มะเร็งเข้ากระดูก ภัยเงียบที่ต้องระวัง

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 26 เมษายน 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG] ขึ้นชื่อว่า " มะเร็ง" คงไม่มีใครอยากเข้าไปข้องเกี่ยว แต่ทุกเพศทุกวัยมีโอกาสเสี่ยงเท่าๆ กันเลยทีเดียว ซึ่งมะเร็งที่พบมากในเพศหญิง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 อันดับแรกคือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขณะที่เพศชาย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งในช่องปากและลำคอ และมะเร็งต่อมลูกหมาก

    แต่สิ่งที่กังวลมากกว่าอาการป่วยด้วยโรคมะเร็ง นั่นคือภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคซ้ำซ้อน ซึ่งมีมากมายหลายโรค แต่โรคมะเร็งที่เรียกว่า "มะเร็งเข้ากระดูก" ถือเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำกับผู้ป่วยมะเร็งหรือมีประวัติการเจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็งมาก่อนสูงทีเดียว

    รศ.พ.ญ.สุพัตรา แสงรุจิ หัวหน้าสถานวิทยามะเร็งศิริราช โรงพยาบาลศิริราช เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เมื่อรักษาหายแล้วก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ควรมารับการตรวจติดตามผลการรักษากับแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจเกิดโรคมะเร็งเป็นซ้ำใหม่ที่เดิม หรือเกิดโรคมะเร็งกระจายไกลไปตามอวัยวะต่างๆ ได้ เช่น ปอด ตับ กระดูก และสมอง เป็นต้น มะเร็งกระจายไปกระดูก พบมากเป็นอันดับ 3 ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การตรวจวินิจฉัย แพทย์อาจจะใช้วิธีทุบเบาๆ ตรงตำแหน่งที่ปวด ส่งไปตรวจกระดูกทั้งตัวที่เวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือส่งภาพถ่ายภาพเอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    โรคมะเร็งที่ชอบลุกลามไปกระดูกมาก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งเม็ดเลือดในโพรงกระดูก (Multiple Myeloma) เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็ว การตรวจวินิจฉัยได้เร็ว ได้รับการรักษาทันท่วงที ผลการรักษาจะดีกว่ามาพบแพทย์ช้า

    ตามกลไกปกติของร่างกาย เมื่อกระดูกโตเต็มที่จะมีการปรับแต่งกระดูกให้เข้ารูป โดยมีทั้งการสร้างและการสลายกระดูกเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวกัน กระดูกจะไม่มีการเปลี่ยนรูปทรงแต่จะมีความแข็งแรงขึ้น แต่มะเร็งเข้ากระดูกนั้นอาจเกิดจากมะเร็งที่เกิดขึ้นในกระดูกเอง หรือเกิดขึ้นจากต้นกำเนิดเม็ดเลือดบางชนิดในโพรงไขกระดูก หรือเกิดจากเซลล์มะเร็งในอวัยวะอื่นกระจายไปที่กระดูก โดยการเจาะทะลุหลอดเลือดและไหลไปตามหลอดเลือดแล้วจึงแทรกตัวผ่านผนังหลอดเลือดเข้าไปเกาะตัวบริเวณเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกบางส่วนถูกทำลายเกิดเป็นรูขนาดเล็กจำนวนมาก ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรงและแตกหักง่าย

    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูก

    โดยปกติจะเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆ เลยในระยะแรก ต่อมาจะเริ่มปวดนิดๆ และปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กระดูก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ไหวและไปพบแพทย์ เมื่อถึงช่วงนั้นความรุนแรงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็มีสูง หากเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคคือ ขั้นที่ 4 ซึ่งยากต่อการรักษาให้หาย แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทราบก่อนว่าเป็นภาวะมะเร็งเข้ากระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อการรักษาที่ทันท่วงที <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อาการแสดงของภาวะมะเร็งเข้ากระดูก คือ

    1. อาการกระดูกแขนขาหักจากโรคเอง โดยไม่ได้เกิดอุบัติเหตุหกล้ม หรืออาจหกล้มไม่รุนแรง แต่กระดูกหัก

    2. อาการจากกระดูกสันหลังที่ถูกมะเร็งทำลายจนยุบหรือกร่อน กดทับไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการชามือ เท้า หรือแขนขาอ่อนแรงได้

    3. อาการปวดกระดูกมาก

    4. อาการภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งจะมีอาการได้หลายอย่าง ประกอบด้วย อาการซึมหมดสติ มือเท้ามีความรู้สึกชาผิดปกติ ท้องอืด ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัสสาวะผิดปกติ หิวน้ำ ดื่มน้ำมาก เป็นต้น

    การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูก

    1. การให้ยา ประกอบด้วย ยาบรรเทาอาการปวด ยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน ยาลดแคลเซียมในเลือด ซึ่งการให้ยาลดแคลเซียมในเลือดจะช่วยลดอาการปวดกระดูกและช่วยให้กระดูกแข็งแรงอีกทางหนึ่ง

    2. การให้รังสีรักษาเพื่อลดอาการปวดเฉพาะที่ ซึ่งจะช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเฉพาะตำแหน่งได้ดี โดยเฉพาะในรายที่เข้ากระดูกบริเวณสันหลัง ทำให้เกิดการกดทับไขสันหลัง ผู้ป่วยอาจเป็นอัมพาต ซึ่งการให้รังสีจะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการอัมพาตได้ ในบางรายที่เป็นมากหลายตำแหน่งอาจจะฉีดสารกัมมันตรังสี summarium เพื่อลดอาการปวดได้

    3. การผ่าตัดกระดูก เพื่อทำให้การเคลื่อนไหวเป็นปกติมากที่สุด การรักษาชนิดนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่พบว่าเกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูกที่รับน้ำหนักมาก เช่น กระดูกต้นขา เมื่อเกิดอาการกระดูกหัก แพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดเพื่อนำวัสดุทางการแพทย์เข้าไปเสริมให้กระดูกมีความแข็งแรง เช่น การใส่เหล็กเข้าไปในโพรงกระดูกขา เสริมความแข็งแรงของกระดูกบริเวณขา ทำให้ผู้ป่วยสามารถเดินไปตามปกติอีกระยะหนึ่ง

    ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่เกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูก คือ การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะควรเพิ่มการรับประทานผักสดและผลไม้ สูดอากาศบริสุทธิ์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำและทำจิตใจให้แจ่มใส

    เพียงเท่านี้ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะมะเร็งเข้ากระดูกก็สามารถมีชีวิตที่ยืนยาว ดำรงชีวิตอยู่ได้เทียบเท่าคนปกติแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...