มารู้จักกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรล้านช้างที่ประดิษฐานอยู่ในประเทศไทย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 24 ตุลาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    ในสมัยก่อนปลาใหญ่กินปลาเล็กมันเป็นเรื่องสัจธรรม ทองมหาศาลที่หุ้มเจดีย์ชเวดากองที่พม่าก็ได้มาจากกรุงศรีอยุธยาแหล่ะจ้า อ่านใว้ประดับความรู้เฉย ๆ นะจ๊ะ ใครที่คิดจะมาด่าบรรชนชนชาติของตัวเองทำนองว่าไปเอาของเขามาระวังชีวิตไม่เจริญนะจ๊ะ [​IMG]

    พระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง ( ประเทศลาวในปัจจุบัน ) ที่อยู่ในประเทศไทย ตามพระราชโองการของพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์ ผู้เป็นใหญ่ในสยามประเทศ ทรงมีพระราชอำนาจกว้างใหญ่ไพศาลเหนือนดินแดนต่าง ๆ มีแคว้นลาว เป็นต้น ทรงเลื่อมใสในพระรัตนไตย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

    พระพุทธรูปเหล่านี้ล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดังของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อในอดีต กระจัดกระจายทั้งในเวียงจันทน์และหัวเมือง ปัจจุบันชื่อเสียงถูกลืมไปตามกาลเวลา จริง ๆ มีกว่านี้อีก แต่จะคัดเอาแต่องค์ที่พระเจ้าแผ่นดินยุคนั้นทรงต้องพระทัยสุด ๆ ประกอปไปด้วย


    พระแซกคำ
    [​IMG]
    พระแซกคำ เป็นทองคำบริสุทธิ์ทั้งองค์ หน้าตัก 18 นิ้ว องค์นี้ มีชื่อเสียงโด่งดังพอตัว ถูกนำมาสมัยรัชกาลที่ 3 ปัจจุบันเป็นพระประธานอุโบสถ วัดคฤหบดี ฝั่งธนบุรี


    พระอินทร์แปลง
    [​IMG]
    พระอินทร์แปลง เดิมหน้าตักประมาณ 2 ศอก องค์นี้จัดเป็นองค์ที่มีชื่อเสียง คนลาวทั่วทิศแห่กราบใหว้ทำปราสาทผึ้งบุชาในวันเข้าพรรษา ถูกนำมาสมัย ร. 4 ปัจจุบันอยู่ที่วัดเสนาสนาราม จังหวัดอยุธยา


    พระเสริม พระสุก พระใส
    [​IMG]
    พระเสริม

    [​IMG]
    พระใส

    พระเสริม พระสุก พระใส 3 พี่น้องนี้จัดเป็นดาวเด่นที่เพอร์แฟคที่สุดของเวียงจันทน์ในสมัยนั้น เดิมทีคนลาวนำไปซ่อนใว้ในถ้ำ บนภูเขาควาย เพื่อหนีภัยสงคามแต่กองทัพ ร. 3 ในยุคนั้นสืบตั้งนานกว่าจะเจอที่ซ่อน แล้วล่องมาตามน้ำ พระสุกหายสาปสุญไปแล้ว ส่วนที่เหลือไว้ที่วัดโพธิชัย และวักประดิษธรรมคุณ เมืองหนองคาย ครั้นสมัย ร. 4 ได้เชิญพระเสริม อาราธนาไว้บนแท่นเศวตฉัตรในท้องพระโรง ปัจจุบันเป็นพระประธานในวิหารวัดสระปทุมวนาราม กทม. ส่วนพระใส ใว้ที่หนองคายเหมือนเดิม


    พระสายน์
    [​IMG]
    ข้อความต่อไปนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 4 จากหนังสือที่ระลึกในการทอดกฐินพระราชทาน สภาผู้แทนราษฎรซึ่งแปลจากจารึกภาษามคฑด้านหลังของพระสายน์ ดังนี้

    ขอความสุขสวัสดิ์จงมีแด่ทุกท่านที่ได้สดับและอ่านเรื่องนี้เถิด
    ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงประวัติของพระปฏิมานามว่า “สายน์” ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถ วัดปทุมวนารามนี้ โดยคาถาประพันธ์เหล่านี้ ตามที่ได้ทราบและได้ยินมาแต่เพียงย่อ ๆ ดังต่อไปนี้
    พระพุทธปฏิมาซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถนี้ หล่อด้วยทองเหลืองซึ่งผสมเป็นอย่างดีมาแล้ว ทั้งหนาทั้งหนัก สนิทดีดุจศิลาทั้งแท่งเกลี้ยงเกลา เหลืองอร่ามดุจทองคำ ข้าพเจ้าไม่ทราบเหมือนกันว่า ใครเป็นผู้สร้างสร้างที่ไหน สร้างเมื่อไหร่ และสร้างอย่างไร ทราบแต่เพียงว่าเป็นหัตถกรรมของลาวอย่างเดียวเท่านั้น ก่อนที่จะนำมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถนี้พรพุทธปฏิมาองค์นี้ได้ประดิษฐานอยู่ ณ แคว้นลาวพวกอิสรชนบางหมู่ได้เอาไปเก็บไว้ในถ้ำ ณ ภูเขาลูกหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้เมืองมหาชัยปุระในแคว้นลาวนั้นเป็นเวลานานแล้ว เปิดโอกาสให้มหาชนทั่ว ๆ ไปบูชากันได้ จะเป็นเพราะเหตุใด พระพุทธปฏิมานี้จึงได้นามว่า “พระสายน์” นั้นไม่มีใครทราบแม้แต่ประชาชนจำนวนมากซึ่งมีนิวาสถานอยู่ในเมืองมหาชัยปุระเป็นต้น ในกาลก่อนก็เพียงแต่ทราบกิตติศัพท์ที่เขาเล่าลือกันว่าท่านมีฤทธิ์มากเท่าใด เมื่อใดเกิดฝนแล้งเขาก็อัญเชิญท่านออกมาบูชากัน ณ ที่สะอาดกลางแจ้งแล้วก็ขอฝนด้วยอานุภาพของพระพุทธปฏิมาองค์นี้ ฝนก็หลั่งมายังข้าวกล้าให้สมบูรณ์ทำให้ไพร่ฟ้าประชากรประสบความสำเร็จได้ ชนส่วนมากรู้จักพระพุทธรูปปฏิมาองค์นี้ โดยกิตติศัพท์ที่เขาเล่าลือกันเพียงนี้เท่านั้น เมื่อเกิดมีฝนแล้งขึ้นแล้ว เขาก็จะบูชาท่านเพื่อขอฝน


    พระแจ้ง หรือ พระอรุณ
    [​IMG]
    หลักฐานจากพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีมะเมีย จ.ศ.๑๒๒๐(พ.ศ.๒๔๐๑) ความตอนหนึ่งว่า
    “...ยังมีพระที่มีชื่อเอามาแต่เมืองเวียงจันทน์อีกสองพระองค์ พระอินแปลงน่าตัก ๒ ศอกเศษ พระอรุณน่าตักศอกเศษ...พระอรุณนั้น ฉันคิดว่าจะเชิญลงมาไว้ในพระวิหารวัดอรุณ เพราะชื่อวัดกับชื่อพระต้องกัน สมควรแต่จะให้จัดแจงที่ฐานเสียให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะเชิญลงมาต่อน่าน้ำ...”


    พระแสน ( เมืองเชียงแตง )
    [​IMG]
    พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 20 มิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2401 ความว่า

    “ฉันขึ้นไปถึงกรุงเก่า ได้นมัสการพระแสนเมืองเชียงแตงแล้ว รูปพรรณเป็นของเก่าโบราณหนักหนา แต่เห็นชัดว่าอย่างเดียวกับพระแสนเมืองมหาชัยแน่แล้ว ของคนโบราณจะนับถือว่า พระแสนสององค์นี้องค์ใดองค์หนึ่งจะเป็นของเทวดาสร้าง ฤาว่าเหมือนพระพุทธเจ้าแท้ แล้วจึงถ่ายอย่างกันข้างหนึ่งเป็นแน่แล้ว แต่เมื่อดูสีทองแลชั้นเชิงละเอียดไป ดูทีเห็นว่าพระแสนเมืองเชียงแตงจะเก่ากว่า สีทองที่พระเศียรและพระพักตร์เป็นสีนากเนาวโลหะ เช่นกับพระอุมาภาควดีในเทวสถาน ตมูกฤาพระนาสิกก็ดูบวมมากเหมือนกันทีเดียว ที่พระองค์พระหัตถ์พระบาทนั้น สีทองเป็นอย่างหนึ่ง ติดจะเจือทองเหลือมากไป ที่ผ้าพาดนั้นเป็นแผ่นเงินฝังทาบทับลง แต่ดูแน่นหนาอยู่”


    พระฉันสมอ
    [​IMG]
    ส่วนพระฉันสมอองค์ที่วัดอัปสรสวรรค์นี้ เป็นพระที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่เจ้าจอมท่านหนึ่งของพระองค์ คือ เจ้าจอมน้อย(สุหรานากง)เพื่อประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้

    ความเป็นมาของพระฉันสมอองค์นี้กล่าวกันว่าเป็นพระที่ได้มาจากเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลที่ ๓ คราวเดียวกับได้พระบางซึ่งโปรดฯให้นำไปประดิษฐานยังวัดจักรวรรดิราชวาส และพระแซกคำซึ่งพระราชทานแก่พระยาราชมนตรี(ภู่ ภมรมนตรี) ไปประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดคฤหบดีฝั่งธนบุรีจนถึงทุกวันนี้ พระฉันสมอองค์นี้แรกทีเดียวประดิษฐานไว้ในหอพระนาค วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายหลังจึงพระราชทานไปสำหรับวัดอัปสรสวรรค์ พระฉันสมอจัดเป็นพระพุทธรูปปางที่หาดูได้ยากปางหนึ่ง ทั้งยังมีพุทธศิลปะแบบจีนอีกด้วย นับเป็นพระพุทธรูปที่น่าชมองค์หนึ่ง

    สำหรับเจ้าจอมน้อยอยู่ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระพุทธรูปจาก พระบรมมหาราชวังนี้คงเป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดปรานยิ่งผู้หนึ่ง เล่ากันมาในหมู่ชาววังว่าเจ้าจอมน้อยเป็น ผู้มีความสามารถในการแสดงละครในโดยเฉพาะบทสุหรานากงในเรื่องอิเหนาจะแสดงได้โดดเด่น เป็นพิเศษ จึงเป็นที่มาของฉายาสุหรานากงต่อท้ายชื่อของท่าน

    เจ้าจอมน้อยเป็นธิดาของข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนึกคือ พระยาพลเทพ(ฉิม) เมื่อเห็นว่าวัดหมูในคลองด่านทรุดโทรมลงก็ใคร่ที่จะปฏิสังขรณ์เพื่ออุทิศเป็นกุศลแก่ท่านบิดา และคงจะด้วยความเป็น "คนโปรด"นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงพระราชทานทั้งพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณะวัด พร้อมทั้งพระราชทานพระฉันสมอให้มาประดิษฐาน อีกทั้งยังพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดอัปสรสวรรค์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าภาพผู้ปฏิสังขรณ์วัดว่าเป็นสตรีสูงศักดิ์จากในรั้วในวัง



    พระแสน ( เมืองมหาไชย )
    พระแสนองค์นี้หารูปยากมากเลยไม่มีรูป พระแสนจะประดิษฐานอยู่หน้าพระเสริม ลองเลื่อนขึ้นไปดูภาพพระเสริม แต่จะมองไม่เห็นเพราะมีพระอีกองค์บังอยู่ ต้องไปดูที่วัดเองจ้า

    การสร้างไม่ปรากฏแน่ชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า พระแสน เดิมประดิษฐานอยู่ในถ้ำเมืองมหาไชย แขวงล้านช้าง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสร้างพระอารามขึ้นใหม่หลายแห่ง อาทิ วัดปทุมวนาราม จึงโปรดให้สืบหาพระพุทธรูปโบราณจากล้านช้างจำนวนหลายองค์ เพื่อนำมาประดิษฐานตามพระอาราม นับตั้งแต่ที่ได้อัญเชิญพระเสริมมาแล้ว ได้มีพระราชดำริที่จะอัญเชิญพระใส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีตำนานการสร้างคู่กับพระเสริมมาประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้นายเหม็นบุตรเจ้าอนุเวียงจันทน์ขึ้นไปเชิญพระใสลงมา พร้อมกับได้เชิญพระแสน (เมืองมหาไชย) ลงมาด้วยดังข้อความที่ปรากฏในชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า

    “...ฉันจึงได้ใช้นายเหม็นบุตรเจ้าอนุเวียงจันทน์ขึ้นไปเชิญพระใสลงมา แล้วเชิญพระแสนอยู่ในถ้ำเมืองมหาไชยลงมาด้วย ว่าพระนั้นศักดิ์สิทธิ์ ถ้าฝนไม่ตกเชิญออกมาตั้งกลางแจ้ง บูชาขอฝนได้ ฉันจึงได้เชิญไปไว้ที่วัดประทุมวัน (วัดปทุมวนาราม) ด้วยกัน...”


    http://webboard.mthai.com/7/2006-10-24/276459.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...