เรื่องเด่น มีหรือ? พระสมเด็จ เนื้อเกสรดอกไม้

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 สิงหาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8ad-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b8a1e0b980e0b894e0b987e0b888-e0b980e0b899e0b8b7e0b989e0b8ade0b980.jpg


    การจำแนกเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังผู้รู้รุ่นใหม่จำกัดอยู่แค่ เนื้อขาว เนื้อเหลือง เนื้อละเอียด เนื้อหยาบ รุ่นบรมครู อย่าง “ตรียัมปวาย” ท่านจำแนกให้จินตนาการ เปรียบเทียบไว้กว้างไกลไปถึง 6 เนื้อ


    เนื้อเกสรดอกไม้ เนื้อกระแจะจันทน์ เนื้อปูนนุ่ม เนื้อกระยาสารท เนื้อขนมตุ้บตั้บ และเนื้อปูนแกร่ง


    เหลือบตาไปดูภาพพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ องค์ในคอลัมน์ ดูภาพสีในไทยรัฐออนไลน์ ยิ่งชัด แล้วลองจินตนาการตาม เนื้อละเอียดขาวขุ่น เหมือนสีงาช้าง เนื้อแบบนี้นี่แหล่ะ ที่ครูว่า เนื้อเกสรดอกไม้


    เนื้อนี้ครูออกตัว มิได้หมายความว่า เป็นเนื้อที่สร้างจากผงเกสรดอกไม้ล้วนๆ หากมีความหมายเพียงว่า เป็นเนื้อที่กอปรด้วยอนุภาคมวลสาร อันละเอียดนุ่มนวล อุปมาดั่งเกสรบุปผชาตินานาพรรณ


    และเป็นเนื้อที่ปรากฏเฉพาะของวัดระฆัง เท่านั้น


    ลักษณะที่เด่นชัดของพระสมเด็จวัดระฆังเนื้อเกสรดอกไม้ มี 6 ประการ


    1. ความละเอียด วัสดุมวลสารส่วนใหญ่ ละเอียดอย่างที่สุด ดุจอนุภาคของผงเภสัชอันละเอียดยิบ ผ่านการบดกรองมาแล้ว มวลสารละเอียดเป็นจุลธุลี คลุกเคล้าสมานกันและกระจายไปโดยตลอดเนื้อหา ไม่แยกกันเป็นหย่อมๆ วรรณะหม่นคล้ำต่างกัน


    นอกจากเยื่อครีมของเนื้อว่านและกล้วยวรรณะหม่น แทรกคละระคนอยู่ในมวลสาร เม็ดปูนขาวกลมเท่าหัวเข็มหมุดย่อมมีวรรณะขาวใสกว่าวรรณะส่วนรวมของเนื้อ ประปรายอย่างบางตา


    แต่ถ้ามีแป้งโรยพิมพ์ก็จะบดบังเมล็ดปูนขาวเหล่านี้เสียเป็นส่วนมาก


    2. ความนุ่ม เนื่องจากเนื้อละเอียดจัด เพราะส่วนผสมของปูนขาวน้อย จึงมีความนุ่มจัด ระดับความนุ่มนวลของเนื้อดั่งเนื้อสีผึ้ง


    3. ความหนึก ระดับความหนึกนุ่มจัด ทราบได้ด้วยจักษุสัมผัสแลโสตสัมผัส เสียงกระทบหนักแน่นและเข้ม ความพลิ้วไหวถี่พอสมควร ทันกับการขยับนิ้วมือ


    4. ผิวแป้งโรยพิมพ์ เป็นมูลลักษณะเด่นของพระเนื้อเกสรดอกไม้ แม้เป็นเนื้อที่ผ่านการสัมผัสเหงื่อไคลมองไม่เห็นเด่นชัด ก็สามารถทำให้เกิดความแห้งบริสุทธิ์ (การล้างด้วยน้ำอุ่น) ได้


    5. ความฉ่ำ ปกติเป็นเนื้อที่มีความฉ่ำจัด องค์ในคอลัมน์มีความฉ่ำจัด เนื้อมีเงาสว่างสดใส ครูตรียัมปวายแนะว่า เหมาะแก่กรรมวิธีความแห้งบริสุทธิ์ แล้วแต่จะเลือก


    และ 6. ความซึ้ง เป็นความซึ้งที่เกิดจากความละเอียดนุ่มนวลของเนื้อ และแป้งโรยพิมพ์ มิใช่ความซึ้งอันเกิดจากการเรียงตัวในทางลึกของอนุภาคมวลสาร


    โดยประสบการณ์ครูตรียัมปวาย เห็นสมเด็จวัดระฆังเนื้อเกสรดอกไม้เปรียบเทียบหลายองค์


    ครูว่าเนื้อนี้ ปรากฏรักเก่าทองเก่าน้อย แต่หากมีก็อาจจะปรากฏการแตกลายงา และแตกลายสังคโลกทั้งสองอย่าง องค์ในคอลัมน์ ในผิวพื้น ปรากฏรอยแตกลายงาอย่างอ่อน ตลอดเส้นซุ้มปรากฏรอยแตกสังคโลก


    ชิ้นรักหนา เหลือเป็นปื้นเล็กๆและย่อม ผิวพื้นฝ้ารักสีแดงเลือดหมูอ่อนฉาบบางๆ ตามธรรมชาติพระสมเด็จวัดระฆังที่ลงรักปิดทองทั่วไป


    ด้านหลังมีรอยด่างขาว จากการเปิดเลี่ยมใช้เป็นวงรูปไข่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยผิวแป้งโรยพิมพ์หรือผิวปูนหม่นคล้ำไปทั่ว ริ้วรอยธรรมชาติ รูพรุนปลายเข็มเด่น


    สลับรอยยุ่นรอยยุบ ขอบข้างแม้เป็นเส้นตรง แต่ก็เป็นไปตามธรรมชาติพระแท้ ไม่ขัดตาเลยแม้แต่นิดเดียว


    นี่เป็นสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อีกองค์ ที่เป็นพระนอกวงการ แขวนอยู่ในคอคุณหมอแมว ศูนย์ทันตกรรมจตุจักรมานับสิบปี โบราณว่าสิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น ได้เห็นได้ดู ก็ดูให้ซึมซับเข้าหัวใจ


    ใครที่ยังไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของสมเด็จวัดระฆัง ก็ถือว่าเป็นทั้งบุญตาบุญตัว.



    O พลายชุมพล O


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1357067
     

แชร์หน้านี้

Loading...