มีคำถามครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 18 กันยายน 2014.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผู้แสดงธรรม กับผู้ฟังธรรม ใครมีอานิสงส์มากกว่ากัน
     
  2. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ส่วนใหญ่ก็ผู้แสดงครับ
    เพราะผู้แสดงต้องเข้าใจธรรมนั้นก่อน
    ที่ได้อานิสงส์ก็เพราะเข้าใจและปฏิบัติอยู่
    มิใช่ว่าได้อานิสงส์จากการแสดงธรรมโดยตรง
    ส่วนผู้ฟังนั้นอาจจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ได้
    ถ้าเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติมันก็เกิดอานิสงส์กับตัวเขาครับ
     
  3. aubasok

    aubasok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +483
    ผู้แสดงธรรมได้รับอานิสงค์แห่งการแสดงธรรม กับผู้ฟังธรรมได้รับอานิสงค์แห่งการฟังธรรม อานิสงค์คนละแบบกัน พระศาสนาไม่อาจตั้งอยู่ได้ หากขาดผู้แสดง และ ผู้ฟัง
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    แสดงธรรมดีถูกตรง ได้มิตรสหาย ได้ความเย็นใจกลับมา

    ถ้าแสดงธรรมผิด เท่ากับไปปิดมรรคผลผู้อื่น นอกจากจะเกิดมลทิน
    ทำจิตใจตนให้เศร้าหมองเป็นทุกข์แล้ว ยังอาจก่อศัตรูได้อีกด้วย
     
  5. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ระดับลุงหมานมาตั้งคำถามแบบเด็กๆได้ไง ฮือๆๆ
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ไม่ใช่คำถามเด็กๆ นะครับ
    มีคำว่า การให้ธรรมะเป์นทานชนะการให้ทั้งปวง แสดงถึงมีอานิสงส์มาก
    การทีจะได้ฟังธรรมนั้นเป็นของยาก ก็แสดงถึงต้องมีอานิสงส์มากเช่นกัน

    จึงตั้งคำถามผู้รู้ให้ความกระจ่างครับ
     
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ทั้งการฟังธรรมและแสดงธรรมนั้นก็พาสู่การบรรลุธรรมด้วยกันทั้งนั้น
     
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ฟังโดยไม่มีคนแสดง ได้ไหมนะ

    ให้ธรรม ฟังธรรม โดยไม่ทำ จะบรรลุไหม
    คนให้ธรรม ที่จำมา
    กับคนทำได้แล้วให้ ไม่เหมือนกันใช่ไหม


    ให้ธรรมะ
    เขาว่า ทำให้ดู ดีกว่าพูดให้ฟังอ่ะจ๊ะ

    แต่กรณี ที่ทำแล้วไม่เข้าใจเอง เป็นอีกเรื่องกระมังจ๊ะ

    พูดแล้วฟังก็ไม่รู้ ทำให้ดู ยิ่งไม่พอใจ ก็มีมังจ๊ะ
    (เอาในกรณี ที่ผู้ให้ เขาถึงอะนะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2014
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ยกเว้นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว แม้พระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตร เป็นต้น ผู้เป็นเลิศด้วยปัญญาญาณ สามารถนับเม็ดฝนที่ตกอยู่ตลอดกัปได้ ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุอริยผล มีโสดาปัตติผล เป็นต้น โดยลำพังตนเองได้ ต่อเมื่อได้ฟังธรรม จากพระอัสสชิเป็นต้นแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และบรรลุธรรมสูงสุด ด้วยพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา เพราะเหตุนี้ "ธรรมทานจึงประเสริฐที่สุด" ดังเรื่องปัญหาของท้าวสักกเทวราช (๓)

    ในสมัยหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยเทวดาหมื่นจักรวาลมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นถึงแล้วจึงน้อมนมัสการทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    "การให้อะไร ชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งอะไร ชนะรสทั้งปวง ความยินดีในอะไร ชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งอะไร ชนะทุกข์ทั้งปวง"

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพยดา ปรากฏใน ตัณหาวรรค ธรรมบท ว่า
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
    การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหาชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย

    อานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่แห่งธรรมทาน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    พุทธพจน์: “...ดูกรสุภูติ หากชายคนหนึ่งทำทานโดยการถวายทานด้วยสมบัติกองสูงเท่ากับภูเขาพระสุเมรุทั้งจักรวาลมารวมกัน ส่วนอีกคนหนึ่ง รับฟังคำสอนไว้ในใจ อ่าน เรียนรู้ จดจำ แล้วสั่งสอนผู้อื่นบุญกุศลของชายคนแรกยังไม่มากเท่าหนึ่งในร้อย หนึ่งในพัน หนึ่งในแสน ของบุญกุศลที่ชายคนที่สองได้รับ เพราะไม่สามารถจะเปรียบกันได้เลย”

    1.)ให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง

    2).ในเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถี พระสารีบุตรเถระเจ้า ทูลถามกับพระพุทธเจ้า"ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายให้พุทธศาสนายืนยาวถึง ๕ พันวัสสา จะมีอานิสงส์เป็นประการใด พระพุทธเจ้าข้า "

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ดูกรท่านสารีบุตร ถ้าชนทั้งหลายมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสเช่นนั้นแล้ว

    เมื่อตายไปแล้วก็จักรได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชถึง ๘ หมื่น ๔ พันกัลป์ ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว ก็จะได้เป็นพระราชา มีอนุภาพอีก ๙ อสงไขย ต่อจากนั้นก็ได้เสวยสมบัติในตระกูลต่าง ๆ เป็นลำดับไป คือตระกูลพราหมณ์มหาศาล ตระกูลเศรษฐีคฤหบดี และเป็นภูมิเทวดาอากาศเทวดา อย่างละ ๙ อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้เสวยในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น เป็นลำดับไปชั้นละ ๘ อสงไขย
    เมื่อ จุติจากชั้นเทวโลกแล้ว มาถือกำเนิดเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะมีร่างกายบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นที่รักใคร่แก่คนทั้งหลายที่ได้พบเห็นทั้งน้ำใจก็บริสุทธิ์สุจริตปราศจากบาปธรรมอกุศลทั้งปวง และเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม

    ดังนี้เป็นต้น ดูกรท่านสารีบุตรเมื่อตถาคตสร้างบารมีอยู่ได้เกิดเป็นอำมาตย์ของพุทธบิดา แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปุราณโคดม ได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ให้สืบองค์ได้ตั้งความปรารถนา ขอตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิดในอนาคตกาลโน้น สมเด็จพระปุราณโคดมบรมศาสดาทรงพยากรณ์ไว้ว่า อำมาตย์ผู้นี้ต่อไปภายภาคหน้า จะได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระสมณโคดมก็คือพระตถาคต เรานี้เองดังนี้แลก็สิ้นสุดพระกระแสธรรมเทศนา ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าแต่เพียงเท่านี้

    ..

    https://th-th.facebook.com/notes/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B0/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C/399085230112878
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2014
  10. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +385
    การแสดงธรรม กับการฟังธรรม ที่ว่ามีอานิสงส์มากนั้น คือ มันอาจทำให้ ผู้ที่แสดงธรรม หรือ ผู้ฟังธรรม บรรลุธรรมได้ครับ แต่มันอาศัยเงื่อนใขหลายอย่างพร้อมกันพอสมควร ผมจะบอกความลับให้ครับ


    ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องของเหตุ ของผล ทั้งหมด ถ้ามีสัมมาทิฐิแล้วจะมองออกเอง มันไม่ได้เรื่องหนือธรรมชาติ เรื่องปาฏิหารย์ แต่อย่างใด


    เรื่องของอานิสงส์ ไม่ว่าจะการถือศีล การฟังธรรม หรือการแสดงธรรม พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้เราไปมุ่งหวังจะเอาอานิสงส์ แต่เป็นส่วนเสริม เป็นปัจจัย ให้เกิดการรู้แจ้งธรรมขึ้นมาเท่านั้น ไม่ได้ให้เรามุ่งไปที่อานิสงส์ ส่วนอานิสงส์นั้นได้แน่


    หลายคนสงสัยว่า คนฟังธรรม บรรลุธรรมได้จริงหรือ ในยุคเรา แม้ไม่ได้ฟังจากพระโอษฐ์ของพระศาสดา ก็ต้องบอกว่ามี แต่น้อย เพราะมันอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่าง ประกอบพร้อม เริ่มจาก


    - คนฟังต้องไม่ขัดเคืองใจกับผู้แสดงธรรม (ยกตัวอย่างนะครับ อย่างคนที่มีอคติกับคำสอนท่านพุทธทาส แม้จะฟังธรรมท่านพุทธทาส ก็ไม่เข้าใจไปถึงเนื้อธรรม แม้ท่านพุทธทาสจะแสดงธรรมที่เป็น อนัตตาธรรมก็ตาม ใจมันไม่น้อมที่จะฟังธรรม แต่จ้องจะจับผิดในธรรมที่ท่านแสดงมากว่า ถ้าเป็นข้อนี้ก็จอดทั้งแต่ป้ายแรก

    - ปัจจัยต่อมา ผู้แสดงธรรม ต้องแสดงธรรมปรับทิฐิเบื้องต้นแก่ผู้ฟังก่อน ทำให้เกิดปิติที่เกิดจากธรรม ซึ่งปิติข้อนี้สำคัญ เพราะมันจะนำไปสู่ความตั้งมั่นของจิต

    - พอจิตเกิดปิติ เป็นขณะๆ จิตจะตั้งมั่นเป็นขณะๆ ผู้ฟังอาศัยความตั้งมั่นของจิตนี้ในการฟังธรรม ถ้าธรรมที่ได้ฟังต่อจากนี้ไม่ใช่ธรรมที่ชี้ให้เห็น ไตรลักษณ์ หรืออนัตตาธรรม ก็เป็นอันว่าพลาดส่วนสำคัญในการบรรลุธรรมไป เพราะ

    - ปัจจัยสำคัญ คือ ต้องเป็นธรรมที่เป็น อนัตตาธรรม ที่ชี้ไปให้เห็น ความไม่เที่ยง ความไม่ใช่ตัวตน แล้วดึงให้ผู้ฟังน้อมเอาธรรมที่ได้ฟัง เข้ามาดูในตัวว่ามีสภาพจริง คือ สภาพที่ไม่เที่ยง ว่างจากตัวตน เหมือนธรรมที่ได้ฟังหรือไม่




    การฟังธรรม ถ้ามองให้ออก จะเห็นว่าไม่ต่างจากการปฏิบัติธรรมเลย เพราะการที่เราปฏิบัติกรรมฐานอะไรก็ตาม ก็เพื่อให้ "จิตตั้งมั่น" เพื่อเห็นแจ้งธรรมชาติ ที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ภายใจจิตแล้วนำไปสู่ความเห็นแจ้งรูป-นาม ว่ามัน ว่างจากตัวตน เป็นเพียงธรรมชาติที่มันสืบเนื่องกันแค่นั้น หรือ อาจจะสู่การถอดถอน อุปาทานได้เลย


    ****************************

    ตัวอย่างการปฏิบัติอานาปานสติ
    - รู้ลม ใช้ลมที่ที่เกาะของสติ
    - จิตจะตั้งมั่นเป็นขณะๆ และเกิดปิติ ที่เป็นปิติสัมโพชฌงค์
    - อาศัยความตั้งมั่นเป็นขณะนี้ จะเห็นความเกิด-ดับ "จากภายใน" หรือเห็นความไม่อยู่เหนือการบังคับ"จากภายใน" (ไตรลักษณ์)
    - ถ้าการเห็นนั้นมันรุนแรงมากพอ ก็จะถอนอุปปาทานออกจากขันธ์
    - พอหลุดจากอุปาทานขันธ์ จิตก็หลุดพ้น


    ตัวอย่างการฟังธรรม
    - ฟังธรรม ด้วยความตั้งใจ
    - จิตเกิดปิติ ร่าเริงในธรรม จิตจะตั้งมั่นเป็นขณะๆ
    - อาศัยความตั้งมั่นของจิตที่เป็นขณะๆนั้น แล้วได้ฟังธรรมที่เป็นอนัตตาธรรม เกิดการไคร่ครวญถึง ความไม่เที่ยงของขันธ์ ของโลก ของร่างกาย ของสรรพสิ่งและ"น้อมเข้าไปเห็นขันธ์5 ภายของตัวเอง" ว่าเป็นอย่าง ธรรมที่ได้ฟังตามนั้นหรือไม่
    - ถ้ามีความตั้งมั่นของจิตมากพอ และน้อมเข้าเห็นความจริงของขันธ์ รุนแรงพอ จะถอนอุปาทานได้ (ตัวอย่างเห็นได้จากในสมัยพุทธกาล ที่ฟังธรรมต่อหน้าพระพุทธเจ้าเพียงบทเดียว ก็ถอนอุปาทาน บรรลุพระอรหันได้เลย เพราะมีความตั้งมั่นของจิตมากอยู่แล้ว พอได้ฟังธรรมเพียงบทเดียว โดยน้อมเอาธรรมนั้นเข้าไปเห็นภายในของตน เหมือนมีความตั้งมั่นของจิตอยู่แล้วรอน้ำอีกแค่หยดเดียว
    - พอหลุดจากอุปาทานขันธ์ จิตก็หลุดพ้น


    ตัวอย่างการแสดงธรรม
    - แสดงธรรม มีความตั้งใจโดยอาศัยสมาธิ อาศัยสติอยู่แล้วในการแสดงธรรม
    - ระหว่างที่ตนแสดงธรรม ก็เกิดการใคร่ครวญธรรม จิตจะเกิดปิติ เกิดความร่าเริงในธรรม
    - แล้วจะเกิดความตั้งมั่นของจิตเป็นขณะๆ ที่แสดงธรรม
    - อาศัยความตั้งมั่นเป็นขณะๆที่ตนเองแสดงธรรมที่เป็นอนัตตาธรรม หรือ พุทธพจน์ อยู่นั้น โดยธรรมนั้นแล้วน้อมเข้าไปเห็นขันธ์5 ของตนเองเป็นไปตามที่ตนแสดงธรรมที่ว่าด้วยเรื่อง ความไม่เที่ยง ความว่างจากตัวตน
    - จิตตั้งมั่น พอปัจจัยพร้อม แล้วเห็นความเป็นของขันธ์5 ตามธรรมที่ตนแสดง จิตก็พ้นอุปทานได้
    - พอหลุดจากอุปาทานขันธ์ จิตก็หลุดพ้น




    การให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวงก็เพราะเหตุนี้ มันเข้าใกล้การบรรลุธรรม การเห็นแจ้งในธรรม ซึ่งนำไปสู่ความพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย โดยที่มันเหนือกว่าความหวังอนิสงส์แบบโลกๆ ซึ่งอานิสงส์แบบโลกๆเมื่อได้รับผลแห่งอนิสงส์แล้ว ก็ยังไม่จากจากทุกข์ ไม่พ้นจากสังสารวัฏ ไม่พ้นจากการเกิด-ตาย ที่มันต้องวนเวียนไม่ที่สิ้นสุดนั้นเอง
     
  11. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    ผู้แสดงธรรมนั้นเขาบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล่้ว
    กับผู้แสดงธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุอรหันต์ ย่อมแสดงได้ต่างสภาวะธรรม
    ส่วนของผู้ฟังธรรม ก็น่าจะขึ้นอยู่กับผู้แสดงธรรมด้วยนะ
     
  12. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,756
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ตอบ... ผู้ที่เข้าใจธรรม เห็นธรรม ตามความเป็นจริง ได้อานิสงฆ์

    แล้วถ้าในกรณีถ้า
    ถ้าผู้ ฟังสักแต่ว่าฟังไปงั้นๆ คิดว่าฟังไปจะได้บุญ อาจแค่ปลาบปลื้มเล็กๆน้อยขณะฟัง เดี่ยวก็ลืม ไม่ได้เอาธรรมมาคิดมาเรียนรู้
    ถ้าผู้ แสดงธรรมแบบอ่านๆจำๆหลักการมาพูด แต่ตัวเองก็ไม่ได้รู้เรื่อง เข้าใจอะไรอย่างถ่องแท้ อาศัยจำๆอ่านๆมา หรือแสดงธรรมเผื่อหวังในลาภ
    คิดว่าจะได้อานิสงฆ์มั้ย ???
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมสนทนาหาคำตอบครับ
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผมตั้งคำถามเอง และจะพยามตอบเองดูบ้าง พอใจหรือไม่พอใจผิดถูกยังไงก็พิจารณาเอาเอง

    เมื่อผู้แสดงธรรมมี แต่ผู้ฟังธรรมไม่มี ก็ย่อมไม่มีอานิสงส์
    เมื่อผู้ฟังธรรมมี แต่หาผู้แสดงธรรมไม่มี อานิสงส์ก็ย่อมไม่มี
    เมื่อผู้แสดงธรรมมี ผู้ฟังธรรมมีอานิสงส์ย่อมมี ย่อมมีอานิสงส์เท่าๆกัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็เป็นผู้สนับสนุนกันให้เกิดขึ้น
    คือขาดข้างใดข้างหนึ่งอานิสงส์ย่อมไม่เกิดแน่นอน

    ก็ลองมาคิดอีกที่ผู้แสดงธรรมย่อมแสดงได้ครั้งละ ๑ คน จะเกิดขึ้นครั้งหลายๆคนพร้อมกันไม่ได้
    ผู้ฟังธรรมเกิดขึ้นได้ครั้งละหลายๆคนพร้อมกันได้ ประโยชน์ของผู้แสดงธรรมน่าจะมมากกว่า ถ้าหากว่าผู้แสดงก็บรรลุธรรม
    ผู้ฟังก็บรรลุธรรมพร้อมกันทั้งหมด นั่นก็หมายความว่าสาเหตุมาจากผู้แสดงนั่นเองที่ทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรม.....

    .......เอาละพูดไปพูดมาก็ งง เอง
     
  15. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    666
    ค่าพลัง:
    +1,065
    เรามาดูกันเลยครับว่าอานิสงส์ของแต่ละฝ่ายคืออะไร?

    1) อานิสงส์ของการฟังธรรม
    1.1) ย่อมได้ฟังในเรื่องที่ไม่ได้ฟังมาก่อน
    1.2) สิ่งที่ฟังมาแล้ว ก็จะเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
    1.3) บรรเทาความสงสัยได้
    1.4) ได้ปรับความเห็นให้ตรงต่อหนทางพระนิพพาน
    1.5) ย่อมยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น

    2) อานิสงส์ของผู้แสดงธรรม
    2.1) ย่อมเป็นผู้รู้แจ้งในอรรถและรู้แจ้งในธรรมนั้นๆ
    2.2) ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ปีติย่อมเกิดแก่เธอผู้มีความปราโมทย์
    2.3) กายของผู้มีความปีติย่อมสงบ
    2.4) ผู้มีกายสงบ (ปัสสัทธิ) ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมตั้งมั่น
    2.5) เมื่อตั้งมั่น จึงเกิดความเพียร มีตนส่งไปอยู่ (มีใจส่งไปในธรรมนั้น) ซึ่งยัง ไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น หรืออาสวะทั้งหลายยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
     
  16. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    666
    ค่าพลัง:
    +1,065
    แม้ไม่ผู้อื่นมาฟังธรรม .. แต่ทำการใตร่ตรองแสดงธรรมให้ตนเอง
    ก็ยังได้อานิสงส์ของการแสดงธรรม แต่ผลบุญตามบุญกริยาวัตถุ10 นั้นได้ต่างกัน
     
  17. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ข้อ 2.5 เป็นกรณีของท่านพระเขมกะ

    ใน "เขมกสูตร - ว่าด้วยไม่มีตนในขันธ์5 "
     
  18. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +385


    เหตุแห่งวิมุติ ๕ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น

    ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอ
    เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
    เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบผู้มีกายสงบแล้ว
    ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
    ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของ
    ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
    อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษม
    จากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจ
    ธรรมในธรรมนั้น
    ที่ภิกษุแสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
    แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
    ...เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...


    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำ
    การสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม
    เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
    เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ...



    *************************************************************


    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษา
    เล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรม
    เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรอง
    ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจเธอย่อมเข้าใจอรรถ
    เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์
    ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ...


    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
    ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษา
    เล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรม
    เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
    เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิต
    อย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี
    ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์
    แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
    เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุ
    ให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อม
    หลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษม
    จากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แลซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ
    ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
    อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก
    โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
     
  19. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +385
    บางคนฟังธรรมเพื่อเอาบุญเอาอานิสงส์........อันนี้อีกเรื่องนึง
    บางคนฟังธรรมเพื่อปรับทิฐิตน........อันนี้ก็อีกเรื่องนึง
    หรือ บางคนฟังธรรมเพื่อจะโยนิโสตามธรรม........อันนี้ก็อีกเรื่องนึง

    จะฟังธรรมเพื่อ...อะไร ก็ดีทั้งสิ้นครับ บางครั้งอาจเจอคำบางประโยคที่เป็นจุดเปลี่ยน
    ในชีวิตเราก็ได้ อาจจะทำให้นำไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง(สัมมาทิฐิ) ในอนาคต
    ผู้ประกาศธรรมทั้งหลาย เลยไม่หยุดพัก ที่จะประกาศสัทธรรมของพระศาสดา
    เพราะรู้ว่าบางประโยค หรือ คำบางคำ อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของคนบางคนได้ครับ
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ก็ควร งง อยู่หรอก

    เพราะ ไม่เคย ฟังธรรมแท้ๆ มัวแต่ไป ฟังธรรมจากคนอื่น

    ในพุทธศาสนา ไม่มีหรอก จะประกาศตนว่า บรรลุธรรมได้เพราะ ฟังธรรมคนอื่น

    นี่ถ้า ยัง จับแพะ ชน แกะ เข้าใจผิดเรื่อง การแสดงธรรม ฟังธรรม ที่เป็น
    ของยาก ไปเข้าใจผิดว่า แสดงง่าย ฟังง่าย ก็เรือหาย ลูกเดียว
     

แชร์หน้านี้

Loading...