มองปัญหาด้วยปัญญา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : โดนทำคุณไสย <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">21 มกราคม 2547 21:55 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    โดนทำคุณไสย
    กราบเรียนหลวงปู่ที่เคารพอย่างสูง ลูกมีคำถามที่จะกราบเรียนถามว่า ลูกและครอบครัวของลูกถูกคนเขากระทำคุณไสยใส่ เป็นเวลา3 ปีกว่าแล้ว ครอบครัวอยู่ด้วยกันไม่เป็นสุขเลย เมื่อเดือน เมษายน 2546 ที่ผ่านมาลูกให้หมอคนหนึ่งถอดให้ ปรากฏว่า มีเข็มเย็บผ้า และเส้นผมออกมา 3 เข็มกับ1เส้นผม มันสร้างความเจ็บปวดแก่ลูกมาก บางคืนนอนไม่ได้เลย อยากกราบเรียนถามว่า เป็นเพราะวิบากอะไร และจะมีวิธีอย่างไรที่จะแก้ให้ได้อย่างเด็ดขาด และไม่ถูกเขาทำได้อีก หลวงปู่มีวัตถุมงคลที่จะป้องกันคุณไสยได้ไหมครับ ถ้ามีจะขอบูชาได้ที่ไหนครับ สุดท้ายขอกราบขอบพระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นอย่างสูงยิ่ง

    วิสัชนา
    อย่าคิดวิตกกังวลให้มากไปเลยคุณ พยายามทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย มีโอกาสก็ใส่บาตรทำบุญ รักษาศีล ปฏิบัติธรรมบ้าง สิ่งสำคัญสุขและทุกข์มันเกิดจากใจคุณ ถ้ารู้จักวิธีคิดก็เป็นสุข ไม่รู้จักคิดก็เป็นทุกข์ เชื่อกรรม พยายามทำแต่กุศลกรรม แล้วคุณจะมีแต่ความผ่อนคลายเป็นสุข เหล่านี้คือเครื่องป้องกันภัยให้คุณ ทั้งหลับและตื่น

    ปุจฉา
    ทุกข์ร้อนของแม่?
    ดิฉันมีเรื่องทุกข์ร้อนของแม่ค่ะ เพราะว่าท่านจะเป็นคนที่ใจร้อนมาก ห่วงทรัพย์สินและไม่เคยไว้วางใจใคร ตอนนี้อายุประมาณ 80 ปี ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ชอบดุด่าและสาปแช่ง จึงทำให้ชีวิตในตอนนี้มีแต่ความรุ่มร้อน ไม่ว่าใครก็จะไม่ยอมรับฟังเลย โดยเฉพาะกับลูกๆ อยากจะขอความเมตตาจากหลวงปู่ว่าจะทำอย่างไร ที่จะให้ท่านสงบลงและปล่อยวางได้บ้าง จิตใจจะได้ผ่องใสและมีความสงบสุขบ้างค่ะ

    วิสัชนา
    80 แล้วนะคุณ ทำเขารู้สึกตัวได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีต่อตัวเขาเอง คงต้องอาศัยลูกหลาน คนใกล้ชิด ปลอบประโลมจิตใจ ท่านให้สงบเยือกเย็นลง คนแก่นะ ชอบให้ลูกหลานเอาใจใส่ ดูแล อยู่ใกล้คอยรับใช้พูดคุยด้วย อยู่ที่ลูกหลานจะช่วยท่านจริงๆหรือเปล่า

    ปุจฉา
    ขอ วิธีกำจัดหนู
    มีหนูอยู่บนฝ้าเพดานบ้านจะกำจัดอย่างไรดีคะ มันชอบวิ่งเล่นไปมาทั่วบ้านเลย ส่งเสียงรบกวนมาก ช่วยหาวิธีแก้ไขให้หน่อยค่ะ

    วิสัชนา
    ฉันเป็นนักบวชนะคุณ มิใช่บริษัทกำจัดหนู โปรดกรุณาใช้นักบวชให้ถูกต้องตามหน้าที่หน่อย

    ปุจฉา
    บาป จากการทำแท้ง
    คนรักของผมเคยทำแท้งมาก่อนตอนที่เธออยู่กับแฟนเก่า เธอรู้สึกผิดและหลอกหลอนมาตลอดเวลา ตอนนี้เธอมีลูกแล้ว แต่ความรู้สึกนั้นยังติดตัวอยู่

    1.ผมอยากทราบถึงบาปจากการทำแท้งครับ
    2.มีวิธีอะไรที่จะช่วยเธอได้บ้างครับ

    วิสัชนา
    1.ตายแล้วไปตกนรก แม้ที่สุดเมื่อหมดกรรมหนัก ก็ไปเกิดเป็นเปรตก้อนเนื้อ กลิ้งไปตามหินและหนามแหลมคม

    2.ทำบุญรักษาศีล เจริญภาวนา แผ่เมตตา โดยให้เธอสมัครใจตั้งใจทำด้วยตัวเอง

    ปุจฉา
    เรื่อง ของฌาน 4 กับญาณ 16
    กระผมขอเรียนถามว่า ฌาน 4 กับ ญาณ 16 นั้นแตกต่างกัน หรือ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ขอบพระคุณขอรับ

    วิสัชนา
    คุณถามเหมือนจะได้ญาณกับเขาแล้ว ฌาน 4 ได้แก่

    ปฐมฌาน มีลักษณะ 5 อย่างคือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา

    ทุติยฌาน มีลักษณะ 3 อย่างคือ ปีติ สุข เอกัคตา

    ตติยฌาน มีลักษณะ 2 อย่างคือ สุข กับ เอกัคตา

    จตุตฌาน มีลักษณะ 2 อย่างคือ อุเบกขา กับ เอกัคตา

    ญาณ 16 ได้แก่วิปัสสนาญาณ 16 ขั้นจนถึงนิพพาน

    1.ญาณกำหนดรูปนามรูป เรียกว่า นามรูปปริเฉทญาณ

    2.ญาณกำหนดเหตุปัจจัยของนามรูป

    3.ญาณพิจารณานามรูปด้วยหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    4.ญาณหยั่งรู้ความเกิดดับแห่งนามรูป

    5.ญาณหยั่งเห็นชัดความดับ

    6.ญาณมองเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว

    7.ญาณเห็นโทษของสังขาร

    8.ญาณเห็นความเบื่อหน่าย

    9.ญาณเห็นความปรารถนาพ้นทุกข์

    10.ญาณพิจารณาทบทวนหาทางพ้นทุกข์

    11.ญาณวางเฉยต่อสังขารทั้งปวง

    12.ญาณทำความเห็นให้สอดคล้องกับหลักอริยสัจ

    13.ญาณทำให้พ้นภาวะปุถุชน

    14.ญาณรู้แจ้งในอริยมรรค

    15.ญาณรู้แจ้งในอริยผล

    16.ญาณใคร่ครวญทบทวนรู้ชัดตามขั้นตอน
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : อะไรทำให้คนจิตเสื่อมและเทคนิคการควบคุมจิต ชำระใจ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">14 มกราคม 2547 19:35 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    อะไรทำให้คนจิตเสื่อม
    ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้เป็นเพราะคนมีจิตใจเสื่อมทรามลงใช่หรือ ไม่ ถ้าใช่อะไรทำให้จิตใจคนเสื่อมทราม เราจะทำอย่างไรเพื่อให้สังคมน่าอยู่ขึ้นขอรับ

    วิสัชนา
    เพราะใจคนปัจจุบันขาดศีลธรรมขัดล้างชำระใจ ใจซึ่งมี รัก โลภ โกรธ หลง คอยเข้าครอบงำประจำอยู่แล้ว จึงสกปรกเป็นมลภาวะกาย ชีวิต ทำพูดคิด ก็มากไปด้วยอารมณ์ดังกล่าว

    วิธีแก้ ให้ความสนใจ ใส่ใจศึกษา ฝึกหัด ปฏิบัติในศีลธรรมเพื่อนำมาชำระล้างจิตใจ

    ปุจฉา
    ขอ เทคนิคควบคุมจิต
    กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพรักอย่างสูงสุด ตามที่ทราบแล้วว่าเรื่องของจิต เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด และควรจะดูแลระวังรักษาจิตของตนให้คิดแต่สิ่งดี ๆ จึงขอกราบเรียนถามหลวงปู่ว่า

    1. มีเทคนิควิธีการอย่างไรที่จะควบคุมจิตไม่ให้รับเอาอารมณ์ต่างๆ เข้ามา หรือทำอย่างไรจึงจะไม่ให้เกิดการปรุงของจิต เพราะเมื่อสังเกตจิตของตนแล้วจะควบคุมไม่ทัน มีการแสดงออกบอกว่าชอบ หรือไม่ชอบทันที ทำอย่างไรจิตจึงจะมีอาการเพียงรับรู้ รับทราบเฉยๆ ตามที่หลวงปู่เคยสอนไว้

    2. อาการของจิตที่ปล่อยวาง จิตที่ตั้งมั่น และจิตที่หลุดพ้น มีความเหมือนหรือแตกต่างกันในส่วนใดบ้าง และต้องเป็นไปตามขั้นตอนอย่างไรจิตจึงจะหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

    3. ความดับของจิตมีลักษณะอย่างไร ถ้ายังไม่ถึงขั้นบรรลุอรหันต์สามารถมีความดับของจิตได้หรือไม่

    ขอกราบขอบพระคุณหลวงปู่มา ณ ที่นี้ และด้วยดวงจิตของข้าพเจ้า มีความปรารถนาให้หลวงปู่มีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง มีอำนาจ มีตบะ และมีชัยชนะต่อสิ่งทั้งปวง เป็นผู้นำทางวิญญาณให้แก่ลูกหลานตลอดไปนานๆ ค่ะ

    วิสัชนา
    1.มีสติ ฝึกสติ เจริญสติ แล้วสติจะช่วยคุณได้

    2.จิตที่ปล่อยวาง คือจิตรู้ทันตามความเป็นจริงแล้วไม่ตกเป็นทาส

    3.จิตที่ตั้งมั่น คือ จิตที่ไม่โยกโคนสั่นคลอนไปตามอารมณ์ปรุงทั้งปวง

    4.จิตหลุดพ้นคือจิตที่ปราศจากกิเลสและปราศจากทุกข์ทั้งปวง

    5.ต้องตั้งมั่นก่อน แล้วจึงปล่อยวาง จนหลุดพ้น

    6.จิตทุกดวงมีลักษณะเกิดแล้วดับอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่บรรลุพระอรหันต์มีจิตเกิดดับ แต่ไม่ปรุงเป็นอารมณ์

    ปุจฉา
    การรับรู้
    กราบนมัสการครับ
    1.อาการรับรู้ที่ปรากฏทางใจบางครั้งจริงบ้าง บางครั้งไม่จริงบ้าง เรียกว่าอะไรครับ

    2. การรู้ที่แท้จริง คือการรู้ตามความเป็นจริงกับสิ่งที่มากระทบ โดยมิต้องกำหนดจิต เป็นเช่นนั้นหรือไม่ครับ

    3. การรับรู้เรื่องภายนอกได้อย่างถูกต้อง แสดงว่าต้องมีพื้นฐานมาจากศีลที่ดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับรู้จักตนเองมากขึ้นใช่หรือไม่ครับ

    วิสัชนา
    1.เรียกว่า เจตสิก เครื่องปรุงจิต เรียกมายาขจิต เครื่องล่อหลอกจิต

    2.การรับรู้ที่แท้จริงคือการรับรู้เจตสิก เครื่องปรุงจิต และการรับรู้ความเป็นไปแห่งกาย

    3.ที่คุณว่ามามันก็ถูก แต่ที่ถูกที่สุดคือการได้พัฒนาตัวรู้ให้พร้อมรับรู้ นั่นก็คือสติสัมปชัญญะนั่นเอง

    ปุจฉา
    นั่งสมาธิแล้ว หลังค่อม
    หลวงปู่ครับ ผมเพิ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิ ได้พบปัญหาเกี่ยวกับการนั่งครับ คือว่าผมได้ขยับนั่งให้รู้สึกกระดูกสันหลังตั้งตรงแล้ว แต่พอผ่อนคลายลงมันก็กลายเป็นหลังค่อมหน่อยๆ ครับ คือถ้าทำให้กระดูกสันหลังตั้งตรง มันต้องเกร็งส่วนขาและหลังเอาไว้น่ะครับ พอเกร็งไว้ก็กลายเป็นไม่ผ่อนคลายอีก เลยไม่รู้จะทำอย่างไรครับหลวงปู่ ช่วยชี้แนะด้วยครับ

    วิสัชนา
    แรกๆคุณลองนอนกับพื้นราบๆยกขาพาดไว้กับเก้าอี้หรือเตียงนอนแล้วเจริญสติ ต่อมาก็ลองหัดนั่งหลังตรงๆ ทำสลับกันเช่นนี้ ทุกครั้งที่คุณรู้สึกเกร็งหลังและขา และที่คุณว่าพอนั่งๆแล้วอยู่ดีๆหลังกลับโค้งลงอีก แสดงว่าคุณขาดสติปล่อยตัวตามความเคยชิน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : การรวมจิตกับปราณชำระไขกระดูก <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">7 มกราคม 2547 22:27 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    การชำระไขกระดูก
    กราบนมัสการหลวงปู่ครับ ผมได้ฝึกหัดดูลมหายใจของหลวงปู่โดยสูดลมหายใจแล้วอัดไว้ให้เต็มอกจนกระทั่ง ทั่วอก แล้วผ่อนออกมา ทำมา 5 เดือน จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งทำเช่นเดิมไปจน 15 นาที เกิดลมออกแล้วไม่ต้องเอาเข้าก็แปลกใจทำไมป็นเช่นนั้น แต่ก็ปล่อยตามเรื่อง และตามดูต่อไป วันถัดไปก็มีความหวั่นว่าลมออกจนแฟบ จะแฟบเหมือนตราตายางมั๊ย ไม่ต้องหายใจเข้า แต่มีลมออกตลอด ตามดูมีความรู้สึกว่า สิ่งที่ออกมาเป็นลมที่เก็บกดอยู่ภายใน จากความเครียดเรื่องต่างๆ รู้สึกเป็นลมปราณอีกชั้นหนึ่ง ที่จะต้องขับออกให้หมดไป ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งรู้สึกว่าสิ่งที่คั่งค้างหมดไป ทั้งลมที่คั่งค้างตามส่วนต่างๆ และเสมหะก้อนโตๆ

    ประมาณหนึ่งอาทิตย์ เริ่มจับความรู้สึกว่าลมที่เข้าทางปกตินั้น ได้เข้าทางรูขุมขนบนศรีษะด้วย เพราะรู้สึกว่าเส้นผมขยับเขยื้อนในขณะลมค่อยๆ เข้าอย่างช้าๆ ลมที่เข้าตามรูขุมขน จะช้ามากกว่าลมหายใจเข้าตามปกติแต่ไม่อึดอัด กลับรู้สึกอิ่มแน่นสบาย มีพละกำลังอยู่ที่หน้าอกเต็มเปี่ยม แต่นุ่มนวลเหมือนพร้อมจะทำอะไรก็ได้

    จากนั้น ทำมาตลอด 9 เดือนจึงได้ไปบวชช่วง 73 พรรษากับทางวัดถวายเป็นพระราชกุศล เสร็จแล้วกลับมาทำต่อที่บ้าน พร้อมกับสวดมนต์ เช้า-เย็น และรู้สึกลมหายใจที่ออกมากับการสวดมนต์นี้จะโล่งโปร่งในหน้าอก โดยเฉพาะช่วงสวดบทสทัสสนัย ก็ทำมาเรื่อย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ใช้วิธีที่ไม่ต้องสูตลมหายใจเข้านี้ (ลมเข้าทางส่วนอื่นคือศีรษะ รักแร้ รูทวาร หรือหน้าอก) เป็นวิธีปรับภายในให้สะอาดแล้วลองเอาจิตไปตั้งอยู่ที่กลางสมอง รู้สึกเหมือนอิสระ และรู้สึกแนบแน่นกว่าสมัยก่อนที่ไม่เคยฝึกลมหายใจของหลวงปู่

    กราบขอคำแนะนำในวิธีปฏิบัต ิเพราะรู้สึกว่าการทำฐานที่ 1 นี้ ยังไม่ถึงที่สุดอยากจะปฏิบัติให้ก้าวหน้า และถูกต้อง

    อยากถามว่า มีอะไรที่ต้องแก้ไข หรือเพิ่มเติม ขอหลวงปู่โปรดเมตตาชี้แนะด้วยครับ

    วิสัชนา
    ดีใจด้วยที่คุณมีความสำเร็จในการรวมจิตกับปราณเข้าด้วยกันอาการที่คุณเป็น เขาเรียกตามภาษาผู้ฝึกปราณว่า ชำระไขกระดูกเป็นสภาวะการขับไล่ สิ่งที่เป็นมลภาวะภายใน

    ส่วนที่คุณถามฉันว่า จะทำอย่างไรต่อไป จนถึงขั้นเข้าสู่ฐานที่ 1 ของวิชาลมเจ็ดฐาน ฉันเคยบอกกับคุณแล้วว่า ฉันมิใช่คนชอบสอน แต่เป็นคนชอบทำ โดยเฉพาะวิชาลมเจ็ดฐาน คนอยู่กับฉันมา 20 ปี ฉันยังไม่สอนเลย มีแต่ว่าคอยจับใจ
    ความ เอาตามโอกาสต่างๆ ที่ฉันพูดออกมาแล้วแต่โอกาส

    แต่ไม่ให้เสียน้ำใจ ฉันบอกใบ้ให้บ้างก็ได้ว่า ขอให้คุณพยายามรวบรวมใจและปราณให้เป็นหนึ่ง และดำรงสมดุลย์ของสองสิ่งให้กลายเป็นหนึ่งสิ่ง โดยที่คุณรู้สึกได้ว่า มันไม่แตกต่างกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน แล้วคุณจะมีคำตอบด้วยคุณเอง ขอให้สำเร็จ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : วิธีเจริญสติเมื่อเกิดนิมิต <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">24 ธันวาคม 2546 18:49 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    การเจริญสติเมื่อเกิดนิมิต
    ดิฉันได้ฝึกหัดการเจริญสติให้เป็นสมาธิ โดยใช้เทคนิคการหายใจ แบบที่องค์หลวงปู่ฯ ท่านทรงแนะนำลูกหลานอยู่เป็นประจำ

    ขณะที่จิตกำลังสงบ โดยได้ติดตามรับรู้กองลมที่เข้าและออก อยู่ๆ ก็สังเกตุเห็นลมหายใจเข้ามาในตัวเอง ซึ่งปกติจะแค่รับรู้เฉยๆ แต่นี่เหมือนเห็นลมวิ่งเข้ามาในตัว

    และขณะที่เห็นลมหายใจออก ก็ปรากฏหัวของตัวเองตามออกมาด้วย และหันมาประจันหน้ากันชัดเจนมาก (เหมือนเห็นคนมานั่งอยู่หน้าเราทั้งๆ ที่กำลังหลับตาอยู่)

    ดิฉันก็พิจารณาไปเรื่อยๆ ว่า ถ้าเราไม่หายใจเข้า หรือออกจะเป็นอย่างไร รูปหน้าของดิฉันก็เริ่มอืดอัดเหมือนหายใจไม่ออก ในใจก็นึกว่า ถ้าไม่หายใจก็คงจะตาย ทันใดนั้น ใบหน้านั้นก็เริ่มชิด ขาว และเหมือนกับว่าตายแล้ว ใจก็คิดว่าคนตายเป็นอย่างนี้เอง ก็คิดต่อไปอีกว่า แล้วที่ตายหลายวัน ศพจะขึ้นอึดอย่างไร ก็ปรากฏให้เห็น ดิฉันนั่งดู นั่งพิจารณา พอรู้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ภาพต่างๆ ก็ปรากฏให้เป็นสภาพของสังขารที่เน่าเปื่อย ผุพัง ไปเรื่อยๆ จนถึงกระโหลก และค่อยๆ ยุ่ยสลายเป็นผง ลมพัดมาหายไปจนสิ้น ไม่ปรากฏชิ้นส่วนใดๆ เหลืออยู่เลย (นี่คงจะเรียกว่า อนัตตา มั้งค่ะ)

    หลายครั้งต่อมาในขณะที่จะเข้านอนก็พยายามกำหนดลมหายใจ ก็ปรากฏอาการขนลุก ขนพอง น้ำตาไหล หรือ อาการตัวพองโตเหมือนระเบิด และรู้สึกว่าผิวหนังหายใจได้ เพราะลมออกทุกรูขุมขนเลย

    ต่อมาดิฉัน ก็พยายามฝึกเจริญสติ อยู่เนื่องๆ เท่าที่เวลาและโอกาสจะอำนวย แต่ก็มีแต่อารมณ์ฟุ้งตลอดเวลาจิตไม่ค่อยรวมเป็นสมาธิเหมือนเดิมเลยคะ จนถึงปัจจุบันนี้คะ

    ดิฉัน ขอกราบเรียนปุจฉาหลวงปู่ฯ ว่า ทำไมถึงมีนิมิตแบบนั้นมาปรากฏให้เห็น ทำอย่างไจะสามารถฝึกการเจริญสติให้ดียิ่งๆ ขึ้นได้ต่อไป

    ขอความเมตตาให้ความสว่างแก่ลูกหลาน เพื่อจะค้นพบทางที่จะได้หลุดพ้นจากวัฐฏะสงสารด้วยเจ้าค่ะ กราบแทบพระบาทองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ มา ณ โอกาสนี้ด้วยเจ้าคะ

    วิสัชนา
    "ขณะที่คุณเจริญอานาปานสติ พิจารณาลมหายใจเข้าออก แล้วเกิดนิมิตเห็นตัวเองขึ้นอีกร่างหนึ่ง ที่จริงน่าจะเป็นเรื่องไม่ดี เพราะถ้าคุณไปติดในนิมิตที่เห็นนั้น ก็ทำให้คุณทิ้งลมหายใจ แล้วไปใส่ใจนิมิต สุดท้ายทั้งลมหายใจและนิมิตก็จับไม่ได้

    เหมือนนิทานอีสป เรื่องหมากับเงา หมาคาบเนื้อมาที่สะพาน แล้วมองเห็นเงาเนื้อในน้ำว่า โตกว่าเนื้อที่ตนคาบมา เลยปล่อยเนื้อที่คาบ กระโจนลงไปคาบเนื้อในน้ำ สุดท้ายทั้งเนื้อแท้เนื้อเงาก็ไม่ได้ หมาเลยเศร้าไปตามระเบียบ

    แต่คุณรู้จักใช้วิกฤตมาเป็นโอกาส ยังมีสติปัญญาพิจารณานิมิตที่เห็นจนเป็นวิปัสสนา ปรากฏเป็นอุบาย ทำให้เกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงของร่างกาย

    ถ้าพิจารณาต่อไปไม่เลิก ฉันก็คงจะได้พบพระอริยแล้ว แต่น่าเสียดาย ปัญญาบารมียังไม่เข้มแข็ง แถมยังขาดขันติ วิริยะ สัจจะ อธิษฐาน เลยทำให้คุณพลาดโอกาสที่ประสบกับประสบการณ์ทางวิญญาณที่เยี่ยมยอดไป แต่ก็นับว่าคุณมีบารมีเก่าติดมาไม่น้อยเหมือนกัน

    ขอให้เพียรพยายามสั่งสมอบรมในการปฏิบัติธรรมต่อไป แล้วชัยชนะจักมีแก่คุณในที่สุด

    ส่วนที่คุณถามว่า พยายามฝึกสติ กำหนดลมหายใจจนเกิดนิมิต เกิดปิติ น้ำตาไหล ตัวพองขนลุก มีความรู้สึกเป็นสุข แล้วลมหายใจมันหายไป ที่จริงลมหายใจมิได้หาย แต่ที่หายคือสติของคุณต่างหาก เพราะคุณมัวแต่ไปติดนิมิต ติดปิติ และอาการเครื่องปรุงจิต ซึ่งถือว่าเป็นมายาขจิต เหมือนดังสุนัขที่ติดเงาเนื้อ (ต้องขออภัยฉันมิได้ว่าคุณนะ แต่ยกตัวอย่างเพื่อให้คุณเห็นภาพให้ชัด) เลยทิ้งเนื้อจริงที่คาบมา

    วิธีก็คือ ไม่ว่าอะไรจักเกิดขึ้น ในขณะที่คุณกำลังเจริญสติ พิจารณาลมหายใจ ก็อย่าไปใส่ใจ อย่าไปสนใจ คุณมีหน้าที่พิจารณาลมหายใจอย่างเดียว จนกว่าสติคุณจักตั้งมั่น จนบังเกิดสมาธิคือ ความสงบ

    และถ้าพบนิมิต ก็ให้คุณใช้สติและความสงบที่มี พิจารณาถึงอาการของนิมิตที่ตั้งอยู่ และความดับไปของนิมิตนั้น (เหมือนดังที่คุณเคยทำมา) พร้อมกับพิจารณาน้อมอาการเหล่านั้นให้เข้ามาหาตัวคุณเอง จนเห็นตามความเป็นจริงถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของร่างกาย ทั้งภายในและภายนอก คุณจะมีจิตบังเกิดความเบื่อหน่ายต่อเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ผ่อนคลายความกำหนัดยินดีในตัณหาอุปาทานทั้งหลาย ถึงวิมุติความหลุดพ้นในที่สุด

    ฉันจะไม่อธิบายละเอียด ขอให้คุณทำด้วยตัวคุณเอง แล้วคุณจะรู้อาการของจิต พร้อมสิ่งที่เกิดกับจิต ด้วยตัวคุณเอง เพราะหากอธิบายไปมากๆ เดี๋ยวจักกลายเป็นขยะสะสมเพิ่มขึ้นในจิตของคุณอีก

    เอาเป็นว่า รู้จริง ไม่ต้องจำ ทำได้มีประโยชน์ รู้ไม่จริง ถึงจำ ทำไม่ได้ มีแต่โทษ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : สติตามควบคุมจิต <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">17 ธันวาคม 2546 22:58 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    สติตามควบคุมจิต
    หลวงปู่สอนไว้ว่าให้ใช้สติควบคุมจิต เหมือนประตูหน้าต่าง แสดงว่า อารมณ์ต่างๆ เช่น โทสะ โมหะ จะต้องเกิดขึ้นก่อน แล้วสติค่อยกำกับทีหลัง มีข้อยกเว้นสำหรับพระอรหันต์ที่ยังอยู่ในสังคมไม่ใช่อยู่ในป่า หรือไม่ คือ จิตจะไม่เกิด อารมณ์ต่างๆ ที่ไม่ดีเลย หรือว่า มีอารมณ์เหมือนกัน แต่สติตามได้ทันตลอดเวลา ขอความกรุณาช่วยขานไข

    วิสัชนา
    "ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนว่า โทสะนั้นมีอยู่เดิม แต่บุคคลผู้รับโทสะหามีไม่ โมหะนั้นมีอยู่เดิม แต่บุคคลผู้รับโมหะนั้นหามีไม่ ราคะนั้นมีอยู่เดิมแต่บุคคลผู้รับราคะนั้นมีอยู่ไม่

    เมื่อโทสะ โมหะ ราคะ มันมีอยู่เดิม แล้วเราไม่มี ก็คือ ตัวเราจริงๆ ไม่มี แต่ที่เราเข้าไปรับมัน ก็เพราะเราไปปรุงแต่งว่าตัวเรามี แล้วเรารับมันเข้ามาใช้ประโยชน์

    ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกเดิมก่อนที่คุณจะเกิด ที่นี้เมื่อมันมีอยู่เดิม คุณเกิดมาหน้าที่ของคุณก็คือเพียงแค่ระวังอย่าให้ไปเปื้อน อย่าให้ไปแปดเปื้อน อย่าให้มันมีอำนาจมาทำให้จิตวิญญาณของคุณให้ขุ่นมัวเท่านั้นเอง สติก็เป็นตัวกางกั้น สติทำหน้าที่ หรือมีหน้าที่ที่จะเปิดปิดประตูแห่งใจคุณ ว่า อะไรควรรับ อะไรไม่ควรรับ นี่เรียกว่า ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นทุนเดิมของโลกมีอยู่แล้ว

    ส่วนราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นทุนเดิมของกรรม หรือพิธีกรรม หรือจิตวิญญาณของคุณ ที่เป็นทุนเดิมเรียกว่า โลภะมูลจิต โทสะมูลจิต โมหะมูลจิต ก็คือ คุณเกิดมาจาก ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นมูลเดิมของจิตวิญญาณคุณที่สั่งสมอบรมมาแต่อดีตชาติ ที่เรียกว่าอนุสัย เมื่อสั่งสมอบรมมาแต่เก่าก่อนแล้ว หน้าที่ของคุณ เกิดเป็นคน ต้องชำระล้าง และตัดให้หลุด อย่าปล่อยให้มันมาฉุดเราอยู่

    รวมๆ ก็คือ ราคะ โทสะ โมหะ มีทั้งภายใน ก็คือจิตเดิมของคุณมีมาเก่า และมีทั้งภายนอก ก็คือมีอยู่ในโลกนี้แล้ว มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีประตูหน้าต่างเอาไว้สำหรับป้องกันพายุข้าง นอก แต่ไม้กวาด ผ้าขี้ริ้ว ผ้าเช็ดถู มีสำหรับไว้ป้องกันฝุ่นละอองภายใน ถ้าคุณมีสองสิ่งนี้ได้ ก็ถือว่า คุณมี สติ สมาธิ และปัญญา จะกำจัดสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ของจิตคุณ ทั้งภายในและภายนอกได้

    ส่วนคำถามที่ถามว่า พระอรหันต์เป็นผู้ที่เจริญซึ่งสติ สมาธิ และปัญญาแล้ว ก็คือ มีทั้งประตูหน้าต่าง และเครื่องกำจัดภายในที่สมบูรณ์ที่ไม่มีรูรั่ว ที่สามารถป้องกัน ราคะ โทสะ โมหะ หรือภัยพิบัติจากข้างนอกได้แล้ว แล้วก็มีเครื่องดูดฝุ่น มีทั้งผ้าเช็ดพื้น มีทั้งไม้กวาดอันสมบูรณ์ แล้วก็มีพนักงานที่พร้อมที่จะทำลายสิ่งที่เป็นภายใน ที่เรียกว่าฝุ่นละอองนั้น ให้หมดไปเรียบร้อยได้

    รวมๆ ก็คือ พระอรหันต์ไม่มีมลภาวะทั้งภายในแล้ว หมดแล้วส่วนมลภาวะภายนอกก็ไม่สามารถมีอำนาจเหนือท่านแล้ว

    แต่พระอรหันต์นี่ไม่สามารถที่จะไปทำลายโทสะ โมหะ ราคะ ของโลกได้ ก็บอกแล้วว่า มันมีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ถ้าจะทำลายก็ต้องวางระเบิดเวลาเผาผลาญโลก หรือไม่ก็ทำลายโลกไป ก็ไม่แน่ใจว่าโลกนี้มันระเบิดแล้วจะหมด ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่

    เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เป็นผู้หมดจากกิเลสทั้งภายในและไม่ปล่อยให้กิเลสภาย นอกมามีอำนาจเหนือท่าน

    ราคะ โทสะ โมหะ ข้างนอกมีอยู่ แต่ไม่ทำให้ท่านต้องเดือดร้อนเท่านั้นเอง จบ"
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : การสวดมนต์รักษาโรคได้อย่างไร <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">10 ธันวาคม 2546 18:44 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ทำบุญโดยใช้เงินคนอื่น
    กราบเรียนหลวงปู่ ลูกอยากเรียนถามหลวงปู่ว่า ถ้าเราทำบุญโดยใช้เงินของสามี โดยที่สามีไม่ทราบ สามีจะได้บุญด้วยหรือไม่ และถ้าลูกหลานให้เงินเราไว้ใช้ แล้วเราเอาเงินนั้นไปทำบุญ ลูกหลานจะได้รับบุญด้วยหรือไม่คะ ขอกราบขอบพระคุณหลวงปู่เจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    ถ้าเขามารู้ทีหลังแล้วพลอยยินดี บุญอันนั้นย่อมสำเร็จแก่เขา แต่ถ้าเขาไม่รู้และไม่ชอบ ถึงคุณจะช่วยทำให้เขา เขาก็คงจะไม่ได้ หรือถ้าได้คงจะน้อยมากๆ กรณีลูกหลานคำตอบก็เช่นเดียวกัน

    ปุจฉา
    ใช้มนต์บทไหนรักษาโรค
    การสวดมนต์ในพุทธศาสนาช่วยในการเยียวยาโรคได้อย่างไร ควรใช้บทไหนสวดบ้าง และควรปฏิบัติตัวก่อนและหลังสวดมนต์อย่างไร

    วิสัชนา
    ตามตำนาน มนต์ที่เจริญแล้วช่วยรักษาโรคได้ก็เห็นจะมีแต่บทโพชฌงคปริตร ที่ใช้รักษาพระพุทธเจ้า พระมหากัสสป พระโมคคัลลานะ ท่านทั้งสามที่ยกมานี้ หายจากโรคเมื่อฟังการเจริญมนต์โพชฌงคปริตร แล้วจิตรวมเป็นหนึ่ง ปล่อยวางในรูป กาย และ เวทนา สามารถรักษาโรคได้

    ก่อนและหลังเจริญมนต์ บริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แผ่เมตตา ทำจิตให้สงบ

    ปุจฉา
    อยากรู้ว่าตายแล้วไปไหน
    กราบนมัสการหลวงปู่พุทธะอิสระ
    1. ตายเเล้วไปไหนครับ
    2. ผมบวชเณรบวชเณรภาคฤดูร้อนเดือนเมษา47 ผลบุญจะได้ถึงพ่อเเม่หรือเปล่าครับ

    วิสัชนา
    1.ไปตามผลแห่งกรรม
    2.แน่นอน บุญนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของคุณ และจะมีผลมากยิ่งขึ้นถ้าคุณทำดี พูดดี คิดดี ในขณะบวชและหลังบวช

    ปุจฉา
    คนตายมาเข้าฝัน
    พ่อเพิ่งเสียชีวิต แล้วเข้าฝันอยากให้ทำบุญส่งของไปให้ ทำอย่างไรดีครับ

    วิสัชนา
    ใส่บาตร ถวายสังฆทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แผ่เมตตา กรวดน้ำไปให้ท่าน

    ปุจฉา
    ทำบุญแก้กรรม
    กราบนมัสการหลวงปู่ คำถามคือเราสามารถทำบุญแก้กรรมได้หรือไม่ และควรทำอย่างไรบ้าง

    วิสัชนา
    ไม่ได้ บุคคลทำกรรมเช่นไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น กรรมมันแก้กันไม่ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้ายังต้องโดนพระเทวทัตตามจองเวรเลย เมื่อคุณรู้ว่า กรรมชั่วให้ผลเป็นทุกข์ เช่นนั้นก็จงละกรรมชั่วเสีย หมั่นประพฤติแต่กรรมดีเพื่อจะให้ผลเป็นสุข

    ปุจฉา
    ทุกข์ กับญาติ
    การที่เราทุกข์กับญาติในเรื่องการกระทำของญาติ แต่เมื่อคิดได้ว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม ไม่ทราบว่าคิดถูกหรือไม่ และถ้าไม่ถูกควรทำอย่างไร

    วิสัชนา
    อย่างน้อยๆสิ่งที่คุณคิดก็ไม่ทำให้คุณเป็นทุกข์เดือดร้อนและก็ไม่เดือดร้อน ใคร ไม่เห็นจะผิดอะไรนี่คุณ

    ปุจฉา
    อยากให้คนรักเลิก พยาบาท
    หลวงปู่คะ จะทำอย่างไรให้คนที่เรารัก เลิกคิดพยาบาท อาฆาต หรือแก้แค้น หนูพยายามทุกอย่างแล้วแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ

    วิสัชนา
    ถ้าได้อยู่ใกล้ๆก็ช่วยไปเข้าวัด บริจาคทาน ปล่อยนกปลาให้ชีวิตสัตว์ เจริญสติ ทำสมาธิภาวนา แผ่เมตตา อุทิศผลบุญให้แก่ผู้อื่น พยายามชวนให้ทำเช่นนี้บ่อยๆทำเรื่อยๆจนเป็นนิสัย เดี๋ยวใจเขาอ่อนไปเอง
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : จุดมุ่งหมายของการเกิดเป็นมนุษย์ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">4 ธันวาคม 2546 09:28 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ทุกข์สุดๆ
    1.จุดมุ่งหมายของการเกิดเป็นมนุษย์นั้นคืออะไร

    2.บางครั้งที่รู้สึกว่าชีวิตทุกข์สุดๆ แม้จะรู้ว่ามีคนอื่นๆอีกมากมายที่ทุกข์ยิ่งกว่า แต่บางครั้งก็ไม่สามารถทำใจได้ ควรจะมีหลักในการคิดหรือพิจารณาอย่างไรเพื่อให้รู้สึกทุกข์น้อยกว่านี้

    3.รายการวิทยุผู้จัดการที่มีการออกอากาศการปุจฉา-วิสัชนาของหลวงพ่อ ขณะนี้เลิกจัดแล้วหรือ หรือย้ายไปจัดคลื่นอื่น

    วิสัชนา
    1.ละกรรมชั่ว ทำกรรมดี ทำจิตนี้ให้บริสุทธิ์ผ่องใส

    2.เจริญสติ มองทุกอย่างในโลกตามความเป็นจริง รู้ทันตามความเป็นไปของสรรพสิ่ง จะได้ไม่ตกเป็นทาส และไม่ต้องเป็นทุกข์

    3.ย้ายไปอยู่ที่คลื่นFM 97.5 MHz เวลา 7:30 ถึง 9:00 น.

    ปุจฉา
    อยากรู้เรื่องสมาธิ
    อย่างไรจึงเรียกว่า ขณิกสมาธิ อย่างไรจึงเรียกว่า อุปจารสมาธิ อย่างไรจึงเรียกว่า อัปปนาสมาธิ และผู้ที่ปฏิบัติ ธรรมจำเป็นต้องทำสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิหรือไม่

    วิสัชนา
    ขณิกสมาธิ ได้แก่ สมาธิพื้น สำหรับหาอยู่ หากิน เช่นใช้อ่านหนังสือแล้วรู้เรื่อง เป็นต้น

    อุปจารสมาธิ ได้แก่ สมาธิ ที่มีกำลังมากขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง แต่ยังไม่คงที่แนบแน่น

    อัปปนาสมาธิ ได้แก่ สมาธิ แนบแน่น ตั้งมั่น จัดว่าอยู่ในองค์ฌานแล้วผู้ปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็น เสมอไปที่จะทำให้ถึงองค์คุณแห่งอัปปนาสมาธิ แต่ท่านผู้นั้นต้องการจะเจริญวิปัสสนา แค่กำลังของอุปจารสมาธิก็สามารถนำมาพิจารณา อนิจจัง ทุขขัง อนัตตาได้แล้ว

    ปุจฉา
    นั่งสมาธิแล้วปวดหน้าผาก
    อยากเรียนถามว่าในขณะที่ทำการนั่งสมาธิ กระผมรู้สึกปวดบริเวณหน้าผาก(บริเวณหัวคิ้วทั้งสองข้าง) จึงทำให้นั่งสมาธิได้ไม่นานก็ต้องเลิกนั่ง อยากเรียนถามว่าเป็นเพราะเหตุใด และจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะสามารถนั่งสมาธิโดยที่ไม่ปวดบริเวณดังกล่าว ครับ

    วิสัชนา
    ท่าทางคุณจะใช้ความคิดในการนั่ง จนบังเกิดความตึงเครียด คุณได้ยินคำว่าสมาธิที่ดีต้องมีเอาไว้สำหรับผ่อนคลายมั๊ย วิธีง่ายๆ ตั้งเวลา 5 นาทีแรกนับแต่ลมหายใจเข้า ว่าเข้ากี่ครั้ง 5 นามีต่อมา นับลมหายใจออก ว่าออกกี่ครั้ง อีก 5 นาทีต่อมานับทั้งลมเข้าและออก ว่ากี่ครั้ง ทำอย่างผ่อนคลายสบายๆน่าจะช่วยคุณได้

    ปุจฉา
    สารพัดบาป
    ข้าพเจ้ามีคำถามที่จะรบกวนเรียนถามพระคุณเจ้าครับ

    1.การที่เราด่า ล่วงเกิน พูดไม่ดีต่อบิดามารดา ครูบาอาจารย์ จะได้รับบาปกรรมมากน้อยเพียงใด

    2.การที่เราดูสิ่งยั่วยวนก่อให้เกิดกิเลสตัณหา บาปไหมครับ

    3.การที่เราอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ตัวเราจะได้บุญด้วยไหมครับ

    4.ถ้าคนเราบวชแต่จิตใจไม่เป็นสุข คิดถึงแต่กิเลส แต่กายปฏิบัติตามหน้าที่พระสงฆ์ จะก่อให้เกิดบาปแก่ตัวเรา ไหมครับ

    5.เราจะทราบได้อย่างไรครับว่าเรากำลังทำบาป เมื่อมันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อนมาก เช่นความรู้สึกนึกคิดบางอย่างก่อให้เกิดบาปได้แล้ว แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติตาม เพียงแต่คิดเท่านั้น จะบาปไหมครับ

    วิสัชนา
    1. บาปกรรม บาปกรรม อย่าทำ นอกจากจะเป็นบาปแล้วผู้อื่นรู้เข้า เขาจะตำหนิติว่าเรา แล้วจะไม่มีใครอยากคบด้วย วันข้างหน้า คุณมีครอบครัว มีลูก ลูกคุณก็จะด่าคุณเหมือนกันหรือยิ่งกว่าที่คุณด่าพ่อแม่ ครูอาจารย์

    2. ถือได้ว่าเป็นอกุศลชนิดหนึ่งเป็นกิเลสยังมิได้เป็นบาปเพราะยังมิได้ล่วงเกิน ใครให้เสียหายเดือดร้อน แต่ก็เป็นเหตุให้ตนเดือดร้อนได้เหมือนกัน

    3. เพราะคุณมีบุญ คุณจึงแบ่งบุญให้เจ้ากรรมนายเวร ก็ต้องถามคุณว่า วันๆคุณทำบุญอะไรบ้างล่ะ ในบุญกิริยา 10 อย่าง เช่น ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อ่อนน้อมถ่อมตน ทำหน้าที่ถูกต้อง แบ่งบุญให้แก่ผู้อื่น เห็นคนอื่นทำดีคุณก็ยินดีด้วย ฟังธรรม สนับสนุนให้ผู้อื่นฟังหรือแสดงธรรม ทำความเห็นให้ถูก เช่น เชื่อว่าทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ทั้ง 10 อย่างนี้คุณทำได้อย่างไหน ในเวลาใดของแต่ละวันล่ะ

    4. แน่นอน แน่นนอน เป็นบาปแน่ๆ

    5. ความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ทุกข์กาย ที่เกิดจากผลของการกระทำแห่งเรานั่นแหละเป็นบาป

    6. บาปมีทั้งทางกาย และทางใจ ดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งให้ผลเป็นทุกข์
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : อุบายในการสละหลุด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">26 พฤศจิกายน 2546 22:57 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ขออุบายในการสละหลุด
    ในทางธรรมที่หลวงปู่สอนไว้ อย่าไปแบกลูก แบกผัว แบกเมีย แบกพ่อ แบกแม่ แต่ในทางโลกแห่งความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้ เวลาสามีไปไหนยังไม่ทันได้แบกหรอก ภรรยาก็เดินตามมาแล้ว

    วิสัชนา
    มันเป็นเรื่องของคนโง่ จริงๆ แล้ว หลวงปู่ไม่ทราบและไม่รู้ว่าพวกเราคิดอย่างไร แต่ในความคิดของหลวงปู่ ยกตัวอย่างให้ดูก็ได้ว่า เมื่อห้าปีที่แล้วที่หลวงปู่ออกไปจากวัดนี้ มีคนถามว่า ไม่ห่วงเหรอ สร้างวัดซะสวยงามใหญ่ยังกะวัง ไม่กลัวว่าวัดจะเสียหายเหรอ ไม่กลัวว่าอะไรมันจะเป็นไป และไม่คอยดูแลเหรอ

    ตอนที่หลวงปู่คิดสร้างวัด ก็ไม่ได้คิดว่าจะเป็นเจ้าของอยู่แล้ว ตอนที่เราปลูกต้นไม้ เราก็ไม่ได้คิดว่าเราจะเป็นนายมันอยู่แล้ว ไม่ได้คิด ทุกครั้งที่หลวงปู่ปลูกต้นไม้ ก็จะพูดในใจอธิษฐานในจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงมารับเอาผลแห่งต้นไม้เหล่านี้ให้เป็นสุขด้วยเถิด ไม้ทั้งหลายที่ข้าปลูก จงอุทิศให้แก่คน สัตว์ อสูรกาย ที่มาจากทิศทั้งหลาย

    เพราะฉะนั้น ทำอะไรด้วยความรู้สึกที่จะอุทิศ ด้วยความรู้สึกจะให้เนี่ย มันจะวิเศษกว่าทำอะไรด้วยความรู้สึกตะกละ และอยากได้ ถ้ารู้จักคิดแบบนี้ เราก็จะบอกว่า ขณะที่ทำกับข้าวเลี้ยงผัว เราก็บอกว่า ฉันทำเพื่อให้ผัวฉันสบายใจ ทำเพื่อให้ผัวฉันอยู่ได้เป็นสุข ทำเพื่อให้ผัวภูมิใจ และมีชีวิตอยู่อย่างไม่ต้องไปตะกรุมตะกราม ตะกละที่ไหน

    นี่คือ การทำหน้าที่แบบอุทิศ ไม่ใช่ทำเพื่อให้ผัวมารักเราชนิดที่ไปที่อื่นไม่ได้ต้องมาตายรังตลอด หรือไม่ก็ตกเป็นทาสเราตลอดสมัย นั้นเป็นการกระทำที่เข้าไปครอบงำเค้ามากเกินไป เป็นวิถีทางที่ไม่ค่อยถูกนัก

    จริงๆ แล้ว คำสอนบทนี้จำได้ว่าสอนอยู่ในถ้ำสิงโตทอง ก็อยากให้รู้สภาวะความเป็นจริงของร่างกายเรา ว่าความจริงแล้วเราไม่มีอะไรมา เรามาด้วยมือเปล่า แต่เราก็มาสร้างอะไรซะเยอะแยะ ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ เราก็ยึดถือมาว่า นี้ของเรา นี่ของกู แต่ข้อเท็จจริงแล้วถ้าเราไม่โง่เกินไป ไม่หลอกตัวเองเกินไป เราก็จะรู้ว่านี้มันไม่ใช่ของเรามันไม่ใช่ของกู สรรพสิ่งในโลกหล้า วัตถุทาสทั้งหลายรอบกายเรา มันเป็นของกลาง ใครที่มือยาวก็ไปสาวเอามาใช้ ใครที่มือสั้นก็สาวเอามาได้น้อย มือยาว มือใหญ่ ก็สาวมาได้เยอะ แต่พอถึงเวลาใช้แล้ว เค้าบอกว่าวาง คือ วางให้ได้ วางลงให้เป็นวางให้ถูกจุด วางให้ถูกทิศ ถูกทาง ถูกที่ และถูกสถานการณ์ที่ควรวาง

    เพราะฉะนั้น ความหมายของหลวงปู่ที่บอกว่า ชีวิตคือการเดินทาง มันเป็นเรื่องเป็นราวของการทำให้เรารู้ว่า ทุกวันนี้เรากำลังเดินทางไกลวิถีชีวิตเป้าหมายในการเดินทางก็คือ พระนิพพาน แปลว่าดับแล้วเย็น

    คนที่เข้าไปสู่ความหมายของคำว่าดับแล้วเย็น ที่เรียกว่านิพพาน ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกนั้นน่ะ ต้องทำตัวเราเองให้เป็นที่น่าดูของตัวเราเองให้ได้ ในวิถีทางของความเป็นอิสระ เสรีภาพ ปลดปล่อย และเป็นเอกภาพของตัวเอง รวมกับเอกภพได้ โดยที่ไม่มีขั้นตอนของความเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เป็นเมีย เป็นผัว เป็นครอบครัว หรือเป็นสมบัติพัสถาน เข้ามาเป็นเครื่องขวางกั้น หรือขีดกั้นระหว่างเรากับเอกภพนั้นๆ

    ความหมายของเอกภพที่หลวงปู่กล่าว หรือ ความหมายของคำว่านิพพานทีหลวงปู่แจ้งนั้น คือ ความดับแล้วเย็น แล้วสลัดหลุด ไม่มีใครฉุดเราอยู่ได้

    แล้วถ้าจะถามถึงวิถีทางของมัน ก็คือ การรู้จักว่าทุกอย่างในโลกเป็นสมมติ เราใช้มันก็ถือว่าเราให้เกียรติสมมติ ใช้สมมติให้เป็น และ สุดท้ายต้องยอมรับว่า เหล่านี้คือสมมติ เมื่อถึงเวลาแล้วมีโอกาสให้ประโยชน์กับสมมติได้ไหม ก็ให้มันตามควรตลอดกาล ตามสมัย และสุดท้ายถึงเวลา ก็อย่าไปยึดติดกับสมมตินั้น

    เมื่อเราทำวิถีชีวิตของเราให้ได้ตามกระบวนการเหล่านี้ มันก็จะตรงกับคำสอนของพระศาสดา ในหลักของปฏิจสมุปบาท อริยสัจ ๔ หรือ หลักโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือ หลักอริยธรรมทั้งหลายทั้งปวง รวมความสรุป คือ รู้จักใช้สมมติ ให้เกียรติในสมมติ ยอมรับในสมมติ ให้ประโยชน์จากสมมติ สุดท้ายอย่ายึดติดในสิ่งที่เป็นสมมติแล้ว เราก็จะเข้าใจความหมายของคำว่าดับแล้วเย็น นั่นคือ นิพพาน
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : แนวปฏิบัติให้จิตละเอียด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">19 พฤศจิกายน 2546 23:20 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    แนวปฏิบัติให้จิตละเอียด
    เรื่องจิตเป็นเรื่องละเอียด สภาวะจิตโดยแท้จริงนั้น เป็นที่นำมาซึ่งความสงบสุข และให้ถึงความหมดจดแห่งความทุกข์ เราจะมีแนวทางปฏิบัติได้อย่างไร

    วิสัชนา
    เรื่องจิตไม่ติดในสุข ทุกข์ คือ จิตของผู้รู้ คือ รู้แบบพุทธะ หลวงปุ่ไม่อยากบอกว่าตัวเองเป็นผู้รู้ แต่ต้องการจะบอกให้พวกเรารู้ว่า จิตของพระพุทธะ คือ สภาวะของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาอาการของสภาวะจิต ซึ่งปราศจากการปรุง หลวงปู่เคยเขียนบทโศลกเพื่อสอนลูกหลานไว้ว่า

    ลูกรัก...

    ประตูของธรรมชาติ จักรวาล และ นิพพาน จะเปิดก็ต่อเมื่อใด ที่ใจเจ้าไร้การปรุงแต่ง

    เราสามารถจะเปิดประตูของธรรมชาติ จักรวาล และนิพพานได้ เมื่อจิตเรา ไร้การปรุงแต่ง

    เพราะฉะนั้น คำตอบตรงนี้ ควรจะตอบว่า ขอเพียงไม่ยึดถือมัน ไม่ว่าจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์

    มีนิทานเรื่องหนึ่งว่า มีคนอยู่หนึ่ง เป็นคนบ้าเงิน เห็นเงินที่ไหนจะต้องเข้าไปแย่งมาให้ได้ ครั้งหนึ่งเขาเดินไปเจอเงินวางอยู่บนโต๊ะ เขาไม่ใส่ใจ และไม่สนใจว่าจะมีใครมองดูเขาอย่างไร เขาตรงไปหยิบเงินนั้นใส่กระเป๋า แล้วก็เดินออกไปเฉยๆ พวกตำรวจเห็นก็ไล่จับแล้ว ก็ถามว่า ทำไมท่านกล้าที่จะขโมยเงินและหยิบเงินต่อหน้าชาวบ้าน คนจำนวนมากที่อยู่ในตลาด เขาตอบว่า ตอนที่เขาหยิบเงิน เขามองไม่เห็นอะไรเลย คือ เห็นแต่เงินกองโตเท่านั้น สภาวะที่มีแต่เงินอยู่ในหัวใจเต็มเปี่ยม จึงปิดบังดวงตาแห่งปัญญาญาณของเขาที่จะไปรู้คุณโทษของสิ่งรอบข้าง ก็เลยทำให้เขากล้าที่จะไปหยิบเงินของชาวบ้าน

    เพราะฉะนั้น สำหรับจิตของพุทธะ มันคนละเรื่องกับนิทานเรื่องนี้ จิตของพุทธะนั้น มีความละเอียดอ่อน ซึ่งไม่ได้มุ่งตรงไปกับอะไร แต่เป็นจิตที่ได้ประโยชน์ จากอะไรในสิ่งรอบข้าง รู้จักอ่านเกม อ่านกาล อ่านวิถีกรรม และอ่านการกระทำที่เกิดขึ้นรอบข้างให้ออก ในขณะเดียวกัน ต้องบอกตัวเองให้ได้ว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นเพียงแค่มายาการ ไม่ได้ทำให้เราต้องตกเป็นทาส ไม่ต้องเป็นนายมัน มันก็ไม่ต้องมาเป็นนายเรา มันเป็นเพียงแค่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และก็ดับไป เป็นมายาการ เป็นมายาภาพ เมื่อเป็นอย่างนี้เราก็ไม่กล้าที่จะไปหยิบเงินของใคร เพราะจิตใจเรารู้สึกว่าโทษและภัยมันย่อมเกิดตามมา

    รวมความแล้ว คนที่จะมีจิตปลดปล่อย และ วางได้อย่างอิสระ ไม่ยึดติดในสุขในทุกข์นั้น คือ คนที่ไร้ความปรุงแต่งในห้วใจ ก่อนจะถึงความปรุงแต่งในหัวใจก็ต้องเป็นคนที่มุ่งมั่น หมั่นหมายใจ
    มั่นคงในการฝึกปรือและเรียนรู้กฎเกณฑ์ และกติกา ธรรมดาของโลก

    กฎเกณฑ์และธรรมดาของโลก ข้อแรก ก็คือ การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย สรรพวัตถุ สรรพชีวิต สรรพทุกข์ และ กฎข้อที่สอง คือ ตั้งอยู่ ส่วนกฎข้อสุดท้าย คือ ความดับไป นี่คือกฎกติกาของธรรมชาติ

    เมื่อเรารู้ดังนี้แล้ว เราก็จะไม่ใส่ใจกับความสุขและความทุกข์ ที่ชาวบ้านเขามอบหมายให้ ไม่ใส่ใจในลาภ ไม่หลงใหลในยศ และไม่มอมเมาในชื่อเสียงสุดท้าย เราก็กลายเป็นพุทธะผู้อิสระ โดยที่ไม่ต้องมีใครเป็นนายเรา แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ใช้อะไรๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะการที่เรารู้จักกฎเกณฑ์ธรรมดาของโลก จักรวาล และกฎของธรรมชาติที่เที่ยงตรงโดยไม่ยึดติดผูกพันนั่นเอง
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : วิธีเอาชนะข้อบกพร่อง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">12 พฤศจิกายน 2546 21:43 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    วิธีเอาชนะข้อบกพร่อง
    ดิฉันได้ไปฟังเทศน์และฟังเทปของหลวงปู่ มีความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาท่านมาก จนถูกเพื่อนๆ เหน็บแนม จึงสงสัยว่า การที่เราจะศรัทธาพระองค์ไหนมากๆ ผิดด้วยหรือเจ้าค่ะ ดิฉันจึงรู้สึกหมดศรัทธาในตัวเขา ทั้งๆ ที่เขาปฏิบัติธรรมมานานน่าจะพูดดีคิดดีใช่ไหมเจ้าค่ะ

    ขอถามปัญหาส่วนตัวสักเล็กน้อยว่า ทำยังไงจะชนะความขี้เกียจง่วงเหงาหาวนอนได้ตลอดไป และทำยังไงจะชนะความโกรธได้ตลอดกาล เพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นอุปสรรคในการภาวนาของดิฉันมากเจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    คุณผู้เป็นทุกข์เพราะเพื่อน

    คุณก็พูดเองว่า คนที่ทำให้คุณเป็นทุกข์ เขาเป็นแค่เพื่อน มิได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในใจคุณ

    เรื่องของเรื่อง คุณเพียงแค่ไม่รับเอาสิ่งเหล่านั้นมาไว้ในใจคุณ มันก็จบ ฉันคิดว่า เพื่อนของคุณคงจะไม่บังคับว่า คุณต้องฟัง ฟังแล้วต้องเชื่อ

    ส่วนคำถามที่ว่า ทำยังไงจะชนะความโกรธ ความเกียจคร้าน และความง่วงเหงาหาวนอนได้

    ก็ขอตอบว่า... เจริญสติ ฝึกสติ ทำให้เกิดสติทุกลมหายใจ รายละเอียดในการฝึกสติ ขอให้หาอ่านดูในหนังสือ"วิถีแห่งพุทธะ" เพราะถ้าจะตอบตรงนี้คงจะใช้เวลามากพอสมควร สำหรับคำถามที่ว่า... ภาวนาทีไร ง่วงนอนทุกที แสดงว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะ คุณไม่ได้ภาวนา ถ้าภาวนาอยู่จักไม่ง่วง ที่ง่วงเพราะไม่ได้ภาวนา เหตุที่ไม่รู้ว่า...ภาวนาหรือไม่ เพราะคุณขาดสติ

    อยากจะแนะนำคุณว่า ถ้านั่งอยู่แล้วมันง่วงก็ลุกขึ้นยืน ในขณะที่ยืนก็มีสติรับรู้ รูปยืน กิริยาที่ยืน สำรวจตรวจดูว่า คุณยืนตรงหรือไม่ ยืนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเปล่า ถ้ารับรู้ได้ว่าคุณยืนด้วยอาการลักษณะเช่นไร นั่นแหละคือตัวสติแล้วหละ แล้วคุณจักหายง่วงเอง

    ปุจฉา
    ช่วยแก้ไขคนผิด
    ลูกอยากทราบว่า การที่คนเราอยู่ในสังคม ถ้าเราเห็นคนที่ทำไม่ดี ทำผิด ซึ่งเป็นคนใกล้ตัวเรา แล้วเราควรจะบอกให้เขาแก้ไขหรือไม่ ถ้าไม่บอกไป บางทีอาจทำให้เขายิ่งเสียนิสัย แต่ในทางตรงกันข้าม เราบอกไปด้วยเหตุ ด้วยผล บางทีเขาอาจไม่ยอมรับ และทำให้คนอื่นๆ มีผลกระทบด้วย อย่างนี้ควรทำอย่างไรดีครับ เขาจึงจะเข้าใจ

    วิสัชนา
    ต้องถามคุณกลับไปว่า คนที่ทำผิดแล้วอยู่ใกล้ตัวคุณ มีอิทธิพลต่อคุณและคนในสังคมหรือไม่

    ถ้ามี คุณยิ่งต้องกระตือรือร้น หาวิธีแก้ไข แม้ว่าการแก้ไขนั้นๆ อาจจะต้องสูญเสีย เจ็บปวดไปบ้าง แต่เพื่อรักษาประโยชน์สุขของส่วนรวม คุณก็ต้องทำ

    แต่ถ้าคนผู้นั้น มิได้มีอิทธิพลต่อคุณและสังคมนักสักเท่าไหร่ คุณก็ต้องช่วยหาวิธีแก้ไข ด้วยจิตที่คิดว่า อนุเคราะห์ช่วยเหลือให้คนทำผิด กลายเป็นคนทำถูก ด้วยวิธีที่เหมาะสม นิ่มนวล

    โดยมีหลักของสัตบุรุษอยู่ว่า ให้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักสถานที่ รู้จักบุคคล เช่นนี้ ก็ต้องถือว่า คุณการุณย์ต่อเพื่อนผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายแล้วหล่ะ
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : สร้างความดี เกิดปีติ ชนะเวทนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">5 พฤศจิกายน 2546 19:19 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    หลวงปู่มีวิธีเอาชนะเวทนาในยามเจ็บป่วยอย่างไร?

    วิสัชนา
    อันดับแรก เราต้องทำตัวให้เป็นกลาง ทำใจให้เป็นกลาง กับการที่จะระงับเวทนาก่อน ถ้าหลวงปู่ป่วยและป่วยมากๆ ลูกหลานที่ใกล้ชิดจะรู้ว่า หลวงปู่จะไม่มองหน้าใคร คือ จะไม่อยากให้ใครเข้าใกล้ อยากจะมีชีวิตอยู่แบบตัวคนเดียวโดดๆ อยู่ในธรรมชาต นี่คือวิถีชีวิตที่อยากทำในยามเจ็บป่วย

    นอกจากนี้แล้ว ก็ผ่อนคลายอิริยาบถทั้งหลายในตัวเองที่ถมึงตึงเครียดอันกิดจากกระบวนการสะสม ของร่างกายที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำตลอดเวลา ก็เป็นวิธีที่จะเอาชนะเวทนาได้

    ส่วนในสถานการณ์ที่บีบคั้น เวลาที่ต้องทำงานให้กับสังคมและส่วนรวม ซึ่งต้องเจอกระบวนการทั้งหลายอันบีบคั้น เราจะแก้ไขและเอาชนะมันได้อย่างไรนั้น ก็ต้องตั้งปณิธานเอาไว้ในที่สูงสุดว่าเรามีสภาวะอย่างไร เรามีสถานะอย่างไร เราต้องทำอะไร เพื่ออะไร และใครได้รับอะไรจากสิ่งที่เรากระทำ ถ้าเราเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำ และมีความปรารถนาสูงสุดอย่างนั้น ไม่ต้องให้ใครมาให้กำลังใจเรา แต่เราจะปลุกปลอบจิตของเราให้รุกเร้าที่จะทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เราจะไม่รู้สึกท้อแท้ หรือท้อถอย ต่อกระบวนการที่เกิดขึ้นขณะที่ทำงาน

    แต่ถ้าเมื่อใดเราทำอะไรเพื่อตัวเราเอง และก็ทำมันอย่างชนิดที่มอบกายถวายชีวิต เมื่อเจอปัญหาใดๆ มันจะมีความรู้สึก ความคิดมันจะคับแคบ ศักยภาพในความคิดมันจะคับแคบ ศักยภาพในการเรียนรู้ การสืบทอดในการประสานสัมพันธภาพก็จะคับแคบ และในที่สุดเราก็จะกลายเป็นคนที่อยู่ในโลกคับแคบ กีดขวาง หรือกักขังตัวเองไว้ ในเมื่อเป็นอย่างนี้ ชีวิตเราเมื่อเจอปัญหา เราจะกลายเป็นคนโดดเดี่ยว เดียวดาย ไม่มีใครอยากคบ เพราะเรามีความคิด ความต้องการอันคับแคบมีความตะกละตะกรุมตะกรามมากไป

    สรุปก็คือถ้าเราเห็นแก่ตัวและทำอะไรเพื่อตัวเอง เมื่อเผชิญกับปัญหามันจะเป็นการแตกเสียหาย และทำลายไปในที่สุด

    หลวงปู่เขียนบทโศลกสอนลูกหลานไว้บทหนึ่งว่า

    ลูกรัก....ฟ้ามีอายุยืนยาว ดินมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ เหตุเพราะทั้งสองนั้นไซร้มิใช่อยู่เพื่อตัวเอง

    ฉะนั้น ถ้าเราจะมีศักยภาพเทียบเท่าฟ้ากับดินแล้วนั้นจงมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร ของใคร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไรแต่จงอย่ามีชีวิตเพื่อตัวเราเองมากจนเกินไป จนกลายเป็นความคับแคบที่จะเสวนากับสังคม

    ที่หลวงปู่ทำงานอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นการทำหน้าที่สืบทอดอุดมการณ์พระศาสนา รักษาสกุลของชาวศากยะ ซึ่งแปลว่า ผู้อาจ ผู้กล้า และผู้สามารถไม่ได้ทำงานเพื่อมุ่งหวังที่จะได้มาซึ่งลาภสักการะเกียรติยศ และศักดิ์ศรี ชื่อเสียงใดๆ

    ฉะนั้น เมื่อเราทำงานอันมีที่ตั้งอันสูงส่ง ขณะที่เรายังก้าวเดินไม่ถึงจุดหมายอันสูงส่ง แต่เผอิญต้องไปเหยียบขวากหนามปัญหาใดๆ ปัญหาและขวากหนามเหล่านั้นมันไม่สามารถจะฉุดกระชากลากถูเราได้ให้เราล่าช้า และยุติพฤติกรรมเหล่านั้นได้ เหตุผลก็เพราะ เรามีศักยภาพทางความคิดที่กว้างใหญ่ มีศักยภาพในการสัมผัสสำเหนียก และพิสูจน์ทราประสบการณ์ทางวิญญาณที่ก้าวไกล และมีวิถีชีวิตอันยิ่งใหญ่ที่สามารถจะบรรจุเอาไว้ในอนันตจักรวาล

    เพราะฉะนั้นปัญหาเล็กน้อยมันเป็นแค่เส้นผมบังภูเขา สำหรับผู้ที่มีอุดมการณ์สูงส่งแล้ว เค้าจะถือว่านั่นไม่ใช่ปัญหา

    หลวงปู่เขียนบทโศลกสอนลูกหลานไว้อีกบทหนึ่งว่า

    ลูกรัก....สำหรับพ่อแล้ว ปัญหาคือการเรียนรู้ ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือครูของเรา
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : นิพพาน ที่แปลว่าดับและเย็น <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">29 ตุลาคม 2546 19:05 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ขอแนวปฏิบัติให้ชีวิตเป็นสุข สำหรับฆราวาสทั่วไป

    วิสัชนา
    ประการแรก ควรจะทำหน้าที่ของตนโดยฐานะ โดยสภาวะ คือ ได้ทำหน้าที่ตามสถานะ คือ เป็นพ่อที่ดี เมื่อเราคิดจะเป็นพ่อคน ต้องถามตัวเองว่า เราจะเป็นพ่อที่ดีของลูกและเมียของเราได้หรือเปล่า จึงคิดจะเป็นผู้นำครอบครัว แต่ถ้าเราไม่สามารถจะเป็นพ่อที่ดีของลูก ไม่สามารถจะรับผิดชอบลูกเมียและเป็นผู้นำที่ดีของครอบครัวได้ ถ้าขืนนำไป ก็จะพาลูกพาเมียไปตกระกำลำบาก และทำให้เกิดความระยำอัปรีย์ตามมา เป็นขยะสังคม เป็นปัญหาวุ่นวายภายหลัง

    และถ้าเราคิดอยากจะมีลูก โดยฐานะของความเป็นแม่และเมีย ก็ต้องถามตัวเราเองว่า เรารับผิดชอบต่อหน้าที่ของความเป็นศรีภรรยาที่ดีต่อผัวได้ไหม และก็เป็นแม่ที่ดี คือ เป็นแม่พระแก่ลูกได้หรือเปล่า

    ถ้าเราเป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งพ่อ เป็นทั้งแม่ให้แก่ลูกเราได้ ถือว่าครอบครัวนี้จะมีความสุข ไม่มีใครจะมาปรามาส ด่าว่า ใส่ร้าย ป้ายสี ซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุเพราะความไม่ถูกต้องและบกพร่องในหน้าที่ของตน

    พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ใครเข้าป่า แต่สอนให้เรามีชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยความพึ่งพิงอิงแอบอาศัย เราอยู่ร่วมกันโดยความสมัครสมานกลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ประดุจดั่งแขนและขาในร่างกายของเรา ไม่ใช่ประดุจดั่งพี่น้อง เพราะบางทีพี่น้องมันยังฆ่ากัน

    คำว่า พี่น้อง เป็นคำเปรียบเทียบที่ล้าสมัยไปแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องเปรียบดั่งแขนและขาและอวัยวะทุกส่วนของเราทีเดียว คือ มันต้องรักกันถึงขนาดนั้น และเมื่อใดเรามีความรักกันถึงขนาดนี้ คิดว่าไม่มีใครจะกัดกัน ไม่มีใครจะทำร้ายร่างกายกัน และต่างคนก็ต่างจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราจะสังเกตได้จากตรงนี้ว่า เมื่อใดที่ใจเราชอบอะไร ถึงมันจะเหม็น เราก็ยังบอกว่าชอบ เพราะฉะนั้นถ้าเรารักกันจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรน่ารังเกียจสำหรับพวกเรา และหมู่วงสังคมที่เราร่วมอยู่

    แต่ถ้าหากเราเห็นแล้วไม่ชอบขี้หน้ากัน บางทีนอนกอดกันเมื่อคืน พอรุ่งเช้าก็มาด่ากัน อะไรอย่างนี้ เพราะว่าเรามีความร้าวฉานในความคิด มีความแตกแยกในความเป็นอยู่ และก็มีความแบ่งแยกว่า มึงเลวกูดี

    อย่าลืมว่านิพพานมี 2 ชนิด นิพพาน ที่แปลว่าดับและเย็น มีทั้งส่วนโลกียะ และโลกุตระ

    นิพพานอย่างโลกียะ แปลว่า อารมณ์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นกับเราให้มันดับและเย็น ความชอบก็ดี ความชังก็ดี ความยอมรับ ปฏิเสธ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เราเกลียดและไม่ชอบ ก็รู้จักให้มันดับและเย็นไปซะบ้าง เมื่อเราเข้าใกล้และเข้าหน้าใครไม่เคยติด เราก็จะรู้สึกว่าเข้าใกล้และเข้าหน้าเขาติดขึ้น เพราะเราไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจต่อสิ่งที่เขามี เขาก็ไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจต่อสิ่งที่เรามี เพราะต่างคนต่างที่จะมองเห็นประโยชน์ต่อกันและกัน ก็จะช่วยกันรักษาประโยชน์อันนั้น

    แต่ถ้าทุกคนมองไม่เห็นประโยชน์ของกันและกัน สังเกตดูเถอะ มันจะคอยเอารัดเอาเปรียบกัน คอยจะว่ากัน คอยจะทะเลาะกัน คอยจะจงเกลียดจงชังกัน มันก็กลายเป็นเรื่องราวร้าวฉาน แตกความสามัคคี และสุดท้ายก็จะต้องมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แม้แต่ลูกเมียครอบครัว ก็จะแตกแยกกัน สมัยเรารักกันใหม่ๆ ถ้าเรารู้จักคิด แม้แต่ตดของเขาเราก็ยังว่าหอม เหมือนดอกไม้ยามเช้าเลย แต่อยู่นานไปอะไรๆ มันก็เหม็นไปหมด มันเกิดจากอะไร ไม่ใช่เกิดจากหัวใจเราหรือ ที่มันไม่เหม็นตอนรักกันใหม่ ๆ ก็เพราะว่ายังรักกันอยู่ แต่ที่ว่าวันนี้เราไม่รักกัน ก็เพราะว่า เกิดความแตกแยก คิดกันคนละเรื่อง มีความเห็นไม่ตรงกัน มันก็เลยกลายเป็นศัตรูกันเราก็เลยไม่รู้สึกรัก หรือ ความรักหมดไป จืดจางไป

    แต่ถ้าจักตอบตามตำรา ก็ต้องตอบว่า ต้องมีสัจจะ ต้องรู้จักข่มใจ ต้องอดทน และก็ต้องรู้จักสละ และแบ่งปัน

    ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องแนวทางการปฏิบัติตนให้เป็นสุขสำหรับปุถุชนกันแล้ว ก็ขอให้ความกระจ่างในความหมายของคำว่า ปุถุชน และ ผู้ที่ไม่ใช่ปุถุชน กันเสียเลย จะได้รู้จักทำใจในการอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจกัน และ เผื่อจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตนให้มีสุขยิ่งขึ้นไปอีก คือ ดับและเย็น กันบ้าง

    ลูกรัก ปุถุชน ไม่ใช่หมายถึงการถือเพศคฤหัสถ์ ปุถุชนไม่ใช่ชาวบ้านฆราวาส ตีหัวหมาด่าแม่เจ๊ก หรือ ไม่ใช่นุ่งเขียวห่มขาว นุ่งเหลืองห่มแดงอะไรก็ไม่ใช่ แต่ "ปุถุชน" ในที่นี้หมายถึง สภาวะที่สภาพจิตของตนตกอยู่ในมายา ตกอยู่ในความงมงายและ หลงใหล

    ถ้าจะพูดกับปุถุชนเรื่องคุณธรรม พวกเขาจะไม่รู้จัก ถึงรู้จักก็เป็นเพียงคุณธรรมของพวกปริยัติ (พวกเอาแต่เรียน) ถึงจะเป็นคุณธรรมที่เขามีอยู่ เช่น ขันติ ความอดทน ความสงบเสงี่ยม หรือ เมตตากรุณา ถ้าเป็นของปุถุชนแล้วมันเป็นไปโดยที่เหมือนกับลมเพลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง บางเวลาเขาก็อาจจะมีขันติ แต่บางเวลาเขาอาจจะเป็นขันแตก บางเวลามันก็จะขึ้นๆ ลงๆ

    เพราะฉะนั้น ปุถุชน จึงเป็นผู้ที่มีความเพียรต่ำ มีความสามารถน้อย มีขีดจำกัด และมีข้อแม้มาก ไม่ว่าจะทำอะไรกับปุถุชนแล้ว มีข้อแม้เยอะแยะ หยุมหยิม ยึกยัก มีเงื่อนไขมาก ไอ้โน่นก็ต้องได้ ไอ้นี่ก็ต้องได้ หรือไม่ก็ ไอ้นั่นก็ทำไม่ได้ ไอ้นี่ก็มีปัญหาเยอะ เลยทำไม่ได้

    เพราะฉะนั้น ปุถุชนจึงถึงที่สุดได้ง่าย ไม่ใช่ถึงที่สุดของความเจริญรุ่งเรือง แต่ถึงที่สุดของความฉิบหายได้ง่าย ถึงที่สุดของความทำลายตัวเองได้ง่าย ถึงที่สุดของความเสื่อมได้ง่าย

    และถ้าจะพูดถึงศีล ศีลของปุถุชน ก็คือ ศีลปริยัต ถึงจะเป็นศีลก็เป็นศีลของพวกท่องจำ ไม่ใช่ศีลด้วยการปฏิบัติอย่างแท้จริง ถึงจะปฏิบัติก็ปฏิบัติไม่ได้ข้ามวันข้ามคืน รับศีลจากพระ ปาณาติปาตา หรือ สุราเมระยะ พอพ้นจากหน้าพระก็ไปฉะเหล้าเป็นระยะ อะไรประเภทนั้น จึงเรียกว่าเป็นศีลปริยัติ

    แม้แต่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในศาสนา ถ้ายังมีหัวใจที่เป็นปุถุชน ถ้าจะพูดถึงเรื่องศีล เค้าก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับมันมากนัก เพราะว่า นั่นเป็นเพียงข้อวัตรปฏิบัติที่อยู่ในปริยัติ คือ การเรียนรู้เท่านั้น

    ส่วนสมาธิสำหรับปุถุชนนั้น มันก็คือ กิริยาอาการเพื่อความอยู่รอดเอาตัวรอด สุดท้ายเค้าก็อยู่ไม่รอด

    แต่ถ้าจะพูดถึงวิมุตติ (คือ ความหลุดพ้น) สำหรับปุถุชน เอาเพียงแค่ว่า ตรงนี้เป็นทุกข์ ก็ออกจากตรงนี้ไปอยู่ตรงนั้น มันจะได้เป็นสุข พอตรงนั้นเป็นทุกข์อีก ก็ไปตรงโน้นซะ นี่คือวิมุตติของปุถุชน

    เพราะฉะนั้น เมื่อยังเป็นปุถุชนกันอยู่ยังจะต้องทำงานกับปุถุชนคนธรรมดา ก็ต้องขอเตือนว่า ขอจงมีความระวัง อาจจะต้องชนกันด้วยความรู้สึกหยุมหยิม ยึกยัก ความสามรถต่ำ ความรู้น้อย ความทะเยอทะยานสูง หรือไม่ก็ กลายเป็นเรื่องมีข้อแม้มาก แล้วก็ถึงที่สุดของความฉิบหายได้ง่าย

    ผู้ที่จะเป็นหัวหน้า หรือ ผู้นำของปุถุชน จึงควรจะต้องรู้ว่าการทำงานเป็นผู้นำเขานั้น มันลำบากยากเย็นแสนเข็ญอย่างไร ยิ่งทำกับพวกปุถุชน ซึ่งมีความสามารถต่ำ ความรู้น้อย ก็ยิ่งต้องมีขันติ พยายามเจริญพรหมวิหารธรรม 4 ให้มาก คือ มีพร้อมทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา

    แหละเมื่อพูดถึงเรื่องปุถุชนแล้ว คราวนี้มาดูกันว่า อะไรที่ไม่ใช่ปุถุชน ซึ่งก็คือ กิริยาอาการที่ไม่ปล่อยให้ตนตกเป็นทาสของมายาขจิต

    ลักษณะมายาขจิตของปุถุชนที่เกิดๆ ดับๆ แล้วที่มีสิ่งอื่นมาปลอมแปลง เปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไข ความบริสุทธิ์ยุติธรรมของจิตดวงที่เกิดๆ ดับๆ ให้มันต้องเสื่อมโทรมฉิบหาย และทำลายลงไปด้วยความรู้สึกไร้ความอิสระ เช่นนี้ เป็นลักษณะ ที่ แสดงว่า คนเช่นนั้น ยังเป็นปุถุชนอยู่

    แต่ถ้าเมื่อใดที่เขาไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ หรือไม่ปล่อยให้ขบวนการเกาะกินจิต หรือ ที่เรียกว่ามายาขจิต คือ สิ่งที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส หรือความปรุงอารมณ์ต่างๆ ทำอารมณ์ให้เป็นอะไร ไม่ทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น คนคนนั้นไม่ใช่ปุถุชน

    คนพวกที่ไม่ใช่ปุถุชนนี้ เป็นพวกที่มีข้อแม้น้อย มีเงื่อนไขไม่มาก เพราะอะไรๆ ก็ได้ ง่ายๆ สบายๆ แม้แต่ชีวิตความเป็นอยู่ก็ง่ายๆ สบายๆ ให้มันเป็นไปโดยง่ายๆ เพราะทุกอย่างมันง่าย พูดน้อยแต่ทำมาก

    สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ปุถุชน ไม่มีคำว่าถึงที่สุด เพราะมันจะมีทางเดินสำหรับเขาอยู่ตลอด เขาจะไม่สร้างอะไรเป็นเครื่องกีดขวางทางเดินของเขา

    แหละสำหรับหลวงปู่แล้ว ชั่วชีวิตของหลวงปู่นั้น ทางเดินไม่เคยตัน ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร แม้จะใหญ่ หรือ เล็กน้อย นิดหน่อย เยอะแยะ หยุมหยิม ยึกยัก หลวงปู่มีทางเดินของตัวเองตลอด ปัญหาใดๆ ก็ไม่เคยให้ตกค้าง มีแต่สะสางให้มันลุล่วงไปได้ตลอด

    จึงอยากจะถือโอกาสนี้ บอกไว้ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาตน จากความเป็นปุถุชนคนธรรมดา ไปสู่ความเป็นคนที่มีธรรมอันเป็นคุณ เพื่อความเป็นสุข ดับและเย็น ได้ในที่สุด
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : การเลือกภพชาติที่จักไปเกิด กับการเจริญมรณสติภาวนา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">22 ตุลาคม 2546 13:57 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    จะปฏิบัติธรรม เจริญกรรมฐาน พิจารณามรณสติ ได้อย่างไร

    วิสัชนา
    บุคคลผู้ปรารถนาจะเจริญมรณสติสพึงพิจารณาด้วยอาการ 8 อย่าง ดังนี้

    01. สัตว์ทุกชนิด เมื่อมีชีวิตต้องรับทัณฑกรรม คือความตายในที่สุด พิจารณาให้รู้ชัดลงไปว่า สรรพชีวิตทุกชนิดเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมพาเอาความเสื่อม เก่าแก่ และตายมาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ประดุจดังชีวิตที่เกิดอยู่ในแดนประหาร มีเพชฌฆาตถือมีดและปืนจ่อรออยู่ เมื่อถึงเวลาก็ลงมือประหารชีวิตนั้นโดยมิรีรอ ชีวิตเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหมือนดั่งพระอาทิตย์ที่ขึ้นทางทิศตะวันออก แล้วกำลังเดินทางไปสู่ทิศตะวันตกในที่สุด แสงนั้นก็ลับหายไปจากขอบฟ้า ไม่มีใครสามารถเรียกให้พระอาทิตย์นั้นเดินทางย้อนกลับมาได้ มีแต่ว่าต้องรอให้ถึงวันใหม่ (นั่นคือการเกิดของอีกชีวิตหนึ่ง) ชีวิตนี้เหมือนดัง
    ก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขา แล้วกลิ้งลงมาสู่ตีนเขาเบื้องล่าง ไม่สามารถจะหยุดยั้ง
    ให้หยุดระหว่างกลางเขาได้ จนท้ายก็ต้องตกลงมากระทบพื้นเบื้องล่างแตกกระจาย น้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่อกระทบกับลมและแดด ย่อมเหือดแห้งไปฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องตายไปฉันนั้น ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงในชีวิตคือความตาย

    02. พิจารณาถึงความวิบัติแห่งสมบัติทั้งปวง อันมีทรัพย์สินเงินทอง ลาภสักการะเกียรติยศ ศักดิ์ศรีชื่อเสียงอำนาจวาสนา เรือกสวนไร่นา ข้าทาสบริวารหญิงชายทั้งหลายเหล่านี้ มีอันต้องวิบัติแตกสลายมลายสูญสิ้นไปในที่สุด แม้แต่องค์อินทร์ยังเสื่อม จากทิพยสมบัติที่มีเมื่อถึงกาลที่ต้องวิบัติ สาอะไรกับเราท่านทั้งหลายจะรอดพ้นจากวิบัติได้กระนั้นหรือ

    สมบัติทั้งหลายจักวิบัติได้ด้วยลักษณะ ดังนี้ วิบัติโดยความหมดไปสิ้นไปวิบัติโดยเวรภัยต่างๆ วิบัติโดยความเสื่อมเก่า คร่ำคร่า วิบัติโดยความแตกร้าว บุบสลาย ทำลายพินาศไป วิบัติโดยความสูญหาย วิบัติโดยหมดวาสนาบารมี

    03. ระลึกถึงความตายของผู้อื่นแล้วน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตน เช่น เวลาไปงานศพในที่ต่างๆ หรือฟังข่าวสารการมรณะของคนและสัตว์ ก็ให้น้อมมาระลึกว่า โอ้หนอ....แม้แต่ท่านผู้มียศใหญ่ วาสนาดี มีบุญมาก ซ้ำยังประกอบไปด้วยความแข็งแรง มีกำลังวังชาประดุจดังพญาช้างสาร มีปัญญารอบรู้ เฉลียวฉลาด มีฤทธิ์อำนาจมากมาย ยังต้องตาย สาอะไรกับเรา เป็นผู้ด้อยกว่าเขาด้วยประการทั้งปวง จะล่วงพ้นความตาย
    ไปได้กระนั้นหรือ

    พิจารณาย้อนไปถึงอดีต แม้แต่พระอรหันต์ผู้เลิศฤทธิ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เลิศญาณ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศปัญญา ยังมิอาจพ้นจากความตายได้ ความตายนี้ช่างเป็นสาธารณะแก่คนและสัตว์ทั้งหลายเสียจริงๆ

    04. พิจารณาถึงกายนี้ ว่าเป็นรังของโรค เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เกาะกลุ่มกันจนกลายเป็นแผ่นหนังห่อหุ้มกายนี้ เมื่อเซลล์ผิวหนังเหล่านี้ตาย ก็จักบังเกิดเซลล์ตัวใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน เซลล์เหล่านี้เกิดและมีชีวิตอยู่ได้ด้วยน้ำเลือดที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ กายนี้ดื่มกินเข้าไป แล้วยังต้องอาศัยอากาศที่หมุนวนอยู่รอบๆ กาย น้ำที่ซึมซาบอยู่ในกายเป็น
    เครื่องอยู่ กายนี้นอกจากประกอบด้วยเซลล์ผิวหนัง เซลล์เนื้อ เซลล์ไขมัน เซลล์กระดูก เซลล์เยื่อกระดูก เซลล์ไขกระดูก แล้วยังมีเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบของอวัยวะทั้งหลายภายในกายนี้

    สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เล็กๆ เหล่านี้ ต่างพากันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วตายไป สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ จนกว่าเหตุปัจจัยของการเกิดแห่งเซลล์ชีวิตเหล่านี้ จักหมดสิ้นอายุและขาดตอนลง นอกจากกายนี้ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เป็นเซลล์ของร่างกาย แล้ว กายนี้ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อื่นอีกหลายชนิด ที่อิงอาศัยเกาะกินส่วนต่างๆ ของกายนี้ เช่น ถ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นั้น อาศัยอยู่ที่ผิวหนังก็จักเกาะกินเซลล์ผิวหนัง อาศัยอยู่ที่เนื้อก็เกาะกินเซลล์เนื้อ อาศัยอยู่ที่พังผืดและเอ็นก็เกาะกินพังผืดและเอ็น อาศัยที่กระดูกก็เกาะกินกระดูก อาศัยอยู่ที่เยื่อกระดูก ก็เจาะกินเยื่อในกระดูกนั้น นอกจากจะเกาะกินเซลล์ต่างๆ ภายในกายนี้แล้ว มันยังขับถ่ายผสมพันธุ์ เกิด ตาย อยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่นั้นอีกด้วย

    กายนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นที่อาศัยสาธารณะของสิ่งมีชีวิต หรือเชื้อโรคเล็กๆ ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก กายนี้เป็นที่ผสมพันธุ์ เป็นที่เกิด เป็นที่ถ่ายของเสียเป็นที่หมักหมมของโสโครก เป็นป่าช้า เป็นรังของโรคร้ายต่างๆ

    นอกจากกายนี้เป็นป่าช้า คือ เป็นที่ตายของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้วเป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายแก่กาย นี้แล้ว กายนี้ยังมีเหตุให้ถึงแก่ความตายอย่างง่ายดายจากภายนอกอีกนานัปการ เช่น โดนสัตว์มีพิษน้อยใหญ่ขบกัดตาย โดนอาวุธซัดตาย หกล้มตาย ตกจากที่สูงตาย ได้รับอุบัติภัยต่างๆ แล้วตาย เกิดลมกำเริบ ภายในแล้วตาย หิวตาย กระหายตาย อิ่มตาย ฯลฯ

    พิจารณาให้เห็นว่า เหตุของความตายแห่งกายนี้มีมากมาย ง่ายดายเหลือเกิน ตายได้โดยมิเลือกเวลา นาที วันเดือนปี และสถานที่ พิจารณาให้เห็นว่ากายนี้มีความตายเป็นสาธารณะ

    05. พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ชีวิตนี้เป็นภาระยิ่งนัก เป็นความรุงรังที่ต้องคอยบริหาร ชีวิตนี้เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ไม่มีคุณสมบัติที่จักดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง กายนี้จำต้องพึ่งพิงอิงอาศัยสรรพชีวิต สรรพสิ่งต่างๆ มากมาย เช่น
    เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ยังต้องอาศัยบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง อุปการะเลี้ยงดู ต้องอาศัยอากาศหายใจ กายนี้ต้องอิงอาศัยดินน้ำลมไฟ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และปัจจัยต่างๆ อีกมากมาย

    ชีวิตและกายนี้ต้องอาศัยความพยายามที่จักมีการบริหารให้ อยู่ในอิริยาบถ 4 อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ยืนเดินนั่งนอน จักขาดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งมิได้ และจักมีอิริยาบถใดมากเกินไปก็เจ็บปวดเป็นทุกข์ทรมาน จนบางครั้งบางท่านถึงขนาดล้มป่วย และตายลงในที่สุด

    กายนี้นอกจากจะไม่มีเอกภาพในความดำรงอยู่ด้วยตัวเองแล้ว กายนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดินน้ำลมไฟ ที่ต้องอิงอาศัยการบริหารจัดการดูแลรักษาให้ธาตุทั้ง 4 ภายในภายนี้ ดำรงสมดุลต่อกันและกัน มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทุพพลภาพ พร่องอยู่ตลอดเวลา เราทั้งหลายจึงต้องมีงานอันหนัก ตั้งแต่เกิดจนตาย

    06. ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีเครื่องหมายว่าจักตายในขณะใด บางพวกอาจตายเสียก่อนตั้งแต่ยังเป็นดวงจิตวิญญาณที่ล่องลอยไปตามอำนาจกรรมก็ มี บางพวกอาจจักตายในขณะที่เป็นเปรตเสียก็มี บางพวกก็ตายในขณะที่เป็นก้อนเนื้ออยู่ในครรภ์มารดาก็มี บางพวกก็ตายหลังจากออกมาจากครรภ์มารดาแล้วก็มี

    ชีวิตและกายนี้ไม่แน่ว่าจักตายในขณะใด เวลาไหน ด้วยโรคอะไร ด้วยอาการเช่นไร ณ สถานที่ไหน ความตายเป็นของไม่แน่ แต่ที่แน่ๆ ทุกคนต้องตาย เมื่อตายแล้วก็ไม่แน่ว่า จักไปเกิดในที่ใด แล้วแต่บุญทำกรรมส่ง

    07. มองให้เห็นตามเป็นจริงว่า เวลาแห่งชีวิตนี้น้อยนัก อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบดังฟองน้ำที่ปรากฏบนผิวน้ำ สบัดเดี๋ยวก็แตกกระจาย ชีวิตและร่างกายนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต่างมีเวลาและวาสนาในการดำรงชีวิตอยู่ไม่เท่ากัน เหมือนดัง
    ฟองน้ำบนผิวน้ำที่ใหญ่บ้างเล็กบ้าง และในที่สุดก็จักต้องแตกดับลงอย่างรวดเร็ว อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงบนพื้น ผิวน้ำปรากฏประเดี๋ยวเดียวก็หายไป ดูว่าชีวิตช่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้ เสียจริงๆ แม้แต่สรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เมื่อปรากฏขึ้นแล้ว ก็มิได้มีอะไรคงทนถาวร ตลอดกาลตลอดสมัยเหมือนน้ำตกที่ไหลจากที่สูง มีแต่จักไหลลงไปสู่เบื้องล่างแต่ถ่ายเดียว ชีวิตไม่ว่าจักเริ่มต้นจากสูงต่ำปานกลาง ยาวสั้นเล็กใหญ่ประการใด สุดท้ายก็ต้องตกลงไปสู่ความตายในที่สุด ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้ เหมือนดังน้ำที่ไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอมิมีใครห้ามได้

    ความเป็นไปของชีวิตนี้ ไม่ว่าจักมั่งมีมากมายหรือจนยากลำบากทั้งหลาย เลวดี หรือมีสุขทุกข์อย่างไร ถ้าชีวิตตั้งอยู่บนความประมาทขาดปัญญา ที่สุดตนก็ต้องรับโทษทุกข์ภัย ทรมานกายใจทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับโคที่เขาเลี้ยงเอาไว้เพื่อฆ่า นับวันก็ยิ่งใกล้วันโดนฆ่าเข้าไปทุกที ความประมาท มัวเมาในกามคุณทั้งหลายโดยไม่คำนึงถึงความตายคงไม่ต่างอะไรกับโคที่เห็นหญ้า อ่อนแล้วตรงรี่เข้าไปหาเพื่อแทะเล็ม เคี้ยวกินให้อิ่มและอ้วนพี โดยมิได้สำนึกเลยว่าความอยากตะกรุมตะกรามตะกละของตนที่พยายามกินให้อ้วนนั้น คือ การเร่งให้คนฆ่าโคนำตนไปฆ่าให้เร็วขึ้น มีคำกล่าวว่า อายุขัยของมนุษย์ทั้งหลายนั้นน้อยนัก คนมีปัญญาอย่าพึงดูหมิ่นพึงประพฤติดังคนที่มีไฟไหม้อยู่บนศีรษะเถิด อย่าคิดว่าความตายจะยังไม่มาถึงเรา

    08. จงพิจารณาถึงมรณสติว่า มีอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ จิตดวงหนึ่งเมื่อเกิดชื่อว่าชีวิตหนึงก็เกิดตาม จิตดวงนั้นดับ ชื่อว่าชีวิตนั้นดับตาม แต่เพราะกายนี้ประกอบด้วยจิตที่เกิดดับจนหาประมาณมิได้ บวกกับความเร็วของที่จิตที่เกิดดับ และความสืบเนื่องกันอย่างถี่ยิบ สัตว์ทั้งหลายจึงมองไม่เห็นชีวิตที่เกิดตายอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ

    จิตที่ดับไปแล้วเรียกว่าอดีตจิต จิตและชีวิตสัตว์นั้นจึงไม่ชื่อว่าดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่ากำลังดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่าจักดำรงต่อไป ส่วนจิตที่ยังมิได้เกิดเรียกว่า อนาคตจิต ชีวิตและจิตของสัตว์นั้นก็ไม่มีชีวิต ไม่ชื่อว่ามีจิต ไม่ชื่อว่าสัตว์ ไม่ชื่อว่าเป็นจิตและสัตว์แล้ว แต่ได้ชื่อว่ากำลังจะเป็นจิตและสัตว์ต่อไป

    ชีวิต อัตภาพ สุขทุกข์ ทั้งมวลของสัตว์นี้ เป็นไปเพียงแค่ชั่วขณะ จิตเดียว แต่ที่เห็นว่ายืนยาวเพราะสันตติ ระบบความสืบต่อ ความปรุงแต่งและยึดถือจึงทำให้สัตว์นั้น มองเห็นชีวิต อัตภาพสุขทุกข์ที่มีอยู่ยืนยาว ชีวิตนี้เมื่อขาดความปรุงแต่ง ความสืบต่อ ชีวิตนี้จึงดูสั้นนัก

    ท่านผู้เจริญทั้งหลายเมื่อจักเจริญมรณสติอาจเจริญพิจารณาข้อใดข้อหนึ่งใน 8 ข้อหรือเจริญทุกข้อก็ได้ แต่ขอให้หมั่นเจริญ พิจารณาอยู่ทุกขณะของลมหายใจ จนจิตสลดปลดจากกามคุณเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย สติก็จะมั่นอยู่ในการพิจารณาความตายเป็นอารมณ์จิตก็จักปลอดจากนิวรณ์เครื่อง ครอบจิต องค์คุณแห่งอุปจารฌานก็จักบังเกิดขึ้น

    สัตว์ทั้งหลายที่มิได้เจริญมรณสติ ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างประมาทมัวเมาเมาในภพ เมาในชาติ เมาในวัย เมาในชีวิตความเป็นอยู่ เมาในรูป รส กลิ่น เสียง เมาในสัมผัส เมาในอำนาจวาสนา เมาในทรัพย์สมบัติ เรือกสวนไร่นา เมาในราคะ โทสะโมหะ

    เมื่อเป็นผู้เมาก็คือขาดสติ เมื่อขาดสติก็เป็นเหตุให้ทำกรรมชั่ว คิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำผิด พูดผิด คิดผิด เมื่อชีวิตมีแต่เรื่องผิดและชั่ว ก็เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทั้งหลับและตื่น กลางวันและกลางคืน ก็เป็นเหตุให้หวาดกลัว กลัวไปต่างๆ นานา แล้วแต่จิตจะพาไปด้วยอำนาจของความเศร้าหมอง พาให้วิตกกังวล ฟุ้งซ่านด้วยใจเศร้าหมองวิตกหวาดกลัว

    เศร้าโศก ร่ำไรรำพัน พอตายเข้าจริงๆ จิตนี้ก็ไปบังเกิดในภพภูมิ ที่ไม่น่าปรารถนา ต้องได้รับทุกข์ยากเดือดร้อนสุดจะพรรณนา

    สำหรับท่านผู้เจริญมรณสติภาวนา ย่อมไม่ประมาทมัวเมาในภพชาติ และลาภสักการะทั้งหลาย มีชีวิตอยู่เพื่อจะสร้างสรรสาระให้โตอย่างรู้ตัว เจียมตัว และกล้าพร้อมที่จะเผชิญกับความตายอย่างมีสติ ไม่หวั่นหวาด ไม่ขลาดกลัว เหตุเพราะได้เห็นความเป็นจริงของจิต ชีวิต โลก ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา มิมีใครจะพ้นจากกติกานี้ไปได้ จิตก็จะสงบสงัดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงพอตาย ภพ ชาติ ที่ตนปรารถนา ก็จักบังเกิดขึ้นแก่ตน

    เรียกว่า ผู้เจริญมรณสติภาวนา จักสามารถเลือกภพชาติ ของตนที่จักไปเกิดได้ดังใจปรารถนา
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : 3 ลักษณะของความตาย <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">15 ตุลาคม 2546 15:17 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ขอคำอธิบายว่า มรณสติคืออะไร

    วิสัชนา
    มรณะ แปลว่า ความขาดจากภพหนึ่งๆ หรือตายจากชาติหนึ่งชาติหนึ่ง

    สติ แปลว่า ความระลึก รู้สึกตัว เพราะฉะนั้น มรณสติ จึงแปลว่า ความระลึกรู้สึกถึงความขาดจากภพ หรือระลึกรู้สึกถึงความตายที่กำลังปรากฏแก่เรา จักปรากฏแก่เรา

    มรณะหรือความตาย มี 3 ลักษณะคือ

    01.สมุจเฉทมรณะ ได้แก่ ความตัดขาดจากชาติสภพทั้งปวง หรือความตายจากวังวนแห่งวัฏสงสาร สภาพเช่นนี้จักมีได้ก็แต่เฉพาะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ
    พระอรหันตสาวกเท่านั้น

    02. ขณิกมรณะ ได้แก่ ความดับ ความขาด ความตาย แห่งสังขาร สสารเซลล์ต่างๆ ภายในกายและนอกกาย ซึ่งปรากฏอยู่ตลอดเวลา เช่น ผิวหนังของคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดก็มีการแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ตอนเกิดมาใหม่ๆ ผิวหนังของร่างกายนี้ ก็เปราะบาง พอมากระทบกับอุณหภูมิรอบๆ กายภายในโลก ผิวหนังที่บางอ่อนนั้นก็ทนอยู่มิได้ ก็ต้องตายลง ร่างกายจึงต้องสร้างเซลล์ผิวหนังที่แข็งแรง ทนต่อสภาพบีบคั้นเผาผลาญให้ได้ แต่ในที่สุดเซลล์ที่แข็งแรงนั้นก็ต้องตายลงอีกเมื่อถึงกาลอันควร ร่างกายนี้ก็ต้องปรับสภาพสร้างเซลล์ผิวหนังรุ่นใหม่ขึ้นมาอีก สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ มีอยู่ในอวัยวะทั้งหลาย ภายในกายนี้ แม้แต่ผมและเล็บ ส่วนที่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดดับได้ง่ายที่สุด คือ ผมและหนัง ส่วนอวัยวะใดที่เซลล์เล็กๆ เกิดขึ้น แล้วเกาะกลุ่มรวมกันอย่างหนาแน่น เกิดการควบแน่นจนเข้มแข็ง เช่น กระดูกต่างๆ และเล็บ เราจักสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะหนีพ้นสภาพการเกิดดับไม่

    รวมความแล้วขณิกมรณะ มีอยู่ในสรรพสิ่ง สรรพชีวิต และสรรพบุคคลทุกชนิด ไม่เว้น แม้แต่พรหม มาร ที่เรายังเห็นทรงสภาพอยู่ได้ ก็เพราะยังไม่หมดกรรมและยังไม่สิ้นอายุขัย

    03. สัมมติมรณะ (การตายในสังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ได้แก่ การย่อยสลาย แตกหักพัง หมดสภาพ หมดอายุของวัตถุธาตุทั้งหลายรอบๆ กายเรา เช่น แก้วแตก แก้วร้าว กระป๋องรั่ว ชามบิ่นร้าวแตก ภูเขาทลาย แผ่นดินถล่ม ต้นไม้ตาย เหล่านี้เป็นต้น สัมมติมรณะ จักเกิดขึ้นได้ด้วยอาการหมดอายุขัย เสื่อม สภาพ มีเหตุปัจจัย

    เหล่านี้คือ สภาพแห่งความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้นทุกขณะ ที่ใครก็มิอาจปฎิเสธได้ ไหนๆ มันจักต้องเกิดขึ้นแก่ทุกสรรพสิ่งและสรรพสัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ องค์พระพุทธะผู้ประเสริฐพระองค์นั้นท่านทรงสอนให้เราต้องไม่เกรงกลัวมัน เหมือนแต่ก่อน แต่ต้องเข้าไปหามัน ไปทำความรู้จักเข้าใจมันให้ชัดแจ้ง ด้วยสติปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง

    เมื่อเรารู้จัก เข้าใจสภาพแห่งความเป็นจริงในตัวมันแล้ว พระพุทธะพระองค์นั้น ก็ทรงสอนให้เรารู้จักที่จะใช้มัน ให้ประโยชน์กับมันบ้าง แต่ต้องได้ประโยชน์จากมันสูงสุดและสุดท้ายต้องไม่ยึดติดกับมัน เมื่อมันถึงเวลาที่จะแตกดับ

    ทีนี้เราก็มาศึกษาอาการมรณะหรือตายแห่งกายนี้ว่ามีกี่อย่าง อาการมรณะแห่งกายนี้ ท่านสอนเอาไว้ ๒ อย่างคือ

    01 .กาลมรณะ กาลมรณะนี้จักเกิดขึ้นได้แก่กายนี้ ด้วยเหตุเพราะสิ้นบุญและสิ้นบาป หรือเพราะหมดอายุขัย

    01.01.เพราะสิ้นบุญ ถ้าจักยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ก็คงต้องยกตัวอย่างเทวดา เทวดาที่บังเกิดในสรวงสวรรค์ หรือมนุษย์ที่เกิดในตระกูลดี ชาติดี สมบัติดี ปัญญาดี สุขภาพดี วรรณะดี เหล่านี้ถือได้ว่าเพราะบุญ จึงทำให้ได้อัตภาพที่ดี ต่อมาเมื่อหมดบุญหรือหมดทุนเก่า

    ถ้าเป็นเทวดาก็จักแสดงอาการเตือนให้รู้ว่ากำลังจะหมดบุญแล้วนะ เช่น ฉวีวรรณเศร้าหมองลง เหงื่อไคลซึมทั่วร่างกาย กลิ่นตัวปรากฏ ประสาทสัมผัสเลวลงแล้วก็มีอาการฟุ้งซ่านหงุดหงิดรำคาญในอัตภาพที่เป็นอยู่ ส่วนมนุษย์อาการที่แสดงออกของการหมดบุญก็คือ ทุกอย่างที่มีดีและเลิศ จักเสื่อมลง อาจจักเสื่อมไม่พร้อมกันหรือพร้อมกันก็ได้ แล้วแต่บุญใครอย่างไหนมากน้อย จนเป็นเหตุให้มิได้รับการยอมรับเชื่อถือ เช่น เชื่อถือว่าท่านผู้นี้เป็นผู้มีอายุยืนสุขภาพแข็งแรง แต่อาการที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นกลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เลยมิได้รับการยอมรับเชื่อถือ จนในที่สุดทั้งเทวดาและมนุษย์ ก็ตามที่มาเกิดได้เพราะมีบุญมาดี มีทุนมามาก เมื่อหมดบุญหมดทุนเก่า คือ ใช้หมดแล้วก็ต้องถึงกาลมรณะหรือตาย เรียกว่า ตายเพราะหมดบุญ

    01.02. เพราะสิ้นบาป อันได้แก่ผู้ที่มีชีวิตเกิดมาตกอยู่ในห้วงแห่งความระทมทุกข์เดือดร้อนทรมาน ด้วยอาการต่างๆ ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือพวกสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัมภเวสี สัตว์เดรัจฉาน และมนุษย์ที่ต้องรับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ซึ่งเวทนานั้นอาจจะติดตัวมาตลอดชีวิต หรือปรากฏขึ้นภายหลังก็ตามที ครั้นสัตว์เหล่านั้น
    ได้ชดใช้บาป หรือกรรมไม่ดีจนหมดสิ้นแล้วก็ถึงกาลมรณะลง เรียกว่า เกิดมาได้ด้วยบาปกรรมชั่ว

    ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจเรื่องแห่งความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่า บุญนั้นเป็นสมบัติที่เรามาใช้ บาปนั้นเป็นหนี้ที่เราต้องมาชดใช้

    01.03.เพราะสิ้นอายุขัย คำว่าสิ้นอายุขัย หมายรวมไปถึงการสิ้นอายุขัยของเซลล์เล็กๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอวัยวะทั้งผองในร่างกายนี้ เมื่อองค์ประกอบทั้งหลายของกายนี้มันได้เสื่อมสภาพ เพราะหมดอายุขัยจึงทำให้กายนี้ต้องตายจากชาติภพปัจจุบัน

    มีข้อสังเกตว่า ส่วนใหญ่การตายเพราะหมดอายุขัย มักจะมีแก่คนผู้มีอายุมาก สำหรับผู้มีอายุน้อยแล้วตายเพราะหมดอายุนั้นมักจะไม่ค่อยมี

    02. อกาลมรณะ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีเหตุปัจจัยจากบุพกรรมอันหนักที่ตนทำไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็นอดีตกรรมและปัจจุบันกรรม

    อายุขัยแห่งบุคคลในพุทธกัปป์นี้ ควรจักมีสัก100 ปี แต่เมื่อมากระทบกัอดีตกรรมซึ่งเป็นกรรมอันหนัก ให้ผลอย่างรุนแรง รวดเร็ว แทรกเข้ามาตัดรอนห้วงเวลาอายุกาลของชีวิตที่ควรจักอยู่ถึงร้อยให้เหลือน้อย และสั้นลง ทำให้ต้องตายก่อนกำหนด ด้วยทัณฑกรรมต่างๆ ที่ตนทำไว้แต่อดีต เช่น ตายเพราะอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น เดินอยู่ดีๆ บนถนน ต้นไม้ล้มมาทับ ตาย หรือเป็นโรคร้ายแรงจนทำให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย เป็นต้น

    ปัจจุบันกรรม กรรมที่บุคคลกระทำในปัจจุบัน แล้วเป็นผลให้ตนต้องตาย เช่น ทะเลาะวิวาทกัน และโดนทำร้ายจนตาย ประมาทมัวเมา สนุกสนานจนเพลิน เป็นเหตุให้ตนต้องเสียชีวิต เช่น ขับรถแข่งกันแล้วประสบอุบัติเหตุจนตาย หรือไม่ก็ไปก่อเวรภัยแก่ผู้อื่น เลยโดนผู้นั้นรุมทำร้ายจนตาย เหล่านี้เป็นกรรมหนักในปัจจุบันที่มีเหตุให้แทรกเข้ามาตัดรอนอายุขัยของตน ให้สั้นลง
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : ผู้อยู่ในสถานะใด ที่มีโอกาสเข้าสู่กระแสพระนิพพาน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">8 ตุลาคม 2546 18:08 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ผู้อยู่ในสถานะใด ที่มีโอกาสเข้าสู่กระแสพระนิพพาน

    วิสัชนา
    พระพุทธเจ้าบอกว่า สัตว์นรกยากต่อการที่จะมาเดินทางพระนิพพาน สัตว์เดรัจฉานก็ยาก เพราะมีความทุกข์เป็นอารมณ์อยู่ จึงมีคำพูดเอาไว้ ๒ ประเด็นว่า เทวดา พรหม ยากต่อการที่จะเข้ามาเดินทาง เพราะหลงในสุข เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก ยากต่อการจะเข้ามาเดินในทางมัชฌิมาปฏิปทา เพราะติดอยู่ในทุกข์ มีบุคคลผู้เดียว ประเภทเดียวเท่านั้น ที่พระศาสดาทรงเรียกว่าเป็นทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทา เป็นเอกวิถี และเป็นเอกหนทางทั้งหลาย เป็นเอกบุคคล เป็นเอกบุรุษ ที่จะเดินเข้าไปได้ในหนทางแห่งคนคนเดียวเดินไปได้

    คำว่าคนคนเดียวในที่นี้หมายความว่า ไม่มีลูก ไม่มีผัว ไม่มีเมีย ไม่มีทรัพย์สมบัติ ไม่มีทั้งข้าราชบริวารทั้งหญิงชาย ไม่มีอะไรๆ แม้แต่ตัวกูของกูก็ต้องไม่มี มันจึงจะเดินเข้าไปในทางนี้ได้ มันเป็นทางแคบๆ สำหรับสัตว์นรกและเทวดา แต่มันเป็นทางกว้างๆ สำหรับคนที่มีค่าและมีสติปัญญา นั่นคือ มัชฌิมาปฏิปทา

    และเมื่อเดินทางเข้าไป มันจะยิ่งกว้างใหญ่โตมโหฬาร จนทำให้ชีวิตเข้าไปถึงพระนิพพาน สติปัญญา สมาธิ พลังอำนาจ ก็กว้างใหญ่โตตามไปด้วย มีลักษณะเช่นนี้ แต่ทางเข้ามันช่างแคบ สังเกตดูได้ว่า การที่เรามาบวชนี้ เพียงเพื่อจะทำให้ชีวิตของตน มีสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นที่ตรงและถูกต้อง

    พระพุทธเจ้าของเราบอกว่า ธรรมะของเราเป็นธรรมะที่ฝืนโลก คือ ธรรมะที่รักษาโรค บางคนเป็นแผลแล้วก็ไม่อยากใส่ยา เพราะมันแสบ ทั้งๆ ที่รู้ว่าใส่ยาแล้วก็จะหาย แต่ก็ไม่ยอมใส่ แล้วแผลนั้นก็เน่าเฟะ เพราะฉะนั้น การใส่ยาให้แก่ตัวเองก็ถือว่าการเดินเข้าไปสู่มัชฌิมาปฏิปทา เริ่มต้นด้วยความคับแคบต่างจากสัตว์นรก เทวดา พรหม อันมีหนทางที่กว้าง

    หนทางพระนิพพาน หนทางการทำความดีนั้น เป็นหนทางที่เดินเข้าไปยาก มันแคบเท่ารูเข็ม แต่ตอนที่จะออกมันง่ายเหลือเกิน ลองถามดูก็ได้ว่าการบวชนี้ลำบากไหม ถ้าลำบากก็แปลว่ายังไม่ชิน เพราะฉะนั้น พวกเราทั้งหลายที่มานั่งอยู่ที่นี่ ก็ต้องถือว่า เป็นบุคคลที่เข้ามาสู่หนทางของบุรุษผู้เอก สตรีผู้เอก คือไม่มีอะไรต้องแบกเอาไป ถ้าแบกเอาไปคงไปไม่ได้ไกล ก็คือความตายเข้ามาหา แล้วเราจะทำอย่างไร เราจะมีโอกาสได้กลับมาเกิดเป็นคนกับเขาอีกสักครั้งหนึ่งหรือเปล่า เพื่อที่จะเข้าสู่หนทางอันนี้อีก คงจะเป็นไปได้ยาก

    สัตว์นรกนั้นจะเกิดมาเป็นคนนั้นยาก คนจะเป็นสัตว์นรกนั้นง่าย พรหมและเทวดาจะจุติมาเป็นคนนั้นก็ยาก แต่พรหมและเทวดาจะจุติเป็นสัตว์นรกนั้นง่าย มนุษย์จะเกิดเป็นพรหมและเทวดาก็ยาก เพราะฉะนั้น การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์
    หรือเป็นคน ถือว่าเป็นบุญลาภอันวิเศษ ที่เราต้องเดินเข้าไปปลดระเบิดเวลาให้เร็วที่สุด

    อะไรคือชนวนระเบิดของเรา ความตายของเรายังไงล่ะ ความตายที่เขาวางมาให้ว่า ๒๐ ปีจะต้องตาย โดยที่ ๒๐ ปีนี้ จะเดินเข้าไปถึงจุดมุ่งหมายได้ไหม เข้าถึงนิพพานได้ไหม เข้าถึงนิพพานก่อนตาย เวลานี้อันนี้ก็ถือว่าชนวนมันฝ่อ
    ไม่ต้องกลับมา แต่ถ้าหากเราไม่สามารถจะเดินเข้าไปได้ และยังหลงระเริงประมาทละเมอ
    เพ้อพก หมกมุ่นอยู่กับอารมณ์ ทำอารมณ์ให้เป็นอะไร มีความฉิบหายในอารมณ์ต่อไปไม่จบสิ้น ก็ถือว่าคนเราเดินเซเหมือนคนเมา สุดท้ายก็ไปไหนไม่ได้ ต้องตาย แล้วก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะกลับมาเป็นคนอีก

    เพราะฉะนั้น จึงอยากจะบอกพวกเราลูกหลานทั้งหลายว่า รักตัวเองบ้าง อย่าให้คนอื่นเขามารักตัวเองนัก ไม่ต้องรอให้คนอื่นเขามารักตัวเอง และก็ไม่มีใครเขารักเราเท่ากับเรารักตัวเอง และเมื่อใดที่เรารักตัวเองได้ ก็ถือว่าเรารู้จักประโยชน์ตัวเองแท้ๆ ไม่ใช่การมีเมียมาก มีลูกมาก มีรถมาก มีเรือนใหญ่ มีสมบัติเยอะ มีเงินกองโต มีเกียรติยศอันมั่นคง

    ประโยชน์ของตัวเองที่แท้จริง คือการเรียนรู้ชีวิต และศิลปะภายในการดำรงชีวิตของตนว่า ทำยังไงเราถึงสามารถเข้าไปอยู่ในหนทางแห่ง
    มัชฌิมาปฏิปทา หรือ มรรคปฏิบัติได้ หนทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม และตรงแนว ทำความเห็นข้อแรกให้ถูกต้อง มีสติพิจารณา มีการกล่าววาจาอย่างมีสติ มีความตั้งมั่นในสิ่งที่ถูกต้องตรงแนวบริสุทธิ์และยุติธรรมต่อไป เราต้องสามารถทำความเห็นให้เป็นปกติ โดยเฉพาะการเห็นภัยของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ส่วนใหญ่แล้วพวกวัยดอกไม้บานจะมีข้อเสีย เพราะชีวิตเป็นดอกไม้ที่รื่นเริงบันเทิงอยู่ในหมู่ภมรมนตรีและแมลงภู่ผึ้ง ทั้งหลาย โดยไม่ใส่ใจว่าตัวเองต้องเหี่ยวอับเฉาในที่สุด การที่เรารีบเบ่งบานขึ้นมารับแสงเดือนแสงตะวันนั้น มีประโยชน์แล้วก็ยังมีโทษมหันต์ เหตุผลก็เพราะว่าเราไม่รู้จักวิธีการที่จะรับแสงเดือนแสงตะวัน บางทีเราก็ต้องเหี่ยวเฉาไปในเร็ววัน นั่นคือความตายเข้ามาหา

    การเกิดมามีชีวิตแล้ว ทุกคนย่อมต้องทำหน้าที่ของตัวเอง บุคคลที่เกิดมาก็เหมือนกับเกิดมาเล่นละคร มาเล่นเป็นพ่อแม่ เป็นลูก เป็นตา เป็นยาย ฯลฯ ขึ้นอยู่กับคนคนนั้นจะเล่นบทบาทของตนได้ดีแค่ไหน พอตายแล้วก็แปลว่า เขาเลิกจ้าง

    ชีวิต คือ โรงละคร พอตายแล้วไม่สามารถจะเอาอะไรติดตัวไปได้

    เพราะฉะนั้น จึงอยากจะบอกกับลูกหลานทั้งหลายว่า กระแสพระนิพพานเกิดได้ใน
    สัตว์ทุกประเภท มันขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นสัตว์ประเภทไหน คนประเภทไหน หมายถึงมีสติ
    ปัญญาระดับไหน ขนาดไหน ที่สามารถจะรู้ว่าชีวิตของตนนั้นมีสาระแก่นสารอะไรบ้าง และการดำเนินชีวิตของตน เกิดมาเพื่ออะไร ที่หลวงปู่เคยเขียนไว้ว่า ท่านมาทำไม... มาเพื่ออะไร... มาแล้วได้อะไร และถ้าไป... ไปอยู่ที่ไหน แล้วเกิดประโยชน์อะไรกับการมา สุดท้ายต้องบอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า... เราต้องตาย

    ถ้ารู้จักถามตัวเองอย่างนั้นบ่อยๆ ก็คงจะทำอะไรอย่างมีสติ และให้เป็นไปตามบทบาท คนเป็นพ่อแม่ก็เหมือนกัน เลี้ยงลูกมาจนแก่ใกล้จะตายอยู่แล้ว ก็ยังเลี้ยงกันต่อไป จริงๆ แล้ว ไม่ได้เลี้ยงลูกหรอก เลี้ยงกิเลสของลูกมากกว่า

    หลวงปู่จึงบอกกับลูกหลานตอนมาบวชเณร แล้วเณรร้องไห้อยากกลับบ้าน แม่ก็โอ๋ พ่อก็โอ๋ จะเอาลูกกลับ แล้วคนที่ร้องไห้แต่พ่อแม่ไม่ให้กลับ วันสึกเณรไม่อยากกลับบ้านอีก แสดงว่าตอนที่ร้องนั้นมีกิเลส แต่ตอนที่ไม่ร้องนั้นไม่มีกิเลส พ่อแม่ไม่เข้าใจจึงพยายามที่จะเอาใจลูก สนับสนุนลูกให้ทำความชั่วตามกิเลสที่คำนึงนึกถึงไป

    หลวงปู่ก็ถามว่า จะเลี้ยงลูกเอาตัวลูกหรือเอากิเลสของลูก แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อจะเอาตัวลูก พ่อแม่ก็ต้องปล่อยให้โดนเคาะ ขัดเกลาถ้าคิดจะเอาทั้งลูกตัวเองและเอาทั้งกิเลสด้วย ก็หอบลูกออกไปจากวัดได้เลย

    สำหรับพระเณรทั้งหลาย เขาฉันอาหารเพื่อให้กิเลสตาย แต่ชาวประชาหน้าใสและชาวบ้านทั้งหลาย กินเพื่อให้กิเลสโต หลวงปู่ขอบอกความจริงกับลูกหลานทั้งหลายว่า กระแสนิพพานนั้น มันมีด้วยกันทุกคน เว้นแต่ใครจะเดินไปหรือไม่เท่านั้นเอง และทุกคนก็มีสิทธิจะเดินหรือหยุดเดิน สิทธิอันนี้พระเจ้าองค์ใดก็ไม่ได้ดลบันดาล เราเป็นผู้ดลบันดาลชีวิตเรา ให้ยอมเดินหรือไม่ยอมเดินเท่านั้นเอง แล้วมีกี่คนที่จะรู้ขนาดนั้น มีกี่คนที่จะวาง ละเว้นสิ่งที่เป็นเครื่องล่อ ต้องบอกว่า มันเป็นเครื่องล่อให้หยุดการเดินทาง เช่น กิน กาม เกียรติ โกรธ อะไรก็แล้วแต่ โลดโผนโจนทะยานออกไปแล้ว กระโดดออกไปนอกทาง จะเข้ามาอีกก็ไม่ได้แล้ว

    พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หนทางสายเอกเป็นของบุคคลผู้เอก คือ บุคคลเดียวที่เดินได้เท่านั้น ขึ้นต้นด้วยความคับแคบ แต่เต็มไปด้วยความกว้างขวางในอนาคต
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : พลังบุญ-พลังจิต เหมือนหรือต่างกันอย่างไร <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">24 กันยายน 2546 17:31 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    พลัง บุญ-พลังจิต เหมือนกัน หรือ ต่างกันอย่างไร และ อย่างไหนมีพลังมากกว่ากัน

    วิสัชนา
    ต่อคำถามที่ว่า ระหว่าง พลังบุญ กับ พลังจิต อันไหนมีพลังมากกว่ากัน เหมือนกัน หรือ ต่างกันอย่างไร

    คำตอบคือ ไม่เหมือนกัน แต่ บุญ เป็นเหตุแห่งจิต และจิต เป็นผลแห่งบุญ บุญเป็นอาหารแห่งจิต ดั่งแสงแดดเป็นตัวการสำหรับปรุงอาหารให้กับต้นไม้

    จิตนั้นไร้รูปร่าง เหมือนสุญญากาศ และมีพลังอันยิ่งใหญ่แฝงอยู่ พระพุทธเจ้าเรียกว่า สุญญตา คือ ความว่าง ความโปร่ง ความโล่ง ความเบา และสบาย ละเอียดยิ่งกว่า สุญญากาศ ผู้ที่เข้าถึง พลังแห่งจิต คือ ผู้เข้าถึงโลกและจักรวาล

    พระศาสดาผู้เข้าถึงพลังนี้ พระองค์จึงเรียกขานตัวเองว่า เราคือโลก โลกคือเรา จิตคือโลก โลกคือจิต จิตคือเรา เราคือโลก

    หลวงปู่อาจจะเคยพูดว่า บุญเป็นพลังงานอนันต์ ทำให้คนเป็๋นพระพุทธเจ้า บุญเป็นพลังงานอนันต์ ทำให้ยาจกเป็นพระราชา ทำให้คนธรรมดาเป็นเหนือธรรมดา บุญเป็นพลังงานอนันต์ ที่ทำให้คนใกล้ตาย กลับไม่ตาย และทำให้ได้พบความสำเร็จลุล่วงได้ตามประสงค์

    แต่บุญก็ยังเป็นพลังงานที่รองลงมาจากพลังงานอมตะแห่งจิต ถึงแม้ว่าเราจะปฏิเสธการเรียนรู้เรื่องจิต แต่ทุกคนมีพลังจิตชนิดนั้นอยู่ หากไม่ได้พัฒนา และไม่รู้จักวิธีใช้ บางทีเราก็ใช้อย่างฟุ่มเฟือยและไม่รู้จักรักษาเพิ่มเติม

    จิตทุกดวงมีพลังอมตะ และเท่าเทียมกัน ต่างกันตรงที่คนคนนั้นจะเข้าถึงจิตของตนมากน้อยอย่างไร บุคคนนั้นๆ จะเปิดประตูแห่งวิญญาณไปรู้จักหน้าตาแห่งจิตแท้ๆ อย่างละเอียด หยาบ สุขุม ลุ่มลึก หรือรู้จักแบบความไม่มีอะไร

    เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงสอนให้เราเข้าถึงจิตของตน และ พระองค์ก็ทรงชี้ประโยชน์แห่งการเข้าถึงจิตของตนว่า ผู้นั้นจะดับและเย็น นั่นคือ นิพพาน ซึ่งผู้มีบุญหรือมีเพียงพลังงานบุญ ไม่สามารถผลักดันให้ถึงนิพพาน อันแปลว่า
    ดับและเย็นได้

    พลังงานชนิดเดียวเท่านั้นที่ทำให้เข้าถึงนิพพานได้ คือ พลังแห่งจิต

    พลังงานวิเศษซึ่งเป็นพลังงานอมตะนั้น ไม่ใช่ได้มาจากที่อื่น ไม่ใช่ได้มาจากครูคนใด ไม่ใช่ได้มาจากพระพุทธเจ้าประทานให้ แต่ได้มาจากหัวใจที่เอื้ออารี และเต็มเปี่ยมด้วยคุณความดี ที่เรียกขานกันว่า "ผู้มีบุญ" และมันก็ได้มาจาก การทำกรรมดี ที่เรียกว่า ทำบุญ แต่สุดท้าย ต้องไม่ยึดติดในบุญ

    นักบวช ผู้เป็นสาวกแห่งพระศาสดา คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารบุญ และให้แล้วซึ่งบุญ ต่อ ทายก ซึ่งก็คือ ผู้ให้ หรือ ผู้ต้องการบุญ เพื่อพัฒนาไปสู่พลังงานอนันต์ เนื่องจากบุญเป็นอาหารแห่งจิต ผู้มีบุญเท่านั้นจึงจะถึงพลังแห่งจิตได้

    พระพุทธเจ้า จึงสอนให้พวกเราทำบุญ 10 ประการ คือ๑. ให้ทาน ๒. รักษาศีล ๓. ฟังธรรม ๔. แผ่เมตตา ๕. เจริญภาวนา ๖. ทำหน้าที่ของพ่อ แม่ ลูก ๗. อ่อนน้อมถ่อมตน ๘. ยินดีเมื่อเห็นคนอื่นทำดี ๙. ปฏิบัติธรรม ๑๐. ทำความเห็นให้ตรงและถูกต้อง

    เมื่อเข้ามาสู่ประตูแห่งคำว่า "บุญ" คือ เต็มเปี่ยมไปด้วยบุญทั้งปวงแล้ว ก็ ละ วาง แม้แต่ บุญ ก้าวล่วงพ้นคลังบุญ เข้าสู่ความว่าง เข้าสู่วิญญาณแห่งสุญญตา เมื่อใดที่ทำได้ เมื่อนั้น ก็จะเข้าถึงนิพพาน อันแปลว่า ดับ และ เย็น นั่นเอง

    นี่คือ วิธีเข้าถึงพลังงานอนันต์ ถ้าเปรียบเป็นวิทยาศาสตร์ มันก็เหมือนกับกระสวยอวกาศ ยานอวกาศ ที่หลุดออกไปพ้นจากแรงดึงดูดของโลก เพิ่อก้าวล่วงข้ามไปสู่วงโคจรแห่งจักรวาลได้ ก็ต้องอาศัยเชื้อเพลิงที่จะผลักดันเอายานอวกาศลำนั้น ให้หลุดไปจากแรงดึงดูดของโลกก่อน เมื่อเชื้อเพลิงมันผลักดันเอากระสวยอวกาศให้หลุดออกไปได้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็จะใช้วิธีคำนวณเพื่อจะสลัดหลุดจากแหล่งเชื้อเพลิง
    อันนั้น

    ต่อไป ก็จะเดินทางด้วยพลังอีกชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ พลังบุญ เป็นพลังงานที่จะผลักดันเอากระสวยอวกาศ ให้พ้นจากแรงดึงดูดของโลกจิต เมื่อกระสวยอวกาศพ้นจากแรงดึงดูดของโลกแล้ว ผู้ควบคุมยานอวกาศลำนั้น ก็จะทำหน้าที่กดปุ่ม เพื่อจะสลัดเอาเชื้อเพลิงที่ติดมากับกระสวยอวกาศนั้น สลัดให้หลุดและทิ้งไป และก็จะใช้พลังงานชนิดใหม่ที่เบา แข็งแรง มีพลัง และต้านแรงกดดันได้เป็นเยี่ยม และเชื้อเพลิงชนิดนั้นก็ต้องเปรียบได้ว่าเป็นพลังจิต

    เพราะฉะนั้น พวกเรามีหน้าที่ที่จะทำให้หลุดออกไปจากโลกนี้ให้ได้ แล้วพลัง ๒ ชนิด ที่จะทำให้เราหลุดออกไปจากโลกนี้ก็คือ พลังงานอนันต์ คือ พลังบุญ กับ พลังแห่งจิต นั่นคือ พลังอมตะ

    พวกเราก็เหมือนกัน มีหน้าที่ที่จะพัฒนาชีวิตให้เข้าไปสู่พลัง ๒ ชนิด แล้วก็เป็นหน้าที่ที่พระศาสดา องค์พระสัมมาสัมพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สืบทอดและสั่งการกันต่อๆ มา ในตระกูลศากยะ และ ชาวพุทธทั้งปวงให้รู้และเข้าใจ

    นักบวชในศาสนานี้ มีหน้าที่มาช่วยปลดปล่อยประชาชาติและสัตว์โลกจากความเป็นทาส เป็นผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้สืบทอดจิตวิญญาณของพระพุทธะ และส่งทอดกันต่อๆ ไป ซึ่งจะต้องเป็นผู้กล้าและผู้อาจหาญ เป็นผู้มีความสามารถ
    ในจิตวิญญาณตน ซึ่งหายากและมีน้อยคนนักที่จะเข้าถึงสัจธรรมแห่งพลังงานนี้ และมีน้อยคนนักที่จะสามารถอธิบายชี้แจงแสดงเงื่อนไขแห่งพลังวิเศษ 2 ชนิดที่มีอยู่ ในพระวรกายแห่งพระพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต นั่นคือ 'พลังงานอนันต์'
    ที่เรียกกันว่า 'พลังบุญ' และ 'พลังจิต' หรือ 'พลังอมตะ'

    เราทุกคนจึงมีหน้าที่ที่จะพัฒนาพลัง 2 ชนิดนี้ ให้อยู่ในจิตวิญญาณของเรา เพราะเราล้วนเป็นสาวกของชาวศากยะ มีหน้าที่ที่จะต้องชี้นำ อบรม สั่งสอน และเผยแพร่ 'วิถีทางแห่งความหลุดพ้น' ชนิดนี้ ให้กับหมู่สรรพสัตว์ สรรพชีวิตทั้งหลายได้รับรู้ เพื่อนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตตนและคนทั้งปวง
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : ตัวตาย ตัวจริง ตัวแฝงคืออะไร และวิธีการละตัวตน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">17 กันยายน 2546 11:58 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    วิธีละตัวตน
    ตัวตาย ตัวจริง ตัวแฝงคืออะไร จะเลือกใช้ตัวไหนดี และ ทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงวิธีการละตัวตนได้

    วิสัชนา
    อึม ! จริงๆ แล้วมันเป็นกลบทปริศนาธรรม ถ้าจะบอกกันแล้ว ก็คือปัญหาที่ลองภูมิเชาวน์ปัญญา แต่ไม่เป็นไร ก็คือว่า มนุษย์จริงๆ แล้ว มันเป็นความคิดของตน แล้วแต่ที่บัญญัติขึ้น ความหมายของมันไม่ได้มากมายอะไรกับการเกิดขึ้นแล้วดับไป

    ทีนี้ถ้าเราเข้าใจกฎกติกาในไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปเป็นอย่างไรเราก็จะเข้าใจได้ว่า ตัวที่ตายได้นั้น ก็คือรูปร่างขันธ์ทั้งหลายที่นั่งอยู่นี่ตายส่วนที่เป็นเรื่องจริงก็คือ ส่วนที่อยู่ในตัวตนของร่างกายที่เค้าเรียกว่า จิตวิญญาณ ส่วนที่เป็นตัวแฝงก็คือ กาม กิเลส ทั้งปวงที่เข้าครอบงำจิตวิญญาณเหล่านี้ และ มีอำนาจเหนือวิญญาณเหล่านี้ ฉุดกระชากลากถูให้เราไปทำชั่วตีหัวชาวบ้าน ข่มขืนชาวบ้าน ขโมยของเขา หรือว่า ทำเรื่องเลวร้าย หรือ เรื่องดีงามทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ตัวแฝง

    เพราะฉะนั้น ตัวตาย ก็คือ ร่างกายมนุษย์ ตัวจริงก็คือจิตวิญญาณ ตัวแฝง ก็คือ กรรม การกระทำนั่นเอง

    ส่วนวิธีการละตัวตนนั้น ก็คือ เมื่อเรารู้ว่ามีตัวตน และรู้สึกอึดอัดกับมัน ก็ไม่เห็นต้องมีคำถามว่า ทำอย่างไรต้องละ เพราะว่า เมื่อเรารู้ว่ามันมีตัวตน และรู้สึกอึดอัดกับมัน ก็แค่สลัดมันหลุดก็จบแล้ว ไม่ยึดถือกับมัน ไม่ให้ความสำคัญกับมัน ไม่ปล่อยให้มันมาเป็นนายเรา ไม่ยกย่องมัน จนตกเป็นทาส แค่นี้ก็น่าจะจบ

    ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า อุปาทาน คือ ความยึดถือที่มี ถ้าตัดความยึดถือได้ ทุกอย่างก็ไม่มีอะไร ไม่มีปัญหา แต่ทีนี้เราค่อนข้างจะไม่เข้าใจว่า ความยึดถือหน้าตาเป็นอย่างไร ตรงนี้ต่างหาก ความยึดถือ มันเป็นสิ่งที่แฝงมากับสิ่งที่ชอบก็มีสิ่งที่ชังก็มาก ความยึดถือทั้งสิ่งที่ชอบ และปฏิเสธสิ่งที่ชัง ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่า อุปาทาน ถ้าเราตัดอุปาทานได้ คือ ปฏิเสธอุปาทาน ไม่สนใจอุปาทาน ไม่ปล่อยให้อุปาทานเป็นนาย และมีอำนาจเหนือเรา เราก็จะสลัดหลุดจาก ชาติ ชรา มรณะ ได้

    วิธีการที่จะสลัดหลุดจากอุปาทานได้ ละอุปาทานได้ ไม่ให้ความสนใจอุปาทาน และไม่ปล่อยให้อุปาทานเป็นนายเรา ก็คือ ฝึกสติ พระพุทธเจ้าสอนให้เราฝึกสติ มีสมาธิกำกับอิริยาบถ การยืน เดิน นั่ง นอน เหล่านี้เป็นกระบวนการ การเข้าไปตัดอุปาทานทั้งนั้น

    ขอเล่าเรื่องอำนาจและศิลปะแห่งพระสติไว้เป็นข้อคิด คือครั้งหนึ่ง หลวงปู่ได้มาธุดงค์อยู่ในถ้ำไก่หล่น ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นิสัยหลวงปู่ชอบอยู่อย่างสงบ สร้างวัดไว้ใหญ่โตยังไม่อยากจะอยู่ในวัด ไม่อยากเป็นสมภารเจ้าอาวาส ไม่อยากจะเสวยสุขที่ไหน อยากมีอิสระเสรีภาพ แม้มีบางคนถามว่า หลวงปู่เป็นใคร มาจากไหน เป็นปัญหาโลกแตก คนที่อยู่กับหลวงปู่มา ๕ ปี ๑๐ ปี ยังไม่มีใครรู้ว่าหลวงปู่มาจากไหน ถ้าหากพวกเราจะทายกันว่า หลวงปู่เป็นหลวงปู่เทพโลกอุดร เป็นหลวงปู่จร พระศรีฯ พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ถามว่ายอมรับไหม หลวงปู่ไม่ยอมรับ และไม่ยอมรับว่ามาจากไหน บางคนอาจสงสัยว่าเป็นพระเก๊หรือเปล่า หลวงปู่ไม่ได้เป็นหลวงปู่ เพราะที่ชาวบ้านยกย่องตั้งให้ แต่เป็นเพราะมีคุณธรรม คนเราถ้ารักจะคบกัน ขอแค่มีความจริงใจต่อกัน เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน แค่นั้นก็น่าจะพอใจ จำเป็นด้วยหรือ ที่จะต้องทราบชื่อเสียงเรียงนาม ที่มาที่ไป

    ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า "คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน" เปรียบดังสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้สร้างเชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธเจ้า เมื่อลูกสาวคนเล็กเจ็บป่วย เศรษฐีคนนี้จึงไปเยี่ยมลูกสาว ฝ่ายลูกสาวเห็นจึงถามว่า "มาแล้วหรือน้องชาย" พ่อตกใจ ทำไมเรียกน้องชาย แสดงว่าอาการไข้คงหนักถึงขั้นประสาทหลอนแน่ จึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้า แต่ไม่พบพระพุทธเจ้า พบแต่พระสารีบุตร พระสารีบุตรยิ้มแล้วบอกว่า ที่ลูกสาวเขาเรียกนั้นถูกต้องแล้ว เพราะว่าคุณธรรมของท่านเป็นเพียงแค่พระโสดาบัน แต่คุณธรรมของลูกสาวท่านเป็นถึงขั้นพระสกิทาคามีแล้ว เพราะฉะนั้น เขาจึงควรเป็นพี่ใหญ่ของท่าน เป็นพี่ของท่านโดยคุณธรรม

    ในศาสนานี้ คนแก่มีอายุ มิใช่แก่แต่ตัว แต่แก่ความรู้ ความเป็นครู เป็นครูให้เขาเห็น ทำทุกอย่างให้เป็น นั่นแหละ คือหลวงปู่ ถ้าอยากพิสูจน์เรื่องนี้ ก็ลองถามคนที่อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่ว่า ระยะเวลาเป็นเดือนเศษที่มาอยู่ที่นี่ หลายคนคงจะรู้ว่าหลวงปู่เป็นหลวงปู่เพราะอะไร หลายคนคงจะรู้ว่าหลวงปู่ไม่ได้เป็นหลวงปู่เพราะริมฝีปากชาวบ้านยกย่อง ที่พูดนี่มิใช่ต้องการยกตัวเอง หรือไม่ใช่ให้ใครยอมรับ แต่เพราะได้ยินพูดกันอยู่เป็นประจำ วิจารณ์กันอยู่เป็นปกติว่าเป็นพระเก๊หรือเปล่า มาหลอกกันกินหรือไม่ มาหากินหรือเปล่า มาบอกบุญจริงหรือไม่ ฟังแล้วไม่ชอบใจ เพราะตั้งแต่เกิดมาในชีวิต อุตส่าห์หนีมาอยู่ถึงยอดเขา หนีซองเรี่ยไร หนีซองฎีกา หนีตู้บริจาค ยังมาเจอในถ้ำอีก มีบางคนถามว่า ทำไมไม่ชอบเงิน ก็เงินคืองู หลวงปู่เคยพกเงินไหม หลวงปู่ไม่เคยพกเงิน มีพกแต่พระสติ มีพระสติอยู่ที่ไหนก็มีอันจะกิน อยู่บนยอดเขายังมีไอสครีมกิน พวกเรามีพระสตางค์ แต่เมื่อไปอยู่บนเขาก็ไม่มีใครแบกของไปขายให้ เมื่อมีพระสติก็มีกินสมบูรณ์พูนสุข สดชื่นเบิกบาน ป่วยก็ไม่นาน มีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้รบกวนให้ชาวบ้านรำคาญจนเกินไป

    เพราะการมีพระสติจะระแวดระวังให้กับตัวเอง ไม่เคยมีอุบัติเหตุ ไม่เคยหกล้มหัวทิ่ม ไม่เคยให้ใครมาถ่มน้ำลายรดหน้า ไม่เคยเพลี่ยงพล้ำหรือประมาท ไม่สบประมาทคนอื่นเขาด้วยความขาดสติ

    พระสติมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าพระที่พวกเราห้อยคอเสียอีก ถ้าไม่มีพระสติอยู่ในหัวใจ ต่อให้แขวนพระสมเด็จไว้เต็มคออาจจะโดนใครตีตาย เพราะไม่มีสติปัองกันตัว ไม่มีสติระแวดระวังตัว ไม่มีสติจะระลึกได้ว่า คำพูดใดควรพูด คำพูดใดควรงดพูด คำพูดอะไรควรแสดง และ คำพูดอะไรไม่ควรแสดง กิริยาอะไรควรแสดง กิริยาอะไรไม่ควรแสดง

    พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ธรรมที่มีอุปการะมากและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก คือ "สติ" เพราะคนมีสติ คิดอะไรไม่พลาด ทำอะไรไม่ผิดพลาด คิดก็ไม่ผิด พูดก็ไม่ผิด เพราะอำนาจของพระสติดีกว่าพระสมเด็จ แม้คนแขวนพระเต็มคอแต่ขาดสติ เห็นนอนอ่านหนังสือพิมพ์ตายกลางถนนก็มากมี ตกหลุมตกท่อ ถูกตีตายเพราะความลำพอง ทรนง จองหอง อวดดี อยากลองของก็มากมาย

    เพราะฉะนั้น อำนาจของพระสติ นอกจากทำให้เรามีกินแล้ว ยังมีงานดี มีชีวิตอย่างโปร่งใส สุขสบายตั้งแต่หัวจรดเท้า เรียบร้อย เพียบพร้อมสวยงาม มีเสรีภาพและอิสระ คนมีสติสามารถกำจัดข้าศึกทั้งหลายทั้งปวง และเอาชนะอารมณ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ จากตาที่พบเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รับรส กายสัมผัสได้ เพียงขอให้มีสติประจำตัวและอยู่ในหัวใจ จะป้องกันระวังภัยได้ทั้งสิ้น ไม่ปล่อยให้อารมณ์ถูกฉุดกระชากลากถูไป

    ผู้มีพระสตินอกจากปลอดภัย ยังทำอะไรได้ไกลกว่า พระสติ อยู่อย่างไม่เปลืองสุขภาพ ไม่เป็นโรคประสาท ไม่เป็นโรคจิต ไม่โอ้อวดจนเกินไป มีคนพูดว่า หลวงปู่ขนาดนอนให้น้ำเกลืออยู่ ยังหัวเราะได้ ก็เพราะอำนาจของพระสติ เราจะหัวเราะได้ทุกถิ่น ทุกที่ ทุกทาง ด้วยความสบายใจ เพราะเรามีสติป้องกันภัย ไม่ปล่อยเวทนากล้าแข็งเกินไปจนนอนละเมอเพ้อพก ร้องโอดโอยไม่เข้าท่า หากยังเป็นเช่นนั้น นั่นแสดงว่า ขาดสติ

    พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ถ้าใครตายอย่างขาดสติก็เลวบัดซบ จะต้องตกนรกอเวจี เพราะฉะนั้นพวกเราจงรู้ไว้ว่า พระอะไรก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์เหมือนพระสติที่อยู่ในหัวใจพวกเรา จงจำไว้ว่าถ้าขาดสติตัวเดียว ใครก็ช่วยไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ แต่ถ้าเรามีพระสติ ไม่ต้องพกพระอะไรเลย แม้แต่พระสตางค์ก็อาจจะไม่ต้องพก ถ้าเราทำดีเพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ จนคนอื่นเขาเคารพเลื่อมใส กราบไหว้บูชา

    ความเป็นหลวงปู่ มิใช่อยู่ที่รูปร่าง ดาบที่จะคม มิใช่อยู่ที่ลักษณะของดาบ แต่อยู่ที่เนื้อเหล็ก และอยากจะรู้ว่าเป็นเหล็กดี ไม่ดี ต้องตีดู บุคคลที่จะเป็นครูที่วิเศษไม่จำเป็นต้องแสดง มีวิชาโบราณเรียกแบบนี้ว่า..

    ."บุคคลที่เข้าถึงขั้นไร้รูป ไร้ลักษณ์ ไร้ร่องรอย" ใครที่จะทำความรู้จักถึงบุคคล ที่เข้าถึงวิชานี้ยาก

    หลวงปู่เคยกล่าวว่า คนในแผ่นดินนี้ ถ้าใครรู้จักหลวงปู่ละก็นั่นแหละยอดคน คนที่อยู่ใกล้ๆ หลวงปู่ เคยเรียกหลวงปู่ว่า "มนุษย์ไร้อารมณ์" หลวงปู่บอกไม่ใช่ อย่างนี้ต้องเรียกว่า "คนหมื่นอารมณ์" เดี๋ยวหลวงปู่หัวเราะได้ เดี๋ยวก็ทำให้คนร้องไห้ เดี๋ยวก็ทำให้เขาสบายใจ ใครที่อยู่ใกล้หลวงปู่จะไม่เครียดและไม่เสียสติ หลวงปู่ไม่อวดอำนาจ ไม่ไปแสดงออกตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่าเป็นพระ ไม่เคยบอกใครว่าเป็นพระ ไม่เคยเขียนบอกไว้ที่หน้าผากเลยว่าเป็นพระ พระสติ ทำให้เรารักษาพระอยู่ข้างใน ความเป็นพระไม่ต้องแสดงมาก บางคนมาหาหลวงปู่แล้วอาจจะไม่พอใจกลับไป และพูดว่าพระอะไรพูดจาไม่ดี พูดทะลุหูซ้ายย้ายไปหูขวา พูดแบบขวานผ่าซาก อาจจะได้ยินแบบนั้นก็ได้ แต่ก็สบายใจและภูมิใจที่ทำได้ หรือใครจะเอาแบบอย่างก็ได้

    ชีวิตที่ขาดศิลปะ การจะพูดจา จะตำหนิติเตียน จะตักเตือนใคร ถ้าไม่มีศิลปะ ถึงด่าแบบไพเราะเขาก็จะคิดว่าหยาบ แต่ถ้าพูดด้วยความรู้สึกเอื้ออาทร เต็มไปด้วยความเมตตาการุณย์ และออกมาจากหัวใจบริสุทธิ์ ไม่ต้องไปปรุงแต่งให้เป็นมายากล ไม่ต้องไปอวดว่าเราพูดจาเพราะเสนาะหู พูดจาดี พูดให้คนอื่นเชื่อ ทุกอย่างไม่ว่าจะพูดอะไรออกมาจากใจแล้วละก็ ถึงจะฟังแล้วไม่รื่นหู แต่มันมากไปด้วยค่าและราคาของคำพูดและคนฟัง

    ฉะนั้นจงจำไว้ว่า ความจริงจังเป็นสิ่งสำคัญ หลวงปู่เคยเขียนบทโศลกไว้ที่วัดอ้อน้อย ที่หน้าหอฉันว่า

    "ลูกรัก สัจจะและความจริงใจ เป็นเครื่องเสริมสร้างบุคลิกภาพและความสำเร็จ"

    ในชีวิตหลวงปู่ไม่เคยโกหกใคร ไม่เคยโกหกแม้กระทั่งตัวเอง คำพูดที่เตือนเขา ไม่ว่าจะเป็นคำด่าหรือคำชม ก็พูดออกมาจากหัวใจที่นิยมแต่ความเป็นจริง เป็นคำพูดที่ออกมาจากใจเพื่อที่จะให้คนเชื่อถือ จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม หากเราก็พูดจริงอยู่แล้ว คนฟังจึงรู้สึกว่าเต็มไปด้วยความเอื้ออาทร... ของจริง ไม่จำเป็นต้องไปเติมแต่งกลิ่นสีและเสียงให้ไพเราะ แต่ถ้าของโกหกมันจำเป็นจักต้องทำให้ผู้อื่นเชื่อถือ จึงต้องเติมแต้มกลิ่นสีเสียง ให้สวยหรู งามสง่า แสนไพเราะ เพื่อให้ใครเขายอมรับและศรัทธา

    ตลอดชีวิตหลวงปู่ไม่ได้บวชเพื่อให้ชาวบ้านมาศรัทธา ไม่ได้บวชเพื่อให้ใครเขามาเคารพบูชา ไม่ได้บวชเพื่อให้ใครมาสักการะกราบไหว้ หรือมาทำอะไรให้มากมาย ขอเพียงทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่สัจธรรม ปลดปล่อยทาสของอารมณ์ทั้งหลายก็พอแล้ว การกระทำเหล่านี้รวมเรียกกันว่า "หลวงปู่" ซึ่งใครก็สามารถจะเป็นได้ ขอเพียงมีความศรัทธา ความจริงใจ อย่างจริงจัง ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เราจะเป็นได้หมด ทั้งยังเป็นผู้ที่น่าศรัทธา มีเสน่ห์ มีความสุข มีความพร้อมที่จะให้ผู้อื่นมาเคารพเราได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะ พระสติเป็นตัวสำคัญ อะไรจะศักดิ์สิทธิ์เท่าพระสติเป็นไม่มี

    สรุปแล้ว พระสติเป็นอำนาจอันสำคัญ เป็นกำลังอันยิ่งใหญ่ ดลบันดาลให้เรามีชีวิตยืนยาวและเกริกไกร ยิ่งใหญ่ในหัวใจของใครได้เสมอ และยังความศรัทธาให้เกิดขึ้น ใครพบเห็นก็มีเสน่ห์ มีอำนาจ วาสนา มีบารมี มีพลังในตัวเรา และ ป้องกันภัยทั้งหลายได้..

    จงมีชีวิตอย่างผู้ มีสติ เพื่อจะได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างผู้มีศิลปะ ละตัวตน ละตัณหา ละอุปาทาน ต่างๆ ได้ ก็ด้วยการมีพระสติ เป็นพระประจำใจ นั่นเอง
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : ฝึกสติ สมาธิ และปัญญากับการนั่งหลับตา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">10 กันยายน 2546 10:39 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    คนกลัวผี
    ไม่กล้านั่งหลับตา จะทำสมาธิได้หรือไม่

    วิสัชนา
    อยากถามกลับไปว่า ผีมันมาตอนหลับตาเหรอ ผีที่มันมาตอนหลับตา มันยังไม่น่ากลัวเท่าผีที่มันมาตอนลืมตานะลูก เพราะผีที่ลืมตาแล้วหลอกเราได้เนี่ย มันเสียหาย แม้แต่ชีวิตนะลูก เสียพรหมจรรย ์เสียตัว เสียความรู้สึกนึกคิด เสียจิตวิญญาณ เสียสมดุล เสียการดำรงชีวิตอย่างเป็นเอกภาพ สุดท้ายก็ต้องตกเป็นทาส สุดท้ายก็ตกเป็นหนี้ ตกเป็นเรื่องเป็นราว มีปัญหามากมาย ผีตัวนี้ น่ากลัวกว่า เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าการนั่งหลับตาแลัวจะเป็นคนดี อย่างที่หลวงปู่เคยเขียนบทโศลก สอนลูกหลานไว้ว่า

    ลูกรัก...ถ้าเจ้าคิดว่า การหลับตาจะทำให้เจ้าได้ดีพ่อว่า เด็กที่อยู่ในท้องแม่ดีกว่าเจ้า เพราะว่ามันยิ่งกว่าหลับตาอีกมันไม่เห็นภาพอะไรเลย อยู่แต่ในท้องแม่ ซึ่งก็ไม่เห็นมันเป็นอรหันต์ เพราะฉะนั้น การหลับตาไม่ใช่เป็นการทำให้เป็นคนดีเสมอไป

    คนจะดีหรือไม่ดี มันอยู่ที่ขณะที่มีชีวิตอยู่ แล้วทำอะไร ตรงนั้นต่างหาก คือ คนดี ถ้าทำเรื่องอัปรีย์ ก็เป็นคนไม่ดี เพราะกลายเป็นคนอัปรีย์ไป แต่ถ้าทำเรื่องดี เช่น สร้างสิ่งที่เป็นกุศล เป็นสาระให้แก่ชีวิตก็เป็นคนดีในสายตามชาวบ้าน

    เพราะฉะนั้น อย่าไปทุ่มเทให้กับการนั่งหลับตา จนกลายเป็นว่าเราจะลืมสถานภาพของการดำรงชีวิตให้เข้าสู่เป้าหมายของสาระธรรม อันเที่ยงแท้แน่นอน ด้วยตัวของตัวเอง

    อยากจะบอกในที่นี้ว่า อย่าเข้าใจว่า นั่งหลับตาแล้ว ผีมันจะหลอกเราได้ลืมตาก็หลอกได้เหมือนกัน และ คนที่น่ากลัวที่สุด คือ ตัวเราเองที่ไม่เข้าใจตนเอง ผีที่น่ากลัวที่สุด คือ ตัวเราเองที่ไม่ยอมรับตัวเราเอง และ ผีที่เลวร้ายที่สุด คือ สิ่งที่แฝงอยู่ในกมลสันดาน และ จิตวิญญาณของตัวเราเอง โดยไม่ใส่ใจว่า ตัวเองจะทำถูกหรือผิด
    ทำดีหรือชั่ว นั่นแหละ คือ ผีที่น่ากลัว

    อยากจะให้ลองพิจารณาประเด็นนี้กันสักหน่อย คือคนจะดีหรือไม่ดี มันอยู่ที่ขณะที่มีชีวิตอยู่ แล้วเราได้ทำอะไรกันบ้าง ? เพราะการที่เราได้ลงมือทำอะไรเพื่อคนอื่น มันเป็นความวิเศษสุด ยากยิ่งที่คนทั้งหลายจะทำได้ และการลงมือเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อหวังเกื้อกูลและเอื้ออำนวย ประโยชน์สุขส่วนรวมให้เกิดชึ้นนั้น คือ ความดี ใช่หรือไม่ เช่น การที่เราเอื้อมมือ
    ไปดึงต้นหญ้าที่ขึ้นมารกทาง ด้วยใจที่อาทรต่อสรรพสัตว์ที่ผ่านไปมา มันมีค่ากว่า การที่เราจะนั่งเรียนในโรงเรียนสัก 100 ชั่วโมง แล้วทำอะไรไม่เป็น หรือไม่ยอมทำอะไรเลย

    จริงอยู่การนั่งเรียนหนังสือในโรงเรียน ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตนและจะกลายเป็นประโยชน์ส่วนรวมได้ก็โดยทางอ้อม แต่การเอื้อมมือไปดึงหญ้านั้น เป็นประโยชน์ส่วนรวมโดยตรง มุ่งหมายต่อคนอื่นโดยตรง ปรารภผู้อื่นเป็นประมาณ

    พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้บรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ แผ่เมตตาโดยหาประมาณมิได้ คือ เมตตาต่อสรรพสัตว์ ไปทุกอณูของบรรยากาศ เพราะความเอื้ออาทรอย่างนี้ จึงทำให้โลกและสังคมอยู่ได้โดยสันติสุขและร่มเย็น

    ขอเพียงเราแต่ละคนช่วยกันได้ โดยเริ่มจากสิ่งเล็กน้อย แม้แต่แค่การเอื้อมมือไปเด็ดต้นหญ้า ด้วยความเสียสละต่อโลกและสรรพสัตว์นั้น ถือว่าเราได้เริ่มค้นหาคุณค่าในตัวเรา เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว ที่เราต่างใช้เวลาส่วนใหญ่สูญเสียไปกับการทำอะไรเพื่อ 'ปรนเปรอ' ตัวเรามาโดยตลอด เมื่อทุกคนต่าง 'แสวงหา' เพื่อ 'ตัวเอง' มากขึ้นเช่นนี้ จึงเกิดกลียุค และความเดือดร้อนในสังคมต่างๆ อย่างที่เป็นอยู่

    ในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น มีแนวทางของผู้แสวงหาการหลุดพ้นต่างๆ ที่เรียกกันว่า บำเพ็ญตบะบ้าง นั่งหลับตาทำสมาธิ โดยไม่ใส่ใจต่อการกระทำของกายบ้าง ไม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจเกื้อกูลต่อโลกและสังคม

    แต่วิธีการเหล่านั้น ไม่ใช่วิธีการให้ได้มาซึ่งมรรคผล คนเหล่านั้นไม่พบความสำเร็จ
    ในความหลุดพ้น ไม่ได้แก่นสารสาระของมรรคผล

    พระพุทธองค์เองได้ทรงเพียรพยายามอยู่ถึง 6 ปี จึงได้เปลี่ยนมาในทางที่ทรงเรียกว่า 'มัชฌิมาปฏิปทา' คือ เลิกกรรมชั่ว หันมาทำดี และฝึกปรือจิตอบรมจิตของตน

    ความดีประการแรก คือ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นแหล่งชีวิตของสัตว์ ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันแก่สรรพสัตว์ในทุกอิริยาบถด้วยใจเสียสละ และท้ายสุด คือ การฝึกปรือจิต พลังแห่งจิต ให้จิตมีพลัง เพื่อโน้มนำสิ่งต่างๆ ไปในทางที่เป็นประโยชน์ และด้วยกุศลแห่งจิค คือจิตที่ฉลาด และการกระทำที่ฉลาด 2 ชนิดนี้เท่านั้น ที่ทำให้พระพุทธองค์หลุดพ้นจากอำนาจของการเกิด แก่ เจ็บ และตาย

    วิธีการที่ฉลาดนี้ หรือ มัชฌิมาปฏิปทานี้ ประกอบด้วย การฝึกปรือทางกายและใจ คือ กายกับใจนั้นต้องรวมกันเป็นหนึ่ง คือ การที่ไม่ว่าเราจะกระทำการงานสิ่งใด โดยมีใจรับรู้อิริยาบถนั้นๆ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ให้จิตอยู่กับสิ่งที่เราทำตลอดเวลา การทำเช่นนี้ คือ สมาธิ โดยไม่จำเป็นต้องมีชั่วโมงแห่งสมาธิ แต่เราสามารถมีสมาธิในทุกอิริยาบถ

    ดังเช่น มีตัวอย่างของธรรมาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในการสอนมหาสติในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสั่งสอนชาวบ้านให้รู้จักสติ ต่อมาอาจารย์ผู้นั้นเข้าไปหาอาจารย์ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ไม่มีเกียรติอะไรนัก ด้วยความอยากจะสนทนาธรรมด้วย

    ในที่พักของอาจารย์ผู้ไร้เกียรตินั้น ในขณะสนทนา อาจารย์ผู้ไร้เกียรติ ได้ถามอาจารย์ผู้มีเกียรติว่า "เมื่อครู่นี้ ท่านถอดรองเท้าไว้ที่ฝั่งไหนของประตู และวางร่มไว้ฝั่งขวาหรือฝั่งซ้าย"

    อาจารย์ผู้มากไปด้วยเกียรติยศและมหาสติ นั่งนึกอยู่นานก็นึกไม่ออกว่า ถอดรองเท้าไว้ที่ประตูบานไหนของบ้าน สุดท้ายจึงยอมรับว่า ตนเองยังมีสติที่ไม่สมบูรณ์ คือ การกระทำยังไม่เป็น 'สัมมาปฏิบัติ' ยังไม่มีจิตระลึกรู้ถึงอารมณ์ หรือการกระทำของกาย จึงยังบกพร่องอยู่

    ดังนั้น วิถีทางของพระบริสุทธิธรรม คือ การทำอิริยาบถต่างๆ ด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว แม้เรื่องเล็กน้อย ต้องมี "ความตื่น" ให้เกิดขึ้นในทุกอิริยาบถ โดยไม่มีคำว่า "ลืม"

    เมื่อความรู้เนื้อรู้ตัวมาประกอบกับความเอื้ออาทรต่อ 'ผู้อื่น' จึงเป็นเรื่องที่นำไปสู่ การคิดถูก พูดถูก ทำถูก ที่เรียกว่า 'สัมมาปฏิบัติ' จึงอยากฝากไว้ว่า ประตูของธรรมชาติและจักรวาลและนิพพานจะเปิดได้ ต้องหมายถึงว่า กายกับใจเรา ต้องเป็น 'เอกภาพ' ซึ่งกันและกัน ในการกระทำทุกอิริยาบถ ทุกขั้นตอน จนท้ายที่สุด แม้กระทั่งวาระของความตายมาถึง

    การเป็นหนึ่งเดียวนี้ มิใช่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธเจ้า กับธรรมชาติ หรือ เป็นหนึ่งเดียวกับโลกและจักรวาล แต่เป็นปฏิปักษ์ต่อกายเรานั้น ใช้ไม่ได้ ความเป็นหนึ่งเดียวต่อสิ่งทั้งหลายต้องเกิดขึ้นมาได้ จากความเป็นหนึ่งเดียวของกายกับใจ นั่นคือ การทำกิจการงานทุกอย่าง
    ด้วยอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ทะยานอยาก อารมณ์ริษยา ละโมภ หลง ฉุนเฉียว แต่เป็นอารมณ์แห่งความรู้เนื้อรู้ตัว เป็นอารมณ์ล้วนๆ ที่ไม่มีอะไร

    อย่าทำอะไรเพียงแต่ 'ซาก' ตัวตุ๊กตาไขลาน ด้วยความรำคาญ เพราะโดนภาวการณ์บังคับ เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นโทษต่ออารมณ์ ยังให้เกิดความเกียจคร้าน หงุดหงิดและท้อถอย ระโหยโรยแรง เมื่อยล้า อ่อนเพลีย ท้ายที่สุด ก็จะมีผลเสียต่อร่างกาย จนกลายเป็นท้องผูก ไข้ขึ้น อันเป็นต้นเหตุแห่งโรค
    ภัยต่างๆ

    ในทางกลับกัน ถ้าเรารู้ว่า ต้องทำกิจการหรืองานนั้นๆ อยู่ดี เราก็ควร 'เอาประโยชน์' จากการกระทำนั้นๆ โดยตั้งใจทำ ทำด้วยความสนุก ในขณะเดียวกัน อย่าเอาใจไปผูกกับงาน แต่จงเอาอารมณ์และความนึกคิดอยู่กับตัวเราเอง แล้วเอาอำนาจ คือ การผูกไว้ของกายกับใจไปทำงาน เราจะรู้สึกเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย และนอกจากอิริยาบถของเราจะเคลื่อนไหว ได้พลังกายแล้ว ใจเรายังกล้าแข็ง เมื่อผลงานสำเร็จ ความอาจหาญแช่มชื่น ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตน
    กระทำก็มีขึ้น

    ขอพวกเราจงหมั่นฝึกตนเอง แล้วนำไปวิเคราะห์พิจารณาว่า ในการทำงาน หรือกิจการต่างๆ ของเรานั้น เราได้ทำทุกอย่าง ด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว มีความรวดเร็ว เร่งรีบ รวบรัด และ เรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสามารถประคับประคองจิตใจให้เป็นปกติ อยู่ในภาวะสมดุลได้หรือไม่

    หากหมั่นฝึกฝนตนเองได้ดังนี้ ก็ย่อมดีกว่า การนั่งหลับตาเพราะจะมีทั้ง สติ สมาธิ และ ปัญญา อีกทั้งยังคุณประโยชน์ให้บังเกิดแก่ตนและคนอื่นอีกด้วย
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : สังคมกำลังหลง จะนำกลับมาใกล้ธรรมได้อย่างไร <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">3 กันยายน 2546 10:47 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    ช่วยคนเขลาด้วย
    กราบนมัสการหลวงปู่ครับ ผมหลงรักผู้หญิงคนหนึ่ง ขุ่นเคืองใจเวลาเธอเล่นหัวกับคนอื่นๆ ขุ่นใจเวลาเธอไม่แยแสผม ผมทราบว่านั่นคือความเห็นแก่ตัว และรู้ว่าต้องปล่อยวาง แต่เหมือนกับ "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" เหมือนคนไม่เคยเจ็บตัว คนไม่เคยหลงป่า เพียงรู้อาการว่าเจ็บตัวเป็นอย่างไร รู้ว่าคนหลงป่าเป็นอย่างไร ไม่ซึมซาบเข้าไปในจิต เพียงแต่เป็นความรู้แบบหมาหางด้วนเท่านั้น จนใจ จนปัญญา ขอหลวงปู่เมตตาช่วยคนเขลาอย่างผม

    วิสัชนา
    ความรัก เป็นความงดงามทางวิญญาณ เช่น พ่อแม่ เราท่านอยากเห็นเรามีความสุข ครูอาจารย์รักเราก็อยากเห็นเรารุ่งเรืองเจริญ สุภาพบุรุษรักสตรี ก็คิดวา ขอสตรีที่เรารักจงมีสุข สตรีรักบุรุษ ก็หวังว่า ขอบุรุษที่เรารักมีความสุข ตัวอย่างความรักเหล่านี้ต่างหากเล่าที่เป็นความรักสร้างโลก แต่ความรักที่คุณมี เป็นความรักผลาญโลก ทำลายล้างโลก ใครผู้ใดที่มีความรักเช่นนี้อยู่ในใจ ก็จะจมอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ ระทม เร่าร้อน เศร้าซึม

    โถ.......ช่างน่าสงสารจริงๆ...ใช้ปัญญาหน่อย...คุณ

    ปุจฉา
    หัวหน้าบ้าอำนาจ
    กราบนมัสการหลวงปู่ หากมีหัวหน้างานที่นิสัยไม่ดี บ้าอำนาจ ทำให้ลูกน้องเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ จะปฏิบัติอย่างไรต่อบุคคลเช่นนี้

    วิสัชนา
    หนีได้มั้ยล่ะ ถ้าหนีไม่ได้ก็คิดเสียว่า อยู่เพื่อเป็นการฝึกจิตใจเรา ว่าสามารถอดทนต่อแรงบีบรอบข้างได้มากน้อยเพียงใด ฉันว่าน่าจะเป็นเรื่องดีเสียด้วยซ้ำ ที่เขาสู้อุตส่าห์ฝึกคุณให้เป็นคนแกร่งเข้มแข็ง ถ้าคุณทนได้ ยอดมนุษย์เลยล่ะ ไม่เห็นต้องไปคิดมากเลย รู้จักหาวิธีคิดให้ชีวิตมีความสุขบ้าง

    ปุจฉา
    ทำ ปาณาติบาตโดยหน้าที่
    กราบนมัสการท่านหลวงปู่ที่เคารพ กระผมรู้ซึ้งเป็นอย่างดีว่าการกระทำปาณาติบาตนั้นเป็นของไม่ดี และพยายามตั้งใจรักษาศีลข้อนี้ไว้โดยตลอด โดยแม้ว่าจะเป็นมดหรือว่ายุงสักตัว ถ้าไม่เผลอไปก็จะไม่เคยคิดจะทำร้าย ถึงจะเป็นหน้าที่ก็ไม่เคยคิดจะทำการงานอาชีพที่ต้องผิดศีลเช่นนี้เลย เช่น อาชีพที่ต้องฆ่าสัตว์ทั้งหลาย แต่ถ้าเหตุการณ์บังคับหรือมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำปาณาติบาต เช่น ตัวกระผมเป็นอาจารย์อยู่ที่สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งโดยที่ในวิชาหนึ่ง ของกระผมที่จะต้องนำสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบมาผ่าเพื่อทำการศึกษาถึงระบบต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ศึกษากัน แต่กระผมก็มีความรู้สึกที่ไม่ดีเลย จะไม่ทำ นักศึกษาก็จะไม่ได้ความรู้ แต่พอครั้นจะทำก็จะเป็นการเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่น กระผมควรทำเช่นไร และผลกรรมของกระผมจะมีมากน้อยเป็นประการใดครับ หรือจะเป็นอุปถัมภกกรรมของกระผมมาแต่ชาติอื่นใดที่กระผมจะต้องมากระทำบาปอัน ตัวกระผมไม่ต้องการเลย ขอนมัสการ

    วิสัชนา
    1.บาปคุณก็มี แต่บุญคุณก็มากมิใช่น้อย เพราะความรู้ที่คุณสอนและลูกศิษย์คุณได้ เขาเอาไว้ช่วยชีวิตคน ซึ่งก็มีเป็นจำนวนมาก ลองชั่งวัดดูแล้ว บุญน่าจะมากกว่าบาป

    2.ถ้าคุณระลึกถึงแล้วรู้สึกผิด ก็ทำบุญอุทิศให้แก่เขาแล้วอธิษฐานขออโหสิกรรม บอกให้เขารู้ว่าเรามิได้มีเจตนา แต่มันเป็นความจำเป็น เพื่อชีวิตผู้อื่นอีกหลายๆร้อยชีวิต คุณจึงต้องทำ ฉันมีคำพูดของพระมหาโพธิสัตว์องค์หนึ่งท่านพูดเอาไว้ว่า"ถ้าไม่ลงนรกแล้วจะ รู้ได้อย่างไรว่า สัตว์นรกเป็นทุกข์"การมีชีวิตอยู่ที่ต้องเกาะเกี่ยวกับสังคม มันก็เป็นเช่นนี้แหละคุณจะให้บริสุทธิ์ทุกย่างก้าวคงเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นพระอรหันต์

    ปุจฉา
    กำลังหลง
    ปัจจุบันหลงในวังวนของสังคมมาก จะทำอย่างไรให้กลับมาใกล้กับธรรมะได้เหมือนเดิม โดยไม่ฝืนธรรมชาติของจิตมากเกินไป

    วิสัชนา
    เรียนรู้ตัวเอง ค้นหาตัวเอง พยายามทำความเข้าใจในตัวเอง ว่าต้องการอะไร แล้ววิเคราะห์ว่าสิ่งที่คุณต้องการนั้น เป็นสิ่งที่พึ่งให้แก่คุณได้หรือไม่ แม้ชีวิตหลังความตาย

    ปุจฉา
    ตายแล้วไม่สูญ จะอธิบายอย่างไร
    ถ้าเราต้องอธิบายให้คนรุ่นเก่าฟังว่าตายแล้วไม่สูญ มีการเวียนว่ายตายเกิด ควรจะอธิบายอย่างไรเจ้าคะ

    วิสัชนา
    ใช้หลักทฤษฎี การหมุนเวียนของน้ำ ได้แก่ น้ำถูกแดดเผา ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นบนอากาศ แล้วรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ พอโดนความกดอากาศ ก็ตกมาเป็นหยดน้ำ ลงสู่แม่น้ำ และไม่จำเป็นเสมอไปว่า น้ำที่ระเหยจากแม่น้ำเจ้าพระยา มันอาจจะลอยไปตกลงแม่น้ำโขง หรือแยงซีเกียงก็ได้ คนและสัตว์ที่ตายจากเมืองไทย อาจไปเกิดใน ลาว ฝรั่ง เขมร ก็ได้ แล้วแต่อำนาจแรงกรรมบันดาล มนุษย์และสัตว์ เกิดได้เพราะอาศัยเหตุปัจจัย คือ กรรม เหมือนกับน้ำ ที่ได้บังเกิดในที่ใดๆ ก็ต้องอาศัยเหตุ ปัจจัย เช่น ลม และ แสงแดด

    ปุจฉา
    ตาย ตอนนี้ จิตจะอยู่ในสภาวะใด
    กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพ ลูกขอกราบเรียนปุจฉาหลวงปู่ดังนี้นะคะ คือ ลูกได้ฝึกปฏิบัติเจริญสติแบบตัว "จ" เป็นประจำ และถนัดในการเฝ้าดูจิตอยู่ในชีวิตประจำวัน ได้พบว่ามีขยะเก่ามากมาย แต่จากการเจริญสติ ขยะใหม่มีน้อยลง แต่มีปัญหาหนึ่ง คือ ถ้าคืนไหน ลูกได้กินฮอร์โมนที่หมอสั่งให้กินประจำ(ลูกอายุ 56 ปีแล้วค่ะ) หรือ วันไหนเหนื่อยมากๆ จะหลับสนิทแบบไม่มีสติ แล้วมักฝันร้ายเรื่องซ้ำๆกันว่า พบสิ่งที่น่ากลัวมาก แล้วละเมอเป็นประจำเลยค่ะ ถึงกับส่งเสียงดัง แต่ในยามปกติ ถ้าลูกอยู่เงียบๆ ไม่มีผัสสะกระทบ มีสติอยู่ตามปกติ จิตจะเข้าสู่ภาวะสว่าง สงบ มีความว่างเป็นอารมณ์เสมอ ลูกจึงสงสัยว่า ถ้าลูกตายไปตอนนี้ จิตของลูกจะเป็นไปตามภาวะใด ระหว่างเวลามีสติ กับเวลาที่จิตตกภวังค์ และทำอย่างไรลูกจึงจะแก้ไขเรื่องการละเมอได้ ซึ่งการละเมอนี้เป็นมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ไม่สามารถแก้ได้เลย ลูกขอรบกวนหลวงปู่เท่านี้นะคะ เพราะชีวิตนี้ ลูกมีเป้าหมายที่จะปฏิบัติธรรมให้บรรลุถึงความดับและเย็นตามที่ได้ฟังเทปจาก หลวงปู่ค่ะ ถึงไม่ได้ในชีวิตนี้ ก็ขอให้ได้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะพึงถึงค่ะ กราบนมัสการด้วยความเคารพสูงสุดค่ะ

    วิสัชนา
    คุณถามฉันว่า ตายขณะจิตตกภวังค์ไปไหน ตอบได้ทันทีว่าไปอบาย วิธีแก้อาการละเมอ ต้องภาวนาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข จนหลับ แล้วอาการละเมอจะหายไปเอง ขณะที่มีชีวิตอยู่ถ้ามิได้เจริญสติในกรรมฐานกองใด ก็ให้ภาวนาอยู่ในใจว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข

    ปุจฉา
    สงสัย เรื่องอานาปาณสติ
    นมัสการครับ การทำสมาธิแบบอานาปาณสติ เมื่อกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ภาวนา พุทโธ เมื่อจิตนิ่ง-สงบ จะพบว่าว่างเปล่าใช่หรือไม่ อย่างไร กรุณาแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

    วิสัชนา
    การทำอานาปาณสติ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ ทำเพียงแค่เข้าไปรับรู้ลมหายใจ ในขณะปัจจุบันว่า ลมกำลังเข้าหรือออก ยาวหรือสั้น แรกๆทำแค่นี้ก่อน โดยที่มิต้องมีคำภาวนาใดๆ ส่วนคำถามที่ว่า เมื่อจิตนิ่งสงบ แล้วจะพบความว่างหรือไม่ ฉันอยากให้คุณได้ลองทำดูด้วยตัวเอง ค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง มันจะเป็นคำตอบที่ ศักดิ์สิทธิ์ กว่าที่อาศัยคำตอบจากปากของคนอื่น ซึ่งดูว่าคุณจะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร

    ปุจฉา
    ทำ สมาธิแล้วขนหัวลุก
    ขอกราบเรียนถามหลวงปู่ด้วยความศรัทธา ทำไมเวลาลูกทำสมาธิ แล้วพอลองหายใจยาวๆแรงๆ ต้องมีอาการขนลุก และหัวชาคันๆ นิดๆ แต่ไม่เจ็บ ไม่ทราบว่าดี ไม่ดี ถูกไม่ถูก เพราะไม่เคยถามใคร ขอหลวงปู่มีเมตตาตอบลูกด้วยเจ้าค่ะ ขอกราบแทบเท้าขอบพระคุณหลวงปู่ ณ ที่นี้เจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    คงไม่เป็นไรหรอกคุณ อาการที่คุณเล่ามาน่าจะเกิดจากลมกำเริบ ทำให้ประสาท และผิวหนังรวมทั้งเส้นผมตึงและตื่นตัว อย่าไปสนใจเลย เอาเป็นว่าคุณได้อะไรบ้างหรือยังในการเจริญสติ ถ้ายังก็พยายามทำให้มันได้
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปุจฉา วิสัชนา : อย่างไรคือการสร้างพระในใจตน? <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">27 สิงหาคม 2546 17:19 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ปุจฉา
    อย่างไรคือการสร้างพระในใจตน?

    วิสัชนา
    ก็ทำให้เกิดสามศักดิ์สิทธิ์ไงลูก กายศักดิ์สิทธิ์ ธรรมศักดิ์สิทธิ์ และก็จิตศักดิ์สิทธิ์

    แต่หลวงปู่จะสอนพระเณรที่นี่ว่า พวกท่านทั้งหลาย จงอย่าอยู่เพื่อให้คนอื่นเค้ากราบไหว้ แต่จงมีชีวิตอยู่เพื่อจะกราบไหว้ตัวเองให้สนิทใจ การที่เราจะสามารถกราบตัวเองได้อย่างสนิทใจ เพราะว่าเราสร้างความศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๓ อย่าง ให้เกิดขึ้นในตัวเรา คือ สร้างสถานะ แห่ง ๓ ศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดขึ้นในจิตวิญญาณ กมลสันดาน และในกายเรา

    ข้อแรก กายศักดิ์สิทธิ์ เราต้องทำให้มีความรู้สึกว่า ร่างกายทั้งหมดทั้งหลาย ทั้งปวงของเราศักดิ์สิทธิ์ได้ด้วย วิถีชีวิตของการอุทิศแบ่งปัน เอื้ออาทร และการุณย์ แก่มหาชน สรรพสัตว์ และ คนที่อยู่รอบข้าง รวมทั้งสรรพวัตถุ สรรพชีวิต และก็สรรพวิญญาณ ให้โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน เหล่านี้คือกระบวนการสร้างกาย
    ศักดิ์สิทธิ์

    เมื่อเรามีกายศักดิ์สิทธิ์ คนทั้งหลายก็ยอมรับเราได้ เราก็ยอมรับตัวเราเองได้ กราบตัวเองได้อย่างสนิทใจ ถือว่านั่นคือ วิถีทางแห่งกายศักดิ์สิทธิ์

    เมื่อกายศักดิ์สิทธิ์แล้ว มันก็จะเป็นกระบวนการ แนวทางให้เราขวนขวายแสวงหา ธรรมศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ภายในกาย

    ชั่วชีวิตหลวงปู่ใช้วิถีชีวิตของตัวเองใน ๓ศักดิ์สิทธิ์ และแสวงหาธรรมศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่จากตำรา ไม่ใช่จากคำภีร์ ไม่ใช่อักษรภาษา หนังสือ หรือกลบทใดๆ แสวงหาได้ในจิตวิญญาณของตัวเอง และเมื่อเราพบธรรมศักดิ์สิทธิ์ ก็จะทำให้จิตวิญญาณของเราที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลานุภาพ และพลังอำนาจ
    ศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย

    ทั้ง ๓ ศักดิ์สิทธิ์นี้แหละ เป็นการสร้างสรรค์และหล่อหลอมพระผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นพระบริสุทธิธรรมที่ยิ่ง ใหญ่ที่เกิดขึ้นภายในใจจิตวิญญาณของตัวเอง

    ปุจฉา
    เรื่อง ทานเนื้อสัตว์
    ได้ยินคนบางกลุ่มมักกล่าวว่าชาวพุทธที่แท้ควรเลิกทานเนื้อสัตว์ทั้งมวล รวมถึงการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ด้วยยิ่งสมควรถวายแต่อาหารมังสวิรัต เพราะการทานเนื้อสัตว์ย่อมเป็นการเบียดเบียนซึ่งชีวิตผู้อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงเสวยมังสวิรัตเช่นเดียวกัน จึงอยากกราบนมัสการหลวงปู่ได้กรุณาตอบลูกด้วยค่ะว่า ที่ถูกต้องแล้วเราควรปฏิบัติเช่นไร และหากเราทานเนื้อสัตว์โดยไม่รู้ไม่เห็นไม่ยินดีในการฆ่าถือว่าเรากระทำกรรม ไม่ดีหรือเปล่าเจ้าคะ

    วิสัชนา
    1.ความเชื่อเช่นนี้มิใช่ของใหม่ แม้อดีตครั้งพุทธกาลพระเทวทัตผู้ปรารถนาแสดงตนเหนือพระพุทธเจ้าก็เคยแสดง ความเห็นเช่นนี้ แล้วขอพุทธานุญาตให้พระบรมศาสดาประทานอนุญาตให้ภิกษุมีชีวิตอยู่ได้ด้วยชาว บ้านเลี้ยง ถ้าไปจำกัดว่าอย่างนี้ฉันได้ อย่างนี้ฉันไม่ได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้นๆ น่าจะเป็นเหตุให้ภิกษุเป็นอยู่ลำบากขึ้น จะเป็นเหตุทำให้พระสัทธรรมไม่แผ่ออกไปในชนทุกหมู่เหล่า ทั้งพวกกินเนื้อและพวกกินผัก ที่ถูกแล้วควรเป็นอยู่ตามกำลังของชาวบ้านเขาเลี้ยง ถ้าไม่ผิดธรรมผิดวินัย ให้อะไรฉันได้ก็ฉันไปเถอะคุณ

    2.พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนว่า ภิกษุฉันเนื้อสัตว์ที่ตนมิได้ยินดีให้เขาฆ่าเพื่อตน ไม่รู้ ไม่เห็นในการฆ่า แล้วฉันเนื้อนั้น ไม่ได้เป็นอาบัติ ไม่เป็นบาปกรรม ไม่เป็นบาปใดๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...