มิงกาลาบา..๓ เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์-พระมหาเจดีย์ชเวดากอง-พระธาตุมุเตา-พระธาตุอินทร์แขวน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 30 เมษายน 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คืนวันแรกนี้พักที่โรงแรมนิกโก (ได้ทราบว่าคุณชาตรี โสภณพานิชเป็นผู้ take over จากเจ้าของเดิมไป) ชื่อหน้าโรงแรมจึงเปลี่ยนเป็น "Chatium" เป็นโรงแรม ๕ ดาว(*****)ของที่ย่างกุ้งเลยทีเดียว
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันพรุ่งนี้จะพาไปชม trip พม่า ในวันที่ ๒ ของการเดินทางครั้งนี้ จุด Highlight อยู่ที่พระธาตุอินทร์แขวน มีเรื่องราวที่น่าสนใจมาก เป็นการเปิดเผยความลับของหินที่รองรับองค์พระธาตุอินทร์แขวนกันเลยทีเดียว ผมคิดว่า มีบางท่านทราบ แต่ก็เก็บเป็นความลับกัน บ้างก็ไม่ทราบเลยจริงๆ ได้แต่ประหลาดใจเท่านั้น และได้มุมกล้องบางมุมที่ท่านอาจจะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน การ copy ภาพในบางเวป ชาวบ้านเขาสงวนลิขสิทธิ์กัน จึงเห็นกันประปราย ผมก็เข้าใจครับ เพราะการถ่ายภาพในสถานที่แห่งนี้ ทางท้องถิ่นเขาจัดเก็บท่านละ ๒ ดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นผมขอนำเสนอเป็นธรรมทานดีกว่า...
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หากนับจำนวนบริวารเจดีย์รอบๆองค์พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากองมีด้านละ ๑๖ องค์ เป็นกำลังพระโสฬสมงคล จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้คนถึงได้หลั่งไหลกันเข้ามาสักการะบูชาองค์พระมหาธาตุเจดีย์แห่งนี้...

    กำลังโสฬสมงคล ๑๖ เป็นกำลังที่สูงส่ง ความสำเร็จอันสูงส่ง โชคลาภไหลมาเทมา จุดสุดยอดแห่งความสำเร็จอยู่ที่นี่ มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติอันอุดม ของไทยเราถือเป็นกำลังพระพรหม ๑๖ ชั้น หากนำเคล็ดลับนี้มาสร้างงานที่เป็นกุศลจะเกิดคุณอนันต์เลยทีเดียว หากนำมาสร้างประโยชน์ใส่ตัว อันนี้ผลได้กับผลเสียก็พอกัน เพราะบ่งบอกว่า จุดสูงสุดของธุรกิจนั้นสูงสุดแล้ว กำลังรอวันร่วงหล่น การสร้างที่ว่ายาก แต่การรักษากลับยากกว่า...
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สายๆของวันนี้ผมจะนำท่านไปยังเมืองหงสาวดี ไปกราบสักการะพระธาตุชเวมอดอร์ หรือพระธาตุมุเตา มาดูความพิเศษของพระธาตุองค์นี้กันว่าทำไมผู้คนถึงมายังพระธาตุแห่งนี้ และได้เคล็ดอะไรจากการสักการะพระธาตุมุเตานี้ เป็นเคล็ดที่หลายท่านคิดกันไม่ถึงแน่นอน และสถานที่อยู่ตรงกันข้ามคือพระราชวังบุเรงนอง ทุกครั้งที่ออกรบพระเจ้าบุเรงนองจะมานั่งสมาธิผินพระพักตร์มายังพระธาตุเจดีย์มุเตาแห่งนี้ การเดินทางครั้งนี้ผมถือว่าได้กำไรมากเพราะเมื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์บางอย่างเข้าไปแล้ว จะทราบเหตุผลบางประการที่พระเจ้าบุเรงนองทรงชุบเลี้ยงองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังเมืองหงสาวดี จากนั้นต้องใช้เวลาเดินทางร่วม ๕ ชั่วโมงกว่าจะเดินทางถึงพระธาตุอินทร์แขวนที่ถือเป็น Highlight ของวันที่ ๒ นี้
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    -Io'' ขออภัยด้วยครับ ไปจัดการธุระส่วนตัวเลย เลยเลื่อนการเดินทางไป ๑ วัน วันนี้มาต่อการเดินทางในวันที่ ๒ กันนะครับ...<!-- / message --><!-- sig -->
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก่อนที่จะชมภาพ"พระราชวังพระเจ้าบุเรงนอง" ผมอยากให้เราลองย้อนกลับไปดูหัวเรื่องในหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจมาก หากสามารถซื้อหามาอ่านก่อนเดินทางไปพม่าจะคุ้มค่ามาก...


    <TABLE borderColor=#ece9d8 width=820 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ff9900 colSpan=2>[FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พิพิธ..ชวนอ่าน[/FONT]



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=137 bgColor=#ece9d8>[​IMG]



    </TD><TD class=style5 width=647 bgColor=#ece9d8>[FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]วารสารมิวเซียมสยาม "โยเดียกับราชวงศ์พม่า"[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]โดย มิกกี้ ฮาร์ท[/FONT] (Myint Hsan Heart)
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]หนังสือเล่มนี้พยายามอธิบายเหตุการณ์ที่ปรากฏในพงศาวดารไทย เปรียบเทียบกับพงศาวดารของฝ่ายพม่าฉบับต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ช่วงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นองค์ประกัน ณ เมืองหงสาวดี จนถึงทรงสามารถประกาศอิสรภาพ ซึ่งบันทึกไว้ต่างกัน ...เรามารู้จัก "โยเดีย" หรือ "อยุธยา" ในเอกสารของพม่า เพื่อเปิดใจ และเปิดโลกแห่งการค้นคว้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]สารบัญ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]บทที่ ๑ บุคคลที่ร่วมอยู่ในประวัติศาสตร์ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]บทที่ ๒ บุคคลที่อาศัยอยู่ ณ กรุงหงสาวดี[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]วิเคราะห์กรณีพระธิดาเทพกษัตรีย์[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]สงครามช้างเผือก[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]สงครามเสียกรุง[/FONT]
      [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พระยาจักรี[/FONT]
      [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]สมเด็จพระนเรศวรมหาราช[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พระราชวังพระเจ้าบุเรงนอง[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พระนเรศวรในกรุงหงสาวดี[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พระเนศวรชนไก่กับพระมหาอุปราช[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]เปิดศึกกับกรุงหงสาวดี[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราช[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]ความผูกพันของพระนเรศวรที่มีต่อกรุงหงสาวดี[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]หงสาวดีเสียกรุง[/FONT]
      [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พระสวน หรือพระสุพรรณกัลยา[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]เจ้าหญิงพิษณุโลก[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]นายกุลา[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]คำอธิบายประวัติพระนางสุพรรณกัลยา[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]ตระกูลศากยะ[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]การวิเคราะห์พระนามสุพรรณกัลยา[/FONT]
      [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]เจ้ามหาวงศ์ หรือมหาอำมาตย์[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]ตำราธรรมศาสตร์ในประเทศพม่า[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]ธรรมศาสตร์กับราชศาสตร์[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]บทที่ ๓ ราชวงศ์กรุงศรีอยุธยาในอาณาจักรอังวะ[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พม่ารบไทย (กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ ๒)[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]เจ้าฟัาอุทุมพร หรือขุนหลวงหาวัด[/FONT]
      • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]คำอธิบายสถานที่ตั้งสถูป[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎและเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พระมหาอุปราชเจ้าทองกับ Prince John Willian Lat[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]Prince John William Lat[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]พระองค์เจ้าประทีปกับเจ้าชายมองติง[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]สงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าครั้งแรก[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]เจ้าชายมองติง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]บทที่ ๔ พม่าเสียกรุง[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]รัชกาลพระเจ้าสีป่อ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]บางส่วนจากบทนำ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]แรงบันดาลใจที่ทำให้ข้าพเจ้าเขียนหนังสือเล่มนี้ ก็เพราะครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเห็นนักท่องเที่ยวคนไทยคนหนึ่งไปเที่ยวประเทศพม่า เพื่อจะไปไหว้พระทำบุญให้เกิดสิริมงคล แต่พอลงจากเครื่องบินเหยียบแผ่นดินพม่าครั้งแรก เขาก็ใช้เท้ากระทืบแผ่นดินสามครั้ง ข้าพเจ้าถามว่าทำไม เขาตอบว่า มันเคยเผาบ้านเผาเมืองกู กูจะแช่งให้มันจมดินไปเลย (คงลืมไปว่าจะมาทำบุญ ?) หรือกลุ่มคณะทัวร์ไทยไปเที่ยวพระราชวังพระเจ้าบุเรงนองที่หงสาวดี ประเทศพม่า เมื่อไปถึงก็เกิดอาการของขึ้นทันที พุ่งเข้าไปทำลายต้นไม้ประดับและสวนดอกไม้ที่อยู่รอบ ๆ พระราชวัง ใช้เท้ากระทืบพระตำหนักไม่หยุดเลย เจ้าหน้าที่ดูแลพระราชวังออกมาขอร้องก็ไม่หยุด สุดท้ายเจ้าหน้าที่สั่งเด็ดขาดให้มัคคุเทศก์ของบริษัททัวร์นำคณะออกไปจากพระราชวังทันที มิฉะนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย ข้าพเจ้าเห็นแล้วก็นึกเสียใจยิ่งนัก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]อีกเรื่องหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยพบหลายครอบครัวที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยพม่า เล่าให้ฟังว่า พวกเขาพี่น้องท้องเดียวกัน แต่กลับถือคนละสัญชาติ เพราะวันดีคืนดีผู้มีอำนาจก็มาตีเส้นแบ่งเขตและแบ่งชาติ ปัจจุบันตระกูลของสองพี่น้องนี้กลายเป็นคนละชาติ อยู่กันละฟากไปแล้ว ไม่รู้จักกันยังไม่พอ ถือเป็นศัตรูกันโดยปริยาย เพราะเรื่องราวของสองชาติที่ไม่ค่อยจะลงรอยกัน[/FONT]
    ...
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]ต้องเข้าใจว่า คนสมัยก่อนทำสงครามต่อกันเพื่อเป็นการขยายอำนาจ แสดงแสนยานุภาพ ไม่ใช่บาดหมางอาฆาตเจ็บแค้นระหว่างชนชาติจนจะฆ่ากันให้ตายให้ได้ ระบบปกครองด้วยจักรวรรดินิยม เมื่อชนะแล้วก็จัดให้ชาตินั้น ๆ ปกครองกันต่อเอง ภายใต้พระบารมีของกษัตริย์ที่เป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นผู้ชนะก็ยกทัพกลับไป เรื่องก็จบ มีหลายศึกที่แสดงให้เห็นรูปแบบของสงครามจักรวรรดินิยม ไม่ว่าจะเป็นศึกระหว่างพม่ากับมอญ ยะไข่ ไทยไหญ่ แม้แต่อยุธยา[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]...เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องบาดหมางทะเลาะเบาะแว้งกันระหว่างชนชาติเลย บรรดาปวงราษฎร์ก็ไม่เคยมีเรื่องราวต่อกัน เป็นเพียงการขยายอำนาจของกษัตริย์เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]น่าเสียดายที่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ไม่ยอมคิดจุดนี้ คิดแต่พยายามเปลี่ยนเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตให้เป็นแนวประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมให้ได้ ข้าพเจ้ายอมรับว่าการปลุกใจให้คนในชาตินั้น ๆ รักชาติ รู้รักสามัคคี มีน้ำหนึ่งใจเดียวกันนั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะใช้ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือก็ไม่ถูกต้อง เพราะมันจะกลายเป็นความหมางใจกันระหว่างชนชาติ หาความสมานฉันท์และสงบสุขไม่ได้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]ข้าพเจ้าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่เรา (หมายถึงคนที่อาศัยอยู่ภูมิภาคอาคเนย์นี้) ต้องลุกขึ้นมาพิจารณา ศึกษาประวัติศาสตร์ใหม่ว่า สงครามในประวัติศาสตร์คืออะไร ทำไปเพื่ออะไร และคนโบราณเขาเกลียดชังกันจริง ๆ หรือไม่ หรือรบไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพเท่านั้น หากเขาไม่ได้เกลียดชังกัน แล้วทำไมเราซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่จะต้องเกลียดชังกัน ให้อดีตผ่านไป นำชัยชนะเป็นเครื่องเตือนใจมิให้ฮึกเหิม ส่วนการพ่ายแพ้หรือสูญเสียก็เป็นบทเรียนเตือนใจมิให้ผิดพลาดซ้ำ จะไม่ดีกว่าหรือ ... [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC](จากบทนำ หน้า ๖-๗)[/FONT]




    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ece9d8 colSpan=2>[FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]ผู้สนใจติดต่อ "มิวเซียมสยาม" พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]กลุ่มงานวิชาการ โทร ๐๒-๖๒๒-๒๕๙๙ ต่อ ๕๐๔, ๕๐๕ [/FONT]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.ndmi.or.th/books/content_Yodia.html

    ผมขอเกริ่นไว้ก่อนว่า ภาพพระราชวังพระเจ้าบุเรงนองนี้เป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ตามจินตภาพเค้าโครงเดิมจากเสาไม้เอกในหลุมที่ขุดค้นกันในภายหลัง ตรงนี้ขอให้พิจารณาให้เห็นเป็นธรรมให้ได้ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป คล้ายกรุงศรีอยุธยาของเรามียุครุ่งเรือง และยุคเสื่อมถอย ของพม่าก็มีครับ พระราชวังเดิมถูกเผาทำลายเฉกเช่นการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ของไทยเราในปีพ.ศ. ๒๓๑๐ เช่นกัน ปัจจุบันไม้สักเหล่านี้ก็ยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี...

    ประวัติ พระเจ้าบุเรงนอง ผู้ชนะสิบทิศ
    ประวัติของกษัตริย์พม่าผู้นี้จากหนังสือเรื่อง"เรื่องเก่าเล่าตำนาน"ของคุณ อาร์ม อิสระซึ่งได้คัดมาจากพระราชพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว

    *+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+

    ........"บุเรงนองกยอดินนรธา"นั้น เดิมทีเป็นลูกของคนปาดตาลในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองบากานหรือพุกามบิดาชื่อ "สีคะสุ" เด็กชายผู้นี้เมื่อแรกเกิดใหม่ๆนั้นได้มีปลวกขาวมาไต่อยู่โดยรอบเป็นที่น่าอัศจรรย์ มารดา และบิดาจึงตั้งชื่อว่า"หม่องจาเด็ต" อันหมายถึงปลวกขาวนั่นเอง พุกามตอนนั้นมีสภาพแห้งแล้งมาก ในที่สุดมารดา และบิดาของหม่องจาเด็ตก็ต้องย้ายครอบครัวลงใต้มาอาศัยอยู่ที่เมืองตองดวิงจี วันหนึ่งขณะที่บิดากำลังขึ้นไปปาดตาลนั้น มารดาก็ได้วางจะเด็ตไว้บนพื้นเพื่อไปทำธุระอย่างอื่น พลันก็เกิดปาฏิหาริย์จนชาวบ้านแตกตื่นไปทั่ว เมื่อมีพญางูใหญ่ตัวหนึ่งเลื้อยออกมาจากไหนไม่มีใครรู้และได้ไปขดตัวอยู่รอบๆทารกน้อยเพื่อป้องกันภัยเมื่อมารดากลับมาเห็นงูก็ได้เลื้อยหนีไปสร้างความประหลาดใจแก่ผู้คนยิ่งนัก บิดามารดาจึงได้นำบุตรไปหาพระและเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พระท่านจึงจับยามสามตาดูและได้ทำนายว่า เด็กคนนี้มีบุญวาสนาที่ยิ่งใหญ่จะได้เป็นเจ้าคนนายคน ขอให้บิดามารดาพาเด็กไปยังเส้นทางที่งูเลื้อยไป นั่นก็คือ"เมืองตองอู"นั่นเอง ทั้งหมดจึงได้ย้ายไปเมืองตองอูโดยไปอาศัยอยู่กับเจ้าอาวาสของวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเจ้าอาวาสวัดนี้เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสีเพิ่งประสูติโอรสพอดี เจ้าอาวาสจึงได้ฝากแม่ของจาเด็ตให้เข้าไปเป็นแม่นมในวัง

    ..........พระเจ้าแผ่นดินองค์ดังกล่าวก็คือพระราชบิดาของ "มังตรา" หรือ "พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้" ซึ่งก็คือพระราชโอรสที่เพิ่งจะประสูตินั่นเองในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงมีพระราชธิดาซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับจาเด็ตอีกหนึ่งองค์ เด็กทั้ง ๓ จึงเติบโตมาพร้อมกัน จาเด็ตได้ผูกสัมพันธ์กับพระราชธิดา อีกทั้งพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงพอพระทัยจนเมื่อเติบใหญ่จึงได้รับราชการอยู่ในวัง ภายหลังได้เลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งขึ้นเรื่อยๆจนเป็นขุนทหารแห่งเมืองตองอู จนกระทั่งอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาในเวลาต่อมา

    ........ครั้นตะเบ็งชะเวตี้ขึ้นครองราชสมบัติ จะเด็ตซึ่งมีความดีความชอบในการทำศึกกับหงสาวดีก็ได้รับพระราชทานตำแหน่งให้เป็น "บายินนอง กยอดินนรธา" ซึ่งหมายถึงพี่เขยพระเจ้าแผ่นดินนั่นเอง บทบาทการรบของบายินนอง หาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อขึ้นครองราชย์ไม่หากแต่ว่าการสงครามของบุตรคนปาดตาลผู้นี้ได้เลื่องลือมานานแล้วเพราะไม่ว่าจะไปทำศึกที่ใด ไม่เคยเลยสักครั้งที่บายินนองจะพ่ายแพ้ จนเป็นที่ย่นระย่อของหัวเมืองต่างๆยิ่งนัก จนเมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงสวรรคต บายินนองจึงได้ขึ้นครองราชย์ แต่ว่ากว่าจะก้าวขึ้นสู่ความเป็นใหญ่ในพม่าได้นั้นก็หาได้มาด้วยดวงตามที่พระท่านทำนายไว้อย่างเดียวไม่

    .................ทั้งนี้ เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ไม่สามารถที่จะเอาชนะเมืองไทยได้ใน พ.ศ.๒๐๙๐ ครั้นกลับไปพม่าพระองค์หาทรงเอาใจใส่ต่อราชการไม่ บ้านเมืองต่างๆที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นก็เกิดกระด้างกระเดื่องขึ้นมาแยกตนเป็นอิสระ ซึ่งเมื่อหัวเมืองต่างๆได้กระด้างกระเดื่องนั้น บายินนองก็ต้องยกทัพออกไปปราบทำสงครามอยู่ยังหัวเมืองต่างๆ ทางหงสาวดีก็มีกบฏขึ้นมาทันที เพราะเมื่อบายินนองพ้นออกไป “สมิงสอตุต”กับ”สมิงเตารามะ”สองทหารมอญก็นำทหารเข้ายึดหงสาวดีได้พร้อมกับปลงพระชนม์พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เสียในทันที สร้างความตกใจให้แก่บายินนองเป็นอย่างมาก สมิงสอตุตขึ้นครองหงสาวดีในเวลาต่อมา เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๓ ซึ่งเป็นปีที่บายินนองนำกองทัพกลับมาจากปราบพะสิม ซึ่งแม้ว่าบายินนองจะเก่งกล้าเพียงใดแต่บายินนองก็กลับคิดว่าตอนนี้กำลังของตนยังน้อย ถ้าหากจะบุกเข้าไปอาจทำให้เพลี่ยงพล้ำและทำให้ทหารขวัญเสียได้จึงยังไม่ทำการบุกในทันที แต่การณ์ไม่เป็นเช่นนั้นกลับกลายเป็นว่ากำลังขวัญทหารยังดีอยู่อีกทั้งบรรดาเงี้ยว ไทยใหญ่และขุนนางทั้งหลายยังให้ความนับถือบารมีในตัวของบายินนอง ในที่สุดบายินนองจึงค่อยมีกำลังใจในการกอบกู้เมืองขึ้นมา แต่ด้วยเหตุที่ว่าหงสาวดีเป็นเมืองเก่าของชาวมอญ มีรามัญมากกว่าพม่า อีกทั้งชาวรามัญก็เกลียดชังพระองค์จึงทรงให้ล่าถอยทัพกลับไปยังตองอูเสียก่อน

    ................แต่ทว่าเมื่อบายินนองล่าถอยไปยังตองอูนั้น “สีหะสุ” น้องชายซึ่งครองตองอูต่อจากบิดากลับไม่ยอมเปิดประตูเมืองรับพี่ชาย ทำให้บายินนองต้องกลับไปตั้งหลักซุ่มเป็นกองโจรอยู่ริมเชิงเขา เมื่อบรรดาข้าราชบริพารในเมืองตองอูทราบข่าวว่า บายินนองเดินทางมาที่นี่ จึงต่างพากันหลบหนีออกมาสวามิภักดิ์ด้วยเป็นอันมาก เหตุนี้เองทำให้บายินนองมีกำลังใจแน่วแน่ว่าต้องเข้ายึดตองอูให้ได้ แค่ครั้นเมื่อบายินนองนำทหารเข้ามาคุกคาม ความรักตัวกลัวตายของสีคะสุจึงได้ยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี ซึ่งบายินนองก็มิได้แค้นเคืองใจแต่อย่างใดด้วยเห็นว่าเป็นพี่น้องกัน เพียงแต่อบรมสั่งสอนอยู่หลายวัน แล้วจึงให้ครองเมืองตองอูเช่นเดิม ซึ่งช่วงที่บายินนองตั้งกองโจรอยู่ที่ตองอูนั้น รามัญคิดว่าพม่าหมดทางที่จะต่อกรได้แล้วจึงได้แตกแยกกันเป็นสองฝ่าย ด้านสมิงเตารามะก็ยึดอำนาจมาจากสมิงสอตุตขึ้นครองหงสาวดีเสียเอง ตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า “พระเจ้าชัคคะลีมินทร์” หลังจากนั้นก็เคลื่อนทัพไปตีเมืองแปรที่พระอนุชาของบายินนองคือ “สัลหวุ่นเมงตรา”ครองอยู่ เมื่อบายินนองทราบเรื่องจึงยกทัพไปปราบเมืองแปรจนราบคาบอีกครั้งและให้ สัลหวุ่นเมงตรา ครองเมืองดังเดิม ซึ่งในการไปตีเมืองแปรในครั้งนี้ บายินนองก็ได้ลองขยายอาณาเขตของตนขึ้นไปจนถึงบากานหรือพุกามประเทศเพื่อที่จะสร้างความย่นระย่อให้กับบรรดาหัวเมืองต่างๆในยามนั้น

    …….ธันวาคม พ.ศ.๒๐๙๔ บายินนองก็ได้เคลื่อนทัพเข้าสู่หงสาวดี ซึ่งตลอดทางนั้นบรรดาหัวเมืองต่างๆก็ออกมาสวามิภักดิ์จนหมดสิ้น สมิงเตารามะหนีตายไปอาศัยอยู่ที่เมาะตะมะบายินนองให้มังสินทยาอนุชาต่างมารดายกทัพติดตามไปยึดเมาะตะมะและจับตัวได้จึงให้ประหารเสีย จากนั้นบายินนองจึงให้มังสินทยาครองเมาะตะมะและมาขึ้นตรงต่อหงสาวดีดังเดิม จากนั้นบายินนองก็ตั้งตนเป็นจอมราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่เถลิงไอศวรรย์ขึ้นมาเหนือแผ่นดินพม่าทรงพระนามว่า “พระเจ้าสิริสุธรรมราชา”

    ..................ในช่วงนั้น บายินนองได้กระหายที่จะมาทำสงครามกับอยุธยาเพื่อขยายอาณาเขตประเทศไปสู่ลุ่มเจ้าพระยา แต่ว่าบรรดาข้าราชบริพารต่างก็ยับยั้งเอาไว้ ด้วยเห็นว่าอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ในชัยภูมิที่แข็งแรงมั่นคง สมควรที่จะปราบปรามหัวเมืองย่อยเล็กในพม่าให้ราบคาบก่อนแล้วจึงค่อยขยายอำนาจออกไป ซึ่งบายินนองก็เห็นด้วย พ.ศ.๒๐๙๙ พระเจ้าสีป้อแห่งเมืองอุนบองเลซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนไทยใหญ่บริเวณลุ่มน้ำอิระวดีตอนบนได้ถึงแก่พิราลัย บรรดาเจ้าเมืองเงี้ยวทั้งหลายซึ่งไม่พอใจที่สีป้ออ่อนข้อให้กับบายินนองอยู่แล้วจึงได้ถือโอกาสมารุกราน รัชทายาทของพระเจ้าสีป้อจึงได้ขอความช่วยเหลือมายังหงสาวดี ซึ่งในยามนั้นบายินนองไม่พอใจพวกเงี้ยวที่เคยมาช่วยรบกับอังวะอยู่แล้ว ก็เลยยกทัพมาปราบบรรดาเงี้ยวทั้งหลายจนสิ้น ครั้นเมื่อบายินนองยกทัพหลับไปยังหงสาวดีแล้ว ปีต่อมาก็ต้องยกทัพขึ้นไปยังไทยใหญ่อีกครั้งเมื่อเจ้าฟ้าเมืองนาย ได้ลุกล้ำข้ามแดนเข้ามายังสีป้อหรืออุนลองเบ จนถูกบายินนองปราบปรามจนราบคาบไปหมดไม่ว่าจะเป็นยางห้วย ลอกสอกและเมืองหนองหมื่น เจ้าฟ้าเมืองนายหนีไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าฟ้าเมกุฏิเมืองเชียงใหม่ ซึ่งทางเชียงใหม่ได้สั่งให้เมืองเชียงดาวยกกำลังไปช่วยเหลือแต่ไปไม่ทัน เมืองนายแตกเสียก่อน ในครั้งต่อมา บายินนองแค้นใจที่เชียงใหม่แต่งทัพไปช่วยเมืองนายจึงจัดทัพมาตี โดยให้บรรดาเจ้าฟ้าเมืองเงี้ยวทั้งหลายร่วมรบด้วย แต่บรรดาหัวเมืองเหล่านั้นทำเฉยเสียโดยอ้างว่าป่วย ไม่สามารถไปร่วมรบได้ ครั้นเมื่อบายินนองยกทัพกลับไปพวกเงี้ยวทั้งหลายก็ยกทัพเข้าประชิดกองกำลังที่ดูแลเมืองนายอยู่ ทำลายสะพานที่ข้ามแม่น้ำสาละวินจนหมดสิ้น ด้วยเห็นว่าบายินนองยังต้องล่าถอยให้เชียงใหม่แล้วเรื่องอะไรที่พวกตนจะต้องไปกลัวเกรง ด้วยเหตุนี้เองเมื่อบายินนองยกทัพขึ้นมาอีกครั้งจึงจับบรรดาเจ้าฟ้าเมืองเงี้ยวทั้งหลายประหารเสียจนหมดสิ้น แล้วให้เจ้าฟ้าองค์อื่นๆที่ไว้ใจได้ครอบครองในเวลาต่อมา

    พ.ศ.๒๑๐๐ บายินนองให้สร้างสะพานเชือกข้ามแม่น้ำสาละวินขึ้นมาใหม่ พร้อมกันนั้นก็ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วยเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ดีที่สามารถจะใช้เป็นหัวเมืองที่ขยายไปสู่เชียงรุ้ง เชียงตุง รวมทั้งอยุธยาได้ทางด้านเชียงใหม่เห็นว่าถ้าหากสู้ไปต้องย่อยยับแน่เพราะกำลังพม่าฮึกเหิมนัก จึงได้ยอมศิโรราบด้วย

    .................แต่ในเวลาต่อมา เมืองเชียงใหม่กระด้างกระเดื่องอีกครั้งไม่ยอมส่งกำลังลงช่วยรบกับบายินนอง จึงทำให้บายินนองแต่งทัพขึ้นมาปราบเชียงใหม่จนราบคาบจับพระเมกุฏิกับพระเจ้าเชียงแสนกลับไปหงสาวดีและแต่งตั้งพระนางจิรประภาหรือพระสุทธิเทวีซึ่งเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองเดิมขึ้นครองเมืองแทน แม้ว่าจะชนะไปทั่วทิศ มีชื่อเสียงเกริกไกร แต่สิ่งหนึ่งที่พม่าขาดอยู่ก็คือช้างเผือกคู่บารมี ซึ่งเรื่องช้างเผือกนี้บรรดากษัตริย์พม่าต่างยึดถือว่าถ้าหากใครได้ยึดครองก็ถือว่าจะเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาบารมีที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้เองเมื่อทราบว่าลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้นอุดมไปด้วยช้างเผือกมากมายที่พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงเลี้ยงเอาไว้ จึงทำให้บายินนองหันเหสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในเวลาต่อมาหลังจากที่ได้ปราบพม่าจนราบคาบ ซึ่งเมื่อยึดอยุธยาได้แล้วในเวลาต่อมาบายินนองก็ยกกองทัพรุกรานไปจนถึงลุ่มน้ำโขงโจมตี "ศรีสัตนาคนหุต" จนแตกพ่าย เรียกได้ว่าในแผ่นดินพม่าในยุคที่บายินนองครองเมืองนั้น พม่าสามารถขยายอาณาเขตออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลยิ่ง จนกระทั่งรามัญซึ่งไม่เคยยินยอมอ่อนน้อมให้กับพม่ามาก่อน ก็ต้องยอมรับว่า บายินนองผู้นี้คือจอมราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ จนบรรดามอญทั้งหลายได้ขนานนามบายินนองเสียใหม่ว่า “ตะละพะเนียเธอเจาะ” ซึ่งก็หมายถึงพระเจ้าสิบทิศนั่นเอง
    [​IMG]


    [​IMG]
    เอารูปมาฝาก สองรูป
    รูปบน เป็นรูปอนุสาวรีย์ท่านที่พม่า (องค์กลาง) เมืองเนปิตอ วันทหารเดินสวนสนาม

    ภาพล่าง รูปวาด(ตามจินตนาการ)ของท่านในเมืองพม่า

    ท่านเป็นกษัตริย์พม่า ที่คนไทยชื่นชอบมาก บทประพันธ์เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ท่านยาขอบ ถูกนำมาสร้างเป็นหน้ง เป็นละคร มากมายหลายครั้ง ด้วยนัยยะทางเบื้องบน... ไม่แน่ว่าดวงจิตแห่งท่านอาจเคยมาจุติบนแผ่นดินไทย ท่านถึงเป็นที่รักของคนไทย ทั้งๆที่เป็นมหากษันตริย์แห่งเมืองพม่า
    Manage By : ภัทร
    http://www.pantown.com/content.php?i...ontent6&area=3
    ขอขอบคุณคุณภัทร สำหรับเรื่องราวพระราชประวัติของพระเจ้าบุเรงนอง และภาพถ่ายทั้ง ๒ ภาพ เพื่อแต่งเติมการเดินทางไปพม่า trip นี้ สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ...

    เกรงว่าพื้นที่จะไม่เพียงพอ เลยขอไปเพิ่มเติมในอีกความเห็นข้างล่างครับ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สิ่งที่ผมได้รับรู้เพิ่มเติมจากการเดินทางไปพม่าเที่ยวนี้ คือความรู้ในเรื่องของเหตุการณ์ในวันที่ "พระเจ้าบุเรงนอง" เกิด มีด้วยกัน ๓ เหตุการณ์ที่เพิ่มเติมจากบันทึกนี้ด้วยกันคือ
    ๑) เกิดแผ่นดินไหว ๗ ครั้ง
    ๒) ผึ้งทำรังใต้บันได
    ๓) ฟ้าที่มืดคลึ้มพลันกลับสว่างไสว

    และเหตุการณ์ทั้ง ๓ นี้ก็ได้เกิดขึ้นกับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ด้วยเช่นกัน ประสูติหลังจากพระเจ้าบุเรงนองเพียง ๓ เดือน แม่ของพระเจ้าบุเรงนองได้เป็นแม่นมของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ด้วย พระราชบิดาของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ก็ทรงชุบเลี้ยงพระเจ้าบุเรงนอง ภายหลังก็ได้เป็นพระราชบุตรเขย

    ความตรงนี้ ทำให้ผมมานึกย้อนทบทวนเหตุการณ์ แนวทางของพระเจ้าบุเรงนองถึงสาเหตุที่ทรงชุบเลี้ยงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช น่าจะมีเค้าโครงจากการที่พระองค์ท่านได้รับพระเมตตาจากกษัตริย์ผู้ปกครองหงสาวดีซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้มาก่อน จากคนธรรมดาสามัญ แต่ได้รับโอกาสเป็นถึงพระราชบุตรเขย เนื่องจากทรงทราบถึงเหตุการณ์ในวันคลอดของพระเจ้าบุเรงนอง จึงทรงทำนายทายทักว่าจะได้เป็นใหญ่ มีดินแดนเป็นของตนเอง แนวความคิดตรงนี้ของพระเจ้าบุเรงนอง อาจจะเป็นสื่อไปพ้องกับวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเดินทางไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีก็เกิดนิมิตฟ้าฝนเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน พระองค์ท่านก็โปรดให้ทรงชุบเลี้ยงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเช่นเดียวกัน

    การเดินทางในไปพระราชวังบุเรงนองครั้งนี้ของผม จึงเกิดความรู้สึกศรัทธาในน้ำพระทัยในข้อนี้ของพระเจ้าบุเรงนอง ที่มีพระเมตตาต่อพระองค์ดำของสยามประเทศเรา ดังนั้นผมจึงได้นำน้ำพระพุทธมนต์จากพระเมาลีขององค์พระอุ่นเมืองไปพร้อมกับการเดินทางเที่ยวนี้ด้วย (พระอุ่นเมืองเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงสร้างไว้ขณะพักทัพที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อได้นิมิตถึงสมเด็จพระพี่นางเธอสุพรรณกัลยา ภายหลังพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และอัญเชิญไปประดิษฐานในวิหารที่หลวงปู่ครูบาศรีวิชัยสร้างไว้ขณะจาริกธุดงค์ผ่านมาทางปายแห่งนี้) เตรียมน้ำพระพุทธมนต์จากพระเมาลีนี้นำไปรดลงบนหลักเสาเอกของพระราชวังเดิมต้นหนึ่ง และรดลงบนผืนแผ่นดินหงสาวดีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นสื่อของรำลึกถึงพระเจ้าบุเรงนอง องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระพี่นางเธอสุพรรณกัลยาทั้ง ๓ พระองค์ ...

    ภาพท้องพระโรง พระราชบัลลังก์ของพระเจ้าบุเรงนอง และเครื่องราชบรรณาการ(ชั้นที่ ๒)จากหัวเมืองต่างๆ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สถานที่ในภาพนี้มีความสำคัญมาก เป็นที่ประทับของพระเจ้าบุเรงนอง ตรงตำแหน่งนี้จะอยู่ตรงกับจุดของพระธาตุชเวมอดอร์ หรือพระธาตุมุเตาที่เรากำลังจะเดินทางไปกราบสักการะพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัน สรุปคือสถานที่ ๓ แห่งนี้จึงมีลักษณะมุมฉาก โดยที่ประทับนี้อยู่ตรงจุดมุมฉากนั่นเอง

    ก่อนการออกรบทุกครั้ง พระเจ้าบุเรงนองจะเสด็จมาประทับที่แห่งนี้ผินพระพักตร์ไปยังพระธาตุเจดีย์ชเวมอดอร์ หรือพระธาตุเจดีย์มุเตาเพื่ออธิษฐานเพ่งจิตขอกำลังบารมี และทำสมาธิ สถานที่แห่งนี้จึงยังคงมีคลื่นพลังจิตของพระเจ้าบุเรงนองสะสมอยู่...
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    </FIELDSET>
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระธาตุเจดีย์ชเวมอดอร์ หรือพระธาตุเจดีย์มุเตา

    พระธาตุเจดีย์ชเวมอดอร์ - มุมโปรดที่ประทับ - พระราชวังบุเรงนอง

    เจดีย์ชเวมอดอร์ เมืองหงสาวดี หรือที่เราเรียกกันว่า พระธาตุมุเตา เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุรวม ๒ เส้น มีอายุเก่าแก่กว่า ๒,๐๐๐ ปี เป็นที่เคารพสักการะของทั้งกษัตริย์ มอญ พม่า และไทย เช่น พระเจ้าราชาธิราชของมอญ พระเจ้าบุเรงนองของพม่า และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทย

    พระเจดีย์องค์สำคัญในประวัติศาสตร์มอญและพม่า สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยมอญเรืองอำนาจและเป็นสัญลักษณ์ ยืนยันความเจริญรุ่งเรืองของกรุงหงสาวดี นั่นก็คือ "พระธาตุเจดีย์ชเวมอดอว์" ซึ่งมีความหมายว่า "มหาเจดีย์พระเจ้าทองคำ" หรือคนไทยรู้จักกันในนาม "พระธาตุเจดีย์มุเตา" คำว่า "มุเตา" เป็นภาษามอญ แปลว่า "จมูกร้อน" เพราะเจดีย์มีขนาดสูงถึง ๑๑๔ เมตร ทำให้ผู้ที่ไปสักการะต้องแหงนหน้าจนคอตั้งบ่า ถึงจะมองเห็นยอดเจดีย์ เป็นเหตุให้แสงแดดที่แรงกล้าแผดเผาจมูกจนแสบร้อน

    พระธาตุมุเตาเป็นมหาสถูปบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าที่สำคัญที่สุดของชาวมอญ ในสมัยพระเจ้าราชาธิราชกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของมอญ ได้มีการประกอบพิธีกรรมสำคัญของราชอาณาจักรที่พระธาต ุมุเตาแห่งนี้ และเริ่มพระราชประเพณีถวายทองหนักเท่าพระองค์เพื่อหุ้มองค์พระธาตุด้วย

    ความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุมุเตาเป็นที่เลื่องลือ และก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาแก่ชนชาวมอญและพม่า ในตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของตองอู สมัยเป็นเพียงเจ้าชายวัย ๑๔ พรรษา กล้าที่จะนำทัพบุกเข้าไปเมืองมอญ เพื่อทรง ทำพิธีเจาะพระกรรณตามราชประเพณี ที่พระธาตุมุเตาแห่งนี้ ซึ่งกว่าศัตรูจะส่งทหารมาปิดล้อมได้หมด ก็ใกล้เสร็จพิธี และพระองค์ก็ทรงนำทหารฝ่าวงล้อมกลับตองอูโดยปลอดภัย

    ต่อมาเมื่อพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ และเข้ายึดครองหงสาวดีได้แล้ว ทรงย้ายราชธานีจากตองอูมาที่หงสาวดี และถวายมงกุฎทรงยอดพระมหาธาตุแก่พระธาตุเจดีย์มุเตาด้วย

    พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าองค์ต่อมา ก็ทรงมีพระราชศรัทธาในองค์พระธาตุเจดีย์อย่างท่วมท้น ถึงกับทรงแกะอัญมณีเม็ดใหญ่จากพระมงกุฎถวายเพื่อเป็น พุทธบูชา พร้อมทั้งทรงให้ก่อกำแพงเมืองขยายไปโอบล้อมพระมหาเจดีย์ แถมพระองค์ยังทรงมีมุมโปรดในพระราชวังที่สามารถมองเห็นองค์พระมหาธาตุอย่างชัดเจนอีกด้วย ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของพม่าระบุว่า ก่อนพระองค์จะออกทำศึกจะทรงนมัสการ"พระธาตุเจดีย์มุเตา"ก่อนทุกครั้ง

    ใช่เพียงแต่ชนชาติมอญ พม่า เท่านั้นที่นับถือพระธาตุองค์นี้อย่างแรงกล้า แม้แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทยเอง เมื่อคราวเสด็จไปเป็นตัวประกันที่เมืองหงสาวดี ก็เสด็จมาสักการะพระธาตุเจดีย์อยู่เสมอ และในครั้งที่ยกทัพไปปราบหงสาวดี ก็ทรงโปรดให้ตั้งพลับพลาที่ประทับใกล้องค์พระมหาธาตุ เพื่อจะเสด็จไปสักการบูชาพระมหาธาตุได้โดยสะดวก แม้พระมหาธาตุมุเตาจะได้รับการบูรณะจากกษัตริย์มอญ และพม่าหลายพระองค์ แต่ศิลปะแบบมอญ และพม่าที่องค์เจดีย์แห่งนี้ก็ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวและสวยงาม

    และแล้วความร้าวรานใจของพุทธศาสนิกชนชาวมอญ พม่า ก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๓ ส่งผลให้พระธาตุเจดีย์มุเตาหักพังลงมา และได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์จนแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๙๗(ใช้เวลาบูรณะประมาณ ๒๔ ปี) และทางวัดได้นำชิ้นส่วนของพระธาตุเจดีย์องค์เดิมมาตั้งไว้ บริเวณลานทางทิศเหนือของพระธาตุองค์ใหม่ จนกลายเป็นจุดอธิษฐานศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าหากใครมากราบไหว้บริเวณนี้จะช่วยให้ชีวิตมีความมั่นคงถาวร

    ปัจจุบัน พระมหาเจดีย์ชเวมอดอว์ ถือเป็น ๑ ใน ๕ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพม่า และเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพม่าด้วย ทุกวันนี้ผู้คนทั้งชาวพม่าและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาต่างพากันหลั่งไหลไ ปยังเมืองหงสาวดี หรือ "พะโค" ในปัจจุบันกันอย่างไม่ขาดสาย เพื่อกราบไหว้พระมหาเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงหงสาฯ องค์นี้ และสำหรับปีนี้ งานเทศกาลไหว้พระธาตุเจดีย์มุเตาจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕ มี.ค. - ๖ เม.ย.

    กล่าวกันว่า ใครมาเยือนหงสาวดี หากไม่มาสักการะพระธาตุมุเตา เสมือนหนึ่งยังมิถึงเมืองหงสาวดี อดีตราชธานีอันยิ่งใหญ่ของมอญและพม่า (จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ ๗๗ เม.ย. ๒๕๕๐ โดย จรินทร์ คำชัย)
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระธาตุเจดีย์ส่วนที่หักพังลงมาเหลือแต่ฐาน ก็ยังมีอยู่ให้เห็นอยู่ที่ด้านหนึ่งของเจดีย์

    ตรงนี้ถือเป็นเคล็ดลับที่ผู้คนมุ่งมายังพระธาตุเจดีย์มุเตาแห่งนี้ ถือเป็นพระเจดีย์ที่สูงที่สุดในพม่า สูงกว่าพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ๑ เมตร ผู้ศรัทธาจะนำธูปที่ไฟมอดแล้วเหลือเพียงก้านธูปมา"ค้ำยัน"พระธาตุเจดีย์ส่วนที่ล้มลง อาจจะสงสัยว่า กว่าจะรอธูปดับหมดก้านสงสัยจะไม่ทันเวลา ขอให้เราใช้เคล็ดนี้นะครับ

    ๑) จะ"ค้ำยัน"โดยใช้ก้านธูปของเราที่มอดดับแล้ว หรือของผู้ใดก็ได้ ถือว่ามีคนคอยอุปถัมป์ค้ำจุน เราปักธูปบูชาพระ ขณะรอดับมอด อาจจะไม่ทันการเดินทาง trip ต่อไป จึงใช้ของผู้อื่น แทน และของของเราที่บูชาพระเมื่อมอดแล้วก็มีผู้นำไปค้ำยันพระธาตุเจดีย์ส่วนที่ล้มนั้น สำคัญว่า เมื่อนำของเขามา ๓ ดอก เราควรปักคืนไป ๓ ดอก อย่าอาศัยความช่วยเหลือของชาวบ้านเขามากกว่าแรงของเรา


    ๒) จะค้ำยันกี่ดอกก็ได้


    ๓) จะทำแทนผู้ใดก็ได้ เช่นพ่อ แม่ พี่ น้อง คนรัก เพื่อน ได้ทั้งนั้น..


    ผมได้ Zoom ภาพให้เห็นแล้วว่า เขามีเคล็ดการเสริมในเรื่องหน้าที่การงาน การเงิน ฐานะต่างๆ แล้วแต่การอธิษฐานจิต หากมีโอกาสได้มาสักการะพระธาตุเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๕ นี้ ก็อย่าได้พลาดโอกาสนี้กันครับ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    </FIELDSET>
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก่อนจะขึ้นพระธาตุอินทร์แขวนกัน พักทานอาหารกลางวันกันที่ Three Five Hotel ก่อน และชมบรรยากาศระหว่างทางในการเดินทางด้วยรถยนต์ไปอีก ๓ ชั่วโมง และต่อรถ ๖ ล้อขึ้นเขาไปอีกราว ๔๕ นาที และขึ้นเสลี่ยงโดยลูกหาบ ๔ ท่านไปอีก ๔๕ นาที และเดินไปพระธาตุอินทร์แขวนอีกราว ๒๐ นาที

    จะหาเวลามาต่อเรื่องพระธาตุอินทร์แขวนนะครับ สนุกมาก...
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมกำลังคิดว่าจะบอกเล่าเรื่องราวนี้ให้ผู้สนใจในการเดินทางไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวนนี้ให้ทราบกันดีหรือไม่ หรือจะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม แต่ในที่สุดก็คิดว่าน่าจะบอกกันไว้ก่อน เพราะจะพบปัญหาในลักษณะเดียวกันอย่างแน่นอน...

    ภาพระหว่างทางนั่งเสี่ยงขึ้นสักการะพระธาตุอินทร์แขวน ลูกหาบจะขอทานน้ำดื่มกระป๋อง กระป๋องละ ๒,๐๐๐ จ๊าด เทียบเท่าเงินไทยที่ ๘๐ บาทต่อกระป๋อง น้ำดื่มประเภทนี้โดยทั่วไปขายกันที่ ๑,๕๐๐ จ๊าด จริงๆเขาไม่ได้ทานกัน คืนให้เจ้าของร้าน แล้วเจ้าของร้านคืนเป็นเงินให้ลูกหาบมาคนละ ๕๐๐ จ๊าด ส่วนนี้คือ น้ำใจที่ให้ลูกหาบ และการ tip นี้ ลูกหาบพวกนี้จะคาดหวังมาก โดยเฉพาะจะขอเป็นเงินไทย เรียกกันคนละ ๑๐๐ บาท ไปกลับก็ประมาณ ๒๐๐ บาท ต่อคน(ประมาณ ๖,๐๐๐ จ๊าดต่อคน ปกติเงินเดือนของคนที่นี่รับกันเพียงคนละ ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือนเท่านั้น คือประมาณ ๓๐,๐๐๐ จ๊าด)เลยทีเดียว ส่วนนี้เป็นส่วนที่สร้างความรำคาญให้คนไทยที่นั่นมาก คนไทยบางคนให้ คนไทยบางคนไม่ให้ ก็เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ลูกหาบก็เกิดจะซักถามกันเป็นเรื่องอยู่เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรพูดคุยเรื่อง tip กันให้ตรงกันในกลุ่มที่ไปกันก่อน ปริมาณลูกหาบถึง ๔๐๐ กว่าคน เสลี่ยงมีประมาณ ๑๐๐ ชุด รับนักท่องเที่ยวได้ ๑๐๐ คน ลูกหาบ ๔ คนหาบขึ้นไปใช้เวลา ๔๕ นาที สิ่งที่คนไทยเราสร้างไว้ในการเดินทางไปแต่ละครั้งจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เขาจะยึดถือกันไปเลยทีเดียว อย่าทำอะไรกันโดยไม่ปรึกษากันก่อน เพราะจะเกิดภัยที่เรานึกกันไม่ถึง ในเรื่อง tip นี่เป็นปัญหากันมาก ไกด์ของชุดเราแนะนำว่า เมื่อลูกหาบส่งเสร็จในขาขึ้น(อย่าลืมว่า ยังมีขาลงในวันรุ่งขึ้น) เขาจะขอเงิน tip ทันที ให้เราบอกว่า Tomorrow และต้องใจแข็งไว้ ตื้อยังไงก็บอก Tomorrow เท่านั้น เราคงสงสัยกันว่า แล้วจะทราบได้ยังไงว่าลูกหาบพวกนี้จะตามเราพบ 5555555... ตามเราพบแน่ "พวกเขา" จะมารอ"พวกเรา"ที่หน้าโรงแรมแต่เช้าเลยทีเดียว เพราะก่อนขึ้นเขา ผู้คุมคิวเสลี่ยงจะแจกลำดับหมายเลขให้เราก่อน และสักครู่ จะมีชุดลูกหาบ ๔ คนมาสอบถาม พร้อมชูหมายเลขที่ตรงกันกับลำดับหมายเลขของเรา นั่นก็คือชุดปฏิบัติการลูกหาบที่รับผิดชอบพาเราขึ้นเขาโดยนั่งเสลี่ยงขึ้นไปนั่นเอง(ในภาพเห็นคุณผู้หญิงท่านหนึ่งชูลำดับหมายเลข) เงินบาทเป็นที่ต้องการของคนพม่าที่นี่มาก การ tip นี้จึงต้องคิดหน้าคิดหลังดีๆ เพราะหากเพื่อนคนไทยคนอื่นที่ไม่ได้พกเงินบาทมาในการเดินเที่ยวนี้อาจจะเป็นปัญหาสำหรับเขา จะบอกเล่าความน่ารำคาญตรงนี้ให้ทราบกันอีกครั้งในช่วงขาลง..รู้เขา รู้เรา จะปลอดภัยครับ ส่วนน้อย ทำให้ส่วนใหญ่เสียหาย ผมหมายรวมไปถึงทั้งพวกเขา และทั้งพวกเราคนไทยด้วยกันเองนั่นแหละ

    เรื่องการกินหมาก ที่พม่ายังทานกันเป็นส่วนใหญ่(สยามประเทศเราเลิกทานหมากมาประมาณ ๑๐๐ ปีแล้ว) ตามทางอาจจะพบเห็นสีแดงของหมากที่บ้วนทิ้งไปตามรายทางขึ้นลง


    การเดินขึ้นพระธาตุอินทร์แขวนด้วยเวลาถึง ๔๕ นาที และเป็นทางที่ชันมาก โค้งหักศอกหลายจุด ซึ่งความจริงสามารถขับรถขึ้นไปได้ แต่เคยเกิดเหตุกับชาวต่างชาติ ซึ่งก็ทำให้ทางการพม่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายในการส่งชาวต่างชาติกลับประเทศต้นทาง และเพื่อให้ลูกหาบรอบๆเขามีรายได้ ทราบว่าเคยมีลูกหาบรวมตัวกันประท้วงไม่ให้มีรถรับส่งนักท่องเที่ยวไปยังพระธาตุอินทร์แขวนโดยตรง


    เห็นไม๊! ว่ากระทบต่อปัญหาปากท้องของเขามากเลย ถือว่าการจัดระเบียบในเรื่องการ tip ยังเป็นปัญหามาก


    การขึ้นลงเขาที่ชันมากนี้ จึงเห็นเขาขายไม้เท้ากัน จะเห็นคนเฒ่า คนแก่ ใช้ค้ำยันเดินขึ้นลงตามเขามากมาย

    และเมื่อขึ้นเขาไปถึงองค์พระธาตุแล้ว จะมีบรรดาเด็กๆทั้งชายหญิง มาประกบซ้ายขวาหน้าหลังช่วยถือนั่น ถือนี่ ผมหมายถึงสัมภาระเท่าที่จำเป็นซึ่งแบ่งจากกระเป๋าใหญ่ที่เก็บไว้ที่โรงแรมในเมืองของเรามาแล้ว พวกเด็กๆนี้จะเรียกตัวเขากันเองโดยทั่วไปว่า Body Guard เรา เพราะเด็กๆก็ต้องการ tip จากนักท่องเที่ยวเช่นกันครับ เด็กๆบางคนก็จัดการยาก บางคนก็จัดการง่าย ก็ขอให้โชคดีครับ..
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ที่พักบนเขา และบรรยากาศรอบๆ ก่อนจะไปสักการะองค์พระธาตุอินทร์แขวนกันในช่วงค่ำ จากจุดบันทึกภาพนี้ ต้องเดินด้วยเท้าไปอีกราว ๑๕ นาที จะถึงองค์พระธาตุอินทร์แขวน ..
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    </FIELDSET>
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อาหารค่ำง่ายๆ เป็นมุมที่นั่งทานอาหารไป เห็นพระธาตุอินทร์แขวนสีทองอร่าม
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ตามประเพณีจารีตของล้านนาโบราณ ได้กำหนดไว้ว่า คนที่เกิดในปีใด ควรจะได้ไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อเป็นการเสริมสร้างสิริมงคล เสริมดวงชะตาราศีให้เจริญรุ่งเรือง และยังเป็นการสร้างสมบุญกุศลอย่างสูงอีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    1.คนเกิดปี “ไจ้”ชวด(หนู) ไหว้พระธาตุจอมทอง เชียงใหม่
    2.คนเกิดปี “เป้า”ฉลู (วัว) ไหว้พระธาตุลำปางหลวง ลำปาง
    3.คนเกิดปี “ยี”ขาล(เสือ) ไหว้พระธาตุช่อแฮ แพร่
    4.คนเกิดปี “เม้า”เถาะ (กระต่าย) ไหว้พระธาตุแช่แห้ง น่าน
    5.คนเกิด “สี” มะโรง(งูใหญ่) ไหว้พระพุทธสิหิงค์ หรือพระธาตุวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
    6.คนเกิดปี “ไส้” มะเส็ง(งูเล็ก) ไหว้พระเจดีย์พุทธคยาหรือไม้พระศรีมหาโพธิ์ อินเดีย
    7.คนเกิด “สะง้า” มะเมีย (ม้า) ไหว้พระเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า
    8.คนเกิดปี “เม็ด” มะแม (แพะ) ไหว้พระธาตุดอยสุเทพส เชียงใหม่
    9.คนเกิดปี “สัน” วอก (ลิง) ไหว้พระธาตุพนม นครพนม
    10.คนเกิดปี “เล้า”ระกา (ไก่) ไหว้พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
    11.คนเกิดปี “เส็ด” จอ (สุนัข) ไหว้พระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หรือพระธาตุอินทร์แขวน พม่า
    12.คนเกิดปี “ไก้” กุน(หมู) ไหว้พระธาตุดอยตุง เชียงราย

    พระเจดีย์ไจก์ทีโย หรือพระธาตุอินทร์แขวน
    พระมหาเจดีย์จุฬามณีบนโลกมนุษย์ ตั้งอยู่ที่เมืองไจ้ก์โถ่ อำเภอสะเทิม เขตรัฐมอญของประเทศพม่า บนยอดเขา Paung Laung เหนือระดับ น้ำทะเล ๓,๖๑๕ ฟุต พระธาตุอินทร์แขวนตั้งอยู่บนหน้าผาสูงกว่า ๑,๒๐๐ เมตร สร้างตั้งไว้บนก้อนหิน สูงถึง ๕.๕ เมตร เส้นรอบวงของก้อนหินราว ๑๗ เมตร มองดูคล้ายก้อนหินตั้งอยู่หมิ่นเหม่ใกล้จะตกลงมาเต็มที ด้วยศรัทธาอันมีพุทธธรรมน้อมนำใจ ในกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าสตางค์ของชาวมอญ และพม่าแทบทุกคน จะต้องมีรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างน้อย ๓ สิ่ง เคลือบพลาสติกไว้สำหรับ พกพาเป็นสิริมงคลอยู่เสมอ คือ พระมหาเจดีย์ชเวกาดอง ย่างกุ้ง-พระมหามัยมุนี มัณฑะเลย์-พระธาตุอินทร์แขวน “ไจก์ทิโย”

    ลักษณะเด่นของพระธาตุอินทร์แขวนคือ มีลักษณะเป็นก้อนหินสีทองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันอย่างหมิ่นเหม่ เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมาอย่างเหลือเชื่อ


    ก็ในเมื่อโบราณาจารย์ท่านกำหนดให้ถือว่า “พระเจดีย์จุฬามณี” ซึ่งตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า องค์พระอมรินทราธิราช หรือ “พระอินทร์” ผู้เป็นจอมเทวะได้สร้างขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสพิภพ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเมาลีและพระเขี้ยวแก้วขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีจอแล้ว ก็คงเป็นสิ่ง “เกินวิสัย”ของสามัญชนผู้ไม่ได้ “อิทธิวิสัย” ที่จะ “ถอดจิต”หรือ “เดินญาณ”ด้วยอำนาจฌาณสมาบัติขั้นไปกราบนมัสการเป็นสิริมงคลแก่ตนเองได้ จึงได้มีการสมมุติให้ถือเอา “พระธาตุอินทร์แขวน” ซึ่งตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า เป็นพระเจดีย์ที่พระอินทร์ได้ทรงสร้างไว้เหมือนกันกับพระเจดีย์จุฬามณี ก่อให้เกิดความยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปว่า พระเจดีย์ไจก์ทีโยหรือพระธาตุอินทร์แขวนนี้ คือพระเจดีย์จุฬามณีบนโลกมนุษย์ อันควรค่าแก่การไหว้สาสักการะเป็นยิ่งนัก

    อันพระเจดีย์ไจก์ทีโย หรือพระธาตุอินทร์แขวนองค์นี้ เดิมทีมีชื่อมอญเรียกว่า “ไจกิทิโย” อันมีความหมายว่า “พระเจดีย์เศียรฤาษี” เหตุด้วย มีพระฤาษีตนหนึ่ง ชื่อว่า “ติสสะ” ได้รับพระทานพระเกศาธาตุจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีคราวเสด็จจาริกมาโปรดสรรพสัตว์ในเขตสุวรรณภูมิแห่งนี้ โดยพระฤาษีตนนั้นได้เก็บพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ในมวยผมตนเอง ต่อมาเมื่อพระฤาษีชราภาพมาก และเห็นว่าอีกไม่ช้า ตนก็คงต้องละสังขารแล้ว ก็ใคร่จะหาที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุที่เหมาะสม เพื่อจะได้เป็นที่ไหว้สาสักการะของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายสืบไป การดังนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระอินทราธิราช พระองค์ได้เสด็จลงมาอาสาที่จะสร้างพระเจดีย์ถวาย แต่พระฤาษีติสสะก็มีข้อแม้ว่า พระอินทร์จะต้องหาก้อนหินที่มีลักษณะรูปทรงสัณฐานเหมือนกับศีรษะของพระฤาษีให้ได้เสียก่อน ซึ่งพระอินทร์ก็ได้ใช้เทวฤทธิ์ ยกเอาหินก้อนหนึ่งมาจากใต้ทะเลลึก มีลักษณะถูกต้องตามความต้องการของติสสะฤาษีตนนั้นทุกประการ ติสสะฤาษีก็พอใจยินยอมอัญเชิญพระเกศาธาตุมาให้กับพระยาอินทราธิราช ๆก็ใช้พระขรรค์แทงลงในหินก้อนนั้นเป็นช่องว่าง พร้อมกับอัญเชิญพระเกศาธาตุลงบรรจุ ก่อนนำไปแขวนไว้ที่ยอดเขา Puang Luang ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่เมืองสะเทิม รัฐมอญ ประเทศพม่า (อยู่ใกล้เคียงในเส้นรุ้งเดียวกับอ.ท่าสองยาง จ.ตาก ประเทศไทย) พระธาตุเจดีย์องค์นี้ จึงได้ชื่อว่า “ไจกิติโย” หรือภายหลังกร่อนคำลงเหลือ “ไจก์ทีโย” อันแปลตรงตัวได้ความว่า “พระเจดีย์เศียรฤาษี” แต่คนไทยนิยมเรียกว่า “พระธาตุอินทร์แขวน” ซึ่งแม้แต่คนพม่าเอง ก็ยังชมเชยว่า คนไทยเรียกชื่อพระธาตุองค์นี้ได้ “ตรงเป้า”มากที่สุดเลยทีเดียว

    สำหรับอิทธิปาฏิหาริย์ของพระเจดีย์ “ไจก์ทีโย”หรือ “พระธาตุอินทร์แขวน” ซึ่งพระอินทร์เป็นผู้สร้างนั้น แน่นอนว่า จะต้องมีพุทธานุภาพแห่ง “พระเกศาธาตุ” และ “เทวานุภาพ”ของพระอินทร์แฝงไว้อย่างท่วมท้นไม่ต้องสงสัย

    หนึ่งก็เป็นเล่าลือกันมาแต่โบราณแล้วว่า แต่ก่อนนั้น พระธาตุอินทร์แขวนไจก์ทีโยนี้ “แขวน”หรือ “ลอย”อยู่เหนือพื้นหินภูเขาจริงๆ โดยลอยสูงจากพื้นประมาณ แม่ไก่ลอดเข้าไปกกไข่ได้ แต่ต่อมา เมื่อจิตใจของมนุษย์ในโลกตกต่ำลง ประกอบกับมี “เจ้าหญิงพม่า(โบราณ)” องค์หนึ่ง คิดจะเรียกร้อง “สิทธิสตรี”ว่าต้องเสมอเทียมเท่ากับผู้ชาย (ประมาณเดียวแบบเดียวกับคุณเธอ “ระเบียบจัด”ของสยามประเทศ อย่างไรก็อย่างนั้น) เลยก้าวล่วงเข้าไปในเขตหวงห้ามที่ห้ามสตรีเข้าไปอย่างเด็ดขาดที่พระธาตุอินทร์แขวน จึงเกิดอาเพศร้ายแรง ทำให้องค์พระธาตุลอยต่ำลงมาจนชิดกับพื้นหินยอดเขาแบบเหลื่อมล้ำหมิ่นเหม่ชวนให้หวาดเสียวว่าจะหล่นมิหล่นแหล่เต็มที แต่องค์พระเจดีย์ไจก์ทีโยก็ยังตั้งอยู่ได้เป็นอัศจรรย์ ด้วยความสูงที่เอาด้ายเส้นยาวๆลอดได้ หรือสามารถช่วยกันโยกให้องค์พระธาตุเอียงไปเอียงมาได้ แต่ก็ไม่เคยหลุดหล่นไปจากที่ แม้จะผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างแรงมานับครั้งไม่ถ้วน แต่พระธาตุไจก์ทีโยอินทร์แขวนก็ยังคงตั้งตะหง่านงาม ท้าทายต่อทุกสายตาของทุกผู้คนทั่วโลกให้เป็นที่อัศจรรย์แก่ตาแก่ใจมาตราบเท่าถึงวินาทีนี้

    อนึ่ง จากหนังสือนวนิยายซีไรท์อันโด่งดังอย่าง “เจ้าจันทน์ผมหอม” ของ “มาลา คำจันทร์” ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก “พระธาตุอินทร์แขวนไจก์ทีโย” ก็ได้บันทึกไว้เลยทีเดียวว่า

    “ชื่อพระธาตุอินทร์แขวนนี้ เป็นที่รู้จักกันดีของคนเฒ่าคนแก่แถบ ลำปาง พะเยา เชียงราย ตำนานพระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งเป็นพระธาตุที่พระอินทร์ เจ้าฟ้าตาวติงสาโลกลงมาแขวนไว้ในเมืองคนนี้ ผู้เขียน(มาลา คำจันทร์) เคยได้รับฟังจากย่าผู้ล่วงลับเล่าว่า อยู่ไกลสุดแสนที่แดนฟ้าหลั่ง ใครได้ไหว้พระธาตุอินทร์แขวน ก็เท่ากับได้ไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ มีสิทธิ์สะสมผลานิสงส์ไปเกิดร่วมยุคกับพระศรีอาริยเมตตรัย”“.......เจ้าจันทร์แก้วยื่นฟ้า เจ้างามหล้าลือโลกโศกหมอง พระธาตุอินทร์แขวนหมายแทนเอาเป๋นพระธาตุประจำปีเกิด วาดไว้ว่าสูงเลิศส่งลอยทะลุอกฟ้า " (เจ้าจันทร์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน หน้า105")เชื่อกันว่าพระอินทร์เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ เพื่อนำเอาพระธาตุมาแขวนไว้ให้ผู้มีบุญมากราบไหว้ ใครได้มาสักการะก็เท่ากับได้ไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ และจะได้สั่งสมอานิสงส์ให้ไปเกิดร่วมยุคกับพระศรีอาริยเมตตรัย และผู้ที่มีบุญก็จะสามารถมองเป็นองค์พระธาตุลอยอยู่อย่างชัดเจน
    ขอบพระคุณคุณเนาว์ นรญาณ

    ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไปใกล้เขตขององค์พระธาตุอินทร์แขวน ก็ได้แต่ฝากแผ่นทองที่อธิษฐานจิตดีแล้วเข้าไปปิดแทน การอธิษฐานจิตให้เอามือ และหน้าผากแตะ"หินรองรับ"องค์พระธาตุอินทร์ แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ปรารถนา
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
    ตามประเพณีจารีตของล้านนาโบราณ ได้กำหนดไว้ว่า คนที่เกิดในปีใด ควรจะได้ไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อเป็นการเสริมสร้างสิริมงคล เสริมดวงชะตาราศีให้เจริญรุ่งเรือง และยังเป็นการสร้างสมบุญกุศลอย่างสูงอีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    1.คนเกิดปี “ไจ้”ชวด(หนู) ไหว้พระธาตุจอมทอง เชียงใหม่
    2.คนเกิดปี “เป้า”ฉลู (วัว) ไหว้พระธาตุลำปางหลวง ลำปาง
    3.คนเกิดปี “ยี”ขาล(เสือ) ไหว้พระธาตุช่อแฮ แพร่
    4.คนเกิดปี “เม้า”เถาะ (กระต่าย) ไหว้พระธาตุแช่แห้ง น่าน
    5.คนเกิด “สี” มะโรง(งูใหญ่) ไหว้พระพุทธสิหิงค์ หรือพระธาตุวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
    6.คนเกิดปี “ไส้” มะเส็ง(งูเล็ก) ไหว้พระเจดีย์พุทธคยาหรือไม้พระศรีมหาโพธิ์ อินเดีย
    7.คนเกิด “สะง้า” มะเมีย (ม้า) ไหว้พระเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า
    8.คนเกิดปี “เม็ด” มะแม (แพะ) ไหว้พระธาตุดอยสุเทพส เชียงใหม่
    9.คนเกิดปี “สัน” วอก (ลิง) ไหว้พระธาตุพนม นครพนม
    10.คนเกิดปี “เล้า”ระกา (ไก่) ไหว้พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
    11.คนเกิดปี “เส็ด” จอ (สุนัข) ไหว้พระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หรือพระธาตุอินทร์แขวน พม่า
    12.คนเกิดปี “ไก้” กุน(หมู) ไหว้พระธาตุดอยตุง เชียงราย

    พระเจดีย์ไจก์ทีโย หรือพระธาตุอินทร์แขวน
    พระมหาเจดีย์จุฬามณีบนโลกมนุษย์ ตั้งอยู่ที่เมืองไจ้ก์โถ่ อำเภอสะเทิม เขตรัฐมอญของประเทศพม่า บนยอดเขา Paung Laung เหนือระดับ น้ำทะเล ๓,๖๑๕ ฟุต พระธาตุอินทร์แขวนตั้งอยู่บนหน้าผาสูงกว่า ๑,๒๐๐ เมตร สร้างตั้งไว้บนก้อนหิน สูงถึง ๕.๕ เมตร เส้นรอบวงของก้อนหินราว ๑๗ เมตร มองดูคล้ายก้อนหินตั้งอยู่หมิ่นเหม่ใกล้จะตกลงมาเต็มที ด้วยศรัทธาอันมีพุทธธรรมน้อมนำใจ ในกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าสตางค์ของชาวมอญ และพม่าแทบทุกคน จะต้องมีรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างน้อย ๓ สิ่ง เคลือบพลาสติกไว้สำหรับ พกพาเป็นสิริมงคลอยู่เสมอ คือ พระมหาเจดีย์ชเวกาดอง ย่างกุ้ง-พระมหามัยมุนี มัณฑะเลย์-พระธาตุอินทร์แขวน “ไจก์ทิโย”

    ลักษณะเด่นของพระธาตุอินทร์แขวนคือ มีลักษณะเป็นก้อนหินสีทองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันอย่างหมิ่นเหม่ เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมาอย่างเหลือเชื่อ


    ก็ในเมื่อโบราณาจารย์ท่านกำหนดให้ถือว่า “พระเจดีย์จุฬามณี” ซึ่งตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า องค์พระอมรินทราธิราช หรือ “พระอินทร์” ผู้เป็นจอมเทวะได้สร้างขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสพิภพ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเมาลีและพระเขี้ยวแก้วขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีจอแล้ว ก็คงเป็นสิ่ง “เกินวิสัย”ของสามัญชนผู้ไม่ได้ “อิทธิวิสัย” ที่จะ “ถอดจิต”หรือ “เดินญาณ”ด้วยอำนาจฌาณสมาบัติขั้นไปกราบนมัสการเป็นสิริมงคลแก่ตนเองได้ จึงได้มีการสมมุติให้ถือเอา “พระธาตุอินทร์แขวน” ซึ่งตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า เป็นพระเจดีย์ที่พระอินทร์ได้ทรงสร้างไว้เหมือนกันกับพระเจดีย์จุฬามณี ก่อให้เกิดความยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปว่า พระเจดีย์ไจก์ทีโยหรือพระธาตุอินทร์แขวนนี้ คือพระเจดีย์จุฬามณีบนโลกมนุษย์ อันควรค่าแก่การไหว้สาสักการะเป็นยิ่งนัก

    อันพระเจดีย์ไจก์ทีโย หรือพระธาตุอินทร์แขวนองค์นี้ เดิมทีมีชื่อมอญเรียกว่า “ไจกิทิโย” อันมีความหมายว่า “พระเจดีย์เศียรฤาษี” เหตุด้วย มีพระฤาษีตนหนึ่ง ชื่อว่า “ติสสะ” ได้รับพระทานพระเกศาธาตุจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีคราวเสด็จจาริกมาโปรดสรรพสัตว์ในเขตสุวรรณภูมิแห่งนี้ โดยพระฤาษีตนนั้นได้เก็บพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ในมวยผมตนเอง ต่อมาเมื่อพระฤาษีชราภาพมาก และเห็นว่าอีกไม่ช้า ตนก็คงต้องละสังขารแล้ว ก็ใคร่จะหาที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุที่เหมาะสม เพื่อจะได้เป็นที่ไหว้สาสักการะของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายสืบไป การดังนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระอินทราธิราช พระองค์ได้เสด็จลงมาอาสาที่จะสร้างพระเจดีย์ถวาย แต่พระฤาษีติสสะก็มีข้อแม้ว่า พระอินทร์จะต้องหาก้อนหินที่มีลักษณะรูปทรงสัณฐานเหมือนกับศีรษะของพระฤาษีให้ได้เสียก่อน ซึ่งพระอินทร์ก็ได้ใช้เทวฤทธิ์ ยกเอาหินก้อนหนึ่งมาจากใต้ทะเลลึก มีลักษณะถูกต้องตามความต้องการของติสสะฤาษีตนนั้นทุกประการ ติสสะฤาษีก็พอใจยินยอมอัญเชิญพระเกศาธาตุมาให้กับพระยาอินทราธิราช ๆก็ใช้พระขรรค์แทงลงในหินก้อนนั้นเป็นช่องว่าง พร้อมกับอัญเชิญพระเกศาธาตุลงบรรจุ ก่อนนำไปแขวนไว้ที่ยอดเขา Puang Luang ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่เมืองสะเทิม รัฐมอญ ประเทศพม่า (อยู่ใกล้เคียงในเส้นรุ้งเดียวกับอ.ท่าสองยาง จ.ตาก ประเทศไทย) พระธาตุเจดีย์องค์นี้ จึงได้ชื่อว่า “ไจกิติโย” หรือภายหลังกร่อนคำลงเหลือ “ไจก์ทีโย” อันแปลตรงตัวได้ความว่า “พระเจดีย์เศียรฤาษี” แต่คนไทยนิยมเรียกว่า “พระธาตุอินทร์แขวน” ซึ่งแม้แต่คนพม่าเอง ก็ยังชมเชยว่า คนไทยเรียกชื่อพระธาตุองค์นี้ได้ “ตรงเป้า”มากที่สุดเลยทีเดียว

    สำหรับอิทธิปาฏิหาริย์ของพระเจดีย์ “ไจก์ทีโย”หรือ “พระธาตุอินทร์แขวน” ซึ่งพระอินทร์เป็นผู้สร้างนั้น แน่นอนว่า จะต้องมีพุทธานุภาพแห่ง “พระเกศาธาตุ” และ “เทวานุภาพ”ของพระอินทร์แฝงไว้อย่างท่วมท้นไม่ต้องสงสัย

    หนึ่งก็เป็นเล่าลือกันมาแต่โบราณแล้วว่า แต่ก่อนนั้น พระธาตุอินทร์แขวนไจก์ทีโยนี้ “แขวน”หรือ “ลอย”อยู่เหนือพื้นหินภูเขาจริงๆ โดยลอยสูงจากพื้นประมาณ แม่ไก่ลอดเข้าไปกกไข่ได้ แต่ต่อมา เมื่อจิตใจของมนุษย์ในโลกตกต่ำลง ประกอบกับมี “เจ้าหญิงพม่า(โบราณ)” องค์หนึ่ง คิดจะเรียกร้อง “สิทธิสตรี”ว่าต้องเสมอเทียมเท่ากับผู้ชาย (ประมาณเดียวแบบเดียวกับคุณเธอ “ระเบียบจัด”ของสยามประเทศ อย่างไรก็อย่างนั้น) เลยก้าวล่วงเข้าไปในเขตหวงห้ามที่ห้ามสตรีเข้าไปอย่างเด็ดขาดที่พระธาตุอินทร์แขวน จึงเกิดอาเพศร้ายแรง ทำให้องค์พระธาตุลอยต่ำลงมาจนชิดกับพื้นหินยอดเขาแบบเหลื่อมล้ำหมิ่นเหม่ชวนให้หวาดเสียวว่าจะหล่นมิหล่นแหล่เต็มที แต่องค์พระเจดีย์ไจก์ทีโยก็ยังตั้งอยู่ได้เป็นอัศจรรย์ ด้วยความสูงที่เอาด้ายเส้นยาวๆลอดได้ หรือสามารถช่วยกันโยกให้องค์พระธาตุเอียงไปเอียงมาได้ แต่ก็ไม่เคยหลุดหล่นไปจากที่ แม้จะผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างแรงมานับครั้งไม่ถ้วน แต่พระธาตุไจก์ทีโยอินทร์แขวนก็ยังคงตั้งตะหง่านงาม ท้าทายต่อทุกสายตาของทุกผู้คนทั่วโลกให้เป็นที่อัศจรรย์แก่ตาแก่ใจมาตราบเท่าถึงวินาทีนี้

    อนึ่ง จากหนังสือนวนิยายซีไรท์อันโด่งดังอย่าง “เจ้าจันทน์ผมหอม” ของ “มาลา คำจันทร์” ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก “พระธาตุอินทร์แขวนไจก์ทีโย” ก็ได้บันทึกไว้เลยทีเดียวว่า

    “ชื่อพระธาตุอินทร์แขวนนี้ เป็นที่รู้จักกันดีของคนเฒ่าคนแก่แถบ ลำปาง พะเยา เชียงราย ตำนานพระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งเป็นพระธาตุที่พระอินทร์ เจ้าฟ้าตาวติงสาโลกลงมาแขวนไว้ในเมืองคนนี้ ผู้เขียน(มาลา คำจันทร์) เคยได้รับฟังจากย่าผู้ล่วงลับเล่าว่า อยู่ไกลสุดแสนที่แดนฟ้าหลั่ง ใครได้ไหว้พระธาตุอินทร์แขวน ก็เท่ากับได้ไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ มีสิทธิ์สะสมผลานิสงส์ไปเกิดร่วมยุคกับพระศรีอาริยเมตตรัย”“.......เจ้าจันทร์แก้วยื่นฟ้า เจ้างามหล้าลือโลกโศกหมอง พระธาตุอินทร์แขวนหมายแทนเอาเป๋นพระธาตุประจำปีเกิด วาดไว้ว่าสูงเลิศส่งลอยทะลุอกฟ้า " (เจ้าจันทร์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน หน้า105")เชื่อกันว่าพระอินทร์เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ เพื่อนำเอาพระธาตุมาแขวนไว้ให้ผู้มีบุญมากราบไหว้ ใครได้มาสักการะก็เท่ากับได้ไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ และจะได้สั่งสมอานิสงส์ให้ไปเกิดร่วมยุคกับพระศรีอาริยเมตตรัย และผู้ที่มีบุญก็จะสามารถมองเป็นองค์พระธาตุลอยอยู่อย่างชัดเจน
    ขอบพระคุณคุณเนาว์ นรญาณ

    ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไปใกล้เขตขององค์พระธาตุอินทร์แขวน ก็ได้แต่ฝากแผ่นทองที่อธิษฐานจิตดีแล้วเข้าไปปิดแทน การอธิษฐานจิตให้เอามือ และหน้าผากแตะ"หินรองรับ"องค์พระธาตุอินทร์ แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ปรารถนา
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขณะที่ผมเข้าไปปิดทอง ผมสังเกตเห็น"ปุ่ม"สีดำนูนขึ้นมา ซึ่งส่วนมากจะถูกทองคำเปลวแท้ปิดทั้งหมด ผมทดสอบถูลงบนปุ่มสีดำนั้น ก็ไม่ออก และมีแข็งมาก สีดำนั้นไม่ลอกออก สิ่งที่สะกิดใจขึ้นมาในเวลานั้น "แท่นหินรองรับ"องค์พระธาตุอินทร์แขวนที่พระอินทร์ท่านนำมานี้ชะรอยท่าจะไม่ธรรมดาเสียแล้ว คือ...เหล็กไหล...ลองพิจารณาจาก ๒ ภาพนี้นะครับ ผมคิดว่ายังไม่เคยมีผู้ใดนำมาเผยแพร่

    บริเวณทั่วไปของการปิดทอง ลำพังทองคำเปลวมีความเบาบาง และแม้จะเป็นทองคำบริสุทธิ์ก็ตาม การปิดก็ใช่ว่าจะปิดได้ง่าย อีกทั้งยังต้องลมที่พัดโชยบน"แท่นหินรองรับ"องค์พระธาตุอินทร์แขวนอีก ต้องใช้ยางไม้สีน้ำตาลเหนียวเปรียบเสมือนกาวทาที่องค์พระธาตุก่อนการปิดทองคำเปลวบริสุทธิ์นั้น...
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. table

    table เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +730
    โอ้โห สุดยอดครับ
    แปลกใจมากทำไมพม่า ถึงได้สร้างวัดได้งามมหาศาล ขนาดนี้ ของไทยเอง ถ้าพูดตรง ๆ แล้ว ยังไม่มีใครสร้างได้ขนาดนี้เลย เพชรนิลจินดา ทองคำ มากขนาดนี้ และความสวยงาม ความละเอียดอ่อน มีมากจริง ๆ เจดีย์ก็มีขนาดใหญ่มหาศาล
    คนพม่ามีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามากจริง ๆ ยอมรับ ดูจากการบริจาคเพชร ทองคำ

    โมทนา สุดยอด
    เห็นแล้วอยากไปบ้าง
     
  19. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    น่าสนใจจริง ๆ ค่ะ แล้วเพิ่งรู้นะคะว่าพม่ามีอนุสาวรีย์ที่อลังการเหมือนกัน เห็นแล้วทึ่งเลย

    [​IMG]
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948

แชร์หน้านี้

Loading...