มิลินท ปัญหา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 สิงหาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> วรรคที่ ๔ </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ถามเกี่ยวกับเรื่องสรรเสริญ </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีผู้สรรเสริญเรา หรือสรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์ พวกเธอไม่ควรทำความร่าเริง ความดีใจความมีใจแปรปรวน อย่างใดอย่างหนึ่ง”
    [/FONT] แล้วตรัสไว้อีกว่า “เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญตามความเป็นจริง พระตถาคตก็ทรงดีพระทัย”
    แล้วได้แสดงพระคุณของพระองค์ยิ่งขึ้นไปว่า “ดูก่อนเสลพราหมณ์ เราเป็นพระธรรมราชาผู้เยี่ยม ได้ยังธรรมจักรอันไม่มีผู้ปฏิบัติได้ให้เป็นไปโดยชอบธรรม” ดังนี้
    ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “เวลามีผู้สรรเสริญเราหรือสรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์ พวกเธอไม่ควรร่าเริงไม่ควรดีใจ ไม่ควรมีใจตื่นเต้น” ดังนี้ถูกแล้ว คำที่ตรัสว่า “เมื่อเลสพราหมณ์สรรเสริญตามความเป็นจริง เราตถาคตก็ร่าเริงดีใจ แล้วได้แสดงคุณของเราตถาคตให้ยิ่งขึ้นไป” ดังนี้ก็ผิด
    ถ้าคำว่า “เมื่อเลสพราหมณ์สรรเสริญเราตามจริง เราร่าเริงดีใจ ได้แสดงคุณของเราให้ยิ่งขึ้นไป” ดังนี้ถูกแล้ว คำที่ตรัสว่า “เวลามีผู้อื่นสรรเสริญเรา หรือธรรม หรือสงฆ์ พวกเธอไม่ควรร่าเริงดีใจ มีใจตื่นเต้น” ดังนี้ก็ผิด ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ โปรดวิสัชนาให้สิ้นสงสัยเถิด”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้นจริงทั้งนั้น เมื่อสมเด็จพระภควันต์ จะทรงแสดงลักษณะแห่งสถาวธรรมตามความเป็นจริง ก็ได้ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายไว้อย่างนั้น เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญพระองค์ตามความเป็นจริง ก็ได้ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไปดังที่ว่าแล้วนั้น
    แต่การที่ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไปนั้น ไม่ใช่เพราะเห็นแก่ลาภยศ พรรคพวกบริวารอย่างไร เป็นเพระทรงพระเมตตากรุณาแก่ผู้ฟังทั้งหลายว่า ความรู้แจ้งธรรมจักมีแก่พราหมณ์นั้น พร้อมกับมาณพ ๓๐๐ คน จึงได้ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ขอถวายพระพร”
    “ดีแล้วพระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้องดี”

    <center>
    ปัญหาที่ ๒
    </center> <center> ถามเรื่องไม่
    เบียดเบียนและไม่ข่มเหง
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า “จงอย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก จงถือว่าผู้อื่นจงเป็นที่รักของเรา จงเป็นพวกของเรา” ดังนี้ แล้วตรัสอีกว่า “ควรข่มขี่ ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง” ดังนี้
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า การตัดมือ ตัดเท้า การฆ่า การจองจำ การทำให้ตาย การทำให้สิ้นเครื่องสืบต่อชีวิต ชื่อว่าการข่มขี่ คำว่า “ข่มขี่” นี้ ไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ไม่ควรจะตรัสคำนี้
    ถ้าตรัสว่า “อย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลกจงรักผู้อื่น ถือว่าผู้อื่นเป็นพวกเป็นพวกของเรา” ดังนี้ถูกแล้ว คำที่ว่า “ควรข่มขี่ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู่ที่ควรยกย่อง” ก็ผิดไป
    ถ้าคำว่า “ควรข่มขี่ผู้ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง” ดังนี้ถูกแล้ว คำที่ว่า “อย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก จงทำผู้อื่นให้เป็นที่รักของตัว จงนึกว่าเป็นพวกของตัว” ดังนี้ก็ผิด ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้นถูกทั้งนั้น คำว่า “อย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก” เป็นคำอนุมัติ เป็นคำพร่ำสอน เป็นคำแสดงธรรมของพระตถาคตเจ้าทั้งปวง เพราะว่าธรรมมีความไม่เบียดเบียนเป็นลักษณะ การที่ตรัสอย่างนั้น ตรัสตามสภาพ คือความเป็นจริง
    คำที่ตรัสว่า “ควรข่มขี่ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง” เป็นการมุ่งการปฏิบัติธรรม คือจิตที่ฟุ้งซ่านควรข่ม จิตที่หดหู่ควรประคองขึ้น จิตที่เป็นอกุศลควรข่มขี่เสีย จิตที่เป็นกุศลควรประคองไว้ การนึกผิดทางควรข่มขี่เสีย การนึกถูกทางควรประคองไว้
    การปฏิบัติผิดควรข่มขี่เสีย การปฏิบัติถูกควรประคองไว้ ผู้ไม่ใช่อริยะควรข่มขี่เสีย ผู้เป็นอริยะควรประคองไว้ ผู้เป็นโจรควรข่มขี่เสีย ผู้ไม่ใช่โจรควรประคองไว้ ขอถวายพระพร”
    เอาละ พระนาคเสน คราวนี้พระผู้เป็นเจ้า หวนกลับมาสู่วิสัยของโยมแล้ว โยมถามถึงข้อความอันใด ข้อความอันนั้นได้เข้ามาถึงโยมแล้ว โยมจึงขอถามว่า ผู้ที่เป็นโจร เราจะควรข่มขี่อย่างไร ?”
    ขอถวายพระพร โจรที่ควรด่าว่าก็ต้องด่าว่า ที่ควรปรับไหมก็ต้องปรับไหม ที่ควรขับไล่ก็ต้องขับไล่ ที่ควรข่มขี่โจรอย่างนี้”
    “ข้าแต่พระนาคเสน การฆ่าโจรเป็นพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือ ?”
    “ไม่เป็น มหาราชะ”
    “ถ้าไม่เป็น เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่า โจรนั้นเป็นผู้ควรสั่งสอนตามพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ?”
    “ขอถวายพระพร การฆ่าโจรนั้น คนทั้งหลายไม่ได้ฆ่าตามพระอนุมัติของพระตถาาคตเจ้าทั้งหลาย โจรนั้นถูกฆ่าด้วยความผิดที่เขากระทำเอง ก็เป็นอันว่าโจรนั้นบุคคลควรสั่งสอนตามเหตุผล บุคคลอาจจับบุรุษผู้ไม่มีความผิดจูงตระเวนไปตามถนน แล้วฆ่าเสียตามมติได้หรือ ?”
    “ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “เพราะเหตุไรล่ะ ?”
    “เพราะเขาไม่ได้ทำความผิด”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร โจรไม่ได้ถูกฆ่าด้วยพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ถูกฆ่าด้วยการกระทำของเขาเองต่างหาก ผู้ที่สั่งสอนโจรจะได้รับโทษอย่างไรบ้างหรือ ?”
    ไม่ได้รับโทษอย่างไรเลย ผู้เป็นเจ้า”
    “ถ้าอย่างนั้น คำสอนของพระตถาคตเจ้าก็เป็นคำสอนที่ถูกต้องดีแล้ว ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาข้อนี้ดีแล้ว” [/FONT]
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๓ </center> <center> ถามเรื่องทรงขับไล่ภิกษุ </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระพนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า “เราเป็นผู้ไม่โกรธเป็นผู้ไม่มีตะปู คือความโกรธแล้ว” แต่ภายหลังได้ทรงประณามขับไล่ พระโมคคัลลาน์พระสารีบุตร พร้อมทั้งบริวาร
    [/FONT] หรือเพราะความดีพระทัย ขอโปรดแก้ไปให้โยมเข้าใจ
    ถ้าทรงขับไล่ด้วยความโกรธ ก็เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้า ยังไม่ทรงละความโกรธ ถ้าทรงขับไล่ด้วยความยินดี ก็เป็นอันว่าไม่รู้ แต่ทรงกระทำในเมื่อยังไม่มีเหตุสมควร ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ให้สิ้นสงสัยนะ พระคุณเจ้าข้า”
    พระนาคเสนชี้แจงว่า
    “ขอถวายพระพร ข้อที่สมเด็จพระชินวรเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้ไม่มีความโกรธ เป็นผู้ไม่มีตะปู คือความโกรธแล้ว แต่ทรงข้บไล่พระโมคคัลลาน์พระสารีบุตร พร้อมทั้งบริวาร การทรงขับไล่นั้น ไม่ใช่ทรงขับไล่ด้วยความโกรธ
    มหาราชะ เหมือนอย่างบุรุษผู้หนึ่งพลาดลัมลงที่พื้นดิน หรือล้มลงที่แผ่นหิน ถูกก้อนกรวด หลักตอ ที่ไม่สม่ำเสมอ ที่มีตมมีโคลนย่อมมีอยู่ อาตมาภาพขอถามว่า แผ่นดินโกรธหรือ จึงทำให้ผู้นั้นพลาดล้ม ?”
    “แผ่นดินไม่ได้โกรธเลย ผู้เป็นเจ้า ความโกรธหรือความเลื่อมใสไม่มีแก่แผ่นดิน แผ่นดินไม่มีความยินดียินร้าย เขาพลาดล้มของเขาเอง”
    "ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละมหาบพิตร สมเด็จพระพิชิตมารไม่มีความโกรธ ความยินดียินร้ายอันใดเลย แต่พระอัครสาวกทั้งสองนั้นถูกขับไล่เพราะการกระทำผิดของตนต่างหาก
    อาตมาภาพขอถามว่า ธรรมดามหาสมุทรย่อมไม่อยู่ร่วมกับซากศพ หรือจอกแหน สาหร่ายเหล่านั้น ขึ้นไปบนฝั่งเสียโดยเร็ว มหาสมุทรนั้นโกรธหรือ จึงได้ทำอย่างนั้น?”
    “ไม่โกรธ ผู้เป็นเจ้า พราะมหาสมุทรไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไร”
    “ข้อนี้อุปมาฉันใด สมเด็จพระจอมไตร ก็ไม่ทรงยินดียินร้ายแต่อย่างใด พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ถูกขับไล่เพราะความผิดพลาดของตนเองตางหาก
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามีแต่มุ่ง ประโยชน์สุข ความดี ความงาม ให้แก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น ได้ทรงขับไล่ด้วยทรงเห็นว่า ภิกษุเหล่านี้พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยอาการอย่างนี้ ขอถวายพระพร”
    “สาธุ...พระนาคเสน โยมขอรับว่า ถูกอย่างพระผู้เป็นเจ้ากล่าวแล้วทุกประการ”

    <center>
    ตอนที่ ๒๕
    </center> <center> ปัญหาที่ ๔ </center> <center> ถามเรื่องความเป็น
    สัพพัญญูของพระพุทธเจ้า
    </center> พระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู แต่กล่าวไว้อีกว่า
    เมื่อพระตถาคตเจ้าได้ทรงขับไล่พระภิกษุสงฆ์ มี พระโมคคัลลาน์พระสาลีบุตร เป็นหัวหน้าไม่ให้เข้ามาเฝ้าแล้วพวกกษัตริย์ศากยราชกับท้าวสหัมบดีพรหม ได้พร้อมกันเข้าไปเฝ้าทูลขอโทษต่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำอุปมากับพืชและลูกโค
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อุปมาทั้งสองข้อที่ทำให้สมเด็จพระบราศาสดาทรงอดโทษนั้น พระตถาคตเจ้าไม่ทรงทราบหรือ ถ้าไม่ทรงทราบจะว่าพระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูได้อย่างไร
    ถ้าทรงทราบ แต่ทรงประประสงค์จะทดลองใจของพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นว่าจะคิดอย่างไร จึงทรงขับไล่ ก็เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าไม่มีพระกรุณา ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏฺ ได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าเป็นพระสัพพัญญูจริง แต่ว่าทรงอดโทษด้วยอุปมาทั้งสองข้อนั้น คือเทพยดามนุษย์ทั้งหลายย่อมทำให้พระตถาคตเจ้าผู้เป็นเจ้าแห่งธรรม ทรงเลื่อมใสด้วยธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว
    ขอถวายพระพร ภารรยาย่อมให้สามีดีใจด้วยทรัพย์ของสามีที่หามาได้เอง คือเมื่อได้เห็นภรรยานำทรัพย์ที่ตนหามาได้นั้นออกมาให้ดูก็ดีใจฉันใด พวกกษัตริย์ศากยราช กับท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้ทำให้พระตถาคตเจ้าทรงชื่นชมยินดี ด้วยธรรมของพระองค์ฉันนั้น
    อีกประการหนึ่ง ช่างกัลบกผู้ตกแต่งพระเกศของพระราชา ก็ทำให้พระราชาทรงพอพระทัย ด้วยครื่องประดับของพระราชาเองถึงกับได้รับพระราชทานรางวัลฉันใด
    พวกนั้นก็ได้ทำให้พระตถาคตเจ้า ทรงโปรดปรานด้วยธรรมของพระองค์เอง พระตถาคตเจ้าก็ได้ทรงแสดงความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ให้พวกนั้นฟังฉันนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนสัทธิวิหาริก (ศิษย์) ได้ทำให้พระอุปัชฌาย์ดีใจ ด้วยอาหารที่อุปัชฌาย์บิณฑบาทมาได้เอง คือเมื่ออุปัชฌาย์บิณฑบาทได้อาหารมาวางไว้แล้ว สัทธิหาริก ก็จัดน้อมเข้าไปถวาย อุปัชฌาย์ก็ดีใจฉะนั้น ขอถวายพระพร
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] สาธุ....พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้องดีแล้ว” [/FONT]
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๕ </center> <center> ถามเรื่องไม่มี
    ที่อยู่ประจำและไม่มีอาลัย
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า  “การไม่มีที่อยู่ประจำ ไม่มีความอาลัย ในสิ่งใดเป็นความเห็นของมุนี” ดังนี้ แล้วตรัสอีกว่า “บุคคลควรสร้างวิหารให้น่ายินดี ควรให้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตรมาอยู่ในวิหารนั้น” ดังนี้ ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัย”
    [/FONT] พระนาคเสนตอบว่า
    “ขออถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้า ได้ตรัสคำทั้งสองนั้น ไว้อย่างนั้นจริง ๆ คำที่ตรัสว่า “การไม่มีที่อยู่ประจำ ไม่มีความอาลัยในสิ่งใด เป็นความเห็นของมุนีนั้น” เป็นคำที่ตรัสออกไปด้วยทรงเห็นว่า
    สิ่งทั้งสองนั้นสมควรแก่สมณะ เพราะสมณะไม่สมควรมีที่อยู่ประจำ ไม่ควรอาลัยในสิ่งใด ควรทำตนเหมือนกับเนื้อในป่าฉะนั้น
    ข้อที่ตรัสไว้ว่า บุคคลควรสร้างวิหารให้น่ายินดี แล้วให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูตรทรงพระไตรปิฏกมาอยู่นั้น ตรัสด้วยทรงเล็งเห็นประโยชน์ ๒ ประการ คือ


    ประการที่ ๑ ทรงเล็งเห็นว่า วิหารทาน การให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าดี พวกสร้างวิหารให้เป็นทาน อาจสำเร็จแก่พระนิพพาน พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันนี้เป็นอานิสงส์ในการสร้างวิหารทานเป็นข้อแรก


    ประการที่ ๒ เมื่อมีวิหารอยู่ก็จักกมีพระภิกษุผู้มีความรู้ มาอาศัยอยู่เป็นอันมาก ใครอยากพบเห็นก็พบเห็นได้ง่าย อันนี้เป็นอานิสงส์ในวิหารข้อที่สอง แต่พระภิกษุไม่ควรมีความอาลัยเกี่ยวข่องในที่อยู่ จึงทรงสอนอย่างนั้น ขอถวายพระพร”
    “ถูกแล้ว พระนาคเสน”
    <center>
    ปัญหาที่ ๖
    </center> <center> ถามเรื่องสำรวมท้อง </center>  ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ภิกษุไม่ควรประมาทในอาหารที่ลุกขึ้นยืนรับ ควรเป็นผู้สำรวมท้อง” ดังนี้แล้วตรัสอีกว่า “ดูก่อนอุทายี บางคราวเราตถาคตได้ฉันอาหารเต็มเสมอขอบปากบาตร บางคราวก็ยิ่งกว่านั้น” ดังนี้
    ถ้าทรงสอนให้สำรวมท้อง คำที่ตรัสว่า “บางคราวเสวยเต็มเสมอขอบปากบาตรและยิ่งกว่าก็มีนั้น” ก็ผิดไป ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยเช่นกัน”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร คำที่ตรัสไว้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นจริงทั้งนั้น ส่วนคำที่ตรัสว่า “ไม่ควรประมาทในอาหารที่ลุกขึ้นยืนรับ ควรเป็นผู้สำรวมท้องนั้น” เป็นถ้อยคำที่ปรากฏทั่วไปของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูเจ้าทั้งหลาย
    เพราะเหตุว่า ผู้ไม่สำรวมท้องย่อมทำบาปต่าง ๆ ได้ คือทำปาณาติบาตก็มี ทำอทินนาทานก็มี ทำกาเมสุสิจฉาจารก็มี กล่าวมุสาวาทก็มี ดื่มน้ำเมาก็มี ฆ่ามารดาบิดาก็มี ฆ่าพระอรหันต์ก็มี ทำสงฆ์ให้แตกกันก็มี ทำโลหิตุปบาทก็มี พระเทวทัต ทำสงฆ์ให้แตกแยกกัน ไม่ใช่เพราะไม่สำรวมท้องเหรอ...
    สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ จึงได้ทรงสอนให้สำรวมท้อง ผู้สำรวมท้องย่อมล่วงรู้อริจสัจ ๔ สำเร็จ สามัญผล ๔ มีความชำนานในปฏิสัมภิทา ๔ สมาบัติ ๘ อภิญญา ๖ ทรงไว้ซึ่งสมณธรรมทั้งสิ้น
    ลูกนกแขกเต้าเป็นผู้สำรวมท้อง จึงได้ทำให้สวรรค์ชั้นดาวดึงส์หวั่นไหว ทำให้พระอินทร์เสด็จลงมาหาใช่หรือไม่ สมเด็จพระจอมไตรทรงเห็นอานิสงส์ต่าง ๆ อย่างนี้จึงได้สอนให้สำรวมท้อง
    ส่วนข้อที่ตรัสว่า “บางคราวได้เสวยอาหารเสมอขอบปากบาตรก็มี ยิ่งกว่าก็มีนั้น”เป็นคำที่พระตถาคตเจ้าผู้สำเร็จกิจทั้งปวงแล้วได้ตรัสไว้ด้วยมุ่งหมายพระองค์เองเท่านั้น
    ผู้เป็นโรคเมื่อต้องการหายจากโรค ควรงดเว้นของแสลงฉันใด ผู้ยังมีกิเลสอยู่ยังไม่เห็นของจริง ก็ควรสำรวมท้องฉันนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง แก้วมณีที่บริสุทธิ์ผ่องใสอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขัดสีฉันใดพระพุทธเจ้าผู้สำเร็จพุทธวิสัยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องห้ามในพุทธจริยาทั้งหลายฉันนั้น ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ถูกแล้ว พระนาคเสน” [/FONT]
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๗ </center> <center> ถามเรื่อง
    ปกปิดพระธรรมวินัย
    </center>
    ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จมหามุนีได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า “ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศไว้แล้ว มีผู้เปิดเผยจึงสว่างไสวเมื่อปิดก็ไม่สว่างไสว” แล้วตรัสไว้อีกว่า “พระปาฏิโมกข์และพระวินัยทั้งสิ้น เป็นของอันภิกษุทั้งหลายปกปิกแล้ว” ดังนี้
    ถ้าบุคคลได้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา เปิดพระวินัยบัญญัติไว้ จะทำงามดีการศึกษา การสำรวมในพระวินัยบัญญัติและศีลคุณ อาจารบัญญัติ อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส จะปรากฏรุ่งเรืองขึ้น
    ถ้าคำว่า “เปิดพระธรรมวินัยไว้ จะรุ่งเรืองดี” เป็นคำถูก คำว่า “ให้ปกกิดพระวินัยไว้” ก็ผิด ถ้าคำว่า “ให้ปกปิดพระวินัยไว้” เป็นของถูก คำว่า “ให้ปกปิดพระธรรมวินัยจึงจะรุ่งเรืองดี” ก็เป็นของผิด ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้น ถูกต้องทั้งนั้น ก็แต่ว่าการปิดทั่วไป ปิดมีเขตแดนต่างหาก คือสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปิดพระปาฏิโมกข์ อันมีสีมาเป็นเขตแดน ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
    ๑. ปิดตามวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน
    ๒. ปิดด้วยความเคารพพระธรรม
    ๓. ปิดด้วยความเคารพภูมิของภิกษุ


    ๑. ปิดตามวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนนั้น” คืออย่างไร....คือพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทรงแสดงพระปาฏิโมกข์ ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย ปิดเฉพาะพวกนอกจากภิกษุเท่านั้น เหมือนกับขัตติยมายา คือประเพณีของกระษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมรู้เฉพาะในวงศ์กษตริย์เท่านั้น ปกปิดพวกอื่นไม่ให้รู้ คืออย่างไร.... คือพระธรรมเป็นของเคารพเป็นของหนัก ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระ


    ๒. ปิดเพราะเคารพพระธรรมนั้น ธรรม จึงจะสำเร็จธรรมได้ ถ้าไม่ปกปิดไว้ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระธรรมจึงจะสำเร็จธรรมได้ ถ้าไม่ปกปิดไว้ ผู้ไม่ปฏิบัติชอบในระบอบธรรมวินัย คือพวกคฤหัสถ์ก็จะติเตียนได้
    จึงทรงโปรดให้ปกปิดพระปาฏิโมกข์ไว้ด้วยความเคารพพระธรรมว่า อย่าให้พระธรรมอันเป็นแก่นอันประเสริฐนี้ เป็นที่ดูหมิ่นดูแคลน ดูถูกติเตียน ของพวกที่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเลย เปรียบเหมือนจันทร์แดง อันมีแก่นประเสริฐ สมควรแก่ขัตติยกัญญาเท่านั้น ฉะนั้น


    ๓. ปิดเพราะความเคารพภูมิของภิกษุนั้น คืออย่างไร....คือความเป็นภิกษุเป็นของมีคุณชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ตีราคาไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดเสมอ
    เปรียบเหมือนทรัพย์อันประเสริญอย่างใด อย่างหนึ่ง คือเครื่องนุ่งห่ม เครื่องปู ม้า ช้าง รถ ทอง เงิน ที่ช่างทองตกแต่งดีแล้ว ย่อมสมควรแก่พระราชาทั้งหลายฉันใด
    คุณธรรม คือการศึกษาเล่าเรียน การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ย่อมสมควรแก ภิกษุสงฆ์ฉันนั้น ขอถวายพระพร”
    ถูกดีแล้ว พระนาคแสน”

    <center>
    ปัญหาที่ ๘
    </center> <center> ถามเรื่องความ
    หนักเบาแห่งมุสาวาท
    </center> “ข้าแต่พระนาคแสน สมเด็จพระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ว่า “เป็นปาราชิกเพราะแกล้งกล่าวเท็จ” แต่ตรัสอีกว่า “แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา แสดงในสำนักภิกษุองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้”
    ความ ๒ ข้อนี้ต่างกันอย่างไร เหตุไรข้อหนึ่งจึงเป็น อเตกิตฉา คือแก้ไขไม่ได้ อีกข้อหนึ่งเป็น สเตกิจฉา คือแก้ไขได้
    ถ้าที่ตรัสว่า “แกล้งกล่าวเท็จเป็นปาราชิก” ถูกแล้ว คำที่ตรัสว่า ฎแกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา” ก็ผิดไป
    ถ้าตรัสว่า “แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา” นั้นถูก ที่ตรัสว่า “แกล้งกล่าวเท็จปาราชิก” นั้นก็ผิดไป ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข”
    พระนาคเสนตอบว่า “ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า “แกล้งกล่าวเท็จเป็นปราชิก” นั้นก็ถูก ที่ตรัสว่า “แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา” นั้นก็ถูก เพราะว่าการแกล้งกล่าวเท็จนั้น เป็นของหนักและเบาตามวัตถุ
    มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร ถ้ามีบุรุษคนหนึ่งตบตีบุรุษอีกคนหนึ่งด้วยมือ พระองค์จะทรงลงโทษแก่ผู้ตบตีนั้นอย่างไร ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าบุรุษนั้นไม่ขอโทษก็จะต้องหรับไหมเขา เป็นเงิน ๑ กหาปณะ เป็นอย่างมาก”
    “ขอถวายพระพร ถ้าบุรุษคนเดียวกันนั้นเอง ตีมหาบพิตรด้วยฝ่ามือ บุรุษนั้นจะได้รับอย่างไร ?”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ต้องให้ตัดมือบุรุษนั้นจนกระทั้งถึงตัดศรีษะ ริบบ้านเรือน ให้ฆ่าเสียถึง ๗ ชั่วตระกูล”
    “ขอถวายพระพร การตีด้วยฝ่ามืออย่างเดียวกัน เหตุไฉนจึงมีโทษหนักเบากว่ากันล่ะ ?”
    “อ๋อ....เพราะเป็นเหตุด้วยวัตถุ”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร การแกล้งกล่าวเท็จ ก็มีโทษหนักเบาตามวัตถุ ขอถวายพระพร”
    “ถูกดีแล้ว พระนาคเสน”
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ถามเรื่อง
    ผู้ควรแก่การขอ
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ได้ตรัสประทานไว้ว่า “เราเป็นพราหมณ์ ผู้ควรแก่การขอ ผู้มีมืออันล้างไว้เนือง ๆ ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายสุดท้าย ผู้เยี่ยม” แล้วตรัสอีกว่า “พระพากุละเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ในทางมีอาพาธน้อย” ดังนี้
    [/FONT] อาพาธได้เกิดในพระกายของพระพุทธเจ้าหลายครั้ง ถ้าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยมจริง คำที่ว่า “พระพากุละเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเรา ในทางอาพาธน้อย” ก็ผิดไป
    ถ้าพระพากุละเป็นผู้ทีอาพาธน้อยจริง คำที่ว่า “พระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยม” ก็ผิดไป ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ สมควรแก้ไขอีก
    พระนาคเสนตอบว่า
    ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองนั้น ถูกทั้งนั้น ข้อที่ตรัสไว้นั้น เป็นความดีภายนอกต่างหาก คือพระสาวกทั้งหลายที่ไม่นอนเลยได้แต่ยืนกับเดินเท่านั้นตลอดทั้งวันก็มี
    ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้ามีทั้งทรงยอน เดิน นั่ง นอน สาวกเหล่านั้น จึงมีการยืนกับการเดินนั้นเป็นคุณพิเศษ
    พวกสาวกที่นั่งฉันในอาสนะเดียว ถึงจะเสียชีวิตก็ไม่ยอมนั่งฉันในอาสนะที่สองก็มี ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเสวยในอาสนะที่สองก็ได้ พวกนั้นจึงมีการนั่งฉันในอาสนะเดียว นั้นเป็นคุณวิเศษ
    ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ว่าเป็นผู้เยี่ยมนั้น คือเยี่ยมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทศพลญาณ เวสารัชชญาณ พุทธธรรม ๑๘ ที่ว่าเป็นผู้เยี่ยม ทรงหมายพุทธวิสัยทั้งสิ้น
    ในหมู่มนุษย์ ผู้หนึ่งมีชาติตระกูลสูง ผู้หนึ่งมีทรัพย์ ผู้หนึ่งมีวิชา ผู้หนึ่งมีศีลปะ ผู้หนึ่งแกล้วกล้า ผู้หนึ่งเฉียบแหลม มีคุณวิเศษต่าง ๆ กัน แต่พระราชาย่อมสูงสุดกว่าบุรุษเหล่านั้นฉันใด สมเด็จพระจอมไตรก็เป็นผู้ล้ำเลิศประเสริฐสุดกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้น
    พระพากุละผู้มีอาพาธน้อย จึงเลิศกว่าผู้อื่นในทางอาพาธน้อยเท่านั้น ไม่ใช่เลิศกว่าผู้อื่นในสิ่งทั้งปวง ขอถวายพระพร”
    “ถูกแล้วพระนาคเสน โยมรับรองถูกต้องดีแล้ว”

    <center>
    อธิบาย
    </center> บุพพกรรมที่ทำให้ พระพากุละ เป็นผู้มีอาพาธน้อย ก็เพราะเหตุว่า ท่านได้เคยรักษาโรคลมให้แก่ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ชาติต่อมาท่านก็ได้รักษาโรคไข้ป่าให้แก่ พระวิปัสสีทศพล กับช่วยพยาบาลพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย
    ด้วยอานิสงส์ในการหายามารักษาโรคดังกล่าวแล้วนี้ ท่านผู้จึงได้รับการยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในทางมีอาพาธน้อย
    ตามประวัติของท่านกล่าวว่า ท่านได้ออกบวชเมื่ออายุ ๘๐ ปี แล้วได้สำเร็จพระอรหันต์ ในวันที่ ๘ ท่านอยู่จนถึงอายุ ๑๖๐ ปี
    ในระหว่างนั้นท่านได้ประพฤติธุดงค์ ในข้ออยู่ป่าเป็นวัตร และถืออิริยาบทนั่งเป็นวัตร ตั้งแต่บวชไม่เคยจำพรรษาในบ้านเลย ปรากฏว่าท่านไม่มีโรคเบียดเบียนเลย ไม่ต้องทำการรักษาพยาบาลด้วยเภสัช โดยที่สุดผลสมอสักชิ้นเดียวท่านก็ไม่เคยฉัน ดังนี้

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบวรรคที่ ๔
    [/FONT]</center>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> วรรคที่ ๕ </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ถามถึง
    อำนาจฤทธิ์และกรรม
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า“บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา มหาโมคคัลลาน์เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์”
    [/FONT] แล้วมีปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลาน์นั้นถูกพวกโจรทุบตีจนศรีษะแตก กระดูก เส้นเอ็น สมอง แหลกละเอียด เหมือนกับเมล็ดข้าวสาร แล้วพระมหาโมคคัลลาน์ก็ปรินิพพานด้วยเหตุนั้น ดังนี้
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระโมคคัลลาน์เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์จริง ข้อที่ว่า “พวกโจรทุบตีแหลกละเอียดจนปรินิพพาน” นั้นถูก ข้อที่ว่า “พระโมคคัลลาน์ไม่สามารถกำจัด พวกโจรอันจักมีแก่ตนด้วยฤทธิ์ได้หรือ...ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยเช่นกัน”
    พระนาคเสนชี้แจงว่า
    “ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า “พระมหาโมคคัลลาน์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีฤทธิ์” นั้นก็ถูก ข้อที่ว่า “พระโมคคัลลาน์ถูกโจรทุบตีถึงปรินิพพาน” นั้นก็ถูก แต้ข้อนั้นเป็นด้วย กรรม เข้ายึดถือ”
    “ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งทั้งสอง คือ วิสัยของผู้มีฤทธิ์ ๑ ผลของกรรม ๑ เป็นอจินไตร ใคร ๆ ไม่ควรคิดไม่ใช่หรือ ?”
    “ขอถวายพระพร สิ่งที่ไม่ควรคิดทั้งสองอย่างนี้ อย่างหนึ่งมีกำลังมากกว่า ข้อนี้เปรียบเหมือนพระราชากับประชาชน พระราชาองค์เดียว ย่อมมีอำนาจครอบประชาชนฉันใด ผลของกรรมอันมีกำลังยิ่งกว่า ก็ครอบสิ่งทั้งปวงฉันนั้น กิริยาอย่างอื่นของผู้ยึดถือแล้ว ย่อมไม่ได้โอกาส
    มีบุรุษคนหนึ่งกระทำผิดพระราชาอาชญาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่มีใครช่วยได้มารดาบิดา พี่หญิงพี่ชาย มิตรสหาย ก็ช่วยไม่ได้ พระราชาต้องทรงลงโทษแก่ผู้นั้น ตามความผิดของเขาฉันใด ย่อมครอบงำฤทธิ์ได้ฉันนั้น
    อีกประการหนึ่ง เมื่อไฟไหม้ป่าลุกลามมาใหญ่ ถึงตักน้ำไปดับตั้งพันโอ่ง ก็ไม่อาจดับได้ สู้ไฟป่านั้นไม่ได้ เพราะไฟป่ามีกำลังมากกว่าฉันใด ผลของกรรมก็มีกำลังมากกว่าฤทธิ์ได้ฉันนั้น
    เพราะฉะนั้นแหละ มหาบพิตร พระมหาโมคคัลลาน์ผู้ที่กรรมเข้ายึดถือแล้ว จึงถูกพวกกโจรทุบตี ไม่สามารถกั้นกางได้ด้วยฤทธิ์”
    “สาธุ.....พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้องดีแล้ว”
    <center>
    ปัญหาที่ ๒
    </center> <center> ถามถึงธรรมดา
    ของพระโพธิสัตว์
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ในธัมมตาปริยายว่า “มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในปางก่อนย่อมเป็นนิยตะ คือแน่นอน การตรัสรู้ก็แน่นอน อัครสาวกทั้งสองก็แน่นอน พระโอรสก็แน่นอน อุปัฏฐากก็แน่นอน” ดังนี้
    แต่มีกล่าวอีกว่า พระโพธิสัตว์ผู้ยังประทับอยู่ในดุสิตสวรรค์ได้เล็งดู มหาวิโลกนะ ๘ คือเล็งดูกาลเวลา ๑ เล็งดูทวีป ๑ เล็งดูประเทศ ๑ เล็งดูพระชนนี ๑ ตระกูล ๑ อายุ ๑ เดือน ๑ การเสด็จออกบรรพชา ๑ ดังนี้
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อญาณยังไม่แก่กล้าแล้ว การตรัสรู้ย่อมไม่มี เมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ไม่อาจรอเวลาพิจารณาได้ เหตุไรพระโพธิสัตว์ จึงเล็งดูเวลาว่า เป็นเวลาที่เราสมควรจะลงไปเกิดในมนุษย์หรือไม่..
    ข้าแต่พระพนาคเสน ถ้ามารดาบิดาของพระโพธิสัตว์แน่นอนแล้ว ข้อที่ว่า “เล็งดูตระกูลมารดาบิดานั้น” ก็ผิด ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าควรแก้ไข”
    พระนาคเสนวิสัชนาว่า
    “ขอถวายพระพร มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์เป็นของแน่นอนนั้นก็จริง พระโพธิสัตว์เล็งดูตระกูลมารดาบิดานั้นก็จริง การเล็งดูตระกูลของมารดาบิดานั้นเล็งดูอย่างไร....คือเล็งดูว่ามารดาบิดาของเราเป็นกษัตริย์หรือพราหมณ์

    <center>
    ผู้ที่เล็งดูมี ๘ จำพวก
    </center> สิ่งที่เป็นอนาคต แต่ควรเล็งดูก่อนนั้นมีอยู่ ๘ อย่าง คือ
    ๑. พ่อค้า ต้องเล็งดูสินค้าก่อน
    ๒. ช้าง ต้องคลำหนทางด้วยงวงก่อน
    ๓. พ่อค้าเกวียน ต้องพิจารณาดูท่าข้ามก่อน
    ๔. ต้นหน คือนายท้ายสำเภา ต้องพิจารณาดูฝั่งเสียก่อน
    ๕. แพทย์ ต้องตรวจดูอายุก่อน จึงเข้าใกล้คนไข้
    ๖. ผู้จะข้ามสะพาน ต้องดูว่าสะพานมั่นคงหรือไม่เสียก่อน
    ๗. พระภิกษุ ต้องพิจารณาเสียก่อนจึงฉัน
    ๘. พระโพธิสัตว์ชาติสุดท้าย ต้องพิจารณา ดูตระกูลเสียก่อน ดังนี้ ขอถวายพระพร”



    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ....พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้อง” [/FONT]
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๓ </center> <center> ถามเรื่องฆ่าตัวเอง </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุไม่ควรทำตนให้ตกไป
    (คือไม่ควรทำลายชีวิตตนเอง) ภิกษุใดทำตนให้ตกไป ต้องอาบัติภิกษุนั้น ตามสมควรแก่เหตุการณ์”
    แต่พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้อีกว่า เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายไม่ว่าในที่ใด ๆ ย่อมทรงแสดงเพื่อตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ขาดไป ผู้ใดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ ก็ทรงสรรเสริญผู้นั้นด้วยวาจาสรรเสริญอย่างเยี่ยม
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไม่ให้ภิกษุทำลายตนเองนั้นถูก ข้อที่ได้ทรงแสดงธรรมเพื่อตัดขาด ซึ่งเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ผิด
    ถ้าการแสดงธรรม เพื่อตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ขาดนั้นเป็นของถูก ข้อที่ห้ามไม่ให้ทำลายตัวเองก็ผิด ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยต่อไป”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ข่อที่ตรัสห้ามไม่ให้ภิกษุททำลายตัวเองนั้นก็ถูก ข้อที่ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นให้ขาดก็ถูก แต่ในข้อนั้น ย่อมมีเหตุการณ์ ที่ให้ทรงห้ามและทรงชักนำ
    “ขอถวายพระพร ผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ทำกิเลสให้พินาศ เหมือนกับยาดับพิษงู ย่อมดับพิษร้าย คือกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย เหมือนกับยาทั่วไป ย่อมกำจัดเหงื่อไคล คือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายเหมือนกับน้ำ ย่อมให้ได้สมบัติอันประเสริฐทั้งปวง เหมือนกับแก้วมณีโชติ ย่อมทำให้ข้ามแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๔ เหมือนกับเรือ
    ย่อมพาข้ามที่กันดาร คือการเกิดเหมือนกับนายเกวียน ย่อมดับไฟ ๓ กองของสัตว์ทั้งหลายเหมือนกับลม ย่อมทำให้ความปรารถนาของสัตว์ทั้งลหายเต็มบริบูรณ์ เหมือนกับฝนห่าใหญ่ที่ตกลงมา ย่อมให้สัตว์ทั้งหลายศึกษาสิ่งที่เป็นกุศลเหมือนอาจารย์ ย่อมบอกทางปลอดภัยให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เหมือนกับผู้บอกทิศบอกทาง
    สมเด็จพระพิชิตมารผู้มีพระคุณมาก มีพระคุณเป็นเอนก มีพระคุณหาประมาณมิได้ เต็มไปด้วยกองพระคุณ เป็นผู้ทำความเจริญให้แก่สัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามไม่ให้ทำลายตัวเอง ด้วยทรงพระมหากรุณาว่า อย่าให้ผู้มีศีลพินาศไป
    พระกุมารกัสสปเถระ   ผู้แสดงธรรมได้อย่างวิจิตร เมื่อจะแสดงโลกหน้าถวายแก่ พระเจ้าปายาสิ   ได้กล่าวไว้ว่า
    “สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีลธรรมอันงาม อยู่ในโลกนี้ตลอดกาลนาน ด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ก็มีแต่ปฏิบัติเพื่อให้เป็นประโยชน์สุขแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ด้วยอาการนั้น ๆ”
    แต่เพราะเหตุไร สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงแสดงว่า
    “ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้า รำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การตายของมารดาบิดา พี่น้อง บุตร ธิดา ญาติ ก็เป็นทุกข์ ความเสื่อมญาติ ความเกิดโรค ความเสียทรัพย์ ความเสียศีล ความเสียทิฏฐิ
    ราชภัย โจรภัย เวรภัย ทุพภิกขภัย อัคคีภัย อุทุกภัย อุมมิภัยคือลูกคลื่น กุมภิรภัย คือจระเข้ อาวัฏฏภัย คือน้ำวน สุสุกาภัย ปลาร้าย อัตตานุวาทภัย ติเตียนตนเอง ปรานุวาทภัย ถูกผู้อื่นติเตียน อสิโลกภัย เสื่อมลาภ ปริสารัชชภัย ครั่นคร้ามในที่ประชุม ทัณฑภัย ถูกราชทัณฑ์ ทุคคติภัย ทุคติอาชีวิตภัย หาเลี้ยงชีพ มรณภัยถึงซึ่งความตายเหล่านี้ทั้งสิ้น เป็นทุกข์ทั้งนั้น
    การตัดมือ ตัดเท้า ตัดหู ตัดจมูก ตัดปาก การถูกถลกหนังศรีษะ แล้วเอาก้อนเหล็กแดงวางลงไป การถลกหนังทั้งตัวแล้วขัดด้วยหินหยาบ ๆ ให้ขาวเหมือนสังข์ การทำปากราหู คือเอาขอเหล็กงัดปากขึ้นแล้วจุดประทีปทิ้งเข้าไปในปากให้ไฟลุกโพลงอยู่ในปาก การทำเปลวไฟให้สว่าง คือเอาผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมัน พันตลอดตัวแล้วจุดไฟ
    การจุดนิ้วมือต่างประทีป คือเอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วมือ แล้วจุดให้เหมือนประทีป การให้นุ่งผ้าแกะ คือถลกหนังตั้งแต่คอลงไปจนถึงข้อเท้า แล้วไล่ให้วิ่ง ให้วิ่งเหยี่ยบหนังของตัวไป การนุ่งผ้าเปลือกปอ คือถลกหนังตั้งแต่ศรีษะลงไปพักไว้ที่สะเอวตอนหนึ่ง ถลกจากสะเอวไปถึงข้อเท้าตอนหนึ่งทำให้เหมือนท่อนล่างนุ่งผ้าเปลือกปอ
    การทำให้ยืนแบบแพะ คือให้คุกเข่าคุกศอกลงบนหลาวเหล็ก แล้วเสียบปักไว้กับพื่นดิน การตกเบ็ด คือเอาเบ็ดเกี่ยวเนื้อในตัวดึงให้หนัง เนื้อ เอ็น ขาดออกไปทีละชิ้น ๆ การทำให้เป็นรูปเงิน คือเอามีดคม ๆ เชือดเนื้อ ออกไปทีละก้อน ๆ เท่ากับรูปเงินกลม ๆ
    การรดด้ายน้ำแสบ คือฟันแทงให้ทั่วตัวแล้วเอาน้ำแสบเค็มราดลงไป จนกระทั้ง หนัง เนื้อ เอ็น หลุดออกไปเหลือแต่กระดูก การตอกลิ้ม คือให้นอนตะแคงลง แล้วเอาหลาวเหล็กแทงช่องหูข้างบน ให้ทะลุลงไปปักแน่นอยู่กับพื้นดินข้างล่าง แล้วจับเท้าหมุนเวียนไปรอบ ๆ
    การทำให้เหมือนมัดฟาง คือเชือดผิวหนังออกจนหมด ทุบกระดูกให้แตกด้วยก้อนหินแล้วจับที่ผมดึงขึ้น ผูกผมไว้ให้เหมือนกับมัดฟาง การเอาน้ามันเดือด ๆ เทรดตัว การให้สุนัขกัดกิน การปักไว้บนหลาว เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นทุกข์ใหญ่ทั้งนั้น สัตว์โลกทั้งหลายย่อมได้รับทุกข์ต่าง ๆ อย่างที่ว่ามานี้
    เมื่อฝนตกลงที่ภูเขาหิมพานต์ ก็มีน้ำไหลหลั่งไปสู่แม่น้ำ พัดเอาหิน กรวด ไม่แห้ง กิ่งไม้ รากไม้ น้อยใหญ่ในป่า ให้ไหลไปฉันใดทุกข์ต่าง ๆ เป็นอันมากอย่างที่กล่าวมานี้ ก็ไหลไปตามกระแสน้ำ คือสงสารฉันนั้น
    การเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ การไม่เวียนว่ายตายเกิดเป็นสุข เมื่อสมเด็จพระบรมสุคตระทรงแสดงคุณการไม่เวียนว่ายตายเกิดและทรงแสดงทุกข์ต่าง ๆ ไม้เป็นอันมาก เพื่อให้สำเร็จการไม่เวียนว่ายตายเกิด เพื่อให้พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตายไป
    อันนี้แหละ เป็นเหตุการณ์ที่ พระพุทธองค์ทรงแสดงทุกข์ไว้ต่าง ๆ ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ...พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ปัญหาข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว” [/FONT]
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๔ </center> <center> ถามเกี่ยว
    อานิสงส์เมตตา
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “เมตตาเจโตวิมุติ
    [/FONT] คือ ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยเมตตา อันบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มีแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เหมือนยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้เนือง ๆ แล้ว สะสมไว้ดีแล้ว อบรมไว้แก่กล้าแล้ว ย่อมหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ
    ๑. นอนหลับสบาย
    ๒. เวลาตื่นก็สบาย
    ๓. ไม่ฝันลามก
    ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
    ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
    ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
    ๗. ไฟไม่ไหม้ ไม่ถูกยาพิษและอาวุธ
    ๘. หน้าตาเบิกบาน ใจมั่นคง
    ๙. สีหน้า ผ่องใส
    ๑๐. ไม่หลงใหลในเวลาตาย
    ๑๑. เมื่อยังไม่สำเร็จอรหันต์ ก็ได้เกิดในพรหมโลก”

    แล้วมีเรื่อกล่าวไว้อีกว่า สุวรรณสาม ผู้อยู่ในเมตตา ผู้มีหมู่เนื้อเป็นบริวารอยู่ในป่าใหญ่ ถูกพระยาปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรอันอาบด้วยยาพิษ ล้มสลบอยู่ในที่นั้นทันที ดังนี้
    ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอานิสงส์เมตตามีอยู่อย่างนั้นจริง เรื่องที่ว่าสุวรรณสามถูกศรพระยาปิลยักษ์นั้นก็ผิด ถ้าเรื่องที่ว่าสุวรรณสามถูกศรพระยาปิลยักษ์นั้นถูก ข้อที่ว่าถึงอานิสงส์เมตตานั้นก็ผิด
    ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาละเอียดลึกซึ้ง ขอได้โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยแก่บุคคลในภายหน้าด้วย”
    พระนาคเสนแก้ไขว่า
    “ขอถวายพระพร ข้อที่ว่า ด้วยอานิสงส์ เมตตานั้นก็ถูก ที่ว่าสุวรรณสามถูกลูกศรพระยาปิลยักษ์นั้นก็ถูก แต่ว่าในข้อนั้นมีเหตุการณ์อยู่เหตุการณ์นั้นคืออะไร....คือคุณอานิสงส์เหล่านั้นไม่ใช่คุณอานิสงส์ของบุคคล เป็นคุณอานิสงส์แห่งเมตตาภาวนาต่างหาก
    เมื่อสุวรรณสามยกหม้อน้ำขึ้นบ่านั้น เผลอไปไม่ได้เจริญเมตตา คือในขณะใดบุคคลเจริญเมตตาอยู่ ในขณะนั้นไฟก็ไม่ไหม้ ยาพิษก็ไม่ถูกอาวุธก็แคล้วคลาด ผู้มุ่งทำร้ายก็ไม่ได้โอกาสจึงว่าคุณเหล่านั้น เป็นคุณแห่งเมตตาภาวนาไม่ใช่คุณแห่งบุคคล ขอจงทรงทราบด้วยอุปมาดังนี้
    เปรียบประดุจบุรุษผู้แกล้วกล้า สวมเกราะแน่นหนาดีแล้วย่อมเข้าสู่สงคราม เมื่อบุรุษย่างเข้าสู่สงคราม ลูกศรที่ข้าศึกยิงมาถึงถูกก็ไม่เข้า การที่ลูกศรถูกไม่เข้านั้น ไม่ใช่ คุณความดีของผู้แกล้วกล้าในสงความ เป็นคุณความดีของเกราะต่างหาก
    ข้อนี้มีอุปมาฉันใด อานิสงส์ ๑๑ อย่างนั้นก็ไม่ใช่คุณความดีของบุคคล เป็นคุณความดีของเมตตาภาวนาต่างหากฉันนั้น
    อีกประการหนึ่ง เหมือนกับบุรุษมีรากยาทิพย์ หายตัวยังอยู่ในมือตราบใด ก็ไม่มีใครเห็นตราบนั้น การไม่มีผู้เห็นนั้น ไม่ใช่เป็นความดีของบุรุษนั้นเป็นความดีของรากยานั้นต่างหาก
    “น่าอัศจรรย์ ? พระนาคเสน เป็นอันว่า เมตตาภาวนา ป้องกันสิ่งชั่วร้ายทั้งปวงได้”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ขอถวายพระพร เมตตาภาวนาย่อมนำคุณความดีทั้งสิ้นมาให้แก่บุคคลทั้งหลาย ผู้ที่ต้องการอานิสงส์เมตตา ควรเจริญเมตตา ขอถวายพระพร” [/FONT]
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๒๖ </center> <center> ปัญหาที่ ๕ </center> <center> ถามถึงความไม่เสมอกัน
    และไม่เสมอกันแห่งกุศลและอกุศล
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    [/FONT] “ข้าแต่พระนาคเสน วิบากของบุคคลทั้งสอง คือผู้ทำกุศลกับผู้อกุศล มีผลเสมอกันหรือต่างกันอย่างไร ?”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ต่างกัน คือกุศลมีสุขเป็นผล ทำให้ไปเกิดในสวรรค์ อกุศลมีทุกข์เป็นผล ทำให้ไปเกิดในนรก”
    พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่าต่อไปว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน มีคำกล่าวไว้ว่า พระเทวทัต มีแต่ดำอย่างเดียว ประกอบด้วยความดำอย่างเดียว ส่วน พระโพธิสัตว์ มีแต่ขาวอย่างเดียว ประกอบด้วยของขาวอย่างเดียว
    แต่มีกล่าวไว้อีกว่า พระเทวทัตเสมอกันกับพระโพธิสัตว์ ด้วยยศและพรรคพวกในชาตินั้น ๆ ก็ยิ่งกว่าก็มี
    อย่างเช่นคราวหนึ่ง พระเทวทัตได้เกิดเป็นบุตรปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลเทหยากเยื่อ แต่เป็นผู้มีวิชา ร่ายวิชาให้เกิดผลมะม่วงได้นอกฤดูกาลเป็นอันว่า คราวนั้น พระโพธิสัตว์ต่ำกว่าพระเทวทัตด้วยชาติตระกูล
    ในคราวหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระโพธิสัตว์เกิดเป็นช้างของพระเจ้าแผ่นดินองค์นั้น อีกเรื่องหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นมนุษย์ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นวานร อีกเรื่อหนึ่ง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช่างฉัททันต์ พระเทวทัต เกิดเป็นนายพรานฆ่าพญาช้างฉัททันต์นั้นเสีย
    อีกเรื่องหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพรานป่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกกระทา อีกเรื่องหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็น “พระเจ้ากาสี” ที่พันธุมดีนคร พระโพธิสัตว์เกิดเป็น   “ขันติวาทีฤาษี” ถูกพระเจ้ากาสีให้ตัดมือตัดเท้าเสีย เรื่องเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า พระเทวทัตยิ่งกว่าพระโพธิสัตว์ด้วยชาติ ตระกูล ยศ ศักดิ์ บริวารก็มี และยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น
    เรื่องพระเทวทัตเกิดเป็นชีเปลือย ชื่อว่า โกรัมภิกะ” พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญานาค ชื่อว่า ปันทรกะ อีกคราวหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็น ชฏิลดาบท พระโพธิสัตว์เกิดเป็นสุกรใหญ่ อีกชาติหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นพระราชา ผู้ทรงพระนามว่า อุปริราช” ผู้เที่ยวไปในอากาศได้ พระโพธิสัตว์เกิดเป็น “กบิลพราหมณ์ราชครู”
    อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นมนุษย์ชื่อว่า “สามะ” พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาเนื้อชื่อ “รุรุ” อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นนายพราน ชื่อว่า “สุสามะ” พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช่างเผือก ถูกพระเทวทัตตามไปเลื่อยงาถึง ๗ ครั้ง
     อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพญาสุนัขจิ้งจอง เป็นใหญ่กว่าพระราชาทั้งหลายในชมพูทวีป ส่วนพระโพธิสัตว์เกิดเป็น “วิธุรบัณฑิต” เรื่องเหล่านี้ทั้งสิ้นก็ชี้ให้เห็นว่าพระเทวทัตยิ่งกว่าชาติ ตระกูล ยศ ศักดิ์ บริาร
    ที่เสมอกันก็มี คือ ชาติหนึ่งพระเทวทัต เกิดเป็นพญาช้างฆ่าลูกในไส้ พระโพธิสัตว์ก็เกิดเป็นพญาช้างอีกฝูงหนึ่งเหมือนกัน คราวหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นยักษ์ ชื่อว่า “อธรรม” พระโพธิสัตว์ก็เกิดเป็นยักษ์เหมือนกัน ชื่อว่า “สุธรรม”
    คราวหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นนายเรือเป็นใหญ่กว่าตระกูล ๕๐๐ พระโพธิสัตว์ก็เกิดเป็นนายเรือ เป็นใหญ่กว่าตระกูล ๕๐๐ เหมือนกัน อีกคราวหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นพญาเนื้อชื่อว่า “สาขะ” พระโพธิสัตว์ก็เกิดเป็นพญาเนื้อเหมือนกัน ชื่อว่า “นิโครธะ”
    ที่ยิ่งหย่อนกว่ากันก็มี เช่น คราวหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นปุโรหิต ชื่อว่า กัณฑหาลพราหมณ์” พระโพธิสัตส์เกิดเป็นพระรากุมารชื่อว่า “พระจันทกุมาร” อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นหัวหน้าพ่อค้า เกวียน ๕๐๐ พระโพธิสัตว์ก็เกิดเป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียน ๕๐๐ เหมือนกัน ชาติหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็น “อลาตเสนาบดี” พระโพธิสัตว์เกิดเป็น “นารทพรหม”
    อีกคราวหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นราชากาสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชโอรสทรงพระนามว่า “มหาปทุมกุมาร” อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเกิดเป็นพระราชามหาตปาตะ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชโอรส ถูกพระราชบิดาให้ตัดมือตัด เท้า และศรีษะเสีย
    มาถึงชาติปัจจุบันนี้ บุคคลทั้งสองนั้นก็ได้มาเกิดในตระกูลศากยราชเหมือนกัน แต่พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระเทวทัตก็ได้ออกบวชสำเร็จฌานโลกีย์
    โยมจึงสงสัยว่า ข้อที่ว่า “กุศลให้ผลเป็นสุข ทำให้เกิดในสวรรค์ อกุศลให้ผลเป็นทุกข์ทำให้เกิดในนรก กุศลและอกุศลมีผลไม่เสมอกัน”
    แต่เหตุใดบางชาติพระเทวทัตก็ยิ่งกว่า บางชาติก็เสมอกัน บางชาติก็ต่ำกว่า จะว่ามีผลไม่เสมอกันอย่างไร จะว่าต่างกันอย่างไร ถ้าดำกับขาวมีคติเสมอกัน กุศลกับอกุศลก็ต้องมีคติเสมอกัน พระคุณเจ้าข้า”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร กุศลกับอกุศลไม่ใช่มีผลเสมอกัน ไม่ใช่ว่าพระเทวทัตจะทำผิดต่อคนทั้งหลายเสมอไป ส่วนพระโพธิสัตว์ก็ไม่ใช่ว่า ไม่ได้ทำความผิดเลย ผู้ใดทำผิดต่อพระโพธิสัตว์ ผู้นั้นก็ได้รับผลร้าย
    เวลาพระเทวทัตได้เกิดเป็นพระราชา ก็ได้ปกครองบ้านเมืองดี มีการให้สร้างสะพาน สร้างศาลาและสรงน้ำก็มี ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนขอทานก็มี แล้วเขาก็ได้รับสมบัติในชาตินั้น ด้วยผลแห่งบุญอันนั้น ใครไม่อาจกล่าวได้ว่า พระเทวทัตได้เสวยสมบัติด้วยไม่ได้ให้ทานรักษาศีล ฟังธรรม อบรมจิตใจเลย
    ข้อที่มหาบพิตรตรัสว่า พระเทวทัตกับพระโพธิสัตว์พบกันเสมอกันนั้นไม่จริง ตั้งร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติก็ไม่พบกัน นานจึงจะได้พบกันสักชาติหนึ่ง เหมือนกับเต่าตาบอดอยู่ในมหาสมุทร โผล่ขึ้นมาตั้งแสนครั้ง ก็ไม่พบขอนไม้สักทีก็มี หรือเปรียบเหมือนกับการที่ จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นของได้แสนยากฉะนั้น
    พระสาริบุตรเถระได้เกี่ยวเนื่องกับพระโพธิสัตว์ คือเป็นบิดา เป็นปู่ เป็นอาว์ เป็นพี่ชาย น้องชาย เป็นบุตร เป็นหลาน เป็นมิตรสหายกันกับพระโพธิสัตว์ก็มี
    แต่ว่าหลายแสนชาติ กว่าจะได้เกี่ยวเนื่องกันสักชาติกนึ่ง ด้วยเหตุว่า สัตว์ทั้งหลายในวัฏสงสาร ที่ถูกกระแสสงสารพัดไป ย่อมพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็มี พบกับสิ่งอันเป็นที่รักก็มี เหมือนกับน้ำที่ไหลบ่าไป ย่อมพบของสอาดก็มี ไม่สอาดก็มี ดีก็มี ไม่ดีก็มี ฉะนั้น
    พระเทวทัตคราวเกิดเป็น “อธรรมยักษ์” ตัวเองก็ไม่ได้ตั้งอยู่ในธรรม ยังแนะนำผู้อื่นไม่ให้ตั้งอยู่ในธรรมอีก แล้วไปตกนรกใหญ่อยู่ถึง ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี
    ส่วนพระโพธิสัตว์ เมื่อคราวเกิดเป็น “สุธรรมยักษ์” ตัวเองอยู่ในธรรม ยังชักนำบุคคลเหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ในธรรมอีก ชาตินั้นได้ขึ้นไปเสวยทิพย์สมบัติอยู่บนสวรรค์ตลอก ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี
    มาชาติปัจจุบันนี้ พระเทวัตก็ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้เป็นเจ้า จนถึงกับทำสังฆเภท แล้วจมลงไปในพื้นดิน ส่วนสมเด็จพระชินสีห์ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง แล้วดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง จึงควรเห็นว่า กุศลกับอกุศลให้ผลต่างกันมาก ขอถวายพระพร”
    “สาธุ...พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว”

    <center>
    อธิบาย
    </center> ฏีกามิลินท์ ท่านอธิบายข้อที่กล่าวว่า “พระเทวทัตเกิดเป็นพญาสุนัขจิ้งจอก เป็นใหญ่กว่าพระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปนั้น” มีแจ้งอยู่ใน สัพพทาฐิกชาดก คือในชาดกนั้นว่า
    มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ได้ยินพราหมณ์คนหนึ่ง ไปนั่งร่ายมนต์ปฐวชัยอยู่ในป่าช้าแห่งหนึ่ง ก็จำเอามนต์นั้นได้ เมื่อเข้าไปร่ายมนต์ในป่าหิมพานต์ สัตว์ทั้งหลายมีพยาราชสีห็เป็นต้น ก็เกรงกลัวอำนาจ ยอมมอบตัวเป็นทาสทั้งสิ้น ตั้งให้สุนัขจิ้งจอกตัวนั้นเป็นพญา เรียกว่า พญาทาฐิกะ” แปลว่า ผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์มีเขี้ยวมีเล็บทั้งปวง
    แล้วพญาทาฐิกะนั้น ก็มีใจกำเริบฮึกเหิมขึ้นนั่งบนหลังพญาราชสีห์กรีฑาทัพสัตว์ป่า เข้าไปล้อมเมื่องพาราณสีไว้ คราวนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชครูของพระเจ้าพาราณสี มีชื่อว่า วิธุรบัณฑิต ได้ออกความคิดฆ่าพญาสุนัขจิ้งจอกนั้นเสียทั้งบริวาร
    เมื่อรู้ว่าพญาสุนัขจิ้งจอกยกกองทัพมาล้อมเมือง จะให้ราชสีห์แผดเสียงให้คนตายหมดทั้งเมือง จึงขอผลัดกับพญาสุนัขจิ้งจอกไว้ ๗ วัน หลังจากนั้นพระโพธิสัตว์จึงประกาศให้ให้ชาวเมืองอุดหูด้วยสำลี เมื่อพญาราชสีแผดเสียงแล้ว พญาสุนัขจิ้งจอกกับบริวาร ซึ่งอยู่ในที่มีประมาณ ๓ โยชน์ ก็มีอันแก้วหูแตกตายสิ้น ดังนี้
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ในชาดกไม่ได้กล่าวว่า “พญาสุนัขจิ้งจอกเป็นใหญ่กว่าพระราชาในชมพูทวีปเลย” แต่ในมิลินทปัญหาว่า “พญาสุนัขจิ้งจอกกระทำพระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ยอมเป็นบริวารของตน” เป็นอันผิดจากชาดกไปฉะนั้น ควรถือชาดกเป็นใหญ่ เพราะมีมาก่อนมิลินทปัญหา [/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๖ </center> <center> ถามเกี่ยวกับ
    นางอมราเทวีของมโหสถ
    </center>
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า “ถ้าสตรีทั้งปวงได้ขณะ คือ โอกาส ๑ ได้ที่ลับ ๑ ถูกเกี้ยว ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้แล้ว ต้องทำความชั่วถึงไม่พบเห็นบุรุษอื่นที่ดีกว่าคนง่อยเปลี่ย ก็ต้องทำความชั่วกับคนง่อยเปลี้ย” ดังนี้
    แต่มีกล่าวไว้อีกว่า “นางอมราภรรยาของมโหสถ ถูกมโหสถทิ้งไว้ที่กระท่อมยายแก่คนหนึ่ง ให้อยู่ในที่สงัดโดยลำพังแล้ว ให้บุรุษไปเล่าโลมด้วยทรัพย์ตั้งพัน ก็ไม่ยอมทำความชั่ว”
    ถ้าข้อที่ตรัสไว้นั้นเป็นของจริง ข้อที่กล่าวถึงนางอมรานั้นก็ไม่จริง ถ้าข้อที่กล่าวถึงนางอมรานั้นจริง ข้อที่ตรัสไว้นั้นก็ไม่จริงปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด”
    พระพนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองอย่างนั้นจริงทั้งนั้น แต่นางอมรานั้นไม่ได้ขณะโอกาส ไม่ได้ที่ลับ ไม่ถูกเกี้ยว
    ข้อที่ว่า นางอมราไม่ได้โอกาสนั้น คือ นางอมรากลัวถูกติเตียนในโลกนี้ ๑ กลัวไฟ นรกในโลกหน้า ๑ ยังไม่สละมโหสถซึ่งเป็นที่รักของตน ๑ ยังเคารพมโหสถอยู่มาก ๑ ยังเคารพธรรมอยู่มาก ๑ ยังมีนิสัยติเตียนความเลวอยู่ ๑ ไม่อยากจะทำลายความดีของตน ๑ รวมเป็นเหตุหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้ จึงเรียกว่าไม่ได้โอกาส
    ข้อที่ว่า ไม่ได้ทีลับนั้น คือนางอมราเห็นว่าถึงมนุษย์ไม่เห็น อมนุษย์ก็ต้องเห็น ถ้าอมนุษย์ไม่เห็น ผู้รู้จิตใจของผู้อื่นก็ต้องเห็น ถ้าผู้รู้จิตใจของผู้อื่นไม่เห็น ตัวเองก็ต้องเห็น นึกอยู่อย่างนี้ จึงไม่ทำความชั่วในคราวนั้น
    ข้อที่ว่า ไม่ถูกเกี้ยวนั้น คือถูกเกี้ยวก็จริงแต่ว่าเหมือนกับไม่ถูกเกี้ยว เพราะนางอมรานึกเกรงความดีของมโหสถอยู่มาก นางรู้ว่ามโหสถเป็นเจ้าปัญญา ประกอบด้วยองค์คุณถึง ๒๘ ประการ คือ
    เป็นผู้แกล้วกล้า ๑ เป็นผู้มีความละอายต่อความชั่ว ๑ เป็นผู้กลัวความชั่ว ๑ มีพรรคพวก ๑ มีมิตรสหาย ๑ อดทน ๑ มีศีล ๑ พูดจริง ๑ มีความบริสุทธิ์ ๑ ไม่ขี้โกรธ ๑ ไม่ถือตัว ๑ ไม่ริษยา ๑ มีความเพียร ๑ รู้จักหาทรัพย์ ๑ รู้จักยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น ๑
    ชอบแบ่งปัน ๑ มีวาจาไพเราะ ๑ รู้จักเคารพยำเกรง ๑ เป็นคนอ่อนโยน ๑ ไม่โอ้อวด ๑ ไม่มีมารยา ๑ มีความคิดดีมาก ๑ มีวิชาดีมาก ๑ มีชื่อเสียง ๑ เกื้อกูลผู้อาศัย ๑ เป็นที่พอใจของคนทั้งปวง ๑ มีทรัพย์ ๑ มียศ ๑
    นางอมราเห็นว่าผู้ที่มาเกี้ยวนั้นสู้มโหสถไม่ได้ จึงไม่ยอมทำความชั่ว ดังนี้ ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ....พระนาคเสน คำแก้ของพระผู้เป็นเจ้านี้ ถูกต้องดีแล้ว” [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๗ </center> <center> ถามถึงความ
    ไม่กลัวแห่งพระขีณาสพ
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระผู้พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายหมดความสะดุ้งกลัว หมดความหวังต่อสิ่งใด ๆ แล้ว” ดังนี้
    แต่มีกล่าวไว้อีกว่า “พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้เห็นช้างธนบาล (พระทวทัตปล่อยมา) วิ่งตรงมาข้างหน้าก็พากันสละพระพุทธเจ้าแยกกันคนละทิศลทาง ยังเหลือแต่ พระอานนท์ องค์เดียวเท่านั้น”
    จึงขอถามว่า พระอรหันต์เหล่านั้นหลีกไปเพราะความกลัว ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าจะปรากฏด้วยกรรมของพระองค์เอง หรืออยากเห็นปาฏิหาริย์อันชั่งไม่ได้ อันไพบูลย์ อันไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ ของพระตถาคตเจ้าหรืออย่างไร...
    ข้าแต่พระผูเป็นเจ้า ถ้าคำว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีความกลัว ความสดุ้ง ความหวังจริงแล้ว” ข้อที่ว่า “พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เห็นช้างวิ่งตรงมา ก็ทิ้งพระพุทธเจ้าเสียวิ่งไปองค์ละทิศละทาง ยังเหลือแต่พระอานนท์องค์เดียวเท่านั้น” ก็ผิด
    ถ้าข้อนี้ถูก ข้อที่ว่า “พระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่มีความกลัว ไม่มีความสดุ้ง ไม่มีความหวังต่อสิ่งทั้งปวงนั้น” ก็ผิด ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยเถิด”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้นจริงทั้งนั้นก็แต่ว่าการที่ทิ้งพระพุทธองค์ไปนั้น ไม่ใช่เพราะความกลัว เพราะเหตุที่กลัวนั้น พระอรหันต์ตัดขาดไปสิ้นแล้ว
    ขอถวายพระพร ปฐพีใหญ่นี้ เมื่อถูกขุดหรือถูกทำลาย หรือรองรับไว้ซึ่งทะเล และภูเขาต่าง ๆ นั้น รู้จักกลัวหรือไม่ ?”
    “ไม่รู้จักกลัว พระผู้เป็นเจ้า”
    “เพราะอะไร มหาบพิตร ?”
    “เพราะเหตุที่ให้กลัวหรือสดุ้งนั้น ไม่มีแก่ปฐพีใหญ่นี้”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เหตุที่ให้กลัวหรือสดุ้ง ก็ไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลายอนึ่ง ยอดภูเขาเวลาถูกทำลาย หรือถูกตี ถูกเผาด้วยไฟ รู้จักกลัวหรือไม่?”
    “ไม่รู้จักกลัว พระผู้เป็นเจ้า”
    “เพราะอะไร มหาบพิตร ?”
    “เพราะยอดภูเขานั้นไม่มีเหตุที่จะให้กลัวหรือสดุ้ง”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระอรหันต์ทั้งหลายในแสนโลกธาตุ จะถึออาวุธมาล้อมพระอรหันต์องค์เดียว ก็ไม่อาจทำจิตของพระอรหันต์ให้สดุ้งกลัวได้ ก็แต่ว่าพระอรหันต์ทั้งหลายในคราวนั้นได้นึกว่า
    วันนี้ เมื่อพระพุทธองค์ผู้ประเสริฐกว่าเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย เสด็จเข้าสู่เมืองนี้ช้างธนบาลก็วิ่งตรงมา พระอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐาก ก็จะไม่สละพระพุทธองค์ ถ้าพวกเราไม่สละพระพุทธองค์ไป คุณของพระอานนท์ก็จะไม่ปรากฏ เหตุที่จะให้ทรงแสดงธรรมก็ไม่เกิดขึ้น
    เมื่อพวกเราสละไป มหาชนหมู่ใหญ่ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ก็จักพ้นจากกิเลสเป็นอันมาก คุณของพระอานนท์ก็จะปรากฏ พระอรหันต์ทั้งหลายนั้น เล็งเห็นอานิสงส์อย่างนี้ จึงได้แยกไปองค์ละทิศองค์ละทาง ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ ....พระนาคเสน โยมรับว่า ความกลัวหรือความสะดุ้ง ไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย” [/FONT]
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๘ </center> <center> ถามคุณ
    และแห่งสันถวไมตรี
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า “ภัยเกิดจากสันถวะคือความชอบพอกัน ธุลีย่อมเกิดจากที่อยู่ที่อาศัยความไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีคาวมชอบกัน เป็นความเห็นของมุนี”
    แล้วตรัสไว้ว่า “บุคคลควรสร้างวิหารคือที่อยู่ให้น่ายินดี แล้วให้ภิกษุทั้งหลายผู้ป็นพหูสูตรมาอยู่” ดังนี้
    ถ้าตรัสไว้อย่างนี้จริง ข้อที่ตรัสว่า “ให้สร้างวิหารนั้น” ก็ผิด ถ้าคำว่า “ให้สร้างวิหารนั้น” ถูก ข้อที่ตรัสไว้อย่างนั้นก็ผิด ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ที่ตรัสไว้สองอย่างนั้นจริงทั้งนั้น ข้อที่ตรัสว่า “ภัยเกิดจากสันถวะความรักใคร่ชอบพอ ธุลีเกิดจากที่อยู่ที่อาศัย การไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ไม่มีสันถวะ เป็นความเห็นของมุนีนั้น” เป็นคำแสดงสภาพ เป็นคำที่ไม่เหลือ เป็นคำไม่มีปัญหา เป็นของสมควรแก่สมณะ เป็นปฏิปทาของสมณะ เป็นการปฏิบัติของสมณะ สมณะต้องปฏิบัติเหมือนกับเนื้อในป่า เมื่อจะไปที่ไหนก็ไม่ห่วงใย ไปได้ตามสบาย ฉะนั้น
    ข้อที่ตรัสว่า “บุคคลควรสร้างวิหารให้เป็นที่ยินดี แล้วให้พระภิกษุผู้เป็นพหูสูตรมาอยู่นั้น” เป็นเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ


    ๑. อันเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสสรรเสริญแล้ว ย่อมพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ เป็นอานิสงส์


    ๒. ทรงเห็นว่า เมื่อมีภิกษุอยู่ในวิหาร ผู้อยากพบเห็นก็พบเห็นได้ง่าย เมื่อไม่มีวิหาร ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ก็จะพบเห็นพระภิกษุได้ยาก


    พระองค์ทรงเห็นประโยชน์ ๒ ประการนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนั้น แต่พระภิกษุไม่ควรอาลัยในที่อยู่นั้น ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “สาธุ....พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขถูกต้องดีแท้” [/FONT]
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ถามถึงความมี
    อาพาธน้อยของพระพุทธเจ้า
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นผู้ควรแก่การขอ เป็นผู้มีมือสอาด เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้ายเป็นปู้เยี่ยม เป็นหมอยา เป็นหมอผ่าตัด”
    แล้วตรัสไว้อีกว่า “พระพากุละเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย”
    และมีปรากฏว่า สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงประชวรหลายครั้ง ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยมจริง ข้อที่ตรัสว่า “พระพากุละเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเราบรรดาที่มีอาพาธน้อย” ดังนี้ก็ผิด
    ถ้าคำว่า “พระพากุละเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอาพาธน้อย” เป็นของจริงแล้ว คำที่ว่า “พระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยม คือไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่านั้น” ก็ไม่จริง ปัญหาข้อนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองอย่างนั้น จริงทั้งนั้น แต่ข้อที่ตรัสว่า “พระพากุละเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีอาพาธน้อยนั้น” ตรัสหมายถึงสิ่งที่มีอยู่เฉพาะตัวอย่างหนึ่ง ๆ เท่านั้น
    คือพวกสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่มีแต่เดินยืนกับเดินเท่านั้น ตลอดวันตลอดคืนก็มีส่วนสมเด็จพระชินสีห์ทั้งทรงยืน เดิน นั่ง นอน พวกภิกษุที่มีแต่ยืนกับเดินเท่านั้น ก็ยิ่งกว่าเพียงการยืน กับการเดินเท่านั้น
    พวกที่นั่งฉันในอาสนะเดียว เมื่อลุกจากที่นั่งนั้นแล้ว ไม่ฉันอาหารที่ไหนอีก เพระเห็นแก่ชีวิตก็มี ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าฉันวันละ ๒ เวลา ๓ หนก็มี คือตั้งแต่อรุณขึ้นถึงเที่ยงเสวย ๒ - ๓ หนก็มี แต่พวกฉันหนเดียวนั้น ก็ยิ่งกว่าเพียงการฉันเท่านั้น ไม่ใช่ยิ่งไปกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
    ส่วนสมเด็จพระพิชิตมารที่ว่า เป็นผู้เยี่ยมไม่มีใครยิ่งกว่านั้น คือเยี่ยมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตตญาณทัสสนะ มศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ พุทธธรรม ๑๘ อสาธารณญาณ ๖
    เปรียบเหมือนพระราชา ย่อมยิ่งกว่าผู้มีชาติตระกูล มีพรัพย์ มีวิชา มีศีลปะ มีความแกล้วกล้า มีความหลักแหลมทั้งปวง ฉันใด องค์สมเด็จพระจอมไตรก็เยี่ยมกว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงฉันนั้น
    การที่พระพากุละมีอาพาธน้อยนั้น เป็นด้วยอานิสงส์ที่ได้กระทำไว้ คือในชาติก่อน พระพากุละเกิดเป็นดาบส ได้ถวายยาแก้โรคลมในท้องของ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า และถวายยาแก้ไข้แก่ พระวิปัสสีทศพล กับพระภิกษุ ๒ ล้าน ๘ แสนองค์ แล้วปรารถนาให้เป็นผู้มีอาพาธน้อย จึงได้เป็นผู้มีอาพาธน้อย เมื่ออาพาธเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดีไม่เกิดก็ดี ทรงถือธุดงค์ก็ดี ไม่ทรงถือก็ดี ผู้ที่จะเสมอกับพระองค์ไม่มี ข้อนี้ ถูกตามที่ตรัสประทานไว้ใน สังยุตตนิกาย ว่า
    “บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีเท้าไม่มีเท้าหรือมีเท้า ๒ เท้า ๔ เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏว่าเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ถูกดีแท้ พระนาคเสน” [/FONT]
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๑๐ </center> <center> ถามเรื่อง
    พระพุทธเจ้าทรงกระทำให้เกิด
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทำให้เกิดทางอันยังไม่เกิด” แล้วตรัสไว้อีกว่า “เราได้เห็นทางเก่า อันเป็นทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ทรงเดินตามกัน” ดังนี้
    [/FONT] ถ้าคำว่า “พระตถาคตเจ้าทำให้เกิดทางอันยังไม่เกิด” นั้นถูก คำที่ว่า “เราได้เห็นทางเก่าอันเห็นทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ทรงเดินตามกันมาแล้วนั้น” ก็ผิด
    ถ้าคำว่า “เราได้เห็นทางเก่า อันเป็นทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเดินตามกันมาแล้ว” นั้นถูก คำที่ว่า “พระตถาคตเจ้าทำให้เกิดทางอันยังไม่เกิดนั้น” ก็ผิด ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้นถูกตามความจริงทั้งนั้นคือเมื่อพระตถาคตเจ้าทั้งหลายในปางก่อนอันตรธานไปแล้ว ผู้บอกทางก็ไม่มีทางก็หายไป พระตถาคตเจ้าได้ทรงเห็นทางอันลบเลือนไปแล้ว อันหายไปแล้ว อันไม่มีสิ่งกำบังไว้ อันไม่เป็นที่ไปมาได้แล้วนั้น ได้ด้วยปัญญาจักษุของพระองค์ จึงตรัสว่า ได้เห็นทางเก่า เมื่อทรงสั่งสอน ก็ได้ชื่อว่าทำให้เกิดทางอันยังไม่เกิด
    เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงอันตรธารไปแล้ว แก้วมณีก็ไปหลบซ่อนอยู่ในระหว่างยอดเขา (วิบุลบรรพต) เสีย เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใหม่มีขึ้น จึงมาปรากฏขึ้นอย่างนั้นไม่ใช่หรือ ?”
    “อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า คือแก้วมณีนั้นไม่ได้มีประจำอยู่เป็นปกติ ต่อเมื่อมีพระเจ้าจักรพรรดิเกิดขึ้น จึงจะปรากฏขึ้น”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ทางอันเกษมเยือกเย็น อันเป็นทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ (มรรค ๘ ) เมื่อผู้สั่งสอนไม่มี ทางนั้นก็กลบเลือนหายไป พระตถาคตเจ้าจึงทรงเล็งเห็นทางนั้น แล้วทรงบอกให้แก่เทพยดามนุษย์ทั้งหลาย
    อีกประการหนึ่ง หญิงที่มีบุตรเกิดในท้อง เขาเรียกว่า “ผู้ทำให้ลูกเกิด” ฉันใด สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงเห็นทาง แล้วบอกทางที่หายไปแล้วนั้น จึงเรียกว่า ผู้ทำให้เกิดทาง” ฉะนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง เหมือนกับบุรุษคนหนึ่งได้พบของที่หายไป ก็มีการพูดกันว่า ของนั้นเกิดขึ้นด้วยผู้นั้น หรือบุรุษคนใดคนหนึ่งถางป่าที่รกให้เตียน ทำให้เกิดเป็นพื้นที่สะอาดขึ้น ก็มีการกล่าวกันว่า ที่นั้นเป็นของบุรุษนั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นเจ้าของฉันใด
    พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นทางเก่า ของพระพุทธเจ้าในปางก่อนแล้วทรงบอก ก็เรียกว่า “ผู้ทำให้เกิดทางอันยังไม่เกิด” ฉันนั้น ขอถวายพระพร”
    ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว”

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบวรรคที่ ๕
    [/FONT]</center>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> วรรคที่ ๖ </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ถามถึงโทษแห่งปฏิปทา </center>
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน นับแต่พระโพธิสัตว์เจ้าได้กระทำทุกกรกิริยาแล้วมา ก็ไม่ได้ทำความเพียรสู้รบกับกิเลส กำจัดเสนามัจจุ กำหนดอาหาร ในที่อื่นอีก ในการทำความเพียรยิ่งใหญ่อย่างนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าก็ไม่ได้ความดีในอย่างใด จึงทรงเปลียนความคิดอย่างนั้นเสีย แล้วตรัสสไว้ว่า
    “เราไม่ได้สำเร็จความรู้ความเห็นพิเศษอันเป็นของพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ธรรมดา ด้วยกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้เลย ทางตรัสรู้ทางอื่นเห็นจะมี”
    ทรงดำริดังนี้แล้ว ก็เลิกทุกกรกิริยานั้นเสีย แล้วได้สำเร็จพระสัพพัญญุตญาณด้วยทางอื่น แล้วทรงแนะนำสั่งสอนพวกสาวกด้วยปฏิปทานั้นอีกว่า
    “เธอทั้งหลาย จงทำความเพียร จงประกอบในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนามัจจุ เหมือนช้างหักไม้อ้อฉะนั้น” ดังนี้
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระตถาคตเจ้าทรงเบื่อหน่ายในปฏิปทาใดแล้ว เหตุไรจึงทรงชักนำพวกสาวกในปฏิปทานั้น ?”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ในคราวนั้นก็ดี ในบัดนี้ก็ดี ปฏิปทานั้นก็คงเป็นปฏิทานั้นเอง
    พระโพธิสัตว์เจ้าปฏิบัติตามปฏิปทานั้นแล้ว จึงสำเร็จความเป็นพระสัพพัญญู ในเมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าทรงทำความเพียรอันยิ่ง ก็ได้ตัดอาหารไม่ให้เหลือ เมื่อตัดอาหารหมดแล้ว ก็หมดกำลังใจ เมื่อหมดกำลังใจ ก็ไม่อาจสำเร็จความเป็นพระสัพพัญญูได้
    เมื่อทรงเสวยอาหารที่เป็นคำ ๆ ตามสมควร ไม่ช้าก็ได้สำเร็จความเป็นพระสัพพัญญุตญูด้วยปาฏิปทานั้น ปฏิปทานั้นแหละ ทำให้ได้พระสัพพัญญุตญาณ แก่พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย เหมือนกับอาหารอันความสุขสำราญแก้สัตว์ทั้งหลายฉันนั้น
    องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ไม่ได้สำเร็จพระสัพพัญญุตญาณในขณะนั้นด้วยสิ่งใดสิ่งนั้นไม่ใช่โทษแห่งการทำความเพียร ไม่ใช่โทษแห่งการสู้รบกับกิเลส เป็นโทษแห่งการตัดอาหารเท่านั้น ปฏิปทานั้นเป็นของมีอยู่ทุกเมื่อ
    บุรุษเดินทางไกลด้วยความรีบร้อน จะต้องเสียกำลังแข้งขา หรือเป็นง่อยเปลี้ยเดินไปมาไม่ได้ การที่เดินไปมาไม่ได้นั้น จะว่าเป็นโทษแห่งแผ่นดินอย่างนั้นหรือ....มหาบพิตร ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า แผ่นดินอันใหญ่นี้ย่อมมีประจำอยู่ทำเมื่อ การที่บุรุษนั้นเสียกำลังแข้งขาจนเดินไม่ได้นั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งแผ่นดิน เป็นโทษแห่งความพยายามต่างหาก”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร การที่สมเด็จพระพิชิตมาร ไม่สำเร็จสัพพัญญุตญาณในขณะนั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งความเพียร ไม่ใช่โทษแห่งการสู้รบกิเลส เป็นโทษแห่งการขาดอดอาหารต่างหาก ปฏิปทานั้นมีอยู่ทุกเมื่อ
    อีกอย่างหนึ่ง บุรุษนุ่งที่เศร้าหมองไม่รู้จักชัก ปล่อยให้เศร้าหมองอยู่นั้นเอง การที่ผ้าเศร้าหมองนั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งน้ำ น้ำมีอยู่ทุกเมื่อ เป็นโทษแห่งบุรุษนั้นต่างหากฉันใด
    การที่พระโพธิสัตว์ไม่สำเร็จทุกกรกิริยานั้น ไม่ใช่เป็นโทษแห่งความเพียร ไม่ใช่เป็นโทษแห่งการสู้รบกับกิเลส เป็นโทษแห่งการขาดอาหารต่างหากฉันนั้น ปฏิปทานั้นมีอยู่ทุกเมื่อ
    เพราะฉะนั้น สมเด็จพระภควันต์จึงทรงสั่งสอนชักชวนพวกสาวก ด้วยปฏิปทานั้น ปฏิปทานั้นเป็นของดีไม่มีโทษ เป็นของอยู่อย่างนั้นแหละ มหาบพิตร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนี้พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว” [/FONT]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๒ </center> <center> ถามถึง
    ธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีเครื่องไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี จงยินดีในเครื่องไม่เนิ่นช้า” ดังนี้ โยมขอถามว่า เครื่องไม่เนิ่นช้านั้นได้แก่อะไร ?”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร เครื่องไม่เนิ่นช้าได้แก่ โสดาปัตติผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตผล
    พระเจ้ามิลินท์ชักถามต่อไปว่า
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระโสดาปัตติผลตลอดถึงอรหัตผลเป็นเครื่องไม่เนิ่นช้าแล้ว เหตุใดภิกษุทั้งหลายจึงเล่าเรียนสอบถามซึ่งพระพุทธวจนมีองค์ ๙ คือ
    สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อติวุตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ (รวมเรียกพระไตรปิฏก) อยู่ และยังเกี่ยวข้องอยู่กับนวกรรม คือการก่อสร้าง และเกี่ยวข้องอยู่กับทาน การบูชา ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่ากระทำกรรมที่ทรงห้ามไม่ใช่หรือ ?”
    พระนาคเสนชี้แจงว่า
    “ขอถวายพระพร ภิกษุเหล่าใดยังเล่าเรียนสอบถามอยู่ ยังเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอยู่ ยังเกี่ยวข้องกับทานอยู่ เกี่ยวข้องกับการบูชาอยู่ ภิกษุเหล่านั้นทั้งสิ้น ชื่อว่า กระทำเพื่อถึงเครื่องไม่เนิ่นช้าทั้งนั้น
    ขอถวายพระพร ภิกษุเหล่าใดบริสุทธิ์ตามสภาพอยู่แล้ว มีวาสนาบารมีอันได้อบรมไว้ในปางก่อนมาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีเครื่องเนิ่นช้า ด้วยขณะแห่งจิตดวงเดียว (ได้บรรลุมรรคผลในชั่วขณะจิตเดียว)
    ส่วนภิกษุเหล่าใด ยังเป็นผู้ศึกษาอยู่ภิกษุเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีเครื่องเนิ่นช้าด้วยประโยค คือยังต้องบำเพ็ญบารมีด้วยสิ่งเหล่านี้อยู่
    เนื้อความข้อนี้ควรทราบด้วยอุปมา คือสมมุติว่ามีบุรุษชาวนาผู้หนึ่ง หว่านพืชลงในนาแล้ว ก็เก็บผลแห่งพืชข้าว ได้ด้วยกำลังและความเพียรของตน โดยไม่ต้องล้อมรั่วก็มี บุรุษอีกคนหนึ่ง หว่านพืชลงในนาแล้ว ต้องเข้าป่าตัดเอากิ่งไม้ ใบไม้ และหลักรั่ว มาทำรั่ว จึงได้ผลแห่งพืชข้าว
    การแสวงหาเครื่องล้อมรั่วนั้น ก็เพื่อพืชข้าวฉันใด ภิกษุเหล่าใดบริสุทธิ์อยู่ตามสภาพแล้วได้อบรมวาสนาบารมีไว้ในปางก่อนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็เป็นผู้ไม่มีเครื่องเนิ่นช้า ด้วยขณะจิตเดียว เปรียบเหมือนบุรุษที่ได้ข้าวด้วยไม่ต้องล้อมรั่วฉะนั้น
    ส่วนภิกษุเหล่าใดยังศึกษาอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่าไม่เนิ่นช้า ด้วยการบำเพ็ญบารมีสิ่งเหล่านี้ เหมือนกับบุรุษที่ล้อมรั่ว แล้วจึงได้ข้าวฉะนั้น
    อีกประการหนึ่ง ขั่วผลไม้ย่อมอยู่บนยอดต้นไม้ มีผู้มีฤทธิ์คนใดคนหนึ่ง มาถึงต้นไม้ใหญ่นั้น ก็นำเอาผลไม้นั้นไปได้ทีเดียว ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นผู้ไม่มีฤทธิ์ เมื่อมาถึงต้นไม้นั้นแล้ว ต้องหาตัดไม้และเถาวัลย์มาผูกเป็นพะอง พาดขึ้นบนต้นไม้ใหญ่นั้น จึงเก็บเอาผลไปได้
    การที่บุรุษนั้นหาไม้มาทำพะอง ก็เพื่อต้องการผลไม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดบริสุทธิ์อยู่ตามสภาพแล้ว ได้อบรมวาสนาบารมีแล้วภิกษุเหล่านั้นก็เป็นผู้ไม่เนิ่นช้า คือสำเร็จได้ด้วยขณะจิตเดียวเท่านั้น เปรียบเหมือนผู้มีฤทธิ์นำผลไม้นั้นไปได้ฉะนั้น
    ส่วนพวกที่ยังศึกษาอยู่ ก็ย่อมสำเร็จมรรคผล ด้วยการบำเพ็ญบารมีสิ่งเหล่านี้เหมือนกับบุรุษนำผลไม้ไปได้ ด้วยอาศัยมีพระองค์พาดขึ้นไปฉะนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง เหมือนกับผู้จะทำประโยชน์ คนหนึ่งมีความเข้าใจดี ก็ทำให้สำเร็จได้โดยลำพังผู้ดียว อีกคนหนึ่งเป็นคนมีพรัพย์ แต่ไม่เข้าใจดี ต้องจ้างคนอื่นให้ช่วยทำจึงสำเร็จได้การที่บุรุษนั้นมีทัรพย์ จ้างคนอื่นก็เพื่อกิจธุระนั้นฉันใด
    พวกใดที่บริสุทธิ์ตามสภาพแล้วได้อบรมวาสนามีไว้ในปางก่อนแล้ว พวกนั้นก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ด้วยขณะจิตเดียว เปรียบเหมือนบุรุษสำเร็จประโยชน์โดยลำพังผู้เดียวฉะนั้น
    ส่วนพวกใดยังศึกษาอยู่ พวกนั้นย่อมสำเร็จอริยสัจ ด้วยการบำเพ็ญบารมีสิ่งเหล่านี้เหมือนกับบุรุษผู้ให้สำเร็จประโยชน์โดยลำพังผู้เดียวฉะนั้น
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว โยมขอรับทราบว่าถูกต้องดีแท้” [/FONT]
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๒๗ </center> <center> ปัญหาที่ ๓ </center> <center> ถามถึงความ
    เป็นพระอรหันต์แห่งคฤหัสถ์
    </center>
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน มีคำกล่าวไว้ว่า คฤหัสถ์ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วย่อมมีคติ ๒ ประการ คือบรรพชาในวันนั้น ๑ ปรินิพพาน ในวันนั้น ๑ ไม่อาจเลยวันนั้นไปได้” ดังนี้
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าในวันนั้น ไม่ได้อาจารย์ หรืออุปัชฌาย์ หรือบารต จีวร ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วนั้นจะบรรพชาเอง หรือเลยวันนั้นไป หรือมีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์องค์ใดองค์หนึ่งมาให้บรรพชา จะได้หรือไม่ หรือต้องปรินิพพานไป?”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร พระอรหันต์นั้นบรรพชาเองไม่ได้ ถ้าบรรพชาเองก็ชื่อว่า “ไถยสังวาส” (ลักเพศ คือปลอมบวช) และเลยวันนั้นไปก็ไม้ได้ จะมีพระอรหันต์องค์อื่นมาหรือไม่มีก็ตาม ก็ต้องปรินิพพานในวันนั้น”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นความเป็นพระอรหันต์ ก็ทำให้สิ้นชีวิตน่ะชิ”
    “ขอถวายพระพร คฤหัสถ์ถึงสำเร็จอรหันต์แล้วก็ต้องบรรพชา หรือปรินิพพานในวันนั้น เพราะเพศคฤหัสถ์ไม่มีกำลังพอ ข้อที่สิ้นชีวิตไปนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะโทษแห่งคฤหัสถ์ ไม่มีกำลังพอต่างหาก
    ขอถวายพระพร ธรรมดาโภชนาหารย่อมรักษาอายุ รักษาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไว้แต่ว่าโภชนาหารนั้น ย่อมทำให้สิ้นชีวิตได้ ด้วยไฟย่อยอาหารไม่พอ ย่อมทำให้สิ้นชีวิตนั้นไม่ใช่เป็นโทษแห่งอาหารนั้น เป็นโทษแห่งไฟย่อยอาหารไม่พอฉันใด
    การที่คฤหัสถ์ผู้เสำเร็จพระอรหันต์แล้วต้องบรรพชาหรือปรินิพพานในวันนั้น ข้อนั้นไม่ใช่เป็นโทษแห่งความเป็นพระอรหันต์ เป็นโทษแห่งเพศคฤหัสถ์มีกำลังไม่พอฉันนั้น
    อีกประการหนึ่ง เหมือนกับบุคคลยกเอาก้อนหินหนัก ๆ วางบนฟ้อนหญ้าเล็ก ๆ ฟ้อนหญ้าเล็ก ๆ นั้น ก็ต้องจมลงไปเพราะกำลังไม่พอฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น
    อีกอย่างหนึ่ง เหมือนบุรุษผู้มีบุญน้อยเมื่อได้ราชสมบัติอันใหญ่แล้ว ก็ไม่อาจรักษาความเป็นอิสระไว้ได้ฉันใด คฤหัสถ์ผู้ได้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่อาจรับรองความเป็นอรหันต์ไว้ได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงต้องบรรพชาหรือปรินิพพานในวันนั้น ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน” [/FONT]
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๔ </center> <center> ถามเรื่อง
    โลมกัสสปฤาษี
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราเป็นมนุษย์อยู่เมื่อก่อน เราไม่ชอบเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย” ดังนี้ แต่คราวเสวยพระชาติเป็น โลมกัสสปฤาษี ได้เห็นนางจันทวดี ก็ได้ฆ่าสัตว์หลายร้อยบูชายัญ
    [/FONT] ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าข้อว่า “ไม่เคยเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย” เป็นของถูก ข้อว่า “ฆ่าสัตว์บูชายัญครั้งเป็นโลมกัสสปฤาษี” ก็ผิดไป
    ถ้าข้อว่า “เป็นโลมกัสสปฤาษีได้ฆ่าสัตว์บูชายัญ” นั้นถูก ข้อว่า “ไม่เคยเบียดเบียนสัตว์” นั้นก็ผิด ปัญหาข้อนนี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ แก้ได้ยากโปรดแก้ให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด”
    พระนาคเสนจึงตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า “เมื่อเราเป็นมนุษย์อยู่ชาติก่อน เราไม่ได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย” นั้นก็ถูก ข้อว่า “ครั้งเป็นโลมกัสสปฤาษีได้ฆ่าสัตว์หลายร้อยบูชายัญ” นั้นก็ถูก ก็แต่ว่าข้อนั้น เป็นด้วยอำนาจราคะ รักใคร่หลงใหลในนางจันทรดี หาได้มีเจตตนาแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตายไม่”
    “ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลย่อมฆ่าผู้อื่นด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ด้วยอำนาจราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ โลภะ ๑ ชีวิต ความโง่เขลา ๑ ตามบทบัญญัติ ๑ ส่วนโลมกัสสปฤาษีกระทำนั้น เป็นการกระทำปกติ"
    "ขอถวายพระพร ไม่ใช่เป็นการกระทำปกติ ถ้าโลมกัสสปฤาษีน้อมใจลงไป เพื่อจะบูชายัญใหญ่ตามสภาวะปกติ ไม่ใช่ด้วยปัญญาก็คงไม่กล่าวไว้ว่า
    “บุคคลไม่ควรต้องการแผ่นดิน อันมีสมุทรเป็นขอบเขต มีสาครเป็นกุณฑล พร้อมกับการนินทา ดูก่อนเสยหะอำมาตย์ เธอจงรู้อย่างนี้เถิด ....” ดังนี้
    ขอถวายพระพร โลมกัสสปฤาษีผู้พูดอย่างนี้ แต่พอได้เห็นพระนางจันทวดีก็เสียสติ
    ขอถวายพระพร ธรรมดาคนเสียสติ คือคนบ้า ย่อมเหยียบไฟก็ได้ กินยาพิษก็ได้ วิ่งหาช้างตกมันก็ได้ แล่นลงไปสู้ทะเลที่ไม่ใช่ท่าก็ได้ ตกน้ำครำก็ได้ เหยียบหนามตอก็ได้ กระโดดลงจากภูเขาก็ได้ กินของน่าเกลียดโสโครกก็ได้ เปลือยกายเดินไปตามถนนก็ได้ ทำสิ่งที่ไม่ควรทำได้ต่าง ๆ ฉันใด โลมกัสสัปฤาษีก็เสียสติ จึงได้ฆ่าสัตว์บูชายัญในคราวนั้น
    บาปที่คนบ้าทำ ย่อมไม่โทษ ทั้งในปัจจุบันและอนาตค อาตภาพขอถามว่า ถ้ามีคนบ้าทำผิด จะทรงลงโทษหรือไม่ ?”
    “ไม่ลงโทษ พระผู้ป็นเจ้า เพียงแต่ให้ไล่ตีให้หนีไปเท่านั้น”
    “ขอถวายพระพร ความผิดย่อมไม่มีแก่คนบ้าฉันใด โลมกัสสปฤาษีก็ไม่มีความผิดมนการฆ่าสัตว์บูชายัญ เพราะความเป็นบ้า ในคราวนั้น พอจิตเป็นปกติขึ้น ก็ได้สำเร็จอภิญญา ๕ อีก แล้วได้ขึ้นไปเกิดในพรหมโลกขอถวายพระพร”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญหาข้อนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขถูกต้องดีแล้ว”

    <center>
    อธิบาย
    </center> เรื่องโลมกัสสปฤาษีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้เสวยพระชาติเป็นฤาษีได้หลงรักพระราชธิดาของพระเจ้าพาราณสี จนยอมรับว่าจะไปฆ่าสัตว์บูชายัญ
    แต่พอยกพระขรรค์แก้วขึ้นด้วยคิดจะตัดคอช้าง ช้างก็ได้ร้องขึ้นด้วยความตกใจกลัวขณะนั้น ช้าง มัา โค ลา เป็นต้น ที่เขาผูกไว้เพื่อจะฆ่าบูชายัญ ก็ได้ร้องขึ้นด้วยเสียงสนั่นหวั่นไหวด้วยความกลัวตาย
    โลมกัสสปษีรู้สึกสลดใจ พอก้มลงเห็นเงาบริขารฤาษีของตน มีชฏาเป็นต้น ก็ได้สติทันที แล้วกลับได้ฌาณเหมือนอย่างเดิมขึ้นไปนั่งอยู่บนอากาศสั่งให้ปล่อยสัตว์ทั้งหลายแล้วก็กลับไปสู่หิมพานต์ตามเดิม
    เป็นอันว่า โลมกัสสปฤาษีไม่ทันได้ฆ่าสัตว์บูชายัญ แต่ในมิลินปัญหากล่าวว่า “ฆ่าสัตว์หลายร้อยบูชายัญ” เรื่องนี้ท่านอาจจะตั้งปัญหาถาม หมายถึงในขณะที่กำลังจะฆ่าก็ได้ จึงใช้คำพูดตายตัวอย่างนั้น
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] เนื่องจากท่านทั้งสองเป็นบัณฑิต มีความชำนาญในพระไตรปิฏก จึงขอฝากให้ท่านผู้อ่านโปรดวินิจฉัยให้รอบคอบด้วย [/FONT]
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๕ </center> <center> ถามเรื่อง
    พญาช้างฉัททันต์
    </center> [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าคราวเป็นพญาช้างฉัททันต์ได้กล่าวไว้ว่า “เราได้จับนายพรานไว้ด้วยคิดว่าจะฆ่า แต่พอได้เห็นผ้ากาสาวะ อันเป็นธงของฤาษีทั้งหลายเรานึกขึ้นได้ว่า ผู้มีธงของพระอรหันต์เป็นผู้ควรฆ่า” ดังนี้
    [/FONT] และมีการกล่าวไว้อีกว่า “ครั้นพระองค์เป็น โชติปาลมาณพ ได้ด่าว่า สมเด็จพระพุทธกัสสป ด้วยคำว่า “สมณะศรีษะโล้น..” ดังนี้
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระโพธิสัตว์ถึงเป็นเดรัจฉานก็เคารพผ้ากาสาวะ ข้อที่ว่า “โชติปาลมาณพด่าว่าสมเด็จพระพุทธกัสสปอย่างนั้น” ก็ผิดไป ถ้าไม่ผิด ข้อว่า “พญาช้างฉัททันต์เคารพผ้ากาสาวะนั้น” ก็ผิด
    เป็นเพราะเหตุใด พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว ได้เห็นสมเด็จพระพุทธกัสสป ผู้ล้ำเลิศในโลก ผู้ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวะจึงไม่เคารพ ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ขอได้โปรดแก้ไชด้วย”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ทั้งสองเรื่องนั้นถูกทั้งนั้น ก็แต่ว่าเรื่องที่โชติปาลมาณพว่าสมเด็จพระพุทธกัสสปในคราวนั้น เป็นด้วยอำนาจเขาถือชาติพระกูลของเขาเกินไป คือ
    โชติมาลมาณพเกิดในตระกูลที่ไม่มีศรัทธาเลื่อมใส มารดาบิดา พี่น้องหญิง พี่น้องชาย มาสีทาสาคนใช้ คนบำเรอ และศิษย์ของมาณพนั้นทั้งสิ้น ล้วนแต่เคารพพราหมณ์เท่านั้นประเสริฐสูงสุด แล้วติเตียนเกลียดชังบรรพชิตทั้งหลาย
    โชติปาลมาณพได้เชื่อถือตามลัทธิของพวกพราหมณ์ ได้ฟังถ่อยคำของพวกพราหมณ์ที่ด่าว่าบรรพชิตอยู่เสมอ เวลาช่างปั้นหม้อ ชื่อว่า ฆฏาการะ ชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้ตอบว่า “ต้องการอะไรกับการที่จะพบสมณะศรีษะโล้น...”
    ขอถวายพระพร ยาอมฤตเมื่อผสมกับยาพิษก็กลายเป็นรสขม ส่วนยาพิษเวลามาผสมกับยาอมฤต ก็กลายเป็นรสหวานฉันใด น้ำเย็นถูกไฟก็ร้อน คนเลวได้มิตรดีก็เป็นคนดี คนดีได้มิตรเลวก็เป็นคนเลวฉันใด โชติปาลมาณพเกิดในตระกูลที่ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสก็กลายเป็นอันธพาลไปตามตระกูลฉันนั้น
    กองไฟใหญ่ที่ลุกรุ่งโรจน์อยู่ ก็มีแสงสว่างดี เวลาถูกน้ำก็หมดแสง กลายเป็นสีดำไป เหมือนกับผลไม้ที่หล่นจากขั่ว แก่งอมแล้วเน่าไปฉะนั้น
    ด้วยเหตุนี้แหละ มหาบพิตร โชติปาลมาณพผู้มีปัญญา มีแสงสว่าง ด้วยความไพบูลย์แห่งญาณอย่างนั้นก็จริง แต่เวลาเกิดในตระกูลที่ไม่มีศรัทธาเลื่อมใส ก็กลายเป็นอันธพาลไปถึงกับได้ด่าว่าพระพุทธเจ้า
    เวลาเข้าไปถึงพระพุทธเจ้าแล้วจึงรู้จักคุณของพระองค์ แล้วได้บรรพชาในพุทธศาสนา ทำอภิญญาสมาบัติให้เกิด แล้วก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก ขอถวายพระพร”
    สาธุ....พระนาคเสน โยมขอรับว่าถูกต้องดีแล้ว”

    <center>
    อธิบาย
    </center> เรื่องที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น พญาฉัททันต์ นั้น มีปรากฏอยู่ในชาดกว่า
    ยังมีนางภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ในขณะที่นั้งฟังพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น ได้ระลึกชาติหนหลังว่า ตนเคยเกิดเป็นนางพญาช้าง ซึ่งเป็นภรรยาของพญาช้างฉัททันต์ ต่อมาได้ให้นายพรานฆ่าพญาช้างนั้น ครั้นนึกได้อย่างนี้จึงร้องให้ขึ้นในท่ามกลางคนทั้งหลาย
    พระศาสดาทรงปรารถเหตุนี้แล้ว จึงทรงตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ในอดีตกาลพญาฉัททันต์มีอัครมเหสีอยู่ ๒ เชือก ชื่อว่า จูฬสุภัททา และ มหาสุภัททา ได้อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ พร้อมกับบริวารทั้งหลาย และได้กระทำการบูชากราบไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์อยู่เป็นนิจ
    ต่อมานางจูฬสุภัททาเกิดน้อยใจ ได้ผูกในอาฆาตพยาบาทพญาฉัททันต์ จึงได้นำผลไม้ไปถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ตั้งความปรารถนาว่าขอให้ได้ไปเกิดเป็นพระมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ครั้นปรารถนาดังนี้ จึงได้อดอาหารจนถึงแก่ความตาย แล้วก็ได้ไปเกิดเป็นพระมเหสี มีพระนามว่า สุภัททา สมความปรารถนา
    ครั้นพระนางระลึกชาติหนหลังได้ จึงได้ให้นายพรานไปดังยิงพญาฉัททันต์ ด้วยลูกศรอาบยาพิษ พญาช้างไดรับความเจ็บปวดมากจึงเอื้อมงวงจับไว้จะฆ่าเสีย แต่พอได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่นายพรานเอามาคลุมศรีษะไว้ อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่ตนมีความเคารพเลี่อมใสอยู่ จึงยับยั่งใจเอาไว้ได้
    เมื่อชักถามจนทราบความแล้วไซร้ จึงก้มศรีษะลงให้นายพรานเลื่อยเอางา ในขณะที่เลื่อยนั้น พญาช้างได้รับความเจ็บปวดมาก มีโลหิตไหลออกมาเต็มปาก พอนายพรานลับตาไปแล้ว นางพญาช้างมหาสุภัททาพร้อมกับบริวารก็มาถึง พอดีกับพญาฉัททันต์ได้สิ้นใจตายไปแล้ว
    ฝ่ายพระนางสุภัททาได้เห็นงาพญาช้างผู้เคยเป็นสามีที่รักของตน จึงเกิดความสลดใจจนถึงกับหัวใจแตกสลายลงไปทันที
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ครั้นสมเด็จพระชินสีห์ทรงแสดงเรื่องนี้จบแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระนางสุภัททา ได้มาเกิดเป็นภิกษุณีสาวรูปนี้ พญาฉัททันต์ นั้น คือตัวเราตถาคตในบัดนี้ [/FONT]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๖ </center> <center> ถามถึง
    เรื่องฆฏิการอุบาสก
    </center>
    “ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “ที่อยู่ของช่างหม้อชื่อว่า ฆฏิการะ กระทำอากาศให้เป็นหลังคา ฝนตกลงมาไม่รั่วตลอดฤดูฝน” แต่ตรัสไว้อีกว่า “พระคันธกุฏีของพระพุทธกัสสปฝนรั่ว”
    โยมจึงขอถามว่า เหตุไรพระคันธกุฏีของพระพุทธกัสสป ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยพระบารมีแล้วฝนรั่ว ถ้าที่อยู่ของฆฏิการช่างหม้อไม่มีหลังคา แต่ฝนรั่วตลอด ๓ เดือนเป็นของถูกแล้ว คำที่ว่า “พระคันธกุฏีของพระพุทธกัสสปฝนรั่วนั้น” ก็ผิด
    ถ้าคำว่า “พระคันธกุฏีของพระพุทธกัสสปรั่ว” นั้น คำที่ว่า “เรือนของฆฏิการช่างหม้อไม่มีหลังคา แต่ฝนตกลงมาไม่รั่ว ไม่เปียกนั้น” ก็ผิด ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิโปรดแก้ไขให้สิ้นสงสัยเถิด”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้นถูกทั้งนั้น แต่ว่าฆฏิการช่างหม้อ เป็นคนมีศีล มีธรรมอันดีได้สร้างสมบุญกุศลไม่มากแล้ว ได้เลี้ยงมารดาบิดาผู้ชราตาบอดอยู่ เวลาที่เขาไม่อยู่ ได้มีคนไปรื่อเอาหญ้าที่มุงหลังคาเรือนของเขา ไปมุงพระคันธกุฏีของพระพุทธเจ้าเสีย
    เวลาเขากลับมารู้เข้า เขาก็เกิดปรติโสมนัสเต็มที่ว่า เป็นอันว่า เราได้สละหลังคาถวายแก่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสร็ฐสูงสุดในโลกแล้ว เขาจึงได้รับผลเห็นทันตาอย่างนั้น
    องค์สมเด็จพระทรงธรรมย่อมไม่ทรงหสั่นไหว ด้วยอาการแปลกเพียงเท่านั้น เหมือนกับพระพยาเขาสิเนรุราช อันไม่หวั่นไหว ด้วลมใหญ่อันพัดมาตั้งแสน ๆ ฉะนั้น
    หรือเหมือนกับมหาสุมุทรอันไม่รู้จักเต็มไม่รู้จักพร่อง ไม่รู้จักเปลียนแปลง ด้วยน้ำที่ไหลไปจากคงคาใหญ่ ๆ ตั้งหลายหมื่นหลายแสนสายฉะนั้น
    การที่พระคันธกุฏีรั่วนั้น ย่อมเป็นด้วยทรงพระมหากรุณาแก่มหาชน คือองค์สมเด็จพระทศพลเจ้าทั้งหลาย ย่อมเล็งเห็นประโยชน์ ๒ ประการ จึงไม่ทรงรับปัจจัยที่ทรงเนรมิตขึ้นเอง ด้วยเห็นว่า เทพยดามนุษย์ทั้งหลายได้ถวายปัจจัยแก่พระพุทธเจ้าด้วยความเลื่อมใสว่า เป็นผู้ควรแก่การถวายอย่างเลิศแล้ว ก็พ้นจากทุคติทั้งปวง
    อีกประการหนึ่ง ทรงเห็นว่าอย่าให้คนอื่น ๆ ติเตียนได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงต้องการสิ่งใด ก็ทรงเนรมิตเอาเอง ดังนี้
    ถ้าพระอินทร์หรือพรหม จะทำให้พระคันธฏีของพระพุทธเจ้าไม่รั่ว หรือถ้าหากพระพุทธเจ้าทรงทำเอง ก็จะมีผู้ติเตียนได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงทำสิ่งอันเป็นหน้าที่ของสัตว์โลกทั่วไป หาสมควรแก่พระองค์ไม่ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงขอวัตถุสิ่งของใด ๆ ถึงไม่มีก็ไม่ทรงขอ จึงมีเทพยดามนุษย์สรรเสริญทั่วไป ขอถวายพระพร”

    <center>
    อธิบาย
    </center> ขอนำเนื้อความใน ฆฏิการสูตร มาให้ทราบโดยย่อว่า สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปรารภนายช่างหม้อ ชื่อว่า ฆฏิการะ ผู้เป็นอุปัฏฐากที่เลิศของพระพุทธกัสสป ได้ชวน โชติปาลมาณพ ผู้เป็นสหายรักไปเฝ้าสมเด็จพระพุทธกัสสปถึง ๓ ครั้ง
    มรณพก็ตอบปฏิเสธว่า จะมีประโยชน์อะไร ที่จะเห็นสมณะศรีษะโล้นผู้นั้น ต่อมาฆฏิการช่างหม้อได้ออกอุบายจนสามารถนำเพื่อนไปฟังธรรมได้ ครั้งนั้น สมเด็จพระพุทธกัสสปได้ทรงแสดงธรรมว่า


    “ดูก่อนโชติปาล เราได้บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้เต็มเปี่ยมแล้ว จึงได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ แล้วมีภิกษุเป็นบริวาร ๒ หมื่นองค์ฉันใด
    เธอได้บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้เต็ม ก็จักได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ แล้วจักมีหมู่สมณะเป็นบริวารฉันนั้น อันผู้เช่นเธอหาสมควรอยู่ด้วยความประมาทไม่”

    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] โชติปาลมาณพได้ฟังดังนั้น จึงเกิดความเลื่อมใส และได้ออกบวชในกาลต่อมา ดังนี้ [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...