่างไรดีครับ เพราะจิตใจไม่ค่อยสงบ

    วิสัชนา
    ที่จริงเป็นเรื่องดีนะ ถ้าคุณรับรู้ได้แม้กระทั่งลมหายใจที่เล็กน้อย นั่นแสดงว่าจิตคุณมีการรับรู้ที่ละเอียดขึ้น ใครๆเขาก็อยากให้ถึงสิ่งที่คุณกำลังเป็นอยู่ทั้งนั้น แล้วทำไมคุณถึงได้ไม่ชอบของละเอียดเหล่านี้ น่าแปลก.. พยายามกำหนดรู้ในลมที่ละเอียดนั้นต่อไปแล้วคุณจะรู้สึกได้ด้วยตนเองว่ามัน ช่างวิเศษจริงๆ

    ปุจฉา
    ทำหมันแล้วบวชได้มั้ย
    ลูกเพิ่งติดตามงานของหลวงปู่มาไม่นาน เริ่มตระหนักถึงบาปกรรมที่กำลังกระทำอยู่และอยากจะหาโอกาสบวชเรียนเพื่อ สร้างกุศลให้กับตัวเองและครอบครัว ลูกเคยได้ยินมาว่าคนที่ทำหมันแล้วไม่สามารถบวชเรียนได้เนื่องจากถือว่าอาการ ไม่ครบ32 ไม่ทราบว่าเป็นความจริงและยึดถือกันเคร่งครัดเพียงใด หรือถ้าใจเรามีความมุ่งมั่นพอไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือสงฆ์ถ้าตั้งใจทำดีแล้ว ก็ให้ผลไม่ต่างกัน

    วิสัชนา
    คุณไปเอาความเชื่อนี้มาจากไหน ฉันยังไม่เคยเห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านห้ามเอาไว้ในที่ใด มีแต่ท่านจะบอกเอาไว้ว่าผู้ที่จะมาบวช ต้องมีองค์กำหนด 5 ประการคือ

    1.วัตถุสมบัติ ได้แก่ผู้ที่จะบวชต้องเป็นชายมีอายุ 20 ขึ้นไป ไม่พิการ ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง ไม่มีคดีติดตัว ไม่เคยทำผิดถึงอาบัติปาราชิกในพระพุทธศาสนามาก่อน ผู้ปกครองอนุญาต

    2.ปริสสมบัติ ได้แก่ประชุมสงฆ์ครบองค์กำหนด คือตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป

    3.สีมาสมบัติ ได้แก่ ทำการบวชในเขตพัทธสีมา คือในโบสถ์ที่ได้รับสมมุติแล้วเท่านั้น

    4.กรรมวาจาสมบัติ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นคู่สวด สวดประกาศแจ้งการบวชแก่สงฆ์อย่างถูกต้องครบถ้วน

    5.อนุสาวนาสมบัติ ได้แก่ พระภิกษุผู้ร่วมประชุมในโบสถ์ตกลงเห็นพร้อมอนุญาตให้บวชและเปล่งสาธุรับผู้จะบวชเข้าหมู่ ถ้าคุณไปทำหมันโดยมิได้ตัดองคชาติโยนทิ้ง ไม่ถือว่าพิการหรอกคุณ
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : เหตุใดปุถุชนจึงไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">13 สิงหาคม 2546 15:54 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ทำไมต้องเกิด
    คนเราทำไมถึงเกิดมา มีจุดมุ่งหมายอะไรหรือ ?

    วิสัชนา
    กรรมคือการกระทำ ซึ่งก็มีทั้งดีและชั่ว เป็นเหตุทำให้เราเกิด จุดมุ่งหมายขณะดำรงชีวิตของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป แต่ที่แน่ๆ ทุกคนรักสุข เกลียดทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้าจะถามว่า จุดใหญ่และจุดสุดท้ายของชีวิตต้องการอะไร ก็น่าจะตอบได้ว่า ต้องการพ้นทุกข์

    ปุจฉา
    อยากล้างกรรมเก่า
    การไปเป็นนักปฎิบัติธรรมและสวดมนต์ก่อนนอนทุกวันจะช่วยลบล้างกรรมเก่าได้มาก น้อยแค่ไหนเจ้าคะ

    วิสัชนา
    อย่างน้อยก็ดีกว่าที่คุณไปทำไม่ดี หรือดีกว่าอยู่อย่างไม่ทำอะไรเลย ส่วนจะให้สิ่งที่คุณทำเล็กน้อยนี้ ไปลบล้างกรรมไม่ดีในอดีตมันเป็นไปไม่ได้ ดีส่วนดี ชั่วส่วนชั่ว มันคนละอย่าง อย่าเอามาปนกัน ขอเพียงคุณพยายามทำดีตลอดไป ฉันเชื่อว่าคุณต้องได้รับผลดี

    ปุจฉา
    รู้อดีต รู้อนาคต
    กาลเวลาเป็นสิ่งที่กำหนดวัฎจักรของมนุษย์ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ขอถามหลวงปู่ว่า

    1. เหตุใดปุถุชนจึงไม่รู้อดีต ไม่ทราบอนาคต

    2. การที่ผู้ทรงอภิญญาที่สามารถรู้เห็นอดีตได้ หากคิดตามสามัญชนแล้ว คงไม่แปลก เพราะอดีตผ่านไปแล้ว อาจจะมีการเก็บสะสมในจิตได้ เพียงรู้วาระจิตก็น่าจะรู้ได้ แต่อนาคตนี่สิทำไมถึงรู้ได้ ในเมื่ออนาคตยังไม่เกิด หากสามารถรู้อนาคตได้แสดงว่าระบบกรรมถูกตรึงไว้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

    แต่ถ้าเปลี่ยนสมมุติฐานใหม่ว่า ระบบกรรมไม่ได้กำหนดตายตัว แสดงว่าเราสามารถสร้างกรรมใหม่ได้ หากสมมุติว่า ณ จุดหนึ่งของกาลเวลา เราต้องรับกรรมแบบหนึ่งตามชนกกรรมในอดีต ถ้าผู้ทรงอภิญญาก็จะรู้เห็นอนาคตจากกรรมนั้น ก็ยังไม่เที่ยงแท้อีกใช่ไหม ซึ่งถ้าเราพยายามสร้างกรรมใหม่ก็น่าจะสามารถเปลี่ยนระบบกรรมของตนได้ไม่ใช่ หรือ อยากให้อธิบาย

    วิสัชนา

    1.เพราะไม่ทรงสติ ไม่เจริญสติ ไม่มีสติ ขาดปัญญา

    2.ผู้ใดสามารถ รู้อดีตได้แจ่มแจ้งทั้งถูกและผิดย่อมแน่นอนว่า ปัจจุบันของเขาต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยความระมัดระวัง เช่นนี้แล้ว อนาคตจะยังไม่สามารถกำหนดได้อีกหรือ ผู้ที่สามารถกำหนดอนาคตได้ไม่ได้มีมากมายนักหรอกคุณ แม้ว่าสามารถรู้ได้ สุดท้ายก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของกรรมอยู่ดี กรรมมีทั้งดีและกรรมชั่ว ที่เรามีชีวิตเป็นตัวเป็นตนก็เพราะผลที่มาจากกรรมซึ่งก็ต้องรับผลและชดใช้ แม้คุณจะรู้อดีต ปัจจุบัน แลอนาคต แล้วจะทำอะไรได้กับกรรมเก่าๆที่แล้วๆมา คุณเปลี่ยนแปลงมันได้หรือ ถ้าได้พระพุทธเจ้าท่านคงจะไม่ต้องมาโดนพระเทวทัตรังควานจองล้างจองผลาญหรอก

    สรุปไม่ว่าจะยังไง ผู้ใดทำกรรมเช่นไร ย่อมต้องรับผลของกรรมนั้นๆ

    ปุจฉา
    วิถีคนดี หนทางคนชั่ว
    ผมอยากทราบว่า อะไร คือ วิถีของคนดี และ อะไร คือ หนทางของคนชั่ว โปรดเมตตาตอบ ขอบคุณมากครับ

    วิสัชนา
    ผู้ที่เป็นคนดี มีวิถีการดำเนินชีวิต ทำ พูด คิด เป็นเรื่องเดียวกัน และต้องเป็นเรื่องที่ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่นให้เดือดร้อน

    ปุจฉา
    อยากทิ้งอารมณ์ไม่ดี
    เมื่อบิดาของลูกกระทำบางสิ่งที่ไม่ดีต่อ แม่และพี่ชาย ในความคิดและการมองด้วยจริตของลูก พาลทำให้เกิดโทสะ ความอาฆาต เคียดแค้น ความอิจฉา และเก็บมาเป็นอารมณ์อยู่ เนืองๆ
    ลูกขอกราบถามหลวงปู่ว่า จะมีหนทางธรรมใด ให้ลูกละทิ้งอารมณ์เหล่านี้ อันก่อบาปต่อลูกติดตัวไปด้วยเถอะครับ

    วิสัชนา
    เป็นธรรมชาติของคนขาดสติ มีความหลง คุณก็รู้ว่าเขาทำไม่ดี ก็ถือว่าดีแล้ว แล้วทำไมคุณดันกลับคิดไม่ดีเสียล่ะ ฮั่นแน่.. ว่าแต่เขาอีเหนาเป็นเอง
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : จะทำอย่างไรให้ชีวิตมีค่าขึ้นกว่าเดิม <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">6 สิงหาคม 2546 11:37 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    จะทำอย่างไรให้ชีวิตมีค่าขึ้นกว่าเดิม

    วิสัชนา
    จงเชื่อพระพุทธเจ้า ในข้อหรือความหมายของคำว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน และเมื่อพวกท่านเชื่อตามนั้น ก็ต้องพยายามทำตัวเองให้เป็นที่พึ่งของตัวเองได้ เราจึงจะแผ่ความเป็นที่พึ่งของเราให้คนอื่นเขาพึ่งบ้าง

    การที่หลวงปู่สั่งงานให้ทำ ก็เพื่อต้องการจะให้รู้จักฝึกระเบียบของกาย จนเป็นระบบของจิตที่กล้าแข็ง เมื่อจิตใจมีระบบในความรู้สึกนึกคิด การกระทำทั้งหลายที่เกิดจากจิตที่กล้าแข็ง ย่อมเต็มไปด้วยความสำเร็จ เต็มเปี่ยมไปด้วยความมีประโยชน์ และ ก็ย่อมเป็นไปด้วยความภาคภูมิใจ

    แต่ถ้าคนที่มีความอ่อนแอ คนที่มีกิริยาอาการที่หนักไม่เอาเบาไม่สู้ คนที่มีชีวิตอยู่กับการเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ พวกนี้มีความคิดสับสน จัดระเบียบของความคิดไม่ได้ และสุดท้ายก็ไม่รู้ว่าอะไรควร อะไรก่อนหลัง พวกนี้หาความสำเร็จในการเกิดไม่ได้

    รู้ไหมว่า คำว่า ศาสนา แปลว่าอะไร ศาสนามาจากคำว่า ศาสน หรือ สาระ การใช้ชีวิตให้มีสาระ รวมความแล้วว่า คราใดที่เรามีการกระทำ คำพูด หรือเรื่องที่คิดที่เป็นสาระ ถือว่าเราเข้าถึงศาสนา แต่ถ้าเมื่อใดที่เรามีชีวิตอยู่อย่างไร้สาระ เราไม่รู้จักคำว่าศาสนา

    การที่พวกท่านได้มีโอกาสทำงานเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อศาสนา เป็นการทำลายความตระหนี่ ความเกียจคร้าน ความละโมบ โลภมาก ความเห็นแก่ตัว เป็นจิตใจที่คับแคบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความไม่ดี ต้องสละและทำลายมันลงไป ด้วยการเป็นผู้ให้ อดทน และก็ทำมันด้วยความรู้สึกเพื่อจะเรียนรู้ฝึกปรือ และก็สลัดหลุดจากความเกียจคร้าน ความสันหลังยาวการเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ และการขาดความอดทน

    เหล่านี้ไม่มีตำราเล่มใดเขาสอนกัน นอกจากพวกท่านต้องฝึกด้วยตัวเอง ไม่มีโรงเรียนไหนเขาชี้นำได้ นอกจากพวกท่านต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง ถ้าทำได้อย่างนั้น ฝึกได้อย่างนั้น เรียนรู้ได้อย่างนั้น ก็ถือว่าได้เข้าถึงศาสนธรรม หรือธรรมที่ให้สาระแก่การมีชีวิต

    ถ้ามีชีวิตอยู่อย่างไร้สาระ อย่าว่าแต่พระเลย แม้แต่เป็นชาวบ้าน ก็ไร้ค่าขาดราคา ไม่มีประโยชน์ในการได้เกิดเป็นคน

    ถ้าอย่างนั้น คำว่า ศาสนธรรม หรือศาสนา ก็คือการใช้ชีวิตให้มีสาระ ใจความสำคัญของผู้นับถือศาสนาก็คือ ผู้ที่เข้าถึงสาระของการมีชีวิต ถ้าเราเข้าใจถึงความหมายของคำว่าศาสนา หรือ สาระของการมีชีวิต เราก็จะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าต้องการอะไรจากการแสดงพระธรรม นั่นคือ พระองค์ต้องการให้สรรพสัตว์ สรรพชีวิตทุกชนิด มีชีวิตอยู่อย่างคนมีสาระ อย่างเต็มเปี่ยมไปด้วยความมีสาระ การมีโอกาสได้อบรมกายให้อดทน อดกลั้น ต่อสู้ฝ่าฟันต่อความเกียจคร้าน ความไม่เอาถ่าน เอาแต่นอนกับกินอย่างเดียว แต่ถ้าท่านต้องการสู้เพื่อเอาชนะ ก็ถือว่าท่านทำชีวิตให้มีสาระ แต่ถ้าหากว่ามันชนะท่าน ชีวิตของท่านก็ไร้สาระ ท่านจะเห็นว่าหลวงปู่ไม่เคยนอนกลางวัน ถ้าวันใดที่หลวงปู่นอนกลางวัน แสดงว่าหลวงปู่ป่วย หลวงปู่ไม่เคยหยุดนิ่งหรือนั่งเฉย

    ทั้งนี้เพราะหลวงปู่ไม่อยากจะอยู่ห่างสาระ ไม่อยากอยู่ห่างศาสนธรรมนั่นเอง เราอาจจะรู้ธรรมะ เรียนธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ แต่ถ้าทำให้ชีวิตไร้สาระ นั่นถือว่าเป็นคนไม่มีธรรมะ ถ้าอย่างนั้นเราต้องทำชีวิตให้มันมีสาระด้วยการถามตัวเองว่า วันนี้เราจะได้สาระอะไรกับการใช้ชีวิต ชั่วโมงนี้ นาทีนี้ เราจะมีสาระอะไรต่อการได้ใช้ชีวิต และถ้าพวกท่านทำไม่ได้ด้วยตนเอง ก็ต้องอาศัยครูผู้เอื้ออารีที่ทำดีให้เราได้ดูตัวอย่าง

    ขณะนี้หลวงปู่ทำหน้าที่เป็นครู ทำให้พวกเราได้ดูอยู่ตลอดวันและตลอดเวลา พยายามสังเกต อย่าปล่อยชีวิตให้ตกเป็นทาสของความเห็นแก่ตัว ถ้าเราทำอย่างนั้นแสดงว่า เราเป็นสาวกของมาร เป็นสาวกลูกหลานของพวกซาตาน

    โดยหน้าที่และฐานะความเป็นอยู่ หลวงปู่มีสิทธิที่จะทำตัวอย่างสบาย มีสิทธิที่จะนั่งเป็นคนชี้นิ้ว แต่เพราะหลวงปู่คิดว่าการนั่งทำตัวสบายและเป็นคนนั่งชี้นิ้ว มันจะทำให้ชีวิตไร้สาระ มันจะทำให้ชีวิตอับเฉาขาดธรรมะ จะทำให้จิตวิญญาณของหลวงปู่ห่างไกลสาระและศาสนธรรม ถ้ารู้จักสร้างอุดมการณ์ให้แก่ตัวเองได้อย่างนี้ ไม่จำเป็นต้องมีครู ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง ก็สามารถเอาชนะความเกียจคร้าน ความเห็นแก่ตัว ความไร้สาระ ได้อย่างหมดจดและตลอดเวลา

    แต่ถ้าพวกท่านไม่มีอุดมการณฺ์เหล่านี้ ต่อให้มีครูมานั่งเฝ้าจับตาดูทุกชั่วโมง มันก็ไม่ได้ประโยชน์ มันก็ไม่ได้สาระเท่าที่ควร เพราะการกระทำที่ได้จากการนั่งเฝ้าของครู มันจะเป็นการกระทำของหุ่นยนต์ที่ขาดจิตวิญญาณ มันจะเป็นการกระทำแบบเสียไม่ได้ มันจะเป็นการกระทำของผู้ที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่แยกแยะระหว่างดีชั่ว และมันจะเป็นการกระทำของผู้ที่ขาดสติปัญญา แต่ถ้าหากมีอุดมการณ์ของตัวเองอย่างที่ว่ามาแล้วนั้น ไม่ว่าท่านจะทำ จะพูด หรือจะคิด มันช่างเต็มเปี่ยมไปด้วยรสชาติ และกลิ่นอายแห่งความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ มีเสรีภาพ และมีความสุขสมบูรณ์ในการกระทำ การพูด หรือความคิด

    เพราะฉะนั้น ฝากให้รู้ไว้ว่า หลวงปู่อาจจะไม่สอนหรือสอนได้ไม่เหมือนคนอื่นเขาสอนกันในแผ่นดิน เพราะหลวงปู่เป็นคนโง่ แต่หลวงปู่อาจจะทำได้มากกว่าคนอื่นที่สอน เป็นเพราะหลวงปู่หมั่นที่จะทำ คนพูดมากไม่ได้หมายความว่าเป็นคนดีได้มาก คนแสดงมากไม่ได้หมายถึงเป็นคนวิเศษได้มาก มันจะดีมาก วิเศษมาก อยู่ที่เราทำอะไรได้มากต่างหาก แต่ถ้าเราทำไม่ได้มาก พูดมากก็โง่มาก แสดงมากก็เลวมาก ผิดมากก็ชั่วได้มาก
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : ธรรมะขัดกิเลส <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">30 กรกฎาคม 2546 16:56 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ธรรมะขัดกิเลส
    นมัสการหลวงปู่ ลูกอยากทราบว่า ... จะมีวิธีใดหรือต้องใช้ธรรมข้อใดในการทำลาย ทิฐิ มานะ ความเหย่อหยิ่ง อวดดี และความเจ้าโทสะในใจคน

    วิสัชนา
    "ก็อ่อนน้อมถ่อมตน ยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่นบ้าง ด้วยความเคารพ และเจริญเมตตามีจิตกรุณาปราถนาให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุข พ้นทุกข์ภัย"

    ปุจฉา
    สติในโพชฌงค์
    กราบนมัสการหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพอย่างยิ่ง สติที่กำกับจิตดังในคำสอนในมหาสติปัฏฐานสี่เพื่อให้เกิดปัญญา กับสติที่อยู่ในโพชฌงค์ 7 เพื่อยังให้จิตถึงอุเบกขา อยากทราบว่าการเจริญสติ ระหว่างแนวทางของมหาสติปัฏฐานสี่ กับโพชฌงค์ จะใช้ในสภาวะธรรมที่แตกต่างกันอย่างไร ควรจะยึดมหาสติปัฏฐานเป็นแนวทางหลักแห่งการหลุดพ้นใช่หรือไม่ ทำไมจึงมีผู้สรรเสริญว่าโพชฌงค์เป็นธรรมเครื่องยังให้ตรัสรู้ หรือธรรมแห่งการหลุดพ้น ทั้งที่อุเบกขาไม่น่าจะนำมาเปรียบเทียบได้กับปัญญา ในทำนองเดียวกันกับที่สมถะ ไม่อาจเทียบได้กับวิปัสสนา

    วิสัชนา
    "ดูคำถามของท่าน น่าจะเป็นคนรอบรู้เอาเรื่องอยู่ แต่ทำไมเรื่องง่ายๆ แค่นี้จึงต้องมาถามให้เสียเวลาด้วย เอาหละ...ไหนๆ คุณสู้อุตส่าห์ ขวนขวายถามมา ฉันก็จะขวนขวายตอบไป จะผิดถูกก็ต้องขออภัย จะตอบเท่าที่ปัญญาพอมี สติในมหาสติปัฏฐาน ท่านหมายถึงมีสติพิจารณาสภาวะที่เป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง จนเกิดปัญญารู้แจ้ง พ้นจากเครื่องร้อยรัดปรุงแต่งทั้งปวง

    ส่วนสติในโพชฌงค์ 7 ท่านให้ใช้สติพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาธรรมที่เหมาะสมกับตน (ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌงค์) แล้วก็มีความเพียรในการปฏิบัติธรรมนั้น (วิริยะสัมโพชฌงค์) จนเกิดเป็นปิติ ความอิ่มใจ สุขใจ (ปิติสัมโพชฌงค์) มีความผ่อนคลายเรียกว่า (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) จนเป็นผลดีคือความสงบใจจากกิเลสและนิวรณ์ธรรมทั้งหลาย (สมาธิสัมโพชฌงค์) เมื่อใจสงบปราศจากเครื่องปรุงทั้งปวงก็วางเฉยต่ออารมณ์ใดๆ ที่ปรากฏต่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

    ฉันว่า เรื่องที่คุณควรจะทำก็คือคุณควรจะมีสติ คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่จะทำ พูด คิด ไม่ให้ผิดพลาดอย่างไร พร้อมกับใช้สติทำความรู้จักชีวิต จิตวิญญาณ ลม หายใจในกายคุณ เอาแค่นี้ก่อน ทำให้คุณรู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง แจ่มแจ้งในตัวเองให้สมบูรณ์ แล้วค่อยมาถามฉันใหม่ ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดโพชฌงค์ 7"

    ปุจฉา
    สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด ในภาคปฏิบัติ
    กราบแทบเท้าหลวงปู่ ลูกได้มีโอกาสรับฟังธรรมขอหลวงปู่ที่วัดไม่กี่ครั้ง แต่ก็ได้อ่านหนังสือของหลวงปู่อยู่หลายเล่ม และเทปต่างๆ ก็จะศึกษาและปฏิบัติเสมอเมื่อมีเวลาว่าง ก็มีประสบการณ์ในการปฏิบัติอยู่ครั้งหนึ่งดังจะเล่าต่อไป ก็ขอหลวงปู่เมตตา ชี้แนะด้วยว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิดลูกจะได้ปฏิบัติต่อไปให้ยิ่งๆ ขึ้น ครั้งหนึ่งขณะว่าง ไม่มีลูกค้า ลูกได้ลองทำสมาธิดู ดีกว่าอยู่เปล่าวๆ (ขณะทำได้ ลืมตาทำตลอด และ นั่งบนเก้าอี้ที่มีผนักพิง) เริ่มแรกนั่งตัวตรง แล้วเริ่มสำรวจหาลมหายใจ ปรากฏว่าไม่ค่อยชัดเจน หาไม่ค่อยเจอ จึงได้ลอง หายใจแล้วกักลมไว้ ก็พยามทำเช่นนี้ เมื่อแรกก็รู้สึกว่ายาก เพราะว่ากักไว้ไม่ได้นาน เพราะว่าเหนื่อย แต่ก็พยายามทำ โดยอนุโลมปฏิโลม คือเหนื่อยก็หายใจแบบปกติ ไม่กัก หายเหนื่อยก็กักไว้ใหม่ จนเมื่อเห็นลมชัดเจนขึ้น ก็หายใจเป็นจังหวะ เป็นระบบ คือเข้าแล้วกักไว้เพียงเล็กน้อย นับได้ประมาณ 2-3 แล้วปล่อยออกช้าๆ เป็นระบบไป เมื่อทำไปจนชัดเจน คล่อง นิ่มนวลแล้ว มาสังเกตุได้ว่า การหายใจคล่องดีอยู่ แต่ไม่ลึก (อ่านจากหนังสืออยู่กับปู่ ทราบว่าหลวงปู่เคยว่าลูกศิษย์ว่า หายใจเป็นวัวเป็นควาย จะมาเรียนลม 7 ฐาน) ก็มาสำรวจว่าเราหายใจได้เป็นระบบดี ราบรื่นดี แต่ไม่ลึก ไม่ยาว คือแค่จมูก มาคอ สุดที่ปอด สุดให้มากเต็มที่ก็ไม่สามารถหายใจให้ยาวได้ จึงนึกได้ว่ามีเพื่อนเคยแนะว่า มีการหายใจอย่างหนึ่งเรียกว่าหายใจด้วยสะดือ ก็ไม่สามารถเอาความละเอียดได้ เพราะเขาว่าต้องลองทำเอง ก็ลองทำดู โดยการเอาใจมาจดจ่ออยู่ที่หน้าท้อง พอดึงลมเข้าก็พอดีหน้าท้องขยายออก ก็รู้สึกว่าลมสามารถมาได้ลึกขึ้น ได้แรกๆ มาถึงลิ้นปี่ ต่อมาทำจนค่อยก็มาถึงท้อง คือแถวสะดือ เมื่อทำจนคล่อง บางครั้งจะรู้สึกว่าลมสามารถไปที่กระดูกสันหลังและขึ้นท้ายทอย จอมประสาทออกจมูก ก็เป็นรูป จ.จาน อย่างที่หลวงปู่แนะไว้ แต่ตอนนั้นยังติดใจในการหายใจให้ลึกๆ อยู่ เพราะคิดว่าควรจะหายใจได้ลึกกว่านั้น ก็พยายามอยู่ แต่รู้สึกว่าจะกินแรง ต้องตั้งใจ และใช้กำลังมากทีเดียวก็ได้เพียงแค่ถึงท้องน้อย ตอนนั้นการหายใจก็ยังเป็นแบบผ่อนหนักผ่อนเบาอยู่ คือถ้าเหนื่อยก็แค่สะดือ หายเหนื่อยก็ท้องน้อย แต่ดูว่าส่วนใหญ่จะแค่สะดือ ทำไปแล้ว กลายเป็นว่าหายใจเป็นสองจังหวะ คือ จากจมูก มาคอ ปอด ลิ้นปี่ สะดือจังหวะหนึ่ง และจังหวะสอง (เหมือนก็อกสอง)เอากำลัง ที่มีอยู่อีกเล็กน้อยดึงลมจาก สะดือไปท้องน้อย เพราะจังหวะแรกง่าย สะดวก ไม่ใช้แรงมาก จังหวะสองใช้แรงมาก แต่พอทำไป เผอิญ มีครั้งหนึ่ง ในจังหวะสองแทนที่จะเดินลมจาก สะดือไปท้องน้อย กลับไปดึงลมจากท้องน้อยขึ้นมารวมกับลมจังหวะแรกที่สะดือ แล้วจึงผลักไปกระดูกสันหลัง ดูว่าวิธีนี้จะไม่ค่อยใช้แรงนัก ลูกจึงได้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยจนคล่อง เห็นลมชัดเจนตลอดในกองลม จนเห็นแสงแวบๆ วิ่งผ่านหน้าไปอยู่ครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่ใส่ใจ อย่างที่หลวงปู่เคยแนะไว้ เมื่อทำต่อไปอีก ตั้งใจจะดูจนถึงที่สุดของมัน ก็สังเกตุว่าสมหายใจร้อน ก็ไม่ใส่ใจ ที่นี้ก็ร้อนจนเป็นความร้อนที่ในอยู่ในบริเวณท้องทั้งหมดจนถึงสิ้นปี ผมก็พยายามไม่ใส่ใจ ก็จะดูไปอีกว่าจะเกิดอะไรตอนนี้เกิดเมื่อยก้นกบ ก็จะขยับตัวสักเล็กน้อย ก็คิดว่าหากมีสติ มีสมาธิก็ต้องมีให้ได้ในทุกอิริยาบถก็จะลองขยับตัวอย่างช้าๆ มีสติ แล้วเอาสติตามจับ การขยับตัว แรกๆ ก็เกือบหลุดหายหมด ต้องกลับไปจับลมจนชัดเจนดีดังเดิม ก็เริ่มใหม่ พอเริ่มขยับตัวได้สักเล็กน้อย มีสติตามการขยับตัว ที่นี้จิต เกิดอาการไหลตัวดิ่งลงต่ำก็จังหวะนั้นพยายามประคองสติตามอยู่ ที่นี้ก็รู้สึกเหมือนว่า ตัวเราเหมือนเป็นศูนย์กลางจักรวาล พลังทั้งหลายที่มีอยู่ ได้ไหล่บ่าเทลงสู่ตัวเรา ตอนนั้นได้หลับตาลง ก็พยายามรักษาสติอยู่เพราะกลัวเราจะเสียสติไป หรือมีอาการหลอนหลอกของมายาขจิต ก็จึงได้พยายามลืมตาขึ้น ก็พอดีอาการไหล่บ่าถ่ายเทของพลังก็สงบลง จากนั้นสำรวจดูพบว่า จิตนิ่ง สงบ ตื่น รู้ตัวอยู่ ลืมตาอยู่ แต่ไม่คิดอะไร ไม่กลัวอะไร แต่รู้สึกในตัวเรากลับมีพลังแข็งแรง สดชื่นอย่างไม่เคยพบมาก่อน จึงขอเรียนถามหลวงปู่ว่า

    ข้อ1. ที่ลูก ได้ลองทำมาแล้วนี้ มีขั้นตอนใด ที่ไม่ถูกหรือไม่ และควรปรับหรือแก้อย่างไร

    ข้อ2. ความร้อนที่เกิดขึ้นที่ท้อง นั้นดีหรือไม่

    ข้อ3. ที่เรียกว่าดูดซับพลังจากธรรมชาตินั้นเป็นเช่นนี้ใช่หรือไม่

    ข้อ4. อาการจิตนิ่งนั้น เป็นอาการของอัปปนาสมาธิใช่หรือไม่

    ข้อ5. ลูกรู้สึกว่าอาหารที่ได้ทานเข้าไปแล้ว (มื้อเย็น) ได้ถูกย่อยหมดไปโดยเร็ว และเมื่อทานอีกก็เป็นเช่นนี้อีก ข้อนี้เกิดจากความร้อนที่เกิดขึ้นที่ท้อง ขณะฝึกสมาธิใช่หรือไม่

    วิสัชนา
    "คุณถามฉันเสียยาวเชียว สรุปว่าฉันขอแสดงความยินดีกับคุณด้วยที่คุณได้เข้าถึงพลังดั้งเดิมของคุณเอง ขอให้รักษามันไว้ให้มั่นคงดำรงอยู่อย่าให้หนีหายไป ทุกครั้งที่คุณเจริญสติเดินลมจะต้องขจัดสภาวะดังที่คุณเล่ามา เมื่อทุกอย่างตั้งมั่นดีแล้ว คุณค่อยถามฉันใหม่ว่า จะใช้มันยังไง ตอนนี้ถ้าฉันบอกคุณไป ประเดี๋ยวก็จะกลายเป็นความอยากนำหน้าพลังและความสงบ มันจะสงบสิ่งที่คุณมีจนหมดสิ้น ขอให้ทำต่อไปให้ชำนาญ"
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : อยากบวช แต่กลัวไม่มีใครเลี้ยงพ่อแม่ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">16 กรกฎาคม 2546 15:22 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    อยากบวช แต่กลัวไม่มีใครเลี้ยงพ่อแม่
    กราบนมัสการหลวงปู่ครับ กระผมขอกราบเรียนถามปัญหาที่ข้องใจครับ

    1. ความหมายของคำว่า 'สัญญา'ทางโลกหมายถึงจำ แต่ไม่มีความเข้าใจแต่หากมีความเข้าใจแล้วทางธรรมเรียกว่า'ปัญญา'ใช่หรือไม่ ครับ

    2.การปฏิบัติธรรมถ้าทำจริงจะรู้ชัดและเข้าใจอาการและอารมณ์ของจิตโดยไม่ต้อง ถามผู้ใด ที่เรียกว่า'ปัจจัตตัง'อย่างนั้นใช่หรือไม่ครับ

    3.เข้าใจว่าถ้าเห็นทุกขสัจของตนแล้วย่อมมีโอกาสพ้นจากทุกข์ถ้าไม่ประมาท และมีความต้องการที่จะบวชแต่หากเป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่จะทำอย่างไรดีใน เมื่อเห็นฝั่งแล้วแต่เกรงว่าจะเป็นคนอกตัญญูต่อบุพการี

    วิสัชนา
    1.เข้าใจอย่างเดียวยังไม่ถือว่าเป็นปัญญา ต้องรู้แจ้งชัดตามความเป็นจริงด้วย

    2.แน่นอน

    3.เป็นเช่นนั้นจริงๆ การบวช ท่านมิได้ห้ามเลี้ยงดูพ่อแม่ กลับจะเป็นการเลี้ยงดูได้ทั้งทางกายพร้อมกับจิตใจ ที่เห็นลูกใฝ่ดีมีบุญเจือจุนพ่อแม่ ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับคุณว่าจะเลือกอะไร แล้วการเลือกนั้นทำให้ผู้ใดเดือดร้อนหรือไม่

    ปุจฉา
    ไม่ อยากเป็นทุกข์
    ลูกอยากจะขอคำชี้แนะจากหลวงปู่ว่า

    1.การที่เรายังเป็นปุถุชนอยู่นั้น เราน่าจะยึดอย่างไรให้ไม่เป็นทุกข์มากๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือคนที่เรารัก

    2.ธรรมะใดที่สามารถฝึกทำให้เราพึ่งพาตนเองได้ทางใจ และเป็นคนที่เข้มแข็ง มีพลัง

    3.การทำให้อยู่เหนือทั้งดี-ชั่ว เราควรพิจารณาสิ่งนั้นหรือไม่สนใจทำเฉยๆครับ

    ขอน้อมกราบนมัสการ สาธุ

    วิสัชนา
    1.ยึด สัตว์ บุคคล เขา เรา ไม่ได้หรอกคุณ ที่สุดไม่ได้ดังใจก็ต้องเป็นทุกข์อยู่ดี ลองหาพระธรรมที่เหมาะสมกับตนสักข้อเป็นเครื่องยึดถือ น่าจะทำให้คุณชนะทุกข์ได้

    2.สติความระลึกได้ สัมปชัญญะความรู้ตัว หรือศีล สมาธิ ปัญญา

    3.ต้องมีสติปัญญา พิจารณาทุกอย่างเหมือนดั่งคนที่ยืนดูสรรพสิ่งอยู่บนยอดเขา แล้ววางตัวเป็นกลาง ด้วยคิดว่าสักแต่ว่าเห็นมิได้เป็นของเราจริงๆ หรือไม่ ก็ใช้ปัญญา พิจารณาทุกอย่างที่พบเห็นด้วยความรอบคอบ ระลึกว่า ทุกสรรพสิ่งมีที่สุด เกิด โต ตาย แล้วจะไม่มีอะไร มีอำนาจเหนือคุณ

    ปุจฉา
    ละเมิดอกุศลกรรมบท 10 หรือเปล่า
    กราบขอความเมตตาหลวงปู่ ผมมีความสงสัยดังนี้

    1. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง โดยมีการคิดถึงคนที่เรารัก(จินตนาการ) หรือเห็นผู้หญิงที่ถูกใจแล้วเกิดอารมณ์ทางเพศ จัดว่าเป็นการละเมิดกุศลกรรมบท 10 หรือเปล่า

    2. การพูดจาเพ้อเจ้อและนินทาเพื่อนๆ พอเป็นกระสายไม่จริงจัง แต่เพื่อความสนุกสนานในหมู่เพื่อนฝูง จัดเป็นการละเมิดกุศลกรรมบท 10 หรือไม่

    3. จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน สมาธิสั้น จิตมีอวิชชา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่หลุดพ้น จัดเป็นอกุศลจิต ในวันหนึ่งๆเกิดวนเวียนอยู่อย่างนี้ บีบคั้นจิตใจมาก เบียดเบียนตนเอง(ต้องอดทนไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น)จัดเป็นบาปหรือไม่ ถึงแม้จะทำบุญมามาก เช่น ดูแลบิดามารดา เคารพผู้ใหญ่ ให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ ฯ ตายไปต้องตกนรกหรือเปล่า

    วิสัชนา
    เอ้า..เอาเข้าไป คุณช่างเข้าใจสรรหาคำถามแปลกๆมาถามพระ แต่เพื่อไม่ให้เสียจรรยาบรรณของผู้ตอบปัญหา ฉันจะตอบคุณก็แล้วกัน เรื่องที่คุณถามมา

    ข้อที่ 1 ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดในกุศลกรรมบท 10 เพราะในหลักมโนสุจริต มีแค่ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาท เห็นชอบตามกฎของกรรม และก็ไม่ถือว่าเป็นการประพฤติผิดในกามของข้อกายทุจริต เพราะความหมายของกายทุจริตข้อประพฤติผิดในกาม หมายถึงการสำส่อนทางเพศ ไม่เลือกลูกเขาเมียใคร

    ข้อ 2 ถ้าพูดแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหาย แม้สิ่งที่พูดจะเป็นเรื่องจริง แต่นำมานินทาเพื่อความมันในอารมณ์ คะนองปาก เช่นนี้ถือว่าเป็นวจีทุจริต

    ข้อ3 แม้คุณจะไม่ผิดต่อคนอื่น แต่คุณก็ผิดและโหดร้ายต่อตนเอง อย่างนี้ตายไปสมควรตกนรก ...ไม่ใช่ฉันสั่ง แต่เพราะจิตเศร้าหมองของคุณพาไป

    ปุจฉา
    ระงับเวรได้ไหม
    กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพอย่างสูง

    1.เวรจะระงับลงได้ไหมคะถ้าเราอโหสิกรรม แต่อีกฝ่ายไม่ยอมอโหสิกรรม แล้วยังอาฆาตพยาบาทจองเวรอยู่ ถ้าเราแผ่เมตตาโดยระบุชื่อ จะช่วยให้เวรระงับได้ไหมคะ

    2. มีวิธีใดบ้างที่ภพชาติต่อๆไปเราอยากมีบริวารสมบัติมากๆ นอกเหนือจากการชวนคนไปฟังธรรมหรือชวนคนไปทำบุญ เพราะชาติปัจจุบันไม่มีบริวารเลยต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย(ชวนพ่อแม่ พี่น้อง ลูก สามี เพื่อน ก็ไม่มีใครไปกับเราเลย)

    ขอความเป็นมหามงคลอันสูงสุดจงมีแด่องค์หลวงปู่ทุกประการเทอญ

    วิสัชนา
    1. เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ถ้าคุณอโหสิกรรมแล้วเขายังไม่รับรู้ ก็เป็นไปได้ที่เวรนั้นๆยังมิได้มีการระงับในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มีชีวิตอยู่แล้ว อีกฝ่ายก็สามารถอโหสิกรรมให้ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศล

    2. การสร้างบริวาร มิใช่มีแต่ชวนคนไปทำบุญฟังธรรมได้อย่างเดียว การมีน้ำใจ รู้จักให้อภัย ไม่เห็นแก่ตัว คุณก็สามารถมีบริวารได้

    ปุจฉา
    ขอทางสว่างสงบ
    กราบนมัสการหลวงปู่ หนูมีความทุกข์แสนสาหัส มีปัญหาเรียนถามหลวงปู่ดังนี้

    น้องชายของหนูถูกรถบัสปีศาจคันใหญ่ คนขับเมายาหลับใน ขับด้วยความเร็วสูง ขาดสติ พุ่งเข้าชนและขึ้นเหยียบรถของน้องชายจนแบนราบแหลกละเอียด น้องชายเสียชีวิตพร้อมเพื่อน สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เพราะผู้ตายเป็นหลักของครอบครัว เป็นที่พึ่งของพ่อแม่

    คนขับรถหนี เจ้าของรถปีศาจดังกล่าวซึ่งเป็นเจ้าของรถประจำทางรายใหญ่ของประเทศไทย หาทางปกปิดบิดเบือน โดยไม่รับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สิน อาศัยอำนาจทางชั่วถือว่าตนใหญ่ ขาดจิตเมตตาไร้มนุษยธรรม ยืนอยู่บนกองทุกข์ทรมานของญาติผู้ตายที่สูญเสีย ในขณะที่ฉากหน้าประกาศความยิ่งใหญ่ร่ำรวย สร้างภาพว่าเป็นคนดีมีคุณธรรม เพื่อให้สังคมรับรู้ยกย่อง แต่แท้จริงแล้ว เป็นคนคิดคด มีแต่กลโกง เอาเปรียบเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ ร่ำรวยมาจากความทุกข์ยากของผู้อื่น ถามว่าคนพวกนี้จะได้รับผลกรรมหรือไม่ ทำไมยังคงอยู่ดีมีสุขสร้างความร่ำรวยต่อไป และเอาเปรียบเบียดเบียนผู้คนต่อไปด้วยวิธีการที่แยบยลยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และประชาสัมพันธ์ตัวเองว่าดีวิเศษ มีคุณธรรม ใจบุญ โดยไม่ละอายทั้งที่เงินทั้งหลายได้มาโดยกลโกง สังคมก็ต้องยกย่องที่เงิน หรือกลัวอำนาจ เพราะเงินคืออำนาจ เวรกรรมมีจริงจะตามสนองเมื่อไหร่

    ท้ายนี้ขอความเมตตาจากหลวงปู่ช่วยเหลือนำทางที่ดี ทางที่สว่าง สงบสุข ให้น้องชายหนูพบแต่สิ่งที่ดี และขอบารมีหลวงปู่ช่วยปกป้องคุ้งครองรักษาครอบครัวของหนูและญาติพี่น้องทุก คนด้วยค่ะ กราบหลวงปู่ที่เมตตา

    วิสัชนา
    อย่าไปคิดอะไรมากเลยคุณ ถึงรถจะไม่ทับน้องคุณตาย สุดท้ายเขาก็ต้องตายจากคุณอยู่ดีแหละ คิดเสียว่ารถและคนคนนั้นเป็นคู่กรรมของน้องชายคุณก็แล้วกัน

    คุณก็ไม่ควรจะลดตัวเองลงไปเป็นคู่กรรมคู่กัดกับเจ้าของรถอีกคน เสียน้องก็เสียแล้ว ทำไมยังจะต้องมาเสียคน เสียใจซ้ำซากอยู่อีกเล่า ไม่รู้จักเบื่อบ้างหรืออย่างไร หมั่นทำดี มีเมตตา รู้จักให้อภัย แล้วใจจะเป็นสุข

    ปุจฉา
    วางอย่างไร
    กราบนมัสการครับ
    1. วางจิตให้ได้ตรงกลาง ละทั้งไม่อยากและอยากทำได้อย่างไรครับ

    2. ผมปฏิบัติมาได้ระยะหนึ่งแล้วตอนนี้พบว่าความคิดเกิดขึ้นตลอดเวลากำหนดรู้ เมื่อไรก็เจอเมื่อนั้นจนรำคาญและเบื่อมัน มีผู้บอกให้ผมวางมัน ทำอย่างไรครับ

    วิสัชนา
    1.เจริญสติจนบังเกิดผลเป็นสมาธิ เข้าสู่ฌาน 1-2-3 ตามลำดับจนถึงฌานที่ 4 ซึ่งมีอารมณ์สุขและเอกัคคตา คือความวางเฉยในอารมณ์ทั้งปวง เช่นนี้เรียกว่า สมถะ อีกอย่างหนึ่ง สติและปัญญา รู้แจ้งตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในโลก มีเกิดขึ้นตั้งอยู่และก็ดับไป ไม่มีอะไรคงที่จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายความอยาก จิตก็ดิ่งอยู่ในความสงบ เช่นนี้เรียกว่า วิปัสสนา

    2.คุณมิได้บอกว่าคุณคิดอะไร และเป็นความคิดถูกหรือคิดผิดจากคลองธรรมหรือไม่ ถ้าคิดถูกมันก็จะหยุดเองเมื่อไม่มีอะไรเหลือให้คุณคิด
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : วิญญาณ กายทิพย์ และวิธีป้องกันตนจากคุณไสย์ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">9 กรกฎาคม 2546 18:38 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    วิญญาณ กายทิพย์ คุณไสย์
    วิญญาณคืออะไร มีกี่ดวง สัมพันธ์กับกายทิพย์อย่างไร และ จะมีวิธีป้องกันตน มิให้ถูกคุณไสย์ได้อย่างไร

    วิสัชนา
    จริงๆ แล้ว เราต้องเข้าใจความหมายของวิญญาณโดยสถานะ สองสถานะ ก่อนว่า วิญญาณโดยอรรถและพยัญชนะในศัพท์ของพระธรรม แปลว่า การรับรู้ นั่นคือวิญญาณ

    แต่วิญญาณโดยอรรถและพยัญชนะของชาวบ้าน แปลว่า สิ่งที่เป็นพลังงานจับต้องไม่ได ้แต่แสดงกลุ่มก้อนของพลังงานได้ ที่พวกเราเรียกว่า กายทิพย์ หรือปรมันต์ ในภาษาบาลีสันสกฤต เรียกปรมันต์

    เมื่อวิญญาณมีโดยสองสถานะอย่างนี้ คำถามที่ถามว่า วิญญาณจริงไปเกิดทันที มีคำถามที่แฝงอยู่ ในคำถามสองประโยคนี้ ก็คือ คำถามว่าวิญญาณมีดวงเดียวหรือไม่

    จริงๆ แล้ว วิญญาณไม่ได้มีดวงเดียว วิญญาณนี้จะเกิดดับตามสภาวะธรรมที่ปรากฎ เช่นตาเห็นรูปเกิดความรู้สึก เขาเรียกว่าวิญญาณสัมผัส วิญญาณผัสสะ ตาเห็นรูปเกิดผัสสะ เป็นวิญญาณคือการปรุงแต่ง มีความรู้สึกรับรู้เรียกว่า โสตะวิญญาณ จักษุวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ คือ วิญญาณที่เกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น เพราะฉะนั้นสภาวะของวิญญาณตามอรรถและพยัญชนะแห่งหลักอภิธรรมนั้น ก็คือวิญญาณที่เป็นความรู้สึกที่รับรู้จากตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส
    กายจับต้องสัมผัส มันก็จะเกิดเป็นหลายๆร้อยดวง

    ในขณะที่ตาเห็นรูปตรงนี้ หันไปอีกที่ก็เห็นรูปตรงนั้นวิญญาณตรงนั้นมันดับไปแล้วเช่น ขณะนี้หลวงปู่มองเห็นองค์กฐิน และหันไปอีกทีก็เห็นต้นกล้วยองค์กฐินดับแล้ว วิญญาณแห่งการรับรู้องค์กฐินมันดับแล้วเกิดวิญญาณชนิดใหม่ คือ วิญญาณที่เห็นต้นกล้วย และขณะนั้นที่มองเห็นต้นกล้วยอยู่นั้น หูเกิดได้ยินเสียงมีคนพูดให้ฟังหรือเสียงเด็กร้อง วิญญาณทางหูเกิดขึ้นอีกแล้ว วิญญาณที่เห็นต้นกล้วยก็ดับอีกแล้ว

    เพราะฉะนั้น กระบวนการเกิดดับของวิญญาณเป็นปรมาณู เป็นปรมันต์ เป็นสภาวะที่ยากต่อการจับต้อง เป็นหลักวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ จากกระบวนการความรู้สึกความนึกคิดของตัวเอง

    ทีนี้ในส่วนวิญญาณที่เป็นกายทิพย์ที่พวกเรา เรียกว่า วิญญาณเกิดจากตรงนี้ แล้วไปจุติตรงนั้นเนี่ย เป็นวิญญาณที่เป็นมวลสาร วิญญาณที่เป็นกลุ่มก้อนของพลังงาน ในความเข้าใจของเรา ต้องใช้คำว่า จิตวิญญาณ เข้าไปด้วย
    เรียกวิญญาณเฉยๆ ไม่ถูกต้อง เรียกจิต บวกควบกล้ำกับ คำว่าวิญญาณเข้าไปด้วยแล้ว
    จะเข้าใจความหมายของมันอย่างถ่องแท้ว่า มันถือกระบวนการของรูปหญิง รูปชายเมื่อตายไปแล้วมันจะมีพลังงานชนิดหนึ่งที่หลุดลอยออกไปจากร่างคนทั้ง หลาย ชาวบ้านทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย เรียกพลังงานชนิดนี้ว่า จิตวิญญาณ

    ถามว่า จิตวิญญาณตรงนี้มันมีดวงเดียวไหม ในกลุ่มกัอนของพลังงานนั้น มันแปรสภาพได้ทุกเวลา มีดวงเดียวไหม มีดวงเดียว แต่องค์ประกอบของมันนั้นมากมายมหาศาล เหมือนกับพลังงานดึงดูดของโลก ซึ่งบรรจุองค์ประกอบจุลภาพของสสารเข้าไปอยู่ในกระบวนการของจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้น พลังงานของจิตวิญญาณมันแปรสภาพได้เสมอ มันเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามกระบวนการเหตุปัจจัยอันพร้อมมูล

    กระบวนการเหตุปัจจัยอันพร้อมมูลก็คือ กรรม การกระทำของเรานี่แหละ เป็นตัวแปลงสภาพพลังงานวิญญาณอันนั้น ว่าจะให้เป็นเพศหญิงหรือชายเป็นสุนัข ไก่ วัว ควาย เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย กรรมตรงนี้มีอำนาจเหนือพลังงานอีก

    พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราฝึกจิต เพื่อจะพัฒนาและผลักดันกรรมตรงนั้นออกไปและมีอำนาจครอบงำกรรมให้ได้ คือ ทำให้พลังงานเป็นพลังงานจริงๆ ทำให้กระบวนการแห่งจิตมีอำนาจจริงๆ ที่สามารถควบคุมจุลภาคของสสารได้ ควบคุมอณูแห่งบรรยากาศได้ ควบคุมอณูแห่งสสารทั้งมวลได ้เมื่อเราสามารถควบคุมมันได้ ก็ถือว่า เรามีอำนาจเหนือกรรม กรรมก็ไม่มีอำนาจที่จะผลักดันให้เราไปเป็น หมู หมา กา ไก่ วัว ควาย แต่เราจะเป็นผู้บ่งบอกเองว่าเราจะไปไหน ตรงนี้คือ การพัฒนาจิต วิญญาณ

    ส่วนเรื่องเกี่ยวกับ ไสยศาสตร์ ต้องมาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า "ไสยาสน์" กันก่อน ไสยาสน์ แปลว่า นอน "ศาสตร์" แปลว่าความรู้ ความรู้ที่ทำให้เรานอน หรือการนอนเรียน เพราะฉะนั้น ความหมายของคนที่นอนเรียน จะไปได้แค่ไหน ตื่นขึ้นมาแล้ว มันก็หายไปหมด ไปเป็นความฝัน ความรู้ที่เกิดขึ้น เป็นกระบวนการของความฝันที่เหมือนลอยอยู่กลางอากาศ มันเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ขณะที่เหตุปัจจัยพร้อมมูลเท่านั้น มันไม่ใช่เสมอไปทุกขั้นทุกตอน นั่นคือ ความหมายของคำว่า ไสยศาสตร์

    ส่วนคำว่า "วิทยาศาสตร์" นั้น "วิทยา" คือความรู้ "ศาสตร์" ก็คือความรู้ ความรู้ที่บวกความรู้ และก็สามารถค้นหาได้ในความรู้นั้นๆ และทดสอบพิสูจน์ได้

    เพราะฉะนั้น ไสยศาสตร์ พระพุทธเจ้าเรียกว่า เดรัจฉานวิชาเดรัจฉานวิชาคือ ผู้ขวางไป สัตว์เดรัจฉานจะไม่เดินตรง มันจะเดินขวางๆ คือเอาตัวขวางกับแผ่นดิน ไม่ใช่เดินรีๆ ขวางๆ คือทำตัวให้ขวางกับแผ่นดิน ไม่ได้ทำตัวตั้งดิ่งกับ

    เพราะฉะนั้น ไสยศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชา เป็นวิชาของผู้ขวางไปในแผ่นดิน เวลาเดินแข่งกันผู้ขวางจะเดินช้ากว่าคือ จะไปได้ลำบากกว่า ไปได้ทุกข์ยากกว่า เพราะต้องหน้าเลียบแผ่นดินไป ไม่ได้มองตรวจการณ์อะไรได้ไกลเท่าไหร่ เมื่อเป็นอย่างนี้ความเจริญคงไม่ดีเท่าที่ควรนัก

    พระพุทธเจ้าจึงไม่ส่งเสริม ไม่สนับสนุนให้เราเรียนรู้

    แต่ถ้าถามหลวงปู่ว่า ปัจจุบันนี้จะป้องกันอย่างไร

    ก็คือ ต้องทำตัวเองให้เป็นวิทยาศาสตร์ ทำตัวเองให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ คือรู้จักเหตุและผลรู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักเวลา รู้จักสถานที่

    รู้จักบุคคล รู้จักตน คือรู้จักว่า ตนเองจะต้องมีชีวิตอยู่ในสถานการณ์แบบนี้

    รู้จักประมาณ คือ รู้จักสถานะ สภาพของตัวเองว่าเวลาอย่างนี้ อย่าตะกรุมตะกราม ตะกละ ทะยานอยากเกินไปนัก

    รู้จักกาล คือ รู้จักว่าสถานการณ์อย่างนี้ เขาไม่ควร ต้องพูดเสียงดัง เราก็อย่าไปพูดมาก แต่ต้องใจฟัง เพื่อให้เกิดปัญญาญาณ หยั่งรู้ในการที่ได้จากการฟัง

    เมื่อรู้จักเวลาในการที่แสดงออกต่อสถานะ ต่อบุคคล ต่อสถานที่ เราก็จะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นนักวิทยาศาสตร์ มีชีวิตอยู่อย่างเป็นผู้ทดสอบ พิสูจน์ทราบได้ทุกขั้นตอนทุกสถานการณ์ ไม่ว่าต่อหน้า หรือลับหลัง

    เพราะฉะนั้น กระบวนการของวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องราวที่พิสูจน์ได้

    วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา หลวงปู่ก็ยังบอกว่า วิทยาศาสตร์ยังตามหลังพุทธศาสตร์อยู่ เหตุผลก็คือ หลักการของนิวเคลียร์และอะตอมน่ะ สองพันกว่าปีก่อนพระพุทธเจ้าสอนเอาไว้แล้ว สอนมาก่อนที่ฝรั่งจะค้นหาได้ เมื่อสองร้อยสามร้อยปีนี้ด้วยซ้ำ

    เพราะฉะนั้น มีคนเขียนบทโศลกและเขียนปฏิกิริยาของกาย ในคัมภีร์ไตรเพทรู้สึกว่า ใครจะเป็นคนเขียนประสบการณ์ของวิญญาณในเทป แล้วหลวงปู่ได้อ่านเจอ คือตรวจต้นฉบับ ก็ได้เขียนความเห็นของหลวงปู่ลงไปว่า

    ร่างกายเราเปรียบได้คือ อวัยวะและเชลล์ในร่างกาย เปรียบได้กับ ดวงดาวในจักรวาล ในกาแล็กซี หลวงปู่ได้เขียนข้อวิจารณ์ลงไปว่า หลวงปู่มีความเห็นว่าดวงดาวในกาแล็กซีในจักรวาลนั้น มิใช่มีเฉพาะที่เรารับทราบได้ในร่างกาย มันยังมีประกอบในอนันตจักรวาล ในอนันตกาแล็กซีอีกเยอะแยะ ไม่ใช่มีเฉพาะที่เราเห็นในกาแล็กซีที่ปัจจุบันเราอยู่เท่านั้น

    ฉะนั้นการที่บอกว่า ร่างกายของเราคือ อวัยวะในร่างกายเซลล์ต่างๆ ในร่างกายที่เท่ากับดวงดาวในกาแล็กซีนั้นไม่ใช่ มันใช่เฉพาะปัจจุบัน กาแล็กซีแต่ละกาแล็กซี จักรวาลแต่ละจักรวาล มีอายุขัยด้วยการเกิด และในอายุขัยของกาแล็กซีนั้นๆ ก็มีการสะสมดวงดาวของแต่ละกาแล็กซีนั้นๆ เทียบเท่านับไม่ได้

    เพราะฉะนั้น ถือว่าปัจจุบันเราอยู่ในกาแล็กซีหนึ่งในอนันตจักรวาลแกแล็กซีเท่านั้น ไม่ใช่อยู่ทั้งหมดของกาแล็กซี

    ฉะนั้น ข้อนี้อยากจะยกให้ฟังว่า การมีชีวิตอยู่อย่างไสยศาสตร์ มันเป็นชีวิตแค่หลับแล้วตื่น เป็นชีวิตที่ชั่วเผลอ เพราะเราละทิ้งละเลยวิทยาศาสตร์ พุทธศาสตร์ มันก็เลยเกิดกระบวนการไสยศาสตร์ตามมา แต่ถ้าเราไม่ละทิ้ง ไม่ละเลยวิทยาศาสตร์ เรียนรู้ให้ถ่องแท้ในพุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์ก้ไม่มีอำนาจเหนือเรา
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : สงสัยในการปฏิบัติ ขอวิธีฝึกจิต <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">30 เมษายน 2546 16:49 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ขอวิธีฝึกจิต

    กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพ ขอความเมตตาจากหลวงปู่เจ้าค่ะ
    1. เมื่อต้องตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เลือกนั้นจะ ดีกว่าที่เป็นอยู่หรือเปล่า ควรทำอย่างไรเจ้าค่ะ ลูกพยายามคิดว่าชีวิตคนเรามันมีวิถีทางของมันอยู่แล้วเราไม่จำเป็นต้องเลือก

    2. จะต้องฝึกจิตอย่างไรเมื่อในบางครั้งเราอยากให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น หรือบางครั้งไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้น

    วิสัชนา
    1. ใช้สติ ใช้ปัญญา แล้วถามตัวเองว่าพอใจมั้ย

    2. ฝึกให้ระลึกอยู่เสมอว่า สิ่งนั้นๆทั้งปวงล้วนมีความดับไปธรรมดา ไม่คงทนถาวรตลอดกาลตลอดสมัย

    ปุจฉา
    สงสัยในการปฏิบัติ

    หากเรากำลังพิจารณาลมหายใจและกำลังถูกรู้ เกิดจิตผู้รู้ขึ้นมา และเราเกิดความสงสัยในวิธีการปฏิบัติขึ้นมา พยายามค้นหาคำตอบเพื่อให้หายสงสัยนั้น ทำไมจึงเป็นการคิดหรือมีความรู้ความเข้าใจเพียงสัญญาเท่านั้น หากการปฏิบัติข้างต้นที่เราพยายามหาคำตอบนั้นผิด แล้วทำไมหลายครั้งที่เราได้คำตอบจากข้อสงสัยนั้น (ภายหลัง) ลูกมีความสงสัยในการปฏิบัติที่ควรกระทำให้ถูกต้อง และจะหาคำตอบจากข้อสงสัยได้จากขั้นตอนใด ลูกขอนมัสการหลวงปู่โปรดเมตตาวิสัชนาในความสงสัยของลูกผู้โง่ด้วยเจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    จากตัวคุณเอง ฉันคิดว่าขณะที่คุณระลึกรู้อยู่ว่า คุณกำลังหายใจ ขณะจิตหนึ่งของคุณอาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดวิตก วิจารขึ้น ยิ่งคุณครุ่นคิดค้นหาคำตอบด้วยสมอง คุณก็จะยิ่งสงสัยเพิ่มขึ้น ทางที่ดีคุณควรจำทำในสิ่งที่สงสัยให้กระจ่าง มิใช่ด้วยการหาคำตอบ

    ปุจฉา
    เรื่องของลมหายใจ

    กราบเรียนหลวงปู่ครับ ผมมีปัญหาที่อยากถามหลวงปู่ครับ
    1.ตอนนี้ผมปฎิบัติอานาปานสติ อยู่ ทำทุกวันวันละ 60- 90 นาที ผมทำมาประมาณ 2 เดือนแล้วครับ ผมปฎิบัติแล้วจับลมหายใจบางครั้งก็รู้ว่าลมหายใจละเอียด บางครั้งก็มีดวงไฟขึ้นมาแต่ไม่ได้สว่างมากนะครับ ผมก็ไม่สนใจมันครับ แต่ผมไปอ่านเจอในหนังสือเขาบอกว่าถ้าเห็นดวงไฟก็ให้เพ่งมันแล้วพยายามบังคับ มันให้ได้ ผมอยากทราบว่าผมควรทำอย่างไรครับถ้าเห็นดวงไฟอีก ผมควรไม่สนใจมันหรือว่าควรที่จะเพ่งดวงไฟนั้นครับ

    2.แล้วขณะที่ผมปฎิบัติผมจะจับลมหายใจสลับกับการหายใจ แบบตัว "จ" (ผมฟังในเทปของหลวงปู่ครับ) แล้วนำมาลองปฎิบัติรู้สึกว่าทำให้สติตั้งมั่นได้ดี ผมจึงอยากให้หลวงปู่ช่วยกรุณาให้คำแนะนำด้วยครับว่าผมทำถูกหรือไม่ครับ แล้วผมควรจะปฎิบัติอย่างไร

    3.แล้วขณะที่ลมหายใจผมละเอียดแล้ว ผมควรพิจารณาเวทนาหรืออารมณ์ที่เกิดมั้ยครับ

    4.ฌาน กับ ญาณ ต่างกันอย่างไรครับ

    5.การนั่งสมาธิแบบ ขัดเพชร มีอานิสงส์ มากกว่าการนั่งสมาธิแบบธรรมดา มั้ยครับ หรือว่าไม่เกี่ยวกัน

    ผมขอกราบขอบพระคุณหลวงปู่เป็นเป็นอย่างมากครับ ผมขอให้หลวงปู่มีอายุยืนและช่วยเป็นที่พึ่งมหาชนคนรุ่นต่อๆไปนะครับ

    วิสัชนา
    1.คุณกำลังเจริญอานาปานสติ มิใช่เจริญกสิณไฟ เพราะฉะนั้นอย่าไปใส่ใจ

    2.ดี...ทำต่อไป เพราะการหายใจแบบตัว จ. หรืออักษรสวรรค์จะทำให้สมาธิคุณตั้งมั่นได้ง่าย

    3.ดูลมหายใจต่อไป จนแน่ใจว่ามันละเอียดจริงๆ

    4.ฌาน แปลว่า การเพ่งในอารมณ์ เป็นสภาวะของจิตใจที่สงบ ละเอียด ประณีต มีเป็นขั้นๆเริ่มตั้งแต่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ส่วน'ญาณ'ตัวนี้เป็นตัวปัญญา ความรู้ ปัญญาหยั่งรู้อดีต เรียกว่าอตีตังสญาณ ปัญญาหยั่งรู้อนาคต เรียกว่าอนาคตังสญาณ ปัญญาหยั่งรู้เหตุในปัจจุบัน เรียกว่า ปัจจุปปันนังสญาณ เหล่านี้เป็นต้น

    5. นั่งท่าไหนก็ได้ ขอเพียงให้ใจเป็นสมาธิ มีความสงบ หยุดความฟุ้งซ่านได้ ก็ใช้ได้แล้วล่ะคุณ มันมิได้เกี่ยวกับท่านั่งหรอก
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : จะอยู่อย่างไรกับคนมองโลกในแง่ร้าย <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">7 พฤษภาคม 2546 17:58 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ทำบุญ
    กราบนมัสการหลวงปู่ เหตุใดคนบางคนจึงได้ชื่อว่า "ทำบุญกับคนไม่ขึ้น" แม้ว่าบุคคลที่ได้กระทำนั้นเป็นผู้ที่มีจิตเมตตา และจะทำบุญเช่นไรที่จะให้เป็นผู้มีความมั่นคงในตนเองไม่เสื่อมคลายเจ้าคะ

    วิสัชนา
    1. คำว่าทำบุญกับคนไม่ขึ้น ถ้าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ทำคุณกับคนไม่ขึ้น" มากกว่า คงจะตอบได้ว่า พยายามทำถี่ๆ

    2. มีสติ ไม่เมา ไม่ประมาท

    ปุจฉา
    มองโลกใน แง่ร้าย
    กราบนมัสการ หลวงปู่ ที่เคารพรัก ลูกมีปัญหาเกี่ยวกับสามีเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เค้าจะจับผิดคนที่พูดไม่ถูกใจเค้า ไม่ฟังเหตุผล แม้แต่ลูกทำดีดูแลปรนนิบัติเอาใจใส่ทุกอย่าง ลูกเป็นคนชอบช่วยเหลือคน เป็นมิตรกับทุกคน เเม้แต่คนที่ทำร้ายลูกให้เจ็บปวดลูกก็ยังให้อภัย แต่สามีของลูกเค้าบอกว่าลูกโง่ไม่ทันคน ชอบให้คนหลอกไม่ว่าญาติของสามีหรือญาติของลูกแม้กระทั่งเพื่อนบ้าน ทุกวันนี้ลูกต้องหลบๆซ่อนๆทำในสิ่งที่เค้าไม่ชอบ แต่ลูกคิดว่าสิ่งที่เค้าไม่ชอบคือสิ่งที่ถูกต้อง เพราะว่าญาติของสามีและก็ญาติของลูกก็ให้ความช่วยเหลือมาตลอด ทุกวันนี้ความคิดเห็นของลูกกับของสามีเดินสวนทางกัน ทุกวันนี้สามีเป็นคนเห็นแก่ตัวเอาเปรียบเห็นแก่ได้ ไม่มีความจริงใจชอบหลอกใช้คน เค้าก็เลยคิดว่าคนอื่นๆ เป็นอย่างที่เค้าคิด เลยไม่ไว้ใจใครไม่มีเหตุผล และก็ ไม่ฝังเหตุผลของใคร ทุกวันนี้ลูกจึงไม่คุยกับเขา แต่ลูกก็ยังทำหน้าที่แม่บ้านที่ดีและดูแลความเป็นอยู่ในบ้านทำตัวยิ่งกว่า ทาส ถ้าขัดใจเค้าเมื่อไหร่ เค้าก็จะหาเรื่องทะเลาะ ตลอดเวลา 21ปีที่ลูกแต่งงานมาลูกพยายามช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น ทุกวันนี้ลูกมีแต่ความคับแค้นใจ ทุกข์ทรมาน ลูกพยายามจะชดใช้ กรรมเก่า ให้หมดไป ขอบารมีหลวงปู่ช่วยชี้ทางสว่างให้ลูกใช้กรรมเก่าให้หมดไปในเร็ววัน ขอกราบนมัสการหลวงปู่มานะโอกาสนี้ด้วยเจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นกรรมแล้วสบายใจยอมรับได้ ก็ไม่กระไร แต่ถ้ายอมรับไม่ได้ ไม่สบายใจ แล้วต้องมาอดทนกล้ำกลืนฝืนความรู้สึกอยู่ ฉันว่าคุณนั่นแหละจะทรมาน

    ทำไมคุณไม่หาวิธีคุยกับสามีคุณให้เข้าใจเสียล่ะ เจรจากันเสีย ให้ตกลงว่า เขาต้องการอะไร คุณต้องการอะไร ต่างฝ่ายต่างยอมรับได้ไหม อยู่กันมานานน่าจะคุยกันรู้เรื่อง ถ้ามีเรื่องจะคุย ไม่ได้คุยหาเรื่อง
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : สุขภาพพระ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">14 พฤษภาคม 2546 15:40 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    เมื่อ 26 มีนาคม 2546 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลสงฆ์ เขตพญาไท ได้จัดให้มีการอบรมสัมมนาเรื่อง "การดูแลสุขภาพและปัญหาที่พบบ่อยในพระสงฆ์" ครั้งที่ 1 งานนี้ทางโรงพยาบาลสงฆ์ได้นิมนต์พระภิกษุซึ่งเป็นตัวแทนจากวัดต่างๆทั่ว ประเทศ จำนวนกว่า 200 รูป เข้ารับการอบรมความรู้ทางการแพทย์เบื้องต้น เพื่อนำไปปรับใช้ภายในวัดและชุมชนใกล้เคียง

    ปัญหาที่น่าสนใจและเป็นปัญหาอันดับต้นๆ นั้น พ.ญ.ไพรัช แสงดิษฐ์ อายุรแพทย์ประจำ ร.พ.สงฆ์ กล่าวว่า 40-50 เปอร์เซ็นต์ ของพระที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลนั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ได้แก่โรคถุงลมโป่งพอง เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองตีบ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเเสียง

    ตัวเลขนี้ แค่โรงพยาบาลสงฆ์แห่งเดียว ยังไม่รวมตัวเลขของสถานพยาบาลและโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ที่มีพระเข้าไปรับการบำบัดรักษายังไม่รู้อีกเท่าไหร่ ท่านผู้รู้ได้ประมาณการกันว่า พระทั่วประเทศที่มีอยู่ประมาณ 300,000 รูป มีอยู่ 5-7 หมื่นรูปที่เป็นโรคเกี่ยวกับบุหรี่

    เมื่อมีพระจำนวนมากป่วยเป็นโรคจิต และ โรคเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ เช่นนี้ อยากทราบว่าหลวงปู่มีความคิดเห็นว่าอย่างไรครับ

    วิสัชนา
    เรื่องนี้ฉันไม่โทษพระฝ่ายเดียว ต้องโทษชาวบ้านญาติโยมทั้งหลายที่ศรัทธาพระ นำของเสพติดถวาย แบบไม่คิดว่าจะเป็นการฆ่าพระทางอ้อม ฉันไปตามงานพบเห็นบ่อยๆ ในพานมีทั้งหมากพลู บุหรี่ เดี๋ยวนี้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้น คือ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ซึ่งมีขายในท้องตลาดสารพัดยี่ห้อ หลวงพี่ หลวงพ่อ ก็ล่อกันเปรม อย่างไม่คิดถึงโทษภัยที่จะมีต่อสุขภาพ มัวแต่กลัวว่า ถ้าไม่รับจะทำลายศรัทธา "แต่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ภิกษุรับอย่างเป็นผู้มีปัญญา" ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้า ตะกรุมตะกรามสวาปามรับเอาเขามาแล้วพาชีวิตลำบาก ไม่ใช่ลำบากเฉพาะตัวเอง คนอื่นๆ ต้องพลอยลำบากมานั่งรักษาไปด้วย

    ฉันว่าคุณหมอที่ออกมาพูด ท่านคงจะเบื่อที่จะรักษา หรือไม่ก็อาจคิดว่าเป็นพระ"น่าที่จะชนะโรคที่เกิดจากกิเลส" ได้บ้าง มากกว่าคนธรรมดา ไม่น่าจะต้องมาทำตัวให้เป็นภาระแก่ผู้อื่นมากนัก

    ที่ฉันนำเรื่องนี้ขึ้นมาตอบเพราะหวังดี เป็นห่วง กลัวพระอีก 5-7 หมื่นจะตายก่อนเวลาอันควร น่าจะอยู่ช่วยกันเชิดชูพระพุทธศาสนา

    และที่น่าตกใจมากขึ้นก็คือ คุณหมอจุฑารัตน์ โกสียะกุล จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลสงฆ์ กล่าวว่า มีพระที่ป่วยเป็นโรคจิต โรคเครียด วิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นจำนวนมากมิใช่น้อย!!!

    ตายๆๆ...ตายแล้วหละ ถ้าพระผู้เป็นที่พึ่งและผู้นำทางวิญญาณ ป่วยเป็นโรคจิต แล้วชาวบ้านที่เครียด ที่วิตกกังวล ซึมเศร้า จะหวังพึ่งใคร?

    สมถวิปัสสนา วิชาของพระพุทธเจ้านั้น พระคุณเจ้ามิได้ทำกันหรอกหรือ มัวแต่เอาเวลาที่มีไปทำอะไรกันอยู่

    ฉันเคยได้ยินว่า สมถวิปัสสนาเมื่อปฏิบัติแล้ว จะไม่เมา ไม่เครียด ไม่วิตกกังวล ไม่ซึมเศร้า

    ทดลองปฏิบัติตามวิชาที่พระบรมศาสดาทรงสั่งสอนกันดูบ้างซิ จะได้เป็นสง่าราศรีแก่พระพุทธศาสนา
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : พระมหาโพธิสัตว์ 4 พระองค์ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">21 พฤษภาคม 2546 16:49 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    โยมอยากรู้เรื่องราวความเป็นมาของรูปหล่อของพระโพธิสัตว์ 4 พระองค์ ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) จ.นครปฐม ไว้ประดับความรู้ เพราะหาอ่านยาก ขอความเมตตาจากหลวงปู่กรุณาสงเคราะห์ด้วยเจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    เนื่องจากในงานประจำปีของ วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการทำพิธีฉลอง การประดิษฐานพระโพธิสัตว์ ๔ พระองค์ เพื่อให้ทราบถึงพระนามของพระมหาโพธิสัตว์ทั้ง 4 พร้อมข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ให้หายสงสัย จึงขออธิบายให้เข้าใจว่า

    พระโพธิสัตว์ คือผู้ซึ่งจะได้มาตรัสเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านอธิษฐานจิตถึงพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรม ช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรมตามพระบารมี

    ทุกๆ คนเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ถ้าหากว่า เขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตา ประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ประพฤติเบียดเบียน สนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรม เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นกลาง ปฏิบัติหลักทาง โพธิสัตตมรรค เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ ขนสรรพสัตว์ เพื่อพุทธภูมิในภาคหน้า ดำเนินรอยตามพระยุคลบาทของพระบรมศาสดา

    คุณธรรมหลักของผู้ตั้งความปรารถนาเป็นโพธิสัตว์ คือ

    01. มหาเมตตา หรือ เมตตา แปลว่า ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระโพธิสัตว์ จึงมีคุณธรรมประจำใจอื่นๆ ต่อเนื่องกันคือ

    02. มหากรุณา คือ ความปราณีสรรพสัตว์(หมายรวมมนุษย์) ไม่เลือกที่รักมักที่ชังสงสารสัตว์ผู้ยากลำบากทั้งหลาย เฝ้าตามช่วยแนะเพื่อความสุขของเขา เป็นความยินดีกรุณาของโพธิสัตว์ทั้งหลาย

    03. มหาปัญญา คือเป็นผู้ที่มีความรู้หรือศึกษาหาวิชาใส่ตัว ได้เป็นประโยชน์ส่วนตนเอง ส่วนผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว

    04. มหาอุบาย คือ รู้ในวิธีนำตนและผู้อื่นให้พ้นภัยและสัมฤทธิผลเข้าถึงในคุณธรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์ พระโพธิสัตว์ จึงเป็นผู้สำนึกสูงในประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านพร้อมกันไป

    จิตของพระโพธิสัตว์ที่ตั้งมั่นไว้ใหญ่ยิ่ง 4 อย่าง คือ

    1. เราจะโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
    2. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมด
    3. เราจะศึกษาพระพุทธวจนะให้เจนจบ
    4. เราจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต นี้คือ มหาจตุรปณิธาน 4 ประการ ของผู้มีจิตใจอันยิ่งใหญ่ อันจะเป็นผู้ตรัสรู้อันควรสรรเสริญในอนาคต จิตใจเช่นนี้เรียกว่า โพธิจิต

    พระมหาโพธิสัตว์ 4 พระองค์

    1. พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
    อวโลกิตะ แปลว่า ผู้มองมายังเบื้องล่าง และคำว่า อิศวร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ ซึ่งอาจจะแปลความหมายได้ว่า ผู้มองดูโลก ผู้เอาใจใส่โลก พระปณิธานของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้มีอยู่ว่า หากยังมีสรรพสัตว์ตกทุกข์ได้ยากอยู่ จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ

    พระอวโลกิเตศวร เป็นพระมหาโพธิสัตว์คู่พระทัยของพระอมิตาภพุทธ ซึ่งสวรรค์ของพระองค์ก็คือ สุขาวดี

    2. พระมหาโพธิสัตว์กษิติครรภ์
    ในมูลปณิธานสูตร ได้กล่าวถึงพระปณิธานของพระมหาโพธิสัตว์พระองค์นี้ว่าตราบใดที่นรกยังไม่ ว่างจากสัตว์นรก ตราบนั้นจะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ
    คำว่า กษิติครรภ์ หมายถึง ครรภ์แห่งแผ่นดิน พระองค์ทรงเป็นตัวแทนแห่งความเจริญงอกงาม เป็นองค์แห่งความกรุณา โดยปกติเวลาเสด็จจะเสด็จคู่กับ พระศรีอริยเมตไตย ซี่งเป็นองค์แห่งความเมตตา

    3. พระมหาโพธิสัตว์มัญชุศรี
    พระมัญชุศรี ทรงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า มีพระปัญญายอดเยี่ยมที่สุด
    ในบรรดาพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีคุณสมบัติพิเศษแห่งพระบารมี ก็คือ ปัญญาบารมี ได้มีเรื่องกล่าวถึงพระปัญญาบารมีของพระองค์ใน สัทธรรมปุณฑริกสูตร ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จเข้าสู่สมาธิ ที่เรียกว่า ฐานแห่งอมตบรรยาย พระวรกายประทับนิ่ง พระจิตดิ่งสู่ความสงบอันสมบูรณ์ ได้มีเหตุอัศจรรย์บังเกิดขึ้นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เมตไตรย ทรงคิดว่าพระมัญชุศรี พุทธทายาทผู้ได้สร้างบารมี
    กับพระชินะหลายพระองค์จะเป็นผู้ที่อธิบายเหตุอัศจรรย์นี้ได้ จึงเสด็จไปทูลขอคำอธิบายจากพระองค์

    4. พระมหาโพธิสัตว์วัชรปาณี
    พระวัชรปาณีพระมหาโพธิสัตว์ พระองค์ทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์ คู่พระทัยของพระอโมฆสิทธิพุทธ มีวัชระเป็นเครื่องหมายแห่งความสำเร็จในทุกขอบข่ายแห่งการกระทำ

    คำว่า วัชระปาณี หมายถึงผู้ทรงวัชระไว้ในฝ่ามือ พระองค์ทรงเป็นองค์คุณแห่งพลัง แห่งความสำเร็จ ซึ่งไม่อาจทำลายได้

    ข้อมูลบางส่วนได้มาจาก
    1. เบญจมหาโพธิสัตว์และกฤษดาอภินิหารกวนอิม , สัมพันธ์ ก้องสมุทร สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

    2. คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต , พระไพศาล วิสาโล สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง

    3. สัทธรรมปุณฑริกสูตร , ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ศูนย์ไทยธิเบต
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : การบริหารจิตให้เป็นสุข มีอิสระ นับถือตนเองได้ด้วยหลักธรรม <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">28 พฤษภาคม 2546 14:22 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ขอบเขตอยู่ตรงไหน
    กราบนมัสการหลวงปู่ ลูกขอเรียนถามว่า

    1.ขอบเขตของความอดทนของคนเรานั้น อยู่แค่ไหนสำหรับปุถุชน
    2.ขอบเขตของความเมตตานั้น มีเพียงไรจึงเรียกได้ว่ามีเมตตา
    3.โดยความดีในตัวของมันเองนั้นเป็นสิ่งที่ควรยึดมั่นหรือไม่
    4.เราจะบริหารจิตให้เป็นสุขได้ด้วยหลักธรรมใดจิตจึงเป็นอิสระ สามารถนับถือตนเองได้

    วิสัชนา
    1. อยู่ที่ความพอใจ ยอมรับมันได้
    2. อยู่ที่คุณระลึกรู้สึกได้ว่า คุณทำแล้วมีความสุข จิตใจชื่นบาน สบาย
    3. ดี ต้องไม่มีอะไรยึด ที่ยังต้องยึดแสดงว่านั่นยังไม่ดี
    4. ด้วยสติ และ สัมปชัญญะ

    ปุจฉา
    ขอวิธีทำใจ ให้สงบ
    ผมอยากให้ท่านช่วยบอกผมหน่อยว่า ผมจะมีสมาธิได้อย่างไร เพราะผมอยากสงบ จะได้มีเวลาอ่านหนังสือและเข้าใจการเรียนให้มากกว่านี้ แต่ผมทำไม่ได้เพราะขาดสมาธิ ช่วยบอกวิธีที่จะทำให้ผมมีจิตใจสงบและมีสมาธิด้วยครับ

    วิสัชนา
    คุณลองฝึกที่จะอยู่กับตัวเอง สักชั่วโมงละ หรือวันละ 5 นาที อยู่กับตัวเองด้วยการที่ส่งความรู้สึกลงไปภายในกายนี้ อย่างชนิดที่ไม่ให้ปรากฏอารมณ์อื่นใด นอกจากระลึกรู้ว่า นี่คือกายคุณ หัวคุณ ตัวคุณ ตาคุณ แขนคุณ ขาคุณ อวัยวะคุณ สำรวจตรวจดูมันทีละชนิด อย่างละเอียด ทำให้ได้ทุกวัน วันละหลายๆครั้งก็ยิ่งดี แค่นี้ ฉันคิดว่า สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะเป็นของคุณ

    ปุจฉา
    อยากเข้าใจผู้ อื่น
    นมัสการหลวงปู่ครับ ลูกใคร่ขอเรียนถามข้อสงสัยในการบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นครับ ลูกเข้าใจว่าการจะทำงานเพื่อคนอื่น เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น แต่ในหลายกรณีลูกไม่สามารถทำใจให้เข้าใจอย่างที่เขาเป็นได้ เฉพาะอย่างยิ่งในลักษณะอกุศลที่เขาเป็น ลูกปรารถนาที่จะช่วยเหลือสังคม หากว่าลูกไม่สามารถหนีกลุ่มคนเหล่านี้ได้ ลูกถือคติว่าพระโพธิสัตว์ต้องมีเมตตา กรุณาต่อสรรพสัตว์ ไม่ว่าดี ชั่ว เลว หยาบ ละเอียด คำถามก็คือ ความเข้าใจคนอื่นที่เราควรจะมีให้จำเป็นต้องยิ่งใหญ่และกว้างขวางเพียงใด ครับ และลูกควรปฏิบัติจิตอย่างไรเพื่อความเข้าใจต่อเพื่อนมนุษย์ครับ

    วิสัชนา
    ก่อนที่คุณจะทำความเข้าใจผู้อื่น คนอื่น คุณต้องทำความเข้าใจชีวิตตนเองก่อน ว่าชีวิตคุณต้องการอะไร และได้ทำอะไรบ้างให้แก่สิ่งที่คุณต้องการบ้างแล้วหรือยัง อีกทั้งความต้องการนั้นเป็นประโยชน์ทั้งในตนและคนอื่นมากน้อยเพียงใด

    เมื่อคุณเข้าใจว่าคุณต้องการอะไร เรื่องที่คุณทำ คำที่คุณพูด สูตรที่คุณคิด ทั้งหมดต้องอุทิศให้แก่สิ่งที่คุณต้องการ การทำความเข้าใจและรู้จักชีวิตอื่น ผู้อื่น คนอื่น มันก็ไม่ต่างอะไร กับการที่คุณพยายามทำความเข้าใจ และรู้จักตนเองนั่นแหละ

    สรุปก็คือเข้าใจตนเอง รู้จักตนเอง แจ่มแจ้งในตนเอง ก็จะสามารถทำความเข้าใจคนอื่น ชีวิตอื่นๆ ได้ในที่สุด

    ปุจฉา
    ปลงหรือเปล่า?
    หลวงปู่เจ้าคะ ลูกมีความสงสัยในตัวเองเหลือเกิน และมันทำให้ลูกทุกข์มาก ลูกไม่เข้าใจว่า ตั้งแต่ลูกเกิดมาไม่เคยมีความชอบใดๆ เป็นพิเศษเลย เหมือนไม่เคยรู้ใจตัวเองเลย ทั้งๆ ที่พยายามตั้งสติหลายครั้งหลายหน พยายามศึกษาจิตใจตนเอง ลูกก็ไม่สามารถหาคำตอบได้ อย่างเช่นว่า ลูกอยากเรียนอะไร อยากทำงานอะไร หรือว่ารักใคร ลูกรู้สึกว่าในชีวิตของลูกนี้ มีอารมณ์เบื่อเป็นพื้นฐานไม่รู้จะอยากได้อะไร หรือไขว่คว้าอะไร เหมือนชีวิตอยู่ไปวันๆ จะให้ไปทางธรรมเลย หมายถึงตั้งใจสละทางโลกไปเข้าวัดเลย ลูกก็รู้ว่าลูกยังไม่อดทนและเข้มแข็งพอ ถ้าจะอยู่ทางโลก ลูกก็รู้สึกว่าอยู่ไปวันๆ จริงๆลูกกำลังศึกษาต่ออยู่ ณ ต่างประเทศ แต่ลูกก็เหมือนเรียนไปอย่างงั้นๆ ไม่ได้ทำด้วยใจรัก เหมือนกับว่าชีวิตนี้ไม่เคยทำอะไรด้วยใจ ไม่เคยมีความสุขกับการทำอะไรเลย ไม่เคยมีความรู้สึกพิเศษกับสิ่งใดๆ

    หลวงปู่โปรดเมตตาชี้แนะลูกด้วยเถอะค่ะ จริงๆ ลูกมีปัญหานี้มานานแล้ว พยายามจะแก้เอง ศึกษาตัวเองมาหลายปี แต่จนปัญญาจริงๆ ค่ะ ทำอย่างไรลูกถึงจะรู้ใจตัวเอง หรือถูกปลุกวิญญาณให้ตื่นมาเสียที ไม่งั้นก็ทำอะไรไปวันๆ ลูกคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ลูกเป็นแบบนี้ก็เพราะว่า เวลาทำอะไรที่เป็นทางโลก มันจะรู้สึกแต่ว่า เดี๋ยวตายแล้วทุกอย่างก็เท่านั้น เหลือแต่จิตวิญญาณ เพราะฉะนั้น เราควรฝึกจิตเรา แต่ครั้นจะฝึกจิตอย่างเดียว มันก็เคร่งเครียด ลูกเป็นคนจริงจังกับสิ่งต่างๆรอบตัวจนเกินไป ลูกโง่เขลาเหลือเกินที่ไม่สามารถหาอุบายให้กับตัวเองได้ หลวงปู่โปรดเมตตาลูกด้วยเจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    ฉันฟังคุณเขียนมาบรรยาย แรกๆก็นึกว่าช่างเป็นเรื่องวิเศษที่อายุคุณแค่นี้ยังรู้สึกปลงได้ แต่ฟังไปฟังมาเรื่องมันไม่ใช่อย่างที่คิดแต่แรก แต่เป็นเพราะคุณมีอุปนิสัยเฉื่อยชา หลังยาว ไม่กระตือรือร้น เรียกว่ามองโลกแบบม้วนเดียวจบ ทั้งๆที่สมองและสติปัญญาคุณ อยู่ในขั้นใช้ได้แต่ไม่ค่อยได้ใช้ คนที่เขาเห็นความตาย รู้สึกว่าตัวเองจะต้องตาย เขาจะยิ่งรีบร้อนที่จะทำกิจกรรมที่เขายังทำไม่สำเร็จ ไม่ใช่มานั่งหมดอะไรตายอยาก เฉื่อยชาอย่างคุณ อย่างนี้เขาเรียกว่าขี้เกียจ

    ปุจฉา
    แฟนรับเรื่องจริงไม่ได้
    กราบเท้าหลวงปู่ที่เคารพรัก ลูกมีเรื่องรบกวนใจมาหลายเดือนแล้ว และอยากที่จะหาคำตอบเพื่อความกระจ่าง คือว่า แฟนของลูกรับเรื่องราวของลูกในอดีตไม่ได้นั่นคือการที่ไม่ได้เป็นหญิง บริสุทธิ์ พอเจอหน้ากันก็มักจะขุดเรื่องราวในอดีตทุกครั้ง ตอนนี้ลูกรู้สึกไม่ดีพอสำหรับเค้า ลูกจะทำอย่างไรดี

    วิสัชนา
    คงจะลำบากแล้วล่ะ ถ้าตราบใดที่แฟนของคุณยังยอมรับเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิตของคุณไม่ได้ คุณควรจะหาโอกาสพูดคุยกับเขา ให้เขาเข้าใจถึงสิ่งที่มันไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ขอให้เขาทำสิ่งที่มีวันนี้ให้ดีที่สุด และพึงพอใจกับมัน ชีวิตคุณและเขาก็น่าจะมีความสุขแล้ว แต่ถ้าเขายังทำใจยอมรับมันไม่ได้ ถ้าเช่นนั้นคุณก็ควรจะตัดสินใจได้แล้วละว่าจะอยู่หรือไป

    ปุจฉา
    กังวลใจเรื่องเงิน
    กราบนมัสการหลวงปู่ค่ะ สมมุตินะคะ ถ้ามีคนมาขอเช่าบ้านกับลูก แล้วเขาเอาเงินมาวางมัดจำล่วงหน้า แล้วลูกรับเงินนั้นเอาไว้ แต่เราไม่ทราบที่มาของเงินนั้นว่าได้มาอย่างไร โดยสุจริต หรือ ทุจริต ถ้าสุจริตก็แล้วไปค่ะ แต่ถ้าทุจริต หมายความ ว่าอาจจะฉกชิงวิ่งราวมา หรืออาจจะยักยอกวัดมา ถ้าลูกรับเงินนั้นไว้จะบาปไหมคะ ? ถ้าบาป ระดับของความบาปจะ หนัก - เบา ต่างกันไหมคะ ระหว่าง เงินที่ได้มาโดยการฉกชิงวิ่งราวมาจากชาวบ้าน กับเงินที่ได้มาจากการยักยอกเงินวัด (ของสงฆ์) ถ้าเรารับเงินนั้นมาแล้วโดยเราไม่ทราบที่มาของเงิน และเวลาก็ล่วงเลยผ่านมานานแล้ว ถ้าคำตอบที่ได้รับคือ " ไม่บาป " ก็แล้วไปค่ะ แต่ถ้าคำตอบที่ได้รับคือ " บาป " เราจะต้องแก้ไขอย่างไรดีคะ กรุณาแยกตอบเป็น 2 กรณีคือ

    กรณีที่ 1 รับเงินที่ได้มาจากการฉกชิงวิ่งราวจากชาวบ้าน จะต้องแก้ไขอย่างไรคะ ?
    กรณีที่ 2 รับเงินที่ได้มาจากการยักยอกเงินวัด ( ของสงฆ์ ) จะต้องแก้ไขอย่างไรคะ ?

    ลูกขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ก่อนที่ลูกจะตกลงให้ใครเช่าบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระดับหนึ่ง ในฐานะผู้ให้เช่า ลูกจะถามเขาก่อนว่า เขาย้ายมาจากไหน จะมาเช่าบ้านทำอาชีพอะไร และเมื่อตกลงกันได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการวางเงินมัดจำ ซึ่งลูกคงไม่มีสิทธิ์ที่จะถามเขาลึกลงไปว่า คุณได้เงินมัดจำนั้นมาอย่างไร ขอความกรุณาหลวงปู่ช่วยให้คำแนะนำด้วยค่ะ

    สุดท้ายนี้ ด้วยการที่หลวงปู่ให้ความรู้ผู้อื่นเป็นทาน ขอให้หลวงปู่เป็นผู้มีปัญญายิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ และขอขอบคุณที่หลวงปู่กรุณาตอบคำถามให้แก่ลูกค่ะ ด้วยความเคารพอย่างสูง

    วิสัชนา
    ถ้าอย่างนั้นโจรขโมยเงินได้มา แล้วเอาเงินไปซื้อข้าวกิน แม่ค้าขายข้าวรับเงินนั้นเอาไว้ ก็บาปด้วยซิ อย่าคิดระแวงอะไรมากไปเลยคุณ เดี๋ยวจะป่วยเสียเปล่า

    แน่นอนเงินที่ยักยอกมาจากของสงฆ์ย่อมเป็นบาปมากกว่า เพราะของสงฆ์ทุกอย่างมีผู้อื่นบริจาคมาให้ ด้วยหวังจะได้ผลบุญ แต่กลับมีผู้ใจบาปไปยักยอก ก็ถือได้ว่าไปตัดตอนเอาบุญของผู้อื่น นอกจากจะเป็นหนี้สงฆ์ด้วยการยักยอกแล้ว ยังจะเป็นหนี้เจ้าของทรัพย์ที่เขาบริจาคให้แก่สงฆ์อีก เรียกว่าเป็นหนี้สองต่อ

    ก็ทำอย่างที่คุณคิดไว้แล้วนั่นแหละ
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : ความหมายของชีวิต และการสืบเนื่อง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">4 มิถุนายน 2546 17:54 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    วิถีทางธรรมเป็นอย่างไร
    เนื่องจากลูกพยายามดำรงชีวิตประจำวันไปพร้อมกับการเจริญธรรม ซึ่งบางครั้งกิเลสก็ชนะบ้าง บางครั้งความสงบก็เวียนมาบ้าง สลับกันไป ลูกพยายามสร้างสิ่งจูงใจให้ตัวเองไม่ท้อแท้กับการเจริญธรรมนั้น โดยวิธีของลูกก็คือ พยายามระลึกถึงพระคุณของผู้ให้กำเนิดกาย และการยังประโยชน์ให้กับสมมติอื่นๆ

    ในความคิดกำลังสรุปว่า การมีชีวิตของเรานั้น มีอยู่เพื่อดำเนินตามธรรมที่ลูกได้สัมผัสจากสัญญาที่ผ่านมา(ลูกกำลังเรียน รู้และทำความเข้าใจเรื่องพระธรรม) และ ที่สำคัญของชีวิตคือ การเกิดมาเพื่อเป็นที่อิงอาศัยของสรรพชีวิตอื่น ๆ ใช่หรือไม่ การเข้าใจเช่นนี้จะถูกต้องกับวิถีทางธรรม หรือไม่ อย่างไรคะ

    วิสัชนา
    นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่คุณเข้าใจความหมายของชีวิต ที่เราต้องเพียรพยายามลิขิต นำพาชีวิตของเราด้วยตัวเราเอง อย่าปล่อยให้ความไม่รู้ กิเลส ตัญหา อุปาทาน และความขาดสติ มาครอบงำนำพาชีวิตเรา ให้ทุกข์ โศก สุข เศร้า ระคนปนจนเราไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือก

    สิ่งที่พยายามทำ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี การที่คุณสำนึกถึงสัมพันธภาพอันดีที่มีต่อคุณและคุณมีต่อสรรพสิ่ง เหล่านี้จะเป็นเครื่องกระตุ้น ให้คุณมีสำนึกที่ดีงามต่อสังคมรอบข้างอีกทั้งตัวคุณก็จะมีจิตใจดีงามมากขึ้น ด้วย

    ปุจฉา
    การสืบเนื่องของชีวิต
    กราบเรียนหลวงปู่ครับ
    1.ผมจำได้ว่า หลวงปู่บอกว่าเซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายคนเรานั้นเกิดดับอยู่ทุกขณะ ดังนั้น ตัวเราที่เป็นไปในทุกขณะก็มีความเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นความเป็นตัวตนจึงเป็นสิ่งที่ไม่จริงแต่คนไปยึดมั่นว่านั้นคือตัว เรา แต่สิ่งที่สืบเนื่องนี้กลับมีความจำได้หมายรู้บันทึกเอาไว้ เราเรียกความสืบเนื่องนี่ว่าอย่างไรครับ

    2. ถ้ามีร่างกายความสืบเนื่องนี้ก็ยังอยู่ แต่ถ้าไม่มีร่างกายแล้ว (คือตาย) ความสืบเนื่องก็น่าจะยังอยู่อีกเช่นกัน ในกรณีที่ยังมีความยึดถือตัวตนอยู่ แต่ถ้าผู้ที่สลัดคืนความถือมั่นตัวตนได้แล้วความสืบเนื่องเช่นนี้ เช่นการจำได้หมายรู้ จะยังมีอยู่หรือไม่ คือมีแต่รู้ว่ามันไม่ใช่ตัวเราของเรา หรือว่ามันหายไปเลยไม่มีสืบต่อไปอีก

    วิสัชนา
    1. สันตติคือความสืบเนื่อง
    2. นอกจากร่างกายแล้ว ผลของกรรมเป็นเหตุให้เกิดความสืบเนื่องได้ด้วย เช่น การกระทำในภพชาติ ปัจจุบัน เป็นเหตุให้ส่งผลสืบเนื่องไปในอนาคตด้วย ผู้ที่หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นแล้วย่อมตัดเหตุปัจจัยของความสืบเนื่อง ได้เด็ดขาดหมดสิ้น ความจำได้หมายรู้ เรียกว่าสัญญา ดับได้ด้วยนิพพาน

    ปุจฉา
    ข้องใจเรื่องประสาทสัมผัส
    ลูกขอรบกวนหลวงปู่ช่วยไขข้อข้องใจในการปฎิบัติให้กับศิษย์โง่คนนี้ด้วยครับ การที่เราจะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งความคิดได้อย่างเต็มที่ เต็มเปี่ยม คืออย่างไรครับ และในการเจริญสติเราต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดอย่างเต็มเปี่ยม พร้อมๆ กับการที่เราใช้การพิจารณาโครงกระดูกบวกกับลมหายใจตลอดเวลาในทุกอิริยาบถใช่ หรือไม่ครับ

    วิสัชนา
    ประสาทสัมผัสเป็นของมีอยู่แล้วในมนุษย์ แต่อาจจะโดนห่อหุ้มด้วยมลภาวะทั้งหลาย ที่เรียกว่าอารมณ์และยึดถือปรุงแต่ง จึงทำให้การสัมผัสรับรู้ของประสาทขาดประสิทธิภาพ ขณะที่คุณเจริญสติ อารมณ์และความยึดถือปรุงแต่งจะอันตรธานหายไป นั่นก็เท่ากับว่าคุณกำลังเรียก เพิ่ม หรือชำระ ประสิทธิภาพของการรับรู้ สติที่เจริญดีแล้วทำให้เกิดการรับรู้อย่างแจ่มชัด ซื่อตรงและคล่องแคล่ว คุณก็สามารถจะกำหนดความรับรู้ในเรื่องราวต่างๆได้ดังใจปรารถนา

    ปุจฉา
    ขออุบายในการฝึกใจ
    กราบนมัสการหลวงปู่ครับ ผมอยากทราบอุบายในการฝึกใจ ให้ใจเป็นอิสระ ไม่วิตกกังวล รู้จักปล่อยวาง

    วิสัชนา
    ที่จริงโดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อทุกข์ที่สุดหรือหนักที่สุด ก็จะรู้จักวางลงเอง แต่เมื่อกว่าจะถึงตอนนั้น เราอาจจะทรมานจนตายเสียก่อนก็ได้

    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงวิธีชนะทุกข์ด้วยปัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเจริญ สติ สมาธิ และลุถึงปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงในที่สุด สรุปก็คือ คุณต้องพยายามฝึกสติให้รู้ตัวในทุกขณะที่ ทำ พูด คิด
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : สภาวะจิตที่เป็นกุศลหรือหมดกิเลสเป็นอย่างไร <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">11 มิถุนายน 2546 16:29 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ธรรมะกับธรรมชาติ
    ที่ว่า ธรรมะนั้นจะตรงข้ามกับธรรมชาติ แต่จะเดินไปด้วยกันในลักษณะเป็นเส้นขนาน จากข้อความดังกล่าวนี้ ลูกขอความเมตตาจากหลวงปู่ โปรดให้ความหมายที่ชัดเจนแก่ลูกด้วย ลูกพยายามพิจารณา แต่ก็ยังไม่ชัดเจนและยังไม่เข้าใจ หรือว่าข้อความนี้จะยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ

    วิสัชนา
    ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือ หลักการของธรรมะ เช่นหลักการที่ว่า สรรพธรรมชาติทั้งหลาย มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ และแปรปรวนในท่ามกลาง ในที่สุดก็แตกสลาย เหล่านี้ก็ตรงกับหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของธรรมะ

    ปุจฉา
    จิตที่หมดกิเลส
    1. สภาวะจิตที่เป็นกุศลหรือหมดกิเลสเป็นอย่างไรครับ

    2. นิพพานเป็นอย่างไร มีสภาพว่าง สภาพรู้ แต่ไม่มีตัวตนใช่มั้ยครับ

    หลวงปู่โปรดเมตตาลูกด้วยครับ ตอนนี้ลูกปฏิบัติสติปัฏฐาน4อยู่ ทางนี้พอจะทำลายกิเลสและสำเร็จได้ไหมครับ

    วิสัชนา
    1. จิตที่เป็นกุศล คือ จิตที่มีเจตสิคธรรมารมย์ส่วนที่เป็นกุศลเข้ามาปรุงจิตจึงเรียกว่าเป็นจิตที่ มีกุศล จิตที่ขาดกิเลส คือ จิตที่ปราศจากเครื่องปรุงและเครื่องย้อมทั้งปวงเป็นจิตที่ผ่อนคลาย โปร่งโล่ง สว่าง เบาสบาย

    2. นิพพานเป็นสภาวะธรรมที่ปราศจากเครื่องย้อมและเครื่องร้อยรัดเป็นกุศล คือ ความว่างไม่มีตัวตน เมื่อตัวตนไม่มีแล้ว ตัวรู้จะมีได้อย่างไร

    การกำจัดกิเลสไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะการให้พรหรือคำทำนาย แต่อยู่ที่ตัวคุณว่า คุณจะทำมันได้
    ทั้งหมดคือคำตอบ

    ปุจฉา
    สงสัยเรื่องอวิชชา
    ผมติดตามอ่านคอลัมน์ปุจฉา-วิสัชนา เป็นประจำ มีปัญหาที่จะนมัสการถามดังนี้
    ได้ฟังพระท่านเทศน์หรือบรรยายถึงคำว่า "อวิชชา" อยู่บ่อยๆ แต่ละครั้งจะได้ความหมายแตกต่างกันออกไป จึงเกิดความสับสน อยากนมัสการถามว่า

    1. คำว่า "อวิชชา" หมายถึงอะไรแน่
    2. ลักษณะของอวิชชาเป็นอย่างไร
    3. อวิชชาแบ่งเป็นกี่ประเภท
    4. มีวิธีปฏิบัติเพื่อละอวิชชาได้อย่างไรบ้าง

    วิสัชนา
    1. อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้

    2. อวิชชา มีลักษณะ คือ ความหลง ไม่รู้ตามความเป็นจริง

    3. อวิชชา มีหลายประเภท แต่ในที่นี้จะยกให้เห็น 4 ประเภท คือ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์

    4. อวิชชา ละได้ด้วย วิชชาและจรณะ มีศรัทธา มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา

    ปุจฉา
    วิธีดำรงศรัทธา
    กราบนมัสการหลวงปู่ครับ ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติล้วนหนีไม่พ้นหลักไตรลักษณ์ ทุกอย่างเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ แปรปรวนในท่ามกลางและแตกสลายในที่สุด ฉะนั้น ความศรัทธา กุศลจิตที่จะตั้งใจทำความดี ความเจริญให้กับพระพุทธศาสนา ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน และสลายในที่สุด

    อยากทราบว่าจะทำอย่างไร ถึงจะดำรงความศรัทธาดังกล่าวไม่ให้ดับสลาย หรือลดลง แต่ให้เจริญงอกงาม จะต้องบำรุงอย่างไรครับ

    วิสัชนา
    จริงอย่างที่คุณเข้าใจนั่นแหละ ไม่มีอะไรหนีกฎไตรลักษณ์แม้แต่ความศรัทธา จิตที่เป็นกุศลก็ไม่พ้นเหมือนกัน ถ้าคุณปรารถนาจะให้สองสิ่งนี้ดำรงอยู่มันก็ไม่ยาก เพียงแค่คุณมีความเพียรพยายามบากบั่นอดทน จริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ จับจ้อง กระทำให้ความศรัทธาและจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นทุกขณะแห่งลมหายใจ หรือทุกขณะที่นึกคิดได้ ก็ชื่อว่าคุณบำรุงความเจริญงอกงามให้แก่ความศรัทธาและจิตที่เป็นกุศลแล้ว

    ปุจฉา
    การให้ทานด้วยจิตสะอาดจะเข้าสู่นิพพานได้หรือไม่
    กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพ การให้ทานเพียงอย่างเดียวด้วยใจศรัทธาพร้อม สามารถน้อมนำจิตใจไปสู่ความสะอาด สงบ สว่าง จนสามารถเข้าสู่นิพพานได้หรือไม่เจ้าคะ

    วิสัชนา
    นิพพานมิใช่ลุถึงได้ด้วยการบริจาคทาน แต่ทาน ศีล ภาวนา เป็นเหตุปัจจัยให้ลุถึงนิพพาน

    ปุจฉา
    รู้โดยนิมิตรจะ พิสูจน์ได้อย่างไรว่าจริงหรือไม่
    ถ้าหากว่าเราเกิดรับรู้ว่าเราเคยเกี่ยวพันกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งโดยรับรู้โดยนิมิตหรือความรู้สึกที่ผ่านทางจิต เราจะสามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ว่า สิ่งที่เราได้รับรู้นั้น จริงหรือไม่ โดยวิธีใด

    วิสัชนา
    ประโยชน์อันใดที่คุณจะไปใส่ใจกับเรื่องที่ผ่านมา และวิตกถึงแต่เรื่องที่ยังมาไม่ถึง พร้อมทั้งปล่อยให้ปัจจุบันของคุณกลายเป็นความบกพร่องผิดพลาด เสียหาย

    อย่าไปให้ความสำคัญกับเรื่องที่ผ่านไปแล้วมากเกินไปนัก ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด นั้นคือคำแนะนำของท่านผู้รู้ทั้งหลาย

    แต่ถ้าคุณอยากจะพิสูจน์จริง ก็ต้องเจริญสติในหลักมหาสติมากๆ จนเกิดสติรับรู้ลมหายใจ
    ทั้งเข้าและออก แล้วสิ่งที่คุณอยากรู้ก็จะได้รู้สมปรารถนา
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : วิธีการพิจารณาจตุธาตุวัฏฐาน 4 <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">18 มิถุนายน 2546 18:01 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ขอความเมตตาจากหลวงปู่ ขอคำอธิบายเรื่องธาตุบรรพ และหัวใจของการพิจารณาจตุธาตุวัฏฐาน ๔ ด้วยขอรับ ไม่ใช่เพื่อประดับความรู้ตามตำรานะครับ แต่เพื่อความกระจ่างเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติ เคยอ่านหนังสือมาบ้าง แต่ยังไม่แจ่มแจ้งกับการนำมาใช้ในภาคปฏิบัติขอรับ

    วิสัชนา
    วิธีการพิจารณาจตุธาตุวัฏฐาน ๔
    ยืดอกขึ้น นั่งตัวตรง ดำรงสติให้มั่น ผ่อนคลาย สูดลมหายใจเข้าลึกๆ เต็มปอด นับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ แล้วพ่นลมออก แผ่วเบา นุ่มนวล สุภาพ

    การผ่อนลมออกต้องค่อยๆ เป่าลมออก ทางปาก เหมือนกับการปล่อยลมออกจากลูกโป่ง แล้วก็สูดลมเข้าไปในลูกโป่ง เมื่อสูดเข้าเต็มที่ ก็หยุดนิ่งไว้นิดหนึ่ง แล้วค่อยๆ ปล่อยออก ทำสัก ๓-๔ ครั้ง จะรู้สึกจิต สงบ ว่าง

    พอจิตสงบแล้วเรามากำกับดูลมหายใจก็ได้(อานาปานบรรพ) ดูโครงสร้างกระดูกภายในกายก็ได้ หรือจะมาพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง พิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกายก็ได้

    เมื่อสูดเข้าไปเต็มปอด ให้หยุดกลั้นไว้นิดหนึ่ง ปิดลมไม่ให้ออก ให้มันเข้าไปพลุ่งพล่านอยู่ภายใน มันจะไปกระตุ้นเตือน ต่อมหมวกไตทั้งหลายให้ตื่นตัว จะเกิดร้อนที่หน้าอก จากนั้นก็พ่นเอาความร้อน (ของเสีย) ภายในร่างกายออกมา เมื่อเราทำสัก ๓-๔ ครั้ง จะมีสติปรากฏ ใช้สตินั้นพิจารณาสภาวธรรมที่เป็นจริงภายในร่างกายเราว่า

    "โอ้หนอ...ร่างกายเราประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุทั้งสี่ต้องมีกรรมเป็นผู้ควบคุม เราตาย เราเกิด สัตว์ตาย สัตว์เกิด เพราะมีอวิชชา ที่มีอวิชชา เพราะเราทำกรรม เพราะมีความโง่ เราจึงทำผิดทำถูก ปัจจุบันนี้เราจะมาทำให้เกิดความฉลาด เราจะได้ไม่โง่ จะได้ไม่เกิดกรรม ที่เป็นเรื่องเป็นเหตุ ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย..."

    ร่างกายขันธ์ ๕ สังขารเรานี้ ประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลมไฟ มีผู้ควบคุม คือวิญญาณ มีจิตวิญญาณเป็นผู้ควบคุมธาตุลม คนหรือสัตว์ที่ตายไปแล้ว ลมไม่มีในกาย เพราะไม่มีผู้ควบคุม เมื่อลมในร่างกายไม่มี ปกติมีลมจึงมีไฟ ไฟคือสิ่งที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร เมื่อไฟดับ น้ำที่มีในร่างกายก็จะเอิบอาบ ซึมซาบ และทำการละลายดิน คนที่ตายหลายๆ วันจึงมีน้ำเหลืองไหลออกมา มีกลิ่นเหม็น ตาปลิ้นออกมาจากเบ้าตา ลิ้นจุกปาก ผมหลุดร่วง เนื้อตัวสีเขียวคล้ำ สิ่งกลิ่นเหม็นเน่า...

    การพิจารณาอย่างนี้เป็นการพิจารณา ให้เห็นเป็นปฏิกูลภายในกายเราต่อจากนั้นให้พิจารณาอนัตตลักษณะ ควบคู่กันไปด้วย คือ ธาตุนี้ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

    หลักการพิจารณาในธาต ุก็คือ ต้องอยู่ในลักษณะสามัญ ลักษณะ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป

    "ธาตุบรรพ" คือ การรับรู้ตามความเป็นจริงของกายนี้ ว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง

    ธาตุ "น้ำ" คืออิ่มเอิบ ซึมซาบ ไปทั่วสรรพางค์กาย
    ธาตุ "ลม" คือลมที่กระทบรับรู้ รู้สึกได้ โยกโคนไปมา ลมที่ทำให้ร่างกายไหวติง
    ธาตุ "ไฟ" คือมีทั้งความเย็นแล้วก็ความร้อน ไฟมีทั้งไฟเย็น และไฟร้อน มีอานุภาพ อุณภูมิสูงกว่าไฟที่ร้อน
    ธาตุ "ดิน" ลักษณะอาการ คือ แข็ง แล้วก็ยืดหยุ่นได้

    ในธาตุดินก็ตาม น้ำก็ตาม ลมก็ตาม ไฟก็ตาม ก็ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่อีก พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าให้เราพิจารณากายในกาย แค่รับรู้ว่าดิน น้ำ ลม ไฟ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตามหลักของอนัตตลักษณะสูตร (อนัตตลักษณะ - ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔. เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา)

    หรือหลักการสุญญตา คือยังไม่ถือว่าเป็นดินแท้ ยังไม่ถือว่าดินนั้นเป็นดินแท้ เหตุผลก็เพราะว่า ดินนั้นยังประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่อีก คือดินยังมีความชื้น (ธาตุน้ำ) มีความอุ่น(ธาตุไฟ)อยู่ แล้วยังมีฟองอากาศ(ธาตุลม)อยู่ในดินนั้น ในดินหนึ่งก้อนก็ยังมีดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ แต่ว่าในดินนั้นมีธาตุดินที่มากกว่าธาตุน้ำ มากกว่าธาตุลม ธาตุไฟ เขาก็เลยเรียกว่าดิน

    ในน้ำมีอุณหภูมิ ก็ยังมีความอุ่น (ธาตุไฟ) ในน้ำยังมีดินตะกอน (ธาตุดิน) ในน้ำมีอากาศ (ธาตุลม) เมื่อน้ำมีดิน ลม ไฟ แต่ในน้ำนั้นมีธาตุน้ำมากกว่า ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุดิน เขาจึงเรียกว่า ธาตุน้ำ

    ในกระบวนการของดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ไม่มีตัวตน นี่คือลักษณะการพิจารณา "ธาตุ" พิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ได้พิจารณาว่า ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ไฟเป็นไฟ ลมเป็นลม ถ้าพิจารณาอย่างนี้ก็เป็น
    ลักษณะมองให้เห็นว่าเป็นของเที่ยง มองให้เห็นว่ามีตัวตน ซึ่งผิดหลักของวิปัสสนา และผิดหลักการของมหาสติปัฏฐาน แล้วผิดตามหลักของคำสอน มันก็จะกลายเป็นคำสอนของศาสนาฮินดู พราหมณ์ ที่เป็นปรมัน อาตมัน เป็นเรื่องมีตัว
    ตน มีสัญลักษณ์ ที่จับต้องลูบคลำได้

    แต่หลักการพิจารณาในจตุธาตุวัฏฐาน ในธาตุบรรพ ต้องพิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าพิจารณาถึงหลักลักษณะนี้ได้ ก็จะสามารถเข้าใจ และซึมซาบถึงหัวใจของการพิจารณาจตุธาตุวัฏฐาน ๔

    พระพุทธเจ้าบอกว่า เราต้องมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม พิจารณากายในกาย ทั้งภายในและภายนอก ว่าประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่ "จิต" เป็นผู้ควบคุมธาตุทั้งสี่

    "อวิชชา" ทำให้คนเรามาเกิด อวิชชามีกรรม (เรามีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย มีกรรมเป็นที่มาที่ไป) "กรรม" เป็นผู้ควบคุมจิต (กรรมนำจิตมาจุติ ก่อนที่จะปฏิสนธิ) "จิต" เป็นผู้ควบคุมธาตุลม (ไฟจะไม่ลุก ไม่ติดในที่เป็นสุญญากาศ) เมื่อลมหายไฟก็ดับ (คนตายแล้วจึงตัวเย็น) "ไฟ" ควบคุมธาตุน้ำ เมื่อน้ำในคนที่ตายไม่มีผู้ควบคุม คนตายจึงมีลักษณะอืด เขียว พอง เพราะน้ำไม่มีที่จะออก เพราะน้ำไม่ได้ถูกไฟเผาผลาญให้ออกมาทาง น้ำเหงื่อ น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำมูตร น้ำคูถ น้ำเยี่ยว มันก็จะอืด เมื่อน้ำไม่หาย ไม่ถูกไฟเผาผลาญ ก็จะทำการละลายดิน คนที่ตายแล้ว ๗ วัน ๑๐ วัน ๑๕ วัน ผิวหนัง เส้นเอ็น ผม ขน เล็บ ในร่างกาย ส่วนที่บางก็จะถูกน้ำทะลุทะลวงออกมา คนที่ตาย น้ำเหลืองจึงทะลุออกมา ธาตุดินก็ปฏิเสธน้ำไม่ได้ เพราะถ้าปฏิเสธน้ำ ก็จะกลายเป็นหินและทราย ส่วนธาตุดินจริงๆ นั้น ก็ควบคุมธาตุน้ำอีกที

    การพิจารณาอย่างนี้ทำให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ จึงเป็นลักษณะ สมมติบัญญัติ ซึ่งหลักการพิจารณาธาตุทั้งสี่ มีหลักการพิจารณาอยู่ ๒ หลักการ คือ สมมติบัญญัติ กับ ปรมัตถ์บัญญัติ การพิจารณาในหลักของสมมติบัญญัติ คือ เห็นในรูปตา

    อวิชชา ทำให้เกิด จุติ ปฏิสนธิ แล้วก็ต้องทำกรรม กรรมทำหน้าที่ ควบคุมจิต ที่ปฏิสนธินั้น จิตควบคุมธาตุลม ลมควบคุมธาตุไฟ ไฟควบคุมธาตุน้ำ น้ำควบคุมดิน ดินควบคุมน้ำ นี่เป็นสมมติสัจจะ

    ในร่างกายเรา (ในอาการ ๓๒) ว่าส่วนที่เป็นดิน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็นน้อยใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า ลำไส้ ตับไต ม้าม หัวใจ ฯ ส่วนธาตุน้ำ คือ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี น้ำลาย น้ำมูตร น้ำคูถ น้ำเหงื่อ ฯ ธาตุไฟ คือ ไฟธาตุที่ใช้ย่อยอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ไฟที่ช่วยระบบขับถ่าย แล้วก็ไฟที่กำเริบขึ้นบน ลงล่าง เช่น อาการไข้ ธาตุลม คือ ลมที่พัดพาอยู่รอบๆ ตัวเรา ลมในลำไส้ ลมในกระเพาะในไขกระดูก ในสมอง ฯ และลมนอกกายที่ทำให้โยกโคน อ่อนไหว

    ทั้งหมดนี้เป็นสมมติสัจจะ ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาเบื้องต้น
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : วิธีฝึกจิตให้ถูกกับจริต <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">25 มิถุนายน 2546 15:30 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้า
    กราบนมัสการหลวงปู่ครับ ผมขอกราบเรียนถาม เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ติดอยู่ตอนนี้ครับ คือ ผมพยายามฝึกสติอยู่และพยายามนั่งสมาธิอยู่ แต่ถ้าดูจะรู้สึกหนัก จึงพยายามปล่อยเฉยๆ เหมือนไม่รู้ จะรู้สึกเบา และพยายามนั่งสมาธิ เดินจงกรมบ่อยๆ เพื่อให้รู้ชัดๆ ถ้านั่งสมาธิก็จะรู้สึกว่ามีสมาธิดี แต่จะรู้สึกว่าการมีสมาธิมันหนักไป ต้องไม่เข้าไปดูมัน จะรู้สึกเบาคือรู้ว่ามีสมาธิเฉยๆ ผมเป็นอย่างนี้มาพอสมควร เลยไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป บางทีคิดว่าถ้ารู้เฉยๆ แล้ว เวลามีอารมณ์บางครั้งจิตก็เข้าไปจับกับอารมณ์ บางทีก็ละอารมณ์ได้ บางทีก็ละอารมณ์ไม่ได้ หรือนานกว่าจะละได้ จะทำอย่างไรดีครับ ผมไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อ ผมก็ได้แต่รู้กับดูไปเรื่อยๆ ละได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางทีก็ขี้เกียจบ้าง วนเวียนอยู่ดังนี้ ไม่ก้าวหน้าหรือได้อะไรเพิ่มเลยครับ กราบขอบพระคุณหลวงปู่มากครับที่กรุณา

    วิสัชนา
    สิ่งที่คุณทำอยู่ก็ดีแล้วนี่ แต่เสียอยู่หน่อยที่นานๆ ทำที ไม่ยอมทำถี่ๆ ก็เลยไม่ค่อยเจอดี ฉันมีข้อสังเกตให้คุณลองพิจารณาดู คิดจะทำสมาธิถือว่าเป็นความดีงามของชีวิต ถ้าคุณสามารถพึ่งพิงอิงอาศัยได้ก็ยิ่งวิเศษ แต่ถ้าพึ่งยังไม่ได้ แถมยังจะทำให้ถมึงทึงตึงเครียด นั่นแสดงว่า ยาชนิดนี้ดูถ้าจะไม่ถูกกับโรคของคุณ หรือไม่คุณก็ทำไม่ถูกวิธี แต่ฟังดูจากคุณเล่ามา ว่าคุณลองเปลี่ยนวิธีมานั่งดูอารมณ์เฉยๆ แล้วรู้สึกเบาสบาย ก็แสดงว่าเป็นวิธีที่ถูกกับโรคของคุณ ควรจะทำต่อไป ถ้าทำแล้วคุณรู้สึก เบาสบาย ผ่อนคลายอย่างมีสติ สำคัญต้องทำอยู่ทุกขณะที่คุณนึกได้ แล้วคุณจะเห็นผล ไม่เชื่อลองทำดู

    ปุจฉา
    เวรกรรมตามทัน
    ผมเป็นคนที่สนใจพุทธศาสนาอยู่บ้างแต่มีข้อสงสัยดังนี้

    1. การเรียนรู้และปฎิบัติตามคำสอนของพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชนให้เห็นภาพและ ข้อเท็จจริงควรสอนด้วยการใช้วิธีการอย่างไร

    2. ทำอย่างไรจึงจะทำให้เวรกรรมตามทันคนที่ประพฤติชั่วในชาตินี้

    3.ทำอย่างไรให้จิตสงบไม่คิดมาก ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายได้รับผลกรรมที่ก่อกับเราไว้

    วิสัชนา
    1. สอนให้เค้าเห็นว่า พระพุทธศาสนา มีอยู่ในชีวิตเค้าตั้งแต่เกิดยันตาย เช่น ชี้ให้เค้าเห็นว่า การที่น้องหนูรักพ่อรักแม่ ทำตามที่พ่อแม่อบรมสั่งสอน นี่ก็เป็นพุทธศาสนา ข้อว่า กตัญญู คือรู้บุญคุณท่าน พร้อมกับทำตามให้ท่านสบายใจ จัดว่าเป็นการตอบแทนพระคุณ เรียกว่า กตเวทิตา ชี้ให้เขาเห็นว่าการที่น้องหนูขยันหมั่นเพียร ศึกษาเล่าเรียนก็จัดว่าเป็นพุทธศาสนาข้อที่ว่า วิริยะ คือความเพียร น้องหนูอดทนอดกลั้นต่อความยากลำบาก ต่อความไม่พอใจ อดทนอดกลั้นต่อความยั่วยวนได้ โดยไม่ตกเป็นทาสของสิ่งนั้นๆ นั่นก็แสดงว่า น้องหนูมีขันติ ความอดทน

    เหล่านี้เป็นวิธีสอนพุทธศาสนาทั้งนั้นแหละคุณ ขึ้นอยู่กับว่าคุณผู้สอนจะมองเห็นพุทธศาสนาหรือไม่เท่านั้นแหละ

    2. ฉันคิดว่า คนที่ลงมือทำชั่ว เขาก็ทำด้วยความยากลำบากอยู่แล้ว เมื่อลงมือทำก็ยิ่งไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ซึ่งเขาก็ต้องได้รับไม่มากก็น้อย ก่อนทำก็คิดหนักวางแผนมาก ขณะทำก็ทำด้วยความยากลำบาก กลัวผู้อื่นจะเห็น ครั้นทำแล้วก็ไม่สบายใจ เผลอๆ เป็นโทษทางกายอีกต่างหาก คุณไม่ต้องไปสาปแช่งเขาหรอก ไม่งั้นเดี๋ยวคุณจะชั่วเสียเอง

    3. การทำจิตให้สงบ อันดับแรกต้องดูว่า ไม่สงบเพราะอะไร ถ้าไม่สงบเพราะความผูกโกรธ ก็ต้องเจริญเมตตาด้วยการท่องในใจทุกครั้งที่นึกได้ว่า "ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข" ถ้าไม่สงบเพราะความฟุ้งซ่าน ก็เจริญสติระลึกรู้ลมหายใจว่า เข้าอย่างไร ออกอย่างไร

    ปุจฉา
    เดินรอบโบสถ์ เวียนขวา หรือซ้าย
    กราบหลวงปู่ที่เคารพ

    1. จริงหรือไม่ที่ว่าการทำบุญใส่บาตรในวันพระ แล้วกรวดน้ำแผ่บุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรนั้น เขาจะรับไม่ได้

    2. การเดินเวียนรอบเจดีย์ ต้นโพธ์ หรือ อุโบสถ ที่ถูกต้องควรวนขวา หรือวนซ้าย และจริงๆแล้ว ถ้าเจตนาเราบริสุทธิ์ ซ้าย หรือ ขวา ก็ไม่สำคัญ ใช่หรือไม่ เราควรเอาเจตนามาเป็นเครื่องวัดเมื่อต้องกระทำการ หรือตัดสินใจ ในกรณีที่เราไม่ทราบขนบธรรมเนียมจะได้หรือไม่ กราบด้วยความเคารพอย่างสูง

    วิสัชนา
    1. ไม่ทราบว่าคุณไปฟังที่ไหนมา แสดงว่าคนที่บอกคุณ เขาคงจะเคยตายแล้วฟื้นจึงสามารถบอกคุณได้ แต่ความเห็นของฉัน ถ้าคุณคิดจะให้ด้วยใจ ให้แล้วสบายใจ ไม่มีผลเสียใดๆ ต่อตนเองและคนอื่น ก็ให้ไปเถิด

    2. เวียนทางขวาจ้ะ การเวียนขวาหรือที่เขาเรียกว่า ประทักษิณ นั้น มีมาตั้ง 2,000 กว่าปีแล้ว ใช้ก็ไม่เห็นเสียหายอะไร คุณก็ทำตามๆ เขาไปเถิด อย่าไปคิดอะไรแผลงๆ หลุดโลกเลย ประเดี๋ยวชาวบ้านเค้าจะหาว่าคุณเป็นตัวประหลาด
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : การปรารถนาพุทธภูมิกับสาวกภูมิ มีหลักปฏิบัติต่างกันอย่างไร <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">1 กรกฎาคม 2546 18:42 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    การปรารถนาพุทธภูมิ และ สาวกภูมิ มีหลักปฏิบัติอย่างไร

    วิสัชนา
    ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องมีการสะสมบารมีทั้ง 10 เต็มครบสมบูรณ์ต้องมีจิตเปี่ยมล้นด้วยเมตตา ต้องมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มีเนกขัมมะ การออกบวช มีวิริยะ ความพยายามตั้งใจจริง มีสัจจะ ตั้งจิตอธิษฐาน ประกอบด้วยขันติ มีความอดทน พร้อมด้วยปัญญา และ อุเบกขา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สามารถปฏิบัติให้เข้าถึงพุทธภูมิได้

    ในการปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติทีละอย่าง ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป หรือไม่ก็ปฏิบัติทีละหลายๆ อย่าง ในการปฏิบัติแต่ละครั้ง ก็ตั้งความปรารถนาไว้ ขอผลบุญนี้จงสำเร็จแก่เรา ขอเราจงเข้าสู่พุทธภูมิ ขอพระโพธิญาณจงมีแก่เรา ขอเราจงสำเร็จซึ่งพระโพธิญาณในอนาคตกาลต่อไป

    ข้อสำคัญของ พระโพธิสัตว์ ต้องมีจิตเมตตา มีความมุ่งมั่นอยู่เสมอ และ มีความปรารถนาดีต่อสัตว์ทั้งหลายในโลก นี่เป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์

    ในการบำเพ็ญเพียรต้องใช้เวลาหลายอสงไขยกัป เช่น พระมหากัจจายนะ เดิมทีท่านปรารถนาพุทธภูมิทุกชาติ แต่ละชาติมีชีวิตความเป็นอยู่ต่างกัน บางชาติก็เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน บางชาติก็เป็นมนุษย์ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร ท่านก็ทำความเพียรเวียนไปเพื่อจะเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ถึงชาติสุดท้าย พอได้ยินได้ฟังจากปากคำพระศาสดาว่า การจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องสะสมบารมีถึง สึ่หมื่นอสงไขย กับแสนมหากัป พระมหากัจจายนะร้องโอ้โฮ นี่ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญมาถึงขนาดนี้ยังไม่พออีกหรือ ซึ่งความจริงบารมีของพระมหากัจจยนะเต็มเปี่ยมแล้ว ฝ่าเท้าท่านมีกงจักรเต็มไปหมด มีรูปกายสวยงามเหมือนกับพระพุทธเจ้า และ มีลักษณะอาการคล้ายพระพุทธเจ้า จนทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด ยามท่านเดินไปไหน คนจะคิดว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะมีรัศมีเหมือนกัน

    สุดท้ายท่านเห็นว่า การจะเป็นพระพุทธเจ้านี่ ต้องรออีกไกล ถ้าสมัยนี้ ปัจจุบันนี้ เราเป็นสาวกภูมิก็ทำได้ไม่ยาก แล้วก็สามารถสำเร็จได้ในชาติปัจจุบันนี้ด้วย ก็เลยทำการกราบลาพระโพธิญาณ ลาพุทธภูมิ แล้วอธิษฐานตัวเองให้มีร่างกายอ้วนเตี้ย เพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดว่าเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็สำเร็จเป็นองค์อรหันตเจ้า เปลี่ยนเป็นสาวกภูมิในชาตินั้น

    ในการบบำเพ็ญเพียรเพื่อ พุทธภูมิ นั้น จะต้องมีการตั้งจิตปรารถนาเปล่งวาจาให้สัจจะอธิษฐานเฉพาะองค์สมเด็จพระศาสดา ตั้งจิตปรารถนาเปล่งวาจาทุกครั้งที่มีการทำบุญ ทำความดี

    การจะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะพระพุทธเจ้าเป็นแล้วยิ่งใหญ่ เป็นแล้วมีอำนาจบริสุทธิ์ สามารถนำสัตว์ทั้งหลายในโลกให้พ้นทุกข๋ได้

    เพราะการเป็นพระพุทธเจ้า ก็เหมือนกับ การสร้างเรือขนาดใหญ่สำหรับขนสัตว์ทั้งหลาย ให้พ้นจากโอฆะสงสาร ข้ามจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง เรือลำนี้จึงต้องใช้เวลาสร้างอย่างพิถีพิถันประณีต เพื่อไม่ให้ล่มไม่ให้รั่วกลางทาง จะได้ไม่เป็นเหยื่ออาหารของสัตว์ทะเลในขณะที่ขับเรือ หรือ นำเรือล่อง เพื่อขนสัตว์ไปถีงฝั่งอมฤตนิพพาน การสร้างเรือจึงต้องใช้เวลานาน ต้องใช้ปัญญา ใช้อุปกรณ์ ใช้สิ่งของต่างๆ มากมายมหาศาล การปฏิบัติจึงต้องใช้ความเพียรอย่างสูง

    ส่วนการเป็นสาวกภูมิ อย่างน้อยๆ ต้องมีศีลบริสุทธิ์ ในการปฏิบัติครั้งใด ทำความดีครั้งใด ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ ให้ทาน บริจาคสิ่งของ วัสดุ อุปกรณ์ ทรัพย์สมบัติ หรือ การทำศีลให้มีในตัว จงทำความรู้สึกแห่งอารมณ์ใจว่า เราปรารถนาเพื่อเป็นสาวกของพระศาสดา จะปฏิบัติตามคุณธรรมที่องค์สมเด็จพระศาสดาท่านสอนไว้ทุกอย่างทุกประการ ครบถ้วน ความสำเร็จจะเริ่มเกิดขี้นตั้งแต่ปรารถนาสาวกภูมิไป จนกระทั่งความดีเต็มเปี่ยมแล้ว เพราะการตั้งจิตเพื่อจะ หวังดี เป็นความสมบูรณ์และถูกต้อง เปรียบเหมือนน้ำหยดลงตุ่ม การตั้งจิตบ่อยๆ นั้น ก็คือ การหยดน้ำลงตุ่มบ่อยๆ หยดเรื่อยๆ หยดนานๆ และหยดทุกครั้ง สุดท้ายก็เต็มตุ่ม เราก็สามารถใช้น้ำในตุ่ม ทำประโยชน์ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การทำบุญ ก็เช่นกัน

    การตั้งความปรารถนา เป็นแรงดลบันดาล เป็นผลส่งให้กระแสของจิตมีกำลังมีอำนาจ และมีความสามารถที่จะทำให้สำเร็จสัมฤทธิ์ผลได้ เป็นเสมือนตราที่สักหรือตีไว้ให้รู้ว่า คนๆ นี้แหละ คือ ผู้ปรารถนาสิ่งใด ปรารถนาพุทธภูมิ หรือ สาวกภูมิ

    หากผู้ใดปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ก็จะมีอาการโดดเด่นเป็นสง่า มีความเป็นอยู่อย่างอิสระ ต่างจากคนเหล่าอื่นๆ และในบรรดาภูมิต่างๆ ภูมิที่มีอาการมีเกียรติยศ ภูมิที่เป็นใหญ่มีความประเสริฐสุด มีความโดดเด่นเป็นสง่าราศีมากที่สุด ก็คือ ภูมิแห่งพระโพธิสัตว์
     

แชร์หน้านี้

Loading...